อนุสารอุดมศึกษา issue 415

Page 1

ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๔๑๕ ประจำเดือนมกราคม ๒๕๕๖ เอกสารเผยแพร่ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ISSN 0125-2461

อนุสารอุดมศึกษาออนไลน์ www.mua.go.th/pr_web

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๖


สารบัญ

ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๔๑๕ ประจำเดือนมกราคม ๒๕๕๖

เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย กิจกรรมวิ่ง-ปั่นจักรยานทางไกลเพื่อช่วยเหลือครูชายแดนใต้ ๓

เรื่องแนะนำ สาระโดยสรุปของแผนพัฒนาการศึกษา ระดับอุดมศึกษาฉบับที่ ๑๑ ( พ.ศ.๒๕๕๕ – ๒๕๕๙ )

เรื่องเล่าอาเซียน

การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน ครั้งที่ 16 ณ นครเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

เรื่องพิเศษ กองทุนตั้งตัวได้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เล่าเรื่องด้วยภาพ

๑๓

๑๖

๑๖ ๒๒

๑๓ คณะผู้จัดทำ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๒๖ เว็บไซต์ http://www.mua.go.th อีเมล์ pr_mua@mua.go.th นายอภิชาติ จีระวุฒิ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติยกวี นางวราภรณ์ สีหนาท นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ นายศิระวิทย์ คลี่สุวรรณ ที่ปรึกษา บรรณาธิการ นายกฤษณ์กร วงศ์ไทย กองบรรณาธิการ นางสาวปิยาณี วิริยานนท์ นางชุลีกร กิตติก้อง นายเจษฎา วณิชชากร นางปราณี ชื่นอารมณ์ นายพรชัย สิทธินันทน์ นายจรัส เล็กเกาะทวด บริษัท ออนป้า จำกัด ผู้พิมพ์


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

กิจกรรม

วิจักรยานทางไกล ่ง-ปั่น เพื่อช่วยเหลือครูชายแดนใต้ นายพงศ์ เทพ เทพกาญจนา รั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารและนายเสริ ม ศั ก ดิ ์ พงษ์ พ านิ ช รั ฐ มนตรี ช ่ ว ยว่ า การ

กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมปล่อยขบวนจักรยานในกิจกรรมการกุศล “วิ่ง-ปั่น จักรยานทางไกลเพื่อสันติภาพแด่ครูชายแดนใต้”

เมือ่ วันที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๖ ทีผ่ า่ นมา ณ หน้ากระทรวงศึกษาธิการ ถนนราชดำเนินนอก โดยมีผบู้ ริหารระดับสูงของทุกองค์กรหลัก

ในกระทรวงศึกษาธิการ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ศิลปิน นักกีฬาและสื่อมวลชน เข้าร่วมในกิจกรรมเป็นจำนวนมาก โดย

ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีนายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาพร้อมด้วย รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการฯ และข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเข้าร่วมในกิจกรรมด้วย อนุสารอุดมศึกษา

3


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

กิจกรรมการกุศล “วิ่ง-ปั่น จักรยานทางไกล เพื่อสันติภาพแด่ครูชายแดนใต้” ครัง้ นี้ มีการวิง่ การกุศลและคณะผูบ้ ริหารจะร่วมปัน่ จักรยานกับนักปัน่ จิตอาสาประกอบด้วย ศิลปินและนักกีฬา จำนวน ๕๐ คัน เพื่อแสวงหาแนวร่วมก่อตั้งทุนของประชาชนในการ ให้ความช่วยเหลือแก่ครอบครัวและทายาทของครูผ้ปู ระสบเคราะห์กรรมในการปฏิบัติหน้าที่ และครู ผู ้ บ าดเจ็ บ จากเหตุ ก ารณ์ ค วามไม่ ส งบในพื ้ นที ่ ช ายแดนใต้ โดยจะใช้ เ ส้ นทาง กรุงเทพ-เชียงราย รวมระยะทาง ๙๙๐ กิโลเมตร ซึ่งวันแรกใช้เส้นทางกรุงเทพมหานครไป ยังจังหวัดนครปฐม จากนั้นจะปั่นขึ้นไปยังจังหวัดต่างๆ ได้แก่ สุพรรณบุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก อุตรดิตถ์ ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ และเชียงราย ซึ่งในแต่ละจังหวัดที่ นั ก ปั ่ นจั ก รยานแวะพั ก จะมี ผู ้ บ ริ ห าร/ข้ า ราชการ ศธ.และชมรมจั ก รยานในจั ง หวั ด

จัดกิจกรรมต้อนรับและร่วมสมทบทุนซึ่งประชาชนในจังหวัดต่างๆ จะสามารถร่วมบริจาค เงินเพื่อร่วมก่อตั้งทุนฯ กับคณะนักกีฬาที่ปั่นจักรยานผ่านได้ตลอดเส้นทาง สำหรับผู้สนใจจะบริจาคเงินเพื่อสมทบร่วมก่อตั้งทุนของประชาชนในการให้ความ ช่วยเหลือแก่ครอบครัวและทายาทของครูผู้ประสบเคราะห์กรรมในการปฏิบัติหน้าที่และ ครูผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนใต้ สามารถร่วมบริจาคเงินโดย นำเข้าบัญชี “กองทุนช่วยเหลือครูชายแดนใต้” ธนาคารกรุงไทย สาขากระทรวง ศึกษาธิการ บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ ๐๕๙-๐-๒๒๒๓๒-๕

4

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องแนะนำ

สาระโดยสรุปของแผนพั ฒ นาการศึ ก ษา ระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ ๑๑ ( พ.ศ.๒๕๕๕ - ๒๕๕๙

)

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ดำเนินการ จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๙) โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วม ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุดมศึกษาอย่างกว้างขวาง และครอบคลุ ม ทุ ก ภู ม ิ ภ าคของประเทศไทยในระดับ เครื อ ข่ า ยอุ ด มศึ ก ษา ๙ เครื อ ข่ า ย โดยแผนพั ฒ นา

การศึ ก ษาฯ ฉบั บ ที ่ ๑๑ ได้ ร องรั บ กั บ แผนพั ฒ นา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ.๒๕๕๕๒๕๕๙) และนโยบายหลักด้านอุดมศึกษาของรัฐบาล ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ให้ความเห็น ชอบแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๙) แล้ว สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงได้เผยแพร่ให้ผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากรด้านการศึกษาใน สถาบันอุดมศึกษาได้รับทราบ และนำไปใช้เป็นแผนแม่บทในการจัดทำแผนพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาของสถาบัน/มหาวิทยาลัยต่อไป อนุสารอุดมศึกษา ขอนำสาระโดยสรุปของแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ ๑๑ เผยแพร่มายังท่านผู้อ่าน เพื่อใช้ ประโยชน์ในการปฏิบตั ริ าชการหรือใช้อา้ งอิงตามสมควร ซึง่ ผูส้ นใจสามารถ download แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ ๑๑ ฉบับสมบูรณ์ได้ที่ www.mua.go.th/users/bpp/developplan

บทสรุปผู้บริหาร

ประเทศไทยอยู่ในช่วงเวลาที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบอย่างรุนแรงมากขึ้น กว่าช่วงที่ผ่านมา เช่นการเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจโลก การรวมกลุ่มเศรษฐกิจภายใต้กรอบการค้าเสรีของอาเซียนกับ จีน ญี่ปุ่น และอินเดีย การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่ส่งผลต่อความ เปลี่ยนแปลงของสังคมไทย โดยเฉพาะการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ สังคมของความเป็นวัตถุนิยม สังคมที่เน้นคุณภาพการศึกษา

โดยเฉพาะคุณภาพบัณฑิต ปัญหาวิกฤติด้านพลังงาน และสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ก่อให้เกิด

ภัยธรรมชาติที่มีความรุนแรงมาก ดังนั้นอุดมศึกษาไทยในช่วงปี ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙ ต้องมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพื่อเป็นแหล่งความรู้ที่ตอบสนองการแก้ไข ปัญหาวิกฤติและชี้นำการพัฒนาอย่างยั่งยืนของชาติและท้องถิ่นโดยเร่งสร้างภูมิคุ้มกันในประเทศให้เข้มแข็งขึ้น ภายใต้หลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง และต้องส่งเสริมการพัฒนาประเทศให้สามารถแข่งขันได้ในประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก โดยให้ความ สำคัญกับการพัฒนาคนและสังคมไทยให้มีคุณภาพ ผลิตกำลังคนที่มีศักยภาพตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน สามารถ ทำงานเพื่อดำรงชีพตนเองและเพื่อช่วยเหลือสังคม มีคุณธรรม มีความรับผิดชอบ และมีสุขภาวะทั้งร่างกายและจิตใจ รวมทั้งพัฒนา อาจารย์ให้เป็นมืออาชีพ และผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพให้เป็นอาจารย์ พัฒนาวิชาชีพอาจารย์ให้เป็นที่ยอมรับของสังคม มีการจัดการเพื่อ พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยใช้ความรู้เทคโนโลยี นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ บนพื้นฐานการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อ

สิ่งแวดล้อม ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาเพื่อประโยชน์สุขที่ยั่งยืนของประเทศไทย ทั้งนี้โดยอาศัยการบริหารจัดการอุดมศึกษาเชิงรุก

ซึ่งมีกลยุทธ์การเงิน และพระราชบัญญัติอุดมศึกษา เป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อน

