อนุสารอุดมศึกษา issue 413

Page 1

ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔๑๓ ประจำเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๕ เอกสารเผยแพร่ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ISSN 0125-2461

อนุสารอุดมศึกษาออนไลน์ www.mua.go.th/pr_web

พระกฐินพระราชทาน ประจำปี ๒๕๕๕


สารบัญ

ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔๑๓ ประจำเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๕

เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย รมว.พงศ์เทพ มอบ ๑๐ นโยบายด้านการศึกษา ๓ สกอ. ส่งเสริมการเรียนการสอน สร้างความเป็นพลเมือง ๕ บทบาทของอุดมศึกษา ต่อการขับเคลื่อนวาระแห่งการพัฒนา ๖ สกอ. ประกาศรับสมัครทุนใต้ กลุ่มที่ ๒ ๗ สกอ. จับฉลากครูมืออาชีพ ๘๓๑ อัตรา ๘ สกอ. พัฒนาศักยภาพบุคลากร ๑๐

และหน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ไทย-ลาว ตั้งคณะกรรมการร่วมด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษา

๒๒

๑๑

เรื่องเล่าอาเซียน

การเกิดประชาคมอาเซียนกับการศึกษาของประเทศไทย (๑๔)

เรื่องพิเศษ พระกฐินพระราชทาน

๑๒ ๑๔

พูดคุยเรื่องมาตรฐาน

๑๖

ยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษา เพื่อสร้างความเป็นพลเมือง (๑)

เรื่องแนะนำ ขอต้อนรับและแสดงความยินดีกับรัฐมนตรีใหม่

๑๔

๑๗

เหตุการณ์เล่าเรื่อง ๑๙ ค่ายเรียนรู้และเผยแพร่โครงการพระราชดำริ

เล่าเรื่องด้วยภาพ

๒๒

๓ คณะผู้จัดทำ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๒๖ เว็บไซต์ http://www.mua.go.th อีเมล์ pr_mua@mua.go.th นายอภิชาติ จีระวุฒิ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติยกวี นางวราภรณ์ สีหนาท นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ นายศิระวิทย์ คลี่สุวรรณ ที่ปรึกษา บรรณาธิการ นายกฤษณ์กร วงศ์ไทย กองบรรณาธิการ นางสาวปิยาณี วิริยานนท์ นางชุลีกร กิตติก้อง นายเจษฎา วณิชชากร นางปราณี ชื่นอารมณ์ นายพรชัย สิทธินันทน์ นายจรัส เล็กเกาะทวด บริษัท ออนป้า จำกัด ผู้พิมพ์


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

รมว.พงศ์เทพ มอบ

๑๐ นโยบายด้านการศึกษา

๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ - นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบนโยบายแก่ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ ในวันแรก ที่เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ ณ ห้องประชุมราชวัลลภ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้กล่าวถึง ๑๐ นโยบายด้านการศึกษา ที่กระทรวง ศึกษาธิการจะขับเคลื่อน โดยจะนำนโยบายของรัฐบาลมาขับเคลื่อนให้ต่อเนื่องตั้งแต่นโยบายสมัยนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล และศาสตราจารย์สุชาติ ธาดาธำรงเวช ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพราะเป็นนโยบายรัฐบาลที่จะ ต้องขับเคลื่อนไปให้ประสบความสำเร็จให้ได้ ส่วนในรายละเอียดที่ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการพิจารณาว่ามีอะไรจะ ปรับปรุงให้ดีขึ้น หรือดำเนินการไปแล้วประสบปัญหาอุปสรรค ต้องมาหารือกันต่อไป สำหรับนโยบายที่ผู้บริหารควรให้ ความสำคัญและขับเคลื่อนการทำงาน โดยสรุปมีดังนี้ ๑) เร่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาและคุณภาพผู้ศึกษา ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่ขอให้ทุกคนให้ความสนใจ โดยมี ประเด็นย่อยเกี่ยวกับการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ การผลิตคนให้ตรงกับอุปสงค์ทั้งภายในประเทศและระดับสากล การปลูกฝังคุณธรรมและจิตสำนึกประชาธิปไตย การพัฒนาคุณภาพครู อาจารย์ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็น ประโยชน์ในการยกระดับคุณภาพการศึกษา ๒) การสร้างโอกาสทางการศึกษา ซึ่งจะครอบคลุม ๒ เรื่อง คือ สร้างโอกาสทางการศึกษาให้ครอบคลุมผู้ยากไร้

ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการทุพพลภาพ อย่างทั่วถึง และการศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิต ๓) การนำสันติสุขสู่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ กระทรวงศึกษาธิการจะต้องประสานงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ไม่ ว่ า จะเป็ น ศู น ย์ อ ำนวยการบริ ห ารจั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และกองอำนวยการรั ก ษาความมั ่ นคงภายใน

ราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ดำเนินการเรื่องนี้ ขณะนี้นายกรัฐมนตรีได้บอกว่า ต้องเน้นการศึกษาในการแก้ไขปัญหาความไม่ สงบสุขใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ๔) การแก้ไขปัญหายาเสพติด กระทรวงศึกษาธิการต้องดำเนินการอย่างเข้มแข็ง ติดตามใกล้ชิด ในสถานศึกษา ต้องไม่มียาเสพติด ซึ่งในสมัยก่อนเรียกว่า "โรงเรียนสีขาว" ๕) แท็บเล็ต จะจัดหาในปีนี้สำหรับนักเรียนชั้น ป.๑ และ ม.๑ โดยขอให้ดูแลในเรื่องการจัดหา โดยให้มีการแข่งขัน อย่างเป็นธรรมและโปร่งใส ที่สำคัญเนื้อหาสาระในแท็บเล็ตต้องมีการพัฒนาเนื้อหาให้มีความน่าสนใจสำหรับเด็ก เพื่อให้ เด็กได้เรียนรู้ อนุสารอุดมศึกษา

3


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

๖) การวิจัย เป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้น ขอให้นักวิจัยทั้งหลาย นอกจากวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์หรือสังคมศาสตร์แท้ๆ ก็ ทำไปส่วนหนึ่ง แต่ส่วนที่นำไปใช้ได้จริง ประยุกต์ใช้ได้จริง ก็ต้องมี ซึ่งจะเป็นส่วนที่ทำให้คนเห็นความสำคัญของงานวิจัย และ เราจะได้พัฒนาส่งเสริมงานวิจัยกันมากกว่านี้ ๗) กองทุนตั้งตัวได้ ขณะนี้เมื่อพิจารณาผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการแล้ว พบว่ามีความพร้อมพอสมควร สามารถดำเนินการ นโยบายดังกล่าวได้ นอกจากนี้ผู้ประกอบการทั้งหลาย โดยเฉพาะผู้ประกอบการใหม่ๆ ที่มีระบบช่วยสนับสนุน สามารถ ดำเนินการในส่วนที่ชำนาญ แต่ส่วนที่ไม่ชำนาญอาจมีระบบที่มีผู้ดำเนินการให้ ซึ่งอาจไปจ้างอีกประเภทหนึ่งมาดำเนินการ ๘) การผลั ก ดั นการปฏิ รู ป การเมื อ งเพื่ อ ให้ มี รั ฐ ธรรมนู ญ ของประชาชน เป็ นนโยบายของรั ฐ บาลซึ ่ ง กระทรวง ศึกษาธิการจะมีส่วนร่วมในการรณรงค์ ทำความเข้าใจ และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ๙) งบประมาณ โดยเฉพาะงบลงทุน ขอให้เร่งดำเนินการให้มีการเบิกจ่าย โครงการเดียวกันให้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ต้น ปีงบประมาณ ให้เงินลงไปในระบบเศรษฐกิจ เพื่อช่วย ระบบเศรษฐกิจของประเทศด้วย อย่าปล่อยค้างท่อจน กระทั่งปลายปีงบประมาณ และการจัดซื้อจัดจ้างก็ให้ ดำเนินการตามระบบที่โปร่งใส หากไม่จำเป็นต้องใช้วิธี พิเศษ ขอให้จัดซื้อจัดจ้างโดยระบบปกติ เพื่อจะได้เกิด การแข่งขันอย่างเป็นธรรม

๑๐) ยึ ด หลั ก การบริ ห ารกิ จ การบ้ า นเมื อ งที่ ดี

ทัง้ เรือ่ งความโปร่งใส ไม่มกี ารทุจริตคอรัปชัน ต้องพยายาม ไม่ให้เกิดข้อครหา โดยเฉพาะเรื่องการซื้อขายตำแหน่ง การล่ ว งละเมิ ด ทางเพศในสถานศึ ก ษา ระหว่ า งครู ก ั บ นักเรียน อาจารย์กับนักศึกษา และในส่วนของบุคลากร ทางการศึกษา ซึ่งถ้าหากเราดำเนินการอย่างจริงจัง เรื่อง เหล่านี้จะน้อยลง แต่หากเราไม่เอาจริง ดูเป็นเรื่องที่ไม่ให้ ความสนใจ ก็ จ ะเกิ ด เรื ่ อ งนี ้ ข ึ ้ น บ่ อ ยๆ ในสถานศึ ก ษา

และเรื ่ อ งประสิ ท ธิ ภ าพ โรงเรี ย นขนาดเล็ ก มากมี ผ ล ประเมินคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับที่ต่ำ แต่หากเราจัด ระบบรับส่งเด็กจากโรงเรียนขนาดเล็กด้อยคุณภาพ ไป เรี ย นอี ก โรงเรี ย นแห่ ง หนึ ่ ง ที ่ ต ั ้ ง ห่ า งไกลออกไป แต่ ม ี คุณภาพดีกว่า โดยผู้ปกครองไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น จะ ทำให้เด็กได้รับการศึกษาที่ดีขึ้น รวมทั้งเป็นการประหยัด งบประมาณด้วย แต่การดำเนินการจะต้องไม่มีปัญหา เรื่องมวลชน

