การปรากฎของบัวในงานจิตรกรรมฝาผนังและภาพยนตร์ไทย

Page 1

การปรากฏของบัวในงานจิตรกรรมฝาผนังและ ภาพยนตร์ไทย

โดย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี


การปรากฏของบัวในงานจิตรกรรมฝาผนังและภาพยนตร์ไทย

ผู้เขียน : ภัสสร สังข์ศรี ISBN : 978-974-625-630-8 จ�ำนวน : 24 หน้า พิมพ์ครั้งที่ 1 : สิงหาคม 2557 จ�ำนวนพิมพ์ : 100 เล่ม ราคา : จัดพิมพ์โดย : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เลขที่ 39 หมู่ 1 ถนนรังสิต-นครนายก ต�ำบลคลองหก อ�ำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12110 โทรศัพท์: 0 2549 4682 โทรสาร: 0 2577 5038 Website: http://www.ird.rmutt.ac.th E-mail: ird@rmutt.ac.th พิมพ์ที่ : บริษัท ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จ�ำกัด โทรศัพท์ : 0 2521 8420 โทรสาร: 0 2521 8424

เนื้อหาใดๆ ในหนังสือเล่มนี้เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเพียงผู้เดียว สถาบันวิจัยและพัฒนา เป็นเพียงผู้จัดพิมพ์เผยแพร่เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชนเท่านั้น


ค�ำน�ำ เอกสารเผยแพร่ความรู้ เรือ่ ง การปรากฏของบัวในงานจิตรกรรมฝาผนังและ ภาพยนตร์ไทย มาเรียบเรียงใหม่ในรูปแบบของหนังสือชุดความรู้ เพื่อเผยแพร่แก่ ผู้สนใจเรื่อง บัว จิตรกรรมฝาผนัง และภาพยนตร์ไทย การค้นคว้าในครั้งนี้ผู้เขียน ใช้เวลา 1 ปี เพื่อเดินทางไปถ่ายภาพจิตรกรรมฝาผนังของวัดหลายแห่ง ในเขต กรุงเทพมหานคร ภาพจิตรกรรมฝาผนังทีท่ ำ� การศึกษามีอายุตงั้ แต่สมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้นจนถึงยุคปัจจุบัน ผู้เขียนค้นพบว่าภาพจิตรกรรมฝาผนังของไทยนั้นมีความ วิจิตรงดงาม มีเรื่องราวมากมายสื่อสารผ่านภาพเขียนเหล่านั้น รวมทั้งภาพบัวที่ถูก เขียนอย่างวิจิตรบรรจง นอกจากนั้นผู้เขียนยังได้ดูภาพยนตร์ไทยเป็นจ�ำนวนมาก เพื่อตรวจสอบการปรากฏของบัวในภาพยนตร์ไทย การศึกษาครั้งนี้นอกจากได้ ความรู้เรื่องบัวในเชิงวัฒนธรรมแล้ว ผู้เขียนเกิดความภาคภูมิใจต่อสื่อของไทยที่ น�ำเสนอในรูปแบบจิตรกรรมฝาผนังอันงดงาม และภาพยนตร์ไทยทีน่ ำ� เสนอเรือ่ งราว หลากหลาย สนุกสนาน และสร้างสรรค์ ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือชุดความรู้ฉบับนี้จะเป็นประโยชน์แก่ ผู้อ่าน เมื่อท่านได้มีโอกาสไปวัดก็หวังว่าท่านจะชื่นชมภาพจิตรกรรมฝาผนังอย่าง พินจิ พิเคราะห์มากขึน้ และดูภาพยนตร์ไทยในมุมมองทีเ่ ปลีย่ นไป หากหนังสือเล่มนี้ มีข้อบกพร่องประการใดผู้เขียนขออภัยไว้ ณ ที่นี้ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สิงหาคม 2557


สารบัญ บทน�ำ ศาสนากับสื่อมวลชน บัว ภาพเขียน ภาพยนตร์ไทย บทสรุป บรรณานุกรม ประวัติผู้เขียน

หน้า 1 2 3 7 12 20 22 24


การปรากฏของบัวในงานจิตรกรรมฝาผนังและภาพยนตร์ ไทย 1

บทน�ำ

หนังสือเล่มนี้เป็นการน�ำงานวิจัย หนังไทย เรื: ่อง การปรากฏของบัวในงานจิตรกรรม ฝาผนังและภาพยนตร์ไทย มาเรียบเรียง านจิตรกรรมฝาผนั งและภาพยนตร์ ไทย ้ เพื่อ ใหม่ในรูปแบบของหนั งสือชุดความรู เป็ น การเผยแพร่ ค วามรู ้ เรื่ อ งบั ว ในเชิ ง วัฒนธรรมผ่านภาพจิตรกรรมฝาผนังและ นการนางานวิ จยั เรื่ อง ไการปรากฏของบั วในงานจิตรกรรมฝาผนังและภาพยนตร์ ไทย ภาพยนตร์ ทย การปรากฏเรื ่องราวของบัวคผ่วามรู านทางสื ของไทยในรู แบบต่าผ่ง าๆน นั้นเป็น บบของหนัง สื อชุ ดความรู ้ เพื่อเป็ นการเผยแพร่ ้เรื่ อ่องบั วในเชิงวัฒปนธรรม ะภาพยนตร์การสื ไทย่อสารเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา เช่น พุทธประวัติ นิทานชาดก และ เสนอในรู ปแบบวิถีชีวิตปไทย ผู ่านจะได้ ห็นความต่ อเนื่อ่ องของการสื ราวของบัวผ่น�าำนทางสื ่ อของไทยในรู แบบต่้อางๆนั ่ อสารเรื งราวที่เกี่ย่อวสารข้อมูล ้ นเป็เนการสื ทธศาสนาตั ยุคโบราณผ่ านทางจิ งจนถึงเห็ยุคนปัจจุบัน พุทธประวัทางด้ ติ นิาทนพุ านชาดก และ ้งนแต่าเสนอในรู ปแบบวิ ถีชีวติตรกรรมฝาผนั ไทย ผูอ้ ่านจะได้ ผ่านทางภาพยนตร์ สารข้อมูลทางด้ านพุทธศาสนาไทยตั้งแต่ยคุ โบราณผ่านทางจิตรกรรมฝาผนังจนถึงยุค ขณะนี้เป็นช่วงเวลาของโลกาภิวัตน์ ข้อมูลข่าวสารและวัฒนธรรมจาก ทัว่ โลกหลัง่ ไหลสูส่ งั คมไทยอย่างรวดเร็ว มากมาย สิง่ ทีจ่ ะท�ำให้สงั คมไทยยังด�ำรงความ วลาของโลกาภิวตั น์ ข้อมูลข่าวสารและวัฒนธรรมจากทัว่ โลกหลัง่ ไหลสู่ สังคมไทย เข้มแข็งคือ การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน หนังสือเล่มนีจ้ ะเป็นส่วนหนึง่ ทีแ่ สดงให้ สิ่ งที่จะทาให้สังคมไทยยังดารงความเข้มแข็งคือ การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน คนรุน่ ใหม่เห็นความงดงามของวัฒนธรรมไทยผ่านทางสือ่ สัญลักษณ์ตา่ ง ๆ ทีส่ บื ทอด ่ นใหม่เห็นงปัความงดงามของวั หนึ่งที่แสดงให้ ฒนธรรมไทย ผ่านทางสื่ อ จากยุคคนรุ โบราณจนถึ จจุบัน ดจากยุคโบราณจนถึงปั จจุบนั

วลชน ตามแนวคิดของนักวิชาการด้านการสื่ อสาร เจมส์ แครี่ (James Carey) นา แก้วเทพ: 2549, 376-377) กล่าวว่า ศาสนากับสื่ อมวลชนมีลกั ษณะร่ วมกันเป็ น เสนอแบบจาลองการสื่ อสาร 2 ความหมาย และทั้ง 2 ความหมายนี้ลว้ นเชื่ อมโยง

คือ แบบจาลองการปริ วรรตการสื่ อสาร (Transmission Model) เน้นเรื่ องการ


2 การปรากฏของบัวในงานจิตรกรรมฝาผนังและภาพยนตร์ ไทย

ศาสนากับสื่อมวลชน ศาสนาและสื่อมวลชนตามแนวคิดของนักวิชาการด้านการสื่อสาร เจมส์ แครี่ (James Carey) (1992 อ้างถึงใน กาญจนา แก้วเทพ: 2549, 376-377) กล่าวว่า ศาสนากับสื่อมวลชนมีลักษณะร่วมกันเป็นส่วนใหญ่ โดยแครี่ได้เสนอแบบจ�ำลอง การสื่อสาร 2 ความหมาย และทั้ง 2 ความหมายนี้ล้วนเชื่อมโยงกับศาสนาทั้งสิ้น แบบจ�ำลองแรก คือ แบบจ�ำลองการปริวรรตการสื่อสาร (Transmission Model) เน้นเรื่องการกระจายและการถ่ายทอดข่าวสาร ความคิดที่จะเผยแพร่ ข่าวสารออกไปให้แพร่หลายในคนกลุ่มต่าง ๆ เป็นความคิดดั้งเดิมของทุกศาสนา เช่น หลังจากตรัสรู้ พระพุทธเจ้าทรงเทศน์สั่งสอนพระภิกษุเพื่อให้เผยแผ่พระธรรม พระเยซูทรงเทศน์สั่งสอนคนกลุ่มต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างอาณาจักรของ พระเจ้าบนโลกนี้ และแครี่ยืนยันว่าประวัติศาสตร์ดังกล่าวยังคงด�ำเนินต่อเนื่อง จนถึงยุคของสื่อสมัยใหม่ ตัวอย่างการท�ำงานของซามวล มอส (Samuel Morse) ผู้คิดค้นรหัสของโทรเลขนั้น แรงจูงใจของเขาไม่ใช่ทางโลก แต่เป็นการท�ำงานเพื่อ พระเจ้า ส่วนเป้าหมายทางโลกถูกพัฒนาในระยะหลัง แบบจ�ำลองที่สอง คือ แบบจ�ำลองเชิงพิธีกรรม (Ritualistic Model) การสือ่ สารเป็นกระบวนการทีต่ อ้ งเข้าใจร่วมกัน เพือ่ ผูกพันผูค้ นเข้าด้วยกัน นัน่ ก็คอื มีความหมายและเป้าหมายเช่นเดียวกับศาสนา ดังนัน้ ความคิดทางศาสนาจึงมิได้เพียง แค่การพรรณนาหลักธรรมเท่านั้น แต่กิจกรรมร่วมกันของทุกศาสนาคือ กิจกรรม การสื่อสาร


