เรื่องน่ารู้ของบ้านดินที่สร้างด้วยอิฐดินดิบ
โดย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
เรื่องน่ารู้ของบ้านดินที่สร้างด้วยอิฐดินดิบ
ผู้เขียน : ณภัทร ศรีวัฒนประยูร ISBN : 978-974-625-623-0 จ�ำนวน : 26 หน้า พิมพ์ครั้งที่ 1 : สิงหาคม 2557 จ�ำนวนพิมพ์ : 100 เล่ม ราคา : จัดพิมพ์โดย : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เลขที่ 39 หมู่ 1 ถนนรังสิต-นครนายก ต�ำบลคลองหก อ�ำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12110 โทรศัพท์: 0 2549 4682 โทรสาร: 0 2577 5038 Website: http://www.ird.rmutt.ac.th E-mail: ird@rmutt.ac.th พิมพ์ที่ : บริษัท ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จ�ำกัด โทรศัพท์ : 0 2954 4727 โทรสาร: 0 2954 3406
เนื้อหาใดๆ ในหนังสือเล่มนี้เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเพียงผู้เดียว สถาบันวิจัยและพัฒนา เป็นเพียงผู้จัดพิมพ์เผยแพร่เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชนเท่านั้น
ค�ำน�ำ เอกสารเผยแพร่ความรูเ้ รือ่ ง เรือ่ งน่ารูข้ องบ้านดินทีส่ ร้างด้วยอิฐดินดิบ เล่มนี้ ผูเ้ ขียนมีจดุ ประสงค์ทอี่ ยากจะถ่ายทอดความรูท้ ไี่ ด้จากการศึกษาและเก็บข้อมูลเรือ่ ง บ้านดิน เพือ่ ให้ผทู้ สี่ นใจได้มคี วามรูใ้ นการสร้างบ้านดิน และเสริมความมัน่ ใจมากขึน้ ในการที่จะเลือกสร้างบ้านดินเป็นของตนเอง ซึ่งแรงบันดาลใจในการศึกษาเรื่องของบ้านดินนั้น ผู้เขียนขอขอบพระคุณ คุณโจน จันได คุณธนา อุทัยภัตรากุล ที่ได้ให้แนวความคิดและแนวทางในการ ศึกษา ขอขอบคุณ อาจารย์อศิ รา คงคารัตน์ ชุมชนบ้านสายรุง้ จ.ชัยภูมิ คุณสมบูรณ์ ฐิตชิ วลิตกุล กลุม่ อนุตตรธรรม ชุมชนสีมาอโศก จังหวัดนครราชสีมา ทีใ่ ห้ขอ้ มูล และ ถ่ายทอดความรู้ในการสร้างบ้านดิน รวมทั้งแหล่งบ้านดิน และองค์กรต่าง ๆ ที่เป็น แหล่งข้อมูลที่ผู้เขียนได้น�ำมาเรียบเรียงไว้ ผู้เขียนหวังว่า หนังสือเล่มนี้จะช่วยสนับสนุนให้บ้านดินเป็นที่รู้จักและ ได้รับการยอมรับมากขึ้น และให้ความรู้แก่ผู้ที่อยากมีบ้านเป็นของตนเอง แต่มี งบประมาณจ�ำกัด มีความมัน่ ใจมากขึน้ ทีจ่ ะเลือกสร้างบ้านดินและท�ำกินในบ้านเกิด แทนการออกไปท�ำงานต่างถิน่ เพือ่ เก็บเงินกลับมาสร้างบ้าน และต้องดิน้ รนสูช้ วี ติ ใน ต่างถิ่นเพื่อจะมีบ้านสักหลังเป็นของตนเอง สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สิงหาคม 2557
สารบัญ มารู้จักบ้านดินกันเถอะ อิฐดินดิบที่ใช้สร้างบ้านดิน การสร้างบ้านดิน คุณสมบัติของอิฐดินดิบ บรรณานุกรม ประวัติผู้เขียน
หน้า 1 6 16 20 25 26
เรื่องน่ารู้ของบ้านดินที่สร้างด้วยอิฐดินดิบ
1
มารู้จักบ้านดินกันเถอะ
บ้านดิน เรือนจ�ำชั่วคราวเขากลิ้ง กรมราชทัณฑ์ ต�ำบลวังจันทร์ อ�ำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
บ้านดิน ค�ำนี้ผู้อ่านอาจจะเคยได้ยินมาบ้าง บ้านที่ท�ำจากดินจะอยู่ได้ อย่างไร ฝุ่นจากดินจะฟุ้งไหม ถ้าอยู่ไปนาน ๆ บ้านจะไม่โดนฝนเซาะพังหรือความ แข็งแรงจะเท่ากับบ้านคอนกรีตไหม ราคาล่ะ ฯลฯ ความสงสัยเหล่านีเ้ ป็นทีม่ าของ เรื่องน่ารู้ของบ้านดินดังที่ผู้เขียนได้เรียบเรียงจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ทั้งงานเขียน, งานวิจัย วิทยานิพนธ์และเดินทางศึกษาข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ในภาคอีสาน เพื่อ เผยแพร่ให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการเลือกใช้บ้านดิน บ้านดินคืออะไร บ้านดินเป็นค�ำที่บ่งบอกความหมายของตัวมันเอง ก็คือ ท�ำจากดิน โดย ใช้ดินที่มีอยู่ตามธรรมชาติและหาได้ทั่วไปในท้องถิ่นมาใช้ในการก่อสร้าง รวมไปถึง สิง่ ของเหลือใช้ตา่ ง ๆ ทีม่ อี ยู่ เช่น เอาขวดแก้วมาท�ำช่องแสง วงกบประตู หน้าต่างเก่า ท่อนไม้ ซากอิฐ ซากปูน ฯลฯ ทีส่ ามารถน�ำมาดัดแปลงให้เป็นส่วนหนึง่ ของอาคารได้ หลักการก่อสร้างเหมือนกับการเล่นปั้นดินเหนียวหรือดินน�้ำมัน คือการค่อย ๆ ปั้น จากฐานด้านล่างขึ้นสู่โครงสร้างด้านบน ใช้การรับน�้ำหนักส่วนใหญ่โดยโครงสร้าง
