โรงเรือนปลูกพืชอย่างง่ายด้วยไม้ไผ่
โดย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
โรงเรือนปลูกพืชอย่างง่ายด้วยไม้ไผ่
ผู้เขียน : นฤมล แสนเสนา ISBN : 978-974-625-621-6 จ�ำนวน : 37 หน้า พิมพ์ครั้งที่ 1 : สิงหาคม 2557 จ�ำนวนพิมพ์ : 100 เล่ม ราคา : จัดพิมพ์โดย : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เลขที่ 39 หมู่ 1 ถนนรังสิต-นครนายก ต�ำบลคลองหก อ�ำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12110 โทรศัพท์: 0 2549 4682 โทรสาร: 0 2577 5038 Website: http://www.ird.rmutt.ac.th E-mail: ird@rmutt.ac.th พิมพ์ที่ : บริษัท ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จ�ำกัด โทรศัพท์ : 0 2521 8420 โทรสาร: 0 2521 8424 เนื้อหาใดๆ ในหนังสือเล่มนี้เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเพียงผู้เดียว สถาบันวิจัยและพัฒนา เป็นเพียงผู้จัดพิมพ์เผยแพร่เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชนเท่านั้น
ค�ำน�ำ เอกสารเผยแพร่ความรู้ เรือ่ ง โรงเรือนปลูกพืชอย่างง่ายด้วยไม้ไผ่ จัดท�ำขึน้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเทคนิควิธีการก่อสร้างโรงเรือน ปลูกพืชที่สร้างง่ายและราคาประหยัดด้วยไม้ไผ่ รวมถึงวัสดุคลุมโรงเรือนและการ บ�ำรุงรักษาไม้ไผ่ให้มีอายุการใช้งานยาวนานขึน้ ด้วยภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ เพือ่ เป็นทาง เลือกให้กบั เกษตรกรและผูส้ นใจทัว่ ไปที่ต้องการสร้างโรงเรือนส�ำหรับปลูกพืชเพื่อใช้ บริโภคในครัวเรือนหรือปลูกขายเป็นรายได้เสริม ทัง้ นี้ ผูเ้ ขียนหวังเป็นอย่างยิง่ ว่าหนังสือเอกสารเผยแพร่ความรูฉ้ บับนีจ้ ะเป็น ประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ หากมีข้อบกพร่องประการใดผู้เขียนขออภัยไว้ ณ ที่นี้ และ น้อมรับผิดแต่เพียงผู้เดียว สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สิงหาคม 2557
สารบัญ ชนิดของไม้ไผ่ในประเทศไทย การเตรียมไม้ไผ่เพื่อใช้ในงานก่อสร้าง การเลือกรูปแบบของโรงเรือน โครงสร้างโรงเรือน อุปกรณ์ประกอบโรงเรือน ขั้นตอนการก่อสร้าง แบบก่อสร้างโรงเรือน บรรณานุกรม ประวัติผู้เขียน
หน้า 1 5 7 12 21 24 29 35 37
โรงเรือนปลูกพืชอย่างง่ายด้วยไม้ ไผ่ 1
ชนิดของไม้ ไผ่ในประเทศไทย ไม้ไผ่ที่พบในประเทศไทยมีหลายชนิด ดังนี้ 1. ไผ่โจด สูงถึง 15 เมตร ปล้องยาว 7–10 เซนติเมตร มีหนาม ล�ำใช้ท�ำ ด้ามไม้กวาด 2. ไผ่เพ็ด มีขนาดเล็ก ล�ำต้นสูง 0.5–3 เมตร ปล้อง Ø 5–7 มิลลิเมตร ปล้องยาว 20–30 เซนติเมตร ใช้ท�ำผลิตภัณฑ์ใช้ในครัวเรือน 3. ไผ่หนาม ล�ำ Ø 10–18 เซนติเมตร ล�ำต้นใช้ทำ� นัง่ ร้านส�ำหรับงานก่อสร้าง 4. ไผ่สีสุก ปล้อง Ø 7–10 เซนติเมตร เนื้อหนาทนทาน ใช้ท�ำเฟอร์นิเจอร์ นั่งร้าน เครื่องมือประมง เครื่องจักสาน และอุตสาหกรรมผลิตเยื่อกระดาษ 5. ไผ่หวาน ไผ่บงหวาน ไผ่บงหนาม เป็นไผ่ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง กอเป็นพุ่มแน่น มีล�ำต้นคดงอ Ø 3–5 เซนติเมตร สูง 5–8 เมตร หน่อหนัก 2–3 ขีด รสหวาน นิยมปลูกเพือ่ การตัดหน่อ ล�ำต้นใช้ทำ� เชือ้ เพลิง ท�ำตอก ไม้คำ�้ ยัน และบันได 6. ไผ่ล�ำมะลอก ไม่มีหนาม ข้อเรียบ ใช้ในการก่อสร้าง นั่งร้าน ไม้ค�้ำยัน เสาโป๊ะ เฟอร์นิเจอร์ และเครื่องจักสาน หน่อรับประทานได้ มีรสหวาน 7. ไผ่เลี้ยง ปล้องมี Ø 2–3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 20–25 เซนติเมตร ปลูกเป็นไม้ประดับ ท�ำคันเบ็ด ไม้ค�้ำยัน บันได ท�ำโป๊ะ และหลักเลี้ยงหอยแมลงภู่ 8. ไผ่บง เป็นไผ่ขนาดกลาง ขึ้นเป็นกอแน่น ล�ำต้นมี Ø 5–8 เซนติเมตร สูงประมาณ 6–10 เมตร ผิวของล�ำต้นไม่เรียบ ใช้ในงานก่อสร้าง และงานจักสาน 9. ไผ่เหลือง เป็นไผ่ขนาดกลาง นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ และประดิษฐ์เป็น ของใช้ เครื่องประดับ 10. ไผ่น�้ำเต้า นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ มีลักษณะโปร่งคล้ายน�้ำเต้าตรงกลาง ปล้องและกิ่ง ตามข้อล�ำต้นมี Ø 4–8 เซนติเมตร 11. ไผ่ ข ้ า วหลาม เป็ น ไผ่ ข นาดกลาง Ø 5–8 เซนติ เ มตร เนื้ อ บาง ปล้องยาว 30 เซนติเมตร สูง 7–8 เมตร ใช้ท�ำกระบอกข้าวหลามและเครื่องจักสาน
2 โรงเรือนปลูกพืชอย่างง่ายด้วยไม้ ไผ่
