อนุสารอุดมศึกษา issue 407

Page 1

อุ ด มศึ ก ษา อนุสาร

ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔๐๗ ประจำเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๕ เอกสารเผยแพร่ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ISSN 0125-2461

อนุสารอุดมศึกษาออนไลน์ www.mua.go.th/pr_web

กีฬาสร้างมิตรภาพ ชาวอุดมศึกษา


อุดมศึกษา

อนุสาร

ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔๐๗ ประจำเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๕

สารบัญ เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย สกอ. ประสาน ม/ส ร่วมติดตามโครงการฟื้นฟูอุทกภัย ๓ ประชุมสุดยอดมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ครั้งที่ ๑ ๕ ครม. คลอดคณะกรรมการ ‘โครงการผลิตครูมืออาชีพ’ ๖ ธรรมภิบาลเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา ๗ ปฏิทินทุนอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๘ เปิดฉาก สงขลานครินทร์ เกมส์ ๙

เรื่องเล่าอาเซียน

การเกิดประชาคมอาเซียนกับการศึกษาของประเทศไทย (๘)

เรื่องพิเศษ

๑๐

ผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปี ๒๕๕๕

๑๒

พูดคุยเรื่องมาตรฐาน

๑๔

ระบบการศึกษาทางไกล

เรื่องแนะนำ รู้จัก TCU Academy

๑๖

เหตุการณ์เล่าเรื่อง ‘วลัยลักษณ์เกมส์’ กีฬาสร้างมิตรภาพชาวอุดมศึกษา ๑๙

เล่าเรื่องด้วยภาพ

๒๒

คณะผู้จัดทำ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๒๖ เว็บไซต์ http://www.mua.go.th อีเมล์ pr_mua@mua.go.th นายอภิชาติ จีระวุฒิ รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติยกวี นางวราภรณ์ สีหนาท นายศิระวิทย์ คลี่สุวรรณ ที่ปรึกษา บรรณาธิการ นายกฤษณ์กร วงศ์ไทย กองบรรณาธิการ นางสาวปิยาณี วิริยานนท์ นางชุลีกร กิตติก้อง นายเจษฎา วณิชชากร นางปราณี ชื่นอารมณ์ นายพรชัย สิทธินันทน์ นายจรัส เล็กเกาะทวด บริษัท ออนป้า จำกัด ผู้พิมพ์


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

สกอ. ประสาน ม/ส ร่วมติดตาม

โครงการฟื้นฟูอุทกภัย

๑๒ เมษายน ๒๕๕๕ - สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จัดทำบันทึก ข้ อ ตกลงความร่ ว มมื อ กั บ สำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา เรื่ อ ง

การติดตามประเมินผลโครงการให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาผู้ได้รับ

ผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย ปี พ.ศ.๒๕๕๔ - ๒๕๕๕ และโครงการ ป้องกันปัญหาอุทกภัยต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบ รั ฐ บาล โดยมี น างสาวยิ ่ ง ลั ก ษณ์ ชิ น วั ต ร นายกรั ฐ มนตรี เป็ น ประธานในพิ ธ ี ศาสตราจารย์ ส ุ ช าติ ธาดาธำรงเวช รั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร

นายนิ ว ั ฒ น์ ธ ำรง บุ ญ ทรงไพศาล รั ฐ มนตรี ป ระจำสำนั ก นายกรั ฐ มนตรี ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี นายอภิชาติ

จี ร ะวุ ฒ ิ เลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา นายทศพร ศิ ร ิ ส ั ม พั น ธ์ เลขาธิการ ก.พ.ร. พร้อมด้วยผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี และผู้ตรวจ ราชการกระทรวง ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามข้อตกลง นางสาวยิง่ ลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวมอบนโยบายการติดตามประเมินผลโครงการป้องกันปัญหาอุทกภัย ว่า ความร่วมมือ ระหว่างสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ถือเป็นความร่วมมือที่สำคัญที่เกิดจากเหตุการณ์ มหาอุทกภัยเมื่อปีที่ผ่านมา ซึ่งรัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณในการลงทุนสำหรับแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการน้ำอย่างเร่งด่วน เพื่อเตรียม พร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นอีก ซึ่งหากได้มีความร่วมมือร่วมใจกันทุกฝ่ายก็จะประสบความสำเร็จอย่างที่ตั้งไว้ ทั้งนี้ รัฐบาลได้บูรณาการการแก้ไขปัญหาซ่อมแซมสิ่งที่สึกหรอ การทำแนวพนังกั้นน้ำ การขุดลอกคูคลองเพื่อให้น้ำไหลตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำไปสู่ทะเลโดยเร็วที่สุด ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว การติดตามการดำเนินงานดังกล่าวถือเป็น เรื่องที่สำคัญที่ทุกหน่วยงาน กระทรวง ทบวง กรม ต้องรับผิดชอบในการเร่งรัดติดตามงานอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส เพื่อให้ตรง กับจุดที่ได้มีการวางตามแผนกำหนดการไว้ ดังนั้น จึงได้จัดให้มีคณะทำงานร่วมกันบูรณาการเพื่อติดตามเร่งรัดและรายงานปัญหาใน จังหวัดพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย ซึ่งไม่ว่าจะเป็นทางสำนักผู้ตรวจราชการและสำนักงานของคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ได้มีการจัดตั้งคณะทำงาน ก็จะร่วมกันบูรณาการกับผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี และผู้ตรวจราชการกระทรวง อีกทั้งยัง ได้รับความร่วมมือจากสถาบันอุดมศึกษา ที่จะร่วมเป็นกลไกในการติดตามความคืบหน้าปัญหาเร่งด่วนอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะทำให้คณะ กรรมการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

อนุสารอุดมศึกษา

3


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย ด้ า นนายอภิ ช าติ จี ร ะวุ ฒ ิ เลขาธิ ก ารคณะกรรมการการ อุ ด มศึ ก ษา กล่ า วว่ า เพื ่ อ ให้ ก ลไกการเร่ ง รั ด กำกั บ ติ ด ตาม โครงการช่ ว ยเหลื อ ฟื ้ น ฟู เยี ย วยา ผู ้ ไ ด้ ร ั บ ผลกระทบจาก สถานการณ์อุทกภัย รวมทั้งโครงการป้องกันปัญหาอุทกภัยต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เกิดการบูรณาการ มีการประสานงานร่วมกันใน การแก้ไขปัญหาอุปสรรค ข้อจำกัดต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยผลักดัน ให้โครงการดังกล่าว ดำเนินการได้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด และเป็ น ไปด้ ว ยความโปร่ ง ใส มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ และประสิ ท ธิ ผ ล สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา จึงเห็นพ้องร่วมกันในการผลักดันให้กลไกการเร่งรัด กำกับ ติดตามโครงการให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยา ผู้ได้รับ

ผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย และโครงการป้องกันปัญหา อุทกภัยต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เกิดการบูรณาการอย่างแท้จริง โดยให้มหาวิทยาลัยที่อยู่ในพื้นที่เป็นผู้ติดตามความคืบหน้า ของโครงการว่าเป็นไปตามแผนงานและระยะเวลาที่กำหนดไว้หรือไม่ และรายงานปัญหาอุปสรรค หรือข้อจำกัดในพื้นที่ เพื่อเป็นข้อมูลรายงานให้ผู้ตรวจราชการได้เร่งรัด กำกับ ติดตาม หรือร่วมกันแก้ไขปัญหา อุปสรรคในพื้นที่ร่วมกัน เพื่อให้ โครงการแล้วเสร็จได้ทันต่อสถานการณ์อุทกภัยที่คาดว่าจะเกิดขึ้น “ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จะทำหน้าที่ประสานการดำเนินการของมหาวิทยาลัยที่ได้รับมอบหมาย

ในการติดตามความคืบหน้าของโครงการในพื้นที่ตามขอบเขต ขั้นตอน และวิธีการที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนด พร้อมทั้งประสานการรายงานข้อมูลเบื้องต้นของมหาวิทยาลัยที่รับผิดชอบ ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีทราบ เพื่อเป็น ข้อมูลสำหรับผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี และผู้ตรวจราชการกระทรวง ในการเร่งรัด กำกับ ติดตาม สอบทานการดำเนิน โครงการในพื้นที่จริง ตามระยะเวลาที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนด ตลอดจนกำหนดแนวทางการประมวล วิเคราะห์ และสรุปรายงานการติดตามความก้าวหน้าในภาพรวมของจังหวัดตามระยะเวลาที่กำหนด รวมทั้งสรุปการประเมินผลสัมฤทธิ์ของ โครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ เสนอสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ภายในสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ นี้ สำหรับรายละเอียดการดำเนินการตามข้อตกลงความร่วมมือและงบประมาณ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และมหาวิทยาลัยที่ได้รับมอบหมาย จะได้มีการพิจารณาร่วมกันต่อไป” เลขาธิการ กกอ. กล่าว ทั้งนี้ ในส่วนของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จะดำเนินการกำหนดขอบเขต ขั้นตอน และวิธีการในการติดตามประเมิน ผลของมหาวิทยาลัยที่ได้รับมอบหมาย พร้อมทั้งกำหนดความรับผิดชอบ พื้นที่เขตตรวจราชการ โครงการที่จะตรวจติดตามในพื้นที่ให้ ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี และผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดมสรรพกำลังในการเร่งรัด กำกับ ติดตาม รวมทั้งการสรุป

รายงานผลการเร่งรัด กำกับ ติดตามของผู้ตรวจราชการ เสนอรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี เพื่อทราบ/พิจารณา ตลอดจนสนับสนุนงบประมาณในการติดตามประเมินผลของมหาวิทยาลัยที่ได้รับมอบหมาย และประสานหน่วย งานส่วนกลางและหน่วยงานในพื้นที่ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับทราบ และอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลโครงการที่ จะติดตามประเมินผล โครงการป้องกันปัญหาอุทกภัยในระยะเร่งด่วน รัฐบาลต้องฟื้นฟู และสร้างเสริมสาธารณูปโภคด้านต่างๆ เช่น ถนน สายต่างๆ การฟื้นฟูแหล่งเก็บน้ำ ขุดลอกคูคลอง ซ่อมแซมประตูระบายน้ำ ทำคันกั้นน้ำ เป็นต้น โครงการดังกล่าวดำเนินการ โดยกระทรวง ๑๖ กระทรวง และจังหวัดที่ประสบอุทกภัย ๔๑ จังหวัด รวมโครงการทั้งหมดประมาณ ๑๕,๐๐๐ โครงการ

ใช้งบประมาณทั้งสิ้น ๑๒๐,๐๐๐ ล้านบาท เพื่อให้การดำเนินงานของโครงการต่างๆ ประสบความสำเร็จสมบูรณ์ตามวัตถุประสงค์ รัฐบาลจึงได้มีดำริให้มีคณะ ทำงานเพื่อติดตามรายงานความคืบหน้าของโครงการดังกล่าว พร้อมทั้งรายงานปัญหาอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อรัฐบาล จะได้ช่วยเหลือ แก้ไขและสนับสนุน ทั้งนี้ ยังมีดำริให้มหาวิทยาลัย อาจารย์ นิสิตและนักศึกษาในพื้นที่ประสบอุทกภัยเป็น คณะติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการดังกล่าวด้วย ซึ่งการติดตามและรายงานผลการดำเนินการของโครงการต่างๆ จะ เชือ่ มโยงกับระบบงานของกรรมการบริหารจัดการอุทกภัย (กบอ.) และระบบสารสนเทศ PMOC FLOOD ทีม่ อี ยูแ่ ล้ว นอกจากนัน้