2 เรื่องน่ารู้ของบ้านดินที่สร้างด้วยอิฐดินดิบ
ของผนังเอง และต้องสร้างบนดินฐานรากที่แข็งแรงพอสมควร หากว่าดินฐานราก ไม่แข็งพอจะต้องใช้ฐานรากมารับน�้ำหนัก ก็จะท�ำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในส่วนของ โครงสร้างคอนกรีตที่มารับน�้ำหนักของผนังดิน ท�ำให้สิ้นเปลืองค่าก่อสร้าง จากการศึกษาของผูเ้ ขียน พบว่าประเด็นหลักทีท่ ำ� ให้บา้ นดินเป็นทางเลือกที่ น่าสนใจนั้นมาจากการต้องการหลีกหนีการใช้ชีวิตที่วุ่นวายในเมืองใหญ่ และกลับ ไปใช้ชีวิตแบบธรรมดา ปลูกผัก ปลูกผลไม้ อยู่แบบพอเพียง ซึ่งบ้านดินนั้นเป็น ค�ำตอบทีด่ ขี องผูค้ นเหล่านี้ เพราะสร้างได้ดว้ ยตัวเองได้ ค่าวัสดุกอ่ สร้างต�ำ่ รักษาระดับ อุณหภูมใิ นบ้านในอยูใ่ นสภาวะสบายได้โดยไม่ตอ้ งใช้เครือ่ งปรับอากาศ ออกแบบได้ อย่างอิสระ ฯลฯ ท�ำให้โดยส่วนใหญ่แล้วคนที่สนใจจะสร้างบ้านดินมักจะเป็นคนที่ มีฐานะปานกลาง มาจากเมืองใหญ่ ส�ำหรับชาวบ้านในพื้นที่เองนั้นยังมีความสนใจ น้อย อาจจะเนือ่ งจากมีบา้ นเป็นของตัวเองอยูแ่ ล้ว และไม่มเี วลาทีจ่ ะสร้างบ้านด้วย ตัวเอง เทคนิคการสร้างบ้านดินในประเทศไทย บ้านดินทีพ่ บในประเทศไทยนัน้ มีเทคนิคการก่อสร้างหลัก ๆ อยู่ 5 แบบ ซึง่ โดยส่วนใหญ่จะมีหลักการคล้าย ๆ กัน คือ ใช้ดินท�ำเป็นผนัง แต่อาจจะต่างกันที่จะ ให้ผนังดินท�ำหน้าที่รับน�้ำหนักจากโครงสร้าง หรือท�ำหน้าที่เป็นผนังอย่างเดียวก็ได้ ส�ำหรับวิธีการสร้างบ้านดินแบบต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้ 1) วิธีก่อด้วยอิฐดินดิบ (Adobe)
วิธีก่อด้วยอิฐดินดิบ (Adobe)
เรื่องน่ารู้ของบ้านดินที่สร้างด้วยอิฐดินดิบ
2) วิธีก่อดินปั้น (Cob)
วิธีก่อดินปั้น (Cob)
3) วิธีดินปั้นกับโครงไม้ (Wattle and Daub)
วิธีดินปั้นกับโครงไม้ (Wattle and Daub)
4) การใช้เศษไม้หรือหิน (Cordwood or Stone) เป็นโครงสร้าง
วิธีใช้เศษไม้หรือหิน (Cordwood or Stone) เป็นโครงสร้าง
3
4 เรื่องน่ารู้ของบ้านดินที่สร้างด้วยอิฐดินดิบ
5) วิธีใช้ดินอัด (Rammed Earth)
วิธีใช้ดินอัด (Rammed Earth)
ส�ำหรับวิธลี า่ สุดทีน่ ำ� มาใช้เพิม่ เติมในปัจจุบนั คือ การใช้กอ้ นฟางส�ำหรับเป็น ไส้ในของผนัง ตัง้ ซ้อนกันขึน้ ไปตามความสูงของผนัง ใช้ไม้คำ�้ ยันให้ตดิ กับโครงสร้าง หลัก แล้วจึงฉาบด้วยดิน แต่วิธีนี้จะต้องมีโครงสร้างของตัวบ้านเป็นหลักเสียก่อน อาจจะใช้โครงสร้างคอนกรีต หรือโครงสร้างไม้ ดังแสดงในรูป
วิธีสร้างบ้านดินด้วยก้อนฟาง
เรื่องน่ารู้ของบ้านดินที่สร้างด้วยอิฐดินดิบ
5
ในการสร้างบ้านดินแต่ละหลังไม่จ�ำเป็นต้องใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง การเลือกวิธีที่ จะใช้ขึ้นอยู่กับลักษณะและวัตถุประสงค์ของการใช้งาน ซึ่งแต่ละวิธีจะมีข้อดีและ ข้อเสียต่างกันไป บ้านดินที่สร้างด้วยอิฐดินดิบ การก่อสร้างด้วยอิฐดินดิบเป็นโครงสร้างระบบผนังรับน�ำ้ หนัก ไม่จำ� เป็นต้อง มีเสา สามารถรับน�ำ้ หนักโครงสร้างหลังคาและน�ำ้ หนักของตัวผนังเองได้ จึงเป็นวิธที ี่ นิยมในการสร้างบ้านดิน และการอัดฐานรากของผนังให้แน่นด้วยก้อนหิน หรือคาน คอนกรีตที่อยู่บนดินแข็ง ท�ำให้ประหยัดในส่วนของโครงสร้าง แต่การท�ำช่องเปิด ที่มีขนาดกว้างจ�ำเป็นต้องใช้การก่ออิฐให้มีลักษณะเป็นโดมโค้ง หรือโดมยอดแหลม เพื่อรับน�้ำหนัก หรือใช้ไม้ (ใช้ได้ทั้งไม้ท่อน และไม้แผ่น) ท�ำเป็นคานทับหลังเพื่อรับ น�้ำหนักอิฐที่อยู่ด้านบน หากต้องการโครงสร้างหลังคาทีม่ นี ำ�้ หนักมาก ไม่วา่ จะเป็นบ้านดินรูปแบบ ใด จ�ำเป็นต้องมีการตั้งเสาเพื่อรองรับโครงหลังคาก่อน โดยใช้ระบบฐานราก เสา แบบทัว่ ไป อาจจะใช้เสาไม้ หรือเหล็ก ขึน้ อยูก่ บั น�ำ้ หนักของกระเบือ้ งมุงหลังคา เช่น ถ้าต้องการมุงกระเบือ้ งซีแพ็คโมเนีย กระเบือ้ งลอนคู่ ควรใช้โครงหลังคาเหล็ก ถ้าเป็น หลังคาสังกะสี มุงจาก อาจใช้โครงหลังคาไม้ก็ได้
6 เรื่องน่ารู้ของบ้านดินที่สร้างด้วยอิฐดินดิบ
อิฐดินดิบที่ใช้สร้างบ้านดิน อิฐดินดิบ คือส่วนประกอบส�ำคัญของบ้านดิน มีขนาดโดยทั่วไปประมาณ 8×14×4 นิ้ว (20×35×10 ซม.) และขนาด 10×16×4 นิ้ว (25×40×10 ซม.)
