ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๔๑๙ ประจ�ำเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๖ เอกสารเผยแพร่ของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ISSN 0125-2461
อนุ ส ารอุดมศึกษาออนไลน์ www.mua.go.th/pr_web
สารบัญ
ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๔๑๙ ประจ�ำเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๖
เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย ประชุมรัฐมนตรีศึกษาเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ ๔ ๓ เปิด ‘ค่ายบัณฑิตทุนเรียนดีวิทย์’ ครั้งที่ ๑ ๔ พัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกัน ๕
และแก้ไขปัญหายาเสพติด ปิดอบรม นบม. รุ่นที่ ๒๔ มอบทุนสนับสนุนการวิจัย สกอ. จัดสหกิจศึกษาไทย ครั้งที่ ๕ ปฐมนิเทศนักเรียน ‘ทุนเรียนดีมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์’ สกอ. จัด ‘ค่ายอาเซียน’ ‘ทุนใต้’ รับ นศ. ยังไม่มีที่เรียน ๑,๑๙๐ คน
เรื่องเล่าอาเซียน ‘ค่ายอาเซียน’ เตรียมพร้อมนักศึกษาเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เรื่องพิเศษ วิสาขบูชา วันส�ำคัญสากลโลก ประจ�ำปี ๒๕๕๖
๖ ๗ ๘ ๙ ๙
๑๐
๓
๑๑
๑๒
พูดคุยเรื่องมาตรฐาน
ยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง (ตอนจบ)
เรื่องแนะน�ำ กิจกรรมต้อนรับน้องใหม่
เหตุการณ์เล่าเรื่อง การประชุมสุดยอดมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ครั้งที่ ๒ เล่าเรื่องด้วยภาพ
๑๕ ๑๗
๖
๑๙ ๒๑
๘ คณะผู้จัดท�ำ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๒๖ เว็บไซต์ www.mua.go.th อีเมล์ pr_mua@mua.go.th นายอภิชาติ จีระวุฒิ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี นางวราภรณ์ สีหนาท นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ชวนี ทองโรจน์ นางสาวสุนันทา แสงทอง นายสุภัทร จ�ำปาทอง นายศิระวิทย์ คลี่สุวรรณ บรรณาธิการ นายกฤษณ์กร วงศ์ไทย กองบรรณาธิการ นางสาวปิยาณี วิริยานนท์ นางชุลีกร กิตติก้อง นายเจษฎา วณิชชากร นางปราณี ชื่นอารมณ์ นายพรชัย สิทธินันทน์ นายจรัส เล็กเกาะทวด ผู้พิมพ์ บริษัท ออนป้า จ�ำกัด
เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย
ประชุมรัฐมนตรีศึกษาเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ ๔ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๖ - กระทรวงการอุดมศึกษามาเลเซียเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรี ศึกษาเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ ๔ ระหว่างวันที่ ๑๓ - ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย โดยมีประเทศสมาชิกเข้าร่วมการประชุมทั้งหมด ๑๔๙ คน จาก ๒๙ ประเทศ ซึ่งเป็นประเทศสมาชิกจากภูมิภาคยุโรป ๑๖ ประเทศ และประเทศจากภูมิภาคเอเชีย จ�ำนวน ๑๓ ประเทศ และมีหวั หน้าคณะระดับรัฐมนตรีและรัฐมนตรีชว่ ยเข้าร่วมการประชุมจาก ๑๖ ประเทศ ทีป่ ระชุมได้ตอ้ นรับประเทศบังกลาเทศ นอร์เวย์และสวิสเซอร์แลนด์ เข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิกใหม่ ของเอเชีย-ยุโรป ในโอกาสนี้ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีวา่ การกระทรวง ศึกษาธิการ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เข้าร่วมการประชุม นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า การประชุม รัฐมนตรีศกึ ษาเอเชีย-ยุโรป เป็นเวทีสำ� หรับการหารือและพิจารณาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านการศึกษาเพือ่ น�ำไปปฏิบตั ใิ ช้ในกลุม่ ประเทศ สมาชิกเอเชีย-ยุโรป โดยหัวข้อหลักของการจัดประชุมครัง้ นี้ คือ การด�ำเนินความร่วมมือเชิงนโยบายด้านการศึกษาของเอเชีย-ยุโรป (Strategizing ASEM Education Collaboration) ในด้านการประกันคุณภาพการจัดการศึกษาและการรับรองคุณวุฒิ ด้านการส่งเสริมภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม เข้ามามีสว่ นร่วมในการจัดการศึกษา ความสมดุลในการเคลือ่ นย้ายนักศึกษาและนักวิชาการและการเรียนรูต้ ลอดชีวติ รวมถึงการศึกษาระดับ อาชีวศึกษาและการฝึกอบรม “ทีป่ ระชุมได้เน้นย�ำ้ ความตัง้ ใจในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบการศึกษาของเอเชีย-ยุโรปบนพืน้ ฐานของความเคารพ และผลประโยชน์ร่วมกัน รวมถึงการน�ำไปสู่ความร่วมมือระหว่างเอเชีย-ยุโรปในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม-วัฒนธรรม ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบร่วมกันด�ำเนินโครงการริเริ่มใหม่ เพื่อให้สามารถแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ โครงการ ASEM Work Placement program ASEM Joint Curriculum Development และ ASEM Innovative Competences โดยประเทศไทยได้เสนอตัวเข้าร่วมจัดท�ำ “Compendium on Credits and Learning Outcomes in ASEM Countries นอกจากนี้ ประเทศไทยได้แจ้งทีป่ ระชุมให้ทราบเกีย่ วกับการจัดประชุม 4th ASEM Rectors’ Conference และ 2nd Asia-Europe Students Forum ทีป่ ระเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในเดือนมิถนุ ายน ๒๕๕๗ ซึง่ เป็นความร่วมมือระหว่างส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Asia-Europe Foundation พร้อมทัง้ เชิญชวนให้ประเทศสมาชิกเอเชีย-ยุโรปส่งอธิการบดีเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว” รมว.ศธ. กล่าว สมาชิกกลุม่ ประเทศเอเชีย-ยุโรป มีทงั้ หมด ๔๙ ประเทศ รวมคณะกรรมาธิการยุโรป และส�ำนักเลขาธิการอาเซียน การจัดประชุม รัฐมนตรีศกึ ษาเอเชีย-ยุโรป มีกำ� หนดจัดทุกๆ ๒ ปี โดยหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระหว่างภูมภิ าคเอเชียกับยุโรป ส�ำหรับการ จัดประชุมรัฐมนตรีศึกษาเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ ๕ ประเทศลัตเวียรับเป็นเจ้าภาพจัดประชุมในปี ๒๕๕๘ ประเทศเกาหลีรับเป็นเจ้าภาพ จัดประชุม ครั้งที่ ๖ ในปี ๒๕๖๐ และประเทศอินโดนีเซียได้รับเป็นเจ้าภาพในการเป็นที่ตั้ง ASEM Education Secretariat ระหว่างปี ๒๕๕๖ - ๒๕๖๐ ต่อจากประเทศเยอรมนี
อนุสารอุดมศึกษา
3
เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย
เปิด
‘ค่ายบัณฑิตทุนเรียนดีวิทย์’ ครั้งที่ ๑
๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๖ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจัดโครงการค่ายบัณฑิตทุนเรียนดีวทิ ย์ ครัง้ ที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๖ ภายใต้โครงการพัฒนาก�ำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ (ทุนเรียนดีวทิ ยาศาสตร์แห่งประเทศไทย) ระหว่างวันที่ ๑๖ - ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ณ โรงแรมเอเชีย เพื่อให้ผู้รับทุนมีความเข้าใจวัตถุประสงค์และข้อปฏิบัติ มีความมุ่งมั่นในการศึกษาและท�ำวิจัยเพื่อประโยชน์ต่อการ พัฒนาตนเอง รวมทั้งสร้างผลงานให้กับสถาบันที่สังกัดให้เป็นที่ยอมรับทางวิชาการในระดับสากล และสามารถน�ำความรู้และ ประสบการณ์ไปพัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์ในภาครัฐหลังส�ำเร็จการศึกษาได้ตามข้อผูกพันของโครงการ พร้อมสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างผู้รับทุนในสถาบันต่างๆ ก่อให้เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติงานหลังส�ำเร็จการศึกษา ตลอดจนให้ผู้รับทุนมีการแลกเปลี่ยน เรียนรู้งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ และมีแนวคิดที่จะใช้ความรู้ความสามารถไปปฏิบัติงานในหน่วยงานรัฐเพื่อการพัฒนาประเทศ ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีเปิดค่าย นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวในการเปิดค่ายว่า ขณะนี้ประเทศ ก�ำลังขาดแคลนบุคลากรสายวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ จ�ำนวนมาก ในขณะที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกล้วนมีความรู้และมีพื้นฐานทาง วิทยาศาสตร์ รวมทั้งมีบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ที่ดี ท�ำให้ประเทศสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้ แม้จะมีคนน้อยกว่าหรือไม่มี ทรัพยากรธรรมชาติเลยก็ตาม ต้องขอชื่นชมผู้ที่เรียนสายวิทยาศาสตร์ เพราะนอกจากจะมีพื้นฐานสติปัญญาที่ดีแล้ว ยังต้องขยัน หมั่นเพียรในการสั่งสมความรู้ ความสามารถเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะผู้รับทุนในวันนี้คือผู้ที่มีความรู้ความสามารถที่ได้ผ่านการ กลั่นกรองและเลือกสรรมาแล้ว “ขณะนี้มีบุคลากรสายวิทยาศาสตร์ไปอยู่ในสายสังคมจ�ำนวนมาก ในอดีตคนเรียนดีจะไปเรียนสายวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นแพทย์ วิศวกร หรือนักวิทยาศาสตร์ แต่ปัจจุบนั คนเก่งๆ เหล่านัน้ ส่วนหนึง่ ไปเรียนสายสังคมศาสตร์ ท�ำให้ประเทศมีบคุ ลากรสายสังคมศาสตร์ จ�ำนวนมากในขณะทีส่ ายวิทยาศาสตร์ขาดแคลน กระทรวงศึกษาธิการจึงได้มคี วามพยายามทีจ่ ะส่งเสริมให้มกี ารเรียนสายวิทยาศาสตร์ มากขึ้น เช่น โครงการ ๑ อ�ำเภอ ๑ ทุน ที่เน้นให้ผู้รับทุนไปเรียนสายวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ ในการสร้างนักวิทยาศาสตร์และ เพิ่มจ�ำนวนผู้เรียนสายวิทยาศาสตร์ด้วยการยกระดับอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ จะเป็นการกระตุ้น และช่วยดึงคนเก่งๆ มาเรียน วิทยาศาสตร์มากขึ้น เพราะทุกคนต้องเลือกเส้นทางที่ดีท่ีสุดให้กับตัวเอง หากท�ำให้อาชีพด้านวิทยาศาสตร์มีอนาคตที่ดี มีความ ก้าวหน้า เชื่อว่าจะสามารถเพิ่มจ�ำนวนผู้เรียนสายวิทยาศาสตร์ได้อย่างแน่นอน” รมว.