รายงานประจำปี 2556 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

Page 1

OHEC

รายงานประจำป 2556

     

ทศวรรษ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

รวมทีมทำงาน สรางสรรคองคกร สอดคลองเปาหมาย โปรงใสเปนธรรม นำประโยชนสวนรวม


Higher Education สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ขับเคลื่อนอุดมศึกษาเพื่อชี้นำสังคมไทยใหกาวไกลสูนานาชาติ รวมทีมทำงาน สรางสรรคองคกร สอดคลองเปาหมาย โปรงใสเปนธรรม นำประโยชนสวนรวม




พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ข้าราชการพลเรือน เนื่องในวันข้าราชการพลเรือน ปีพุทธศักราช 2556

--------------------------------------------------------------------------------------------------- งานของแผ่นดินนั้น เป็นงานส่วนรวม มีผลที่กว้างขวาง เกี่ยวข้องกับ

บ้านเมืองและบุคคลทุกคนทุกฝ่าย. เมื่อเป็นงานส่วนรวมและมีผลเกี่ยวข้อง กับคนหมู่มาก ปัญหาข้อขัดแย้งต่างๆ อันเนื่องมาจากความคิดเห็นไม่ตรงกัน ก็ย่อมเกิดมีขึ้นบ้างเป็นปรกติธรรมดา. ข้าราชการผู้ปฏิบัติบริหารงานของ แผ่นดิน ตลอดจนทุกคนทุกฝ่ายทีเ่ กีย่ วข้อง จึงต้องมีใจทีห่ นักแน่นและเปิดกว้าง รับฟังความคิดเห็นทีแ่ ตกต่างแม้กระทัง่ คำ�วิพากษ์วจิ ารณ์อย่างมีสติ ใช้ปญ ั ญา และเหตุผลเป็นเครื่องปฏิบัติวินิจฉัย โดยถือว่าความคิดเห็นและคำ�วิพากษ์ วิจารณ์นั้นคือการระดมสติปัญญาและประสบการณ์อันหลากหลายจากทุกคน ทุกฝ่าย เพือ่ ประโยชน์แก่การปฏิบตั บิ ริหารงานและการแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้งาน ทุกส่วน ทุกด้านของแผ่นดินสำ�เร็จผลเป็นความเจริญมัน่ คงแก่ประเทศชาติและ ประชาชนอย่างแท้จริง.

อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช วันที่ 31 มีนาคม พุทธศักราช 2556


Message

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

ปัจจุบันโลกมีความเปลี่ยนแปลงและก้าวหน้าขึ้นในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเจริญก้าวหน้า ทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ท�ำให้สังคมปัจจุบันนี้เป็นสังคมอุดมปัญญา โดยมีความรู้เป็นปัจจัยส�ำคัญใน การด�ำรงชีวิต และจะเป็นแรงผลักให้ทุกคนต้องพัฒนาตนเองอย่างสม�่ำเสมอ และใช้กระบวนการเรียนรู้อย่าง ต่อเนื่องตลอดชีวิต การบริหารจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเป็นส่วนส�ำคัญในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มคี วามเข้มแข็ง ทางด้านวิชาการ คุณธรรม จริยธรรม ที่จะเป็นรากฐานการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญอย่างยั่งยืน รัฐบาลมีนโยบายเร่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ผู้เรียนมีความรู้คู่คุณธรรม สร้างโอกาสและให้มีความเสมอภาค ในการได้ รั บ การศึ ก ษา เพื่ อ สร้ า งคนและพั ฒ นาสู ่ สั ง คมคุ ณ ธรรมบนพื้ น ฐานแห่ ง ภู มิ ป ั ญ ญา นอกจากนี้ รั ฐ บาลจั ด ให้ มี โ ครงการเงิ น กู ้ เ พื่ อ การศึ ก ษาที่ ผู ก พั น กั บ รายได้ ใ นอนาคตส� ำ หรั บ นั ก ศึ ก ษาระดั บ อุ ด มศึ ก ษา ส่งเสริมการท�ำงานวิจัยให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาประเทศ โดยการสนับสนุนให้ภาคเอกชนน�ำงานวิจัยที่มีอยู่ มาต่อยอดการใช้งานได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นการพัฒนาเพื่อสร้างทุนทางปัญญาของชาติ ต่อไป เนื่องในโอกาสที่ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดพิมพ์รายงานประจ�ำปี 2556 ดิฉันขอ อาราธนาคุณพระศรีรตั นตรัย และอ�ำนาจสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิท์ งั้ หลายในสากล โปรดดลบันดาลประทานพรให้คณะผูบ้ ริหาร คณะกรรมการ ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกท่าน ประสบแต่ความสุข ความเจริญ มีสุขภาพ สมบูรณ์แข็งแรงทั้งกายและใจ เพื่อช่วยกันเป็นก�ำลังที่เข้มแข็งในการพัฒนาระบบการศึกษาไทยให้เจริญก้าวหน้า ต่อไป

(นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) นายกรัฐมนตรี


นายจาตุรนต์ ฉายแสง

Message

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ขณะนี้ประเทศไทยก�ำลังอยู่ในสังคมขนาดใหญ่ ในภูมิภาคและสังคมโลก การจะสร้างขีดความสามารถ ในการแข่งขัน จ�ำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายชัดเจนและก�ำลังเร่งด�ำเนินการเพื่อให้ สอดคล้องกับความจ�ำเป็นและการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ‘การพัฒนาคน’ จึงเป็นโจทย์ ส�ำคัญของการจัดการศึกษาและปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทย การศึกษาต้องเดินหน้าสู่การสร้าง การพัฒนา เตรียมความพร้อมให้สอดคล้องกับสังคมโลก และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ท�ำให้โลก ทั้งโลกเชื่อมโยงและสื่อสารถึงกันได้อย่างรวดเร็ว จึงจ�ำเป็นต้องสร้างและพัฒนาให้คนเป็นทรัพยากรมนุษย์ ที่มีความสามารถ มีทักษะ ความถนัด ความช�ำนาญพร้อมจะขับเคลื่อนและยกระดับการพัฒนาประเทศสู่ การเป็นประเทศพัฒนาในระดับที่สูงขึ้น กระทรวงศึกษาธิการก�ำหนดให้ปี 2556 เป็น ‘ปีแห่งการรวมพลังยกระดับคุณภาพการศึกษา’ โดยจะ เร่งด�ำเนินการ 8 นโยบายส�ำคัญ คือ เร่งปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบให้สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน ปฏิรูประบบผลิตและ พัฒนาครู เร่งน�ำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการปฏิรูปการเรียนรู้ พัฒนาคุณภาพการอาชีวศึกษา ให้มีมาตรฐานเทียบได้กับระดับสากลให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ ส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษา เร่งพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานมากกว่าการขยายเชิงปริมาณ ส่งเสริมให้เอกชนและทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมจัด และสนับสนุนการศึกษามากขึ้น เพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ และพัฒนาการศึกษาใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดการศึกษามีคุณภาพ บังเกิดผลส�ำเร็จถึงผู้เรียน ครู คณาจารย์ สถานศึกษา และประชาชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างที่มุ่งหวัง ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีบทบาทในการดูแลการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยมี สถาบันอุดมศึกษาเป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ งานวิจัย นวัตกรรม พร้อมทั้งเป็นแหล่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ คู่คุณธรรม เพื่อเป็นฐานก�ำลังในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทย จึงควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ มีการกระจายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาสู่ประชาชนทุกระดับ ทุกกลุ่ม ผ่านช่องทางและสื่อการสอน ต่างๆ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ในโอกาสที่ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจัดท�ำหนังสือรายงานประจ�ำปี พุทธศักราช 2556 ซึ่งถือได้ว่าเป็นปีที่ 10 ของการด�ำเนินการภายใต้ชื่อ ‘ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา’ ผมขออ�ำนวยพร ให้ผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานทั้งในส่วนของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งจงประสบแต่ความสุข ความเจริญสืบไป

(นายจาตุรนต์ ฉายแสง) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ


Message

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ และสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ โดยมีการบริหารจัดการ อย่างเป็นระบบ เป็นกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนให้ประเทศมีทรัพยากรมนุษย์ที่เต็มเปี่ยมด้วยศักยภาพในทุกมิติ ดังนั้น การพัฒนาการจัดการศึกษา การผลิตและพัฒนาก�ำลังคนให้มีคุณภาพ เพื่อเป็นรากฐานส�ำคัญในการ พัฒนาสังคมและประเทศชาติอย่างยั่งยืน จนสามารถเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศในเวทีโลกได้ จึงเป็นหน้าที่หลักของกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบนโยบายการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้มีคุณภาพ มาตรฐาน เป็นที่ ยอมรับทั้งจากสังคมไทยและสังคมโลก ผมรู้สึกยินดีที่คณะกรรมการการอุดมศึกษา ผู้บริหาร ข้าราชการ และ เจ้าหน้าที่ของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสถาบันอุดมศึกษาได้ให้ความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนผลักดัน การพัฒนาการจัดการศึกษาของชาติให้มีคุณภาพและมาตรฐานเทียบเคียงกับนานาอารยประเทศ สามารถผลิต และพัฒนาก�ำลังคนของชาติให้มีศักยภาพตรงต่อความต้องการของตลาดแรงงานในประเทศ และในภูมิภาค และ สอดรับกับทิศทางการพัฒนาประเทศที่จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในอนาคต โอกาสที่ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจัดท�ำรายงานประจ�ำปี 2556 ซึ่งเป็นวาระครบ 10 ปี ผมขออาราธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากล โปรดดลบันดาลให้ผู้บริหาร และบุคลากรของส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษาประสบแต่ความสุข ความเจริญ มีพลังกาย พลังใจ ช่วยกันสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงาม และมีคุณประโยชน์ต่อการศึกษาของชาติตลอดไป

(นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ


รองศาสตราจารย์ คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

ตลอดระยะเวลา 10 ปี ที่ ‘คณะกรรมการการอุดมศึกษา’ ทั้งสามชุด ได้ร่วมท�ำงานกับส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษาดูแลการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามนโยบายการผลิตและพัฒนาก�ำลังคน ของประเทศให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ ส่งเสริมให้จัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ มาตรฐานด้วย ระบบบริหารจัดการที่มีธรรมาภิบาล ก�ำหนดทิศทางอุดมศึกษาของประเทศในแต่ละช่วงเวลา ตลอดจนผลักดัน ให้มีพระราชบัญญัติการอุดมศึกษาเพื่อเป็นกลไกในการส่งเสริมและก�ำกับดูแลคุณภาพมาตรฐานการอุดมศึกษา ของประเทศ ส�ำหรับในปี 2556 คณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้สนับสนุนให้ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสถาบันอุดมศึกษาในก�ำกับ/ในสังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ทั้งรัฐและเอกชน ด�ำเนินการ จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาอย่างมีคุณภาพ โดยจัดการเรียนการสอนและหลักสูตรให้มีมาตรฐานตามกรอบ มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ นอกจากนี้คณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ตรวจประเมินการจัดการ ศึกษานอกสถานที่ตั้งอย่างต่อเนื่อง เพื่อก�ำกับดูแลสถาบันอุดมศึกษาให้จัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งอย่างมีคุณภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐานที่ก�ำหนด สามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ศักยภาพเทียบเท่ากับสถาบันอุดมศึกษาในที่ตั้ง สิ่งที่คณะกรรมการการอุดมศึกษาตระหนักอยู่เสมอ คือ คุณภาพและมาตรฐานการอุดมศึกษาของ ประเทศ ทั้ง ‘คุณภาพ’ และ ‘มาตรฐาน’ คือ สาระส�ำคัญที่จะท�ำให้ประเทศไทยมีทรัพยากรบุคคลที่มีศักยภาพ มีขีดความสามารถในการแข่งขันเมื่อประเทศก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในอนาคตอันใกล้นี้ได้ ทั้งนี้ จ�ำเป็นต้องอาศัย ความร่วมมือจากทุกฝ่ายเพื่อให้การอุดมศึกษาไทยมีคุณภาพทัดเทียมกับนานาประเทศ ในโอกาสนี้ ขออ�ำนวยพรให้ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา บุคลากรของสถาบันอุดมศึกษา ประสบแต่ความสุข และเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานสืบไป

(รองศาสตราจารย์ คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา

Message


Message

นายอภิชาติ จีระวุฒิ

เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา นับจากวันที่ 7 กรกฎาคม 2556 จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 10 ปีแล้วที่สำ�นักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา ดำ�เนินภารกิจดูแลการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาของชาติ ภายใต้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ที่กำ�หนดให้คณะกรรมการการอุดมศึกษามีหน้าที่พิจารณา เสนอนโยบาย แผนพัฒนา และมาตรฐานการอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติ การสนับสนุนทรัพยากร การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยคำ�นึงถึงความเป็นอิสระและความเป็นเลิศทางวิชาการของสถานศึกษาระดับ ปริญญาตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษาแต่ละแห่ง และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดระยะเวลา 10 ปี สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยการสนับสนุนจากคณะกรรมการ การอุดมศึกษา และความร่วมมือจากสถาบันอุดมศึกษาในสังกัด/ในกำ�กับของสำ�นักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา ในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน สามารถผลิตและพัฒนากำ�ลังคน ของชาติให้มีศักยภาพ เป็นทั้งคนเก่ง และคนดี เพื่อเตรียมความพร้อมของบุคลากรของประเทศในการก้าวเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 และเป็นรากฐานสำ�คัญสำ�หรับการพัฒนาประเทศในอนาคต ในช่วงปีงบประมาณ 2556 สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ดำ�เนินการภารกิจสำ�คัญหลาย โครงการ อาทิ ‘กองทุนตั้งตัวได้’ ซึ่งเป็นภารกิจเร่งด่วนและเป็นนโยบายสำ�คัญของรัฐบาลให้เกิดผลเป็นรูปธรรม การเร่งผลักดันกฎหมายการอุดมศึกษาเพื่อเป็นมาตรฐานกลางในการดูแลสถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน การตรวจประเมินการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาให้ได้คุณภาพทั้งในสถานที่ตั้ง และนอกสถานที่ตั้ง การพัฒนาคุณภาพหลักสูตรให้สอดคล้องและรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การจัดการเกี่ยวกับกองทุนเงิน ให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา และกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต เพื่อกระจายโอกาสทางการ ศึกษาระดับอุดมศึกษาอย่างทั่วถึง 10 ปี ที่สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ และเอกชน ด้วยความมุ่งมั่นที่จะนำ�นโยบายการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาไปสู่การปฏิบัติเป็นไปอย่าง มีทิศทาง และสำ�เร็จเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน ในโอกาสนี้ ผมขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ร่วมกันพัฒนาอุดมศึกษา ไทยให้มีความเจริญก้าวหน้า สามารถผลิตและพัฒนากำ�ลังคนให้เป็นรากฐานสำ�คัญในการพัฒนาประเทศ เพื่ อ เพิ่ ม ขี ด ความสามารถในการแข่ ง ขั น ในเวที โลกต่ อ ไป พร้ อ มกั นนี้ ข ออวยพรให้ ทุ ก ท่ า นประสบแต่ ค วามสุ ข ความเจริญในหน้าที่การงานสืบไป

(นายอภิชาติ จีระวุฒิ) เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา


รายงานประจ�ำปี 2556 ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

จัดพิมพ์เผยแพร่ พุทธศักราช 2557 จ�ำนวน 3,000 เล่ม ISBN 978-616-202-891-5

ด�ำเนินการจัดท�ำและภาพประกอบโดย ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ส�ำนักอ�ำนวยการ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

รวบรวมและเรียบเรียงโดย นางชุลีกร กิตติก้อง

พิสูจน์อักษรโดย นางชุลีกร กิตติก้อง นายพรชัย สิทธินันทน์

สนับสนุนข้อมูลโดย

ส�ำนักอ�ำนวยการ ส�ำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา ส�ำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน ส�ำนักส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะบุคลากร ส�ำนักประสานและส่งเสริมกิจการอุดมศึกษา ส�ำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา ส�ำนักยุทธศาสตร์อุดมศึกษาต่างประเทศ ส�ำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ส�ำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย ส�ำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์


สารบัญ พระบรมราโชวาท สาร นายกรัฐมนตรี สาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สาร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สาร ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สาร เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เครื่องหมายราชการ สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เส้นทางอุดมศึกษาไทย อำ�นาจหน้าที่ และความรับผิดชอบ วิสัยทัศน์ และพันธกิจ กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ โครงสร้างผู้บริหาร โครงสร้างการแบ่งงานภายในของสำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา รายนามรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย รายนามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กำ�กับดูแลสำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา รายนามปลัดทบวงมหาวิทยาลัย รายนามเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา คณะกรรมการการอุดมศึกษา

13 14 20 21 22 28 30 32 33 34 34 35 37

1 ทศวรรษอุดมศึกษาไทย

39

ผลการดำ�เนินงาน การผลิตและพัฒนากำ�ลังคน เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา มาตรฐานการจัดการศึกษา ความร่วมมือกับต่างประเทศและการเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมโลก การพัฒนาศักยภาพนักศึกษา การส่งเสริมวิทยาลัยชุมชน การส่งเสริมการวิจัย เทคโนโลยี และการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ

59 75 85 95 113 133 139 157


สารบัญ ตารางแสดงงบประมาณรายจ่ายประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 รายงานนักศึกษาทั้งหมด ปีการศึกษา 2556 รายงานนักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2556

166 168 170

ทำ�เนียบผู้บริหาร ทำ�เนียบหน่วยงานในกำ�กับภายใน สกอ. ทำ�เนียบองค์กรที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สกอ. ทำ�เนียบหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

173 178 179 181

สถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร สถาบันอุดมศึกษาในภาคกลาง สถาบันอุดมศึกษาในภาคเหนือ สถาบันอุดมศึกษาในภาคอีสาน สถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออก สถาบันอุดมศึกษาในภาคใต้

183 185 187 189 191 192

สถาบันอุดมศึกษาในกำ�กับของรัฐ สถาบันอุดมศึกษาในสังกัดของรัฐ สถาบันอุดมศึกษาในสังกัดของรัฐ (ราชภัฏ) สถาบันอุดมศึกษาในสังกัดของรัฐ (ราชมงคล) มหาวิทยาลัยเอกชน วิทยาลัยเอกชน สถาบันเอกชน วิทยาลัยชุมชน

194 199 203 208 211 218 221 222

วันสถาปนาสถาบันอุดมศึกษาในกำ�กับของรัฐ วันสถาปนาสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดของรัฐ วัดที่ได้รับจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

224 225 226


12 รายงานประจ�ำปี 2556


เครื่องหมายราชการ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

ทบวงมหาวิทยาลัยได้รบั พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ตรา ‘พระวชิระ’ อันเป็นตราประจ�ำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยูห่ วั เป็นตราประจ�ำทบวงมหาวิทยาลัย เนือ่ งจากพระองค์ทรงได้รบั การยกย่องว่าทรงเป็นผูใ้ ห้กำ� เนิดและบุกเบิกการอุดมศึกษาของประเทศไทย ต่อมาทบวงมหาวิทยาลัยแปรสภาพเป็นส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช 2546 จึงอัญเชิญตรา ‘พระวชิระ’ เป็นเครื่องหมายประจ�ำส่วนราชการ ตราพระราชทานนี้จึงหมายถึง ส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา มีความรับผิดชอบการอุดมศึกษาของประเทศไทย

ลักษณะ

เป็นรูปวงกลม มีเส้นรอบวง 3 เส้น ภายในวงกลมตรงกลางมีรปู ‘พระวชิระ’ ซึง่ เป็นตราประจ�ำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า อยู่หัว ข้างวงกลมด้านในมีลายกระหนก 3 ชั้น เริ่มจากฐานด้านพระวชิระโค้งขึ้นไปเกือบจรดปลายแหลมของพระวชิระ ภายใต้รูปพระวชิระและ ลายกระหนกมีชื่อส่วนราชการ คือ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

สีประจ�ำ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

สีประจ�ำ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา คือ สีม่วง-สีน�้ำเงิน สีม่วง คือ สีประจ�ำวันเสด็จพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สีน�้ำเงิน คือ สีประจ�ำสถาบันพระมหากษัตริย์

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 13


...เส้นทางอุดมศึกษาไทย… จาก 30 ปี ทบวงมหาวิทยาลัย... ...สู่ ปีที่ 10 ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

ประวัติทบวงมหาวิทยาลัย การจัดการอุดมศึกษาของไทยได้เริ่มมาแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และอุดมศึกษาในสมัยนั้นมี หลากหลาย ทั้งโรงเรียนกฎหมาย โรงเรียนแพทย์ และโรงเรียนข้าราชการพลเรือนที่ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย และได้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยแห่งอื่นขึ้นอีกในเวลาต่อมา ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยสังกัดอยู่ ในกระทรวงต่างๆ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ สังกัดกระทรวง สาธารณสุข มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สังกัดกระทรวงเกษตร เป็นต้น

14 รายงานประจ�ำปี 2556


จนถึงปี พ.ศ.2502 รัฐบาลสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายก รัฐมนตรี ได้ตราพระราชบัญญัตโิ อนมหาวิทยาลัยทุกแห่งไปสังกัดส�ำนัก นายกรัฐมนตรี เนื่องจากได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งสภาการศึกษาแห่ง ชาติขึ้นในสังกัดส�ำนักนายกรัฐมนตรี และเห็นว่าการที่มหาวิทยาลัยแยก กันอยู่ต่างกระทรวงเป็นเรื่องยากในการปกครอง และการสร้างมาตรฐาน การศึกษา การโอนมารวมอยู่ในส�ำนักนายกรัฐมนตรีทั้งหมดจะเป็นการ สะดวกในการด�ำเนินการ ทั้งในด้านวิชาการและธุรการ และจะบรรลุตาม เจตนารมณ์ของการจัดตัง้ สภาการศึกษาแห่งชาติ เพือ่ อ�ำนวยประโยชน์ตอ่ การเร่งรัดการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติซึ่งเป็นนโยบายส�ำคัญ ของรัฐบาลในขณะนั้น ในปี พ.ศ.2514 สภาการศึกษาแห่งชาติและที่ประชุมอธิการบดี มหาวิทยาลัยของรัฐได้ร่วมกันเสนอความเห็นต่อจอมพลถนอม กิตติขจร หัวหน้าคณะปฏิวัติ ว่า มหาวิทยาลัยจ�ำเป็นต้องมีอิสระในการปกครอง ตนเอง มีเสรีภาพทางวิชาการในการถ่ายทอดและแสวงหาความรู้ โดยถือ หลักความเป็นเลิศทางวิชาการ จึงควรแยกมหาวิทยาลัยออกจากระบบ

ราชการเป็นมหาวิทยาลัยในก�ำกับของรัฐบาล หากไม่สามารถด�ำเนินการ ได้ ควรจัดตั้งทบวงอิสระหรือทบวงในสังกัดส�ำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็น หน่วยงานต้นสังกัดของมหาวิทยาลัยต่างๆ ทบวงมหาวิทยาลัยได้รบั การจัดตัง้ โดยประกาศคณะปฏิวตั ิ ฉบับที่ 216 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ในชื่อ ทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ ใน สังกัดส�ำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่เกี่ยวกับการด�ำเนินการและก�ำกับการ ศึกษาของรัฐในระดับอุดมศึกษา นอกเหนือจากที่อยู่ในอ�ำนาจหน้าที่ของ กระทรวงศึกษาธิการ ดังนัน้ วันที่ 29 กันยายน 2515 จึงเป็นวันสถาปนา ทบวงมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 320 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ก�ำหนดระเบียบการปฏิบัติราชการของทบวง มหาวิทยาลัยของรัฐขึน้ เพือ่ ให้รฐั มนตรีวา่ การทบวงมหาวิทยาลัยมีอำ� นาจ ในการก�ำหนดนโยบายและแผนการจัดการศึกษา ก�ำหนดมาตรฐานเกีย่ วกับ หลักสูตรการศึกษาและการบริหารงานบุคคล พิจารณาการเสนอและ พิจารณาอนุมตั กิ ารจัดตัง้ ยุบรวม และเลิกมหาวิทยาลัย คณะและภาควิชา ตลอดจนการติดตามประเมินผลการจัดการศึกษา และเป็นศูนย์ประสาน ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 15


งานด้านการจัดการศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัย ท�ำให้ทบวงมหาวิทยาลัย มีอ�ำนาจหน้าที่แตกต่างจากกระทรวงและทบวงอื่น ที่ไม่ได้มีกฎหมาย ก�ำหนดหน้าที่ไว้โดยเฉพาะ ในปี พ.ศ.2520 รัฐบาลสมัยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายก รัฐมนตรี ได้ตราพระราชบัญญัตเิ ปลีย่ นชือ่ ทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ เป็น ทบวงมหาวิทยาลัย และให้ยกฐานะเป็นทบวงอิสระ มีฐานะเทียบเท่า กระทรวง ไม่อยูใ่ นสังกัดส�ำนักนายกรัฐมนตรี เพือ่ ให้เกิดความคล่องตัวใน การบริหารงาน เนือ่ งจากมีการโอนงานก�ำกับดูแลสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จากกระทรวงศึกษาธิการมาอยู่ในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยัง ได้ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 320 โดยตราพระราชบัญญัติ ระเบียบการปฏิบัติราชการของทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2520 ขึ้นแทน เพื่อให้ทบวงมหาวิทยาลัยมีอ�ำนาจควบคุมมหาวิทยาลัยและสถาบัน อุดมศึกษาที่เป็นของรัฐและเอกชนในสังกัดด้วย ต่อมาพระราชบัญญัตินี้ ได้ มี ก ารแก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม เมื่ อ ปี พ.ศ.2537 เพื่ อ ให้ มี อ� ำ นาจครอบคลุ ม มหาวิทยาลัยของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการและอยู่ภายใต้การก�ำกับดูแล 16 รายงานประจ�ำปี 2556

ของรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี สุรนารี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรเี ป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกทีป่ รับเปลีย่ นสถานภาพจากสถาบันทีเ่ ป็น ส่วนราชการไปเป็นมหาวิทยาลัยในก�ำกับตามนโยบายของรัฐบาลที่จะให้ มหาวิทยาลัยของรัฐทุกแห่งทีเ่ ป็นส่วนราชการออกจากระบบราชการ จนถึงปี พ.ศ. 2546 รัฐบาลของพันต�ำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ได้ ลงประกาศพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 120 ตอนที่ 62ก วันที่ 6 กรกฎาคม 2546 โดยพระราชบัญญัตินี้ได้ยกเลิกพระราชบัญญัติระเบียบการปฏิบัติ ราชการของทบวงมหาวิทยาลัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2537 ท�ำให้ทบวง มหาวิทยาลัย ต้องแปรสภาพเป็น ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตามกฎหมายใหม่ รวมระยะเวลาด�ำเนินภารกิจ 30 ปี 9 เดือน 7 วัน มี รัฐมนตรีวา่ การทบวงมหาวิทยาลัย และรักษาราชการแทนรัฐมนตรี บริหาร ราชการ ทั้งสิ้น 38 ท่าน มีปลัดทบวงมหาวิทยาลัยบริหารราชการ 6 ท่าน


...สู่ ปีที่ 10 ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สืบเนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ก�ำหนดให้รฐั ต้องจัดการศึกษาอบรม และสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษา อบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่ง ชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และสังคม สร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตส�ำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับ การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข สนับสนุนการค้นคว้าวิจัยในศิลปวิทยาการ เร่งรัดการศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพือ่ การพัฒนาประเทศ พัฒนาวิชาชีพครู และ ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมของชาติ รวมทั้งในการจัดการ ศึกษาของรัฐให้ค�ำนึงถึงการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองท้องถิ่นและ เอกชนตามที่กฎหมายบัญญัติ และให้ความคุ้มครองการจัดการศึกษา อบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนภายใต้การก�ำกับดูแลของรัฐ จึงได้ ตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และได้ลงประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 116 ตอนที่ 74ก วันที่ 19 สิงหาคม 2542 เพือ่ เป็น

กฎหมายแม่บทในการบริหารและจัดการการศึกษาอบรมให้สอดคล้องกับ บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยพระราชบัญญัติ ฉบับนี้ ได้หลอมรวมหน่วยงานด้านการศึกษาเดิม ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ เดิม ทบวงมหาวิทยาลัย และส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ส�ำนักนายกรัฐมนตรี เข้าด้วยกัน เป็นกระทรวงใหม่ ชื่อว่า กระทรวง การศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีโครงสร้างในการแบ่งส่วนราชการในรูปของ คณะกรรมการชุดต่างๆ ก�ำกับดูแลการศาสนาและวัฒนธรรม การศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน การศึกษาด้านการอาชีวศึกษา และการศึกษาด้านการอุดมศึกษา โดยทบวงมหาวิทยาลัยจะแปรสภาพตามพระราชบัญญัติฉบับนี้เป็น ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ต่อมารัฐบาลของพันต�ำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีนโยบายปฏิรูประบบราชการ เข้าสู่ ‘ระบบราชการยุคใหม่’ โดยปรับ ภาคราชการให้มีคุณลักษณะธรรมาภิบาล เพื่อยกระดับขีดความสามารถ และเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงานราชการให้ตอบสนองความต้องการ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 17