การปรากฏของบัวในงานจิตรกรรมฝาผนังและภาพยนตร์ ไทย 3

บัว 1. บัว (Lotus/Water Lily) บัวได้รับสมญาว่า “ราชินีแห่งไม้น�้ำ” เนื่องจากเป็นพันธุ์ไม้น�้ำที่มีดอกสวยงาม สีสวยสะดุดตา และบางพันธุ์มีกลิ่นหอม บัวเป็นพืชน�้ำล้มลุกที่มีอายุหลายปี พบได้ทั่วไปทั้งในเขตร้อน เขตอบอุ่น และ เขตหนาว บัวที่พบและนิยมปลูกในประเทศไทยมีอยู่ 3 สกุล คือ 1.1 สกุลบัวหลวง (Lotus) มีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า ปทุมชาติ หรือ บัวหลวง มีถิ่นก�ำเนิดแถบเอเชีย เช่น จีน อินเดีย และไทย มีล�ำต้นใต้ดินแบบเหง้า และไหล ซึ่งเมื่อยังอ่อนจะมีลักษณะเรียวยาว เมื่อโตเต็มที่จะอวบอ้วนเนื่องจาก สะสมอาหารไว้มาก มีขอ้ ปล้องเป็นทีเ่ กิดของราก ใบเป็นใบเดีย่ วมีลกั ษณะกลมใหญ่ สีเขียวอมเทา ขอบใบยกผิวด้านบนมีขนอ่อน ๆ ท�ำให้ไม่เปียกน�้ำ เมื่อใบยังอ่อน ใบจะลอยปริ่มน�้ำ ใบแก่จะชูพ้นน�้ำ ก้านใบและก้านดอกมีหนาม ดอกเป็นดอกเดี่ยว ขนาดใหญ่ชูสูงพ้นผิวน�้ำ มีทั้งดอกทรงป้อมและทรงแหลม บานในเวลากลางวัน มีกลิน่ หอมอ่อน ๆ สีของกลีบดอกมีทงั้ สีขาว ชมพู หรือเหลือง แตกต่างกันแล้วแต่ ชนิดพันธุ์ บัวในสกุลนี้เป็นบัวที่รู้จักกันดีเพราะเป็นบัวที่มีดอกใหญ่นิยมน�ำมา ไหว้พระ และใช้ในพิธีทางศาสนา 1.2 สกุลบัวสาย (Water lily) มีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า อุบลชาติ หรือ บัวสาย บัวสกุลนี้มีล�ำต้นใต้ดินเป็นหัวหรือเหง้า ใบและดอกเกิดจากตาหรือหน่อ และเจริญขึน้ มาทีผ่ วิ น�ำ้ ด้วยก้านส่งใบและยอด บางชนิดมีใบใต้นำ �้ ใบเป็นใบเดีย่ ว มีขอบ ใบทั้งแบบเรียบและแบบคลื่น ผิวใบด้านบนเรียบเป็นมัน ด้านล่างมีขนละเอียดหรือ ไม่มี ดอกเป็นดอกเดี่ยวมีทั้งชนิดที่บานกลางคืนและบานกลางวัน บางชนิดมีกลิ่น หอม มีสีสันหลากหลายแตกต่างกันไป 1.3 สกุลบัววิกตอเรีย (Victoria) มีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า บัวกระด้ง จัดเป็นบัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีล�ำต้นใต้ดินเป็นหัวใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยวมีขนาดใหญ่ ประมาณ 6 ฟุต ลอยบนผิวน�้ำ ใบอ่อนมีสีแดงคล�้ำ เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม


4 การปรากฏของบัวในงานจิตรกรรมฝาผนังและภาพยนตร์ ไทย

ขอบใบยกขึน้ ตัง้ ตรง มีหนามแหลมตามก้านใบและผิวใบด้านล่าง ดอกเป็นดอกเดีย่ ว ขนาดใหญ่ ก้านดอกและกลีบเลี้ยงด้านนอกมีหนามแหลม บานเวลากลางคืนและ มีกลิ่นหอม ดอกประกอบด้วยกลีบเลี้ยงจ�ำนวน 4 กลีบ ด้านนอกมีสีเขียว ด้านใน สีเดียวกับกลีบดอก เมื่อเริ่มบานกลีบดอกจะมีสีขาว และจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูต่อไป (www.panmai.com) 2. บัวกับพุทธศาสนา บัวเป็นต้นไม้ที่มีความสัมพันธ์กับพุทธศาสนาใน หลายแง่มุม ดอกบัวมีความหมายที่ส�ำคัญในพระรัตนตรัย คือเป็นสัญลักษณ์แทน “พระสงฆ์” ดอกบัวเป็นหนึ่งในสามแทนเครื่องพุทธบูชาในพิธีการต่าง ๆ นอก เหนือจากธูปและเทียน ในงานจิตรกรรมแสดงถึงการบูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกบัว อาทิ ภาพช้างสองเชือกขนาบข้างพระพุทธองค์และก�ำลังยื่นดอกบัวบูชา ในงาน ประติมากรรมไทย รูปทรงของพระพุทธรูปปางสมาธิ เป็นรูปทรงดอกบัวตูม และที่ ฐานของพระพุทธรูปจะมีดอกบัวรองรับเสมอ (www.banbuathai.com) มีการศึกษาและงานวิจัยเรื่องบัวกับพุทธศาสนาที่น่าสนใจดังนี้ จารวี มั่นสินธร (2547) ได้ศึกษาเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์เรื่อง ‘ดอกบัว’ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท” ได้ข้อสรุปคือ ความเชื่อที่เนื่องด้วยพระพุทธ ศาสนาซึมซาบและได้ฝังรากลึกเป็นรากฐานของวัฒนธรรมไทย ปรากฏให้เห็นใน ศิลปวัฒนธรรมหลายด้าน ดอกบัวทีเ่ ป็นสัญลักษณ์ของพุทธศาสนาได้ปรากฏในศิลป วัฒนธรรมไทย ทั้งในด้านวรรณกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม ชาวพุทธใช้ดอกบัวเป็นสื่อในการพรรณนาเรื่องราวและเหตุการณ์ เพราะชาวพุทธ ถือว่าดอกบัวเป็นสัญลักษณ์แห่งความงาม ความสะอาดบริสทุ ธิ์ และการตรัสรูธ้ รรม บุญตา อัคจันทร์ (2539) ได้ศึกษาเรื่อง “ต้นไม้ในพระพุทธศาสนา: กรณี ศึกษาต้นไม้ทปี่ รากฏในพุทธประวัตแิ ละต้นไม้ทใี่ ช้เป็นยา” พบว่าบัวเป็นพืชสมุนไพร อีกชนิดหนึง่ ทีป่ รากฏในพระไตรปิฎก และกล่าวถึงสรรพคุณทางเภสัชไว้อย่างชัดเจน โดยกล่าวว่า รากและเหง้าบัวรักษาอาการเป็นไข้ตัวร้อนได้อย่างดี


การปรากฏของบัวในงานจิตรกรรมฝาผนังและภาพยนตร์ ไทย 5

บุบผา เต็งสุวรรณ (2521) ได้ศกึ ษาเรือ่ ง “บัวในวรรณคดีบาลีและสันสกฤต” พบว่าบัวทีป่ รากฏในวรรณคดีบาลีมกั มุง่ เสนอเรือ่ งเกีย่ วกับพุทธศาสนาเป็นหลักใหญ่ โดยทางคติโลกใช้บัวเป็นสัญลักษณ์ของความงาม นอกจากนี้พุทธศาสนิกชนยังน�ำ ค�ำว่า “บัว” มาเป็นส่วนหนึ่งของชื่อ หรือเกี่ยวข้องกับเรื่องราวต่าง ๆ ในชาดก ในหนังสือ “ปกิณกคดีวิถีไทยในเรื่องบัว” ของ ฤดีรัตน์ กายเรศ (2541) กล่าวถึงบัวไว้ว่า ธรรมชาติการก�ำเนิด บัวแสดงให้เห็นถึงปรัชญาการด�ำเนินชีวิต ตามหลักธรรมแห่งพุทธศาสนา บัวมีความสัมพันธ์ต่อการด�ำเนินชีวิตอันเรียบง่าย ของสังคมไทยมานาน นับตั้งแต่การสร้างชาติไทยพร้อมไปกับการนับถือพระพุทธ ศาสนา การปรากฏภาพของบัวหลวงในพุทธประวัติ สามารถสรุปได้ดังนี้ (http://dhammavoice.blogspot.com) 1. ตอนสุ บิ น นิ มิ ต กล่ า วถึ ง สุ บิ น นิ มิ ต ของพระนางสิ ริ ม หามายา ว่ า มี พระเศวตกุญชรใช้งวงจับดอกบัวหลวงสีขาวทีเ่ พิง่ บานใหม่ ๆ ส่งกลิน่ หอมตลบ และท�ำ ประทักษิณสามรอบ แล้วจึงเข้าสูพ่ ระครรภ์พระนางสิรมิ หามายาด้านข้าง ในขณะนัน้ ได้เกิดบุพนิมิตขึ้น 32 ประการ ประการหนึ่งเกี่ยวกับดอกบัว คือมีดอกบัวปทุมชาติ ห้าชนิด เกิดดารดาษไปในน�้ำและบนบกอย่างหนึ่ง มีดอกบัวปทุมชาติผุดงอกขึ้น มาจากแผ่นหินแห่งละเจ็ดดอกอย่างหนึ่ง และต้นพฤกษาลดาชาติทั้งหลายก็บังเกิด ดอกปทุมชาติออกตามล�ำต้นและกิ่งก้านอีกอย่างหนึ่ง 2. ตอนประสู ติ เมื่ อ เจ้ า ชายสิ ท ธั ต ถะประสู ติ ที่ ส วนลุ ม พิ นี ทรงบ่ า ย พระพักตร์ไปทางทิศอุดร และย่างพระบาทไป 7 ก้าว มีดอกบัวผุดขึน้ มารองรับ 7 ดอก 3. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเจริญพระชนมายุได้ 7 พรรษา พระราชบิดาโปรด ให้ขุดสระโบกขรณี 3 สระ ส�ำหรับพระราชโอรสทรงลงเล่นน�้ำ โดยปลูกอุบลบัวขาว สระหนึ่ง ปลูกปทุมบัวหลวงสระหนึ่ง และปลูกบุณฑริกบัวขาวอีกสระหนึ่ง


