สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ผันผวนในปัจจุบัน ส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อภาคธุรกิจ ไทยมากน้อยต่างกันไป รวมถึงภาคอุตสาหกรรมและการลงทุนที่มักจะได้รับคลื่นกระทบฝั่งเป็นระลอก บ่อยครั้ง ดังนั้น หลายหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวเนื่องกับการลงทุนจึงต้องเฝ้าระวังและปรับตัวให้เท่าทัน รวมถึงสานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ได้มีการปรับยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจและการลงทุน ด้านผู้ประกอบการและนักลงทุน คงต้องมีการ ปรับตัว ปรับกลยุทธ์และทัศนคติด้วยเช่นเดียวกัน เพื่อให้สามารถดาเนินธุรกิจได้ต่อไป สาหรับสมาคมสโมสรนักลงทุน มีการปรับแนวทางการบริการและพัฒนาการบริการให้มีความ ทันสมัยเพื่อสนองตอบความต้องการของผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่องและรองรับการเพิ่มขึ้นในอนาคต เช่น งานบริการระบบ RMTS-2011 ระบบบริการที่เชื่อมต่อด้วยเครือข่ายออนไลน์ การเพิ่มหลักสูตร ฝึกอบรมและสัมมนาที่เกี่ยวเนื่องกับยุทธศาสตร์ใหม่ของบีโอไอ เป็นต้น นอกจากนั้น ยังเน้นการพัฒนาด้านข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่สู่ภายนอก ให้มีความฉับไว เฉียบ คมและเชื่อมั่นได้ พร้อมรูปลักษณ์ที่โดดเด่นและอ่านง่าย โดยได้ปรับโฉม ICN เป็นรูปแบบ e-book ซึ่ง ผู้อ่านคงจะได้เห็นกันแล้วจากฉบับเดือนมีนาคม 2556 ที่ผ่านมา และในระยะเวลาอันใกล้นี้ เตรียมพบ กับการปรับเปลี่ยนเว็บไซต์ใหม่ของสมาคม ที่เต็มเปี่ยมด้วยข้อมูลข่าวสารควบคู่กับการใช้งานที่สะดวก ค้นหาง่ายและสวยงาม เพื่อให้ผู้ใช้บริการทุกท่านได้รับสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรให้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม ทุกงานบริการของสมาคมจะอานวยความสะดวกต่อผู้ใช้บริการและสร้างความ พึงพอใจได้มากน้อยเพียงใดนั้น ทุกท่านสามารถแสดงความคิดเห็นและติชมการให้บริการ ได้ที่ โทรศัพท์ 0 2936 1429 ต่อ 103 หรือ E-mail: customer_care@ic.or.th , icn@ic.or.th สมาคม ยินดีรับทุกข้อเสนอแนะเพื่อนามาปรับปรุงพัฒนางานบริการต่อไป
บรรณาธิการ icn@ic.or.th
zz
ตั้งแต่ไตรมาสแรกปี 2556 เป็นต้นมา นักลงทุนไทยและต่างประเทศได้เห็นความคึกคักในแวดวงภาคอุตสาหกรรมและการ ลงทุน โดยเฉพาะบีโอไอ นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน นาทัพจัดสัมมนาใหญ่เพื่อพบปะและ เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนไทยร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อรวบรวมและกลั่นกรองข้อมูลประกอบการพิจารณา จัดทานโยบายส่งเสริมการลงทุนใหม่ที่มีทิศทางผันเปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจ สังคมและปัจจัยต่างๆ ซึ่งบางนโยบายอาจ เหมาะสมในบางช่วงบางเวลาจึงควรปรับให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศมากขึ้น โดยนโยบายตามแนวยุทธศาสตร์ส่งเสริมการ ลงทุนใหม่นี้จะมีนัยยะสาคัญที่แตกต่างกันไป ภายใต้ร่างยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนใหม่ บีโอไอมีแนวทางจะปรับเปลี่ยนจากการให้ส่งเสริมการลงทุนเกือบทุกกิจการมา เป็นแบบมีเป้าหมายชัดเจน เน้น 10 กลุ่มอุตสาหกรรมสาคัญ ประกอบด้วย 1. กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ อาทิ อุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ น้าประปาหรือน้าเพื่ออุตสาหกรรม การขนส่งมวลชนและขนส่งสินค้า สนามบินพาณิชย์ และศูนย์บริการโลจิสติกส์ เป็นต้น 2. กลุ่มอุตสาหกรรมพื้นฐาน อาทิ เหล็ก ปิโตรเคมี เยื่อกระดาษหรือกระดาษ และเครื่องจักร 3. กลุ่มอุตสาหกรรมการแพทย์และเครื่องมือวิทยาศาสตร์ อาทิ เครื่องมือแพทย์ ยา อาหารทางการแพทย์ และเครื่องมือ วิทยาศาสตร์ 4. กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนและบริการด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน กิจการ Recycle การ บริการบาบัดน้าเสียและกาจัดกากอุตสาหกรรม การบริการด้านจัดการพลังงาน (ESCO) 5. กลุ่มธุรกิจบริการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรม อาทิ R&D, KRD, Engineering Design, Software บริการทดสอบทาง