ผู้ตรวจราชการของสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และผู้ตรวจราชการประจำกระทรวง จะยังคงปฏิบัติราชการตรวจสอบการ ดำเนินงานของโครงการต่างๆ อีกระดับหนึ่งด้วย

4

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

ประชุมสุดยอดมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ครั้งที่ ๑ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๕ - สำนักบริหารโครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สำนักงาน

คณะกรรมการการอุดมศึกษา จัด ‘การประชุมสุดยอดมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ครั้งที่ ๑’ ระหว่างวันที่ ๒๙ - ๓๐ เมษายน ๒๕๕๕ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมทั้งปาฐกถาพิเศษเรื่อง ‘วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การวิจัยในอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศไทยสู่ประชาคม อาเซียน’ โดยกล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน โดยจัดทำโครงการพูดภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และ ภาษาอาเซียน โดยมีเป้าหมายร้อยละ ๘๐ ของนักเรียนทั่วประเทศ สามารถสื่อสารภาษาได้ดีพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ.๒๕๕๘ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างจัดหาครูเจ้าของภาษา หรือ Native Speakers เพื่อสอนในโรงเรียนทุกระดับทั่วประเทศกว่า ๓๐,๐๐๐ โรงเรียน สำหรับการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาและการดำเนินงานวิจัย รมว.ศธ. ได้ฝากข้อเสนอแนะว่า ต้องการให้การศึกษาระดับ อุดมศึกษาส่งเสริมและพัฒนาให้นักศึกษามีความเป็นมืออาชีพ โดยกระทรวงศึกษาธิการจะสนับสนุนทรัพยากรในการดำเนิน การ ซึ่ ง การประชุ ม ในครั้ ง นี้ แ สดงให้ เห็ น ว่ า การอุ ด มศึ ก ษามี ค วามพยายามที่ จ ะช่ ว ยผลั ก ดั น ให้ ค วามเป็ น มื อ อาชี พ ของ

นักศึกษาเกิดขึ้นจริง นอกจากนี้ ควรมีการประยุกต์งานวิจัยเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจด้วย เนื่องจากขณะนี้เรามีความถนัดในการสร้างสิ่ง ใหม่หรือการผลิตสิ่งใหม่อย่างต่อเนื่อง แต่ยังขาดองค์ความรู้อื่นที่มีความจำเป็นในเชิงธุรกิจ ได้แก่ ด้านบุคลากร การตลาด บัญชี การ บริหารจัดการ การเป็นผู้นำ อีกทั้งยังไม่สามารถหาบริษัทที่มีกำลังความสามารถในการสนับสนุนได้ตรงกับความต้องการ ทำให้ไม่เกิด การขายงานวิจัย ไม่มีการอุดหนุนงานวิจัย และงานวิจัยไม่ได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นที่มาของคำว่า งานวิจัยอยู่บนหิ้ง ดัง นั้น เมื่อมีงานวิจัยเกิดขึ้นจะต้องมีการจดลิขสิทธิ์ก่อน เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าให้กับงานวิจัย จากนั้นจึงจะนำงานวิจัยเข้าสู่ระบบ เศรษฐกิจโดยการขายงานวิจัย และหาผู้ร่วมทุนต่อไป ซึ่งในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศใหญ่จะมีบริษัทหลากหลายรูปแบบให้ความ สนับสนุนและอุดหนุนงานวิจัยในทุกด้าน ด้านรองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา โดยสำนักบริหารโครงการฯ ร่วมกับมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ๙ แห่ง จัดการประชุมครั้งนี้ เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ด้านการบริหารจัดการงานวิจัย การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ การพัฒนาอาจารย์ การผลิตบุคลากรด้านการวิจัย ตลอดจน การนำเสนอผลงานวิจัยของกลุ่มมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ๙ แห่ง และกลุ่มวิจัยเชิงบูรณาการ (Supra Cluster) “การประชุ ม สุ ด ยอดมหาวิ ท ยาลั ย วิ จ ั ย แห่ ง ชาติ ในครั ้ ง นี ้ ได้ มุ่ ง ไปที่ ป ระเด็ น สำคั ญ ที่ อ ยู่ ในความสนใจของประเทศ คื อ

‘การเตรียมความพร้อมของประเทศในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี ๒๕๕๘’ ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล โดย กิจกรรมต่างๆ ในงานจะมีจุดร่วมที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพด้านการวิจัยของประเทศ ต่อการสร้างความพร้อมในการเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน และมิติใหม่ของการทำวิจัยเชิงบูรณาการของประเทศ นอกจากนี้การประชุมยังเปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยวิจัยแห่ง ชาติ ๙ แห่ง คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ นำเสนอผลการดำเนินงานวิจัยและความก้าวหน้าในการพัฒนามหาวิทยาลัย ซึ่งผู้บริหารมหาวิทยาลัยจะได้นำเสนอและแลก เปลี่ยนแนวทางการบริหารจัดการและระบบงานวิจัยของมหาวิทยาลัย ตลอดจนหัวหน้าคลัสเตอร์วิชาการ ๕๔ กลุ่มวิจัย ในเครือข่ายงาน วิจัยเชิงบูรณาการระหว่างมหาวิทยาลัย จะได้นำเสนอความก้าวหน้าผลการดำเนินงาน และความเชื่อมโยงของ ๖ กลุ่มวิจัยเชิงบูรณา การ ได้แก่ ด้านสังคม ด้านพลังงาน ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ด้านอุตสาหกรรม ด้านเกษตรและอาหาร และด้านสุขภาพ พร้อมทั้งเผยแพร่ผลงานวิจัยที่สามารถใช้ประโยชน์ได้สู่สาธารณชน โดยผ่านกิจกรรมในหลายรูปแบบ” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว อนุสารอุดมศึกษา

5


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

ครม. คลอดคณะกรรมการ

‘โครงการผลิตครูมืออาชีพ’

๒ พฤษภาคม ๒๕๕๕ - ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันอังคารที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ มีมติเห็นชอบ เรื่อง ขอเปลี่ยนชื่อโครงการ ผลิตครูพันธุ์ใหม่และแต่งตั้งคณะกรรมการทำหน้าที่บริหารโครงการดังกล่าว ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอให้เปลี่ยนชื่อโครงการผลิต ครูพันธุ์ใหม่ เป็น ‘โครงการผลิตครูมืออาชีพ’ พร้อมแต่งตั้งคณะกรรมการทำหน้าที่บริหารโครงการผลิตครูมืออาชีพ จำนวน ๒ ชุด คือ (๑) คณะกรรมการบริหารโครงการผลิตครูมืออาชีพ และ (๒) คณะกรรมการคัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิตและนักศึกษาทุนโครงการผลิตครู

มืออาชีพ นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เปิดเผยถึงเรื่องดังกล่าวว่า โครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ตามมติ

คณะรัฐมนตรี วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๕๒ ชื่อของโครงการฯ ทำให้เกิดข้อสงสัยกับความหมายของคำว่า ‘ครูพันธุ์ใหม่’ ดังนั้น เพื่อให้ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ที่ต้องการผลิตครูมืออาชีพ ที่มีความรู้ทางวิชาการ เชี่ยวชาญทางวิชาชีพ และมี อุ ด มการณ์ ในวิ ช าชี พ ครู ด้ ว ยหลั ก สู ต รและกระบวนการที่ เน้ นการปฏิ บั ติ แ ละการฝึ ก อบรมที่ เข้ ม ข้ น ในสาขาและพื้ นที่ ที่ ขาดแคลนและจำเป็นต่อการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และอาชีวศึกษา โดยมีเป้าหมายการผลิตจำนวน ๕ รุ่น ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๔ - ๒๕๕๘ รวมจำนวน ๓๐,๐๐๐ คน ด้วยหลักสูตรครูระดับปริญญาตรี (๕ ปี) และหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู

จึงขอเปลี่ยนชื่อโครงการเป็น ‘โครงการผลิตครูมืออาชีพ’ เลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อไปว่า เนื่องจากการสิ้นสุดการดำเนินงานของคณะกรรมการ ๒ ชุดเดิม ทำให้ไม่สามารถดำเนินการ

คัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิตกรณีการรับนักศึกษาครูที่กำลังศึกษาชั้นปีที่ ๑ และรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเข้าศึกษาหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพครู รวมทั้งประกาศผลการคัดเลือกผู้รับทุนโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ รุ่นปีการศึกษา ๒๕๕๔ กรณีรับนักศึกษาที่ กำลังศึกษาชั้นปีที่ ๔ หลักสูตรระดับปริญญาตรี ๕ ปี รูปแบบการประกันการมีงานทำ (ไม่มีทุนการศึกษา) ซึ่งจะต้องประกาศผลการ

คัดเลือก พร้อมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ได้รับจัดสรรให้บรรจุเข้ารับราชการครู เพราะต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการฯ ทั้ง ๒ ชุด ดังนั้น ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบแต่งตั้งคณะกรรมการทำหน้าที่บริหารโครงการผลิตครูมืออาชีพ จำนวน ๒ ชุด คือ (๑) คณะกรรมการบริหารโครงการผลิตครูมืออาชีพ และ (๒) คณะกรรมการคัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิตและนักศึกษาทุนโครงการผลิต ครูมืออาชีพ เพื่อทำหน้าที่บริหารโครงการฯ โดยเร็ว คณะกรรมการบริหารโครงการผลิตครูมืออาชีพ มีอำนาจหน้าที่ กำหนดนโยบาย กรอบและทิศทางการดำเนินงานของโครงการ ผลิตครูมืออาชีพ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการมีการดำเนินงานที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมทั้งกำกับ ดูแล บริหาร โครงการ และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้โครงการดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ตลอดจนติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงานโครงการต่อกระทรวงศึกษาธิการ คณะรัฐมนตรี และสาธารณชนโดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ศาตราจารย์บุญทัน ดอกไธสง รองศาสตราจารย์สุขุม เฉลยทรัพย์ นางพรนิภา ลิมปพยอม นายดิเรก พรสีมา นางสาวศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ เลขาธิการ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา เลขาธิการคุรุสภา ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และ ผู ้ แทนสำนั ก งานอั ย การสูงสุด โดยมีผู้อำนวยการสำนั ก นโยบายและแผนการอุ ด มศึ ก ษา เป็ นกรรมการและเลขานุ ก าร เจ้าหน้าที่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จำนวน ๒ คน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ คณะกรรมการคัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิตและนักศึกษาทุนโครงการผลิตครูมืออาชีพ มีอำนาจ หน้าที่ จัดทำเกณฑ์และคัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิตเข้าร่วมโครงการ และจัดทำเกณฑ์และดำเนินการคัดเลือก นักศึกษาทุนเข้าร่วมโครงการ พร้อมทั้งจัดทำประชาสัมพันธ์โครงการ และรายงานผลการดำเนินงานต่อ กระทรวงศึกษาธิการ คณะรัฐมนตรี และสาธารณชน โดยมีนางสาวศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ เป็นประธาน กรรมการ นางพรนิภา ลิมปพยอม และผู้ช่วยศาสตราจารย์วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ เป็นรองประธาน กรรมการ กรรมการประกอบด้วย รองศาสตราจารย์สมบัติ นพรัก รองศาสตราจารย์สุขุม เฉลยทรัพย์ รองศาสตราจารย์วรพล พรหมิกบุตร นางเบญจวรรนรี โชติช่วงนิรันดร์ ผู้อำนวยการสถาบัน

ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เลขาธิการคุรุสภา เลขาธิการคณะกรรมการการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้อำนวยการสำนักมาตรฐาน และประเมินผลอุดมศึกษา โดยมีผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการ อุดมศึกษา เป็นกรรมการและเลขานุการ เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา จำนวน ๒ คน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ

6

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

ธรรมาภิบาล เพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา

ธรรมาภิ บ าลและการบริ หารจัดการ (governance and management) เป็ น ปั จ จั ย สำคัญที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการ พั ฒ นามหาวิ ท ยาลั ย และอุดมศึกษาในภาพรวม กล่าวคือ หากสถาบั น อุ ด มศึ ก ษามี ก ลไกการกำหนดทิศทางที่ดีและ ก้ า วหน้ า พร้ อ มการขั บ เคลื่อนโดยการบริหารคนที่มี ประสิ ท ธิ ภ าพแล้ ว ภารกิ จของมหาวิทยาลัยก็สำเร็จลุล่วงไปได้ บทบาทและความรั บ ผิ ด ชอบขององค์กรสูงสุดในที่นี้คือ “สภามหาวิ ท ยาลั ย ” มี ค วามสำคัญต่อความเจริญของสถาบัน และผลผลิ ต ที่ ดี . ...

กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว ๑๕ ปี ฉบั บ ที่ ๒ (พ.ศ.๒๕๕๑ – ๒๕๖๕)

๒๖ เมษายน ๒๕๕๕ - สถาบันคลังสมองของชาติ ภายใต้ มู ล นิ ธ ิ ส ่ ง เสริ ม ทบวงมหาวิ ท ยาลั ย โดยโครงการจั ด ตั ้ ง สถาบั น ธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย (University Governance Institute: UGI) จั ด อบรมหลั ก สู ต ร “ธรรมาภิ บ าลเพื ่ อ การพั ฒ นาอุ ด มศึ ก ษา” (University Governance Program: UGP) รุ่น ๙ ระหว่างวันที่ ๒๖ เมษายน - ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ โดยมีเนื้อหาหลักสูตรประกอบ ด้วย บทบาทและหน้าที่กรรมการสภามหาวิทยาลัย บทบาทสภา มหาวิทยาลัยในการกำหนดเป้าหมาย นโยบาย และแนวทางใน การพัฒนามหาวิทยาลัย บทบาทสภามหาวิทยาลัยในการกำกับ การจัดการศึกษา : การอนุมัติการเปิดสอนหลักสูตรการศึกษา บทบาทของสภามหาวิทยาลัยในการกำกับการบริหารการเงินและ ทรัพย์สิน บทบาทสภามหาวิทยาลัยในการกำกับการบริหารงาน บุคคล กฎหมายและวิธีปฏิบัติที่กรรมการสภามหาวิทยาลัยควร ทราบ มหาวิทยาลัยกับคดีพิพาทในศาลปกครอง การกำกับการ บริหารความเสี่ยงในมหาวิทยาลัย การประเมินสภามหาวิทยาลัย และการวิ เคราะห์ ก รณี ศ ึ ก ษา (Case Study) เพื ่ อ ให้ เ ข้ า ใจถึ ง บทบาทการทำหน้าที่กรรมการสภามหาวิทยาลัยอย่างแท้จริง ทั ้ ง นี ้ ได้ ร ั บ เกี ย รติ จ ากนายอภิ ช าติ จี ร ะวุ ฒ ิ เลขาธิ ก าร

คณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา เป็ น ประธานเปิ ด การอบรม

ณ โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส นายอภิ ช าติ จี ร ะวุ ฒ ิ เลขาธิ ก ารคณะกรรมการการ อุดมศึกษา กล่าวเปิดการอบรมว่า การดำเนินการจัดหลักสูตร ธรรมาภิ บ าลเพื ่ อ การพั ฒ นาอุ ด มศึ ก ษา สำหรั บ กรรมการสภา มหาวิทยาลัยครั้งนี้ นอกจากเป็นการนำเอาประเด็นธรรมาภิบาล และการบริหารจัดการที่กำหนดไว้ในกรอบแผนอุดมศึกษาระยะ ยาว ๑๕ ปี ฉบับที่ ๒ (พ.ศ.๒๕๕๑ - ๒๕๖๕) มาขับเคลื่อนให้ เป็ น รู ป ธรรมแล้ ว ยั ง เป็ น การเปิ ด โอกาสให้ น ายกสภา มหาวิทยาลัย กรรมการสภามหาวิทยาลัย ได้มาแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ในการกำกับ ดูแลมหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งสร้างเครือ ข่ า ยความร่ ว มมื อ และความเข้ า ใจอั น ดี ร ะหว่ า งกั น เพื่ อ ประโยชน์ในการพัฒนาการอุดมศึกษาของประเทศต่อไป “บทบาทและหน้าที่ของกรรมการสภามหาวิทยาลัยมีความ สำคัญ และมีผลกระทบโดยตรงต่อความเจริญ และผลผลิตที่ดี ของสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา ทั ้ ง บทบาทในการบริ ห ารงานบุ ค คล

การบริ ห ารงบประมาณและทรั พ ย์ ส ิ น การดู แ ลการดำเนิ นงาน ต่างๆ ทัง้ ในเรือ่ งหลักสูตรและคุณภาพการศึกษา ดังนัน้ ธรรมาภิบาล จะเป็นหลักสำคัญที่จะส่งเสริมการปฏิบัติงานและการดำเนินงาน ทุ ก ระดั บ ให้ ด ำเนิ น ไปอย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ มี ค วามเป็ นธรรม ความโปร่ ง ใส ความคุ ้ ม ค่ า เงิ น และเปิ ด โอกาสให้ ท ุ ก ฝ่ า ยที ่ เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน” เลขาธิการ กกอ. กล่าว อนุสารอุดมศึกษา

7


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

ปฏิทินทุ น อุ ด มศึ ก ษา เพื่อการพัฒนา จังหวัดชายแดนภาคใต้

๒๕ เมษายน ๒๕๕๕ - นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เปิดเผยถึงแผนการดำเนินโครงการทุน อุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระยะที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ ว่า จากการประชุมคณะกรรมการดำเนินโครงการ ทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ ๒/๒๕๕๕ ได้มีมติเห็นชอบให้รับสมัครนักเรียนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ รูปแบบที่ ๑ ที่สนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนที่ยังไม่มีที่เรียน จำนวน ๑๒๕ ทุน โดยขอความอนุเคราะห์ที่นั่งการศึกษาพร้อม ยกเว้นค่าเล่าเรียนเป็นกรณีพิเศษจากสถาบันอุดมศึกษา ในระหว่างวันที่ ๙ - ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ณ มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ ปัตตานี และประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ ในวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๕ สอบสัมภาษณ์ (ณ สถาบัน อุดมศึกษาต้นสังกัด) ระหว่างวันที่ ๒๘ - ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ และประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา ในวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ “ในปีการศึกษา ๒๕๕๕ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ ของ ศอ.บต. จำนวน ๑๐ ล้านบาท ให้ สกอ. เพื่อดำเนินโครงการฯ โดยสนับสนุนทุนการศึกษา จำนวน ๒๕๐ ทุน และเพื่อให้การจัดสรรทุนดังกล่าวมีการกระจายให้ครอบคลุมทั้งกลุ่มเด็กที่เรียนดี แต่มีฐานะยากจน และกลุ่มเด็ก ทีย่ งั ไม่มที เ่ี รียน ดังนัน้ คณะกรรมการดำเนินโครงการทุนอุดมศึกษาเพือ่ การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงได้ปรับรูปแบบ การดำเนินโครงการในปีการศึกษา ๒๕๕๕ โดยจะจัดสรรทุนเป็น ๒ รูปแบบ คือ (๑) สนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่นักเรียน ที่ยังไม่มีที่เรียน จำนวน ๑๒๕ ทุน โดยขอความอนุเคราะห์ที่นั่งการศึกษาพร้อมยกเว้นค่าเล่าเรียนเป็นกรณีพิเศษจาก สถาบันอุดมศึกษา และ (๒) สนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักเรียนและนักศึกษาที่สอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้ ด้วยตนเอง โดยเฉพาะในสาขาที่มีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาพื้นที่ จำนวน ๑๒๕ ทุน โดยพิจารณาจาก ผลการเรียน ฐานะยากจน และมีความประพฤติดี เป็นต้น” เลขาธิการ กกอ. กล่าว เลขาธิการ กกอ. กล่าวถึงการจัดสรรทุนรูปแบบที่ ๑ ซึ่งสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนที่ยังไม่มีที่เรียน จำนวน

๑๒๕ ทุน ว่า ในปีนี้มีสถาบันอุดมศึกษาที่อนุเคราะห์ที่นั่งการศึกษาพร้อมยกเว้นค่าเล่าเรียน จำนวนกว่า ๑,๔๐๐ ที่นั่ง จากสถาบัน อุดมศึกษา ๙๓ แห่ง ทั่วประเทศ ทั้งนี้ สกอ. ได้ทำหนังสือเวียนแจ้งสถาบันที่อนุเคราะห์ที่นั่งการศึกษาพร้อมยกเว้นค่าเล่าเรียน

ให้ทราบถึงแผนการดำเนินงานของโครงการตามรายละเอียดข้างต้นแล้ว และได้ขอให้สถาบันกำหนดวัน เวลา และสถานที่สอบ สัมภาษณ์ผู้มีสิทธิ์เข้ารับการสอบสัมภาษณ์ ในช่วงวันที่ ๒๘ - ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เพื่อประกาศให้ผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ ทราบ ทั้งนี้ ให้แจ้งผลการสอบสัมภาษณ์ พร้อมรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษามายัง สกอ. ภายในวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๕ อย่างไรก็ตาม ขอให้ผู้ที่สนใจโครงการทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระยะที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๕

รูปแบบที่ ๑ ติดตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัคร เงื่อนไขการรับทุน วัน เวลา การรับสมัคร และรายละเอียดต่างๆ ทางเว็บไซต์ www.mua.go.th ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๕ หรือสอบถาม ได้ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โทร. ๐ ๒๖๑๐ ๕๔๖๘ “สำหรับการจัดสรรทุนในรูปแบบที่ ๒ ซึ่งสนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักเรียนและนักศึกษาที่สอบเข้าศึกษาต่อในระดับ อุดมศึกษาได้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะในสาขาที่มีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาพื้นที่ จำนวน ๑๒๕ ทุน ทาง สกอ. จะแจ้งให้รายละเอียดและคุณสมบัติให้ทราบอีกครั้ง เนื่องจากจะมีการดำเนินการจัดสรรทุนภายหลังจากเปิดภาคการศึกษาไปแล้ว” เลขาธิการ กกอ. กล่าวในตอนท้าย