6 การปรากฏของบัวในงานจิตรกรรมฝาผนังและภาพยนตร์ ไทย

4. ตอนครหพินน์เจ็บใจที่สิริคุตถ์หลอกเดียรถีร์อาจารย์ให้ตกลงในหลุม อุจจาระ จึงคิดแก้แค้นแก่พระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นอาจารย์ที่สิริคุตถ์เคารพเลื่อมใสมาก โดยล่อให้ตกลงในหลุมที่ก่อไฟด้วยไม้ตะเคียน เมื่อพระพุทธองค์ย่างพระบาทลงใน หลุมเพลิง ก็พลันมีดอกบัวผุดขึน้ และรองรับพระบาทไว้มใิ ห้เกิดอันตรายใด ๆ ทัง้ สิน้ 5. เมือ่ พระพุทธองค์ได้ทรงพิจารณาถึงธรรมะทีไ่ ด้ทรงตรัสรูว้ า่ เป็นธรรมะ อันล�ำ้ ลึกยากทีช่ นผูย้ นิ ดีในกามคุณจะรูต้ ามได้ แต่ผทู้ มี่ กี เิ ลสเบาบางอันอาจรูต้ ามก็มี จึงเกิดอุปมาเวไนยสัตว์เหมือน “ดอกบัว”ว่าเวไนยสัตว์ยอ่ มแบ่งออกเป็นสีเ่ หล่า คือ เหล่า 1 อุคคติตญั ญูบคุ คล คือผูท้ มี่ กี เิ ลสน้อย เบาบาง มีสติปญั ญาแก่กล้า เปรียบเสมือนดอกปทุมชาติที่โผล่พ้นเหนือพื้นน�้ำขึ้นมา พอสัมผัสรัศมีพระอาทิตย์ ก็จะบานทันที เหล่า 2 วิปจิตัญญบุคคล ผู้ที่มีกิเลสค่อนข้างน้อย มีอินทรีย์ปานกลาง ถ้าได้ทงั้ ธรรมค�ำสัง่ สอนอย่างละเอียดก็สามารถรูแ้ จ้งเห็นธรรมวิเศษได้ เปรียบเสมือน ดอกบัวที่เจริญเติบโตขึ้นมาพอดีกับผิวน�้ำจักบานในวันรุ่งขึ้น เหล่า 3 เนยยบุคคล ผูท้ มี่ กี เิ ลสยังไม่เบาบาง ต้องหมัน่ ศึกษาพากเพียร เล่าเรียน และคบกัลยาณมิตร จึงสามารถรูธ้ รรมได้ เปรียบเสมือนดอกบัวทีย่ งั จมอยู่ ในน�้ำ คอยเวลาที่จะโผล่ขึ้นมาจากน�้ำ และจะบานในวันต่อ ๆ ไป เหล่า 4 ปทปรมบุคคล ผู้ที่มีกิเลสหนา ปัญญาทึบหยาบ หาอุปนิสัย ไม่ได้เลย ไม่สามารถจะบรรลุธรรมวิเศษได้ เปรียบเสมือนดอกบัวทีเ่ ติบโตและจมอยู่ ใต้น�้ำ ไม่สามารถที่จะโผล่ขึ้นมาเหนือน�้ำได้ จะอยู่ได้เพียงใต้น�้ำและเป็นอาหารของ เต่า ปู และปลา


การปรากฏของบัวในงานจิตรกรรมฝาผนังและภาพยนตร์ ไทย 7

ภาพเขียน 1. ภาพเขียนที่ปรากฏในจิตรกรรมฝาผนัง ภายในพระอุโบสถ และ พระวิหาร ในวัดไทยจะนิยมเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังในรูปแบบของจิตรกรรมไทย ประเพณี วรรณิภา ณ สงขลา ได้เรียบเรียงเรื่องราวของภาพเขียนดังนี้ 1.1 พุทธประวัติ ประกอบด้วยตอนต่าง ๆ ทัง้ สิน้ 28 ตอน โดยเริม่ ตัง้ แต่ ตอนที่ 1 วิวาหมงคลปริวรรต พระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาอภิเษก จนถึงตอนที่ 28 มารพันธปริวรรต ตอนพระอุปคุตเถรปราบพระยาวัสวดีมาร เพื่อให้พระวิหารและพระสถูปอันประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุปลอดภัย 1.2 เรือ่ งชาดก เรือ่ งชาดกในพุทธศาสนา หมายถึงเรือ่ งเกีย่ วกับอดีตชาติ ของพระโคดมพุทธเจ้า หนังสือชาดกมี 2 ชุด คือ นิบาตชาดก ซึ่งเป็นวรรณกรรม โบราณ สันนิษฐานว่าเรียบเรียงตั้งแต่ครั้งเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 100 ปี มีเรื่องทั้งหมด 550 เรื่อง แต่ละเรื่องพรรณนาถึงการที่พระพุทธเจ้าทรงสร้าง พระบารมีเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่ในพระชาติต่าง ๆ ของพระองค์ จนในที่สุดได้จุติเป็น พระโคดมพระพุทธเจ้า และปัญญาชาดก เป็นเรื่องชาดกที่พระภิกษุชาวเชียงใหม่ เรียบเรียงขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2000 บางครั้งเรียกว่า เชียงใหม่ปัญญาส มีเรื่อง ทั้งหมด 50 เรื่อง 1.3 ไตรภูมิพระร่วง เป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาที่กล่าวถึง ภูมิ (แดน) ทั้งสาม คือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ ซึ่งมีเนื้อหาพรรณนาถึงที่อยู่ ที่ตั้ง และการเกิดของมนุษย์ สัตว์เดียรัจฉาน สัตว์นรก เปรต อสุรกาย และเทวดา 1.4 ปริศนาธรรม ปริศนาธรรมทีพ่ บในจิตรกรรมฝาผนัง จะแสดงภาพ ให้ขบคิดถึงความหมายของภาพ ซึ่งมักเป็นภาพในธรรมที่มีข้ออุปมาอุปไมย ภาพ ปริศนาธรรมมักมีรูปแบบการเขียนรูปสืบต่อเป็นทอด ๆ กันมา


8 การปรากฏของบัวในงานจิตรกรรมฝาผนังและภาพยนตร์ ไทย

1.5 วรรณกรรม จิตรกรรมไทย ประเพณีเกี่ยวกับวรรณกรรมอื่น ๆ ทีน่ อกเหนือจากวรรณกรรมทางพุทธศาสนา เช่น อิเหนา ดาหลัง มณีพไิ ชย อุณรุท ไชยเชษฐ์ สุวรรณหงส์ รามเกียรติ์ สามก๊ก ไกรทอง กากี จันทโครพ ศรีธนญชัย การะเกด สุรยิ วงศ์ แสงเมืองมา วิสชั นุ นารายณ์สบิ ปาง โป๊ยเซียน นิทานพืน้ บ้านของ ท้องถิ่นต่าง ๆ 1.6 ภาพอืน่ ๆ ภาพจิตรกรรมฝาผนังยังแสดงภาพอืน่ ๆ เช่น ภาพสุภาษิต ภาพเพลงกล่อมเด็ก งานนักขัตฤกษ์ต่าง ๆ ภาพสมบัติของพระมหาจักรพรรดิราช ต�ำราเวชศาสตร์ ฤาษีดัดตน แผนแม่ซื้อ แผนนวด ต�ำราพรหมชาติ ดาราศาสตร์ ดาวนักษัตร ภาพประวัตบิ คุ คลส�ำคัญของชาติหรือของท้องถิน่ ภาพเรือ่ งในพงศวดาร หรือประวัติศาสตร์ เทพชุมนุม อมนุษย์ ขบวนพยุหยาตราทางสถลมารคและทาง ชลมารค ภาพขบวนแห่ต่าง ๆ การมหรสพ การละเล่นต่าง ๆ ภาพเรื่องพระราชพิธี 12 เดือน (วรรณิภา ณ.สงขลา, 2534: 10-11, 25, 75-78, 103, 98, 104) 2. จิตรกรรมฝาผนังในยุคต่าง ๆ จากการศึกษาของ ประทีป ชุมพล (2539) เรื่อง จิตรกรรมฝาผนังภาคกลาง: ศึกษากรณีความสัมพันธ์กับวรรณคดีและ อิทธิพลที่มีต่อความเชื่อ ประเพณี และวัฒนธรรม ได้จัดแบ่งยุคของภาพจิตรกรรม ฝาผนังภาคกลางเป็น 4 ยุค ดังนี้ 1. จิตรกรรมฝาผนังสมัยสุโขทัย 2. จิตรกรรม ฝาผนังสมัยอยุธยา 3. จิตรกรรมฝาผนังในภาคกลางสมัยธนบุรี และ 4. จิตรกรรม ฝาผนังในภาคกลางสมัยรัตนโกสินทร์ ในหนังสือเล่มนี้จะเสนอเฉพาะภาพจิตรกรรมฝาผนังในยุครัตนโกสินทร์ เนื่องจากภาพจิตรกรรมฝาผนังในยุคนี้ยังมีสภาพสมบูรณ์และสามารถเก็บข้อมูลได้ ครบอย่างต่อเนื่องทั้ง 3 ยุค โดยเลือกถ่ายภาพจากวัดในเขตกรุงเทพมหานครที่มี ภาพจิตรกรรมฝาผนังในสมัยรัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลปัจจุบัน


การปรากฏของบัวในงานจิตรกรรมฝาผนังและภาพยนตร์ ไทย 9

จิตรกรรมฝาผนังในภาคกลางสมัยรัตนโกสินทร์ แบ่งเป็น 3 ยุค ดังนี้ ยุคที่ 1 เลียนแบบครูช่าง (อยุธยา-ธนบุรี) เขียนระหว่างปี พ.ศ. 23402370 หรือในช่วงรัชกาลที่ 1-2 สมัยนี้ยังคงสกุลช่างอยุธยาตอนปลายและธนบุรี เช่น องค์ประกอบของภาพที่บรรจุลงผนังนิยมเขียนภาพไตรภูมิหลังพระพุทธรูป ที่เป็นพระประธาน เขียนภาพมารผจญไว้ตรงด้านหน้าพระประธาน เขียนเล่าเรื่อง ขนาดเล็กเป็นพุทธประวัติและทศชาติชาดก อาจเป็นเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือสองเรื่อง ในอาคารเดียวกัน จะเขียนไว้ตั้งแต่ขอบผนังหน้าต่างล่าง ซึ่งสูงจากพื้นประมาณ 60-70 ซม. เรื่อยขึ้นไปจรดเพดานจะเขียนภาพเทพชุมชุม จิตรกรรมฝาผนังที่ น่าสนใจคือ จิตรกรรมฝาผนัง ณ พระทีน่ งั่ พุทไธสวรรย์ พิพธิ ภัณฑ์แห่งชาติพระนคร เขียนขึ้นราว พ.ศ. 2338-2340 จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดใหญ่อินทราราม จ.ชลบุรี เขียนราวพุทธศตวรรษที่ 23 และซ่อมใน พ.ศ. 2442 จิตรกรรมฝาผนังใน พระอุโบสถวัดดุสิตาราม วัดสุวรรณาราม และวัดบางยี่ขัน ธนบุรี ทั้งสามวัดนี้ เขียนขึน้ ในราวพุทธศตวรรษที่ 24 การจัดภาพยุคที่ 1 นีม้ กี ารแบ่งส่วนแบ่งตอนและ ก�ำหนดเรื่องราวที่บรรจุลงในผนังแต่ละส่วน เช่น ผนังด้านหน้าพระประธานนิยม เขียนภาพไตรภูมิ ผนังด้านหลังพระประธานเขียนภาพมารผจญ ผนังด้านข้างเขียน ภาพพุทธประวัติ ส่วนผนังด้านบนเขียนภาพเทพชุมนุม จึงแลดูไม่ลายตาและยังได้ รับความรู้สึกหนักแน่นจริงจังอีกด้วย ยุคที่ 2 นิยมจีน ได้แก่จติ รกรรมฝาผนังทีเ่ ขียนขึน้ ระหว่าง พ.ศ. 2370-2395 หรืออยู่ในรัชกาลที่ 3 เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังเป็น กรมหมืน่ เจษฎาบดินทร์ ว่าราชการกรมท่า มีความรอบรูเ้ รือ่ งการค้าระหว่างประเทศ มีกองเรือส�ำเภาบรรทุกสินค้าไปค้าขายยังประเทศจีนเป็นประจ�ำ มีข้าราชการ เป็นคนจีนก็มาก พระองค์ได้ทรงจ่ายพระราชทรัพย์สว่ นมากเพือ่ การศาสนา โดยการ สร้างวัด ปฏิสังขรณ์วัดที่ทรุดโทรม พระองค์มีพระราชนิยมในศิลปะการช่างจีน เป็นการส่วนพระองค์ เช่น การน�ำศิลปะช่างจีนมาสร้างวัดราชโอรส ในปลายรัชกาลที่ 2


10 การปรากฏของบัวในงานจิตรกรรมฝาผนังและภาพยนตร์ ไทย

สมัยทีพ่ ระองค์เป็นกรมหมืน่ เจษฎาบดินทร์ ภาพในพระอุโบสถวัดนีโ้ ปรดฯ ให้เขียน ภาพเครือ่ งโต๊ะหมูบ่ ชู าอย่างจีนแบบต่าง ๆ ลงบนผนังทัง้ หมด นับเป็นวัดแรกทีใ่ ช้ศลิ ปะ อย่างจีน เมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ตลอดรัชกาลของพระองค์ได้สร้าง วัดแบบใช้ศลิ ปะจีนอย่างมากมาย เรียกว่า ศิลปะแบบพระราชนิยม ในทางจิตรกรรม ฝาผนังก็นิยมเขียนโดยใช้ศิลปะของจีน เช่น โต๊ะบูชา การตกแต่งลวดลายดอกไม้ ใบไม้ตามคติจีน การตกแต่งแบบจีนมีลักษณะเด่นเรื่อง “การท�ำให้ละลานตา” กล่าวคือ ศิลปะของจีนจะดูลายตา ลายที่ใช้มีขนาดใกล้เคียงกัน จะว่าเท่ากันก็ได้ น�้ำหนักที่ จะใช้แตกต่างกันมากเพือ่ แลดูลอยเด่น และบางส่วนก็จมหายไป นิยมใช้สที องเพือ่ ให้ ความรู้สึกมั่งคั่ง ลายจะต่อเนื่องเคลื่อนไหวไม่มีที่จบ ตัวอย่างเช่น จิตรกรรมฝาผนัง ในสมัยรัชกาลที่ 3 ทีว่ หิ ารหลวงวัดสุทศั น์เทพวราราม วัดเครือวัลย์วรวิหาร วัดอ่างแก้ว วัดนาคปรก วัดสุวรรณาราม วัดดาวดึงส์ วัดบางขุนเทียนใน วัดบางขุนเทียนนอก วัดทองธรรมชาติ วัดกัลยาณมิตร วัดราชโอรสาธิราม และวัดนางชี เป็นต้น ยุคที่ 3 สมัยนิยมศิลปะตะวันตก จิตรกรรมฝาผนังในยุคนี้ ได้แก่ จิตรกรรม ฝาผนังทีเ่ ขียนขึน้ ในระหว่าง พ.ศ. 2395-2453 คือ อยูใ่ นสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ในสมัยนีป้ ระเทศตะวันตกขยายอ�ำนาจทางการเมืองและการทหารมาทางภูมภิ าคนี้ เพื่อยึดครองเป็นอาณานิคม ในช่วงเวลานี้จึงมีการเปิดประเทศเพื่อรับวิทยาการ ทั้งหลายเพื่อปรับปรุงให้ประเทศทันสมัย งานจิตรกรรมฝาผนังในยุคนี้มี 3 รูปแบบ ด�ำเนินการควบคู่กันไป คือ แบบที่ 1 แบบพระราชนิยมรัชกาลที่ 4 หลักฐานส�ำคัญคือ วัดบวรนิเวศ วรวิหาร และวัดบรมนิวาสวรวิหาร ภาพเขียนทั้งสองวัดนี้เขียนโดยอาจารย์อิน (ขรัว อินโข่ง) เขียนเป็นภาพแบบฝรัง่ แต่ผกู เรือ่ งเป็นปริศนาธรรม มีชอื่ ว่า ฝรัง่ ปริศนา ธรรม ภาพเขียนทั้งสองนี้สันนิษฐานว่าเขียนใน พ.ศ. 2380-2390


การปรากฏของบัวในงานจิตรกรรมฝาผนังและภาพยนตร์ ไทย 11

แบบที่ 2 แบบจิตรกรรมไทยประยุกต์ศิลปะตะวันตก คือภาพเขียนแบบ จิตรกรรมไทยแบบเขียนในยุคที่ 1 แต่มีการประยุกต์ตะวันตก คือ ภาพเขียนมีความ สมจริงมากขึน้ เช่น เพิม่ แสงเงา พระบรมรูปเขียนเหมือนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่พระที่นั่งทรงผนวช วัดเบญจมบพิตรสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร แบบที่ 3 แบบจิตรกรรมไทยเดิม เป็นการสืบทอดรูปแบบของจิตรกรรม ในยุคกรุงศรีอยุธยา เช่น ภาพเขียนที่วัดทองนพคุณ (ประทีป ชุมพล, 2539: 8-9, 12, 15, 18, 21-23, 30, 36-38) หนังสือเล่มนีจ้ ะน�ำเสนอภาพถ่ายบัวทุกประเภท คือ บัวหลวง บัวสาย และ บัววิกตอเรีย ทีป่ รากฏในภาพจิตรกรรมฝาผนัง ในพระอุโบสถและพระวิหารของวัด ในกรุงเทพมหานคร โดยจ�ำแนกตามยุคของภาพเขียน เริม่ ต้นจาก 1. ยุครัตนโกสินทร์ ตอนต้น เป็นยุคเลียนแบบครูชา่ ง ในสมัยรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 2. ยุคนิยมจีน ในสมัยรัชกาลที่ 3 และ 3. ยุครัตนโกสินทร์ตอนกลางจนถึงปัจจุบัน ซึ่งตรงกับ ยุคสมัยนิยมศิลปะตะวันตก ในรัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 จนถึงรัชกาลปัจจุบัน


12 การปรากฏของบัวในงานจิตรกรรมฝาผนังและภาพยนตร์ ไทย

ภาพยนตร์ ไทย นับตัง้ แต่ภาพยนตร์ไทยยุคแรกเริม่ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2411-2453) จนถึงปัจจุบัน ภาพยนตร์ไทยมีอายุเกิน หนึง่ ร้อยปี และยังมีการสร้างอย่างต่อเนือ่ งจนสามารถสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดย ภาพยนตร์ไทยนอกจากท�ำหน้าที่สร้างความบันเทิงแล้ว ยังมีบทบาทต่อการส่งผ่าน อุดมการณ์ ชาติ ศาสนา (พุทธศาสนา) และพระมหากษัตริย์ มาโดยตลอด (ภัสสร สังข์ศรี, 2550) ภาพยนตร์ไทยนับเป็นสือ่ ทีม่ กี ารผสมผสานระหว่างศิลปะของไทยกับศิลปะ ตะวันตก ศิลปะไทยทีม่ อี ทิ ธิพลต่อหนังไทยมี 3 กลุม่ คือ การแสดง (ลิเก โขน ละคร) ภาษาและวรรณกรรม และจิตรกรรมไทย ในหนังสือเล่มนีจ้ ะกล่าวถึงเฉพาะอิทธิพล ของจิตรกรรมไทยต่อภาพยนตร์ไทย ดังนี้ ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล (2536: 98, 100) กล่าวว่า จิตรกรรมไทย จะใช้แผ่นทองประดับตกแต่งภาพบุคคลส�ำคัญ เช่น พระพุทธเจ้า กษัตริย์ เทวดา นางฟ้า และปราสาทราชวัง การน�ำแผ่นทองตกแต่งท�ำให้มีการแบ่งตัวละครในภาพ ได้เป็น 2 กลุ่ม คือ 1. ตัวนาฏลักษณ์ เป็นกลุ่มภาพวาดของบุคคลที่มีความส�ำคัญ จะได้รับ การประดับตกแต่งด้วยสีทอง ตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องทรงที่สวยงาม มีรูปร่างที่ สวยงาม จัดวางท่าทางแบบตัวละครไม่แสดงอารมณ์ และจะถูกจัดวางที่ต�ำแหน่ง กลางของภาพ 2. ตัวกาก เป็นภาพวาดของสามัญชน คนใช้ และคนต่างชาติ ตัวกากจะ แสดงอารมณ์และกิริยาแบบคนธรรมดา จะวาดห่างจากจุดศูนย์กลาง ตัวกากมักมี รูปร่างทีอ่ ปั ลักษณ์ เช่น หัวล้าน อ้วนพุงพลุย้ ผอมแห้ง สามารถแสดงกิรยิ าได้อย่าง เสรี และตลกขบขัน เช่น การมีเพศสัมพันธ์ คลอดลูก เปลือย ต่อสู้ เป็นต้น ภาพวาดตัวกากจึงท�ำให้ภาพจิตรกรรมไทยมีชีวิตชีวา และเป็นการเสริมให้ภาพ ตัวนาฏลักษณ์เด่นขึ้น


