ขยับเพื่อยืด เปิด (ใจ) เพื่อเรียนรู้ “การจัดระเบียบร่างกายสำหรับการฝึกโยคะอาสนะ” คือหัวข้อการเข้าร่วมเวิร์คช็อปล่าสุดซึ่ง “อรุโณทัย” ได้รับเกียรติ เชิญเข้าร่วมฝึกจากครูจิมมี่ (ยุทธนา พลเจริญ) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 29 เมษายนที่ผ่านมาที่สถาบันฟิตและฟิตสตูดิโอ เพลินจิต กรุงเทพฯ ซึ่งครูจิมมี่เป็นผู้สอนและผู้อำนวยการหลักสูตรครูโยคะของฟิต โดยใช้ชั่วเวลาในการฝึกยาวนานกว่าหก ชั่วโมง (09.00 – 16.30) เป็นเวิร์คช็อปเข้มข้นทั้งภาคทฤษฎีและได้ลงลึกในการลองปฏิบัติเพื่อเรียนรู้ที่จะจัดและปรับท่าอาสนะ ให้เข้าท่าได้อย่างถูกต้องและลึกยิ่งขึ้น ในช่วงแรกเพื่อให้การจัดท่าและปรับท่าอาสนะได้ดีขึ้นนั้น ควรจะเข้าใจสาเหตุที่เราควรจะเข้าไปช่วยในการจัดปรับท่า ก่อนว่า เกิดขึ้นจากเห็นการวางท่าผิดจึงเข้าไปช่วยแนะนำหรือจัดท่าให้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของท่าและเพื่อความถูกต้องใน ตำแหน่งการลงน้ำหนัก การเหยียดยืด การวางเท้าหรือกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ โดยผู้ที่จะเข้าไปปรับ – จัดนั้นจะต้องใช้เวลาในการ จัดท่าให้น้อยแต่มีประสิทธิภาพมากที่สุด วิธีในการปรับและจัดท่าอาสนะนั้นก็จะต้องให้ผู้ทำท่าอาสนะค้างท่าเอาไว้ก่อน จนกว่า จะได้บอกรายละเอียดทุกขั้นตอนในการฝึกท่านั้นๆ ครบถ้วนแล้วจึงให้เปลี่ยนท่า รายละเอียดของการจัดท่าฝึกและช่วยปรับท่าอาสนะนั้นทำได้ 3 แนวทางด้วยกันคือ 1. การใช้คำพูด เพื่อเตือนหรือสะกิดให้ผู้ฝึกรู้ตัวและมีการขยับปรับเปลี่ยนตำแหน่งให้ถูกต้องเหมาะสม โดยที่ไม่มีการ เข้าไปสัมผัสแตะตัวตัวผู้ฝึก 2. ใช้การสัมผัสช่วยในการจัดท่าฝึก โดยการขออนุญาตผู้ฝึกก่อนที่จะเข้าไปช่วย และใช้การสัมผัสช่วยในการจัดท่าฝึก ตำแหน่งที่จะเข้าไปแตะหรือเข้าไปจัดท่าควรจะอยู่ด้านหลังของผู้ฝึก และให้แน่ใจว่าผู้ฝึกจะไม่เสียการทรงตัวและบาดเจ็บจาก การที่เข้าไปช่วยจัดท่า 3. การเข้าสัมผัสตัวผู้ฝึก ซึ่งมีอยู่หลายลักษณะด้วยกัน เช่น การหาจุดที่ผู้ฝึกทำ ท่านั้นบกพร่องอยู่ แตะเพื่อบอกตำแหน่ง ในการจัด ระเบียบร่างกาย แตะเพื่อบอกถึงจุดหรือตำแหน่งที่ผู้ฝึก จะต้องมองไป แตะเพื่อจัดให้ได้ท่าฝึกที่ถูกต้องเหมาะ สมตามโครงสร้างร่างกายของผู้ฝึก แต่เพื่อช่วยให้ผู้ฝึก ทรงตัวได้ดีขึ้น แต่ด้วยความปรารถนาดีที่ต้องการจะ พัฒนาศักยภาพของผู้ฝึก โดยที่ขั้นตอนการจัดและปรับ ควรจะเริ่มจากการใช้น้ำเสียงสะกิดเตือนหรือบอกให้ ปรับท่าก่อน เมื่อไม่เกิดอะไรขึ้นหรือทำท่าอาสนะได้ ไม่ดีขึ้นค่อยใช้การสัมผัส จัดปรับเข้าช่วย
อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 3
|2
ทั้งนี้ มีข้อควรระวังหรือควรละเว้นมากมาย เช่น กรณีที่ครูหรือผู้สอนที่เป็นผู้ชายพึงระมัดระวังเรื่องการเข้าไปสัมผัสแตะ ต้องร่างกายแบบรุกล้ำในที่ที่ไม่สมควร จุดสงวนต่างๆ เช่น ใบหน้า ใบหู สะโพก หน้าท้องส่วนล่าง และหน้าอกของผู้ฝึกผู้หญิง ก่อนการสัมผัสหรือแตะเพื่อการจัดปรับจะต้องให้ผู้ฝึกรู้ตัวเสียก่อน ไม่แตะแบบเดาสุ่มโดยไม่มีจุดหมายซึ่งจะก่อให้เกิดความสับ สนในตัวผู้ฝึก หรือไม่แตะแบบสัมผัสเบาๆ เพื่อกระตุ้นความรู้สึก ซึ่งเป็นการแตะต้องที่ไม่เหมาะสม ความสนุกและน่าสนใจในการเวิร์คช็อปเพื่อจัดปรับท่าอาสนะครั้งนี้อยู่ที่การได้ลงมือปฏิบัติโดยการจัดคู่และสลับ ตำแหน่งกันของผู้ที่เข้าฝึกเพื่อช่วยกันปรับแก้ จัดท่าอาสนะในกลุ่มต่างๆ นับแต่ท่าไหว้พระอาทิตย์ ท่ายืนทรงตัว ท่านอนคว่ำ ท่านอนหงาย ท่าบิดตัว ไปจนกระทั่งถึงท่านอนพักสุดท้ายหลังการฝึกในศวาสนะอย่างครบถ้วน และเป็นประโยชน์ในการที่จะนำ ไปแก้ไขและให้คำชี้แนะสำหรับผู้ที่ทำหน้าที่เป็นครูโยคะหรือผู้สอนโยคะได้เป็นอย่างดี
สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน เน้นการเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์ ก่อตั้งเมื่อมีนาคม 2554
Facebook Page: อรุโณทัย www.arunothai.net
ผลิตโดย ลิตเติลซันไชน์โยคะ littlesunshineyoga@gmail.com โทร. 081 246 7862 บรรณาธิการและผู้เขียน : อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง ittiritp@gmail.com ศิลปกรรมและจัดรูปเล่ม : อรปวีณ์ รุจิเทศ ornpavee.r@gmail.com ข้อเขียนหรือความคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏใน เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนข้อเขียนนั้นๆเอง ทางผู้ผลิตไม่จำเป็น จะต้องคิดเห็นเช่นเดียวกันหรือคิดเหมือนกัน หากต้องการนำข้อความหรือเนื้อหาของอรุโณทัยไปเผยแพร่ต่อ โปรดระบุด้วยว่า นำมาจาก “อรุโณทัย - สื่อโยคะทางเลือก” อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 3
