Arunothai3rd_of2012

Page 1


จิ๊บ อักษรดี :เรื่อง ภาพประกอบจากหนังสือ “โยคะสีชมพู” โดย วลัยพัชร อักษรดี

ปุ่มยืดสารพัดนึกใกล้เท้าคุณ ไม่รู้เหมือนกันว่าแต่ละคนจะสนใจตำนานเรื่องเล่าต่างๆ มากขนาดไหน แต่ที่รู้ๆ ตำนานที่เหมือนจะฟังสนุกอย่างเดียวเหล่านี้ มีอะไรซุกซ่อนอยู่ให้น่าประหลาดใจได้ทุก ครั้ง หลายคนคงเคยได้ยินตำนานของนักรบผู้กล้าแห่งเมืองทรอยที่มีชื่อว่า ‘อคิลิส’ (Achilles) กันแล้ว นักรบคนนี้มีชื่อไปแปะอยู่ที่เหนือส้นเท้า เรียกเก๋ๆ ว่า Achilles Tendon (ภาษาไทยเรียกว่า “เอ็นร้อยหวาย”) ใครจะเรียกเส้นเอ็นบริเวณนั้นก็ต้อง กล่าวชื่อผู้กล้าคนนี้ทุกที ที่เส้นเอ็นตรงข้อเท้านี้ได้ชื่อตามอคิลิสก็เป็นเพราะแม่ของเขาอยากจะให้ลูก แข็งแรงและปลอดภัยจึงจับเขาไปจุ่มลงในแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ ทำให้อคิลิสคงกระพันฟันไม่ เข้ายิ่งกว่าสักยันตร์อาจารย์หนู เว้นก็แต่ส่วนที่แม่จับไว้ก็คือข้อเท้านั่นเอง เอ็นที่มีพื้นที่ เพียงน้อยนิดหลังข้อเท้านี้ มีบทบาทในการเคลื่อนไหวของร่างกายมนุษย์เราอย่างไม่น่า เชื่อ สมมติถ้ามนุษย์คนนึงไม่มีเอ็นอคิลิสนี้ จะไม่สามารถเขย่งได้ นอกจากนี้จะทำให้วิ่ง ช้าลงกว่าเดิม 80 เปอร์เซ็นต์ทีเดียว! ถ้าเป็นจริงอย่างนั้นขึ้นมาสัตว์ประหลาดบุกเมือง เมื่อไหร่ คงวิ่งหนีกันไม่ทันเป็นแน่ ประโยชน์ของเจ้าเอ็นอคิลิสนี้ไม่ได้มีไว้เพื่อไทยมุงหรือเพื่อวิ่งเปี้ยวงานกีฬาสี เท่านั้น แต่ยังเป็นตัวปรับระดับความยืดได้อย่างตามใจนึกเวลายืดกล้ามเนื้อขาด้านหลัง ใครจะไปคิดว่าร่างกายเราจะมีปุ่มยืดสารพัดนึกนี้อยู่ด้วยแต่อคิลิสเขาจัดให้จริงๆ เพื่อให้ เข้าใจอย่างเข้าเส้น (เอ็น) ไปลองดูการใช้งานเอ็นนี้ในท่าโยคะตัวอย่างสักท่าหนึ่ง ท่านั่ง ก้มตัว (paschimottanasana) ในท่านี้เราจะนั่งยืดขาทั้งสองข้างไปข้างหน้าและพับตัว แนบลงไปกับขา และก็แน่นอนค่ะ สำหรับหลายๆ คนคำว่า “ตัวแนบขา” นั้นฟังดู เหมือนหนัง sci-fi ที่ห่างไกลจากความจริงอยู่หลายขุม ในกรณีนี้จิ๊บแนะนำให้กดปุ่ม “ยืดเบาๆ” ที่เอ็นอคิลิสค่ะ เวลาอยู่ในท่านั่งก้มตัวนี้ให้เหยียดปลายนิ้วเท้าไปข้างหน้า และจะรู้สึกว่ายืดได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมหนึ่งหน่วย

อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 3

|2


ในทางตรงกันข้าม ถ้าคนไหนฝึกโยคะมานานจนรู้สึกว่าท่านี้นั้นง่ายซะเหลือเกิน เอาท้องแนบขาก็แล้ว หน้าแนบหน้าแข้งก็แล้ว ครูยังไม่บอกให้เปลี่ยนท่าสักที แบบนี้ก็สามารถกดปุ่ม “จัดหนัก” ได้เลย! ขณะที่ยืดตัวแนบไปกับขา ให้กระดกเท้าเข้ามาจนส้นเท้าชิ้ ออกไปส่วนนิ้วเท้าชี้เข้ามาหาตัว รับรองว่ากล้ามเนื้อขาด้านหลังจะได้ยืดแบบไม่เคยได้ยืดมาก่อน! ส่วนคนที่ต้องการเดินทางสายกลางก็เลือกตำแหน่งระหว่างทั้งสองขั้วตามใจในแต่ละวันได้เลยค่ะ และก็เหมือนกับปุ่มปรับพัดลมใช่ไหมคะ เราก็ต้องเลือกใช้ให้เหมาะกับความรู้สึกของร่างกายในแต่ละวัน พัดลมคงจะไม่น่า ใช้เท่าไหร่ถ้ากดได้แค่เบอร์เดียว การฝึกโยคะก็เหมือนกันค่ะ อย่าทำเหมือนกันทุกวันโดยไม่คิดก่อนเพราะนั่นเป็นสิ่งหนึ่งที่ซุกซ่อนอยู่ ในตำนานผู้กล้าอคิลิสค่ะ ชื่อ Achilles มาจากรากศัพท์สองคำผสมกัน คือ akhos ที่แปลว่า “ความโศกเศร้า” และ Laos (เหมือนประเทศลาว นั่นแหละ) ที่แปลว่า “ผู้คน ชาติ หรือ เผ่าพันธุ์” หาก Achilles ใช้พลังอำนาจของเขาในทางที่เหมาะสม ความโศกเศร้าก็จะอยู่กับ ชาติที่เป็นศัตรู แต่ถ้าเขาใช้พลังอำนาจในทางที่ผิดละก็คนของเขาเองจะต้องเสียน้ำตา ดังนี้แล้วฟังเสียงร่างกายให้ชัดซะก่อนที่จะเลือกกดปุ่มยืดสารพัดนึกใกล้เท้าคุณ!

แนะนำหนังสือ ‘ ศาสตร์และศิลป์แห่งโยคะ ’ ศาสตร์และศิลป์แห่งโยคะ ฉบับพิมพ์ใหม่เป็นครั้งที่ 3 โดยสถาบันโยคะวิชาการ ผลงานการเขียนของ ดร. เอ็ม. แอล. ฆาโรเต แปลจากหนังสือชื่อ Yogic Techniques โดย วีระพงษ์ ไกรวิทย์ และจิรวรรณ ตั้งจิตเมธี ผู้เขียนได้ย่อยสาระเทคนิคการปฏิบัติของ หฐโยคะเป็นบทความสั้นๆ รวบรวมเป็นหนังสือเล่มนี้ แบ่งเนื้อหาออกเป็น 8 บท 8 หัวข้อ ซึ่งเป็นรากฐานของหฐโยคะ คือ โยคะในมุมมองทางประวัติศาสตร์, โยคะและปรัชญา, อาสนะ : มุมมองที่ลึกซึ้ง, กริยาหรือการชำระร่างกายให้สะอาด, ปราณายามะ, เทคนิคที่ เอื้อและเสริมต่อการฝึกปราณ เช่น มุทราและพันธะ, “นาทานุสันธานะ” (สมาธิจากการฟัง เสียงภายใน) และบทสุดท้ายคือ คำแนะนำและข้อควรระวังในการฝึกโยคะ หนังสือเล่มนี้ ยังมีภาคผนวก คำศัพท์ต่างๆ เกี่ยวกับโยคะที่พบบ่อย รวมทั้งการสะกดคำเป็นภาษาไทย ที่ตรงกับหลักภาษา ช่วยให้ผู้ที่สนใจโยคะสามารถสะกดคำศัพท์ได้ตรงตามหลักวิชา ราคาเล่มละ 150 บาท จำนวน 160 หน้า ติดต่อซื้อได้ที่คุณสุจิตฎา วิเชียร สถาบันโยคะวิชาการ โทร. 02-732-2016-7, 081-4017744 อีเมล lookjeabtale@hotmail.com

อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 3

|3


อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง : เรื่องและภาพ

เส้นทางชีวิตและการเรียนรู้ของนักโยคะบำบัด

‘เอกชัย สถาพรธนพัฒน์’

หากใครก็ตามมีโอกาสได้เห็นชายคนนี้ขณะทำงาน คงจะรู้สึกอดที่จะทึ่งและชื่นชมกับความมุ่งมั่น ทุ่มเทและตั้งอก ตั้งใจ ‘เยียวยา’ ของเขาไม่ได้ น้ำเสียง สายตา มือไม้ที่ใช้จับชีพจรหรือบีบนวดคลึงไปตามเส้นแขนขาของผู้ป่วย ทำให้ เราเชื่อว่าสิ่งที่เขาลงมือทำนั้นคงจะช่วยให้ “หายป่วย” ได้จริงๆ เอกชัย สถาพรธนพัฒน์ หรือ “ครูเล็ก” นิยามตัวเอง ว่าเป็น “นักโยคะบำบัด” หรือ Yoga Therapist ทุกวันนี้เขา ทำงานอยู่ที่โรงพยาบาลนครธน สอนโยคะที่สถาบันโยคะวิชาการ Budharas Yoga และที่บ้านของตัวเอง เริ่มเดินมาบนเส้นทาง สายโยคะตั้งแต่วัยเรียน จากนั้นความสนใจที่จะรู้ให้ลึกและจริง ได้นำเขาไปพบกับโยคะจาก “โยคะบ้านภายใน” สถาบันโยคะ วิชาการ กระทั่งไปเรียนครูโยคะจากอินเดีย สิ่งที่เขาเรียนและรู้ นั้นเรียกได้ว่าเป็นสหวิทยาการ และสั่งสมมาจากความกระหาย ใคร่รู้ในตัวเองก็ไม่น่าจะผิดนัก

• อยากให้เล่าถึงพื้นฐานครอบครัวให้ฟังหน่อย ลืมตาดูโลกจำความได้ว่าพ่อแม่เหนื่อยมาก เพราะพ่อทำงานซีพี เป็นผู้ช่วยคุณธนินทร์ เจียรวนนท์สมัยรุ่นบุกเบิก ก็จะไม่ค่อยได้ คลุกคลีกับพ่อสักเท่าไร เพราะพ่อไปต่างประเทศทีก็จะไปยาว ก็ เลยค่อนข้างจะใกล้ชิดกับแม่มากกว่า และพ่อก็มีบุคลิกของความ เป็นนักบริหารเฉียบขาดก็จะมีความกลัวเกรงพ่อ มีพี่น้องสามคน ผมเป็นคนเล็ก พี่สาวคนโตเป็นออทิสติก และพี่ชายที่มีความเป็น อาร์ติสสูงมาก มีโลกส่วนตัวสูง สภาพมันเลยบังคับให้ผมมีความ เป็นลูกคนโตตั้งแต่เด็กโดยปริยาย ซึ่งก็แปลกเหมือนกันเพราะว่า เลี้ยงดูปลูกฝังเหมือนกันหมด

อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 3

|4


ตอนเล็กๆ เริ่มตั้งคำถามว่า “จริงๆ แล้วสาระของชีวิต คืออะไรบ้าง” เพราะว่าแม่ก็ทำงาน เราอยู่ตึกแถว ข้างล่าง ชั้นหนึ่งชั้นสองเป็นโรงงานที่แม่ทำโรงงานกระเป๋า ชั้นสามเป็น บ้านที่พวกเราอยู่กัน ความที่ห้องนอนที่ผมกับพี่ๆ อยู่ตรงกับ ระเบียงด้านนอกที่พ่อแม่ก็จะคุยกันตอนกลางคืน เราก็จะได้ยิน เสียงพวกเขาคุยกันเรื่องเงินเรื่องหนี้เรื่องงานทุกคืน เลยทำให้เรา โตเร็วกว่าวัย ทำให้เราคิดว่าจริงๆ แล้วผู้ใหญ่เขามีความสุขกับ เรื่องอะไร และรู้สึกว่าเราอยากจะมาแบ่งเบาภาระเขาให้ได้มาก กว่านี้ เริ่มตั้งคำถามกับชีวิตอายุ 5 - 6 ขวบ เป็นเด็กช่างถาม พูด เยอะ ถามเยอะ ถามกับทุกอย่าง พอเข้าไปเรียนประถมหนึ่งเราไปเจอครูประจำชั้นคน แรกในชีวิตเรา ซึ่งเป็นครูผู้หญิงที่มีอายุมากแล้วก็มีบุคลิกอย่าง หนึ่งคือเป็นคนที่อารมณ์รุนแรงมาก ใช้ความรุนแรงกับเด็กเยอะ มาก ซึ่งเราเป็นเด็กอายุหกขวบ ตีแบบไม่บันยะบันยัง ผมเองโดน เยอะที่สุด เหมือนเขาเป็นเจ้ากรรมนายเวรเรา ทำให้เรารู้สึกว่า เราทำผิดอะไรต้องมาเจอการทำโทษแบบนี้ ตอนนั้นเราก็ไม่ตั้ง คำถาม จนกระทั่งเราโตเป็นผู้ใหญ่มองย้อนกลับไปเรา ถึงได้ เข้าใจว่าเป็นอาการทางประสาทอย่างหนึ่งซึ่งมันก็คือควรจะเจอ กับนักเยียวยา เพราะว่าประวัติแกเคยเจอสามีถูกไฟช็อตตายต่อ หน้าต่อตา ซึ่งทำให้เราเกิดความรู้สึกสองอย่างในวัยเด็กคือเป็น คนที่รู้สึกกลัวเกิดขึ้นบ่มเพาะในใจโดยที่เราไม่รู้ตัว ทำให้เราเป็น คนผวาง่ายในวัยเด็กๆ กลัวกับการที่จะต้องมีผู้ใหญ่แบบนี้เข้ามา ซึ่งความรู้สึกตรงนี้มันมีผลกับการมาเป็นนักเยียวยา นักโยคะ บำบัด จนกระทั่งเราเข้าสู่วัยรุ่นก็มีความรู้สึกถึงการแสวงหา มากขึ้น อยู่สัก ป. 3 ถึง ป.5 ผมก็เริ่ม เริ่มหาหนังสือพระหนังสือ ธรรมะมาอ่าน ลึกๆ เหมือนเราพยายามหาอะไรมาป้องกัน ตัวเองแล้วรู้สึกว่า คนคนนี้คือพระพุทธเจ้าที่อยู่หน้าปกหนังสือ ช่วยเราได้ พ่อกับแม่ตั้งฉายาให้กับเราว่าพระสังกัจจายน์ เพราะ อ้วนมาก แม่บำรุงเต็มที่ด้วยยาจีน จริงๆ แล้ว ตระกูลของแม่ เป็นตระกูลหมอยาจีน คุณตาเป็นหมอจีนมาจากเมืองจีนแล้วตั้ง ร้านยาโรงหมอที่เยาวราช คุณตาหรืออากงจะเก็บเงินเฉพาะคน มีเงิน คนจนมาจะไม่เก็บเงินแต่รักษาฟรี เป็นเหมือนโรลโมเดล เราคนหนึ่ง ตอนเด็กๆ พ่อจะพยายามปลูกฝังเรื่องการอ่านหนังสือ พ่อก็ชอบอ่านหนังสือ พาลูกไปร้านหนังสือ ผมก็จะไป