12. ไผ่เฮียะ เป็นไผ่ขนาดกลาง ล�ำต้น Ø 5–10 เซนติเมตร ปล้องยาว 50–70 เซนติเมตร ท�ำฝ้าหรือเพดาน และเครื่องมือดักสัตว์น�้ำ หน่อรับประทานได้ 13. ไผ่ตง เป็นไผ่ขนาดใหญ่ สูง 20 เมตร ล�ำต้น Ø 6–12 เซนติเมตร แบ่ง ออกตามพันธุ์ต่าง ๆ คือ ไผ่ตงหม้อ ไผตงดา หรือ ไผ่ตงจีน ไผ่ตงเขียว ไผ่ตงเล็ก และไผ่ตงลาย ใช้ในอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ 14. ไผ่บงใหญ่ คล้ายไผ่ตง ล�ำต้น Ø 12–18 เซนติเมตร สูงประมาณ 15–20 เมตร ใช้ในการก่อสร้างและอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ 15. ไผ่หก ล�ำ Ø 15–20 เซนติเมตร ปล้องยาว 40–50 เซนติเมตร สูง 10–15 เมตร ใช้ในการก่อสร้างชั่วคราว อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ เครื่องจักสาน 16. ไผ่ซางนวล ใช้ในการก่อสร้าง ท�ำรั้วบ้าน เล้าไก่ งานจักสาน หน่อใช้ เป็นอาหารได้ 17. ไผ่ซาง เนื้อไม้หนา 5–8 มิลลิเมตร ล�ำต้น Ø 5–12 เซนติเมตร ปล้องยาว 30 เซนติเมตร สูง 7–10 เมตร ใช้ทำ� เครือ่ งเรือน สานท�ำเป็นเข่งหรือตะกร้า 18. ไผ่ไร่ เป็นไผ่ขนาดเล็ก ปล้อง Ø 1.5–4 เซนติเมตร สูง 3–4 เมตร ล�ำต้น ท�ำเป็นด้ามไม้กวาด ไม้เท้า รั้วบ้าน และเฟอร์นิเจอร์ 19. ไผ่ผาก เป็นไผ่ขนาดใหญ่ ปล้อง Ø 10–13 เซนติเมตร ล�ำต้นใช้ท�ำเข่ง เครื่องใช้ในครัวเรือน รั้ว เรือนเพาะช�ำ และอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ 20. ไผ่บงคาย ปล้อง Ø 5–8 เซนติเมตร ยาว 40–50 เซนติเมตร ล�ำต้นสูง 10–13 เมตร ใช้ท�ำเครื่องจักสานต่าง ๆ หน่อรับประทานได้ 21. ไผ่ออลอ ล�ำ Ø 1.50–3.50 เซนติเมตร สูงไม่เกิน 10 เมตร ปล้องยาว 23–25 เซนติเมตร เป็นไผ่ที่สวยงาม 22. ไผ่ทอง ไผ่โป เป็นไผ่ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีเนื้อบาง ใช้จักสาน ทุบท�ำฟากเพื่อท�ำเพดาน ฝาบ้าน และงานก่อสร้างที่ไม่ต้องการความแข็งแรง
โรงเรือนปลูกพืชอย่างง่ายด้วยไม้ ไผ่ 3
23. ไผ่รวกด�ำ ปล้อง Ø 5–8 เซนติเมตร ยาว 20–30 เซนติเมตร สูง 10–15 เมตร นิยมใช้ท�ำโครงร่ม โครงพัด ไม้ค�้ำยัน เครื่องเรือน 24. ไผ่รวก ล�ำขนาดเล็ก Ø 4–7 เซนติเมตร ถ้าพบในที่แห้งแล้ง Ø 2–4 เซนติเมตร สูง 5–10 เมตร ใช้ท�ำไม้ค�้ำยันในการก่อสร้าง และท�ำเยื่อกระดาษ
รูปที่ 1 ไผ่เหลือง
ที่มา: http://bamboosupun.tarad.com
รูปที่ 3 ไผ่ตง
ที่มา: http://invention53.blogspot.com
รูปที่ 2 ไผ่ซางนวล
ที่มา: http://www.allthaitree.com
รูปที่ 4 ไผ่รวก
ที่มา: http://www.monmai.com
4 โรงเรือนปลูกพืชอย่างง่ายด้วยไม้ ไผ่
รูปที่ 5 ไผ่สีสุก
ที่มา: http://www.rspg.or.th
รูปที่ 6 ไผ่บงใหญ่
ที่มา: http://bamboosupun.tarad.com
รูปที่ 7 ไผ่หก
ที่มา: http://bamboo-supun.tarad.com
รูปที่ 1 ถึง 7 แสดงตัวอย่างของไม้ไผ่ที่พบในประเทศไทย
โรงเรือนปลูกพืชอย่างง่ายด้วยไม้ ไผ่ 5
การเตรียมไม้ ไผ่เพื่อใช้ ในงานก่อสร้าง ไม้ไผ่ที่น�ำมาใช้ในการก่อสร้างทั่วไปนั้นตัดมาใช้ได้เมื่อมีอายุ 3–5 ปี แต่ถ้า ได้รับการปรับปรุงแก้ไขเรื่องแมลงและเชื้อราแล้ว ไม้ไผ่ที่อยู่ติดดินอาจมีอายุใช้งาน ประมาณ 1–2 ปี เท่านัน้ แต่ถา้ ใช้ในทีร่ ม่ และห่างจากดิน อายุการใช้งานอาจจะนาน ถึง 5 ปี ไม้ไผ่อาจถูกรบกวนท�ำลายโดย มอด ปลวก และเชื้อรา เพราะมีอาหารใน เนือ้ ไม้ ถ้าใช้ในน�ำ้ ทะเลก็อาจถูกท�ำลายโดยเพรียงได้ การรักษาให้ไม้ไผ่มอี ายุยนื นาน นั้นท�ำได้ดังนี้ 1. วธิ แี ช่นำ �้ เพือ่ ท�ำลายสารต่าง ๆ ในเนือ้ ไม้ทมี่ อี าหารของแมลง เช่น น�ำ้ ตาล และแป้ง การแช่ต้องแช่ให้มิดล�ำไผ่ ส�ำหรับไม้สดประมาณ 3 วัน ถึง 3 เดือน แต่ถ้า เป็นไม้ไผ่แห้งต้องเพิ่มเวลาอีกประมาณ 15 วัน 2. วิธีใช้ความร้อน หรือการสกัดน�้ำมันจากไม้ไผ่ ก่อนน�ำมาสกัดน�้ำมันควร ตัง้ พิงเอาส่วนโคนไว้ตอนบน การสกัดน�ำ้ มันออกจากไม้ไผ่ทำ� ได้โดยใช้ความร้อนด้วย ไฟ หรือต้ม วิธกี ารสกัดน�้ำมันด้วยไฟท�ำให้เนือ้ ไม้มลี กั ษณะแกร่ง ส่วนการสกัดน�้ำมัน ด้วยวิธีต้มนั้นเนื้อไม้จะอ่อนนุ่ม การสกัดน�้ำมันด้วยไฟนั้นท�ำโดยเอาไม้ไผ่ปิ้งในเตาไฟ แต่อย่าให้ไหม้ และรีบ เช็ดน�้ำมันที่เยิ้มออกมาจากผิวไม้ให้หมด เวลาในการปิ้งประมาณ 20 นาที อุณหภูมิ ประมาณ 120–130 องศาเซลเซียส การสกัดน�้ำมันด้วยการต้มนั้น ใช้ต้มในน�้ำธรรมดาประมาณ 1–2 ชั่วโมง หรือใช้โซดาไฟ 10.3 กรัม หรือโซเดียมคาร์บอเนต 15 กรัม ละลายในน�้ำ 18.05 ลิตร ใช้เวลาต้มประมาณ 15 นาที หลังจากต้มแล้วให้รีบเช็ดน�้ำที่ซึมออกมาจากผิว ไม้ไผ่ เพราะถ้าเย็นลงจะเช็ดไม่ออก แล้วจึงน�ำไม้ไผ่ที่สกัดน�้ำมันออกไปแล้วล้างน�้ำ ให้สะอาดและท�ำให้แห้ง
6 โรงเรือนปลูกพืชอย่างง่ายด้วยไม้ ไผ่