วิสัยทัศน์ ปี ๒๕๕๙

อุดมศึกษาเป็นแหล่งองค์ความรู้และพัฒนากำลังคนระดับสูงที่มีคุณภาพเพื่อการพัฒนาชาติอย่างยั่งยืน สร้างสังคมการเรียนรู้ ตลอดชีวติ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙) บนพืน้ ฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีบทบาทสูงในประชาคมอาเซียนและมุ่งสู่คุณภาพอุดมศึกษาระดับนานาชาติ อนุสารอุดมศึกษา

5


เรื่องแนะนำ

เข็มมุ่ง / จุดเน้น

ผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ มีศักยภาพตรงตามความต้องการของสังคม มีความคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะ

การสื่อสารและการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีคุณธรรม มีความรับผิดชอบ มีสุขภาวะทั้งร่างกายและจิตใจ เน้นการใช้กลยุทธ์ผ่านการนำ องค์กรเชิงรุก และกลยุทธ์การเงิน รวมทั้งพัฒนาอาจารย์ให้มีความเชี่ยวชาญด้านการสอนและการวิจัย เพื่อให้ได้บัณฑิตที่พึงประสงค์ ทำให้สังคมมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ตัวชี้วัดและเป้าหมายที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ปี ๒๕๕๙ จำนวนรวม ๗ ตัวบ่งชี้

๑. ร้อยละของสถาบันอุดมศึกษาไทยที่ได้รับจัดลำดับในระดับสากล ตามระบบมาตรฐานสากลที่ สกอ. กำหนด ๑) ภาพรวมของประเทศ เท่ากับ ๖ % ๒) กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นเลิศในการสร้างองค์ความรู้เพื่อชี้นำสังคมและเพิ่มขีดความสามารถของประเทศในการ

แข่งขันระดับโลก เท่ากับ ๑๐๐ % ๒. ร้อยละของอาจารย์ที่ได้รับการรับรองศักยภาพความเป็นอาจารย์มืออาชีพตามที่ สกอ. กำหนด เมื่อเทียบกับจำนวนอาจารย์ ทั้งหมด เท่ากับ ๒๕ % ๓. คะแนนเฉลี่ยจากงานวิจัย/งานสร้างสรรค์ที่ตีพิมพ์ / เผยแพร่ต่อจำนวนอาจารย์ ๓.๕๑ (คำนวณจากข้อมูลของ สมศ.

แต่ปรับเป้าหมายให้สอดคล้องตามกลุ่มสถาบัน) ๔. ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาที่ผ่านการสอบใบประกอบวิชาชีพหรือใบรับรองคุณวุฒิเฉพาะสาขาแห่งชาติ เท่ากับ ๑๐๐ % (โดยครอบคลุมความรู้ด้านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศ) ๕. ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต เท่ากับ ≥ ๔.๕๑ ๖. ร้อยละของหลักสูตรที่ได้รับการรับรองมาตรฐานในระดับนานาชาติ โดยหน่วยงานสถาบันวิชาชีพ / องค์กรซึ่งเป็นที่ยอมรับใน ระดับนานาชาติ เท่ากับ ๒๐ % ๗. ร้อยละของสถาบันอุดมศึกษาที่มีการวิเคราะห์ต้นทุนค่าใช้จ่ายต่อหน่วยคุณภาพ เท่ากับ ๑๐๐ %

๔ ยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อน

๔ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ “LEGS” STRATEGY L = Leader of Change Management for Quality Education (All for Quality Education and Quality Education for All) (ยุทธศาสตร์ที่ ๑ เปลี่ยนระบบการนำองค์กรให้ขับเคลื่อนอุดมศึกษาแบบองค์รวม) E = Educator Professional (ยุทธศาสตร์ที่ ๒ พัฒนาอาจารย์ให้เป็นมืออาชีพ และพัฒนาผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพให้เป็นอาจารย์) G = Graduated with Quality and Social Responsibility (ยุทธศาสตร์ที่ ๓ ยกระดับคุณภาพบัณฑิตอย่างก้าวกระโดด) S = Satang Utilization (ยุทธศาสตร์ที่ ๔ ปฏิรูปการบริหารการเงินอุดมศึกษา เพื่อขับเคลื่อนสถาบันอุดมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ)

ยุทธศาสตร์ที่ ๑ เปลี่ยนระบบการนำองค์กรให้ขับเคลื่อนอุดมศึกษาแบบองค์รวม ประเด็นยุทธศาสตร์ / เป้าประสงค์

สร้างความตระหนักในคุณค่าของอุดมศึกษาโดยเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ (Quality Education) โดยมีการกำหนดวิสัยทัศน์ ร่วมด้านอุดมศึกษา เพื่อเป็นเป้าหมายในการบริหารอุดมศึกษาของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ มีการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการบริหารจัดการอุดมศึกษาในลักษณะเชิงรุกให้มีขีดสมรรถนะสูงมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ บนพื้นฐาน ของสารสนเทศอุดมศึกษาที่ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน โดยเฉพาะการพัฒนาบัณฑิตที่ตอบสนองความต้องการของสังคมที่ต้องคำนึงถึงการ เคลื่อนย้ายแรงงานและความต้องการที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละภูมิภาค (Manpower Mobilization and Demographic Change) สร้างความ เชื่อมั่นในคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาให้มีมาตรฐานสากล เป็นศูนย์กลางทางการศึกษา กลยุทธ์ ๑.๑ กำหนดคุณค่าและสร้างวิสัยทัศน์ร่วมของอุดมศึกษาไทย เพื่อเปลี่ยนกระบวนทัศน์การนำองค์กร ของผู้บริหารระดับสูงทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอุดมศึกษา

6

อนุสารอุดมศึกษา


อนุสารอุดมศึกษา

เรื่องแนะนำ

ตัวอย่างโครงการ/กิจกรรม ๑) โครงการสร้ า งแผนยุ ท ธศาสตร์ (Strategic Plan) และแผนที ่ ยุทธศาสตร์ (Strategic Map) ของอุดมศึกษาไทยโดยการกำหนดคุณค่า และวิสัยทัศน์ร่วม จากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุดมศึกษา ๒) โครงการสร้ า งความร่ ว มมื อ ของทุ ก สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาและ

สถานศึกษาทุกระดับในการผลิตบัณฑิตตามความต้องการของสังคม (Demand Side) ๓) กำหนดคุณค่าของอุดมศึกษาและทิศทางอุดมศึกษาระยะยาว โดยการมี ส ่ ว นร่ ว มของประชาคม เพื ่ อ พั ฒ นากรอบแผนอุ ด มศึ ก ษา

ระยะยาว ๑๕ ปีฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๑ – ๒๕๖๕) ให้สอดคล้องกับ สถานการณ์ปัจจุบัน ๑.๒ บริหารอุดมศึกษา โดยยึดเป้าหมายอุดมศึกษาตามกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว ๑๕ ปี ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๑ -๒๕๖๕) อย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างโครงการ/กิจกรรม ๑) การจัดทำพระราชบัญญัติอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยการมีส่วนร่วมของประชาคมอุดมศึกษา ๒) โครงการติดตามประเมินผลการดำเนินการตามตัวบ่งชี้ของกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว ๑๕ ปี ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๑ ๒๕๖๕) ๓) จัดทำแผนที่เดินทาง (Roadmap) ของอุดมศึกษาไทยตามกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว ๑๕ ปี ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๑ ๒๕๖๕) ฉบับปรับปรุง ๑.๓ สร้างระบบการประเมินศักยภาพ และพัฒนาผู้บริหารระดับสูง กรรมการสภาของสถาบันอุดมศึกษา ตัวอย่างโครงการ/กิจกรรม ๑) โครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำเชิงรุกของทุกสถาบันอุดมศึกษา โดยผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในที่ประชุมหรือ

เครือข่ายผู้บริหารระดับสูง และ หลักสูตร IOD (Institute of Directors) ๒) โครงการเตรียมบุคลากรของสถาบันเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหาร ๓) โครงการพัฒนาผู้บริหารสถาบันให้มีความเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนอุดมศึกษาแบบองค์รวม ๔) โครงการประเมินเพื่อเพิ่มศักยภาพกรรมการสภาสถาบันให้มีความเป็นเลิศในการนำองค์กร ๑.๔ สร้างระบบการปิดและยุบรวม หลักสูตร / คณะวิชา / มหาวิทยาลัย : โดยใช้ผลการประเมินคุณภาพทั้งภายใน และภายนอกเป็นเครื่องมือ ตัวอย่างโครงการ/กิจกรรม ๑) พัฒนาระบบการปิดและยุบรวม หลักสูตร / คณะวิชา / มหาวิทยาลัย ที่ไม่มีคุณภาพตามมาตรฐานของประเทศ ๑.๕ พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของสารสนเทศอุดมศึกษา (Hardware, Software, People ware) ที่เชื่อมโยงข้อมูล ระหว่างข้อมูลสารสนเทศการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษาและอุดมศึกษา เพื่อใช้ในการบริหารจัดการและพัฒนาสถาบัน อุดมศึกษาทั้งในสังกัดและนอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ตัวอย่างโครงการ / กิจกรรม ๑) จัดตั้งศูนย์สารสนเทศอุดมศึกษาแห่งชาติเป็นแหล่งที่รวบรวมและเชื่อมโยงสารสนเทศอุดมศึกษาไทยที่มีความถูกต้อง

ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน ๒) จัดทำฐานข้อมูลด้านการผลิตกำลังคนของประเทศในส่วนของ demand และ supply side ที่เชื่อมโยงกับข้อมูลในทุกสถาบัน อุดมศึกษา ๑.๖ ต่อยอดสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำระดับโลก ตัวอย่างโครงการ/กิจกรรม ๑) สร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อมให้กับผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากรสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งเพื่อรองรับ ประชาคมอาเซียน

7


เรื่องแนะนำ

๒) โครงการสนับสนุนงบประมาณมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ๓) โครงการสนับสนุนทุนการศึกษาและวิจัยหลังปริญญาเอก ๑.๗ ยกระดับอุดมศึกษาไทยให้เป็นผู้นำด้านอุดมศึกษาของประชาคมอาเซียน ตัวอย่างโครงการ / กิจกรรม ๑) จัดตั้งศูนย์ทดสอบศักยภาพบัณฑิตของภูมิภาคอาเซียน ๒) โครงการประเมินประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มและพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศให้แข่งขันได้ในเวทีโลก ๓) โครงการสนับสนุนให้สถาบันการศึกษาที่มีความพร้อมเปิดสอนภาษาและวัฒนธรรมของสมาชิกอาเซียน ๔) โครงการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ตอบสนองการอยู่ร่วมกันของประชาคมอาเซียนอย่างสันติสุข ๑.๘ สร้างระบบและกลไกเพื่อรองรับความร่วมมือร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐ สถาบันอุดมศึกษาภาคเอกชน และหน่วยงานภาคการผลิต ในด้านการเรียนการสอนและการวิจัย ตัวอย่างโครงการ / กิจกรรม ๑) สัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างระบบและกลไกรองรับความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับหน่วยงานภาคการผลิต ๒) จัดตั้งศูนย์ทดสอบศักยภาพบัณฑิตของภูมิภาคอาเซียน ๓) โครงการนำร่องสร้างความร่วมมือของเครือข่ายสภาวิชาชีพ ทั้งในสังกัดและนอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ในด้านการสร้าง มาตรฐานบัณฑิตวิชาชีพ ๔) โครงการนำร่องสร้างความร่วมมือของเครือข่ายในแต่ละกลุ่มสถาบันตามความเป็น เลิศทั้งในสังกัดและนอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ๕) โครงการวางแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศที่สอดคล้องกับความ ต้องการในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศ ๑.๙ พั ฒ นาระบบ โครงสร้ า ง และบทบาทหน้ า ที่ ข องสำนั ก งานคณะกรรมการ

การอุดมศึกษา ตัวอย่างโครงการ / กิจกรรม ๑) สัมมนาเชิงปฏิบัติการของผู้บริหารระดับสูงทั้งในกระทรวงและนอกกระทรวง ศึกษาธิการ รวมทั้งสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่ง เพื่อพัฒนาระบบ โครงสร้างและบทบาท หน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ๒) โครงการจัดตั้งกระทรวงอุดมศึกษา

ยุ ท ธศาสตร์ ที่ ๒ พั ฒ นาอาจารย์ ใ ห้ เ ป็ น มื อ อาชี พ และพั ฒ นาระบบ

ผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพให้เป็นอาจารย์

ประเด็นยุทธศาสตร์/เป้าประสงค์ อาจารย์มีจำนวนเพียงพอ ตรงความต้องการในการผลิตบัณฑิต มีความสามารถในการทำงานวิจัย งานสร้างสรรค์และ

นวัตกรรม มีทักษะประสบการณ์ในการถ่ายทอดความรู้ที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก มีจิตวิญญาณความเป็นครู มีคุณธรรม จริยธรรม สามารถดำรงตนอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี ได้รับการยกย่องจากสังคมและมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ

รวมทั้งพัฒนาผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ทางวิชาการหรือวิชาชีพ ให้เข้าสู่การเป็นอาจารย์ กลยุทธ์ ๒.๑ เพิ่มปริมาณอาจารย์ให้ตรงตามความต้องการในการผลิตบัณฑิต ตัวอย่างโครงการ / กิจกรรม ๑) จัดทำแผนการผลิตอาจารย์ให้มีจำนวนที่เพียงพอและพัฒนาให้มีคุณภาพที่ตรงกับความต้องการในการผลิตบัณฑิตของ ประเทศ โดยการมีส่วนร่วมของสถาบันอุดมศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วน ๒) โครงการอาจารย์รักษ์บ้านเกิด โดยการคัดเลือกและให้ทุนนักศึกษาที่เรียนดี มีความสามารถได้เป็นอาจารย์ เพื่อสนับสนุนให้ ทำงานในมหาวิทยาลัยที่อยู่ในภูมิลำเนา ๓) จัดสรรทุนการศึกษาต่อระดับปริญญาเอกของอาจารย์

8

อนุสารอุดมศึกษา


อนุสารอุดมศึกษา

เรื่องแนะนำ

๒.๒ พัฒนาอาจารย์ให้เป็นมืออาชีพอย่างเป็นระบบ มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ มีจิตวิญญาณความเป็นครู

มีคุณธรรม พัฒนาตนเองด้านวิชาการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง หาโอกาสในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ

เพื่อให้มีความรู้ที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของวิทยาการ ตัวอย่างโครงการ / กิจกรรม การพัฒนาอาจารย์ ๑) จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพความเป็นอาจารย์มืออาชีพ ของอาจารย์ เช่น โครงการ สหกิจอาจารย์ การเข้ารับการอบรม เทคนิคการสอน การวิจัย การพัฒนาความรู้ตามวิชาชีพ ๒) สนับสนุนเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กร ระดับอุดมศึกษา (POD) ๓) ประเมินสมรรถนะหลักของอาจารย์ และพัฒนาอาจารย์ให้ เป็นมืออาชีพด้วยรูปแบบที่หลากหลายและต่อเนื่อง ๔) โครงการสร้ า งอาจารย์ ม ื อ อาชี พ รุ ่ น ใหม่ โดยใช้ ร ะบบ อาจารย์พี่เลี้ยง ๕) การสนับสนุนการแลกเปลี่ยนอาจารย์ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ ๖) โครงการผลิตตำราแห่งชาติ ๗) โครงการสร้างครูต้นแบบและมอบรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติอาจารย์ ๘) โครงการสหกิจอาจารย์ ๙) โครงการแลกเปลี่ยนอาจารย์ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ด้านการวิจัยและบริการชุมชน ๑) โครงการศึกษา/สำรวจและแลกเปลี่ยนความต้องการของชุมชนกับสถาบันอุดมศึกษา ๒) โครงการจัดเวทีเพื่อเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ให้บริการวิชาการกับชุมชน ๓) โครงการสร้างฐานข้อมูลจุดเด่น / ทรัพยากร / ศักยภาพ / ภูมิปัญญาของชุมชนโดยผ่านกระบวนการการจัดการความรู้ ๔) โครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบ ที่มีระบบการจัดการความรู้และการดำเนินงานสร้างองค์ความรู้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและ เศรษฐกิจของชุมชน ๕) โครงการพี่เลี้ยง/ที่ปรึกษาทางวิชาการแก่ชุมชน / ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ๖) โครงการร่วมมือสร้างงานวิจัยกับภาคอุตสาหกรรมและภาครัฐ ๗) จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศในการขับเคลื่อนการสร้างองค์ความรู้ เพื่อสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เอื้อให้ประเทศไทยเปลี่ยน สถานภาพจากการเป็นฐานการผลิตทางอุตสาหกรรมอย่างง่ายไปสู่ฐานการผลิตที่มีมูลค่าสูงขึ้น รวมทั้งการพัฒนานวัตกรรมและ

องค์ความรู้ใหม่ในวิทยาการด้านต่างๆ ๘) เพิ่มการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ในสถาบันการศึกษาที่มีความพร้อม ให้ครอบคลุมทุกภูมิภาค ๒.๓ พัฒนาคุณภาพอาจารย์ให้มีความแข็งแกร่งในการทำวิจัย ตัวอย่างโครงการ/กิจกรรม ๑) โครงการสร้างอาจารย์นักวิจัยรุ่นใหม่ โดยใช้ระบบอาจารย์พี่เลี้ยง ๒) พัฒนาระบบสนับสนุนให้เอื้อต่อการทำงานวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๓) ส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อสร้างโอกาสให้บุคลากรที่สนใจด้านการวิจัยเทคโนโลยีและ

สร้างนวัตกรรมใหม่ๆด้านอุตสาหกรรมการผลิตและบริการเพื่อลดระดับการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ๔) สนับสนุนทุนวิจัยศักยภาพตามพื้นที่ มีการกำหนดโจทย์วิจัยร่วมกับจังหวัด โดยนำผลการวิจัยมาจัดทำแผนการผลิต

ในเชิงพาณิชย์และแผนการตลาดของสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของตลาดในประเทศและต่างประเทศ ๕) พัฒนาระบบและกลไกในการสนับสนุนให้อาจารย์มีตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้น ๖) สร้างเครือข่ายการวิจัยของทุกกลุ่มสถาบันพัฒนาโจทย์วิจัยที่ตรงกับปัญหาและความต้องการในการพัฒนาประเทศ ๗) ส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อสร้างโอกาสให้บุคลากรที่สนใจด้านการวิจัยเทคโนโลยีและ

