อนุสารอุดมสึกษา issue 438

Page 1

อุดมศึกษา อนุสาร

LOGO

ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๔๓๘ ประจำ�เดือนธันวาคม ๒๕๕๗

เอกสารเผยแพร่ของสำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ISSN 0125-2461

อนุสารอุดมศึกษาออนไลน์ www.mua.go.th/pr_web


สารบัญ

CONTENT

ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๔๓๘ ประจำ�เดือนธันวาคม ๒๕๕๗

เรื่องเล่าอุดมศึกษา กกอ. สัญจร ครั้งที่ ๓ ความร่วมมือด้านอุดมศึกษาและการวิจัยระหว่างไทย - ฝรั่งเศส ผนึกกำ�ลังภาคการศึกษา - ภาคธุรกิจอุตสาหกรรม สร้างบัณฑิต สนับสนุนทุนการศึกษา

๑๑ ๓

เรื่องเล่าอาเซียน The 8 Review Meeting of AIMS Programme th

เรื่องพิเศษ พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พูดคุยเรื่องมาตรฐาน

๓ ๙ ๑๑ ๑๔

การจัดการศึกษาระบบธนาคารหน่วยกิตในระดับอุดมศึกษา

๑๖

๑๘

เรื่องแนะนำ�

๑๖

Asian Science Camp

เหตุการณ์เล่าเรื่อง

๑๘

กีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน...กีฬามิตรภาพของปัญญาชนอาเซียน

เล่าเรื่องด้วยภาพ

๒๑

คณะผู้จัดทำ�

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๒๖ http://www.mua.go.th pr_mua@mua.go.th www.facebook.com/ohecthailand www.twitter.com/ohec_th รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำ�จร ตติยกวี นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ นายสุภัทร จำ�ปาทอง นายศิระวิทย์ คลี่สุวรรณ ที่ปรึกษา บรรณาธิการ นายกฤษณ์กร วงศ์ไทย กองบรรณาธิการ นางสาวปิยาณี วิริยานนท์ นางชุลีกร กิตติก้อง นายเจษฎา วณิชชากร นางปราณี ชื่นอารมณ์ นายจรัส เล็กเกาะทวด พิมพ์ที่ บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำ�กัด (มหาชน) โทรศัพท์ ๐ ๒๔๒๒ ๙๐๐๐ โทรสาร ๐ ๒๔๓๓ ๒๗๔๒


เรื่องเล่า

อุดมศึกษา

กกอ. สัญจร ครั้งที่

3

๑๕ - ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๗ - ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา จัดการประชุม กกอ. สัญจร ครัง้ ที่ ๓ ณ มหาวิทยาลัย ขอนแก่ น และสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาในเครื อ ข่ า ยภาคตะวั น ออก เฉี ย งเหนื อ ตอนบน โดยมี กิ จ กรรมการเยี่ ย มชม (Site Visit) พร้อมทัง้ การประชุมเสวนาร่วมกับเครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออก เฉี ย งเหนื อ ตอนบน ซึ่ ง มี ส ถาบั น อุ ด มศึ ก ษาจ�ำนวน ๑๕ แห่ ง ประกอบด้วยสถาบันอุดมศึกษารัฐ ๙ แห่ง สถาบันอุดมศึกษา เอกชน ๔ แห่ง และวิทยาลัยชุมชน ๒ แห่ง และการประชุม กกอ. ครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๗ รองศาสตราจารย์ คุ ณ หญิ ง สุ ม ณฑา พรหมบุ ญ ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวถึงนโยบาย กกอ. ที่จะยกระดับคุณภาพการอุดมศึกษาไทยใน ๘ ประเด็น ดังนี้

อนุสารอุดมศึกษา


4

(๑) การลงทุนพัฒนาประเทศผ่านสถาบันอุดมศึกษา ใน ๓ โครงการใหญ่ คือ โครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทย สู่มหาวิทยาลัยระดับโลก โครงการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มใหม่ให้ได้มาตรฐานการอุดมศึกษา และโครงการพัฒนา ศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในอุดมศึกษา (๒) การปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรให้มีความ หลากหลาย ครอบคลุมทัง้ สายวิชาการ สายวิชาชีพและปฏิบตั กิ าร (๓) การประกันคุณภาพการศึกษาและการส่งเสริม สถาบันอุดมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ (๔) ร่าง พ.ร.บ. การอุดมศึกษา พ.ศ. .... และการ แยกส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาออกจากกระทรวง ศึกษาธิการ เป็นกระทรวงการอุดมศึกษา

อนุสารอุดมศึกษา

(๕) การติดตาม ตรวจสอบ การจัดการศึกษานอกสถาน ที่ตั้ง การจัดการศึกษาระดับปริญญาเอก และสถาบันอุดมศึกษา เอกชนที่เปลี่ยนประเภทแล้ว (๖) การส่งเสริมเครือข่ายมหาวิทยาลัยทัง้ ๙ เครือข่าย ให้ มี ค วามเข้ ม แข็ ง เน้ น ความร่ ว มมื อ และมี ร ะบบการบริ ห าร จัดการที่ดี (๗) การพัฒนาระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาใน สถาบันอุดมศึกษา เพือ่ ปรับปรุงระบบในปัจจุบนั ให้มปี ระสิทธิภาพ และเสมอภาคมากยิ่งขึ้น (๘) การผลิต พัฒนาครูและผูบ้ ริหารการศึกษา ให้มกี าร ผลิตครูที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ


ด้านรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติ ย กวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้กล่าวถึงแนวนโยบาย ส�ำคัญของ สกอ. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษา ประกอบ ด้วยนโยบายเร่งด่วนและนโยบายส่งเสริมระยะกลาง ดังนี้

นโยบายเร่งด่วน (๑) พ.ร.บ. การอุดมศึกษา เพื่อยกระดับประสิทธิภาพ อุดมศึกษา ซึง่ อยูใ่ นช่วงรับฟังความคิดเห็นทีย่ งั มีความเห็นแตกต่าง หลากหลาย อย่างไรก็ตาม ขณะนีไ้ ด้มกี ารด�ำเนินการเรือ่ งการจัดตัง้ กระทรวงการอุดมศึกษา โดยให้ระบุอ�ำนาจหน้าที่บางส่วนของ ร่าง พ.ร.บ. การอุดมศึกษาไว้ในการจัดตั้งกระทรวงด้วย (๒) การพัฒนามหาวิทยาลัยวิจยั แห่งชาติ เพือ่ เสริมสร้าง ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึง่ สกอ. พยายามผลักดัน ให้ได้รับงบประมาณสนับสนุน โดยรัฐบาลปัจจุบันได้มีนโยบาย ให้มีการบูรณาการงบวิจัยของประเทศ โดยมี วช. เป็นเจ้าภาพ ซึ่ง สกอ. จะต้องเสนอของบประมาณเข้าไปในส่วนนั้น

นโยบายส่งเสริมระยะกลาง มี จุ ด เน้ น เพื่ อ ส่ ง เสริ ม สนั บ สนุ น สถาบั น อุ ด มศึ ก ษา ใน ๓ ด้าน คือ สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ แก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น (ภาคธุรกิจ อุ ต สาหกรรมและภาคท้ อ งถิ่ น ชุ ม ชน) และความเป็ น เลิ ศ ทาง วิชาการ โดยมีประเด็นส�ำคัญดังต่อไปนี้ (๑) การส่งเสริมงานวิจัย โดยเฉพาะการสร้างผลงาน วิชาการสายรับใช้สังคม ผลงานวิชาการเชิงอุตสาหกรรม (๒) การปรับระบบเงินเดือนและค่าตอบแทนข้าราชการ และพนักงานมหาวิทยาลัย