การปรากฏของบัวในงานจิตรกรรมฝาผนังและภาพยนตร์ ไทย 13

ลักษณะของตัวนาฏลักษณ์และตัวกากในภาพจิตรกรรมไทยปรากฏใน ภาพยนตร์ไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพยนตร์ที่เริ่มนิยมในช่วงยุค 16 มม. ซึ่งเป็น ช่วงเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือยุคมิตร-เพชรา และรวมถึงละครโทรทัศน์ ในปัจจุบันก็ยังน�ำลักษณะของภาพยนตร์ไทยยุคมิตร-เพชราไปใช้ นั่นคือตัวแสดง มีการแบ่งแยกลักษณะอย่างชัดเจนระหว่างตัวเอกและตัวร้าย ตัวเอก (พระเอก นางเอก) เทียบเท่ากับตัวนาฏลักษณ์ คือมีรปู ลักษณ์ และ การแต่งกายสวยงามตลอดเวลา ไม่วา่ จะเป็นคนจน หรือตัวละครจะผ่านการผจญภัย มาอย่างไร ยังคงมีสภาพสวยงาม ไม่แต่งตัวซอมซ่อ สกปรก หน้าตาได้รบั การตกแต่ง อย่างสวยงามเสมอ ตัวร้าย (ตัวโกง ดาวยั่ว ตัวอิจฉา) และตัวตลก เทียบเท่าตัวกาก สามารถแสดงอารมณ์ได้อย่างอิสระ การแต่งตัวแต่งหน้าที่ไม่จ�ำเป็นต้องสวยงาม รวมทั้งมีรูปร่างที่ตลกขบขัน ท�ำหน้าที่เสริมให้ตัวเอกของภาพยนตร์โดดเด่น และ แสดงบทบาทต่าง ๆ ที่ตัวพระเอก นางเอก ไม่แสดง หนังสือเล่มนี้จะน�ำเสนอภาพบัวที่ปรากฏในภาพยนตร์ไทย โดยเลือก ภาพยนตร์ไทยที่ผลิตตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือเรียกว่า ภาพยนตร์ไทย ยุคมิตร-เพชรา จนถึงภาพยนตร์ไทยในยุคปัจจุบัน ผู้อ่านจะพบว่าภาพบัวที่ปรากฏ ในจิตรกรรมไทยและในภาพยนตร์ไทยมีหน้าที่เหมือนกันคือ เป็นสัญลักษณ์ของ พุทธศาสนา และแสดงบรรยากาศความเป็นไทย


ซอมซ่ อ สกปรก หน้งไทยในยุ าตาได้รับการตกแต่งอย่างสวยงามเสมอ ตัวร้าย(ตัวโกง ด 2 หรืนอคืเรีอยกว่ าหนัญงไทยยุ ร-เพชรา จนถึงหนั อนกั เป็ นสั ลักษณ์คมิขตองพุ ทธศาสนา และ คปัจจุบนั ผูอ้ ่านจะพบว่า ภาพ เทียบเท่ กาก สามารถแสดงอารมณ์ ย่างอิสระและการแต่งตัวแต่งหน้าที่ไม กรรมไทย และในหนั งไทย มีหวในงานจิ น้าาตัทีว่เหมื อนกั นคือเป็งนสั ญลักษณ์ของพุ ตรกรรมฝาผนั และภาพยนตร์ ไทยได้ทอธศาสนา 14 การปรากฏของบั ามเป็ นไทย รู ปร่ างที่ตลกขบขัน ทาหน้าที่ เสริ มให้ตวั เอกของภาพยนตร์ โดดเด่น และแสด วในจิตรกรรมฝาผนัง นางเอก ไม่ภาพดอกบั แสดง วในจิตรกรรมฝาผนัง หนังสื อเล่มนี้จะนาเสนอภาพบัวที่ปรากฏในหนังไทย โดยเลือกห ยาธร ถือดอกบัวบูชาพระประธาน 1 ฤษีสคิทมิธิ์วติทร-เพชรา ยาธร ถือดอกบั ชา งไทยในยุค สงครามโลกครั้งที่ 2 หรื อเรี ยกว่ภาพที าหนัง่ ไทยยุ จนถึวงบูหนั นทร์ ยอยุธยาและได้มีการบูรณะในยุครัตนโกสิ นทร์ พระประธานจิตรกรรมฝาผนังสมัยอยุธยา บัวที่ปรากฏในจิตรกรรมไทย และในหนังไทย มีหน้าที่เหมือนกันคือเป็ นสัญ และได้ มี ก ารบู ร ณะในยุ ค รั ต นโกสิ น ทร์ แสดงบรรยากาศความเป็ นไทย วัดไชยทิศ ภาพดอกบัวในจิตรกรรมฝาผนัง

ภาพที่ 4 ภาพที่ 2 ภาพพุทภาพที ธประวั่ ต1ิ ฤษีดอกบั นที่ประทั บของพระพุ ทธเจ้า จิตรกรรม สิทธิ์ววเป็ทิ ยาธร ถือดอกบั วบูชาพระประธาน พระพุทธ บัวเป็ นที่ปภาพที ระทับ่ ของพระพุ ท ธเจ้ า จิ ต รกรรม 2 ภาพพุ ท ธประวั ต ิ ป างเสด็ จ จาก ฝาผนังฝี มือช่างสมัจิตยรัรกรรมฝาผนั ชกาลที่ 1 วังดสมั ดุสยิ ตอยุ วนารามวรวิ หารมีการบูรณะในยุครัตนโกสิ นทร์ ธยาและได้ สมัยรัชก วัดดุสิตวนารามวรวิ หารทธเจ้าประทับยืนบนดอกบัว ดาวดึงส์ พระพุ วัดงไชยทิ จิตรกรรมฝาผนั ฝีมือช่าศงสมัยรัชกาลที่ 3 วัดทองธรรมชาติวรวิหาร

ภาพที่ 5 ภาพปริ ศนาธรรม ฝี มืออาจารย์อิน (ขรัว อินโข่ง ภาพที ธประวัติ ดอกบั ่ประทั่ 4บ ฝาผนั งยุค่ นิ2ยภาพพุ มตะวันทตกประมาณรั ชกาลทีว่เป็3-รันที ชกาลที มาลัยยืนบนดอกบัว ภาพจิตรกรรมฝาผนังยุคนิยมจีนนิฝี มเวศราชวรวิ ือช่าง งฝี มืหอช่ารางสมัยรัชกาลที่ 1 วัดดุ สิตวนารามว ฝาผนั

ราชโอรสาธิรามราชวรวิหาร

งยุคนิยมจีนฝี มือช่าง

ภาพที่ 6 ภ อาจารย์อ สมัยรัชกา 8

ภาพที่ 3 ภาพพุ ท ธประวั ติ ดอกบั ว เป็ น ที่ ภาพที่ 4 ภาพพระมาลัยยืนบนดอกบัว ภาพที่ 3 ภาพพระมาลัยยืนบนดอกบัว ภาพจิตรกรรมฝาผนังยุคนิยมจีนฝี มือช ประทับของพระพุทธเจ้า จิตรกรรมฝาผนังฝีมือ ภาพจิตรกรรมฝาผนังยุคนิยมจีน ฝีมือช่าง ่ 3 วัดราชโอรสาธิ ามราชวรวิ ยรัชกาลที ่ 3หวัารดราชโอรสาธิ รามราชวรวิ ช่างสมัยรัชกาลทีสมั ่ 1ยวัรัดชดุกาลที สิตวนารามวรวิ หารภาพที่ 7รสมั ภาพม่ านแหวกที ่ประตูพระอุ โบสถหาร อุบาสกอุบ

พระ จิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 4 วัดโสมนัสราชวร


พระพุท ประทั ยืนบนดอกบั างเสด็บจจากดาวดึ งส์ ว จิตรกรรมฝาผนัง ฝี มือช่าง วในงานจิ รกรรมฝาผนั งและภาพยนตร์ ไทย อ15ิน (ขรั ่ 5 ตภาพปริ ศนาธรรม ฝี มืออาจารย์ สมัว ยอิรันชโ ทีดอกบั ่ 3 วัดวทองธรรมชาติ วรวิงหฝีารมือช่าง การปรากฏของบัภาพที จิตรกรรมฝาผนั ฝาผนังยุคนิยมตะวันตกประมาณรัชกาลที่ 3-รัชกาลท มชาติวรวิหาร นิเวศราชวรวิหาร

ตรกรรม บวร

ภาพที่ 5 ภาพปริศนาธรรม ฝีมืออาจารย์ (ขรัว อินศโข่นาธรรม ง) จิตรกรรมฝาผนั งยุคอนิ​ิยนม(ขรัว อินโข ภาพที่อิ5นภาพปริ ฝี มืออาจารย์ ตะวันตก ประมาณรัชกาลที่ 3-รัชกาลที่ 4 ภาพที่ ฝาผนังยุคนิยมตะวันตกประมาณรัชกาลที่ 3-รัชกาลที ่4 อาจารย วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

นิเวศราชวรวิหาร

สมัยรัช

ภาพที่ 6 วิถีชีวติ ไทย ชาวบ้านอาบน้ าในสระบัว ฝี มือ ภาพที่ 6 ภาพวิถชี วี ติ ไทย ชาวบ้านอาบน�ำ ้ อาจารย์อ ขรัวบ้วาอินอาบน นโข่งในสระบั ) าจิในสระบั ตรกรรมฝาผนั ว ฝีมวือฝีอาจารย์ (ขรัว นอินตก โข่ง) มืองยุคอนิ​ินยมตะวั ้ อุบยาสกอ รัชก ค นิ ย มตะวั น ตกสมั ย ภาพที่ 7 ภาพม่านแหวกที่ประตูพระอุโบสถ สมั 4 วัดบรมนิจิวตาสราชวรวิ หารงนยุตก ตรกรรมฝาผนั งรกรรมฝาผนั ยุคนิยมตะวั รัชกาลที่ 4 วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร พระ จิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 4 วัดโสมนัสราช สราชวรวิหาร

กาประนมมือชูดอกบัวบูชา าร วบูชา ดอกบั

ภาพที่ 7 ภาพม่านแหวกที่ประตูพระอุโบสถ อุบาสกอุบ พระ จิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 4 วัดโสมนัสราชว

