น้ำอบไทยสามฤดู

Page 1

น�้ำอบไทยสามฤดู

โดย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี


น�้ำอบไทยสามฤดู

ผู้เขียน : ไศลเพชร ศรีสุวรรณ ISBN : 978-974-625-636-0 จ�ำนวน : 23 หน้า พิมพ์ครั้งที่ 1 : สิงหาคม 2557 จ�ำนวนพิมพ์ : 100 เล่ม ราคา : จัดพิมพ์โดย : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เลขที่ 39 หมู่ 1 ถนนรังสิต-นครนายก ต�ำบลคลองหก อ�ำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12110 โทรศัพท์: 0 2549 4682 โทรสาร: 0 2577 5038 Website: http://www.ird.rmutt.ac.th E-mail: ird@rmutt.ac.th พิมพ์ที่ : บริษัท ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จ�ำกัด โทรศัพท์ : 0 2521 8420 โทรสาร: 0 2521 8424

เนื้อหาใดๆ ในหนังสือเล่มนี้เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเพียงผู้เดียว สถาบันวิจัยและพัฒนา เป็นเพียงผู้จัดพิมพ์เผยแพร่เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชนเท่านั้น


ค�ำน�ำ เอกสารเผยแพร่ความรู้ เรือ่ ง น�ำ้ อบไทยสามฤดูนี้ เกิดจากการรวบรวมความรู้ เรื่องของน�้ำอบอันเป็นภูมิปัญญาไทยมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งได้รับความนิยมใช้ สืบต่อกันมา ซึ่งผู้เขียนได้น�ำความรู้เดิมมาพัฒนาต่อยอดให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ คือ “น�้ำอบไทยสามฤดู” ที่เป็นน�้ำหอมไทยอันอุดมไปด้วยคุณค่าเหมาะแก่การใช้งาน ในประเทศไทย ตลอดจนผลิตเป็นสินค้าที่ส่งออกได้ ผู้เขียนได้กล่าวถึงความเป็นมา ความส�ำคัญของน�ำ้ อบไทย รวมถึงขัน้ ตอนการผลิตน�ำ้ อบไทยสามฤดูได้อย่างละเอียด ซึง่ ผูอ้ า่ นสามารถท�ำตามขัน้ ตอนทีไ่ ด้ระบุไว้ให้ผสู้ นใจได้ศกึ ษาและตระหนักถึงคุณค่า ของผลิตภัณฑ์ และช่วยการน�ำช่วยกันใช้สบื ต่อไปเพือ่ ไม่ให้ภมู ปิ ญ ั ญาไทยเราสูญสิน้ ไปอย่างเปล่าประโยชน์ เพราะน�้ำอบสามฤดูสามารถน�ำมาใช้ประพรมร่างกายได้ ทุกฤดูกาล มีสรรพคุณทางยาและเวชส�ำอางด้วย เช่น สูตรฤดูรอ้ นรักษาอาการอักเสบ พุพอง คันมีแผลอักเสบได้ดี ส่วนสูตรฤดูฝนช่วยระงับเชื้อราได้ดี ส่วนสูตรฤดูหนาว ช่วยบ�ำรุงผิวพรรณและบ�ำรุงหัวใจได้ดี ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และชะลอดับพิษร้อน ได้ทั้งสามสูตร สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สิงหาคม 2557


สารบัญ บทน�ำ คุณค่าและความส�ำคัญของน�้ำอบไทย ก�ำเนิดของน�้ำอบไทย น�้ำอบไทยสูตรโบราณ ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารประกอบโพลีฟินอล ในน�้ำอบปรุงไทยสามฤดู บรรณานุกรม ประวัติผู้เขียน

