เครื่องจักตอกเศษไม้ไผ่เหลือใช้ จากการผลิตข้าวหลาม
โดย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
เครื่องจักตอกเศษไม้ไผ่เหลือใช้จากการผลิตข้าวหลาม
ผู้เขียน : สมศักดิ์ อิทธิโสภณกุล อนินท์ มีมนต์ และศุภเอก ประมูลมาก ISBN : 978-974-625-625-4 จ�ำนวน : 17 หน้า พิมพ์ครั้งที่ 1 : สิงหาคม 2557 จ�ำนวนพิมพ์ : 100 เล่ม ราคา : จัดพิมพ์โดย : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เลขที่ 39 หมู่ 1 ถนนรังสิต-นครนายก ต�ำบลคลองหก อ�ำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12110 โทรศัพท์: 0 2549 4682 โทรสาร: 0 2577 5038 Website: http://www.ird.rmutt.ac.th E-mail: ird@rmutt.ac.th พิมพ์ที่ : บริษัท ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จ�ำกัด โทรศัพท์ : 0 2521 8420 โทรสาร: 0 2521 8424 เนื้อหาใดๆ ในหนังสือเล่มนี้เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเพียงผู้เดียว สถาบันวิจัยและพัฒนา เป็นเพียงผู้จัดพิมพ์เผยแพร่เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชนเท่านั้น
ค�ำน�ำ เอกสารเผยแพร่ความรู้ เรือ่ ง เครือ่ งจักตอกเศษไม้ไผ่เหลือใช้จากการผลิต ข้าวหลาม ส�ำเร็จได้ด้วยดี คณะผู้จัดท�ำขอขอบคุณภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่เอื้อเฟื้อสถานที่ ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ รวมทั้งให้ใช้เครื่องมือและเครื่องทดสอบส�ำหรับการ ทดลองในครั้งนี้ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สิงหาคม 2557
สารบัญ บทน�ำ วัตถุประสงค์ของโครงการ ขอบเขตของโครงการ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับของโครงการ ผลการด�ำเนินงาน สรุปผลและข้อเสนอแนะ บรรณานุกรม ประวัติผู้เขียน
หน้า 1 4 5 6 7 12 14 15
เครื่องจักตอกเศษไม้ ไผ่เหลือใช้จากการผลิตข้าวหลาม 1
บทน�ำ ไม้ไผ่ เป็นพืชที่มีความส�ำคัญต่อการด�ำรงชีวิตของชาวไทยมาช้านาน ทุกส่วนของล�ำจนถึงรากสามารถน�ำมาใช้ประโยชน์ได้ทงั้ ในด้านอุปโภคและบริโภค ใช้ สร้างทีอ่ ยูอ่ าศัย ท�ำเครือ่ งมือเครือ่ งใช้ ไม้คำ�้ ยัน กระดาษ เชือ้ เพลิง และงานหัตถกรรม เครือ่ งจักร หรือด้านอืน่ ๆ ไม้ไผ่จดั ได้วา่ เป็นไม้อเนกประสงค์ เป็นทรัพยากรธรรมชาติ ทีส่ ำ� คัญอย่างยิง่ และเป็นพืชทีต่ ดั แล้วไม่มกี ารล้มตายจากไปเหมือนต้นไม้ชนิดอืน่ ๆ เมื่อหนึ่งต้นถูกตัดออกไปจากกอไผ่ก็จะมีอีกหลายหน่องอกขึ้นมาพร้อมจะโตเป็น ล�ำต้นที่แข็งแรง สร้างความชุ่มชื้นให้กับสภาวะแวดล้อมได้เป็นอย่างดี ข้าวหลาม เป็นอาหารประเภทหนึ่งที่ผลิตจากไม้ไผ่ ซึ่งท�ำจากการผสมข้าวเหนียวบรรจุลงใน กระบอกไม้ไผ่ที่ผ่านการท�ำความสะอาดและตัดให้มีขนาดพอดี แล้วน�ำไปย่างไฟ จะได้ข้าวหลามที่มีรสชาติอร่อยน่ารับประทาน การท�ำข้าวหลามจะตัดกระบอก