3. วิธีใช้สารเคมี เป็นวิธีที่จะได้ผลดีกว่าการปิ้งหรือต้ม ซึ่งอาจท�ำได้ทั้งวิธี ชุบหรือท�ำน�้ำยาลงไปที่ไม้ไผ่ หรือโดยวิธีอัดสารเคมีเข้าไปในเนื้อไม้ไผ่ วิธีชุบนั้นใช้เวลาประมาณ 10 นาที เช่น ชุบในน�้ำยา DDT ที่มีความเข้มข้น 5 เปอร์เซ็นต์ ผสมกับน�้ำมันก๊าด จะทนได้นานถึง 1 ปี ถ้าชุบหรือแช่ให้นานขึ้นก็อาจ ทนได้ถึง 2 ปีครึ่ง ซึ่งป้องกันมอดได้เป็นอย่างดี วิธอี ดั น�ำ้ ยานัน้ ถ้าไม้ไผ่ไม่มากและเป็นไผ่สด ท�ำได้โดยเอาน�ำ้ ยารักษาเนือ้ ไม้ ใส่ภาชนะที่มีความลึกประมาณ 40–60 เซนติเมตร เอาไม้ไผ่ลงแช่ทั้งที่มีกิ่งและใบ เมื่อใบสดระเหยน�้ำออกไป โคนไม้ไผ่จะดูดน�้ำยาเข้าแทนที่ วิธีอัดน�้ำยาอีกวิธีหนึ่งที่จะอัดน�้ำยาเข้าไม้ไผ่สดที่ตัดกิ่งก้านออกแล้วคือ ยางในของรถจักรยานซึ่งมีความยาวพอสมควร มาใส่น�้ำยาข้างหนึ่ง แล้วสวมเข้าที่ โคนไม้ไผ่ ใช้เชือกรัดกันน�ำ้ ยาออก ยกปลายข้างทีไ่ ม่ได้รบั การกรอกน�ำ้ ยาให้สงู วิธนี ี้ ได้ผลดีกับไม้ไผ่สด วิธีอัดน�้ำยาอีกวิธีหนึ่งคือ ตั้งถังน�้ำยาสูงประมาณ 10 เมตร แล้วต่อท่อสวมที่ โคนไม้ไผ่สดด้วยท่อยาง แล้วรัดไม่ให้นำ�้ ยาไหลออกมา แรงดันน�ำ้ ยาทีอ่ ยูส่ งู 10 เมตร จะดันน�้ำยาเข้าไปในไม้ไผ่
รูปที่ 8 รูปตัดของโครงสร้างโรงเรือน
โรงเรือนปลูกพืชอย่างง่ายด้วยไม้ ไผ่ 7
การเลือกรูปแบบของโรงเรือน โรงเรือนส�ำหรับปลูกพืชมีหลายรูปแบบ การเลือกหรือการออกแบบโรงเรือน ที่เหมาะสมต่อความต้องการ จ�ำเป็นต้องพิจารณาจากปัจจัยหลายอย่างของพื้นที่ ก่อสร้างโรงเรือนประกอบกัน ดังนี้ ลั ก ษณะภู มิ อ ากาศ เช่ น อากาศร้ อ นในบางฤดู หนาวมากในบางฤดู ฝนตกหนักในบางฤดู อากาศแห้งในบางฤดู และลมแรง เป็นต้น ลักษณะภูมิประเทศ เช่น พื้นที่ก่อสร้างเป็นที่ลาดชัน หรือเป็นที่ลุ่ม น�้ำขังใน บางฤดู เป็นต้น ระบบปลูกที่เลือกใช้ การติดตั้งอุปกรณ์ของระบบปลูกแต่ละระบบแตกต่าง กัน จึงต้องออกแบบรายละเอียดภายในโรงเรือนที่แตกต่างกัน ระบบปลูกที่ต้องการ การหมุนเวียนสารละลายอาจต้องสร้างหลุมในโรงเรือนเพื่อวางถัง ชนิดของพืชที่ต้องการปลูก พืชจ�ำพวกแตงและมะเขือเทศต้องออกแบบให้ มีเครื่องค�้ำจุนล�ำต้น ในขณะที่ผักไม่จ�ำเป็นต้องมี โรงเรือนส�ำหรับปลูกกล้วยไม้และ หน้าวัวจ�ำเป็นต้องมีการพรางแสง ปริมาณการผลิต และความแปรปรวนในรอบปี ราคาพืชส่วนใหญ่แปรปรวน ตามปัจจัยด้านการตลาด การผลิตจึงอาจจ�ำเป็นต้องหมุนเวียนปลูกพืชหลายชนิด สลับกัน เพื่อเลือกพืชราคาเหมาะสมในฤดูนั้น ๆ โรงเรือนจึงจ�ำเป็นต้องออกแบบให้ เหมาะสมกับการปลูกพืชหลายชนิด การระบาดของศัตรูพืช พื้นที่ซึ่งมีการระบาดของศัตรูพืชรุนแรงจ�ำเป็น ต้องเข้มงวดในการป้องกัน หรือสลับไปปลูกพืชชนิดอื่นในฤดูที่มีการระบาด จึงต้อง ออกแบบโรงเรือนให้ตอบสนองต่อความต้องการเหล่านี้ได้ เพื่อลดความเสียหาย ทุนและแหล่งทุน ผู้ที่มีทุนน้อยอาจจ�ำเป็นต้องเลือกสร้างโรงเรือนราคาถูก ก่อนในระยะเริ่มต้น ขนาดพื้นที่ การสร้างโรงเรือนในพื้นที่น้อยจ�ำเป็นต้องค�ำนึงถึงประสิทธิภาพ การใช้พื้นที่ในล�ำดับต้น ๆ ของการตัดสินใจ ในขณะที่การออกแบบโรงเรือนในพื้นที่ กว้างสามารถพิจารณาปัจจัยอื่นก่อน
8 โรงเรือนปลูกพืชอย่างง่ายด้วยไม้ ไผ่
ลักษณะการใช้ประโยชน์ โรงเรือนที่ต้องการปลูกพืชเพื่อการจัดแสดงต้อง ค�ำนึงถึงความสวยงามเป็นล�ำดับต้น ๆ ในขณะที่โรงเรือนเพื่อการผลิตควรค�ำนึงถึง ประสิทธิภาพการผลิตและต้นทุนก่อน รูปแบบโรงเรือนสามารถจ�ำแนกตามรูปทรงได้ ดังนี้ 1. โรงเรือนหลังคาหน้าจั่วแบบสมมาตร (even span หรือ single span) เป็นรูปแบบโรงเรือนที่ใช้กันแพร่หลายในเขตอบอุ่นและเขตหนาว หลังคา อาจออกแบบให้เปิดได้เพื่อระบายอากาศร้อนในฤดูร้อน รูปแบบอาคารแบบนี้ไม่ ค่อยเหมาะส�ำหรับประเทศในเขตร้อน
รูปที่ 9 โรงเรือนปลูกพืชเพื่อการจัดแสดง ณ สวนพฤกษศาสตร์ฯ จังหวัดเชียงใหม่ ที่มา: http://webhost.wu.ac.th
2. โรงเรือนหลังคาหน้าจัว่ สองชัน้ อาคารรูปแบบนีส้ ร้างขึน้ เพือ่ ให้อากาศร้อน ภายในอาคารระบายออกได้ดี แม้ในช่วงฝนตกน�้ำฝนก็ไม่สาดเข้ามาภายในอาคาร โรงเรือน อาคารรูปแบบนี้เหมาะส�ำหรับประเทศในเขตร้อน
รูปที่ 10 โรงเรือนหลังคาหน้าจั่วสองชั้น ที่มา: http://webhost.wu.ac.th
โรงเรือนปลูกพืชอย่างง่ายด้วยไม้ ไผ่ 9
3. โรงเรือนหลังคาหน้าจั่วแบบไม่สมมาตร (uneven span) โรงเรือน แบบนี้จะมีหลังคาด้านหนึ่งยาวกว่าอีกด้านหนึ่ง เหมาะส�ำหรับการก่อสร้างในพื้น ซึ่งเป็นเนินเขา
รูปที่ 11 โรงเรือนหลังคาหน้าจั่วแบบไม่สมมาตร ที่มา: http://webhost.wu.ac.th