ที่หลากหลายของประชาชน สังคม และประเทศชาติได้ จึงได้มีการปรับ บทบาท ภารกิจ และการจัดโครงสร้างระบบบริหารราชการ และระบบ บริหารงานบุคคลภาครัฐ ในการจัดโครงสร้างส่วนราชการใหม่ ได้กำ� หนด ให้แยกภารกิจเกี่ยวกับงานด้านศิลปวัฒนธรรม ออกจากภารกิจของ กระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ทีจ่ ดั ตัง้ ขึน้ ตามพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ไปจัดตัง้ เป็น ‘กระทรวงวัฒนธรรม’ จึงมีการ ประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 โดยการจัดระเบียบบริหารราชการในกระทรวง ศึกษาธิการใหม่ มีองค์กรหลักที่เป็นคณะบุคคลในรูปสภาหรือในรูป คณะกรรมการ จ�ำนวน 4 องค์กร ได้แก่ สภาการศึกษา คณะกรรมการการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา และคณะกรรมการการ อุดมศึกษา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นหรือให้คำ� แนะน�ำแก่รัฐมนตรี หรือ คณะรัฐมนตรี และมีอ�ำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายก�ำหนด 18 รายงานประจ�ำปี 2556

ทั้งนี้ คณะกรรมการการอุดมศึกษา มีหน้าที่พิจารณาเสนอ นโยบายแผนพั ฒ นา และมาตรฐานการอุ ด มศึ ก ษาที่ ส อดคล้ อ งกั บ ความต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนการ ศึกษาแห่งชาติ การสนับสนุนทรัพยากร การติดตามตรวจสอบ และ ประเมินผลการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยค�ำนึงถึงความเป็นอิสระ และความเป็นเลิศทางวิชาการของสถานศึกษาระดับปริญญา ตามกฎหมาย ว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษาแต่ละแห่ง และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษามีสถานภาพเป็นนิตบิ คุ คล แบ่งส่วนราชการตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 โดยแบ่งโครงสร้างการ บริหารงานเป็น 9 ส�ำนัก ได้แก่ ส�ำนักอ�ำนวยการ ส�ำนักทดสอบกลาง (ยุบเมือ่ วันที่ 2 กันยายน 2548 ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตัง้ สถาบันทดสอบ ทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ.2548) ส�ำนักนโยบายและ


แผนการอุดมศึกษา ส�ำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน ส�ำนักประสานและ ส่งเสริมกิจการอุดมศึกษา ส�ำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา ส�ำนักยุทธศาสตร์อุดมศึกษาต่างประเทศ ส�ำนักส่งเสริมและพัฒนา ศักยภาพนักศึกษา และส�ำนักส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะบุคลากร และ มีสถาบันอุดมศึกษาในสังกัด จ�ำนวน 172 แห่ง* ทั่วประเทศ ได้แก่ 1. สถาบันอุดมศึกษาในสังกัด/ในก�ำกับของรัฐ 81 แห่ง* 2. สถาบันอุดมศึกษาเอกชน 71 แห่ง* 3. วิทยาลัยชุมชน 20 แห่ง* ปัจจุบัน ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (Office of the Higher Education Commission) มีที่ทำ� การ ณ อาคารเลขที่ 328 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 มีนักบริหารระดับ 11 เป็นเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา * ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2556 ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 19


อ�ำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษามีอ� ำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการศึกษา วิเคราะห์ วิจยั ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการอุดมศึกษาและจัดท�ำข้อเสนอนโยบายและมาตรฐานการ อุดมศึกษา จัดท�ำแผนพัฒนาการอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติและพันธสัญญาทีเ่ ป็นไปตามข้อเสนอตกลงระหว่างประเทศ พร้อมทัง้ วิเคราะห์ หลักเกณฑ์ และแนวทางการสนับสนุนทรัพยากร จัดตัง้ จัดสรรงบประมาณอุดหนุน สถาบันอุดมศึกษาและวิทยาลัยชุมชนตามหลักเกณฑ์และแนวทางทีก่ ำ� หนด ตลอดจนเสนอแนะการจัดตัง้ ยุบ รวม ปรับปรุงและยกเลิกสถาบันอุดมศึกษาและวิทยาลัยชุมชน นอกจากนี้ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษายังมีหน้าทีป่ ระสานและส่งเสริมการด�ำเนินงาน พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และศักยภาพนักศึกษา รวมทัง้ ผูพ้ กิ าร ผูด้ อ้ ยโอกาสในระบบอุดมศึกษาและการ ประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ และเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศ รวมทั้งพัฒนาระบบและด�ำเนินการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการจัดการอุดมศึกษา และการ รวบรวมข้อมูล จัดท�ำสารสนเทศด้านการอุดมศึกษา และด�ำเนินงานฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการ การอุดมศึกษาและคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตลอดจนปฏิบัติงานอื่นใด ตามที่กฎหมายก�ำหนดให้เป็นอ�ำนาจหน้าที่ของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือตามที่ กระทรวง หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

20 รายงานประจ�ำปี 2556


วิสัยทัศน์ และพันธกิจ

ของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ.2556 วิสัยทัศน์

สกอ. ขับเคลื่อนอุดมศึกษาเพื่อชี้นำ�สังคมไทยให้ก้าวไกลสู่นานาชาติ

พันธกิจ

1. เสนอแนะนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนพัฒนาที่เสริมสร้างการพัฒนาขีดความสามารถของการอุดมศึกษาไทยที่เป็นเอกภาพ โดยคำ�นึง ถึงเอกลักษณ์ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย 2. เสนอแนะมาตรฐานการอุดมศึกษา ที่สอดคล้องกับมาตรฐานซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล 3. เสนอแนะกรอบการจัดสรรทรัพยากรการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา รวมทั้งประสานและส่งเสริมการดำ�เนินงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และศักยภาพนักศึกษา รวมทั้งผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความสามารถพิเศษในระบบอุดมศึกษา และประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยเพื่อ สร้างองค์ความรู้ใหม่และสนับสนุนการพัฒนาประเทศ 4. จัดทำ�ระบบการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการอุดมศึกษา โดยคำ�นึงถึงความเป็นเลิศทางวิชาการ

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 21


กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546

อาศัยอำ�นาจตามความในมาตรา 8 และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีภารกิจเกีย่ วกับการจัดและส่งเสริมการศึกษา ระดับอุดมศึกษาโดยคำ�นึงถึงความเป็นอิสระ และความเป็นเลิศทางวิชาการของสถานศึกษา ระดับปริญญา โดยให้มีอำ�นาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(1) จัดทำ�ข้อเสนอนโยบายและมาตรฐานการอุดมศึกษาและแผนพัฒนาการอุดมศึกษา รวมทั้ง ดำ�เนินงานด้านความสัมพันธ์ระดับอุดมศึกษากับต่างประเทศ (2) จัดทำ�หลักเกณฑ์ และแนวทางการสนับสนุนทรัพยากรและการจัดตั้ง จัดสรรงบประมาณ อุดหนุนสถาบันอุดมศึกษาและวิทยาลัยชุมชน (3) ประสานและส่งเสริมการดำ�เนินงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และศักยภาพนักศึกษา รวมทั้ง ผูพ้ กิ าร ผูด้ อ้ ยโอกาส และผูม้ คี วามสามารถพิเศษ ในระบบอุดมศึกษา และประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่และสนับสนุนการพัฒนาประเทศ (4) เสนอแนะเกี่ยวกับการจัดตั้ง ยุบ รวม ปรับปรุงและยกเลิกสถาบันอุดมศึกษาและวิทยาลัย ชุมชน (5) ดำ�เนินการเกี่ยวกับการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการอุดมศึกษาตามที่ คณะกรรมการการอุดมศึกษามอบหมาย รวมทั้งการรวบรวมข้อมูลและจัดทำ�สารสนเทศ ด้านการอุดมศึกษา (6) ดำ�เนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการการอุดมศึกษา (7) ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่กฎหมายกำ�หนดให้เป็นอำ�นาจหน้าที่ และความรับผิดชอบของ สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาหรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

22 รายงานประจ�ำปี 2556


ข้อ 2 ให้แบ่งส่วนราชการสำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ดังต่อไปนี้

(1) สำ�นักอำ�นวยการ (2) สำ�นักทดสอบกลาง (3) สำ�นักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา (4) สำ�นักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน (5) สำ�นักประสานและส่งเสริมกิจการอุดมศึกษา (6) สำ�นักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา (7) สำ�นักยุทธศาสตร์อุดมศึกษาต่างประเทศ (8) สำ�นักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา (9) สำ�นักส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะบุคลากร

ข้อ 3 ส่วนราชการของสำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษามีอำ�นาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (1) สำ�นักอำ�นวยการ มีอำ�นาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(ก) ดำ�เนินการเกีย่ วกับงานช่วยอำ�นวยการและงานเลขานุการของสำ�นักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา รวมทั้งงานเลขานุการของคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ข) ดำ�เนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของสำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ค) ดำ�เนินการเกีย่ วกับการบริหารงานคลัง การเงิน งบประมาณ การบัญชี การพัสดุและสินทรัพย์ ของสำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ง) ดำ�เนินการเกี่ยวกับสารสนเทศ ประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่งานการอุดมศึกษา (จ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับ มอบหมาย (2) สำ�นักทดสอบกลาง มีอำ�นาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (ก) พัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพ และคุณลักษณะต่างๆ ที่ใช้ในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา และเพื่อการเทียบระดับและเทียบโอนผลการเรียน (ข) ดำ�เนินการเกี่ยวกับการให้บริการสอบร่วมกับหน่วยงานในทุกระดับเพื่อให้ประชาชนได้รับ บริการอย่างทั่วถึงและเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ (ค) เสนอแนะระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าสู่ระบบอุดมศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล (ง) สนับสนุน ส่งเสริม และเป็นคลังข้อมูลของผู้รับการทดสอบและประเมินผลการเรียนรู้ ตลอดจนให้บริการผลการวัดและประเมินแก่หน่วยงานต่างๆ ทัง้ ในประเทศและต่างประเทศ (จ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับ มอบหมาย

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 23


24 รายงานประจ�ำปี 2556

(3) สำ�นักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา มีอำ�นาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (ก) จัดทำ�ข้อเสนอนโยบายในการพัฒนาอุดมศึกษาของประเทศ และจัดทำ�แผนพัฒนาการ อุดมศึกษา (ข) จัดทำ�แผนการผลิตบัณฑิตและพัฒนากำ�ลังคนระดับอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับความ ต้องการของประเทศ (ค) วิเคราะห์ กลัน่ กรองแผนงานและโครงการของมหาวิทยาลัยหรือสถาบัน รวมทัง้ เสนอแนะ การจัดตั้ง ยุบ รวม ปรับปรุง และยกเลิกสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา (ง) จัดทำ�หลักเกณฑ์และแนวทางการจัดสรรงบประมาณ ตลอดจนการระดมทรัพยากร เพื่ออุดหนุนการอุดมศึกษาทุกประเภท (จ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับ มอบหมาย (4) สำ�นักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน มีอำ�นาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (ก) จัดทำ�ข้อเสนอนโยบาย และจัดทำ�แผนหลักของระบบวิทยาลัยชุมชน เสนอแนะการจัดตั้ง และจัดสรรงบประมาณให้วิทยาลัยชุมชน (ข) จัดทำ�ระบบข้อมูล สารสนเทศ กำ�กับ ตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลและรายงานผลการ ดำ�เนินงานวิทยาลัยชุมชน (ค) จัดทำ�มาตรฐานการจัดการศึกษาของวิทยาลัยชุมชน (ง) พัฒนาและส่งเสริมการจัดการศึกษาของวิทยาลัยชุมชนและระบบเครือข่ายความร่วมมือ การจัดการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ (จ) ดำ�เนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการวิทยาลัยชุมชน (ฉ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับ มอบหมาย (5) สำ�นักประสานและส่งเสริมกิจการอุดมศึกษา มีอำ�นาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (ก) ส่งเสริมเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา และภูมิปัญญาของชาติ (ข) สนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม รวมทั้งถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี (ค) กำ�กับ ดูแล และกำ�หนดมาตรการเกี่ยวกับการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้เป็นไปตาม กฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศที่เกี่ยวข้อง (ง) ประสาน สนับสนุนและกำ�กับการดำ�เนินงานของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนให้เป็นไปตาม กฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (จ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับ มอบหมาย


(6) สำ�นักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา มีอำ�นาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (ก) จัดทำ�ข้อเสนอนโยบายและมาตรฐานการอุดมศึกษา (ข) จัดทำ�ระบบการรับรองวิทยฐานะและการรับรองมาตรฐานการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา รวมทั้งเสนอแนวทางการเทียบระดับและการเทียบโอนผลการเรียน (ค) ส่งเสริม สนับสนุน การประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาและการศึกษาวิจัยด้าน การเรียนการสอน การส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้ใหม่และการจัดความรู้ ตลอดจนเป็น แหล่งรวบรวมข้อมูลหลักสูตรและการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา (ง) ดำ�เนินการเกีย่ วกับการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา (จ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับ มอบหมาย (7) สำ�นักยุทธศาสตร์อุดมศึกษาต่างประเทศ มีอำ�นาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (ก) จัดทำ�ยุทธศาสตร์ดา้ นอุดมศึกษาต่างประเทศ และแนวทางการสร้างความร่วมมือทางวิชาการ และการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาระหว่างประเทศ (ข) ดำ�เนินการด้านความสัมพันธ์ระดับอุดมศึกษากับต่างประเทศ (ค) เสนอมาตรการและแนวทางการสนับสนุนส่งเสริมสถาบันอุดมศึกษาเพือ่ เพิม่ ขีดความสามารถ ในการแข่งขันตามเงื่อนไขการเปิดเสรีทางการศึกษาและพัฒนาไปสู่ความเป็นศูนย์กลาง อุดมศึกษาในภูมิภาค (ง) ส่งเสริม สนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอุดมศึกษาต่างประเทศ เพื่อพัฒนาอุดมศึกษา (จ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับ มอบหมาย (8) สำ�นักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา มีอำ�นาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (ก) จัดทำ�ข้อเสนอแนะด้านนโยบาย และกำ�หนดมาตรฐานเกี่ยวกับการพัฒนานักศึกษา (ข) ส่งเสริมการพัฒนาทักษะ ความสามารถ และรูปแบบการจัดกิจกรรมเพือ่ พัฒนานักศึกษาให้ มีความสมบูรณ์พร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา มีความรู้คู่คุณธรรม และสามารถอยู่ ในสังคมได้อย่างเป็นสุข รวมทั้งมีศักยภาพที่สามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ (ค) ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิตในการทำ�งานร่วมกับ ชุมชน ท้องถิ่น และสถานประกอบการ (ง) ส่งเสริมการพัฒนาระบบสวัสดิการ บริการนักศึกษา การศึกษาของคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความสามารถพิเศษในสถาบันอุดมศึกษา (จ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับ มอบหมาย ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 25


(9) สำ�นักส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะบุคลากร มีอำ�นาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (ก) เสนอแนะนโยบาย ประสาน และส่งเสริมการดำ�เนินการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระบบ อุดมศึกษา ในเครือข่ายของมหาวิทยาลัยกับผูร้ บั บริการ ผูป้ ระกอบการ ท้องถิน่ และชุมชน (ข) จัดทำ�หลักสูตร และประสาน ส่งเสริมให้มีการจัดฝึกอบรมผู้บริหารระดับสูงสายวิชาการ และผู้บริหารสายสนับสนุนวิชาการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเป็นเครือข่ายที่จะพัฒนา ระบบบริหารของสถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน (ค) จัดทำ�ฐานข้อมูลทะเบียนประวัติ ให้คำ�ปรึกษาแนะนำ�และติดตามประเมินผลการบริหาร งานบุคคลของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ง) ดำ�เนิ น การเกี่ ย วกั บ กฎหมายและระเบี ย บ งานนิ ติ ก รรมและสั ญ ญางานเกี่ ย วกั บ ความรับผิดในทางแพ่ง อาญา งานคดีปกครอง และงานคดีอื่นที่อยู่ในอำ�นาจหน้าที่ของ สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (จ) ดำ�เนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับ มอบหมาย ให้ไว้ ณ วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 (นายปองพล อดิเรกสาร) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัตฉิ บับนี้ คือ เนือ่ งจากมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัตริ ะเบียบ บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 บัญญัติว่า การแบ่งส่วนราชการภายในส่วนราชการในส่วนกลาง ของกระทรวงศึกษาธิการให้ออกเป็นกฎกระทรวงและให้ระบุอ�ำ นาจหน้าทีข่ องแต่ละส่วนราชการไว้ในกฎกระทรวง ด้วย เพือ่ ให้สอดคล้องกับบทบัญญัตดิ งั กล่าว สมควรแบ่งส่วนราชการภายในสำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และระบุอ�ำ นาจหน้าทีข่ องส่วนราชการดังกล่าวให้เหมาะสมกับสภาพของงาน จึงจำ�เป็นต้อง ออกกฎกระทรวงนี้

26 รายงานประจ�ำปี 2556


ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 27


โครงสร้างผู้บริหาร ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา

รศ.นพ.ก�ำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา

นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา

นางสาวสุนันทา แสงทอง รศ.ชวนี ทองโรจน์ ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผน ที่ปรึกษาด้านพัฒนาภูมิปัญญา ท้องถิ่น

นายขจร จิตสุขุมมงคล ที่ปรึกษาด้านระบบบริหาร (รักษาการ)

นายสุภัทร จ�ำปาทอง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา 28 รายงานประจ�ำปี 2556

นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา

นายสุริยา เสถียรกิจอ�ำไพ ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานการศึกษา (รักษาการ)


นายศิระวิทย์ คลี่สุวรรณ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักอ�ำนวยการ

นายอาณัติ พงศ์สุวรรณ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบายและ แผนการอุดมศึกษา

นายสมศักดิ์ ตันติแพทยางกูล ผู้อ�ำนวยการส�ำนักบริหารงาน วิทยาลัยชุมชน

นางอรสา ภาววิมล ผู้อำ� นวยการส�ำนักประสานและ ส่งเสริมกิจการอุดมศึกษา

นางมยุรี สิงห์ไข่มุกข์ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักมาตรฐานและ ประเมินผลอุดมศึกษา

นางสาวชฎารัตน์ สิงหเดชากุล ผู้อ�ำนวยการส�ำนักยุทธศาสตร์ อุดมศึกษาต่างประเทศ

นายสุริยา เสถียรกิจอ�ำไพ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักส่งเสริมและ พัฒนาศักยภาพนักศึกษา

นายภาสกร เหมกรณ์ ผู้อ�ำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบ บริหาร (ปฏิบัติหน้าที่)

นายขจร จิตสุขุมมงคล ผู้อ�ำนวยการส�ำนักส่งเสริมและ พัฒนาสมรรถนะบุคลากร

ผศ.วิชาญ เลิศวิภาตระกูล ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานบริหารเทคโนโลยี สารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา

ผศ.ฐาปนีย์ ธรรมเมธา ผู้อำ� นวยการโครงการมหาวิทยาลัย ไซเบอร์ไทย ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 29


โครงสร้างการแบ่งงานภายในของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร (กพร.)

ส�ำนักอ�ำนวยการ (สอ.) 1. กลุ่มงานอ�ำนวยการ 2. กลุ่มงานบริหารบุคคล 3. กลุ่มงานเลขานุการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา 4. กลุ่มงานการเงิน งบประมาณ และบัญชี 5. กลุ่มงานพัสดุ 6. ฝ่ายประชาสัมพันธ์ 7. ศูนย์สารสนเทศอุดมศึกษา

ส�ำนักนโยบาย และแผนการอุดมศึกษา (สนผ.)

ส�ำนักยุทธศาสตร์ อุดมศึกษาต่างประเทศ (สยต.)

1. ฝ่ายบริหารงานทั่วไป 2. กลุ่มพัฒนานโยบายอุดมศึกษา 3. กลุ่มแผนงานและโครงการ 4. กลุ่มแผนงานงบประมาณ 5. กลุ่มวางแผนและพัฒนาก�ำลังคน

1. ฝ่ายบริหารงานทั่วไป 2. กลุ่มยุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่าย ความร่วมมือกับต่างประเทศ 3. กลุ่มส่งเสริมการใช้ประโยชน์ ทรัพยากรอุดมศึกษาระหว่างประเทศ 4. กลุ่มบริหารนโยบายการเปิดเสรี อุดมศึกษา 5. กลุ่มพัฒนาความเป็นศูนย์กลาง อุดมศึกษานานาชาติ

กลุ่มงาน คุ้มครองจริยธรรม หมายเหตุ : อ.ก.พ.ส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา ปฏิบัติหน้าที่ อ.ก.พ.กระทรวง ในการประชุมครั้งที่ 1/2555

30 รายงานประจ�ำปี 2556

หน่วยตรวจสอบภายใน (ตสน.)

ส�ำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน (สวชช.) 1. ฝ่ายบริหารงานทั่วไป 2. กลุ่มนโยบายและแผน 3. กลุ่มพัฒนาวิชาการ และมาตรฐานการศึกษา 4. กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษาและ ระบบเครือข่าย


หน่วยงานในก�ำกับภายใน

1. สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ 2. ส�ำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet) 3. โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (TCU) 4. ส�ำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 5. สถาบันคลังสมองของชาติ

ส�ำนักส่งเสริมและพัฒนา ศักยภาพนักศึกษา (สพน.) 1. ฝ่ายบริหารงานทั่วไป 2. กลุ่มพัฒนาระบบสวัสดิการ และบริการนักศึกษา 3. กลุ่มพัฒนาทักษะความสามารถและ กิจกรรมนักศึกษา 4. กลุ่มส่งเสริมการเรียนรู้ประสบการณ์ กับชุมชน 5. กลุ่มกิจการพิเศษ

ส�ำนักประสาน และส่งเสริมกิจการอุดมศึกษา (สสอ.) 1. ฝ่ายบริหารงานทั่วไป 2. กลุ่มพัฒนาเครือข่ายอุดมศึกษา 3. กลุ่มส่งเสริมสนับสนุน เผยแพร่ และใช้ประโยชน์งานวิจัย 4. กลุ่มส่งเสริมการสร้าง และพัฒนาผู้ประกอบการ 5. กลุ่มพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา

ส�ำนักส่งเสริมและพัฒนา สมรรถนะบุคลากร (สพบ.) 1. ฝ่ายบริหารงานทั่วไป 2. กลุ่มนโยบายการพัฒนา ทรัพยากรบุคคลอุดมศึกษา 3. กลุ่มมาตรฐานการบริหารงานบุคคล 4. กลุ่มพัฒนาศักยภาพคณาจารย์ และบุคลากรอุดมศึกษา 5. กลุ่มฐานข้อมูลทรัพยากรบุคคล 6. กลุ่มกฎหมาย

ส�ำนักมาตรฐาน และประเมินผลอุดมศึกษา (สมอ.) 1. ฝ่ายบริหารงานทั่วไป 2. กลุ่มพัฒนามาตรฐานอุดมศึกษา 3. กลุ่มรับรองมาตรฐานการศึกษา และเทียบคุณวุฒิ 4. กลุ่มพัฒนาคุณภาพอุดมศึกษา 5. กลุ่มส่งเสริมการจัดการความรู้ 6. กลุ่มติดตามและประเมินผล

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 31


รายนามรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย รายนาม

วาระการดำ�รงตำ�แหน่ง

นายบุญรอด บิณฑสันต์

19 ธันวาคม 2515 - 15 ตุลาคม 2516

นายอรุณ สรเทศน์

16 ตุลาคม 2516 - 29 พฤษภาคม 2517

นายเกษม สุวรรณกุล

30 พฤษภาคม 2517 - 16 มีนาคม 2518

พลโท ชาญ อังศุโชติ

17 มีนาคม 2518 - 7 มกราคม 2519

นายนิพนธ์ ศศิธร

8 มกราคม 2519 - 5 ตุลาคม 2519

นายประเสริฐ ณ นคร (ปลัดทบวงมหาวิทยาลัยใช้อำ�นาจรัฐมนตรี)

6 ตุลาคม 2519 - 21 ตุลาคม 2519

นางวิมลศิริ ชำ�นาญเวช

22 ตุลาคม 2519 - 11 พฤศจิกายน 2520

นายเกษม สุวรรณกุล

12 พฤศจิกายน 2520 - 6 พฤษภาคม 2526

นายปรีดา พัฒนถาบุตร

7 พฤษภาคม 2526 - 3 พฤษภาคม 2529

นายไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ (รักษาราชการ)

4 พฤษภาคม 2529 - 10 สิงหาคม 2529

นายสุบิน ปิ่นขยัน

11 สิงหาคม 2529 - 8 สิงหาคม 2531

นายทวิช กลิ่นประทุม

9 สิงหาคม 2531 - 25 สิงหาคม 2533

นายอนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ

26 สิงหาคม 2533 - 13 ธันวาคม 2533

นายยิ่งพันธ์ มนะสิการ

14 ธันวาคม 2533 - 22 กุมภาพันธ์ 2534

นายวิจิตร ศรีสอ้าน (ปลัดทบวงมหาวิทยาลัยใช้อำ�นาจรัฐมนตรี)

23 กุมภาพันธ์ 2534 - 5 มีนาคม 2534

นายเกษม สุวรรณกุล

6 มีนาคม 2534 - 16 เมษายน 2535

นายทวิช กลิ่นประทุม

17 เมษายน 2535 - 13 มิถุนายน 2535

นายเกษม สุวรรณกุล

14 มิถุนายน 2535 - 28 กันยายน 2535

นายสุเทพ อัตถากร

29 กันยายน 2535 - 12 ตุลาคม 2537

นายบุญชู โรจนเสถียร (รักษาราชการ)

13 ตุลาคม 2537 - 24 ตุลาคม 2537

นายกระแส ชนะวงศ์

25 ตุลาคม 2537 - 12 กุมภาพันธ์ 2538

พลตรี จำ�ลอง ศรีเมือง (รักษาราชการ)

13 กุมภาพันธ์ 2538 - 15 กุมภาพันธ์ 2538

นายถวิล ไพรสณฑ์

16 กุมภาพันธ์ 2538 - 18 พฤษภาคม 2538

นายธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ (รักษาราชการ)

19 พฤษภาคม 2538 - 17 กรกฎาคม 2538

นายบุญชู ตรีทอง

18 กรกฎาคม 2538 - 22 พฤษภาคม 2539

32 รายงานประจ�ำปี 2556


พลอากาศเอก สมบุญ ระหงษ์ (รักษาราชการ) นายบุญชู ตรีทอง นายมนตรี ด่านไพบูลย์ นายฉัตรชัย เอียสกุล คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี นาวาโทเดชา สุขารมณ์ นายประจวบ ไชยสาส์น นายสุชน ชามพูนท นายกร ทัพพะรังสี (รักษาราชการ) นายสุธรรม แสงประทุม นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ พันตำ�รวจโท ทักษิณ ชินวัตร (รักษาราชการ) นายปองพล อดิเรกสาร

23 พฤษภาคม 2539 - 27 พฤษภาคม 2539 28 พฤษภาคม 2539 - 28 พฤศจิกายน 2539 29 พฤศจิกายน 2539 - 15 สิงหาคม 2540 16 สิงหาคม 2540 - 24 ตุลาคม 2540 25 ตุลาคม 2540 - 14 พฤศจิกายน 2540 15 พฤศจิกายน 2540 - 4 ตุลาคม 2541 5 ตุลาคม 2541 - 8 กันยายน 2543 9 กันยายน 2543 - 17 พฤศจิกายน 2543 18 พฤศจิกายน 2543 - 16 กุมภาพันธ์ 2544 17 กุมภาพันธ์ 2544 - 4 มีนาคม 2545 5 มีนาคม 2545 - 2 ตุลาคม 2545 3 ตุลาคม 2545 - 7 ตุลาคม 2545 8 ตุลาคม 2545 - 6 กรกฎาคม 2546

รายนามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ก�ำกับดูแลส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา รายนาม

วาระการดำ�รงตำ�แหน่ง

นายปองพล อดิเรกสาร นายอดิศัย โพธารามิก นายจาตุรนต์ ฉายแสง คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา (ปลัดกระทรวงศึกษาธิการใช้อำ�นาจรัฐมนตรี) ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน นายสมชาย วงษ์สวัสดิ์ นายศรีเมือง เจริญศิริ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ศาสตราจารย์สุชาติ ธาดาดำ�รงเวช นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา นายจาตุรนต์ ฉายแสง