4

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

สกอ. ส่งเสริมการเรียนการสอน

สร้างความเป็นพลเมือง

๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๕ - สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเรียนการสอน ระดับอุดมศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง ณ โรงแรมเอเชีย โดยได้รับเกียรติจากนางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการ

คณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นประธานเปิดการประชุม นางวราภรณ์ สี ห นาท รองเลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา กล่ า วในการเปิ ด การประชุ ม ว่ า สำนั ก งาน

คณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ให้การส่งเสริมสนับสนุนแนวนโยบายระดับประเทศ และสนับสนุน สถาบันอุดมศึกษา ได้ดำเนินงานตามภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และสามารถ

แข่งขันได้ในระดับสากล ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว ๑๕ ปี ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๖๕) ของสำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา ที่ได้กำหนดเป้าหมายของกรอบ คือ “การยกระดับคุณภาพอุดมศึกษาไทย เพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากร ที่มี คุณภาพสู่ตลาดแรงงานและพัฒนาศักยภาพอุดมศึกษาในการสร้างความรู้และนวัตกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ของประเทศในโลกาภิวัตน์ รวมทั้งการพัฒนาที่ยั่งยืนของท้องถิ่นไทย...” นอกจากนี้ยังมีมาตรฐานการศึกษาของชาติ ที่มีอุดมการณ์สำคัญของการจัดการศึกษา คือ การจัดให้มีการศึกษาตลอด ชีวิตและการสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ โดยให้สังคมทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาได้ตรงตาม ความต้องการของผู้เรียน และสามารถตรวจสอบได้อย่างมั่นใจว่า การศึกษาเป็นกระบวนการของการพัฒนาชีวิตและสังคมเป็น ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน สามารถพึ่งตนเองและพึ่งกันเองได้ และสามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ รวมทั้งมาตรฐานการอุดมศึกษาที่ได้กำหนดมาตรฐานคุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์ ทั้งในฐานะพลเมืองและพลโลก

มีเป้าหมายของการจัดการศึกษาอยู่ที่การพัฒนาคนไทยทุกคนให้เป็น “คนเก่ง คนดี และมีความสุข” โดยมีการพัฒนาที่

เหมาะสมกับช่วงวัย พัฒนาคนตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ ตรงตามความต้องการ ทั้งในด้านสุขภาพร่างกายและ จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และทักษะคุณธรรมและจิตสำนึกที่พึงประสงค์ และอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข “สกอ. ตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเยาวชนหรือประชากรวัยเรียนให้เป็นผู้ที่มีความเป็นพลเมือง ดังนั้น จึงยินดีที่ จะทุ่มเททรัพยากร และสรรพกำลังในการส่งเสริมสนับสนุนการการสร้างความเป็นพลเมืองของประชากรของประเทศไทย

โดยการสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาพัฒนาการจัดการศึกษาด้านการสร้างความเป็นพลเมือง ตามบริบทของแต่ละกลุ่ม สถาบัน และมุ่งหวังว่าสถาบันอุดมศึกษาที่นำแนวทางที่ได้รับในวันนี้ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับอัตลักษณ์ของสถาบันต่อไป” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว

อนุสารอุดมศึกษา

5


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

บทบาทของอุดมศึกษาต่อ

การขับเคลื่อนวาระแห่งการพัฒนา

6

๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๕ - คณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยได้จัด สัมมนาระดับภูมิภาคด้านการอุดมศึกษาในหัวข้อ ‘บทบาทของอุดมศึกษาต่อ การขับเคลื่อนวาระแห่งการพัฒนา’ (Regional Higher Education Seminar on “The Role of Higher Education in Advancing the Development Agenda)

ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล-ฮอลิเดย์ อินน์ กรุงเทพฯ เพื่อส่งเสริมบทบาท ของอุดมศึกษาต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการสร้างความร่วมมือระหว่าง ประเทศ รวมทั้งเป็นเวทีเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และแนวปฏิบัติที่ดีระหว่างกัน โดยผู้เข้าร่วมการสัมมนามีทั้งผู้บริหาร ระดับสูง ได้แก่ H.E. Mr. Ba Shwe รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการของเมียนมาร์ ผู้บริหารที่รับผิดชอบด้านการอุดมศึกษา

ผู้บริหารมหาวิทยาลัย นักวิชาการของไทย กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และผู้บริหารองค์การระหว่างประเทศ โดยได้รับเกียรติจาก

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และ Mr. Attila Nyitrai รองหัวหน้าคณะผู้แทน สหภาพยุโรปประจำประเทศไทย เป็นประธานเปิดการสัมมนา ซึ่งการจัดสัมมนาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดงานนิทรรศการการ อุดมศึกษาของยุโรป ครั้งที่ ๗ (The 7th European Higher Education Fair) ระหว่างวันที่ ๒๗ - ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๕ ณ สยามพารากอน รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวในพิธีเปิดการประชุม โดยเน้นย้ำ ถึ ง บทบาทของการอุ ด มศึ ก ษาในการร่ ว มขั บ เคลื ่ อ นวาระแห่ ง การพั ฒ นา ว่ า เป้ า หมายการพั ฒ นาแห่ ง สหั ส วรรษ (Millennium Development Goals - MDGs) ถือได้ว่าเป็นวาระแห่งการพัฒนาระดับโลกที่ทุกประเทศต่างมุ่งดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายภายในปี ๒๐๑๕ และสหประชาชาติได้เน้นย้ำการส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาในประชาคมโลก เพื่อให้บรรลุเป้าหมายแห่งการ พัฒนาในด้านการขจัดความยากจน การให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษา การส่งเสริมบทบาทสตรีและความเท่าเทียมทางเพศ การลด อัตราการตายของเด็ก การพัฒนาสุขภาพสตรีมีครรภ์ การรักษาและจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ประชาคมโลกมีความคาดหวัง สูงต่อบทบาทของสถาบันอุดมศึกษา นอกเหนือจากการผลิตบัณฑิตและสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ สถาบันอุดมศึกษา สามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน รวมทั้งร่วมขับเคลื่อนวาระแห่งการพัฒนาไม่ว่าจะเป็น ระดับชาติ ระดับภูมิภาคไปจนถึงระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนา แห่งสหัสวรรษ ดังนั้น สถาบันอุดมศึกษาควรทบทวนดูว่าจะร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ในสังคม และใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรอุดมศึกษาที่มีอยู่อย่างไรเพื่อช่วยผลักดันให้บรรลุเป้าหมายแห่งการพัฒนาในแต่ละระดับ กิจกรรมในการสัมมนา ได้แก่ การบรรยายพิเศษในหัวข้อต่างๆ อาทิ ‘การศึกษาและการพัฒนาอย่างยั่งยืน-วิสัยทัศน์ระดับโลก ต่อบทบาทของการอุดมศึกษาและวิทยาศาสตร์ในสร้างความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคม’ โดย Mr. Etienne Clément รองผูอ้ ำนวยการ

ยูเนสโก กรุงเทพฯ ‘อุดมศึกษาและวิทยาศาสตร์ในการตอบสนองเป้าหมายแห่งการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ’ โดย Dr. Zaw Myint

รองอธิบดีด้านการอุดมศึกษาของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ รวมทั้งการอภิปรายในหัวข้อเกี่ยวกับการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจาก หลายภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน อนุสารอุดมศึกษา


๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ - สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีประกาศ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง ทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัด ชายแดนภาคใต้ ระยะที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ (กลุ่มที่ ๒ สำหรับนักเรียนที่ สามารถสอบเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาได้) นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า จากที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาและศูนย์ อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดำเนินโครงการสนับสนุนทุนการศึกษาต่อ ระดับปริญญาตรีในประเทศให้แก่เยาวชนที่มีภูมิลำเนาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ “ทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้” ระยะที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ กลุ่มที่ ๑ สำหรับนักเรียนที่ไม่สามารถสอบเข้า ศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาได้ ให้เข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเรียบร้อยแล้วนั้น ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาอยู่ระหว่างการดำเนินการโครงการ ของกลุ่มที่ ๒ สำหรับนักเรียนที่สามารถสอบเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาได้ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเยาวชนที่ม ี ภูมิลำเนาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และสงขลา ๔ อำเภอ ได้แก่ อำเภอจะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย ที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ ๑ ในปีการศึกษา ๒๕๕๕ ที่ ขาดแคลนทุนทรัพย์ และมีความประพฤติดี หรือมีผลการเรียนดี ที่ศึกษาอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการ/สาขาขาดแคลนของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า ทุนในระยะที่ ๒ ของกลุ่มที่ ๒ สำหรับนักเรียนที่สามารถสอบเข้าศึกษาในสถาบัน อุดมศึกษาได้ จะมีจำนวน ๑๒๐ ทุน แบ่งเป็น ๑๓ กลุ่มสาขาวิชา ดังนี้ (๑) กลุ่มสาขาแพทยศาสตร์ รวม ๑๔ ทุน แบ่งเป็น แพทยศาสตร์ จำนวน ๖ ทุน การแพทย์แผนไทย จำนวน ๖ ทุน และทันตแพทย์ จำนวน ๒ ทุน (๒) กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ สุขภาพ รวม ๓๙ ทุน แบ่งเป็น กิจกรรมบำบัด จำนวน ๖ ทุน กายอุปกรณ์ จำนวน ๖ ทุน รังสีเทคนิค จำนวน ๖ ทุน กายภาพบำบัด จำนวน ๖ ทุน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย จำนวน ๖ ทุน วิทยาศาสตร์การแพทย์สาขาความผิดปกติ ของการสื่อความหมาย (การได้ยิน) จำนวน ๓ ทุน และเทคนิคการแพทย์ จำนวน ๖ ทุน (๓) กลุ่มสาขาพยาบาลศาสตร์ จำนวน ๗ ทุน (๔) กลุ่มสาขาเภสัชศาสตร์ จำนวน ๕ ทุน (๕) กลุ่มสาขาวิศวกรรมศาสตร์ รวม ๑๐ ทุน แบ่งเป็น วิศวกรรม โยธา จำนวน ๕ ทุน และวิศวกรรมไฟฟ้า จำนวน ๕ ทุน (๖) กลุ่มสาขาเทคโนโลยี รวม ๖ ทุน แบ่งเป็น เทคโนโลยีชีวภาพ จำนวน ๓ ทุน และเทคโนโลยีการยาง จำนวน ๓ ทุน (๗) กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ รวม ๑๓ ทุน แบ่งเป็น วิทยาศาสตร์