4. โรงเรือนหลังคาครึง่ วงกลม (quonset) ก่อสร้างไม่ซบั ซ้อนมากนัก เหมาะ ส�ำหรับการมุงหลังคาด้วยวัสดุที่โค้งงอได้ เช่น แผ่นพลาสติกชนิดต่าง ๆ การระบาย อากาศร้อนท�ำได้ยาก ไม่เหมาะส�ำหรับประเทศเขตร้อน
รูปที่ 12 โรงเรือนหลังคาครึ่งวงกลม ปลูกพืชทดลอง ณ ไร่ชมน์เจริญฟาร์ม จังหวัดกาญจนบุรี ที่มา: http://webhost.wu.ac.th
10 โรงเรือนปลูกพืชอย่างง่ายด้วยไม้ ไผ่
5. โรงเรือนหลังคาครึ่งวงกลมเหลื่อม เป็นโรงเรือนที่ออกแบบให้ง่ายต่อ การระบายอากาศร้อน เนื่องจากหลังคามีช่องเปิด โรงเรือนแบบนี้จึงเหมาะส�ำหรับ ประเทศในเขตร้อน
รูปที่ 13 โรงเรือนหลังคาครึ่งวงกลมเหลื่อม ที่มา: http://webhost.wu.ac.th
6. โรงเรือนหลังคาครึ่งทรงกลม (dome) ไม่นิยมสร้างเพื่อผลิตพืชในเชิง พาณิชย์ ส่วนใหญ่สร้างขึ้นเพื่อให้มีจุดเด่นทางด้านสถาปัตยกรรมใน Botanical Garden หรือสถาบันการศึกษาต่าง ๆ
รูปที่ 14 โรงเรือนหลังคาครึ่งวงกลม ที่มา: http://webhost.wu.ac.th
โรงเรือนปลูกพืชอย่างง่ายด้วยไม้ ไผ่ 11
7. โรงเรือนหลังคาต่อเนื่อง (ridge and furrow) โรงเรือนแบบนี้จะสร้าง หลังคาแบบหน้าจั่วหรือครึ่งวงกลมต่อเนื่องกัน เพื่อให้คลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง และมีค่าก่อสร้างต�่ำกว่าการสร้างหลังคาเดี่ยวขนาดใหญ่
รูปที่ 15 โรงเรือนหลังคาต่อเนื่องโรงเรือนปลูกพืชทดลอง ณ มหาวิทยาลัย Wagenningen ประเทศเนเธอร์แลนด์
8. โรงเรือนขนาดเล็ก ช่วยให้สามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรือน ได้ ง ่ า ย แต่ ข ณะเดี ย วกั น ก็ มี ข ้ อ เสี ย เช่ น เสี ย พื้ น ที่ ส ่ ว นหนึ่ ง เพื่ อ เป็ น ทางเดิ น และล�ำเลียงวัสดุ
รูปที่ 16 โรงเรือนขนาดเล็ก
ที่มา: http://webhost.wu.ac.th
12 โรงเรือนปลูกพืชอย่างง่ายด้วยไม้ ไผ่
โครงสร้างโรงเรือน 1. โครงสร้างหลังคา ควรเป็นแบบที่ไม่ซับซ้อน เพื่อความสะดวกในการ ผลิตชิน้ ส่วนและง่ายต่อการติดตัง้ โดยช่างทีไ่ ม่ตอ้ งมีความช�ำนาญมากนักก็สามารถ ท�ำได้ โครงสร้างที่อาจโดนน�้ำฝนควรใช้สลักหรือการผูกเชือกจะดีกว่าการใช้น็อต ตะปู หรือลวด เพราะเมื่อโดนน�้ำฝนบ่อย ๆ จะท�ำให้เกิดสนิมได้ การประกอบชิ้น ข้อต่อระหว่างชิน้ ส่วนไม้ไผ่ควรใช้สว่านเจาะน�ำก่อนเพือ่ ป้องกันการแตกร้าว การท�ำ รอยต่อบางจุด เช่น การยึดแปกับวัสดุมุงอาจใช้การผูก มัด ตามกรรมวิธีโบราณก็ได้ เพื่อความง่ายในการติดตั้งและซ่อมแซม
รูปที่ 17 โครงสร้างหลังคา
2. โ ครงสร้ า งเสา ฐานราก และตอม่ อ เสา ใช้ ไ ม้ ไ ผ่ ล� ำ ต้ น ตรงเส้ น ผ่าศูนย์กลาง 15–25 เซนติเมตร ฝังในหลุมทีม่ กี ารรองก้นหลุมด้วยเศษอิฐ หิน ปูน หรือ คอนกรีต ความลึก 50–80 เซนติเมตร การใช้ไม้ไผ่ขนาดใหญ่จะช่วยให้โครงสร้าง รับน�้ำหนักได้มากกว่าเสาขนาดเล็ก หรือใช้เสาไม้ไผ่ขนาดเล็กหลายล�ำมัดรวมกันได้ การใช้ตอม่อคอนกรีต หิน หรืออิฐ นัน้ ช่วยป้องกันความชืน้ จากดิน และเพิม่ อายุ การใช้งานได้ อาจใช้น�้ำยากันปลวกเทในหลุมหรือท�ำที่โคนไม้ไผ่ด้วย ส่วนด้านบน ของเสาจะมีอะเสรัดรอบเพือ่ ยึดแนวเสาไว้ไม่ให้เอียงออกนอกแนว นอกจากนีอ้ าจใช้ ไม้จริงในพื้นที่
โรงเรือนปลูกพืชอย่างง่ายด้วยไม้ ไผ่ 13
รูปที่ 18 โครงสร้างฐานราก ตอม่อ และเสา
รูปที่ 19 เสาที่ใช้ไม้ไผ่ขนาดเล็กมัดรวมกันเพื่อเพิ่มการรับน�้ำหนักได้มากขึ้น โดยเจาะด้วยสว่านแล้วยึดน็อต หรือใช้สลักยึดแล้วใช้เชือกมัดให้แน่น
14 โรงเรือนปลูกพืชอย่างง่ายด้วยไม้ ไผ่
3. ข้อต่อไม้ไผ่ในโครงสร้างลักษณะต่าง ๆ การท�ำข้อต่อต่าง ๆ ของ โครงสร้างโรงเรือนนั้นส่วนใหญ่จะเป็นโครงสร้างหลังคาจะซับซ้อนที่สุด โดยมี รายละเอียดข้อต่อ ดังนี้ 1) ข้อต่อเสาต่อกับคาน เสาควรมีขาดใหญ่กว่าคานเพือ่ ให้คานสามารถ วางบนเสาได้เลย ในกรณีที่เสาขนาดเล็กกว่าคานจะต้องใช้เสาสองต้นมารับคาน ใช้เชือก หวาย ลวด ตะปู หรือน็อต ยึดโครงสร้าง ดังรูป
รูปที่ 20 ข้อต่อโครงสร้างเสาต่อกับคานที่ขึ้นไปรับโครงสร้างหลังคาที่มีน�้ำหนักมาก
รูปที่ 21 ข้อต่อโครงสร้างเสาต่อกับคานหรือขือ่ หรืออะเสทีข่ นึ้ ไปรับโครงสร้างหลังคาทีม่ นี ำ�้ หนักเบา รูปที่ 22 ข้อต่อโครงสร้างเสาต่อ กับคานหรือขื่อ หรืออะเสที่ขึ้นไป รับโครงสร้างหลังคา โดยบากไม้ เป็นร่องเพื่อวางคาน
โรงเรือนปลูกพืชอย่างง่ายด้วยไม้ ไผ่ 15
รูปที่ 23 ข้อต่อเสาต่อกับคานหรือขื่อ หรืออะเสที่ขึ้นไปรับโครงสร้างหลังคา โดยตัดไม้ออกให้ เหลือเดือยไว้ด้านใดด้านหนึ่งกันไม่ให้คานหลุดจากเสา หรือประกบไม้ไผ่กันคานไว้ทั้งสองด้าน ใช้เมื่อเสามีขนาดใหญ่กว่าคาน และเป็นโครงสร้างที่มีน�้ำหนักเบา