วิทยาศาสตร์ บริการสอบเทียบมาตรฐาน กิจการ ROH กิจการสนับสนุนการค้าและการลงทุน 6. กลุ่มเทคโนโลยีพื้นฐานขั้นสูง อาทิ เทคโนโลยีชีวภาพ นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีวัสดุขั้นสูง 7. กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและแปรรูปสินค้าเกษตร อาทิ อาหารแปรรูป วัตถุเจือปนอาหาร สารสกัดจากสมุนไพร การปรับปรุง พันธุ์และขยายพันธุ์พืช ผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติ เชื้อเพลิงชีวภาพ 8. กลุ่มอุตสาหกรรม Hospitality & Wellness อาทิ กิจการสนับสนุนการท่องเที่ยวและกีฬา การสร้างภาพยนตร์ไทยและ บริการที่เกี่ยวข้อง ศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพ ศูนย์สวัสดิการสาหรับผู้สูงอายุ 9. กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง อาทิ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถไฟ รถไฟฟ้า อากาศยาน ต่อเรือหรือซ่อมเรือ 10. กลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า อาทิ Electronic Design, Organics & Printed Electronics, HDD & SDD และชิ้นส่วน เซลล์แสงอาทิตย์ และ White Goods โดย 10 กลุ่มอุตสาหกรรมนี้ครอบคลุมกิจการประมาณ 130 ประเภท แบ่งเป็นกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 100 กิจการ ซึ่งเป็นกิจการที่สาคัญต่อการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ และจาเป็นต้องให้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลนี้ก็เพื่อ กระตุ้นให้เกิดการลงทุนและผลักดันให้สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้ ส่วนอีก 30 กิจการจะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นอากรขา เข้าเครื่องจักร วัตถุดิบและสิทธิประโยชน์ที่มิใช่ภาษี เช่น การถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน การนาเข้าช่างฝีมือและผู้ชานาญการ ชาวต่างชาติ
นอกจากนี้ บีโอไอยังมีนโยบายเลิกให้การส่งเสริมการลงทุนแก่กิจการที่อยู่ในข่ายที่มีปัจจัยในการพิจารณาเลิกส่งเสริมการลงทุน ได้แก่ เป็นกิจการที่มีมูลค่าเพิ่มต่า การใช้เทคโนโลยีอยู่ในระดับต่า กระบวนการผลิตไม่ซับซ้อน การเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมต่างๆ มี น้อย ใช้แรงงานเข้มข้น และสามารถดาเนินกิจการได้โดยไม่จาเป็นต้องได้รับส่งเสริมการลงทุน รวมถึงกิจการที่มีผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมมาก หรือใช้พลังงานสูง กิจการที่เป็นกิจการสัมปทาน หรือกิจการผูกขาดที่รัฐคุ้มครองอยู่แล้วและกิจการที่ขัดกับระเบียบที่ เกี่ยวข้อง
ส่งเสริม “คลัสเตอร์” อุตสาหกรรมใหม่ในภูมิภาค จากเดิมบีโอไอเคยให้สิทธิประโยชน์ตามเขตที่ตั้ง แบ่งเป็นเขต 1 เขต 2 และเขต 3 เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการลดต้นทุนการผลิต และเกิดการลงทุนในส่วนของเทคโนโลยีและเครื่องจักรเพิ่มขึ้น แต่การลงทุนกลับไม่มากขึ้นตามที่ควรจะเป็น จึงมีแนวคิดยกเลิกระบบ ให้สิทธิประโยชน์นี้ และมุ่งเน้นส่งเสริมให้เกิด “คลัสเตอร์” อุตสาหกรรมใหม่ในภูมิภาคและตามพื้นที่ชายแดนของประเทศ โดยเน้น แบบคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเฉพาะกลุ่ม อาทิ คลัสเตอร์อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป อุตสาหกรรมอาหารฮาลาล อุตสาหกรรมยางพารา อุตสาหกรรมแฟชั่น อุตสาหกรรมอากาศยาน คลัสเตอร์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคลัสเตอร์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ยุทธศาสตร์ใหม่เน้นความสมดุล บีโอไอปรับเปลี่ยนแนวนโยบายส่งเสริมการลงทุนให้มีแนวทางหลักคือ การลงทุนที่คานึงถึงความสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนความสมดุลของภาคการเกษตร อุตสาหกรรมและบริการ โดยให้ความสาคัญกิจการในกลุ่มอุตสาหกรรมแห่ง อนาคตและเป็นทิศทางธุรกิจใหม่ของโลก เช่น อุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์ อุตสาหกรรมสีเขียวและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่ม พลังงานทดแทน ท่องเที่ยวและสุขภาพ กิจการเทคโนโลยีชีวภาพ และศูนย์กลางทางโลจิสติกส์ เพื่อการ กระจายความเจริญสู่ภูมิภาค นอกจากนี้ บีโอไอยังให้ความสาคัญเพิ่มเติมด้านวิจัยพัฒนาและรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยนโยบายเพิ่มระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงิน ไดนิติบุคคลเป็นเวลา 1-3 ปี ส่วนด้านการให้สิทธิประโยชน์ แม้จะมีนโยบายลดสิทธิประโยชน์พื้นฐานลงแต่จะเพิ่มสิทธิประโยชน์สาหรับ การลงทุนเพิ่มในเรื่องของการวิจัยและพัฒนา การฝึกอบรมบุคลากร และการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังมีการปรับปรุงกฎระเบียบ เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุนที่ดี เน้นการอานวยความสะดวกผ่านสิทธิประโยชน์ที่ไม่ใช่ภาษีและบริการครบวงจร ตลอดจนการ ป้องกันและแก้ไขปัญหาให้นักลงทุน การส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้มีการพัฒนาอย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะ เป็นด้านอุตสาหกรรม การลงทุนและเศรษฐกิจ อย่างมั่นคงและมีศักยภาพต่อไป อย่างไรก็ตาม นโยบายส่งเสริมการลงทุนภายใต้ยุทธศาสตร์ใหม่ของบีโอไอนี้ คาดว่าจะประกาศใช้ในเดือนมีนาคม และจะมีผล
บังคับใช้ในเดือนมิถุนายน 2556 เป็นต้นไป
ที่มา : สานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน, www.boi.go.th
ต่อ ระบบงาน RMTS-2011 ในปัจจุบันมีความชัดเจนและใกล้จะเปิดให้บริการในอีกไม่นานนี้ โดยสมาคมได้มีการจัดทาข้อมูล รายละเอียดขั้นตอนการปรับระบบงานที่มีการเปลี่ยนแปลง การดาเนินงานในขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับทราบ และเข้าใจในทิศทางเดียวกันโดยได้เริ่มประชาสัมพันธ์ใน
ICN ฉบับที่แล้ว ดังนั้น ในฉบับนี้ จึงขอนาเสนอข้อมูลอย่าง
ต่อเนื่อง เกี่ยวกับระบบงาน RMTS-2011 การแก้ไขปัญหาและข้อจากัดในระบบ RMTs ปัจจุบัน (ต่อ)
5. รูปแบบการใช้งานสูตรการผลิต ปัญหาและข้อจากัดระบบ RMTS ปัจจุบัน 1. เมื่อมีการแก้ไขสูตรการผลิตเดิมของผู้ประกอบการ สูตรการผลิต นั้นจะถูก Update เป็นสูตรฯ ปัจจุบันทันที ทาให้ไม่สามารถ ทราบค่าก่อนก่อนเปลี่ยนแปลงได้ และเมื่อผู้ประกอบการนา เอกสารการส่งออกที่มีสูตรการผลิต ก่อนที่จะทาการแก้ไขมาทา การตัดบัญชี ระบบฯ จะใช้สูตรการผลิตปัจจุบันทาการตัดบัญชี
การแก้ไขในระบบ RMTS-2011 1. จัดเก็บสูตรการผลิตเป็นเวอร์ชั่นของสูตร 2. การตัดบัญชีระบบจะเลือกสูตรการผลิตที่ตรง กับวันที่ส่งออกมาทาการตัดบัญชี
ตัวอย่าง ระบบใหม่จะเพิ่ม Version ของสูตรการผลิต เพื่อควบคุมการตัดบัญชีวัตถุดิบ สูตรการผลิต A1 A1 A1 A1
Group No. 000001 000002 000001 000001
Qty. Usage 1.00 2.00 1.00 3.00
Version 1 1 2 2
6. การผูกสูตรการผลิตกับ Model ปัญหาและข้อจากัดระบบ RMTS ปัจจุบัน 1. สูตรการผลิตและผลิตภัณฑ์แยกจัดเก็บไม่มีการเชื่อมโยงกัน 2. ผู้ประกอบการเป็นผู้เลือกสูตรการผลิตและผลิตภัณฑ์ที่ต้องการตัด บัญชี ทาให้มีโอกาสผิดพลาดได้
การแก้ไขในระบบ RMTS-2011 1. สูตรการผลิตและผลิตภัณฑ์จะถูกรวมกันในการ บันทึกข้อมูล 2. ใช้ Model + Model Description เป็น Key ในการ ตัดบัญชี
ตัวอย่าง Model A1 A1
Model Description BACK LIGHT ASSEMBLY BACK LIGHT ASSEMBLY
Start Date Group No. 12/02/2012 000001 12/02/2012 000002
Qty Per 1 2
7. การจัดเก็บมูลค่าและภาษีนาเข้าตามรายการวัตถุดิบ ปัญหาและข้อจากัดระบบ RMTS ปัจจุบัน 1. การจัดเก็บมูลค่าและภาษีการนาเข้าปัจจุบันจัดเก็บตามงวดการ นาเข้า ทาให้ไม่สามารถสรุปมูลค่าและภาษีการนาเข้าตามรายการ วัตถุดิบได้ 2. ภาษีและมูลค่าผู้ประกอบการเป็นผู้ที่คานวณ และบันทึก ทาให้เกิด ความผิดพลาดได้
การแก้ไขในระบบ RMTS-2011 1. ใช้ข้อมูลนาเข้าและส่งออกจากกรมศุลกากร เพื่อ จัดเก็บมูลค่าและภาษีการนาเข้า แทนการบันทึก ข้อมูลจากผู้ประกอบการ