การอาหาร จำนวน ๒ ทุน วิทยาการคอมพิวเตอร์ จำนวน ๒ ทุน วิทยาศาสตร์ทั่วไป จำนวน ๒ ทุน ฟิสิกส์ จำนวน ๒ ทุน เคมี จำนวน ๒ ทุน ชีววิทยา จำนวน ๒ ทุน และวิทยาศาสตร์ทางทะเล จำนวน ๑ ทุน (๘) กลุ่มสาขาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ รวม ๑๖ ทุน แบ่งเป็น ภาษาไทย จำนวน ๔ ทุน ภาษาอังกฤษ จำนวน ๔ ทุน ภาษามลายู จำนวน ๔ ทุน และคณิตศาสตร์ จำนวน ๔ ทุน (๙) กลุ่มบริหารธุรกิจสาขาวิชาการบัญชี จำนวน ๒ ทุน (๑๐) กลุ่มสาขาเศรษฐศาสตร์ จำนวน ๑ ทุน

(๑๑) กลุม่ สาขาอุตสาหกรรมการเกษตร จำนวน ๑ ทุน (๑๒) กลุม่ สาขาการประมงจำนวน ๑ ทุน และ (๑๓) กลุม่ สาขาพุทธศาสตร์ (เฉพาะพระภิกษุสงฆ์) จำนวน ๕ ทุน “สำหรับการดำเนินการในระยะนี้ สกอ. จะสนับสนุนทุนการศึกษาต่อเนื่องเพื่อเป็นค่าครองชีพในการศึกษาต่อตามระยะ เวลาการศึกษาของหลักสูตรให้แก่นักศึกษาที่ได้รับทุน จำนวน ๔๐,๐๐๐ บาทต่อปีการศึกษา ผ่านสถาบันอุดมศึกษาเพื่อ จัดสรรให้แก่ผู้รับทุน โดยการจ่ายเงินทุนการศึกษาจะแบ่งจ่ายตามปีการศึกษาละ ๒ ครั้งๆ ละ ๒๐,๐๐๐ บาท ผู้สนใจสามารถ ดูรายละเอียดคุณสมบัติของผู้สมัครขอรับทุน เงื่อนไขและข้อผูกพันสำหรับผู้รับทุน และรายละเอียดต่างๆ ได้จากประกาศทาง เว็บไซต์ www.mua.go.th ทั้งนี้ ได้เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ โดยผู้สนใจสามารถสมัครได้ที่ สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาที ่ ผู ้ ส มั ค รศึ ก ษาอยู ่ ซึ ่ ง สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาจะต้ อ งส่ ง ใบสมั ค รผู ้ ส มควรได้ ร ั บ ทุ น ให้ สกอ. ภายในวั นที ่

๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๕ และ สกอ. จะประกาศวันเวลาและสถานที่สอบสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกผู้สมควรได้รับทุน ในวันที่

๑๑ มกราคม ๒๕๕๖ และจะประกาศรายชื่อผู้ได้รับทุนภาย ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ทางเว็บไซต์ www.mua.go.th”

รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว อนุสารอุดมศึกษา

เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

สกอ. ประกาศรับสมัครทุนใต้ กลุ่มที่ ๒

7


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

สกอ. จับฉลากครู มื อ อาชี พ

๘๓๑ อัตรา

๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ - สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อคัดเลือก เข้ า ร่ ว มโครงการผลิ ต ครู มื อ อาชี พ รุ่ น ปี ก ารศึ ก ษา ๒๕๕๔ โดยวิ ธี ก ารจั บ ฉลาก ณ ศู น ย์ ก ารประชุ ม ธรรมศาสตร์ รั ง สิ ต โดยได้ ร ั บ เกี ย รติ จ ากรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ก ำจร ตติ ย กวี รองเลขาธิ ก าร

คณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิด รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เปิดเผยภายหลัง การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อคัดเลือกเข้าร่วมโครงการผลิตครูมืออาชีพ รุ่นปีการศึกษา ๒๕๕๔ โดยวิธีการ

จับฉลาก ว่า จากที่คณะกรรมการคัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิตและนักศึกษาทุนโครงการผลิตครูมืออาชีพ ดำเนิน โครงการผลิตครูมืออาชีพ ตามนโยบายที่กำหนดเป้าหมายการรับนิสิต/นักศึกษาเข้าร่วมโครงการ ประมาณร้อยละ ๓๐ ของอัตรากำลังการบรรจุข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วยในแต่ละปีของหน่วยงาน ที่จะบรรจุ และผลิตในรูปแบบการประกันการมีงานทำ แต่ไม่มีทุนการศึกษาให้ ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้กำหนด เกณฑ์การคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการผลิตครูมืออาชีพ กรณีรับนิสิต/นักศึกษาครูที่ศึกษาชั้นปีที่ ๔ และคัดเลือก นิสิต/นักศึกษาครูที่ขณะนี้กำลังศึกษาชั้นปีที่ ๕ ในปีการศึกษา ๒๕๕๕ ในรูปแบบการประกันการมีงานทำ โดยมี เป้าหมายการรับ จำนวน ๑,๕๖๖ คน ทั้งนี้ ได้คัดเลือกนิสิต/นักศึกษา ซึ่งเดิมเป็นผู้สมัครเข้าร่วมโครงการผลิต ครูพันธุ์ใหม่ที่มีความประสงค์จะเข้าร่วมโครงการผลิตครูมืออาชีพ จำนวน ๗๓๗ คน ดังนั้น จึงประกาศรับสมัคร นิ ส ิ ต /นั ก ศึ ก ษาเข้ า ร่ ว มโครงการผลิ ต ครู ม ื อ อาชี พ เพิ ่ ม เติ ม อี ก จำนวน ๘๓๑ อั ต ราแบ่ ง เป็ น อั ต ราของสั ง กั ด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งรวมผู้สละสิทธิ์ในรอบแรกอีก ๒ อัตรา เป็นจำนวน ๗๕๒ คน และของสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จำนวน ๗๙ คน

8

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่าการคัดเลือกในวันนี้ มีผู้มีสิทธิ์ตามประกาศและมารายงานตัวเพื่อจับฉลาก จำนวนรวมทั้งสิ้น ๒,๑๔๙ คน แบ่งเป็นผู้สมัครที่เลือกบรรจุในสังกัด สพฐ. จำนวน ๑,๗๙๖ คน และสังกัด สอศ. จำนวน ๓๕๓ คน ทั้งนี้ ถ้าจำแนก ตามสาขาวิชา สามารถเปรียบเทียบอัตราที่รับสมัคร/จำนวนผู้ที่จับฉลาก/จำนวนผู้ที่ผ่านการคัดเลือก ดังนี้ (๑) ประถมศึกษา ๑๔๐ อัตรา/๑๑๙ คน/๑๑๙ คน (๒) ภาษาไทย ๙๔ อัตรา/๓๑๑ คน/๙๔ คน (๓) คณิตศาสตร์ ๑๐๐ อัตรา/๑๕๘ คน/๑๐๐ คน

(๔) วิทยาการคอมพิวเตอร์ ๔ อัตรา/๒๒ คน/๔ คน (๕) วิทยาศาสตร์ศึกษา (ทั่วไป) ๑๙ อัตรา/๑๓๑ คน/๑๙ คน (๖) เคมี ๓๘ อัตรา/๓๔ คน/๓๔ คน (๗) ชีววิทยา ๒๓ อัตรา/๓๘ คน/๒๓ คน (๘) ฟิสิกส์ ๒๗ อัตรา/๙ คน/๙ คน (๙) สังคมศึกษา ๘๐ อัตรา/ ๓๕๒ คน/๘๐ คน (๑๐) สุขศึกษา ๑๙ อัตรา/๑๗ คน/๑๗ คน (๑๑) พลศึกษา ๕ อัตรา/๕๗ คน/๕ คน (๑๒) ศิลปศึกษา ๑๘ อัตรา/ ๔๒ คน/๑๘ คน (๑๓) ดนตรี / ดุ ริ ย างคศิ ล ป์ ๓๕ อั ต รา/๕๒ คน/๓๕ คน (๑๔) นาฏศิ ล ป์ ๑๕ อั ต รา/๗๐ คน/๑๕ คน