2) ข้อต่อของโครงสร้าง ตง หรือคาน เมื่อความยาวของไม้ไผ่ไม่พอ จึงต้องมีการต่อไม้ไผ่ให้เป็นแนวเดียวกันโดยใช้วิธีการบาก ตัด หรือเฉือนไม้ให้วาง ประกบกันได้พอดี โดยจะต้องใช้ไม้ไผ่ที่มีขนาดเท่า ๆ กัน ดังรูป
รูปที่ 24 ข้อต่อโครงสร้างต่อตงหรือคานโดยการบากไม้ส่วนรอยต่อให้ประกบกันได้พอดี และใช้ไม้ไผ่ที่มีขนาดเท่ากัน
รูปที่ 25 ข้อต่อโครงสร้างรอยต่อของตงหรือคานโดยการบากไม้สว่ นรอยต่อให้ประกบกันได้พอดี และใช้ไม้ไผ่ที่มีขนาดไม่เท่ากัน
16 โรงเรือนปลูกพืชอย่างง่ายด้วยไม้ ไผ่
3) ข้อต่อระหว่างจันทันกับแป โดยจันทันใช้ไม้ไผ่ขนาด Ø 5–10 เซนติเมตร แปควรทีม่ ขี นาดตัง้ แต่ 2.5–5 เซนติเมตร หรือหากใช้ไม้ไผ่ลำ� ใหญ่สามารถ ผ่าเป็น 4 ส่วน แล้วเหลาเอาข้อล�ำปล้องออกใช้ท�ำแปได้ ทั้งนี้ แปที่ใช้ไม้ทั้ง 2 แบบ สามารถดัดโค้งได้ง่าย ข้อต่อของโครงหลังคามีหลายแบบ ดังนี้
รูปที่ 26 การดัดโค้งของโครงสร้างหลังคา
รูปที่ 27 ข้อต่อระหว่างจันทันกับแปที่ใช้ตอกไม้ไผ่ หวาย เชือก หรือลวดยึดโครงสร้าง
โรงเรือนปลูกพืชอย่างง่ายด้วยไม้ ไผ่ 17
รูปที่ 28 การท�ำข้อต่อระหว่างจันทันกับแปทีใ่ ช้สลัก หรือเดือยไม้ไผ่ยดึ แทนตะปู หรือน็อต ในบริเวณที่โดนน�้ำฝน
4) ข้อต่อ หรือองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น ชั้นวางอุปกรณ์ใส่สารละลาย หรือชั้นวางก้อนเชื้อเห็ด ใช้ไม้ไผ่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 5–10 เซนติเมตร โดย อุปกรณ์ในการยึด ประกอบด้วย เชือก หวาย ลวด ตะปู และน็อต โดยมีลกั ษณะรอยต่อ ดังนี้
รูปที่ 29 ข้อต่อชั้นวางหรือส่วนประกอบอื่นภายในโรงเรือน โดยการตัดหรือเฉือนไม้ให้ประกบ หรือต่อชนกันได้พอดี และใช้ไม้ไผ่ที่มีขนาดเท่ากัน
รูปที่ 30 ข้อต่อโครงสร้างแบบตั้งฉากของชั้นวางหรือส่วนประกอบอื่นภายในโรงเรือน โดยการต่อชนกัน
18 โรงเรือนปลูกพืชอย่างง่ายด้วยไม้ ไผ่
รูปที่ 31 ข้อต่อโครงสร้างแบบตั้งฉากของชั้นวางหรือส่วนประกอบอื่นภายในโรงเรือน โดยการ เจาะไม้ที่เป็นโครงสร้างเสาจะต้องมีขนาดใหญ่กว่ามากแล้วยึดโดยใช้สลัก น็อต หรือตะปู
6) วัสดุมุงและผนัง วัสดุมุงสามารถใช้ได้หลายประเภท เช่น หญ้าคา กระเบื้อง สังกะสี พลาสติกพีอี หรือโพลีคาร์บอเนต ตาข่ายกันแมลง ตาข่าย กรองแสง หรือซาแลน หรือวัสดุทเี่ หลือใช้อย่างอืน่ ทีม่ ใี นท้องถิน่ โดยวัสดุแต่ละประเภท จะมีนำ�้ หนักทีแ่ ตกต่างกัน ดังนัน้ ในการก�ำหนดระยะของแปและจันทันจะต้องพิจารณา วัสดุมุงเป็นหลัก นอกจากนี้ต้องพิจารณาถึงการระบายน�้ำฝน ซึ่งวัสดุแต่ละอย่างก็ มีความลาดชันทีต่ า่ งกัน เช่น โรงเรือนปลูกพืชทีใ่ ช้ตาข่ายกันแมลงศัตรูพชื ส่วนทีเ่ ป็น หลังคาอาจมุงด้วยพลาสติก ส่วนตัวโรงเรือนใช้ตาข่ายกันแมลง โรงเรือนเพาะเห็ด วัสดุมุงหลังคาใช้ได้ทั้ง หญ้าคา พลาสติก กระเบื้อง และสังกะสี วัสดุตัวโรงเรือนใช้หญ้าคา พลาสติก หรือวัสดุที่มีในท้องถิ่น เช่น ถุงกระสอบป่าน ผ้าใบ หรือเศษผ้าเก่า ใบตาล เป็นต้น รู ป ที่ 32 กระเบื้ อ งหรื อ สั ง กะสี มี น�้ ำ หนั ก มาก มี อ ายุ ก ารใช้ ง าน นาน แต่จะมีราคาแพง สามารถใช้ โครงสร้างไม้จริงหรือไม้ไผ่ขนาด ใหญ่มารับน�้ำหนัก
โรงเรือนปลูกพืชอย่างง่ายด้วยไม้ ไผ่ 19
รูปที่ 33 หลังคามุงหญ้าคาหรือแฝก ใช้ไม้ไผ่ที่ผ่าเป็นซีกหนีบไว้ เป็นวัสดุที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น ราคาถูก อายุการใช้งานสั้น
รูปที่ 34 หลังคามุงหญ้าคาหรือแฝก ปูพลาสติกทับอีกชั้นและใช้ไม้วางทับหรือรัดดัวยสายรัด วิธีนี้ใช้เพื่อป้องกันการรั่วซึมของน�้ำฝน และเพิ่มอายุการใช้งานของหลังคา
20 โรงเรือนปลูกพืชอย่างง่ายด้วยไม้ ไผ่
รูปที่ 35 โรงเรือนปลูกพืช หลังคาและผนังมุงพลาสติก เก็บริมขอบด้วยไม้ไผ่ขนาดเล็กหรือท่อพีวีซี
7) องค์ประกอบภายในโรงเรือน จะมีลักษณะเฉพาะตามประเภท โรงเรือน เช่น โรงเรือนปลูกผัก โรงเรือนเพาะเห็ด อาจใช้ชนั้ วางทีม่ กี ารใช้ไม้ไผ่ขนาด ตัง้ แต่ 5–10 เซนติเมตร ท�ำเป็นชัน้ วางก้อนเห็ดหรือชัน้ วางอุปกรณ์ของพืชทีป่ ลูกโดย ไม่ใช้ดิน โดยวางอุปกรณ์ที่ใส่สารละลายหรือวัสดุปลูก
รูปที่ 36 ชั้นวางพืชผักและก้อนเห็ดในโรงเรือน
โรงเรือนปลูกพืชอย่างง่ายด้วยไม้ ไผ่ 21