ภาพที่ 8 วาดโดยพ รัชกาลท

ภาพที่ 8 ภาพเครื่องทรมานรูปดอกบัวใน นรก จิตรกรรมฝาผนังวาดโดยพระวรรณ ภาพที่ 8 ภ วาดวิจิตร (ทอง จารุวิจิตร) ช่างเขียนสมัย วาดโดยพ รัชกาลที่ 6 วัดระฆังโฆษิตารามวรวิหาร

ครื่ องทรมานรู ปดอกบัวในนรก จิตรกรรมฝาผนัง ภาพที่ 7 ภาพม่ า นแหวกที่ ป ระตู รรณวาดวิ จ ิ ต ร (ทอง จารุ วจิ ิตร) ช่งางเขียนสมัย ปดอกบัวในนรกพระอุ จิตรกรรมฝาผนั โบสถ อุบาสก อุบาสิกาประนมมือ รัชกาลที่ 6 ภาพที่ 9 ภาพต้นโพธิ์ เหนื อสระบัว ระฆั ง โฆษิ ต ารามวรวิ ห บูชาพระ ทอง จารุ วจิ ิตร)ชูช่ดาอกบั งเขียวารนสมั ย จิตรกรรมฝาผนังสมัย จิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 9 วัดธาตุทอง มวรวิหาร รัชกาลที่ 4 วัดโสมนัสราชวรวิหาร


16 การปรากฏของบัวในงานจิตรกรรมฝาผนังและภาพยนตร์ ไทย

าสิ กาประนมมือชูดอกบัวบูชา รวิหาร

ภาพที่ 10 ภาพพุทธประวัติ ปางประ วัดชนะสงครามราชวรวิหาร

าพเครื่ องทรมานรู ปดอกบัวในนรก จิตรกรรมฝาผนัง ะวรรณวาดวิจิตร (ทอง จารุ ภาพที วจิ ิตร)่ 9ช่าภาพพุ งเขียทนสมั ย ติ ปางประสูติ จิตรกรรมฝาผนัง ธประวั ภาพบั ป่ รากฏในภาพยนตร์ วัดระฆังโฆษิตารามวรวิหารสมัยรัชกาลที ่ 9 ววัทีดชนะสงครามราชวรวิ หารไทย

ภาพที่ 11 ภาพบรรยากาศบึงบัว ในบันทึกรักของพิมพ์ฉวี กากับโดย ศิริ ศิริจินดา ปี 2505 ภาพที่ 10 ภาพต้นโพธิ์เหนือสระบัว จิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 9 วัดธาตุทอง

ภาพที่ 12 ดอกบัวสาหรับบ กากับโดย เชิด ทรงศรี ปี 2

ภาพที่ 13 ดอกบัวสาหรับบูชาพระ ในหัวใจที่ไม่อยากเต้น กากับโดย เริ งศิริ ลิมอักษร ปี 2520

ภาพที่ 14 ดอกบัวสาหรับบ


การปรากฏของบั ตรกรรมฝาผนังงและภาพยนตร์ ภาพที่ 10 ภาพพุทธประวั ติ ปางประสูวในงานจิ ติ จิตรกรรมฝาผนั สมัยรัชกาลทีไทย่ 9 17 ภาพที่ 10 ภาพพุทธประวัติ ปางประสู ติ จิตรกรรมฝาผนังสม วัดชนะสงครามราชวรวิหาร วัิ ปางประสู หตาริ ปางประสู ภาพที่ 10 ภาพพุทภาพบั ธประวัวตทีภาพที ติ จิตรกรรมฝาผนั งสมัยรัชตกาลที ่9 ่ 10 ภาพพุ ทธประวั ิ จิตรกรรมฝาผนั งสม ่ปดชนะสงครามราชวรวิ รากฏในภาพยนตร์ ไทย นภาพยนตร์ ไทยวัดชนะสงครามราชวรวิหารวัดชนะสงครามราชวรวิหาร ภาพบัวทีป่ รากฏในภาพยนตร์ ไทย

ภาพที่ 11 ภาพบรรยากาศบึงบัว

นภาพยนตร์ ทีป่ นรากฏในภาพยนตร์ ทึกรักของพิ ฉวี รยากาศบึภาพบั งบัไวทยวในบั ทึในกรับักนของพิ มพ์ฉมวีไพ์ทย ภาพที่ 11 ภาพบรรยากาศบึ ง บั ว นทึกรักของพิมพ์ฉวี ก�ำกับโดย ศิริ ศิริจินดาในบั ปี 2505 ริ จินดา ปี 2505 บ่ 11โดยภาพบรรยากาศบึ ิ จินดามปีพ์ง2505 รยากาศบึภาพที งกบัากั ว ในบั นทึศิกริรัศิกรของพิ ฉบัวีว ในบันทึกรักของพิมพ์ฉวี

ริ จินดา ปี 2505 กากับโดย ศิริ ศิริจินดา ปี 2505

่ 12 ดอกบั วส�ำหรับบูชาพระ ใน คนใจบอด ภาพที่ 12 ดอกบัวสาหรับบูภาพที ชาพระ ใน คนใจบอด ก�ภาพที ำกับโดย่ 12เชิดดอกบั ทรงศรีวสปีาหรั 2514 บบูชาพระ ใน คนใจบอด กากับโดย เชิด ทรงศรี ปี 2514 บโดย เชิคนใจบอด ด ทรงศรี ภาพที่ 12 ดอกบัวสาหรับบูกภาพที ชากั าพระ ่ 12ในดอกบั วสาหรัปีบ2514 บูชาพระ ใน คนใจบอด กากับโดย เชิด ทรงศรี ปี 2514 กากับโดย เชิด ทรงศรี ปี 2514

วั สาหรับบูชาพระ ในหัวใจที่ไม่อยากเต้น ภาพที่ 13 ดอกบัวสาหรับบูชาพระ ในหัวใจที่ไม่อยากเต้น ริ ลิมอักษร ปี 2520 ภาพที่ 13 ดอกบัวส�ำหรับบูชาพระ กชากั บ่ โดย เริ งวศิใจที รวิ สลิ่ไมาหรั วั สาหรับบูภาพที าพระ ม่อัอกยากเต้ น2520ในหัวใจที่ไม่อยากเต้น 13ในหั บษรบูชนปีาพระ ในดอกบั หัวใจที ่ไม่อยากเต้ ริ ลิมอักษรกปีากั2520 ลิมอัปีกษร ปี 2520 บโดยก�ำเริกับงโดย ศิริ ลิเริมงอัศิรกิ ษร 2520

ภาพที่ 14 ดอกบัวสาหรับบูชาพระ ในเทพเจ้าบ้านบางปูน ภาพที่ 14 ดอกบัวสาหรับบูชาพระ ในเทพเจ้าบ้านบา กากับโดย ปกรณ์ พรหมพิทกั ษ์ ปี 2523 บโดย ปกรณ์วาสพรหมพิ ภาพที่ 14 ดอกบัวสาหรับบูกภาพที ชากั าพระ บ้าหรั านบางปู นษ์ ปี 2523 ่ 14ในเทพเจ้ ดอกบั บบูทชกั าพระ ในเทพเจ้าบ้านบา ภาพที ่ 14 ดอกบั ว ส� ำ หรั บ บู ช าพระ กากับโดย ปกรณ์ พรหมพิทกกากั ั ษ์บปีโดย 2523 ปกรณ์ พรหมพิทกั ษ์ ปี 2523 ใน เทพเจ้าบ้านบางปูน ก�ำกับโดย ปกรณ์ พรหมพิทักษ์ ปี 2523

กบัวในพิธีบวช ในค่าน้ านม ภาพที่ 15 ดอกบัวในพิธีบวช ในค่าน้ านม ว์ มีคุณสุ ต ปี 2524 กภาพที ากัในค่ บโดย ุณสุ ตธีบปีวช2524 กบัวในพิธีบวช าน้เชาว์ านม มีวคในพิ ่ 15 ดอกบั ในค่าน้ านม


อกบัวสาหรั18บบูการปรากฏของบั ชาพระ ในเทพเจ้ าบ้านบางปูน วในงานจิตรกรรมฝาผนังและภาพยนตร์ ไทย ปกรณ์ พรหมพิทกั ษ์ ปี 2523

ภาพที่ 15 ดอกบัวในพิธีบวช ใน ค่าน�้ำนม ก�ำกับโดย เชาว์ มีคุณสุต ปี 2524

10

ที่ 15 บรรยากาศบึงบัว ใน เสี ยงเพลงแห่งสันติภาพ ภาพที่ 16 บรรยากาศบึงบัว โดย คัมภีร์ ภาคสุในวรรณ์ ปี 2528งสันติภาพ เสียงเพลงแห่ ก�ำกับโดย คัมภีงรบั์ ภาคสุ ปี 2528 งสันติภาพ ภาพที่ 15 บรรยากาศบึ ว ในวเสีรรณ์ ยงเพลงแห่ กากับโดย คัมภีร์ ภาคสุ วรรณ์ ปี 2528 ที่ 15 บรรยากาศบึงบัว ใน เสี ยงเพลงแห่ภาพที งสันติ่ 16ภาพ ดอกบัวสาหรับทาบุญใส่ บาตร ในปลื้ม โดย คัมภีร์ ภาคสุ วรรณ์ ปี 2528 กากับโดย อดิเรก วัฏลีลา และ ธนิตย์ จิตนุกลู ปี 2529 ภาพที่ 17 ดอกบัวส�ำหรับท�ำบุญใส่บาตร ใน ปลืม้ ่ 16 อดิ ดอกบั ทาบุญตย์ใส่จิบตาตร ก�ภาพที ำกับโดย เรก ววัสฏลีาหรั ลา บและธนิ นุกูลในปลื้ม บโดย อดิเรก วัฏลีลา และ ธนิตย์ จิตนุกลู ปี 252 ปีกากั 2529 ภาพที่ 16 ดอกบัวสาหรับทาบุญใส่ บาตร ในปลื้ม อดิเรก วัฏลีลา และ ธนิตย์ จิตนุกลู ปี 2529 ใช้ดอกบัวสร้างมุขตลกจีบสาว ในบุญกชูากั2บน้โดย องใหม่

