มุมมองของนักศึกษายุคใหม่ ต่อโครงการสหกิจศึกษา
โดย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
มุมมองของนักศึกษายุคใหม่ต่อโครงการสหกิจศึกษา ผู้เขียน ISBN จานวน พิมพ์ครั้งที่ 1 จานวนพิมพ์ ราคา จัดพิมพ์โดย
: เขมมารี รักษ์ชูชีพ : 978-974-625-669-8 : 13 หน้า : กรกฎาคม 2557 : 140 เล่ม : : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เลขที่ 39 หมู่ 1 ถนนรังสิต-นครนายก ตาบลคลองหก อาเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12110 โทรศัพท์ : 0 2549 4683 โทรสาร : 0 2577 5038 website : http://www.ird.rmutt.ac.th E-mail : ird@rmutt.ac.th พิมพ์ที่ : บริษัท ยูโอเพ่น จากัด โทรศัพท์/โทรสาร : 0 2617 6834
เนื้อหาใด ๆ ในหนังสือเล่มนี้เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว สถาบันวิจัยและพัฒนา เป็นเพียงผู้จัดพิมพ์เผยแพร่เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชนเท่านั้น
คานา เอกสารเผยแพร่ความรู้ เรื่อง มุมมองของนักศึกษายุคใหม่ต่อโครงการ สหกิจศึกษา เป็นการให้ความรู้ และเผยแพร่ผลการวิจัยเกี่ยวกับ การเข้าร่วม โครงการสหกิจศึกษาของนักศึกษา โดยเป็นการศึกษาในประเด็นต่อไปนี้คือ ศึกษาระดับของปัจจัยทางสังคมของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษา ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษา และศึกษาอิ ทธิพ ลของปั จ จั ย ทางสั งคมที่ มีต่อ ความพึ งพอใจในการเข้าร่ว ม โครงการสหกิ จ ศึก ษาของนั กศึ กษา ตลอดจนศึกษาปั ญ หา อุป สรรค และ ข้อเสนอแนะ ต่อการเข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษา ดังนั้นผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เอกสารความรู้ฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ แก่ผู้ที่จะนาไปศึกษา และหากมีข้อบกพร่องประการใด คณะผู้จัดทาขออภัยไว้ ณ ที่นี้
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กรกฎาคม 2557
สารบัญ ความสาคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ของการวิจัย วิธีดาเนินการวิจัย ผลการศึกษา ข้อเสนอแนะ บรรณานุกรม ประวัติผู้เขียน
หน้า 1 4 5 6 11 12 13
มุมมองของนักศึกษายุคใหม่ตอ่ โครงการสหกิจศึกษา
1
ความสาคัญของปัญหา ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร ร่วมกับความ เจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง การแข่งขัน และ พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสมรรถนะของ นักศึกษาที่จะต้องสนองความพึงพอใจต่อนักศึกษาเป็นอย่างยิ่ง โครงการสหกิจ ศึ ก ษาถื อ เป็ น การวั ด ความสามารถเบื้ อ งต้ น ของนั ก ศึ ก ษาก่ อ นการเข้ า สู่ ตลาดแรงงาน การศึกษาครั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาขีดความสามารถของนักศึกษาให้ดียิ่งขึ้น สหกิจศึกษา (Co - operative Education) เป็นระบบการศึกษาที่เน้น การปฏิ บั ติงานในสถานประกอบการอย่ างมี ระบบ โดยจัดให้ มีการเรียนใน สถานศึ ก ษาร่ ว มกั บ การจั ด ให้ นั ก ศึ ก ษาระดั บ ชั้ น ปี ที่ 3 และชั้ น ปี ที่ 4 ไป ปฏิบัติงานจริง ณ สถานประกอบการที่ให้ความร่วมมือในฐานะเป็นพนักงาน ชั่วคราว เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 16 สัปดาห์ และจะได้รับหน่วยกิต 6 หน่วยกิ ต ในระบบการศึกษา นักศึกษาจะเข้าปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการได้ นั้น ต้องมีการเตรียมความพร้อมทั้งในเรื่องความรู้เกี่ยวกับวิชาการ และความรู้ใน เรื่องการดารงชีวิตในสังคม นักศึกษาสหกิจศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จะ เข้าปฏิบัติงานในสถานประกอบการในลักษณะพนักงานชั่วคราว ที่จะต้องได้ลง มือปฏิบัติงานจริง สหกิจศึกษามีความจาเป็นอย่างยิ่งที่นักศึกษาจะต้องได้รับ ประสบการณ์ ใ นการปฏิ บั ติ ง านในสถานประกอบการจริ ง เพราะเป็ น ประสบการณ์ในส่วนที่นักศึกษาไม่สามารถเรียนรู้ได้ในห้องเรียน นักศึกษาจะ
2
มุมมองของนักศึกษายุคใหม่ตอ่ โครงการสหกิจศึกษา
ได้รับการพัฒนาตนเองทางด้านความคิด การสังเกต การตัดสินใจการวิเคราะห์ และประเมินผลอย่างเป็นรูปแบบ รวมทั้งการจัดเตรียม การนาเสนอรายงาน จากประสบการณ์จริงของตนเอง ที่สะท้อนการผสมผสานระหว่างภาคทฤษฎี และปฏิบัติเข้าด้วยกัน รวมทั้งการมองเห็นแนวทางด้านงานอาชีพของตนเอง ชั ด เจนขึ้ น ด้ ว ยระบบการเรี ย นการสอนที่ ผ สมผสานภาคทฤษฎี เข้ า กั บ ภาคปฏิบัติได้อย่างลงตัวเช่นนี้ จะส่งผลให้นักศึกษาเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้น และกระบวนการสหกิจศึกษาสามารถ พัฒนาหลักสูตรได้ตลอดเวลา ส่วนสถานประกอบการจะได้แรงงานนักศึกษา ร่วมงานได้ตลอดทั้งปี ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ความพึงพอใจในการทางานมีส่วนสัมพันธ์กับปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ปัจจัย ด้านบุ คคล เช่น อายุ เพศ การศึ กษา ประสบการณ์ ปั จ จัยด้ านงาน ได้แ ก่ สถานที่ทางาน ลักษณะงาน ลักษณะของหน่วยงาน โครงสร้างของงาน ทาเล ที่ตั้ง และขนาดของหน่วยงาน สิ่งสาคัญอีกปัจจัยหนึ่งก็คือ ด้านการจัดการมี ส่ ว นสั ม พั น ธ์ กั บ ความพึ งพอใจเช่ น กั น ได้ แ ก่ ความมั่ น คง ความก้ า วหน้ า สถานที่ทางาน ความศรัทธาที่มีต่อผู้ บังคับบัญชา รวมทั้งความเข้าใจที่ดีต่อกัน ระหว่ างพนั ก งานกั บ พนั ก งาน พนั ก งานกั บ หน่ ว ยงาน เป็ น ต้ น การศึ ก ษา เกี่ยวกับความพึงพอใจในงานมีหลายแนวความคิด ได้แก่ ความพึงพอใจทาให้ เกิดการทางาน การทางานทาให้เกิดความพึงพอใจ รางวัลเป็นปัจจัยของการ ทางาน การวัดความพึงพอใจของการทางานมีทั้งแบบสารวจปรนัย และแบบ สารวจแบบเชิงพรรณนา ลักษณะของแบบวัดมี 2 แบบ คือ แบบวัดความพึง พอใจโดยทั่วไป และแบบวัดความพึงพอใจในงานโดยเฉพาะ ผลที่ได้จากความ
มุมมองของนักศึกษายุคใหม่ตอ่ โครงการสหกิจศึกษา
3
พึ งพอใจในงานก็ คื อ แรงจู งใจภายในการปฏิ บั ติ งาน ความอิ ส ระของงาน รูปแบบของการบังคับบัญชา ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อโครงการสหกิจศึกษามีผลต่อความสาเร็จ ของงานและองค์กรรวมทั้งความสุ ขของผู้ทางานด้ว ย องค์กรใดก็ตาม หาก บุคคลในองค์กรไม่มีความพึงพอใจในการทางานก็จะเป็นมูลเหตุหนึ่งที่ทาให้ผล งานและการปฏิบัติงานต่า คุณภาพของงานลดลง แต่ในทางตรงกันข้ามหาก องค์ก รมี บุ คคลที่ มี ความพึ งพอใจในการท างานสู ง จะมีผ ลทางบวกต่ อการ ปฏิบัติงาน