7 กรกฎาคม 2546 - 7 พฤศจิกายน 2546 8 พฤศจิกายน 2546 - 2 สิงหาคม 2548 2 สิงหาคม 2548 - 20 กันยายน 2549 21 กันยายน 2549 - 8 ตุลาคม 2549 8 ตุลาคม 2549 - 6 กุมภาพันธ์ 2551 6 กุมภาพันธ์ 2551 - 23 กันยายน 2551 24 กันยายน 2551 - 19 ธันวาคม 2551 20 ธันวาคม 2551 - 15 มกราคม 2553 15 มกราคม 2553 - 8 สิงหาคม 2554 9 สิงหาคม 2554 - 18 มกราคม 2555 18 มกราคม 2555 - 27 ตุลาคม 2555 27 ตุลาคม 2555 - 30 มิถุนายน 2556 30 มิถุนายน 2556 - ปัจจุบัน

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 33


รายนามปลัดทบวงมหาวิทยาลัย รายนาม

วาระการดำ�รงตำ�แหน่ง

ศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร

29 กันยายน 2515 - 30 กันยายน 2522

พันเอก อาทร ชนเห็นชอบ

1 ตุลาคม 2522 - 30 กันยายน 2530

ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน

1 ตุลาคม 2530 - 21 ธันวาคม 2537

ศาสตราจารย์เกียรติคุณเกษม วัฒนชัย

22 ธันวาคม 2537 - 22 ธันวาคม 2539

รองศาสตราจารย์วันชัย ศิริชนะ (รักษาการ)

23 ธันวาคม 2539 - 21 มกราคม 2540

รองศาสตราจารย์วันชัย ศิริชนะ

22 มกราคม 2540 - 2 ตุลาคม 2544

ศาสตราจารย์ ร้อยตำ�รวจเอก วรเดช จันทรศร (รักษาการ)

4 ตุลาคม 2544 - 3 พฤศจิกายน 2544

ศาสตราจารย์ ร้อยตำ�รวจเอก วรเดช จันทรศร

4 พฤศจิกายน 2544 - 6 กรกฎาคม 2546

รายนามเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา รายนาม

วาระการดำ�รงตำ�แหน่ง

ศาสตราจารย์ ร้อยตำ�รวจเอก วรเดช จันทรศร

7 กรกฎาคม 2546 - 19 เมษายน 2547

นางพรนิภา ลิมปพยอม (รักษาการ)

20 เมษายน 2547 - 18 พฤษภาคม 2547

ศาสตราจารย์พิเศษภาวิช ทองโรจน์ (รักษาการ)

19 พฤษภาคม 2547 - 1 มิถุนายน 2547

ศาสตราจารย์พิเศษภาวิช ทองโรจน์

2 มิถุนายน 2547 - 30 กันยายน 2549

นางสาวจิรณี ตันติรัตนวงศ์ (รักษาราชการแทน)

1 ตุลาคม 2549 - 26 ธันวาคม 2549

นายกฤษณพงศ์ กีรติกร (รักษาราชการ)

27 ธันวาคม 2549 - 14 มกราคม 2550

นายกฤษณพงศ์ กีรติกร

15 มกราคม 2550 - 30 กันยายน 2550

นายสุเมธ แย้มนุ่น

1 ตุลาคม 2550 - 30 กันยายน 2554

นายอภิชาติ จีระวุฒิ

1 ตุลาคม 2554 - 30 กันยายน 2556

ศาสตราจารย์พิเศษทศพร ศิริสัมพันธ์

1 ตุลาคม 2556 - ปัจจุบัน

34 รายงานประจ�ำปี 2556


คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา

คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา มีอำ�นาจหน้าที่เสนอแนะและให้คำ�ปรึกษาแก่

คณะรัฐมนตรีเกีย่ วกับนโยบายการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา และประสานกับหน่วยงาน ทีเ่ กีย่ วข้องเพือ่ ดำ�เนินการให้ขา้ ราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รบั ค่าตอบแทน สวัสดิการ และประโยชน์เกือ้ กูลอืน่ ให้อยูใ่ นสภาพทีเ่ หมาะสม พร้อมทัง้ กำ�หนดมาตรฐานการบริหารงานบุคคล วินยั และการรักษาวินยั การดำ�เนินการทางวินยั การออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ และการพิจารณาตำ�แหน่งวิชาการ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาใช้เป็น แนวทางในการดำ�เนินการ และออกกฎ ก.พ.อ. ระเบียบ หรือข้อบังคับตามพระราชบัญญัตินี้

นอกจากนี้ยังมีหน้าที่กำ�หนดกรอบอัตรากำ�ลัง และอัตราส่วนสูงสุดของวงเงินที่จะพึงใช้เพื่อการบริหารงาน

บุคคลของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละสถาบัน รวมทั้งกำ�กับ ดูแล ติดตามและประเมินผลการบริหารงานบุคคลของ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ในการนี้ให้มีอำ�นาจเรียกเอกสารและหลักฐานจากสถาบันอุดมศึกษาให้ ผู้แทนของสถาบันอุดมศึกษา ข้าราชการหรือบุคคลใดมาชี้แจงข้อเท็จจริง และกำ�หนดอัตราค่าตอบแทนให้กับนายกสภา สถาบันอุดมศึกษาและกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง

คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษายังมีอำ�นาจพิจารณารับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา

ประกาศนี ย บั ต รวิ ช าชี พ หรื อ คุ ณ วุ ฒิ อ ย่ า งอื่ น เพื่ อ ประโยชน์ ใ นการบรรจุ แ ละแต่ ง ตั้ ง เป็ น ข้ า ราชการพลเรื อ น ในสถาบันอุดมศึกษา และกำ�หนดอัตราเงินเดือนค่าตอบแทนที่ควรได้รับ และระดับตำ�แหน่งที่ควรแต่งตั้ง และกำ�หนด มาตรฐานของจรรยาบรรณที่พึงมีในสถาบันอุดมศึกษา ตลอดจนปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัติน้ี ตามกฎหมายอื่น หรือตามทีค่ ณะรัฐมนตรีมอบหมาย

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 35


รายนามคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ประจ�ำปีงบประมาณ 2556 1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 2. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 3. เลขาธิการ ก.พ. 4. ศาสตราจารย์กิตติคุณวิษณุ เครืองาม 5. ศาสตราจารย์เกียรติคุณปิยะวัติ บุญ-หลง 6. ศาสตราจารย์เกียรติคุณกิตติชัย วัฒนานิกร 7. ศาสตราจารย์สุรพล นิติไกรพจน์ 8. ศาสตราจารย์ถวิล พึ่งมา 9. รองศาสตราจารย์ คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ 10. คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา 11. นายถนอม อินทรกำ�เนิด 12. นายบุญปลูก ชายเกตุ 13. นายโสภณ สุภาพงษ์ 14. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ 15. ศาสตราจารย์พิเศษนรนิติ เศรษฐบุตร 16. ศาสตราจารย์พจน์ สะเพียรชัย 17. นายสุเมธ แย้มนุ่น 18. รองศาสตราจารย์วุฒิชัย กปิลกาญจน์ 19. ศาสตราจารย์สมบัติ ธำ�รงธัญวงศ์ 20. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปัญญา การพานิช 21. ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิโรจน์ ลิ้มไขแสง 22. รองศาสตราจารย์วิทยา จันทร์ศิลา

23. รองศาสตราจารย์ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน

24. ผู้ช่วยศาสตราจารย์อชิตพล ศศิธรานุวัฒน์

25. นายนิตย์ คำ�ธนนันทิกุล 26. เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา

ประธาน กรรมการโดยตำ�แหน่ง กรรมการโดยตำ�แหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ทรงคุณวุฒิ นายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ้นจากการดำ�รงตำ�แหน่งนายกสภาฯ ตั้งแต่วันที่ 18 มิ.ย. 56) นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (พ้นจากการดำ�รงตำ�แหน่งอธิการบดี ตั้งแต่วันที่ 2 มิ.ย. 56) อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี (พ้นจากการดำ�รงตำ�แหน่งอธิการบดี ตั้งแต่วันที่ 25 ส.ค. 56) อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ผู้แทนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดมหาวิทยาลัยนเรศวร ผู้แทนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ผู้แทนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ผู้แทนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ กรรมการและเลขานุการโดยตำ�แหน่ง ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2556

36 รายงานประจ�ำปี 2556


คณะกรรมการการอุดมศึกษา คณะกรรมการการอุดมศึกษา มีอำ�นาจหน้าที่ ตามพระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ตามความในมาตรา 16 ในการพิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา และมาตรฐานการอุดมศึกษาทีส่ อดคล้อง กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติ และสนับสนุนทรัพยากร การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาโดยคำ�นึงถึงความเป็นอิสระ และความเป็นเลิศทางวิชาการของสถานศึกษา ระดับปริญญาตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตัง้ สถานศึกษาแต่ละแห่ง และกฎหมายทีเ่ กีย่ วข้อง พร้อมทัง้ เสนอแนะในการออก ระเบียบ หลักเกณฑ์ และประกาศทีเ่ กีย่ วกับการบริหารงานของสำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และให้ความเห็นหรือ ให้คำ�แนะนำ�แก่รฐั มนตรีวา่ การกระทรวงศึกษาธิการหรือคณะรัฐมนตรี และมีอำ�นาจหน้าทีอ่ น่ื ตามทีก่ ฎหมายกำ�หนด หรือ ตามทีร่ ฐั มนตรีวา่ การกระทรวงศึกษาธิการมอบหมาย ตลอดจนมีอำ�นาจเสนอแนะและให้ความเห็นในการจัดสรรเงินอุดหนุน ทัว่ ไปให้แก่สถานศึกษาระดับปริญญาตรีทง้ั ทีเ่ ป็นสถานศึกษาในสังกัด และสถานศึกษาในกำ�กับแก่คณะรัฐมนตรี คณะกรรมการการอุดมศึกษายังมีอำ�นาจและหน้าทีต่ ามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัตสิ ถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546 บัญญัติให้คณะกรรมการการอุดมศึกษาให้ความเห็นชอบในกรณีท่พี ระราชบัญญัติกำ�หนดไว้ให้ได้รับความ เห็นชอบจากคณะกรรมการ และเสนอความเห็นหรือให้คำ�แนะนำ�ต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวง และประกาศ เพือ่ ดำ�เนินการตามพระราชบัญญัติ และเรือ่ งอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วกับสถาบันอุดมศึกษาเอกชน รวมทัง้ ให้การรับรองหลักสูตรการ ศึกษาตามมาตรฐานที่กระทรวงกำ�หนด และให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการรับรองมาตรฐานการศึกษาและวิทยฐานะของ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามมาตรฐานการศึกษาทีก่ ระทรวงกำ�หนด พร้อมทัง้ ออกระเบียบและข้อบังคับเพือ่ ปฏิบตั กิ ารตาม พระราชบัญญัตสิ ถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546 ตลอดจนปฏิบตั งิ านอืน่ ใดตามทีพ่ ระราชบัญญัตนิ ้ี หรือกฎหมายอืน่ กำ�หนดให้เป็นอำ�นาจและหน้าทีข่ องคณะกรรมการ นอกจากนี้ ตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 และมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัตสิ ถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546 ยังได้บญั ญัตใิ ห้คณะกรรมการมีอำ�นาจ แต่งตัง้ คณะอนุกรรมการ หรือคณะกรรมการอืน่ หรือคณะทำ�งานเพือ่ พิจารณาเสนอความเห็นในเรือ่ งหนึง่ เรือ่ งใดหรือมอบ หมายให้ปฏิบตั กิ ารอย่างหนึง่ อย่างใด อันอยูใ่ นอำ�นาจหน้าทีข่ องคณะกรรมการก็ได้และเมือ่ ได้ดำ�เนินการประการใดแล้ว ให้รายงานให้คณะกรรมการทราบด้วย

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 37


รายนามคณะกรรมการการอุดมศึกษา 1. รองศาสตราจารย์ คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ 2. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 3. เลขาธิการสภาการศึกษา 4. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 5. เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 6. ผู้อำ�นวยการสำ�นักงบประมาณ 7. เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา 8. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 9. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ 10. ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา 11. นายวิทยา เจียรพันธุ์ 12. นายอรรถพร สุวัธนเดชา 13. รองศาสตราจารย์สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ 14. นายชวลิต หมื่นนุช 15. พลตำ�รวจเอกชาญวุฒิ วัชรพุกก์ 16. พลตำ�รวจตรีชุมศักดิ์ พฤกษาพงษ์ 17. ศาสตราจารย์นักสิทธ์ คูวัฒนาชัย 18. ศาสตราจารย์ปรีชา เถาทอง 19. ศาสตราจารย์ลิขิต ธีรเวคิน 20. ศาสตราจารย์วิชัย ริ้วตระกูล 21. ศาสตราจารย์วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ 22. ศาสตราจารย์ศักดา ธนิตกุล 23. รองศาสตราจารย์ศิโรจน์ ผลพันธิน 24. ศาสตราจารย์กิตติคุณสมหวัง พิธิยานุวัฒน์ 25. นายสว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์ 26. ศาสตราจารย์สุนทร บุญญาธิการ 27. รองศาสตราจารย์อานนท์ เที่ยงตรง 28. เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา

38 รายงานประจ�ำปี 2556

ประธานกรรมการ กรรมการโดยตำ�แหน่ง กรรมการโดยตำ�แหน่ง กรรมการโดยตำ�แหน่ง กรรมการโดยตำ�แหน่ง กรรมการโดยตำ�แหน่ง กรรมการโดยตำ�แหน่ง กรรมการโดยตำ�แหน่ง กรรมการโดยตำ�แหน่ง กรรมการโดยตำ�แหน่ง กรรมการผู้แทนองค์กรเอกชน กรรมการผู้แทนองค์กรปกครองท้องถิ่น กรรมการผู้แทนองค์กรวิชาชีพ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการและเลขานุการโดยตำ�แหน่ง


ทศวรรษ

‘สกอ.’ กับก้าวต่อไปของอุดมศึกษาไทย ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 39


7 กรกฎาคม 2546 ถือเป็นจุดเริ่มต้นทศวรรษของ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ซึง่ เป็นผลจากการปฏิรปู ระบบราชการเมื่อปี พ.ศ.2545 ในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง การบริหารราชการกระทรวง ทบวง กรม โดยมีการยุบรวมทบวง มหาวิทยาลัยและส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ มาอยูภ่ ายใต้กระทรวงศึกษาธิการ แล้วปรับเป็นหน่วยงานทีม่ ี 5 องค์กรหลัก คือ ส�ำนักงานปลัดกระทรวง ส�ำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส� ำนั ก งานคณะกรรมการการอุด มศึกษา และส�ำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีหวั หน้าส่วนราชการขึน้ ตรงต่อ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงศึกษาธิการ การจัดการอุดมศึกษาไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่าง ก้าวกระโดด โดยเฉพาะในเรื่องของจ�ำนวนสถาบันอุดมศึกษา เมือ่ 10 ปีทแี่ ล้วส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษามีสถาบัน อุดมศึกษาในสังกัด/ในก�ำกับ รวมวิทยาลัยชุมชน จ�ำนวน 92 แห่งทั่วประเทศ แต่ในปัจจุบันได้เพิ่มเป็น 172 แห่ง ซึง่ ถือเป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาใน แนวกว้าง โดยมีหวั ใจส�ำคัญ คือ การกระจายอ�ำนาจในการอนุมตั ิ หลักสูตรและอนุมตั ปิ ริญญาทุกระดับให้แก่สภาสถาบันอุดมศึกษา แต่ละแห่ง เพือ่ ให้มอี สิ ระทางวิชาการอย่างเท่าเทียมกันทัง้ สถาบัน อุดมศึกษาของรัฐและเอกชน และในอีกมิติหนึ่งจะพบว่าการ จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษามีการพัฒนาศาสตร์สาขาวิชาใหม่ๆ อย่างต่อเนือ่ ง ทัง้ ในรูปแบบสาขาวิชาเฉพาะทาง และสาขาวิชา ทีบ่ รู ณาการ 2 - 3 ศาสตร์มารวมกัน แสดงว่าองค์ความรูท้ าง วิชาการมีการสร้างสรรค์ใหม่ทงั้ แนวกว้างและแนวลึก พัฒนาการใน 10 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี 2547 ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในฐานะทีเ่ ป็นหน่วยงาน กลางก�ำกับดูแลระดับอุดมศึกษา ได้ด�ำเนินนโยบายส�ำคัญเพื่อ สนับสนุนคุณภาพภารกิจของสถาบันอุดมศึกษาหลายประการ ทัง้ ด้านมาตรฐานการอุดมศึกษา ได้กำ� หนดเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ระดับปริญญาตรี-โท-เอก พ.ศ. 2548 และต่อมาในปี 2552 ได้กำ� หนดกรอบมาตรฐานคุณวุฒริ ะดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai 40 รายงานประจ�ำปี 2556

Qualifications Framework for Higher Education/TQF) เพื่อเป็นหลักการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะและมาตรฐาน ผลการเรียนรูท้ คี่ าดหวังด้วยวงจรคุณภาพ ผ่านกลยุทธ์การเรียน การสอน การวัดและประเมินผล รวมทัง้ ศักยภาพคณาจารย์ ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ได้กำ� หนดหลักเกณฑ์ตวั บ่งชี้ การประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษาผ่าน ระบบสารสนเทศ CHE QA Online เมือ่ ปี 2553 ร่วมกับการ ตรวจเยี่ยม (Site Visit) โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทุก ปีการศึกษา ซึ่งถ้าใน 2 - 3 ปีข้างหน้า สถาบันอุดมศึกษาที่ ผลการประเมินมีศักยภาพสูงมากจะสามารถปรับเข้าสู่ระบบ เกณฑ์คุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ (EdPEx) เพื่อการ แข่งขันระดับนานาชาติ แทนที่ระบบ CHE QA Online ด้านการก�ำหนดทิศทางนโยบาย ได้กำ� หนดกรอบแผนอุดมศึกษา ระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551 - 2565) เพือ่ ให้สถาบัน อุดมศึกษาใช้เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาวิสยั ทัศน์ พันธกิจ ให้เหมาะสมกับศักยภาพของ 4 กลุม่ สถาบันอุดมศึกษา และ การส่งเสริมสนับสนุนนโยบายระดับโครงการ โดยการส่งเสริม ภารกิ จ ให้ ส ถาบั น อุ ด มศึ ก ษาจั ด ตั้ ง ศู น ย์ บ ่ ม เพาะธุ ร กิ จ (University Business Incubators) และหน่วยจัดการ ทรัพย์สินทางปัญญา (Technology Licensing Office) เพือ่ เป็นกลไกให้สถาบันอุดมศึกษาสร้างวงจรรายได้จากการน�ำ ผลงานวิจยั เทคโนโลยี และนวัตกรรมสิง่ ประดิษฐ์พฒ ั นาสูก่ ารใช้ ประโยชน์เชิงพาณิชย์ และการผลิตภาคอุตสาหกรรม ตลอดจน มี น โยบายส่ ง เสริ ม ให้ จั ด การศึ ก ษาในรู ป แบบสหกิ จ ศึ ก ษา (Cooperative Education) และขยายสูร่ ปู แบบการจัดการศึกษา เชิงบูรณาการกับการท�ำงาน (Work-Integrated Learning) เพือ่ ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต การจั ด การศึ ก ษาระดั บ อุ ด มศึ ก ษาในปั จ จุ บั น ถื อ เป็นสินค้าสาธารณะ (Public goods) ทีป่ ระชากรโลกจากทุก ประเทศสามารถเข้าถึงบริการทางการศึกษาได้อย่างเสรีโดยไม่มี ขีดจ�ำกัด อันเนื่องมาจากการพัฒนาอย่างรวดเร็วของระบบ เทคโนโลยี และกลยุทธ์การบริการทางการศึกษาที่หลากหลาย


1 ทศวรรษ ‘สกอ.’ กับก้าวต่อไปของอุดมศึกษาไทย ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 41


ในรูปแบบ e-Learning, Distance Learning หรือการขยาย วิทยาเขตขนาดเล็กของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศอืน่ กอรปกับ สังคมไทยให้ความส�ำคัญกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ใน 2 ปีข้างหน้าที่กลุ่มประเทศอาเซียนจะมีการเคลื่อนย้าย อย่างเสรี ด้านสินค้า บริการ แรงงานฝีมือ การลงทุน ดังนั้น ทิศทางการปรับตัวของอุดมศึกษาเข้าสู่ทศวรรษหน้า ระบบ อุ ด มศึ ก ษาไทยควรเตรี ย มขั บ เคลื่ อ นการปรั บ ตั ว ในทุ ก มิ ติ โดยส� ำ นั ก งานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะเน้นส่งเสริม สนับสนุนในประเด็นหลัก อาทิ (1) การสร้างเสริมคุณภาพหลักสูตร ด้ ว ยกลไกกรอบมาตรฐานคุ ณ วุ ฒิ ร ะดั บ อุ ด มศึ ก ษาแห่ ง ชาติ (TQF) โดยมีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา 42 รายงานประจ�ำปี 2556

ผ่านระบบ CHE QA online และการส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษา ที่ มี ศั ก ยภาพสู ง เข้ า สู ่ ร ะบบเกณฑ์ คุ ณ ภาพการศึ ก ษาสู ่ ค วาม เป็นเลิศ (EdPEx) (2) การส่งเสริมระบบก�ำกับดูแลอุดมศึกษาโดย ให้อสิ ระในการบริหารจัดการ (Autonomy) แก่สถาบันอุดมศึกษา โดยต้องค�ำนึงถึงการตรวจสอบได้ (Accountability) ของสถาบัน อุดมศึกษา (3) ระบบสนับสนุนงบประมาณเพื่อการวิจัยและ งานสร้ า งสรรค์ ใ นสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาเพื่ อ เสริ ม สร้ า งขี ด ความ สามารถเชิงการแข่งขัน และสนับสนุนการเงินอุดมศึกษาผ่าน รูปแบบกองทุน กรอ. ต้องด�ำเนินนโยบายคู่ขนานกัน โดยมุ่งเน้น ให้จัดการศึกษาในสาขาวิชาชีพขาดแคลน หรือสาขาวิชาที่เป็น ไปตามแผนพัฒนาก�ำลังคน และความต้องการของประเทศ


(4) ส่งเสริมการเข้าสู่ต�ำแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์ที่เป็น นักวิชาการสายรับใช้สังคมให้เข้าสู่ต�ำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ (ผศ.) รองศาสตราจารย์ (รศ.) และศาสตราจารย์ (ศ.) โดยระบบ ประเมินผลงานวิจัย บริการวิชาการ สร้างองค์ความรู้ และต�ำรา ที่มีความหลากหลาย ในขณะเดี ย วกั น สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาควรด� ำ เนิ น การ ให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐ สังคม เศรษฐกิจ โดยสถาบัน อุดมศึกษาควรก�ำหนดอัตลักษณ์ให้ชัดเจนว่ามุ่งหมายที่จะเป็น สถาบันอุดมศึกษาในกลุม่ เน้นการผลิตบัณฑิต หรือกลุม่ สถาบันฯ เฉพาะทาง หรือกลุ่มมหาวิทยาลัยวิจัย เพื่อแสดงการพัฒนา คุณลักษณะของบัณฑิตให้ชดั เจน นอกจากนี้ สถาบันอุดมศึกษา

แต่ละกลุ่มควรมีทิศทางที่ชัดเจนในบทบาทการวิจัย และ สามารถน�ำผลงานวิจัย เทคโนโลยี ผลงานสร้างสรรค์ใช้เป็น ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) เพื่อสร้าง วงจรรายได้ของสถาบัน ทั้งนี้ การพัฒนาหลักสูตรของสถาบัน อุดมศึกษาจะต้องเน้นการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตทีม่ สี มรรถนะสูง ทั้งองค์ความรู้และทักษะการปฏิบัติงานได้จริง สอดคล้องตาม ความต้องการขององค์กรผู้ใช้บัณฑิต โดยการจัดหลักสูตรแบบ Work-Integration Learning รวมทัง้ พัฒนาเครือข่ายอุดมศึกษา ในประเทศและเครือข่ายอุดมศึกษาระดับนานาชาติ เพื่อสร้าง ความร่วมมือในการพัฒนาผลงานวิจัย ถ่ายทอดแลกเปลี่ยน องค์ความรู้ เทคโนโลยี คณาจารย์ และนักศึกษา ตลอดจนเน้น การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของวิทยาลัยชุมชนอย่างเหมาะสม ทัง้ กลุม่ พัฒนาทักษะ และกลุม่ ทีม่ คี วามสามารถศึกษาต่อในระดับสูง สถาบันอุดมศึกษาไทยจ�ำเป็นต้องให้ความส�ำคัญและ มุง่ เน้นคุณภาพการเรียนการสอนทีม่ คี ณ ุ ภาพให้แก่ผเู้ รียน เพือ่ ให้ เป็นบัณฑิตทีม่ คี ณ ุ ลักษณะตามความต้องการของตลาดแรงงานที่ ขยายเป็นพืน้ ทีภ่ มู ภิ าคอาเซียน ซึง่ จะมีการแข่งขันด้วยศักยภาพ บุคคลอย่างมาก เนือ่ งจากการเคลือ่ นย้ายแรงงานเสรี ในแง่มุม ของสถาบันอุดมศึกษาจะมีคู่แข่งขันหรือคู่เทียบการให้บริการ ทางการศึกษาจากทั่วโลกมากขึ้น ดังนั้น แม้ว่าสถาบันอุดมศึกษา จะได้รับอิสระในการบริหารจัดการ (Autonomy) แต่ก็ต้อง มีการตรวจสอบได้ (Accountability) มีธรรมาภิบาลที่ดี (Good Governance) ก� ำ กั บ อย่ า งเข้ ม แข็ ง เช่ น เดี ย วกั น จึงจะมีประสิทธิภาพในการสร้างคุณภาพแก่บัณฑิตอุดมศึกษา ในขณะเดียวกัน การพัฒนาคุณภาพหลักสูตร คณาจารย์ และ การวิจัยจะเป็นสิ่งส�ำคัญ โดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษาที่ต้อง แสวงหาเครือข่ายพันธมิตรทางวิชาการ ในขณะที่ประชาชนผู้รับ บริการจะมีโอกาสเลือกใช้บริการทางการศึกษามากขึ้นเช่นกัน

การส่งเสริมสนับสนุนการประกัน ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 43


แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา การพัฒนาการศึกษาระบบอุดมศึกษาในอดีต ได้กำ� หนดไว้ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนพัฒนาการศึกษา แห่งชาติ ต่อมาได้มกี ารจัดตัง้ ทบวงมหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2515 จึงได้มกี ารจัดท�ำแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520 - 2524) อย่างไรก็ตามด้วยข้อจ�ำกัดของกรอบเวลาตาม แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ซึง่ ก�ำหนดไว้ 5 ปี ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ ของพัฒนาการและการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ทีต่ อ้ งอาศัย ความต่อเนือ่ งในการด�ำเนินการ และการติดตามประเมินผลเป็นเวลา นาน รวมทัง้ ประเด็นความต้องการต่างๆ ในอนาคตในช่วงระยะเวลา ทีย่ าวนานกว่า 5 ปี ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ทบวงมหาวิทยาลัย เดิม) จึงได้ริเริ่มโครงการจัดท�ำแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี (พ.ศ. 2533 - 2547) เสนอต่อคณะรัฐมนตรี เมือ่ เดือนเมษายน พ.ศ. 2530 โดยมีเจตนาทีส่ ำ� คัญทีจ่ ะให้แผนอุดมศึกษาระยะยาวเป็น แผนรุกไปสู่อนาคต เพื่อที่จะให้อุดมศึกษามีบทบาทส�ำคัญในการ เสริมสร้างสภาพสังคมทีพ่ งึ ประสงค์และสอดคล้องทันต่อแนวโน้ม ความเปลีย่ นแปลงด้านต่างๆ ของประเทศ โดยแผนระยะยาวจะเป็น แผนแม่บทก�ำกับแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาระยะ 5 ปี รวม 3 แผน คือ แผนพัฒนาการศึกษาฯ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535 2539) ถึงแผนพัฒนาการศึกษาฯ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) ต่อมา ในปี พ.ศ. 2550 ส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาได้ดำ� เนินการจัดท�ำกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551 - 2565) ทีเ่ ป็นแผนเชิงรุก ชีน้ ำ� ทิศทางและ เป้าหมายการพัฒนาอุดมศึกษาของประเทศในระยะยาว และเป็น แผนแม่บทก�ำกับทิศทางแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะ 5 ปี รวม 3 แผน ได้แก่ แผนพัฒนาการศึกษาฯ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2551 - 2554) ถึงแผนพัฒนาการศึกษาฯ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) โดยกรอบแผนดังกล่าวได้ผา่ นความเห็นชอบ จากคณะรัฐมนตรี เมือ่ วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 ซึง่ สถาบัน อุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนสามารถน�ำมาใช้เป็นแนวทางใน การจัดท�ำแผนพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาระยะกลางไปจนถึงแผน ปฏิบตั ริ าชการรายปี อันจะท�ำให้เกิดเอกภาพในระบบอุดมศึกษา ของชาติในระยะยาว 44 รายงานประจ�ำปี 2556