หน้า 1 2 3 8 20 21 23


น้ำ�อบไทยสามฤดู

1

บทน�ำ ในปีหนึ่ง ๆ ประเทศไทยได้มีการสั่งน�ำเข้าสินค้าประเภทน�้ำหอมและ เครื่ อ งหอมที่ เ ป็ น สารแต่ ง กลิ่ น ที่ จ� ำ เป็ น ต้ อ งใช้ ใ นอุ ต สาหกรรมเครื่ อ งส� ำ อาง อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเกษตร เป็นจ�ำนวนมาก โดยศึกษาจากสถิติของ กรมศุลกากรในปี พ.ศ. 2546 ว่ามีการน�ำเข้าเครือ่ งหอมไม่ตำ�่ กว่าสามพันล้านบาท และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลมีนโยบาย พัฒนาเศรษฐกิจโดยได้สง่ เสริมให้มอี ตุ สาหกรรมหลาย ๆ ด้านเกิดขึน้ ถ้าประเทศไทย สามารถผลิ ต น�้ ำ หอมหรื อ น�้ ำ อบขึ้ น ใช้ ไ ด้ เ องทดแทนน�้ ำ หอมจากต่ า งประเทศ จะช่วยสร้างอาชีพที่หลากหลายให้กับคนไทย เช่น เกษตรกรผู้ปลูกพรรณไม้หอม ผูผ้ ลิตน�ำ้ หอมหรือน�ำ้ อบไทย ผูผ้ ลิตบรรจุภณ ั ฑ์ และผูน้ ำ� น�ำ้ อบไทยไปประยุกต์ใช้ใน ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ผู้จ�ำหน่าย ผู้ขนส่ง สร้างธุรกิจ เพิ่มมูลค่าให้กับเกษตรกรผู้ปลูก พรรณไม้หอมไทยทีม่ อี ยูม่ ากแต่ไม่ถกู น�ำมาใช้ประโยชน์ในการสร้างงาน สร้างรายได้ ให้คนไทย ท�ำให้ประเทศไทยมีสนิ ค้าทีเ่ ป็นผลิตภัณฑ์ของไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติ ที่จะจ�ำหน่ายหรือเป็นของฝากของขวัญให้กับชาวต่างชาติที่มาเยือนประเทศไทย หรือส่งไปจ�ำหน่ายยังต่างประเทศ ตลอดจนเป็นการอนุรกั ษ์และพัฒนาภูมปิ ญ ั ญาไทย ที่มีมาแต่โบราณให้คนรุ่นหลังได้รู้จักและสืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมสืบไป เพราะน�้ำอบไทยเป็นน�้ำหอมของไทยมาแต่โบราณ ปัจจุบันน�้ำอบไทยได้ถูกใช้ใน โอกาสส�ำคัญ ๆ ในชีวิตประจ�ำวันของคนไทย เช่น ในงานสงกรานต์ ใช้สรงน�้ำพระ รดน�ำ้ ด�ำหัวผูใ้ หญ่ ถวายพระ เป็นน�ำ้ สังข์สำ� หรับพิธแี ต่งงาน ใช้เป็นของช�ำร่วย ของขวัญ ใช้ผสมในผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น ใส่บุหงาร�ำไป ใช้ทาตัวให้หอม ใช้ฉีดถุงบุหงา ของช�ำร่วย ผ้าเช็ดหน้า ผ้าห่มนอน ประพรมร่างกาย แม้แต่งานอวมงคล เช่น พิธี รดน�ำ้ ศพ ก็มคี วามต้องการใช้น�้ำอบ แต่ประโยชน์ทแี่ ท้จริงคือ การใช้กบั ร่างกายเพือ่ ดับร้อน ดับกลิ่นตัว ลดการเกิดผดผื่นคัน ชะลอวัย ส่วนฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระนั้นยัง ไม่ได้มีการน�ำมาใช้ ถ้าเราน�ำน�้ำอบไทยที่ปรุงจากไม้หอมไทยที่หาง่ายในประเทศ เป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไทยทีใ่ ช้ได้ในสามฤดูจะท�ำให้มคี ณ ุ ค่ามากยิง่ ขึน้ ในปัจจุบนั มีผู้รู้จักใช้น�้ำอบไทยในวงจ�ำกัด ส่วนมากก็เป็นผู้อายุ 40 ปีขึ้นไป


2 น้ำ�อบไทยสามฤดู

คุณค่าและความส�ำคัญของน�้ำอบไทย ในประเทศไทยมีการใช้ดอกไม้หอม ใบไม้หอม ผลไม้หอม กิ่งไม้หอมหรือ เครื่องเทศ มาใช้ท�ำเครื่องหอมหลายชนิด เช่น น�้ำอบไทย น�้ำปรุง กระแจะจันทร์ ยาหอม แป้งร�ำ ่ แป้งพวง ฯลฯ เพือ่ ใช้ให้กลิน่ หอมแก่รา่ งกาย หรือใช้ในงานมงคลและ อวมงคลต่าง ๆ ส่วนใหญ่มักจะเป็นการผลิตในอุตสาหกรรมครัวเรือนหรือโรงงาน ขนาดย่อม สูตรทีใ่ ช้เป็นสูตรทีถ่ า่ ยทอดกันในครอบครัว ไม่เผยแพร่และไม่มตี ำ� ราที่ บันทึกกันเป็นทางการ มีแต่ในวรรณคดีที่กล่าวถึง เช่น ในเรื่อง ขุนช้างขุนแผน เมื่อ นางพิมพิลาลัยแต่งตัวเตรียมจะไปไปฟังเทศน์มหาชาติ จึงเอาขมิ้นมาทาริน ลูบกายาขมีขมัน ทาแป้งแต่งไรผมใส่น�้ำมัน ผัดหน้าเฉิดฉันดังนวลแต่ง