|3
อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง : เรื่อง ภาพทั้งหมดโดย “ครูเก๋”
บ่มเพาะ ปลูกฝัง สร้างความสมดุลจากภายนอกสู่ภายในด้วย
“โยคะเด็ก” “รสสุคนธ์ ซันจวน”
เราทุกคนตระหนักดีว่า โยคะคือหนทางแห่งความสุข สงบ และสมดุล ทุกวันนี้มีโยคะหลากหลายรูปแบบเปิดให้คนทุก ประเภททุกวัยได้ฝึกฝนกันในบ้านเรา เช่นเดียวกับที่มีการสอนให้เด็กๆ รู้จักตัวเอง รู้จักหนทางแห่งความสุข สงบ และ สร้างความสมดุลจากภายนอกสู่ภายในผ่านโยคะ ที่เรียกว่า “โยคะ(สำหรับ)เด็ก”เปิดขึ้นตามสตูดิโอโยคะต่างๆ รสสุคนธ์ ซันจวน หรือ “ครูเก๋” แห่ง Budharas Yoga (บูธาราโยคะ) เป็นครูโยคะคนหนึ่งที่ให้ความสนใจจริงจัง ในการปลูกฝังและบ่มเพาะหนทางแห่งความสงบสุขและสมดุลจากโยคะให้แก่เด็กและเรื่องโยคะสำหรับครอบครัว โดย สอนโยคะให้กับทั้งเด็กเล็กๆ เด็กโต และวัยรุ่นอย่างต่อเนื่องทั้งที่สตูดิโอของตัวเองและสอนแบบส่วนตัว นอกจากนี้ยังจัด กิจกรรมค่ายโยคะครอบครัวที่เรียกว่า The Little Om: Family Yoga Camp ต่อเนื่องมาเป็นปีที่สองแล้วในปีนี้
มหาตมะ คานธี กล่าวไว้ว่า “If we are to teach real peace in this world, and if we are to carry on a real war against war, we shall have to begin with the children.” ...หากต้องการสอนให้คน บนโลกนี้รู้จักความสงบสุขที่แท้จริง เราควรจะเริ่มต้นที่เด็ก... มาลองสัมผัสความคิดและประสบการณ์ของครูโยคะเด็กกันใน “อรุโณทัย” ฉบับนี้ ครูเก๋สอนโยคะควบคู่กับการทำงานประจำมาตลอด
ใช่ ไม่รู้อันไหนงานประจำ อันไหนงานอดิเรก (หัวเราะ) มีความรู้สึกว่าสอนโยคะเป็นงานประจำ ทุกวันนี้ที่บ้านซึ่งเป็น บูธาราโยคะอยู่ตรงห้าแยกปากเกร็ดสอนวันเสาร์เป็นคลาสเด็ก วันอาทิตย์คลาสผู้ใหญ่ แล้วก็มีสอนแบบส่วนตัว (ไพรเวทคลาส) ให้เด็กออทิสติกที่บ้าน แล้วก็มีไพรเวทคลาสโยคะผู้ใหญ่วันธรรมดาที่สุขุมวิทอีก แล้วก็ทำงานประจำ (ทำงานด้านจัดซื้อให้บริษัท แห่งหนึ่ง) ก็เลยต้องจัดเวลา อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 4
|4
โยคะช่วยให้เจอสมดุลในหลาย ภาคของชีวิตที่ทำอยู่ไหม สิ่งนี้คือที่ใช้ในชีวิตประจำวัน คือโยคะเป็นเหมือนระหว่างทาง เก๋คิดว่าเก๋เข้าใจนักเรียนที่ใช้ชีวิตแบบยุ่งวุ่นวาย แบบคนทำงานที่จะต้องมีการเดินทาง เหนื่อยแบบชั่วโมงครึ่ง เก๋เข้าใจว่ามันเมื่อยแค่ไหนเวลาทำงานกับคอมพิวเตอร์ทั้งวัน เพราะฉะนั้นจะรู้เลยเรื่องความเหนื่อยความเครียดที่นักเรียน บอกมา ไม่ใช่ว่าเราจะตื่นเช้ามาแบบชิลล์ๆ แล้วคิดว่าวันนี้เรา จะไปสอนโยคะที่ไหน ชีวิตไม่ใช่อย่างนั้น
แล้วมีจุดเริ่มต้นกับโยคะได้อย่างไร
เก๋ไปเริ่มต้นเรียนโยคะที่สหรัฐอเมริกาในฟิตเนส ตอนนั้นปี 2548 ช่วงที่พอเรียนจบปริญญาโท ไปเรียน MBA ประมาณปีครึ่ง พอเรียนจบก็เริ่มทำงาน เพื่อนก็ชวนไปฟิตเนส ไปออกกำลังกาย ซึ่งมีโยคะด้วย เราก็ไปเรียนโยคะ ก็สนุกดี เพราะเป็นคลาสสั้นๆ แค่ชั่วโมงเดียวเอง แต่ว่าพอดีชอบครูที่ สอน รู้สึกว่าครูสอนดี ผ่านไปไม่กี่เดือนเราเริ่มรู้สึกว่า โยคะ เหมือนการปฏิบัติธรรม เพราะเราปฏิบัติธรรมมาก่อน ก็เลย เห็นว่าน่าสนใจ ช่วงศวาสนะเหมือนกับการทำสมาธิซึ่งคนข้างๆ เราตอนนั้นเขาอาจจะ นอนหายใจธรรมดา แต่ความที่เรานั่ง วิปัสนามา พออยู่อย่างนี้ เราก็อยู่กับลมหายใจ แล้วก็จริงๆ ก็คล้ายๆ กัน
คือทางด้านจิตใจส่วนด้านกายภาพ จริงๆ เก๋เป็นคนหลังโก่ง เพราะเรียนหนัก ตอนเด็กๆ ก็จะก้มเขียน ก็จะเป็นคนเดินแบบ หลังโก่งๆ แล้วก็ปวดหลังตลอด เป็นชีวิตประจำวัน แล้วพอ เล่นโยคะได้สามเดือน เราก็ไม่ได้คิด เราก็เล่นไปไม่ได้คิดถึงผล ว่าจะหุ่นดีภายในสามวัน คือก็เล่นไปแล้วก็นั่งสมาธิควบคู่กันไป เรื่อยๆ วันหนึ่งก็รู้สึกว่าเรานั่งได้ตรงจากที่ในชีวิตนี้ไม่เคยนั่งได้ ตรงเลย การนั่งสมาธิเป็นอะไรที่ทรมานมาก ไม่อยากนั่งเลย นั่งแล้วมันไม่สบายพอเริ่มนั่งได้แล้วก็เลิกปวดหลัง ตั้งแต่วันนั้น เป็นต้นมาก็ไม่เคยปวดหลังอีกเลยจากการนั่งหรือว่าอะไร ก็เลยมองว่าโยคะมีประโยชน์ ตอนนั้นน่าจะเล่นได้ 3-4 เดือน แล้วก็แค่ในฟิตเนส ยังไม่ได้ไปสตูดิโอหรูหราอะไรเลย
จากจุดนั้นได้แรงบันดาลใจมาต่อยอดเพื่อเรียนเป็นครูได้ ยังไง