ไม้ไผ่ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ส่วนความโตของกระบอกข้าวหลามขึ้นอยู่กับ กระบอกไม้ไผ่ตามธรรมชาติซึ่งจะมีขนาดไม่เท่ากัน โดยส่วนปลายจะได้กระบอก เล็กและไล่ลงมาจนถึงส่วนโคนกระบอกจะใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบันข้าวหลามได้ มีการจ�ำหน่ายและบริโภคทุกภาคส่วนของประเทศ ไม่ได้จ�ำกัดอยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่ หนึ่งของประเทศไทย กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มหนึ่งต�ำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือกลุ่มสตรีแม่บ้าน เกษตรกร หลายกลุ่มที่ได้รวมตัวผลิตข้าวหลามเพื่อการจ� ำหน่าย สร้างรายได้ ซึ่งการผลิตข้าวหลามได้มีการใช้ไม้ไผ่เป็นวัตถุดิบหลักส�ำหรับการผลิต และในการ ผลิตข้าวหลามมักจะมีเศษไม้ไผ่เหลือทิ้งอยู่เสมอ เพราะด้านโคนและปลายของ ล�ำไม้ไผ่ไม่สามารถน�ำมาผลิตเป็นข้าวหลามได้ เนื่องจากด้านโคนล�ำไม้ไผ่มีขนาด ใหญ่และมีความหนามากไป ส่วนด้านปลายมักจะมีขนาดเล็กและบางมากไป
2 เครื่องจักตอกเศษไม้ ไผ่เหลือใช้จากการผลิตข้าวหลาม
เมื่อน�ำไปเผาแล้วจะไหม้อย่างรวดเร็วท�ำให้ข้าวหลามเกิดการเสียหายได้ ด้วยเหตุนี้ จึงท�ำให้มีไม้ไผ่เหลือจากกระบวนการผลิตข้าวหลามเป็นจ�ำนวนมากในระยะเวลา เพียง 2-3 วัน การแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นทางกลุ่มได้ท�ำการรอให้ไม้ไผ่แห้งและเผา ท�ำลาย เมือ่ เกิดการเผาไหม้เกิดขึน้ ก็จะเกิดควันและความร้อนส่งผลกระทบโดยตรง กับชั้นบรรยากาศ เป็นต้นเหตุของการท�ำให้เกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นสถานการณ์ อย่างหนึ่งที่ต้องเร่งแก้ไขในปัจจุบัน รูปที่ 1 และ 2 แสดงภาพของเศษไม้ไผ่เหลือใช้ จากการผลิตข้าวหลามของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรแสงตะวัน ต�ำบลกระแซง อ�ำเภอ สามโคก จังหวัดปทุมธานี
รูปที่ 1 เศษไม้ไผ่ที่เหลือจากการผลิตข้าวหลาม
ด้วยเหตุนี้ ทางคณะผู้จัดท�ำจึงได้มีแนวคิดลดปัญหาการเผาท�ำลายเศษ ไม้ไผ่เหลือใช้จากการผลิตข้าวหลาม โดยการน�ำเศษไม้ไผ่ดังกล่าวไปท�ำให้เกิด ประโยชน์ อ ย่ า งสู ง สุ ด ด้ ว ยการน� ำ เอาเศษไม้ ไ ผ่ ที่ เ หลื อ จากการผลิ ต ข้ า วหลาม มาจักตอกให้มคี วามบางเพือ่ น�ำไปจักสานด้วยภูมปิ ญั ญาชาวบ้าน เช่น สานเป็นเข่งปลาทู เข่งติ่มซ�ำ กระติ๊บข้าวขนาดเล็ก ผลิตภัณฑ์จักสานรูปแบบอื่น ๆ หรือผลิตเป็นตอก
เครื่องจักตอกเศษไม้ ไผ่เหลือใช้จากการผลิตข้าวหลาม 3
ส่งขายให้กลุ่มชุมชนอื่นที่ต้องการใช้ตอกไม้ไผ่ผลิตเครื่องจักสานหรือผลิตภัณฑ์ ชนิดอื่น ๆ รวมถึงการใช้ตอกมัดผักแทนการใช้หนังยาง เป็นการส่งเสริมการใช้วัสดุ ธรรมชาติทสี่ ามารถย่อยสลายได้อย่างง่าย อีกทัง้ เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนรักษา ภูมปิ ญ ั ญาชาวบ้านทีม่ มี าแต่ดงั้ เดิม ส่งถ่ายทอดเทคนิควิธกี ารจักสานให้กบั ลูกหลาน และเป็นโอกาสของการเพิ่มรายได้จากการผลิตงานหัตถกรรมจักสานให้กับกลุ่ม ผู้สูงอายุอีกแนวทางหนึ่ง