(๑๕) เกษตรกรรม ๑๖ อัตรา/๑๒ คน/๑๒ คน (๑๖) คหกรรมศาสตร์ ๒๒ อัตรา/๑๐ คน/๑๐ คน (๑๗) อุตสาหกรรมศิลป์ ๒๑ อัตรา/

๐ คน/๐ คน และ (๑๘) ภาษาอังกฤษ ๗๖ อัตรา/๓๔๒ คน/๗๖ คน ในขณะที่อัตราของ สอศ. มีจำนวน ๗๙ อัตรา แต่มีผู้จับฉลาก จำนวน ๓๕๓ คน และผู้ที่ผ่านการคัดเลือก จำนวน ๗๙ คน ดังนั้น จึงมีอัตราคืน สพฐ. จำนวนรวม ๘๒ อัตรา คือ ประถมศึกษา ๒๑ อัตรา เคมี ๔ อัตรา ฟิสิกส์ ๑๘ อัตรา สุขศึกษา ๒ อัตรา เกษตรกรรม ๔ อัตรา คหกรรมศาสตร์ ๑๒ อัตรา และ อุตสาหกรรมศิลป์ ๒๑ อัตรา “จากการเปรียบเทียบจะเห็นได้ว่ามี ๕ สาขาวิชา คือ ประถมศึกษา เคมี ฟิสิกส์ สุขศึกษา เกษตรกรรม และคหกรรมศาสตร์

มีผู้สมัครที่มีสิทธิ์เข้าร่วมการคัดเลือกมีจำนวนน้อยกว่าหรือเท่ากับอัตราที่รับสมัคร โดยสาขาวิชาอุตสาหกรรมศิลป์ไม่มีผู้สมัครเข้าร่วม การคัดเลือกเลย ทั้งที่มีอัตราว่างถึง ๒๑ อัตรา ในขณะที่สาขาวิชาภาษาไทย สังคมศึกษาและภาษาอังกฤษ มีจำนวนผู้สมัครมากกว่า อัตราที่รับสมัคร ประมาณ ๓ - ๔ เท่า ข้อมูลนี้คงเป็นการบ้านให้คิดต่อไปว่าในอนาคตสาขาวิชาใดจะขาดแคลนบุคลากรที่จะมาเป็น แม่พิมพ์ของชาติ หรือสาขาวิชาใดที่มีบุคลากรเกินความต้องการ ซึ่งสถาบันฝ่ายผลิตและทุกฝ่ายจะต้องวางแผนการผลิตบัณฑิต

ในอนาคตร่วมกัน เพื่อให้สอดรับกับความต้องการของสังคมต่อไป” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวถึงแนวทางการพิจารณา ว่า ในการจับฉลากครั้งนี้ได้กำหนดแนวทางไว้ ๓ กรณี คือ (๑) กรณี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/หรือสถานศึกษา มีจำนวนผู้สมัครเลือกไม่เกินอัตราที่จัดสรร ให้ผู้สมัครที่เลือกสำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษา/หรือสถานศึกษา ได้รับสิทธิ์การเลือกบรรจุในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/หรือสถานศึกษานั้น (๒) กรณีสำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษา/หรือสถานศึกษา มีจำนวนผู้สมัครเลือกเกินกว่าอัตราที่จัดสรร ให้ผู้สมัครเจรจาตกลงกัน หรือใช้วิธีการจับสลากคัดเลือก และ (๓) กรณีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/หรือสถานศึกษา มีอัตราว่าง ยังไม่มีผู้เลือกบรรจุ ให้ผู้สมัครแสดงความประสงค์เพื่อคัดเลือกใน รอบต่อๆ ไป หากมีจำนวนผู้สมัครเลือกเกินกว่าอัตราที่จัดสรร ให้ผู้สมัครเจรจาตกลงกัน หรือใช้วิธีการจับสลากคัดเลือก

อนุสารอุดมศึกษา

9


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

สกอ. พัฒนาศั ก ยภาพบุ ค ลากร และหน่ ว ยจั ด การทรั พ ย์ สิ นทางปัญญา ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ - สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดประชุมโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและหน่วย จั ด การทรั พ ย์ ส ิ นทางปั ญ ญา และถ่ า ยทอดเทคโนโลยี ในสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา ณ ห้ อ งประชุ ม อาคารสตางค์ มงคลสุ ข

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในด้านการจัดการทรัพย์สินทาง ปัญญา และถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่บุคลากรของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และหน่วยจัดการทรัพย์สินทาง ปัญญา ในสถาบันอุดมศึกษา รวมถึงเพื่อสร้างทักษะบุคลากรที่รับผิดชอบงานด้านการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและ ถ่ายทอดเทคโนโลยีในเทคนิคการปฏิบัติงาน รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวในการเปิดประชุมว่า สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้มีแนวทางการสนับสนุนการสร้างและพัฒนางานวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา โดย

ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งหน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology Licensing Office: TLO) ขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ เพือ่ ส่งเสริมการพัฒนางานวิจยั แนวใหม่ทเ่ี น้นให้เกิดการวิจยั ทีม่ ที รัพย์สนิ ทางปัญญา เป็นนวัตกรรมทีม่ คี วามใหม่ ใช้ เทคโนโลยีขั้นสูง มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น ที่เกิดจากการคิดค้นโดยอาจารย์ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา โดย สกอ. สนับสนุนงบ ประมาณเพื่อดำเนินกิจกรรมการพัฒนางานด้านทรัพย์สินทางปัญญาในสถาบันอุดมศึกษา ๒ ด้าน คือ (๑) การสนับสนุนการ

จัดตั้งหน่วย TLO ในระยะเริ่มต้น จำนวน ๑๐ แห่ง คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากร มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี ร าชมงคลธั ญ บุ ร ี มหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ น มหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้ดำเนินงานตามนโยบายและกลยุทธ์ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาของสถาบันตามอัตลักษณ์ ปรัชญา วิสัยทัศน์ของแต่ละสถาบัน อุดมศึกษาและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของชุมชน/ท้องถิ่น เพื่อสร้างความเข้มแข็งเป็นเครือข่ายงานด้านทรัพย์สินทาง ปัญญาในระบบอุดมศึกษา และ (๒) การจัดโครงการพัฒนาบุคลากรทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา “การจัดโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและหน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมก้าว เข้าสู่ประชาคมอาเซียน เป็นการส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจเทคนิควิธีการบริหารจัดการทรัพย์สินทาง ปัญญา โดยนำบริบทของสถาบัน สภาพแวดล้อมของชุมชนท้องถิ่น และจุดแข็งที่นำมาใช้บริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่ง สกอ. เชื่อมั่นว่าการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและหน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยีในสถาบัน อุดมศึกษา ทั้งการฝึกอบรมภาคทฤษฎี และการฝึกปฏิบัติ จะทำให้บุคลากรของหน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญา หน่วย

บ่มเพาะวิสาหกิจ และสถาบันอุดมศึกษาทั่วไปได้รับทราบแนวทาง วิธีการส่งเสริมงานด้านทรัพย์สินทางปัญญา มีการแลก เปลีย่ นเรียนรูเ้ ทคนิค วิธกี ารใหม่ๆ ในการทำงานเพือ่ พัฒนางานด้านทรัพย์สนิ ทางปัญญา จากวิทยากรทีม่ คี วามรูด้ า้ นทรัพย์สนิ ทาง ปัญญาอย่างดี เกิดเครือข่ายความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งระดับหน่วยงาน องค์กร และระดับบุคคลต่อไป”

รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว

10

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

ไทย-ลาวตั้งคณะกรรมการร่วม

ด้ า นการศึ ก ษาระดั บ อุ ดมศึกษา

๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ - สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจัดการประชุม อย่ า งไม่ เป็ น ทางการ ระหว่ า งผู ้ บ ริ ห ารระดั บ สู ง ของสำนั ก งานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ กับผู้บริหารระดับสูงของกรมการศึกษาชั้นสูง กระทรวง ศึ ก ษาธิ ก ารและกี ฬ า สาธารณรั ฐ ประชาธิ ป ไตยประชาชนลาว (Retreat Meeting)

ครั้งที่ ๓ ณ โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท กรุงเทพฯ โดยได้รับเกียรติจากนางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม และนางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้นำเสนอพัฒนาการด้าน