เก๋ว่าเก๋โชคดีที่ได้ครูดีแล้วก็พอครูสอน คือมีครูผู้ชาย คนหนึ่งเป็นครูที่สอนอัษฎางค์โยคะ (Ashtanga Yoga) เก๋เล่น Ashtanga ด้วย พอจบคลาส ครูก็จะนั่งจะยิ้ม ดูมีความสุข ปกติครูสอนเสร็จจะพับเสื่อออกไป แต่ครูคนนี้ก็จะนั่งยิ้มดู นักเรียนพับเสื่อเก็บเสื่อออกไปจากห้อง เราก็อิจฉา (เน้นเสียง) รู้สึกว่าเป็นงานที่มีความสุข ก็อยากทำ แล้วก็พอเริ่มเล่นไป สักพัก ก็รู้สึกว่าอยากสอนคนในครอบครัว มีช่วงหนึ่งกลับมา เรารู้สึกได้เอง ไม่ใช่ว่าครูบอก ไม่ แต่ครูเขาก็สอน และก็สอนสนุกดี ทำให้อยากมา จากอเมริกา ตอนนั้นยังไม่ได้เป็นครู กลับมาเราก็จับคนที่บ้าน มาสอนโยคะ แต่ก็รู้สึกว่าสอนไม่ได้ (หัวเราะ) แต่อยากสอน เรียน แล้วก็แต่ว่าตรงจุดนั้นคือค้นพบเองในลมหายใจเองว่า ลมหายใจมันเป็นแบบนี้ คือปกติเวลาปฏิบัติธรรม เราก็หายใจ แต่ไม่รู้ว่าจะสอนยังไง พอดีมีเพื่อนเขาคุยให้ฟังว่ามีคอร์สครูโยคะ จะมีครู แบบพองยุบ รู้สึกว่าค่อนข้างมีกรอบพอสมควร แต่พอมาทำ จากแมสซาชูเสตส์จะมาสอนในเมืองที่อยู่ตอนนั้น เขาบอกว่า โยคะมันเหมือนอยู่ระหว่าง หรือกึ่งๆ อิสระขึ้น เพราะเขาก็ ลองดูไหม เขาจะไปคุยกับเครู แต่เราไม่เคยคิดอยู่ในหัว ก็แค่ ไม่ได้บอกว่าเรามาปฏิบัติธรรม แต่เรารู้สึกว่าเราจูนกับสติได้ ลองไปดู ไปเป็นเพื่อน ไปเล่นๆ ตอนนั้นฝึกโยคะได้เกือบๆ ปี แล้วพอเล่นไปสักพัก ก็เลยมองว่าจริงๆ แล้วโยคะมันเหมือน เท่านั้นเอง เราก็ไปฟัง คุยไปคุยมาก็เห็นว่าน่าสนใจ แล้วก็ ทางผ่านระหว่างชีวิตประจำวันกับนั่งสมาธิ เหมือนกับเป็น ตัวจูน คือนั่งสมาธิเก๋ว่ามันละเอียด เรายุ่งๆ มาถึงจะให้มานั่ง สมัครเรียน รู้สึกว่าน่าสนใจ รู้สึกว่าเรามีพื้นฐานที่เราคิดว่า หลับตาก็อาจจะยังยากอยู่ เก๋ว่ามันละเอียดเกินไป แต่พอโยคะ อยากจะเรียนอยู่แล้ว แต่ว่าไม่แน่ใจ แล้วพออันนี้มันมาประ สักพัก โยคะมาอยู่ตรงกลาง มาช่วยกรองระดับหนึ่ง พอเริ่มนิ่ง จวบเหมาะกับความคิดเดิมที่เรามีอยู่ คืออยากจะสอน เราก็ เลยว่า ก็เรียนล่ะกัน คือค่าใช้จ่ายเยอะด้วย เราไม่เคยลงทุน เราก็เริ่มปฏิบัติ นั่งสมาธิได้ ส่วนใหญ่เก๋จะนั่งสมาธิหลังจาก โยคะ เก๋ว่ามันเหมือนกับการที่เราคั้นน้ำส้ม คุณเล่นทุกอย่าง อะไรในชีวิตขนาดนี้มาก่อน ตอนนั้นบ้านก็ไม่มี มีรถคันเดียว มาดีหมด แต่สุดท้ายคุณได้น้ำหรือที่เราทำน้ำซุปแล้วแต่คุณไม่ ในที่อเมริกา รู้สึกว่าเป็นการลงทุนครั้งแรกในชีวิต แล้วก็ กินน้ำที่ได้นั้นก็จะน่าเสียดาย เก๋รู้สึกว่าที่สุดของโยคะคือตอนที่ ทำงานประจำเต็มเวลาไปด้วย ก็เหนื่อยเหมือนกัน จบแล้วนอนศวานะ คืออารมณ์ความนิ่งตรงนั้นเก๋ว่าเราเอามา ใช้เป็นอารมณ์ในการนั่งสมาธิได้ อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 4
|5
โยคะที่เรียนครั้งนั้นเป็นสไตล์ไหน
ไม่ใช่เฉพาะด้านกายภาพ เป็นเรื่องของจิตใจเป็นเรื่องของสติ เป็น Iyengar based คือที่ต้องบอกว่านี้เพราะว่าถ้า ด้วย เก๋มองว่าโยคะเป็นเรื่องของการฝึกสมาธิ ก็เลยอยากที่จะ เป็น pure Iyengar จริงๆ เขาจะเคร่งครัดมาก แล้วก็จะต้อง เริ่มแต่ตอนนั้นไม่มั่นใจเลย ไม่คิดว่าจะทำได้เสียด้วยซ้ำแต่ว่าก็ อุปกรณ์ แล้วก็ต้องแบบขาต้องแบบนี้ แล้วก็ตามครูเป๊ะ แล้วก็ ลองดู ตอนนั้นเริ่มสอนแล้วที่อเมริกาพอจบได้สักสองสาม จะต้องเรียนตามIyengar institute เท่านั้น แต่เก๋ให้ความชื่นช เดือน เก๋ขึ้นเว็บเลย เพราะตอนนั้นครูบอกว่าพยายามให้เริ่มไม่ มเขาถึงไม่กล้าบอกว่าเป็นไอเยนการ์เพราะว่ามันจะต้อง อยากให้หยุดเพราะมันจะหลุดวงโคจร คือเราก็สอนในแนวที่ certified Iyengar teacher แต่ที่เก๋เรียนครูก็จะมีแนวทาง เราอยากจะสอน สอนที่บ้านนั้นแหละก็เลยมีประสบการณ์ใน ของเขาเองหลายอย่าง แล้วก็มีเรื่อง healing (การเยียวยา) แล้วก็เน้นด้านจิตใจ คือไม่ใช่แบบพาวเวอร์ที่ตัดสินใจไปเรียน การสอนโยคะให้คนต่างชาติก่อน ตอนกลับมาแรกๆเครียดมาก เลยเพราะต้องแปลหมดเลย ภาษาอังกฤษเราก็ไม่ได้เก่งแต่ด้วย ครูโยคะเพราะจุดมุ่งหมายอะไร จริงๆ มันเหมือนจะต้องเรียนหรือยังไงไม่รู้ เหตุผลมัน ความคุ้นเคย เรื่องอนาโตมี (กายวิภาค) โดยศัพท์ทางเทคนิค ไม่เยอะ คิดตัดสินใจนานมาก อย่าเรียนเลย แล้วก็เลิก แล้วก็ เราก็เรียนมาเป็นภาษาอังกฤษหมดเลย คิดอีก ถ้าใช้สมองคิดมันไม่ควรจะเรียน แล้วมันก็คอยคิดอีกว่า เรียนเถอะ เหมือนใจมันให้เรียนน่ะ แต่เหตุผลจริงๆ เหมือนว่า สอนโยคะให้เด็กก็เริ่มที่อเมริกาเหมือนกัน ถามตัวเองว่าชีวิตนี้จะเป็นครูเหรอ ตอนนั้นเองก็ยังไม่ใช่ เราก็ ใช่ ตอนนั้นก่อนกลับไม่นานก็ไปก็ไปเรียนที่ Teacher แบบต้องจ่ายเงินค่าเรียนเยอะมาก จ่ายไปทำไม เราจะไปเรียน Training ที่ Radiant Child Yoga เป็นแนวกุณฑลินีโยคะ แต่ เหรอ คิดค้นมาเป็นกุณฑลินีสำหรับเด็กทำไมเลือกไปเรียนที่นี่
สอนโยคะให้เด็กก็เริ่มที่อเมริกาเหมือนกัน