ที่มุมศาสนา ปรัชญา ประวัติศาสตร์ ซึ่งแปลกกว่าเด็กคนอื่นๆ ซื้อมาแต่ละเล่มพ่อก็ดุว่าอ่านทำไม ยังเด็กอยู่ แต่เราอยากศึกษา พวกนี้ รู้สึกว่านี่คือเครื่องมือที่จะพาเราไปหาคำตอบที่เราตั้งคำ ถามอยู่ว่าทำไมผู้ใหญ่ไปทำงาน มีตำแหน่งอย่างพ่อมีอะไรทุก อย่างได้รับการยอมรับทุกอย่าง แต่ทำไมไม่มีความสุข กับเพื่อนในช่วงประถมค่อนข้างโอเคเล่นกัน แต่ที่จำได้ คือจะถามอะไรแปลกกว่าชาวบ้านหรือตั้งคำถามกับครูที่สอนเรา แต่ตั้งในใจ ไม่กล้าถามออกมา • ตอนโตขึ้นกลับไปเรียนทางด้านกฎหมาย ตั้งแต่เด็กเลยผมก็โดนฝังหัวว่าพอเรียนจบต้องมาช่วยกิจการที่ บ้านนะตลอด พอถึงจุดที่ต้องเอ็นทรานซ์จริงๆ ก็มาตั้งคำถามว่า ต้องทำด้วยเหรอ มันไม่ใช่สิ่งที่เป็นตัวเราหรือความชอบของเรา แล้วมันจะมีความสุขเหรอ พอเอ็นฯ ไม่ติด ก็เลยไปเรียนนิติ ศาสตร์จากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยด้วยเหตุผลเพียงว่าเป็น เรื่องสายสังคมศาสตร์ น่าจะทำงานช่วยเหลือสังคมได้ตามสมควร พอเข้ามหาลัยไปก็ไม่เรียนเหมือนเดิม ไปเป็นประธานชมรมและ นักดนตรีของมหาลัย ทำกิจกรรม ทำชมรมต่างๆ ผมไปเจอครู ชาวจีนที่สอนเต๋าและมวยจีนให้ผมโดยบังเอิญที่สวนหลวง ร.9 ซึ่งแปลกมากที่เขาพูดภาษาจีน แต่ผมฟังรู้เรื่อง มันเหมือนกับเป็น การสื่อสารผ่านทางอวัจนะภาษา ซึ่งเต๋ามันคือเรื่องของภาพรวม องค์รวม โดยที่ผมปฏิบัติผ่านกาย แล้วมันลงมาสู่จิตสำนึก ซึ่งพอ ไปเรียนนิติศาสตร์แล้วเรียนได้ง่ายมาก ถ้าเข้าใจเรื่ององค์รวม เรื่องกระบวนการของมัน ไม่ต้องท่องเลย เรียนได้ง่ายมาก ผมก็ เลยไม่เข้าห้องเรียน แล้วก็อ่านหนังสือเอง ไปทำกิจกรรม ไปเล่น ดนตรีก็จบตามระยะเวลา อีกนิดเดียวได้เกียรตินิยมด้วย ประหลาดมาก • จากการตั้งคำถามในชีวิตวัยเด็ก แล้วการก่อตัวของการเป็นนัก เยียวยาต่อมาได้อย่างไร ช่วงที่เรียนอยู่ปีสอง ผมได้เจออาจารย์เกียรติวรรณ อมาตยกุล ผมเคยไปเจอหนังสือท่านก่อน ท่านมาบรรยายทีซีพี ผมก็ไปฟังท่านสอนเรื่องสมาธิแนวนีโอฮิวแมนนิส พอบรรยาย เสร็จปุ้บ ผมก็เดินเข้าไปหา บอกว่าอยากจะเรียนกับอาจารย์ แก ก็ขอจับมือเราแล้วก็อ่านคลื่นเรา แล้วก็บอกว่าให้มาเรียนได้ ผมก็ เลยเรียนมวยจีนกับโยคะมาด้วยกัน

อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 3

|5


พออยู่ปีสามช่วงปิดเทอมอายุ 20 แล้วก็เลยขอไปบวช รู้สึกอยากบวช แต่ตอนแรกพ่อไม่ให้ เพราะกลัวว่าเราจะไม่สึก แต่เราก็รับปากว่าจะสึก บวชอยู่เดือนครึ่ง ไม่ถึงพรรษา ได้เห็น อะไร เจออะไรเยอะมาก แม้จะมีเวลาน้อยแต่ก็ได้ฝึกปฏิบัติ สอนเรื่องการดูจิต สอนเรื่องเมตตาภาวนาให้กับเรา ไปธุดงค์กับ พระรุ่นพี่กับหลวงพ่อที่มีประสบการณ์เยอะ การที่ลูกผู้ชายในวัย ยี่สิบเติบโตในเมืองหลวงไปอยู่ในป่า ความเป็นอยู่ก็ไม่เหมือนกับ ที่เราเคยอยู่ เป็น อะไรที่สุดยอดมาก มันเป็นโลกแฟนตาซีของเรา เข้าใจแล้วว่า ทำไมพระถึงต้องออกไปธุดงค์ ทำไมพระจะต้องไป แสวงหาความสงบสงัดในป่าในธรรมชาติ ผมเห็นเรื่องของศักย ภาพภายในของเราบางอย่าง วัดที่อยู่เป็นวัดที่ไม่มีไฟฟ้า มันจะ มีเรื่องของความตายหรือมรณานุสติให้ต้องพิจารณาตลอดเวลา เช่น การไปนั่งสมาธิบนโลงศพโดยที่มีรูปและเจ้าของศพให้ดูตรง นั้นด้วยชื่อ บรรยากาศหนังผีทุกเรื่องที่เคยดูมาชิดซ้ายหมด คืน นั้นที่อยู่กับศพ ผมได้อะไรเยอะมากที่ได้เอามาใช้กับการเยียวยา ผู้ป่วยครั้งสุดท้ายหรือเวลาที่จัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับความตาย จากที่เราเคยตั้งคำถามว่าความสุขของชีวิตอยู่ที่ตรงไหน มันมา อยู่ที่ตรงนี้ กับโลงศพแค่กว้างศอกหนาคืบพื้นที่เล็กๆ ที่คุณสะสม มาทั้งชีวิต สุดท้ายมันมาสิ้นสุดอยู่ที่ตรงนี้ สิ่งที่อยู่ในโลงกับสิ่งที่ อยู่นอกโลง คือพวกดินในป่า ก็ไม่ได้ต่างกัน สิ่งที่มันต่างอย่าง เดียวคือเรื่องของจิตวิญญาณที่อยู่ข้างใน ว่าเราจะชำระมันให้ได้ สะอาดสวยงามแค่ไหน เมื่อคิดได้อย่างนี้เราก็ไม่กลัว คิดได้ ตอนนั้นเลย เรามาเพื่อเจริญเมตตาให้กับเขา ตอนนั้นเราก็ไม่รู้ว่า มันมีเรื่องของการเป็นนักเยียวยานักบำบัดอยู่ รู้แต่ว่าถ้าเลือกได้ ว่าเราอยากทำงานแบบนี้ ไม่ใช่จบกฎหมายแล้วไปเป็นทนาย อีกปีหนึ่งต่อมาผมประสบอุบัติเหตุ เป็นจุดเปลี่ยนใหญ่ ผมเล่นกีฬากับเพื่อนในมหาลัยแล้วผมหกล้ม เล่นบาสเกตบอล ผมล้มแล้วลุกขึ้นมาไม่ได้ กระแทกอะไรไม่รู้เราจำไม่ได้ แต่ลุกขึ้น มาไม่ได้ มันเจ็บมากก็ถูกนำส่งโรงพยาบาล หมอก็ไปตรวจ เอ็กซ์เรย์ทุกอย่าง ตอนนั้นเรียนปีสี่เทอมสุดท้ายอีกไม่กี่อาทิตย์ จะสอบ final เพื่อจบ เราก็กังวลว่าจะได้สอบไหม ด้วยความที่ เป็นลูกที่ช่วยเหลืองานที่บ้านเยอะ ใช้แรงช่วยยกของ ทำนั่น ทำนี่เยอะ เป็นคนแข็งแรงมาก เราก็คิดว่าถ้าเราจะต้องนั่งรถเข็น พิการทั้งชีวิต ใครจะช่วยแม่ยกของ คิดสารพัดต่างๆ นานา อาการคือหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทแบบฉับ พลันซึ่งส่วนใหญ่อาการจะเกิดจากความเสื่อม แต่ของผมเกิดจาก