อุปกรณ์ประกอบโรงเรือน 1. ตาข่ายพรางแสง (saran) เป็นเส้นพลาสติกสานเสริมแรงด้วยเชือก นิยม ใช้ทั่วไปเป็นตาข่ายสีเขียว สีด�ำ และสีเงิน พรางแสงร้อยละ 40, 50, 60, 70 และ 80 ความกว้าง 1–2 เมตร อาจติดตัง้ กึง่ ถาวร หรือติดตัง้ แบบม่านชัก เพือ่ ให้สามารถ ปิด–เปิด ได้ตามความเข้มของแสงจากดวงอาทิตย์ โรงเรือนทีป่ ลูกพืชต้องการแสงน้อย เช่น โรงเรือนกล้วยไม้ หรือโรงเรือนหน้าวัว เป็นต้น อาจติดตั้งเหนือหลังคา 2. อะลูมิเนียมอลูมิเนต (aluminet) เป็นตาข่ายพรางแสงชนิดเคลือบหรือ หุ้มด้วยพลาสติกใส น�ำมาทอคล้ายตาข่ายพรางแสง ตาข่ายชนิดนี้สามารถลดความ เข้มแสงภายในโรงเรือนได้โดยไม่ทำ� ให้อณ ุ หภูมภิ ายในโรงเรือนสูงขึน้ มากนัก แต่ราคา แพงกว่าตาข่ายพรางแสงธรรมดาในข้อ 1 มาก การติดตั้งภายในโรงเรือนท�ำได้ทั้ง แบบกึ่งถาวร และแบบม่านชัก 3. มุ้งหรือตาข่ายกันแมลง เป็นอุปกรณ์ป้องกันแมลงเข้าสู่โรงเรือน หรือ ป้องกันการแพร่ระบาดของแมลงจากห้องหนึ่งไปสู่อีกห้องหนึ่งภายในโรงเรือน เดียวกัน มุง้ ไม่ควรลดทอนอัตราการแลกเปลีย่ นอากาศระหว่างภายนอกและภายใน โรงเรือนมากเกินความจ�ำเป็น มุ้งมีความหลากหลายทั้งวัสดุ สี และขนาดของช่อง (ตา) มุ้งอะลูมิเนียมไม่ค่อยนิยมใช้ เนื่องจากยุ่งยากในการติดตั้งและรื้อถอน มุ้งทน ไฟไม่ค่อยนิยมเช่นกัน เนื่องจากโรงเรือนปลูกพืชมีความเสี่ยงน้อยต่อการเกิดเพลิง ไหม้ มุง้ สีขาวมักนิยมใช้กนั โดยทัว่ ไป เนือ่ งจากมักไม่จำ� เป็นต้องพรางแสงด้านข้างของ โรงเรือน ขนาดช่องเลือกใช้ตามชนิดของพืชที่ปลูก เนื่องจากพืชแต่ละชนิดมีแมลง ศัตรูแตกต่างกัน การใช้ขนาดช่องเล็กเกินไปเป็นอุปสรรคต่อการระบายอากาศ เป็น เหตุให้อุณหภูมิและความชื้นภายในโรงเรือนสูงขึ้นโดยไม่จ�ำเป็น มุ้งช่องสี่เหลี่ยม ผืนผ้าติดตัง้ ในแนวตัง้ ช่วยแก้ปญ ั หานีไ้ ด้ดี เนือ่ งจากแมลงบินจ�ำเป็นต้องกางปีกออก ท�ำให้ต้องการความกว้างมากกว่าความสูงในการลอดผ่านมุ้ง
22 โรงเรือนปลูกพืชอย่างง่ายด้วยไม้ ไผ่
รูปที่ 37 มุ้งหรือตาข่ายกันแมลงเป็นอุปกรณ์ป้องกันแมลงเข้าสู่โรงเรือน ที่มา: http://webhost.wu.ac.th
4. คลิป เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ยึดแผ่นพลาสติก มุ้ง หรือตาข่ายพรางแสงติดกับ ท่อกลม ขนาดของคลิปจะต้องเท่ากับขนาดของท่อจึงจะสามารถหนีบได้อย่างมัน่ คง คลิปที่ท�ำด้วยพลาสติกเพียงอย่างเดียวจะค่อย ๆ กางออกหรือแตกเมื่อถูกแสงแดด เป็นเวลานาน คลิปที่เสริมด้วยโลหะถึงแม้จะมีราคาแพงกว่า แต่ก็สามารถใช้งาน ได้นานกว่า ความแข็งแรงขึ้นอยู่กับความถี่ในการติดตั้ง หากต้องการความแข็งแรง เพิ่มขึ้นจะต้องติดตั้งคลิปให้ถี่มากขึ้น คลิปเป็นอุปกรณ์ยึดที่สามารถรื้อถอนและ ติดตัง้ ได้งา่ ยด้วยมือเปล่า จึงเป็นอุปกรณ์โรงเรือนทีไ่ ด้รบั ความนิยมแพร่หลาย โรงเรือน โครงสร้างท�ำด้วยท่อเหล็กกลมที่มุงด้วยแผ่น PE นิยมยึดด้วยคลิป
รูปที่ 38 คลิปเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ยึดแผ่นพลาสติก มุ้ง หรือ ตาข่ายพรางแสงติดกับท่อกลม ที่มา: http://webhost.wu.ac.th
โรงเรือนปลูกพืชอย่างง่ายด้วยไม้ ไผ่ 23
5. รางยึดและสปริง เป็นอุปกรณ์ทใี่ ช้ยดึ แผ่นพลาสติกหรือมุง้ ติดกับโรงเรือน ตัวรางจะต้องยึดติดกับโรงเรือน แล้วใช้สปริงหนีบแผ่นพลาสติกหรือมุ้งติดกับราง การติดตั้งแบบนี้เหมาะกับงานที่ไม่ต้องการรื้อถอนบ่อยครั้ง 6. ประกับ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ยึดท่อกลมในแนวฉาก เหมาะกับการประกอบ โครงสร้างทีไ่ ม่ตอ้ งการความแข็งแรงมากนัก รวมทัง้ โครงสร้างทีไ่ ม่ตอ้ งการให้สามารถ รื้อถอนได้ง่าย เช่น โรงเรือนขนาดเล็ก โต๊ะปลูก และเครื่องพยุงล�ำต้น เป็นต้น ประกับใช้กับท่อกลมเช่นเดียวกับคลิป ขนาดของประกับจะต้องเท่ากับขนาดท่อจึง จะสามารถยึดได้แข็งแรง 7. รอก เชือก และห่วง อุปกรณ์ทั้งสามชนิดนี้ใช้ร่วมกันเพื่อช่วยพยุงล�ำต้น พืชให้ตั้งขึ้น รอกช่วยม้วนเก็บเชือกให้เป็นระเบียบไม่พันกัน และดึงออกมาเฉพาะ ความยาวทีต่ อ้ งการใช้ ด้านหนึง่ ของห่วงยึดกับเชือก ในขณะทีอ่ กี ด้านหนึง่ ยึดติดกัน ให้ล�ำต้นพืชอยู่ภายใน โดยล�ำต้นพืชจะต้องสามารถขยับตามแรงลมได้ และห่วงจะ ต้องไม่ท�ำให้ต้นพืชเป็นแผล เชือกที่ใช้ต้องเหนียวและทนต่อแสงแดดได้ดี สามารถ ใช้งานได้ตลอดอายุเก็บเกี่ยว
รูปที่ 39 รอก เชือก และห่วง อุปกรณ์ทั้งสามชนิดนี้ใช้ร่วมกัน เพื่อช่วยพยุงล�ำต้นพืชให้ตั้งขึ้น ที่มา: http://webhost.wu.ac.th/msomsak/Soilless/Chapter07/Greenhouse.htm
24 โรงเรือนปลูกพืชอย่างง่ายด้วยไม้ ไผ่