ใช่ ตอนนั้นก่อนกลับไม่นานก็ไปก็ไปเรียนที่ Teacher Training ที่ Radiant Child Yoga เป็นแนวกุณฑลินีโยคะ แต่ คิดค้นมาเป็นกุณฑลินีสำหรับเด็กทำไมเลือกไปเรียนที่นี่ ก็หาอยู่นาน คือพยายามเลือกที่ดีที่สุดของที่อเมริกา ก็มาได้สองที่คือ Yoga Kids ซึ่งเป็นอันดับหนึ่งอยู่แล้วของ อเมริกากับที่นี่ คือก็ดูที่เป็นออริจินัลที่สุด เพราะที่อื่นเขาจะไป เรียนมาจากที่หลักๆ แล้วก็มาตั้งเอง แต่ที่นี่ครูสอนมา 30 - 40 ปีทั้งคู่ ก็เลยไปเรียน ก็เลยได้คนละแนว ทั้งสองแห่งเขาก็มีจุด แข็งด้วยกันทั้งคู่ Radiant Child Yoga ซึ่งเป็นการโมดิฟาย กุณฑลินีเขาจะเน้นจิตใจเยอะ เน้นพลังงาน แต่ Yoga Kids จะเน้นอาสนะ ก็เรียนแล้วเอามารวมกันก็บวกปฏิบัติธรรมของ ความสนใจในการสอนโยคะให้เด็กมีจุดเริ่มต้นอย่างไร เก๋เข้าไป จริงๆ การสอนโยคะเด็กไม่เคยอยู่ในสมองไม่เคยคิดว่า ความพิเศษของการเรียนครูโยคะสำหรับเด็กคืออะไร จะทำงานกับเด็ก ไม่แม้แต่จะใกล้เคียง แต่ว่ากลับมาคิดวันหนึ่ง มันคนละแนวกัน คือโยคะคิดส์ เก๋ว่าหลักสูตรเขาเป็นแบบ ว่า คือเรารู้สึกว่าที่เรามาเป็นตัวตนของเราได้ในทุกวันนี้ มันมี เป็นแผนมากกว่า คือท่าเขาจะเยอะมาก เป็นท่าอาสนะ แบ่ง แบคกราวน์มาจากครอบครัว มีพื้นฐานชีวิตบางอย่างในวัยเด็ก หมวดหมู่ เป็นหมวดอาหาร หมวดนก หมวดเลข เขาแบ่งเป็น ที่ทำให้เรามาเป็นตัวเราทุกวันนี้ทั้งในเรื่องดีและไม่ดี เราก็เลย เซ็คชั่นของท่า เขาจะมีหมวดเจลลี่หรืออะไรที่เกี่ยวข้องกับน้ำ มองว่าจุดนั้นมันเป็นช่วงชีวิตที่สำคัญ เพราะฉะนั้นน่าจะบ่ม ท่าอาสนะก็จะเกี่ยวข้องกับอะไรแบบนั้น คือเขาแบ่งออกมา เพาะเรื่องดีๆ ให้กับเด็ก เราก็เลยมองว่าโยคะเป็นทาง เป็นตัว แล้วท่าจะเยอะมา เพลง resource เยอะมาก แต่เรเดียนท์ หนึ่งที่จะช่วยได้ เพราะว่าแนวทางการสอนโยคะของเก๋ ไชลด์หนังสือที่เรียนบางมาก อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 4
|6
ควรจะดูองค์ประกอบอะไรบ้างว่าโยคะเหมาะสำหรับลูก หรือเปล่า
คือถ้าเด็กอยากเรียนได้ก็เก่งแล้ว ถ้าเด็กอยากเรียนได้ อันนั้นคือคำตอบ จะด้วยอะไรก็แล้วแต่ แล้วก็แต่ถ้าจะดูผลว่า เรียนโยคะแล้วได้ผลไหม ได้อะไร พ่อแม่จะต้องให้เวลานิดหนึ่ง เด็กอาจจะไม่ได้นิ่ง เพราะว่าธรรมชาติของเด็ก พ่อแม่คาดหวัง ว่าอยากจะให้ลูกเรียบร้เอย แต่ธรรมชาติของเด็กอาจจะไม่ได้ เรียบร้อย ลูกอาจจะไม่ใช่อย่างนั้น คือมองว่าเขาควบคุมตัว เองได้ดีแค่ไหน คือเอาไปใช้ในชีวิตประจำวัน หมายถึงว่า เช่น บางทีเวลาที่เขาตื่นเต้นเขาสอบ เขาสามารถเอาสิ่งที่เขาเรียนไป ใช้ได้ไหม แต่ว่าจริงๆ แล้ว จุดประสงค์ที่เก๋อยากจะให้เกิดขึ้น แต่ว่าได้อะไรเยอะมากอย่างน่าประหลาด เก๋ว่าจะได้เรื่องสมาธิ คือเป็นการปลูกฝัง วันนี้อาจจะเรียนจบสองปีอาจจะไม่เห็น เยอะกว่าของโยคะคิดส์ เขาจะมีเกมหลายอย่างในการเรียก อะไรเลยก็ได้ แต่เก๋เชื่อว่า สิ่งที่เก๋สอนไปทั้งหมด เด็กเขาผ่าน สมาธิ อย่างอันหนึ่ง เช่น การฝึกให้เด็กทำศวาสนะด้วยการให้ ประสบการณ์และเขาจำ แล้ววันหนึ่งเมื่อเขาโตขึ้น อย่างเก๋ อาหารนก อันนี้ก็ได้มากจากของเรเดรียนไชลด์ สอนเรื่องสติ การเอาใจอยู่กับตัว เก๋จะสอนผ่านประสบการณ์ เก๋ไม่ใช้คำพูด พอเวลาเขาโตขึ้น เขาไปปฏิบัติธรรมเขาไปฝึก โยคะสำหรับเด็ก คิดว่าเด็กควรจะสัมผัสโยคะตั้งแต่เมือ เขาจะเข้าใจ
ไหร่
ต้องมองแล้วแต่มุม จริงๆ ที่อเมริกาเขาจะมีโยคะ ตั้งแต่เบบี้ เด็กเล็กๆ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเบบี้ แอนด์ มัม ก็คือ แม่เพิ่งคลอดฝึกกับลูก แต่เก๋ไม่ได้เรียนแบบนั้น ที่เก๋ไปเรียน เขาเน้น 4 ขวบขึ้นไปจนถึงวัยรุ่น แล้วเก๋ก็สอนในแนวนี้ 4 - 8ปี 9 -13 ปีซึ่งเป็นช่วงพรีทีน (ก่อนวัยรุ่น) แล้วก็ 14 ปีขึ้นไปถือว่า เป็นวัยรุ่น ไม่ให้เรียนรวมกัน ตอนนี้พรีทีนเก๋สอนเป็นไพรเวท เฉยๆ ในคลาสที่สอนจะสอนเด็ก 4 - 8 ปีเยอะกว่า
คนที่จะมาเรียนมีข้อกำหนดอะไรไหม
ก็มาเรียนได้เลย ตอนนี้เด็กที่เรียนอยู่ก็มาเรียนกับเก๋ สองปีกว่าแล้ว คือเรียนไปเรื่อยๆ จะบอกว่าจริงๆ เป็นอะไรที่ ทั้งเด็กและพ่อแม่เขาตั้งใจจริงๆ เก๋ว่าเด็กเขามีทางเลือกตั้ง เยอะที่เขาจะไปเรียนอื่นๆ พ่อแม่เองก็มีเวลาจำกัด เขาตั้งใจที่ จะมาเรียนอันนี้ พ่อแม่เขาต้องคาดว่าจะได้อะไร
ข้อแนะนำอะไรไหมสำหรับพ่อแม่ และข้อควรระวังใน การพาเด็กไปฝึกโยคะ
ในฐานะเป็นครูโยคะอะไรคือความแตกต่างระหว่างโยคะ สำหรับเด็กและผู้ใหญ่
ต่างกันเยอะนะคะ (น้ำเสียงครุ่นคิด) สอนโยคะเด็ก สิ่งที่ยากที่สุดคือการดึงเด็กให้ร่วมทำกิจกรรม เก๋ว่าอันนั้นน่ะ ยากที่สุดแล้ว ทำยังไงถึงจะสอนให้เด็กเขาสนใจ เช่น เวลา สอนท่านักรบผู้ใหญ่เราบอกท่าให้ทุกคนเอาขาหน้าวางงอเข่า ขาหลังตรง วางเท้าลง ยกมือขึ้น แล้วทำไป แต่ถ้าเป็นเด็ก เขาจะถามว่าทำไม ต้องอเข่า ยกเว้นแต่เป็นเด็กที่เชื่อฟังคำสั่ง แล้วผู้ใหญ่ให้ทำตามแบบเซ็งๆ ว่าเสร็จยัง จบยัง อันนี้สำหรับ เด็กเล็ก ความยากคือว่าแล้วจะสอนยังไง แต่สำหรับพรีทีน 11-12 ปียังพอคุยได้ว่าท่านี้ทำให้ร่างกายแข็งแรง มันจะหลอก ไม่ได้แล้ว บางทีมันจะอยู่กึ่งๆ อาจจะพูดแบบเด็กๆ ได้บ้าง หลอกแบบไร้สาระไม่ได้แล้ว แต่กลุ่มเด็กเล็กทุกอย่างจะต้อง เป็นเป็นเกม จะต้องมีเนื้อหาสนุกที่จะดึงให้เขาเล่นด้วย