น้ำ�อบไทยสามฤดู

3

ก�ำเนิดของน�้ำอบไทย เชือ่ ว่าการใช้เครือ่ งหอมของไทยเริม่ มาแต่สมัยอยุธยา เริม่ ใช้กนั ในราชส�ำนัก เท่านั้น โดยเครื่องหอมของไทยได้รับอิทธิพลมาจากจีนและอินเดีย และแพร่เข้าสู่ ชนชัน้ กลางในยุคหลังสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง (ชุล,ี 2550) ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดฯ ใช้เครื่องหอมประเภทน�้ำอบ น�้ำปรุง (น�้ำหอมไทย) ที่ปรุงโดยต�ำรับของพระบรม วงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ ซึ่งเป็นพระน้องยาเธอของพระองค์ (อภิรมย์, 2550) เพราะการขาดองค์ความรู้ในการผลิตและการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและ กระบวนการถ่ายทอดความรู้จากผู้รู้ไปสู่ลูกหลานหรือคนใกล้ชิดเท่านั้น โดยการ บอกเล่าแบบปากต่อปาก ท�ำให้ความรู้ในด้านนี้อยู่ในวงจ�ำกัด เป็นสาเหตุที่ท�ำให้ ความรูบ้ างอย่างสูญหายไป (Thaipost.net) อีกทัง้ นับวันจะหาผูผ้ ลิตเครือ่ งหอมไทย น้อยลงไปมาก เนื่องจากความนิยมในการใช้ลดลงไปหันไปหาน�้ำหอมน�ำเข้า ซึง่ คือ น�ำ้ หอมจากต่างประเทศ น�ำมาใช้กนั มากขึน้ นับแต่สมัยหลังสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง เป็นต้นมา ผู้คนใช้น�้ำหอมต่างประเทศมากขึ้นเรื่อยมา ทั้งที่มีราคาแพงมาก แต่มี ข้อดีด้านบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม จนลืมน�้ำหอมดั้งเดิมของไทยที่เป็นภูมิปัญญาไทย มาแต่โบราณ ซึ่งสกัดจากธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ โอกาสที่จะเกิดอาการแพ้นั้นมี น้อยมาก อีกทั้งยังทรงคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ไว้เป็นมรดกของชาติสืบไป การท�ำ น�้ำอบไทย ต้นทุนการผลิตไม่สูงนัก และกรรมวิธีผลิตก็ไม่ยุ่งยากซับซ้อน แต่ต้องมี ความพิถีพิถันในการปรุงและเข้าใจหลักการปรุงที่ถูกต้อง การพัฒนาปรับปรุงสูตร และบรรจุภัณฑ์ และการส่งเสริมให้เป็นที่ยอมรับของตลาดให้มากขึ้น การเผยแพร่ ไปสูต่ ลาดต่างประเทศในอนาคต เป็นการลดการน�ำเข้าสินค้าต่างประเทศและสร้าง มูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ไทยที่จะสร้างรายได้ให้กับคนไทย สิ่งที่ส�ำคัญยิ่งก็คือ จะช่วยปลูกจิตส�ำนึกของคนไทยให้ตระหนักถึงคุณค่าผลิตภัณฑ์ไทย น�้ำอบไทยเป็นเครื่องหอมชนิดหนึ่งที่มีมาแต่โบราณ มีกลิ่นหอมรัญจวน หอมสดชื่น ถือเป็นภูมิปัญญาของคนไทยสมัยก่อนที่รู้จักน�ำรากไม้ และกลิ่นหอม


4 น้ำ�อบไทยสามฤดู

ของดอกไม้นานาชนิด รวมทั้งเครื่องก�ำยาน ชะมดเช็ด พิมเสน มาผสมกันจนมีกลิ่น หอมละมุนละไม ไม่มีหลักฐานว่าน�้ำอบไทยเกิดขึ้นในสมัยใด แต่ในวรรณคดีขุนช้าง ขุนแผนของสุนทรภู่เคยกล่าวถึงขุนช้างที่ใช้น�้ำอบประพรมเนื้อตัว แสดงให้เห็นว่า คนไทยใช้น�้ำอบไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเฉพาะในวังหลวงนั้นจะมี พนักงานฝ่ายในที่ดูแลเรื่องเครื่องหอมต่าง ๆ ส�ำหรับพระมหากษัตริย์ เป็นต�ำแหน่ง ทีเ่ รียกว่า พนักงานพระสุคนธ์ ซึง่ ส่วนมากจะควบคุมดูแลโดยเจ้านายฝ่ายใน รับผิดชอบ ตั้งแต่น�้ำสรง น�้ำอบ ไปจนถึงการอบร�่ำภูษาผ้าพระบรรทมให้หอมกรุ่นอยู่เสมอ ดังนัน้ สันนิษฐานว่าน�ำ้ อบเริม่ มีการใช้ภายในพระมหาราชวังก่อน โดยเฉพาะในสมัย รัชกาลที่ 5 นัน้ แต่ละพระต�ำหนักจะมีการแข่งกันปรุงเครือ่ งหอมน�ำ้ อบใช้เอง ซึง่ กลิน่ หอมของแต่ละต�ำหนักนั้นจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าสูตรของใครจะชอบ หรือเน้นกลิ่นใดเป็นพิเศษแต่วิธีการเหมือนกันหมด อย่างเช่น วังศุโขทัยของสมเด็จ พระนางเจ้าร�ำไพพรรณีฯ นั้น เป็นอีกวังหนึ่งที่ขึ้นชื่อทางเรื่องน�้ำอบ ซึ่งน�้ำอบของ วังนี้จะเน้นกลิ่นข้าวใหม่ คือ ดอกชมนาดที่มีกลิ่นอ่อน ๆ คล้ายกับใบเตย ส่วนต�ำรับ ของวังหลวงมีอยู่หลายพระต�ำหนักด้วยกัน แต่ส่วนมากจะเน้นการใช้จันทน์เทศ เป็นหลัก ส�ำหรับวังวรดิศก็ได้มกี ารท�ำเครือ่ งหอมสืบทอดกันต่อ ๆ มาตามค�ำบอกเล่า โดยมิได้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยท�ำขึ้นมาใช้เองจากวัสดุและสมุนไพร หอมที่ปลูกอยู่ภายในวัง น�้ำอบไทยของวังนี้จะมีกลิ่นหอมชื่นใจ เช่น กลิ่นดอกแก้ว กลิน่ ล�ำเจียก กลิน่ จันทน์กะพ้อ โดยเฉพาะต�ำหนักของพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้า พวงสร้ อ ยสอางค์ พระขนิ ษ ฐาในพระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ได้ชื่อว่าเป็นต�ำหนักที่ท�ำเครื่องหอมโดยตรง เพราะนอกจากเสด็จพระองค์เจ้า พวงสร้อยสอางค์ทรงมีหน้าที่ปรุงพระสุคนธ์ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวแล้ว ยังทรงท�ำน�้ำอบ น�้ำปรุง แป้งสด แป้งร�่ำ กระแจะ เทียนอบ จ�ำหน่าย ในวัง ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ทรงสร้างพระราชวังมฤคทายวันราชนิเวศน์ขึ้น โดยเป็นพระราชวังฤดูรอ้ นริมทะเล จังหวัดเพชรบุรี ภายในพระราชวังมีหลักฐานของ