รูปที่ 2 กองเศษไม้ไผ่เหลือจากการผลิตข้าวหลามที่รอเผา
4 เครื่องจักตอกเศษไม้ ไผ่เหลือใช้จากการผลิตข้าวหลาม
วัตถุประสงค์ของโครงการ 1) เพื่ อ ออกแบบและสร้ า งเครื่ อ งจั ก ตอกจากเศษไม้ ไ ผ่ เ หลื อ ใช้ จ าก การผลิตข้าวหลาม 2) สร้างมูลค่าเพิ่มกับเศษวัสดุเหลือใช้จากไม้ไผ่ผลิตข้าวหลามให้เกิด ประโยชน์ 3) ส่งเสริมการรักษาภูมิปัญญาชาวบ้านทางด้านผลิตภัณฑ์จักสานด้วย ตอกไม้ไผ่ 4) ลดปัญหาสภาวะแวดล้อมจากกระบวนการเผาไหม้ ส่งเสริมการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติอย่างบูรณาการให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด
เครื่องจักตอกเศษไม้ ไผ่เหลือใช้จากการผลิตข้าวหลาม 5
ขอบเขตของโครงการ ออกแบบและสร้างเครื่องจักตอกขนาดกะทัดรัดส�ำหรับกลุ่มชุมชนผู้ผลิต ข้าวหลามเพือ่ การจ�ำหน่าย โดยตัวเครือ่ งสามารถเคลือ่ นย้ายได้อย่างสะดวก การใช้ งานง่าย และปลอดภัยต่อการปฏิบัติงาน ส�ำหรับกลุ่มผู้ใช้ในระดับชุมชน สามารถ จักตอกทีม่ คี วามหนาได้ขนาด 0.2-1 มิลลิเมตร ความยาวไม่เกิน 1 เมตร และสามารถ จักตอกได้ไม่ต�่ำกว่า 3,600 เส้นต่อชั่วโมง
6 เครื่องจักตอกเศษไม้ ไผ่เหลือใช้จากการผลิตข้าวหลาม
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับของโครงการ 1) ได้เครื่องจักตอกที่มีประสิทธิภาพส�ำหรับจักตอกไม้ไผ่เหลือใช้จากการ ผลิตข้าวหลามของกลุ่มชุมชน 2) สามารถลดแรงงานด้านการจักตอก โดยเครือ่ งสามารถจักตอกได้ความ หนาที่คงที่ขนาด 0.2-1 มม. ความยาวไม่เกิน 1 เมตร โดยสามารถจักตอกได้ ไม่ต�่ำกว่า 3,600 เส้นต่อชั่วโมง 3) เพือ่ สร้างมูลค่าเพิม่ กับเศษวัสดุเหลือใช้จากการผลิตข้าวให้เกิดประโยชน์ มากกว่าการเผาท�ำลาย ลดปัญหาสภาวะแวดล้อมที่เกิดจากความร้อนและมลพิษ จากควันไฟในการเผาไหม้ที่จะส่งผลกับสภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน 4) ส่งเสริมการรักษาภูมปิ ญ ั ญาชาวบ้านทางด้านการจักสานผลิตภัณฑ์จาก ตอกไม้ไผ่ ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานจากเส้นตอกที่มีความหนาคงที่
เครื่องจักตอกเศษไม้ ไผ่เหลือใช้จากการผลิตข้าวหลาม 7
ผลการด�ำเนินงาน เครื่องจักตอกจากเศษไม้ไผ่เหลือใช้จากการผลิตข้าวหลามถูกออกแบบให้ มีขนาดโดยประมาณ 48x65x98 เซนติเมตร รูปที่ 3 แสดงลักษณะของเครือ่ งจักตอก ที่สร้างขึ้น
รูปที่ 3 ลักษณะของเครื่องจักตอกที่สร้างขึ้น
การปฏิบัติงานกับเครื่องจักตอกแบ่งการปฏิบัติงานออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ขั้นตอนการเตรียมไม้ไผ่ และขั้นตอนการจักตอกด้วยเครื่อง โดยมีรายละเอียดของ ขั้นตอนการปฏิบัติงานดังนี้ 1) ขั้นตอนการเตรียมไม้ไผ่ 1.1) ตัดไม้ไผ่จากล�ำไม้ไผ่ที่เหลือใช้จากการผลิตข้าวหลามให้มี ความยาวของไม้ไผ่ตามที่ต้องการ ในการทดลองนี้จะใช้ไม้ไผ่แบบหนึ่งปล้อง และ สองปล้อง ดังแสดงในรูปที่ 4