นอกจากนี้ความพึงพอใจในการทางานยังเป็นเครื่องหมายที่แสดง ถึงประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานและภาวะผู้นาของผู้บริหารองค์กร ดังนั้น ถ้าหากหน่วยงานใดได้เห็นความสาคัญของการสร้างความพึงพอใจจะทราบได้ ว่าความพึงพอใจนั้นสามารถเปลี่ยนได้ตลอดเวลาตามสภาพการณ์ หรือตาม เวลาโดยรวม ปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นความรู้สึกทางด้านจิตใจ เช่น แรงจูงใจ ความ สนใจสภาพทางด้านบุคคล เช่น อายุ ประสบการณ์ ตลอดจนสภาพแวดล้อมใน การท างาน เช่น ลั กษณะงาน ผู้ บั งคับ บั ญ ชา เพื่ อนร่ว มงาน สิ่ งเหล่ านี้ เป็ น มูลเหตุให้บุคคลรู้สึกว่า เขามีความพึงพอใจเกิดขึ้นในการทางาน (ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์, 2543: 121) ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาความพึงพอใจในการเข้าร่วม โครงการสหกิจศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลั ยเทคโนโลยีราชมงคลธัญ บุรี เพื่ อ ให้ ม หาวิ ท ยาลั ย ได้ รั บ รู้ ถึ งปั ญ หา อุ ป สรรค ความส าเร็ จ ของโครงการ ดังกล่าว ซึ่งจะได้นาผลดังกล่าวมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการให้ดี ยิ่งขึ้น
4
มุมมองของนักศึกษายุคใหม่ตอ่ โครงการสหกิจศึกษา
วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยทางสังคมของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ สหกิจศึกษา 2. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเข้าร่วมโครงการ สหกิจศึกษา 3. เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยทางสังคมที่มีต่อความพึงพอใจในการเข้า ร่วมโครงการ สหกิจศึกษาของนักศึกษา 4. เพื่ อ ศึ ก ษาปั ญ หา อุ ป สรรค และข้ อ เสนอแนะต่ อ การเข้ า ร่ ว ม โครงการสหกิจศึกษา
มุมมองของนักศึกษายุคใหม่ตอ่ โครงการสหกิจศึกษา
5
วิธีดาเนินการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2551 จานวนรวม 1,186 คน ที่เข้าร่วมโครงการ สหกิจศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยเป็น นั ก ศึ ก ษาคณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ จ านวน 901 คน และนั ก ศึ ก ษาคณะ บริหารธุรกิจ จานวน 285 คน การวิเคราะห์ ข้อมูล แบ่ งเป็ น การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อวิเคราะห์ เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ระดับของปัจจัยทางสังคม และระดับความพึงพอใจ ของนักศึกษา การหาความสัมพันธ์ของปัจจัยทางสังคมกับความพึงพอใจของ นักศึกษา โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความ พึงพอใจของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษา โดยการวิเคราะห์ การ ถดถอยเชิ งพหุ ส่ ว นการวิ เคราะห์ ข้ อ มู ล เชิ งคุ ณ ภาพ คณะผู้ วิ จัย ได้ ท าการ วิ เคราะห์ โ ดยการน าข้ อ มู ล ซึ่ ง ได้ จ ากแบบสอบถามในส่ ว นที่ เป็ น ค าถาม ปลายเปิดมาจาแนก จัดหมวดหมู่ เชื่อมโยงข้อมูลที่ได้ วิเคราะห์ส่วนประกอบ และสรุปผล โดยอาศัยความสอดคล้อง และความเป็นเหตุเป็นผล
6
มุมมองของนักศึกษายุคใหม่ตอ่ โครงการสหกิจศึกษา