น้ำ�อบไทยสามฤดู

5

ห้องพระสุคนธรส ที่เป็นที่เตรียมและผลิตเครื่องหอมส�ำหรับใช้ในวัง โดยมีโหลปรุง เครื่องหอมปรากฏอยู่ ซึ่งในปัจุบันได้มีการจัดแสดงไว้ให้ประชาชนชม ทั้งน�้ำปรุง จากไม้หอมไทย น�้ำอบไทย และบุหงา

ป้ายหน้าห้องพระสุคนธรสซึ่งเป็นห้องท�ำเครื่องหอมในพระราชวังมฤคทายวันราชนิเวศน์

โหลแก้วบรรจุน�้ำอบ น�้ำปรุง ในห้องพระสุคนธรสของพระราชวังมฤคทายวันราชนิเวศน์


6 น้ำ�อบไทยสามฤดู

อภิรมย์ ช�ำนิบรรณการ เจ้าของร้านยัวร์ฟลอรีสท์ เล่าให้ฟงั ว่าเมือ่ 30 กว่าปี นั้นมีโอกาสเข้าไปแถวเรือนไม้ท้ายวัง ได้พบกับคุณยายช่วง สุเดชะ ที่พ�ำนักอยู่ใน ต�ำหนักวังหลวง คุณยายช่วงเล่าให้ฟังว่าท่านมีคุณแม่เป็นคุณข้าหลวงในพระต�ำหนักของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ โดยคุณแม่ของคุณยายช่วงมี หน้าที่ท�ำน�้ำอบต�ำรับของพระต�ำหนักนี้ ปัจจุบันเรือนไม้ท้ายวังหลวงซึ่งเก่าทรุดโทรมก็ได้มีการรื้อออกไปหมดแล้ว พร้อมกับการเสียชีวติ ของคุณยายช่วงเมือ่ หลายปีกอ่ น ผูท้ สี่ บื ทอดสูตรต�ำรับนีต้ อ่ มามี เพียงไม่กคี่ น หนึง่ ในนัน้ คือ คุณอภิรมย์ โดยต�ำรับของพระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ นั้นจะเป็นน�้ำอบที่เน้นกลิ่นกระดังงา และมะลิ เมื่อ 70 กว่าปีที่ผ่านมา ม.ร.ว.หญิง สอิ้งมาศน์ นวรัตน เป็นผู้สืบทอดการปรุงน�้ำอบมาจากราชสกุล “นวรัตน” ซึ่งสืบ เชื้อสายมาจากรัชกาลที่ 2 ท่านได้เป็นอาจารย์คนแรกที่เปิดสอนเรื่องน�้ำอบไทย ที่ โรงเรียนการเรือนสวนดุสิต (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต) นับตั้งแต่มี การเปิดโรงเรียน ผศ.โสภาพรรณ นอกจากจะเป็ น วิ ท ยากรสอนเรื่ อ งเครื่ อ งหอมไทย และน�้ำอบแล้ว ยังปรุงน�้ำอบต�ำรับของ ม.ร.ว.หญิง สอิ้งมาศน์ จ�ำหน่ายเฉพาะที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสติ ความหอมของน�ำ้ อบเป็นทีเ่ ลือ่ งลือกันมาก เพราะสาว ชาววังนั้นจะมีกลิ่นกายหอมยวนใจด้วยแป้งร�่ำและน�้ำอบ เรียกได้ว่าแม้สาวชาววัง จะเดินไปทางไหนจะทิ้งกลิ่นหอมเอาไว้เสมอ บรรดาชาวบ้านทั้งหลายจึงอยากมีกลิ่นกายหอมเหมือนสาวชาววังบ้าง ต่อมาน�้ำอบก็เริ่มเผยแพร่ออกมาจากวังด้วย หลาย ๆ ต�ำหนักมีการท�ำออกมา จ�ำหน่ายนอกวัง ชาวบ้านก็รู้จักใช้น�้ำอบ คนสมัยก่อนใช้น�้ำอบในชีวิตประจ�ำวัน คือหลังจากอาบน�้ำเสร็จก็จะน�ำน�้ำอบมาผสมกับแป้งร�่ำหรือแป้งนวล แล้วก็น�ำมา ประตามเนื้อตัว นอกจากจะท�ำให้กลิ่นกายหอมสดชื่นจากน�้ำอบแล้ว แป้งร�่ำยังจะ