อุบัติเหตุ แต่หมอบอกว่าอาการรุนแรงมาก แนะนำให้ผ่าตัด ก็ เกือบผ่าแล้ว ถ้าหมอไม่พูดจาแย่ๆ กับผม ผมก็ถามหมอว่า ถ้าผ่า แล้วผมจะใช้ชีวิตได้เหมือนเดิมไหม ผมจะเล่นกีฬาได้ไหม หมอ กลับตอบว่า เล่นได้ เล่นหมากรุก ผมรู้สึกเลยว่าผมไม่อยากให้ หมอคนนี้ผ่าผม ผมรู้สึกว่าหมอไม่เคารพความรู้สึกของผู้ป่วย ผม ก็ถามหมอว่าถ้าผ่าแล้วมันจะมีเอฟเฟ็คท์อะไรกับชีวิตผมไหมหรือ จะกลับมาเป็นอีกไหม เพราะผมเพิ่งจะอายุ 20-21 ผมต้องใช้ ชีวิตอีกหลายสิบปี แต่ต้องมาผ่าเอากระดูกชิ้นนั้นที่มันหลุดออก มาเอาออกไป ซึ่งผมพยายามถามว่าเอากลับเข้าไม่ได้เลย หมอก็ บอกว่าไม่ได้เพราะมันเสียแล้ว ถ้าไม่ผ่า วิธีอื่นๆ ก็มีแต่ค่าใช้จ่าย เป็นแสนและวิธีการสยองทั้งนั้น เราก็รู้สึกว่าแล้วคนสมัยก่อนล่ะ ถ้าเกิดอาการแบบผมนี้เขาอยู่ได้อย่างไร จะรักษาตัวกันอย่างไร แล้วถ้าเราไปหาวิธีการแบบโบราณล่ะ วิธีทางเลือกเราก็เลยบอก หมอว่าขอคิดดูก่อน คืนนั้นนอนอยู่คนเดียว เกิดความคิดขึ้นมา ว่า ถ้าเราซึ่งเป็นแบบนี้ พ่อแม่เราก็มีเงินที่จะผ่าตัดเราได้ แล้วถ้า คนที่ไม่มีเงินล่ะ เขาจะใช้วิธีรักษาแบบไหนหรือคนที่ป่วยเป็น หนักกว่านี้ ป่วยเป็นอัมพาต ไม่สามรถเคลื่อนไหวหรือใช้ชีวิตได้ ตามปกติ ตอนนั้นมันน้ำตาไหล รู้สึกสงสารคนที่อาจจะเป็นมาก กว่าเรา เราเป็นแค่นี้เองนะ ความทุกข์เรามันน้อยมากเมื่อเทียบ กับอีกหลายๆ คน เราคงไม่สามารถหาเงินเป็นหมื่นเป็นแสนเพื่อ เอาไปเยียวยา คงจะต้องมีวิธีอะไรบางอย่างในการจัดการตัวเอง ได้ ผมตั้งคำถามว่าคนที่ล้มเหมือนเราก็มีมากมายแต่ทำไม

อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 3

|6


มีแค่เราที่ล้มแล้วเป็นแบบนี้ ปัจจัยไม่ได้อยู่ที่ การล้มแล้วต้องเป็น อะไรบางอย่างของที่อยู่ข้างในเราที่เสีย เพราะฉะนั้นต้องเข้าไป ค้นหาดู ผมก็ตั้งใจว่าจะต้องหายให้ได้ ถ้าหายได้เราจะมาช่วยกัน เราก็ตั้งใจเลยอธิษฐานกับตัวเอง ผมจำได้ตอนที่ผมเรียนมวยจีนกับครู ครูเคยสอนเรื่อง การเดินลมปราณเพื่อการสร้างพลังของไขกระดูก คืนนั้นผมก็ นอนทำไป เดินพลังไป ทั้งๆ ที่การเดินพลังเป็นวิชาที่ผมขี้เกียจ ฝึกที่สุด เพราะจะต้องใช้เวลามาก แต่เราก็ลองขุดวิชามาฝึกดู ก็นอนเดินลมปราณไล่ไปเรื่อยๆ เราใช้จิต เพราะว่าตามหลักการ ของปราณจิตของเราอยู่ที่ไหน ปราณของเราจะไปอยู่ที่นั้น ใช้วิธี นั้นไปเรื่อยๆ ตอนนั้นตั้งใจว่า ถ้าเราค้นพบวิธีการในการเยียวยา ทางเลือก เราจะขออุทิศชีวิตนี้ช่วยเหลือผู้คนที่เจ็บป่วยหรือมี ความทุกข์ ปาฏิหาริย์ก็เกิดขึ้น รุ่งเช้า ลุกขึ้นมานั่งเองได้ แล้วลง มายืนแล้วเดินได้แบบขยับ ค่อยๆ ก้าวไปได้ หมอก็บอกว่าเป็น เพราะทำกายภาพแล้วหาย แต่เรารู้ดีไม่ใช่ ผมก็ใช้วิธีนี้ใช้จิต ใช้ความเชื่อ ใช้การเดินลมปราณไปเรื่อยๆ สลับกับมาทำกายภาพ ที่โรงพยาบาล แม่จะหายกังวลแล้วก็ทานยาที่หมอให้ อาการมัน ดีขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ไม่ได้หายขาด ผมก็กลายเป็นคนที่ไม่สามารถยก ของหนักได้ วิ่งไม่ได้ ก้มตัวไม่ได้ จากเรื่องนี้ทำให้เห็นความเจ็บ ปวดในมิติที่ลึกลง ก็ตั้งใจว่าจะต้องหาทางเลือกในการเยียวยา ตัวเอง รู้สึกว่าหมอแผนปัจจุบันไม่ใช่ที่พึ่ง รู้สึกว่าอยากใช้ร่างกาย นี้เป็นห้องเรียน ก็เริ่มค้นคว้าศึกษาจากคนที่เรารู้จัก เขาก็แนะนำ ให้ไปครูคนนั้น เจอทั้งหมอคนนั้น เจอทั้งหมอจีน หมอแผนไทย เจอกระทั่งสิบแปดมงกุฏก็เจอมาหลอกขายยา แต่ยังไม่ตอบ โจทย์เราสักคนหนึ่ง ตอนนั้นผมก็เรียนจบได้งานทำ งานแรกที่ทำเป็นนิติกร ศาลอยู่สาทร ไปทำงานด้วยรถไฟฟ้า ศาลมีสามชั้นเดินขึ้นลง บันได งานที่ทำไม่ใช่งานตั้งโต๊ะ เดินไปเดินมา แบกเอกสารอยู่ หน้าบัลลังก์ เหมือนเป็นเลขาฯ ของศาล คอยประสานงาน ระหว่างอัยการ ทนาย แบกเอกสารคดีเป็นลังๆ บางทีกลับบ้าน ไปอาการ กำเริบก็นอน แต่ก็ไม่ไปหาหมอแผนปัจจุบันเลย พอมี อาการปุ้บ ผมก็ค้นหาความรู้จากครูเต๋า ฝึกชี่กงการรำมวยจีน เดินลมปราณผ่อนคลายตัวเองไป แต่มันก็แค่คลายไปชั่วหนึ่ง จนกระทั่งมีสุภาพสตรีคนหนึ่งเป็นผู้ใหญ่ที่เรารู้จัก แนะนำให้ไปเจอหมอแผนไทยชื่อหมอพรชัย เป็นหมอจับเส้นที่ เก่งมาก อายุมากแล้ว หกสิบกว่า อยู่แถวฝั่งธนฯ