บัณฑิต ฤทธิ กล ปี 2532 ภาพที่ 17 ใช้ดอกบัวสร้างมุขตลกจีบสาว ในบุญชู 2 น้องใหม่ ่ 18 ใช้ดอกบัวสร้างมุขตลกจีบสาว กากับโดย บัณฑิภาพที ต ฤทธิ กล ปี 2532 ใน บุญชู 2 น้องใหม่ ภาพที่ 18 ดอกบัวในพิธีบวช ใน 2499 อันธพาลครองเมือง ใช้ดอกบัวสร้างมุขตลกจีบสาว ในบุญชู 2 น้องใหม่ ก�ำกับโดย บัณฑิต ฤทธิกล ปี 2532 กากับโดย นนทรี นิมิบุตร ปี 2540 บัณฑิต ฤทธิ กล ปี 2532 ภาพที่ 18 ดอกบัวในพิธีบวช ใน 2499 อันธพาลคร กากับโดย นนทรี นิมิบุตร ปี 2540 ภาพที่ 18 ดอกบัวในพิธีบวช ใน 2499 อันธพาลครองเมือง บึงบัวแสดงบรรยากาศต่างจังหวัด ในฟ้ าทะลายโจร


กากับโดย อดิเรก วัฏลีลา และ ธนิตย์ จิตนุกลู ปี 2529 โดย อดิเรก วัฏลีลา และ ธนิตย์ จิตนุกลู ปี 25 ภาพที่ 17 ใช้ดอกบัวสร้างมุขตลกจีบสาว ในบุญชู 2กน้ากัอบงใหม่ การปรากฏของบัวในงานจิตรกรรมฝาผนังและภาพยนตร์ ไทย 19 บโดย ฤทธิบกสาว ล ปี 2532 ช้กดากัอกบั วสร้บัาณงมุฑิขตตลกจี ในบุญชู 2 น้องใหม่ ภาพที่ 17 ใช้ดอกบัวสร้างมุขตลกจีบสาว ในบุญชู 2 น้องใหม่ บัณฑิต ฤทธิ กล ปี 2532 กากับโดย บัณฑิต ฤทธิ กล ปี 2532 ช้ดอกบัวสร้างมุขตลกจีบสาว ในบุญชู 2 น้องใหม่ภาพที่ 19 ดอกบัวในพิธีบวช อกบัวสร้างมุขตลกจีบสาว ในบุในญ ชู2499 2 น้่ 18อัอนงใหม่ ภาพที ดอกบั วในพิธีบวช ใน 2499 อันธพาลครอ บัณฑิภาพที ต ฤทธิ่ 17กลใช้ปีด2532 ธพาลครองเมือง กากับโดย บัณฑิต ฤทธิ กล ปี 2532ภาพที่ 18 ดอกบั นิุตมร2499 ิบปีุต2540 ร ปีอัน2540 ก�กำากั กับบโดย นนทรี นิมิบใน วโดย ในพิ ธนนทรี ีบวช ธพาลครองเมือง ภาพที่ 18 ดอกบัวในพิธีบวช ใน 2499 อันธพาลครอ กากับโดย นนทรี นิมิบุตร ปี 2540 กากับโดย นนทรี นิมิบุตร ปี 2540 ภาพที่ 18 ดอกบัวในพิธีบวช ใน 2499 อันธพาลครองเมือง ภาพที วในพิธีบวช ใน 2499 อันธพาลค ภาพที่ 19 บึภาพที งบัวแสดงบรรยากาศต่ างจักงากั หวัาบดงจัโดย ในฟ้ นิมิบ่ 18ุตรดอกบั ปี 2540 ่ 20 บึงบัวแสดงบรรยากาศต่ งหวันนทรี ดาทะลายโจร กากัวบแสดงบรรยากาศต่ โดย วิในศิษฟ้าฐ์ทะลายโจร ศาสนเที ง ปีด2543 งบั างจัง่ยหวั ในฟ้ าทะลายโจร กากับโดย นนทรี นิมิบุตร ปี 2540 ภาพที่ 19 บึก�งำบักัวบแสดงบรรยากาศต่ หวัด ในฟ้ าทะลายโจร วิศิษฐ์ ศาสนเที่ยางงจัปีง2543 วิศิษฐ์ ศาสนเที ่ยงโดย ปี 2543 กากับ โดย วิศิษฐ์ ศาสนเที่ยง ปี 2543 งบัวแสดงบรรยากาศต่างจังหวัด ในฟ้ าทะลายโจร ภาพที ่ 20 ดอกบัวใช้ในการประหารชีวิต ใน ขุนแผน ่ 19 บึ่ยงงบัปีวแสดงบรรยากาศต่ างจังหวัด ในฟ้ าทะลายโจร วิศิษภาพที ฐ์ ศาสนเที 2543 กากับวโดย ธนิตย์ จิตนูกลู วปีิต2545 ภาพที่ 20 ดอกบั ใช้ในการประหารชี ใน ขุวิตนแผน กากับ โดย วิศิษฐ์ ศาสนเที่ยง ปี 2543 ภาพที่ 21 ดอกบัววใช้ใช้ ในการประหารชี ภาพที 20 ดอกบั ในการประหารชี วิต ใน ขุนแผน กากับโดย ธนิในตขุย์นจิแผน ตนูกลู ปี 2545 กากับโดย ธนิตย์ จิตนูกลู ปี 2545 ก�ำกับวโดย ตย์ จิตนูกูล ปี 2545 ภาพที่ 20 ดอกบั ใช้ใธนิ นการประหารชี วิต ใน ขุนแผน ภาพที่ 21 ภาพอาบนก้ าากั ในสระบั ว ในไอ้ บโดย ธนิ ตภาพที ย์ จิฟตนูัก่ 20 กลู ดอกบั ปี 2545วใช้ในการประหารชีวิต ใน ขุนแ กากับโดย ธนิตย์ จิตนูกลู ปี 2545 กากับโดย้ าในสระบั พันธ์ธมั ม์ว ในไอ้ ทองสัฟงข์ัก ปี 2547 ภาพที่ 21 ภาพอาบน ภาพที่ 21 ภาพอาบน้ าในสระบัว ในไอ้ฟัก กากับโดย พันธ์ธมั ม์ ทองสังข์ ปี 2547 ก่ ากั โดย พันธ์้ำในสระบั ธมั ม์ ทองสั 22บภาพอาบน� ว ใน งฟไอ้ข์ักฟปีัก 2547 ภาพที่ ภาพที 21 ภาพอาบน ้ าในสระบัว ในไอ้ ภาพที่ 22 ภาพบึงบัวแสดงบรรยากาศต่างจังหวัด ก�ำกับโดยภาพที พันธ์ธัม่ 21 ม์ ทองสั งข์ ปี 2547 ภาพอาบน า ในสระบั ว ในไอ้ฟัก ้ กากับโดย พันธ์ธมั ม์ ทองสังข์ ปี 2547 ในความสุ ขของกะทิ กากับาโดย เจนไวย์ ภาพที ่ 22 ภาพบึ ง บั วแสดงบรรยากาศต่ งจังหวั ด ทองดีนอก ปี 25 กากับโดย พันธ์ธมั ม์ ทองสั งข์่ ปี22 2547 ภาพที ภาพบึงบัวแสดงบรรยากาศต่างจังหวัด ในความสุ ขของกะทิ กากับโดย เจนไวย์ ทองดีนอก ปี 2552 ในความสุ ขของกะทิ กากับโดย เจนไวย์ ทองดีนอก ปี 25 ภาพที่ 22 ภาพบึงบัวแสดงบรรยากาศต่างจังหวัด ภาพที ่ 23่ 22 ภาพบึงบัวงแสดงบรรยากาศต่ างจังหวัาดงจั งหวัด ภาพที บัเจนไวย์ วแสดงบรรยากาศต่ 11กากัภาพบึ ในความสุ ขของกะทิ บ โดย ทองดี น อก ปี 2552 ใน ความสุขของกะทิ ก�ำกับโดย เจนไวย์ ทองดีนอก ขของกะทิ กากับโดย เจนไวย์ ทองดีนอก ป 11 ปี ในความสุ 2552 11

11 11


20 การปรากฏของบัวในงานจิตรกรรมฝาผนังและภาพยนตร์ ไทย

บทสรุป จิตรกรรมฝาผนังที่ท�ำการส�ำรวจและบันทึกพบว่าเรื่องราวที่วาดเป็น ภาพพุทธประวัติ ภาพชาดก และเรื่องราวประเพณีวิถีชีวิตไทย ภาพบัวที่พบจะ มีทั้งดอกบัว กอบัว สระบัว กระถางบัว บัวจะเป็นส่วนประกอบส�ำคัญของภาพ พระพุทธเจ้า ใช้เป็นที่นั่งประทับ ใช้รองพระบาท บัวเป็นดอกไม้ส�ำหรับบูชา พระพุทธเจ้า และบัวเป็นลวดลายตกแต่งและสร้างบรรยากาศวิถีชีวิตไทย ภาพบัว จึงเป็นองค์ประกอบส�ำคัญของจิตรกรรมฝาผนังที่ช่วยเสริมแนวคิดทางพุทธศาสนา และเป็นการสร้างอัตลักษณ์ไทย ภาพบัวในภาพยนตร์ไทยทีส่ ำ� รวจมีลกั ษณะใกล้เคียงกับภาพบัวในจิตรกรรม ฝาผนัง นัน่ คือ เกีย่ วข้องกับพุทธศาสนาและเสนอวิถชี วี ติ ไทย ภาพยนตร์ไทยทีน่ ำ� เสนอ เนือ้ หาทีเ่ กีย่ วข้องกับพุทธศาสนาเป็นหลัก หรือสอดแทรกแนวคิด หรืองานประเพณี ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา บัวจะปรากฏในลักษณะดอกบัวบูชาพระ แจกันดอกบัว ประดับโต๊ะหมู่บูชาหรือวางบูชาไว้หน้าพระพุทธรูป ภาพดอกบัวและใบบัว (ส�ำหรับ รองรับผมของนาค) เช่น ในงานพิธีบวชในเรื่อง 2499 อันธพาลครองเมือง (ก�ำกับ: นนทรีย์ นิมิบุตร, 2540) นอกจากนั้ น บั ว ยั ง ถู ก น� ำ เสนอเพื่ อ เป็ น การเน้ น วิ ถี ชี วิ ต ไทยที่ มี ค วาม คล้ายคลึงกับการน�ำเสนอในภาพจิตรกรรมฝาผนัง ตัวอย่างเช่น ภาพสระบัวใน เรื่อง บ้านทรายทอง (ก�ำกับ: รุจน์ รณภพ, 2523) ภาพการพายเรือเก็บดอกบัวใน เรื่อง ค�ำมั่นสัญญา (ก�ำกับ: คมสัน พงษ์สุธรรม, 2520) ความสุขของกะทิ (ก�ำกับ: เจนไวย์ ทองดีนอก, 2552) ภาพกระถางบัวตกแต่งบ้านในเรือ่ ง ร่านดอกงิว้ (ก�ำกับ: พันธุ์เทพ อรรถไกวัลวที, 2520) รวมทั้งภาพตลาดที่มีการขายดอกบัวในเรื่อง น้องเมีย (ก�ำกับ: ม.จ. ชาตรีเฉลิม ยุคล, 2534) เนือ่ งจากภาพยนตร์ไทยเป็นสือ่ ทีม่ มี ติ ใิ นการน�ำเสนอกว้างกว่าภาพจิตรกรรม ฝาผนัง ทั้งในแง่พื้นที่ส�ำหรับเผยแพร่ และเรื่องราวที่มีความหลากหลายมากกว่า