น้ำ�อบไทยสามฤดู

7

ช่วยท�ำให้เนื้อตัวลื่นสบาย เหมาะส�ำหรับเมืองร้อนอย่างประเทศไทยมาก อินเดีย เป็นชาติหนึ่งที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องเครื่องหอมเช่นกัน การท� ำ น�้ ำ อบนั้ น ถื อ เป็ น ศาสตร์ แ ละศิ ล ป์ ชั้ น สู ง ที่ ต ้ อ งใช้ ค วามช� ำ นาญ ละเอียดอ่อนและความอดทนอย่างมาก น�้ำอบเริ่มก�ำเนิดมาจากวังหลวง ดังนั้น กรรมวิธีในการท�ำจึงยุ่งยากและซับซ้อน กว่าจะได้น�้ำอบที่มีกลิ่นหอมจรุงใจสักขวด จะต้องใช้เวลาในการอบร�่ำถึง 4 วัน ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ น�ำ้ อบไทยจะมียอดจ�ำหน่ายสูงขึน้ มาทันที เพราะ ประเพณีไทยจะนิยมใช้น�้ำอบสรงน�้ำพระ รดน�้ำผู้ใหญ่เพื่อขอพร รวมถึงการเล่น สาดน�ำ้ ก็สามารถใส่นำ�้ อบไทยด้วย ผูผ้ ลิตน�ำ้ อบไม่วา่ จะเป็นของสูตรชาววังหรือชาวบ้าน นัน้ เมือ่ ถึงเวลาใกล้ชว่ งสงกรานต์กจ็ ะต้องรีบผลิต น�้ำอบกันอย่างหามรุ่งหามค�่ำ เพราะปีหนึ่งจะมี เพียงช่วงนีเ้ ท่านัน้ ทีจ่ ะขายของได้ ด้วยจุดเด่นของ น�้ำอบไทยสูตรโบราณซึ่งหอมทนนาน ยอดขาย น�ำ้ อบไทยในช่วงสงกรานต์มแี นวโน้มเพิม่ ขึน้ ทุกปี เชียงใหม่เป็นตลาดส�ำคัญในช่วงสงกรานต์ นอกจาก ตลาดในประเทศแล้ว น�้ำอบไทยยังสามารถขยายตลาดส่งออกไปยังประเทศ เพื่อนบ้าน คือ ลาว เมียนมาร์ ซึ่งมีการจัดงานเทศกาลสงกรานต์เช่นกัน (research. kasikornresearch.com)


8 น้ำ�อบไทยสามฤดู

น�้ำอบไทยสูตรโบราณ น�้ำอบไทยโบราณ กรรมวิธีเดิมจะมีสีขาวนวล ท�ำจากการสกัดใบเตยหอม และสมุนไพร เครื่องหอมไทย คือ จันทน์เทศ และชะลูด อบร�่ำด้วยเทียนอบ อายุ การใช้งานสั้น จะเปลี่ยนสีเป็นสีน�้ำตาลด�ำคล�้ำหรือน�้ำตาลไหม้เมื่อผ่านไป 1 ปี กลิ่น เป็นกลิน่ แบบโบราณทีค่ นรุน่ ใหม่ไม่นยิ มเพราะให้ความรูส้ กึ ถึงการอยูใ่ นวัดทีด่ วู งั เวง (ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้สนใจในผลิตภัณฑ์)