8 เครื่องจักตอกเศษไม้ ไผ่เหลือใช้จากการผลิตข้าวหลาม
a) ไม้ไผ่แบบหนึ่งปล้อง b) ไม้ไผ่แบบสองปล้อง รูปที่ 4 ลักษณะของไม้ไผ่เหลือใช้จากการผลิตข้าวหลาม
1.2) ผ่าไม้ไผ่ดว้ ยมีดผ่าทีไ่ ด้ออกแบบไว้ ดังแสดงในรูปที่ 5a) เพือ่ ให้ ได้ซีกของไม้ไผ่ที่มีขนาดเท่า ๆ กัน อีกทั้งจะท�ำให้สะดวกในการปรับตั้งระยะลูกกลิ้ง ส�ำหรับขั้นตอนการจักตอกด้วย ในรูปที่ 5b) แสดงวิธีการผ่าซีกไม้ไผ่ และรูปที่ 5c) แสดงลักษณะของไม้ไผ่ที่ได้ผ่าเป็นซีก เตรียมพร้อมส�ำหรับการจักตอก
a) เครื่องผ่าซีก
b) การผ่าซีกไม้ไผ่
c) ซีกไม้ไผ่ที่ผ่าแล้ว
รูปที่ 5 ขั้นตอนการผ่าซีกไม้ไผ่
2) ขั้นตอนการจักตอกด้วยเครื่อง 2.1) เตรียมผ่าไม้ไผ่ที่จะจักตอกให้เป็นซีก 2.2) ปรับระยะห่าง (Gap) ของใบมีดให้พอดีกบั ความหนาทีต่ อ้ งการ
เครื่องจักตอกเศษไม้ ไผ่เหลือใช้จากการผลิตข้าวหลาม 9
2.3) ท�ำการตั้งชุดลูกกลิ้งจักให้ได้พอดีกับความหนาของซีกไม้ไผ่ที่ จะท�ำการจักตอก 2.4) เปิดเบรกเกอร์เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบชุดขับเคลื่อน แล้วจึงเปิดสวิตช์เพื่อเปิดการท�ำงานของเครื่อง 2.5) น�ำซีกไม้ไผ่ทเี่ ตรียมไว้แล้ววางลงบนรางป้อนไม้ไผ่ หลังจากนัน้ ลูกกลิ้งจักจะท�ำการดึงจักโดยอัตโนมัติ ท�ำการจักโดยตอกที่มีขนาดตามที่ตั้งระยะ ใบมีดจะไฟไหลออกทางด้านล่าง ส่วนซีกไม้ไผ่ทไี่ หลออกด้านบนจะต้องท�ำมาจักตอก ซ�้ำใหม่อีกครั้ง ท�ำจนกระทั่งเหลือความบางที่ไม่สามารถจักตอกได้ รูปที่ 6 แสดงวิธี การจักตอกด้วยเครื่องที่สร้างขึ้น
รูปที่ 6 วิธีการจักตอกของเครื่องจักตอก
การทดสอบการจักตอกจากไม้ไผ่หนึ่งปล้อง ไม้ไผ่แบบหนึ่งปล้อง เป็นชนิดของไม้ไผ่เหลือใช้จากการผลิตข้าวหลาม ซึ่งได้ท�ำการตัดแต่ละปล้องมีขนาดเท่ากัน 38 เซนติเมตร ท�ำการผ่าให้เป็นซีกด้วย เครื่องมือผ่า ท�ำการจักตอกไม้ไผ่ ผลการทดลองการจักตอกที่ได้จากการทดลอง
10 เครื่องจักตอกเศษไม้ ไผ่เหลือใช้จากการผลิตข้าวหลาม
ส�ำหรับไม้ไผ่หนึง่ ปล้อง แสดงดังรูปที่ 7 ลักษณะของเส้นตอกไม้ไผ่ทดี่ แี ละเสีย แสดง ดังรูปที่ 8 ซึ่งใช้วิธีการตรวจสอบด้วยตาเปล่า แยกลักษณะของเส้นตอกที่ดีและเสีย
รูปที่ 7 ผลการทดลองจักตอกจากไม้ไผ่หนึ่งปล้อง
a) เส้นตอกชนิดดี b) เส้นตอกชนิดไม่ดี รูปที่ 8 ลักษณะของตอกไม้ไผ่ที่ดีและเสียของเส้นตอกจากไม้ไผ่แบบหนึ่งปล้อง
การทดสอบการจักตอกจากไม้ไผ่สองปล้อง (แบบมีข้อไม้ไผ่) ไม้ไผ่แบบสองปล้อง เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของไม้ไผ่เหลือใช้จากการผลิต ข้าวหลาม และเป็นล�ำปล้องไม้ไผ่ที่แตก หรือไม่สามารถน�ำไปผลิตข้าวหลามได้ ซึ่ง ได้ท�ำการตัดแต่งให้มีขนาดเท่ากันเท่ากับ 70 เซนติเมตร ท�ำการผ่าให้เป็นซีกด้วย
เครื่องจักตอกเศษไม้ ไผ่เหลือใช้จากการผลิตข้าวหลาม 11