8

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

เปิดฉาก

๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ - มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์ เจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๓๙ ‘สงขลานครินทร์ เกมส์’ จัดพิธีเปิดการแข่งขัน ณ สนามกีฬากลาง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ โดยได้รับเกียรติ จาก นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี เป็นประธานในพิธี ‘สงขลานคริ นทร์ เกมส์ ’ จั ด ภายใต้ แนวคิ ด ‘Colors United : ผสมสี ส ั น ผสานพลั ง ’ หมายถึ ง การดึ ง จุ ด เด่ นของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้ง ๕ วิทยาเขต คือ ปัตตานี หาดใหญ่ ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และตรัง ที่มีความหลากหลายทาง วัฒนธรรมมาหล่อหลอม รวมเป็นพลังแห่งการสร้างสรรค์ความสามัคคีโดยใช้การกีฬาเป็นสื่อ และการมุ่งสู่การยอมรับความ แตกต่าง การผสมผสานความหลากหลายให้เป็นพลัง ในการจัดการแข่งขันครั้งนี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้นำนกเงือกพันธุ์ปากย่น ‘น้องข้าวยำ’ มาเป็นสัตว์สัญลักษณ์ นำโชคแห่งการแข่งขันกีฬา นกเงือกพันธุ์ปากย่นเป็นสัตว์พื้นถิ่นภาคใต้ และเป็นสัตว์ที่ดำรงครอบครัวแบบครองคู่ตลอดชีวิต แสดงถึงความรักความสามัคคี เป็นนกที่รักและอยู่กับระบบนิเวศของทรัพยากรธรรมชาติ เป็นตัวสะท้อนถึงดัชนีความสมบูรณ์ ของป่าดงดิบภาคใต้ ความร่วมใจและความอุดมสมบูรณ์ของท้องถิ่นภาคใต้ ทำหน้าที่กระจายพันธุ์ไม้ รักษาความหลากหลาย ของทั้งพืชและสัตว์ ดังนั้น จึงเป็นการสื่อให้เราทุกคนรักและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ให้ยั่งยืนเพื่อเป็นมรดกให้แก่สังคมไทยรุ่น ต่อไป ส่วนสัญลักษณ์ของการแข่งขันเป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ ดอกศรีตรังคล้องกันเป็นห่วงหลากสีสัน ภายใต้ คำขวัญ ‘ผสมสีสัน ผสานพลัง’ สื่อความหมายถึงการรวมพลังสถาบันอุดมศึกษาทุกภูมิภาค การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัย

ไม่ได้มุ่งหวังที่จำนวนเหรียญ แต่เพื่อการสร้างและพัฒนานักศึกษาให้มีจิตสาธารณะ เป็นเบ้าหลอมให้นักศึกษาสำเร็จการศึกษา ออกไปเป็นพลเมืองดีของชาติ นอกจากนั้น การแข่งขันกีฬา คือ การมอบสิ่งดีที่เป็นมรดกทางพลานามัยแก่ร่างกายของเยาวชน มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ นทร์ จ ึ ง จั ด ให้ ก ารออกกำลั ง กายเป็ น ๑ ใน ๓ ของระบบนิ เวศที ่ พ ึ ง มี ส ำหรั บ สถาบั นการศึ ก ษา

ซึ่งประกอบด้วย ระบบนิเวศทางสติปัญญา ระบบนิเวศทางจิตวิญญาณ และ ระบบนิเวศของการออกกำลังกาย อนุสารอุดมศึกษา

9


เรื่องเล่าอาเซียน โดย รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล

การเกิดประชาคมอาเซียนกับ

การศึกษาของประเทศไทย (๘)

จากฉบับที่แล้ว ‘อนุสารอุดมศึกษา’ ได้สรุปโครงการ/กิจกรรม ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาดำเนินการเกี่ยวกับ การเตรียมความพร้อมของอุดมศึกษาเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ ซึ่งเป็นการนำร่อง เป็นต้นแบบให้กับสถาบันอุดมศึกษา ในสังกัด/ในกำกับของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา นำไปต่อยอดและขยายวงกว้างต่อไปยังประชาคมอุดมศึกษาทุกกลุ่ม เพื่อเตรียมความพร้อมในทุกมิติ ทั้งการเพิ่มศักยภาพของบุคลากรด้านภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน การส่งเสริมการเรียนรู้ วัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจ การเมือง และกฎหมายของประเทศสมาชิกอาเซียน ‘อนุสารอุดมศึกษา’ ฉบับนี้ ขอนำตัวอย่างการดำเนินกิจกรรมของสถาบันอุดมศึกษาในรูปแบบต่างๆ ทั้งการจัดตั้งศูนย์เพื่อการ ศึกษาเกี่ยวกับอาเซียน การแลกเปลี่ยนบุคลากรและนักศึกษาการเตรียมความพร้อมของบุคลากรในด้านภาษา การเปิดหลักสูตร ภาษาอังกฤษและหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับอาเซียน ตลอดจนการจัดประชุม สัมมนา และนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน

การจัดตั้งศูนย์เพื่อการศึกษาเกี่ยวกับอาเซียน

เพื่อให้คณาจารย์ และบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษา ตลอดจนนิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป มีแหล่งข้อมูลที่รวบรวม เรื่องราวเกี่ยวกับประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศ ตลอดจนข้อมูลที่เชื่อมโยงกับการจัดตั้งประชาคมอาเซียน เพื่อเป็นแหล่ง เรียนรู้ และค้นคว้า สำหรับให้คนไทยเตรียมพร้อมเมื่อประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียน ในปี ๒๕๕๘ ดังนั้น สถาบัน อุดมศึกษาหลายแห่งได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์เพื่อการศึกษาเกี่ยวกับอาเซียน อาทิ ศูนย์อาเซียนศึกษา เป็นศูนย์ที่คณะบุคคลและคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ร่วมกันก่อตั้งขึ้น เพื่อเป็นศูนย์รวมของ การวิจัยเกี่ยวกับอาเซียน ฝึกอบรมความรู้ จัดทำสิ่งพิมพ์ในรูปแบบต่างๆ อาทิ หนังสือ ข่าวสารนิเทศ รายงานการวิจัย จดหมายข่าว และวารสาร เป็นต้น รวมถึงการจัดประชุมสัมมนา และอภิปรายในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับอาเซียน โดยมีหน้าที่รวบรวมแหล่งข้อมูล เกี่ยวกับประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งเรื่องเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง ศิลปะและวัฒนธรรม ผู้สนใจสามารถเข้ามาหาแหล่งข้อมูล ได้ที่ศูนย์อาเซียนศึกษาได้ ซึ่งขณะนี้มหาวิทยาลัยกำลังเริ่มดำเนินการ ศูนย์ประชาคมอาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้จัดตั้งขึ้นโดยมีพันธกิจหลัก คือ ศึกษาวิจัยด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรมในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง ๑๐ ประเทศ เน้นแนวคิดการอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานความแตกต่าง และเป็น ภูมิภาคแห่งสันติภาพ ความมั่นคง ฝึกอบรมให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเรื่องการเป็นประชาคมอาเซียน ให้บริการวิชาการด้าน การเป็นประชาคมอาเซียน จัดทำสิ่งพิมพ์จดหมายข่าว และเว็บไซต์เผยแพร่ รวมถึงการจัดอบรมสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้ให้กับ

ผู้สนใจทั่วไป ASEAN Education Hub ซึ่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้แบ่งการดำเนินการเป็น ๓ ระยะ ดังนี้ ระยะที่หนึ่ง จัด ASEAN workshops และนิทรรศการเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนในภาคเหนือเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่ สำคัญ และผลกระทบที่จะมีต่อประเทศไทย และความสำคัญของการเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ระยะที่สอง พัฒนาศักยภาพและทักษะด้านการสอนและความรู้ทั่วไปของอาจารย์ เพื่อนำไปสู่การสอนที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะด้านภาษาอังกฤษ และภาษาอื่น ๆ ของประเทศในกลุ่มอาเซียน เพราะเมื่อเกิดประชาคมอาเซียนขึ้น หมาย ถึงตลาดงานจะเปิดกว้างสำหรับประชากรของอาเซียนทุกประเทศ ระยะที่สาม คือ การจัดโครงการฝึกอบรมหรือการพัฒนาศักยภาพให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม พม่า และลาว เป็นต้น จากการอ้างถึงการจัดตั้งศูนย์ข้างต้นเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่สถาบันอุดมศึกษาได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริมให้บุคลากรของ สถาบัน ตลอดจนประชาชน มีการศึกษา การเรียนรู้ ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน โดยจัดตั้งเป็นศูนย์ดังกล่าว ซึ่งขณะนี้ ‘อนุสารอุดมศึกษา’ คาดว่าน่าจะมีสถาบันอุดมศึกษาอีกหลายแห่งที่กำลังดำเนินการกิจกรรมจัดตั้งศูนย์เพื่อการศึกษาเกี่ยวกับ อาเซียนในรูปแบบต่างๆ

10

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องเล่าอาเซียน

การแลกเปลี่ยนบุคลากรและนักศึกษาอาเซียน

เพื่อให้อาเซียนเป็นอาเซียนอย่างแท้จริง โดยเฉพาะเรื่องการศึกษา สถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งได้มีการดำเนินการแลกเปลี่ยน บุคลากรและนักศึกษา ร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียน ตามโครงการและข้อตกลงความร่วมมือต่างๆ อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล มหาวิ ท ยาลั ย แม่ ฟ ้ า หลวง มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ และมหาวิ ท ยาลั ย

สงขลานครินทร์ ที่เข้าร่วมโครงการนำร่องการแลกเปลี่ยนนักศึกษามาเลเซีย-อินโดนีเซีย-ไทย เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการขยายเครือข่าย โครงการแลกเปลี่ยนความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกัน และส่งเสริมการเคลื่อนย้ายนักศึกษาและบุคลากรในภูมิภาคให้มีจำนวน

เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเอื้อต่อการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนที่เข้มแข็งในอนาคต ปัจจุบันมีสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่ง อาทิ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ มหาวิทยาลัย ราชภั ฏ จั นทรเกษม มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ เทพสตรี มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ นครศรี ธ รรมราช มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ พิ บู ล สงคราม มหาวิทยาลัยรังสิต ได้สนับสนุนให้นักศึกษาร่วมโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาไทยและอาเซียน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๕ เพื่อ พัฒนาศักยภาพนักศึกษาไทยให้พร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงานในภูมิภาคอาเซียนและมีประสบการณ์ในต่างประเทศ ตลอดจนใช้การ ศึกษาเป็นตัวนำสู่การกระชับความสัมพันธ์และการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน นอกจากนี้ สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ยังมีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนบุคลากรและนักศึกษากับประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศ อื่นๆ ตามข้อตกลงความร่วมมือต่างๆ ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทย กับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศอีกด้วย

การเปิดหลักสูตรเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียน

การปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอนในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคม อาเซียน เป็นกลไกที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากิจกรรมในรูปแบบอื่น เนื่องจากเป้าหมาย ๒ ใน ๕ ข้อ ของยุทธศาสตร์อุดมศึกษา ไทยในการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ.๒๕๕๘ ระบุว่า (๑) ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของ บัณฑิตไทยอยู่ในระดับที่ทัดเทียมกับบัณฑิตในประเทศสมาชิกอาเซียนและ (๒) สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งจัดการเรียนการสอนที่เอื้อ ต่อการเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี พ.ศ.๒๕๕๘ ดังนั้น สถาบันอุดมศึกษาในปัจจุบันจึงให้ความสำคัญและเปิดหลักสูตรภาษา อังกฤษเพื่อเป็นกลไกในการเพิ่มศักยภาพและความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาและบัณฑิตไทย เนื่องจากภาษา อังกฤษจะเป็นภาษาในการทำงาน (Working Language) ของประชาคมอาเซียน นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาอื่นๆ ในกลุ่มประเทศอาเซียน เช่น ภาษาพม่า ภาษาเวียดนาม ภาษาบาฮาซาของอินโดนีเซีย นอกจากการเปิดหลักสูตรภาษาอังกฤษ สถาบันอุดมศึกษาบางแห่งยังจัดการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเป็นประชาคมอาเซียน อาทิ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีหลักสูตรการเรียนการสอนที่เชื่อมโยงกับลุ่มน้ำโขง โดยมีการใช้ภาษาถิ่นในการเรียนการสอน ซึ่งขณะนี้ มีหลักสูตรและผลงานวิจัยที่เอื้อและเป็นประโยชน์ต่อประชาคมอาเซียนและลุ่มน้ำโขง ทั้งในด้านเศรษฐกิจ และมีการวิจัยและ ร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์เตรียมพร้อมในการแข่งขันในเวทีอาเซียน มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ปรับเปลี่ยนหลักสูตรเพื่อให้ตอบสนองต่อ ความเปลี่ยนแปลงของสังคม และความต้องการของตลาดแรงงานที่มีความต้องการคุณสมบัติของบัณฑิตมากเพิ่มขึ้นเพื่อให้มีความรู้ และความสามารถเทียบเท่าในระดับอาเซียนจึงได้ริเริ่มให้เพิ่ม ‘รายวิชากฎหมายประชาคมอาเซียน (LA460)’ เป็นอีกหนึ่งในวิชาเลือก เพื่อเปิดโอกาสให้แก่นักศึกษาผู้ที่ต้องการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับอาเซียนในมุมมองของกฎหมายเป็นหลัก มีจุดมุ่งหมายให้นักศึกษามี ความรู้เกี่ยวกับสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ภายใต้บริบทของกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นจุดกำเนิด ของวิชากฎหมายประชาคมอาเซียน

จัดประชุม สัมมนา นิทรรศการให้ความรู้

การจัดประชุม สัมมนา และนิทรรศการให้ความรู้ เป็นกิจกรรมอีกรูปแบบหนึ่งที่สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการจัดขึ้นในโอกาส ต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา ทั้งผู้บริหาร คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไปให้มีความรู้ ความเข้าใจถึงการเตรียมการอุดมศึกษาไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียนโดยผ่านการเสวนา การอภิปรายในหัวข้อต่างๆ โดยเชิญวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความชำนาญเกี่ยวกับอาเซียน มาให้ความรู้ อาทิ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการสมาคมประชาชาติแห่ง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้แทนจากกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนจากกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ กิจกรรมข้างต้นเป็นเพียงกลไกหนึ่งของภาคส่วนการศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษา ที่ดำเนินบทบาทในการเตรียมความพร้อมของ บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา นิสิต นักศึกษา บัณฑิต และประชาชนทั่วไป ให้เข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงประเทศในอนาคต หลังจาก การเข้าเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียน เพื่อคนไทยจะได้มีการปรับตัวให้สามารถมีวิถีในการดำรงชีวิตในฐานะสมาชิกของประชาคม อาเซียน ภายใต้บริบทของประเทศไทย อย่างมีความสุขต่อไป อนุสารอุดมศึกษา

11


เรื่องพิเศษ

ผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปี ๒๕๕๕ ในวั นคล้ า ยวั น สถาปนากระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร วั นที่ ๑ เมษายน ของทุ ก ปี กระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารจะคั ด เลื อ ก

ผู้ ท ำคุ ณ ประโยชน์ ให้ แ ก่ ก ระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร ซึ่ ง กำหนดให้ มี ก ารคั ด เลื อ กบุ ค คล องค์ ก ร และหน่ ว ยงานที่ ท ำ

คุ ณ ประโยชน์ ให้ แ ก่ ก ระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร โดยมอบประกาศเกี ย รติ คุ ณบั ต รและเข็ ม ที่ ร ะลึ ก แก่ ผู้ ท ำคุ ณ ประโยชน์

เพื่อเป็นเกียรติและเป็นแบบอย่างที่ดีในการสนับสนุนงานด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ คณะกรรมการคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์แก่กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปี ๒๕๕๕ ได้ประกาศยกย่องเชิดชู เกียรติแก่ผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปี ๒๕๕๕ จำนวน ๘๒ ราย โดยในส่วนของสำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา มี ๘ ราย ดังนี้ ศาสตราจารย์ธีรวุฒิ บุณยโสภณ - นักบริหารวิชาการ การสนับสนุนงานด้านบริหารการจัดการ หรืองานด้านบริหารบุคคล หรืองานด้านวัสดุอุปกรณ์ และงานด้านคณะกรรมการ หรืออนุกรรมการต่างๆ โดยเป็นรองประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ประธานกรรมการการอาชีวศึกษา และกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา การสนับสนุนงานวิชาการและงานวิจัย และพัฒนา สนับสนุนองค์ความรู้ โดยเป็นประธานคณะผู้วิจัย เรื่อง ศึกษาแนวทาง การพัฒนาประชากรของประเทศไทยและโครงการจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาในภาคอุตสาหกรรมเพื่อก้าว ไปสู่อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม การบริจาคเงินหรือทรัพย์สิน โดยจัดหาเครื่องจักรและอุปกรณ์การศึกษาให้แก่โรงเรียนจิตรลดา จำนวน ๑,๙๖๐,๐๐๐ บาท บริจาคเงินค่าวัสดุการศึกษาให้มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน ๓๕,๐๐๐ บาท บริจาคทุนการศึกษาให้มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน ๒๘,๘๐๐ บาท นายประยูร เสริมสุขสกุลชัย - นักธุรกิจ การสนับสนุนงานด้านบริหารการจัดการ หรืองานด้านบริหารบุคคล หรืองานด้านวัสดุ อุปกรณ์ และงานด้านคณะกรรมการหรืออนุกรรมการต่างๆ โดยก่อตั้งศูนย์ฝึกอบรมและ สัมมนา ผลิตชุดฝึกทดลอง ตั้งแผนกงานขายการศึกษา และจัดทำโครงการอบรมนักศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง การสนั บ สนุ นงานวิ ช าการและงานวิ จ ั ย และพั ฒ นา สนั บ สนุ น องค์ ค วามรู ้ โดย สนับสนุนการแข่งขันหุ่นยนต์ CUBIC BINGO ปี พ.ศ.๒๕๓๔ และสนับสนุนการจัดการแข่ง ขันทักษะวิชาชีพ กรมอาชีวศึกษา นายพยุง ศักดาสาวิตร - นักธุรกิจ การสนับสนุนงานด้านบริหารการจัดการ หรืองานด้านบริหารบุคคล หรืองานด้านวัสดุ อุปกรณ์ และงานด้านคณะกรรมการหรืออนุกรรมการต่างๆ โดยเป็นกรรมการสภาวิชาการผู้ทรง คุ ณ วุ ฒ ิ มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี ร าชมงคลพระนคร มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี ร าชมงคล รัตนโกสินทร์ และกรรมการออกแบบและสร้างเครื่องตัดชิ้นงานยางสังเคราะห์ทางกระบอก สร้างเครื่องกลึงต้นแบบและสร้างชุดทดลองวัฏจักรไอน้ำของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล การสนับสนุนงานวิชาการและงานวิจัย และพัฒนา สนับสนุนองค์ความรู้ โดยเป็นวิทยากร และร่วมทำหลักสูตรการออกแบบแม่พิมพ์ ร่วมจัดทำมาตรฐานการวัดระดับของช่างแม่พิมพ์ โลหะของสมาคมแม่พิมพ์ไทย การบริ จ าคเงิ น หรื อ ทรั พ ย์ ส ิ น โดยมอบทุ นการศึ ก ษาให้ ก ั บ นั ก ศึ ก ษามหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และมอบเงินสนับสนุนโรงเรียนท้ายเหมืองวิทยา จังหวัดพังงา

12

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องพิเศษ มูลนิธิมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย - องค์กรสาธารณกุศล การสนับสนุนงานด้านบริหารการจัดการ หรืองานด้านบริหารบุคคล หรืองานด้านวัสดุอุปกรณ์ และงานด้านคณะกรรมการหรืออนุกรรมการต่างๆ โดยอุปถัมภ์การจัดงานพิธีประสาทปริญญาและการ จัดงานประชุมนานาชาติของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย การสนับสนุนงานวิชาการและงานวิจัย และพัฒนา สนับสนุนองค์ความรู้ โดยถวายทุนการศึกษา แก่พระนิสิตของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำนวน ๕๖ ทุน เป็นเงิน ๖๗๕,๐๐๐ บาท การบริจาคเงินหรือทรัพย์สิน โดยอุดหนุนมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นเงิน จำนวน ๓,๑๐๐,๐๐๐ บาท และอุดหนุนโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เป็นเงินจำนวน ๘๐,๐๐๐ บาท นางสาวพัชนี อินทรลักษณ์ - ข้าราชการบำนาญ การบริจาคเงินหรือทรัพย์สิน โดยบริจาคที่ดิน จำนวน ๘๗ ไร่ ๑ งาน ๑๘ ตารางวา ให้กับ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปราโมทย์ เบญจกาญจน์ - ข้าราชการบำนาญ การสนับสนุนงานด้านบริหารการจัดการ หรืองานด้านบริหารบุคคล หรืองานด้านวัสดุอุปกรณ์ และงานด้ า นคณะกรรมการหรื อ อนุ ก รรมการต่ า งๆ โดยเป็ น ประธานคณะกรรมการ ประธาน