การอุดมศึกษาไทยประกอบด้วยแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ.๒๕๕๕ - ๒๕๕๙) และโครงการสำคัญที่อยู่ ระหว่างการดำเนินการ ได้แก่ โครงการครูมืออาชีพ กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต และกองทุนตั้งตัวได้ ในขณะที่ อธิบดีกรมการศึกษาชั้นสูง (Dr.Phonephet Boupha) นำเสนอภาพรวมการอุดมศึกษา และแผนพัฒนาการศึกษาชั้นสูงของ สปป.ลาว นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เปิดเผยหลังการประชุมว่า ในการประชุมครั้งนี้ทั้งสองฝ่ายได้มี การจัดทำบันทึกการประชุมอย่างไม่เป็นทางการร่วมกัน โดยที่ประชุมเห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านการศึกษาระดับ อุดมศึกษาไทย-ลาว ประกอบด้วยผู้บริหารทั้งสองฝ่าย และให้มีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมรายสาขาความร่วมมือ ซึ่งได้มอบหมายให้ นางสาวชฎารัตน์ สิงหเดชากุล ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์อุดมศึกษาต่างประเทศ สกอ. เป็นผู้ประสานงานฝ่ายไทย และนายแสงแก้ว วงสะกิด หัวหน้าแผนกวิชาการ กรมการศึกษาชั้นสูง เป็นผู้ประสานงานฝ่ายลาว ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบร่วมกันในการดำเนินงานความ ร่วมมือด้านการอุดมศึกษาระหว่าง สปป.ลาว และไทย ดังนี้ (๑) การศึกษาดูงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและภายนอก และการฝึกอบรมผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาของบุคลากรฝ่ายลาว การศึกษากฎ ระเบียบ กลไกในการประกันคุณภาพการศึกษาของไทย การสร้างมาตรฐานและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา (๒) การพิจารณาสนับสนุนทุนการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาแก่บุคลากรของกรม การศึกษาชั้นสูง สปป.ลาว จำนวน ๑๒ คน เป็นทุนระดับปริญญาเอก จำนวน ๓ คน และทุนระดับปริญญาโท จำนวน ๙ คน (๓) การฝึก อบรมผู้บริหารมหาวิทยาลัยและบุคลากรของกรมการศึกษาชั้นสูงของ สปป.ลาว ในหลักสูตรนักบริหารมหาวิทยาลัย (๔) การสานต่อความ ร่วมมือและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการจัดตั้ง บริหาร และดำเนินงานวิทยาลัยชุมชน ซึ่งทาง สปป.ลาว ขอความร่วมมือจาก สกอ. ให้ ความช่วยเหลือในการจัดการศึกษา ฝึกอบรม และดูงานด้านการบริหารและจัดการวิทยาลัยชุมชนให้แก่เจ้าหน้าที่ของแขวงและผู้บริหารการ ศึกษาท้องถิ่นจากแขวงต่างๆ (๕) การแลกเปลี่ยนนักศึกษาภายใต้โครงการสหกิจศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวกับมหาวิทยาลัย ขอนแก่น (๖) โครงการพี่เลี้ยงการสร้างหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจให้กับมหาวิทยาลัยของ สปป.ลาว (๗) การจัดส่งผู้เชี่ยวชาญจาก สปป.ลาว มาเป็นบรรณาธิการร่วมในการจัดทำพจนานุกรมภาษาลาว-ไทย-อังกฤษ (๘) การสานต่อการพัฒนาเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างสำนักงาน บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet) และ สปป.ลาว รองเลขาธิ ก าร กกอ. กล่ า วต่ อ ว่ า สำหรั บ ฝ่ า ยไทยจะมี ก ารพิ จ ารณาความพร้ อ มของฝ่ า ยลาวในการเข้ า ร่ ว มโครงการ ASEAN International Mobility for Students ตลอดจนขอความร่วมมือจากกรมการศึกษาชั้นสูง สปป.ลาว ในการประสานการจัดสัมมนาวิชาการ ศึกษาไทยใน สปป.ลาว และให้ช่วยประชาสัมพันธ์โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาไทยและอาเซียนไปยังสถาบันอุดมศึกษาลาว เพื่อให้ดำเนิน การเรื่องหนังสือตอบรับให้เข้าศึกษาสำหรับนักศึกษาไทยที่เข้าร่วมโครงการ “จากการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือระหว่างไทยและ สปป.ลาว ตามแผนงานความร่วมมือที่ทั้งสองฝ่ายทำร่วมกันตามบันทึกความ ร่วมมือ ๒ ครั้งที่ผ่านมา ประสบความสำเร็จไปด้วยดี อาทิ การสนับสนุนด้านตำราและสื่อการสอน การจัดทำข้อตกลงร่วมกันของวิทยาลัย ชุมชนไทยในพื้นที่ชายแดนไทยกับหน่วยงานอุดมศึกษาใน สปป.ลาว เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาของวิทยาลัยชุมชนระหว่างวิทยาลัยชุมชน มุกดาหารกับแขวงสะหวันนะเขต วิทยาลัยชุมชนน่านและวิทยาลัยชุมชนแพร่กับแขวงอุดมชัย การจัดกิจกรรมนักศึกษาเพื่อเชื่อมความ สัมพันธ์ไทย-ลาว ครั้งที่ ๒ การทำความตกลงระหว่างเครือข่ายการศึกษาแห่งชาติ สปป.ลาว (LERTNET) โดยมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวและ UniNet เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายเฉพาะกิจด้านการศึกษาวิจัยร่วมกัน” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว อนุสารอุดมศึกษา 11


เรื่องเล่าอาเซียน

การเกิดประชาคมอาเซี ย น กับการศึกษาของประเทศไทย (๑๔) จากที่ ‘อนุสารอุดมศึกษา’ ได้เคยนำเสนอข้อมูลการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ มา หลายฉบับ เพื่อให้เกิดภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ‘อนุสารอุดมศึกษา’ ฉบับนี้ ขอนำข้อมูลที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาจัดเตรียมความพร้อมด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพื่อเข้าสู่ประชาคม อาเซี ย นในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ในส่ ว นของการจั ด ทำยุ ท ธศาสตร์ อุ ด มศึ ก ษาไทยในการเตรี ย มความพร้ อ มสู่ ก ารเป็ น ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งการจัดทำยุทธศาสตร์ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์และมาตรการใน การดำเนินงานของ สกอ. และสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดต่อการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ และการเตรียม พร้อมรองรับการเปิดเสรีการค้าบริการด้านการศึกษา โดยสถาบันอุดมศึกษาไทยได้นำยุทธศาสตร์อุดมศึกษาไทยในการ

เตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียนไปใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติการรายสถาบัน และ สกอ. ได้ติดตามผลการกำหนดแผนงานของสถาบันอุดมศึกษาไทย และรายงานความก้าวหน้าในการเตรียมความ พร้อมของสถาบันอุดมศึกษาไทยเพื่อก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียนและการเปิดเสรีการค้าบริการด้านอุดมศึกษา

ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยสรุปกิจกรรมที่สถาบันได้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การเพิ่มขีดความสามารถของบัณฑิตให้มีคุณภาพมาตรฐานในระดับสากล กลยุทธ์ที่ ๑ พัฒนาสมรรถนะด้านการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทยในระดับที่ใช้ในการทำงานได้ • จัดโครงการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้แก่นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัยและบุคลากร • กำหนดมาตรฐานทักษะภาษาอังกฤษของนักศึกษาและจัดการทดสอบภาษาอังกฤษก่อนจบการศึกษา • ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนโดยเน้นให้นำเสนอผลงานเป็นภาษาอังกฤษ • พัฒนาตำราเรียนเป็นภาษาอังกฤษ กลยุทธ์ที่ ๒ พัฒนาสมรรถนะด้านการประกอบวิชาชีพและการทำงานข้ามวัฒนธรรมของบัณฑิตไทย • จัดโครงการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกอาเซียนและการปรับตัวให้เข้ากับการทำงาน ในสังคมพหุวัฒนธรรม • จัดโครงการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้แก่นักศึกษา • สนับสนุนให้นักศึกษาออกปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในประเทศสมาชิกอาเซียน • จัดโครงการศึกษาวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การพัฒนาความเข้มแข็งของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาประชาคมอาเซียน กลยุทธ์ที่ ๑ พัฒนาอาจารย์ให้มีสมรรถนะสากล • สนับสนุนทุนการศึกษาในระดับปริญญาโทและเอก การทำวิจัยและการเผยแพร่ผลงานวิชาการในระดับนานาชาติ • จัดโครงการแลกเปลี่ยนอาจารย์และบุคลากรและการทำวิจัยร่วมกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานในต่างประเทศ • จัดโครงการศึกษาดูงานในประเทศสมาชิกอาเซียน • จัดโครงการจัดการความรู้ด้านวิชาการและวิจัยระหว่างหน่วยงานในสถาบันอุดมศึกษา • พิจารณาค่าตอบแทนพิเศษให้บุคลากรที่มีความสามารถทางภาษาอังกฤษเป็นกรณีพิเศษ • จัดโครงการพัฒนาสมรรถนะผู้สอนเพื่อรองรับการปรับปรุงหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐาน กลยุทธ์ที่ ๒ ส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมเกี่ยวกับอาเซียนในสถาบันอุดมศึกษา • จัดสรรทุนวิจัยเกี่ยวกับอาเซียน • จัดกิจกรรมนำเสนอผลงานวิชาการที่มุ่งเน้นความรู้ในระดับเอเชียและอาเซียน • ดำเนินการวิจัยศักยภาพพื้นที่ระดับประเทศอาเซียน+๖ • ส่งเสริมให้มีการต่อยอดงานวิจัยหรือนวัตกรรมสู่การบริการวิชาการเชิงพาณิชย์