ขนาดของอิฐดินดิบ
ชนิดของอิฐดินดิบ 1. ชนิด Stabilized เป็นอิฐดินดิบที่ผสมปูนซีเมนต์ไม่น้อยกว่า 6% โดย น�้ำหนัก ใส่สารผสมเพิ่ม (Admixture) เพื่อป้องกันการดูดซึมน�้ำ เหมาะส�ำหรับการ ใช้งานกับส่วนที่มีการสัมผัสน�้ำ 2. ชนิด Unstabilized เป็นอิฐดินดิบ 100% ไม่ผสมอะไรเลย ซึง่ มีขอ้ ห้าม น�ำไปใช้ในช่วงผนัง 10 ซม. แรกจากระดับพื้น เนื่องจากช่วยติดพื้นดินมีความชื้น มาก อาจท�ำให้อิฐเกิดการพังทลายได้
การใช้อิฐบล็อกหรืออิฐดินดิบชนิด Stabilized ช่วงผนังติดกับพื้น
เรื่องน่ารู้ของบ้านดินที่สร้างด้วยอิฐดินดิบ
7
ส่วนผสมอิฐดินดิบ แบ่งเป็น 3 ส่วน 1. ดินเหนียวหรือดินในพืน้ ที่ อาจจะเป็นดินลูกรังก็ได้ โดยทัว่ ไปดินเหนียว เมือ่ แห้งจะหดตัวค่อนข้างมากท�ำให้แตกร้าว ถ้าทดสอบดินแล้วมีการแตกร้าวแสดงว่า ส่วนผสมที่ใช้มีดินเหนียวมากเกินไป ต้องเพิ่มส่วนผสมอื่นเพื่อลดการแตกร้าว เช่น ทราย แต่ดนิ ลูกรังโดยส่วนใหญ่มกั จะใช้งานได้เลยโดยไม่ตอ้ งผสมทราย เนือ่ งจาก มีทรายปะปนอยู่ในเนื้อดินอยู่แล้ว การทดสอบการแตกร้าวท�ำได้ดังรูป โดยน�ำ ดินเหนียวมาปัน้ เป็นก้อนแบน ๆ คล้ายคุกกี้ น�ำไปตากแดด เมือ่ แห้งแล้วทดลองหักดู
การทดสอบคุณสมบัติของดินเหนียวด้วยการหัก
- ถ้าหักง่าย (ใช้แรงน้อย) แสดงว่าทรายมากเกินไป ไม่ควรน�ำมาใช้ - ถ้าหักยาก (ใช้แรงปานกลาง) แสดงว่ามีดนิ เหนียวในสัดส่วนทีพ่ อดี น�ำมา ใช้ได้ - ถ้าหักยากมาก (แข็งมาก) จะท�ำให้บ้านแข็งแรงมากขึ้น แต่จะท�ำงาน ยากเพราะดินเหนียวเกินไป การเติมทรายจะช่วยให้ท�ำงานง่ายขึ้น และช่วยลดรอย แตกร้าวเมื่อบ้านแห้ง
8 เรื่องน่ารู้ของบ้านดินที่สร้างด้วยอิฐดินดิบ
จากการศึกษาของผู้เขียน พบว่าอิฐที่ใช้ดินลูกรังเป็นส่วนผสมจะมีความ แข็งแรงน้อยกว่า เนือ่ งจากดินลูกรังมีแรงยึดกันในเนือ้ ดินน้อยกว่าดินเหนียว แต่ใน การใช้งานเพื่อสร้างบ้านดิน อิฐที่ผสมดินลูกรัง ก็ยังสามารถใช้งานได้ เพราะการ รับน�้ำหนักของผนังที่ก่อด้วยอิฐดินดิบจะสามารถรับน�้ำหนักร่วมกันทั้งก�ำแพงได้ 2. ทราย อาจจะใช้หรือไม่ใช้ก็ได้ ถ้าเป็นดินเหนียวจะใช้ทรายผสมเพื่อลด การหดตัวการแตกร้าว ทรายจะช่วยท�ำให้อฐิ มีความแกร่ง แต่ถา้ ผสมทรายมากเกิน ไปจะท�ำให้ถูกฝนชะดินออกได้ง่าย แต่ถ้าเป็นดินลูกรังจะมีการหดตัวที่ต�่ำกว่า และ มีทรายปะปนอยู่ จึงไม่จ�ำเป็นต้องใช้ทรายผสม การทดสอบเพื่อดูสัดส่วนของทราย และดินของดินในสภาพธรรมชาติท�ำได้ดังนี้ น�ำดินแห้งทีบ่ ดละเอียดแล้วใส่ลงในภาชนะขวดหรือแก้ว ราว 1 ใน 3 จาก นั้นเติมน�้ำลงไปจนเกือบเต็ม แล้วเขย่าให้เข้ากัน อาจเติมเกลือลงไปเพื่อเร่งการ ตกตะกอน ล�ำดับชัน้ ของตะกอนมี 3 ขัน้ ตามล�ำดับ โดยชัน้ ล่างสุดจะเป็นทราย ตรง กลางเป็นดินตะกอน และชั้นบนสุดเป็นดินเหนียว ดังแสดงในรูป
การทดสอบหาปริมาณทราย
เรื่องน่ารู้ของบ้านดินที่สร้างด้วยอิฐดินดิบ
9
*หากมีสัดส่วนดินเหนียวตั้งแต่ 1 ใน 5 ขึ้นไป สามารถใช้สร้างบ้านได้ *หากดินเหนียวมีสัดส่วนตั้งแต่ครึ่งหนึ่งขึ้นไปของดินที่ทดสอบ ควรเพิ่มทรายเพื่อ ลดการหดตัวของดินเหนียว 3. ส่วนผสมทีเ่ ป็นเส้นใย และมีความเหนียว โดยปกติจะใช้แกลบหรือ ฟางเส้นสั้น ๆ (ถ้าเป็นส่วนผสมที่เป็นวัสดุธรรมชาติควรจะมีความสดและเหนียว) ส่วนผสมที่เป็นเส้นใยนี้จะช่วยยึดดินเข้าด้วยกัน ลดการแตกร้าว และป้องกันการ ชะล้างของน�ำ้ ฝน เส้นใยส�ำหรับการท�ำอิฐดินดิบไม่นิยมใช้ฟางเส้นยาวเพราะ ย�่ำยาก และท�ำให้เกิดปัญหาเวลายกพิมพ์ ในบางพื้นที่อาจจะไม่ใช้ฟางเลยก็ได้ อัตราส่วนผสมของอิฐดินดิบ อัตราส่วนโดยทั่วไปของวัสดุที่ใช้ผสมโดยปริมาตร โดยการวัดจากขนาด ของกระสอบบรรจุ คือ ดินเหนียว 1.5 ส่วน ทราย 1 ส่วน และแกลบหรือฟางเส้น สัน้ (วัสดุเส้นใย) 1 ส่วน หรือหากจะวัดโดยการชัง่ น�ำ้ หนัก จากการศึกษาของผูเ้ ขียน ได้น�ำอิฐดินดิบจากแหล่งผลิต 3 แหล่ง มาท�ำการแยกส่วนผสมได้สัดส่วนดังนี้ แหล่งที่มา บ้านสิกขาไท จ.นครราชสีมา บ้านสายรุ้ง จ.ชัยภูมิ
สัดส่วนของวัสดุที่ใช้ผสมโดยน�้ำหนัก ชนิดดิน ดิน ทราย แกลบ ดินเหนียว 75% 19% 6%ดินลูกรัง 90% 9.5% -