สร้างนวัตกรรมใหม่ๆด้านอุตสาหกรรมการผลิตและบริการเพื่อลดระดับการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ

9


เรื่องแนะนำ

๘) พัฒนากำลังคนระดับสูงเพื่อวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ใหม่ ให้สามารถแก้ปัญหาและความต้องการของประเทศ รวมทั้งแข่งขันได้ในตลาดโลกโดยร่วมมือกับภาคการผลิตและนานาชาติ โดยเฉพาะประเทศที่ประสบความสำเร็จ ๙) ส่งเสริมให้วารสารระดับชาติมีการยกระดับเป็นวารสารระดับนานาชาติ ๒.๔ ปฏิรูประบบค่าตอบแทนอาจารย์ โดยเน้น performance based payment ควบคู่ไปกับการส่งเสริม ให้ได้ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ที่ทำงานในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อจูงใจในการทำงาน ตัวอย่างโครงการ / กิจกรรม ๑) โครงการส่งเสริมให้อาจารย์เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ เช่น โครงการผลิตตำราแห่งชาติ ๒) โครงการปฏิรูปโครงสร้างเงินเดือน ค่าตอบแทนอาจารย์ แก่อาจารย์ที่ทำงานในสถาบันอุดมศึกษา โดยผ่านการประเมิน ศักยภาพความเป็นอาจารย์ เช่น สอบผ่านภาษาอังกฤษ การวิจัย ทักษะด้านเทคโนโลยี ๓) โครงการเชิดชูเกียรติ อาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญที่สร้างคุณูปการแก่ประเทศ เป็นบุคคลสำคัญของชาติ /ปราชญ์ของแผ่นดิน ๒.๕ พัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญเพื่อดึงดูดผู้มีความสามารถทางวิชาการหรือวิชาชีพเป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ตัวอย่างโครงการ / กิจกรรม ๑) โครงการสร้างระบบการเข้าสู่ตำแหน่งอาจารย์สมทบของผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญมีประสบการณ์ทางวิชาการวิชาชีพ

ยุทธศาสตร์ที่ ๓ ยกระดับคุณภาพบัณฑิตอย่างก้าวกระโดด

ประเด็นยุทธศาสตร์ / เป้าประสงค์ ยกระดับคุณภาพบัณฑิต โดยเปลี่ยนกระบวนทัศน์การเรียนรู้ของบัณฑิต ให้มีคุณภาพตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ อุดมศึกษา อย่างน้อย ๕ ด้าน ได้แก่ ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะ การวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีกระบวนทัศน์ใหม่ใน การเรียนรู้และสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต มีจิตอาสาและความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของโลก ดำรงไว้ ซึ่งเอกลักษณ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้บัณฑิตมีดุลยภาพ ระหว่างเก่งงานและเก่งความดี โดยเน้นความรับผิดชอบ มีสุขภาวะ ทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อตนเองและสังคม สามารถปรับตัว

เข้ากับสภาพงานที่เปลี่ยนแปลง โดยมีการติดตามประเมินคุณภาพและพัฒนาบัณฑิตหลังเข้าสู่ตลาดงาน กลยุทธ์ ๓.๑ พัฒนาระบบการเข้าศึกษาในอุดมศึกษา ระบบการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นหลากหลายใน ทุกกลุ่มวัย และการสำเร็จการศึกษา ตัวอย่างโครงการ / กิจกรรม ระบบการศึกษาต่อ ๑) โครงการพัฒนาระบบการเรียนแบบสะสมหน่วยกิต การถ่ายโอนหน่วยกิตและระบบเทียบโอนประสบการณ์การทำงาน ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาภายในประเทศและภูมิภาคอาเซียน ๒) โครงการพัฒนาระบบการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล มีความหลากหลายตรงกับ ศักยภาพของนักเรียนที่ครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ทักษะความสามารถพิเศษและคุณธรรม และมีความสอดคล้องกับความต้องการ ของสังคม ๓) โครงการวางแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศที่สอดคล้องกับ ความต้องการในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศทุกสาขาวิชา ๔) โครงการพัฒนาผู้เรียนระดับมัธยมศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมในการ ศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา โดยพัฒนาหลักสูตร/รายวิชา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ บูรณาการและเชื่อมโยงความรู้ที่ได้จากการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับอาชีวศึกษา กับสถาบันอุดมศึกษา ๕) โครงการพัฒนาและใช้แบบทดสอบความถนัดทางทักษะความสามารถ ของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในด้านที่ตรงกับความถนัด ทักษะและ ความสามารถ โดยมีการทดสอบเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง ๖) โครงการแนะแนวเส้นทางอาชีพสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

10

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องแนะนำ

ระบบการเรียนรู้ ๑) พัฒนาหลักสูตรระยะสั้น ที่ส่งเสริมวิชาชีพและการเรียนรู้ ๒) โครงการเพิม่ โอกาสทางการเรียนรู้ ตลอดชีวติ โดยให้สถาบันอุดมศึกษาร่วมมือกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน (สพฐ.) และ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ๓) โครงการพัฒนาคุณลักษณะของความเป็นผู้นำ รวมทั้งปลูกฝังให้นักศึกษาตระหนักในการดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๔) โครงการพัฒนาต่อยอดความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นและปลูกฝังให้ผู้เรียนรักษ์ท้องถิ่นมากขึ้น ๕) ส่งเสริมให้บัณฑิตทุกคนสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษ ๓.๒ ยกระดับคุณภาพของหลักสูตร ให้ได้รับการรับรองในระดับอาเซียนและระดับโลก ตัวอย่างโครงการ / กิจกรรม ๑) โครงการพัฒนาหลักสูตรที่ตรงตามความต้องการของสังคมโดยเน้น Work-Integrated Learning และมีมาตรฐานในระดับ นานาชาติ ๒) โครงการจัดทำหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนร่วมกับสถาบันการศึกษาในภูมิภาคอาเซียน ๓) โครงการสร้างความร่วมมือ partnership กับผู้ประกอบการรายใหญ่ในการผลิตบัณฑิต ทำให้เกิด Corporate University

เพื่อให้เกิดทักษะวิชาชีพตรงกับตลาดงาน ๔) พัฒนาแนวทางปฏิบัติการจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อการศึกษา ๕) สร้างระบบการเรียนรู้แบบสะสมหน่วยกิต การถ่ายโอนหน่วยกิตและระบบเทียบโอนประสบการณ์การทำงาน ระหว่าง สถาบันอุดมศึกษาภายในประเทศและภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งมีการประชาสัมพันธ์ให้สังคมไทยรับทราบ ๖) โครงการสร้างความรู้ ความเข้าใจและความตระหนักให้กับประชาคมอุดมศึกษาในการจัดการเรียนรู้ของบัณฑิตตามกรอบ มาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ ๗) สนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาที่มีความพร้อมให้มีการจัดทำหลักสูตรร่วมกับสถาบันการศึกษาในภูมิภาคอาเซียน ๘) โครงการสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาที่มีหลักสูตรนานาชาติได้รับการรับรองมาตรฐานโดยหน่วยงานวิชาชีพที่เป็นสถาบัน/ องค์กรซึ่งเป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ ๓.๓ สร้างระบบและกลไก เพื่อจัดสอบใบรับรองคุณวุฒิเฉพาะสาขาแห่งชาติของ ทุกหลักสูตร ตัวอย่างโครงการ / กิจกรรม ๑) โครงการจัดสอบใบประกอบวิชาชีพหรือใบรับรองคุณวุฒิเฉพาะสาขาแห่ง ชาติ ๒) โครงการความร่วมมือกับสมาคมวิชาชีพ/สภาวิชาชีพและองค์กรผู้ใช้บัณฑิต ทั ้ ง ภาครั ฐ และเอกชนในการสร้ า ง/พั ฒ นา/บริ ห ารหลั ก สู ต รร่ ว มกั น กั บ สถาบั น อุดมศึกษา ๓) โครงการเตรียมการและดำเนินการจัดสอบ ใบประกอบวิชาชีพหรือใบรับรอง คุณวุฒิเฉพาะสาขาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ๓.๔ ระบบติดตาม ประเมินและพัฒนาบัณฑิตหลังเข้าสู่ตลาดงาน ตัวอย่างโครงการ / กิจกรรม ๑) โครงการติดตามและพัฒนาคุณภาพบัณฑิตภายหลังเข้าสู่ตลาดงานเพื่อ พัฒนาศักยภาพของบัณฑิตหลังเข้าสู่ตลาดงาน ๒) โครงการกองทุนตั้งตัวได้ /จัดตั้งบริษัทของสถาบันอุดมศึกษา

ยุทธศาสตร์ที่ ๔ ปฏิรูปการบริหารการเงินอุดมศึกษา เพื่อขับเคลื่อนสถาบันอุดมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ

ประเด็นยุทธศาสตร์ / เป้าประสงค์ ใช้ยุทธศาสตร์การเงินเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนและเป็นกลไกกำกับเชิงนโยบายให้สถาบันอุดมศึกษาการพัฒนาให้บรรลุ