12

อนุสารอุดมศึกษา


อนุสารอุดมศึกษา

เรื่องเล่าอาเซียน

กลยุทธ์ที่ ๓ พัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนให้มีคุณภาพระดับสากล กลยุทธ์ที่ ๔ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้มีคุณภาพระดับสากล กลยุทธ์ที่ ๕ พัฒนาวิชาการและการวิจัยสู่ความเป็นเลิศ • ปรับปรุงหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาการให้มีความเป็นสากลและตอบสนองต่อความต้องการของ ตลาดแรงงานในระดับชาติและนานาชาติ • จัดทำมาตรฐานการวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอน • จัดโครงการทำฐานข้อมูลข้อสอบและแบบฝึกหัด • พัฒนาหลักสูตรใหม่ให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงานอาเซียน กลยุทธ์ที่ ๖ พัฒนาระบบอุดมศึกษาแห่งอาเซียน ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การส่งเสริมบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาไทยในประชาคมอาเซียน กลยุทธ์ที่ ๑ ส่งเสริมบทบาทความเป็นผู้นำของสถาบันอุดมศึกษาไทยที่เกี่ยวข้องกับสามเสาหลักในการสร้างประชาคม อาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเสาด้านประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน กลยุ ท ธ์ ท ี ่ ๒ สร้างความตระหนัก ในการรวมตัว เป็ น ประชาคมอาเซี ยนและบทบาทของอุ ดมศึ กษาไทยในการพั ฒนา ประชาคมอาเซียนทั้งในด้านบวกและด้านลบ • เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน • จัดบรรยายหรือเสวนาวิชาการเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน • อบรมและจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมของประเทศในกลุ่มอาเซียน • จัดโครงการศึกษาดูงาน ณ ประเทศในกลุ่มอาเซียน • จัดเปิดสอนรายวิชาเกี่ยวกับอาเซียนและประเทศสมาชิกอาเซียน กลยุทธ์ที่ ๓ ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน • สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ • สนับสนุนโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา อาจารย์และบุคลากรและการทำวิจัยร่วมกับสถาบันการศึกษา และหน่วยงานในต่างประเทศ • พัฒนาหลักสูตรนานาชาติ และพัฒนาระบบลงทะเบียนเพื่อรองรับนักศึกษาต่างชาติ • จัดสรรทุนการศึกษาและทุนฝึกงานให้กับนักศึกษาในประเทศสมาชิกอาเซียน • สนับสนุนทุนการศึกษาในระดับปริญญาโทและเอก การทำวิจัยและการเผยแพร่ผลงานวิชาการในระดับนานาชาติ • จัดโครงการจัดการความรู้ด้านวิชาการและวิจัยระหว่างหน่วยงานในสถาบัน • พิจารณาค่าตอบแทนพิเศษให้บุคลากรที่มีความสามารถทางภาษาอังกฤษ กลยุทธ์ที่ ๔ พัฒนาศูนย์ข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาในอาเซียน • จัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนและประเทศสมาชิกอาเซียน • จัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา • จัดตั้งศูนย์พัฒนาธุรกิจสู่ประชาคมอาเซียน • พัฒนาศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาของประเทศในกลุ่มอาเซียน ฉบับหน้า ‘อนุสารอุดมศึกษา’ จะนำข้อมูลผลการดำเนินงานการเตรียมความพร้อมด้านการศึกษาระดับ อุดมศึกษาเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในส่วนของโครงการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษและภาษา ของประเทศเพื่อนบ้าน โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาไทยและอาเซียน โครงการการแลกเปลี่ยนบุคลากรและ

นักศึกษาไทยกับประเทศอนุภมู ภิ าคลุม่ น้ำโขง โครงการ ASEAN International Mobility for Students มานำเสนอ ให้ผู้อ่านทราบ

13


เรื่องพิเศษ

พระกฐินพระราชทาน พระกฐินพระราชทาน คือ พระกฐินที่ถือว่า ผ้าพระกฐิน บริขาร และบริวารกฐิน เป็นของหลวง แต่เปิดโอกาสให้ส่วน ราชการ องค์กร หรือบุคคลที่สมควร ขอรับพระราชทานอัญเชิญไปถวายยังพระอารามหลวงต่างๆ นอกจากพระอารามหลวง สำคัญ ๑๖ พระอาราม คือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร

วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร วัดราชาธิวาส กรุงเทพมหานคร วัดมกุฎกษัตริยาราม กรุงเทพมหานคร วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร วัดราชโอรสาราม กรุงเทพมหานคร วัดพระปฐมเจดีย์ นครปฐม วัดสุวรรณดาราราม พระนครศรีอยุธยา วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ พระนครศรีอยุธยา และวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก รัฐบาลโดยกรมการศาสนาจัดหาผ้าพระกฐิน และบริวารพระกฐิน (ปัจจุบันมีจำนวน ๒๖๕ พระอาราม มีรายชื่อตามบัญชี พระอารามหลวง) ซึ่งส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ สมาคม บริษัทห้างร้าน และบุคคลทั่วไป จะต้องยื่นความจำนงขอพระราชทาน ผ่านไปยังกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม และเมื่อถึงกำหนดกฐินกาลก็ติดต่อขอรับผ้าพระกฐินและบริวารพระกฐินจาก กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา เพื่อนำไปทอด ณ พระอารามที่ขอรับพระราชทานไว้ เมื่อทอดถวายเรียบร้อยแล้ว ผู้ขอรับ พระราชทานจะต้องจัดทำบัญชีรายงานถวายพระราชกุศลในการถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ส่งไปยังกรมการศาสนา เพื่อจะ ได้จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ขอรับพระราชทานผ้าพระกฐิน ส่งไปยังสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อแจ้งให้สำนักราชเลขาธิการ นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท เพื่อถวายพระราชกุศลในการที่หน่วยงาน องค์กร หรือบุคคล ทั่วไป อัญเชิญผ้าพระกฐินไปถวาย ณ อารามนั้น ผู้ที่มีความประสงค์จะขอรับพระราชทานผ้าพระกฐินไปถวาย ณ พระอารามหลวงแห่งใดแห่งหนึ่งจะต้องจองพระกฐินไว้ ล่วงหน้าก่อน ในการนำพระกฐินพระราชทานไปถวายพระอารามหลวงแห่งใดแห่งหนึ่ง ผู้ที่นำไปจะต้องกล่าวถวายต่อหน้า

หมู่สงฆ์ ณ วัดนั้น ว่า "ผ้าพระกฐินทานกับทั้งผ้าอานิสงส์บริวารทั้งปวงนี้ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ กอปรด้วยพระราชศรัทธา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานให้......(ชื่อหน่วยงาน องค์กร หรือบุคคลผู้ขอรับพระราชทาน) น้อมนำมาถวายแด่

พระสงฆ์ ซึ ่ ง จำพรรษากาลถ้ ว นไตรมาสในอาวาสวิ ห ารนี ้ ขอพระสงฆ์ จ งรั บ ผ้ า พระกฐิ นทานนี ้ กระทำกฐิ น ั ต ถารกิ จ

ตามพระบรมพุทธานุญาตนั้น เทอญ"

14

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องพิเศษ ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ สำนักงานคณะกรรมการ

การอุ ด มศึ ก ษา ได้ ถ วายผ้ า พระกฐิ น พระราชทาน

ณ วัดพรหมนิวาสวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อ วั น เสาร์ ท ี ่ ๓ พฤศจิ ก ายน ๒๕๕๕ โดยมี น ายอภิ ช าติ

จี ร ะวุ ฒ ิ เลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา เป็ น ประธานในพิ ธ ี ถ วายผ้ า พระกฐิ น พระราชทาน และมี

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา นางวราภรณ์ สี ห นาท

รองเลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา นางสาว อาภรณ์ แก่ น วงศ์ รองเลขาธิ ก ารคณะกรรมการ

การอุดมศึกษา รองศาสตราจารย์ชวนี ทองโรจน์ ที่ปรึกษา ด้านพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น นางสาวสุนันทา แสงทอง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผู้บริหาร ข้าราชการ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตลอด จนประชาชน เข้าร่วมพิธี ทั ้ ง นี ้ มี ผู ้ ม ี จ ิ ต ศรั ท ธาร่ ว มทำบุ ญ เพื ่ อ ถวายเป็ น

พระราชกุศล เป็นเงินจำนวน ๑,๐๙๘,๕๓๐ บาท

อนุสารอุดมศึกษา

15


พูดคุยเรื่องมาตรฐาน

16

ยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษา

เพื่อสร้างความเป็นพลเมือง (๑ )

จากที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเรียนการสอนระดับอุดมศึกษาเพื่อสร้าง ความเป็นพลเมือง เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๕ ที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการ เรียนการสอนเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในระดับอุดมศึกษา และให้ได้แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างความ เป็นพลเมือง ตลอดจนให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถนำวิธีการจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองไปประยุกต์ใช้ใน สถาบันของตนเองได้ ดังนั้น ‘อนุสารอุดมศึกษา’ ฉบับนี้ จึงขอนำรายละเอียดของยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง พ.ศ. ๒๕๕๓ - ๒๕๖๑ ซึ่งยุทธศาสตร์ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ดังนี้ วัตถุประสงค์ ๑. เพื ่ อ พั ฒ นาการศึ ก ษาที ่ ส ร้ า งความเป็ น พลเมื อ ง (Civic Education) ในรู ป กิ จ กรรมที ่ เน้ นกระบวนการคิ ด วิ เคราะห์

แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการลงมือปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะรอบด้าน เพื่อประโยชน์ของตนเอง สังคมประเทศ ไปจนถึง เพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติ ๒. เพื่อเสริมสร้าง/ฝึกฝนคุณลักษณะของความเป็นพลเมืองให้กับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ โดยเฉพาะในช่วงเปลี่ยนผ่าน ได้แก่

ผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ผู้เรียน ครอบครัว ชุมชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง ประชาชนทั่วไป และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการเป็นแบบอย่างที่ดีมีพลังในสังคม สำหรับทำหน้าที่หล่อหลอม ปลูกฝังอุปนิสัย ค่านิยมความเป็น พลเมืองให้กับเด็กและเยาวชนได้อย่างลึกซึ้งและแยบคาย ๓. เพื่อจุดประกายให้ทุกส่วนของสังคมร่วมสร้างความเป็นพลเมือง โดยใช้สื่อสารการตลาดเพื่อสังคมเป็นกลไกในการ