ทำไมจะต้องแบ่งโยคะเด็กออกไปจากโยคะทั่วไป
เพราะว่าวิธีการสอนแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ถ้าเป็น เด็กเล็กนะคะ แต่ถ้าเป็นเด็กวัยรุ่นยังใกล้เคียง คือถ้าวัยรุ่น ก็มาหาครูแล้วก็บอก ดูว่าเด็กมีข้อจำกัดอะไรหรือ เปล่า แล้วก็มีประเด็นอะไรเป็นพิเดศษที่อยากจะให้ครูทราบ เก๋เองก็คงจะสอนแบบผู้ใหญ่ แต่อาจจะใช้ภาษาที่ดูสบายๆ เอาไว้ แล้วก็อยู่ที่ครูและสภาพแวดล้อมของคลาสด้วยนอกจาก ไม่เครียดมาก แล้วก็เน้น คือเก๋สอนการใช้ชีวิตด้วย ถ้าสอนเด็ก วัยรุ่นก็จะออกไปแนวนั้น นั้นก็ไม่มีอะไรมาก อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 4
|7
แล้วส่วนใหญ่ที่พบเด็กที่มาเรียนมาเองหรือพ่อแม่อยาก ให้มาเรียน
เด็กมาเรียนเก๋จะให้ทดลองเรียนก่อน แล้วพ่อแม่เขา จะถามว่าอยากเรียนไหม เก๋ไม่แนะนำให้พ่อแม่บังคับเด็ก เพราะเก๋มองว่าเด็กมาเล่นโยคะเพื่อให้มีความสุข คือ ถ้าเด็กทำ กิจกรรมอื่นๆ แล้วมีความสุขอยู่แล้ว ไม่ต้องมาเรียนก็ได้ อันนี้ ไม่ได้หมายความว่า ให้เด็กมีปัญหาเท่านั้นมาเรียน แต่หมายถึง ว่าอะไรที่เด็ก มีความสุขให้เด็กทำตรงนั้นเลย แต่ถ้าทดลอง เรียนแล้วถามเด็กว่าอยากเรียนไหม แต่ส่วนใหญ่เด็กก็จะ อยากเรียน มาแล้วก็จะอยากเรียน แล้วก็อยู่กับพ่อแม่ด้วยว่า อยากจะให้ลูกเรียนอะไรยังไง พอใจกับผลไหมเพราะว่าเรียน ตรงนี้มันระยะยาวคือถ้าพ่อแม่คิดว่าให้ลูกเรียนสองเดือนแล้ว จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี อันนี้เก๋จะไม่รับประกันอาจจะไม่ ได้บรรลุวัตถุประสงค์ของพ่อแม่
สอนเด็กผ่านประสบการณ์เป็นอย่างไร
ของเขาบอกว่านกจะมากินอาหารที่มือ แต่ว่านกนี่เขาจะกลัว อย่างเช่นฝึกการเอาใจอยู่กับตัว เก๋จะให้เขานอนถ้า เด็กที่เสียงดัง คือถ้าหนูจุ๊กจิ๊กๆ นกเขาจะไม่มากินอาหารที่มือ เมื่อไรเขาได้ยินเสียงกระดิ่งให้ยกมือ นี่เก๋ไม่ได้สอนเรื่องสมาธิ น้องก็เลยนอนกันนิ่งเลยนะ นี่คือเด็กเล็ก 4-8 ปี ก็จะแกล้ง เลยนะ เพราะว่าไม่มีคำว่าสติ ไม่มีคำว่าสมาธิ เด็กก็จะนอนเล่น เหมือนเอาอาหารมาวางแปะที่มือด้วยการออกแรงกดที่มือ กัน ตีกัน เล่นกัน หยอกกันอะไรบ้าง อยากตี ก็ตีกันไป เก๋จะ เบาๆนิดหนึ่งให้เขารู้ว่าอันนี้คือสิ่งที่ใจเขาจะต้องจดจ่อมาที่มือ บอกว่า เสียงมาแล้วนะ พวกที่คุยก็ยังคุยยังเล่นอยู่แต่ก็จะมี มีสีเหลือง สีแดง สีขาว นกจะกลัวเด็กที่เสียงดัง ถ้าหนูจุกจิกๆ เด็กบางคนที่ยกมือเร็ว หลังจากศวาสนะ พอเขายกมือ เก๋ก็จะ นกจะไม่มากินอาหาร แล้วเราก็วางอาหารบนมือ เอาไปแตะที่ พูด โอ้โห คนนั้นยกมือเร็วจังเลย เด็กที่มัวแต่เล่นไม่สนใจก็จะ มือให้เขารู้ว่าสิ่งที่ ก็คือว่าจะกดนิดนึ ง พอเด็กๆ นอนลงก็จะ เริ่มมองแล้ว ให้เขาคิดเอง ในห้องมันจะมีเด็กดีกับเด็กเกเร เรา บอกเขาว่าเริ่มเห็นนกมาแล้วหนึ่งตัว สองตัว หนูดูนะว่าเห็นนก ก็จะให้เด็กดีน่ะเป็นคนบอกเด็กเกเรว่าเขาทำได้ยังไง ลองบอก สีอะไร กี่ตัว แล้วใจเขาก็จะอยู่กับจินตนาการ แล้วใจก็อยู่กับ เพื่อนสิ เขาก็จะบอกด้วยภาษาที่เขาพูดเอง เพื่อนก็จะ อ๋อแล้ว ความคิด ก็คือให้เขาอยู่กับตัวเอง เราก็บอกว่า ดูสิว่านกกิน เขาก็จะเริ่มเรียนรู้ คลาสที่สองผ่านไปหนึ่งอาทิตย์เขาก็จะเริ่ม อาหารหมดหรือยัง เขาก็จะเอาใจไปอยู่ที่มือแล้ว เขาก็จะเริ่ม เงียบเพราะกลัวยกมือไม่ทันเพื่อน พอสามคลาสสี่คลาสเด็ก นิ่ง บางทีก็จะถามว่าวันนี้จะเอาอะไรให้นกกิน ให้เขาคิดเอง เริ่มรู้แล้ว เอ้า ทุกคนจะฟังเสียงกระดิ่ง พอได้ยินเสียงกระดิ่ง จะเงียบกริบ เขาก็จะรู้แล้วว่าจะเอาใจไว้ที่ไหน นี่คือตัวอย่าง เหมือนว่าการสอนโยคะเด็กนี่ไม่ได้อยู่กับความเงียบเลย ของสติการฟัง แต่ก็จะมีสติการมองและเรื่องอื่นๆ ด้วย สอน ใช่ไหม เสร็จแล้วเขาก็จะเริ่มเรียนรู้ เริ่มเงียบ กลัวยกมือไม่ทันเพื่อน โอ้โห คือจะต้องพูด 95 เปอร์เซ็นต์ เหนื่อยมาก คือ 3 - 4 คลาสผ่านไปเด็กเริ่มรู้แล้ว ทุกคนฟังเสียงกระดิ่ง เอาใจ แบบจับปูใส่กระด้ง คือนอกจากพูดสอนแล้วยังจะต้องคอยห้าม ไว้ที่ไหน เอาใจไว้ที่หู นี่คือตัวอย่างเรื่องการฝึกสติจากการการ เวลาเขาแกล้งเพื่อน ก็จะต้องดึงเขากลับมา คือพูดนอกรอบด้ว ฟัง ก็จะมีสติอื่นๆ ที่เก๋บอกว่าใช้ประสบการณ์ อย่างฝึก ยแล้วก็ต้องพูดการสอนด้วย ศวาสนะให้เด็กด้วยการให้อาหารนก เก๋จะให้เด็กนอนแล้วบอก ว่าเราจะให้อาหารนกกัน ให้เขานอนหงายลง แล้วก็จะบอกเมนู เคยเบื่อไหม ว่าวันนี้เมนูให้นกได้แก่ข้าวกล้อง แล้วก็มีสีด้วยนะ เช่น มันไม่มีเวลาเบื่อค่ะ (หัวเราะ) ข้าวโพด สีแดง สีเหลือง สีขาว แล้วก็ทำเป็นเอาไปวางที่มือ อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 4