เครื่องมือผ่า ผลการทดลองการจักตอกที่ได้จากการทดลองส�ำหรับไม้ไผ่หนึ่งปล้อง แสดงดังรูปที่ 9 ลักษณะของเส้นตอกไม้ไผ่ทดี่ แี ละเสีย แสดงดังรูปที่ 10 ซึง่ ใช้วธิ กี าร ตรวจสอบด้วยตาเปล่า แยกลักษณะของเส้นตอกที่ดีและเสีย
รูปที่ 9 ผลการทดลองจักตอกจากไม้ไผ่สองปล้อง
a) เส้นตอกชนิดดี
b) เส้นตอกชนิดไม่ดี
รูปที่ 10 ลักษณะของลักษณะของตอกไม้ไผ่ที่ดีและเสีย ของเส้นตอกจากไม้ไผ่แบบสองปล้อง
12 เครื่องจักตอกเศษไม้ ไผ่เหลือใช้จากการผลิตข้าวหลาม
สรุปผลและข้อเสนอแนะ การออกแบบและสร้ า งเครื่ อ งจั ก ตอกเศษไม้ ไ ผ่ เ หลื อ ใช้ จ ากการผลิ ต ข้าวหลามได้ด�ำเนินการมาจนบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ โดยเครื่องที่สร้างขึ้น สามารถปฏิบตั งิ านได้ และสามารถจักตอกได้ทงั้ ชนิดของไม้ไผ่ทมี่ รี ปู แบบปล้องเดียว และแบบสองปล้อง หรือชนิดที่มีข้อไม้ไผ่ ประกอบด้วยการทดลองและวิเคราะห์ ได้ผลสรุปดังรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1) เครื่องจักตอกเศษไม้ไผ่เหลือใช้จากการผลิตข้าวหลามที่ออกแบบและ สร้างขึ้น มีขนาด 48x65x98 เซนติเมตร ใช้ก�ำลังขับจากมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด ½ แรงม้า (0.4 Kw) เครื่องจักตอกมีความสามารถในการจักตอกโดยเฉลี่ย 36 เมตร/ นาที โดยมีความเร็วสูงสุดในการจักตอกให้ได้เส้นตอกทีม่ คี ณ ุ ภาพดีจะเท่ากับ 4,320 เส้นต่อชั่วโมง 2) ผลการทดลองจักตอกด้วยไม้ไผ่แบบปล้องเดียวทีค่ วามหนา 0.50, 0.75, 1.00, 1.25, 1.50 มิลลิเมตร ยาว 38 เซนติเมตร พบว่ามีเปอร์เซ็นต์ของเส้นตอกที่ คุณภาพดีอยู่ในช่วง 79-69 เปอร์เซ็นต์ และความคลาดเคลื่อนของความหนาอยู่ใน ช่วง 0.02 มิลลิเมตร 3) ผลการทดลองจักตอกด้วยไม้ไผ่แบบสองปล้องหรือแบบมีข้อไม้ไผ่ที่ ความหนา 0.50, 0.75, 1.00, 1.25, 1.50 มิลลิเมตร ยาว 70 เซนติเมตร พบว่ามี เปอร์เซ็นต์ของเส้นตอกที่คุณภาพดีอยู่ในช่วง 77-69 เปอร์เซ็นต์ และความคลาด เคลื่อนของความหนาอยู่ในช่วง 0.03 มิลลิเมตร 4) จ�ำนวนเส้นตอกทีเ่ ป็นของเสียมีคา่ ลดลงเมือ่ ระยะห่างของใบมีดมีคา่ เพิม่ ขึ้น หรือความหนาของเส้นตอกเพิ่มขึ้น เนื่องด้วยลักษณะทางกายภาพของไม้ไผ่จะ ประกอบไปด้วยโครงสร้างของเส้นใยทีเ่ ป็นองค์ประกอบของล�ำต้นอยูใ่ นลักษณะเส้น ในแนวนอนเมื่อได้รับแรงเฉือนจากใบมีด และด้วยลักษณะของเส้นตอกที่มีความ บางจะท�ำให้เกิดการเปลีย่ นรูปร่างของเส้นตอกในลักษณะทีม่ เี นือ้ ไม้ไผ่ไม่เต็มตลอด ความยาวของเส้น
เครื่องจักตอกเศษไม้ ไผ่เหลือใช้จากการผลิตข้าวหลาม 13
5) การจักตอกด้วยเครือ่ งทีอ่ อกแบบและสร้างขึน้ มีตน้ ทุนเฉลีย่ 1.27 บาท ต่อการจักตอก 50 เส้น ในขณะที่ราคาจ�ำหน่ายในท้องตลาดอยู่ที่ก�ำละ 5 บาท สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับตอกไม้ไผ่ได้ รวมทั้งลดปัญหาการเผาไม้ไผ่ที่เหลือใช้ ช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมอีกช่องทางหนึ่ง