ขับเคลื่อน เป้าหมาย ๑. เพื่อทำให้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยประสบความสำเร็จในประเทศไทย โดยการสร้าง “พลเมือง” ที่มีความ สามารถในการปกครองตนเองตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งหมายถึง สมาชิกในสังคมที่ใช้สิทธิเสรีภาพ โดยมีความรับผิดชอบต่อ ตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อสังคม ๒. เพื่อให้หน่วยงานที่จัดการศึกษาทุกภาคส่วนและหน่วยงานที่สนับสนุนความเข็มแข็งของสถาบันครอบครัว ผนึกสรรพ ความคิดและเครื่องมือที่สามารถยกระดับเด็ก เยาวชน และประชาชนของประเทศสู่ “ความเป็นพลเมือง” ให้ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๓๕ ของประชากรทั้งหมด โดยที่ผู้เรียนทุกระดับการศึกษาไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๗๕ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา ร้อยละ ๑๐๐ มีความเป็นพลเมืองในระยะแรกตามกรอบเวลาการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (๒๕๕๓ - ๒๕๖๑) ๓. เพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่ความเป็น “สังคมพลเมือง” (Civil Society) หมายถึง ประเทศที่ประกอบด้วยสมาชิกที่ตระหนัก ในพลังของตนเอง และร่วมกันสร้าง “สังคมที่เข็มแข็ง” ในมิติต่าง ๆ อาทิ การเมือง สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม เพื่อให้ประเทศ ไทยมีความมั่นคง ประชาชนแต่ละกลุ่มความคิด ความเชื่อ สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และปราศจากความรุนแรง ภายใต้ การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ๔. เพื่อเตรียมความพร้อมทรัพยากรบุคคลของประเทศในการก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน และประชาคมโลกอย่าง

สมศักดิ์ศรี และเป็นพลังสำคัญในการสร้างสันติภาพถาวร รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมแก้ปัญหาของโลกและมนุษยชาติทั้งใน ฐานะพลเมืองไทยและพลเมืองโลก ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง พ.ศ. ๒๕๕๓ - ๒๕๖๑ ได้กำหนดไว้ ๔ ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองสำหรับเด็ก และเยาวชน ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองสำหรับผู้ใหญ่ ครอบครัว และชุมชน ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การสร้างพลเมืองในวงกว้างและการสร้างความตระหนักในสังคมโดยใช้สื่อมวลชน ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การเชื่อมประสานเครือข่ายภาครัฐและเอกชน สำหรับรายละเอียดในแต่ละยุทธศาสตร์ ‘อนุสารอุดมศึกษา’ จะนำเสนอในฉบับต่อๆ ไป อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องแนะนำ

ขอต้อนรับและแสดงความยินดีกับรัฐมนตรีใหม่ ตามที ่ ได้ ม ีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่ ง ตั ้ ง ให้ นายพงศ์ เทพ เทพกาญจนา ดำรงตำแหน่ ง รั ฐ มนตรี ว ่า การ กระทรวงศึกษาธิการ และนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตามประกาศให้ รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี ลงวันที่ ๒๗ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕ นั้น ‘อนุสารอุดมศึกษา’ ถือโอกาสนี้แนะนำประวัติของทั้งสองท่าน ดังนี้

นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประวัติการศึกษา • นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ • Master of Comparative Law (Foreign Practice), George Washington University สหรัฐอเมริกา • เนติบัณฑิตไทย สำนักศึกษาอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา • Master of Comparative Law (American Practice), George Washington University สหรัฐอเมริกา ประวัติการรับราชการ • ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำกระทรวง • รองเลขาธิการส่งเสริมงานตุลาการ • ผู้พิพากษาศาลจังหวัดสกลนคร ประวัติการทำงานทางการเมือง • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน • รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร • รองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย • สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จังหวัดสมุทรสาคร (พ.ศ.๒๕๓๙ - พ.ศ.๒๕๔๐) • รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ.๒๕๓๘ - พ.ศ.๒๕๓๙) เครื่องราชอิสริยาภรณ์ • มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก • มหาวชิรมงกุฎ • จตุตถดิเรกคุณาภรณ์

อนุสารอุดมศึกษา

17


เรื่องแนะนำ

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ประวัติการศึกษา • ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม • ระดับปริญญาตรี รัฐศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมดี) และนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ • ระดับปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ • รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยโคสต์ไลน์ สหรัฐอเมริกา • รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาการพัฒนาชนบท) มหาวิทยาลัยหลุยเซียนา สหรัฐอเมริกา • ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาสังคมวิทยาและ มานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประวัติการฝึกอบรม • หลักสูตรโรงเรียนนายอำเภอ รุ่นที่ ๑๘ • หลักสูตรนักปกครองระดับสูง รุ่นที่ ๒๐ • หลักสูตรฝ่ายอำนวยการอาสารักษาดินแดน ชุดที่ ๕ • หลักสูตรผู้บริหารระดับ ๙ ของกระทรวงมหาดไทย • หลักสูตรผู้บริหารระดับ ๑๐ ของกระทรวงมหาดไทย • วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๓๙ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ • เบญจมดิเรกคุณาภรณ์ (บ.ภ.) • มหาวชิรมงกุฏ (ม.ว.ม.) • มหาประถมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)

18

อนุสารอุดมศึกษา

ประวัติการรับราชการ • ปลัดกระทรวงมหาดไทย • อธิบดีกรมโยธาธิการ • ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น • ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม • อธิการวิทยาลัยการปกครอง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย • รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี • รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด • ผู้อำนวยการกองการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย • นายอำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี • นายอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี • นายอำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ • นายอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี • นายอำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ • นายอำเภอสิเกา จังหวัดตรัง • ปลัดอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย • ปลัดอำเภอตรี อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ประวัติการทำงานทางการเมือง • สมาชิกพรรคเพื่อไทย (พ.ศ.๒๕๕๕) • รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (พ.ศ.๒๕๔๘ - ๒๕๔๙)


เหตุการณ์เล่าเรื่อง

ค่ายเรียนรู้และเผยแพร่โครงการพระราชดำริ

การดำเนินงานในโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ นอกจากการฟื้นฟู พัฒนา และส่งเสริมความอยู่ดีกินดีแก่ ราษฎรแล้ว อีกหนึ่งแนวทาง การดำเนินการที่สำคัญ คือ การสร้างรากฐานความรู้ การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ คุณธรรมและจริยธรรม นำความรอบรู้อย่างเท่าทัน มีสุขภาวะที่ดี อยู่ในครอบครัวที่อบอุ่น ชุมชนที่เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ มีความมั่นคงในการ ดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี ภายใต้ดุลยภาพของความ หลากหลายทางวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม”

อนุสารอุดมศึกษา

19


เหตุการณ์เล่าเรื่อง ‘การเริ่มต้นปฏิบัติจากตนเองก่อน’ เป็นบทสรุปที่สั้น กระชั บ และง่ า ยที ่ จ ะนำไปเป็ นจุ ด เริ ่ ม ต้ น เผยแพร่ โครงการ

อันเนื่องมาจากพระราชดำริและหลักการทรงงานไปสู่สังคม

วงกว้ า ง สำหรั บ นิ ส ิ ต นั ก ศึ ก ษาที ่ ผ ่ า นการเข้ า ร่ ว มโครงการ

ค่ า ยเรี ย นรู ้ แ ละเผยแพร่ โครงการพระราชดำริ ซ ึ ่ ง สำนั ก งาน

คณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาใน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจัดขึ้นในระหว่าง วันที่ ๑ - ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิต นักศึกษาได้รับประสบการณ์ตรงและเรียนรู้จากการไปสัมผัส หรือปฏิบัติงานจริง ในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และสร้ า งนิ ส ิ ต นั ก ศึ ก ษารุ ่ น ใหม่ ท ี ่ จ ะสื บ สานและน้ อ มนำ

พระราชดำริและหลักการทรงงานไปใช้ในการดำเนินชีวิตอย่าง ถูกต้อง สามารถบูรณาการไปสู่การพัฒนาชุมชนและสังคม

ต่ อ ไป พร้ อ มทั ้ ง เชื ่ อ มโยงความร่ ว มมื อ ระหว่ า งสถาบั น อุดมศึกษากับชุมชน ในการเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สัมผัสได้ของ นิสิตนักศึกษาเป็นห้องทดลองหรือห้องเรียนมีชีวิตของสถาบัน อุ ด มศึ ก ษา ตลอดจนเผยแพร่ โ ครงการอั น เนื ่ อ งมาจาก

พระราชดำริและหลักการทรงงาน สู่นิสิตนักศึกษาและสังคม ชุมชนต่างๆ นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เล่าถึงที่มาของโครงการนี้ว่า เพื่อให้แนวพระราชดำริ และหลักการทรงงานของพระองค์ท่าน สามารถถ่ายทอดไปสู่นิสิตนักศึกษา ซึ่งเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่จะมีส่วนช่วยในการสานต่อ แนวพระราชดำริให้บังเกิดความยั่งยืน และเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่มีความต่อเนื่อง สามารถนำผลสำเร็จของโครงการไป ประยุกต์ปฏิบัติได้จริง ทั้งต่อการศึกษาและการดำรงชีวิตในสังคม สกอ. จึงจัดให้มีการดำเนินงานโครงการค่ายเรียนรู้และ