(๓) การส่งเสริมการผลิตบัณฑิตให้ตรงกับความ ต้องการของสถานประกอบการให้มากขึ้น โดย สกอ. ได้มี การส่งเสริมการจัดการศึกษาในรูปแบบ Work Integrated Learning (WIL) ส�ำหรั บ การด�ำเนิ น งานในภาพรวมของเครื อ ข่ า ย 5 อุ ด มศึ ก ษาภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ ตอนบน อธิ ก ารบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะประธานกรรมการบริหาร เครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน กล่าวว่า มี ก ารด�ำเนิ น โครงการ/กิ จ กรรม ใน ๘ ประเด็ น ได้ แ ก่ สหกิ จ ศึ ก ษา การวิ จั ย และพั ฒ นาภาครั ฐ ร่ ว มกั บ เอกชน เชิ ง พาณิ ช ย์ การวิ จั ย และถ่ า ยทอดเทคโนโลยี สู ่ ชุ ม ชน UBI การรณรงค์และป้องกันยาเสพติด บัณฑิตอุดมศึกษาคติไทย เครือข่ายบัณฑิตวิทยาลัย และการประกันคุณภาพ นอกจากนี้ ในการประชุ ม เสวนาร่ ว มกั บ เครื อ ข่ า ย โดยอธิ ก ารบดี แ ละ ผู้แทนสถาบันสมาชิกเครือข่ายฯ จ�ำนวน ๑๕ แห่ง ได้น�ำเสนอ วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ/ผลงานที่โดดเด่น (Best Practice) ของ สถาบันใน ๓ ด้าน ประกอบด้วย ด้านการวิจัยและพัฒนา ด้ า นการจั ด การเรี ย นการสอน และด้ า นการบริ ก ารวิ ช าการ ซึ่ ง ท�ำให้ ค ณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาได้ มี โ อกาสรั บ ฟั ง การ น�ำเสนอผลงานดีเด่นของสถาบันในเครือข่ายฯ และได้รว่ มเสวนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการก�ำหนด นโยบายด้านการศึกษาทีส่ �ำคัญต่อการพัฒนาเครือข่ายอุดมศึกษา ภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ เพื่ อ ยกระดั บ คุ ณ ภาพการศึ ก ษา ระดับอุดมศึกษาในพื้นที่ และสร้างก�ำลังคนที่มีความเข้มแข็ง ในการพัฒนาประเทศต่อไป อนุสารอุดมศึกษา


ความร่วมมือด้านอุดมศึกษาและการวิจัย ระหว่างไทย

๓ ธั น วาคม ๒๕๕๗ - ส�ำนั ก งานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา จัดการประชุมคณะกรรมการร่วมไทย - ฝรั่งเศส เพือ่ พิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการวิจยั ร่วมภายใต้ความร่วมมือ ด้ า นอุ ด มศึ ก ษาและการวิ จั ย ระหว่ า งไทย - ฝรั่ ง เศส ประจ�ำปี ๒๕๕๘ - ๒๕๕๙ โดยเป็นการประชุมร่วมกับผู้แทนจากสถาน เอกอัครราชทูตฝรัง่ เศสประจ�ำประเทศไทยและกระทรวงการศึกษา และวิจยั ของฝรัง่ เศส และได้รบั เกียรติจากนางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานการประชุม ณ โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท 6 นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา เปิดเผยว่า คณะกรรมการพิจารณาข้อเสนอโครงการ วิจัยร่วมภายใต้ความร่วมมือด้านอุดมศึกษาและการวิจัยระหว่าง ไทย - ฝรั่งเศส ประจ�ำปี พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๕๙ ได้ด�ำเนินการ คัดเลือกโครงการวิจยั ร่วมฯ เรียบร้อยแล้ว มีจ�ำนวน ๑๐ โครงการ ดังนี้ (๑) โครงการ Healthy borders, disease prevalence and pharmaceutical practices in ASEAN รับผิดชอบโดยจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย (๒) โครงการ Stable Carbon Isotopes in Rubber Tree : the key to integrate latex metabolism into whole tree physiology (SCIRT) รับผิดชอบโดยมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ (๓) โครงการ Studies on natural bio - insecticides from plant biodiversity in Thailand to control malaria and dengue vectors (BioVecThai) รับผิดชอบโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (๔) โครงการ Virtual cultural heritage – Digital artifact representation in collaborative environment รับผิดชอบโดยมหาวิทยาลัย เชียงใหม่ (๕) โครงการ Genetic and metabolic control of fertile period length in the hen รั บ ผิ ด ชอบโดยมหาวิ ท ยาลั ย อนุสารอุดมศึกษา

- ฝรั่งเศส

เทคโนโลยีสุรนารี (๖) โครงการ Process optimization of 2,3-Butanediol production from maltodextrin using metabolically engineered Klebsiella oxytoca KMS006 and its purification รับผิดชอบโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสรุ นารี (๗) โครงการ Cardioprotective role of p38 MAPK inhibitor in type 2 diabetic heart รับผิดชอบโดยมหาวิทยาลัยนเรศวร (๘) โครงการ NATSAT : NATural Substances for Anti-aging Therapeutics รับผิดชอบโดยมหาวิทยาลัยนเรศวร (๙) โครงการ Analysis of Biodiversity in R รับผิดชอบโดยมหาวิทยาลัยบูรพา และ (๑๐) โครงการ A one health approach to predict leptospirosis outbreaks in livestock and humans in Thailand รับผิดชอบโดยมหาวิทยาลัยมหิดล “ส�ำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาร่ ว มกั บ กระทรวงการศึกษาและวิจัยของฝรั่งเศสได้เริ่มด�ำเนินโครงการ วิจัยร่วมภายใต้ความร่วมมือด้านอุดมศึกษาและการวิจัยระหว่าง ไทย - ฝรั่ ง เศส มาตั้ ง แต่ ป ี พ.ศ. ๒๕๔๒ มี วั ต ถุ ป ระสงค์ ห ลั ก เพื่ อ ส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น ความร่ ว มมื อ ด้ า นการวิ จั ย ระหว่ า ง สถาบันอุดมศึกษาไทยและฝรั่งเศส ภายใต้กรอบการท�ำวิจัยร่วม ในลักษณะเครือข่ายระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยและสถาบัน อุดมศึกษาของฝรั่งเศส และได้ก�ำหนดสาขาที่จะท�ำวิจัยร่วมกัน ใน ๗ สาขา ได้แก่ วิทยาศาสตร์พนื้ ฐาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พลังงาน วิทยาศาสตร์สุขภาพ เกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร นิเวศวิทยา สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ โดยกิจกรรมภายใต้ โครงการประกอบด้วยการท�ำวิจัยร่วม การพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ ระดับปริญญาเอกและหลังปริญญาเอกผ่านกิจกรรมแลกเปลี่ยน การอบรมในห้องปฏิบตั กิ าร การประชุม สัมมนา และการประชุมเชิง ปฏิบตั กิ าร ทัง้ นี้ จ�ำนวนโครงการวิจยั ร่วมไทย - ฝรัง่ เศสทีไ่ ด้รบั การ สนับสนุนงบประมาณจากส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และรัฐบาลฝรั่งเศส ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๕๗ มีจ�ำนวน ทัง้ สิน้ ๑๑๒ โครงการ” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว


ผนึกกำ�ลังภาคการศึกษา-ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม สร้างบัณฑิต ๑๒ ธั น วาคม ๒๕๕๗ - ส�ำนั ก งานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อ เชื่ อ มโยงภาคการศึ ก ษากั บ ภาคธุ ร กิ จ อุ ต สาหกรรมเข้ า ด้ ว ยกั น ระหว่างส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ทีป่ ระชุมอธิการบดี แห่งประเทศไทย ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยในก�ำกับของรัฐ ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ คณะกรรมการอธิการบดี มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี ร าชมงคล สมาคมสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา เอกชนแห่งประเทศไทย กับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ณ โรงแรมพูลแมน บางกอก คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ โดยมีน ายสุภัทร จ�ำปาทอง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา รองศาสตราจารย์ กิ ต ติ ชั ย ไตรรั ต นศิ ริ ชั ย ประธานที่ ป ระชุ ม อธิ ก ารบดี แ ห่ ง ประเทศไทย นายสุเมธ แย้มนุ่น รักษาการประธานที่ประชุม อธิการบดีมหาวิทยาลัยในก�ำกับของรัฐ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์สมเดช นิลพันธุ์ ผู้แทนประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ รองศาสตราจารย์น�ำยุทธ สงค์ธนาพิทกั ษ์ ประธานคณะกรรมการ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล นายพรชัย มงคลวานิช นายกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย นายสุพนั ธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายภูมนิ ทร์ หะรินสุต รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และนายกลินท์ สารสิน กรรมการเลขาธิการหอการค้าไทย ให้เกียรติรว่ มลงนาม นายสุภัทร จ�ำปาทอง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา กล่าวว่า บันทึกข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้ เพื่อ