เป้าหมายตามแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๙) และก้าวสู่ความเป็นเลิศตามกลุ่มสถาบัน ครอบคลุมการจัดสรรทุนการศึกษา เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษา มีการระดมทุนจากทุกภาคส่วนและบูรณาการในการใช้ทรัพยากร ร่วมกันและมีการกำกับติดตามประเมินผลระดับความสำเร็จของการดำเนินงานจากการใช้จ่ายงบประมาณอย่างเข้มงวด อนุสารอุดมศึกษา

11


เรื่องแนะนำ กลยุทธ์ ๔.๑ วิเคราะห์ต้นทุนค่าใช้จ่ายต่อหน่วยคุณภาพ (quality unit cost) เพื่อกำหนดความชัดเจนของโครงสร้างการเงิน อุดมศึกษาให้มีการจัดสรรงบประมาณแก่สถาบันอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับความเป็นจริงในการดำเนินภารกิจของสถาบัน อุดมศึกษาและสามารถส่งเสริมความเป็นเลิศในแต่ละกลุ่มสถาบัน ตัวอย่างโครงการ / กิจกรรม ๑) โครงการศึกษาต้นทุนค่าใช้จ่ายต่อหน่วยคุณภาพ (quality unit cost) ในการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละกลุ่ม ตามความเป็นเลิศ ๒) สนับสนุนงบประมาณตามกลุ่มสถาบันที่มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการ โดยเน้นความเป็นเลิศตามวัตถุประสงค์

วิสัยทัศน์ พันธกิจและเอกลักษณ์ของสถาบันอุดมศึกษาเป็น ๖ กลุ่ม ได้แก่ - สถาบันอุดมศึกษาที่เป็นเลิศในการพัฒนาศักยภาพด้านอาชีพและการดำรงชีวิต - สถาบันอุดมศึกษาที่เป็นเลิศในการสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติ - สถาบันอุดมศึกษาที่เป็นเลิศในการผลิตบัณฑิตนักวิชาการ - สถาบันอุดมศึกษาที่เป็นเลิศในการผลิตบัณฑิตและสร้างองค์ความรู้เฉพาะทาง/เฉพาะวิชาชีพ - สถาบันอุดมศึกษาที่เป็นเลิศในการพัฒนาสังคมและท้องถิ่นไทย - สถาบันอุดมศึกษาที่เป็นเลิศในการสร้างองค์ความรู้ เพื่อชี้นำและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับโลก ๔.๒ จัดทำแผนกลยุทธ์การเงินให้สอดคล้องกับเป้าหมายของสถาบันอุดมศึกษา และแผนพัฒนาการศึกษา ระดับอุดมศึกษาฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๙) ตัวอย่างโครงการ / กิจกรรม ๑) โครงการจัดทำแผนกลยุทธ์การเงินเพื่อระดมทุน และจัดสรรงบประมาณอุดมศึกษา ที่สอดคล้องกับเป้าหมายของแผน พัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๙) โดยพิจารณาจากค่าใช้จ่ายต่อหน่วยคุณภาพ (quality unit cost) ๒) โครงการจัดตั้งกองทุนพัฒนาอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการ รวมถึงเป็น

งบประมาณสำรองเพื่อรองรับการเชื่อมโยงอุดมศึกษากับภารกิจของประเทศ ให้มีความคล่องตัว ๓) จัดสรรงบประมาณจากรัฐ โดยพิจารณาจากพันธกิจและผลการประเมินของ สมศ. ๔) สนับสนุนให้มีการจัดตั้งบริษัทของสถาบันอุดมศึกษาผ่านระบบกองทุนตั้งตัวได้ เพื่อผลิตงานวิจัยต่อยอด ๕) สนับสนุนให้มีการจัดตั้งหน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology Licensing Office) ที่ได้จาก การวิจัยต่อยอดองค์ความรู้ ๔.๓ จัดสรรทุนการศึกษาเพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาโดยคำนึงถึงความต้องการกำลังคนของประเทศ ตัวอย่างโครงการ / กิจกรรม ๑) โครงการสนับสนุนทุนการศึกษาในสาขาวิชาที่สอดคล้องกับความต้องการด้านกำลังคนของประเทศ ผ่านกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อ การศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) ๒) โครงการเพิ่มห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยความร่วมมือจากสถาบันอุดมศึกษา ๓) สนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษา/หน่วยงานเอกชน/ภาครัฐ ให้ทุนการศึกษากับผู้เรียนที่มีศักยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ได้มีโอกาสเข้าศึกษาต่อ ๔.๔ กำกับ ติดตามประเมินผลการใช้งบประมาณอย่างเหมาะสม (utilization management) ตามพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษา ตัวอย่างโครงการ / กิจกรรม ๑) โครงการติดตามประเมินผลระดับความสำเร็จของการใช้งบประมาณตามพันธกิจและเป้าหมายของสถาบันอุดมศึกษา ๒) โครงการสร้างระบบในการใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษา

12

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องเล่าอาเซียน

การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน ครั้งที่ ๑๖ ณ นครเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน ครั้งที่ ๑๖ สภากีฬามหาวิทยาลัยอาเซียนได้มอบหมายให้สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว เป็นเจ้าภาพจัดขึน้ ระหว่างวันที่ ๑๒ - ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๕ ณ นครเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยจัดการแข่งขันทั้งสิ้น ๑๘ ชนิดกีฬา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมกับ คณะกรรมการบริหารกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ส่งคณะนักกีฬาจาก มหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและเจ้าหน้าที่จากสถาบันอุดมศึกษารวม ๓๘๘ คน เข้าร่วมในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน ครั้งที่๑๖ ณ นครเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมี

๑๑ ประเทศในภูมิภาคอาเซียน ส่งนักกีฬาซึ่งเป็นนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเข้าร่วมการแข่งขัน ได้แก่ ไทย มาเลเซีย สิงค์โปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บรูไนดารุสซาลาม เวียดนาม กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และติมอร์-เลสเต คณะนักกีฬาจากมหาวิทยาลัย / สถาบันอุดมศึกษาไทยเข้าร่วมในการแข่งขัน ๑๖ ชนิดกีฬา(ยกเว้นกีฬาวูซู กับกีฬายิงธนู

ที่ประเทศไทยไม่ได้ส่งนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขัน) ได้แก่ ๑.กรีฑา (ชาย-หญิง) ๒.ว่ายน้ำ (ชาย-หญิง) ๓.แบดมินตัน (ชาย-หญิง) ๔.บาสเกตบอล (ชาย-หญิง) ๕.ฟุตบอล (ชาย-หญิง) ๖.ยูโด (ชาย-หญิง) ๗.คาราเต้-โด (ชาย-หญิง) ๘.เซปัคตะกร้อ (ชาย-หญิง)

๙.เทเบิลเทนนิส (ชาย-หญิง) ๑๐.เทควันโด (ชาย-หญิง) ๑๑.เทนนิส (ชาย-หญิง) ๑๒.วอลเล่ย์บอล (ชาย-หญิง) ๑๓.วอลเล่ย์บอล ชายหาด (ชาย-หญิง) ๑๔.ปันจักสีลัต(ชาย-หญิง) ๑๕.เปตอง (ชาย-หญิง) ๑๖.มวย (ชาย)

อนุสารอุดมศึกษา

13


เรื่องเล่าอาเซียน ผลการแข่งขันนักกีฬาจากมหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษาไทย ได้เหรียญรางวัลรวมเป็นอันดับ ๓ จำนวนทั้งสิ้น ๑๕๓ เหรียญ และได้เหรียญทองเป็นอันดับ ๓ จากการแข่งขัน ๑๕ ชนิดกีฬา (ยกเว้นปันจักสีลัต ที่ประเทศไทยไทยไม่ได้เหรียญ) แบ่งเป็นเหรียญ ทอง ๔๕ เหรียญ/เหรียญเงิน ๕๒ เหรียญ / เหรียญทองแดง ๕๖ เหรียญ ลำดับของจำนวนเหรียญรางวัลรวม มีดังนี้มาเลเซียได้อันดับที่ ๑ อินโดนีเซียได้อันดับที่ ๒ ไทยได้อันดับที่ ๓ เวียดนามได้อันดับ ที่ ๔ ลาวได้อันดับที่ ๕ ลำดับของจำนวนเหรียญทอง มีดังนี้มาเลเซียได้อันดับที่ ๑ เวียดนามได้อันดับที่ ๒ ไทยได้อันดับที่ ๓ อินโดนีเซียได้อันดับที่ ๔ ลาวได้อันดับที่ ๕ ลำดับ

อนุสารอุดมศึกษา

เหรียญทอง

เหรียญเงิน

เหรียญทองแดง

รวม

Aquatics

๑๑

๑๒

๒๗

Athletcs

๑๑

๒๔

Judo

๑๖

Taekwondo

๑๓

Tennis

๑๒

Petanque

๑๑

Karate-do

๑๑

Badminton

SepakTakraw

๑๐

Table Tennis

๑๑

Muay

๑๒

Volleyball

๑๓

PencakSilat

๑๔

Basketball

๑๕

Football

Total

๔๕

๕๒

๕๖

๑๕๓

14

ชนิดกีฬา


๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑

ประเทศ

เหรียญทอง

เหรียญเงิน

เหรียญทองแดง

รวม

มาเลเซีย

๖๐

๔๘

๗๒

๑๘๐

เวียดนาม

๕๖

๓๕

๒๘

๑๑๙

ไทย

๔๕

๕๒

๕๖

๑๕๓

อินโดนีเซีย

๔๑

๕๒

๖๑

๑๕๔

ลาว

๓๒

๓๕

๔๖

๑๑๓

สิงคโปร์

๒๓

๓๒

ฟิลิปปินส์

๑๒

๑๖

๓๐

เมียนมาร์

กัมพูชา

บรูไน

ติเมอร์-เลสเต

เรื่องเล่าอาเซียน

ลำดับ

อนุสารอุดมศึกษา

15


เรื่องพิเศษ

กองทุนตั้งตัวได้

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ความเป็นมาของกองทุนตั้งตัวได้