|8
สำหรับคนที่สนใจอยากจะเป็นครูสอนโยคะเด็ก มีคำ แนะนำอย่างไรหรือฝึกฝนอย่างไร เรียนอะไรโดยเฉพาะ
ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลหลักสูตรครูสอนโยคะเด็กใน ประเทศไทย ส่วนตัวเก๋เองได้จัดทำหลักสูตรครูสอนโยคะเด็ก ขั้นพื้นฐาน 3 ชั่วโมง (Budharas Yoga for Kids Teacher Training – Foundation program, BYKT) เพื่อให้ครูโยคะที่ สนใจจะสอนเด็กได้เห็นภาพรวมของการสอน เข้าใจหลักการ ได้รับชุดการสอนเพื่อไปเริ่มต้น และได้ฝึกคิดท่าเอง ทั้งนี้เพื่อ นำไปประยุกต์เข้ากับรูปแบบการสอนเฉพาะตัวของตัวเองต่อ ไป สำหรับในต่างประเทศให้ลองดูเว็บไซต์ www.yogakids. com ซึ่งมีครูที่ผ่านการรับรองสอนอยู่ทั่วโลก คาดว่ามีบางแห่ง ในภูมิภาคเอเชียใกล้บ้านเราที่สามารถไปเรียนได้ผู้ที่อยากเป็น ครูโยคะเด็กควรจะมีคุณสมบัติอย่างไร สิ่งที่สำคัญคือมีความอดทน มีเมตตาต่อเด็ก และมีจุด ประสงค์ในการสอนอย่างแท้จริง เนื่องจากการสอนโยคะเด็ก เป็นงานที่เหนื่อยพูดเยอะและอดทนกับพฤติกรรมของเด็กที่ บางครั้งไม่ได้เป็นอย่างที่เราต้องการ และต้องพัฒนาปรับ เปลี่ยนการสอนตลอดเวลา หากขาดสิ่งนี้ถึงแม้ว่าจะมีความรู้ ในการสอนเพียงใด เกรงว่าจะทำให้ถอดใจกลางทางไปก่อน สำหรับเรื่องอื่นๆ ที่จะช่วยงานสอนคือความคิดสร้างสรรค์ เพราะเราต้องสามารถประยุกต์เนื้อหาที่ต้องการสื่อให้เด็กออก มาอยู่ในรูปแบบที่เด็กสนใจ เช่น นิทาน เกมส์ ซึ่งทำให้การ สอนของเราไม่มีขอบเขตและปรับให้เหมาะกับพฤติกรรมเด็ก แบบต่างๆ
ได้ค่ายโยคะครอบครัวปีนี้เป็นครั้งที่สองแล้วมีความตั้งใจ อย่างไร
จริงๆ คิดแค่ว่าอยากจะปลูกฝังเด็ก ไม่ได้คิดถึง ครอบครัว การที่มาเป็นโยคะครอบครัวเหมือนทุกวันนี้ไม่ได้คิด เพิ่งจะมีความคิดในเรื่องโยคะสำหรับครอบครัวนี้ในช่วงสองปีที่ ผ่านมา จุดประสงค์ก็คืออยากให้พ่อแม่มีความพร้อมในการ ดูแลลูก เราสอนโยคะเด็ก ปลูกฝังสิ่งต่างๆ อาทิตย์ละครั้ง สุดท้ายต้องขึ้นกับพ่อแม่ ถ้าจะปลูกฝังจริงๆ ยังไงต้องพ่อแม่ พ่อแม่ต้องพร้อมทางด้านจิตใจ คือเก๋มองว่าถ้าพ่อแม่มีพลังงาน ที่ดี เด็กเขาจะได้รับพลังงานดีๆ ไปจากพ่อแม่ ก็พยายามปลูก ฝัง อยากจะให้พ่อแม่มีความสุขในระดับที่ทำได้ โยคะสำหรับ พ่อแม่ก็จะเป็นเรื่องของการรักษาพลังงานดีๆ เพื่อส่งผ่านไป ให้ลูก กับการมองลูกอย่างเข้าใจกับการคาดหวัง ส่วนของเด็ก เก๋ก็ยังเน้นเรื่องของการปลูกฝัง ทำให้เด็กเขาเรียนรู้จาก ประสบการณ์แล้วค่อยเอาคำพูดตามมา ให้เขารู้จักนามธรรม แล้วค่อยเอารูปธรรมหรือคำพูด เก๋เริ่มเห็นว่าเด็กเขาเข้าใจ เก๋ เพิ่งเริ่มต้นสอนเด็กมาได้สามปี เด็กรุ่นแรกเพิ่งเห็นว่าเขาเก็ท แล้วก็เห็นว่ามันสำคัญนะ ทุกอย่างเราไม่รู้ มันจะต้องพิสูจน์
อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 4
|9
อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง : เรื่อง ภาพคัดลอกจาก (Photo: Thanks to) http://www.travelblog.org/Asia/India/Karnataka/Mysore/blog-698706.html
เวลาอันอเนกอนันต์ ณ มัยซอร์
ประภาการ์หรือ “ประโภ” เพื่อนร่วมคลาสและเป็นเหมือนรูมเมทของผมที่อาศรมศิวนันทะที่เนยาร์แดม เมืองตรีวันดรัม อาจจะรู้สึกงงงวยเล็กน้อยว่าผมจะอยากไป “ที่นั่น” ทำไม ขณะที่มีเวลาสั้นๆ เพียงเท่านี้ แม้จะไม่ได้พูดออกมาดังๆ (ให้ผมเสียน้ำใจ) แต่ผมคิดว่าในใจเขาคงจะพูดว่า “ใครๆ เขาก็ไป ‘มัยซอร์’ กันเป็นเดือนๆ ด้วยกันทั้งนั้น” ช่างโชคร้ายในความโชคดีที่หลังจากจบการเรียนหลักสูตรครูโยคะที่เนยาร์แดมเสร็จแล้ว ผมบังเกิดความรู้สึกกำเริบ เสิบสานขึ้นมาว่า อย่างไรเสียก่อนกลับบ้านก็อยากจะไปให้ถึง “มัยซอร์” (Mysore) ให้จงได้ เพราะไหนๆ ก็ลงทุนลงแรงเดิน ทางมาถึงถิ่นอินเดียแล้ว เดินทางต่อไปอีกหน่อยจะเป็นไร จะได้ไม่ต้องเสียเที่ยว ตีตั๋วเครื่องบินกลับมาอีกเวลาที่นึกขึ้นมาว่า อยากจะไปเห็น (และเที่ยว) มัยซอร์ ในวันข้างหน้า เวลาในตอนนั้นที่ผมมีคือประมาณสิบวันและได้ “ประโภ” นั่นเองเป็นคนแนะนำและช่วยติดต่อหาที่ฝึกโยคะในเมืองมัย ซอร์ให้...ใช่แล้วครับ ใครๆ ที่นึกถึงมัยซอร์ก็มักจะนึกถึงการไปเพื่อไปฝึกโยคะที่เมืองนี้กันทั้งนั้น ประโภแนะนำผมว่าน่าจะไปฝึกมัยซอร์กับครูโยคะที่เขารู้จักคนหนึ่งชื่อ “อะเจย์” (Ajay Kumar) ซึ่งเขาจะเป็นคนติด ต่อสอบถามให้ผมก่อนว่าพอจะมีที่ว่างให้นักเรียนนอกคอกผู้มีเวลาน้อยแค่ไม่ถึงครึ่งเดือน ขอเข้าไปฝึกด้วยที่ “ศาลา” (Shala) ของครูอะเจย์ด้วยจะได้หรือไม่ หลังจากประโภติดต่อให้ไปแล้วเขาก็บอกว่าอย่างไรเสียผมก็น่าจะได้โทรไปพูดคุยกับครูเองเผื่อจะสอบถามอะไรหรือได้รู้ คำตอบด้วยตัวเองว่า จะพอแทรกตัวเข้าไปฝึกในศาลาของครูอะเจย์ได้หรือไม่ นั่นเป็นเหตุผลที่ผมจะต้องไปเฝ้าวนเวียน อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 4