แสดงเจตนารมณ์รว่ มกันในการเชือ่ มโยงภาคการศึกษากับภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมเข้าด้วยกัน เน้นความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษา และภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ซึง่ จะส่งผลให้ประเทศไทยมีทรัพยากร มนุษย์ที่มีสมรรถนะและศักยภาพสูงขึ้นตรงตามความต้องการของ สถานประกอบการและแข่งขันได้ในประชาคมโลก โดยการลงนาม ในวันนี้ ท�ำให้ภาคการศึกษาและภาคธุรกิจอุตสาหกรรมได้มโี อกาส สร้างปฏิสมั พันธ์ แลกเปลีย่ นความคิดเห็น ความต้องการระหว่างกัน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมพัฒนาการจัดการศึกษาของ ประเทศไทยอย่างจริงจัง อย่างต่อเนือ่ งต่อไป “เราจับมือร่วมกันสร้างบัณฑิตให้มคี ณ ุ ลักษณะตรงตาม ความต้องการของสถานประกอบการ โดยส่งเสริมสนับสนุนให้มกี าร แลกเปลีย่ นองค์ความรูแ้ ละประสบการณ์ระหว่างบุคลากรของสถาน ประกอบการและสถาบันอุดมศึกษา ครอบคลุมถึงการเรียนการสอน การวิจยั การบริการวิชาการ การสร้างนวัตกรรม ซึง่ ให้ภาคการศึกษา และภาคธุรกิจอุตสาหกรรม บูรณาการความร่วมมือในการพัฒนา หลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับตลาดแรงงานทั้งใน และต่างประเทศ พร้อมทั้งร่วมกันส่งเสริมและสนับสนุนให้สถาน ประกอบการต่ า งๆ ที่ เ ป็ น สมาชิ ก ของสภาอุ ต สาหกรรมแห่ ง ประเทศไทยและหอการค้าไทย รับนักศึกษาเข้าฝึกงานและปฏิบตั งิ าน ณ สถานประกอบการ เป็นการตอกย�ำ้ ความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทีเ่ กีย่ วข้อง เพือ่ เปิดโอกาสให้นสิ ติ นักศึกษาได้รบั ประสบการณ์จริง ก่อนเข้าสูต่ ลาดแรงงาน นอกจากนีย้ งั ส่งเสริมให้สถานประกอบการ รับผูส้ �ำเร็จการศึกษาเข้าท�ำงานอีกด้วย” ผูช้ ว่ ยเลขาธิการ กกอ. กล่าว

7

อนุสารอุดมศึกษา


8

สนับสนุน

ทุนการศึกษา ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๗ - รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็น ประธานพิธีมอบทุนการศึกษามูลนิธิตั้งเซ็กกิม ประจ�ำปี ๒๕๕๗ โดยมีนายกรวิทย์ สุพทุ ธพงศ์ ประธานมูลนิธติ ั้งเซ็กกิม ร่วมเป็น ประธานในพิธี ณ อาคารบริษทั นานมี จ�ำกัด

อนุสารอุดมศึกษา

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะ กรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า รูส้ กึ ชืน่ ชมยินดีเป็นอย่างยิง่ ทีม่ ลู นิธิ ตัง้ เซ็กกิม ซึง่ เป็นหน่วยงานภาคธุรกิจเอกชน ได้ตระหนักถึงความส�ำคัญ ของการศึกษา โดยให้ความช่วยเหลือ ส่งเสริมสนับสนุนด้านทุนการ ศึกษาให้แก่นสิ ติ นักศึกษาอย่างต่อเนือ่ งมาโดยตลอด ทุนการศึกษาที่ มอบให้ในวันนี้ นับเป็นประโยชน์อย่างยิง่ ต่อนิสติ นักศึกษาทีเ่ รียนดี มี จริยธรรม และขาดแคลนทุนทรัพย์ ให้มกี �ำลังใจศึกษาเล่าเรียนจนส�ำเร็จ การศึกษาในระดับปริญญาตรี พร้อมทีจ่ ะเป็นบัณฑิตทีม่ คี ณ ุ ภาพ เป็น ก�ำลังส�ำคัญในการพัฒนาประเทศชาติตอ่ ไป “ส�ำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา สถาบั น อุดมศึกษา และนิสติ นักศึกษา ผูไ้ ด้รบั ทุนในวันนีต้ อ้ งขอขอบคุณมูลนิธิ ตั้งเซ็กกิม ที่ได้สนับสนุนเงินทุนการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี การศึกษา ๒๕๕๐ นับได้วา่ เป็นประโยชน์อย่างยิง่ ทัง้ ในด้านส่วนตัว ของนิสิตนักศึกษาที่ได้รับทุนให้ได้มีโอกาสศึกษาในระดับอุดมศึกษา อี ก ทั้ ง ยั ง เป็ น การช่ ว ยเหลื อ สั ง คมและประเทศชาติ ใ ห้ มี พ ลเมื อ ง ที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น ในโอกาสเดียวกันนี้ ขอแสดงความยินดีต่อนิสิต นักศึกษาที่ได้รับทุนการศึกษามูลนิธิตั้งเซ็กกิม ขอให้นิสิตนักศึกษา จงภาคภูมิใจที่ได้รับการคัดเลือกให้มารับทุนการศึกษาในวันนี้ และ ขอให้นิสิต นักศึกษาทุกคนตั้งใจเรียน ทั้งด้านวิชาการ การใช้ชีวิต ในมหาวิทยาลัย พร้อมทัง้ ขอฝากความมุง่ หวังไว้ให้นสิ ติ นักศึกษาทุกคน จงมีความขยันหมัน่ เพียรในการศึกษา และประพฤติปฏิบตั ติ นในทาง ที่ถูกที่ควร รู้จักใช้จ่ายเงินทุนการศึกษาอย่างประหยัด เพื่อให้เกิด ประโยชน์สงู สุดในการศึกษา เมือ่ ส�ำเร็จการศึกษาแล้วจะได้เป็นก�ำลัง ส�ำคัญของประเทศชาติในภายหน้า และขอให้ใช้ความรูค้ วามสามารถ ที่มีให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและท�ำประโยชน์คืนสู่สังคมในโอกาส ต่อไป” เลขาธิการ กกอ. กล่าว


เรื่องเล่า

อาเซียน

th

The 8 Review Meeting of AIMS Programme กระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารบรู ไ นดารุ ส ซาลาม ร่ ว มกั บ Universiti Brunei Darussalam (UBD) เป็นเจ้าภาพจัด การประชุ ม ประเมิ น ผลการด�ำเนิ น โครงการ ASEAN International Mobility for Students (AIMS) Programme ครั้งที่ ๘ (The 8th Review Meeting of AIMS Programme) ระหว่างวันที่ ๑ - ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗ ณ กรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน บรูไนดารุสซาลาม โดยมีผู้เข้าร่วม ประชุ ม จ�ำนวน ๑๓๒ คน ประกอบด้ ว ยผู ้ แ ทนกระทรวง/ หน่วยงานที่ดูแลการอุดมศึกษา และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษา สมาชิ ก โครงการ ASEAN International Mobility for Students (AIMS) Programme จาก ๗ ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไนดารุสซาลาม ฟิลปิ ปินส์ เวียดนาม ญีป่ นุ่ และไทย

9

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา และประธานคณะกรรมการบริหาร ศู น ย์ ภู มิ ภ าคเอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ ว ่ า ด้ ว ยการอุ ด มศึ ก ษา และการพัฒนา (SEAMEO Regional Centre for Higher Education and Development : SEAMEO RIHED) เป็น หัวหน้าคณะฝ่ายไทย น�ำคณะผู้แทนจากสถาบันอุดมศึกษา ๗ แห่ง ที่เข้าร่วมโครงการ ASEAN International Mobility for Students (AIMS) Programme ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว และได้รบั เกียรติกล่าว Introductory Remarks ในพิธีเปิดการประชุม โดยมี