รัฐบาลได้แถลงนโยบายเมือ่ วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ข้อ ๑.๑๐.๓ จัดตัง้ กองทุนตัง้ ตัวได้สนับสนุนการสร้างผูป้ ระกอบการรายย่อย เพื่อให้สามารถกู้ยืมเพื่อการสร้างอาชีพ ผนวกกับกลไกของหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถานศึกษา มุ่งให้เกิดวิสาหกิจนวัตกรรมใหม่

ที่จะเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ กองทุนตั้งตัวได้ จึงเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการสร้างวิสาหกิจนวัตกรรม และแนวทาง เศรษฐกิจใหม่ มีวัตถุประสงค์ในการสร้างโอกาสให้ความช่วยเหลือนักศึกษา ผู้สำเร็จการศึกษาหรือบัณฑิตใหม่ ซึ่งมีทักษะและองค์ ความรู้ และต้องการเป็นเจ้าของกิจการ แต่ขาดทุนทรัพย์ หรือหลักทรัพย์ สามารถตั้งตัวได้สำเร็จ โดยการดำเนินการกองทุนตั้งตัว ได้ รัฐบาลประสงค์ให้เกิดกลไกการดำเนินงานร่วมกันของ ๓ ฝ่าย คือ ๑. คณะครู อาจารย์ ๒. ศิษย์เก่า และ ๓. สถาบันการเงิน เพื่อร่วมกันพิจารณาการจัดตั้งกิจการและร่วมกันดูแลช่วยเหลือนักศึกษา เพื่อให้กิจการประสบความสำเร็จสามารถตั้งตัวได้จริง

กรอบวงเงินงบประมาณของกองทุนตั้งตัวได้

คณะรัฐมนตรี ในการประชุมนอกสถานที่ ครั้งที่ ๖ / ๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ได้มีมติเห็นชอบให้จัดตั้ง ทุนหมุนเวียนเป็นกองทุนตั้งตัวได้ ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

และจัดสรรงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๖ วงเงิน ๕,๐๐๐ ล้านบาท (ห้าพันล้านบาทถ้วน) ให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อดำเนินงานและกำหนดแผนสนับสนุนงบประมาณภาพรวมต่อเนื่อง ๔ ปี คือ (๑) ปี ๒๕๕๖ จำนวน ๕,๐๐๐ ล้านบาท

(๒) ปี ๒๕๕๗ จำนวน ๕,๐๐๐ ล้านบาท (๓) ปี ๒๕๕๘ จำนวน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท (๔) ปี ๒๕๕๙ จำนวน ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท

รวม ๔ ปีงบประมาณ เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น ๔๐,๐๐๐ ล้านบาท สำหรับสถาบันการศึกษาที่ร่วมโครงการในระดับอุดมศึกษาและ อาชีวศึกษา เพื่อใช้สนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการรายย่อยร่วมกับการสร้างกลไกของ “หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ” ในสถานศึกษา โดยมุ่งให้เกิดวิสาหกิจนวัตกรรมใหม่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กำหนดให้กองทุนตั้งตัวได้เป็นกองทุนแบบคงเงินต้น และใช้หมุนเวียนให้กู้ยืมแก่

นักศึกษาหรือบัณฑิตที่มีศักยภาพเป็นผู้ประกอบการ ใช้ลงทุนในการเริ่มต้น/หรือขยายธุรกิจของตน ทั้งนี้ ในปี ๒๕๕๖ ตั้งเป้าสร้าง นักศึกษาผู้ประกอบการที่ได้รับการกู้ยืม ไม่น้อยกว่า ๕,๐๐๐ ราย

16

อนุสารอุดมศึกษา


นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ลงนามในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยกองทุนตั้งตัวได้ พ.ศ. ๒๕๕๕

เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๕ และลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙ ตอนพิเศษ ๑๖๒ ง เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๕ เรียบร้อยแล้ว หลักการสำคัญคือเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการลงทุนในเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ เพื่อกระจายโอกาสในการ

เข้าถึงแหล่งทุนแก่นักศึกษากู้ยืมเงินทุนเพื่อสร้างอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ ให้เกิดผู้ประกอบการรายย่อย โดยร่วมมือกับธนาคาร ทั้งของรัฐและเอกชน สมาคมศิษย์เก่า ผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขาวิชา ในการพิจารณาการให้สินเชื่อและเงินลงทุนสำหรับการลงทุน อันจะได้รับประกันการชำระคืนเงินต้น และดอกเบี้ยร่วมกับธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ

เรื่องพิเศษ

หลักการของการดำเนินงานกองทุนฯ

มาตรการและแนวทางในการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่

การดำเนิ นงานเพื ่ อ สร้ า งนั ก ศึ ก ษาเป็ น ผู ้ ป ระกอบการขนาดเล็ ก รุ ่ น ใหม่ รั ฐ บาลได้ ใช้ ก ลไกของหน่ ว ยบ่ ม เพาะวิ ส าหกิ จ

ที่ได้รับมอบอำนาจให้เป็น ABI หรือ Authorized Business Incubators ซึ่งเป็นหน่วยที่พัฒนามาจากหน่วย บ่มเพาะวิสาหกิจเดิม หรือ University Business Incubator (UBI) ทำหน้าที่พี่เลี้ยง พัฒนาแผนธุรกิจ รวมทั้งศึกษาความเป็นไปได้รวมทั้งติดตามให้คำปรึกษา เพื่อ ให้เจ้าของกิจการเข้าสู่ความเป็นมืออาชีพในอนาคต ซึ่งทั้งหมดนี้คือเจตนารมณ์ของกองทุนตั้งตัวได้ กลไกการสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพนักศึกษาหรือผู้สำเร็จการศึกษาให้เป็นผู้ประกอบการใหม่ที่มีความเข้มแข็งทางธุรกิจ

ก็คือ นักศึกษา/ศิษย์เก่าจะสมัครเข้ารับการบ่มเพาะธุรกิจ และพัฒนาเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ (Product) ในหน่วย ABI (Authorized Business Incubators) ซึ่งเป็นศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษาหรือหน่วย UBI เดิม ที่มีสถานภาพเป็นหน่วยงานในสถาบัน อุดมศึกษา ๕๖ แห่งทั่วประเทศ ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานจัดหาผู้เชี่ยวชาญธุรกิจ และพัฒนาเทคโนโลยี ให้องค์ความรู้

เพื่อพัฒนานักศึกษาเป็นผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรม / ความคิดสร้างสรรค์ และหน่วย ABI จะจัดหาพื้นที่สำนักงานและระบบ บริหารจัดการในระยะเริ่มต้นธุรกิจเพื่อให้ผู้ประกอบการได้เช่าใช้ประโยชน์ในราคาต่ำ โดยกองทุนตั้งตัวได้ร่วมกับสถาบันการเงิน จัดสรรเงินกู้ยืมตาม Business Plan และผู้กู้ยืมดำเนินธุรกิจของตนภายใต้การดูแลของหน่วย ABI และส่งชำระคืนเงินต้นพร้อม

ดอกเบี้ยในกรอบเวลาที่เหมาะสม

วิธีการและวงเงินที่ให้กู้ยืม

กองทุนตั้งตัวได้กำหนดเพดานเงินกู้ยืมแก่นักศึกษาผู้ประกอบการเฉพาะเงินของกองทุนฯ ภายในวงเงินไม่เกิน ๑.๐ ล้านบาท / รายธุรกิจ (๑ รายธุรกิจมีผู้ดำเนินการร่วมกันหลายคนได้ )โดยแผนธุรกิจของนักศึกษา / ผู้ประกอบการที่ได้รับสัญญากู้ยืมต้องมี

แผนงบประมาณไม่เกิน ๕.๐ ล้านบาท โดยกองทุนฯ มีระบบการจัดสรรเงินกู้ยืม ๒ แบบ คือ (๑) กองทุนตั้งตัวได้เป็นผู้ให้กู้ยืมแหล่งทุนเดียว จ่ายแก่นักศึกษาผู้ประกอบการภายในวงเงินไม่เกิน ๑.๐ ล้านบาท / รายธุรกิจ (โดยให้สถาบันการเงินเป็นผู้จ่ายเงินตามงวดงาน) (๒) กองทุนตั้งตัวได้ร่วมกับสถาบันการเงินที่ร่วมโครงการร่วมกันเป็นผู้ให้กู้ยืม จะรวม ๒ แหล่งทุน โดยใช้สัญญากู้ยืม

ฉบับเดียว โดยกองทุนตัง้ ตัวได้จดั สรรแก่นกั ศึกษาผูป้ ระกอบการภายในวงเงินไม่เกิน ๑.๐ ล้านบาท / รายธุรกิจ และวงเงินส่วนทีเ่ หลือ สถาบันการเงินเป็นผู้จัดสรรเงินกู้ยืมแก่นักศึกษาโดยต้องมีสัดส่วนไม่น้อยกว่าจำนวนเงินให้กู้ยืมของกองทุนฯ ซึ่งผู้กู้ลักษณะนี้

จะเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีแผนการลงทุนไม่น้อยกว่า ๒.๐ ล้านบาท อนุสารอุดมศึกษา

17


เรื่องพิเศษ สำหรับการชำระคืน ผู้ประกอบการต้องนำส่งคืนต่อสถาบันการเงินตามแผนงานที่กำหนดทั้งในส่วนเงินกู้ยืมจากกองทุนฯ            น จะสู   งกว่   า อั ต และ/หรือเงินกู้ยืมที่มาจากสถาบั นการเงิ นนั้น ๆ ซึ่งอั ตราดอกเบี ้ยของเงิ นต้นสถาบันการเงิ ราดอกเบี้ยของเงินต้น กองทุนฯ   เป้าหมายและยุทธศาสตร์ของกองทุนตั้งตัวได้  เป้าหมายบริการของกองทุนฯ คือ การสร้างโอกาสในการมีทุนตั้งต้นเพื่อกู้ยืมในการประกอบธุรกิจ แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ  ๒๕๕๖ การกำหนดวิ     จำนวน ๕,๐๐๐ รายภายในปี ส ั ย ทัศ น์ พั นธกิ จ และยุ ท ธศาสตร์ ข องกองทุ นตั ้ ง ตัวได้ จะกำหนดโดย

 คณะกรรมการนโยบายกองทุ นตั้งตัวได้ โดยมีกรอบ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ ๔ ด้าน คือ (๑) ด้านพัฒนาระบบการให้บริการอย่างทั่วถึง    และเสถียรภาพอย่างสมดุล (๓) ด้านพัฒนาเครือข่ายระบบบริหารจัดการและ และเป็นธรรม (๒) ด้านการพัฒนาสิทธิ ประโยชน์ ติดตามหนี้สิน (๔) ด้านการพั นาองค์ กรสู่ความเป็ นเลิศ           ฒ     โครงสร้างในการบริหารองค์กร  ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยกองทุนตั้งตัวได้ พ.ศ. ๒๕๕๕ กำหนดให้มีโครงสร้างบริหารองค์กรรูปแบบคณะกรรมการ

คณะกรรมการนโยบายกองทุ  นตั้งตัวได้ (๒) คณะกรรมการบริหารกองทุนตั้งตัวได้ โดยมีระดับปฏิบัติการ คือ ๒ ระดับ คือ (๑)  สำนักงานกองทุนตั้งตัวได้  ซึ่งจะปฏิบัติงานสัมพันธ์กับคณะกรรมการทั้ง ๒ ชุด และเครือข่ายหน่วย ABI ทั่วประเทศ   

            

    

    







 





18

                    อนุสารอุดมศึกษา                                  


เรื่องพิเศษ

รัฐบาลดำเนินงานกองทุนตั้งตัวได้ โดยคณะกรรมการ ๒ ชุด คือ คณะกรรมการนโยบายกองทุนตั้งตัวได้ โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานและคณะกรรมการบริหารกองทุนตั้งตัวได้ ซึ่งคณะกรรมการนโยบายกองทุนตั้งตัวได้ ได้แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธาน กรรมการบริหารกองทุนฯและเป็นกรรมการบริหารกองทุนตัง้ ตัวได้ ประกอบด้วย นายโอฬาร ไชยประวัติ เป็นประธานกรรมการบริหาร / นายสุรศักดิ์ วาจาสิทธิ์ นายชาวันย์ สวัสดิ์-ชูโต นายอนุสรณ์ ธรรมใจ นายโชติศักดิ์ อาสภวิริยะ นางสาวอรุณภรณ์ ลิ่มสกุล

เป็น กรรมการผูท้ รงคุณวุฒิ และเห็นชอบให้แต่งตัง้ นายแพทย์ธติ วิ ฒ ั น์ ประชาธำรงพิวฒ ั น์ เป็นผูอ้ ำนวยการสำนักงานกองทุนตัง้ ตัวได้

การดำเนินงาน “กองทุนตั้งตัวได้” อย่างเป็นรูปธรรม การเปิดโครงการ แถลงนโยบาย และลงนามบันทึกความร่วมมือกับสถาบันการเงิน

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการและแถลงนโยบาย “กองทุนตั้งตัวได้” เมื่อวันที่

๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๕ พร้อมให้เกียรติเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือในการดำเนินงานกองทุนตั้งตัวได้ รวมทั้งการ สนับสนุนการเงินเพื่อการประกอบธุรกิจของผู้ร่วมโครงการ ระหว่างคณะกรรมการบริหารกองทุน ตั้งตัวได้ สำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา กับสถาบันการเงิน ๖ แห่ง ได้แก่ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) และสถาบันการเงินของรัฐ ๕ แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทยจำกัด(มหาชน) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โดยมีนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ศึกษาธิการ / นางสาวศันสนีย์ นาคพงศ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี / นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงการคลัง ให้เกียรติเป็นสักขีพยาน โดยมีรองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการ อุดมศึกษาและคณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ ให้การต้อนรับ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กรุงเทพมหานคร

จัดนิทรรศการแสดงศักยภาพของหน่วย UBI ในการสร้างผู้ประกอบการใหม่ ส่งต่อเข้าสู่กองทุนตั้งตัวได้

หลังจากการลงนามในบันทึกความร่วมมือในการดำเนินงานกองทุนตัง้ ตัวได้เสร็จสิน้ ลง รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้นำนางสาวยิง่ ลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและคณะ เยี่ยมชมการจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุนตั้งตัวได้ นิทรรศการผลการดำเนินงานของหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI) ๕๖ แห่ง ผลงานของผู้ประกอบการที่เข้ารับ การเพาะบ่ม และตัวอย่างของผู้ประกอบการในหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI) ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ขอนแก่น, สงขลานครินทร์ ที่มีศักยภาพในระดับที่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ ตลอดจนเยี่ยมชมการให้บริการแนะนำ ให้ข้อมูล

ในการเข้ารับบริการจากกองทุนฯ แก่บัณฑิตและประชาชน

ผลการบ่มเพาะผู้ประกอบการของหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI)

จากผลการดำเนินงานรอบ ๒ ปี (ปีการศึกษา ๒๕๕๒-๕๓) ของหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI) จำนวน ๕๖ แห่ง มีการบ่มเพาะ / พัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (Start up & Spin off Companies) จำนวน ๒๓๘ ราย โดยมีผู้ผ่านการประเมิน ศักยภาพตามเกณฑ์ สกอ. ๑๕๘ ราย (คิดเป็นอัตราการอยู่รอดปัจจุบันร้อยละ ๖๖.๔) สร้างวงจรรายได้รวม ๑๑๒.๒๗ ล้านบาท

มีการจ้างงานประมาณ ๑,๔๐๐ ราย (รวมการจ้าง Part Time) ซึ่งผู้ประกอบการต้องผ่านกระบวนการบ่มเพาะเฉลี่ย ๒-๔ ปี

(ต้องพัฒนาทั้ง Business Plan & Technology Development) จึงจะเป็นบริษัทธุรกิจมีศักยภาพอยู่รอดและเติบโตได้ สำหรับ

รอบปีการศึกษา ๒๕๕๔-๕๕ หน่วย UBI กำลังดำเนินการบ่มเพาะธุรกิจใหม่อีกประมาณ ๒๕๐ ราย ทั้งนี้ หากกองทุนตั้งตัวได้สามารถสนับสนุนเงินทุนตั้งต้น (Start up Fund) แก่ผู้ประกอบการใหม่ที่เป็น SMEs โดยเฉพาะ

กลุ่มนักศึกษาผู้ประกอบการ คาดว่าจะทำให้อัตราการอยู่รอดและการขยายธุรกิจมีโอกาสสูงขึ้นอย่างมากจากการได้แหล่งทุน

ดอกเบี้ยต่ำทางธุรกิจ เพราะปัจจุบันประเทศไทยขาดนักลงทุนแบบ Angle Fund ที่จะช่วยสร้างโอกาสยกระดับธุรกิจ SMEs ของ

นักศึกษาที่มีแนวคิดทางธุรกิจใหม่ ๆ

สถานภาพของการดำเนินงาน “กองทุนตั้งตัวได้” ในปี ๒๕๕๕ คณะกรรมการนโยบายกองทุนตั้งตัวได้ ได้ให้ความเห็นชอบเรื่องต่าง ๆ แล้ว ดังนี้

๑. ให้ความเห็นชอบหลักการเรื่องโครงสร้างความเชื่อมโยงหน่วยงานและผังกระบวนงานหน่วย ABI (Authorized Business Incubator) ที่พัฒนามาจากหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ (University Business Incubator:UBI) โดยทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานจัดหา

ผู้เชี่ยวชาญธุรกิจ และพัฒนาเทคโนโลยีให้องค์ความรู้ เพื่อพัฒนานักศึกษาเป็นผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรม / ความคิดสร้างสรรค์