ผลการศึกษา ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของนักศึกษา นั ก ศึ ก ษาที่ เข้ า ร่ ว มโครงการสหกิ จ ศึ ก ษาส่ ว นใหญ่ เ ป็ น นั ก ศึ ก ษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ คิดเป็น ร้อยละ 76 โดยส่วนใหญ่แล้วนักศึกษาที่เข้าร่วม โครงการสหกิจศึกษาเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 88.2 และส่วนมาก คิดเป็นร้อยละ 62.9 เป็นนักศึกษาชาย โดยนักศึกษาที่เข้ าร่วมโครงการสหกิจ ศึกษาส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 21–23 ปี คิดเป็นร้อยละ 75.1 และเป็นนักศึกษา ในระดับปริญญาตรีถึงร้อยละ 99.2 นักศึกษาส่วนใหญ่มีรายได้ซึ่งไม่ใช่รายได้ จากการเข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษาในช่วง 5,000 – 10,000 บาทต่อเดือน คิดเป็ น ร้ อยละ 50.2 ส่ ว นรายได้ที่ นั กศึ กษาได้รับ จากการเข้าร่วมโครงการ สหกิจศึกษา โดยส่วนมากได้รับรายได้ในช่วง 1,000 – 3,000 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 23.7 ในเรื่องเกี่ยวกับระดับคะแนนเฉลี่ย นักศึกษาส่วนใหญ่คิด เป็นร้อยละ 83.9 มีระดับผลคะแนนเฉลี่ยอยู่ในช่วง 2.01 – 3.00 โดยนักศึกษา ที่เข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษาส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 68.2 เป็นนักศึกษาที่มี ภูมิลาเนาเดิมอยู่ในต่างจังหวัด และส่วนมากไม่ได้ทางานในระหว่างการศึกษา เล่าเรียน โดยคิดเป็นร้อยละ 78.9 สาหรับอาชีพของบิดาของนักศึกษาที่เข้า ร่ว มโครงการสหกิ จ ศึ ก ษา ส่ ว นมากนั ก ศึ ก ษามี บิ ด าประกอบอาชี พ รับ จ้า ง คิดเป็นร้อยละ 27.3 ส่วนมารดาของนักศึกษา ส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 24.0 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
มุมมองของนักศึกษายุคใหม่ตอ่ โครงการสหกิจศึกษา
7
ผลการศึกษาระดั บของปัจ จัยทางสังคมของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ สหกิจศึกษา การศึกษาระดับ ของปั จจัย ทางสังคมของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ สหกิจศึกษา สรุปได้ดังนี้ ด้านทัศนคติและบุคลิกภาพ นักศึกษามีการพัฒนาโดยรวมในระดับสูง (คะแนนเฉลี่ย 3.74) โดยนักศึกษามีการพัฒนาเกี่ยวกับความมีไมตรีสัมพันธ์สูง ที่สุด (คะแนนเฉลี่ย 4.01) รองลงมา ได้แก่ การให้ความสาคัญกับการทางาน และการเข้ากับผู้อื่น (คะแนนเฉลี่ย 3.99) และนักศึกษามีการพัฒนาในเรื่อง ความมั่นใจในตนเองต่าที่สุด (คะแนนเฉลี่ย 3.48) ด้านการพั ฒ นาฝี มื อ ความถนั ด ความรู้ ความสามารถ และความ ชานาญ นักศึกษามีการพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยนักศึกษามี การพัฒนาในเรื่องของการรู้จักปฏิบัติงานแบบใหม่ ๆ สูงที่สุด (คะแนนเฉลี่ย 3.71) รองลงมา ได้แก่ การเพิ่มพูนความสาเร็จในกิจกรรมที่ทา (คะแนนเฉลี่ย 3.69) ส่วนเรื่องที่นักศึกษามีการพัฒนาต่าที่สุด ได้แก่ การเข้าใจงานที่ซับซ้อน (คะแนนเฉลี่ย 3.34) ด้านการฝึกฝนการใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจ นักศึกษามีการพัฒนา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (คะแนนเฉลี่ย 3.58) โดยนักศึกษามีการพัฒนา ในเรื่ อ งการตั ด สิ น ใจหาทางเลื อ กที่ ดี ที่ สุ ด สู ง ที่ สุ ด (คะแนนเฉลี่ ย 3.69) รองลงมา ได้แก่ การจั ดล าดับ ความสาคัญ ของกิจกรรมที่ ทา (คะแนนเฉลี่ ย 3.68) ส่ ว นเรื่องที่นั กศึกษามีการพั ฒ นาต่าที่สุ ด ได้แก่ การมีความเป็นผู้ น า (คะแนนเฉลี่ย 3.42)