บ้านเทพพนา จ.ชัยภูมิ ดินลูกรัง 89% 11% จากตาราง จะเห็นว่าในแต่ละพืน้ ทีจ่ ะมีการใส่สว่ นผสมไม่เท่ากัน โดยพืน้ ที่ ที่มีดินลูกรัง ซึ่งมีปริมาณทรายผสมอยู่ในตัวและการหดตัวต�่ำก็ไม่จ�ำเป็นต้องผสม ทรายและแกลบ จะใช้ส่วนผสมใกล้เคียงกัน
10 เรื่องน่ารู้ของบ้านดินที่สร้างด้วยอิฐดินดิบ
โดยทัว่ ไปส่วนผสมจะขึน้ อยูก่ บั สภาพของดินทีม่ อี ยูใ่ นพืน้ ที่ ก่อนการท�ำอิฐ จึงควรทดลองโดยใช้ดินที่มีผสมกับวัสดุเส้นใยท�ำอิฐแล้วทิ้งไว้ให้แห้ง ถ้าอิฐมีปัญหา เรื่องการหดตัวแสดงว่าต้องเพิ่มทรายหรือวัสดุเส้นใย เช่น ฟาง ขั้นตอนในการท�ำอิฐดินดิบ การท�ำอิฐดินดิบเป็นขั้นตอนที่ส�ำคัญ เพราะอิฐเป็นโครงสร้างหลักของ บ้านดิน มีวิธีการดังต่อไปนี้ 1. เตรียมบ่อส�ำหรับย�่ำดินโดยขุดหลุมลึกประมาณ 30 เซนติเมตร หรือ อาจจะใช้กระสอบทีใ่ ส่ทรายหรือแกลบมากัน้ ให้เป็นขอบหลุมสูงขึน้ มาจากพืน้ แล้ว ใช้ผา้ พลาสติกหนาหรือผ้ายางมาปูรองในบ่อย�ำ่ การใช้ผา้ ใบจะช่วยให้ยำ�่ ง่าย เพราะ สามารถดึงผ้าใบให้ดินที่กองอยู่ตามขอบบ่อผสมกันได้ดีขึ้น หรืออาจใช้ท่อซีเมนต์ ถังส้วม ดังรูปประกอบ ขนาดความกว้างของบ่อขึ้นอยู่กับจ�ำนวนคนย�่ำ การท�ำบ่อ ให้กว้างแต่ตื้นจะช่วยท�ำให้เหนื่อยน้อยกว่าการท�ำบ่อที่ลึกแต่แคบ
ท่อซีเมนต์ถังส้วมแบบมีก้น
การเตรียมบ่อหมักดินและใส่น�้ำ
เรื่องน่ารู้ของบ้านดินที่สร้างด้วยอิฐดินดิบ 11
2. เติมน�้ำในบ่อก่อนแล้วจึงใส่ดินเหนียว เพราะโดยปกติแล้วดินเหนียวมี ความหนาแน่นมาก ถ้าใส่ดินลงไปก่อนจะท�ำให้น�้ำซึมลงไปข้างล่างได้ยาก ถ้าดินที่ ใช้มคี วามแข็งหรือมีสว่ นผสมของดินเหนียวมากต้องแช่ดนิ ทิง้ ไว้ขา้ มคืนเพือ่ ให้นำ�้ ซึม เข้าไปเต็มทีจ่ ะท�ำให้ดนิ ย�ำ่ ง่ายขึน้ หรือเรียกว่า การหมักดิน แต่ถา้ ใช้ดนิ ในพืน้ ที่ ให้ ขุดดินออกมาเป็นก้อน ๆ แล้วทุบให้แตกโดยใช้จอบ จากนัน้ ท�ำการใส่นำ�้ และย�ำ่ ดินเลย โดยไม่ต้องหมักดินก็ได้ 3. ย�่ำให้ดินที่เป็นก้อนแตกออก พยายามให้ดินที่ติดอยู่กับพื้นขึ้นมา โดย ใช้เท้าแซะดิน หรือใช้การดึงผ้าใบให้ดินที่ติดอยู่ข้างล่างพลิกขึ้นมา ย�่ำจนกระทั่ง ดินเข้ากันเนียนดี ไม่เป็นก้อนใหญ่ ๆ
การย�่ำดินเพื่อเตรียมดินโดยใช่ท่อส้วมหมักดิน
การย�่ำดินในบ่อที่ขุดเตรียมไว้
4. ทยอยใส่ทราย (ถ้าจ�ำเป็นต้องใส่เพิ่ม) โดยโปรยให้ทั่วสลับกับการย�่ำ ให้ดินเหนียวกับทรายผสมกันดี เมื่อใส่ทรายครบตามอัตราส่วนแล้วค่อยใส่แกลบ โดยใช้วธิ กี ารเดียวกัน การใส่นำ�้ ในขัน้ ตอนแรกควรใส่เผือ่ ไว้จำ� นวนหนึง่ เพราะทราย และแกลบที่ใส่จะดูดน�้ำไว้ท�ำให้ดินแห้งลง ย�่ำจนเมื่อยกเท้าขึ้นมาแล้วดินไม่ยุบลง มาลบรอยเท้านั้นถือว่าใช้ได้ ถ้าดินยังเหลวให้ใส่ทรายหรือแกลบเพิ่ม ถ้าเกิดยังใส่ ทรายหรือแกลบไม่ครบตามปริมาณ แต่ถ้าดินเริ่มแห้งเกินไปให้ใส่น�้ำเพิ่ม
12 เรื่องน่ารู้ของบ้านดินที่สร้างด้วยอิฐดินดิบ
ถ้าหากดินเป็นดินเหนียว มีการหดตัวมาก ต้องการใส่ฟางเส้นสั้นเพิ่ม ให้ ใส่ตอ่ จากขัน้ ตอนนีไ้ ด้เลย โดยการน�ำฟางมาสับให้เป็นท่อนสัน้ ๆ และใส่ลงไปในดิน ย�่ำผสมไปพร้อม ๆ กัน
การใส่ทรายลงในบ่อดิน
5. ท�ำแบบส�ำหรับหล่อก้อนอิฐดินดิบ โดยใช้ไม้เนื้อแข็งพอประมาณที่ไม่ บิดงอได้ง่าย ท�ำเป็นบล็อก ดังรูป ตามขนาดของก้อนอิฐที่เลือกใช้
ลักษณะของบล็อกหล่อดิน
เรื่องน่ารู้ของบ้านดินที่สร้างด้วยอิฐดินดิบ 13
6. น�ำไม้แบบแช่น�้ำทิ้งไว้ให้เปียก จากนั้นน�ำมาวางตรงพื้นที่ที่จะตากอิฐ โดยโรยแกลบบาง ๆ ไว้ทพี่ นื้ ซึง่ จะช่วยป้องกันไม่ให้ตวั อิฐดินดิบติดกับดินซึง่ จะท�ำให้ กลับด้านก้อนอิฐได้ยาก น�ำดินเทใส่แบบแล้วใช้มอื กดดินบริเวณตามมุมและขอบลง ไปให้แน่น ปาดหน้าให้เรียบพอประมาณ แล้วยกพิมพ์ออกทันทีโดยไม่ตอ้ งรอให้ดนิ แห้ง ถ้าดินไม่คงรูปแสดงว่าดินเหลวเกินไป ต้องใส่ทรายหรือแกลบเพิ่ม
การเทส่วนผสมอิฐดินใส่แบบ
7. ใช้ผา้ ชุบน�ำ้ มาเช็ดไม้แบบก่อนท�ำการท�ำอิฐชุดต่อไปทุกครัง้ จะช่วยให้ ดินไม่ติดกับไม้แบบ 8. ตากแดดทิ้งไว้จนอิฐแข็งพอที่จะสามารถพลิกได้ (ประมาณ 2-3 วัน) พลิกก้อนอิฐให้ตงั้ ขึน้ เพือ่ ให้ลมสามารถ พัดผ่านได้ เมื่ออิฐแข็งแล้วจึงน� ำมา ตั้งรวมกันในร่ม วางอิฐตั้งสลับกันขึ้น ไปจะช่วยให้ลมสามารถพัดผ่านได้ดี สามารถลดความชื้นที่จะเกิดขึ้นได้ การตากก้อนอิฐ