แกใช้เวลากับผมแค่ไม่เกินสามนาที หัวถึงเท้า เร็วมากผมมอง ตามไม่ทัน จับเส้นแป้บเดียว การที่ผมเก็บสะสมอาการนี้มาเป็น ปีๆ หลายปีกว่าจะได้เจอหมอคนนี้ ระหว่างนี้ผมก็ประคองตัวมา เรื่อยๆ แต่รู้ตัวเองว่าข้างในไม่ปกติ พอไปเจอหมอพรชัย จากที่ไม่ กล้าก้มตัวมาเป็นปีๆหมอรักษาให้แล้วก็ท้าให้ลองก้มดูสิ ก้มปุ้บ มือแตะพื้นได้ ดีใจมาก เอ่ยปากเลย อาแปะ เขาเป็นคนจีนพูด ไทยไม่ชัด พูดจาโผงผางเฮฮาเสียงดัง พูดมึงกู ดุๆ เราก็ถาม “อาแปะ รับลูกศิษย์เปล่า” แกก็มองหน้าเรา มึงเรียนไม่ได้หรอก ถ้ามึงจะเรียนมึงจะต้องเป็นลูกเขยกู กูสอนเฉพาะคนในตระกูล (หัวเราะ) คงเป็นกฎวิชาของตระกูล ไม่สอน แต่บอกว่าให้เรามา รักษาบ่อยๆ ไปครั้งหนึ่ง 300 บาท แต่ก็ยอมเพราะอยากหาย หมอก็แอบสอนให้เรามาเรื่อยๆและก็เมตตาเราพอสมควร คง ถูกโฉลกอะไรสักอย่าง

• ได้เรียนรู้อะไรบ้างจากหมอพรชัย จิตใจคนเป็นหมอ ถึงจะเป็นคนกระโชกโฮกฮากแต่ความ เมตตาสูงมาก คนมารักษาเยอะแกบอกไม่ต้องจองคิว คิวเยอะ มาก แต่ก็จะคุยกับทุกคน ด้วยความรู้สึกว่าให้คนรู้สึกว่าชวนคุย อัธยาศรัยใจคอ ผ่อนคลาย เบิกบานใจ ความหยาบคายของหมอ คือ ความจริงใจ ได้ระบาย แต่เราก็รู้สึกว่าการลักจำแอบสอน ไม่ได้เรื่องทฤษฎี เราจะได้แต่วิชาที่มันไม่ถึงแก่น ก็ในที่สุดการค้น หาก็ไปเจอกัลยาณมิตรที่พาไปรู้จักอีกท่านหนึ่งซึ่งพาผมมารู้จัก ครูหมอศักดา

อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 3

|7


เราไปเจอครูหมอศักดา ซึ่งเป็นครูด้านแพทย์แผนไทยที่แหกคอก แต่ต้นเหตุคือตัวเอง แล้วจะเป็นอะไรที่จะสื่อสารกับคนแล้วคน เป็นครูที่กระทรวงสาธารณสุขไม่ชอบ แกเป็นคนที่มีความคิดเชิง จับต้องได้ง่าย อยากฝึก อยากเรียนอยากทำ ตั้งใจว่า จะต้องเริ่ม บวกแล้วก็ลึกมาก กลับมาหาโยคะ แต่เป็นโยคะแนวที่ลึก จนวันหนึ่งเดินผ่านร้าน หนังสือ เจอหนังสือ “โยคะบ้านภายใน” ของครูโม้ย (สุวรรณา • ตอนนั้นรู้จักครูศักดาได้อย่างไร โชคประจักษ์ชัด) หยิบขึ้นมาอ่านดูก็เจอแล้วฟ้าส่งมา การเรียน มีพี่คนหนึ่งรู้จักกันบอกว่ามีหมอคนหนึ่งที่เคารพมาก โดยเฉพาะการจับเส้น สอนเฉพาะคนที่อยากเรียน แต่สอนแบบ โยคะกับครูโม้ย คือการนั่งสนทนาธรรมกลางวงน้ำชา ฝึกเราเรื่อง อินดี้มาก คือสอนแบบประสบการณ์ตรง ผมก็ไปเรียนแบบสนุก ของการตั้งคำถาม ครูโม้ยมีความงามในการให้เราได้เรียนถูกเรีย นผิดมาก นี่คือหลักสูตรครูโยคะที่แท้จริงคือการที่เป็นส่วนหนึ่ง มาก เพราะว่าผมได้เห็นว่า มิติเชิงลึกของร่างกาย จิตมจ กับนักเรียน จิตวิญญาณมันเป็นอย่างไร หลักๆ บ้านภายในคือ การตั้งคำถามที่ถูกต้อง กิจวัตร ตอนนั้นผมเปลี่ยนงานแล้วจากการทำงานด้านกฎหมาย ที่งดงาม และเป้าหมายชีวิตที่ชัดเจน จินตภาพกับตนเองให้ได้ มาทำด้านการตลาด ตอนนั้นผมมีความสุขมากกับการไปเรียน เราอยากจะเป็นแบบไหน อยากจะเป็นอะไร จินตภาพขึ้นมาว่า เสาร์อาทิตย์ได้ไปอยู่บ้านครูศักดาที่คู้บอน หลักสูตรมันสองปี เราจะมีลักษณะเป็นอย่างไร ร่างมนุษย์ที่แท้จริงๆ ไม่ใช่การ ไปทุกเสาร์อาทิตย์ การเรียนสนุกมาก มีความรู้ด้านการแพทย์ ซึ่งไม่ได้อยู่ในตำรา แต่มาจากการค้นคว้าของครูเอง จากการไปเ พยายามไปบ่มเพาะมันแต่เกิดจากการที่เรามีทัศนะอย่างไรเกี่ยว ข้าป่าไปอยู่กับพวกครูหมอพื้นบ้านในชนบท ได้วิชาพวกนี้มาแล้ว กับตัวเอง ผมก็ไปเจอสิ่งที่เราไม่เคยคาดคิดว่าจะเจอจากครูโม้ย เอามาถ่ายทอดให้เรา ความอัจฉริยะของครูคือสามารถเชื่อมโยง คือไปเรียนรู้เรื่อง จิตวิทยาเชิงพุทธ เชิงพัฒนาจากภายใน การ กับการแพทย์แผนปัจจุบันได้และเชื่อมโยงกับพระไตรปิฏกได้ เรา บ้านตอนแรกกลับมาคือให้กลับมาจินตภาพว่า บ้านภายในของ ได้เรื่องของการปฏิบัติธรรมและก็ได้เรื่องการแพยทย์พื้นบ้านไป เราหน้าตาเป็นอย่างไร หลับตา แล้วลองนึกดูว่าบ้านที่เราอยาก อยู่เป็นอย่างไร จินตภาพออกมาทั้งหมด บ้านหลังนี้จะเป็นตัว ในตัว ยาหลายตัวที่สอนเราไม่มีในตำรา ไม่มีในทะเบียนของ สะท้อนสิ่งที่เราเป็นและสิ่งที่เรา กำลังจะไปหา แล้วแกก็จะช่วย กระทรสวงสาธารณสุข สูตรยาจากพระไตรปิฏกแกก็ถอดรหัส ออกมาแล้วก็มอบหมายให้เราลองทำดู เป็นการเรียนที่สนุกมาก วิเคราะห์ให้ สิ่งที่แปลกคือว่าหลังจากนั้นทุกช่วงชีวิตของเรามันมี ท่าโยคะทั้งหลายผมก็ได้มาจากครูซึ่งบอกว่าเป็นวิชาฤาษีดัดตน ความเปลี่ยนแปลง บ้านหลังนี้ก็มีความเปลี่ยนแปลงไปได้เรื่อยๆ โบราณ ซึ่งค้นคว้าและบอกเลยว่าโยคะกับฤาษีดัดตนคือรากฐาน บ้านนี้จะเปลี่ยนแปลงไปในสองลักษณะคือซับซ้อนยุ่งเหยิง มีข้าว ของมากขึ้นหรือเรียบง่ายลง ซึ่งมันสะท้อนจากชีวิตภายในของ เดียวกัน เพราะฤาษีจริงๆ ก็คือโยคีนั่นเอง โยคะอาสนะที่ถูก ต้องที่แท้จริงจะต้องเกิดมาจากภายใน ของเราเคลื่อนไหว ไม่ใช เรา นี่คือสิ่งที่โยคีหรือปราชญ์โบราณต้องการไปถึงผ่านเครื่องมือ ที่เรียกว่าโยคะ ผมไปเจอหลักของโยคะเพื่อการเยียวยาจากโรค ่การเกิดจากการมองครูแล้วทำตาม นี่คือสิ่งครูสอนเราวันนั้น ภัยจริงๆ ไม่ใช่แค่ฐานกายแต่มันมาจากจิตวิญญาณภายใน ซึ่ง • คนที่มารักษาคนแรกกับครูเล็กคนแรกเป็นใคร การที่สื่อสารกับเพื่อนมนุษย์ในฐานะผู้เยียวยาไม่ใช่ว่าป่วยเป็น พ่อเราเอง (หัวเราะ) ใช้คอมพ์มากแล้วปวดหัว แล้วก็ไป อะไรมาแล้วไปแก้ตรงนั้น แต่มันจะต้องลึกลงไปว่าจริงๆ เขามี เล่นกอล์ฟมาแล้วเจ็บเข่า ก็ใช้วิชาครูศักดากับหมอพรชัยพรประ ความทุกข์เรื่องอะไรอยู่กันแน่ การเป็นนักเยียวยาเราจะต้อง กอบกัน จับแก้ให้แก แกก็ประหลาดใจมาก บอกว่ามันหาย สามารถเป็นเพื่อนกับเขาดึงรากของเขาออกมาให้ได้ นั่นคือสิ่งที่ เหมือนกับไม่เคยมีอาการมาก่อน แต่ต่อมาแกก็ไม่ยอมนวดกับเรา เราได้มาจากการเรียนกับ ครูโม้ยที่สอนเราสองวันเต็ม เพราะว่าเรานวดเจ็บ ผมก็อยู่กับกระบวนการนี้มาเรื่อยๆ แล้วผมรู้สึกว่า ผม • ความยากของการเป็นนักบำบัดคืออะไร คือความผูกพันกับคน ความมี caring กับมนุษย์ หัวใจ อยากจะเพิ่มเติมสิ่งที่คนจับต้องสัมผัสได้ง่าย ก็คือเรื่องของโยคะ เพราะว่าเราต้องการให้คนเขาพึ่งตัวเองได้ ไม่ใช่ต้องการรักษาคน ของนักบำบัดคือต้องมีใจมีความรักในเพื่อนมนุษย์ อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 3