อนุสารอุดมศึกษา

19


เรื่องพิเศษ ๒. ให้ความเห็นชอบแนวทางพัฒนาและสนับสนุนนักศึกษาเข้าร่วมโครงการตามขั้นตอนดังนี้ (ก) มีสัญชาติไทย โดยต้องเป็นนักศึกษาปัจจุบัน หรือผู้สำเร็จการศึกษาไม่เกิน ๕ ปี (ข) มี Business Model (ค) สมัครเข้ารับการฝึกอบรม/ พัฒนาจากศูนย์บ่มเพาะ (ABI) (ง) ผ่านการคัดเลือก โดยได้รับการฝึกอบรม / พัฒนาเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์-ธุรกิจบริการจากหน่วย ABI ประมาณ ๓ เดือน (จ) ผ่านการประเมิน Business Plan จากหน่วย ABI และเสนอโครงการเพื่อขอกู้ยืมเงินกองทุนตั้งตัวได้ (ฉ) จัดสรรเงินกู้ยืมตาม Business Plan ในเบื้องต้นวงเงินขึ้นอยู่กับ Business Model (ช) ผู้กู้ยืมดำเนินธุรกิจภายใต้การดูแลของหน่วย ABI และส่งคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยในกรอบเวลาที่กำหนด ๓. ให้ความเห็นชอบหลักการประเด็นยุทธศาสตร์ของกองทุนตั้งตัวได้ระยะเริ่มต้น (พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๗) รวม ๔ ประเด็น คือ - ด้านพัฒนาระบบการให้บริการอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม - ด้านการพัฒนาผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง - ด้านพัฒนาเครือข่ายระบบบริหารจัดการและติดตามหนี้สิน - ด้านการพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ ๔. แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นประธานกรรมการบริหารกองทุนฯ เป็นกรรมการบริหารกองทุนฯ และผู้อำนวยการสำนักงาน กองทุนตั้งตัวได้ โดยมอบหมายให้ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนตั้งตัวได้ ดำเนินการ

20

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องพิเศษ

(๑) ยกร่างเกณฑ์การคัดเลือกสถาบันอุดมศึกษาที่มีหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ (University Business Incubator:UBI) เพื่อทำ หน้าที่เป็น ABI (Authorized Business Incubator) (๒) ยกร่างกระบวนการบริหารกองทุนให้ครบถ้วน เช่น – การบริหารงบประมาณดำเนินการของสำนักงาน - กำหนดวิธี การฝึ ก อบรมนั ก ศึ ก ษาผู ้ ป ระกอบการ โดยให้ ย กร่ า งหลั ก สู ต รและ กระบวนการฝึ ก อบรมนั ก ศึ ก ษา จำนวน ๒๕,๐๐๐ คน กระบวนการพิจารณาอนุมัติเงินกู้ - การกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม - รูปแบบการบริหารความเสี่ยง - รูปแบบของ Exit Plan การจัดการทางการเงิน - วิธีการติดตามหนี้และการบริหารหนี้สูญ - วิธีการบริหารและสร้างความพร้อมให้หน่วย UBI สามารถทำ หน้าที่เป็น ABI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ - คณะอนุกรรมการที่ควรได้รับการแต่งตั้งเพื่อดำเนินงานกองทุนตั้งตัวได้ ครบวงจร

คณะกรรมการบริหารกองทุนตั้งตัวได้ ได้ดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ แล้ว ดังนี้

คณะกรรมการบริหารกองทุนตั้งตัวได้ ได้ออกระเบียบคณะกรรมการบริหารกองทุนตั้งตัวได้ ว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงินและการจัดหาผลประโยชน์ พ.ศ.๒๕๕๕ และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๕ ซึ่งใน ระหว่างนี้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้เปิดรับรายชื่อผู้สนใจที่จะขอเข้ารับการสนับสนุนเงินทุนประกอบธุรกิจจาก กองทุนตั้งตัวได้ โดยผู้สนใจสามารถติดต่อหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI) ทั้ง ๕๖ แห่งทั่วประเทศ โดยผู้สนใจ สามารถแจ้งรายชื่อ หมายเลขโทรศัพท์ และ e-mail ไว้ ที่หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI) ที่ท่านสะดวก จากนั้น สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะประสานรายชื่อไปยังสำนักงานกองทุนตั้งตัวได้ เพื่อติดต่อให้เข้ารับการอบรม ซึ่งเป็น คุณสมบัติเบื้องต้นก่อนนำเสนอแผนธุรกิจเพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองทุนตั้งตัวได้ ในโอกาสต่อไป

ข้อมูลเพื่อการขอรับบริการจากกองทุนตั้งตัวได้

สำนักงานกองทุนตั้งตัวได้ เปิดดำเนินการในเดือนมกราคม ๒๕๕๖ นี้ ณ ห้องเลขที่ ๑๒๘ / ๒๐๑ (พื้นที่ ๑๓๖ ตารางเมตร) อาคารอาคารพญาไทพลาซ่า ชั้น ๑๘ ถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ท่านที่สนใจสามารถสืบค้นรายชื่อพร้อมหมายเลขโทรศัพท์ของหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อแจ้งความ ประสงค์เข้าร่วมโครงการได้ที่ www.mua.go.th (http://www.mua.go.th/data_pr/๑๘๑๒๕๕.html) หรือโทรศัพท์สอบถามโดยตรงที่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หมายเลขโทรศัพท์ ๐๒ ๖๑๐๕๓๓๕, ๐๒ ๖๑๐๕๔๔๔, ๐๒ ๖๑๐๕๓๓๖ อนุสารอุดมศึกษา

21


เล่าเรื่องด้วยภาพ

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา พร้อมด้วย ดร.วราภรณ์ สีหนาท นางสาวอาภรณ์ แก่ น วงศ์ รองเลขาธิ ก ารฯ รองศาสตราจารย์ ดร.ชวนี ทองโรจน์ ที ่ ป รึ ก ษาด้ า นพั ฒ นาภู ม ิ ป ั ญ ญาท้ อ งถิ ่ น

นางสาวสุ น ั นทา แสงทอง ผู ้ ช ่ ว ยเลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา ผู ้ อ ำนวยการสำนั ก และผู ้ แทนข้ า ราชการสำนั ก งาน

คณะกรรมการการอุดมศึกษาเข้ากราบคารวะและรับพรในโอกาสขึ้นปีใหม่๒๕๕๖ จากผู้บังคับบัญชา อดีตผู้บังคับบัญชาทบวง มหาวิทยาลัยและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริ ฐ ณ นคร ปลัดทบวงมหาวิทยาลัยคนแรก (๒๙ ก.ย. ๑๕ ๓๐ ก.ย.๒๒) ณ สำนักราชบัณฑิต ภายใน สำนักพระราชวัง สนามเสือป่า

คารวะและรั บ พรจากศาสตราจารย์ ดร.วิจติ ร ศรีสอ้าน ปลัดทบวงมหาวิทยาลัยคนที่ ๓ (๑ ต.ค. ๓๐ - ๒๑ ธ.ค. ๓๗) และอดีตรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ณ อาคารพญาไท พลาซ่า

ค า ร ว ะ แ ล ะ ร ั บ พ ร จ า ก ศ า ส ต ร า จ า ร ย ์

ร้ อ ยตำรวจเอก ดร.วรเดช จั นทรศร ปลั ด ทบวง มหาวิทยาลัยคนสุดท้าย (๔ ต.ค.๔๔–๖ ก.ค.๔๖) และ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาคนแรก

(๗ ก.ค. ๔๖ - ๑๙ เม.ย. ๔๗) ณ สำนั ก งาน อธิการบดีมหาวิทยาลัยชินวัตร

22

อนุสารอุดมศึกษา


เล่าเรื่องด้วยภาพ

คารวะและรับพรจาก ดร.สุเมธ แย้มนุน่ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา คนที่ ๔ (๑ ต.ค. ๕๐ - ๓๐ ก.ย. ๕๔)

ณ อาคารสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

คารวะและรับพรจากนายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาคนปัจจุบัน (๑ ต.ค. ๕๔ - ปัจจุบัน) ณ อาคารสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

อนุสารอุดมศึกษา

23


เลื อ กเรี ย นอะไร

..มหาวิ ท ยาลั ย ไหน..ไร ซึ่ ง ป ญ หา ตรวจสอบกอนตัดสินใจ ตรวจสอบขอมูลไดที่ http://www.mua.go.th/users/bhes/index.htm หรือสอบถามขอมูลไดที่หมายเลข ๐ ๒๖๑๐ ๕๓๗๘ - ๘๐ หลักสูตรทุกสาขาวิชา

• ตองเปนไปตามเกณฑมาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา และผานการรับทราบจาก สกอ. • ตองผานการรับรองจากองคกรวิชาชีพ (กรณีสาขาวิชาที่ตองสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ) • ตองผานการรับทราบจากคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กรณีหลักสูตรที่จัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง)

สถาบันอุดมศึกษา

• ควรผานมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน • ควรผานมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอกจาก สมศ. • ควรมีขอมูลระบบการลงทะเบียนที่ถูกตอง • ควรมีรายชื่อและคุณวุฒิของอาจารยประจำหลักสูตรจากเอกสารหลักสูตร ที่ผานการรับทราบจาก สกอ. • ควรใหบริการตางๆ ตามสิทธิที่นิสิตนักศึกษาพึงจะไดรับ

สำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา (สกอ.) ๓๒๘ ถนนศรี อ ยุ ธ ยา แขวงทุ ง พญาไท เขตราชเทวี กรุ ง เทพฯ ๑๐๔๐๐ โทรศั พ ท ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๖ http://www.mua.go.th Facebook : www.facebook.com/ohecthailand Twitter : www.twitter.com/ohec_th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.