14 เรื่องน่ารู้ของบ้านดินที่สร้างด้วยอิฐดินดิบ
ขั้นตอนในการก่อผนัง 1. ย�่ำดินโดยใช้ส่วนผสมเดียวกันกับการท�ำอิฐแต่เหลวกว่า (ใส่น�้ำเยอะ กว่า) อาจใส่แกลบน้อยกว่าทีท่ ำ� อิฐดินดิบก็ได้ ดินก่อนีจ้ ะช่วยเชือ่ มอิฐแต่ละก้อนเข้า ด้วยกันคล้ายกับการก่ออิฐมอญด้วยปูน 2. น�ำดินที่ย�่ำเสร็จแล้วมาเทลงบนฐานราก ให้ตรงช่วงกึ่งกลางผนังหนา กว่าตรงขอบ เมื่อวางอิฐลงไปแล้วกดให้แน่นหรือเหยียบลงไปเลยเพื่อช่วยไม่ให้ เกิดช่องว่างระหว่างอิฐแต่ละชั้น ดินที่ใช้ก่อไม่ควรหนา เพราะจะท�ำให้ผนังอิฐไม่ มัน่ คง การกดหรือเหยียบจะช่วยให้อฐิ แนบสนิทมากขึน้ ดินทีล่ น้ ออกมาจากการกด ก็สามารถน�ำมาใช้ต่อได้อีก 3. เอาดินโปะที่หัวอิฐก่อนที่จะวางอิฐก้อนถัดไปเพื่อให้ดินเชื่อมอิฐแต่ละ ก้อนในแนวระดับ
การโปะดินที่หัวก้อนอิฐ
เรื่องน่ารู้ของบ้านดินที่สร้างด้วยอิฐดินดิบ 15
4. ลักษณะของการวางอิฐเหมือนการก่ออิฐธรรมดาทัว่ ไปคือ แต่ละชัน้ จะ วางอิฐสลับกัน โดยก่ออิฐตามขวาง
การก่ออิฐสลับก้อน
5. ควรตัง้ วงกบประตูกอ่ นเริม่ ก่ออิฐ และเมือ่ ก่ออิฐถึงระดับทีจ่ ะวางวงกบ หน้าต่าง (โดยปกติประมาณ 80 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร) ให้ตั้งวงกบหน้าต่างให้ครบ ทุกบานก่อนท�ำการก่ออิฐในชั้นต่อไป 6. เหนือประตูหรือหน้าต่างควรมีไม้แผ่น หรือไม้ทอ่ นทีป่ รับผิวหน้าให้เรียบ ส�ำหรับการวางอิฐ กว้างประมาณ 20 เซนติเมตร วางเป็นทับหลัง จะช่วยให้ก่ออิฐ ขึ้นไปได้ง่ายขึ้น
16 เรื่องน่ารู้ของบ้านดินที่สร้างด้วยอิฐดินดิบ
การสร้างบ้านดิน โดยทัว่ ไป หลักการก่อสร้างบ้านดินจะเหมือนกันทุกรูปแบบ โดยมีขนั้ ตอน ดังต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1 ออกแบบบ้านและเตรียมพื้นที่ส�ำหรับปลูกบ้าน รูปแบบของบ้านดินมีมากมายหลายแบบ เนื่องจากความอิสระในการ ออกแบบรูปทรง แต่ก็มีค�ำแนะน�ำในการออกแบบดังต่อไปนี้ 1. ศึกษารายละเอียดและส�ำรวจเพื่อหาแหล่งวัตถุดิบ ก่อนการออกแบบควรจะส�ำรวจดูวา่ ในพืน้ ทีน่ นั้ ๆ พอจะมีอะไรทีห่ าได้งา่ ย เหลือใช้ และมีราคาไม่แพง น�ำมาใช้ในส่วนไหนของบ้านได้บา้ ง จะช่วยลดต้นทุนใน การก่อสร้าง เช่น ขวดแก้ว ท่อนไม้ และดินทีใ่ ช้ในการสร้าง หากเป็นดินในพืน้ ที่ และ มีลกั ษณะทีเ่ หมาะสม โดยดูจากการทดสอบคุณสมบัตขิ องดิน 2. ควรออกแบบให้มีขนาดพอเหมาะ บ้านที่ท�ำการออกแบบก่อสร้างด้วยดินนั้นจะต้องมีขนาดไม่ใหญ่นัก การ ออกแบบบ้านดินให้มีขนาดเล็กไว้ก่อนจะช่วยลดความเครียดในการท�ำงานได้มาก การสร้างบ้านหลังใหญ่นอกจากจะต้องใช้เวลาในการก่อสร้างมากแล้วยังท�ำให้เกิด ความท้อแท้ในระยะยาวได้อีกด้วย วิธีที่ดีคือ สร้างบ้านดินที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก อาจสร้างเฉพาะห้องนอนหรือห้องทีใ่ ช้งานหลักก่อน และในช่วงก่อสร้างควรเตรียมการ เผื่อไว้ส�ำหรับการต่อเติมในอนาคตด้วย จะช่วยให้สามารถสร้างเสร็จและใช้งาน ได้ก่อนเมื่อถึงเวลาที่ต้องการใช้หรือมีเวลาแล้วจึงสร้างต่อเติมในภายหลัง อาจเป็น ปีละห้อง หรือสองปี 1 ห้องก็ได้ นอกจากนี้การสร้างบ้านหลังเล็ก ๆ ยังหมายถึงการ ประหยัดวัสดุต่าง ๆ รวมไปถึงราคาค่าก่อสร้าง
เรื่องน่ารู้ของบ้านดินที่สร้างด้วยอิฐดินดิบ 17
3. ควรออกแบบผนังให้มีความโค้ง การออกแบบผนังให้โค้งนั้นเป็นข้อได้เปรียบอย่างหนึ่งของบ้านดินคือ สามารถท�ำผนังโค้งได้ง่ายกว่าบ้านคอนกรีต ซึ่งจะช่วยท� ำให้บ้านดูมีความเป็น ธรรมชาติ ไม่เป็นกล่องสี่เหลี่ยมแข็ง ๆ ซึ่งจะช่วยท�ำให้บ้านดินดูแปลกตา อีกทั้ง ผนังโค้งยังมีสว่ นช่วยให้ผนังแข็งแรงมากขึน้ ด้วย การท�ำผนังตรงทีม่ คี วามยาวมาก ๆ ต้องออกแบบให้มีลักษณะเป็นเสาค�้ำยันเป็นช่วง ๆ ซึ่งการท�ำผนังโค้งจะช่วยให้ผนัง สามารถตัง้ อยูไ่ ด้โดยไม่จำ� เป็นต้องท�ำเสาค�ำ้ ยัน (ถ้าผนังสูงไม่เกิน 3 เมตร) ส่วนข้อเสีย ของผนังโค้งคือ จะวางเครือ่ งเรือนได้ล�ำบาก เพราะส่วนใหญ่จะมีรปู ทรงเป็นเหลีย่ มมุม ขั้นตอนที่ 2 วางแผนการก่อสร้าง 1. วางแผนก�ำลังคน หากผู้สร้างมีแรงงานหรือกลุ่มเพื่อนที่จะช่วยจะท�ำให้บ้านดินเสร็จได้เร็ว ตามที่ต้องการ เช่น อาคารหลังเล็ก ขนาด 4 × 4 ตารางเมตร ใช้แรงงาน 