มีอะไรใหม่ในระบบ RMTS-2011 1. งานฐานข้อมูล 1. เปลี่ยนรหัสโครงการจากเดิม 5 หลัก เป็น 8 หลัก ตามรูปแบบ XXXXXXYZ มีความหมายดังนี้ XXXXXX หมายถึง รหัสโครงการความยาว 6 หลัก (ใช้รหัสโครงการเดียวกับ สกท.) Y หมายถึง มาตรา โดย 1 = 36(1), 2 = 36(2), 3 = 30 Z หมายถึง ประเภท Stock โดย 1 = หมุนเวียน 2 = ไม่หมุนเวียน ตัวอย่างเช่น 54023511 2. เปลี่ยนระบบการจัดเก็บชื่อวัตถุดิบจากเดิมที่เก็บชื่อเรียงต่อกันไปโดยใช้เครื่องหมาย “,” เป็นการแยกชื่อ เป็นการจัดเก็บ 1 ชื่อวัตถุดิบต่อ 1 รายการ 3. จัดทาบัญชีรายการวัตถุดิบใหม่ โดยเปลี่ยนระบบหน่วยมาใช้รหัสสถิติของกรมศุลกากร (หน่วยในบัญชีรายการ วัตถุดิบต้องต้องกับหน่วยในใบขนสินค้าขาเข้า) 4. เพิ่มวิธีการเพิ่ม แก้ไข ลบ ชื่อวัตถุดิบ โดยให้ผู้ประกอบการบันทึกข้อมูลในแฟ้มข้อมูล Birtdesc.xls 5. เพิ่มการจัดเก็บพิกัดกรมศุลกากร โดยจัดเก็บตามรายการและชื่อวัตถุดิบ 6. การยื่น Model และสูตรการผลิต จะยื่นรวมเป็นแฟ้มข้อมูลเดียวกันโดยใช้แฟ้มข้อมูล Birtfrm.xls เพียงแฟ้มข้อมูล เดียว 7. Model สามารถซ้ากันได้ แต่เมื่อรวมกับ Model Description แล้วจะต้องไม่ซ้ากัน 8. เพิ่มการจัดเก็บเลขที่และวันที่หนังสืออนุมัติ ในแฟ้มข้อมูล Birtmml.xls), Birtdesc.xls, Birtfrm.xls และ Birtadj.xls 9. กรณีที่ผู้ประกอบการเปลี่ยนแปลงสูตรการผลิตเดิม ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่ม แก้ไข ลบ รายการวัตถุดิบ ระบบฯ จะทาการสร้าง เวอร์ชั่นสูตรการผลิตนั้นๆ ขึ้นมาใหม่ และการตัดบัญชีจะทาการเลือกวันที่การส่งออกที่ตรงกับช่วงวันที่ของสูตรการผลิต
2. งานสั่งปล่อยวัตถุดิบ 1. ส่งข้อมูลการสั่งปล่อยในรูปแบบ ebXML แทนหนังสือสั่งปล่อย และลดการยื่นเอกสารของผู้ประกอบการ (ส่งข้อมูลไปยัง กรมศุลกากร แทนหนังสือสั่งปล่อย) 2. รูปแบบ อก ของหนังสืออนุมัติ เปลี่ยนเป็น 0907R550200000001 โดย 0907 = เลขที่ อก ของแต่ละสานัก R = ประเภทวัตถุดิบ 55 = ปีที่อนุมัติ 02 = เดือนที่อนุมัติ 00000001 = เลข Running No. ซึ่งจะ Reset ใหม่ทุกเดือน รูปแบบ อก ใหม่นี้จะใช้ร่วมกันทั้งสั่งปล่อย ตัดบัญชี และการยกเลิก 3. เพิ่มงานค้าประกันในระบบ RMTS - 2011
4. 5. 6. 7.
เพิ่มงานขยายระยะเวลาค้าประกัน ข้อมูลที่ค้าประกันไว้ สามารถ Download ได้จากเว็บไซต์ เพื่อนาไปถอนค้าประกันในภายหลัง การสั่งปล่อยผ่านระบบ Import Online สามารถส่งข้อมูล ได้หลายครั้ง โดยไม่ต้องรอให้ประมวลสั่งปล่อยเสร็จก่อน รูปแบบหนังสืออนุมัติสั่งปล่อย และ รายงานเปลี่ยนไปจากเดิม (หนังสืออนุมัติฯ และ รายงานจะใช้ในระยะการทดสอบ เท่านั้น) 8. เมื่อพ้นระยะเวลาการทดสอบข้อมูลแล้ว จะไม่มีการพิมพ์หนังสือสั่งปล่อยและรายงานข้อมูล และผู้ประกอบการไม่ จาเป็นต้อง Fax เอกสารประกอบการสั่งปล่อยมาที่สมาคมฯ อีก 9. รูปแบบการบันทึกข้อมูลสั่งปล่อยในแฟ้ม Birtimp.xls มีการเปลี่ยนแปลง - ตัด Poi, Pop, Value, Tax - เพิ่ม Imp_line, Inv_line App_no, Imp_entry, Imp_date, Ess_mat 10. เพิ่มประเภทของการสั่งปล่อยไว้ท้ายชื่อไฟล์ และแยกแฟ้มการบันทึกข้อมูล โดยกาหนดไว้ 5 ประเภทดังนี้ 1 = สั่งปล่อยยกเว้นอากรขาเข้า 2 = ค้าประกัน 3 = สั่งปล่อยถอนค้าประกันเต็มจานวน 4 = สั่งปล่อยถอนค้าประกันไม่เต็มจานวน 5 = ขอคืนอากร ตัวอย่าง การสั่งปล่อยแบบยกเว้นอากรขาเข้าชื่อแฟ้มข้อมูลคือ Birtimp1.xls , การสั่งปล่อยแบบค้าประกันชื่อแฟ้ม ข้อมูลคือ Birtimp2.xls 11. การยกเลิก กรณีที่ส่งข้อมูลไปยังกรมศุลกากรแล้ว จะต้องรอการตอบกลับจากกรมศุลกากรก่อนจึงจะสามารถยกเลิกได้ 12. การยื่นข้อมูลผ่านระบบ Import Online สามารถยื่นข้อมูลได้หลายครั้งโดยไม่จาเป็นต้องรอให้การยื่นข้อมูลครั้งแรกทาการ Process ก่อน และสามารถตรวจสอบยอดวัตถุดิบคงเหลือในแต่ละครั้งที่ยื่นข้อมูลได้ 13. มีระบบการยื่นข้อมูลยกเลิกหนังสือสั่งปล่อยผ่านระบบ Online (Cancel Online)
3. งานตัดบัญชีวัตถุดิบ 1. เพิ่มช่องทางการยื่นข้อมูลผ่านระบบ Export Online ซึ่งจะทาให้ผู้ประกอบการทราบความผิดพลาดของข้อมูลเบื้องต้น และลดการเดินทางมาที่สมาคมฯ 2. เพิ่มความสะดวกในการเตรียมข้อมูลโดยสามารถ Download ข้อมูลการส่งออก(ข้อมูลใบขนขาออกจากกรมุศุลกากร) และ Report V จากเว็บไซต์สมาคมฯ เพื่อนาไปจัดเตรียมข้อมูลการตัดบัญชี 3. การตัดบัญชีจะใช้ Model และ Model Description แทน Model และ สูตรการผลิต 4. ในกรณีที่ Model ที่จะนามาตัดบัญชีมีสูตรการผลิตหลายเวอร์ชั่น ระบบฯ จะทาการเลือก Model ที่มีสูตรการผลิตที่มีวันที่ ส่งออกตรงกับช่วงเวลาการใช้สูตรการผลิตนั้น ตัวอย่างเช่น Model A มีสูตรการผลิต 2 เวอร์ชั่น คือ เวอร์ชั่น 1 มีช่วง ระยะเวลาใช้งานระหว่างวันที่ 01/01/2011-31/12/2011 เวอร์ชั่น 2 มีช่วงระยะเวลาการใช้งานระหว่างวันที่ 01/01/2012 จนถึงปัจจุบัน เมื่อผู้ประกอบการนาเอกสารการส่งออกที่มีวันที่ส่งออกเป็นวันที่ 05/06/2011 มาตัดบัญชี ระบบฯ จะทาการ เลือกสูตรการผลิตเวอร์ชั่น 1 มาทาการตัดบัญชี 5. รูปแบบการบันทึกข้อมูลตัดบัญชีในแฟ้ม Birtexp.xls มีการเปลี่ยนแปลง ตัด Value, Tax ช่อง Formula เปลี่ยนเป็น Model Description