ศธ. กล่าว ด้านรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า โครงการพัฒนาก�ำลัง คนด้านวิทยาศาสตร์ (ทุนเรียนดีวทิ ยาศาสตร์แห่งประเทศไทย) เป็นโครงการทีไ่ ด้รบั งบประมาณจากรัฐในการผลิตบัณฑิตวิทยาศาสตร์ ระดับปริญญาเอกที่มีคุณภาพสูง เพื่อเป็นก�ำลังส�ำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยให้ทุนการศึกษาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ระดับปริญญา ตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก แก่ผู้มีความสามารถทางวิทยาศาสตร์ที่ประสงค์จะปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์ในหน่วยงานรัฐ จึงจัดสรรทุนให้เป็นค่าใช้จ่าย ทั้งความเป็นอยู่และการศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยของรัฐ ๒๓ แห่ง ตั้งแต่ปริญญาตรี จนถึงปริญญาเอก โดยรับทุนเป็นเวลา ๙ ปี มีเป้าหมายการผลิตบัณฑิตปริญญาเอก จ�ำนวน ๑,๖๐๐ คน นับตั้งแต่ปี ๒๕๕๑ - ๒๕๕๖ ปัจจุบันมีผู้รับทุนที่ก�ำลังศึกษาปริญญาโทและเอก จ�ำนวน ๓๗๓ คน
4
อนุสารอุดมศึกษา
เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย
พัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดการอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ งานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถาบันอุดมศึกษา ปี ๒๕๕๖ กลุ่มกรุงเทพมหานคร ณ ห้องมาโคโปโล โรงแรม รามาดา เดมา โดยได้รับเกียรติจากนายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิด นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลได้ก�ำหนดให้การป้องกันแก้ไขปัญหา ยาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ และก�ำหนดกรอบการด�ำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ ๗ แผน ๔ ปรับ ๓ หลัก ๖ เร่ง โดยนโยบาย ๗ แผน ประกอบด้วย แผนการสร้างพลังสังคมและพลังชุมชน แผนการแก้ไขปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด แผนการสร้างภูมิคุ้มกัน และป้องกันยาเสพติด แผนการปราบปรามและบังคับใช้กฎหมาย แผนความร่วมมือระหว่างประเทศ แผนสกัดกั้นยาเสพติด และ แผนบริหารจัดการแบบบูรณาการ นโยบาย ๔ ปรับ ประกอบด้วย ปรับปรุงข้อมูลการข่าวให้ถูกต้องทันสมัย ปรับบทบาทพฤติกรรม เจ้าหน้าทีข่ องรัฐ ปรับกฎหมาย/กฎระเบียบข้อบังคับ และปรับทัศนคติของสังคมและชุมชนให้มสี ว่ นร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติด นโยบาย ๓ หลัก ประกอบด้วย หลักเมตตาธรรมมีความรักเพื่อนมนุษย์ หลักนิติธรรม และหลักแก้ไขปัญหาโดยยึดพื้นที่เป็นตัวตั้ง และนโยบาย ๖ เร่ง ประกอบด้วย เร่งด�ำเนินการด้านข้อมูลและปัญหา เร่งลดจ�ำนวนผู้เสพ เร่งแสวงหาความร่วมมือกับต่างประเทศ เร่งปราบปรามผู้ค้า เร่งแก้ปัญหาเยาวชนกลุ่มเสี่ยงทั้งในและนอกสถาบันการศึกษา และเร่งสร้างชุมชนและหมู่บ้านให้มีความ แข็งแรง ซึง่ สถาบันอุดมศึกษา ต้องขับเคลือ่ นงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ภายใต้แผนงานที่ ๓ แผนการ สร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติด “ในปี ๒๕๕๖ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ด�ำเนินการสนับสนุนงบประมาณให้เครือข่ายเพื่อ การพัฒนาอุดมศึกษา ๙ เครือข่าย โดยร่วมกับส�ำนักงาน ปปส.ภาค จัดท�ำโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติด เพื่อสร้างระบบเฝ้าระวังและป้องกันยาเสพติดให้แก่นิสิตนักศึกษาให้สอดคล้องกับความจ�ำเป็น ความชุกและ สภาพปัญหายาเสพติดในแต่ละพื้นที่ พร้อมทั้งได้พัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษาเพื่อเสริม ให้การปฏิบัติงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดมีประสิทธิภาพควบคู่กันไป” เลขาธิการ กกอ. กล่าว เลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อไปว่า โครงการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในสถาบันอุดมศึกษา จะเพิ่มพูนทักษะที่จ�ำเป็น เสริมสร้างเจตคติเชิงบวกและเสริมให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติงาน ในสถาบันอุดมศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทัง้ นี้ เพือ่ จะร่วมกันดูแลนิสติ นักศึกษาไม่ให้เข้าไปยุง่ เกีย่ วกับยาเสพติด เป็นพลังส�ำคัญของแผ่นดินในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ช่วยลดการแพร่ระบาดของยาเสพติดในสังคมไทยให้ลดลง ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในฐานะกลไกอ�ำนวยการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถาบัน อุดมศึกษา ตระหนักถึงความส�ำคัญของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จึงจัดอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถาบันอุดมศึกษา ประจ�ำปี ๒๕๕๖ ขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ปฏิบัติ งานมีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงปัญหา มีเจตคติเชิงบวกและรู้เท่าทันสภาพปัญหายาเสพติดในปัจจุบัน สามารถปฏิบัติงานด้านการ ป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รู้จักวิธีสังเกต คัดกรอง และการส่งต่อเมื่อพบนิสิตนักศึกษาที่เป็น กลุ่มเสี่ยงและติดยาเสพติด โครงการได้ก�ำหนดการจัดอบรมเป็น ๕ รุ่น ในกรุงเทพมหานคร จ�ำนวน ๒ รุ่นและในภูมิภาค จ�ำนวน ๓ รุ่น
อนุสารอุดมศึกษา
5
เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๖ - ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา จัดพิธีปิดการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนา ผู้บริหารระดับสูงมหาวิทยาลัย รุ่นที่ ๒๔ ณ โรงแรมเดอะทวิน ทาวเวอร์ โดยได้รับเกียรติจากนายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานในพิธีปิด นายอภิ ช าติ จี ร ะวุ ฒิ เลขาธิ ก ารคณะกรรมการ การอุ ด มศึ ก ษา กล่ า วในการปิ ด อบรมว่ า ส� ำ นั ก งานคณะ กรรมการการอุดมศึกษาจัดโครงการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง มหาวิทยาลัย โดยมุ่งหวังว่าจะเป็นส่วนส�ำคัญในการเสริมสร้าง ความเข้ ม แข็ ง และเพิ่ ม ศั ก ยภาพของสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาให้ สามารถเกือ้ หนุนและรองรับต่อการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ ในอนาคต ซึ่งจากผลกระทบของกระแส และเหตุปัจจัยจาก ภายนอกประเทศต่อการพัฒนาความสามารถของประเทศใน เวทีโลก สภาพความเป็นจริงของสถาบันอุดมศึกษาไทย และ ความจ�ำเป็นอย่างเร่งด่วนในการพัฒนาขีดความสามารถในการ ด�ำ เนิ น ภารกิ จ ของสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา ถึ ง เวลาที่ ทุ ก สถาบั น จะต้องปรับกระบวนทัศน์ใหม่ โดยร่วมคิดและร่วมมือกันในการ เสริมสร้างประสิทธิภาพในการด�ำเนินงานซึ่งกันและกัน ภายใต้ มโนทัศน์ที่ว่า ‘การแข่งขันภายใต้บรรยากาศของความร่วมมือ’ “การสร้ า งเครื อ ข่ า ยความร่ ว มมื อ ระหว่ า งสถาบั น อุดมศึกษาจะเป็นกลไกหนึ่งที่ทวีความส�ำคัญในอนาคต และ โครงการนีน้ า่ จะเป็นส่วนส�ำคัญทีจ่ ะจุดประกายการสร้างเครือข่าย ความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นรูปธรรม และ อ�ำ นวยประโยชน์ ต ่ อ การด� ำ เนิ น งานของสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา ในอนาคต ดังนัน้ จึงขอให้ร่วมกันสรรสร้างกิจกรรม อันจะเป็น การสานต่อเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้เข้ารับการอบรม อย่างต่อเนือ่ งและขยายต่อไปยังรุน่ ต่างๆ เพือ่ ให้เครือข่ายความ ร่วมมือเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และส่งเสริมให้การ ด�ำเนินภารกิจของสถาบันอุดมศึกษามีความก้าวหน้ามากยิง่ ขึน้ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต” เลขาธิการ กกอ. กล่าวในตอนท้าย
6
อนุสารอุดมศึกษา
ปิดอบรม นบม. รุน่ ที่ ๒๔
เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย
มอบทุนสนับสนุนการวิจยั ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๖ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดพิธีมอบทุนมูลนิธิการศึกษาเชล ๑๐๐ ปี สนั บ สนุ น การวิ จั ย ระดั บ บั ณ ฑิ ต ศึ ก ษา ประจ� ำ ปี ก ารศึ ก ษา ๒๕๕๕ ณ บริ เ วณห้ อ งโถง ชั้ น ๑ อาคารส� ำ นั ก งาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยได้รับเกียรติจาก นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และ นายอัษฎา หะรินสุต ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จ�ำกัด เป็นประธานในพิธี นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เปิดเผยภายหลังการมอบทุนว่า การให้ทุนสนับสนุน การวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ ปิโตรเคมี โลจิสติกส์ พลังงานทดแทน และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ถือเป็นปัจจัยส�ำคัญอย่างยิ่งที่จะเอื้ออ�ำนวยและเพิ่มขวัญก�ำลังใจให้นักศึกษา ได้มีความพยายามในการท�ำวิจัยให้มีคุณภาพ และประสบผลส�ำเร็จได้อย่างสมบูรณ์ตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ เพื่อน�ำ ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่ได้รับจากการค้นคว้าศึกษาวิจัยไปประกอบอาชีพ พัฒนาสังคมและพัฒนา ประเทศสืบต่อไป “โครงการวิจัยเหล่านี้นับเป็นรากฐานในการพัฒนาวิชาการ และต่อยอดองค์ความรู้ที่สามารถน�ำไปพัฒนาท้องถิ่น และสังคมไทย อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างคุณลักษณะนิสัยของนักศึกษาให้รักและใส่ใจต่อการศึกษาค้นคว้าวิจัย ซึ่งเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นก�ำลังส�ำคัญของประเทศชาติ ทั้งนี้ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา คาดหวังว่านักศึกษาจะพัฒนาตนเองให้เป็นก�ำลังส�ำคัญในการพัฒนาสังคม และท�ำคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ และ หวังเป็นอย่างยิ่งว่านักศึกษาจะใช้เงินทุนวิจัยให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยให้สามารถสร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่จะ ก่อให้เกิดองค์ความรู้ และนวัตกรรมใหม่ รวมทั้งสามารถน�ำผลงานวิจัยไปเผยแพร่ในระดับชาติ และนานาชาติต่อไป” เลขาธิการ กกอ. กล่าว ส�ำหรับปีการศึกษา ๒๕๕๕ สถาบันอุดมศึกษาได้ส่งโครงร่างงานวิจัยเพื่อขอรับการสนับสนุนการวิจัยจ�ำนวนทั้งสิ้น ๘ แห่ง โดยมีนักศึกษาสมัครขอรับทุนสนับสนุนการวิจัยระดับบัณฑิต จ�ำนวน ๒๐ คน เป็นนักศึกษาระดับปริญญาเอก จ�ำนวน ๓ คน และนักศึกษาระดับปริญญาโท จ�ำนวน ๑๗ คน โดยคณะกรรมการมูลนิธิการศึกษาเชล ๑๐๐ ปี ได้คัดเลือกผลงานวิจัยที่สมควรได้รับการสนับสนุนทุนวิจัย จ�ำนวนทั้งสิ้น ๑๔ โครงการ เป็นเงินทุนวิจัยรวมทั้งสิ้น ๑,๔๐๐,๐๐๐ บาท ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาคัดเลือกโครงการวิจัยตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ (๑) โอกาสที่โครงการ วิจัยจะก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ขึ้น (Innovation) (๒) ความสามารถที่โครงการวิจัยจะน�ำไปสู่ความรู้ในเชิงตีพิมพ์ลงใน วารสารระดับนานาชาติได้ (๓) โอกาสที่โครงการวิจัยจะประสบผลส�ำเร็จในระยะเวลาที่ก�ำหนด และ (๔) ผลกระทบของ ผลงานวิจัยที่เกิดขึ้นจากโครงการวิจัยต่อวงการวิชาการในเชิงพาณิชย์และในเชิงสังคม อนุสารอุดมศึกษา
7
เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย
สกอ. จัดสหกิจศึกษาไทย ครั้งที่ ๕ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมกับสมาคมสหกิจศึกษาไทย ร่วมจัดงานแถลงข่าว วันสหกิจศึกษาไทย ครั้งที่ ๕ พ.ศ.๒๕๕๖ ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน นายกสมาคมสหกิจศึกษาไทย ร่วมกันแถลงข่าว รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวในการแถลงข่าวว่า ในปัจจุบัน การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรสหกิจศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในกลุ่มอาเซียน มี ๕ ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และไทย ซึ่งนับว่าการด�ำเนินงานสหกิจศึกษานานาชาติยังอยู่ในวงจ�ำกัด ดังนั้น การศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคในการ ด�ำเนินงานสหกิจศึกษานานาชาติของประเทศกลุ่มอาเซียน ตั้งแต่การหาเครือข่ายความร่วมมือ การหางานให้นกั ศึกษา มาตรการด้าน การลดหย่อนภาษี แนวทางและกรรมวิธีการตรวจคนเข้าเมืองของประเทศต่างๆ จะช่วยให้การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรสหกิจ ศึกษานานาชาติของกลุ่มประเทศดังกล่าวมีวิธีการที่ชัดเจน และสามารถร่วมมือกันใช้สหกิจศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา ก�ำลังคนในอาเซียนได้กว้างขวางขึ้น “การจัดตั้งเครือข่ายสหกิจศึกษาอาเซียนเป็นปัจจัยส�ำคัญที่จะท�ำให้เกิดความร่วมมือ การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ และสามารถวางแนวทางให้เกิดการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรสหกิจศึกษานานาชาติในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อผลิต บัณฑิตคุณภาพให้รองรับความต้องการประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในที่สุด ซึ่งสหกิจศึกษานานาชาติจะช่วยเสริมสร้างสมรรถนะด้าน การท�ำงานข้ามวัฒนธรรม และช่วยให้การเคลือ่ นย้ายแรงงานความรูบ้ รรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทีส่ ำ� คัญเป็นมาตรการ พัฒนาคุณภาพบัณฑิตส�ำหรับตลาดแรงงานยุคใหม่ และเป็นปัจจัยส�ำคัญของการพัฒนาประเทศ ส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาจึงได้มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาระบบสหกิจศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยได้ก�ำหนดให้การจัดการศึกษา สหกิจศึกษานานาชาติเป็นเป้าหมายหนึ่งในแผนการด�ำเนินการส่งเสริมสหกิจศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.๒๕๕๖ - ๒๕๕๘ นอกจากนี้ สกอ. ยังมีโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาไทยและอาเซียน ตลอดจนโครงการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ และ ภาษาของประเทศเพือ่ นบ้านและอืน่ ๆ อีกหลายโครงการ เพือ่ ให้เกิดการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรสหกิจศึกษานานาชาติ ในสถาบันอุดมศึกษา” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว การจัดงาน ‘วันสหกิจศึกษาไทย’ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมกับ สมาคมสหกิจศึกษาไทย และเครือข่ายพัฒนา สหกิจศึกษา ๙ เครือข่าย ได้ร่วมกันจัดขึ้น ในวันที่ ๖ มิถุนายนของทุกปี ซึ่งในปีนี้เป็นการจัดงานวันสหกิจศึกษาไทย ครั้งที่ ๕ ซึ่งมี แนวคิดการจัดงาน คือ สหกิจศึกษา: กลไกสู่การพัฒนาประชาคมอาเซียนพลัส โดยมีความตั้งใจในการรวมพลังของทุกภาคส่วน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อความก้าวหน้าและสู่การพัฒนาของสหกิจศึกษาไทยต่อไปอีกก้าวหนึ่ง
8
อนุสารอุดมศึกษา
เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย
ปฐมนิเทศนักเรียน
‘ทุนเรียนดีมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์’ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๖ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจัดการปฐมนิเทศนักเรียนทุนโครงการพัฒนาก�ำลังคนด้านมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ (ทุนเรียนดีมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย) ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร โดยได้รับ เกียรติจากรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดการปฐมนิเทศ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาได้ให้ความส�ำคัญและเห็นควรให้การสนับสนุนการจัดสรรทุนในสาขาวิชาด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์อย่างต่อเนื่อง ซึง่ ได้ดำ� เนินโครงการพัฒนาก�ำลังคนด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มาตัง้ แต่ปงี บประมาณ ๒๕๕๒ รวม ๕ ปีงบประมาณ ได้นกั เรียนทุน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวม ๔๕๓ คน เป็นทุนในประเทศ ๑๑๒ ทุน และทุนต่างประเทศ ๓๔๑ ทุน ด�ำเนินการโดย ๒ วิธี คือ (๑) การรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อรับทุนโครงการฯ โดยในปีการศึกษา ๒๕๕๖ ได้นักเรียนทุน จ�ำนวน ๙๓ คน และส�ำรอง ๓๙ คน และ (๒) วิธีการคัดเลือกผู้รับทุน รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อไปว่า การปฐมนิเทศผู้รับทุนโครงการฯ ปีการศึกษา ๒๕๕๖ ในวันนี้ เพื่อให้นักเรียนทุนมีความเข้าใจ ในสถานภาพ บทบาทหน้าที่ มีความตระหนักในการเป็นนักเรียนทุนที่ดี และประสบความส�ำเร็จในการศึกษาตามวัตถุประสงค์ของ โครงการฯ อันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศ การเตรียมความพร้อมให้แก่นักเรียนทุนในเรื่องต่างๆ จะเป็นสิ่งที่ช่วยสนับสนุนให้นักเรียนทุน สามารถน�ำไปใช้ในขณะที่ศึกษาเล่าเรียน เพื่อกลับมาสร้างคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติและสังคม
สกอ. จัด ‘ค่ายอาเซียน’
๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖ - นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เปิดเผยถึงโครงการค่ายอาเซียน ว่า ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยคณะท�ำงาน โครงการค่ายอาเซียน จะจัดโครงการ ‘ค่ายอาเซียน’ ระหว่างวันที่ ๙ - ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๖ ณ บ้านไทยรีสอร์ท จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสเปิดโลกทัศน์ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ผ่านรูปแบบการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อสร้างความตระหนัก และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน “ค่ายอาเซียนจะจัดขึ้นในรูปแบบของกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่เอื้อต่อการ จัดกระบวนการเรียนรู้ที่แตกต่างจากการเรียนการสอนในห้องเรียน คือ เปลี่ยนวิธีการ รับรู้ เปลี่ยนสถานที่เรียนรู้ เปลี่ยนบริบทของการเรียนรู้ จากการเรียนรู้ในต�ำราเรียนไป สู่การเรียนรู้จากสถานการณ์ ประสบการณ์จริง และที่ส�ำคัญส่งเสริมให้นักศึกษาได้ลงมือ ปฏิบัติได้ด้วยตนเอง โดย สกอ. คาดหวังว่าประสบการณ์ที่นักศึกษาจะได้รับ หรือสร้าง ความรูค้ วามเข้าใจด้วยตนเองจะเป็นทักษะและกระบวนการเรียนรูท้ ตี่ ดิ ตัว อันเป็นเครือ่ งมือ ส�ำคัญในการเรียนรู้และความเข้าใจที่ลึกซึ้ง และน�ำไปสู่การสร้างความตระหนักและ เจตคติทดี่ เี กีย่ วกับประชาคมอาเซียนและประเทศสมาชิกต่อไป” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อไปว่า ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้เวียนหนังสือถึงสถาบันอุดมศึกษาให้ด�ำเนินการ ส่งนักศึกษาไทยที่ศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี สถาบันละ ๑ คน เพื่อเข้าร่วมคัดเลือกนักศึกษาไทย จ�ำนวน ๙๒ คน ที่เหมาะสมเข้าร่วม โครงการต่อไป โดยส่งรายชื่อพร้อมใบสมัครและบทความมาที่ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ภายในวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๖ ซึ่งคณะท�ำงานฯ จะพิจารณาผู้เข้าร่วมโครงการจากคุณสมบัติและบทความ และจะแจ้งตอบรับให้ทราบอีกครั้ง นอกจากนี้ยังได้ให้สถาบัน อุดมศึกษาที่มีนักศึกษาต่างชาติศึกษาอยู่ส่งนักศึกษาต่างชาติ ทั้งนักศึกษาฟิลิปปินส์ มาเลเซีย กัมพูชา เมียนมาร์ สิงคโปร์ บรูไน ติมอร์-เลสเต เวียดนาม ลาว และอินโดนีเซีย ที่ศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี เข้าร่วมโครงการด้วยจ�ำนวน ๔๐ คน อนุสารอุดมศึกษา
9
เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย
‘ทุนใต้’ รับ นศ. ยังไม่มีที่เรียน
๑,๑๙๐ คน
๗ พฤษภาคม ๒๕๕๖ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เปิดรับสมัครโครงการทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนา จังหวัดชายแดนภาคใต้ ระยะที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๖ กลุม่ ที่ ๑ ส�ำหรับนักเรียนทีไ่ ม่สามารถสอบเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาได้ (ยังไม่มีที่เรียน) นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เปิดเผยถึง โครงการทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนา จังหวัดชายแดนภาคใต้ ระยะที่ ๒ ว่า ในปีการศึกษา ๒๕๕๖ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ยังคงร่วมกับศูนย์อำ� นวยการ บริ ห ารจั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาในสั ง กั ด /ในก� ำ กั บ ของส� ำ นั ก งานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา จัดโครงการทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้ง ๒ กลุ่ม จ�ำนวน ๒๕๐ ทุน แบ่งเป็น กลุ่มที่ ๑ สนับสนุนค่าครองชีพส�ำหรับนักเรียนที่ไม่สามารถสอบเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาได้ จ�ำนวน ๑๒๕ ทุน โดย ขอความอนุเคราะห์ที่นั่งการศึกษา พร้อมยกเว้นค่าเล่าเรียนเป็นกรณีพิเศษจากสถาบันอุดมศึกษา และ กลุ่มที่ ๒ สนับสนุน ค่าครองชีพส�ำหรับนักเรียนที่สอบเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาได้ โดยเฉพาะในสาขาที่ขาดแคลน หรือสาขาที่เป็นความ ต้องการของพืน้ ทีจ่ งั หวัดชายแดนภาคใต้ จ�ำนวน ๑๒๕ ทุน โดยพิจารณาจากผลการเรียนดี ฐานะยากจน และมีความประพฤติดี โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเยาวชนทีม่ ภี มู ลิ ำ� เนาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในพืน้ ทีจ่ งั หวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และสงขลา ๔ อ�ำเภอ ได้แก่ อ�ำเภอจะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย “ในช่วงแรก จะด�ำเนินการรับสมัคร กลุ่มที่ ๑ ส�ำหรับนักเรียนที่ไม่สามารถสอบเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาได้ (ยังไม่มี ที่เรียน) ซึ่งในปีการศึกษา ๒๕๕๖ มีสถาบันอุดมศึกษาเข้าร่วมโครงการ จ�ำนวน ๘๑ แห่ง รับนักศึกษารวมทั้งสิ้น ๑,๑๙๐ คน สถาบันอุดมศึกษาทีร่ ว่ มโครงการจะสนับสนุนทีน่ งั่ การศึกษา และ/หรือยกเว้นค่าเล่าเรียนตามเงือ่ นไขทีส่ ถาบันอุดมศึกษาก�ำหนด ส่วนส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะสนับสนุนค่าครองชีพ จ�ำนวน ๑๒๕ ทุน/คน ตามระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร ให้แก่ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาที่รายงานตัวเข้าศึกษา จ�ำนวนเงินคนละ ๔,๐๐๐ บาท/เดือน ระยะเวลา ๑๐ เดือน/ปีการศึกษา ตั้งแต่ เดือนมิถุนายนถึงเดือนมีนาคม รวมเป็นเงิน ๔๐,๐๐๐ บาท/คน/ปีการศึกษา โดยเบิกจ่ายผ่านสถาบันอุดมศึกษา ซึ่ง สกอ. จะพิจารณาจัดสรรการได้รับเงินทุนค่าครองชีพ จากผลการคัดเลือกการเข้าศึกษาของนิสิต นักศึกษา ในโครงการฯ ส�ำหรับ กลุ่มที่ ๒ อีก ๑๒๕ ทุน จะรับสมัครประมาณภาคการศึกษาที่ ๒” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว ทั้งนี้ ผู้สนใจสมัครกลุ่มที่ ๑ สามารถดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ www.mua.go.th หรือสอบถามได้ที่ โทร. ๐ ๒๖๑๐ ๕๔๑๙ โดยผู้ประสงค์จะสมัคร ต้องไปสมัครด้วยตนเอง ระหว่างวันที่ ๑๐ - ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ณ อาคารเรียนรวม (อาคาร ๑๙) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๕.๓๐ น. ไม่เว้นวันหยุดราชการ ซึ่ง สกอ. จะประกาศ รายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ ในวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ทางเว็บไซต์ www.mua.go.th ก�ำหนดสอบสัมภาษณ์/รายงาน ตัวที่สถาบันที่ได้รับคัดเลือก ในวันที่ ๒๙ - ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖ และจะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา และได้รับทุนค่า ครองชีพ ภายในเดือนมิถุนายน ๒๕๕๖ ทางเว็บไซต์ www.mua.go.th
10
อนุสารอุดมศึกษา
เรื่องเล่าอาเซียน
‘ค่ายอาเซียน’
เตรียมพร้อมนักศึกษาเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จากที่ ‘อนุสารอุดมศึกษา’ ได้น�ำเสนอโครงการ/กิจกรรม ที่ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาด�ำเนินการ เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของอุดมศึกษาเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี ๒๕๕๘ ทั้งในเชิงยุทธศาสตร์ที่ให้สถาบัน อุดมศึกษาในสังกัด/ในก�ำกับของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาน�ำไปเป็นกรอบแนวทางในการจัดท�ำแผนปฏิบัติการ รายสถาบัน ตลอดจนโครงการ/กิจกรรมต่างๆ ที่ สกอ. ได้จัดท�ำขึ้นมาเพื่อเป็นต้นแบบให้สถาบันอุดมศึกษาน�ำไปต่อยอดและ ขยายวงกว้างต่อไปยังประชาคมอุดมศึกษาทุกกลุ่มเพื่อเตรียมความพร้อมในทุกด้านนั้น ที่ผ่านมา ‘อนุสารอุดมศึกษา’ ได้น�ำเสนอโครงการที่ด�ำเนินการส่งเสริม สนับสนุน การเตรียมความพร้อมด้านวิชาการ การเพิ่มขีดความสามารถด้านภาษา และการแลกเปลี่ยนบุคลากร เพียงมิติด้านวิชาการมิติเดียวเท่านั้น อย่างไรก็ตาม นอกจากโครงการ/กิจกรรมการเตรียมความพร้อมด้านวิชาการแล้ว ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษายังให้ความส�ำคัญในการขับเคลื่อนการเรียนรู้ประชาคมอาเซียนสู่สถาบันอุดมศึกษา โดยเน้นการสร้างความ ตระหนัก การเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการเป็นประชาคมอาเซียน ผ่านการจัดกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อส่งเสริม การพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา จึงก�ำหนดจัด ‘โครงการค่ายอาเซียน’ ระหว่างวันที่ ๙ - ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๖ ณ บ้านไทยรีสอร์ท จังหวัดสุพรรณบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสเปิดโลกทัศน์ และแลกเปลี่ยน เรียนรู้ส่ิงใหม่ๆ ผ่านรูปแบบการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อสร้างความตระหนักและเจตคติที่ดีเกี่ยวกับประชาคม อาเซียน พร้อมทั้งพัฒนานักศึกษาไทยให้พร้อมในตลาดแรงงานในภูมิภาคอาเซียน และพัฒนาไปสู่ความเป็นสากล ตลอดจนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาไทยกับนักศึกษาในกลุ่มประเทศ อาเซียน โดยจัดเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านค่ายร่วมระหว่างนักศึกษาไทยกับนักศึกษาต่างชาติที่ศึกษาในประเทศไทย มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาไทยที่ศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี จ�ำนวน ๙๒ คน และนักศึกษาต่างชาติ ทั้งนักศึกษาฟิลิปปินส์ มาเลเซีย กัมพูชา เมียนมาร์ สิงคโปร์ บรูไน ติมอร์-เลสเต เวียดนาม ลาว และอินโดนีเซีย ที่ศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีของ สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย จ�ำนวน ๔๐ คน ‘ค่ายอาเซียน’ เป็นรูปแบบของกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่เอื้อต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่แตกต่างจาก การเรียนการสอนในห้องเรียน คือ เปลี่ยนวิธีการรับรู้ เปลี่ยนสถานที่เรียนรู้ เปลี่ยนบริบทของการเรียนรู้ จากการเรียนรู้ใน ต�ำราเรียนไปสู่การเรียนรู้จากสถานการณ์ ประสบการณ์จริง และที่ส�ำคัญส่งเสริมให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติได้ด้วยตนเอง มีกระบวนการคิดวิเคราะห์ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกับเพื่อน ๆ เป็นหมู่คณะ และสามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ ซึ่งเป็นปัจจัยส�ำคัญที่จะกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ได้มากยิ่งขึ้น โดยคาดหวังว่าประสบการณ์ที่นักศึกษาได้รับ หรือ สร้างความรู้ความเข้าใจด้วยตนเองจะเป็นทักษะและกระบวนการเรียนรู้ที่ติดตัว อันเป็นเครื่องมือส�ำคัญในการเรียนรู้และ ความเข้าใจที่ลึกซึ้ง และน�ำไปสู่การสร้างความตระหนักและเจตคติท่ีดีเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนและประเทศสมาชิกต่อไป นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับความรู้จากการบรรยายพิเศษ เรื่อง “Student Mobility in the ASEAN Community: Opportunities and challenges” โดย อธิบดีกรมอาเซียน และเรื่อง “AUN: ASEAN University Network” โดย รองศาสตราจารย์นันทนา คชเสนี ผู้อ�ำนวยการบริหารเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมค่ายอาเซียน อาทิ กิจกรรมละลายพฤติกรรม/กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ กิจกรรมการสร้างทีมงาน (Team Building) กิจกรรมการแก้ปัญหา (Problem Solving) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องประชาคมอาเซียนและน�ำเสนอผลงาน ตลอดจนการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ภาษา การแต่งกาย กีฬา การละเล่น ‘ค่ายอาเซียน’ ไม่ใช่เป็นเพียงกิจกรรมนักศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา ให้มีความสมบูรณ์พร้อม ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา มีความรู้คู่คุณธรรมและสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข ตามนโยบายของส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา และสถาบันอุดมศึกษาเท่านั้น แต่ยังเป็นกิจกรรมที่จะช่วยให้นักศึกษามีโอกาสเปิดรับความรู้ แลกเปลี่ยนทัศนคติ พร้อมทั้งเปิดใจรับความเหมือนและความแตกต่างของเพื่อนร่วมอาเซียน เพื่อเตรียมปรับตัวและพร้อมเป็น สมาชิกในประชาคมอาเซียนอันใกล้นี้ อนุสารอุดมศึกษา
11
เรื่องพิเศษ
วิสาขบูชา
วันส�ำคัญสากลโลก ประจ�ำปี ๒๕๕๖ พุทธชยันตี (Buddha Jayanti) เป็นชื่อเรียกงานเฉลิมฉลองหรือ พิธีบูชา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเนื่องในวาระแห่งการตรัสรู้ของพระสัมมา สัมพุทธเจ้า ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชาในประเทศไทยนั่นเอง พุทธชยันตี เป็นที่รู้จักกันดีของชาวพุทธนานาชาติ อย่างในประเทศศรีลังกา อินเดีย พม่า เป็นต้น โดยเฉพาะในช่วงการเฉลิมฉลองพุทธชยันตี ๒๕ พุทธศตวรรษ เมื่ อ ปี พ.ศ.๒๕๐๐ (ถื อ กั น ว่ า เป็ น กึ่ ง พุ ท ธกาล) แต่ สั น นิ ษ ฐานว่ า มี การเริ่มต้นงานเฉลิมฉลองพุทธชยันตีนี้ ภายหลังจากที่ประเทศศรีลังกา ได้รับเอกราชจากประเทศอังกฤษในปี พ.ศ.๒๔๙๑ และจากการที่ ดร.อัมเบดการ์ (Dr.Babasaheb Bhimrao Ramji Ambedkar) ได้ฟื้นฟู พุทธศาสนาในประเทศอินเดีย โดยมีการน�ำชาวอินเดียประมาณ ๒ แสนคนปฏิญาณตน เป็นชาวพุทธ เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ (อินเดีย ศรีลังกา นับเป็น พ.ศ.๒๕๐๐ เร็วกว่าไทย ๑ ปี) เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองพุทธชยันตี ๒๕ พุทธศตวรรษ นอกจากนี้ รัฐบาลประเทศอินเดียยังได้สร้างสวนสาธารณะพุทธชยันตีไว้ที่กรุงนิวเดลีเพื่อเป็น อนุสรณ์ส�ำหรับวาระนี้ด้วย ส�ำหรับรัฐบาลไทย จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้ร่วมเฉลิมฉลอง พุทธชยันตี ๒๕ พุทธศตวรรษ ด้วยการสร้างพุทธมณฑลเป็นอนุสรณ์สถาน ประกาศให้ พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจ�ำชาติ โดยก�ำหนดให้วันพระหรือวันธรรมสวนะเป็นวันหยุด ราชการ (ประกาศส�ำนักคณะรัฐมนตรี ฉบับที่ ๙ ลงวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๙๙) และมี การพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาไทยครบชุดฉบับแรก เป็นต้น ส�ำหรับการเฉลิมฉลองในระดับ นานาชาตินั้น รัฐบาลพม่าได้เป็นเจ้าภาพในการจัด “ฉัฏฐสังคีติ” คือการสังคายนา พระไตรปิฎกระดับนานาชาติ โดยทางพม่านับเป็นการสังคายนา ครั้งที่ ๖ แล้วได้ จัดพิมพ์พระไตรปิฎกบาลี และคัมภีร์ทั้งหลายขึ้นเป็นจ�ำนวนมาก ส�ำหรับวาระส�ำคัญในปีปัจจุบันเนื่องในมหาธัมมาภิสมัย พุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ ถ้าถือตามหลักการค�ำนวณปีพุทธศักราชแบบไทยอยู่ในช่วงระหว่าง วิสาขบูชา ๒๕๕๔ - วิสาขบูชา ๒๕๕๕ ทั้งนี้ ในวันวิสาขบูชา ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา (๑๗ พ.ค.๒๕๕๔) เป็นวันทีพ่ ระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรูค้ รบ ๒๕๙๙ ปีเต็ม และเริม่ เข้าสู่ ปีที่ ๒๖๐๐ แห่งการตรัสรู้โดยค�ำนวณจากการน�ำปีพุทธศักราชที่เริ่มนับหลังจากการ ปรินพิ พาน บวกด้วย ๔๕ อัน เป็นจ�ำนวนพรรษาทีพ่ ระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ดำ� เนินพุทธกิจ ภายหลังการตรัสรูจ้ วบจนเสด็จดับขันธปรินพิ พาน (สูตรการค�ำนวณ จ�ำนวนปีการตรัสรู้ = ปี พ.ศ. + ๔๕) ดังนัน้ ในวันวิสาขบูชาปี พ.ศ.๒๕๕๕ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสรูค้ รบ ๒๖๐๐ ปีบริบูรณ์ ในประเทศต่างๆ ที่มีชาวพุทธเข้มแข็งได้ประกาศให้มีการเฉลิมฉลอง ในวาระนีเ้ ป็นเวลา ๓ ปี (๒๕๕๓ - ๒๕๕๕) ดังเช่นในประเทศศรีลงั กา พม่า อินเดีย เป็นต้น ได้มีก ารจัดงานเฉลิมฉลองอย่ า งตื่น ตัว และยิ่ง ใหญ่ ที่ส�ำ นักงานใหญ่ แ ห่ ง องค์การ สหประชาชาติ สหรัฐอเมริกา ก็มกี ารจัดงานฉลองใหญ่ในช่วงวันวิสาขบูชาทีผ่ า่ นมา ส�ำหรับประเทศไทย ได้มีการจัดงานในระดับภาคประชาชนกว่า ๒ ปีที่ผ่านมา ในวงจ�ำกัด ส่วนในระดับรัฐบาลประกาศให้มีการเฉลิมฉลองใหญ่ตลอดปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ อย่างเป็นทางการ
12
อนุสารอุดมศึกษา
เรื่องพิเศษ พุทธชยันตี โดยรากศัพท์ของค�ำว่าชยันตีมาจากค�ำว่า “ชย” คือ ชัยชนะ อันหมายถึง ชัยชนะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อหมู่มาร และกิเลสทั้งปวงอย่างสิ้นเชิง อันท�ำให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้บังเกิดขึ้นในโลก พุทธชยันตี จึงมีความหมายว่าเป็นการตรัสรู้ และ การบังเกิดขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย ในปัจจุบันพุทธชยันตียังถูกตีความในความหมายถึง ชัยชนะของพุทธศาสนาและชาวพุทธด้วย เช่น การได้รับเอกราชและมีสิทธิ ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเป็นครั้งแรกของชาวพุทธในประเทศศรีลังกา การฉลองปีใหม่ชาวพุทธโดยไม่มีเหล้า สุรา ยาเสพติด สิ่งมึนเมาทั่วทั้งประเทศศรีลังกา การเอาชนะสิ่งเลวร้ายในสังคมจนท�ำให้ประเทศศรีลังกามีสถิติอาชญากรรมต�่ำมากๆ
สัญลักษณ์แห่งพุทธชยันตี ส�ำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้เสนอรูปแบบธงสัญลักษณ์งานฉลองพุทธชยันตี ตามค�ำแนะน�ำของมหาเถรสมาคม เพือ่ เผยแพร่ให้คณะสงฆ์ หน่วยงานราชการ และพุทธศาสนิกชนทัว่ ไป ได้ใช้ประดับตกแต่ง สถานที่ราชการ วัด และเคหสถาน ซึ่งขนาดของธงเท่ากับธงธรรมจักรทั่วไป พื้นสีเหลือง มีรูปใบโพธิ์รอบธรรมจักร ในวงธรรมจักรเป็นสีธงฉัพพรรณรังสี รูปธรรมจักรมีซี่ จ�ำนวน ๑๒ ซี่ ซึ่งหมายถึง ญาณ ๓ ในอริยสัจ ๔ มีชื่อภาษาไทยด้านล่างใบโพธิ์ ส่วนชื่อภาษา อังกฤษอยู่รอบวงธรรมจักร หากใช้ประดับในต่างประเทศ หรือสถานทีร่ ะดับสากลสามารถ สลับระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษก็ได้ โดยแบบธงสัญลักษณ์ได้ผ่านความเห็นชอบ จากมหาเถรสมาคม ส�ำหรับความหมายของธงสัญลักษณ์นั้น ใบโพธิ์ หมายถึง การตรัสรู้แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สีเขียวแห่งใบโพธิ์ หมายถึง ความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งพระธรรมค�ำสอนของ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมจักรกลางผืนธงฉัพพรรณรังสี หมายถึง รัศมีแห่งพระธรรมได้ฉายแสงเหนือ ผื น แผ่ น ดิ น ไทย และส่ อ งประกายไปยั ง นานาประเทศ จนประเทศไทยได้ ก ลายเป็ น ศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก กนกลายไทยชูช่อฟ้า หมายถึง ผืนแผ่นดินไทยรุ่งเรืองด้วยอารยธรรมแห่งชนชาติ ไทย ได้ เ ชิ ด ชู พ ระธรรมค� ำ สั่ ง สอนของพระพระพุ ท ธเจ้ า ให้ อ� ำ นวยประโยชน์ สุ ข แก่ มวลมนุษยชาติ และจะด�ำรงอยู่คู่ผืนแผ่นดินไทยตราบชั่วกัลปาวสาน