2-3 คน แต่ถ้าเป็นอาคารหลังใหญ่อาจใช้แรงงานมากกว่า 4 คน ตามปริมาณงาน 2. การวางแผนเวลาก่อสร้าง การค�ำนวณเวลาทีใ่ ช้ในการก่อสร้างนัน้ แยกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 1. เวลาในการท�ำก้อนดิน ต้องค�ำนวณขนาดพืน้ ทีก่ อ่ สร้าง โดยค�ำนวณ จาก 1 ตารางเมตร ใช้ก้อนดิน 35 ก้อน เช่น บ้านขนาด 4 × 6 ตารางเมตร มีหน้าต่าง 4 ช่องและมีประตู 1 ช่อง จะใช้กอ้ นอิฐดินดิบประมาณ 1,000-1,200 ก้อน ถ้าวันหนึ่งท�ำได้ประมาณ 120 ก้อน 12 วัน ก็จะได้อิฐดินดิบตามต้องการ 2. เวลาในการก่อสร้าง ต้องค�ำนวณว่ามีก�ำลังคนในการสร้างเท่าไหร่ เช่น บ้านขนาด 4 x 6 ตารางเมตร มีกำ� ลังคนประมาณ 3-4 คน จะใช้เวลาในการสร้าง ประมาณ 14 วันเสร็จ (ไม่รวมเวลาทาสี เพราะต้องรอให้ดินแห้งจึงจะสามารถทาสี ดินได้)
18 เรื่องน่ารู้ของบ้านดินที่สร้างด้วยอิฐดินดิบ
3. การเตรียมอุปกรณ์ในการก่อสร้าง ในการก่อสร้างบ้านดินนั้นต้องเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม โดยอุปกรณ์ที่ ใช้ประจ�ำในการก่อสร้างบ้านดินนั้น ได้แก่ 1) ถังปูนประมาณ 4-6 ถัง 2) จอบขุดดิน 1-2 อัน 3) ไม้แบบท�ำเองหรือจ้างช่างท�ำ ดังแสดงในรูป
ไม้แบบหล่ออิฐดินดิบ
ขั้นตอนที่ 3 ท�ำอิฐดินดิบเตรียมไว้ ขั้นตอนที่ 4 ท�ำฐานรากด้วยหินหรือคอนกรีต และก่ออิฐบล็อกที่ฐานผนัง ขั้นตอนที่ 5 ก่อผนังด้วยอิฐดินดิบ โดยผนังแถวแรกต้องก่อด้วยอิฐดินดิบ ที่ผสมปูนซีเมนต์ หรืออิฐบล็อกแบบรับน�้ำหนักได้ ขั้นตอนที่ 6 ขุดบ่อส้วมและระบบระบายน�้ำตามวิธีสร้างบ้านทั่วไป ขั้นตอนที่ 7 เดินระบบท่อร้อยสายไฟฟ้า ท่อน�้ำดี ท่อน�้ำเสีย ขั้นตอนที่ 8 ฉาบผนังด้วยดินที่ใช้หล่ออิฐดินดิบ ขั้นตอนที่ 9 ท�ำโครงสร้างหลังคา ขั้นตอนที่ 10 มุงหลังคา
เรื่องน่ารู้ของบ้านดินที่สร้างด้วยอิฐดินดิบ 19
ขั้นตอนที่ 11 ฉาบสีผนังด้วยฝุ่นดินผสมสี ทรายละเอียด แป้งเปียก และ น�้ำมันพืช อาจจะเพิ่มผสมอื่น ๆ ที่ช่วยเพิ่มความเหนียวและกันน�้ำ เช่น ยางพารา โดยทดลองผสมในสัดส่วนต่าง ๆ และลองฉาบกับก้อนอิฐดู หากมีการยึดเกาะได้ดี และได้สีที่ต้องการก็น�ำไปใช้ฉาบตามปกติเหมือนการทาสีผนังได้เลย ขั้นตอนที่ 12 ท�ำฝ้าเพดานบ้าน ขั้นตอนที่ 13 เทพื้นคอนกรีตบนดิน ขั้นตอนที่ 14 ติดตั้งบานประตู หน้าต่าง ขั้นตอนที่ 15 ติดตั้งอุปกรณ์งานระบบต่าง ๆ ในการสร้างบ้านดินด้วยอิฐดินดิบนัน้ อิฐดินดิบคือวัสดุหลักในการก่อสร้าง ควรจะท�ำสะสมไว้ให้มากพอทีจ่ ะท�ำการสร้างบ้านทัง้ หลังได้ และเก็บไว้บนพืน้ ทีท่ ไี่ ม่มี น�้ำท่วมถึง ส�ำหรับการฉาบผิว หากใช้ฝุ่นดินผสมสีและกาวจะท�ำให้ฝุ่นจากผนังไม่ ฟุ้งและร่วงออกมา
20 เรื่องน่ารู้ของบ้านดินที่สร้างด้วยอิฐดินดิบ
คุณสมบัติของอิฐดินดิบ ความแข็งแรง มาตรฐานของคุณสมบัติของอิฐดินดิบก�ำหนดว่าจะต้องการความแข็งแรง รับแรงอัดได้ไม่ต�่ำกว่า 21 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร หมายความว่า ถ้าก้อนอิฐ ดินดิบมีขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร ยาว 10 เซนติเมตร ต้องสามารถรองรับถังน�ำ้ มัน หนัก 200 ลิตรได้ นอกจากนีจ้ ากการทดสอบแรงอัดจะพบว่า ต้องใช้แรงกดค่อนข้าง มาก และก้อนอิฐดินดิบตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบต้องมีพื้นผิวเรียบ อาจจะต้องใช้ การเคลือบผิวด้วยก�ำมะถัน หรือใช้แผ่นยางเพื่อช่วยกระจายน�้ำหนัก เพราะสภาพ ผิวอิฐที่นูนหรือขรุขระท�ำให้ก้อนอิฐแตกง่าย การทีต่ อ้ งก�ำหนดก�ำลังรับแรงของอิฐดินดิบเนือ่ งจากการใช้อฐิ ดินดิบท�ำเป็น ผนังรับแรงจึงเกิดแรงทีก่ ระท�ำลงบนผนังอิฐโดยตรง อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. ก�ำลังรับแรงอัด (แรงกด) เกิดขึ้นบริเวณส่วนของผนังอิฐดินดิบที่มีพื้นที่ รองรับน�้ำหนักโดยตรง 2. ก�ำลังรับแรงดัด ซึง่ เกิดขึน้ บริเวณช่องเปิดต่าง ๆ หรือในกรณีทมี่ แี รงด้าน ข้าง เช่น แรงลม หรือแรงที่เกิดจากแผ่นดินไหวกระท�ำ วิธกี ารทดสอบความแข็งแรงของอิฐดินดิบอย่างง่ายสามารถทดสอบได้โดย ใช้อุปกรณ์ง่าย ๆ แทนการใช้เครื่องทดสอบทางวิศวกรรม ดังแสดงในรูป
การทดสอบแรงอัดของอิฐดินดิบอย่างง่าย
เรื่องน่ารู้ของบ้านดินที่สร้างด้วยอิฐดินดิบ 21