ติดตามข้อมูลที่น่าสนใจและจาเป็นต้องเข้าใจเกี่ยวกับระบบ RMTS-2011 สาหรับผู้ใช้บริการ ในด้านอื่นๆ ไม่ ว่าจะเป็น วงจรการทางานในระบบ RMTS-2011 และขั้นตอนการเตรียมข้อมูล เป็นต้น ใน ICN ฉบับหน้า และทางเว็บไซต์สมาคม www.ic.or.th
ในกรณีที่ข้อมูลขออนุมัติสั่งปล่อยวัตถุดิบถูกส่งไปยังกรมศุลกากรแล้ว แต่บริษัทต้องการยกเลิกคาร้องนั้น สามารถ ยกเลิกได้หรือไม่ ต้องปฏิบัติอย่างไร บริษัทสามารถขอยกเลิกได้ โดยมีขั้นตอนและวิธีปฏิบัติดังนี้ 1. บริษัทเตรียมข้อมูล ( BIRTCAN) ที่ต้องการยกเลิกพร้อมหนังสืออนุมัติต้นฉบับมายื่นที่สมาคม 2. สมาคมรับเรื่องและส่งคาร้องขอยกเลิกไปตรวจสอบข้อมูลกับกรมศุลกากรว่า เลขที่หนังสืออนุมัติที่บริษัทต้องการยกเลิก นั้น ได้นาไปเดินพิธีการศุลกากรแล้วหรือยัง โดยกรมศุลกากรจะตอบกลับเป็น 2 กรณี 2.1 กรณีเลขที่หนังสืออนุมัติได้นาไปเดินพิธีการศุลกากรแล้ว บริษัทจะไม่สามารถยกเลิกหนังสืออนุมัติฉบับนั้นได้ 2.2 กรณียังไม่ได้เดินพิธีการศุลกากร สมาคมก็จะทาการยกเลิกหนังสืออนุมัติฉบับนั้นให้ตามขั้นตอนของสมาคมต่อไป ตัวอย่างแบบฟอร์มของการยกเลิก (BIRTCAN) Proj_Code Doc_No App_No App_Date Type Reason 12345611 0001 อก0907R550112345678 06/03/2013 I ระบุปริมาณผิด
กรณีระยะเวลาค้าประกันสิ้นสุดลง บริษัทจะต้องดาเนินการอย่างไร การค้าประกันมีกาหนดระยะเวลา 1 ปี เมื่อระยะเวลาค้าประกันสิ้นสุดลง ผู้ประกอบการจะไม่สามารถดาเนินการสั่ง ปล่อยถอนค้าประกันได้ หากบริษัทต้องการถอนค้าประกันจะต้องยื่นเรื่องต่อบีโอไอ เพื่อพิจารณาขยายระยะเวลาค้าประกัน โดยบีโอไอจะออกหนังสือขยายระยะเวลาให้กับผู้ประกอบการ เพื่อนามายื่นต่อสมาคม เพื่อขยายระยะเวลาค้าประกันใน ระบบ RMTS -2011 บริษัทมีข้อมูลสั่งปล่อยวัตถุดิบหลายงวด จะสามารถบันทึกใน 1 แฟ้มข้อมูลได้หรือไม่ กรณีบริษัทมีข้อมูลสั่งปล่อยวัตถุดิบที่ต้องการบันทึกหลายงวด สามารถบันทึกได้ใน 1 แฟ้มข้อมูล แต่ต้องเป็นการ สั่งปล่อยประเภทเดียวกัน และใน 1 งวด จะบันทึกได้ 1 Invoice เท่านั้น หากบริษัทมีรายการวัตถุดิบใหม่ที่ต้องการบันทึกเพิ่มในข้อมูลสูตรการผลิตที่มีอยู่แล้ว บริษัทจะต้องปฏิบัติอย่างไร กรณีต้องการเพิ่มวัตถุดิบใหม่ในสูตรการผลิตที่มีอยู่แล้ว บริษัทต้องระบุรายการนั้นโดยช่อง Type ให้ใส่อักษร “I” แทน อักษร “ A” กรณีบริษัทได้ทาการยื่นข้อมูลตัดบัญชีวัตถุดิบในระบบ RMTS-2011 แล้วมียอด Balance ติดลบ บริษัทจะต้อง ดาเนินการแก้ไขอย่างไร
ร เมื่อบริษัทยื่นข้อมูลตัดบัญชีวัตถุดิบแล้ว พบว่าทาให้ยอด Balance ติดลบ บริษัทต้องทาการโอนยอดให้เวนเดอร์ ประเภท Local เพื่อปรับไม่ให้ค่า Balance ติดลบ โดยระบบจะทาการเก็บค่า Balance ที่ติดลบไว้เพื่อทาการตรวจสอบในภายหลัง
มีข้อสงสัยเกี่ยวกับระบบ RMTS-2011 สามารถสอบถามได้ที่ โทรศัพท์ 0 2936 1429 คุณนัยนา ต่อ 160, คุณเบญจมาศ ต่อ 120 หรือดูรายละเอียดได้ที่ www.ic.or.th
พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่าง สมาคมสโมสรนักลงทุน (IC) กับ สมาคมแนว ร่วมภาคธุรกิจไทยต้านภัยเอดส์ (TBCA) เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2556 ระหว่าง TBCA โดยนายศุขวิชัย ธนะสุนทร กรรมการผู้จัดการ กับ สมาคมสโมสรนักลงทุน โดยนายภาวิต กองแก้ว ผู้จัดการสมาคมสโมสรนักลงทุน มีเจตจานง ร่วมกันในการให้ความรู้ความเข้าใจแก่พนักงานบริษัทที่เป็นสมาชิกของสมาคม ด้านโรคเอดส์และ วัณโรค โดยทุนสนับสนุนจากโครงการกองทุนโลก และให้บริษัทที่เป็นสมาชิกของสมาคม ได้รับ การประเมินเพื่อมาตรฐานการบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานประกอบกิจการ ( ASO Thailand) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมความรู้ความเข้าใจแก่พนักงาน โดยการอบรมความรู้เรื่องเอดส์และวัณ โรค ให้กับบริษัท และเสนอมาตรฐานวัดผลบรรษัทภิบาล คือ มาตรฐาน ASO แก่บริษัทที่เป็น