Arunothai issue1/2555

Page 1


ก้าวข้ามความกลัวกับ Yoga หากใครเคยคิดว่าการฝึกโยคะบนพื้นธรรมดาๆ นั้นยากแล้ว อาจจะต้องคิดใหม่เมื่อตอนนี้มีกระแสโยคะรูป แบบใหม่ซึ่งเป็นโยคะต้านแรงดึงดูดของโลกหรือ Yoga Fly มาให้ฝึกกัน Yoga Fly เป็นรูปแบบของโยคะที่ผสมผสานการ ฝึกโยคะ พิลาทิส และการเต้นรำเข้าด้วยกัน ซึ่งเปิดโอกาส ให้ผู้ฝึกได้หวนกลับไปรู้สึกเหมือนเป็นเด็กอีกครั้งด้วย สนุก สนานและผ่อนคลาย โดยมีเปลผ้าหรือ “แฮมม็อค” คอย รองรับแขนขาและร่างกายเอาไว้ แต่ก่อนที่คิดจะฝึก Yoga Fly ผู้ฝึกทุกคนจะต้อง ตรวจสอบตัวเองให้ดีก่อนว่าตัวเองมีโรคประจำตัวที่ไม่ควร จะฝึกโยคะ Fly หรือไม่ เช่น โรคหัวใจ เคยได้รับบาดเจ็บ ส่วนก้านคอและสมอง ศีรษะ อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ ตาเป็น ต้อกระจก ต้อหินซึ่งจะต้องผ่าตัดหรือไม่ เป็นโรคลมชัก โดย ก่อนเริ่มการฝึกทุกครั้งครูจะต้องย้ำและซักถามนักเรียน ถึงข้อนี้ให้แน่ใจก่อน การฝึก Yoga Fly จะมีเปลผ้าหรือ “แฮมม็อค” เป็น อุปกรณ์สำคัญสำหรับการฝึกช่วยพยุงร่างกายส่วนต่างๆ เอาไว้ ทำให้ผู้ฝึกสามารถทำท่าได้สมดุลขึ้น กระชับกล้าม เนื้อโดยเฉพาะส่วนบนของร่างกาย พร้อมกับสร้างความ แข็งแรงให้กับแกนกลางลำตัว กระชับกล้ามเนื้อหน้าท้อง และต้นแขน เปิดโอกาสให้ผู้ฝึกได้ทำท่ากลับหัว เช่น Head Stand โดยไม่มีการกดทับกระดูกคอ และกระดูกสันหลัง เลือดไปเลี้ยงใบหน้า และสมอง เปลผ้าสำหรับฝึก Yoga Fly นั้นทำจากผ้า Tricot และตะขอยึดที่สามารถรับน้ำหนักได้หลายร้อยกิโลกรัม จึงรองรับร่างกายของผู้ฝึกจากการที่มีน้ำหนักตัวมาก หรือ ไม่มีความมั่นคงในทางทรงตัวหรือความสมดุลของร่างกาย จึงทำให้ฝึกโยคะรูปแบบนี้ได้ไม่ยาก FLY โยคะแบบใหม่ ท่ี่มีอุปกรณ์คือ เปลผ้า ช่วยพยุงร่างกาย สิ่งสำคัญก็คือจะ ท้าทายผู้ฝึกให้ทำท่าโยคะที่อาจจะรู้สึกว่ายากและไม่เคยทำ ได้มาก่อนเมื่อฝึกโยคะทั่วไปบนพื้นห้อง ด้านล่าง เช่น

Fly

Head Stand, Hand Stand ท่ากลับบนลงล่างและเอาศีรษะ กลับลงมา แต่ก็มีข้อควรระวังในการฝึกหลายอย่าง เช่น ไม่เหมาะสำหรับเด็กที่ยังเด็กมากๆ แยกแยะการอยู่บนพื้น กับการทรงตัวอยู่ผ้าไม่ได้ ผู้ฝึกจึงควรจะมีอายุ15 ปีขึ้นไป หรือหากเป็นผู้สูงอายุที่ร่างกายไม่สมบูรณ์ก็อาจจะไม่เหมาะ ในการฝึกบินกับ Yoga Fly เพราะการยืนขาเดียวบนผ้า ก็ อาจจะโถมน้ำหนักตัวทั้งหมดไปบนผ้าเพราะความปลอดภัย ในการฝึกเป็นหัวใจสำคัญของการฝึกโยคะไม่ว่าจะเป็นสไตล์ ใดก็ตาม ในการฝึก Yoga Fly หนึ่งคลาสใช้ระยะเวลาฝึกเพียง หนึ่งชั่วโมงถือว่านั้นเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการฝึก ในหนึ่งชั่วโมงจะมีท่าเริ่มต้นด้วยการ warm up ก่อน ประกอบไปด้วยท่าอบอุ่นร่างกายก่อนเริ่มการฝึก แต่เน้น การทำงานของกล้ามเนื้อมือ การบริหารมือ ฝ่ามือและนิ้วมือ แล้วจึงจะเข้าสู่ท่าฝึกบินเพื่อให้ได้สัมผัสว่าเมื่ออยู่บนผ้าจะ รู้สึกได้ถึงความเป็นอิสระ จากนั้นก็จะเริ่มฝึกในท่ายืน โดย ระหว่างการฝึกจะต้องคล้องส่วนใดส่วนหนึ่งของลำตัว เข้าไปอยู่ในเปลผ้าตลอดเวลาแล้วจึงฝึกต่อในท่ากลับตัว (กลับบนลงล่าง) โดยครูทุกคนจะสอนโดยใช้ท่าชุดเดียวกัน เป็นซีรีย์ของการฝึกที่เหมือนกันตลอด เนื่องจากไม่ต้องการ จะสร้างอีโก้หรือความรู้สึกที่อยากจะแสดงออกให้กับผู้เรียน

อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 1

|2


รายละเอียดของการฝึกบินกับ Yoga Fly ประกอบด้วยการสวิงตัวไปมา และการทำท่า กลับบนลงล่างหรือ inversion เพราะฉะนั้นต่างๆ ถึงแม้อาจ จะเป็นผู้ที่คุ้นเคยกับการฝึกโยคะมาแล้ว แต่ถ้าต้องเอาหัว ห้อยลงมาตลอดก็เป็นไปได้ยากที่จะทำได้ จึงมีการแบ่งท่า ของการฝึกออกเป็นท่านั่งเพื่อเหยียดยืดขาให้แข็งแรงก่อน ให้มือรู้สึกคุ้นกับผ้า จากนั้นถึงเพิ่มท่าในการฝึกลงไปเพื่อทำ ให้ผู้ฝึกมีความคุ้นเคย เวลาฝึกจึงจะต้องฝึกอย่างเคารพ ตัวเอง ค่อยๆ ทำ ไม่ทำเร็วเกินไปแต่อยู่ในจังหวะของตัวเอง เช่นท่าง่ายๆ อย่าง Cat Cow Pose ซึ่งก็จะรู้สึกท้าทายมาก ขึ้นเมื่อจะต้องเกี่ยวขาเอาไว้ที่เปลผ้าในขณะทำท่านี้