การทดสอบแรงดัดของอิฐดินดิบอย่างง่าย
การทดสอบความแข็งแรงแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน เมื่ออิฐที่ท�ำแห้งสนิทดีแล้ว (ถ้าแดดจัดจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์) ให้ ทดสอบความแข็งแรงของอิฐ โดยการยกอิฐดินดิบขึน้ สุดแขน แล้วทิง้ อิฐลงมาโดยให้ มุมใดมุมหนึ่งกระแทกกับพื้น ถ้าก้อนอิฐแตกทั้งก้อนถือว่าใช้ไม่ได้ แต่ถ้าอิฐแค่บิ่น หรือหักที่มุมก็ถือว่าใช้ได้ ดังแสดงในรูป
การยกอิฐขึ้นเพื่อทดสอบความแข็งแรงของอิฐดินดิบโดยวิธีภูมิปัญญาชาวบ้าน
22 เรื่องน่ารู้ของบ้านดินที่สร้างด้วยอิฐดินดิบ
ลักษณะการแตกของอิฐที่ถูกต้อง
จากวิธกี ารดังกล่าว จะเห็นว่าไม่มผี ลการทดสอบทีเ่ ป็นข้อมูลทีแ่ น่นอนและ ถูกต้อง อาศัยเพียงแค่การสังเกต ท�ำให้มีความคลาดเคลื่อนในการคาดคะเนก�ำลัง รับแรงของก้อนอิฐ การทดสอบตามมาตรฐานทางวิศวกรรม ในความเห็นของผู้ที่อยู่ในวงการบ้านดิน อาจจะมองว่าการทดสอบก�ำลัง รับแรงเป็นเพียงองค์ประกอบย่อยของการสร้างบ้านดิน หัวใจหลักของการสร้างคือ การเลือกดินทีเ่ หมาะสม และวิธกี ารก่อสร้างทีถ่ กู ต้อง แต่เนือ่ งจากมีตวั แปรมากมาย ทีท่ ำ� ให้บา้ นดินยังไม่เป็นทีย่ อมรับกันทัว่ ไป เพราะไม่มคี า่ ก�ำลังรับแรงตามมาตรฐาน ทีแ่ น่นอนเหมือนบ้านคอนกรีต จึงจ�ำเป็นทีจ่ ะมีการทดสอบทีถ่ กู ต้องตามมาตรฐาน ทางวิศวกรรมมารองรับ เพราะเป็นเรื่องของความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน โดยตรง ผู้เขียนได้ท�ำการศึกษาการรับก�ำลังของก้อนอิฐดินดิบจากแหล่งข้อมูล และผลงานวิจัยต่าง ๆ จึงพบว่าการทดสอบอิฐดินดิบตามหลักวิศวกรรมเพื่อความ ปลอดภัย ควรใช้การทดสอบดังต่อไปนี้
เรื่องน่ารู้ของบ้านดินที่สร้างด้วยอิฐดินดิบ 23
1. ทดสอบการรับแรงอัดของอิฐดินดิบโดยทดสอบ 5 ก้อน แล้วหาค่าเฉลี่ย
เครื่องทดสอบก�ำลังรับแรงอัดของอิฐ
2. ก�ำลังรับแรงแบกทาน เนือ่ งจากการใช้งานของอิฐดินดิบจะเป็นลักษณะ ของผนังรับแรง การทดสอบแรงแบกทานคือการจ�ำลองลักษณะของผนังอิฐดินดิบ โดยการก่อเป็นก�ำแพงขนาดเล็กซ้อนกัน 5 ก้อน และใช้ดนิ เป็นตัวยึดประสาน วิธกี าร ทดสอบดังในรูป
การทดสอบก�ำลังรับแรงแบกทาน
24 เรื่องน่ารู้ของบ้านดินที่สร้างด้วยอิฐดินดิบ
โดยผลจากการวิจัยของผู้เขียนเอง พบว่าหากใช้ดินเหนียวในการผสมอิฐ ดินดิบและใส่ทรายในปริมาณที่เหมาะสมจะให้ค่าการรับก�ำลังที่ดีกว่า จากผลการ ทดสอบตามหลักวิศวกรรมโดยเก็บข้อมูลจากแหล่งผลิตอิฐดินดิบ 3 แหล่ง เปรียบเทียบ เป็นตารางได้ดังนี้ ล�ำดับที่ 1 2 3
ดินที่ใช้ผสม ดินเหนียว+ทราย ดินลูกรัง ดินลูกรัง
ความหนาแน่น แรงอัดแนวนอน (กก/ลบ.ม.) (กก/ตร.ซม.) 1,714.31 21.76 1,555.13 15.76 1,494.95 13.48
ผลสรุป โดยสรุปแล้ว พบว่าอิฐดินดิบที่ใช้ดินเหนียวผสมกับแกลบจะมีค่าการรับ ก�ำลังที่ดีกว่า หมายความว่ามีความแข็งแรงมากกว่า เหมาะสมกับการสร้างบ้านดิน แต่ดินลูกรังนั้นก็มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ที่สามารถหาดินลูกรังได้ง่าย โดย ไม่ตอ้ งไปหาซือ้ ดินเหนียวมาใช้ เพราะถึงแม้จะรับน�ำ้ หนักได้นอ้ ยกว่า แต่เมือ่ ก่อเป็น ผนังแล้วก็สามารถรับก�ำลังได้ดีเช่นเดียวกัน ในการท�ำบ้านดินในพืน้ ทีท่ วั่ ไปทีส่ ามารถหาดินเหนียวได้ หรือซือ้ ดินเหนียว มาท�ำ ขอแนะน�ำสัดส่วนการผสมโดยน�้ำหนักดังนี้ ดินเหนียว 75% ทราย 18% แกลบ 6% เปรียบเทียบเป็นการตวงแบบทัว่ ไป คือ อิฐดินดิบ 1 ก้อน หนักประมาณ 2.5 กิโลกรัม จะใช้ดนิ 1.875 กิโลกรัม ทราย 0.45 กิโลกรัม แกลบ 0.15 กิโลกรัม ถ้าต้องการใช้อิฐ 1,000 ก้อน ก็จะใช้ดินเหนียว 1,875 กิโลกรัม หรือ ประมาณ 2 คิวหลวม ทราย 450 กิโลกรัม หรือประมาณ 18 ถุงปุ๋ย แกลบ 150 กิโลกรัม นั่นเอง
เรื่องน่ารู้ของบ้านดินที่สร้างด้วยอิฐดินดิบ 25