คณะอนุกรรมการ ประธานคณะทำงาน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการในวิทยาลัยชุมชน การสนับสนุนงานวิชาการและงานวิจัย และพัฒนา สนับสนุนองค์ความรู้ โดยสนับสนุนผลักดัน การจัดการเรียนการสอน ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยเพื่อสร้างระบบธรรมาภิบาล และให้มีการ พัฒนาเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอนุปริญญาให้สอดคล้องกับปรัชญา พันธกิจ และบริบทของ วิทยาลัยชุมชน ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณวราวุธ สุมาวงศ์ - ข้าราชการบำนาญ การสนับสนุนงานด้านบริหารการจัดการ หรืองานด้านบริหารบุคคล หรืองานด้านวัสดุอุปกรณ์ และ งานด้านคณะกรรมการหรืออนุกรรมการต่างๆ โดยเป็นคณะกรรมการส่งเสริมการดนตรีไทย และคณะ อนุกรรมการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย เกณฑ์ประเมินเครื่องดนตรีไทย อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการด้านดนตรีไทย การสนับสนุนงานวิชาการและงานวิจัย และพัฒนา สนับสนุนองค์ความรู้ โดยมีงานสร้างและพัฒนา เกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย และเกณฑ์การประเมินเครื่องดนตรีไทยอย่างเป็นระบบ ทำให้ได้รับการสืบทอด อย่างยั่งยืน สร้างความเป็นเอกลักษณ์ ตลอดจนเป็นแนวทางการศึกษาวิจัยอย่างชัดเจน H.E. Mr.GUAN MU - เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย การสนับสนุนงานด้านบริหารการจัดการ หรืองานด้านบริหารบุคคล หรืองานด้านวัสดุอุปกรณ์ และ งานด้านคณะกรรมการหรืออนุกรรมการต่างๆ โดยสนับสนุนความร่วมมือด้านการศึกษา ศิลปะและ วัฒนธรรมระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยและจีน ด้วยดีตลอดมา และร่วมพิจารณากำหนดแผนการรับ นักเรียน นักศึกษา และพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับตลาดแรงงานและสถานประกอบการ การสนับสนุนงานวิชาการและงานวิจัย และพัฒนา สนับสนุนองค์ความรู้ โดยมอบรางวัลแก่เยาวชน ไทยและจีนในโอกาสต่างๆ เช่น โครงการประกวดสุนทรพจน์ภาษาจีน และการจัดกิจกรรมความร่วมมือ สถาบันอุดมศึกษาไทยและจีน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ขอแสดงความยินดีกับบุคคลและองค์กรที่ได้รับคัดเลือกเป็นผู้ทำคุณประโยชน์ให้ แก่กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปี ๒๕๕๕ ทุกท่าน อนุสารอุดมศึกษา

13


พูดคุยเรื่องมาตรฐาน

ระบบการศึ ก ษา ทางไกล

จากคอลัมน์เรื่องแนะนำที่อนุสารอุดมศึกษาแนะนำให้รู้จัก TCU Academy ซึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนออนไลน์

(เป็นระบบการศึกษาทางไกล) มีหลักสูตรการออกแบบเนื้อหาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ หลักสูตรการผลิตสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ และวิชา Facebook สำหรับการเรียนการสอน ‘คอลัมน์พูดคุยเรื่องมาตรฐาน’ จึงถือโอกาสนี้นำคำจำกัดความและความหมายที่เกี่ยวกับระบบการศึกษาทางไกลตาม ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การขอเปิดและดำเนินการหลักสูตรระดับปริญญาในระบบการศึกษาทางไกล พ.ศ.๒๕๔๘ และประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การขอเปิดและดำเนินการหลักสูตร ระดับปริญญาในระบบการศึกษาทางไกล พ.ศ.๒๕๔๘ เพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน และเพื่อธำรงไว้ซึ่ง คุณภาพมาตรฐานการจัดการอุดมศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๕ และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.๒๕๔๖ มาให้ผู้อ่านทราบ ดังนี้ ระบบการศึกษาทางไกล (Distance Education) หมายความว่า ระบบการศึกษาที่ผู้สอนและผู้เรียนอยู่ห่างกัน มีการ วางแผน เตรียมการ ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ การบริการ และการประเมินผ่านชุดการสอนทางไกลในรูปสื่อประสมที่ ประกอบด้วยสื่อหลัก และสื่อเสริม ที่มีสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อแพร่ภาพและเสียง หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นแกนกลาง เพื่อให้นักศึกษา และผู้เรียนสามารถศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องเข้าชั้นเรียนตามปกติ มีระบบการประเมินที่มีคุณภาพและ

เชื่อถือได้ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว จะได้รับประกาศนียบัตร หรือปริญญาบัตรที่มีศักดิ์และสิทธิ์เช่นเดียวกับประกาศนียบัตร หรือปริญญาบัตรจากสถาบันการศึกษาในระบบชั้นเรียน ระบบการศึกษาทางไกลผ่านสื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อหลัก (Print-Based Distance Education) หมายความว่า ระบบการศึกษาที่มี การวางแผน เตรียมการ ดำเนินการผลิต นำเสนอเนื้อหาสาระและประสบการณ์ ให้บริการ และทำการประเมิน ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ ในรูปตำราการศึกษาทางไกล คู่มือการศึกษา (Study Guide) หรือแบบฝึกปฏิบัติ (Workbook) แผนกิจกรรมการศึกษา (Course Bulletin) เอกสารชุดความรู้ (Set books) และสารานุกรม (Encyclopedia) เป็นสื่อหลัก และมีสื่อเสริมประกอบด้วยสื่อโสตทัศน์ รายการวิทยุกระจายเสียงหรือเทปเสียงหรือซีดีเสียง รายการวิทยุโทรทัศน์หรือเทปภาพหรือซีดีภาพ บทเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer Assisted Instruction-CAI) อินเทอร์เนต (Internet) และการสอนเสริมหรือสัมมนาเสริมแบบปฏิสัมพันธ์หรือการสอน เสริมผ่านสื่อ ระบบการศึกษาทางไกลผ่านสื่อแพร่ภาพและเสียงเป็นสื่อหลัก (Broadcast-Based Distance Education) หมายความว่า ระบบการศึกษาที่มีการวางแผน เตรียมการ ดำเนินการผลิต นำเสนอเนื้อหาสาระและประสบการณ์ ให้บริการ และทำการ ประเมินผ่านรายการวิทยุกระจายเสียงหรือเทปเสียงหรือซีดีเสียง รายการวิทยุโทรทัศน์หรือเทปภาพหรือซีดีภาพ ที่แพร่ภาพ แบบตามสาย ไร้สาย หรือผ่านดาวเทียม เป็นสื่อหลัก และมีสื่อเสริมประกอบด้วยสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ บทเรียนด้วย คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เนต และการสอนเสริมหรือสัมมนาเสริมแบบปฏิสัมพันธ์หรือการสอนเสริมผ่านสื่อ ระบบการศึกษาทางไกลทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อหลัก (E-Learning Based Distance Education) หมายความว่า ระบบการ ศึกษาที่มีการวางแผน เตรียมการ ดำเนินการผลิต นำเสนอเนื้อหาสาระและประสบการณ์ ให้บริการ และทำการประเมินผ่าน เครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ที่มีคอมพิวเตอร์เป็นกลไกขับเคลื่อน ใช้ระบบโทรคมนาคมสองทางที่ตอบสนอง ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง

ผู้เรียนกับผู้สอน และผู้เรียนกับผู้เรียน ผ่านสื่อหรือเผชิญหน้า ผสมผสานกัน ทั้งตามสาย (On Cable/On Line) ตามคลื่นวิทยุ (Wireless) และไร้สาย (Off-Cable/Off Line) โดยจัดสอนทางอินเทอร์เนต การสอนผ่านจอภาพ และช่องทางโทรคมนาคมใน

รูปแบบอื่น และอาจใช้สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อทางวิทยุกระจายเสียง สื่อทางวิทยุ โทรทัศน์ สื่อโสตทัศน์ การสอนเสริมหรือสัมมนาเสริม และการอบรมภาคปฏิบัติเสริมประสบการณ์เป็นสื่อเสริม ระบบการศึกษาทางไกลทางอินเทอร์เนต (Internet-Based Distance Education) หมายความว่า ระบบการศึกษาทาง อิเล็กทรอนิกส์ที่มีการวางแผน เตรียมการ ดำเนินการผลิต นำเสนอเนื้อหาสาระและประสบการณ์ ให้บริการ และทำการ ประเมินผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบออนไลน์ เป็นสื่อหลัก และมีสื่อเสริมประกอบด้วยสื่อสิ่งพิมพ์ ซีดีเสียงหรือเทปเสียง ซีดี ภาพหรือเทปภาพ การสอนเสริมหรือสัมมนาเสริมทางเครือข่าย และมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนหรือผู้เรียนเท่าที่จำเป็น

14

อนุสารอุดมศึกษา


พูดคุยเรื่องมาตรฐาน

ระบบการศึกษาทางไกลด้วยการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (On-Screen-Based Distance Education) หมายความว่า ระบบ การศึกษาทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการวางแผน เตรียมการ ดำเนินการผลิต นำเสนอเนื้อหาสาระและประสบการณ์ผ่านการประชุม ทางไกล (Teleconferencing) การสอนผ่านดาวเทียม (Via Satellite Instruction) และโทรทัศน์ปฏิสัมพันธ์ (Interactive Television) และมีสื่อเสริมประกอบด้วยสื่อสิ่งพิมพ์ ซีดีเสียงหรือเทปเสียง ซีดีภาพหรือเทปภาพ การสอนเสริมหรือสัมมนาเสริมทางเครือข่าย และมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียนเท่าที่จำเป็น สำหรับสถาบันอุดมศึกษาที่ประสงค์จะเปิดดำเนินการหลักสูตรในระบบการศึกษาทางไกลจะต้องปฏิบัติตามประกาศ กระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การขอเปิดและดำเนินการหลักสูตรระดับปริญญาในระบบการศึกษาทางไกล พ.ศ.๒๕๔๘ โดยต้องจัดทำคำขอจัดการศึกษาทางไกลเสนอต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาอนุมัติหรือเห็นชอบตามกฎหมาย ซึ่งต้องเป็น ไปตามระเบียบและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องก่อนเปิดดำเนินการ และแจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาทราบภายใน ๓๐ วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับอนุมัติหรือเห็นชอบพร้อมแนบมติสภาสถาบันอุดมศึกษา เพื่อประกอบการดำเนินการต่อไป นอกจากนี้ คณะกรรมการการอุดมศึกษาได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาและติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาระบบการศึกษาทางไกล เพื่อทำหน้าที่กำหนดแนวทางการพิจารณาและติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาในระบบการศึกษาทางไกล ให้ข้อเสนอแนะ เพื่อการรับทราบหลักสูตรการศึกษาทางไกล และติดตามและประเมินผลจัดการศึกษาระบบการศึกษาทางไกลให้มีมาตรฐาน

และคุณภาพเท่าเทียมกับการศึกษาในชั้นเรียนปกติ

อนุสารอุดมศึกษา

15


เรื่องแนะนำ

รู้จัก TCU Academy ‘อนุสารอุดมศึกษา’ ฉบับนี้มีการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ที่น่าสนใจมานำเสนอผ่าน ‘คอลัมน์เรื่องแนะนำ’ คือ โครงการ ‘TCU Academy’ ซึ่งโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้เล็งเห็นถึงความ สำคัญของการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ จึงได้จัดโครงการ ‘TCU Academy’ เรียนผ่านระบบออนไลน์ฟรี (Full Online) โดยมี กลุ่มเป้าหมายเป็นครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนผู้ที่สนใจทั่วไป ‘TCU Academy’ เป็นการพัฒนาทักษะความรู้ของบุคลากรทางการศึกษา เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์ เมื่อเรียนจบ หลักสูตรตามกำหนด ผู้เรียนจะสามารถออกแบบเนื้อหา และผลิตบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ได้ พร้อมทั้งได้รับใบประกาศนียบัตร ทั ้ ง นี ้ ไม่ ม ี ค ่ า ใช้ จ ่ า ยใด ๆ ผู ้ ส นใจสามารถดู ร ายละเอี ย ดเพิ ่ ม เติ ม ได้ ท ี ่ เว็ บ ไซต์ http://academy.thaicyberu.go.th/ หรื อ

http://www.facebook.com /TCUACADEMY หรือ โทร. ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๓๘ หลักสูตรการออกแบบเนื้อหาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ หลั ก สู ต รนี ้ จ ะช่ ว ยให้ ค รู / อาจารย์ และบุ ค ลากรทางการศึ ก ษา มี ค วามเข้ า ใจกระบวนการและขั ้ นตอนการผลิ ต สื ่ อ อิเล็กทรอนิกส์ สามารถออกแบบเนื้อหา จัดโครงสร้างเนื้อหา ออกแบบภาพที่เหมาะสมสำหรับการนำไปผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ หลักสูตรนี้ประกอบด้วย ๔ รายวิชา คือ ๑. การเตรียมความพร้อมก่อนการผลิตสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ๒. ความรู้เบื้องต้นคอมพิวเตอร์กราฟิก (Computer Graphics) ๓. การออกแบบโครงสร้างสื่อการเรียนด้วย MindMapper ๔. เทคนิคการออกแบบภาพประกอบบทเรียนด้วยโปรแกรม PhotoShop หลักสูตรการผลิตสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ หลักสูตรนี้จะช่วยให้ผู้ที่สนใจ สามารถผลิตสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้โปรแกรมการผลิตบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์