อนุสารอุดมศึกษา


หน่วยกิตและการประชุมประเมินผลการด�ำเนินโครงการ ซึ่งเป็นกลไกในการด�ำเนินงานจัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีในการ แลกเปลี่ยนข้อมูล การหารือเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรค ร่วมกัน และการประเมินผลการด�ำเนินโครงการเพื่อ ประโยชน์ ใ นการพั ฒ นาประสิ ท ธิ ภ าพในการด�ำเนิ น โครงการ ตลอดจนร่วมกันวางแผนการด�ำเนินโครงการ ในอนาคต การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ ๘ โดย ประเทศสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการจะหมุนเวียนกันเป็น เจ้าภาพ ทั้งนี้ การประชุมฯ ครั้งที่ ๙ คาดว่าจะจัดที่ ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ และมาเลเซียจะเป็น เจ้าภาพจัดการประชุม ครั้งที่ ๑๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๙

10

Dato Paduka Dr. Haji Zulkarnain bin Haji Hanafi ปลัดกระทรวง ศึกษาธิการบรูไนดารุสซาลาม (ด้านอุดมศึกษา) และอธิการบดี Universiti Brunei Darussalam กล่าวต้อนรับ และ Pehin Dr. Haji Awang Abu Bakar bin Haji Apong รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการบรูไนดารุสซาลาม เป็นประธานกล่าวเปิด การประชุม รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา เปิดเผยว่า ในการประชุมฯ ครัง้ ที่ ๘ ได้มีมติเห็นชอบร่วมกันที่จะขยายสาขาวิชาในการแลกเปลี่ยน เพิ่มเติม จ�ำนวน ๓ สาขาวิชา (จากเดิม ๗ สาขาวิชา) ได้แก่ (๑) Environmental Science and Management (๒) Biodiversity และ (๓) Marine Science นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้เห็นชอบ ร่วมกันในประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องต่อการด�ำเนินโครงการ AIMS ได้แก่ การขยายโอกาสให้สถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งสามารถ แลกเปลีย่ นได้มากกว่า ๑ สาขาวิชา การสนับสนุนให้ศนู ย์ SEAMEO RIHED ซึ่งท�ำหน้าที่เป็นหน่วยประสานงานระหว่างประเทศริเริ่ม โครงการใหม่ เ พื่ อ ให้ ก ารแลกเปลี่ ย นนั ก ศึ ก ษามี คุ ณ ภาพ และ ประเมินประสิทธิภาพการท�ำงานของหน่วยงานด้านต่างประเทศ ของสถาบันอุดมศึกษา (IROs) ในโอกาสนี้ คณะผู้เข้าร่วมประชุมได้มีโอกาสเยี่ยมชม Universiti Brunei Darussalam (UBD) และ Institut Teknologi Brunei (ITB) ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาสมาชิกในโครงการ AIMS โดยบรูไนดารุสซาลาม ได้ด�ำเนินโครงการ ‘Discovery Year’ ที่ต้องการให้นักศึกษาทุกคนมีประสบการณ์ในต่างประเทศ การประชุมครั้งนี้ได้รับความสนใจและลงข่าวตีพิมพ์ ในหนังสือพิมพ์ประจ�ำวันของบรูไนดารุสซาลาม คือ The Brunei Times และ Borneo Bulletin

อนุสารอุดมศึกษา โครงการ AIMS เป็นโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนภายใต้เงื่อนไขการถ่ายโอน


เรื่อง

พิเศษ

11

พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชสมภพ ณ โรงพยาบาลเมานท์ออเบอร์น (Mount Auburn) เมื อ งเคมบริ ด จ์ (Cambridge) รั ฐ แมสซาชู เซตส์ (Massachusetts) สหรั ฐ อเมริ ก า เมื่ อ วั น จั น ทร์ เดื อ นอ้ า ย ขึ้น ๑๒ คํ่า ปีเถาะ นพศก จุลศักราช ๑๒๘๙ ตรงกับวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๐ มีพระนามเดิมว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช เป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กใน สมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลา นครินทร์ (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา จุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอย่หู วั และสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี) และสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ซึ่งภายหลัง ทั้ ง สองพระองค์ ไ ด้ รั บ การเฉลิ ม พระนามาภิ ไ ธยเป็ น สมเด็ จ พระมหิ ต ลาธิ เ บศรอดุ ล ยเดชวิ ก รม พระบรมราชชนก และ สมเด็ จ พระศรี น คริ น ทราบรมราชชนนี มี พ ระเชษฐภคิ นี แ ละ

สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้า กั ล ยาณิ วั ฒ นา กรมหลวงนราธิ ว าสราชนคริ น ทร์ ประสู ติ เ มื่ อ วันอาทิตย์ที่ ๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๖๖ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ กับ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๖๘ ณ เมืองไฮเดลแบร์ก ประเทศเยอรมนี เมื่ อ พุ ท ธศั ก ราช ๒๔๗๑ ได้ โ ดยเสด็ จ สมเด็ จ พระบรมราชชนก ซึ่งทรงส�ำเร็จการศึกษาปริญญาแพทยศาสตร บัณฑิต เกียรตินิยม จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา กลับ ประเทศไทย ประทับ ณ วังสระปทุม ต่อมาในวันที่ ๒๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๗๒ สมเด็จพระบรมราชชนกสวรรคต ขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงเจริญพระชนมายุ ได้ไม่ถึง ๒ ปี และเมื่อมีพระชนมายุได้ ๕ ปี ได้ทรงเข้ารับการศึกษา ชั้นต้น ณ โรงเรียนมาแตร์ เดอี กรุงเทพฯ จนถึงพุทธศักราช ๒๔๗๖ อนุสารอุดมศึกษา


12

จึงเสด็จพระราชด�ำเนินไปประทับ ณ เมืองโลซาน ประเทศ สวิ ต เซอร์ แ ลนด์ พร้ อ มด้ ว ยสมเด็ จ พระบรมราชชนนี พระเชษฐภคินี และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เพือ่ ทรงศึกษาต่อ ในชั้นประถมศึกษา ในโรงเรียน Miemont ทรงศึกษาวิชาภาษา ฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน และภาษาอังกฤษ จากนั้นทรงเข้าศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียน Ecole Nouvelle dʹe la Suisse Romande, Chailly-sur-Lausanne เมื่ อ ทรงรั บ ประกาศนียบัตร Bachelier e` s Lettres จาก Gymnase Classique Cantonal แห่งเมืองโลซานแล้ว ทรงเข้าศึกษา ในมหาวิ ท ยาลั ย โลซาน โดยทรงเลื อ กศึ ก ษาในแขนงวิ ช า วิทยาศาสตร์ ในพุทธศักราช ๒๔๗๗ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า อานันทมหิดล เสด็จขึน้ ครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๘ แห่งบรมราชจักรีวงศ์ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมพิ ลอดุลเดช จึงทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๘ และได้โดย เสด็จพระราชด�ำเนินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล นิวัต ประเทศไทยเป็นครั้งแรกในพุทธศักราช ๒๔๘๑ โดยประทับ ณ พระต�ำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสติ เป็นการชัว่ คราว แล้ ว เสด็ จ พระราชด�ำเนิ น กลั บ ไปประเทศสวิ ต เซอร์ แ ลนด์ จนถึ ง พุ ท ธศั ก ราช ๒๔๘๘ จึ ง โดยเสด็ จ พระราชด�ำเนิ น สมเด็จพระเจ้าอย่หู วั อานันทมหิดลนิวตั ประเทศไทยเป็นครัง้ ทีส่ อง ครั้งนี้ประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง ในวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ สมเด็จ พระเจ้ า อยู่ หั ว อานั น ทมหิ ด ลเสด็ จ สวรรคตโดยกะทั น หั น ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระเจ้า น้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ สื บ ราชสั น ตติ ว งศ์ ใ นวั น เดี ย วกั น นั้ น แต่ เ นื่ อ งจากยั ง มี