“การฝึกโยคะบนเปลผ้าสอนเราในเรื่องต้องทำความ คุ้นเคยกับทุกสิ่งแล้วเราจะก้าวข้ามความกลัวนั้น เหมือน ทุกอย่างในชีวิตของเรา พอเราไม่รู้จัก เราก็ไปตัดสินว่ามัน เป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ แต่จริงๆ แล้วเราสามารถที่จะทำ ความรู้จักแล้วก็ก้าวข้ามความกลัวไป แล้วที่ได้ก็คือความ ยืดหยุ่น ความสมดุลก็จะดีมาก เพราะขาหนึ่งอยู่บนพื้น ขาหนึ่งอยู่บนผ้า ก็จะมีให้ค่อยๆ แกว่งไปทีละนิด เพราะเรา ไม่มีความจำเป็นต้องไปไกลมากเกินไป แค่เพียงให้สะโพก เรานิ่งแค่นั้นเอง “การมีผ้ามาช่วยรองรับร่างกายเราเอาไว้นั้น จริงๆ ควรให้ผ้าเป็นแค่พาหะให้กับเราให้เข้าท่าได้ แต่อย่าให้ผ้า มาเป็นภาระ ไม่เอาตัวไปพิงผ้ามากเกินไป ทิ้งน้ำหนัก หลักการของ Yoga Fly คือ การก้าวข้ามความกลัว เสียสมดุล แต่ถ้ารู้จักแล้ว ก็มีผ้าช่วยพยุงนิดๆ เหยียดยือขา เพราะคนเรามักจะกลัวกับอะไรทุกอย่างในโลกนี้ก่อนโดยที่ ก็ยกขึ้นไปได้มากเลย แกนกลางลำตัวจะแข็งแรงมาก ยังไม่รู้จักสิ่งนั้นดีพอ มีความระแวดระวัง ถ้าเราได้รู้จักแล้ว แก้บุคลิกภาพ เหยียดยืดให้ได้ดี เราก็จะไม่กลัว พอไม่รู้สึกกลัวแล้ว นาทีแรกกับนาทีสุดท้าย “ชอบมากเลย เพราะว่ามีความรู้สึกว่ามันเป็นอิสระ ของการฝึกก็จะรู้สึกแตกต่างกัน ซึ่งทุกคนจะชอบเพราะ แล้วเราค่อยๆ ไปช้าๆ เท่าที่เราทำได้ เพราะเราจะฝืนร่างกาย เหมือนได้กลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง มีความเป็นอิสระ สิ่งที่ได้รับ เราไม่ได้เลย ในช่วงแรกๆ ที่ฝึกทำให้เรารู้เลยว่าจะต้อง คือการก้าว ข้ามอุปสรรค ก้าวข้ามความกลัว ความคิดที่ว่า ถนอมร่างกาย ระหว่างการฝึกก็ต้องระวังให้มากเพราะโยคะ เราจะทำไม่ได้ไม่คุ้นเคย ธรรมดาเวลาร่วงลงไปก็ยังอยู่บนพื้นป้าต้องทำฝึกและสอน ให้ได้เพราะจะเป็นตัวอย่างให้คนอื่นๆ ได้ว่า ถ้าป้าทำได้ การฝึก Yoga Fly นั้นสามารถฝึกได้ทุกวัน เนื่องจาก ทุกคนก็จะทำได้ เพราะป้าอายุ 60 แล้ว” ไม่มีข้อห้ามอะไร นอกจากที่จะต้องตรวจสอบตัวเองตาม ข้อห้ามต่างๆ (เหมือนกับการฝึกโยคะธรรมดา) เพื่อความ ปลอดภัยของตัวเราเอง มุมมองจากครูสอน Yoga Fly “ป้าจิ๊” – อัจฉราพรรณ ไพบูลย์สุวรรณ Yoga and Me “เป็นการฝึกที่จะได้รู้สึกถึงการเป็นอิสระของร่างกาย และเป็นการฝึกที่ไม่เสียหน้า เวลาฝึกอยู่ที่พื้น เขาทำได้ เราทำไม่ได้ มันเสียหน้า แต่นี่ทุกคนอยู่บนผ้าหมด ตื่นเต้น เหมือนกันหมด ไม่ว่าจะเป็นคนฝึกเก่งแค่ไหนก็ตามก็จะ ต้องทำไปตามจังหวะพร้อมๆ กัน กว่าจะยืน กว่าจะเหยียด ทำให้ปรับอีโก้ของคนเราลง แล้วก็ลดความรู้สึกที่อยากจะ อวดลงได้ เวลาที่ฝึกจนคุ้นเคยแล้วผู้ฝึกก็ยิ่งควรถอยหลัง กลับมาในจังหวะที่ผ่อนคลายและสนุก ไม่รีบร้อน

(ภาพประกอบเรื่องทั้งหมดโดย Yoga and Me)

ขอบคุณ Yoga & Me CDC เฟสสอง โทรศัพท์ 02-1022975-7, 089-7460550 E-mail: yogaandme.bkk@gmail.com

อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 1

|3


อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง : เรื่องและภาพ

‘โยคะกับคนไทย กว้าง ไกล และลึกแค่ไหนถึงจะดี’ ผมพบชายผู้นี้ไม่กี่ครั้งไม่กี่ครา แต่ในทุกครั้งของการ ได้พบก็ล้วนแต่ได้รับฟังการบรรยายในหัวข้อต่างๆ เกี่ยวกับ โยคะในระดับที่ลึกจนอดที่จะรู้สึกทึ่งและศรัทธาในความรู้ ประดามี ของเขาและหัวจิตหัวใจที่มอบให้กับโยคะสมกับที่ ดำรงบทบาทเป็นผู้อำนวยการ สถาบันโยคะวิชาการ มูลนิธิ หมอชาวบ้าน หลายๆ คนเรียกชายผู้นี้อย่างเต็มปากว่า “ครู” หรือ “ครูกวี” และในวันนี้ “อรุโณทัย” ก็ได้ติดตามเขาไปถึง สถานที่ทำงานเพื่อสนทนาเรื่องราวของโยคะในสังคมไทยกับ บริบทต่างๆ ที่เป็นอยู่ว่าโยคะในสังคมไทยควรจะเป็นเช่นไร

อยากให้เล่าถึงความสนใจโยคะว่าเป็นมาอย่างไรและในส่วน การทำงานของสถาบันโยคะวิชาการ? ตัวตั้งต้นแรกเลยคือมูลนิธิหมอชาวบ้าน ก่อตั้งมา 30 - 40 ปีแล้ว ปรัชญาของเขาคือว่าอยากให้คนไทยมองเรื่อง สุขภาพแป็นเรื่องของการพึ่งตนเองและเป็นเรื่ององค์รวม เกิดจากวิธีคิดสองอันนี้ ตัวผมเองเริ่มมารู้จักโยคะแนวนี้ เมื่อปี 40 เรารู้จักผ่านครูญี่ปุ่น 2 ท่านคือ ครูฮิโรชิ (ฮิโรชิ ไอคาตะ) และครูฮิเดโกะ (ฮิเดโกะ ไอคาตะ) เป็นศิษย์จากทางสถาบัน ไกวัลยธรรม ซึ่งเราเห็นว่าหลักสูตรเขาเหมาะสมและนำมาใช้ ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน ผมมีโอกาสรู้จักและได้มีโอกาสไปเรียน โยคะกับท่าน จากตรงนั้นเองที่ทำให้หันมาสนใจโยคะอย่าง จริงจัง พอเริ่มอบรมโยคะไปไม่นาน มีอยู่วันหนึ่งมูลนิธิหมอ ชาวบ้านเขามาเรียนโยคะกับเรา จากจุดนั้นนั่นเองทำให้เขา บอกว่า สิ่งที่พวกคุณกำลังทำตรงกันกับปรัชญาของมูลนิธิฯ เพราะในชั้นเรียนโยคะเราบอกว่า “ทุกอย่างต้องเห็นความ เชื่อมโยง เป็นองค์รวม จะไปมองขาดจากกัน แยกส่วนเป็น อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งหมดมันจะไม่เกิด กุญแจสำคัญของ สุขภาพ คือวิถี”