ขณะนี้อยู่ในช่วงของแผนพัฒนาการศึกษาระดับ อุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 - 2559) โดยกระบวนการจัด ท�ำแผนพัฒนาการศึกษาฉบับนี้ ได้มกี ารวิเคราะห์ผลการประเมิน การด�ำเนินงานตามกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551 - 2565) (ระยะ 5 ปีแรกของแผน) และแผนพัฒนาการ ศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 10 รวมทัง้ ได้นำ� แผนการศึกษาของ ประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ แผนระดับชาติทเี่ กีย่ วข้องและ แผนการศึกษาของกระทรวงต่างๆ ทีจ่ ดั การศึกษาระดับอุดมศึกษา เพือ่ ให้เกิดการบูรณาการกับแผนระดับชาติและเทียบเคียงประเทศ สมาชิกอาเซียน นอกจากนี้ แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 เน้นกระบวนการมีสว่ นร่วมจากทุกภาคส่วนทีเ่ กีย่ วข้อง กับอุดมศึกษาอย่างกว้างขวาง มีการประชุมระดมความคิดเห็น จากกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่เครือข่ายอุดมศึกษา 9 เครือข่าย โดย มี ผู ้ บ ริ ห ารและเจ้ า หน้ า ที่ ข องสถาบั น การศึ ก ษาทั้ ง ระดั บ การ ศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา สถานประกอบการ ผู้ใช้บัณฑิต ผู้ปกครอง นักเรียน นักศึกษา และประชาชน รวมถึง ได้จัดประชุมระดมความคิดเห็นร่ว มกับสมาคมวิ ชาชี พ และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างกว้างขวาง โดยรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้เห็นชอบแผนดังกล่าว เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2555 แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 มีกลยุทธ์ที่ส� ำคัญ ได้แ ก่ การยกระดับอุดมศึก ษาไทยให้ มี บทบาทสูงในประชาคมอุดมศึกษาในอาเซียน (Talent Mobility) การพัฒนาอาจารย์ให้เป็นมืออาชีพ และการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญ มืออาชีพให้เป็นอาจารย์ และการพัฒนาอาจารย์ให้มคี วามแข็งแกร่ง ในการท�ำวิจยั เป็นต้น เพือ่ ขับเคลือ่ นอุดมศึกษาไทยไปสูว่ สิ ยั ทัศน์ ปี 2559 ที่กำ� หนดให้อุดมศึกษาเป็นแหล่งองค์ความรู้และพัฒนา ก� ำ ลั ง คนระดั บ สู ง ที่ มี คุ ณ ภาพเพื่ อ การพั ฒ นาชาติ อ ย่ า งยั่ ง ยื น สร้างสังคมการเรียนรูต้ ลอดชีวติ บนพืน้ ฐานปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง มีบทบาทสูงในประชาคมอาเซียนและมุ่งสู่คุณภาพ อุดมศึกษาระดับนานาชาติ


ความก้าวหน้าของมาตรฐานอุดมศึกษา ในปี พ.ศ. 2547 ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ดำ� เนินการโครงการวิจยั เรือ่ ง National Framework for Higher Education In Thailand (NQF) โดยความร่วมมือระหว่างผูท้ รงคุณวุฒิ ของไทยและผูเ้ ชีย่ วชาญจากออสเตรเลีย เพือ่ จัดท�ำกรอบมาตรฐาน คุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยที่เทียบเคียงได้กับระดับ สากลเพือ่ เป็นมาตรฐานและแนวทางในการผลิตบัณฑิตและพัฒนา ก�ำลังคนที่มีคุณภาพ มีสมรรถนะ และความรู้ ความสามารถ โดยยังคงความต้องการของสังคมไทยเกี่ยวกับคุณลักษณะที่ พึ ง ประสงค์ ข องบั ณฑิต ซึ่ง ผลจากการวิจัยดัง กล่าวส�ำ นักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จดั ท�ำประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรือ่ ง กรอบมาตรฐานคุณวุฒริ ะดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรือ่ ง แนวทางการปฏิบตั ิ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ทีม่ งุ่ เน้นมาตรฐานผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) ทีค่ าดหวัง ให้บณ ั ฑิตมีอย่างน้อย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่าง

บุคคลและความรับผิดชอบ และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสือ่ สารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หากสาขา/สาขาวิชาใด ทีเ่ น้นทักษะทางปฏิบตั ติ อ้ งเพิม่ มาตรฐานผลการเรียนรูด้ า้ นทักษะ พิสยั ทัง้ นี้ เพือ่ ให้สถาบันอุดมศึกษาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา หรือปรับปรุงรายละเอียดของหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ให้สามารถผลิตบัณฑิตทีม่ ี คุณภาพ และเพือ่ ประโยชน์ตอ่ การรับรองมาตรฐานคุณวุฒใิ นระดับ อุดมศึกษาในระดับนานาชาติ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ส่งเสริมให้ สถาบันอุดมศึกษาน�ำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิไปสู่การปฏิบัติใน สถาบันอุดมศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ เพือ่ พัฒนา บัณฑิตให้มคี ณ ุ ลักษณะทีพ่ งึ ประสงค์ มีความรู้ ความสามารถในการ ประกอบอาชีพทีส่ ามารถแข่งขันกับบัณฑิตในระดับสากล โดยจัด โครงการความร่วมมือทางวิชาการกับต่างประเทศเพือ่ ส่งเสริมการ จัดการเรียนการสอนให้มคี ณ ุ ภาพ เทียบเคียงกับสากล ดังนี้

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 45


โครงการความร่วมมือกับประเทศออสเตรเลียภายใต้ กรอบบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding) ด้านความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทย กับกระทรวงการศึกษาวิทยาศาสตร์และฝึกอบรมของประเทศ ออสเตรเลีย เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการ อุดมศึกษาที่มุ่งเน้นคุณภาพบัณฑิตด้วยการพัฒนามาตรฐาน ผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) ที่คาดหวัง รวมทั้ง คุณ ลั กษณะอื่ น ๆ ที่พึง ประสงค์เ พื่อเป็นเครื่องมือในการน� ำ นโยบายตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ รวมทั้งมาตรฐานการ อุดมศึกษาไปสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม โครงการความร่วมมือกับสหภาพยุโรป ได้ด�ำเนินการ โครงการ ‘Tuning Educational Structures to the Internationalization’ เพื่อศึกษาแนวโน้มและการปฏิรูป อุดมศึกษาของทวีปยุโรปและของประเทศต่างๆ ศึกษาเปรียบเทียบ การจัดท�ำมาตรฐานคุณวุฒิสาขา การออกแบบหลักสูตร การจัด การเรียนการสอน ตลอดจนการวัดและประเมินผล ปัจจุบันส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ จัดท�ำมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชาต่างๆ เพื่อเป็นมาตรฐาน หรือแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรให้มีคุณภาพที่ทัดเทียมกั น เพื่ อ ให้ คุ ณ ภาพของบั ณ ฑิ ต ที่ ผ ลิ ต ในสาขา/สาขาวิ ช าของ ระดับคุณวุฒิเดียวกันจากสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ มีมาตรฐาน 46 รายงานประจ�ำปี 2556

ที่เทียบเคียงกันได้ทั้งในระดับชาติแ ละระดับสากล โดยได้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วจ�ำนวน 11 สาขาวิชา คือ สาขาคอมพิวเตอร์ สาขาพยาบาลศาสตร์ (ระดับ ปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา) สาขาโลจิสติกส์ สาขาวิชาการ ท่องเที่ยวและการโรงแรม สาขาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการ บัญชี สาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ (5 ปี) สาขาวิชาภาษาไทย สาขาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สาขาการแพทย์แผนไทย ประยุกต์ (ระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา) และสาขาวิชา กายภาพบ�ำบัด (ระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา) นอกจากนี้ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ก�ำลังด�ำเนินการจัดท�ำมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชาต่างๆ เพิม่ เติม ได้แก่ สาขาวิชาเทคโนโลยีชวี ภาพ สาขาวิชาอุตสาหกรรม เกษตร สาขาสัตวแพทยศาสตร์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (บัณฑิตศึกษา) สาขาบริหารธุรกิจ สาขาศิลปกรรมศาสตร์ สาขาสิ่งแวดล้อม สาขาทันตแพทยศาสตร์ สาขาเภสัชศาสตร์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ (ระดับปริญญาตรี - โท - เอก) สาขา สถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการ สังคม สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ สาขานิเทศศาสตร์และการ สือ่ สารมวลชน สาขาเทคโนโลยี สาขาวิชาสัตวบาลและสัตวศาสตร์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ (ระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา) สาขาเกษตรศาสตร์ เป็นต้น


การส่งเสริมสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษามีอำ� นาจหน้าที่ ในการส่งเสริมสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาพัฒนาระบบและกลไก การประกันคุณภาพการศึกษาทีเ่ ข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ เพือ่ ใช้ เป็นกลไกก�ำกับคุณภาพมาตรฐานการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ให้สามารถสร้างบัณฑิต งานวิจยั และการบริการวิชาการทีม่ คี ณ ุ ภาพ เพื่อตอบสนองความจ�ำเป็นและความต้องการของสังคม เป็นที่ ยอมรับและเทียบเคียงได้ในระดับสากล ตลอดจนเป็นมาตรการส�ำคัญ เพือ่ คุม้ ครองผูบ้ ริโภคและสนองต่อเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิม่ เติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 มาตรา 47 และ 48 ทีก่ ำ� หนดให้มรี ะบบการประกันคุณภาพการ ศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับและ ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกัน คุณภาพภายใน เพื่อน�ำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน การศึกษา เพือ่ รองรับการประเมินคุณภาพภายนอก

ในรอบทศวรรษทีผ่ า่ นมา ส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาได้มกี ารด�ำเนินกิจกรรมเพือ่ ส่งเสริมสนับสนุนการประกัน คุณภาพการศึกษาภายในอย่างต่อเนือ่ ง ดังนี้ 1. พัฒนาตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพการ ศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา เพือ่ ให้สถาบันอุดมศึกษาน�ำไปใช้เป็น แนวทางในการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกจากส�ำนักงานรับรอง มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ปัจจุบนั อยูร่ ะหว่างการปรับปรุงตัวบ่งชีแ้ ละเกณฑ์การประเมินคุณภาพการ ศึกษาภายในเพือ่ รองรับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ 2. พัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพ การศึกษา ระดับอุดมศึกษา (CHE QA ONLINE SYSTEM) เพือ่ ใช้เป็นระบบฐานข้อมูลกลางด้านประกันคุณภาพการศึกษาของ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 47


ได้น�ำมาใช้ประโยชน์ในการก�ำหนดนโยบาย แผนงาน และ การส่งเสริมการด�ำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ภายในของสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและมี ประสิทธิผล รวมทั้งอ�ำนวยความสะดวกแก่สถาบันอุดมศึกษา ในการจั ด เก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล ด้ า นการประกั น คุ ณ ภาพและ รายงานประจ� ำ ปี ที่ เ ป็ น รายงานการประเมิ น คุ ณ ภาพภายใน ซึ่งส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้สง่ เสริมสนับสนุนให้ สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งด�ำเนินการจัดท�ำรายงานประจ�ำปีทเี่ ป็น รายงานการประเมินคุณภาพภายในผ่านระบบ CHE QA ONLINE ตัง้ แต่ปกี ารศึกษา 2551 เป็นต้นมา 3. พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมผู้ประเมินคุณภาพการ ศึกษาภายในระดับอุดมศึกษาของส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในให้แก่ผู้ทรง คุณวุฒิจากสาขาวิชาต่างๆ และผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาที่มี ความสนใจท�ำหน้าที่ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในทั้งระดับ คณะวิชาและสถาบัน อันจะน�ำไปสูก่ ารประเมินคุณภาพการศึกษา ภายในที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งส่งเสริมให้การประกัน คุณภาพการศึกษาภายในมีความเข้มแข็ง ปัจจุบันมีรายชื่อที่ขึ้น ทะเบียนเป็นผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในของส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา จ�ำนวนกว่า 9,000 คน 4. พัฒนาและสร้างความเข้าใจในกระบวนการประกัน คุ ณ ภาพการศึ กษาภายในทั้ง ระบบให้ครบวงจร โดยจัดการ ประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการประเมินคุณภาพ การศึกษาภายในโดยมีข้อเสนอแนะจากการประเมินอภิมาน 48 รายงานประจ�ำปี 2556

การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษาส�ำหรับ ผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในของส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา รวมทัง้ จัดประชุมชีแ้ จงการใช้งานระบบฐานข้อมูล การประกันคุณภาพการศึกษา ระดับอุดมศึกษา ทัว่ ทุกภูมภิ าคของ ประเทศ เป็นประจ�ำทุกปี 5. ด�ำเนินการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ภายใน ระดับคณะวิชาและระดับสถาบัน โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ สาขาวิชาต่างๆ ร่วมด�ำเนินการติดตามตรวจสอบคุณภาพการ ศึกษาภายในระดับคณะวิชาและระดับสถาบัน โดยภายใน ปีงบประมาณ 2556 ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะ ด�ำเนินการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ระดับคณะวิชา 235 คณะวิชา และระดับสถาบัน 26 สถาบัน 6. ด�ำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความ เป็นเลิศ (Education Criteria for Performance Excellence) โดยเริ่มด�ำเนินโครงการน�ำร่องคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็น เลิศ ในปี 2553 มีคณะวิชาเข้าร่วมโครงการฯ จ�ำนวน 6 คณะ วิชา และต่อมาในปีงบประมาณ 2555 ได้ดำ� เนินโครงการต่อยอด คุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ จ�ำนวน 3 รุ่น (ระยะเวลา ด�ำเนินโครงการตั้งแต่เดือนธันวาคม 2554 - ธันวาคม 2557) มี สถาบันอุดมศึกษาเข้าร่วมโครงการ รุ่นที่ 1 จ�ำนวน 7 คณะวิชา/ สถาบัน รุ่นที่ 2 จ�ำนวน 6 คณะวิชา/สถาบัน รุ่นที่ 3 จ�ำนวน 6 คณะวิชา/สถาบัน นอกจากนี้ ยังได้จัดอบรมผู้ประเมินคุณภาพ การศึกษาด้วยเกณฑ์ EdPEx (QA Assessor) เพื่อท�ำหน้าที่ ประเมินองค์กรทางการศึกษาด้วยเกณฑ์ EdPEx ด้วย


การถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากงานวิจัยอุดมศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ก�ำหนดนโยบายส�ำคัญในการส่งเสริมการสร้างงานวิจัยและ การถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากงานวิจัยสู่ชุมชนท้องถิ่นและภาคอุตสาหกรรมภายใต้การสนับสนุน งบประมาณเพื่อการวิจัยใน 2 โครงการ คือ โครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก และโครงการวิจัยและพัฒนาภาครัฐร่วมเอกชนในเชิงพาณิชย์ผ่านเครือข่ายบริหารการวิจัย 9 เครือข่ายของ สกอ. โดยมีจุดมุ่งหมายส�ำคัญในการตอบโจทย์วิจัยให้กับชุมชนท้องถิ่น และภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งการพัฒนา ศักยภาพด้านการวิจัยให้กับบุคลากรและนักวิจัยผ่านกลไกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับภาคประชาสังคม (Civil Society) อย่างเป็นระบบ รวมถึงการพัฒนาประสบการณ์วิจัยร่วมกับภาคเอกชน จากผลการด�ำเนินงานในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่า ผลงานวิจัยที่ สกอ. ให้การสนับสนุน ได้มสี ว่ นช่วยยกระดับคุณภาพชีวติ ของชุมชนท้องถิน่ และสร้างมูลค่าเพิม่ ให้กบั สินค้า/บริการของภาคอุตสาหกรรม อย่างต่อเนือ่ ง ดังนี้

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 49


โครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี สู่ชุมชนฐานราก เป็นโครงการที่สนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษา มีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก และเชือ่ มโยงกับเครือข่ายชุมชนท้องถิน่ โดยการน�ำองค์ความรูจ้ าก ผลงานวิจัยและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาถ่ายทอดทักษะความรู้ และ เทคโนโลยีทเี่ หมาะสมแก่ชมุ ชนท้องถิน่ ให้สามารถยกระดับขีดความ สามารถด้านการผลิตและการจัดการของเศรษฐกิจชุมชน รวมถึง การสร้างมูลค่าเพิม่ ของผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนือ่ ง เพิม่ โอกาสในการ สร้างอาชีพ รายได้ และการพึง่ พาตนเองส่งผลต่อการสร้างความ เข้มแข็งทางสังคม อย่างเป็นระบบครบวงจรทีย่ งั่ ยืน โดยใช้กลไก การก�ำหนดโจทย์ปญ ั หาจากความต้องการของชุมชนและสอดคล้อง กับประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัด ท้องถิน่ เพือ่ สร้างโจทย์วจิ ยั ที่ ตอบสนองต่อการใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน เป็นการ เสริมสร้างกลไกความร่วมมือในระบบเครือข่ายด้วยการวิจัยแบบ มีสว่ นร่วมระหว่างคณาจารย์และนักวิจยั ในสถาบันอุดมศึกษากับ เครือข่ายภาคสังคม/หน่วยการผลิต (Demand side) ทัง้ นี้ สกอ. ได้ให้การสนับสนุนการด�ำเนินโครงการวิจยั กว่า 1,700 โครงการ โดยเกือบครึง่ หนึง่ ของการสนับสนุนโครงการ (ประมาณร้อยละ 42) เป็นเรือ่ งของเทคโนโลยีการเกษตร สินค้า OTOP/การตลาด

50 รายงานประจ�ำปี 2556

โครงการวิจัยและพัฒนาภาครัฐร่วมเอกชนในเชิง พาณิชย์ เป็นความร่วมมือระหว่าง สกอ. สถาบันอุดมศึกษา และ ภาคอุตสาหกรรม โดยเน้นความต้องการของภาคอุตสาหกรรม เป็นหลัก เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้บุค ลากรในสถาบั น อุดมศึกษาน�ำองค์ความรูจ้ ากสถาบันอุดมศึกษามาวิจยั และพัฒนา ร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดความสามารถในการสร้าง ผลิตภัณฑ์ใหม่ กระบวนการผลิตใหม่ หรือระบบการแก้ไขปัญหา สิง่ แวดล้อมทีเ่ กิดจากกระบวนการผลิต รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยี ให้กบั ผูป้ ระกอบการ และ SMEs เพือ่ เสริมสร้างขีดความสามารถเชิง การแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ยังแสดงถึงความร่วม มือระหว่างอุดมศึกษาและภาคการผลิตอย่างเป็นรูปธรรม และ เพื่อการส่งเสริมการน�ำทรัพย์สินทางปัญญาทีเ่ กิดขึน้ จากงานวิจยั ไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้จริง โดยในรอบทศวรรษทีผ่ า่ นมา สกอ. ให้การสนับสนุนโครงการวิจยั มากกว่า 250 โครงการ และ กว่าครึง่ หนึง่ ของโครงการทีใ่ ห้การสนับสนุนเป็นเรือ่ งของการเกษตร และวัสดุศาสตร์ ก้าวต่อไปในอนาคต การวิ จั ย นั บ เป็ น เครื่ อ งมื อ ที่ ส� ำ คั ญ ต่ อ การพั ฒ นา เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ องค์ความรู้ เทคโนโลยีและ นวัตกรรมทีไ่ ด้การค้นคว้าวิจยั จะช่วยสนับสนุนให้เกิดการยกระดับ ขีดความสามารถในเชิงแข่งขันของประเทศ รวมถึงการพัฒนา คุณภาพชีวติ และสังคมของคนในประเทศอย่างยัง่ ยืน ดังนัน้ แนวทาง ในการด�ำเนินงานด้านการวิจยั ในอนาคต ของ สกอ. คือ การสนับสนุน งบประมาณให้ ส ถาบั น อุ ด มศึ ก ษาเพื่ อ ด� ำ เนิ น โครงการวิ จั ย ที่ ตอบสนองต่อความต้องการของภาคการผลิต (Demand side) โดย เน้นการพัฒนากระบวนการแสวงหาโจทย์วจิ ยั ทีต่ รงกับความต้องการ ของชุมชนและภาคอุตสาหกรรม รวมถึงส่งเสริมการสร้างและพัฒนา ศักยภาพนักวิจยั ทีท่ ำ� งานกับชุมชน และภาคอุตสาหกรรมให้มากขึน้ โดยสร้างความร่วมมือและพัฒนากระบวนการในการด�ำเนินงานวิจยั ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและผูใ้ ช้ประโยชน์งานวิจยั ทัง้ ภาคชุมชน/ ท้องถิ่น และภาคอุตสาหกรรมอย่างเป็นรูปธรรมและใกล้ชิด รวมไปถึงการแสวงหางบประมาณสนับสนุนงานวิจัยที่ตอบโจทย์ ให้กบั ประเทศเพือ่ การยกระดับคุณภาพชีวติ และการเพิม่ ขีดความ สามารถแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม


โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาได้ ด� ำ เนิ น โครงการแลกเปลี่ ย นนั ก ศึ ก ษาและบุ ค ลากรระหว่ า งสถาบั น อุดมศึกษาไทยกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศมาเป็นระยะเวลา นานกว่าทศวรรษ เพือ่ เตรียมความพร้อมและพัฒนาศักยภาพของ นักศึกษา คณาจารย์และบุคลากร เพือ่ รองรับการเปลีย่ นแปลงและ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนการรวมตัวของ ภูมภิ าคต่าง ๆ ทัว่ โลก ดังนัน้ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จึงเห็นความส�ำคัญของการส่งเสริมโครงการแลกเปลีย่ นนักศึกษา เพื่อเป็นกลไกในการพัฒนาคุณภาพและความเป็นสากลของ อุดมศึกษาไทย รวมถึงส่งเสริมการรับรองคุณวุฒกิ ารศึกษาระหว่าง ประเทศ โดยได้มกี ารด�ำเนินการต่างๆ ดังนี้ โครงการ ASEAN International Mobility for Students (AIMS) Programme ได้เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2553 โดยส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาร่วมกับศูนย์ภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าด้วยการอุดมศึกษาและการพัฒนา (SEAMEO RIHED) จัดขึ้นภายใต้โครงการน�ำร่องการแลกเปลี่ยน นักศึกษาระหว่างมาเลเซีย อินโดนีเซียและไทย (MalaysiaIndonesia-Thailand Student Mobility Programme :M-I-T) เพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระดับปริญญาตรีแบบ สองทางให้ ไ ปแลกเปลี่ยนเป็นเวลา 1 ภาคการศึกษาและให้ มีการถ่ายโอนหน่วยกิตระหว่างกันอย่างน้อย 9 หน่วยกิต โดยมี

การแลกเปลี่ยนใน 7 สาขาวิชา ได้แก่ (1) ภาษาและวัฒนธรรม (2) การเกษตร (3) ธุรกิจระหว่างประเทศ (4) วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีการอาหาร (5) การจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว (6) วิศวกรรมศาสตร์ และ (7) เศรษฐศาสตร์ โดยมีประเทศ สมาชิกอาเซียนที่เข้าร่วมโครงการ 6 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และบรูไนดารุสซาลาม และมีสถาบันอุดมศึกษาไทยทีเ่ ข้าร่วมโครงการจ�ำนวน 7 สถาบัน จ�ำนวนนักศึกษาทีเ่ ข้าร่วมโครงการตัง้ แต่ปี 2553 - 2556 รวม 355 คน เป็นนักศึกษาไทยทีส่ ง่ ไปแลกเปลีย่ นจ�ำนวน 164 คน นักศึกษาแลกเปลีย่ นจากมาเลเซียและอินโดนีเซียจ�ำนวน 191 คน โดยแบ่งเป็นนักศึกษาอินโดนีเซีย จ�ำนวน 115 คน และนักศึกษา มาเลเซีย จ�ำนวน 76 คน โครงการแลกเปลี่ยนบุคลากรและนักศึกษาไทยกับ ประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่นำ�้ โขง (กัมพูชา จีน เฉพาะมณฑล ยูนนานและมณฑลกวางสี ลาว พม่า และเวียดนาม) เริม่ ให้ ทุนแลกเปลีย่ นสองทาง ตัง้ แต่ปงี บประมาณ 2543 - 2555 โดยมี ผูไ้ ด้รบั ทุนเข้าร่วมโครงการรวม 1,254 คน เป็นผูไ้ ด้รบั ทุนจาก สถาบันอุดมศึกษาไทย จ�ำนวน 671 คน เป็นผูไ้ ด้รบั ทุนจากสถาบัน อุดมศึกษาประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น�้ำโขง จ�ำนวน 583 คน ปัจจุบันได้ยุติโครงการแล้ว โดยผู้ได้รับทุนในปีงบประมาณ 2555 เป็นรุ่นสุดท้าย ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 51


โครงการแลกเปลีย่ นนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา ไทยกับต่างประเทศภายใต้กรอบ University Mobility in Asia and the Pacific (UMAP) เป็นการให้ทนุ ระยะสัน้ สนับสนุน เฉพาะนักศึกษาไทย เริม่ ตัง้ แต่ปงี บประมาณ 2539 - 2556 โดยมี ผูไ้ ด้รบั คัดเลือกเข้าร่วมโครงการรวม 1,263 คน ต่อมาได้พฒ ั นาให้ มีโครงการแลกเปลีย่ นนักศึกษาผ่านระบบออนไลน์ มีนกั ศึกษาใน โครงการจากปี 2551 - 2556 รวม 61 คน และโครงการแลกเปลีย่ น นักศึกษาระยะสัน้ 1 - 4 สัปดาห์ หรือ Super-short program โดยมีนักศึกษาไทยเข้าร่ว มโครงการ 1 คน และนั ก ศึ ก ษา จากสาธารณรัฐฟิลปิ ปินส์มาเข้าร่วมโครงการในประเทศไทย 5 คน ในปี 2556 โดยมีการถ่ายโอนหน่วยกิตผ่านระบบ UMAP Credit Transfer Scheme (UCTS) โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาไทยและอาเซียน ได้เริ่มขึ้นในปีงบประมาณ 2555 เพื่อเตรียมความพร้ อ มสู่ การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน โดยส่งเสริมการถ่ายโอน หน่วยกิตกลับมายังสถาบันอุดมศึกษาไทย กิจกรรมหลัก คือ การจัดสรรทุนการศึกษาให้นกั ศึกษาไทยระดับปริญญาตรี ชัน้ ปีที่ 2 ขึน้ ไป จากสถาบันอุดมศึกษาไทย ไปศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของ ประเทศสมาชิกอาเซียน เป็นระยะเวลา 1 ภาคการศึกษา แต่ไม่เกิน 4 เดือน และจัดสรรทุนการศึกษาให้นักศึกษาระดับบัณฑิต ศึกษาไปศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน เป็นระยะเวลา 1 ภาคการศึกษา แต่ไม่เกิน 4 เดือน หรือท�ำวิจยั ไม่ ต�ำ่ กว่า 1 เดือน และไม่เกิน 4 เดือน ทัง้ นี้ นักศึกษาระดับปริญญาตรี และบั ณ ฑิ ต ศึ ก ษาที่ ไ ปศึ ก ษาต้ อ งลงทะเบี ย นเรี ย นอย่ า งน้ อ ย 2 รายวิชา และต้องถ่ายโอนหน่วยกิตกลับมายังสถาบันอุดมศึกษา ต้นสังกัดอย่างน้อย 6 หน่วยกิต ส�ำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิต ศึกษาที่ไปท�ำวิจัยไม่ต้องถ่ายโอนหน่วยกิตกลับมายังสถาบัน อุดมศึกษาต้นสังกัด ในปีงบประมาณ 2555 มีนกั ศึกษาทีไ่ ด้รบั คัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ จ�ำนวน 39 คน และปีงบประมาณ 2556 มีนกั ศึกษาทีไ่ ด้รบั คัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ จ�ำนวน 120 คน โครงการ DUO - Thailand Fellowship Programme เป็ น ทุ น แลกเปลี่ ย นสองทางที่ ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาให้แก่นกั ศึกษาและอาจารย์จากสถาบันอุดมศึกษาไทย และจากสถาบันอุดมศึกษาในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป โดยมี ผูไ้ ด้รบั ทุนสนับสนุนจากปี 2549 - 2557 รวม 292 คน เป็นคู่ แลกเปลีย่ นอาจารย์ จ�ำนวน 89 คู่ คูแ่ ลกเปลีย่ นนักศึกษา จ�ำนวน 57 คู่