การปรากฏของบัวในงานจิตรกรรมฝาผนังและภาพยนตร์ ไทย 21

ดังนั้นจึงมีการน�ำเสนอภาพบัวที่แตกต่างจากภาพเขียนที่น�ำเสนอบัวในฐานะต้นไม้ ที่มีความบริสุทธิ์ สูงส่ง และเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาและวิถีไทยอย่างแน่นแฟ้น ภาพยนตร์ไทยบางเรื่องจึงมีการน�ำดอกบัวมาใช้ในลักษณะที่แตกต่างจากภาพ จิตรกรรมฝาผนังดังนี้ 1. สร้างมุขตลก ในเรื่อง บุญชู 2 น้องใหม่ (ก�ำกับ: บัณฑิต ฤทธิกล, 2532) โดยให้ตัวละครที่เป็นคนต่างจังหวัดเชย ๆ น�ำดอกบัวมาจีบสาว 2. เป็นสัญลักษณ์ของศรัทธาและความหวัง ในเรือ่ ง แฮปปีเ้ บิรด์ เดย์ (ก�ำกับ: พงษ์พฒ ั น์ วชิรบรรจง, 2551) ใช้ปริมาณทีเ่ พิม่ ขึน้ เรือ่ ย ๆ ของดอกบัวสดทีน่ ำ� มาบูชา พระพุทธรูป เป็นตัวแทนความศรัทธาทางพุทธศาสนาและความหวังที่จะให้คนรัก หายป่วย และใช้ดอกบัวแห้งแทนความสิ้นหวัง 3. เป็นสัญลักษณ์ของความตาย ในเรื่อง ขุนแผน (ก�ำกับ: ธนิตย์ จิตนุกูล, 2545) ต�ำนานสมเด็จพระนเรศวร (ก�ำกับ: ม.จ. ชาตรีเฉลิม ยุค, 2550) ทัง้ 2 เรือ่ งนี้ ดอกบัวปรากฏในลักษณะของดอกไม้ส�ำหรับนักโทษประหาร ส่วนเรื่อง มหาลัย สยองขวัญ (ก�ำกับ: บรรจง สินธมงคล และสุทธิพร ทับทิม, 2552) ปรากฏในลักษณะ ของดอกบัวที่วางบนศพในห้องดับจิต 4. เป็นสัญลักษณ์แทนผู้หญิง ในเรื่อง ไอ้ฟัก (ก�ำกับ: พันธุ์ธัมม์ ทองสังข์, 2547) น�ำเสนอภาพสระบัวให้เป็นที่อาบน�้ำของสมทรงซึ่งเป็นฉากที่โชว์รูปร่างของ ผู้หญิง สระบัวเป็นที่หยอกเย้าของไอ้ฟักกับสมทรง และเป็นสถานที่ที่สมทรงน�ำฟัก มาหลบภัยและล้างเลือดจากการถูกท�ำร้าย สมเกียรติ วิทุรานิช (สัมภาษณ์, 2 พ.ย. 2553) ผู้เขียนบทภาพยนตร์เรื่องไอ้ฟัก อธิบายว่าในภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้บัวแทน ความงามของผู้หญิง เช่น เพลงบัวตูมบัวบาน สระบัว ดอกบัวที่ใช้เสียบมวยผมของ นางสมทรง และบัวยังใช้แทนพุทธศาสนา เนื่องจากไอ้ฟักตัวเอกของเรื่องเป็นคนที่ เคร่งศาสนา บัวจึงปรากฏในงานพิธีกรรมทางศาสนา เช่น การท�ำบุญ งานศพ หมายเหตุ ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ถ่ายภาพโดย ภัสสร สังข์ศรี พนิตย์ ทองดี และธวัชชัย มหิศยา ตัวอย่างภาพจากภาพยนตร์ไทย เลือกโดย พนิตย์ ทองดี และธวัชชัย มหิศยา


22 การปรากฏของบัวในงานจิตรกรรมฝาผนังและภาพยนตร์ ไทย

บรรณานุกรม กาญจนา แก้วเทพ. 2549. ศาสตร์แห่งสือ่ และวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพฯ: เอดิสนั เพรสโปรดักส์. จารวี มั่นสินธร. 2547. การศึกษาวิเคราะห์เรื่อง “ดอกบัว” ในคัมภีร์พระพุทธ ศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต พระนครศรีอยุธยา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. “บัว Waterlily ลักษณะโดยทั่วไป” [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2553 จาก http://www.panmai.com/ WaterLily/WaterLily_1.shtml. บุญตา อัคจันทร์. 2539. ต้นไม้ในพระพุทธศาสนา กรณีศึกษาต้นไม้ที่ปรากฏใน พุทธประวัติและต้นไม้ที่ใช้เป็นยา. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล. บุบผา เต็งสุวรรณ. 2521. บัวในวรรณคดีบาลีและสันสกฤต. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ประทีบ ชุมพล. 2539. จิตรกรรมฝาผนังภาคกลาง: ศึกษากรณีความสัมพันธ์กับ วรรณคดีและอิทธิพลทีม่ ตี อ่ ความเชือ่ ประเพณีและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ส�ำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล. 2536. ภาษาของจิตรกรรมไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ภัสสร สังข์ศรี. 2550. “การตรวจสอบประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยในฐานะ ภาพยนตร์แห่งชาติ” เอกสารงานประชุมวิชาการภาพยนตร์ไทย. ม.ป.ท.: มูลนิธิหนังไทย 17-18 พฤศจิกายน 2550. “ไม้พทุ ธประวัต.ิ ..บัว บัวหลวง” [ออนไลน์] สืบค้นเมือ่ 17 กันยายน 2553 จาก http://www.dhammavoice. blogspot.com/2007/06/blog-post_7218. html.


การปรากฏของบัวในงานจิตรกรรมฝาผนังและภาพยนตร์ ไทย 23

ฤดีรตั น์ กายราศ. 2541. ปกิณกะคดีวถิ ไี ทยในเรือ่ งบัว. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ครุ สุ ภา. วรรณิภา ณ สงขลา, ผูเ้ รียบเรียง. 2553. จิตรกรรมไทยประเพณี เล่ม 1. กรุงเทพฯ: ฝ่ายอนุรกั ษ์จติ รกรรมฝาผนังและประติมากรรม กองโบราณคดี กรมศิลปากร. สมเกียรติ วิทุรานิช. สัมภาษณ์ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2553. แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย และชุติมา ชุณหะชา. 2538. ชุดจิตรกรรมฝาผนังใน ประเทศไทย: วัดโสมนัสวิหาร. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ. อุดม บัวเพียร. 2533. บัวไทยในวิถชี วี ติ ไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์สง่ เสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต. Administrator “บัวพืชมหัศจรรย์” [ออนไลน์] สืบค้นเมือ่ 17 กันยายน 2553 จาก http://www.banbuathai. com/th/index.php?option=com_content &task=view&id=16&Itemid=51.


24 การปรากฏของบัวในงานจิตรกรรมฝาผนังและภาพยนตร์ ไทย

ประวัติผู้เขียน ชื่อ-นามสกุล ดร.ภัสสร สังข์ศรี ต�ำแหน่งปัจจุบัน อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชาเทคโนโลยี การโทรทัศน์ และวิทยุกระจายเสียง ที่ท�ำงาน คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 39 หมู่ 1 ถ.รังสิต-นครนายก ต.คลองหก อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี 12110 ประวัติการศึกษา กศ.ม. เทคโนโลยีทางการศึกษา มศว.ประสานมิตร Ph.D. (Communication Studies) Murdoch University, Western Australia สาขาวิชาการที่มีความช�ำนาญพิเศษ ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์, วิเคราะห์สื่อ


คณะกรรมการวิชาการพิจารณาเอกสารเผยแพร่ความรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 1. รศ. ดร.สุวรินทร์ ปัทมวรคุณ 2. ผศ. ดร.ณัฐวรรณ คุปพิทยานันท์ 3. ผศ. ดร.จตุพร เผ่าพงษ์ไทย 4. รศ.วสันต์ กันอ�่ำ 5. ผศ. ดร.วันชัย ประเสริฐศรี 6. ผศ.สุภา ทองคง 7. ผศ. ดร.บุญเรือง สมประจบ 8. ผศ. ดร.อัญชลี สวาสดิ์ธรรม 9. ผศ. ดร.สมจิตร ถนอมวงศ์วัฒนะ 10. ผศ. ดร.อ้อยทิพย์ ผู้พัฒน์ 11. ผศ. ดร.บุญย์ฤทธิ์ ประสาทแก้ว 12. นายประชุม ค�ำพุฒ 13. นายเกษียร ธรานนท์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์


คณะผู้จัดท�ำ ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดี คณะท�ำงาน ฝ่ายอ�ำนวยการ รองศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี สงวนพงษ์ นางบรรเลง สระมูล

ผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา รองผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา

ฝ่ายเนื้อหา ดร.ภัสสร สังข์ศรี

คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน

ฝ่ายศิลป์ และจัดพิมพ์ นางนฤมล จารุสัมฤทธิ์ นางสาวกชกร ดาราพาณิชย์ นางสาวอริสรา สุดสระ นางสรสุดา ชูกลิ่น จัดพิมพ์โดย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เลขที่ 39 หมู่ 1 ถนนรังสิต-นครนายก ต�ำบลคลองหก อ�ำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12110 โทรศัพท์: 0 2549 4682 โทรสาร. 0 2577 5038 Website: http://www.ird.rmutt.ac.th E-mail: ird@rmutt.ac.th พิมพ์ที่: บริษัท ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จ�ำกัด โทรศัพท์: 0 2521 8420 โทรสาร. 0 2521 8424


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.