อนุสารอุดมศึกษา

พระราชกิจด้านการศึกษา จึงต้องทรงอ�ำลาประชาชนชาวไทย เสด็ จ พระราชด�ำเนิ น กลั บ ไปยั ง ประเทศสวิ ต เซอร์ แ ลนด์ อี ก ครั้ ง หนึ่ ง ในเดื อ นสิ ง หาคม พุ ท ธศั ก ราช ๒๔๘๙ เพื่ อ ทรงศึ ก ษาต่ อ ณ มหาวิ ท ยาลั ย แห่ ง เดิ ม ในครั้ ง นี้ ท รงเลื อ ก ศึกษาวิชากฎหมายและวิชารัฐศาสตร์ แทนวิชาวิทยาศาสตร์ ที่ทรงศึกษาอยู่เดิม ระหว่างทีป่ ระทับศึกษาอย่ใู นต่างประเทศนัน้ ทรงพบ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาในหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร กับหม่อมหลวงบัว (สนิทวงศ์) กิติยากร (ภายหลัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมให้สถาปนาพระอิสริยยศ หม่อมเจ้านักขัตรมงคลฯ ขึน้ เป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคล เมือ่ พุทธศักราช ๒๔๙๓ และขึน้ เป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามว่า พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๕) ต่อมาทรงหมั้น กั บ หม่ อ มราชวงศ์ สิ ริ กิ ติ์ กิ ติ ย ากร ในวั น ที่ ๑๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๒ ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในพุทธศักราช ๒๔๙๓ เสด็จพระราชด�ำเนินนิวัต พระนคร ประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ตั้งการพระราชพิธี ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหา อานันทมหิดล ในเดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ ต่อมาในวันที่ ๒๘ เมษายน ปีเดียวกัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ณ พระต�ำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ในวังสระปทุม ซึ่งในการพระราชพิธี ราชาภิ เ ษกสมรสนี้ มี พ ระบรมราชโองการโปรดเกล้ า โปรด กระหม่อมให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์


ในวั น ที่ ๕ พฤษภาคม พุ ท ธศั ก ราช ๒๔๙๓ ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า โปรดกระหม่ อ มให้ ตั้ ง การ พระราชพิธบี รมราชาภิเษกตามแบบอย่างโบราณราชประเพณี ขึ้ น ณ พระที่ นั่ ง ไพศาลทั ก ษิ ณ ในพระบรมมหาราชวั ง เฉลิ ม พระบรมนามาภิ ไ ธย ตามที่ จ ารึ ก ในพระสุ พ รรณบั ฏ ว่ า พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร พร้อมทัง้ พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการ ว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่ง มหาชนชาวสยาม และในโอกาสนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมสถาปนาเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระราชินสี ริ กิ ติ ิ์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี หลั ง จากเสร็ จ การพระราชพิ ธี บ รมราชาภิ เ ษก แล้ ว ได้ เ สด็ จ พระราชด�ำเนิ น ไปทรงรั ก ษาพระสุ ข ภาพ ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตามที่คณะแพทย์ ได้ ถ วายค�ำแนะน�ำ และระหว่ า งที่ ป ระทั บ ในเมื อ งโลซาน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี มีพระประสูติกาล พระราชธิดาพระองค์แรก คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า อุ บ ลรั ต นราชกั ญ ญา สิ ริ วั ฒ นาพรรณวดี ซึ่ ง ประสู ติ ณ โรงพยาบาลมองซัวซีส์ เมืองโลซาน เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๔ และเมือ่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์แรก เจริญพระชันษาได้ ๗ เดือน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชด�ำเนินนิวัตพระนคร ประทับ ณ พระต�ำหนัก จิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จากนั้นทรงย้ายที่ประทับ ไปประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เนื่องจาก ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า โปรดกระหม่ อ มให้ ป รั บ ปรุ ง พระต�ำหนักจิตรลดารโหฐานส�ำหรับเป็นที่ประทับแทนการ ที่ รั ฐ บาลจะจั ด สร้ า งพระต�ำหนั ก ขึ้ น ใหม่ และที่ พ ระที่ นั่ ง อัมพรสถานนี้เอง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี มี พ ระประสู ติ ก าลพระราชโอรสและพระราชธิ ด าอี ก สาม พระองค์ คือ

สมเด็ จ พระเจ้ า ลู ก ยาเธอ เจ้ า ฟ้ า วชิ ร าลงกรณ ประสูติเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๕ ในพุทธศักราช ๒๕๑๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม สถาปนาขึน้ เป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิตวิ ฒ ั นาดุลโสภาคย์ ประสูตเิ มือ่ วันเสาร์ที่ ๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๘ ในพุทธศักราช ๒๕๒๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรด กระหม่ อ มสถาปนาขึ้ น เป็ น สมเด็ จ พระเทพรั ต นราชสุ ด าฯ เจ้าฟ้ามหาจักรีสริ นิ ธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อั ค รราชกุ ม ารี ประสู ติ เ มื่ อ วั น พฤหั ส บดี ที่ ๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๐ พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ทรงพระผนวช เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙ ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง และประทับ จ�ำพรรษา ณ พระต�ำหนักปัน้ หย่า วัดบวรนิเวศวิหาร มีพระบรม ราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ ิ์ พระบรมราชินี เป็นผู้ส�ำเร็จราชการ ทรงปฏิบัติราชการแผ่นดิน แทนพระองค์ ต ลอดเวลา ๑๕ วั น ที่ ท รงพระผนวชอยู่ และ จากการที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ทรงปฏิบัติ พระราชกรณียกิจในต�ำแหน่งผ้สู �ำเร็จราชการแทนพระองค์ได้อย่าง เรียบร้อยเป็นทีพ่ อพระราชหฤทัย จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็ จ พระนางเจ้ า สิ ริ กิ ติ์ พระบรมราชินีนาถ ในปีเดียวกันนั้นเอง และในวันที่ ๓๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๐๐ หลังจากทรงประกอบพิธีเฉลิมพระต�ำหนัก จิตรลดารโหฐานซึ่งได้ต่อเติมขึ้นใหม่แล้ว ทรงย้ายที่ประทับ จากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต กลับไปประทับที่ พระต�ำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จนถึงปัจจุบัน

13

จากหนังสือ 'เสด็จประพาสต้นมาเป็นโครงการพระราชด�ำริ พ.ศ. ๒๕๐๒ - ๒๕๑๘' ส�ำนักพระราชวัง

อนุสารอุดมศึกษา


พูดคุยเรื่อง

มาตรฐาน

14

การจัดการศึกษาระบบธนาคารหน่วยกิต

ในระดับอุดมศึกษา จากที่ ‘อนุสารอุดมศึกษา’ ได้น�ำเกร็ดความรู้จากหนังสือ ชีวิตราชการ ชีวิตมาตรฐาน ดร.วราภรณ์ สีหนาท เกี่ยวกับการจัดท�ำ Diploma Supplement และการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร น�ำเสนอให้ท่านผู้อ่านทราบในฉบับเดือนตุลาคม และ เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ‘อนุสารอุดมศึกษา’ เห็นว่ายังมีเรื่องที่ เกี่ยวกับการจัดการอุดมศึกษาหลายเรื่องในหนังสือเล่มดังกล่าวที่ น่าสนใจน�ำมาถ่ายทอดให้ผู้อ่านทราบ และเรื่องที่น่าสนใจเรื่องหนึ่ง คื อ การจั ด การศึ ก ษาระบบธนาคารหน่ ว ยกิ ต ในระดั บ อุ ด มศึ ก ษา ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