รูปแบบต่างๆ เช่น บทเรียนสื่อวิดีทัศน์ บทเรียนที่มีปฏิสัมพันธ์สูง บทเรียนแบบแฟลช และบทเรียนในรูปแบบ e-Book หลักสูตรนี้ประกอบด้วย ๗ รายวิชา คือ ๑. การสร้างสื่อการสอนแบบ Streaming Media ด้วย MS-Producer ๒. การสร้างสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบ Interactive Learning โดยโปรแกรม Captivate ๓. การสร้างสื่อ e-Book ด้วยโปรแกรม Calibre ๔. การสร้างเว็บเทคโนโลยีโดยใช้โปรแกรม Word ๕. การสร้าง e-Book จากเว็บไซต์ ๖. Create E-Learning Course by eXe ๗. Movie Editing รายวิชาเปิดใหม่!!! TCU-Facebook : “Facebook สำหรับการเรียนการสอน”

16

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องแนะนำ

ตารางแสดงรายละเอียดการเปิดอบรม ลำดับ

หลักสูตร/รายวิชา

๑. หลักสูตรการออกแบบเนื้อหาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ๑.๑ การเตรียมความพร้อมก่อนการผลิตสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ๑.๒ ความรู้เบื้องต้นคอมพิวเตอร์กราฟิก (Computer Graphics) ๑.๓ การออกแบบโครงสร้างสื่อการเรียนด้วย MindMapper ๑.๔ เทคนิคการออกแบบภาพประกอบบทเรียนด้วยโปรแกรม PhotoShop

๒. หลักสูตรการผลิตสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์

รุ่น ระยะเวลาการสมัคร

ระยะเวลาเรียน

๕ ๑ พ.ค. - ๓๑ พ.ค. ๕๕ ตั้งแต่ ๑ มิ.ย. ๕๕ เป็นต้นไป (ระยะเวลาเรียน ๑ เดือน)

ตั้งแต่ ๑ มิ.ย. ๕๕ ๕ ๑ พ.ค. - ๓๑ พ.ค. ๕๕ เป็นต้นไป

๒.๑ การสร้างสื่อการสอนแบบ Streaming Media ด้วย MS-Producer ๒.๒ การสร้างสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบ Interactive Learning

(ระยะเวลาเรียน โดยโปรแกรม Captivate ๑ เดือน) ๒.๓ การสร้างสื่อ e-Book ด้วยโปรแกรม Calibre - อยู่ระหว่างดำเนินการ ๒.๔ การสร้างเว็บเทคโนโลยีโดยใช้โปรแกรม Word ๓ ๑ พ.ค. - ๑๕ มิ.ย. ๕๕ ตั้งแต่ ๑ มิ.ย. ๕๕ ๒.๕ การสร้าง e-Book จากเว็บไซต์ เป็นต้นไป (ระยะเวลาเรียน ๒ เดือน)

๓. รายวิชา Facebook สำหรับการเรียนการสอน

๓ ๑ พ.ค. - ๓๑ พ.ค. ๕๕ ตั้งแต่ ๑ มิ.ย. ๕๕

๔. หลักสูตรการออกแบบเนื้อหาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์

๖ ๑ มิ.ย. - ๓๐ มิ.ย. ๕๕ ตั้งแต่ ๑ ก.ค. ๕๕ เป็นต้นไป

๔.๑ การเตรียมความพร้อมก่อนการผลิตสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ๔.๒ ความรู้เบื้องต้นคอมพิวเตอร์กราฟิก (Computer Graphics) ๔.๓ การออกแบบโครงสร้างสื่อการเรียนด้วย MindMapper ๔.๔ เทคนิคการออกแบบภาพประกอบบทเรียนด้วยโปรแกรม PhotoShop

๕. หลักสูตรการผลิตสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์

๕.๑ การสร้างสื่อการสอนแบบ Streaming Media ด้วย MS-Producer ๕.๒ การสร้างสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบ Interactive Learning โดยโปรแกรม Captivate ๕.๓ การสร้างสื่อ e-Book ด้วยโปรแกรม Calibre ๕.๔ Create E-Learning Course by eXe ๕.๕ Movie Editing

เป็นต้นไป (ระยะเวลาเรียน ๑ เดือน)

(ระยะเวลาเรียน ๑ เดือน)

ตั้งแต่ ๑ ก.ค. ๕๕ ๖ ๑ มิ.ย. - ๓๐ มิ.ย. ๕๕ เป็นต้นไป - ๓

(ระยะเวลาเรียน ๑ เดือน) อยู่ระหว่างดำเนินการ ๑ มิ.ย. - ๑๕ ก.ค. ๕๕ ตั้งแต่ ๑ ก.ค. ๕๕ เป็นต้นไป (ระยะเวลาเรียน ๒ เดือน) อนุสารอุดมศึกษา

17


เรื่องแนะนำ

ลำดับ

หลักสูตร/รายวิชา

ระยะเวลาเรียน

๖. รายวิชา Facebook สำหรับการเรียนการสอน

๔ ๑ มิ.ย. - ๓๐ มิ.ย. ๕๕ ตั้งแต่ ๑ ก.ค. ๕๕

๗. หลักสูตรการออกแบบเนื้อหาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์

๘. หลักสูตรการผลิตสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์

๗ ๑ ก.ค. - ๓๑ ก.ค. ๕๕ ตั้งแต่ ๑ ส.ค. ๕๕

๙. รายวิชา Facebook สำหรับการเรียนการสอน

- ๕ ๑ ก.ค. - ๓๑ ก.ค. ๕๕ ตั้งแต่ ๑ ส.ค. ๕๕

๗.๑ การเตรียมความพร้อมก่อนการผลิตสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ๗.๒ ความรู้เบื้องต้นคอมพิวเตอร์กราฟิก (Computer Graphics) ๗.๓ การออกแบบโครงสร้างสื่อการเรียนด้วย MindMapper ๗.๔ เทคนิคการออกแบบภาพประกอบบทเรียนด้วยโปรแกรม PhotoShop

๘.๑ การสร้างสื่อการสอนแบบ Streaming Media ด้วย MS-Producer ๘.๒ การสร้างสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบ Interactive Learning โดยโปรแกรม Captivate ๘.๓ การสร้างสื่อ e-Book ด้วยโปรแกรม Calibre

18

รุ่น ระยะเวลาการสมัคร

อนุสารอุดมศึกษา

เป็นต้นไป (ระยะเวลาเรียน ๑ เดือน)

๑ ก.ค. - ๓๑ ก.ค. ๕๕ ตั้งแต่ ๑ ส.ค. ๕๕ เป็นต้นไป (ระยะเวลาเรียน ๑ เดือน)

เป็นต้นไป (ระยะเวลาเรียน ๑ เดือน) อยู่ระหว่างดำเนินการ

เป็นต้นไป (ระยะเวลาเรียน ๑ เดือน)


เหตุการณ์เล่าเรื่อง

‘วลัยลักษณ์เกมส์’ กีฬาสร้างมิตรภาพชาวอุดมศึกษา การแข่งขันกีฬาบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เดิมใช้ชื่อว่า ‘การแข่งขันกีฬาบุคลากรทบวงมหาวิทยาลัย’ ได้จัด ให้มีการแข่งขันกีฬาเป็นครั้งแรก โดยความริเริ่มของทบวงมหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์ในการแข่งขันเพื่อสุขภาพพลานามัยของบุคลากร สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย เป็นกีฬาเพื่อความสามัคคี สร้างความสนิทสนมคุ้นเคยกันระหว่างบุคลากรในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย และได้ กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาที่สังกัดทบวงมหาวิทยาลัยหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาดังกล่าว สำหรับปี ๒๕๕๕ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา ครั้งที่ ๓๑ หรือ ‘วลัยลักษณ์เกมส์’ ระหว่างวันที่ ๑๘ - ๒๕ เมษายน ๒๕๕๕ ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัด นครศรีธรรมราช ซึ่งจัดขึ้นเนื่องในโอกาสครบปีที่ ๒๐ แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัย เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของบุคลากรในสังกัด สกอ. อีกทั้งส่งเสริมให้บุคลากรเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ ภายใต้แนวคิด ‘พลังกีฬา สร้างคุณค่าบุคลากร’ จัดการแข่งขัน ๑๗ ชนิดกีฬา รวม ๓๓๖ เหรียญทอง ประกอบด้วย กรีฑา ว่ายน้ำ ฟุตบอล วอลเลย์บอล กอล์ฟ เซปัคตะกร้อ เทนนิส เทเบิลเทนนิส แบดมินตัน เปตอง ตะกร้อลอดห่วง โบว์ลิ่ง ลีลาศ แอโรบิค ครอสเวิร์ด สนุกเกอร์/บิลเลียด และ หมากกระดาน โดยมีนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ประมาณ ๔,๕๐๐ คน จากสถาบันอุดมศึกษา ๔๕ แห่งทั่วประเทศ เข้าร่วมการแข่งขัน นอกจากนี ้ ย ั ง มี ก ารจั ด ประชุ ม วิ ช าการทางด้ า นกี ฬ าในหั ว เรื ่ อ ง ‘สมรรถภาพนั ก กี ฬ าเพิ ่ ม ได้ ด ้ ว ย..ยา..วิ ต ามิ น ..หรื อ ..?’ กิ จ กรรม

ศิลปวัฒนธรรมและนันทนาการ การจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดนครศรีธรรมราชอีกด้วย อนุสารอุดมศึกษา

19


เหตุการณ์เล่าเรื่อง

20

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้จัดพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๕ ณ สนามกี ฬากลาง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ภายใต้ แนวคิ ด ‘เทิ ด ไท้