8
มุมมองของนักศึกษายุคใหม่ตอ่ โครงการสหกิจศึกษา
ด้านการเรียนรู้และลดการเสี่ยงอันตรายที่เกิดจากการทางาน นักศึกษา มีการพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (คะแนนเฉลี่ย 3.50) โดยนักศึกษา มีการพัฒนาในเรื่องการคิดถึงเรื่องความถูกต้องสูงที่สุด (คะแนนเฉลี่ย 3.81) รองลงมา ได้แก่ การใส่ใจการปฏิบัติงานทุกขั้นตอนเพื่อลดความเสี่ยง และ การรับรู้ถึงอันตรายที่เกิดจากการทางานหากไม่ปฏิบัติตามคู่มืออย่างเคร่งครัด (คะแนนเฉลี่ย 3.77) ส่วนเรื่องที่นักศึกษามีการพัฒนาต่าที่สุด ได้แก่ การคิด เกี่ยวกับอัตราการเกิดอุบัติเหตุและความผิดพลาด (คะแนนเฉลี่ย 2.31) ด้านการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม นักศึกษามีการพัฒนาโดยรวมอยู่ใน ระดับสูง (คะแนนเฉลี่ย 3.90) โดยนักศึกษามีการพัฒนาในเรื่องของการเข้าใจ พ่อแม่สูงที่สุด (คะแนนเฉลี่ย 4.14) รองลงมา ได้แก่ การรู้จักคุณค่าของเงิน ส่วนเรื่องที่นักศึกษามีการพัฒนาต่าที่สุด ได้แก่ การพัฒนาการสื่อสารในการ ปฏิบัติงาน (คะแนนเฉลี่ย 3.67) ด้านการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม นักศึกษามีการพัฒนาโดยรวมอยู่ใน ระดับสูง (คะแนนเฉลี่ย 3.81) โดยนักศึกษามีการพัฒนาในเรื่องการปรับตัว เข้ ากับ เพื่ อนร่ ว มงานสู งที่ สุ ด (คะแนนเฉลี่ ย 3.95) รองลงมา ได้ แ ก่ การ สามารถปรับตัวเข้ากับสถานที่ทางานส่วนเรื่องที่นักศึกษามีการพัฒนาต่าที่สุด ได้แก่ การพัฒนาความเป็นผู้นา (คะแนนเฉลี่ย 3.67)
มุมมองของนักศึกษายุคใหม่ตอ่ โครงการสหกิจศึกษา
9
ผลการศึกษาระดั บ ความพึ งพอใจของนั กศึ กษาต่อการเข้าร่วมโครงการ สหกิจศึกษา ผลการศึกษาระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่เ ข้าร่วมโครงการสหกิจ ศึกษา สรุปได้ดังนี้ ในภาพรวม นั กศึกษามี ความพึ งพอใจในการเข้าร่ว มโครงการสหกิ จ ศึกษาในระดับปานกลาง (คะแนนเฉลี่ย 3.63) นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการสห กิจศึกษามีความพึงพอใจในเรื่องการได้พัฒนาความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นสูง ที่ สุ ด (คะแนนเฉลี่ ย 3.82) รองลงมา ได้ แ ก่ ความสุ ภ าพของหั ว หน้ า (คะแนนเฉลี่ย 3.81) ส่วนเรื่องที่นักศึกษามีความพึงพอใจน้อยที่สุด ได้แก่ ความทั น สมัย ของอุป กรณ์ ส านั กงาน และ การแบ่งปันการใช้ทรัพ ยากรใน สานักงาน (คะแนนเฉลี่ย 3.47 เท่ากัน) ผลการศึ ก ษาอิ ท ธิ พ ลของปั จ จั ย ทางสั งคมที่ มี ต่ อ ความพึ งพอใจในการ เข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษาของนักศึกษา ผลการศึกษาอิทธิพลของปัจจัยทางสังคม ที่มีต่อความพึงพอใจในการ เข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษาของนักศึกษา สรุปได้ดังนี้ ปั จ จั ย ทางสั ง คมที่ มี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ ความพึ ง พอใจในการเข้ า ร่ ว ม โครงการสหกิจศึกษาของนักศึกษา ได้แก่ ทัศนคติและบุคลิกภาพ การพัฒนา ฝี มื อ ความถนั ด ความรู้ ความสามารถ ความช านาญ การฝึ ก ฝนการใช้ ดุลยพินิจในการตัดสิน ใจ การเรียนรู้และลดการเสี่ยงอันตรายที่เกิดจากการ ทางาน การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม โดย ทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการสห กิ จ ศึ ก ษาของนั ก ศึ ก ษา โดยการปรั บ ตั ว เข้ า กั บ สิ่ ง แวดล้ อ ม เป็ น ปั จ จั ย ที่ มี