ข้อมูล: http://www.vesakha.org
อนุสารอุดมศึกษา
13
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชด�ำเนินไปทรงเปิดงาน “สัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชาโลก ประจ�ำปี ๒๕๕๖” ระหว่างวันที่ ๑๘ -๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง การจัดงานในครั้งนี้ รัฐบาลได้มอบหมายให้ ๕ หน่วยงานหลัก ได้แก่ ศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ส�ำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย ส�ำนักกรุงเทพมหานคร และองค์กรชาวพุทธ ทั่วประเทศ ร่วมกันจัดงาน “สัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชาโลก ประจ�ำปี ๒๕๕๖” ระหว่างวันที่ ๑๘ - ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เพื่อเฉลิมฉลองพุทธชยันตี หรือ ๒,๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ของ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อเนื่องเป็นปีท่สี อง ภายใต้แนวคิด “๒๖ ศตวรรษวิสาขบูชาโลก” ชวนกันปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ทั่วไทย โดยการจัดงานในปีนี้ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานพระบรมสารีริกธาตุ ส่วนพระองค์ เพื่อให้ประชาชนได้สักการะตลอดงาน พิธีอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติ ๑๙๙ รูป และ กิจกรรมพระธรรมเทศนา จากพระวิปสั สนาจารย์ชอื่ ดังทุกวัน เวลา ๑๙.๐๐ น. อาทิ พระธรรมมงคลญาณ (หลวงพ่อวิรยิ งั ค์ สิรนิ ธโร) พระอาจารย์อารยวังโส พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก พระราชมงคลรังษี พระราชวิสุทธิโมลี และพระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ เป็นต้น การร่วม บุญแผ่นทองเพื่อจัดสร้างพระพุทธชยันตีปางสมาธิ อธิษฐานจิตติดต้นกัลปพฤกษ์ และท�ำบุญดอกบัวบูชาพระรัตนตรัย การสาธยายพระไตรปิฎก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมธรรมที่เป็นความบันเทิงทางปัญญาส�ำหรับคนรุ่นใหม่ อาทิ ตลาดนัด ธรรม...ยิงเป้ากิเลส กิจกรรมธรรมฑูตออนไลน์ ช่วยกันโฆษณาธรรมะผ่านโซเชียลมีเดีย ตลาดนัดธรรม...ยิงเป้ากิเลส และ การฉายภาพยนตร์สั้น “นมัสเต จ๊ะเอ๋ บ๊ายบาย” ถ่ายท�ำในประเทศอินเดีย รวมทั้งบูธนิทรรศการที่น่าสนใจมากมาย
14
อนุสารอุดมศึกษา
พูดคุยเรื่องมาตรฐาน
ยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง (ตอนจบ) จาก ‘อนุสารอุดมศึกษา’ ฉบับที่ ๔๑๔ ประจ�ำเดือนธันวาคม ๒๕๕๕ ได้น�ำเสนอรายละเอียดของยุทธศาสตร์พัฒนา การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง ยุทธศาสตร์ที่ ๑ ซึ่งเกี่ยวกับการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองส�ำหรับเด็กและเยาวชน ให้ผู้อ่านทราบไปแล้ว ฉบับนี้ ‘อนุสารอุดมศึกษา’ จึงขอน�ำรายละเอียดของยุทธศาสตร์ที่ ๒ - ๔ คือ ยุทธศาสตร์การศึกษาเพื่อ ความเป็นพลเมืองส�ำหรับผู้ใหญ่ ครอบครัว และชุมชน ยุทธศาสตร์การสร้างพลเมืองในวงกว้างและการสร้างความตระหนัก ในสังคมโดยใช้สื่อมวลชน และยุทธศาสตร์การเชื่อมประสานเครือข่ายภาครัฐและเอกชน ตลอดจนแนวทาง/กลไกการด�ำเนินงาน มาน�ำเสนอให้ผู้อ่านทราบเป็นตอนจบ ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองส�ำหรับผู้ใหญ่ ครอบครัว และชุมชน การสร้างความเป็นพลเมืองในระบบการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายจะต้องสร้างความเป็นพลเมืองให้กับผู้ใหญ่ ครอบครัว ชุมชน ที่ผู้เรียนเกี่ยวข้องไปพร้อมๆ กันด้วยมาตรการ ดังนี้ (๑) ส�ำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ต้องสร้างหลักสูตร “การศึกษาเพือ่ ความเป็น พลเมืองส�ำหรับผู้ใหญ่” โดยมีทั้งหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมือง และการศึกษาเรื่องการเมืองในหัวข้อหรือวิชาต่างๆ เช่น รัฐธรรมนูญ นิติรัฐ สิทธิเสรีภาพของประชาชน การเมืองภาคพลเมืองและระบบเลือกตั้ง เป็นต้น ให้ประชาชนสามารถ เลือกเรียนได้ (๒) ส�ำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ องค์กรเอกชน ร่วมกันจัดท�ำหลักสูตรและการอบรม “พลเมืองและประชาธิปไตยในชุมชน” ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้น�ำชุมชน เพื่อฝึกฝนการเป็นพลเมืองที่เคารพผู้อื่น เคารพกติกา และการร่วมกันวิเคราะห์ แก้ปัญหาของท้องถิ่น และชุมชนด้วยการ ลงมือท�ำ (๓) จัดท�ำ “คู่มือการเลี้ยงลูกให้เป็นพลเมือง” เพื่อเผยแพร่ความรู้และวิธีการในการเลี้ยงลูกให้เป็นพลเมือง และการสร้าง ประชาธิปไตยในครอบครัว โดยหลักการเลี้ยงลูกให้เป็นพลเมือง คือ การสอนให้มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และ ต่อสังคม ทั้งไม่ตามใจลูก และไม่บังคับลูก แต่ใช้วิธีการสร้างกติกาที่มาจากการตกลงกันระหว่างพ่อแม่ลูก และฝึกให้ลูกเคารพ กติกา และสร้างครอบครัวให้เป็นประชาธิปไตย โดยฝึกให้สมาชิกทุกคนในครอบครัวยอมรับความแตกต่าง เคารพความคิดเห็น ของกันและกันโดยไม่พยายามไปเปลี่ยนหรือบังคับให้คนอื่นต้องคิดเหมือนตนเอง ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การสร้างพลเมืองในวงกว้างและการสร้างความตระหนักในสังคมโดยใช้ส่ือมวลชน การสร้าง “พลเมือง” จ�ำเป็นต้องมีการสร้างความตระหนักในสังคม เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและความตื่นตัวในวงกว้าง จึงจ�ำเป็นต้องมีการด�ำเนินการโดยใช้สื่อมวลชนที่เข้าถึงประชาชนได้ทั้งประเทศ ดังต่อไปนี้ (๑) ใช้สื่อมวลชน ทั้งสื่อโทรทัศน์ วิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ และอินเทอร์เน็ต ในการรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจ และความ ตื่นตัวในเรื่อง “พลเมือง” และคุณสมบัติของความเป็น “พลเมือง” ในระบอบประชาธิปไตย เพื่อให้ประชาชนช่วยกันสร้าง “พลเมือง” และพัฒนาตนเองให้เป็น “พลเมือง” ที่เคารพผู้อื่น เคารพกติกา และร่วมกันแก้ปัญหาของสังคมโดยเริ่มต้นที่ตนเอง (๒) รัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการจัดให้มีรายการโทรทัศน์ในเรื่อง “พลเมือง” ส�ำหรับเยาวชน และมีรายการ “พลเมือง” ส�ำหรับผู้ใหญ่ เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ และการพัฒนาตนเองให้เป็นพลเมือง (๓) จัดให้มรี ายการโทรทัศน์สำ� หรับครูในการเรียนรูท้ กั ษะและเทคนิควิธกี ารในการเรียนการสอนเพือ่ สร้างความเป็นพลเมือง โดยอาจปรับเปลี่ยน “รายการครูมืออาชีพ” ให้มีเนื้อหาที่เป็นการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองด้วย (๔) ประสานความร่วมมือกับสมาคมวิชาชีพสื่อสารมวลชนโดยเพิ่มกลไกการด�ำเนินงาน สื่อสารการตลาดเพื่อสังคม เพื่อสร้าง ความรู้ความเข้าใจและความตื่นตัวให้ส่ือมวลชน มีส่วนร่วมในการสร้างพลเมือง รณรงค์ให้คนไทยมีความเป็นพลเมือง (๕) ปลูกจิตส�ำนึกความเป็นพลเมืองให้ฝา่ ยประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการ รวมถึงของหน่วยงานอืน่ ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อร่วมกันด�ำเนินการประชาสัมพันธ์ให้เกิดความตื่นตัวเรื่องพลเมือง และการร่วมกันจัดท�ำ สื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างพลเมือง
อนุสารอุดมศึกษา
15
พูดคุยเรื่องมาตรฐาน