บรรณานุกรม จงรัก นุน่ ชู และณัฐพงศ์ รังสิมนั ตุชาติ. 2547. การศึกษาคุณสมบัตขิ องอิฐดินดิบ เพื่อการก่อสร้างบ้านดิน. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต. กรุงเทพฯ: สาขาวิ ศ วกรรมโยธา ภาควิ ช าวิ ศ วกรรมโยธา คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. จิรัฐิติ์ บรรจงศิริ และคณะ. 2548. การทดสอบคุณสมบัติของอิฐดินดิบที่ใช้ในการ ก่อสร้างบ้านดิน. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต. กรุงเทพฯ: สาขา วิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์. ฐิติพงษ์ ศรีชูชาติ นายอรรคพล พุ่มพวง. 2553. ก�ำลังอัดตามแนวแกนของผนังอิฐ ดินดิบ. โครงงานทางวิศวกรรมศาสตร์. เชียงใหม่: ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภูษิต เลิศวัฒนารักษ์ และจตุพร ตั้งศิริสกุล. 2550. ผลของวัสดุทางธรรมชาติที่มี ต่อคุณสมบัติของก้อนอิฐดิน ดิบส�ำหรับการก่อสร้างบ้านดิน. วิทยานิพนธ์ สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และ การผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วรุณ เหล่าโกเมนย์. 2546. รายงานการวิจัย การพัฒนาระบบการก่อสร้างผนัง รั บ น�้ ำ หนั ก ของบ้ า นดิ น ด้ ว ยอิ ฐ ดิ น ดิ บ . วิ ท ยานิ พ นธ์ ส ถาปั ต ยกรรม ศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต . กรุ ง เทพฯ: ภาควิ ช าสถาปั ต ยกรรมศาสตร์ คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วันชัย พรพรหมโชติ. 2551. ผลของชนิดดินเหนียวต่อก�ำลังของอิฐดินดิบและการ ทดสอบก�ำลังอย่างง่าย. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต. กรุงเทพฯ: ภาควิชาวิศวกรรมโยธา วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. อภิชาต ไสวดี. 2548. เรือ่ งราวในร่องรอยของบ้านดิน. ม.ป.ท.: โครงการบ้านมัน่ คง สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). เอก สล่าเอือ้ งจัน. 2548. “ขัน้ ตอนในการด�ำเนินการก่อสร้างบ้านดิน,” [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2554 จาก: http://www.baandin.com/article/ 3-build.html.
26 เรื่องน่ารู้ของบ้านดินที่สร้างด้วยอิฐดินดิบ
ประวัติผู้เขียน ชื่อ-นามสกุล นางสาวณภัทร ศรีวัฒนประยูร ต�ำแหน่งปัจจุบัน อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชา เทคโนโลยีสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่ท�ำงาน สาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 39 หมู่ 1 ถ.รังสิต-นครนายก ต.คลองหก อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี 12110 ประวัติการศึกษา วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทเวศร์ สาขาวิชาการที่มีความช�ำนาญพิเศษ วัสดุก่อสร้าง ประมาณราคา
คณะกรรมการวิชาการพิจารณาเอกสารเผยแพร่ความรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 1. รศ. ดร.สุวรินทร์ ปัทมวรคุณ 2. ผศ. ดร.ณัฐวรรณ คุปพิทยานันท์ 3. ผศ. ดร.จตุพร เผ่าพงษ์ไทย 4. รศ.วสันต์ กันอ�่ำ 5. ผศ. ดร.วันชัย ประเสริฐศรี 6. ผศ.สุภา ทองคง 7. ผศ. ดร.บุญเรือง สมประจบ 8. ผศ. ดร.อัญชลี สวาสดิ์ธรรม 9. ผศ. ดร.สมจิตร ถนอมวงศ์วัฒนะ 10. ผศ. ดร.อ้อยทิพย์ ผู้พัฒน์ 11. ผศ. ดร.บุญย์ฤทธิ์ ประสาทแก้ว 12. นายประชุม ค�ำพุฒ 13. นายเกษียร ธรานนท์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
คณะผู้จัดท�ำ ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดี คณะท�ำงาน ฝ่ายอ�ำนวยการ รองศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี สงวนพงษ์ นางบรรเลง สระมูล
ผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา รองผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา
ฝ่ายเนื้อหา ณภัทร ศรีวัฒนประยูร
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
ฝ่ายศิลป์ และจัดพิมพ์ นางนฤมล จารุสัมฤทธิ์ นางสาวกชกร ดาราพาณิชย์ นางสาวอริสรา สุดสระ นางสรสุดา ชูกลิ่น จัดพิมพ์โดย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เลขที่ 39 หมู่ 1 ถนนรังสิต-นครนายก ต�ำบลคลองหก อ�ำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12110 โทรศัพท์: 0 2549 4682 โทรสาร. 0 2577 5038 Website: http://www.ird.rmutt.ac.th E-mail: ird@rmutt.ac.th พิมพ์ที่: บริษัท ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จ�ำกัด โทรศัพท์: 0 2521 8420 โทรสาร. 0 2521 8424