10
มุมมองของนักศึกษายุคใหม่ตอ่ โครงการสหกิจศึกษา
อิทธิพลต่อความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษาของนักศึกษามาก ที่สุด รองลงมา ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การฝึกฝนการใช้ดุลยพินิจ ในการตัดสิ น ใจ การพั ฒ นาฝี มือ ความถนั ด ความรู้ ความสามารถ ความ ชานาญ ทัศนคติและบุคลิกภาพ และการเรียนรู้และลดการเสี่ยงอันตรายที่ เกิดจากการทางาน ตามลาดับ โดยเมื่อรวมทุกปัจจัยเข้าด้วยกันแล้ว พบว่า สามารถอธิบายความผันแปรของความพึงพอใจในการเข้าร่ วมโครงการสหกิจ ศึกษาของนักศึกษาได้ถึงร้อยละ 99.8 ผลการศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการเข้าร่วมโครงการ สหกิจศึกษา นั ก ศึ ก ษามี ปั ญ หาในเรื่ อ งการไม่ ได้ รั บ ค่ า ตอบแทนในการเข้ า ร่ ว ม โครงการสหกิ จ ศึก ษา หรื อ ได้ รั บ ค่ าตอบแทนแต่ ไม่ เพี ย งพอต่ อ ค่าใช้ จ่ ายที่ เพิ่มขึ้น นอกจากนั้น นักศึกษายังมีปัญหาในเรื่องของความพร้อมสาหรับการ เข้ าร่ ว มโครงการสหกิจ ศึ กษา ซึ่ งนั ก ศึ กษามีค วามพร้อ มในด้ านวิช าการไม่ เพียงพอ หรือไม่สามารถนาความรู้ที่มีไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน รวมทั้ง ขาดความพร้อมในด้านอื่น ๆ ที่เป็นองค์ประกอบสาคัญในการปฏิบัติงาน อาทิ เช่น การสื่อสาร ความอดทน และความรอบรู้ในระบบงาน
มุมมองของนักศึกษายุคใหม่ตอ่ โครงการสหกิจศึกษา
11
ข้อเสนอแนะ ควรมีการสร้างความร่วมมือในด้านต่าง ๆ มีการสร้างเครือข่ายสหกิจ ศึกษาระหว่างสถานประกอบการและมหาวิทยาลั ย ควรมีการศึกษาความ พึงพอใจของนักศึกษาในภาพรวมทุกมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นข้อมูลให้แก่ภาครัฐ นาไปพิจารณาหาวิธีการกระตุ้นให้สถานประกอบการรับนักศึกษาสหกิจศึกษา เข้าไปปฏิบั ติงานเพิ่ มเติม ควรมีการศึกษาเปรียบเที ยบความพึ งพอใจของ นั ก ศึ ก ษาในสาขาวิ ช าที่ แ ตกต่ า งกั น เพื่ อ น าไปปรั บ ปรุ ง การท างานของ หน่วยงานสหกิจศึกษาของแต่ละคณะ ควรมีการกระตุ้นให้สถานประกอบการ ตระหนั ก ถึ งบทบาทในการพั ฒ นาเศรษฐกิ จ สั งคม และประเทศชาติ ผ่ า น โครงการสหกิจศึกษา รวมทั้งควรมีการรวบรวมปัญหาและข้อเสนอแนะต่าง ๆ และนาเสนอต่อภาครัฐ เพื่อร่วมกันหาวิธีแก้ไขและสนับสนุนโครงการสหกิจ ศึกษาต่อไป
12
มุมมองของนักศึกษายุคใหม่ตอ่ โครงการสหกิจศึกษา
บรรณานุกรม ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2543). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
มุมมองของนักศึกษายุคใหม่ตอ่ โครงการสหกิจศึกษา
13