52 รายงานประจ�ำปี 2556


กิจกรรมนักศึกษากับการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา ‘งานพัฒนาศักยภาพนักศึกษา’ นับเป็นบทบาทหลัก ของสถาบันอุดมศึกษาอีกประการหนึง่ ทีส่ ำ� นักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดขึน้ ในสถาบันอุดมศึกษา เพือ่ ให้นกั ศึกษาได้รบั การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนือ่ ง สามารถก้าวสู่ การเป็นบัณฑิตที่มีศักยภาพสมบูรณ์พร้อมในสังคม ทั้งทางด้าน ร่างกาย สังคม อารมณ์ และสติปญ ั ญา กิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษาที่ ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาให้การสนับสนุนทั้งในอดีตและปัจจุบัน สอดคล้อง ตามเจตนารมณ์ข องการปฏิรูป การศึก ษาของประเทศ ตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (พ.ศ. 2545 - 2549) ทีไ่ ด้กำ� หนดให้การจัดการศึกษาต้องเป็นไป เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติ ปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการ ด�ำรงชีวติ สามารถอยูร่ ว่ มกับผูอ้ นื่ ได้อย่างมีความสุข สอดรับกับ แผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551 - 2565) ทีม่ เี ป้าหมายในการยกระดับคุณภาพอุดมศึกษาไทย เพือ่ ผลิตและ พัฒนาบุคลากรทีม่ คี ณ ุ ภาพ พัฒนาศักยภาพอุดมศึกษาในการสร้าง

ความรูแ้ ละนวัตกรรม เพือ่ เพิม่ ขีดความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศ สนับสนุนการพัฒนาทีย่ งั่ ยืนของท้องถิน่ ไทย ในรอบทศวรรษทีผ่ า่ นมา ส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา ได้ให้การส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมของนักศึกษา เพื่อน�ำไปสู่การพัฒนาให้นักศึกษาเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ อาทิ การประชุมคณะกรรมการประสานงานกิจการนิสิตนักศึกษา การสัมมนาผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานด้านกิจการนิสิตนักศึกษา โครงการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา โครงการเรียนรู้ ร่วมกันสร้างสรรค์คณ ุ ธรรม โครงการค่ายเรียนรูค้ ณ ุ ธรรม น�ำชีวติ พอเพียง โครงการค่ายเรียนรูแ้ ละเผยแพร่โครงการอันเนือ่ งมาจาก พระราชด�ำริ โครงการค่ายแลกเปลีย่ นเรียนรูส้ งั คมพหุวฒ ั นธรรม โครงการสนับสนุนค่าครองชีพนักศึกษาจากการท�ำงาน โครงการ เปิดโลกทัศน์นกั ศึกษาเพือ่ ความเป็นสากล โครงการค่ายอาเซียน งานดนตรี ไ ทยอุ ด มศึ ก ษา งานศิ ล ปวั ฒ นธรรมอุ ด มศึ ก ษา การส่งเสริมประชาธิปไตย การป้องกันและแก้ไขปัญหาวิกฤตต่างๆ โครงการตามนโยบายของรัฐบาล ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 53


ทัง้ นี้ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้วาง แนวทางในการส่งเสริมการจัดกิจกรรมของนักศึกษาในอนาคต ไว้ดงั นี้ 1. รูปแบบวิธกี ารด�ำเนินกิจกรรมนอกหลักสูตรจะต้องปรับ เปลีย่ นให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และความต้องการของสังคม ในปัจจุบนั เพือ่ เพิม่ พืน้ ทีก่ ารเรียนรูข้ องนักศึกษาในรูปแบบทักษะ ชีวติ ทักษะสังคม สมรรถนะพื้นฐาน โดยบูรณาการกิจกรรมนอก หลักสูตรและชีวติ จริงเข้ากับหลักสูตร 2. มุ่งเน้นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดศีลธรรม จริยธรรม และ ความเป็นพลเมือง ส่งเสริมจิตส�ำนึกที่เสียสละต่อส่วนรวม รวมถึง การประหยัด อดออม และนิยมไทย 3. การส่งเสริมวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ และภูมปิ ญั ญา ท้องถิน่ จะต้องได้รบั การเอาใจใส่ และร่วมกันท�ำนุบำ� รุงรักษาไว้คช่ ู าติ ตลอดไป 4. สนับสนุนกิจกรรมนักศึกษาทีน่ ำ� ไปสูก่ ารกูว้ กิ ฤติของชาติ ทัง้ วิกฤติทางสังคม (วิกฤติทางศีลธรรม) วิกฤติเศรษฐกิจ และวิกฤติ ทางการเมือง 5. เปิดโลกทัศน์และเตรียมความพร้อมส�ำหรับบัณฑิตใน ยุคโลกาภิวตั น์ ด้วยการเพิม่ ความเข้มข้นและประสิทธิภาพการเรียนรู้ ของนักศึกษาทางด้านภาษาและวัฒนธรรมต่างประเทศ 6. เรี ย นรู ้ แ ละเพิ่ ม คุ ณ ค่ า ของสั ง คมพหุ ลั ก ษณ์ พหุวัฒนธรรม ความหลากหลายของนักศึกษาต่างวัย ต่างภูมิหลัง ต่างวัฒนธรรม 54 รายงานประจ�ำปี 2556


การพัฒนาสมรรถนะและคุณภาพบุคลากรอุดมศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ดำ� เนินการ พัฒนาสมรรถนะและคุณภาพบุคลากรอุดมศึกษาในหลากหลาย รูปแบบมิติต่างๆ ดังนี้ จัดสรรทุนพัฒนาอาจารย์ระดับปริญญาเอก ด�ำเนินการ จัดสรรทุนศึกษาต่อระดับปริญญาโท-เอก อย่างต่อเนือ่ ง ได้แก่ • ทุนผลิตและพัฒนาอาจารย์ (UDC : University Development Commission) เป็นการจัดสรรทุนเพื่อศึกษา ระดับปริญญาโท-เอกในประเทศ ในทุกสาขาวิชาที่เป็นความ ต้ องการของสถาบันอุดมศึก ษา โดยมีจ� ำนวนผู้รับทุนทั้งสิ้น จ�ำนวน 1,553 คน (ข้อมูลตั้งแต่ปี 2533 - 2549) ปัจจุบัน มีผู้รับทุนส�ำเร็จการศึกษาและเข้าปฏิบัติงานชดใช้ทุนในสถาบัน อุดมศึกษา จ�ำนวน 1,481 คน และมีจำ� นวนผู้รับทุนที่จัดสรรทุน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 - 2549 จ�ำนวน 374 คน

• ทุนพัฒนาอาจารย์สาขาขาดแคลน 16 สาขา ตามมติ คณะรัฐมนตรี เป็นการจัดสรรทุนเพื่อศึกษาต่อระดับปริญญา โท - เอก ในประเทศ และต่างประเทศ ใน 16 สาขาขาดแคลน โดยมีจ�ำนวนผู้รับทุนทั้งสิ้น 5,349 คน ปัจจุบันมีผู้รับทุนส�ำเร็จ การศึ ก ษาและเข้ า ปฏิ บั ติ ง านชดใช้ ทุ น ในสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา จ�ำนวน 3,835 คน และมีจ�ำนวนผู้รับทุนที่จัดสรรทุนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 - 2548 จ�ำนวน 1,423 คน • การสนับสนุนเด็กอัจฉริยะ ด�ำเนินการในปี พ.ศ. 2547 เพียงปีเดียว และผูกพันงบประมาณถึงปี พ.ศ. 2554 เป็นการ ให้ทนุ สนับสนุนการศึกษาต่อระดับปริญญาโท-เอก ณ ต่างประเทศ โดยมีผรู้ บั ทุนทัง้ สิน้ จ�ำนวน 62 คน ปัจจุบนั มีผรู้ บั ทุนส�ำเร็จการ ศึกษาและเข้าปฏิบตั งิ านชดใช้ทนุ ในสถาบันอุดมศึกษา จ�ำนวน 48 คน ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 55


• เครือข่ายเชิงกลยุทธ์เพือ่ การผลิตและพัฒนาอาจารย์ ในสถาบันอุดมศึกษา เป็นการจัดสรรทุนเพื่อศึกษาต่อระดับ ปริญญาเอก เพื่อสร้างและพัฒนาอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ให้มีคุณวุฒิปริญญาเอกเพิ่มขึ้น ภายใต้กรอบสาขา 20 เครือข่าย โดยมีผรู้ บั ทุนทัง้ สิน้ จ�ำนวน 1,262 คน ปัจจุบนั มีผรู้ บั ทุนส�ำเร็จ การศึ ก ษาและเข้ า ปฏิ บั ติ ง านชดใช้ ทุ น ในสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา จ�ำนวน 507 คน • ทุนพัฒนาอาจารย์และบุคลากรส�ำหรับสถาบัน อุ ด มศึ ก ษาในเขตพั ฒ นาเฉพาะกิ จ จั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ เป็นการจัดสรรทุนศึกษาต่อในประเทศและต่างประเทศ โดยมี ผู้รับทุน ตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2552 - 2556 จ�ำนวน 247 คน ปัจจุบนั มีผรู้ บั ทุนส�ำเร็จการศึกษาและเข้าปฏิบตั งิ านชดใช้ทนุ ในสถาบันอุดมศึกษา จ�ำนวน 21 คน จัดฝึกอบรมพัฒนาผู้บริหารมหาวิทยาลัยทั้งสาย วิชาการและสายสนับสนุน ใน 3 หลักสูตร คือ • หลักสูตรการพัฒนาผูบ้ ริหารระดับสูงมหาวิทยาลัย (นบม.) จ�ำนวน 24 รุ่น มีผู้ผ่านการอบรมตั้งแต่เริ่มโครงการใน ปี 2542 จนถึงปัจจุบนั จ�ำนวน 1,136 คน • หลักสูตรการพัฒนาผูบ้ ริหารสายสนับสนุนและช่วย

56 รายงานประจ�ำปี 2556

วิชาการ (นบก.) จ�ำนวน 14 รุน่ มีผผู้ า่ นการอบรม 680 คน และใน ปี 2553 หน่วยจัดการฝึกอบรมได้ดำ� เนินการจัดการอบรมไปทัง้ หมด จ�ำนวน 21 รุน่ มีผผู้ า่ นการอบรมหลักสูตรการบริหารงานอุดมศึกษา ระดับกลาง จ�ำนวน 458 คน ผ่านการอบรมหลักสูตรการบริหารงาน อุดมศึกษาระดับสูง จ�ำนวน 12 รุน่ รวม 302 คน • หลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา (นบอ.) ตามโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารของ มหาวิทยาลัย จ�ำนวน 4 รุน่ มีผผู้ า่ นการอบรม จ�ำนวน 222 คน จัดสรรทุนสนับสนุนการวิจยั ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ร่วมกับส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.) สนับสนุนการวิจยั ภายใต้โครงการทุนพัฒนาศักยภาพในการท�ำงาน วิจยั ของอาจารย์รนุ่ ใหม่ ตามแผนระยะยาว 10 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 - 2556) เป็นจ�ำนวนรวม 3,000 ทุน จ�ำนวนงบประมาณโครงการ รวม 1,348,278,741.- บาท โดยมีผลการด�ำเนินงาน ณ เดือนตุลาคม 2556 ดังนี้ (1) ผลงานตีพมิ พ์ในวารสารระดับนานาชาติ จ�ำนวน 2,621 เรือ่ ง (2) ผลงานวิจยั ทีไ่ ด้รบั การจดสิทธิบตั ร จ�ำนวน 30 ผลงาน (3) ผลงานวิจยั เฉพาะโครงการสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่ เป็น Proceeding จ�ำนวน 66 เรือ่ ง และ (4) วารสารระดับชาติ จ�ำนวน 55 เรือ่ ง


วิทยาลัยชุมชนกับการพัฒนาชุมชน ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา การจัดการศึกษาและให้ บริการทางวิชาการเพือ่ พัฒนาชุมชนของวิทยาลัยชุมชนทัง้ 20 แห่ง เป็นการจัดการศึกษาในรูปแบบทีห่ ลากหลาย ได้แก่ จัดการศึกษา หลักสูตรอนุปริญญา 20 สาขาวิชา หลักสูตรประกาศนียบัตร วิชาชีพ (ปวช.) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชัน้ สูง (ปวส.) และหลักสูตรพัฒนาทักษะและเสริมสร้างประสบการณ์ดา้ นอาชีพ และคุณภาพชีวติ (หลักสูตรฝึกอบรม หรือ หลักสูตรระยะสัน้ ) ทีผ่ า่ นมา มีผเู้ รียนหลักสูตรระดับอนุปริญญามากกว่า 60,000 คน และส�ำเร็จการศึกษาแล้ว จ�ำนวน 24,172 คน คิดเป็นร้อยละ 40 ของผูเ้ ข้าเรียนทัง้ หมด ผูส้ ำ� เร็จการศึกษาเฉลีย่ ร้อยละ 80 มีงานท�ำ หรือน�ำความรูท้ ไี่ ด้ไปพัฒนางานทีท่ ำ� อยู่ และมีผศู้ กึ ษาต่อเฉลีย่ ร้อยละ 38 ส�ำหรับหลักสูตร ปวส. มีผเู้ รียน จ�ำนวน 1,328 คน ส�ำเร็จการ ศึกษา 479 คน หลักสูตร ปวช. มีผเู้ รียน จ�ำนวน 4,581 คน ส�ำเร็จ การศึกษา 1,265 คน ส่วนผลการจัดให้บริการหลักสูตรฝึกอบรม เพื่อพัฒนาทักษะและประสบการณ์ด้านอาชีพและคุณภาพชีวิต มากกว่า 300 หลักสูตร/ปี มีผรู้ บั บริการกว่า 200,000 คน โดย ในแต่ละปีมผี รู้ บั บริการเฉลีย่ 25,000 คน ซึง่ ผูส้ ำ� เร็จหลักสูตร ฝึกอบรม สามารถน�ำความรู้และทักษะที่ได้ไปพัฒนาอาชีพและ งานทีท่ ำ� อยู่ โดยเฉลีย่ ร้อยละ 80 หลักสูตรอนุปริญญาทีม่ ผี ลผลิตและผลลัพธ์ทตี่ อบโจทย์ ความต้องการของชุมชนและได้รบั การยอมรับ มีผเู้ รียนจ�ำนวนมาก ในล�ำดับต้นๆ อาทิ สาขาวิชาการปกครองท้องถิน่ สาขาวิชาการ ศึกษาปฐมวัย ส่วนหลักสูตรประกาศนียบัตร และหลักสูตรพัฒนา ทักษะและประสบการณ์ดา้ นอาชีพและคุณภาพชีวติ อาทิ การดูแล ผูป้ ว่ ย การดูแลผูส้ งู อายุ เทคนิคการส่งเสริมสุขภาพผูส้ งู อายุ มัคคุเทศก์ เฉพาะแหล่งท่องเทีย่ วธรรมชาติ พนักงานสุขภาพชุมชนชายแดน ภาษาเพือ่ การสือ่ สาร คอมพิวเตอร์ คณะกรรมการวิ ท ยาลั ย ชุ ม ชนได้ พิ จ ารณาทบทวน บทบาทวิทยาลัยชุมชนเพื่อสร้างอัตลักษณ์และความเป็นตัวตน ของวิทยาลัยชุมชน หลังจากการด�ำเนินงานวิทยาลัยชุมชนในช่วง 10 ปีทผี่ า่ นมา และได้กำ� หนดเป็นนโยบายในการปรับปรุงแนวทาง การจัดการศึกษาและฝึกอบรมของวิทยาลัยชุมชนที่มุ่งเน้นการ ตอบสนองความต้องการของกลุ่มบุคคลหรือชุมชนเพิ่มมากขึ้น โดยใช้กลไกของการจัดการความรูใ้ นการขับเคลือ่ นการด�ำเนินงาน

มาตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2554 มุง่ เน้นพืน้ ทีบ่ ริการ (Area-based) และ ด�ำเนินการในลักษณะโครงการ (Project-based) การจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน นับเป็นการพัฒนาทีเ่ ป็นกลไกส�ำคัญในการขับเคลือ่ นนโยบายของ คณะกรรมการวิทยาลัยชุมชนซึง่ ด�ำเนินการต่อเนือ่ งมา เป้าหมาย ด�ำเนินการมุง่ เน้นจัดการความรูใ้ นพืน้ ทีบ่ ริการ (Area-based) ทัง้ ในมิตทิ างด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ตัวอย่างกิจกรรมการ จัดการความรู้ที่ยกระดับการพัฒนาทักษะและประสบการณ์ด้าน อาชีพและคุณภาพชีวิตตามบริบทของแต่ละพื้นที่ในมิติต่างๆ ทีผ่ า่ นมาของวิทยาลัยชุมชน ได้แก่ การจัดการความรูด้ า้ นเกษตร ด้านการท่องเที่ยวและการสืบสานวัฒนธรรม ด้านผ้าพื้นเมือง ด้านอาหาร ด้านการดูแลเด็ก ผูส้ งู อายุ และผูด้ อ้ ยโอกาส ด้านการ เตรียมความพร้อมและพัฒนาศักยภาพชุมชนเพือ่ รองรับการเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน เป็นต้น ส�ำหรับทิศทางในอนาคตของการขับเคลื่อนนโยบาย ของคณะกรรมการวิทยาลัยชุมชนไปสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม ได้แบ่งรูปแบบการจัดการศึกษาและฝึกอบรมของวิทยาลัยชุมชนเป็น 3 รูปแบบ (TRACKS) คือ รูปแบบที่ 1 การจัดการศึกษาเพือ่ พัฒนา ท้องถิน่ ชุมชน หรือ ‘TRACK ชุมชน’ รูปแบบที่ 2 การจัดการศึกษา เพือ่ การประกอบอาชีพ หรือ ‘TRACK อาชีพ’ และรูปแบบที่ 3 การจัดการศึกษาระดับอนุปริญญา หรือ ‘TRACK อนุปริญญา’ โดยประเด็นส�ำคัญของการจัดการเรียนรูท้ งั้ 3 รูปแบบ คือ เรือ่ ง ฐานสมรรถนะ (competency - based) การจัดการศึกษาจะเป็น Competency - based Education ซึง่ ต้องปรับทัง้ ระบบบริหาร จัดการ ระบบบริหารวิชาการ โดยกระบวนการจัดการเรียนการสอน เปลีย่ นหลักการทัง้ หมดจากทีเ่ น้นองค์ความรูท้ อี่ ยูใ่ นตัวครู-อาจารย์ หรือในต�ำรา ไปสูค่ วามสามารถในการปฏิบตั ขิ องผูเ้ รียน การดูแล ผู้เรียนในเชิงวิชาการกับการประกอบอาชีพจะมีค่าน�้ำหนักที่ แตกต่างกัน ผลผลิตของการศึกษา คือ สมรรถนะของบัณฑิต แต่ตอ้ ง เป็นสมรรถนะทีต่ อบสนองความต้องการในตลาดแรงงาน ก้าวย่างต่อไปในการพัฒนาการจัด การเรี ย นรู ้ ข อง วิทยาลัยชุมชนในทศวรรษทีส่ อง จึงมุง่ พัฒนาวิทยาลัยชุมชนไปสู่ การเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ ‘สอนคนชุมชน โดยคนชุมชน ใช้โจทย์ ชุมชน เพือ่ พัฒนาชุมชน’ เพือ่ เป็นสถาบันการศึกษาของชุมชนต่อไป ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 57


การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาของประเทศไทย ตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2548 ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ดำ� เนินโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย เพือ่ จัดการศึกษา ทางไกลผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศเพือ่ พัฒนาการศึกษา โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทยเป็นหน่วยงานกลางทีร่ เิ ริม่ ประสานและ สนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาในการจัดการศึกษาแบบอีเลิรน์ นิง (e-Learning) อย่างมีคณ ุ ภาพ เพือ่ ให้มมี าตรฐานสูงและเหมาะสมอย่าง พึง่ พาตนเองได้ โดยได้ทำ� ความร่วมมือทางวิชาการและการท�ำวิจยั ในการจัดการศึกษาทางไกลผ่านระบบเครือข่ายกับสถาบันการศึกษาทัง้ ในและต่างประเทศจ�ำนวน 45 สถาบัน มีโครงการต่าง ๆ ทีเ่ กิดจากความร่วมมือจ�ำนวน 45 โครงการ ตลอดจนมีการขยายความร่วมมือ สูร่ ะดับการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน และสนับสนุนทุนในการสร้างคอร์สแวร์เพือ่ การใช้งานร่วมกันในหลายมหาวิทยาลัย เพือ่ พัฒนาเป็นแหล่ง ทรัพยากรการศึกษาให้ใช้รว่ มกัน ซึง่ ได้พฒ ั นาเป็นระบบจัดการเรียนรู้ TCU - LMS ขึน้ เพือ่ ให้สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งได้นำ� ไปใช้จดั การ เรียนการสอนได้โดยไม่ต้องเสียงบประมาณจัดซื้อ รวมทั้งการสร้างเว็บศูนย์กลางสื่อการศึกษาและคอร์สแวร์ (Learning Resources Repository) เพือ่ การแลกเปลีย่ นแบ่งปันระหว่างสถาบันการศึกษา จากการสนับสนุนการสร้างคอร์สแวร์รายวิชาอีเลิร์นนิง ในหลากหลายสาขาวิชา เพื่อการศึกษาด้วยตัวเองตามอัธยาศัย หรือ ใช้เป็นสื่อเสริมในการเรียนการสอน รวบรวมเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้แบบเปิด (Open Educational Resources) ส่งต่อให้กับ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนผูส้ นใจทัว่ ไป จ�ำนวนมากกว่า 780 รายวิชา ในปัจจุบนั ให้บริการผ่านเว็บไซต์ www.ThaiCyberU.go.th โดยมีจำ� นวนรายวิชาที่มีการลงทะเบียนเรียนกว่า 340,00 บทเรียน และมีผู้เข้าใช้บทเรียนแล้วมากกว่า 4,000,000 ครั้ง และเพื่อยก ระดับคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาทางไกลผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศ และการประกันคุณภาพการศึกษาทางไกลผ่านระบบ เครื อข่ า ยสารสนเทศและการสื่อสาร โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทยได้ร่ว มกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ท� ำการวิจัย และพั ฒนา ระบบคุณภาพในการจัดการศึกษาทางไกลผ่านระบบเครือข่าย โดยมีโครงการการพัฒนาต้นแบบระบบเชื่อมต่อเครือข่ายทรัพยากร การเรียนรู้นานาชาติ เพื่อเชื่อมโยงแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ของประเทศไทย เข้ากับเครือข่ายทรัพยากรการเรียนรู้ระดับนานาชาติ GLOBE (The Global Learning Objects Brokered Exchange) ซึ่งเป็นความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย การพัฒนาระบบต้นแบบ ส�ำหรับเชื่อมโยงแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้จากสถาบันการศึกษาทั้งใน และต่างประเทศเข้าด้วยกันซึ่งสามารถเข้าระบบสืบค้น ที่ http://globe.thaicyberu.go.th/ ขยายโอกาสทางการศึกษาและเน้นการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา โครงการอบรมเพือ่ พัฒนาบุคลากรอีเลิรน์ นิงในหลักสูตร ‘ผูเ้ ชีย่ วชาญอีเลิรน์ นิง’ มีวตั ถุประสงค์หลักทีจ่ ะสร้างบุคลากรทางการศึกษาให้มคี วามรู้ ความเข้าใจ และมีทกั ษะเป็นก�ำลังส�ำคัญในการผลักดัน การจัดการเรียนการสอนทางไกลที่ยึดสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อหลัก นอกจากนี้ยังได้จัดโครงการฝึกอบรมให้กับหน่วยงานราชการต่างๆ ต่อมาจึงจัดท�ำบทเรียนออนไลน์ในรูปแบบอีเลิรน์ นิง (e-Training) เพือ่ ขยายโอกาสให้กบั ผูส้ นใจ และได้พฒ ั นาเป็นโครงการ TCU Academy โครงการฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ในหลักสูตรประกาศนียบัตร เน้นการออกแบบเนือ้ หา และการผลิตสือ่ บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ให้กบั ผูเ้ ข้ารับการอบรม ตลอดจนจัดการประชุมสัมมนาวิชาการด้านอีเลิรน์ นิงขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง เช่น งานประชุมวิชาการ Nation e-Learning Conference และ International e-Learning Conference เพือ่ แลกเปลีย่ นความรูด้ า้ น e-Learning ทัง้ ในระดับประเทศและนานาชาติ พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาอย่างไม่หยุดยัง้ โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทยได้พฒ ั นาระบบการจัดการเรียน การสอนผ่านออนไลน์ TCU - LMS ขึน้ เพือ่ เป็นศูนย์กลางเชือ่ มโยงความรูก้ บั สถาบันการศึกษาต่างๆ ทัง้ ใน และต่างประเทศ และยังได้รบั รางวัลจาก UNESCO ด้านการใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีการสือ่ สารในการศึกษาอีกด้วย นอกจากนีท้ างโครงการยังมีการพัฒนาอย่างใน เรือ่ งของ Infrastructure ในระบบ Red5 การติดตัง้ สตรีมมิง่ เซิรฟ์ เวอร์แบบ Open source เพือ่ รองรับการประชุมทางไกลแบบ video conference และการถ่ายทอดสดงานประชุมวิชาการและงานสัมมนาต่าง ๆ ของโครงการ และน�ำเทคโนโลยี PHP Motion มาพัฒนาเป็น TCU TUBE เพือ่ เผยแพร่วดิ โี อความรูท้ างการศึกษาให้กบั ผูส้ นใจ เป็นอีกหนึง่ ช่องทางในการขยายโอกาสทางการศึกษา และสามารถ เข้าถึงได้งา่ ยยิง่ ขึน้ และในปี 2556 โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทยได้เริม่ ด�ำเนินการพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอน TCU - LMS เพือ่ น�ำไปสูร่ ปู แบบการเรียนแบบ Massively Open Online Courses (MOOCs) ในอนาคต เพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพและรองรับการใช้งานที่ หลากหลายและทันต่อการเปลีย่ นแปลงไปตามเทคโนโลยีในยุคปัจจุบนั 58 รายงานประจ�ำปี 2556


ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 59


การผลิตและพัฒนากาลังคน

การผลิตและพัฒนากาลังคน เป็นหัวใจของการ พัฒนาและเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ของประเทศ ขณะนี้ป ระเทศไทยกาลัง ประสบปั ญหา ก า ร ผ ลิ ต ก า ลั ง ค น ที่ ไ ม่ ส ม ดุ ล ข อ ง โ ค ร ง ส ร้ า ง ตลาดแรงงานระหว่ า งความต้ อ งการและการผลิ ต กาลังคนของประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานใหม่ใน ระดั บ ปริ ญ ญาตรี ห รื อ สู ง กว่า มี ก ารผลิ ต ก าลั ง คนใน สาขาวิ ช าที่ ไ ม่ ส อดคล้ อ งกั บ ความต้ อ งการของ ตลาดแรงงาน เกิดปัญหาคนว่างงานควบคู่กับการขาด แคลนกาลังคนเฉพาะสาขา รวมถึงปัญหาเรื่องคุณภาพ บั ณ ฑิ ต ที่ ส าเร็ จ การศึ ก ษาแล้ ว ไม่ ส ามารถท างานได้ ดังนั้น การผลิตและพัฒนากาลังคนที่ผ่านมา หน่วยงาน ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงมียุทธศาสตร์ที่มุ่งเน้นการพัฒนา คนให้มีคุณภาพเป็นกาลังสาคัญ เพื่อการพัฒนาประเทศ ให้มั่นคงและสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก ส่ ว นระดั บ อุ ด มศึ ก ษาที่ รั บ ผิ ด ชอบการผลิ ต กาลังคนระดับสูงของประเทศ จึงมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้ สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ โดยเฉพาะการ ผลิตและพัฒนานักวิจัย ผู้สร้างและพัฒนานวัตกรรมใน สาขาต่ า งๆ เพื่ อ เพิ่ ม มูล ค่ า และคุณ ค่ าของสิ น ค้า และ บริก ารที่สามารถใช้ป ระโยชน์ในเชิงพาณิ ชย์ห รือ เชิ ง สังคม โดยให้ความสาคัญในการพัฒนาการเรียนรู้ด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตั้งแต่การศึกษาขั้นพื้นฐาน ต่อเนื่องถึงระดับอุดมศึกษา ดั ง นั้ น แนวโน้ ม ความต้ อ งการก าลั ง คน ระดับอุดมศึกษาของประเทศในสาขาวิชาต่าง ๆ ต้องมี สอดคล้องกับความต้องการทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ และต้องเป็นไปตามทิศทางการพัฒนาประเทศทั้งเชิง ปริมาณและคุณภาพ