สมาชิกของสมาคมที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อความพร้อมด้านการพัฒนาและบริหารทรัพยากรมนุษย์ ของประชาคมอาเซียน โดยเนื้อหาการอบรมจะครอบคลุมสอดคล้องกับความสนใจของพนักงาน บริษัทฯ ในโอกาสนี้สมาคมจึงเชิญชวนสมาชิกและบริษัทที่สนใจและเล็งเห็นความสาคัญของ โครงการที่จะส่งผลดีต่อบริษัท เข้าร่วมโครงการ “การป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถาน ประกอบกิจการ” โดยไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถติดต่อสอบถามและส่งแบบตอบรับกลับมาที่สมาคม แนวร่วมภาคธุรกิจไทยต้านภัยเอดส์ ( TBCA) โทร.02-643-8080 (ฝ่ายปฏิบัติการ) โทรสาร 02643-9317 หรือ E:mail : opsteam@tbca.or.th สามารถดาวน์โหลดแบบตอบรับได้ที่ http://www.asostandard.com/files/apptraining.pdf หากสมาคมมีกิจกรรมหรือข่าวสาร ดีๆที่เป็นประโยชน์ สมาคมจะนามาเผยแพร่ให้สมาชิกและผู้ใช้บริการรับทราบอย่างต่อเนื่อง
สมาคมจัดสัมมนาสมาชิกครั้งที่ 1/2556 หัวข้อ "ข้อพึงระวังที่อาจเป็นความผิด เกี่ยวกับกฎหมายศุลกากรในการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)" เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ 2556 สมาคมสโมสรนักลงทุนจัดงานสัมมนา สมาชิกครั้งที่ 1/2556 เรื่อง "ข้อพึงระวังที่อาจเป็นความผิดเกี่ยวกับกฎหมายศุลกากรในการ เข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( AEC)" ณ ศูนย์การประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ถนนวิภาวดีรังสิต โดยได้รับเกียรติจาก คุณประพันธ์ พิสมยรมณ์ (นิติกรชานาญการ ฝ่ายคดี สานักงานศุลกากรตรวจสินค้า ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ) และ คุณสาธิต ภู่หอมเจริญ (นาย ด่านศุลกากร จ.ระนอง) เป็นวิทยากรในการบรรยาย ซึ่งมีหัวข้อดังนี้ ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและพิธีการ ศุลกากรที่สาคัญ,การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรตามกฎหมายศุลกากรและกฎหมายอื่นที่ เกี่ยวข้องเพื่อลดต้นทุนทางการค้า,ฐานความผิดและเกณฑ์การระงับคดีในชั้นศุลกากรที่ควร ทราบ,เทคนิคการเตรียมเอกสารเพื่อการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย ( Post Audit), ข้อควร ระวังและวิธีแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับศุลกากร, กรณีศึกษา คาวินิจฉัย และคาพิพากษาที่ควรทราบ, การเตรียมความพร้อมของศุลกากรในการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ช่วง ท้ายของงานสัมมนาวิทยากรได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าสัมมนาที่มีข้อสงสัยได้สอบถามและไขข้อข้อง ใจกันอย่างเป็นกันเอง การสัมมนาในครั้งนี้สมาชิกสมาคมสนใจเข้าร่วมกว่า 300 คน ซึ่งได้ผล ตอบรับจากสมาชิกของสมาคมอย่างดีเยี่ยม สาหรับกิจกรรม งานฝึกอบรมและสัมมนาอื่นๆ ท่านสามารถสอบถามได้ที่ได้ที่ แผนก ลูกค้าสัมพันธ์ โทรศัพท์ 0 2936 1429 ต่อ 201-204
สมาคมจัดประชุมพนักงานระดับหัวหน้าฝ่าย หัวหน้าแผนก และหัวหน้าทีม เพื่อเตรียมความพร้อมการให้บริการงานระบบ RMTS-2011 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 สมาคมสโมสรนักลงทุนจัดการประชุมสาหรับหัวหน้าฝ่าย หัวหน้าแผนก และหัวหน้าทีมปฏิบัติงาน เพื่อเตรียมความพร้อมสาหรับการให้บริการระบบ RMTS-2011 ที่ จะเปิดให้บริการในอนาคตอันใกล้นี้ ทั้งนี้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับทราบและทาความเข้าใจ เกี่ยวกับข้อมูลภาพรวมระบบ ขั้นตอนการดาเนินงานที่มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อการเผยแพร่สู่ผู้ใช้บริการได้ อย่างถูกต้อง ชัดเจน และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และรองรับสาหรับการตอบข้อสงสัย การแก้ไขปัญหาใน สถานการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นภายหลังการเริ่มใช้งานระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ สาหรับการเปิดให้บริการระบบ RMTS-2011 สมาคมจะ ประชาสัมพันธ์ อย่างเป็น ทางการ พร้อมการจัดอบรม Workshop เพื่อเข้าถึงการใช้งานได้จริง อย่างเป็นรูปธรรมใน โอกาสต่อไป ผู้ใช้บริการสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณนัยนา และ คุณเบญจมาศ โทรศัพท์ 0 2936 1429 ต่อ 160 และ 120 ตามลาดับ หรือ ดู ข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ www.ic.or.th