ขั้นตอนการก่อสร้าง การก่อสร้างโรงเรือนแบ่งเป็น 4 ขั้นตอนง่าย ๆ ตามลักษณะของชิ้นงาน ก่อสร้าง ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 งานผังอาคาร ฐานรากและเสาเมื่อปรับพื้นที่เรียบร้อยแล้ว เริ่มท�ำการวางผังอาคาร และขุดหลุมลึกประมาณ 80 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วย แผ่นไม้ หิน หรือเทคอนกรีตกลบบริเวณหลุม เพื่อเสริมความแข็งแรง ขั้นตอนที่ 2 ตั้งเสา และอะเสรัดรอบหัวเสา ขั้นตอนที่ 3 งานหลังคา วางขื่อและดั้ง ตามด้วยจันทัน และมุงด้วยวัสดุมุง หลังคาและผนัง
รูปที่ 40 วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการ ก่อสร้างโรงเรือน เช่น เสียมขุด เลื่อย ตลั บ เมตร ค้ อ น ตะปู สว่ า น ลวด พลาสติ ก ซาแลน สายรั ด พลาสติ ก และไม้ไผ่
โรงเรือนปลูกพืชอย่างง่ายด้วยไม้ ไผ่ 25
ขั้นตอนที่ 4 งานภายในโรงเรือน ประกอบด้วย 4.1 งานระบบน�้ำ ไฟฟ้า แสงสว่าง ระบบปรับอากาศ หรือระบบอื่น ๆ 4.2 งานจัดเตรียมพืน้ ทีช่ นั้ วางอุปกรณ์ปลูก ในกรณีทเี่ ป็นเรือนปลูกผักแบบ ไม่ใช้ดิน หรือไฮโดรโปนิกส์ และการเตรียมชั้นวางก้อนเห็ดในกรณีที่เป็นโรงเรือน เพาะเห็ดนางฟ้า หรือเห็ดหอม
รูปที่ 41 ขั้นตอนการตั้งเสา และติดตั้งอะเสรัดรอบหัวเสาให้อยู่ในแนวของโรงเรือนไม้ไผ่
รูปที่ 42 รอยต่อของเสา และติดตั้งอะเสรัดรอบหัวเสา
26 โรงเรือนปลูกพืชอย่างง่ายด้วยไม้ ไผ่
รูปที่ 43 การท�ำโครงสร้างหลังคา โดยการบากไม้ไผ่ให้พับหรืองอได้ง่าย
รูปที่ 44 การท�ำโครงสร้างหลังคา โดยการบากไม้ไผ่บริเวณส่วนปลายให้พับหรืองอได้ง่าย ทั้งนี้ส่วนที่บากที่พาดไปยังอีกด้านใช้เชือกผูกยึดเข้าด้วยกัน ท�ำให้รอยต่อเรียบ สามารถคลุมพลาสติกได้สะดวก
โรงเรือนปลูกพืชอย่างง่ายด้วยไม้ ไผ่ 27
รูปที่ 45 การท�ำโครงสร้างของชั้นวางก้อนเห็ดภายในโรงเรือน
รูปที่ 46 ใช้พลาสติกคลุมทับเป็นผนังเพื่อควบคุมความชื้นภายในโรงเรือน
28 โรงเรือนปลูกพืชอย่างง่ายด้วยไม้ ไผ่
รูปที่ 47 ใช้พลาสติกคลุมบริเวณรอบโรงเรือน
รูปที่ 48 ใช้ซาแลนคลุมทับพลาสติกและเพื่อควบคุมแสงภายในโรงเรือน
ในการทดลองสร้างโรงเรือนเพาะเห็ดขนาดใหญ่ กว้าง 4 * 10 เมตร ราคา ก่อสร้างประมาณ 8,280 บาท ทัง้ นีใ้ ช้พลาสติกและตาข่ายกรองแสงเป็นวัสดุมงุ โดย รอบและเป็นวัสดุใหม่ทั้งหมด แต่หากมีการน�ำวัสดุเหลือใช้ เช่น กระสอบป่าน หรือ กระสอบปุ๋ย มาเย็บต่อกันแล้วน�ำมาใช้ทดแทนก็จะลดค่าก่อสร้างลงอีก
โรงเรือนปลูกพืชอย่างง่ายด้วยไม้ ไผ่ 29
แบบก่อสร้างโรงเรือน โรงเรือนปลูกพืชในเอกสารฉบับนี้มีทั้งหมด 6 แบบ ประกอบด้วย โรงเรือน ปลูกพืชหรือไม้ดอกไม้ประดับ 3 แบบ และโรงเรือนเพาะเห็ด 3 แบบ คือ 1. แบบ หลังคาโค้งครึง่ วงกลม 2. แบบหลังคาโค้งสองชัน้ 3. แบบหน้าจัว่ เหลือ่ ม 4. โรงเรือน เพาะเห็ดขนาดกลาง 5. โรงเรือนเพาะเห็ดขนาดใหญ่ 6. โรงเรือนเพาะเห็ดขนาดเล็ก (บริโภคในครัวเรือน) ดังนี้ แบบที่ 1 แบบหลังคาโค้งครึ่งวงกลม (ขนาด 6x12-20 เมตร)
รูปที่ 49 แบบหลังคาโค้งครึ่งวงกลม
30 โรงเรือนปลูกพืชอย่างง่ายด้วยไม้ ไผ่
แบบที่ 2 แบบหลังคาโค้งสองชั้น (ขนาด 6x12-20 เมตร)
รูปที่ 50 แบบหลังคาโค้งสองชั้น
โรงเรือนปลูกพืชอย่างง่ายด้วยไม้ ไผ่ 31
แบบที่ 3 แบบหน้าจั่วเหลื่อม (ขนาด 6x12-20 เมตร)
รูปที่ 51 แบบหน้าจั่วเหลี่ยม
32 โรงเรือนปลูกพืชอย่างง่ายด้วยไม้ ไผ่
แบบที่ 4 โรงเรือนเพาะเห็ดขนาดกลาง (ขนาด 4-6x10 เมตร)
รูปที่ 52 โรงเรือนเพาะเห็ดขนาดกลาง
โรงเรือนปลูกพืชอย่างง่ายด้วยไม้ ไผ่ 33
แบบที่ 5 โรงเรือนเพาะเห็ดขนาดใหญ่ (ขนาด 8-10x10-20 เมตร)
รูปที่ 53 โรงเรือนเพาะเห็ดขนาดใหญ่
34 โรงเรือนปลูกพืชอย่างง่ายด้วยไม้ ไผ่
แบบที่ 6 โรงเรือนเพาะเห็ดขนาดเล็ก (บริโภคในครัวเรือน) (ขนาด 2-4 x 4-6 เมตร)
รูปที่ 54 โรงเรือนเพาะเห็ดขนาดเล็ก
โรงเรือนปลูกพืชอย่างง่ายด้วยไม้ ไผ่ 35
บรรณานุกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. 2554. “ส่วนอุตสาหกรรมเครื่องเรือน,” [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2554 จาก http://bisd. dip. go.th/ส�ำนักพัฒนา อุตสาหกรรมรายสาขา/tabid/56/Default.aspx. กานต์ ค�ำแก้ว. 2546. ศึกษาแนวคิดที่นาไม้ไผ่กลับมาใช้ในงานสถาปัตยกรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร. “โครงการอนุรกั ษ์พนั ธ์ไม้อนั เนือ่ งมาจากพระราชด�ำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี,” 2556. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2556 จาก http://www.rspg.or.th. จุมพล ประสมทรัพย์. 2541. การศึกษาความเป็นไปได้ในการท�ำความเย็นใน โรงเรือนไม้ดอกโดยใช้เทคนิคการท�ำความเย็นแบบระเหย. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: คณะพลังงานและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. ณฤทธิ์ ไชยคีรี. 