14 เครื่องจักตอกเศษไม้ ไผ่เหลือใช้จากการผลิตข้าวหลาม
บรรณานุกรม . ม.ป.ป. สิ่งประดิษฐ์จากไม้ไผ่. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2553 จาก http://www.tisi.go.th/otop/pdf_file/ tcps184_46.pdf กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์. 2540. อุตสาหกรรมไม้ไผ่และผลิตภัณฑ์ เอกสาร ทางวิชาการชุดการค้าอุตสาหกรรมไม้ไผ่และผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ: กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์. กระทรวงอุตสาหกรรม ส�ำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. ม.ป.ป. ผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2553 จาก http://www.tisi.go.th/otop/ pdf_file/tcps40_46.pdf จ�ำรูญ ตนั ติพศิ าลกุล. 2542. การออกแบบชิน้ ส่วนเครือ่ งกล 2. กรุงเทพฯ: ว. เพ็ชรสกุล. เต็ม สมิตินันทน์ และชุมศรี ชัยอนันท์. 2525. การจ�ำแนกพันธุ์พืชของไม้ไผ่ใน ประเทศไทย. ม.ป.ท. ภาณุฤทธิ์ ยุกตะทัต, ม.ป.ป. การออกแบบเครื่องจักรกล 2 ระบบ SI. กรุงเทพฯ: ท้อป. สมยศ จันเกษม และ คิโยคัตสึ ซึงะ. 2527. การออกแบบชิ้นส่วนเครื่องกล. พิมพ์ ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ดวงกมล. อนันต์ อนันตโชติ. 2539. ความหลากหลายทางชีวภาพของไม้ไผ่ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เครื่องจักตอกเศษไม้ ไผ่เหลือใช้จากการผลิตข้าวหลาม 15
ประวัติผู้เขียนและผลิตเครื่อง คนที่ 1 ชื่อ-นามสกุล นายสมศักดิ์ อิทธิโสภณกุล ต�ำแหน่งปัจจุบัน ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านของภาควิชา วิศวกรรมอุตสาหการ (วอ.187) และวุฒิสมาชิก วสท. (1/018986) ที่ท�ำงาน ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 39 หมู่ 1 ถ.รังสิต-นครนายก ต.คลองหก อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี 12110 ประวัติการศึกษา คอ.บ. (อุตสาหการ-เครื่องมือกล) วิทยาลัยเทคโนโลยีและ อาชีวศึกษา คอ.ม. (เทคโนโลโลยีเทคนิคศึกษา) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ Ph.D. (Technology Management) Technological University of the Philippine สาขาวิชาการที่มีความช�ำนาญพิเศษ Metallurgy (Deep to Ferrous Metal) Material Testing (DT) Steel Mill Plant (Iron and Steel Making) Punch and Dies Manufacturing Process
16 เครื่องจักตอกเศษไม้ ไผ่เหลือใช้จากการผลิตข้าวหลาม