น�้ำอบไทยโบราณ

น�้ำอบไทยสามฤดู

น�้ำอบไทยสามฤดู


น้ำ�อบไทยสามฤดู

9

น�้ำอบไทยสามฤดูที่พัฒนาจากน�้ำอบไทยโบราณ งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาน�้ำอบไทยสามฤดู เป็นงานวิจัยที่จะช่วยพัฒนา และสร้างผลิตภัณฑ์ไทยที่เป็นภูมิปัญญาไทยมาแต่โบราณซึ่งได้ถูกลืมเลือนไปจาก สังคมไทย ภูมิปัญญาไทยอันทรงคุณค่าของคนไทยที่จะสร้างงาน สร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กบั การผลิตครัง้ นีอ้ ย่างมาก เนือ่ งจากเป็นการน�ำไม้หอมไทยทีม่ ใี นท้องถิน่ มาสร้าง ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ได้อีกอย่างหลากหลาย การศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาสูตรน�้ำอบไทยสามฤดู เพื่อหากรรมวิธีการ ผลิตน�้ำอบไทยจากไม้หอมไทยที่เหมาะสมใช้ได้ในสามฤดูคือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และ ฤดูหนาว ทีล่ กั ษณะอากาศมีความแตกต่างกัน การผลิตน�ำ้ อบสามฤดูนนั้ มีคณ ุ สมบัติ แตกต่างกัน ในฤดูร้อน อากาศร้อนจัดท�ำให้มีเหงื่อไคล ตัวเหนียว และมักมีอาการคัน การใช้น�้ำอบส�ำหรับฤดูนี้ควรจะช่วยดับร้อน ลดอาการคัน ผุพอง ผิวหนังอักเสบได้ จึงจะเหมาะสม โดยมีการผสมสมุนไพรดับร้อนลงไป เช่น ขมิ้น ท�ำให้มีสีเหลืองและ มีสรรพคุณทางการระงับอาการอักเสบของผิวหนัง ลดอาการพุพองและคันได้เป็น อย่างดี และมีสีที่สวยงามมากขึ้น รวมทั้งปรับกลิ่นให้มีกลิ่นหอมจากไม้หอมไทย ที่เหมาะกับฤดูร้อน ในฤดู ฝ น อากาศชื้ น มั ก เกิ ด เชื้ อ ราขึ้ น ได้ ผู ้ วิ จั ย จึ ง คิ ด ค้ น สู ต รที่ ท� ำ ให้ ช่วยดับร้อนและระงับเชื้อราด้วยการผสมสมุนไพรอัญชันที่มีสรรพคุณในการระงับ การเกิดเชื้อรา สีฟ้าของดอกไม้ธรรมชาติอย่างอัญชันท�ำให้เกิดประโยชน์เพิ่มขึ้น มีสีที่สวยงามมากขึ้น และปรับกลิ่นให้มีกลิ่นหอมจากไม้หอมไทยที่เหมาะกับฤดูฝน ส�ำหรับฤดูหนาว อากาศแห้ง ผิวตึง จึงควรใช้น�้ำอบที่บ�ำรุงผิวพรรณด้วย ไม้หอมธรรมชาติคอื ดอกกุหลาบหอมทีม่ กี ลิน่ หอมและมีสรรพคุณบ�ำรุงผิว ให้สแี ดง สวยงามแบบธรรมชาติ กลิ่นกุหลาบยังช่วยบ�ำรุงหัวใจได้เมื่อสูดดม ผู้วิจัยได้คิดค้นสูตรขึ้นเป็นคนแรก และน�ำออกเผยแพร่จนเป็นที่ยอมรับ ของประชาชนเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา


10 น้ำ�อบไทยสามฤดู

การอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาไทยในการผลิตน�้ำอบไทยสามฤดูเพื่อ ใช้ในชีวิตประจ�ำวันและผลิตจ�ำหน่ายเป็นอาชีพ ท�ำการส�ำรวจความพึงพอใจและ ความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อน�้ำอบไทยสามฤดูที่พัฒนาขึ้นทั้ง 3 สูตร น�้ำอบไทยที่ได้รับการพัฒนาแล้วนั้น ผู้วิจัยได้พัฒนาโดยการลดความ อ่อนซีดของสีของน�้ำอบไทยโบราณลง แต่ยังคงมีสีตามธรรมชาติที่เป็นที่ยอมรับใน ปัจจุบัน พัฒนากลิ่นหอมของพรรณไม้หอมของไทย และเพิ่มเติมสมุนไพรไทยที่ เป็นไปตามเอกลักษณ์ของน�้ำอบไทย รวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่แบบสากลนิยม สะดวก ในการใช้งาน มีตราฉลากทีช่ ดั เจน ระบุวนั ทีผ่ ลิต วันหมดอายุชดั เจน และมีสรรพคุณ ในการรักษาอาการต่าง ๆ ตามฤดูกาล พัฒนาขั้นตอนและกรรมวิธีการผลิตที่ให้ ผลดีแต่สะดวกขึ้นกว่าแบบโบราณ เพื่อประหยัดต้นทุนการผลิต ประหยัดเวลาใน การผลิต และมีอายุการใช้งานยาวนานขึน้ คือ มีอายุการใช้งานนาน 2 ปี เป็นอย่างน้อย


น้ำ�อบไทยสามฤดู 11

อุปกรณ์ในการผลิต - เครื่องชั่ง ตวง วัด - ขวดบรรจุน�้ำอบ - อ่างแก้ว - อ่างสแตนเลส - กรวย - กระชอน - หม้อเคลือบ - กระบวยตักน�้ำ - ครก - เตาหุงต้ม - ทวน และตะคัน (อุปกรณ์ในการอบร�่ำ) - โถอบร�่ำ

วัตถุดิบในการท�ำน�้ำอบไทยสามฤดู 1. น�้ำ 2. แป้งหิน


12 น้ำ�อบไทยสามฤดู

3. หัวน�้ำหอมธรรมชาติ

4. ใบเตย

5. ชะลูดก้าน


น้ำ�อบไทยสามฤดู 13

6. จันทน์เทศ

7. เทียนอบ

ขั้นตอนการผลิตน�้ำอบไทยสามฤดู 1. ต้มน�้ำให้เดือด ใส่เครื่องหอมคือ ใบเตย ชะลูด ก้านจันทน์เทศ เคี่ยวจน น�้ำเป็นสีชา กรองเอาแต่น�้ำแล้วตั้งไว้ให้เย็น


14 น้ำ�อบไทยสามฤดู

2. บดแป้งหินให้ละเอียด

3. ใส่หัวน�้ำหอมลงในแป้งหินที่บดแล้ว ใส่ลงในน�้ำที่ต้มไว้

4. น�ำแป้งทีผ่ สมแล้วไปผสมลงในน�ำ้ ทีต่ ม้ กับใบเตย ชะลูด และจันทน์เทศ คนให้เข้ากัน สูตรฤดูร้อนผสมน�้ำขมิ้นลงไปคนให้เข้ากัน