แล้วเราก็บอกว่าเรื่องโยคะ ตัวชี้ขาดคือต้องฝึกด้วยตัวเอง ไม่ มีใครฝึกโยคะแทนกันได้ทางหมอชาวบ้านเขาเห็นประโยชน์ เห็นสิ่งที่เราทำมันตรงกัน เขาก็เลยชวนเราเข้าไปเป็นโครงการ ในมูลนิธิฯ เมื่อปี 2544 แล้วเราก็มีโอกาสไปคุยกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร มีกลุ่มครูอาจารย์หนุ่มไฟแรง มีคณะมนุษยศาสตร์ ภาควิชาปรัชญาและศาสนา ซึ่งสอน ปรัชญาตะวันออก ทั้งจีนและอินเดียอยู่ พอเราไปคุยกับทาง มหาวิทยาลัย เด็กมาเรียนปรัชญาตะวันออกจะต้องลงมือ ปฏิบัติเพราะปรัชญาตะวันออกอยู่บนฐานของการปฏิบัติ พอเขาสอนโยคะ เขาก็หาครูมาสอนโยคะให้กับนักศึกษา แล้ว เราก็มีโอกาสเข้าไปเชื่อมโยงร่วมทำงานกับเขา จนกระทั่ง ไป เชิญอาจารย์จากอินเดียมาร่างหลักสูตร ผลักดันจนผ่าน ใช้เวลาสามปีจึงผ่านสภามหาวิทยาลัย เป็นวิชาหนึ่งของ ปริญญาตรีคณะมนุษยศาสตร์ เรียน 8 วิชา 24 หน่วยกิต เลือกเป็นวิชาโทได้ และเท่าที่รู้เป็นที่เดียวในสังคมไทย ยิ่งทำ ให้สิ่งที่เราทำเป็นตัวศาสตร์โยคะและเป็นที่ยอมรับอยู่ใน แวดวงวิชาการ

อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 1

|4


ขณะเดียวกันการที่เราทำงานเป็นส่วนหนึ่งของ หมอชาวบ้านเขาก็รู้จักกระทรวงสาธารณสุข มีเครือข่าย ในโรงพยาบาล เขาก็ส่งเสริมให้เราไปเผยแพร่โยคะในแวดวง สาธารณสุข เพราะฉะนั้นตลอดสิบกว่าปีที่ผ่านมางานที่เราทำ เป็นหลักก็คือ เราไปที่โรงพยาบาลตามจังหวัดต่างๆ เราไปที่ สำนักงานสาธารณสุขของจังหวัดต่างๆ หรือคณะพยาบาลฯ ของมหาวิทยาลัยต่างๆ แล้วก็ไปสอนโยคะ ส่วนใหญ่ก็สอนให้ กับพยาบาล นักกายภาพบำบัด เขาก็นำไปผนวกเป็นทางเลือก ที่เราเรียกว่า แพทย์ทางเลือก ก็ค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป แต่สิ่งหนึ่งที่เราวางบทบาทของเราในสังคมไทยก็คือเรา พยายามจะเผยแพร่โยคะในลักษณะที่เป็นศาสตร์ ให้นำไปใช้ งานในระดับแบบพวกหมอ พวกอาจารย์มหาวิทยาลัย แล้วเรา ก็หวังว่าหมอที่ทำหน้าที่จัดการเรื่องสุขภาพให้กับประชาชน เขาจะได้นำโยคะผนวกเข้าไปใช้เป็นส่วนหนึ่ง ตอนแรกเราใช้ชื่อว่า โครงการเผยแพร่โยคะเพื่อ สุขภาพ จนกระทั่งปี 2547 จัดประชุมวิชาการครั้งแรก มีคน เข้าร่วม 250 คนจากทั่วประเทศ จากตรงนั้นทำให้หมอและ ผู้หลักผู้ใหญ่ทั้งหลายในกระทรวงสาธารณสุข เขายอมรับเรา อย่างเป็นกิจจะลักษณะ เราก็เลยเปลี่ยนชื่อเป็นสถาบันโยคะ วิชาการ โดยที่ทุกวันนี้เราก็ยังอยู่ในร่วมของมูลนิธิหมอ ชาวบ้านเพียงแต่เราแยกมาตั้งสำนักงานเราเอง

อาจารย์เองก็สอนท่า แต่เรามีความประทับใจ ตรงที่ฝึกแล้วเรา รู้สึกว่าร่างกายเรา เบาตัว สบายตัว ประทับใจในการฝึกปฏิบัติ ทำให้เรารู้สึกว่าศาสตร์นี่ดีนะ แรงบันดาลใจก็คือเพราะมัน เป็นหน้าที่การงาน เพราะต้องอบรมเรื่องโยคะกันก็เลยต้อง ไปเรียนไปหาวิทยากร จนกระทั่งวันหนึ่งเราก็ไปเจอโยคะสาย ไกวัลยธรรม โดยเชิญครูญี่ปุ่นสองท่านมาสอนในห้องประชุม โดยผมเป็นคนแปลให้ จากการที่ทำงานกับท่าน เราจึงได้รู้ว่า

โยคะแก่นสาระจริงๆ คือการพัฒนาจิต คือการทำสมาธิ โดยที่ผ่านเรื่องร่างกาย ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องร่างกาย

ความที่ครูญี่ปุ่นสองคนนี้เรียนปรัชญาอินเดียที่ ประเทศอินเดีย เพราะฉะนั้นแตกฉานของท่านในเรื่องของ ประวัติศาสตร์ วิวัฒนาการของความคิดของมนุษย์ในทาง ปรัชญาอินเดียจึงแม่นมากและลึก ในการอธิบายก็เชื่อมโยงให้ เราเห็นเลยว่าทั้งโยคะและศาสนาพุทธมีลักษณะร่วมหลายๆ ประการ มีลักษณะที่แตกต่างกันด้วย พอผมศึกษาตรงนั้นยิ่งทำให้ผมสนใจประวัติศาสตร์ ว่าโยคะเกิดขึ้นมาในช่วงไหน ซึ่งมันก็เป็นประวัติศาสตร์ของ อินเดีย แล้วก็มีความผสมผสานประวัติศาสตร์ของศาสนา พุทธ เพราะฉะนั้นยิ่งเราศึกษาทฤษฎีประวัติศาสตร์โยคะ เรายิ่งเข้าใจศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราสนใจเป็นหลัก ยิ่งเรา ปฏิบัติฝึกโยคะเราก็ยิ่งพบว่า มีสมาธิดีขึ้นก็ยิ่งทำให้เราก็มี ความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมมากขึ้น แต่ก่อนผมสนใจ เริ่มสนใจและเรียนโยคะได้อย่างไรและเพราะอะไรครับ? ศาสนาพุทธแต่ก็ยังเรื่อยๆ จนมาสนใจ รู้จักโยคะ ทำให้ความ ตัวผมเองเกิดมาไม่เคยคิดเลยว่าชีวิตจะมาทำเรื่อง ชำนาญ ความลึกซึ้งของเราต่อศาสนาพุทธเพิ่มมากขึ้น ยิ่งเรา โยคะ แต่ตัวเองเป็นคนที่สนใจศาสนาพุทธมาตั้งแต่ต้นเรียกว่า ปฏิบัติธรรมได้ดี เราก็ยิ่งเข้าใจโยคะได้มากขึ้น เพราะว่ามัน อ่านหนังสือ ฝึกเอง เกี่ยวกับศาสนาพุทธเรียกว่าตั้งแต่สมัย มีความเชื่อมโยง มันก็เลยส่งเสริมเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เป็นนักเรียนเลยด้วยซ้ำ ตอนนั้นผมทำงานที่มูลนิธิสานแสง อรุณ เป็นของกลุ่มแปลน เรารู้ว่าเราสนใจเรื่องพัฒนาตนภาย แล้วสิ่งที่โยคะสายไกวัลยธรรมที่เรียนมาจากครูญี่ปุ่นสอน ใน ตัวเองก็ยังไม่รู้ว่าตัวเองชอบหรือรักอะไร ในการทำงาน เป็นยังไง ตรงนั้นมีโอกาสดีอยู่อย่างคือมูลนิธิฯ สิ่งหนึ่งที่ครูสอนเราแล้วเราก็ชอบ จำ เอามาใช้ จะมี เขาพยายามจะสื่อสารให้สังคมรู้ว่ามันมีทางเลือก อยู่สองประเด็นหลักๆ ประเด็นแรก สิ่งที่ไกวัลยธรรมเขาสร้าง อะไรอยู่บ้างในทางต่างๆ ทั้งการศึกษาและสุขภาพ หน้าที่ของ ให้กับวงการโยคะคือ เขาทำให้โยคะมันเป็นศาสตร์ที่ commuมูลนิธิคือจัดสัมมนาความคิดทางเลือกเหล่านี้ให้คนได้รู้จัก nicable เอาโยคะมาสื่อสารได้ เพราะฉะนั้นนั่นหมายความว่า ผมก็มีหน้าที่จัดการอบรม สอน หาวิทยากรมา เป็นคนกลาง เวลาเรามองเข้าไปที่โยคะ แม้ว่าโยคะจะมีลักษณะที่เป็น หาคนมาเรียน ซึ่งตรงนั้นนั่นเองทำให้เรารู้จักโยคะ รูปธรรมหรือ objective แต่มันก็มีลักษณะที่เป็นนามธรรม ครูโยคะแรกสุดที่ผมเรียนเป็นสายศิวนันทะ ชื่อ หรือ subjective ด้วย ยกตัวอย่างเช่น คนคนหนึ่งฝึกท่าศพ ใน อาจารย์วาสนาเป็นศิษย์ขออาจารย์ชด (ชด หัศบำเรอ) เชิงรูปธรรมคือกล้ามเนื้อผ่อนคลาย ลมหายใจสงบลง แล้วก็ ตอนนั้นเราไปฝึก เราไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับโยคะ ก็คิดว่าฝึกท่า วัดได้ด้วยเครื่องมือ เช่นการตรวจคลื่นสมองทดสอบระดับ กล้ามเนื้อ อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 1