|8


ในขณะเดียวกันตรงนี้ก็จะขัดขวางเราเหมือนกัน มันยากที่จะไม่ ผูกพัน มันจะทำลายเรา ผมรักนักเรียนผมรักผู้ป่วยผมทุกคน เหมือนญาติพี่น้อง ซึ่งตรงนี้มันจะทำลายเราเวลาที่เราไม่สามารถ จะช่วยเขาได้ บางคนพอตายจากไป มันปล่อยวางไม่ได้แต่ต้อง ปล่อย • รู้สึกว่าเรียนมาหลากหลาย เมื่อเจอผู้ป่วยสักคนจะเลือกใช้วิธี ไหนในการบำบัดผู้ป่วยสักคน ก็จะดูว่าเขาเป็นคนแบบไหนแล้วจะใช้วิธีไหนในการ เยียวยาเขา อย่างการใช้โยคะบำบัด คนถามว่าได้ผลกับผู้ป่วย ทุกคนไหม ช่วยเหลือทุกคนได้ไหม ผมบอกว่าช่วยเหลือไม่ได้ ถ้า เขาไม่ช่วยเหลือตัวเอง การใช้โยคะบำบัดจะช่วยได้สำหรับคนที่มี วินัย อานิสงส์จะเกิดกับผู้ลงมือปฏิบัติ คุณต้องเอาสิ่งที่ผมให้ไป ต้องลงมือปฏิบัติอย่างต่อเนื่องด้วยความศรัทธา ศรัทธาในวิชา ศรัทธาหรือฉันทะจะเป็นประตูเปิดให้ปัญญาทำงาน ต่อให้คุณมี วิชาแค่ไหนก็ตาม รู้จักอาจารย์มากแค่ไหนก็ตาม แต่ขาดศรัทธา คุณธรรมปัญญาความเมตตาไม่เกิดผล ต้องศรัทธาก่อน ถ้า ศรัทธาน้ำเปล่ายังเป็นยาได้เลย • วิธีการรักษาเริ่มต้นอย่างไร ผมจะถามเริ่มสนทนากันก่อนชวนพูดคุยก่อน ตามหลัก ของการวินิจฉัยโรคเป็นตามหลักอริยสัจสี่ เหตุและผล

คนส่วนใหญ่มาก็จะบอกว่าอยู่ดีๆ ก็ปวดหรือเป็น ไม่รู้เป็นอะไร ผมบอกเป็นไปไม่ได้ที่จะอยู่ดีๆ แล้วเป็น ก็จะค่อยๆ วิเคราะห์ กลับไปหาสาเหตุ ถ้าไม่เจอสาเหตุ ฝึกโยคะไป นวดไป จับเส้นไป ให้ยาอะไรไปก็ตาม กลับไปมีพฤติกรรมเดิม ก็เป็นอีก กลับมาหา เราอีก หลักเราคือทำอย่างไรที่คนจะเป็นที่พึ่งตัวเองได้ นี่คือวิธี การรักษา วิธีการตรวจก็จะมีรายละเอียด การพูดคุย ซักถาม การสังเกตด้วยสายตา การสัมผัส การตรวจโครงสร้าง การจับ ชีพจร หรือการสังเกต วิธีการตอบคำถามเขา ดูการตอบสนอง ม่านตา เราจะได้ดูว่าจริตเขาเป็นอย่างไรบ้าง • ทำไมต้องไปเรียนโยคะจาก Yoga Vidya Gurukul(เมืองนาสิก) ที่อินเดียอีก หนึ่ง ผมอยากไปอินเดีย อยากจะไปหารากฐานวัฒน ธรรมโยคะที่อินเดีย อยากกลับไปหาว่าอะไรที่ทำให้หฐโยคะเป็น แบบนี้ สอง ในโอกาสครบรอบสิบปีหลังการบวช ผมบวชปี 2543 รู้สึกว่าอยากจะไปอยู่กับการอะไรอย่างนี้ ที่อินเดียเหมือนกับ การบวชอีกครั้งหนึ่ง แต่ไม่ใช่การไปห่มผ้าเหลืองเพราะผมรู้สึก ว่า ชีวิตในการเป็นพระถูกจำกัดให้ทำอะไรได้น้อย ก็เลยอยากจะ ไปหาอะไรคล้ายๆ กับการบวชแต่ได้ลงมือทำหลายอย่างก็เลยไป เทคคอร์สครูโยคะที่อินเดีย

อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 3

|9


• เจออะไรบ้างที่อินเดีย เจอการรับน้องจากธรรมชาติ เจองู ตื่นเช้ามาเจอน้องวัว ยืนกินหญ้าอยู่หน้าห้องพักเราที่เราตากผ้าเอาไว้ ได้เจอครูที่น่ารัก ได้เจอเพื่อนๆ จากหลายประเทศ เกิดการแลกเปลี่ยน ก็ได้ไปเจอ กับประสบการณ์เฉียดตายจากการโดดเรียนไปขึ้นเขากับเพี่อน สองคนเพื่อไปไหว้พระ พอเดินไปเจอฝนตกหนักขึ้นเรื่อยๆจนน้ำ ไหลแรงขึ้นเป็นน้ำป่า ไปไหนไม่ได้ ทุกอย่างถูกตัดขาดหมด เหลือ แต่ตัวกับหัวใจจริงๆ ไปไหนไม่ได้ คิดหาการเอาตัวรอดต่างๆ แต่ แปลกผมกลับแค่กังวล คิดว่าถ้าไม่รอดแล้วเรามีห่วงอะไรบ้าง ก็มี แค่เรื่องพ่อแม่ ซึ่งเขาก็อยู่ได้ ก็ไม่เป็นไร สรุปก็ไม่มีอะไรที่ห่วงก็ พร้อมตาย ก็เริ่มกลับมาดูลมหายใจของตัวเอง เป็นช่วงโมเม้นต์ ของความงดงามในความตาย ผมเลยคิดว่าถ้ารอดตายกลับมา เมืองไทยจะจัดเวิร์คช็อปเรื่องงดงามในความตาย สุดท้ายพอกลับ มาผมคิดหลักสูตรขึ้นมาคือ “สันติภาวนาโยคะ” คือการปฏิบัติ ธรรมผ่านการฝึกโยคะ แล้วก็ทำโครงการโยคะสำหรับผู้ป่วย มะเร็งที่โรงพยาบาลจุฬาฯ คือโปรเจคท์แรกๆ ที่ทำหลังกลับมา จากอินเดีย