| 10
แถวบู้ทโทรศัพท์ของอาศรมที่เนยาร์แดมในทุกขณะที่มีเวลาว่างจากการเรียน การฝึกและทำกิจกรรมให้อาศรม (กรรมโยคะ) และต้องฝ่าฟันกับแถวต่อคิวยาวเหยียดของผู้คนในอาศรมที่กระหายการติดต่อกับโลกภายนอก “นายมาเรียนได้ ถ้าหากว่ายอมที่จะเข้าฝึกในคลาสตอนตีห้า ตกลงไหม” ปลายทางของสายโทรศัพท์ที่มัยซอร์คือน้ำเสียงของ “อะเจย์” ที่ผมได้ยินเป็นครั้งแรก แต่ยังคาดเดาไม่ออกว่าเขาจะเป็นชายในวัยใด ได้แต่นึกไปก่อนว่าจากการที่ทั้งประโภและนิเลศ (เพื่อนชาวอินเดียที่อาศรมฯ ซึ่งรู้จักอะเจย์ ทั้งยังเคยไปช่วยอะเจย์สอน) เป็นผู้แนะนำผม บอกว่าอะเจย์เป็นครูอัษฎางคะโยคะ สไตล์มัยซอรที่ได้รับการยอมรับที่สุดคนหนึ่งตอนนี้ ผมเองก็คิดว่าเขาเองน่าจะมีอาวุโสมากไม่น้อย ต้นเดือนที่สองของปี 2553 ผมลากกระเป๋าแบกเป้หลังใบเขื่อง นั่งรถไฟตอนกลางคืนเพื่อจะไปถึงรุ่งเช้าที่เมืองบังกาลอร์ (ชื่อใหม่อย่างเป็นทางการตอนนี้คือเมือง Bengaluru) เมืองใหญ่ที่ใกล้ที่สุดกับมัยซอร์ ซึ่งอยู่ห่างออกไปเพียง 140 กิโลเมตร และ ผมก็จับรถไฟเที่ยวแรกในตอนเช้าวันนั้นแบกเป้หลังย่อมๆ อีกใบหนึ่ง (ที่เหลือผมเช่าล็อกเกอร์เก็บกระเป๋าเอาไว้ที่สถานีรถไฟ บังกาลอร์นั่นเอง) ใช้เวลาเดินทางแค่ชั่วนั่งเพลินๆ ไม่กี่ชั่วโมงด้วยบริการรถไฟตู้นั่งปรับอากาศแสนสบาย ผมก็มาถึงมัยซอร์เอา เมื่อต้นบ่ายของวันเดียวกัน จัดการเรียกรถออโต้ริกชอว์หรือรถตุ๊กตุ๊กของอินเดีย มุ่งตรงดิ่งไปยัง “ศาลาแปด” (Sthalam8) ของ อะเจย์ในบัดดลเพื่อรายงานตัวกับครูก่อนว่า แม้จะมีเวลาน้อยในการมาขอเข้าฝึก แต่ผมก็ไม่ได้เบี้ยว (นะคร้าบ) ถึงจะหง่อมและกรำจากการเดินทางรอนแรมหลายต่อ จากตรีวันดรัมมาเมืองโคชิน จากโคชินมาบังกาลอร์ แล้วค่อยต่อ รถมาถึงมัยซอร์ในที่สุด แต่สัมผัสแรกของผมที่ได้เห็นเมืองนี้ก็รู้สึกดีทีเดียวและรู้สึกได้ถึงความร่มรื่น ไม่พลุกพล่าน เป็นเมืองเล็กๆ ที่น่าอยู่และน่าใช้เวลาดีทีเดียว พอไปถึงและได้พูดคุยกันสักครู่ ผมถึงได้พบว่าครูอะเจย์ในตอนนั้นเป็นแค่เด็กหนุ่มท้องถิ่นอายุอานามประมาณ 24 ปีเท่านั้นเอง ถึงแม้จะยังดูเด็กแต่เขาก็มีรังสีออร่าน่าเชื่อถือ เขาได้บอกให้คนที่ศาลาพาผมไปเช็คอินในโรงแรมที่อยู่ไม่ห่างจากที่ฝึก แค่เพียงสองกิโลเมตรเท่านั้น เหมาะสำหรับการเดินเท้าออกมาฝึกมัยซอร์ในคลาสกับอะเจย์ตอนตีห้าได้ (แน่ล่ะว่าผมจะต้องตื่น และก้าวเท้าออกจากโรงแรมที่พักก่อนเวลาตีห้า!) และบอกว่าพรุ่งนี้เช้าค่อยมาเจอกัน ศาลาแปดของอะเจย์นั้นแม้จะอยู่ไม่ห่างจากใจกลางเมืองของมัยซอร์นักก็ตาม แต่ก็ขยับไกลออกไปจาก “พระราชวังของมหาราชามัยซอร์” (Mysore Palace) ที่เที่ยวอันดับต้นๆ และตลาดร้านรวงต่างๆ โดยเฉพาะตลาดหลักที่มีชื่อว่า “เทวราชา” (Devaraja) ตลาดสดและขายสินค้าขนาดใหญ่ที่มีสีสันมาก แต่โรงแรมที่ผมพักกลับอยู่ใกล้ที่เที่ยวและย่านใจกลาง เมืองกว่า แค่เดินเล่นออกไประยะทางไม่เกินหนึ่งหรือสองกิโลเมตรเท่านั้น รุ่งเช้าอีกวันผมออกเดินจากที่พักตอนตีสี่ครึ่ง เมืองทั้งเมือง ยังเงียบสงัดแต่ไม่ค่อยวังเวงเท่าไรนัก อากาศยังคงเย็นเพราะ เป็นอากาศช่วงต้นปีอยู่ แต่เมื่อฝึกมัยซอร์เสร็จตอนประมาณ เจ็ดโมงเช้าร่างกายกลับแข็งแรงขึ้นและมีพลังอย่างประหลาด ตอนนั้นผมแอบนึกเสียดายว่าตัวเองจะมีเวลาฝึกโยคะที่เมือง นี้ไม่กี่วัน เมื่อเปรียบเทียบกับนักเรียนคนอื่นๆ ซึ่ง 80 เปอร์เซ็นต์เป็นฝรั่งผมทองทั้งชายและหญิง มีชาวเอเชียจากญี่ปุ่น บ้าง ไต้หวันบ้าง...และมีคนไทยคือผมเพียงคนเดียวซึ่งคนส่วน ใหญ่ทั้งที่มาเข้าคลาสมัยซอร์หรือเพื่อที่จะเรียนเป็นครูสไตล์ มัยซอร์โยคะ มักจะมาเรียนกับอะเจย์หรือที่ศาลาโยคะอื่นๆ นานหนึ่งเดือนถึงสาม เดือนเลยทีเดียว สำหรับคนที่มีพื้นฐานในการฝึกโยคะสไตล์ Ashtanga มาบ้างคงจะพอคุ้นเคย เคยได้ยินหรือเคยฝึก Mysore Yoga มาบ้าง ซึ่งจากประสบการณ์ในการฝึกมัยซอร์ของผมที่เมืองไทยและจากอินเดีย (ก็ที่มัยซอร์นั่นแหละครับ) ผมขอเล่าคร่าวๆ ถึงโยคะรูปแบบนี้ให้ฟัง อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 4
| 11