การผลิตและพัฒนากาลังคน

การผลิตและพัฒนากาลังคน เป็นหัวใจของการ พัฒนาและเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ของประเทศ ขณะนี้ป ระเทศไทยกาลัง ประสบปั ญหา ก า ร ผ ลิ ต ก า ลั ง ค น ที่ ไ ม่ ส ม ดุ ล ข อ ง โ ค ร ง ส ร้ า ง การผลิ และพัฒาฒนาก� นากำลัาลั งคน วใจของการ งความต้ อ งการและการผลิ ตลาดแรงงานระหว่ การผลิตและพั งคน เป็เป็ นหันวหัใจของการพั ฒตนา พักาลั ฒนาและเป็ นการเพิ ขีของประเทศ ดความสามารถในการแข่ งขัในำลัง งคนของประเทศ ่มแรงงานใหม่ ความสามารถในการแข่ งขั่มนโดยเฉพาะกลุ ขณะนี ้ประเทศไทยก� ประสบปั ตก�หำลัรืง้ ปอคนที ไ่ ม่สามดุมีลกของโครงสร้ งตลาดแรงงาน ของประเทศ ขณะนี ระเทศไทยก าลัง ประสบปั ญหา ระดั บญปริหาการผลิ ญ ญาตรี สู ง กว่ ารผลิ ต กาาลั ง คนใน ระหว่ คนของประเทศ กสาขาวิ าารงความต้ ผ ลิชตาที กองการและการผลิ า่ ไลัม่ งสคอดคล้ น ที่ ไ อม่ตงกั สก�ำมลับดุงความต้ ล ข อ ง โอคงการของ ร งโดยเฉพาะ ส ร้ า ง กลุตลาดแรงงานระหว่ ม่ แรงงานใหม่ในระดั ญาตรี หรืาองงานควบคู สูองกว่ า มีการผลิ ตก�ำลังคนใน งความต้ งการและการผลิ ต ตลาดแรงงาน เกิดบปัปริญญาหาคนว่ ่กับการขาด สาขาวิ ไ่ ม่สงอดคล้ องกับความต้ อรวมถึ งการของตลาดแรงงาน ดปัใญนหา กแคลนก าลัชงาที คนของประเทศ โดยเฉพาะกลุ แรงงานใหม่ าลั คนเฉพาะสาขา งปัญ่มหาเรื ่องคุณเกิภาพ คนว่ างงานควบคู ก่ บั จการขาดแคลนก� งปัญหา ระดั ญาตรี ห รื อกสูษาแล้ ง กว่ำาลังวมีคนเฉพาะสาขา ต ก าลัรวมถึ ง คนใน บั ณ ฑิบตปริทีญ ่ ส าเร็ การศึ ไม่ก ารผลิ ส ามารถท างานได้ เรือ่ สาขาวิ ณฑิ่ ตไตม่ทีและพั ส่ สำ� อดคล้ เร็จฒการศึ วความต้ ไม่ส่ผามารถท� ำหน่ งานได้ ดังนัน้ ช าที งกังบคนที ดังคุงนัณ้นภาพบั การผลิ นากอกษาแล้ าลั ่านมาอ งการของ วยงาน ผ่ยา่ ุทนมา วยงานต่ างๆน่กการพั กีย่ วข้ ง จึง การผลิ ตลาดแรงงาน าหน่งงานควบคู ัทีบเ่ การขาด ต่างๆตและพั ที่เกีฒ่ยนาก� วข้เกิ อำงลัดงปัจึคนที งญมีหาคนว่ ธศาสตร์ ที่มุ่งเน้ ฒอนา มียแคลนก ทุ ธศาสตร์ งุ่ เน้นการพั ฒนาคนให้ ณ ุ งภาพเป็ นฒ ก�ำ่อนาประเทศ ลังคุ งส�ณ ำคัภาพ ญ เพือ่ คนเฉพาะสาขา ญหาเรื คนให้ มีคาลัุณทงมี่ ภาพเป็ นกาลั งสาคัรวมถึ ญมคี เพื ่อปัการพั การพั นั่ คงและสามารถแข่ บัให้ณมฒฑิั่นนาประเทศให้ ต ที่ ส าเร็ จมการศึ กงษาแล้ ไม่งขัสนามารถท างานได้ คงและสามารถแข่ ขันได้ใวนเวที โได้ลกในเวทีโลก บอุบดอุมศึฒ ษาทีกาลั ร่ ษาที บั งผิคนที ดชอบการผลิ ตหน่ ก�ำลัวงยงาน คนระดั ดังนั้น การผลิ ส่ส่ววนระดั ตและพั นาก นระดั ดกมศึ ่ รั บ่ผผิ่าดนมา ชอบการผลิ ตบ สูงต่กของประเทศ จึบงสูมุองง่ งของประเทศ เน้จึนงผลิ ฑิตจึให้งมุสอดคล้ อผลิ งกันตบการพั งการ างๆงคนระดั ที่เกี่ยวข้ มียตุบัทณธศาสตร์ าลั ่งทเน้ี่มุ่งนเน้ บัความต้ ณฑิฒตอนา ให้ ของประเทศ โดยเฉพาะการผลิ นานั่อการพั กวิจยั โดยเฉพาะการ ร้างและพัฒนา คนให้ ภาพเป็ นกอาลั งตสและพั าคัญฒเพื ฒผูส้ นาประเทศ สอดคล้มีคอุณ งกั บความต้ งการของประเทศ นวัให้ ตกรรมในสาขาต่ างๆกเพื และคุ ณฒ ค่โลก านานวั ของสินตค้กรรมใน าและบริการ มตั่นและพั คงและสามารถแข่ ในเวที ผลิ ฒนานั วิจอ่ ัยเพิงผูม่ ขั้สมูนลร้ค่าได้างและพั ทีส่ ามารถใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์หรือเชิงสังคม โดยให้ความส�ำคัญ ว นระดั บ อุ่ มดมูมศึ ษาที่ รณั บค่ผิาดของสิ ชอบการผลิ สาขาต่ าส่งๆ เพื่ อ เพิ ล ค่กา และคุ น ค้า และต ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตั้งแต่การ กบริาลักงารที คนระดั บสูงของประเทศ มุ่งเน้ นผลิชตบัย์หณรืฑิอตเชิให้ง ่สามารถใช้ ป ระโยชน์จึใงนเชิ งพาณิ ศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน ต่อเนือ่ งถึงระดับอุดมศึกษา สอดคล้ องกับความต้ งการของประเทศ โดยเฉพาะการ สังคม โดยให้ ความสอาคั ญในการพัฒนาการเรี ยนรู้ด้าน ดังนั้น แนวโน้มความต้องการก�ำลังคนระดับอุดมศึกษา ผลิ และพัฒนานั กวิจัย ผู้สร้ตาั้งงและพั ฒนานวั วิทตยาศาสตร์ และเทคโนโลยี แต่การศึ กษาขัต้นกรรมใน พื้นฐาน ของประเทศในสาขาวิชาต่างๆ ต้องมีสอดคล้องกับความต้องการทัง้ เชิง สาขาต่ ่ ม มูกลษาค่ า และคุณค่ าของสิ น ค้า และ ต่อเนื่องถึา งๆ งระดัเพืบ่ ออุเพิ ดมศึ ปริมาณและคุณภาพ และต้องเป็นไปตามทิศทางการพัฒนาประเทศทัง้ บริก ารทีดั่สงามารถใช้ ป ระโยชน์ ในเชิองพาณิ ชย์าลั ห รืองเชิ นั้ น แนวโน้ ม ความต้ งการก คนง เชิงปริมาณและคุณภาพ สัระดั งคมบอุโดยให้ ความสาคัญในการพัฒนาการเรี ดมศึกษาของประเทศในสาขาวิ ชาต่าง ยๆนรูต้​้ดอ้างมีน วิสอดคล้ ทยาศาสตร์ ละเทคโนโลยี แต่งกปริารศึ กษาขั้นพืณ้นภาพ ฐาน องกับแความต้ องการทัต้งั เชิ มาณและคุ ต่และต้ อเนื่อองถึงเป็ งระดั บอุดมศึกศษา นไปตามทิ ทางการพัฒนาประเทศทั้งเชิง ดั ง นั้ ณ น ภาพ แนวโน้ ม ความต้ อ งการก าลั ง คน ปริมาณและคุ ระดับอุดมศึกษาของประเทศในสาขาวิชาต่าง ๆ ต้องมี สอดคล้องกับความต้องการทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ และต้องเป็นไปตามทิศทางการพัฒนาประเทศทั้งเชิง ปริมาณและคุณภาพ

การผลิต

60 รายงานประจ�ำปี 2556


การผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย

ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา กระทรวง สาธารณสุข และกลุม่ สถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย ได้รว่ มกัน จัดท�ำโครงการผลิตแพทย์เพิม่ แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2556 - 2560 ซึ่งเป็นโครงการผลิตแพทย์เพิ่มต่อเนื่องจากโครงการผลิตแพทย์เพิ่ม ของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาตามความต้องการของ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งก�ำลังจะสิ้นสุดลง โดยโครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ของประเทศ รองรับการขยายศักยภาพการให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ของประเทศในทุกภาคส่วน รวมทัง้ รองรับนโยบายการด�ำเนินงานของ รัฐบาล การเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ และการเป็นศูนย์กลางสุขภาพ นานาชาติ โดยมีเป้าหมายการผลิตแพทย์เพิม่ จ�ำนวน 5 รุน่ รับนักศึกษา ตัง้ แต่ปกี ารศึกษา 2556 - 2560 รวมตลอดโครงการจ�ำนวน 9,039 คน คณะรั ฐ มนตรี มี ม ติ เ ห็ น ชอบการด� ำ เนิ น โครงการผลิ ต แพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย พ.ศ.2556 - 2560 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2555 โดยเริ่ ม รั บ นัก ศึก ษาเข้ าร่ว มโครงการในปีก ารศึ ก ษา 2556 เป็นปีแรก จ�ำนวน 740 คน ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตามผลการ ด�ำเนินงาน

การเพิ่ ม การผลิ ต และพั ฒ นาการจั ด การศึ ก ษา สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมกับกระทรวง สาธารณสุข สภาการพยาบาล และทีป่ ระชุมคณบดีและหัวหน้าสถาบัน การศึกษาสาขาพยาบาลศาสตร์ของรัฐ จัดท�ำโครงการเพิ่มการผลิต และพัฒนาการจัดการศึกษา สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ ปีการศึกษา 2557 - 2560 มีวตั ถุประสงค์ผลิตพยาบาลเพิม่ ในระดับปริญญาตรี เพือ่ แก้ปัญหาการขาดแคลนและรองรับการขยายศักยภาพให้บริการด้าน สาธารณสุขของประเทศในทุกภาคส่วน รวมทั้งรองรับนโยบายการ ด�ำเนินงานของรัฐบาล การเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ การเป็น ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ การก้าวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน โดยมีเป้าหมายการผลิตพยาบาลเพิม่ จ�ำนวน 5 รุน่ ตัง้ แต่ปี การศึกษา 2557-2560 รวมตลอดโครงการจ�ำนวน 10,128 คน คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการด�ำเนินโครงการเพิ่มการ ผลิตและพัฒนาการจัดการศึกษา สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ ปีการศึกษา 2557-2560 เมือ่ วันที่ 14 พฤษภาคม 2556 โดยจะเริม่ รับนักศึกษา เข้าร่วมโครงการปีการศึกษา 2557 เป็นปีแรก แบ่งเป็นสถาบันในสังกัด ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จ�ำนวน 1,420 คน และสถาบัน ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก จ�ำนวน 1,100 คน รวมเป็นจ�ำนวน 2,520 คน ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 61


62 รายงานประจ�ำปี 2556


การผลิตครูมืออาชีพ

คณะรัฐมนตรีในการประชุม เมือ่ วันที่ 1 พฤษภาคม 2555 มีมติเห็นชอบให้ปรับเปลี่ยนชื่อ ‘โครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่’ เป็น ‘โครงการผลิตครูมืออาชีพ’ เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ โครงการทีต่ อ้ งการผลิตครูมอื อาชีพ ทีม่ คี วามรูท้ างวิชาการ เชีย่ วชาญ วิชาชีพ ในสาขาวิชาทีเ่ ป็นความต้องการของผูใ้ ช้ และเมือ่ ส�ำเร็จการ ศึกษาตามเกณฑ์โครงการ บรรจุเป็นข้าราชการครูในสังกัดส�ำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน และส�ำนักงานคณะกรรมการการ อาชีวศึกษา โครงการนีม้ กี ารบริหารโดยคณะกรรมการ จ�ำนวน 2 ชุด ได้แก่ คณะกรรมการบริหารโครงการผลิตครูมอื อาชีพ (รัฐมนตรีวา่ การ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ) และคณะกรรมการ คัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิตและนักศึกษาทุนโครงการผลิตครูมืออาชีพ ท�ำหน้าที่บริหารโครงการให้บรรลุเป้าหมายที่ก�ำหนดไว้ คณะกรรมการบริหารโครงการผลิตครูมืออาชีพ ได้ให้ นโยบายการด� ำ เนิ น โครงการโดยก� ำ หนดเป้ า หมายการรั บ นิ สิ ต / นักศึกษาเข้าร่วมโครงการประมาณร้อยละ 30 ของอัตราก�ำลังการ บรรจุขา้ ราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ต�ำแหน่งครูผู้ช่วยใน

แต่ละปีของหน่วยงานที่จะบรรจุเข้ารับราชการ และผลิตในรูปแบบ การประกันการมีงานท�ำ (ไม่มที นุ การศึกษาให้) เพียงรูปแบบเดียว และ มอบให้คณะคณะกรรมการคัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิตและนักศึกษาทุน โครงการผลิตครูมอื อาชีพ เป็นผูด้ ำ� เนินงานต่อไป ในปีงบประมาณ 2556 คณะกรรมการคัดเลือกสถาบัน ฝ่ายผลิตและนักศึกษาทุนโครงการผลิตครูมอื อาชีพได้กำ� หนดแนวทาง การด�ำเนินงานโครงการตามนโยบายของคณะกรรมการบริ ห าร โครงการ คือ ด�ำเนินการคัดเลือกนิสิต/นักศึกษาครูหลักสูตร 5 ปี ที่ก�ำลังศึกษาในชัน้ ปีที่ 4 ในปีการศึกษา 2554 เข้าร่วมโครงการตาม สาขาทีเ่ ป็นความต้องการของส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน และส�ำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้จ�ำนวน 1,483 คน จากเป้าหมาย 1,566 คน คิดเป็นร้อยละ 95 โดยนักศึกษาทีผ่ า่ นการ คัดเลือกส�ำเร็จการศึกษาในเดือนมีนาคม 2556 และจะบรรจุเข้ารับ ราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ต�ำแหน่งครูผชู้ ว่ ย ในสั ง กั ด ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการการศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน และ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในเดือนตุลาคม 2556 ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 63


การพัฒนาก�ำลังคนด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้จดั ท�ำ ‘โครงการ พั ฒ นาก� ำลั ง คนด้ า นมนุษยศาสตร์แ ละสังคมศาสตร์ (ทุ น เรี ย นดี มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย)’ เพือ่ สร้างฐานก�ำลังคนที่ มีคณ ุ ภาพด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในสาขาวิชาทีม่ คี วามส�ำคัญ และจ�ำเป็นทีจ่ ะต้องผลิตและพัฒนาให้มคี วามต่อเนื่องและด�ำรงความ มัน่ คงยัง่ ยืน โดยการจัดสรรทุนการศึกษาส�ำหรับผูท้ เี่ รียนดี มีความสนใจ และมีความประสงค์จะประกอบอาชีพด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในประเทศไทย รวมค่าใช้จ่ายตลอดโครงการ 6,412.25 ล้านบาท ซึง่ ได้รบั อนุมตั จิ ากคณะรัฐมนตรี เมือ่ วันที่ 22 พฤษภาคม 2550 เนื่องจากในปีงบประมาณ 2556 โครงการพัฒนาก�ำลัง คนด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ทุนเรียนดีมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย) ได้รับการจัดสรรงบประมาณเฉพาะ ทุนผูกพัน (ปีการศึกษา 2553 ปีการศึกษา 2553-2554 ปีการศึกษา 2554 และปีการศึกษา 2555) จ�ำนวน 366,711,000 บาท จึงไม่สามารถประกาศรับสมัครสอบแข่งขันทุนใหม่ของโครงการฯ ได้ และได้ด�ำเนินการตามแผนที่ก�ำหนดไว้ คือ 1. โอนเงิ น งบประมาณเบิ ก จ่ า ยแทนกั น ให้ กั บ ส� ำ นั ก งาน ก.พ. (ทุ นต่า งประเทศ) และสถาบัน ฝ่ายผลิ ต (ทุ น ใน ประเทศ) ที่ มี นักเรียนทุนสมัครและสอบเข้าศึกษาได้ในปีการศึกษา 2/2554 และปีการศึกษา 1/2555 2. การประชุมคณะอนุกรรมการบริหารโครงการพัฒนา 64 รายงานประจ�ำปี 2556

ก�ำลังคนด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อพิจารณาเรื่องต่างๆ ทีเ่ กีย่ วกับนักเรียนทุน ตามประเด็นการยื่นค�ำร้องของนักเรียนทุน การแจ้งจากสถาบันฝ่ายผลิต/สถาบันต้นสังกัด และส�ำนักงาน ก.พ. ประเด็นปัญหาอุปสรรคในการด�ำเนินโครงการฯ รวมทั้งการเตรียม แผนการจัดสรรทุนในปีการศึกษา 2556 หากมีงบประมาณเหลือจ่าย จากการโอนเงินค่าใช้จ่ายให้กับนักเรียนทุน 3. การรวบรวมและจัดเตรียมข้อมูลทีเ่ กีย่ วข้องกับโครงการฯ เพือ่ จัดท�ำเป็นระบบฐานข้อมูลโครงการฯ จากการด�ำเนินการตามแผน ได้ มี ง บประมาณที่ เ หลื อ จากการโอนค่ า ใช้ จ ่ า ยให้ กั บ นั ก เรี ย นทุ น เนื่ อ งจากปั ญ หาอุ ป สรรคต่ า งๆ เช่ น การรอตอบรั บ เข้ า ศึ ก ษา บางสาขาวิชาที่มหาวิทยาลัยมิได้เปิดรับสมัคร การใช้เวลาสมัคร เข้ า ศึ ก ษาใหม่ เ พราะสาขาวิ ช าไม่ ต รงกั บ ที่ จั ด สรรทุ น เป็ น ต้ น ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยคณะอนุกรรมการ บริหารโครงการฯ จึงน�ำงบประมาณที่คาดว่าจะเหลือมาจัดสรร เป็นทุนปีการศึกษา 2556 (โดยน�ำแผนการจัดสรรทุนปี 2555 จ�ำนวน 208 ทุน มาใช้พจิ ารณา) และจัดสอบแข่งขันเพือ่ รับทุนโครงการฯ และได้ผผู้ า่ นการคัดเลือกรวม 93 ทุน จ�ำแนกเป็น ทุนในประเทศ 14 ทุน (ระดับปริญญาตรี 1 ทุน และระดับปริญญาโท-เอก 13 ทุน) และทุน ต่างประเทศ 79 ทุน (ระดับปริญญาโท-เอก) นักเรียนทุนได้รายงานตัว และเข้าประชุมสัมมนาเพือ่ ปฐมนิเทศนักเรียนทุนเมือ่ วันที่ 23 เมษายน 2556


การพัฒนาก�ำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ ระยะที่ 2

โครงการพัฒนาก�ำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ (ทุนเรียนดี วิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย) ระยะที่ 2 (2552 - 2563) เป็นการขยาย โครงการทีด่ ำ� เนินการต่อเนือ่ งจากโครงการฯระยะที่1ได้รบั ความเห็นชอบ จากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2550 โดยการให้ ทุนศึกษาต่อระดับปริญญาโท และปริญญาเอก รวมทัง้ เริม่ รับนักศึกษา รุน่ ใหม่เข้ารับทุนตัง้ แต่ระดับปริญญาตรี โท ต่อเนือ่ งจนส�ำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาเอก เพื่อผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ระดับสูงให้มี ปริมาณทีเ่ พียงพอต่อการพัฒนาประเทศ ซึง่ มีเป้าหมายการให้ทนุ รวม ตลอดโครงการ 1,600 คน แบ่งเป็น การให้ทนุ ระดับปริญญาตรี-โท-เอก ต่อเนือ่ ง จ�ำนวน 4 รุน่ ๆ ละ 200 คน รวม 800 คน และทุนระดับ โท-เอก ต่อเนือ่ ง จ�ำนวน 800 คน โดยมีขอ้ ผูกพันเมือ่ ส�ำเร็จการศึกษา แล้ว ต้องชดใช้ทนุ เป็นอาจารย์ นักวิจยั ในสถาบันอุดมศึกษา หรือ หน่วยงานของรัฐ ทัง้ นี้ เริม่ รับนักศึกษาทุนเข้าร่วมโครงการ ตัง้ แต่ปี การศึกษา 2551 และเมือ่ วันที่ 20 ธันวาคม 2555 คณะรัฐมนตรี เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการด�ำเนินงานโครงการ โดยขยายระยะ

เวลาการรับนักเรียนทุนระดับปริญญาตรี-โท-เอก ต่อเนือ่ ง เพิม่ อีก 2 รุน่ คือ รุน่ ปีการศึกษา 2556 และ 2557 รุน่ ละ 200 คน รวม 400 คน และยังคงเป้าหมายรวมตลอดโครงการ 1,600 คน ในปีงบประมาณ 2556 ได้รับนักศึกษาทุนรุ่นปีการศึกษา 2556 ระดับปริญญาตรี-โท-เอก ต่อเนื่อง เข้าร่วมโครงการ จ�ำนวน 197 คน จากเป้าหมาย 200 คน และรับนักศึกษาระดับปริญญาโทเอก ต่อเนื่อง และปริญญาเอก จ�ำนวน 60 คน จากเป้าหมาย 60 คน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดท�ำสัญญารับทุนโครงการ ฯ ทั้งนี้ ตั้งแต่เริ่มโครงการฯ ปีการศึกษา 2551 จนถึง ปีการศึกษา 2556 สามารถรับนักศึกษาเข้าร่วมโครงการฯ จ�ำนวน 1,142 คน คิดเป็นร้อยละ 71 แบ่งเป็น ระดับตรี-โท-เอก ต่อเนื่อง จ�ำนวน 766 คน ระดับโท-เอก ต่อเนื่อง จ�ำนวน 170 คน ระดับ ปริญญาเอก จ�ำนวน 206 คน โดยมีผู้ส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญา เอก จากโครงการ ฯ จ�ำนวน 7 คน และขณะนี้ได้ปฏิบัติงานชดใช้ ทุนในต�ำแหน่ง อาจารย์/นักวิจัย ในสถาบันอุดมศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 65


การพัฒนาการจัดการศึกษาส�ำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนานิสิต นักศึกษาให้เป็นบัณฑิต ที่สมบูรณ์พร้อมมีหลายองค์ประกอบ กลไกส�ำคัญที่จะช่วยเสริมสร้าง การเรียนรู้ให้กับนิสิต นักศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งนิสิต/นักศึกษา ผู้พิการ เป็นสิ่งจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่สถาบันอุดมศึกษาต้องรับทราบและ มีแนวทางในการจัดการศึกษาส�ำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา ให้สามารถศึกษาเล่าเรียนได้อย่างมีความสุขตามเจตนารมณ์ของ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาส�ำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 และยัง สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพในการ สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาคนให้มีความรู้คู่คุณธรรม และจริยธรรม รวมทั้งการขยายบริการและโอกาสทางการศึกษาให้ ทั่วถึง สามารถเข้าถึงความรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลายและสอดคล้อง กับยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาส�ำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา ในปี ง บประมาณ 2556 ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาได้ด�ำเนินโครงการพัฒนาการจัดการศึกษาส�ำหรับคน พิการในระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วย 1. จัดสรรงบประมาณให้แก่สถาบันอุดมศึกษา เพือ่ จัดตัง้ ศูนย์บริการนักศึกษาพิการ (DSS Center) และจัดซือ้ ครุภณ ั ฑ์ทจี่ ำ� เป็น ส�ำหรับนิสติ นักศึกษาพิการ จ�ำนวน 35 สถาบัน เป็นเงิน 9,635,850.-บาท 2. สนั บ สนุ น เงิ น อุ ด หนุ น ทางการศึ ก ษาส� ำ หรั บ นิ สิ ต นักศึกษาพิการในระดับอนุปริญญาและระดับปริญญาตรี ซึง่ ด�ำเนินการ มาตัง้ แต่ปกี ารศึกษา 2553 โดยมีนสิ ติ นักศึกษาพิการขอรับเงินอุดหนุน ในปีการศึกษา 2553 จ�ำนวน 1,925 คน เป็นเงิน 16,247,502.50.-บาท 66 รายงานประจ�ำปี 2556

ปีการศึกษา 2554 จ�ำนวน 2,344 คน เป็นเงิน 21,881,275.-บาท ปีการศึกษา 2555 จ�ำนวน 1,553 คน เป็นเงิน 15,273,265.-บาท 3. จัดฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาส�ำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา ในระหว่างวันที่ 5 - 14 มิถนุ ายน 2556 ณ โรงแรมปริน๊ ช์ พาเลซ โดยจัดการฝึกอบรม จ�ำนวน 4 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรส�ำหรับผูบ้ ริหาร หลักสูตรส�ำหรับคณาจารย์/ผู้สอน หลักสูตรส�ำหรับผู้ปฏิบัติงาน และ หลักสูตรส�ำหรับเจ้าหน้าทีเ่ ทคโนโลยีสารสนเทศ (ฝ่าย IT) รวมจ�ำนวน 176 คน ส�ำหรับหลักสูตรดังกล่าวก�ำหนดให้มกี ารศึกษาดูงานจากหน่วยงาน ทีเ่ ป็น Best Practice ในด้านการให้บริการสนับสนุนการจัดการศึกษา ส�ำหรับคนพิการ ณ ศูนย์บริการนักศึกษาพิการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รงั สิต และศูนย์เทคโนโลยีอเิ ล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ทัง้ นี้ หลักสูตรส�ำหรับผูบ้ ริหาร (ระดับอธิการบดี รองอธิการบดี ผูอ้ ำ� นวยการกอง/ศูนย์ ได้เดินทางไปศึกษาดูงานในต่างประเทศด้านการ จัดการศึกษาส�ำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา ในระหว่างวันที่ 15 - 20 กันยายน 2556 ณ กรุงแคนเบอร่าและนครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย 4. ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาส�ำหรับคน พิการในระดับอุดมศึกษาทีไ่ ด้รบั การจัดสรรงบประมาณจากส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา จ�ำนวน 17 แห่ง เพือ่ ติดตามความก้าวหน้า หรือข้อบกพร่อง ในการจัดระบบการรองรับนักศึกษาพิการหรือผู้ที่มี ความจ�ำเป็นพิเศษ เพือ่ น�ำมาเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของคณะ อนุกรรมการจัดการศึกษาส�ำหรับคนพิการหรือผูท้ มี่ คี วามจ�ำเป็นพิเศษใน ระดับอุดมศึกษาต่อไป


สนับสนุนเยาวชนจังหวัดชายแดนภาคใต้

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมกับสถาบัน อุดมศึกษา และศูนย์อ�ำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด�ำเนิน โครงการสนับสนุนทุนการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในประเทศให้แก่ เยาวชนที่มีภูมิล�ำเนาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดน ภาคใต้ หรือ ‘ทุนอุดมศึกษาเพือ่ การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้’ เพื่อสนับสนุนและให้โอกาสเยาวชนที่มีภูมิล�ำเนาในเขตพัฒนาพิเศษ เฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ทยี่ งั ไม่มที เี่ รียน ได้เข้าศึกษาระดับ อุดมศึกษา โดยสถาบันอุดมศึกษาสนับสนุนทีน่ งั่ การศึกษาพร้อมยกเว้น ค่าเล่าเรียน และส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาสนับสนุนค่า ใช้จา่ ยให้แก่นกั ศึกษาตามระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร จ�ำนวนเงิน คนละ 40,000 บาทต่อปีการศึกษา (ค่าใช้จา่ ยส่วนตัวและทีพ่ กั จ�ำนวน เงิน 4,000 บาทต่อเดือน ระยะเวลา 10 เดือน จ�ำนวน 5 รุน่ ๆ ละ 500 ทุน โดยด�ำเนินการรุน่ แรกเมือ่ ปีการศึกษา 2550 และสิน้ สุด โครงการ (ระยะที่ 1) เมือ่ ปีการศึกษา 2554 ต่อมาในปีการศึกษา 2555 ส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาได้ดำ� เนินการโครงการทุนอุดมศึกษาเพือ่ การพัฒนาจังหวัด ชายแดนภาคใต้ ระยะที่ 2 โดยเริม่ ด�ำเนินการในปีการศึกษา 2555 และ สิน้ สุดโครงการในปี 2561 ส�ำหรับการด�ำเนินโครงการทุนอุดมศึกษา เพือ่ การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระยะที่ 2 ได้แบ่งกลุม่ เป้าหมาย ของผูร้ บั ทุนออกเป็น 2 กลุม่ คือ กลุม่ ที่ 1 ส�ำหรับนักเรียนที่ไม่สามารถสอบเข้าศึกษาใน สถาบันอุดมศึกษาได้ โดย สกอ. ขอความอนุเคราะห์สถาบันอุดมศึกษา