องค์พระภูมี กีฬาสามัคคี ๒๐ ปี วลัยลักษณ์’ โดยเน้นความเรียบง่ายแต่สวยงาม ตระการตา แสดงออกถึงศิลปวัฒนธรรมของชาวนครศรีธรรมราช ทั้งนี้ ได้รับเกียรติ จากนางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธาน ในพิธีเปิด ซึ่งมีทัพนักกีฬา เจ้าหน้าที่ แขกผู้เกียรติ สื่อมวลชน ตลอดจนประชาชน ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เข้าร่วมในพิธี นางวราภรณ์ สี ห นาท รองเลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา ประธานในพิ ธ ี ก ล่ า วเปิด การแข่งขันกีฬ าอย่างเป็นทางการ ว่ า การแข่ ง ขั นกี ฬา บุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องและยาวนาน โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรได้ออกกำลังกาย เล่นกีฬาเพื่อสร้าง สุขภาพที่ดี และเป็นโอกาสให้บุคลากรระหว่างสถาบันต่างๆ ได้มาพบปะสังสรรค์ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีนำไปสู่ความร่วมมือด้านอื่นๆ ในอนาคต “ทั้งนี้ ขอให้นักกีฬาทุกคนเคารพกติกา มีน้ำใจนักกีฬา รู้จักแพ้ ชนะ และให้ อภัยต่อกัน เป็นแบบอย่างที่ดีแก่นิสิตนักศึกษาและผู้ชมการแข่งขัน และขอถือ โอกาสแสดงความยินดีกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในโอกาสครบรอบ ๒๐ ปีแห่ง การสถาปนามหาวิ ท ยาลั ย พร้ อ มทั ้ ง ขอขอบคุ ณคณะกรรมการจั ด การแข่ ง ขั น

ผู ้ บ ริ ห าร นั ก กี ฬ า ผู ้ ส นั บ สนุ น ผู ้ เ กี ่ ย วข้ อ งทุ ก ฝ่ า ย รวมทั ้ ง ชาวจั ง หวั ด นครศรีธรรมราชที่ให้การต้อนรับคณะนักกีฬาที่มาร่วมแข่งขันเป็นอย่างดีอีกด้วย” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้จัดส่งทัพนักกีฬา และเจ้าหน้าที่เข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน ๗๘ คน เข้าร่วมการแข่งขัน ๑๐ ชนิด กีฬา คือ ฟุตบอล กรีฑา แบดมินตัน เทเบิลเทนนิส เปตอง ว่ายน้ำ สนุกเกอร์

โบว์ลิ่ง ครอสเวิร์ด และกอล์ฟ โดย สกอ. ได้รับเหรียญรางวัลเป็นลำดับที่ ๒๖ ได้

๒ เหรียญทอง จากกีฬาครอสเวิร์ด และเทเบิลเทนนิส ๔ เหรียญเงิน จากว่ายน้ำ และ ๓ เหรียญทองแดง จากกรีฑา และเทเบิลเทนนิส ‘วลัยลักษณ์เกมส์’ ได้ปิดฉากอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๕ โดยผลการแข่งขันกีฬาบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ครั้งที่ ๓๑ สถาบั น ที ่ ช นะเลิ ศ ได้ เ หรี ย ญทองมากที ่ ส ุ ด ๕ ลำดั บ ได้ แ ก่ มหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ ๘๑ เหรียญทอง มหาวิทยาลัยมหิดล ๕๖ เหรียญทอง จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ๒๓ เหรียญทอง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ๒๒ เหรียญทอง และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๒๐ เหรียญทอง ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้รับมอบธงกีฬาเพื่อเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬา บุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ครั้งที่ ๓๒ ‘บางแสนเกมส์’ ที่ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี ในปีหน้า อนุสารอุดมศึกษา


เหตุการณ์เล่าเรื่อง ควันหลง...วลัยลักษณ์เกมส์ ในการแข่งขันกีฬาบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ครั้งที่ ๓๑ ‘วลัยลักษณ์เกมส์’ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้เลือก ‘นกฮัง นกกะฮัง หรือนกฆอฮัง’ (Greate Hornbill) เป็นสัตว์นำโชค (Mascot) เนื่องจากนกชนิดนี้อยู่อาศัยร่วมกันเป็นครอบครัวที่อบอุ่นและเป็นสังคมที่สามัคคีกลมเกลียว ‘นกฮัง นกกะฮัง หรือนกฆอฮัง’ เป็นนกในวงศ์ Bueroidae ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Buceros bicornis มี ขนาดใหญ่ ลำตัวสีดำ ปากใหญ่แข็ง ตัวผู้มีตาสีแดงทับทิม โหนกแก้มสีดำ ตัวเมียมีตาสีขาว ไม่มีสีดำที่ โหนกแก้ม อยู่กันเป็นฝูง กินสัตว์และผลไม้ ขณะตกไข่ตัวเมียจะกกไข่อยู่ในโพรงไม้ใหญ่ ตัวผู้จะหา อาหารมาป้อน เวลาบินเสียงดังมาก อาศัยในป่าดงดิบ ปัจจุบันยังพบในเขตเทือกเขาหลวง ในอดีต พบเห็นได้ในเขตมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งมีป่าไม้ยางนา สำหรับตราสัญลักษณ์ของการแข่งขัน มีเส้น สี ที่ประสานประกอบกันเป็นรูป ทรงแสดงการออกกำลังกาย หมายถึง พลังกีฬา พลังสามัคคี ที่กำลังขับเคลื่อนไปสู่ เป้าหมายเดียวกัน คือ พลังกีฬา สร้างคุณค่าบุคลากร โดยสีน้ำเงิน หมายถึง ตัวแทน นักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขัน เส้นสีแสด ม่วง หมายถึง สีของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นตัวแทนในการขับเคลื่อนสร้างสรรค์ในเชิงกีฬา ดวงอาทิตย์ หมายถึง พลังความ เป็นหนึ่งเดียว เลข ๓๑ หมายถึง ครั้งที่มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพในการจัดแข่งขันกีฬา บุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ครั้งที่ ๓๑ วลัยลักษณ์เกมส์ หมายถึง ชื่อในการแข่งขันกีฬาบุคลากร ครั้งที่ ๓๑ ปี พ.ศ.๒๕๕๕ สีแดง หมายถึง ความเข้มแข็ง อดทน สามัคคี มีน้ำใจเป็นนักกีฬารวมเป็นหนึ่งเดียวตลอดไป

ผลการแข่งขันกีฬาบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ครั้งที่ ๓๑ ‘วลัยลักษณ์เกมส์’

ลำดับ

สถาบัน ๑ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ๒ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๔ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ๕ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๖ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ๗ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ๘ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ ๙ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ๑๐ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

... ๒๖ สำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา

เหรียญทอง

เหรียญเงิน

เหรียญทองแดง

๓๒ ๖๓ ๓๖ ๓๘ ๓๒ ๑๙ ๒๕ ๑๔

๑๖๕ ๑๕๕ ๙๑ ๙๑ ๗๑ ๕๘ ๖๕ ๓๔

๑๑ ๙ ๒

๗ ๑๒ ๔

๑๕ ๑๓ ๓

๓๓ ๓๔ ๙

๘๑ ๕๖ ๒๓ ๒๒ ๒๐ ๑๗ ๑๕ ๑๓

๕๒ ๓๖ ๓๒ ๓๑ ๑๙ ๒๒ ๒๕ ๗

รวม

อนุสารอุดมศึกษา

21


เล่าเรื่องด้วยภาพ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๕ - นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เยี่ยมชมนิทรรศการใน การประชุมสุดยอดมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ครั้งที่ ๑ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดย มีรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ กำจร ตติยกวี รองเลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา ให้การต้อนรับ ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีได้เยี่ยมชม ผลงานการวิจัยของ ๙ มหาวิทยาลัย และได้ให้ ความสนใจงานวิจัยจากทุกสถาบัน โดยเฉพาะ นวั ต กรรมการเชื ่ อ มต่ อ สั ญ ญาณสมองกั บ คอมพิวเตอร์ ในการควบคุมวีลแชร์และเปิดปิด อุ ป กรณ์ ไฟฟ้ า ให้ แ ก่ ผู ้ พ ิ ก ารที ่ ไม่ ส ามารถดู แ ล

ตัวเองได้

๑ เมษายน ๒๕๕๕ - รองศาสตราจารย์ พ ิ น ิ ต ิ

รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมแสดงความยินดีกบั นายพยุง ศักดาสาวิตร หนึง่ ในแปด ของผู้ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาคัดเลือก และนำเสนอให้ เ ป็ น บุ ค คลผู ้ ท ำคุ ณ ประโยชน์ ใ ห้ แ ก่ กระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร ประจำปี ๒๕๕๕ โดยมี ศาสตราจารย์ ส ุ ช าติ ธาดาธำรงเวช รั ฐ มนตรี ว ่ า การ กระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร และรองศาสตราจารย์ น ำยุ ท ธ

สงค์ ธ นาพิ ท ั ก ษ์ ร่ ว มแสดงความยิ นดี ณ ห้ อ งประชุ ม หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล

๖ เมษายน ๒๕๕๕ - นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เข้าร่วมพิธีเปิดงานมหกรรมการศึกษา เส้นทางสู่มหาวิทยาลัย เลือกคณะอย่างไรไม่ให้พลาด หรือ Uexpo 2012 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา โดยได้รับ เกียรติจาก ศาสตราจารย์สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน

22

อนุสารอุดมศึกษา


เล่าเรื่องด้วยภาพ

๒๓ เมษายน ๒๕๕๕ - สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจัดพิธีสรงน้ำพระพุทธรูปและพิธีรดน้ำขอพรอดีตผู้บริหารทบวง มหาวิทยาลัยและอดีตผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เนื่องในโอกาสประเพณีวันสงกรานต์ ประจำปี ๒๕๕๕ โดยได้รับ เกียรติจากศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร อดีตปลัดทบวงมหาวิทยาลัย นายสุเมธ แย้มนุ่น อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา นางฉันทวิทย์ สุชาตานนท์ นางแน่งน้อย พัวพัฒนกุล อดีตรองเลขาธิการคณะกรรมการการ และนายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการ

คณะกรรมการการอุดมศึกษา พร้อมด้วยผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เข้าร่วมงาน ณ ห้องสโมสร อาคารสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ศ า ส ต ร า จ า ร ย ์ พ ิ เ ศ ษ ภ า ว ิ ช

ทองโรจน์ รองประธานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา เป็นประธานเปิด การประชุมผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบัน อุดมศึกษา ๕๖ แห่ง ณ โรงแรม

เอเซีย

๒ พฤษภาคม ๒๕๕๕ -

รองศาสตราจารย์พนิ ติ ิ รตะนานุกลู รองเลขาธิการคณะกรรมการการ อุ ด มศึ ก ษา บรรยายพิ เศษเรื ่ อ ง การเปลี ่ ย นแปลงการบริ ห าร จัดการสถานศึกษาเพื่อผลิตและ พั ฒ นากำลั ง คนสู ่ ป ระชาคม อาเซี ย น ณ โรงแรมเอเชี ย

แอร์พอร์ต

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กำหนด จัดงานวันสหกิจศึกษาไทย ครั้งที่ ๔ ในวันพุธที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ณ อาคารอิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ทั ้ ง นี ้ จะมี ก ารบรรยายพิ เศษ “สหกิ จ ศึ ก ษากั บ การ พัฒนาศักยภาพบัณฑิตสู่ประชาคมโลก (Strengthening Graduate Competency for the World Community through Cooperative Education)” โดย Dr. Paul Stonely, WACE CEO และการเสวนาประเด็นต่างๆ ที่ น่ า สนใจ ตลอดจนมี ก ารจั ด นิ ท รรศการ “ท่ อ งไปใน อุ ท ยานสหกิ จ ศึ ก ษา (Wandering Through Co-op Park)”

อนุสารอุดมศึกษา

23



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.