นี่คือมิติความเจ็บป่วยทางพุทธศาสนา คำว่า อโรคยาปรมาลาภา ไม่ได้แปลว่าความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ แต่แปลว่า จิตที่ ปรุงแต่ง จิตที่แส่ส่าย จิตที่แน่นไปด้วยความไม่รู้ อโรคยาแปลว่า จิตที่สงบ ว่างเปล่า คือลาภอันประเสริฐ แล้วในพระสูตรนี้ยังมี ต่อว่า แล้วตถาคตมองไปในเวไนยสัตว์ทั้งหลายผู้ยังไม่พ้นจาก วัฏสงสาร ไม่มีผู้ใดเลยที่ไม่เป็นผู้ที่ไม่มีอโรคยา อโรคยาคือ สภาวะของการตื่นพ้นจากการปรุงแต่งของจิต เพราะฉะนั้น ความเจ็บป่วยทางพุทธศาสนาคือเรื่องของความมีอวิชาไม่ได้ แปลว่าความไม่มีโรค เพราะฉะนั้นความเจ็บป่วยทางศาสนาคือ ความมีอวิชชา มีสาเหตุทางจิตทั้งนั้น อย่างเช่นคนที่เป็นมะเร็ง หรือคนที่มีความเจ็บป่วยทางกายมาจากโรคเรื้อรัง เหตุแห่งการ นี้คือปาณาติปาต คือการขาดอหิงสาในจิตใจ การฝึกเจริญเมตตา คือการล้าง sub-conscious ตัว เอง ล้างกรรมของตัวเองด้วย การเจริญเมตตา เมื่อจิตที่มีตะกอนของความเบียดเบียนได้ลดลง อย่างน้อยความสงบสุขในใจก็จะมีมากขึ้น โอกาสที่เขาจะเกิด ใหม่ในชาติภพต่อไปแล้วเป็นผู้ที่มีอโรคยาน้อยลงก็จะมีมากขึ้น นี่คือหลักในการเยียวยาที่ผมใช้ เพราะฉะนั้นอย่าแปลกใจว่า บางคนมาเรียนแล้วแต่อาการทางกายยังไม่หายไป แต่ถ้าวันนี้ • แต่ทุกวันนี้สิ่งที่สอนไม่ใช่ท่าโยคะอาสนะ? คุณมีความสุขในวันนี้ แล้วเข้าใจเหตุแห่งการเกิดกรรมหรือโรค สำหรับผมโพสิชั่นของผมคือเป็น Yoga Therapist หรือ เกิดจากอะไร มันช่วยบรรเทาภายใน หลักของผมคือไม่ใช่ผู้ป่วย อาจจะใช้เรื่องอื่นกับผู้ป่วยก็ได้ การนั่งเป็นเพื่อนเขา โยคะคือยา มาเรียนโยคะแล้วหายป่วยเลย แต่อยู่ได้ด้วยหัวใจที่เป็นสุขและ ตัวหนึ่งที่ผมจะใช้ แต่ไม่ใช่ว่าใช้กับทุกคน ถึงบอกว่าคุณจะต้องมี ยอมรับกับปัจจุบันได้ ไม่รู้สึกว่าความเจ็บป่วยคือเครื่องขวางทาง วินัยโยคะถึงจะช่วยได้แต่ผมถือว่าถ้ามีโอกาสเจอกัน แต่ผมยินดี เจริญของชีวิต เป็นที่ปรึกษาให้เขาตลอด ผมจะใช้เวลากับเขาให้เยอะที่สุด มี่การ เขียนจดบันทึก เลคเชอร์ให้เขาไปทั้งหมด เป็นส่วนหนึ่งของการ • ใครที่จะเป็นนักโยคะบำบัดได้บ้าง คนที่มีใจกับคนที่ไม่มีความเดือดร้อนเรื่องปากท้อง คน เรียนรู้ ให้เกิดการตื่นรู้และผ่อนคลาย โยคะไม่ใช่แค่การปูเสื่อแล้ว ทำท่า โยคะคืออะไรก็ได้ เพราะผู้ป่วยบางคนก็ทำไม่ไหว ตอนที่ ที่พ้นเรื่องของปากท้อง เพราะว่างานนี้รายได้ไม่แน่นอน ต้อง บอกว่าทำงานนี้ไม่รวย แต่ไม่อดอย่างผมอาจจะโปรแกรมตัวเอง เรียนกับครูโม้ย หลักการคือว่าทุกอย่างต้องทำได้ ไม่มีแรงก็ฝึก ทางจินตภาพ คิดว่ากำลังทำไหว้พระอาทิตย์ หลักการคือเชื่อ ใช้ มา แล้วผมก็วางว่า ชาตินี้ผมจะพยายามบรรลุธรรม การอยู่กับผู้ วิธีนี้เวลาไม่มีแรงฝึกโยคะ ผมใช้หลักการนี้กับผู้ป่วยอัมพาต ขยับ ป่วยมานานมันเห็นเรื่องความของชีวิต ผมเชื่อว่าจักรวาลดูแลผม แต่ผมไม่สามารถสุรุ่ยสุร่ายได้ ซึ่งใครจะมาเป็นต้องยอมรับว่า ได้แต่มือ เท้ากับดวงตา จนช่วงนี้บางคนที่รักษาเดินได้แล้ว หลักที่ผมใช้ในการเยียวยาก็คือ หลักตามพระสูตรของ เราอยู่กับความไม่แน่นอนได้ มันมีทั้งงานที่เราสามารถรับเงิน ทางวัชรยาน ว่าด้วยเรื่องของหัวใจแห่งการเยียวยาโดยองค์พระ และไม่รับเงิน ผมเชื่อว่าธรรมะดูแลเรา ผมถึงบอกว่างานนี้รายได้ ไม่แน่นอน แต่มีความสุขและมีเสน่ห์ที่ทำให้ผมอยู่ได้ อยู่กับวันนี้ โพธิสัตว์แห่งการเยียวยา ท่านว่าไว้ว่าเหตุแห่งการเจ็บป่วยของ อยู่กับปัจจุบันอย่างมีความสุข มนุษย์เกิดจากเป็นเรื่องของอวิชชา ความเจ็บป่วยที่แท้จริงของ มนุษย์ไม่ใช่เรื่องของกายภาพ แต่เกิดจากจิตวิญญาณที่ขาดหาย อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 3

| 10


พระกฤษณะกล่าวถึงโยคะไว้อย่างไรใน ‘ภควัตคีตา’ แปลและเรียบเรียงจาก “Krishna’s 10 Definitions of Yoga in the Bhagavad Gita.” โดยได้รับอนุญาตจากผู้เขียน “แคทเธอรีน แอล โกช” Catherine L. Ghosh (www.secretyoga.com)