น้ำ�อบไทยสามฤดู 15

5. น�ำไปใส่ในโถ วางทวนไว้ตรงกลางเพื่อวางเทียนอบ

6. จุดเทียนอบเพื่อร�่ำน�้ำอบให้หอม วางบนทวน คนทุกครั้งที่จุดเทียน

7. บรรจุขวด


16 น้ำ�อบไทยสามฤดู

สูตรฤดูฝน ผสมน�้ำอัญชันลงไป

น�ำไปใส่ในโถ วางทวนไว้ตรงกลางเพื่อวางเทียนอบ


น้ำ�อบไทยสามฤดู 17

จุดเทียนอบเพื่อร�่ำน�้ำอบให้หอม วางบนทวน คนทุกครั้งที่จุดเทียน แล้วบรรจุขวด


18 น้ำ�อบไทยสามฤดู

สูตรฤดูหนาว ผสมดอกกุหลาบลงไป


น้ำ�อบไทยสามฤดู 19

น�้ำอบไทยสามฤดู ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว

(รายการอาวุธไอเดีย, 2554)


20 น้ำ�อบไทยสามฤดู

ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารประกอบ โพลีฟินอลในน�้ำอบปรุงไทยสามฤดู น�ำ้ อบหรือน�ำ้ หอมไทยสามารถผลิตได้จากการน�ำไม้หอมไทย เช่น กุหลาบไทย ใบเตยหอม ดอกอัญชัน มาสกัดผสมกับสมุนไพรและเครื่องหอม อันเป็นภูมิปัญญา ของคนไทยตั้งแต่สมัยโบราณ วัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เพื่อทดสอบ ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในน�้ำอบไทยสามฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และ ฤดูหนาว โดยใช้ 2,2-Diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) radicals วัดค่าการ ดูดกลืนแสงที่ 517 นาโนเมตร พบว่าน�ำ้ อบไทยทัง้ สามฤดู มีความสามารถในการต้าน อนุมูลอิสระร้อยละ 18.44 ± 2.28, 27.96 ± 3.39 และ 77.30 ± 0.30 ตามล�ำดับ เมื่อเปรียบเทียบความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระกับสารมาตรฐานวิตามินซี พบว่าน�้ำอบไทยสามฤดู ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว มีความสามารถในการต้าน อนุมูลอิสระเทียบเท่ากับความเข้มข้นของวิตามินซี 3.60 ± 0.80, 7.39 ± 0.43 และ 24.25 ± 0.11 มิลลิกรัมต่อ 100 มิลลิลิตร ตามล�ำดับ และวิเคราะห์ปริมาณ สารประกอบโพลีฟนิ อล โดยใช้ Folin-Ciocalteu’s reagent วัดค่าการดูดกลืนแสงที่ 750 นาโนเมตร พบว่าน�ำ้ อบไทยฤดูรอ้ น ฤดูฝน และฤดูหนาว มีปริมาณสารประกอบ โพลีฟนี อลเทียบเท่ากับสารมาตรฐานกรดแกลลิก 84.18 ± 0.77, 145.51 ± 1.54 และ 727.82 ± 6.16 มิลลิกรัมต่อ 100 มิลลิลิตร ตามล�ำดับ และทดสอบทาง พฤกษเคมีเบื้องต้น (Phytochemical screening) โดยใช้ปฏิกิริยาการเกิดสี พบว่าน�ำ้ ปรุงไทยสามฤดูมสี ารส�ำคัญทีม่ ฤี ทธิท์ างเภสัชวิทยาเป็นองค์ประกอบ ได้แก่ สารกลุ่มแอลคาลอยด์ ฟลาโวนอยด์ และแทนนิน จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้แสดงถึง ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของน�้ำอบไทย และปริมาณสารประกอบ โพลีฟนิ อล ตลอดจนสารส�ำคัญทีม่ ฤี ทธิท์ างเภสัชวิทยาทีพ่ บได้ในน�ำ้ อบไทย ซึง่ แสดง ให้เห็นว่าน�ำ้ อบไทยสามารถช่วยให้เกิดการผ่อนคลาย ลดความเครียด ช่วยชะลอวัย และยังสามารถช่วยลดโอกาสหรือความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกิดเนื่องจากอนุมูล อิสระได้ (ไศลเพชร ศรีสุวรรณ และกฤษณ์ตินันท์ นวพงษ์ปวีณ, 2553)