|5


แต่ขณะเดียวกันพอเราถามลึกๆ คนคนหนึ่งฝึกท่าศพ ก็อาจ จะบอกว่าเมื่อสักครู่นี้ เขาเห็นนิมิตเกิดสว่างวาบในใจ แต่อีกคนหนึ่งอาจจะบอกว่าเมื่อสักครู่เขาไม่ได้รู้สึกอะไร ตรงนี้เองที่เป็น subjective ซึ่งตรงนี้นำเอามาเถียงกันไม่ได้ ผมว่าสิ่งที่ไกวัลยธรรมเขาทำได้ดีมากก็คือว่าเขาแยก ให้เห็นชัดเจนเลยว่า จริงๆ แล้วโยคะโตมาอย่างเป็น subjective เพราะว่าเป็นเรื่องของปรัชญาอินเดีย เป็นความคิด ความ ต้องการของคนที่ต้องการจะไปบรรลุความหลุดพ้น หรือ โมกษะ ซึ่งการบรรลุความหลุดพ้นเป็นเส้นทางที่เป็น ประสบการณ์ตรงของแต่ละคน ซึ่งทำแทนกันไม่ได้ ชี้ทางให้ กันไม่ได้ ให้เดินตามทางของคนอื่นเป๊ะๆ คุณก็ไม่บรรลุธรรม เหมือนที่คนอื่นเขาบรรลุ มันเป็น subjective ซึ่งคุณจะต้อง จัดการด้วยตัวเอง ถ้าเป็นแบบนี้โยคะก็จะลึกลับ ใครๆก็ ไม่รู้ จะเกิดอะไรขึ้น แต่อีกแง่หนึ่งมันก็มีความเป็น objective ซึ่ง พอไกวัลยธรรมเขาเห็นอย่างนี้เขาก็เริ่มมาพัฒนาความเป็น objective ของโยคะซึ่งสอดคล้องกับทางตะวันตก ตอนนี้มันมี เครื่องมือแพทย์ ในช่วงที่ไกวัลยธรรมเขาทำ เป็นช่วงที่ปี 1920 หรือ 90 ปีที่ผ่านมา ช่วงนั้นตะวันตกตะวันออกพบกัน เขาก็ ไปยืมเครื่องมือของตะวันตกมา ที่อินเดียถ้าไปดูสถาบันไกวัลยธรรมจะพบเครื่อง ตรวจวัดความดันของแก๊สในกระเพาะเขามาฝึกแล้วก็วัดดูว่า เกิดอะไรขึ้นที่ช่องท้องที่ทรวงอกจากการฝึก Uddiyana Bandha (การล็อคช่องท้อง- Abdominal Lock) เกิดการนวด กระบังลมอย่างไร อธิบายมันออกมาอย่างเป็น objective แต่ขณะเดียวกันก็บอกไว้ว่า แต่โยคะไม่ได้มีอยู่แค่นี้ ในเชิงจิต วิญญาณมันพาคุณไปสู่อะไร แต่ตรงนี้ไกวัลยธรรมไม่ขอ อธิบายใดๆ แต่เขาเขียนไว้ชัดเจนเลยว่า ผู้สนใจจะเดินตามเส้น ทางแห่งจิตวิญญาณก็ให้ทำเช่นนี้ๆ ก็ขอให้ ไปหาครูอาจารย์ ผมคิดว่าโยคะที่เรียนรู้กันในเชิงโลกปัจจุบัน ตรงนี้ เป็นศาสตร์เป็นสิ่งที่โดดเด่นของไกวัลยธรรม แต่เขามีการทำ อยู่หลายๆ องค์กร แต่ถือว่าไกวัลยธรรมโดดเด่น เรียกว่า ถ้าเราดูประวัติศาสตร์เขาเป็นรุ่นบุกเบิกที่แยกพวกนี้ออกมา อย่างชัดเจน เขามีหน้าที่ในการผลักความรู้ออกไป ไม่ใส่ คอมเมนต์ของตัวเอง แต่ปล่อยให้วิชาการดำเนินไป แล้วคน ทุกคนมีสิทธิอ่านศึกษาและเลือก ไม่ใช่ว่าทั้งหมดจะต้องไป ทางฮินดู ซึ่งตรงนี้เป็นจุดเด่นของไกวัลยธรรมคือผมรู้สึกว่า ถ้าทำแบบนี้โยคะที่เราทำกันอยู่จะไม่ตันเพราะเป็นโยคะที่ไม่ ผูกกับบุคคล

“เราต้องมีแผนที่ ต้องมีเป้าหมายสูงสุด

เราจะต้องรู้ตัวเราแล้วก็มีเส้นทางเดิน เราชัดตรงนี้แค่ไหน เพราะบางคนใช้ชีวิต ไปไม่มีแผนที่ ดูสิว่าโยคะเขามีแผนที่ของ เขาอยู่หรือเปล่า เขาบอกหรือเปล่าว่า เป้าหมายปลายทางของเขาคืออะไร จุดเริ่มต้นคืออะไร และระหว่างเส้นทาง ที่เดินประกอบด้วยอะไร