2547. ศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างโครงสร้างไม้ไผ่ที่มี ช่วงพาดกว้าง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. ตรึงใจ บูรณสมภพ. 2539. การออกแบบอาคารที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พรินติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. ถนอมศิลป์ฟาร์มเห็ด. 2554. “สร้างโรงเรือนขนาด 2,000 ก้อน. . .,” [ออนไลน์]. สืบค้นเมือ่ 5 ตุลาคม 2554 จาก http://thanomsinfarm. blogspot.com. ทนงศักดิ์ จุนถิระพงษ์. 2539. อุตุนิยมวิทยาเกษตร. กรุงเทพฯ: ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.
36 โรงเรือนปลูกพืชอย่างง่ายด้วยไม้ ไผ่
ทรงเกียรติ เทีย้ ธิทรัพย์. 2545. เทคนิคการก่อสร้างอาคารด้วยไม้ไผ่: การออกแบบ และก่อสร้างอาคารตัวอย่าง ณ พืน้ ทีโ่ ครงการพัฒนาดอยตุง. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ธนาคม สุนทรชัยนาคแสง. 2544. “การระบายอากาศด้วยวิธธี รรมชาติ,” Mechanical Technology. 1(2): 66–69. วังน�ำ้ เขียวดอทคอม. 2554. “สถานทีต่ งั้ และสภาพโรงเรือนเพาะเห็ดหอม,” [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2554 จาก http://www.wangnamkheo. com/mutech01.htm. วิทยา ตัง้ ก่อสกุล และคณะ. 2543. พลาสติกเพือ่ การเกษตร. กรุงเทพฯ: ศิรวิ ฒ ั นา อินเตอร์พรินท์. ศิริชัย เทพา และยุพดี ฟูประเสริฐ. 2546. การศึกษาแนวทางการควบคุมสภาวะ ที่เหมาะสมภายในโรงเรือนพลาสติกส�ำหรับปลูกดอกไม้. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: คณะทรัพยากรชีวภาพและ เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. สวนนาวาเอก. 2556. “ไผ่: BambooTree,” [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2556. จาก http://www.allthaitree.com/ index.php. หม่อนไม้ 2556. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2556 จาก http://www.monmai.com/หมวด/นวัตกรรมท�ำเอง/ที่อยู่อาศัย. Bambooroo. 2011. “Bamboo Design and Construction,” [online]. Retrieved 8 September 2011 from: http://www.bambooroo. net/thai/love_shack.php.
โรงเรือนปลูกพืชอย่างง่ายด้วยไม้ ไผ่ 37
ประวัติผู้เขียน ชื่อ-นามสกุล นางสาวนฤมล แสนเสนา ต�ำแหน่งปัจจุบัน อาจารย์ประจ�ำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่ท�ำงาน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 39 หมู่ 1 ถ.รังสิต-นครนายก ต.คลองหก อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี 12110 ประวัติการศึกษา สถ.บ. สถาปัตยกรรม สถ.ม. สถาปัตยกรรม สาขาวิชาการที่มีความช�ำนาญพิเศษ การออกแบบอาคารเพื่อการประหยัดพลังงาน
คณะกรรมการวิชาการพิจารณาเอกสารเผยแพร่ความรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 1. รศ. ดร.สุวรินทร์ ปัทมวรคุณ 2. ผศ. ดร.ณัฐวรรณ คุปพิทยานันท์ 3. ผศ. ดร.จตุพร เผ่าพงษ์ไทย 4. รศ.วสันต์ กันอ�่ำ 5. ผศ. ดร.วันชัย ประเสริฐศรี 6. ผศ.สุภา ทองคง 7. ผศ. ดร.บุญเรือง สมประจบ 8. ผศ. ดร.อัญชลี สวาสดิ์ธรรม 9. ผศ. ดร.สมจิตร ถนอมวงศ์วัฒนะ 10. ผศ. ดร.อ้อยทิพย์ ผู้พัฒน์ 11. ผศ. ดร.บุณย์ฤทธิ์ ประสาทแก้ว 12. นายประชุม ค�ำพุฒ 13. นายเกษียร ธรานนท์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
คณะผู้จัดท�ำ ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดี คณะท�ำงาน ฝ่ายอ�ำนวยการ รองศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี สงวนพงษ์ นางบรรเลง สระมูล
ผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา รองผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา
ฝ่ายเนื้อหา นฤมล แสนเสนา
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
ฝ่ายศิลป์ และจัดพิมพ์ นางนฤมล จารุสัมฤทธิ์ นางสาวกชกร ดาราพาณิชย์ นางสาวอริสรา สุดสระ นางสรสุดา ชูกลิ่น จัดพิมพ์โดย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เลขที่ 39 หมู่ 1 ถนนรังสิต-นครนายก ต�ำบลคลองหก อ�ำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12110 โทรศัพท์: 0 2549 4682 โทรสาร. 0 2577 5038 Website: http://www.ird.rmutt.ac.th E-mail: ird@rmutt.ac.th พิมพ์ที่: บริษัท ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จ�ำกัด โทรศัพท์: 0 2521 8420 โทรสาร. 0 2521 8424