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การเชื่อมประสานเครือข่ายภาครัฐและเอกชน เพื่อเชื่อมประสานการท�ำงานระหว่างหน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการ กับ หน่ ว ยงานอื่น ๆ ของรัฐ และเอกชนในการสร้ า งพลเมือ ง จึง ต้ อ งมีก ารสร้ า ง เครือข่ายการสร้างความเป็นพลเมืองทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมีมาตรการ ดังนี้ (๑) หน่วยงานหลักของกระทรวงศึกษาธิการในการจัดการศึกษาของชาติ ต้องสร้างเครือข่ายการท�ำงาน เพื่อสร้างความเป็นพลเมืองร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรต่างๆ ในภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง โดยจัดให้มีการประชุมสัมมนาหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างเครือข่าย การท�ำงานเชื่อมประสาน เพื่อร่วมกันสร้างพลเมืองด้วยวิธีการอันหลากหลาย แต่มีเป้าหมายเดียวกัน คือ การสร้างพลเมือง (๒) ส�ำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมสนับสนุนองค์กรเอกชนและองค์กรภาคประชาชน รวมถึงพรรคการเมือง และสาขาของพรรคการเมือง ในการสร้างพลเมือง และการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริม ความเป็นพลเมือง แนวทาง/กลไกการด�ำเนินงาน เพื่อให้ยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองบังเกิดผล อย่างเป็นรูปธรรมเห็นควรให้มีการก�ำหนดแนวทาง/กลไกการด�ำเนินงาน ดังนี้ ๑. รัฐบาลก�ำหนดให้การพัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็น “พลเมือง” เป็นวาระแห่งชาติ ที่ทุกส่วนของสังคมต้องให้ความส� ำคัญ และปฏิบัติตนเป็น แบบอย่าง โดยมีมาตรการให้คุณให้โทษควบคู่กันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ก�ำหนด ๒. ก� ำ หนดแนวทางการด� ำ เนิ น งานของแต่ ล ะองค์ ก รหลั ก ของกระทรวง ศึกษาธิการที่ชัดเจน และจัดท�ำแผนปฏิบัติการ รวมทั้งประสานงาน/บูรณาการ ระหว่างหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง อาทิ สมศ. ควรก�ำหนดความเป็นพลเมืองเป็น ตัวชี้วัดหนึ่งของการประเมินคุณภาพสถานศึกษา ๓. ต้องมีหน่วยงานกลางเพื่อท�ำหน้าที่ด�ำเนินการจัดกิจกรรมประสานงาน เครือข่ายอย่างเป็นระบบ เกิดการระดมทรัพยากรทั้งบุคคลและงบประมาณจาก ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เห็นผลอย่างจริงจัง ๔. ให้องค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องด�ำเนินการ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองให้เป็น รู ป ธรรม และด� ำ เนิ น การในลั ก ษณะภาคี เ ครื อ ข่ า ยร่ ว มกั บ ภาคประชาสั ง คม ภาคประชาชน และกระทรวงอื่นๆ ๕. ให้มีการติดตามและประเมินผลการด�ำเนินงานความเป็นพลเมืองด้วย วิ ธีก ารที่ ห ลากหลายทุ ก ระดั บ เพื่ อ ให้ ส ะท้ อ นความเปลี่ ย นแปลงของผู ้ เ รี ย น (Outcome) ตลอดจนสื บ ค้ น ตั ว อย่ า งที่ ดี ส� ำ หรั บ เผยแพร่ ข ยายผล โดยมี ก าร ประเมินผลทุก ๑ ปี จากการน�ำเสนอ ยุทธศาสตร์พฒ ั นาการศึกษาเพือ่ สร้างความเป็นพลเมือง ‘อนุ ส ารอุ ด มศึ ก ษา’ หวั ง ว่ า สาระดั ง กล่ า วจะเป็ น การจุ ด ประกายให้ ส ถาบั น อุ ด มศึ ก ษา บุ ค ลากรอุ ด มศึ ก ษา ทั้ ง ผู ้ บ ริ ห าร คณาจารย์ แ ละนิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา ร่ ว มกั น จั ด การเรี ย นการสอน เพื่ อ สร้ า งความเป็ น พลเมื อ งในระดั บ อุ ด มศึ ก ษา ตลอดจนเป็นแบบอย่างที่ดี ส�ำหรับท�ำหน้าที่หล่อหลอมปลูกฝังอุปนิสัย ค่านิยม ความเป็นพลเมืองให้กับเด็กและเยาวชนในวงกว้างต่อไป ข้อมูล: สภาการศึกษา
16
อนุสารอุดมศึกษา
เรื่องแนะนำ�
กิจกรรมต้อนรับน้องใหม่ เมือ่ ใกล้เวลาเปิดภาคการศึกษาในปีการศึกษาใหม่ของสถาบันอุดมศึกษา นอกจากนิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา ‘น้ อ งใหม่ ’ จะเตรี ย มตั ว เริ่ ม ต้ น ชี วิ ต นั ก ศึ ก ษา ในรั้วมหาวิทยาลัยแล้ว ฝ่าย ‘รุ่นพี่’ ก็เตรียมจัดกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่และ ประชุมเชียร์ เพื่อถ่ายทอดความสัมพันธ์ของนิสิตนักศึกษารุ่นพี่สู่รุ่นน้อง ยังผลให้เกิดความสามัคคี มีระเบียบวินัย ความภาคภูมิใจในสถาบัน และ มีการช่วยเหลือเกื้อกูลฉันพี่น้อง ในช่วงก่อนเปิดภาคการศึกษาใหม่ของทุกปี ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาจะมีหนังสือขอความร่วมมือเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมต้อนรับ น้ อ งใหม่ แ ละประชุ ม เชี ย ร์ ใ นสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาไปยั ง สถาบั น อุ ด มศึ ก ษา ในสังกัด/ในก�ำกับของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ให้เตรียมการ ป้องกันปัญหาและสนับสนุน ส่งเสริม และแนะน�ำกิจกรรมที่เหมาะสมให้กับ นิสิต นักศึกษา ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การจัดกิจกรรม ต้ อ นรั บ น้ อ งใหม่ แ ละประชุ ม เชี ย ร์ ใ นสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา เพื่ อ ให้ ส ถาบั น อุดมศึกษาถือเป็นแนวปฏิบัติในการด�ำเนินงานเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมรับ น้องใหม่และประชุมเชียร์ ในปีนี้ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้มหี นังสือที่ ศธ ๐๕๐๘/ ว ๔๗๖ ลงวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๖ ขอความร่วมมือสถาบันอุดมศึกษา โดยใช้ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การจัดกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่ และประชุมเชียร์ในสถาบันอุดมศึกษา ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นแนวการด�ำเนินงาน โดยรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงศึกษาธิการ (นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา) ได้สงั่ การเน้นย�ำ้ ให้สถาบันอุดมศึกษาด�ำเนินการ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการดังกล่าวอย่างเคร่งครัด และขอก�ำชับ ให้สถาบันอุดมศึกษาดูแลควบคุมการจัดกิจกรรมรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ ให้เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ ไม่ให้เกิดความรุนแรงหรือล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพ ของน้องใหม่ โดยเฉพาะควบคุมไม่ให้มีกิจกรรมที่อาจส่อ/สื่อ หรือเข้าข่าย การล่วงละเมิดทางเพศ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงขอให้ สถาบันอุดมศึกษารับทราบนโยบายและถือเป็นแนวปฏิบัติต่อไป
อนุสารอุดมศึกษา
17
18
อนุสารอุดมศึกษา
พูดคุยเรื่องมาตรฐาน
เหตุการณ์เล่าเรื่อง
การประชุม สุดยอดมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ครั้งที่ ๒ โครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ภายใต้ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา (สกอ.) ได้รบั งบประมาณปี ๒๕๕๕ สนับสนุนการวิจยั ให้มหาวิทยาลัยวิจยั แห่งชาติ ๙ แห่ง คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อท�ำวิจัยและพัฒนาโดย กลุ่มคณาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญใน ๖ ซุปราคลัสเตอร์ ได้แก่ เกษตรและอาหาร สุขภาพ อุตสาหกรรม พลังงานสิ่งแวดล้อม สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ กอปรกับเมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๖ นิตยสาร Time Higher Education ของอังกฤษ ได้ประกาศการจัดอันดับ ๑๐๐ มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในเอเชียเป็นครั้งแรก พบว่ามีมหาวิทยาลัยไทยติดอันดับ ๓ แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (อันดับที่ ๕๕) มหาวิทยาลัยมหิดล (อันดับที่ ๖๑) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อันดับที่ ๘๒) ซึ่งสะท้อนถึงศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทยที่สามารถพัฒนาให้ก้าวหน้าสู่การแข่งขันในเวทีโลกได้ เพื่อรวบรวมผลการด�ำเนินงานวิจัยที่เกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ๙ แห่ง และเป็นเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ระหว่างมหาวิทยาลัยที่จะก่อให้เกิดการรวมกลุ่มวิจัยเชิงบูรณาการระหว่างคลัสเตอร์ต่างๆ ส�ำนักบริหารโครงการส่งเสริมการวิจัย ในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ภายใต้ สกอ. จึงจัดประชุมสุดยอดมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ครั้งที่ ๒ หรือ The 2nd Thailand National Research Universities Summit (NRU SUMMIT II) ในวันที่ ๗ - ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงศักยภาพด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศไทยในการสร้าง ความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและระดับโลก และแสดงให้เห็นถึงมิติใหม่ของการท�ำวิจัยเชิงบูรณาการในการสร้างองค์ความรู้ และนวัตกรรมพร้อมทั้งเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของนักวิจัยไทยให้แข็งแกร่ง รวมถึงให้มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติท้ัง ๙ แห่ง ได้น�ำเสนอผลการด�ำเนินงานและความก้าวหน้าทางวิชาการ ตลอดจนเป็นเวทีแลกเปลี่ยนและระดมความคิดทางวิชาการในการน�ำ ผลงานวิจัยไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และเผยแพร่สู่สาธารณชน
อนุสารอุดมศึกษา
19
เหตุการณ์เล่าเรื่อง
20