สมาคมสโมสรนักลงทุน จัดกิจกรรมเยี่ยมชม “การวิจัยและพัฒนา อุตสาหกรรมยาและการแพทย์” ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เมื่อวันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556 สมาคมสโมสรนักลงทุน นาโดย คุณ ไพรจน์ โสมภูติ กรรมการสมาคม ได้นาคณะสมาชิกเยี่ยมชม “การวิจัยและ พัฒนาอุตสาหกรรมยาและการแพทย์ ” ณ อาคารศูนย์ประชุมอุทยาน วิทยาศาสตร์ประเทศไทย อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เริ่มกิจกรรมด้วยการรับชม วีดีทัศน์แนะนาอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยและรับฟังการบรรยาย “บริการ และการสนับสนุนการทาวิจัยและพัฒนา ” จากสานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย นายสงัด วงศ์ทวีทอง ผู้อานวยการฝ่าย ขายและบริการคีย์แอคเคาท์อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จากนั้นนาคณะ เดินเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการศูนย์นานาเทคโนโลยีแห่งชาติ ( NANOTEC), ห้องปฏิบัติการระบบนาส่ง – พัฒนาระบบนาส่งยา และอาหารเสริม, ห้องปฏิบัติการนาโนเวชสาอาง,“ศูนย์พัฒนายาไทยและสมุนไพร ” และ “บริษัท ซีดีไอพี (ประเทศไทย) จากัด ” (บริษัทวิจัย/รับจ้างวิจัย ผลิตภัณฑ์ยาแผน ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยา สมุนไพร และเครื่องสาอาง) ซึ่งกิจกรรมนี้ได้ เปิดโอกาสให้ผู้เยี่ยมชมได้ซักถามข้อมูลต่างๆ ด้านการวิจัยและพัฒนา อุตสาหกรรมยาและการแพทย์มากขึ้น สาหรับกิจกรรมพิเศษสาหรับสมาชิกสมาคมและผู้ใช้บริการที่น่าสนใจใน ครั้งต่อไป สามารถสอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ แผนกลูกค้าสัมพันธ์ โทรศัพท์ 0 2936 1429 ต่อ 201-204 หรือ www.ic.or.th
การตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย ความผิดและการดาเนินคดีศุลกากร (Post Review Post Audit Investigation Audit) HOT TRANING
หลักสูตรเด่นประจาเดือน เมษายน 2556
วันเสาร์ที่ 72 เมษายน 7552 เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ โรงแรม อมารี ดอนเมือง กรุงเทพ )ถนนวิราวดีรังสิต(
Delete text and place photo here.
การตรวจสอบหลังการตรวจปล่อยฯ
หัวข้อสัมมนา 1.ระบบควบคุมทางศุลกากร (Customs Control) 1.1 การควบคุมก่อนการตรวจปล่อย : Pre-Clearance Control 1.2 การควบคุมขณะตรวจปล่อย : Clearance Control 1.3 การควบคุมหลังการตรวจปล่อย : Post Clearance Control 2. การตรวจค้นโดยใช้หมายค้น (Investigation Audit) 3. ภาษีศุลกากร และภาษีอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการนาเข้า – ส่งออก
4. พิกัดอัตราศุลกากร และการใช้สิทธิลดหรือยกเว้นอากร 5. การประเมินราคาศุลกากรระบบราคา GATT ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ค่าสิทธิ(Royalty) ค่านายหน้า ค่า
www.website.com
ประกันภัย ค่าขนส่ง ฯลฯ 6. บทลงโทษกรณีต่าง ๆ เช่น ความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร หลีกเลี่ยงอากร หลีกเลี่ยง ข้อห้าม ข้อจากัด (ของควบคุมการนาเข้า-ส่งออก) สาแดงเท็จ การปฏิบัติพิธีการศุลกากรไม่ถูกต้อง
อัตราค่าสัมมนา สมาชิกสมาคม 2,500 บาท + VAT 175 บาท บุคคลทั่วไป 3,500 บาท + VAT 245 บาท
จ่ายสุทธิ 2,675 บาท / คน จ่ายสุทธิ 3,745 บาท / คน
(อัตรานี้รวมค่าเอกสาร อาหารว่าง อาหารกลางวัน และภาษีมูลค่าเพิ่ม) ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมสามารถหักลดหย่อนราษีได้ 722 %
ดาวน์โหลด แบบตอบรับการสัมมนาได้ที่ www.ic.or.th แผนกบริการฝึกอบรมและสัมมนา โทรศัพท์ 0-2936-1429 ต่อ 206 โทรสาร 0-2936-1441-2 E-mail : kanjanac@ic.or.th หรือดูรายละเอียดเพิม่ เติมได้ที่ www.ic.or.th
เกณฑ์การคานวณกาไรสุทธิทางบัญชี VS ภาษีอากร พร้อมการจัดทางบการเงินสาหรับกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน HOT TRANING
หลักสูตรเด่นประจาเดือน เมษายน 2556
วันที่ 25 เมษายน 2556 เวลา 09.00 – 16.30 โรงแรมโกลเด้น ทิวลิป ซอฟเฟอริน กรุงเทพ )9 ถนนพระราม( หัวข้อสัมมนา
Delete text and place photo here.