เราเคยวิเคราะห์กันเลยว่า ยกตัวอย่างทุกวันนี้ท่านไอเยนการ์ (B.K.S. Iyengar) เป็นที่เคารพมาก ถามว่าเมื่อท่านเป็นอะไร ไป เมื่อท่านละสังขารไปแล้วลูกศิษย์ที่เดินตามทางตามแนว ท่านจะเป็นอย่างไร จะไปจบที่ตรงไหน เพราะมันไปผูกอยู่กับ บุคคล แต่ถ้าเราสนใจโยคะในเชิงแบบนี้ เพราะฉะนั้นมันก็จะ บอกว่าท่าชุดที่เราฝึกว่าจากตำราหฐปฏิปิกะมาจากอย่างนี้ๆ มันจึงไม่ใช่โยคะที่ผูกติดกับบุคคล ต่อให้ครูอาจารย์เหล่านี้ จะเสียไปแล้ว คนที่ทำงานต่อก็ทำงานต่อไปเพราะเป็นการ ทำงานอยู่บนโยคะ ตรงนี้จริงๆโยคะมันโตมาอย่างนี้ ช่วงนี้มัน เป็นเป็นช่วงที่พอมันมีตะวันตกเข้ามา มันมีกระบวนการคิด ในเชิงของปัจเจกเข้ามาทำให้โยคะมันมีกลิ่นอายของการ พะยี่ห้อเข้าไปมันมีลิขสิทธิ์ เริ่มมีการจดลิขสิทธิ์ จริงๆ ถ้าเรา ย้อนกลับไปดู มันไม่เป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นถ้าถามว่า การเคลื่อนไปของโยคะแนววิชาการแนวตำราแบบนี้มันก็จะ สืบทอดต่อมาตั้งแต่ต้น มันจะไม่มีผลมากระทบอะไรกับมัน เรียกว่ามันยั่งยืนกว่า ครูกวีเองชอบย้ำว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องฝึก โยคะโดยทำท่าดัดแปลงหรืออาสนะยากๆ ? ไม่ผิดหรอกครับถ้าเราจะทำท่าศีรษะอาสนะหรือ ท่าอะไรก็แล้วแต่ แต่จริงๆ แล้วมันเป็นเรื่อง subjective มันเป็นเรื่องความชอบส่วนตัว แต่ในแง่มุมหนึ่งถ้าเราพูดว่า เราจะเป็นครูโยคะ เรารักโยคะ เราจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ ตรงนี้ เราควรจะทำอะไรที่จะเผยแพร่เป็นสาธารณะได้

อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 1

|6


เพราะฉะนั้นกรอบจริงๆ มันมี แต่ทุกวันนี้เหมือนกลับกัน สิ่งที่นำเอามาเผยแพร่กลับเป็นอะไรที่ไม่ควรจะเผยแพร่ แต่ สิ่งที่ควรจะเอามาพูดกันกลับเป็นสิ่งที่น่าเบื่อ ไม่น่าสนใจ แล้วก็ไม่ค่อยได้พูดกัน ท่าพวกนี้มันเป็นท่าที่มีการถกเถียงกันมากโดยเฉพาะ ท่าศีรษะอาสนะ เพราะฉะนั้นกลุ่มคนที่รักในท่านี้ได้ ประโยชน์จากท่านี้ก็จะมีงานวิจัยออกมามากมายที่บอกว่า มันได้ประโยชน์จากท่านี้ ขณะที่กลุ่มที่ไม่เอาก็ทำงานวิจัยออก มามากมายเพื่อที่จะบอกว่ามันไม่ควรทำ เพราะอะไร แต่เราล่ะ ในเมื่อพระพุทธเจ้าสอนเราว่าอะไร ถ้ามีอะไรสักอย่างหนึ่ง ที่เราจะทำแล้วไม่แน่ใจ ท่านบอกว่าให้เราเลือกทางที่มัน ปลอดภัยไว้ก่อน เพราะฉะนั้นศีรษะอาสนะ มันไม่แน่นะ แล้วเรากลับไปดูสิครับว่าท่านี้ จริงๆ มันมาจากวิปริตกรณี เมื่อคุณทำวิ ซึ่งเรียกว่าไม่ต้องใช้คอเยอะ ไม่ต้องเอาศีรษะปัก ไม่ต้องลงน้ำหนักมากเกินไปที่คอ แต่เอาศอกช่วย แต่ทำ วิปริตกรณีแบบอื่นๆ ก็ได้ เขาบอกว่ามันเพียงพอ ได้ประโยชน์ แบบเดียวกับที่ทำท่ายืนด้วยไหล่ (Sarvangasana) แบบเดียว กันกับศีรษะอาสนะ ไม่ใช่ว่าเราไม่มีทางเลือก มันน่าจะจบลง ตรงนั้น แต่ทุกวันนี้มันก็ยังพัฒนาต่อไป ซึ่งก็ไม่ว่ากันแต่ก็แล้ว แต่จริตแต่ก็ความชอบ

กรอบที่มีอยู่ที่ว่าตรงนั้นคืออะไรบ้างที่จะไม่ทำท่าโยคะที่ยาก เกินไป เราคุยกันในวันนี้เกี่ยวกับสังคมไทยเราจะไปกว้างไกล เราจะไปลึกแค่ไหน ผมว่าสิ่งหนึ่งที่ผมเป็นห่วง อย่าเรียกว่า เป็นห่วงเลย เรียกว่าสิ่งหนึ่งที่ผมฝากไปยังคนรักโยคะ เพราะ ผมก็เคารพคนกลุ่มนี้ก็คือว่า ผมรู้สึกว่าเราต้องมีแผนที่ แผนที่ในที่นี้ผมหมายถึงเราจะต้องมีเป้าหมายสูงสุด เราจะต้องรู้ตัวเรา แล้วก็มีเส้นทางเดิน เราชัดตรงนี้แค่ไหน เพราะบางคนใช้ชีวิตไปไม่มีแผนที่ ขณะเดียวกันเราไปดูสิว่า โยคะเขามีแผนที่ของเขาอยู่หรือเปล่า เขาบอกหรือเปล่าว่า เป้าหมายปลายทางของเขาคืออะไร จุดเริ่มต้นคืออะไร และ ระหว่างเส้นทางที่เดินประกอบด้วยอะไร ต้องคำนึงถึงอะไร กรอบคืออะไร อะไรที่เลยแล้ว อะไรที่อยู่ในกรอบในเส้น แล้วถ้าเกิดบอกว่าเราเป็นคนไทย เรามีวัฒนธรรมไทย เรามีศาสนาพุทธ อยู่ในสังคมไทย เราเป็นสังคมศานาพุทธ ก็ไปดูวาภาพของสังคมไทย แผนที่ของเราเป็นอย่างไร เป้าหมายปลายทาง เส้นทางวิถีของเราเป็นอย่างไร ทีนี้พอเรามาดูศาสตร์โยคะ เป้าหมายสูงสุดของโยคะ ตามปตัญชลีโยคะสูตร ซึ่งเป็นตำราแม่บท ประโยคสุดท้ายก็ คือเป้าหมายที่เราฝึกปฏิบัติกันบอกว่าเมื่อตัวร่างกายหรือสิ่ง ที่เป็นวัตถุกับตัวความรับรู้มันแยกออกจากกันประกฤติและ ปุรุษะ (การรับรู้) มันแยกออกจากกัน ถึงตรงนั้นเราจะหมด ความหลงผิด ความเข้าใจว่าร่างกายเป็นของฉัน เพราะมัน ไม่ใช่ แต่ถ้าเรามีอวิชชา เราถึงยึดร่างกายหรือสิ่งต่างๆ ว่าเป็นของฉัน ซึ่งทำให้ทุกข์เกิดจากตรงนั้น ทุกข์ทางกายเกิด จากการที่เรายึดเอาไว้ตรงนั้น กระบวนการฝึกโยคะจึงเป็น กระบวนการที่ทำให้เราเข้าใจความเป็นจริง รู้ว่ากายมันแยก อยู่ของมัน เมื่อเข้าใจได้อย่างนั้นเราก็จะไม่มีทุกข์ทางกาย นี่คือเป้าหมาย แต่ดูสิ่งที่เกิดขึ้นทุกวันนั้นคนที่ฝึกโยคะทุกวันนี้เขามี วิธีคิดต่อร่างกายเขาเป็นอย่างไร ผมไม่ได้บอกว่าเขาผิด แต่ว่า เขาต้องทบทวนอย่างยิ่งเลยว่าแผนที่ของเขาที่ยึดร่างกายกับ แผนที่โยคะที่ให้ปล่อยวางร่างกายเป็นคนละแผนที่แน่ๆ แต่ ทุกวันนี้กลับเอามาวางซ้อนแนบกันอยู่ แล้วก็บอกว่าคือโยคะ ในแผนที่ใหญ่จะบอกว่ามีแผนที่เล็กๆ ประกอบ ด้วยอะไร อาสนะฝึกแล้วได้อะไร บอกไว้ชัดเจน ถ้าเป็น ปตัญชลีโยคะสูตรบอกว่าเมื่อฝึกแล้วภาวะแห่งความเป็น คู่ตรงข้ามหมดไป ภาวะแห่งความขัดแย้งหมดไป

อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 1

|7


เรายกตัวอย่างเป็นรูปธรรม เช่น มนุษย์เรามีความขัดแย้งใน รูปของกายภาพ เช่น เป็นคนที่อยู่ที่ร้อนก็ร้อนจัดหงุดหงิด ร่างกายเรามันเป็นขั้วตรงข้าม ยิ่งเมื่อฝึกโยคะไปเรื่อยๆ ภาวะตรงนี้ต้องหมดไป คนที่ฝึกโยคะอาสนะไปเรื่อยๆ ร่างกายทนหนาวทนร้อน มันไม่ยี่หระ เรียกว่าจะดำเนินไปสู่ ความเรียบง่ายมาขึ้นๆ แต่ถ้าเราฝึกโยคะไปเรื่อยๆ ร้อนไปก็ ไม่เอา หนาวไปก็ไม่เอา แปลว่าเวลาที่เราใช้ไปในการฝึก อาสนะ ไม่สามารถพาเราไปที่วัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในแผน ที่ได้ คุณไม่ได้เดินไปทางไกลตรงนี้แล้วแค่เป้าหมายใกล้ๆ คุณยังเบี่ยงออกเลย ถ้าเรามาดูที่เป้าหมายของการฝึกอาสนะของอีกตำรา หนึ่ง หฐประทีปิกา ฝึกแล้วได้อะไรคือ อโรคยา ฝึกแล้วต้อง ไม่ป่วย แต่ถ้าเราไปดูคนที่ฝึกโยคะทุกวันนี้ คนที่ฝึกโยคะ แนวเข้มข้นเขาเจ็บอยู่นะ อาสนะของเขาพาเขาไปสู่โรคยา ไม่ใช่อโรคยา ฝึกโยคะแล้วจะต้องเบาสบาย พวกนี้ล้วนแต่ เป็นกรอบที่มาบอกเราทั้งสิ้น แต่เรากลับเพิกเฉยต่อมัน ไม่สนใจมัน ซึ่งผมไม่รู้ว่าเราตั้งใจที่จะเพิกเฉยต่อมันหรือเปล่า ทุกวันนี้ผมรู้สึกว่าคนแค่เข้ามาบริโภคโยคะ การบริโภคต่าง จากการศึกษาคือเราไม่จำเป็นจะต้องเปลี่ยน ฉันคิดอย่างนี้ แล้วฉันเห็นว่าตรงนั้นมันเข้ามาตอบโจทย์ฉันได้ ฉันก็เข้าไป ซื้อ ฉันก็เลือกซื้อเอาเฉพาะที่ฉันต้องการ แต่สิ่งที่เหลือที่เป็น คุณค่าฉันไม่ได้รับเข้ามา เป็นแบบนี้คุณจะเปลี่ยนไหมไปสู่ ภาวะนี้ ผมเชื่อว่าทุกคนที่เข้ามาสู่โยคะวินัยเกิด เพราะเขาละ เขาทำ เรียกว่ามีความจดจ่อ มีความตั้งมั่น คุณจะเปลี่ยนน้อย มาก แต่จะ สามารถต่อยอดจากวินัยตรงนี้เข้าไปสู่การเรียนรู้ และการเปลี่ยนแปลงตนเองได้มากขึ้นได้อย่างไร แล้วคนไทยในสังคมไทยควรจะหาแผนที่ของโยคะหรือเริ่ม ฝึกโยคะให้เหมาะสมอย่างไรดี ผมเห็นว่าครูโยคะจำนวนมากที่ผมเริ่มรับรู้ เขาบอก ว่าพอเขาฝึกโยคะไปตามการรับรู้เดิมระยะหนึ่ง เขาเริ่มรู้สึกว่า อยากจะรู้จริงแล้ว ผมชอบมาก ซึ่งจะทำให้เขาเดินมาที่ตรงนี้ พอเขาอยากจะรู้จริง เอาปตัญชลีโยคะสูตรมาอ่าน อ่านประวัติศาสตร์อินเดียและโยคะ เขาก็จะเริ่มต่อติดแล้ว และก็เห็นภาพ ยิ่งถ้าพูดว่าสังคมไทยมันน่าจะเป็นอย่างไร วัฒนธรรมไทยเราเป็นอย่างไร เรามีของดีของเราอยู่เยอะมาก แล้วจริงๆ คนไทยที่สนใจโยคะแปลว่าเขาเคลื่อนเข้าใกล้วัฒน ธรรมนี้มากเลยนะ

เพราะว่าโยคะก็มาจากทางสันสกฤต มาจากทางอินเดีย ซึ่ง ก็เป็นต้นรากของวิถีชีวิตของสังคมไทย เข้าใกล้ศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นศาสานาประจำชาติของเรา ถ้าคนไทยเห็นตรงนี้และก็ ใช้โยคะมาเป็นเครื่องมือเพื่อเข้าใจวัฒนาธรรมเข้าใจรากของ เราให้ได้มากขึ้น ตรงนี้ผมว่าเขาจะไปได้โลดและมันทำให้เขา คุ้มค่าที่เกิดมาเป็นคนไทย ถ้าถามว่าสังคมไทยเรามีอะไรที่เป็นของดีอยู่กับตัว เราที่เป็นทุนของเราเยอะ การที่คุณได้เข้าใกล้การฝึกปฏิบัติ ของโยคะ คุณได้มีประสบการณ์ที่ทำให้ให้จิตของคุณมันมี สมาธิตั้งมั่นมากขึ้น กำลังเอื้อให้เราเข้าไปสัมผัสรากเหง้าของ จิตของเราอยู่แล้ว ผมถึงอยากจะชวนว่าที่เราสนใจโยคะดีอยู่ แล้ว ทำไปเถอะ จะทำท่าอะไร ไม่ว่าเมื่อถึงวันหนึ่งที่คุณรู้สึก ว่าคุณอยากจะต่อยอด ไปให้ลึก ไปให้ถึงที่สุดของมัน ตรงนั้น ย้อนกลับมาดูศาสนาพุทธ ย้อนกลับมาดูวัฒนธรรมการพัฒนา จิตของไทย แล้วเราจะเห็นเลยว่ามันเชื่อมโยงกัน ถึงที่สุด คุณจะได้ประโยชน์มหาศาล เวลาที่คุณเดินมาตามเส้นทางของ โยคะจะไม่เสียเปล่า ตรงนั้นจะเป็นสิ่งที่เอื้อมากๆ ติดต่อสถาบันโยคะวิชาการได้ที่ 201 ซอยรามคำแหง 36/1 ถนนรามคำแหง บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 มือถือ 081-401-7744 ทร 02-732-2016-17 โทรสาร 02-732-2811 เว็บไซต์ www.thaiyogainstitute.com อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน เน้นการเผยแพร่ทาง สื่อออนไลน์ ก่อตั้งเมื่อมีนาคม 2554 Facebook Page: อรุโณทัย ผลิตโดย ลิตเติลซันไซน์โยคะ littlesunshineyoga@gmail.com โทร. 085 072 5552 บรรณาธิการและผู้เขียน : อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง ittiritp@gmail.com ศิลปกรรมและจัดรูปเล่ม : อรปวีณ์ รุจิเทศ ornpavee.r@gmail.com