อนุสารอุดมศึกษา


ธนาคารหน่วยกิตเป็นค�ำที่มีการกล่าวไว้ในกรอบ แผนอุดมศึกษาระยะยาว ๑๕ ปี ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๖๕) ประเด็นทิศทางและนโยบายของกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว ได้กล่าวถึงปัจจัยภายในระดับอุดมศึกษาไว้ ๙ ประเด็น หนึง่ ในประเด็น เหล่านั้น คือ รอยต่อกับการศึกษาระดับอื่น ซึ่งกล่าวถึงบทบาทของ อุดมศึกษาว่าต้องเปิดโอกาสให้ผู้จบอาชีวศึกษาและก�ำลังท�ำงาน สามารถเข้าศึกษาต่อในอุดมศึกษาได้ด้วยความยืดหยุ่น ประกอบ อาชีพต่อไป ไม่ตอ้ งทิง้ งานทิง้ อาชีพ ศึกษาในเงือ่ นไขเวลาทีไ่ ม่บบี รัด ไม่ผกู มัดนักศึกษาทีเ่ ป็นผูผ้ ลักดันภาคการผลิตจริง ไม่ก�ำหนดว่าต้อง เรียนส�ำเร็จในเวลาอันสั้น เช่นระบบการศึกษา ๔ ปี ซึ่งเป็นเรื่องของ นิสิตนักศึกษาในวัย ๑๘ - ๒๒ ปี และให้สามารถสะสมหน่วยกิตใน ท�ำนองธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank) การพั ฒ นาระบบธนาคารหน่ ว ยกิ ต ในระดั บ อุดมศึกษาเริ่มด�ำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษาได้แต่งตัง้ คณะท�ำงานเพือ่ พัฒนาระบบ ธนาคารหน่วยกิต คณะท�ำงานซึ่งได้ศึกษาข้อมูลการด�ำเนินการ ระบบธนาคารหน่วยกิตในประเทศและต่างประเทศ และได้ก�ำหนด กรอบแนวความคิดจากทีร่ ะบุไว้ในกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาวฯ ในการด�ำเนินการพัฒนาระบบธนาคารหน่วยกิตในเบือ้ งต้น เพือ่ เป็น แนวทางการพัฒนาระบบธนาคารหน่วยกิตที่เหมาะสมกับระบบ อุดมศึกษาไทย ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๕๖ คณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ แ ต่ ง ตั้ ง คณะอนุ ก รรมการพั ฒ นาและส่ ง เสริ ม ระบบธนาคาร หน่ ว ยกิ ต ให้ มี ห น้ า ที่ ก�ำหนดหลั ก เกณฑ์ ก ารด�ำเนิ น การสะสม หน่วยกิตในระบบธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank) ในระดับ อุดมศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทอุดมศึกษาของไทย พัฒนาระบบ กลไก และวิธีการในการสะสมหน่วยกิตในระบบธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank) ส�ำหรับสถาบันอุดมศึกษา และส่งเสริมสถาบัน อุดมศึกษาในการจัดการเรียนการสอนและสะสมหน่วยกิตในระบบ ธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ทกี่ �ำหนด การจัดการศึกษาระบบธนาคารหน่วยกิตในระดับ อุ ด มศึ ก ษา มี เจตนารมณ์ ใ นการส่ ง เสริ ม การเรี ย นรู ้ ต ลอดชี วิ ต (life long learning) สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้ มหาวิทยาลัยเปิดโอกาสและปรับวัฒนธรรมการเรียนรูใ้ ห้ผทู้ ตี่ อ้ งการ มีความรู้ สามารถเข้าเรียนได้ ผู้เรียนที่ออกจากระบบมหาวิทยาลัย ไปแล้วสามารถเข้ามาเรียนใหม่ได้ตลอดเวลา โดยลดข้อจ�ำกัดบาง ประการ เช่น ต้องลงทะเบียนเรียนใหม่ การไม่จ�ำกัดอายุของผู้เข้า เรียน สร้างวัฒนธรรมใหม่ให้มหาวิทยาลัย ไม่เน้นเรือ่ งการให้ปริญญา

ซึ่งคณะอนุกรรมการพัฒนาและส่งเสริมระบบธนาคารหน่วยกิต ได้ด�ำเนินการพัฒนาหลักเกณฑ์แนวทางการจัดการศึกษาระบบ ธนาคารหน่วยกิตในระดับอุดมศึกษา โดยมีสาระส�ำคัญ คือ การ เพิ่มโอกาสการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยก�ำหนดรูปแบบการจัดการ ศึกษาทีย่ ดื หยุน่ ตามความต้องการ ผูเ้ รียนสามารถน�ำผลการเรียนรู้ มาสะสมไว้ในสถาบันอุดมศึกษาได้ ให้ความส�ำคัญกับการศึกษา แก่ผู้ที่อยู่ในวัยท�ำงาน อันเป็นการสร้างศักยภาพการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนาอาชีพ หรือเพื่อให้ได้รับ คุณวุฒิทางการศึกษา เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกกลุ่มสามารถเข้า ศึกษาโดยไม่มีเงื่อนไขของคุณสมบัติผู้เรียน คุณวุฒิ หรือระยะ เวลาในการเรียน สามารถสะสมผลการเรียนได้จากการศึกษา ในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย และจาก ประสบการณ์ โดยใช้หลักเกณฑ์การเทียบโอนผลการเรียนจากการ ศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เข้าสู่การศึกษาในระบบ ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาต้องพัฒนาระบบ การประเมินที่มีคุณภาพและมาตรฐาน มีการด�ำเนินงานอย่าง โปร่งใส ตรวจสอบได้ คณะอนุ ก รรมการพั ฒ นาและส่ ง เสริ ม ระบบ ธนาคารหน่วยกิต ได้ด�ำเนินการตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และได้รายงานให้คณะอนุกรรมการด้านมาตรฐานอุดมศึกษาได้ รับทราบผลการด�ำเนินการแล้วเมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๕๗ โดยที่ ธนาคารหน่วยกิตเป็นแนวคิดใหม่ ซึ่งอาจมีความกังวลว่าจะ เป็นการเปิดโอกาสให้มีช่องทางในการให้ผู้เรียนได้รับปริญญา โดยไม่มีความรู้ ในประเด็นนี้ ควรได้มีการทบทวนแนวทางใน การเที ย บโอนความรู ้ แ ละเที ย บโอนประสบการณ์ ใ ห้ มี ค วาม โปร่งใสและชัดเจนยิ่งขึ้น กรอบมาตรฐานคุณวุฒิได้มีการก�ำหนด Learning Outcomes ระดับรายวิชาและระดับหลักสูตรไว้ชดั เจน รวมทัง้ ให้ความส�ำคัญกับการประเมินผลลัพธ์การเรียนรูข้ องผูเ้ รียน ไว้ดว้ ย จึงควรใช้ประโยชน์ของ TQF เพือ่ ส่งเสริมการจัดการศึกษา ระบบธนาคารหน่วยกิต และควรส่งเสริมให้มีการน�ำร่องและ เป็นกลุ่มสถาบันที่มีหลักสูตรเน้นทักษะการปฏิบัติที่เชื่อมโยงกับ สถานประกอบการที่มีการก�ำหนดสมรรถนะของผู้เรียนที่ชัดเจน ใน Learning Outcomes

15

อ้างอิงจาก หนังสือชีวิตราชการ ชีวิตมาตรฐาน ดร.วราภรณ์ สีหนาท เนื่องในโอกาสเกษียณอายุราชการ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๗

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่อง

แนะนำ�

Asian Science Camp

2015

16

อนุสารอุดมศึกษา

โครงการ Asian Science Camp มีพื้นฐานมาจาก Lindau Noble Laureate Meeting ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดเป็นประจ�ำทุกปีที่เมือง Lindau สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เริ่มมาตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๕๑ ในแต่ละปี จะมี ก ารบรรยายของนั ก วิ ท ยาศาสตร์ ร างวั ล โนเบล และเปิ ด โอกาสให้ นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ทั่วโลก ได้ใกล้ชิดและรับฟังแง่คิดในการท�ำงาน จากนั ก วิ ท ยาศาสตร์ ร างวั ล โนเบล และได้ ส ร้ า งเครื อ ข่ า ยการวิ จั ย กั บ นั ก วิ ท ยาศาสตร์ รุ ่ น ใหม่ จ ากประเทศต่ า งๆ ภายใต้ ค�ำขวั ญ Educate. Inspire. Connect. ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงด�ำรงต�ำแหน่ง Honorary Senate of the Council for the Lindau Noble Laureate โครงการ Asian Science Camp ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๘ (ค.ศ. ๒๐๐๗) โดยความร่วมมือระหว่าง ศาสตราจารย์หลี หยวน เซ (Professor Yuan Tseh Lee) ชาวไต้หวัน ผู้ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี ปี พ.ศ. ๒๕๒๙ กับ ศาสตราจารย์มาซาโตชิ โกชิบา (Professor Masatoshi Koshiba) ชาวญี่ปุ่น ผู้ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ให้กับเยาวชนในแถบ เอเชียแปซิฟิก ที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยผ่านการ ฟังบรรยาย การอภิปราย และพูดคุยกับนักวิทยาศาสตร์ระดับรางวัลโนเบล แล้วน�ำมาสร้างเป็นโปสเตอร์ โดยเน้นให้เยาวชนได้ใกล้ชดิ กับนักวิทยาศาสตร์ รางวัลโนเบลและนักวิทยาศาสตร์ชั้นน�ำของโลก และสนับสนุน ส่งเสริมให้ เยาวชนกล้าแสดงออกทั้งในการซักถามและการเสนอความคิดเห็น และการ ท�ำงานร่วมกับเยาวชนในประเทศอื่นๆ Asian Science Camp เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นทุกปีโดยหมุนเวียน ไปจัดในประเทศต่างๆ ตัง้ แต่ปี ค.ศ. ๒๐๐๗ ถึงปัจจุบนั ตามล�ำดับดังนี้ ไต้หวัน อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลีใต้ อิสราเอล ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ การจัด กิจกรรมนี้อยู่ภายใต้การก�ำกับดูแลของ ASC International Committee