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ กล่าวในการเปิดงานโดยชื่นชมมหาวิทยาลัยวิจัย ที่น�ำผลงานมาจัดแสดงในครั้งนี้ ว่า จากผลงานที่น�ำมาจัดนิทรรศการ ของมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ได้เห็นผลงานวิจัยที่เด่นๆ และน่าสนใจ หลากหลาย มีหลายชิ้นที่จะน�ำไปใช้ให้เกิดผลประโยชน์ตอบแทนอย่าง มหาศาล ซึง่ ต้องยอมรับว่าโลกยุคปัจจุบนั ไม่ว่าจะเป็นสินค้า ผลิตภัณฑ์ บริการ ระบบการท�ำงาน ล้วนต้องผ่านกระบวนการวิจัยและพัฒนา มาแล้วทั้งสิ้น “รัฐบาลได้ให้ความส�ำคัญกับเรือ่ งของการวิจยั และพัฒนามาก และ เชื่อว่าหากคนไทยได้ทราบถึงความส�ำคัญของการวิจัยและพัฒนาว่า การลงทุนให้มหาวิทยาลัยวิจัย สามารถสร้างผลตอบแทนกลับมาสู่ ประเทศและคนไทยได้ อ ย่ า งคุ ้ ม ค่ า เพี ย งไร เชื่ อ ว่ า ก็ จ ะมี ค นที่ ช ่ ว ย สนับสนุน และขอให้ผทู้ เี่ กีย่ วข้องจัดงบประมาณด้านการวิจยั และพัฒนา มากขึ้นอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ต้ังเป้าว่าจะสนับสนุน งบประมาณด้านการวิจยั ร้อยละ ๓๐ และให้เอกชนสนับสนุนอีกร้อยละ ๗๐ เพราะเป็นผู้ที่ได้ประโยชน์โดยตรงทันที รวมทั้งเอกชนด�ำเนินกิจการ เพื่อแสวงหาก�ำไร หากลงทุนด้านการวิจัย ๕๐ ล้านบาท แต่ได้เงิน กลับคืนมาเกิน ๕๐ ล้านบาท ก็ถือว่าคุ้มค่า ซึ่งจะช่วยให้เอกชนตัดสินใจ ท�ำการวิจยั ง่ายขึน้ ส่วนภาครัฐเป็นผูส้ นับสนุนและไม่ได้หาประโยชน์จาก งานวิจัย” รมว.ศธ. กล่าว ในตอนท้าย รมว.ศธ. ได้ฝากให้มหาวิทยาลัยต่างๆ ออกไปหา ภาคธุรกิจและเอกชน เพื่อบอกให้รู้ว่ามีความสามารถด้านใด และมุ่งที่ จะวิจัยพัฒนาในเรื่องใด ในปัจจุบันมีหลายเรื่องที่ภาคเอกชนยังไม่ทราบ แต่ ม หาวิ ท ยาลั ย ทราบ ถื อ เป็ น ข้ อ ได้ เ ปรี ย บจุ ด หนึ่ ง ซึ่ ง การท� ำ วิ จั ย ไม่จำ� เป็นต้องเริ่มจากธุรกิจที่มีขนาดใหญ่เท่านั้น เพราะธุรกิจขนาดใหญ่ เป็นหน้าที่ของมหาวิทยาลัยวิจัยที่มีศักยภาพ แต่มหาวิทยาลัยที่ยังไม่มี ความแข็งแรงเรื่องของการวิจัย สามารถดูแลในเรื่องของ SMEs ต่างๆ ได้ เพื่ อ ท� ำ ให้ ป ระเทศไทย คนไทย ได้ ตื่ น ตั ว และเห็ น ความส�ำ คั ญ ของ การวิจยั และพัฒนา เราคงไม่สามารถเป็นประเทศชัน้ น�ำได้ หากเรามัวแต่ ตามคนอื่ น หรื อ ลอกเลี ย นแบบคนอื่ น แต่ เ ราต้ อ งสร้ า งนวั ต กรรม ที่ ส ามารถน� ำ ไปจดสิ ท ธิ บั ต รได้ สามารถน� ำ ไปใช้ เ ผยแพร่ ไ ด้ ทั่ ว โลก คนที่ต้องการก็ต้องมาซื้อจากเรา นั่นคือสิ่งที่รัฐบาลและพี่น้องชาวไทย ทั้งหลายต้องการจะเห็น การประชุมสุดยอดมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ครั้งที่ ๒ นอกจาก จะเป็ น เวที ใ ห้ นั ก วิ จั ย จาก ๕๔ คลั ส เตอร์ ได้ น� ำ เสนอผลงานวิ จั ย แลกเปลีย่ นเรียนรูแ้ ละประสบการณ์จากผูท้ รงคุณวุฒิ นักวิจยั อาวุโสและ ผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ตลอดจนส่งผลให้มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ๙ แห่ง มีความร่วมมือกันทั้งภายในและระหว่างมหาวิทยาลัย จนก่อ ให้เกิดความเข็มแข็งทางวิชาการและการบริหารจัดการงานวิจัย ยังเป็น ส่วนหนึ่งในการยกระดับมหาวิทยาลัยไทยโดยรวมให้มีศักยภาพด้าน การวิจยั ทีส่ งู ขึน้ และยกระดับมหาวิทยาลัยทีม่ ศี กั ยภาพด้านการวิจยั ของ ประเทศสู ่ ม หาวิท ยาลัย วิจัย แห่ ง ชาติที่มีขีด ความสามารถระดับ โลก (World-Class University) สามารถผลิตพัฒนาก�ำลังคนระดับสูงที่สามารถ ตอบสนองต่อการพัฒนาทั้งชุมชน อุตสาหกรรม และระบบนวัตกรรม ซึ่งน�ำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในเวที ระดับนานาชาติต่อไป อนุสารอุดมศึกษา
เล่าเรื่องด้วยภาพ
๑๓ - ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๖ - นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงศึกษาธิการ และรองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำ� จร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้หารือความร่วมมือด้านการศึกษากับ ประเทศญีป่ นุ่ ฮังการี และเบลเยีย่ ม ในโอกาสเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีศกึ ษาเอเชีย ยุโรป ครัง้ ที่ ๔ และได้หารือความร่วมมือพร้อมทัง้ ศึกษาดูงาน ณ University Malaya ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
๒๖ เมษายน ๒๕๕๖ - นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานให้โอวาทแก่คณะนักกีฬาและ เจ้าหน้าที่ในการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาบุคลากรส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ครั้งที่ ๓๒ ‘บางแสนเกมส์’ ณ ห้องประชุม ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน
๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖ - รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมประชุมเชิงปฏิบตั กิ าร เรือ่ ง ‘ขับเคลือ่ นแผนปฏิบตั กิ าร สู่การสร้างผู้ประกอบการใหม่’ ณ โรงแรมเดอะ สุโกศล
อนุสารอุดมศึกษา
21
เล่าเรื่องด้วยภาพ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖ - นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬา บุคลากรส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ครั้งที่ ๓๒ ‘บางแสนเกมส์’ ณ สนามกีฬากลางเชาวน์ มณีวงษ์ โดยมีสถาบัน อุดมศึกษาในสังกัด/ในก�ำกับส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ส่งบุคลากรเข้าร่วมการแข่งขัน ๑๙ ชนิดกีฬา ทั้งนี้ ส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษาส่งบุคลากรเข้าร่วมการแข่งขัน ๙ ชนิดกีฬา ได้เหรียญจากการแข่งขัน ๔ เหรียญ คือ ๑ เหรียญทอง และ ๓ เหรียญทองแดง อยู่ในอันดับ ๒๙ จาก ๕๘ สถาบันที่เข้าร่วมการแข่งขัน
๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖ - นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา เป็นประธานเปิดการ ประชุมการจัดฝึกอบรมคณาจารย์นำ� ร่อง กรอบมาตรฐานคุ ณ วุ ฒิ ณ โรงแรม เซ็นจูรี่ พาร์ค
22
อนุสารอุดมศึกษา
๒๓ เมษายน ๒๕๕๖ - นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ต้อนรับคณะผู้บริหาร กรมกิจการนักศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และกี ฬ า สาธารณรั ฐ ประชาธิ ป ไตย ประชาชนลาว ณ ห้องประชุมพันเอก อาทร ชนเห็นชอบ (๑)
๑๙ เมษายน ๒๕๕๖ - นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุ ด มศึ ก ษา บรรยายสรุ ป เกี่ ย วกั บ นโยบายการศึกษาระดับอุดมศึกษาของ ไทยให้แก่คณะผูบ้ ริหารสถาบันอุดมศึกษา ในสังกัดรัฐของฟิลปิ ปินส์ ณ ห้องประชุม พันเอกอาทร ชนเห็นชอบ (๑)
เล่าเรื่องด้วยภาพ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๖ - นางสาวอาภรณ์ แก่ น วงศ์ รองเลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา ประธานการประชุมตรวจรับรองคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพืน้ ฐาน (Certified FL) ณ ห้องประชุม ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน
๒๒ เมษายน ๒๕๕๖ - นางสาวสุนนั ทา แสงทอง ทีป่ รึกษาด้านนโยบายและแผน เป็นประธานเปิดโครงการ พัฒนาคุณภาพชีวิตบุคลากรของ สกอ. ภายใต้หัวข้อ ‘การพัฒนาจิตกับประสิทธิภาพการท�ำงาน’ โดยมี นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษาเข้าร่วม ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร ๒๑ - ๒๗ เมษายน ๒๕๕๖ - รองศาสตราจารย์ ชวนี ทองโรจน์ ทีป่ รึกษาด้านพัฒนาภูมปิ ญ ั ญา ท้ อ งถิ่ น น� ำ คณะผู ้ บ ริ ห ารวิ ท ยาลั ย ชุ ม ชน เดินทางไปฝึกปฏิบัติเรียนรู้กระบวนการจัดท�ำ หลั ก สู ต ร ในรู ป แบบโมดู ล าร์ พร้ อ มทั้ ง แลกเปลี่ย นประสบการณ์ ร ะหว่ า งวิท ยาลัย ชุมชนไทย - มาเลเซีย ณ ประเทศมาเลเซีย โดยมี Mr. Amir bin Md. Noor ผู้อ�ำนวยการ กรมการศึกษาวิทยาลัยชุมชน ให้การต้อนรับ และบรรยายเกี่ยวกับโครงสร้างและแนวการ พัฒนาหลักสูตรของวิทยาลัยชุมชนมาเลเซีย ในเชิงทฤษฏี จากนัน้ ได้น�ำคณะฯ ศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัย Taylor’s ซึ่งเป็นความร่วมมือ ระหว่างภาครัฐบาลและภาคเอกชน (Public and Private Partnership : PPP) อนุสารอุดมศึกษา
23
เลื อ กเรี ย นอะไร
..มหาวิ ท ยาลั ย ไหน..ไร ซึ่ ง ป ญ หา ตรวจสอบกอนตัดสินใจ ตรวจสอบขอมูลไดที่ http://www.mua.go.th/users/bhes/index.htm หรือสอบถามขอมูลไดที่หมายเลข ๐ ๒๖๑๐ ๕๓๗๘ - ๘๐ หลักสูตรทุกสาขาวิชา
• ตองเปนไปตามเกณฑมาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา และผานการรับทราบจาก สกอ. • ตองผานการรับรองจากองคกรวิชาชีพ (กรณีสาขาวิชาที่ตองสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ) • ตองผานการรับทราบจากคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กรณีหลักสูตรที่จัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง)
สถาบันอุดมศึกษา
• ควรผานมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน • ควรผานมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอกจาก สมศ. • ควรมีขอมูลระบบการลงทะเบียนที่ถูกตอง • ควรมีรายชื่อและคุณวุฒิของอาจารยประจำหลักสูตรจากเอกสารหลักสูตร ที่ผานการรับทราบจาก สกอ. • ควรใหบริการตางๆ ตามสิทธิที่นิสิตนักศึกษาพึงจะไดรับ
สำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา (สกอ.) ๓๒๘ ถนนศรี อ ยุ ธ ยา แขวงทุ ง พญาไท เขตราชเทวี กรุ ง เทพฯ ๑๐๔๐๐ โทรศั พ ท ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๖ http://www.mua.go.th Facebook : www.facebook.com/ohecthailand Twitter : www.twitter.com/ohec_th