ประวัติผู้เขียนและผลิตเครื่อง คนที่ 2 ชื่อ-นามสกุล นายอนินท์ มีมนต์ ต�ำแหน่งปัจจุบัน อาจารย์ระดับ 7 ที่ท�ำงาน ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 39 หมู่ 1 ถ.รังสิต-นครนายก ต.คลองหก อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี 12110 ประวัติการศึกษา วศ.บ. (อุตสาหการ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี วศ.ม. (อุตสาหการการผลิต) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สาขาวิชาการที่มีความช�ำนาญพิเศษ Composite Materials (Bio-Composite) Plastic Injection Molding Computer Aided Design Manufacturing Process
เครื่องจักตอกเศษไม้ ไผ่เหลือใช้จากการผลิตข้าวหลาม 17
ประวัติผู้เขียนและผลิตเครื่อง คนที่ 3 ชื่อ-นามสกุล นายศุภเอก ประมูลมาก ต�ำแหน่งปัจจุบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ที่ท�ำงาน ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 39 หมู่ 1 ถ.รังสิต-นครนายก ต.คลองหก อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี 12110 ประวัติการศึกษา วศ.บ. (วิศวกรรมอุตสาหการ) มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต วศ.ม. (วิศวกรรมระบบการผลิต) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สาขาวิชาการที่มีความช�ำนาญพิเศษ Cad/Cam Quality Control Manufacturing Proess Tool Engineering
คณะกรรมการวิชาการพิจารณาเอกสารเผยแพร่ความรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 1. รศ. ดร.สุวรินทร์ ปัทมวรคุณ 2. ผศ. ดร.ณัฐวรรณ คุปพิทยานันท์ 3. ผศ. ดร.จตุพร เผ่าพงษ์ไทย 4. รศ.วสันต์ กันอ�่ำ 5. ผศ. ดร.วันชัย ประเสริฐศรี 6. ผศ.สุภา ทองคง 7. ผศ. ดร.บุญเรือง สมประจบ 8. ผศ. ดร.อัญชลี สวาสดิ์ธรรม 9. ผศ. ดร.สมจิตร ถนอมวงศ์วัฒนะ 10. ผศ. ดร.อ้อยทิพย์ ผู้พัฒน์ 11. ผศ. ดร.บุญย์ฤทธิ์ ประสาทแก้ว 12. นายประชุม ค�ำพุฒ 13. นายเกษียร ธรานนท์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
คณะผู้จัดท�ำ ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดี คณะท�ำงาน ฝ่ายอ�ำนวยการ รองศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี สงวนพงษ์ นางบรรเลง สระมูล
ผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา รองผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา
ฝ่ายเนื้อหา ดร.สมศักดิ์ อิทธิโสภณกุล นายอนินท์ มีมนต์ นายศุภเอก ประมูลมาก
คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
ฝ่ายศิลป์ และจัดพิมพ์ นางนฤมล จารุสัมฤทธิ์ นางสาวกชกร ดาราพาณิชย์ นางสาวอริสรา สุดสระ นางสรสุดา ชูกลิ่น จัดพิมพ์โดย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เลขที่ 39 หมู่ 1 ถนนรังสิต-นครนายก ต�ำบลคลองหก อ�ำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12110 โทรศัพท์: 0 2549 4682 โทรสาร. 0 2577 5038 Website: http://www.ird.rmutt.ac.th E-mail: ird@rmutt.ac.th พิมพ์ที่: บริษัท ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จ�ำกัด โทรศัพท์: 0 2521 8420 โทรสาร. 0 2521 8424