1. หลักเกณฑ์ และความแตกต่างทางด้านบัญชี และภาษี อากรของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) VS กิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (Non BOI) 2. การบันทึกบัญชีรับรู้รายได้ทางบัญชี และภาษีอากรที่ แตกต่างกัน 2.1 รายได้จากการขายสินค้า ( ขายสด ขายเชื่อ ฝากขาย ) 2.2 รายได้จากการบริการ
เกณฑ์การคานวณกาไรสุทธิทางบัญชีฯ
2.3 รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ และรายได้อื่น ๆ
3. การบัญชีสาหรับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน ซึ่งมี เงื่อนไขตามมาตรา 65 ทวิ 4. การบัญชีสาหรับค่าใช้จ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี www.website.com 5. การวางแผนการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีให้ได้รับประโยชน์สูงสุด ตามบัตรส่งเสริมการลงทุน 6. วิธีการจัดทาแบบ ภ.ง.ด. 50 ให้ถูกต้องตามกฎหมาย 7. Update คาพิพากษาศาลฎีกา ข้อหารือ และคาวินิจฉัยของกรมสรรพากรที่เกี่ยวข้อง
อัตราค่าสัมมนา สมาชิกสมาคม 2,500 บาท + VAT 175 บาท บุคคลทั่วไป 3,500 บาท + VAT 245 บาท
จ่ายสุทธิ 2,675 บาท / คน จ่ายสุทธิ 3,745 บาท / คน
(อัตรานี้รวมค่าเอกสาร อาหารว่าง อาหารกลางวัน และภาษีมูลค่าเพิ่ม) ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมสามารถหักลดหย่อนภาษีได้ 022 % ผู้เข้าอบรมสามารถนับชั่วโมงการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทาบัญชี (CPD) ด้านบัญชี 54.3 ชม 4และด้านอื่นๆ 54.3 ชม4
ดาวน์โหลด แบบตอบรับการสัมมนาได้ที่ www.ic.or.th แผนกบริการฝึกอบรมและสัมมนา โทรศัพท์ 0-2936-1429 ต่อ 206 โทรสาร 0-2936-1441-2 E-mail : kanjanac@ic.or.th หรือดูรายละเอียดเพิม่ เติมได้ที่ www.ic.or.th
หลักสูตร: การใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้เขตการค้าเสรี FTA HOT TRANING
หลักสูตรเด่นประจาเดือน เมษายน 2556
วันอังคารที่ 2 เมษายน 2556เวลา 09.00-16.00 น. โรงแรม อมารี ดอนเมือง กรุงเทพฯ (ถนนวิภาวดีรังสิต) หัวข้อสัมมนา
Delete text and place photo here.
การใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้เขตการค้าเสรี FTA
1. หลักเกณฑ์การใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรภายใต้เขต การค้าเสรี FTA ของไทย 2. แนวทางการเลือกใช้อัตราอากร FTA 3. ระเบียบปฏิบัติในการนาเข้า – ส่งออก สินค้า FTA ของไทย 4. ความเหมือนและความแตกต่างในระเบียบปฏิบัติภายใต้ FTA 5. การตรวจสอบหนังสือรับรองถิ่นกาเนิดสินค้าภายใต้เขต การค้าเสรีและปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมแนวทางแก้ไข
หลักการและเหตุผล การจัดสัมมนาหลักสูตรนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สิทธิพิเศษ ทางภาษีศุลกากรภายใต้เขตการค้าเสรีและการแก้ไขปัญหาความไม่เข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์www.website.com และเงื่อนไขของ FTA ต่างๆ ที่เกี่ยวกับศุลกากร รวมทั้งหลักปฏิบัติทั่วไปตามกฎหมายศุลกากร ระเบียบพิธีการศุลกากร การเสีย ภาษี การขอยกเว้นอากร ลดอัตราอากร เพื่อให้ผู้ประกอบการเกี่ยวกับการนาเข้า -ส่งออก ได้ใช้สิทธิพิเศษทาง ภาษีอากรอย่างเต็มที่และถูกต้อง อัตราค่าสัมมนา
สมาชิกสมาคม 2,500 บาท + VAT 175 บาท จ่ายสุทธิ 2,675 บาท / คน บุคคลทั่วไป 3,500 บาท + VAT 245 บาท จ่ายสุทธิ 3,745 บาท / คน **(อัตรานี้รวมค่าเอกสาร อาหารว่าง อาหารกลางวัน และภาษีมูลค่าเพิ่ม)** **ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมสามารถหักลดหย่อนภาษีได้ 022%**
ดาวน์โหลด แบบตอบรับการสัมมนาได้ที่ www.ic.or.th แผนกบริการฝึกอบรมและสัมมนา โทรศัพท์ 0-2936-1429 ต่อ 206 โทรสาร 0-2936-1441-2 E-mail : kanjanac@ic.or.th หรือดูรายละเอียดเพิม่ เติมได้ที่ www.ic.or.th