มัยซอร์โยคะ (Mysore Yoga) มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานและเกี่ยวพันกับคุรุโยคะยุคใหม่ของอินเดียที่ล่วงลับไป แล้วสองท่านคือ ท่านกฤษณมาจารย์ (Sri Tirumalai Krishnamacharya) และท่านศรีภัตตาปิ โชอิส (Sri K Pattabhi Jois Ashtanga Yoga Institute ที่เมืองมัยซอร์) ท่านกฤษณมาจารย์เป็นครูของท่านศรีปัตตาภิ โชอิส และเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนโยคะ ขึ้นในวังมหาราชามัยซอร์ ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับสองในรัฐกรณาฏกะ (Karnataka) เมืองนี้มีภาษาประจำรัฐหรือภาษาถิ่นของ ตัวเองเช่นเดียวกับหลายๆ รัฐของอินเดีย คือภาษากันนาดา แต่มัยซอร์โยคะเป็นที่รู้จักและโด่งดังไปทั่วโลกจากการสืบสานหฐโยคะในแบบอัษฎางคโยคะของท่านปัตตาภิ โชอิสต่อ มาจากครูของท่านและทำให้เกิดความสนใจของผู้ฝึกโยคะจากทั่วโลก ให้เดินทางมาสู่เมืองเล็กๆ ทางตอนใต้ของอินเดียแห่งนี้เพื่อ ให้ได้ชื่อว่า “ได้มาฝึกมัยซอร์กับคุรุจี” แล้ว โยคะสไตล์มัยซอร์คือโยคะแบบอัษฎางคะโยคะอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจะฝึกกันในเวลาเช้าตรู่เท่านั้น และมีรูปแบบการฝึกที่ เปิดโอกาสให้ผู้ฝึกทุกคนจะต้องฝึกโดยการนับลมหายใจในแต่ละท่าอาสนะด้วยตัวเอง และปฏิบัติอาสนะไล่เรียงไปในซีรีส์ที่ฝึก ด้วยตนเอง โดยที่ครูผู้สอนจะไม่ได้ทำหน้าที่ “สอน” โดยการบอกวิธีการฝึกหรือการเข้าสู่อาสนะ แต่ครูจะทำหน้าที่คอยดูแล ช่วยเหลือ และช่วยปรับจัดท่าของผู้ฝึกแต่ละคนเพื่อให้เข้าสู่อาสนะได้ลึกขึ้นหรือทำได้ถูกต้องยิ่งขึ้น เสน่ห์ที่ทำให้มัยซอร์โยคะ เป็นที่นิยมฝึกนั้นผมเองคิดว่าเป็นเรื่องของผลจากสมาธิที่ได้จากการฝึก จากการจดจ่อในท่าอาสนะที่ตัวเองจะต้องทำ และการ นับลมหายใจขณะอยู่ในท่านั้นๆ ด้วยตนเอง ในห้องฝึกมัยซอร์โยคะที่ผมฝึกที่ “ศาลาแปด” ของครูอะเจย์เองนั้นเป็นบ้านสไตล์อินเดียประยุกต์ในลักษณะบ้านเดี่ยว สองชั้น ชั้นบนเป็นห้องฝึกที่ไม่กว้างนัก (ถึงกระนั้นพวกเราก็ยังแออัดยัดทะนานกันเข้าไปฝึกได้รอบละเกือบ 20 คน!) มีพื้นที่โล่ง ในบรรยากาศสบายๆ เอาไว้ให้นั่งเล่น พูดคุยกัน กินขนม อ่านหนังสือหรือสั่งเครื่องดื่มพวกจัย (ชาอินเดีย) มาจิบได้เมื่อฝึกเสร็จ แล้ว เวลาอันอเนกอนันต์ที่มัยซอร์ของผมนั้น เกิดขึ้นจากเมื่อฝึกโยคะจากการดุ่มเดินออกจากโรงแรมตอนตีสี่นิดๆ เข้าสู่ห้อง ฝึกสองชั่วโมงโดยประมาณตอนตีห้าถึงเจ็ดโมงเช้า เมื่อฝึกเสร็จก็จะค่อยๆ เดินเตร็ดเตร่แวะซื้อโยเกิร์ตสด (ราคาถูกมากเพราะที่ อินเดียนิยมกินโยเกิร์ตจากนมวัวและนมกระบือเป็นหนึ่งในมื้ออาหารของพวกเขา) และแวะจิบชาถ้วยเล็กๆ สนนราคาเพียง แก้วละ 3 รูปี ก่อนจะเดินกลับไปพักเอาแรงที่ห้อง พอสายๆ ค่อยย่างกรายออกไปเดินเที่ยวในเมืองและไปชมสถานที่ท่องเที่ยว สำคัญๆ ในเมืองมัยซอร์ ไม่ว่าจะเป็นตลาดสดที่เปี่ยมด้วยสีสันของข้าวของ ดอกไม้ ผลไม้ กระทั่งผู้คนท้องถิ่นจำนวนมากที่มาซื้อ หาข้าวของที่ตลาดเทวราชากันทั้งวี่วัน หรือไม่ก็ไปเที่ยวชมพระราชวังมัยซอร์ที่ยังคงยิ่งใหญ่และงดงามน่าสัมผัส แต่ส่วนมาก แล้วผมมักจะวนเวียนอยู่ตามร้านกาแฟร่วมสมัยยี่ห้อท้องถิ่นของอินเดียเอง ไม่ว่าจะเป็นร้าน Café Coffee Day หรือ Barista ในตัวเมืองเสียมากกว่า แม้ไม่สามารถจะติดต่อเพื่อเข้าฝึกที่สถาบันมัยซอร์โยคะของคุรุจีปัตตาภิ โชอิสก็ตาม ผมเองก็ถือโอกาสไปเยี่ยมชมศาลา ของท่านและบรรยากาศแถวๆ ย่านที่ตั้งของโยคะศาลาของท่านซึ่งอยู่ห่างจากใจกลางเมืองออกไปหลายกิโลเมตรโดยเดินทางไป ด้วยรถออโต้ริวกชอว์ ย่านนั้นเรียกว่าย่าน Gokulam มีบรรยากาศสบายๆ ไม่แออัด เต็มไปด้วยบ้านพักอาศัยที่ดูเหมือนบ้านคน ที่มีฐานะดี ส่วนศาลาของคุรุจีนั้นก็ดูยิ่งใหญ่และมีขนาดใหญ่กว่าศาลาที่ผมฝึกอยู่มากทีเดียว นอกจากการเดินเล่นในเมือง แวะชมตลาดซื้อผลไม้หรือหาขนมหวานท้องถิ่นที่ขึ้นชื่อระดับประเทศขนานแท้ของมัยซอร์ กินเล่น ไปชมวังทั้งในตอนกลางวันและตอนกลางคืนที่มีการประดับแสงไฟสวยงาม ผมยังชอบที่จะนั่งรถประจำทางออกไปที่ ภูเขาลูกหนึ่งที่เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของที่นี่ เรียกว่า Chamundi Hills รถเมล์ท้องถิ่นจะค่อยๆ แล่นพาเราออกนอกเมืองไปทาง ทิศตะวันออก วนเวียนไต่เขาขึ้นไปด้วยระยะทาง 12 กิโลเมตร ซึ่งพอไปถึงบนยอดเขาที่ไม่สูงมากเท่าไรนักก็ไม่ได้มีกิจกรรมอะไร มากไปกว่าการไปไหว้พระในวัดฮินดูและการเดินเล่น หรือไม่ก็นั่งลงชมวิวของตัวเมืองที่มองเห็นอยู่วิบๆ จากนั้นก็ค่อยนั่งรถกลับ ลงมา เตรียมตัวพักเพื่อที่จะตื่นแต่เช้า เดินเข้าห้องฝึกโยคะอีกครั้งตอนเช้ามืด เวลาและกิจวัตรหมุนวนเป็นเช่นนี้ตลอด ช่วงอยู่ที่ นั่นจนดูเหมือนว่าระยะเวลา 24 ชั่วโมงในหนึ่งวันที่มัยซอร์ถูกดึงยืดขยายออก...ให้นานขึ้น...เป็นเวลาอเนกอนันต์ที่ไม่รู้กาลจบลง • เว็บไซต์ “ศาลาแปด” ของอะเจย์ www.sthalam8.com • Everything about Mysore! ดูได้ที่เว็บไซต์ www.mysore.ind.in อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 4
| 12