และ ASC Advisory Board ซึ่งก�ำหนดให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็น เยาวชนทีก่ �ำลังศึกษาในระดับมัธยมปลายปีสดุ ท้ายหรือก�ำลังศึกษา ในระดับมหาวิทยาลัยไม่เกินชัน้ ปีที่ ๒ ในสาขาเคมี ชีววิทยา ฟิสกิ ส์ และคณิตศาสตร์ และมีอายุระหว่าง ๑๖ - ๒๑ ปี

การเป็นเจ้าภาพ Asian Science Camp 2015 ในประเทศไทย ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ASC International Committee ได้มอบให้ประเทศไทย เป็นเจ้าภาพจัดงาน Asian Science Camp 2015 ในประเทศไทย โดยมีมลู นิธสิ ง่ เสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ ศึกษา ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพีน่ างเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวฒ ั นา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (มูลนิธิ สอวน.) กระทรวงการ ต่างประเทศ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (โดยส�ำนักงาน พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช.) กระทรวง ศึ ก ษาธิ ก าร (โดยสถาบั น ส่ ง เสริ ม การสอนวิ ท ยาศาสตร์ แ ละ เทคโนโลยี สสวท.) และสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ เป็นเจ้าภาพร่วมกัน การจัดงาน Asian Science Camp 2015 มีวตั ถุประสงค์ ส�ำคัญ คือ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสมีพระชนมายุ ๖๐ พรรษา และเพื่อกระตุ้นให้เยาวชนไทยและสังคมไทยได้ตระหนักถึงความ ส�ำคัญและบทบาทของการศึกษา วิจัย ค้นคว้าด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีต่อการพัฒนาสังคมและประเทศ โดยสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชด�ำเนินเป็นประธานและปาฐกถาน�ำในพิธเี ปิด Asian Science Camp 2015 ในวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๘ ทั้ ง นี้ กิ จ กรรม Asian Science Camp 2015 ก�ำหนดจั ด ขึ้ น ระหว่ า งวั น ที่ ๒ - ๘ สิ ง หาคม ๒๕๕๘ ณ บ้านวิทยาศาสตร์สริ นิ ธร และอุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ส�ำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ต�ำบลคลองหนึง่ อ�ำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยคาดว่าจะมีนกั เรียน นักศึกษา

และครูอาจารย์ที่ดูแลเข้าร่วมกิจกรรมประมาณ ๓๐๐ คน จาก ๓๐ ประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิก กิจกรรมในงานประกอบด้วย - Plenary Session เป็ น การบรรยายของ นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลในหัวข้อที่น่าสนใจ และเปิดโอกาส ให้เยาวชนได้ซักถามแสดงความคิดเห็น - Round Table Discussion เป็ น การจั ด ให้ นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลและนักวิทยาศาสตร์ชนั้ น�ำ ๕ - ๘ คน ร่วมให้ความคิดเห็นในประเด็น/หัวข้อที่น่าสนใจ และเปิดโอกาส ให้เยาวชนได้ซักถามแสดงความคิดเห็น - Parallel Session/Camp เป็นกิจกรรมกลุ่มย่อย (ประมาณ ๒ - ๓ กลุ่ม) ที่ให้เยาวชนเลือกเข้าฟังการบรรยายสั้นๆ เกี่ยวกับงานวิจัย/เรื่องที่น่าสนใจของนักวิทยาศาสตร์รางวัล โนเบล และเปิดโอกาสให้เยาวชนได้ซักถามแสดงความคิดเห็น อย่างกว้างขวาง - Poster Session เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ เยาวชนรวมกลุ่มกันและน�ำสิ่งที่ได้รับฟังมาตลอด มาต่อยอด สร้างเป็นแนวคิดในการที่จะหาค�ำตอบของเรื่องที่น่าสนใจและ น�ำเสนอรูปแบบโปสเตอร์ มีการจัดแสดงและประกวดโปสเตอร์ ในวันสุดท้าย โดยมีคณาจารย์ผทู้ รงคุณวุฒเิ ป็นกรรมการพิจารณา และตัดสิน และมีการมอบรางวัล ขณะนี้ มี นั ก วิ ท ยาศาสตร์ ร างวั ล โนเบลและ นักวิทยาศาสตร์ชนั้ น�ำระดับโลกให้การตอบรับเข้าร่วมการบรรยาย อาทิ Yuan T Lee สาขาเคมี ปี ๑๙๘๖, Ada Yonath สาขา เคมี ปี ๒๐๐๙, Bert Sakmann สาขาสรีรวิทยาการแพทย์ ปี ๑๙๘๙, Yaladimir Voevodsky รางวัล Field medalist xu ๒๐๐๒, ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รางวัล Nikkei Prize ปี ๒๐๐๔ เป็นต้น

17

ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

http://asc2015.posn.or.th/

อนุสารอุดมศึกษา


เหตุการณ์

เล่าเรื่อง

18

กีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน...

กีฬามิตรภาพของปัญญาชนอาเซียน

ปิดฉากเรียบร้อยแล้วส�ำหรับการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน ครัง้ ที่ ๑๗ ระหว่างวันที่ ๑๐ - ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๗ ณ เมืองปาเล็มบัง สาธารณรัฐ อินโดนีเซีย ซึ่งมีประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้น ๑๑ ประเทศ คือ มาเลเซีย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย บรูไนดารุสซาราม สาธารณรัฐสิงคโปร์ สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐฟิลปิ ปินส์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์ เลสเต ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐแห่ง สหภาพเมียนมาร์ และประเทศไทย โดยมีการจัดการแข่งขันทั้งสิ้น ๒๐ ชนิดกีฬา คือ ว่ายน�ำ้ กระโดดน�ำ้ ยิงธนู กรีฑา แบดมินตัน บาสเกตบอล วอลเลย์บอลชายหาด หมากรุก ฟันดาบ ฟุตบอล ฟุตซอล คาราเต้โด ปันจักสีลัต เปตอง เซปักตะกร้อ เทเบิลเทนนิส เทควันโด เทนนิส วอลเลย์บอล และวูซู จ�ำนวนรวม ๒๒๕ เหรียญ ส�ำหรับประเทศไทย ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยความร่วมมือของ คณะกรรมการบริหารกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย และสถาบันอุดมศึกษา จัดส่งทัพนักกีฬาและเจ้าหน้าที่รวมทั้งสิ้น ๔๐๔ คน เข้าร่วมการแข่งขัน ๑๖ ชนิด กีฬา คือ ฟุตบอล ฟุตซอล บาสเกตบอล วอลเลย์บอล วอลเลย์บอลชายหาด เซปักตะกร้อ แบดมินตัน เปตอง เทเบิลเทนนิส เทนนิส ฟันดาบ ว่ายน�้ำ กรีฑา คาราเต้โด ปันจักสีลัต และเทควันโด อนุสารอุดมศึกษา