ข้อเขียนหรือความคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏใน “อรุโณทัย” เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนข้อเขียนนั้นๆ เอง ทางผู้ผลิตไม่จำเป็น จะต้องคิดเห็นเช่นเดียวกันหรือคิดเหมือนกัน หากต้องการนำ ข้อความหรือเนื้อหาของอรุโณทัยไปเผยแพร่ต่อ โปรดระบุด้วยว่า นำมาจาก “อรุโณทัย - สื่อโยคะทางเลือก”

อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 1

|8


ยอมรับ ปล่อยวาง กล้าเปลี่ยน เรียนรู้ต่อไป แฮปปี้โยคี : เรื่อง

สวัสดีปีใหม่เพื่อนโยคีทุกท่าน ปีใหม่ถือเป็นช่วงเวลาที่ดี แห่งการสร้างสรรค์ เปลี่ยนแปลงสิ่งเก่าๆ ไปสู่สิ่งใหม่ ความคิดใหม่ การกระทำใหม่ๆ ที่ดีกว่า ชีวิตคนเรานั้นขอ อย่างเดียวอย่ากลัวการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เพียงแต่ อย่าคาดหวังว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะเลวร้ายหรือว่าเปลี่ยน ไปในทางที่ดีเสมอไปปล่อยให้มันเป็นไป สิ่งใดจะเกิดไม่ว่า จะไปพยายามหยุดยั้งอย่างไร เมื่อถึงเวลาจริงๆที่มันจะต้อง เกิดไม่ว่าร้ายหรือดีมันก็ต้องเกิดขึ้น ส่วนตัวของฉันแล้วคิดว่าการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน ชีวิตนั้น เป็นสิ่งที่ได้ถูกกำหนดมาแล้วแต่บางทีขนาดตั้งตัว ทำใจว่าเข้าใจสิ่งต่างๆ มากขึ้นแล้ว เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน บางอย่างก็ช็อคฉันได้อยู่บ่อยๆ แต่ข้อดีของการคิดในแง่นี้ ก็ดีตรงที่ไม่ทำให้ตระหนกหรือกังวลกับเรื่องราวต่างๆ มากจนควบคุมสติไม่อยู่ และอีกทั้งยังสามารถปรับตัว ปรับใจ ให้กลับมาเป็นปกติได้อย่างรวดเร็ว เร็วจนบางครั้ง บางคนที่ไม่รู้จักตัวตนของฉันจริงๆ สงสัยว่าทำไมเสียใจหรือ ตื่นเต้นได้ไม่นานกับเรื่องต่างๆ นานา

เพื่อนโยคีทุกคนคงยังจำความรู้สึกเมื่อครั้งตัดสินใจเริ่มต้น ฝึกโยคะหรือตั้งใจทำสมาธิได้ว่า แค่ตั้งใจอย่างเดียวว่า จะเริ่มทำจิตใจก็อิ่มเอม ร่างกายก็กระปรี้กระเปร่า รู้สึกถึง ความสุขได้ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้เริ่มต้นทำเลยด้วยซ้ำ พอเริ่มฝึก แล้วก็อยากจะฝึกให้ได้ดีๆ ต่อเนื่อง เริ่มหันมาสนใจการรับ ประทานเนื้อสัตว์ สวดมนต์นานขึ้น เริ่มหันมาใส่ใจสิ่งแวด ล้อมมากขึ้น เห็นไหมว่าการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในชีวิต เริ่มเดินขบวนกันเข้ามาและถือเป็นการเปลี่ยนที่ดีด้วย นี่แค่ การเปลี่ยนแปลงภายนอกเท่านั้นยังไม่รวมถึงจิตใจที่หนัก แน่น มั่นคง มองโลกในแง่ดี พูดจาดี ไม่ให้ร้ายคนอื่นอีก

การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้เป็นเรื่องเฉพาะส่วนบุคคล บางคน อาจจะบอกว่าไม่เห็นรู้สึกเหมือนที่ว่าเลย ฉันเชื่อว่าทุกอย่าง เกิดขึ้นเมื่อถึงเวลาอันควร สถานที่ที่เหมาะสม บวกกับความ กล้าและเข้มแข็งของจิตใจ อย่างตัวของฉันเองพูดอย่างไม่ อายว่ายังไม่กล้าพอที่จะเลิกกินเนื้อสัตว์ ทั้งๆ ที่ก็ฝึก ‘อหิงสา’ (ahimsa) นั่งสมาธิและแผ่เมตตามาเป็นเวลานาน ไม่ได้เป็น เพราะยึดติดรสชาติเรื่องอาหารแต่อย่างใด หากแต่ยึดติดกับ การดำรงชีวิตที่มีมานับพันปีจากบรรพบุรษที่กินเนื้อสัตว์กัน เป็นปกติ และตามคำสอนที่สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าว คนส่วนมากกลัวการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชีวิตอาจจะ เรื่องกฎแห่งกรรมว่าการไม่ฆ่านั้นก็ดีเพียงพอแล้ว หากแต่ผู้ เป็นเพราะความเคยชินที่ทำสิ่งต่างๆ มาเป็นเวลานาน บ้างก็เป็นเพราะความขี้เกียจ ความกลัว ความคาดหวังที่มี ฆ่าและผู้ถูกฆ่านั้นเป็นไปตามกฎแห่งกรรมของท่านเหล่านั้น ต่อเรื่องนั้นๆ สูงเกินไปกลัวการผิดหวัง ที่สำคัญการยึดติดกับ เอง การกินอาหาร เนื้อสัตว์ต่างๆ ของฉันก็เป็นเพียงแค่การดู สิ่งต่างๆ จนถือเป็นสิ่งที่ต้องมี ต้องทำ เมื่อคิดหรือคาดหวังว่า แลร่างกายให้ดำรงอยู่ได้ไปตามอัตภาพเท่านั้น ถึงอย่างนั้นก็ จะไม่ได้มีอย่างที่เคยมี ไม่ได้อย่างที่อยากได้ จึงถอยห่างและ ตามฉันเองก็มีความตั้งใจอย่างสูงว่าสักวันหนึ่งฉันจะ สามารถเลิกกินเนื้อสัตว์ได้ อย่างที่บอกฉันเชื่อมั่นว่าสักวัน เลิกคิดที่จะเปลี่ยนอะไรสักอย่างในชีวิต หนึ่งเมื่อถึงเวลาที่สมควรฉันคงทำอย่างที่ตั้งใจเอาไว้ได้ ฉันเองเรียนรู้ข้อดีของการเปลี่ยนแปลงจากประสบการณ์ตรง และประสบการณ์ทางอ้อมจากเพื่อนรักหลายๆ คนของฉัน มาพูดถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชีวิตโดยเราไม่ได้ตั้งตัว และโดยส่วนตัวฉันเป็นคนชอบการเปลี่ยนแปลงเป็นชีวิตจิต กันบ้าง เพื่อนของฉันหลายคนสอนฉันให้เรียนรู้จากประสบ การณ์ของพวกเขา ใจ ได้เรียนรู้ผลลัพธ์ที่ดีและไม่ดีมาบ่อยครั้ง อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 1