เราไม่จำเป็นต้องค้นหาโยคะ แต่โยคะต่างหากที่จะค้นพบเราเอง... ด้วยความพร้อมที่เกิดขึ้นในชีวิตของเราเองอันสอดประสานกับจักรวาลที่จะทำให้เราเปิดกว้าจนสัมผัสได้ถึงคุณประโยชน์ ของโยคะ และการที่โยคะจะเปิดทางเชื้อเชิญเราเอง ซึ่งความพร้อมที่จะตอบรับการเชื้อเชิญของโยคะนั้นล้วนขึ้นกับตัวเราเอง ซึ่งการ ที่เรารับรู้เกี่ยวกับโยคะเช่นไรนั้นจะสะท้อนสิ่งที่เรารู้สึกต่อโยคะลึกๆ ที่มีอยู่ออกมาเอง เช่นนี้แล้วโยคะคืออะไร โยคะจะให้อะไรแก่เรา คำตอบล้วนแตกต่างหลากหลายไปตามแต่ละบุคคล ความนิยมในโยคะที่เกิดขึ้นทั่วโลกเช่นทุกวันนี้ เปรียบแล้วก็เหมือนสีที่แตกต่างหลากหลาย ซึ่งทำให้การค้นหาความหมาย ของโยคะที่แท้จริงนั้นท้าทายมากขึ้น แล้วโยคะที่จริงแท้คืออะไร และสิ่งนั้นมีอยู่จริงไหมในจุดเริ่มต้นของโยคะหรือแม้แต่ในครูโยคะ คนแรก ในการศึกษาคัมภีร์สันสกฤตของความหมายคำว่า “โยคะ” - yoga ที่ปรากฎขึ้นครั้งแรกต่างมีการตีความไปได้มากมาย ที่น่าสนใจคือความหมายของโยคะที่ไม่ได้มุ่งไปที่การจัดวางท่วงท่าหรืออาสนะทางร่างกายเท่านั้นซึ่งเป็นความหมายของโยคะที่ทาง ตะวันตกมักจะกล่าวถึง แต่ความหมายที่มากกว่าและกว้างกว่าของโยคะที่ควรจะเป็นก็คือขอบเขตที่กว้างที่เกี่ยวกับระดับของการ พัฒนาศักยภาพที่สูงที่สุดของคนคนหนึ่งและยังแผ่ขยายไปถึงการอธิบายถึงการยกระดับของภาวะที่คนเรารู้สึก ได้ ดังนั้นใครก็ตาม ที่ยกคำว่า “โยคะ” มากล่าวถึงในครั้งแรกเริ่มย่อมต้องการใช้คำคำนี้ในความหมายที่มีความซับซ้อนสูงทีเดียว และความหมายของคำ ว่าโยคะจึงแปลได้หลายทางและมากกว่ากระบวนการของการฝึกโยคะ แต่ยังเกี่ยวข้องกับผลลัพธ์ที่ได้จากการฝึกโยคะด้วยเช่นกัน ในการศึกษาคัมภีร์โยคะแต่โบราณความหมายของโยคะจึงหลากหลายไปตามผู้ฝึกที่ผนวกกับกับเป้าหมายของการฝึกแบบ ต่างๆแต่ย่อมมิใช่การที่โยคะจะพาให้เราครุ่นคิดเกี่ยวกับกรอบของเวลาหรืออะไรกันที่เราจะได้รับจากโยคะ แม้แต่โยคะจะพาเราไปสู่ หนใด ทว่าสิ่งที่เรียบง่ายที่สุดก็คือการรับรู้ให้ทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะในระหว่างที่เราฝึกโยคะอยู่ “คัมภีร์ภควัตคีตา” (Bhagavad Gita) ซึ่งเป็นคัมภีร์แรกเริ่มในการศึกษาโยคะและมีการใช้คำว่าโยคะเอาไว้เพื่อเป็นทาง สว่างให้แก่อรชุนโดยพระกฤษณะ ที่บอกสอนอรชุนให้เอาชนะความรู้สึกผิดชอบชั่วดีที่ทำให้อรชุนไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ พระกฤษณะซึ่งในคัมภีร์เป็นพระสหายและเป็นราชรถได้หยิบยกคำสอนของโยคะให้แก่อรชุนเพื่อให้เกิดความคิดถึงภาวะที่เป็นอยู่ที่ ทำให้เขารู้สึกเหมือนตกอยู่ในห้วงทุกข์ที่คิดไม่ตก แล้วพระกฤษณะกล่าวถึงโยคะว่าอย่างไร? ในคัมภีร์ภควัตคีตานั้นพระกฤษณะนั้นได้กล่าวถึงโยคะนับร้อยๆ ครั้ง เป็นที่แน่ชัดว่าท่านทรงกล่าวถึงโยคะเอาไว้แน่ๆ (คำว่า “โยคะ” ปรากฏในภควัตคีตาถึง 78 ครั้งในรูปของประธานและใช้เป็นคำกริยาอีก 36 ครั้งโดยใช้คำว่า yukta) เมื่อเรา พิจารณาในทุกวิถีทางที่พระกฤษณะกล่าวถึงโยคะเอาไว้ในภควัตคีตาประหนึ่งว่าแทบจะทุกคนรายรอบตัวเราต่างฝึกโยคะ คำว่าโยคะ ใน “คีตา” นี้ล้วนฉายถึงประสบการณ์อันรุ่มรวย ซับซ้อนและเปี่ยมสีสันแห่งชีวิตและประสบการณ์ที่เปี่ยมล้นในการเกิดมาเป็นมนุษย์ อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 3

| 11


คัมภีร์ภควัตคีตานั้นเป็นสิ่งหนึ่งที่กล่าวได้ว่ามนุษย์ทุกคนอาจมีส่วนเกี่ยวพันได้นะดับใดระดับหนึ่งหรือในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งมา ก่อนแล้ว เพียงแต่เราอาจไม่รู้มาก่อนเท่านั้นเอง นอกจากจะหมายถึงคำว่า “อาสนะ” และ “ปราณายามะ” แล้ว คำว่า โยคะใน คัมภีร์ภควัตคีตาอาจหมายถึงสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้ 1. ความแจ่มชัด ความสามารถในการแยะแยะ ความเต็มใจสมัครใจ การเปลี่ยนแปรที่เคลื่อนไหวในชีวิตของคนคนหนึ่ง 2. ความเป็นอมตะ แรกเริ่ม การเปิดเผย แสงสว่างอันเป็นต้นแบบและพลังงานจากความรัก 3. การเสียสละที่ทำให้เรารู้สึกสูงส่งขึ้น โน้มนำเรา บอกสอนเรา ยึดเกี่ยวเราไว้ และเป็นเหตุผลของการมีชีวิตอยู่ของเราร่วมกับ ชีวิตอื่นๆ 4. การไม่เห็นแก่ตัว การชำระล้าง การปลดปล่อย ความสมดุล แรงบันดาลใจ การแสดงออกที่เป็นสุขซึ่งเกิดขึ้นจากการมอง รอบๆ ตัวของคนคนนั้น 5. การรวมกลุ่มของผู้รักและฝึกฝนโยคะ ด้วยการให้ความรักและความเข้าอกเข้าใจที่มีให้กัน 6. ระดับของการรับรู้ที่สูงขึ้น การตระหนักรู้ในทุกชีวิตที่อยู่รอบๆ ตัวเรา 7. การปราศจากความกลัว การรู้และเข้าใจ และการเดินทางที่ไม่จบลงเมื่อความตายมาถึงเพียงแค่นั้น 8. วิสัยทัศน์ที่ไม่อาจแยกออกได้จากการฝึกฝน 9. ความเชื่อมโยงกับจักรวาลทั้งหลายดั่งอาณาจักรที่เป็นนิรันดร์ซึ่งเหนือกว่าด้วยความสามารถที่จะรักได้อย่างไม่รู้จบในตัวของ เราเอง 10. พลังแห่งการตรวจสอบที่ช่วยให้เราเอาชนะสิ่งลึกลับ ความลับ และยังเชื่อมโยงเราเข้ากับความรู้สึกถึงการมีอยู่เป็นอยู่ การมีชีวิตเข้ากับชีวิตอื่นๆ

สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน เน้นการเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์ ก่อตั้งเมื่อมีนาคม 2554

Facebook Page: อรุโณทัย www.arunothai.net

ผลิตโดย ลิตเติลซันไชน์โยคะ littlesunshineyoga@gmail.com โทร. 081 246 7862 บรรณาธิการและผู้เขียน : อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง ittiritp@gmail.com ศิลปกรรมและจัดรูปเล่ม : อรปวีณ์ รุจิเทศ ornpavee.r@gmail.com ข้อเขียนหรือความคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏใน เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนข้อเขียนนั้นๆเอง ทางผู้ผลิตไม่จำเป็น จะต้องคิดเห็นเช่นเดียวกันหรือคิดเหมือนกัน หากต้องการนำข้อความหรือเนื้อหาของอรุโณทัยไปเผยแพร่ต่อ โปรดระบุด้วยว่า นำมาจาก “อรุโณทัย - สื่อโยคะทางเลือก” อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 3

| 12


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.