สรุปตารางการแข่งขัน Country รวม Indonesia

๖๖

๗๘

๔๖

๑๙๐

Thailand

๕๓

๓๔

๒๘

๑๑๕

Malaysia

๔๐

๔๒

๔๙

๑๓๑

Vietnam

๒๗

๑๕

๔๖

Philippines

๑๑

๑๐

๒๑

๔๒

Laos PDR

๑๓

๒๖

Singapore

๑๓

๒๔

Myanmar

๑๐

Cambodia

Brunei

Timor Leste

จากการแข่ ง ขั น กี ฬ ามหาวิ ท ยาลั ย อาเซี ย นในครั้ ง นี้ ประเทศไทยได้เหรียญรางวัลทั้งหมด ๑๑๕ เหรียญ แบ่งเป็น ๕๓ เหรียญทอง ๓๔ เหรียญเงิน ๒๘ เหรียญทองแดง เป็นอันดับที่ ๒ รองจากสาธารณรัฐอินโดนีเซีย เจ้าภาพ โดย ว่ายน�ำ้ ได้ ๘ เหรียญทอง ๗ เหรี ย ญเงิ น ๘ เหรี ย ญทองแดง กรี ฑ า ได้ ๖ เหรี ย ญทอง ๗ เหรียญเงิน ๓ เหรียญทองแดง แบดมินตัน ได้ ๑ เหรียญทอง ๒ เหรียญเงิน ๔ เหรียญทองแดง บาสเกตบอล ได้ ๑ เหรียญทอง ๑ เหรียญเงิน วอลเลย์บอลชายหาด ได้ ๑ เหรียญทอง ๑ เหรียญเงิน ๑ เหรียญทองแดง ฟันดาบ ได้ ๒ เหรียญทอง ๑ เหรียญเงิน ๑ เหรียญทองแดง ฟุตซอล ได้ ๒ เหรียญทอง คาราเต้โด ได้ ๗ เหรียญทอง ๒ เหรียญเงิน ๕ เหรียญทองแดง ปันจักสีลัต ได้ ๑ เหรี ย ญทอง ๑ เหรี ย ญเงิ น ๑ เหรี ย ญทองแดง เปตอง ได้ ๓ เหรียญทอง ๑ เหรียญทองแดง เซปักตะกร้อ ได้ ๕ เหรียญทอง ๓ เหรียญเงิน เทเบิลเทนนิส ได้ ๑ เหรียญทอง ๑ เหรียญเงิน ๑ เหรียญ ทองแดง เทควันโด ได้ ๘ เหรียญทอง ๓ เหรียญเงิน ๒ เหรียญ ทองแดง เทนนิส ได้ ๔ เหรียญทอง ๕ เหรียญเงิน ๑ เหรียญทองแดง วอลเลย์บอล ได้ ๒ เหรียญทอง และ ฟุตบอล ได้ ๑ เหรียญทอง ซึ่งประเทศไทยเป็นแชมป์ฟุตบอลมหาวิทยาลัยอาเซียน ๑๓ สมัย ติดต่อกัน ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา รูส้ กึ ยินดีและ ภาคภูมใิ จกับความตัง้ ใจของนักกีฬาและผูฝ้ กึ สอนทุกท่านในความ ส�ำเร็จทีเ่ ห็นเป็นรูปธรรมจากเหรียญรางวัล แต่สงิ่ ส�ำคัญอีกประการ หนึ่งที่นักกีฬาหรือนักศึกษาจะได้จากการแข่งขันกีฬาในครั้งนี้ นั่นคือ มิตรภาพระหว่างเพื่อนนักกีฬาในภูมิภาคอาเซียนที่ก�ำลัง จะก้าวไปด้วยกันในการเข้าร่วมเป็นประชาคมอาเซียนในเร็ววันนี้

19

อนุสารอุดมศึกษา


๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๗ - รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา ร่ ว มชมการแข่ ง ขั น กี ฬ าเทควั น โด ในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน ครั้งที่ ๑๗ พร้อมทั้งได้ให้เกียรติมอบ เหรี ย ญรางวั ล ให้ กั บ ผู ้ เข้ า แข่ ง ขั น ซึ่ ง ที ม ไทยชนะเลิ ศ ในการแข่ ง ขั น เทควั น โด ประเภทท่าร�ำ ได้เหรียญทอง ดังนี้ (๑) นายคณวัฒน์ สุขเจริญ เหรียญทองท่าร�ำ ชายเดี่ยว ก�ำลังศึกษาที่คณะครุศาสตร์ พลศึกษาและสุขศึกษา ชั้นปีที่ ๕ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย และ (๒) นางสาวพิชชาภา ธนกิจเจริญพัฒน์ เหรียญทองท่าร�ำ หญิงเดีย่ ว ก�ำลังศึกษาทีค่ ณะนิตศิ าสตร์ ชัน้ ปีที่ ๔ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ ยังได้ ๒ เหรียญเงินจากประเภททีมชายกับคู่ผสม ในโอกาสเดียวกัน ได้เข้าเยี่ยมชม หมูบ่ า้ นนักกีฬา ส�ำนักงานชัว่ คราวฝ่ายเลขา และห้องแพทย์ของทีมไทย ในการแข่งขัน กีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน ครั้งที่ ๑๗ ณ เมืองปาเล็มบัง สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

20

เกร็ดกีฬา การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน จัดขึน้ โดยสภากีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน มีวตั ถุประสงค์เพือ่ เป็นเวทีส�ำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยในภูมภิ าคอาเซียนทีจ่ ะได้มโี อกาส แลกเปลี่ยนและสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ผ่านกิจกรรมด้านการแข่งขันกีฬา ในปัจจุบัน มหกรรมกีฬามหาวิทยาลัยอาเซียนได้ก�ำหนดให้มีการจัดการแข่งขันขึ้นทุก ๒ ปี โดย ประเทศสมาชิก ๑๑ ประเทศจะผลัดเปลีย่ นหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ทัง้ นี้ ประเทศไทยได้รบั เกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน ครัง้ ที่ ๑ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๓ ที่จังหวัดเชียงใหม่ และ อีก ๓ ครั้ง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๑ จัดการแข่งขัน ครั้งที่ ๕ ที่เมืองพัทยา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๒ จัดการแข่งขัน ครั้งที่ ๑๐ ที่กรุงเทพมหานคร และครั้งล่าสุด เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๓ จัดการแข่งขันครั้งที่ ๑๕ ที่จังหวัดเชียงใหม่ อนุสารอุดมศึกษา


เล่าเรื่อง

ด้วยภาพ

21

๓ ธันวาคม ๒๕๕๗ - นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เข้าร่วมพิธีถวายสัตย์ ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๕ ธันวาคม ๒๕๕๗ ณ ตึกสันติไมตรี ท�ำเนียบรัฐบาล โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และมี คณะรัฐมนตรี ข้าราชการระดับสูงของทุกภาคส่วนราชการทั้งพลเรือน ทหาร ต�ำรวจ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ เข้าร่วมในพิธี ซึ่งจัดโดยส�ำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)

อนุสารอุดมศึกษา


๓ ธันวาคม ๒๕๕๗ - ผู้ช่วยเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานพิธถี วายสัตย์ ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๗ ของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยมีผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษาเข้าร่วมพิธี ณ หน้าอาคาร ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

22

๓ ธันวาคม ๒๕๕๗ - นางสุภัทร จ�ำปาทอง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เข้าร่วมพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อ เป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดินเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๗ โดยมีพลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธี ณ เวทีกลางหน้ากระทรวงศึกษาธิการ อนุสารอุดมศึกษา


๙ ธันวาคม ๒๕๕๗ - นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ต้อนรับและหารือร่วมกับ Mr. Darren McDermott ที่ปรึกษาองค์กร Global Philanthropic Hong Kong (Asia Head Office) ณ ห้องประชุมบริหาร ชัน้ ๓ ทัง้ นี้ Mr. Darren McDermott เป็นผูเ้ ชีย่ วชาญ EU ที่จะมาร่วมด�ำเนินงานริเริ่มแนวทางการพัฒนา รูปแบบและเครื่องมือส�ำหรับวัดหรือติดตามความ ก้าวหน้าในการด�ำเนินงานสู่ความเป็นสากลของ สถาบันอุดมศึกษา ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือ ภายใต้ Thailand - EU Policy Dialogue Support Facility (PDSF)

23

๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๗ - นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ต้อนรับและ หารือร่วมกับ Prof. Dr. Wolfgang Obenaus จาก University of Economics and Business Administration, Vienna สาธารณรัฐออสเตรีย ในฐานะผู้แทนรัฐบาลออสเตรีย ภายใต้เครือข่ายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย ในทวีปยุโรปและมหาวิทยาลัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN - European Academic University Network : ASEA - UNINET) เกี่ยวกับการด�ำเนินโครงการความร่วมมือทางวิชาการด้านอุดมศึกษาระหว่างไทยกับ ออสเตรีย ส�ำหรับปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ณ ห้องประชุมบริหาร ชั้น ๓

อนุสารอุดมศึกษา



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.