เผยแพร่โครงการพระราชดำริ ให้เป็นกิจกรรมนิสิตนักศึกษาในลักษณะ ‘ค่ายเรียนรู้’ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการต่อยอดขยายผล การเรียนรู้เกี่ยวกับหลักการทรงงาน รวมถึงพระราชกรณียกิจ และพระราชดำริที่ได้พระราชทานความช่วยเหลือผ่านโครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่ต่างๆ โดยกิจกรรมจะประกอบไปด้วยการให้ความรู้เชิงบูรณาการ ผสมผสานการเรียนรู้และ ปฏิบัติจากพื้นที่จริง อันเป็นพื้นฐานสำคัญของแต่ละชุมชนและองค์ความรู้หรือศาสตร์เฉพาะในแต่ละสาขาที่นำไปสู่ความสุข ความเข้มแข็งของชุมชนแต่ละแห่ง ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสถาบันอุดมศึกษา ได้กำหนดพื้นที่ดำเนินการเพื่อให้ผู้นำนิสิตนักศึกษา ได้เรียนรู้ควบคู่ไปกับการทดลองปฏิบัติในพื้นที่จริง จำนวน ๖ พื้นที่ เพื่อจัดเป็นค่ายเรียนรู้ ๖ ค่าย คือ ศูนย์อำนวยการและ ประสานการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ศูนย์ศึกษาการ พัฒนาห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน จังหวัดสกลนคร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย จังหวัด เพชรบุรี โครงการอัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์ จังหวัดสมุทรสงคราม และศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา และ ได้นำนิสิตนักศึกษาแบ่งกลุ่มลงพื้นที่เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์การอยู่ค่าย และประสบการณ์การทำงานร่วมกัน

20

อนุสารอุดมศึกษา


เหตุการณ์เล่าเรื่อง

ทั้งนี้ สกอ. ได้มีการตรวจเยี่ยมค่ายเรียนรู้ทั้ง ๖ ค่าย พบว่า นิสิตนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้เรียนรู้พระราชดำริ

พระราชกรณียกิจ หลักการทรงงาน ตลอดจนความรู้ เนื้อหา และทักษะ จากศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยผ่านกิจกรรมการบรรยาย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งนิสิตนักศึกษาได้สัมผัสและเรียนรู้วิถีชีวิตและการทำงานของผู้ที่น้อมนำ แนวพระราชดำริมาใช้ในการดำเนินชีวิตจนประสบผลสำเร็จ มีชีวิตที่พอเพียงและมีความสุขอย่างแท้จริง รองเลขาธิการ กกอ. เล่าต่อไปว่า จากที่ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมค่ายที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีนิสิตนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัย นเรศวร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เข้าร่วมกิจกรรม พบว่า นักศึกษาได้เรียนรู้วิถีการดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริ ‘พออยู่พอกิน’ อาทิ หลักการพัฒนาและอนุรักษ์ดิน น้ำ ป่า หลักการเกษตรผสมผสาน หลักการเกษตรทฤษฎีใหม่ การเรียนรู้ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง หลักการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการเกษตร กิจกรรมศึกษาธรรมชาติและการใช้ชีวิตร่วมกับป่า ซึ่งนอกจากนักศึกษาจะได้รับความรู้จาก วิทยากรของศูนย์การศึกษาแล้ว นักศึกษายังมีโอกาสในการฝึกปฏิบัติ และนำการศึกษา เรียนรู้ การสำรวจและสังเกตชุมชน

มาถ่ายทอดข้อคิด ความรู้ ประสบการณ์ร่วมกันอีกด้วย

“ในการดำเนินงานโครงการนำร่องครั้งนี้ สกอ. คาดหวังว่านิสิตนักศึกษาจะนำความรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับจากค่าย เรียนรู้ฯ ไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตของตนเอง ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของการถ่ายทอดและเผยแพร่พระราชกรณียกิจให้เป็นที่ ประจักษ์ต่อไป นอกจากนี้ สกอ. ยังคาดหวังให้ จุดเริ่มต้นของค่ายเรียนรู้ฯ เล็กๆ ๖ ค่ายนี้ จะก่อให้เกิดเป็นเครือข่ายความ

ร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับชุมชน ในการสืบสานงานพระราชดำริเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ สกอ.จะให้การสนับสนุนสถาบัน อุดมศึกษาจัดโครงการค่ายเรียนรู้ในลักษณะนี้อย่างต่อเนื่อง” รองเลขาธิการกกอ. กล่าวในตอนท้าย จากจุดเริ่มต้นของค่ายเรียนรู้ฯ สู่จุดเริ่มต้นของตัวแทนนิสิตนักศึกษาที่จะนำความรู้ วิถีการดำเนินชีวิตตามแนว พระราชดำริไปเริ่มใช้ในชีวิตประจำวันของตนเอง จากหนึ่งสู่สอง สกอ. คาดหวังว่าในไม่ช้าวิถีการดำเนินชีวิตตามแนว พระราชดำริจะขยายไปสู่สังคมของนิสิตนักศึกษาในวงกว้าง และขยายต่อไปยังชุมชนและสังคมใหญ่ เพื่อเป็นสังคม แห่งความสุขต่อไป อนุสารอุดมศึกษา

21


เล่าเรื่องด้วยภาพ

๑๓ พฤศจิ ก ายน ๒๕๕๕ - นายอภิ ช าติ จี ร ะวุ ฒ ิ เลขาธิ ก าร

คณะกรรมการการอุดมศึกษา นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา พร้ อ มด้ ว ยผู ้ บ ริ ห าร สำนั ก งาน

คณะกรรมการการอุดมศึกษา เข้าร่วมพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ของกระทรวงศึกษาธิการ ณ วัดสามพระยาวรวิหาร โดยมีนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธี

๑๓ พฤศจิ ก ายน ๒๕๕๕ - รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ก ำจร

ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ให้การต้อนรับ นายพงศ์ เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึ กษาธิ การ

ที่เดินทางมาร่วมสนทนาในรายการ ‘ฟันธง’ ประเด็น ‘กองทุนตั้งตัวได้’ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย สทท.๑๑

๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ - นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการ คณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา พร้ อ มด้ ว ยรองศาสตราจารย์

นายแพทย์ ก ำจร ตติ ย กวี รองเลขาธิ ก ารคณะกรรมการการ อุดมศึกษา นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุ ด มศึ ก ษา นางสาวอาภรณ์ แก่ น วงศ์ รองเลขาธิ ก าร

คณะกรรมการการอุดมศึกษา นางสาวสุนันทา แสงทอง ผู้ช่วย เลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา นำคณะผู ้ บ ริ ห าร ข้ า ราชการ และเจ้ า หน้ า ที ่ ข องสำนั ก งานคณะกรรมการการ อุ ด มศึ ก ษา เยี ่ ย มชมการดำเนิ นการของมหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ พระนครศรีอยุธยา ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

22

อนุสารอุดมศึกษา


๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมแสดงความยินดีกับ

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ ในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง

ณ กระทรวงศึกษาธิการ

เล่าเรื่องด้วยภาพ

๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๕ - นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และนางสาวสุนันทา แสงทอง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา พร้อมด้วยข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาเข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตบุคลากรของ สกอ. ภายใต้หัวข้อ ‘การพัฒนาจิตกับประสิทธิภาพการทำงาน’

ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร

๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ - นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมหารือกับ Dr.Shaheer Nesari, Senior Advisor to the Minister and Acting Coordinater, SHEP และ Prof. Mohammad Hassan Rashiq, Director of Academic Affairs เกี่ยวกับการส่งนักศึกษาชาวอัฟกานิสถานมาศึกษาในประเทศไทย และขอคำแนะนำเกี่ยวกับสถานที่ที่จะเข้าศึกษา

ณ ห้องประชุมผู้บริหาร สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

อนุสารอุดมศึกษา

23


เลื อ กเรี ย นอะไร

..มหาวิ ท ยาลั ย ไหน..ไร ซึ่ ง ป ญ หา ตรวจสอบกอนตัดสินใจ ตรวจสอบขอมูลไดที่ http://www.mua.go.th/users/bhes/index.htm หรือสอบถามขอมูลไดที่หมายเลข ๐ ๒๖๑๐ ๕๓๗๘ - ๘๐ หลักสูตรทุกสาขาวิชา

• ตองเปนไปตามเกณฑมาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา และผานการรับทราบจาก สกอ. • ตองผานการรับรองจากองคกรวิชาชีพ (กรณีสาขาวิชาที่ตองสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ) • ตองผานการรับทราบจากคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กรณีหลักสูตรที่จัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง)

สถาบันอุดมศึกษา

• ควรผานมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน • ควรผานมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอกจาก สมศ. • ควรมีขอมูลระบบการลงทะเบียนที่ถูกตอง • ควรมีรายชื่อและคุณวุฒิของอาจารยประจำหลักสูตรจากเอกสารหลักสูตร ที่ผานการรับทราบจาก สกอ. • ควรใหบริการตางๆ ตามสิทธิที่นิสิตนักศึกษาพึงจะไดรับ

สำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา (สกอ.) ๓๒๘ ถนนศรี อ ยุ ธ ยา แขวงทุ ง พญาไท เขตราชเทวี กรุ ง เทพฯ ๑๐๔๐๐ โทรศั พ ท ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๖ http://www.mua.go.th Facebook : www.facebook.com/ohecthailand Twitter : www.twitter.com/ohec_th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.