ประวัติผู้เขียน ชื่อ-นามสกุล ดร. เขมมารี รักษ์ชูชีพ ตาแหน่งปัจจุบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ที่ทางาน สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 39 หมู่ 1 ถนนรังสิต-นครนายก ตาบลคลองหก อาเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12110 ประวัติการศึกษา Ph.D. (Development Administration) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ M.A. (การสื่อสารและการจัดการธุรกิจ) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ศศ.บ. (การคลังสาธารณะ) มหาวิทยาลัยรามคาแหง สาขาวิชาการที่มีความชานาญพิเศษ การจัดการ เศรษฐศาสตร์ บริหารรัฐกิจ
คณะกรรมการวิชาการพิจารณาเอกสารเผยแพร่ความรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี รองศาสตราจารย์ ดร. อัญชลี สงวนพงษ์ นายประชุม คาพุฒ รองศาสตราจารย์ ดร. คารณ สิระธนกุล นางบรรเลง สระมูล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อัญชลี สวาสดิ์ธรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมจิตร ถนอมวงศ์วัฒนะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อ้อยทิพย์ ผู้พัฒน์ ดร. เฉลียว หมัดอิ๊ว รองศาสตราจารย์วสันต์ กันอา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วันชัย ประเสริฐศรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภา ทองคง รองศาสตราจารย์ ดร. อุษาพร เสวกวิ รองศาสตราจารย์ ดร. สุวรินทร์ ปัทมวรคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฐวรรณ คุปพิทยานันท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จตุพร เผ่าพงษ์ไทย รองศาสตราจารย์มานพ ตันตระบัณฑิตย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จักรี ศรีนนท์ฉัตร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วารุณี อริยวิริยะนันท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. บุญเรือง สมประจบ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นิศากร สิงหเสนี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พนิดา สมประจบ นายเกษียร ธรานนท์
ผู้อานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา รองผู้อานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา คณะครุศาสตร์อตุ สาหกรรม คณะครุศาสตร์อตุ สาหกรรม คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะศิปกรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
คณะผู้จัดทา ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ
อธิการบดี
คณะทางาน ฝ่ายอานวยการ รองศาสตราจารย์ ดร. อัญชลี สงวนพงษ์ นายประชุม คาพุฒ
ผู้อานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา รองผู้อานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา
ฝ่ายเนื้อหา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เขมมารี รักษ์ชูชีพ
คณะบริหารธุรกิจ
ฝ่ายศิลป์ และจัดพิมพ์ นางสุทธิศรี ม่วงสวย นางสาวศศิวรรณ อินทรวงศ์ นางสาวนิธิมา อินทรสอาด นางสาวพรทรัพย์ ถนัดไร่ จัดพิมพ์โดย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เลขที 39 หมู่ 1 ถนนรังสิต-นครนายก ตาบลคลองหก อาเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12110 โทรศัพท์ : 0 2549 4683 โทรสาร : 0 2577 5038 website : http://www.ird.rmutt.ac.th E-mail : ird@rmutt.ac.th พิมพ์ที : บริษัท ยูโอเพ่น จากัด โทรศัพท์/โทรสาร : 0 2617 6834