|9


รู้สึกขอบคุณเขามา ณ ที่นี้ ทุกคนคงยอมรับว่าการทำใจให้ย อมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดฝันในชีวิตนั้นเป็นเรื่องที่ ทำได้ค่อนข้างยาก ไม่ว่าเรื่องการงาน ความรัก การเงิน การสูญเสียคนหรือสิ่งของที่เรารัก ฯลฯ ดังที่พระพุทธเจ้า กล่าวไว้ว่าความแน่นอนคือความไม่แน่นอนและอีกหลาย คนกล่าวว่าความไม่แน่นอนนั้นแน่นอนที่สุด ซึ่งยากที่จะ ปฏิเสธได้ การฝึกโยคะและนั่งสมาธิสอนให้เรารู้จักปล่อยวาง ไม่ยึดติด รู้จักมองโลกและยอมรับในสิ่งต่างๆ มากขึ้น เราก็เป็นแค่ ปุถุชน คนธรรมดาที่ยังมีความรู้สึกรัก โลภ โกรธ หลง เศร้า ไม่ว่าจะฝึกฝนมานานแค่ไหน พอถึงเวลานั้นจริงๆ ทำไมมัน ช่างแสนยากจะทำใจให้ยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ฉันมีข้อคิดบางประการที่ฉันฝึกคิดและพยายามนำมาใช้ รับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินส่วนตัวมาแบ่งปัน เผื่อว่าเพื่อนๆ จะได้นำไปใช้เป็นข้อคิดแล้วลองฝึกทำกันดูเพื่อเป็นการ เตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างไม่ คาดคิดบ้าง 1. ให้ลองฝึกคิดเสมอว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นได้ เสมอกับทุกคนไม่ใช่แค่คุณคนเดียว ทำใจยอมรับและเป็น เพื่อนกับมันให้ได้เพราะว่ามันเกิดขึ้นเสมอ ตลอดเวลา 2. ฝึกมองโลกในแง่ดีและฝึกที่จะยอมรับว่าทุกอย่างใน โลกนี้ล้วนไม่แน่นอน ลองฝึกโดยมองย้อนไปในสิ่งต่างๆ ที่ เกิดขึ้นในชีวิต มีอะไรบ้างที่คงอยู่แม้แต่การฝึกโยคะของเรา เอง นานวันเข้าเราก็ฝึกได้มั่นใจยิ่งขึ้น นั่นก็คือการเปลี่ยน แปลงใช่หรือไม่ ทำไมเราจึงคิดว่าการเปลี่ยนแปลงมักนำมา ซึ่งความเศร้า ความทุกข์ เสมอไป จุดจบของสิ่งๆ หนึ่งคือการ เริ่มต้นใหม่ของสิ่งอีกสิ่งหนึ่ง และอาจเป็นการเริ่มต้นที่ดีกว่า ก็ได้ 3. ปล่อยวางกับสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อวาน เมื่อชั่วโมง หรือเมื่อนาทีที่แล้ว และอยู่กับวินาทีนี้อย่างมีความสุข ทำใน สิ่งที่ควรจะทำในเวลาปัจจุบัน มากกว่าที่จะกังวลมากเกินไป กับอนาคตที่จะเกิดขึ้นในอีกสิบนาที อีกหนึ่งชั่วโมงหรืออีก สองวันข้างหน้า หากปล่อยวางไม่ได้ให้ลองนึกถึงช่วงเวลาที่ ฝึกโยคะในห้องแล้วครูบอกให้คุณปล่อยวางความคิดในช่วง นั้นแล้วเพ่งความสนใจกับลมหายใจเข้าออกและการเคลื่อน ไหวของอาสนะเท่านั้น

บวกเข้ากับหลักการทำสมาธิมาลองใช้ดู คุณอาจจะลองหยุด นั่งนิ่งๆ สักครู่ จับลมหายใจสักพัก 1- 3 นาที สงบสติ หายใจ เข้าออกลึกๆ ลองฝึกทุกครั้งที่จิตใจเริ่มหม่นหมองกับเหตุการ ณ์ไม่ดี เมื่อฝึกบ่อยครั้งเข้าจากที่ต้องใช้เวลา 3 นาทีแล้วรู้สึก ดีขึ้นหรือปล่อยวางได้ ไม่นานคุณก็สามารถปล่อยวางสิ่ง ต่างๆ โดยแทบไม่ต้องใช้เวลานานเลย อย่าลืมว่าลมหายใจ life force หรือลมปราณนั้นคือพลังของชีวิต การฝึกนี้ก็เพื่อ ให้พลังชีวิตของเราเข้มแข็งและดำรงชีวิตต่อไปได้อย่าง มั่นคงนั้นสำคัญที่สุด 4. ฝึกความกล้าหาญที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลง อย่างช้าๆ ทีละขั้นตอน ให้กำลังใจตนเองก่อนที่จะหวังกำลัง ใจจากผู้อื่น ฝึกคิดเสมอว่าทุกอย่างมีทางแก้ มีทางออก แต่ ไม่ต้องกังวลมากจนเกินไปเพราะเมื่อเวลาที่สมควรมาถึงทุก อย่างก็จะคลี่คลายไปได้เอง เวลาที่คุณเศร้าคุณมักจะขาด พลังในการสร้างสรรค์ ต่อให้คุณคิดให้สมองระเบิดคุณก็คิด ไม่ออก มีแต่จะเครียดหนัก เศร้าหนักกว่าเดิมเท่านั้นเอง 5. ทำสิ่งที่มีประโยชน์ให้กับตนเองเสมอ อันนี้เป็นข้อ คิดส่วนตัวที่ฉันใช้ได้ผลดีสำหรับตัวฉันเอง หมายความสั้นๆ ว่าฉันจะไม่เสียเวลาที่มีค่าของฉันเอาไปคิดกับการเศร้า เสียใจ กับสิ่งที่ต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยที่ฉันไม่สามารถกำหนด หรือแก้ไขได้ การร้องไห้เป็นทางระบายที่ดีอย่างหนึ่งแต่ครั้ง สองครั้งก็นับว่าเพียงพอแล้ว เอาเวลาเศร้าเหล่านั้นไปคลี่ คลายปัญหาที่เกิดขึ้นจะดีกว่า จำไว้เสมอว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่แค่จะเกิดขึ้นแล้วผ่านไป ทุกอย่างเกิดขึ้น จบลง เพื่อสร้างภูมิต้านทานให้กับชีวิตของ คุณ ทำให้คุณเข้มแข็งขึ้น ดังนั้นเมื่อทำใจได้แล้วใช้เวลาสัก นิดหันมาเรียนรู้กับบทเรียนที่เกิดขึ้นกับชีวิต ยอมรับมัน ปล่อยมันไป และจำไว้เป็นบทเรียนของชีวิตครั้งในอนาคต สำหรับปีนี้ลองถามตัวเองว่าคุณได้วางแผนอะไรให้กับชีวิต คุณบ้างสำหรับปีนี้ เริ่มคิด แล้วเริ่มลงมือ กล้าที่จะเปลี่ยน อะไรในชีวิตให้ดีขึ้นขอเพียงสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ดีและไม่สร้าง ความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นเป็นพอ และหากคุณประสบกับ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดฝันในชีวิตในปีที่ผ่านมา ถึง เวลาแล้วที่จะเรียนรู้กับบทเรียนนั้นๆ ปล่อยวางความเศร้า และก้าวต่อไปอย่างสงบสุข

อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 1

| 10


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.