น้ำ�อบไทยสามฤดู 21

บรรณานุกรม คมสัน หุตะแพทย์. 2549. การสกัดน�ำ้ มันหอมระเหย. กรุงเทพมหานคร: ออฟเซ็ต ครีเอชั่น. ดุษฎี อุตภาพ และคณะ. 2544. การสกัดสารหอมจากใบเตยและการวิเคราะห์ องค์ประกอบในสาขา. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท. นันทวัล กลิน่ จ�ำปา. 2545. เครือ่ งหอมภูมปิ ญ ั ญาไทย. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชัน่ . บุ ญ ลื อ กล้ า หาญ. 2541. การศึ ก ษาและรวบรวมพรรณไม้ ห อมเมื อ งไทย. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาพืชสวน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง. พิมพร ลีลาพรพิสิฐ. 2547. สุคนธบ�ำบัด. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์. รวีวรรณ เดือ่ มณี. 2544. การพัฒนาวิธกี ารใช้นำ�้ มันหอมระเหยจากพืชพืน้ เมือง ควบคุมเชื้อ. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท. ไศลเพชร ศรีสุวรรณ. 2549. เอกสารประกอบการสอนวิชาเครื่องหอมและของ ช�ำร่วย. ปทุมธานี: สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2550. อุตสาหกรรม เครือ่ งส�ำอาง. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งประเทศไทย. สะอาด เสือวรรณศรี. 2446. ต�ำรับเครื่องหอมไทย (เอกสารลายมือ บันทึกส่วนตัว) กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท. โสภาพรรณ อมตะเดชะ. 2526. เครื่องหอมและของช�ำร่วย. กรุงเทพมหานคร: ศรีสยามการพิมพ์.


22 น้ำ�อบไทยสามฤดู

แหลม หญ้าคา. 2547. “เล่าเรื่องน�้ำหอม.” คู่สร้างคู่สม. กรุงเทพมหานคร: อรชร เอกภาพสากล. 2547. มหัศจรรย์น�้ำมันหอมระเหย. กรุงเทพมหานคร: อุ ต สาหกรรมเครื่ อ งส� ำ อาง สถาบั น วิ จั ย วิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี แห่งประเทศไทย. อรัญญา มโนสร้อย. 2533. เครื่องส�ำอาง. กรุงเทพมหานคร: โอเอสพริ้นติ้ง. อัมพร มานิจกุล. 2535. จุลสารวิชาการเรื่องเครื่องหอม. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพระนครใต้. Bhuiyan, M.A.R. and Hoque, M.Z. 2010. Free radical scavenging activities of Zizyphus mauritiana. Electronic Journal of Environmental Agricultural and Food Chemistry. 9(1) 199-206. Carpes, S.T., Mouráo, G.B. and Masson. M.L. 2009. Chemical composition and free radical scavenging activity of Apis mellifera bee pollen from Southern Brazil. Brazilian Journal of Food Technology. 12(3) 220-229. Kumar, G.S., Jayaveera, K.N., Ashok Kumar, C.K., et al. 2007. Antimicrobial effects of Indian medicinal plants against acne-inducing bacteria. Tropical Journal of Pharmaceutical Research. 6(2):71. Sclerotium rolfsi Sacc. ม.ป.ป. รายงานการวิจยั . พระนครศรีอยุธยา: สถาบัน เทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตหันตรา.


น้ำ�อบไทยสามฤดู 23

ประวัติผู้เขียน ชื่อ-นามสกุล ผศ. ไศลเพชร ศรีสุวรรณ ต�ำแหน่งปัจจุบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 8 ที่ท�ำงาน คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 39 หมู่ 1 ถ.รังสิต-นครนายก ต.คลองหก อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี 12110 ประวัติการศึกษา กศ.บ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร คศ.ม. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน สาขาวิชาการที่มีความช�ำนาญพิเศษ เครื่องหอมไทย เครื่องหอมต่างประเทศ เครื่องส�ำอาง และ งานประดิษฐ์สร้างสรรค์แขนงต่าง ๆ


คณะกรรมการวิชาการพิจารณาเอกสารเผยแพร่ความรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 1. รศ. ดร.สุวรินทร์ ปัทมวรคุณ 2. ผศ. ดร.ณัฐวรรณ คุปพิทยานันท์ 3. ผศ. ดร.จตุพร เผ่าพงษ์ไทย 4. รศ.วสันต์ กันอ�่ำ 5. ผศ. ดร.วันชัย ประเสริฐศรี 6. ผศ.สุภา ทองคง 7. ผศ. ดร.บุญเรือง สมประจบ 8. ผศ. ดร.อัญชลี สวาสดิ์ธรรม 9. ผศ. ดร.สมจิตร ถนอมวงศ์วัฒนะ 10. ผศ. ดร.อ้อยทิพย์ ผู้พัฒน์ 11. ผศ. ดร.บุญย์ฤทธิ์ ประสาทแก้ว 12. นายประชุม ค�ำพุฒ 13. นายเกษียร ธรานนท์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์


คณะผู้จัดท�ำ ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดี คณะท�ำงาน ฝ่ายอ�ำนวยการ รองศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี สงวนพงษ์ นางบรรเลง สระมูล

ผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา รองผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา

ฝ่ายเนื้อหา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไศลเพชร ศรีสุวรรณ

คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์

ฝ่ายศิลป์ และจัดพิมพ์ นางนฤมล จารุสัมฤทธิ์ นางสาวกชกร ดาราพาณิชย์ นางสาวอริสรา สุดสระ นางสรสุดา ชูกลิ่น จัดพิมพ์โดย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เลขที่ 39 หมู่ 1 ถนนรังสิต-นครนายก ต�ำบลคลองหก อ�ำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12110 โทรศัพท์: 0 2549 4682 โทรสาร. 0 2577 5038 Website: http://www.ird.rmutt.ac.th E-mail: ird@rmutt.ac.th พิมพ์ที่: บริษัท ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จ�ำกัด โทรศัพท์: 0 2521 8420 โทรสาร. 0 2521 8424



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.