ในการสนั บสนุ น ที่ นั่ ง การศึ ก ษา (เป็ น กรณี พิ เ ศษ) พร้อมยกเว้น ค่าเล่าเรียน และ สกอ. สนับสนุนค่าครองชีพ เป็นเงินคนละ 40,000 บาท ต่อปีการศึกษา จ�ำนวน 125 ทุน กลุม่ ที่ 2 ส� ำ หรั บ นั ก เรี ย นที่ ส ามารถสอบเข้ า ศึ ก ษาใน สถาบันอุดมศึกษาได้ดว้ ยตนเอง โดยพิจารณาจากนักศึกษาชัน้ ปีที่ 1 ในสถาบันอุดมศึกษาทีม่ ผี ลการเรียนดี ฐานะยากจน ความประพฤติดี โดยเน้นสาขาขาดแคลน หรือสาขาทีเ่ ป็นความต้องการของพืน้ ทีจ่ งั หวัด ชายแดนภาคใต้ และ สกอ. สนับสนุนค่าครองชีพ เป็นเงินคนละ 40,000 บาทต่อปีการศึกษา จ�ำนวน 125 ทุน การด� ำ เนิ น งานทุ น อุ ด มศึ ก ษาเพื่ อ การพั ฒ นาจั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ ระยะที่ 2 ปีการศึกษา 2556 กลุม่ ที่ 1 ส�ำหรับ นักเรียนทีไ่ ม่สามารถสอบเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาได้ มีสถาบัน อุดมศึกษาร่วมด�ำเนินโครงการ จ�ำนวน 81 แห่ง ให้ความอนุเคราะห์ ที่นั่งการศึกษาพร้อมยกเว้นค่าเล่าเรียนในคณะ/สาขาวิชาต่างๆ โดย รับเข้าศึกษา จ�ำนวน 1,190 คน มีผสู้ มัคร 1,258 คน มีผมู้ สี ทิ ธิส์ อบ สัมภาษณ์ 450 คน และมีผมู้ สี ทิ ธิเ์ ข้าศึกษาและได้รบั ทุนค่าเล่าเรียน ตลอดหลักสูตรจากสถาบันอุดมศึกษา จ�ำนวน 308 คน ส่วนการด�ำเนิน โครงการ กลุม่ ที่ 2 ส�ำหรับนักเรียนทีส่ ามารถสอบเข้าศึกษาในสถาบัน อุดมศึกษาได้ด้วยตนเอง ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา อยู่ระหว่างการประกาศรับสมัครนักศึกษา โดยหมดเขตการรับสมัคร ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2556 ก�ำหนดสอบสัมภาษณ์ในเดือนมกราคม 2557 และประกาศรายชือ่ นักศึกษาทีไ่ ด้รบั ทุนในเดือนกุมภาพันธ์ 2557

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 67


สนับสนุนเยาวชนในพื้นที่ห่างไกล

คณะรั ฐ มนตรี ไ ด้ มี ม ติ เ มื่ อ วั น ที่ 13 สิ ง หาคม 2546 ให้กระทรวงศึกษาธิการด�ำเนินโครงการ ‘ทุนการศึกษาเฉลิมราชกุมารี’ เพือ่ แสดงความจงรักภักดี เนือ่ งในวโรกาสทีส่ มเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 48 พรรษา เมือ่ ปี พ.ศ. 2546 ด้วยการสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่นกั เรียน นักศึกษา และสามเณร ทีอ่ ยูใ่ นพืน้ ทีห่ า่ งไกล และมีอตั ราการเรียนต่อต�ำ่ ได้มโี อกาสศึกษาต่อใน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจนจบระดับปริญญาตรี ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้รบั มอบหมายให้ ด�ำเนินงานโครงการทุนการศึกษาเฉลิมราชกุมารีมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2550 ด้วยการสนับสนุนทุนการศึกษาต่อเนื่องจนส�ำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรี เป็นจ�ำนวนเงินทุนละ 30,000 บาทต่อปีการศึกษา ให้แก่นกั เรียนทุนทีส่ ำ� เร็จการศึกษาชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 6 จากส�ำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน ปีละ 240 คน และระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชัน้ สูงเพิม่ อีกปีละ 144 คน รวมเป็นจ�ำนวน 384 คนต่อปี ปัจจุบนั ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ดำ� เนินโครงการทุนการศึกษา

68 รายงานประจ�ำปี 2556

เฉลิมราชกุมารีมาแล้ว จ�ำนวน 6 รุน่ ซึง่ มีนกั ศึกษาทีก่ ำ� ลังศึกษาอยู่ จ�ำนวนทัง้ สิน้ 867 คน และมีนกั ศึกษาทีส่ ำ� เร็จการศึกษาแล้ว จ�ำนวน 3 รุ่น จ�ำนวนทั้งสิ้น 765 คน ในปีการศึกษา 2556 ส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จดั สัมมนาโครงการแนะแนวอาชีพและ สร้างเครือข่ายนักศึกษาทุนการศึกษาเฉลิมราชกุมารี โดยมีวตั ถุประสงค์ เพือ่ เปิดโอกาสให้มกี ารแลกเปลีย่ นความรูแ้ ละสร้างเครือข่ายนักศึกษาทุ น การศึ ก ษาเฉลิ ม ราชกุ ม ารี ช่ ว ยเสริ ม สร้ า งความรู ้ ใ นการเตรี ย ม ความพร้อมเข้าสูป่ ระชาคมอาเซียน รวมทัง้ การชีน้ ำ� แนวทางการวางแผน ในการประกอบอาชีพให้ประสบความส�ำเร็จในอนาคต การสัมมนาฯ ดังกล่าวได้มีการคัดเลือกประธานเครือข่ายนักศึกษาทุนการศึกษา เฉลิมราชกุมารีในแต่ละภูมิภาค ซึ่งเป็นความส�ำเร็จที่ส�ำคัญของ โครงการที่ ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาคาดหวั ง ว่ า นิสติ นักศึกษาทุกคนจะได้สร้างเครือข่ายร่วมกันเพือ่ จัดกิจกรรมสาธารณะ และบ�ำเพ็ญประโยชน์เพือ่ สังคมและส่วนรวมต่อไปในอนาคต


การพัฒนาอาจารย์

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ดำ� เนินการจัดสรร ทุนโครงการพัฒนาอาจารย์มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นการพัฒนาอาจารย์โดยการให้ทุนเพื่อศึกษาต่อ ระดับปริญญาโท - เอก ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 คงเหลือโครงการ ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ จ�ำนวน 4 โครงการ สามารถจ�ำแนกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ กลุม่ ที่ 1 โครงการทีส่ นิ้ สุดการจัดสรรทุน คงเหลือเฉพาะ การโอนงบประมาณผูกพันให้กบั ผูร้ บั ทุน จ�ำนวน 3 โครงการ ได้แก่ 1. โครงการทุน ผลิต และพัฒนาอาจารย์ (UDC : University Development Commission) เริม่ ตัง้ แต่ พ.ศ. 2510 2549 และผูกพันงบประมาณถึงปี พ.ศ. 2557 เป็นการจัดสรรทุน เพื่อศึกษาระดับปริญญาโท-เอกในประเทศ ในทุกสาขาวิชาที่เป็น ความต้องการของสถาบันอุดมศึกษา โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ด�ำเนินการโอนงบประมาณให้กบั ผูร้ บั ทุนผูกพันทีย่ งั มีสทิ ธิไ์ ด้รบั เงินทุน จ�ำนวน 6 คน 2. โครงการทุนพัฒนาอาจารย์สาขาขาดแคลน 16 สาขา ตามมติคณะรัฐมนตรี เริม่ ด�ำเนินการตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2535 - 2548 และผูกพัน งบประมาณถึงปี พ.ศ. 2558 ซึง่ เป็นการจัดสรรทุนเพือ่ ศึกษาต่อระดับ ปริญญาโท - เอก ในประเทศ และต่างประเทศ ใน 16 สาขาขาดแคลน ได้แก่ แพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เภสัชศาสตร์

วิทยาศาสตร์ สหเวชศาสตร์ คณิตศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ครุศาสตร์ อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ คอมพิวเตอร์ อัญมณีและเครือ่ งประดับ ภาษา และบัญชี โดยมีเป้าหมาย เพื่อการผลิตอาจารย์ใหม่และพัฒนาศักยภาพอาจารย์ที่มีอยู่เดิมใน สถาบันอุดมศึกษาให้พร้อมต่อการแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ เป็นการ พัฒนาอาจารย์ทงั้ ในเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ด�ำเนินการโอนงบประมาณให้กบั ผูร้ บั ทุนผูกพันทีย่ งั มีสทิ ธิไ์ ด้รบั เงินทุน จ�ำนวน 15 คน จ�ำแนกเป็น ผูร้ บั ทุนศึกษาในประเทศ จ�ำนวน 3 คน และผูร้ บั ทุนศึกษาต่างประเทศ จ�ำนวน 12 คน 3. โครงการเครื อ ข่ า ยเชิ ง กลยุ ท ธ์ เ พื่ อ การผลิ ต และ พัฒนาอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา เริ่มด�ำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549-2551 และผูกพันงบประมาณถึงปี พ.ศ. 2559 เป็นการจัดสรร ทุนเพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาเอก เพื่อสร้างและพัฒนาอาจารย์ใน สถาบันอุดมศึกษาให้มีคุณวุฒิปริญญาเอกเพิ่มขึ้น ภายใต้กรอบสาขา 20 เครือข่าย โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ด�ำเนินการโอนงบ ประมาณให้กับผู้รับทุนผูกพันที่ยังมีสิทธิ์ได้รับเงินทุน จ�ำนวน 120 คน โดยเป็นผู้รับทุนผูกพันศึกษาต่างประเทศทั้งหมด กลุ่มที่ 2 โครงการที่ยังมีการด�ำเนินการจัดสรรทุนใหม่ จ�ำนวน 1 โครงการ ได้แก่ โครงการทุนพัฒนาอาจารย์และบุคลากร ส�ำหรับสถาบันอุดมศึกษาในเขตพัฒนาเฉพาะกิจจังหวัดชายแดน ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 69


ภาคใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตและพัฒนาอาจารย์และบุคลากร ส� ำ หรั บ สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาของรั ฐ บาลที่ ตั้ ง อยู ่ ใ เขตพั ฒ นาพิ เ ศษ เฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดยะลา จังหวัด ปัตตานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดสตูล และจังหวัดสงขลา เพือ่ มุง่ หวังให้ เกิดความเข้มแข็งทางวิชาการและความสามารถในการสอน โดยเฉพาะ ในสาขาทีร่ องรับการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย มาเลเซีย - ไทย และมีผลงานวิจัยในการช่วยแก้ปัญหาเพื่อลดความ รุนแรงของสถานการณ์ในภาคใต้ รวมทั้งช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจในเขต พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด�ำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ถึงปัจจุบัน เป็นการสนับสนุนทุนการศึกษาต่อระดับ ปริญญาเอกในประเทศและต่างประเทศ ให้แก่อาจารย์ที่สังกัด มหาวิทยาลัยในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือบุคคลทั่วไป ซึ่งจะต้องกลับมาปฏิบัติงานชดใช้ทุนในต�ำแหน่ง อาจารย์ ณ มหาวิทยาลัยในเขตพัฒนาเฉพาะกิจจังหวัดชายแดน ภาคใต้ ซึ่งมีผู้รับทุนทั้งสิ้น จ�ำนวน 249 ราย ในปี พ.ศ. 2556 ได้ดำ� เนินการคัดเลือกผูร้ บั ทุน ประจ�ำปี พ.ศ. 2556 ประกอบด้วย ทุนศึกษาต่อระดับปริญญาเอกในประเทศ จ�ำนวน 27 ทุน ทุนศึกษาต่อระดับปริญญาเอกร่วมใน - ต่างประเทศ จ�ำนวน 23 ทุน และทุนศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ณ ต่างประเทศ จ�ำนวน 8 ทุน (อยูร่ ะหว่างการพิจารณาคัดเลือก จ�ำนวน 2 ทุน) ทัง้ นี้ ได้ จัดโครงการเตรียมความพร้อมและสร้างความสัมพันธ์อนั ดีระหว่างผูร้ บั 70 รายงานประจ�ำปี 2556

ทุนและเจ้าหน้าที่ภายใต้โครงการพัฒนาอาจารย์และบุคลากรส�ำหรับ สถาบันอุดมศึกษาในเขตพัฒนาเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจ�ำปี พ.ศ. 2556 ระหว่างวันที่ 26 - 28 พฤษภาคม 2556 ณ หาดแก้วรีสอร์ท จังหวัดสงขลา เพื่อให้ผู้รับทุนเข้าใจเกี่ยวกับการ ด�ำเนินการจัดสรรทุน เงือ่ นไขในการรับทุน การจัดท�ำสัญญารับทุน ตลอดจนผู้รับทุนได้สร้างความสัมพันธ์อันดีกับเจ้าหน้าที่โครงการเพื่อ การติดต่อประสานงานเป็นไปด้วยความสัมพันธ์อนั ดี และมีเจตคติทดี่ ี ในการกลับมาพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากนี้ ยังได้จัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจั ด ท� ำ แผนพั ฒ นาบุ ค ลากรของสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาในเขต พัฒนาเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2557 - 2561 เมื่อวันที่ 15 - 16 สิงหาคม 2556 ณ โรงแรมรามาดา เดมา กรุงเทพมหานคร เพื่อประเมินผลการด�ำเนินงานโครงการที่ผ่านมา ปรับปรุงหลักเกณฑ์การด�ำเนินการโครงการ และจัดท�ำแผนพัฒนา บุคลากรส�ำหรับสถาบันอุดมศึกษาในเขตพัฒนาเฉพาะกิจจังหวัดชายแดน ภาคใต้ พ.ศ. 2557 - 2561 ตลอดจนได้ ส นั บ สนุ น การจั ด ประชุ ม วิชาการระดับนานาชาติ ครัง้ ที่ 2 เรือ่ ง รวมพลังสร้างสรรค์ผลงานวิจยั เพื่อพัฒนาท้องถิ่นและประเทศไทย เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2556 ณ อาคารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมี มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ ยะลาเป็ น เจ้ า ภาพหลั ก ร่วมกับมหาวิทยาลัย นราธิวาสราชนครินทร์ และมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา


การพัฒนาอาจารย์ใหม่

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษามีนโยบายในการพัฒนาอาจารย์ระดับอุดมศึกษา โดยการสนับสนุนทุนการศึกษาระดับ ปริญญาเอกทั้งในและต่างประเทศ เพื่อผลิตอาจารย์ระดับปริญญาเอกเข้าสู่ระบบอุดมศึกษา เป็นการยกระดับคุณภาพอุดมศึกษาไทยให้ สอดคล้องและก้าวทันการจัดการอุดมศึกษาของนานาอารยประเทศ โดยผูร้ บั ทุนจะเข้าปฏิบตั งิ านชดใช้ทนุ ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐภายหลังส�ำเร็จ การศึกษา ซึง่ มีผรู้ บั ทุนตามโครงการเครือข่ายเชิงกลยุทธ์เพือ่ การผลิตและพัฒนาอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ส�ำเร็จการศึกษาแล้วกว่า 400 ราย และ โครงการทุนพัฒนาอาจารย์และบุคลากรส�ำหรับสถาบันอุดมศึกษาในเขตพัฒนาเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส�ำเร็จการศึกษาแล้วกว่า 10 ราย ดังนั้น ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมกับสมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่ง ประเทศไทย (ควอท) จัดอบรมหลักสูตร ‘ก้าวแรกสู่อาจารย์มืออาชีพ’ ขึน้ เพือ่ เตรียมความพร้อมให้บคุ ลากรทีจ่ ะท�ำหน้าทีเ่ ป็นผูส้ อนในสถาบัน อุดมศึกษาตระหนักถึงบทบาทและหน้าที่ของความเป็นอาจารย์มืออาชีพ ให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการเพิม่ พูน ทักษะการสอนด้วยเทคนิควิธกี ารต่างๆ เพือ่ ถ่ายทอดความรู้ การเป็นผูช้ แี้ นะเพือ่ สร้างองค์ความรูใ้ หม่ให้สอดคล้องกับการเปลีย่ นแปลงของโลก การมี ส่วนร่วมในการบริหารจัดการ มีการประเมินผลการสอนอย่างเป็นระบบ ตลอดจนดูแลคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และทีส่ ำ� คัญ คือ การปลูกฝัง ความรักและศรัทธาในวิชาชีพอาจารย์ เป็นอาจารย์ใหม่มอื อาชีพทีส่ มบูรณ์ ในปีงบประมาณ 2556 ได้ด�ำเนินการจัดการอบรมในหลักสูตรดังกล่าว จ�ำนวน 2 รุ่น คือ รุ่นที่ 8 ระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคม 1 มิถุนายน 2556 มีผู้เข้ารับการอบรม จ�ำนวน 47 คน และรุ่นที่ 9 ระหว่างวันที่ 5 - 9 สิงหาคม 2556 มีผู้เข้ารับการอบรมจ�ำนวน 48 คน รวมผู้เข้ารับการอบรมทั้งสิ้น 95 คน

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 71


การพัฒนาศักยภาพในการท�ำงานวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ด�ำเนินการโครงการทุนพัฒนาศักยภาพในการท�ำงานวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ ตามแผน ระยะยาว 10 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 - 2556) ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2546 ร่วมกับส�ำนักงานกองทุนสนับสนุน การวิจัย (สกว.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนศักยภาพในการท�ำงานวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ กลุ่มที่มีศักยภาพและ ความพร้อมที่จะได้รับการพัฒนาในการก้าวไปสู่การท�ำงานวิจัยในระดับที่สูงขึ้น อีกทั้งยังส่งผลถึงการสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบการ วิจัยของประเทศ ซึ่งโครงการดังกล่าวจะสิ้นสุดการด�ำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี ในปีงบประมาณ 2556 นี้ ระหว่างปีงบประมาณ 2545 - 2556 ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ให้การสนับสนุนทุนโครงการพัฒนาศักยภาพใน การท�ำงานวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ร่วมกับส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นจ�ำนวนรวม 3,000 ทุน เป็นจ�ำนวนงบประมาณ โครงการรวม 1,348,278,741 บาท ส�ำหรับภาพรวมผลงานวิจัยของผู้ได้รับทุน ในปีงบประมาณ 2545 - 2556 (ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2556) ประกอบด้วย ผลงานตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ จ�ำนวน 2,621 เรื่อง ผลงานวิจัยที่ได้รับการจดสิทธิบัตร จ�ำนวน 30 ผลงาน และผลงานวิจัยเฉพาะโครงการสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่เป็น Proceeding จ�ำนวน 66 เรื่อง และวารสารระดับชาติ จ�ำนวน 55 เรื่อง

72 รายงานประจ�ำปี 2556


การเสนอขอก�ำหนดต�ำแหน่งทางวิชาการ

คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาก�ำหนดต�ำแหน่งทาง วิชาการ เพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์ผลิตผลงานตามพันธกิจ วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษา รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้คณาจารย์ มุ่งเน้นผลงานที่ช่วยแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาชุมชน/สังคม โดยออกประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ด�ำรง ต�ำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2555 ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2555 ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2555 ฉบับที่ 9 พ.ศ. 2556 และฉบับที่ 10 พ.ศ. 2556

จำ�นวนผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ที่ได้รับแต่งตั้ง ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2555 - 30 กันยายน 2556 สถาบัน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

รองศาสตราจารย์

ศาสตราจารย์

ศาสตราจารย์ 11

ม.รัฐ (เดิม) มรภ.

154 52

142 26

58 -

8 -

มทร. รวม

46 252

2 170

1 59

8

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 73


การพัฒนาบุคลากรอุดมศึกษา

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้กำ� หนดนโยบาย ในการพัฒนาบุคลากรอุดมศึกษา โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ เสริมสร้างความ รู้ วิสยั ทัศน์ และทักษะการบริหารทีจ่ ำ� เป็นส�ำหรับการบริหารงานในระดับ สูง และการบริหารงานเฉพาะด้านแก่ผบู้ ริหารสถาบันอุดมศึกษา เพือ่ ให้มี ความพร้อมทีจ่ ะปฏิบตั หิ น้าทีผ่ บู้ ริหารระดับสูงและพัฒนาเครือข่ายการ ประสานความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาทัง้ ในและต่างประเทศ ตลอดจนน�ำมหาวิทยาลัยสู่ความเป็นผู้น�ำด้านการอุดมศึกษาในระดับ ภูมิภาค ซึ่งนอกเหนือจากอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาแล้ว ผูบ้ ริหาร และบุคลากรสายสนับสนุนที่ด�ำรงต�ำแหน่งวิชาชีพเฉพาะ เชี่ยวชาญ เฉพาะ ยังเป็นบุคลากรที่ควรให้ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่าง จริงจังและต่อเนือ่ ง เนือ่ งจากบุคลากรดังกล่าวเป็นกลไกส�ำคัญในการ ปฏิบตั ิงานเพื่อตอบสนองภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษาได้อย่างมี ประสิทธิภาพและน�ำไปสู่ความเป็นผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง รวมทั้ง จัดเตรียมบุคลากรให้มศี กั ยภาพความพร้อมเพือ่ รองรับการเข้าสูก่ ารเป็น ประชาคมอาเซียนและการแข่งขันได้ในเวทีโลก ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาจึงได้ด�ำเนินการจัดอบรมหลักสูตรการพัฒนาผู้บริหาร สถาบันอุดมศึกษา จ�ำนวน 3 หลักสูตร คือ หลักสูตรการพัฒนาผูบ้ ริหาร ระดับสูงมหาวิทยาลัย (นบม.) หลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารสาย สนับสนุนและช่วยวิชาการ (นบก.) และหลักสูตรการพัฒนาผูบ้ ริหาร สถาบันอุดมศึกษา (นบอ.) ตามโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็ง ด้านการบริหารของมหาวิทยาลัย รวมทั้งจัดสัมมนาทางวิชาการเพื่อ การส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายผูบ้ ริหาร ส�ำหรับในปี 2556 ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ดำ� เนินการเกีย่ วกับการพัฒนาบุคลากร ดังนี้ 1. จัดการอบรมหลักสูตร ‘การพัฒนาผู้บริหารระดับ

74 รายงานประจ�ำปี 2556

สูงมหาวิทยาลัย (นบม.)’ โดยจัดการอบรมให้กับผู้บริหารระดับสูง สายวิชาการ รุน่ ที่ 24 ระหว่างวันที่ 20 มีนาคม - 16 พฤษภาคม 2556 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างวิสัยทัศน์ความรู้ ทักษะการ บริหาร/จัดการสถาบันอุดมศึกษา ของผู้บริหารระดับสูง สายวิชาการ มหาวิทยาลัย เพื่อเตรียมบุคลากรให้มีศักยภาพความพร้อมที่จะเป็น ผู้บริหารในอนาคต และเพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างผูเ้ ข้ารับ การฝึกอบรมอันจะน�ำไปสูก่ ารพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกันระหว่าง สถาบันต่อไปในอนาคต มีผเู้ ข้ารับการอบรม จ�ำนวน 53 คน จากสถาบัน อุดมศึกษาทัว่ ประเทศ ทัง้ ภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วย มหาวิทยาลัย ของรัฐ (เดิม) 9 คน มหาวิทยาลัยในก�ำกับ 7 คน มหาวิทยาลัยเอกชน 4 คน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 7 คน มหาวิทยาลัยราชภัฏ 19 คน สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน 1 คน สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ 1 คน วิทยาลัย ชุมชน 2 คน และส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 3 คน 2. การจัดการอบรม ‘หลักสูตรการบริหารงานอุดมศึกษา ระดับสูง’ จัดการอบรมให้กับผู้ด�ำรงต�ำแหน่งประเภทบริหาร (สาย สนับสนุน) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผู้บริหารระดับสูงสายสนับสนุน ให้มีความสามารถในการติดตามและวิเคราะห์บริบทของการบริหาร อุดมศึกษา ความท้าทายทีม่ ตี อ่ สถาบันอุดมศึกษา และกระบวนงานที่ รับผิดชอบ ให้มคี วามสามารถในการพัฒนาข้อเสนอนโยบายยุทธศาสตร์ และแนวทางในการบริหารสถาบันอุดมศึกษา การบริหารงานสนับสนุนใน สถาบันอุดมศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล และเพือ่ เสริมสร้างสัมพันธภาพ ระหว่างผูเ้ ข้ารับการฝึกอบรม อันจะน�ำไปสูก่ ารพัฒนาเครือข่ายความ ร่วมมือกันระหว่างสถาบันต่อไปในอนาคต ด�ำเนินการโดยหน่วยจัดการ อบรมที่ได้รับการรับรองจากส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จ�ำนวน 4 รุน่ มีผผู้ า่ นการอบรม จ�ำนวน 97 คน


ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 75


เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา

เครือข่ายเพือ่ การพัฒนาอุดมศึกษา สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ดาเนินการจัดตั้งเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา จานวน 9 เครือข่าย คื อ เครื อ ข่ า ยอุ ด มศึ ก ษาภาคเหนื อ ตอนบน เครื อ ข่ า ยอุ ด มศึ ก ษาภาคเหนื อ ตอนล่ า ง เครื อ ข่ า ยอุ ด มศึ ก ษาภาค ตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนบน กงานคณะกรรมการการอุ ดาเนินการจันดออก ตั้งเครืเครือข่อาข่ยเพื ฒนาอุดมศึ กษา จและเครื านวน 9อข่เครื เครือข่ายอุดมศึสานั กษาภาคกลางตอนล่ าง เครือดข่มศึ ายอุกษา ดมศึได้กษาภาคตะวั ายอุ่อดการพั มศึกษาภาคใต้ ตอนบน ายอข่าย ส�ำอนักข่งานคณะกรรมการการอุ มศึกออษา ได้ดำ� เนิเครื นการจั เครืดอมศึ ข่าายเพื อ่ านั การพั ฒนาอุดอมศึ กษา าจ�งำนวน ามศึ ย กและ คือษาภาค เครือข่าย เครื า ยอุ ด มศึา งก ษาภาคเหนื ข่ดาตัง้ยอุ กงสษาภาคเหนื ตอนล่ เครื อ9ข่ดาเครื ยอุอกดข่ษา อุ ด มศึคืกอษาภาคใต้ ต อนล่ เพื่ อ เป็ นดเครื ข่ตอนบน า ยกลางเชื ่ ออมโยงระหว่ ก งานคณะกรรมการการอุ มศึ อุดมศึตะวั เครื อข่าเครื ยอุดอมศึ กยอุ ษาภาคเหนื อตอนล่​่อานย้ ง นาเครื อข่ายอุ ดมโยงเครื มศึกอษาภาคตะวั งเหนื อข่ตอนบน เครือข่นาทียอุ่มีดมศึกษา ออกเฉี อตอนบน ข่งาเสริ มศึมกีกษาภาคตะวั ออกเฉี ย่องเหนื ตอนล่ อข่าอยยอุ ดอมศึ ษาภาคกลางตอนบน สถาบั นกอุษาภาคเหนื ดนมศึ กษาทัยองเหนื ่วตอนบน ประเทศ ตลอดจนส่ มดให้ ารเคลื ยและเชื อข่าางยย่นเครื อออกเฉี ยหรื เครื ากยเชิ งประเด็ งเหนื เครือเข่ครื ายอุ กษาภาคกลางตอนบน ดมศึเครื กษาภาคกลางตอนล่ าง เครือข่ตายอุ ดมศึกและเครื ษาภาคตะวั มศึ กใษาภาคกลางตอนล่ เครื ข่ากยอุษาภู ดมศึมิภกาคที ษาภาคตะวั อข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ อนบน อข่นายออก อยูภาคตะวั ่เดิมเครื หรือนอข่ออกเฉี ตัา้งยอุ ขึ้นดยใหม่ ห้อมตอนล่ าอยูา่ภงายใต้ อาข่ดงามศึยอุ ดอมศึ ่จเครื ัดตัอ้งข่านยอุออก เครืออุข่ดาเครื ยอุ ษาภาคใต้ อนบน อษาถื ข่นายอุ ตอนล่ าง เพื่อเป็นดเครื ายกลางเชื างส�เพืำ่อนัทกงานคณะกรรมการการ มศึดอกมศึข่ษาภาคใต้ ตตอนล่ า งและเครื เครื อนข่กโครงสร้ าษาภาคใต้ ยกลางเชื ่ อ่งมโยงระหว่ ามศึ งสอกข่านัษา ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึาทีก่เษา ากยเพื ่อการพั ฒนาอุ ดเพืมศึ่ อกเป็ อดเป็มศึ างหนึ ในระบบอุ โดยมี่อวมโยงระหว่ ัตถุประสงค์ าหน้ ป็น และ อุดมศึสถาบั กษา กษาทัว่ ประเทศ ให้นมการตามภารกิ กี ารเคลื นย้ายและเชื มโยงเครื ายย่กออษาของประเทศ ยหรือเครื นและสถาบั อุดมศึกกษาทั ประเทศ ตลอดจนส่ งเสริมให้งเสริ มาเนิ ีกมารเคลื ่อนย้าอ่ ยและเชื อข่อดข่ามศึ ยย่ ยหรื เครืออข่ข่าายเชิ ยเชิงทีประเด็ ง่มประเด็ กลไกหลั กในการผลั ดันนอุดเชิ่วมศึ งนโยบาย การเชื่อตลอดจนส่ มโยงการด จหลั่อมโยงเครื กอ่ของการอุ ุ่งเน้นนทีนม่ อที​ี ยู่มเ่ ีดิม หรืออยู ตัง้ทขึ่เรัดิน้ พมใหม่ ายใต้คให้วามรู เครื อข่้รา่วยอุ ดมศึ กเครื ษาภูอข่มาางสถาบั ภิ ยอุ าคทีดจ่ มศึ ดั นตักอุง้ ษาภู หรืใอห้ตัม้งาอยู ขึ้นภ่ ใหม่ มาอยู ่ภมกั ายใต้ าคทีผู่จ้ปัดระกอบการ ตั้ง การใช้ ยากรและองค์ นระหว่ ดมศึมกิภษา และชุมชนท้องถิ่น อีกทั้ง สานักงาน เครื อ ข่ า ยเพื อ ่ การพั ฒ นาอุ ด มศึ ก ษาถื อ เป็ น โครงสร้ า งหนึ ง ่ ในระบบอุ ด มศึ ก ษา โดยมี วัตถุโดยมี ประสงค์ ท�ำหน้าเทีดพื่เมศึ ป็่อนทกกลไกหลั เครื อ ข่ า ยเพื ่ อ การพั ฒ นาอุ ด มศึ ก ษาถื อ เป็ น โครงสร้ า งหนึ ่ ง ในระบบอุ ด มศึ ษา วัตเถุพืป่อระสงค์ าหน้ น คณะกรรมการการอุดมศึกษาจะถ่ายโอนหรือมอบภารกิจโครงการและกิจกรรมที่สานักกงานคณะกรรมการการอุ ษาให้าทีก่เป็ในการ ผลักกลไกหลั ดันเชิงนโยบาย การเชืกอ่ ดัมโยงการด� การตามภารกิ หลักของการอุ ดมศึกษาของประเทศ ทีม่ งุ่ เน้นการใช้ รัพยากรและองค์คทีวามรู ร้ ว่ นมกัน ในการผลั น่เชิ งนโยบาย การเชื นการตามภารกิ จหลั กของการอุ กทษาของประเทศ การสนั บสนุนกงบประมาณอยู ในปั จจุำบเนิันนไปให้ เครื่ออมโยงการด ข่าจยอุ ดมศึาเนิ กษาภู มิภาค และหรื อเครื อข่ายเชิดงมศึ ประเด็ นดาเนินการเพื่ม่อุ่งเน้ ำนักกงานคณะกรรมการการอุ ดมศึกมษาจะถ่ ระหว่การใช้ มศึกษา ผูป้ ระกอบการ งถิ น่ อีกทันง้ อุดส�มศึ ทรันพอุดยากรและองค์ ความรู้รฒและชุ ่วนาอุ มกันมดชนท้ ระหว่ างสถาบั ษา ผู้ประกอบการ และชุ ชนท้าอยโอนหรื งถิ่น อีอกมอบภารกิ ทั้ง สานัจกโครงการ งาน ประสิ ทาธิงสถาบั ภาพและประสิ ทธิผลของการพั มศึกอษา และกิคณะกรรมการการอุ จกรรมทีส่ ำ� นักงานคณะกรรมการการอุ ดมศึกษาให้ การสนับจสนุโครงการและกิ นงบประมาณอยู ่ในปัจจุ่สบานั ันไปให้ เครือข่ายอุดมศึกษาภูมิภดาค และหรือ ดมศึกษาจะถ่ายโอนหรื มอบภารกิ จกรรมที กงานคณะกรรมการการอุ กษาให้ ในปี 2556 สานักงานคณะกรรมการการอุ ดอมศึ กษาได้ดาเนินการถ่ายทอดนโยบายและทรั พยากรในการสนับสนุนมศึ การ เครือข่ายเชิงบประเด็ นด�ำเนินการเพื่อ่ประสิ ทธิผาลของการพั ฒนาอุดิภมศึ อเครือข่ายเชิงประเด็น ดาเนิ น การเพื่อ สนุนงบประมาณอยู ในปั่อการพั จทจุธิภบาพและประสิ ันฒไปให้ ยอุดามศึ าคกษา และหรื ดาเนินการสนั งานในบทบาทของเครื อข่ายเพื นาอุเดครื มศึอกข่ษาอย่ งต่กอษาภู เนื่องมและพั ฒนากลไกความร่ วมมือไปสู่การจัดทากล ประสิทในปี 2556 ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุ ดมศึดมศึ กษาได้ ดำ� เนินการถ่ายทอดนโยบายและทรัพยากรในการสนับสนุนการด�ำเนินงานในบทบาท ธิ ภ าพและประสิ ท ธิ ผ ลของการพั ฒ นาอุ ก ษา ยุทธ์ แผนการดาเนินงานเชิงพื้นที่แบบ Bottom up ที่สอดคล้องตามศักยภาพของแต่ละเครือข่ายและบริบทของสังคม ของเครือข่ายเพื่อ2556 การพัฒนาอุ ดงานคณะกรรมการการอุ มศึกษาอย่างต่อเนื่อง และพั ฒนากลไกความร่ วมมืาอยทอดนโยบายและทรั ไปสู่การจัดท�ำกลยุทธ์ แผนการด� ำเนินงานเชิ งพื้นที่แบบ านันกให้ พยากรในการสนั ชุมชน และส่ในปี งเสริมสนับสสนุ เครือข่ายอุดมศึกษาภูดมมศึ ิภาคกษาได้ 9 เครืดาเนิ อข่านยการถ่ มีส่วนร่วมดาเนินการตามนโยบายส าคัญที่สบ่งสนุ ผลนการ Bottom up ที่สอดคล้องตามศักยภาพของแต่ ละเครืฒอนาอุ ข่ายและบริ บทของสั งคมชุ และส่ฒงเสริ มสนับสนุนให้เครืมมื อข่อายอุ ดมศึ กษาภู ิ าค 9 ดาเนิอนการพั งานในบทบาทของเครื อข่ายเพื่อการพั ดมศึกษาอย่ างต่ อเนืกมษา ่อชน ง และพั นากลไกความร่ ่การจั ดทมภากล กระทบต่ ฒนาประสิท ธิ ภ าพและประสิ ทธิ ผลของระบบการอุ ดมศึ โดยในปั จ จุ บัน เครื อข่ าวยเพื ่ อไปสู การพั ฒนา เครือข่ายธ์ แผนการด มีสว่ นร่วมด�ำาเนิ เนินการตามนโยบายส� ำคัญทีBottom ส่ ง่ ผลกระทบต่ อการพั ฒนาประสิ ทธิภาพและประสิทธิผลของระบบการอุ ดมศึกษา โดยในปังคม จจุบนั งานเชิวงมมื พื้นอในการใช้ ที่แบบ ที่สอดคล้ องตามศั ะเครืออข่ข่าายและบริ อุดมศึยุกทษา 9 เครือข่าย มีนความร่ องค์ความรูup้ และทรั พยากรร่ วมกันกยภาพของแต่ ในการดาเนินลการเครื ยย่อย ดับงนีทของสั ้ เครือชุข่มายเพื อ่ การพัฒงนาอุ มศึ มมืกอษาภู ในการใช้ องค์ค9วามรู ในการด� ำเนินการเครือข่ายย่าคั อยญดัทีงนี่ส้ ่งผล เสริหมดารการวิ สนักบษาสนุจ9นัยเครื ให้อเข่ครืายอมีข่คาวามร่ ยอุดวมศึ มิภาค เครื้อและทรั ข่าย พมียากรร่ ส่วนร่ววมกั มดนาเนิ นการตามนโยบายส 1.ชนเครืและส่ อข่ายบริ กระทบต่ 1. เครือข่ายบริ หารการวิทจัยธิ ภ าพและประสิ ทธิ ผ ลของระบบการอุ ด มศึก ษา โดยในปั จ จุ บัน เครื อข่ า ยเพื่ อ การพั ฒ นา นาประสิ 2. เครืออข่การพั ายหน่ฒวยบ่ มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา อุดมศึก2.ษาเครื9อเครื ข่ายหน่ ว ยบ่ เพาะวิ ในสถาบันออุงค์ ดมศึ กษา ้ และทรัพยากรร่วมกัน ในการดาเนินการเครือข่ายย่อย ดังนี้ อข่งาเสริ ย มีมมคการพั วามร่ฒสวาหกิ มมื อจในการใช้ ความรู 3. เครือข่ายการส่ นาสหกิ จศึกษาในสถาบั นอุดมศึกษา 3.1.เครื อข่อาข่ยการส่ งเสริ มการพัจัยฒนาสหกิจศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา เครื า ยบริ ห ารการวิ 4. เครื อข่าอยการประกั นคุนณคุภาพการศึ กกษาภายในระดั บบอุอุดดมศึ มศึกกษา ษา 4.2.เครื ข่ า ยการประกั ณ ภาพการศึ ษาภายในระดั อข่ายหน่ วยบ่ณมฑิเพาะวิ สาหกิไทย จในสถาบันอุดมศึกษา 5. เครื อข่เครื ายการพั ฒนาบั ตอุดมคติ 5. เครือข่ายการพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย 3. ข่เครื อข่ามศึ ยการส่ งเสริ มการพัฒนาสหกิจศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา 6. เครื าอยอุ ่อการปฏิ 6. อเครื ข่าดยอุ ดกมศึษาเพื กษาเพื ่อการปฏิรูปรูป 4. ข่เครื อข่ายการประกั 7. เครื าอยการศึ กษาทั ่วไป่วนไปคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา 7. อเครื ข่ายการศึ กษาทั 5. ข่เครื อข่ามศึ ยการพั ฒ่อนาบั ณฑิตอุดมคติไทย 8. เครื าอยอุ สนองโครงการในพระราชด มเด็จจพระเทพรั พระเทพรัตนราชสุ ตนราชสุ 8. อเครื ข่าดยอุ ดกมศึษาเพื กษาเพื ่อสนองโครงการในพระราชด�ำาริริสสมเด็ ดาดา 6. เครือข่ายอุดมศึกษาเพื่อการปฏิรูป 7. เครือข่ายการศึกษาทั่วไป 8. เครือข่ายอุดมศึกษาเพื่อสนองโครงการในพระราชดาริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา 76 รายงานประจ�ำปี 2556


การส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยให้กับสถาบันอุดมศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษามีนโยบายส่งเสริม และสนับสนุนการวิจัยให้กับสถาบันอุดมศึกษา มีจุดมุ่งหมายที่จะ เสริมสร้างศักยภาพของสถาบันอุดมศึกษาให้พฒ ั นาสูก่ ารมีคณ ุ ภาพและ มาตรฐานระดับนานาชาติ มีการบริหารจัดการทรัพยากรทีด่ เี พือ่ ความ เป็นเลิศทางวิชาการทั้งในระดับประเทศและระดับโลก โดยให้การ สนับสนุนงบประมาณกับสถาบันอุดมศึกษาผ่านเครือข่ายบริหารการ วิจยั 9 แห่ง ทัว่ ประเทศ เพือ่ ด�ำเนินโครงการวิจยั ทีส่ ำ� คัญ 2 โครงการ ได้แก่ 1. โครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู ่ ชุมชนฐานราก มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษามี ส่วนร่วมในการเสริมสร้างความเข็มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากและเชือ่ มโยง กับเครือข่ายชุมชนท้องถิ่น โดยน�ำองค์ความรู้จากผลงานวิจัยและ พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาถ่ายทอดทักษะความรู้ และเทคโนโลยีที่ เหมาะสมแก่ชุมชนท้องถิ่น สามารถยกระดับขีดความสามารถด้าน การผลิตและการจัดการของเศรษฐกิจชุมชน รวมถึงการสร้างมูลค่า

เพิม่ ของผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนือ่ ง เพิม่ โอกาสในการสร้างอาชีพ รายได้ และการพึ่งพาตนเอง ส่งผลต่อการสร้างความเข้มแข็งทางสังคม อย่างยัง่ ยืน 2. โครงการวิจยั และพัฒนาภาครัฐร่วมเอกชนในเชิงพาณิชย์ เป็ น ความร่วมมือระหว่างส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สถาบันอุดมศึกษาและภาคอุตสาหกรรม เน้นความต้องการของภาค อุตสาหกรรมเป็นหลัก เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้น�ำองค์ความรู้ จากสถาบันอุดมศึกษามาวิจยั และพัฒนาร่วมกับกลุม่ อุตสาหกรรมซึง่ เป็น แหล่งเงินทุนและวัตถุดิบที่มีศักยภาพสูง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ เกิดความสามารถในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ กระบวนการผลิตใหม่ หรือระบบการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกระบวนการผลิต เป็นต้น นอกจากนั้นโครงการวิจัยยังแสดงถึงความร่วมมือระหว่าง อุดมศึกษาและภาคการผลิตอย่างเป็นรูปธรรม เพือ่ การส่งเสริมการน�ำ ทรัพย์สนิ ทางปัญญาไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้จริง

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 77


หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เริม่ ด�ำเนินโครงการ จัดตั้งหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (University Business Incubator: UBI) ช่วงปลายปี 2547 โดยมีวตั ถุประสงค์ ให้หน่วย UBI ท�ำหน้าที่บ่มเพาะธุรกิจให้เกิดผู้ประกอบการใหม่ (Entrepreneurs) พัฒนาสูบ่ ริษทั จัดตัง้ ใหม่ (Start up Companies) และเสริมสร้างศักยภาพให้เข้มแข็งทัง้ ด้าน Business Plan & Technology Development of Product จากสภาพแวดล้อมทางวิชาการใน สถาบันอุดมศึกษา ยกระดับเป็นบริษัทเต็มรูปในอนาคต (Spin off Companies) รวมทัง้ เป็นช่องทางน�ำผลงานวิจยั สิง่ ประดิษฐ์ และนวัตกรรม ทีส่ ร้างสรรค์โดยคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาพัฒนาสูก่ ระบวนการใช้ งานเชิงพาณิชย์ สร้างวงจรรายได้ ผลประโยชน์กลับสูส่ ถาบันอุดมศึกษา เพือ่ สร้างผลสัมฤทธิ์ (Result base) สูเ่ ป้าหมายการพัฒนาขีดความสามารถ เชิงการแข่งขันของประเทศโดยใช้ความรูเ้ ป็นฐาน ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาก�ำหนดให้ภารกิจ ของโครงการ UBI บูรณาการเชือ่ มโยงกับเครือข่ายอุดมศึกษาเชิงพืน้ ที่ 9 ภูมภิ าค และปัจจุบนั มีหน่วย UBI จ�ำนวน 56 แห่ง ทัว่ ประเทศ และ ปลายปี พ.ศ. 2555 ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้สนับสนุน การจัดตัง้ หน่วย UBI เพิม่ เติมจ�ำนวน 7 แห่ง 78 รายงานประจ�ำปี 2556

ในปี พ.ศ. 2555- 2556 หน่วย UBI ได้ด�ำเนินงาน หลายกิจกรรม ดังนี้ 1. บ่มเพาะผูป้ ระกอบการในระดับ Start up Companies จ�ำนวน 190 ธุ ร กิ จ และบ่ ม เพาะผู ้ ป ระกอบการในระดั บ Spin off Companies จ�ำนวน 105 บริษทั 2. สนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษาทีบ่ รู ณาการ การเรียนรูก้ บั การท�ำงาน (Work-Integrated Learning) เพือ่ เป็นแนวทาง การพั ฒ นานิ สิ ต นั ก ศึ ก ษาให้ มีคุ ณ ลั ก ษณะที่ พึ ง ประสงค์ ได้เรียนรู้ ประสบการณ์ท�ำงานในสถานที่จริง ตลอดจนมีทักษะในการประกอบ อาชีพตรงตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต โดยจัดนักศึกษาสหกิจ ศึกษาเข้าปฏิบตั งิ านในสถานประกอบการทีเ่ ข้ารับการบ่มเพาะจากหน่วย UBI จ�ำนวนไม่นอ้ ยกว่า 150 คน 3. สนับสนุนให้หน่วย UBI ด�ำเนินโครงการพัฒนาและสร้าง ผู้ประกอบการโดยใช้ความรู้ในสถาบันอุดมศึกษาเป็นฐาน หลักสูตร การอบรมทักษะการประกอบอาชีพระยะสั้นเบื้องต้นเชิงสร้างสรรค์ มีผู้เข้าอบรมทัง้ สิน้ จ�ำนวนไม่นอ้ ยกว่า 1,500 คน


การปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาแห่งชาติ

โครงการปฏิรปู หลักสูตรการศึกษาแห่งชาติ เริม่ ด�ำเนินงาน ในปี ง บประมาณ 2554 ในชื่อโครงการพัฒ นาการศึ ก ษาเพื่ อ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงบูรณาการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และพั ฒ นายุ ท ธศาสตร์ ก ารยกระดั บ ศั ก ยภาพทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ที่ เหมาะสมตามศักยภาพเชิงพื้นที่ในระดับจังหวัด โดยการพัฒนา หลั ก สู ต รการเรี ย นการสอนส� ำ หรั บ ผู ้ เ รี ย นระดั บ มั ธ ยมศึ ก ษาที่ เชื่อมโยงการศึกษาระดับขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษาที่เหมาะสมกับ กลุ่มอาชีพหลัก เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ตอบสนองต่อ ยุ ท ธศาสตร์ ก ารพั ฒ นาสร้ า งสั ง คมเศรษฐกิ จ และสร้ า งสั ง คมการ เรี ย นรู ้ อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ งโดยใช้ พื้ น ที่ ส ถานศึ ก ษาทุ ก ระดั บ เป็ น แหล่ ง เรียนรู้ตลอดชีวิต ในปีงบประมาณ 2555 ถึง 2556 ได้ปรับเปลี่ยนชื่อเป็น โครงการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาแห่งชาติ และขยายขอบเขต การด�ำเนินงานให้พัฒนาหลักสูตรถึงระดับปริญญาตรี โดยมุ่งเน้น ผลิตบัณฑิตให้เป็นผูป้ ระกอบการ โดยเข้าโครงการหน่วยบ่มเพาะ วิสาหกิจ ตามนโยบายกองทุนตัง้ ตัวได้ของรัฐบาล การด�ำเนินงาน

ที่ผ่านมา มีสถาบันอุดมศึกษาเข้าร่วมโครงการปฏิรูปหลักสูตรการ ศึกษาแห่งชาติ ดังนี้ ปีงบประมาณ 2555 • มหาวิทยาลัยพะเยา พัฒนาหลักสูตรเทคโนโลยี สารสนเทศ • มหาวิทยาลัยศิลปากร พัฒนาหลักสูตรเทคโนโลยีอาหาร • มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสติ พัฒนาหลักสูตรอาหารและธุรกิจบริการ • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ปีงบประมาณ 2556 • มหาวิทยาลัยแม่ฟา้ หลวง พัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์สขุ ภาพทางการแพทย์แผนไทย • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พัฒนาหลักสูตรเทคโนโลยีการเกษตร ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 79


การส่งเสริมการพัฒนาสหกิจศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา สหกิจศึกษา เป็นรูปแบบการศึกษาทีเ่ น้นประสบการณ์จริง ให้แก่นักศึกษาด้วยการปฏิบัติงานด้านวิชาชีพ ณ สถานประกอบการ เป็ น ระยะเวลาไม่ น ้ อยกว่ า 16 สัป ดาห์ ซึ่งท�ำให้นักศึ ก ษาเพิ่ ม ประสบการณ์วิชาชีพ ความสามารถ ศักยภาพให้ตรงตามความ ต้องการของตลาดแรงงาน ดังนั้น สหกิจศึกษาจึงเป็นแนวทางที่ ส่งเสริมการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการศึกษา ของประเทศ และช่วยยกระดับคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาให้ เป็นที่ยอมรับในตลาดแรงงานในประเทศ และต่างประเทศ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษามีนโยบายส่งเสริม สนับสนุนการด�ำเนินโครงการสหกิจศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา โดย ส่งเสริมและสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษา นักศึกษา และองค์กรผูใ้ ช้ บัณฑิตเข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ซึง่ ในปี พ.ศ. 2556 สกอ. ได้จดั ท�ำแผนการด�ำเนินการส่งเสริมสหกิจศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2556 - 2558 เพือ่ ใช้เป็นกลยุทธ์หรือแนวทาง ส่งเสริมพัฒนาการจัดการศึกษาในระบบสหกิจศึกษาของทุกภาคส่วน ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแผนการด�ำเนินการฯ ดังกล่าวมีเป้าประสงค์ที่ส�ำคัญ 4 เป้าประสงค์ คือ (1) บัณฑิตไทยมีคณ ุ ภาพ ตรงตามความต้องการ 80 รายงานประจ�ำปี 2556

ของตลาดแรงงาน และแข่งขันได้ (2) เครือข่ายมีความเข้มแข็ง จัดการ สหกิจศึกษาอย่างยั่งยืน และใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างเครือข่าย (3) สหกิจศึกษานานาชาติ (4) การติดตามและประเมินผลการด�ำเนินงาน สหกิจศึกษา จากเป้าประสงค์ดงั กล่าว จะเห็นได้วา่ นอกจากจะมุง่ เน้นให้ บัณฑิตไทยมีคณ ุ ภาพตรงตามตลาดแรงงานในประเทศแล้ว ยังเล็งเห็น ถึ ง ความส� ำ คั ญ ของคุ ณ ภาพบั ณ ฑิ ต ไทยเพื่ อ รองรั บ ตลาดแรงงาน ต่างประเทศอีกด้วย ซึง่ ในปี 2558 จะมีการรวมตัวเป็นประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) หรือ AEC ดังนั้น สกอ. จึงส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาจัดสหกิจศึกษานานาชาติ เพิ่มขึ้น เพราะสหกิจศึกษานานาชาติจะช่วยเสริมสร้างสมรรถนะด้าน การท�ำงานข้ามวัฒนธรรม และช่วยให้การเคลื่อนย้ายแรงงานความรู้ บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และที่ส�ำคัญเป็นมาตรการ พัฒนาคุณภาพบัณฑิต ส�ำหรับตลาดแรงงานยุคใหม่และเป็นปัจจัยส�ำคัญ ของการพัฒนาประเทศ ซึ่งจากการสนับสนุนและส่งเสริมให้สถาบัน อุดมศึกษา นักศึกษา และองค์กรผูใ้ ช้บณ ั ฑิตเข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษา ของ สกอ. สามารถสรุปผลการด�ำเนินงานได้ดงั นี้


ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 81


จำ�นวนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดหลักสูตรสหกิจศึกษา จ�ำนวน (แห่ง) 100

97

92 72

80 52

60

สถาบันอุดมศึกษา

40 20

ปีการศึกษา

0 2551

2552

2553

2554

จำ�นวนนักศึกษาสหกิจศึกษา ปีการศึกษา 2551 - 2554 จ�ำนวน (คน) 30,000

27,061

25,000

21,624 17,399

20,000 15,000

12,951

นักศึกษา

10,000 5,000 0 2551

2552

2553

2554

ปีการศึกษา

จำ�นวนองค์กรผู้ใช้บัณฑิตที่เข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษา ปีการศึกษา 2551 - 2554 จ�ำนวน (แห่ง) 14,000

13,127

12,000

10,237

10,000 8,000

8,032 6,051

6,000 องค์กรผู้ใช้บัณฑิต

4,000 2,000

ปีการศึกษา

0 2551

82 รายงานประจ�ำปี 2556

2552

2553

2554


ผลการดำ�เนินงานสหกิจศึกษานานาชาติในภาพรวม ตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 - 2555 จ�ำนวนสถาบันอุดมศึกษาที่ดำ� เนินงานสหกิจศึกษานานาชาติ ปีการศึกษา 2551 - 2555

จ�ำนวน (แห่ง) 20

19

18

15 10

9

8

7

สถาบันอุดมศึกษา

5 ปีการศึกษา

0 2551

2552

2553

2554

2555

จ�ำนวนนักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติ ปีการศึกษา 2551 - 2555 จ�ำนวน (คน) 200

163

150 114 100

111

78

นักศึกษา

64

50 ปีการศึกษา

0 2551

2552

2553

2554

2555

จ�ำนวนสถานประกอบการที่เข้าร่วมสหกิจศึกษานานาชาติ ปีการศึกษา 2551 - 2555 จ�ำนวน (แห่ง) 120

102

100

84

80 68

65

60

60 สถานประกอบการ

40 20

ปีการศึกษา

0 2551

2552

2553

2554

2555

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 83


เงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้เสนอคณะรัฐมนตรีจัดตั้งเงินทุนหมุนเวียนเพือ่ พัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตั้งแต่ปี 2532 สอดคล้องตามนโยบายการส่งเสริมและสนับสนุนด้านวิชาการให้สถานศึกษาเอกชนมีมาตรฐานและสามารถพึ่งตนเองได้ ตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ประกอบมาตรา 70(2) แห่งพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546 ให้ รั ฐอุ ด หนุ น และส่ งเสริม สถาบัน อุด มศึก ษาเอกชนจัดตั้ ง กองทุ น เพื่ อ พั ฒ นาสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาเอกชนในด้า นต่า งๆ ปั จ จุ บันส�ำ นักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษาได้รับอนุมัติเงินงบประมาณรวม 1,120 ล้านบาท เพื่อให้สถาบันกู้ยืมเงินต้นทุนต�่ำในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.50 2.00 ต่อปี โดยมี 3 วัตถุประสงค์หลัก คือ เป็นส่วนสมทบในการจัดหา/จัดซือ้ อุปกรณ์การศึกษา การก่อสร้างอาคารเรียน และการพัฒนา คุณวุฒอิ าจารย์ เพือ่ พัฒนาการเรียนการสอนให้มคี ณ ุ ภาพได้มาตรฐานและสามารถขยายการเปิดการสอนในสาขาวิชาทีต่ รงตามความต้องการ ของตลาดแรงงาน ผลการด�ำเนินงานเงินทุนหมุนเวียนฯ ในปีงบประมาณ 2556 ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยคณะกรรมการเงิน ทุนหมุนเวียนเพือ่ พัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนได้อนุมตั ใิ ห้สถาบันอุดมศึกษาเอกชน จ�ำนวน 10 แห่ง กูย้ มื เงินในวงเงินรวม 398.05 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2555 คิดเป็นร้อยละ 8.25 จะเห็นได้วา่ แนวโน้มการกู้เพื่อพัฒนาคุณวุฒิอาจารย์มีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นมากจากปีก่อน กล่าวคือ มีการปล่อยกู้จ�ำนวน 117.59 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 117.59 ของวงเงินที่ตั้งไว้ (100 ล้านบาท) ซึ่งสามารถสนับสนุนอาจารย์ให้ไป ศึกษาต่อต่างประเทศ ในระดับปริญญาเอก 28 ทุน และระดับปริญญาโท 7 ทุน ขณะที่การกู้เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนและจัดซื้ออุปกรณ์การ ศึกษามีแนวโน้มลดลง เป็นจ�ำนวน 242.95 ล้านบาท และ 37.5 ล้านบาท ตามล�ำดับ คิดเป็นร้อยละ 70.11 ของวงเงินที่ตั้งไว้ (400 ล้านบาท)

สรุปเงินปลอยกูจำแนกตามประเภทของวัตถุประสงคการใหกูเงินทุนหมุนเวียนฯ เปรียบเทียบระหวางป 2555 และ ป 2556 Y2555

Y2556

หนวย : ลานบาท

รวม กูพัฒนาอาจารยฯ กูซื้ออุปกรณฯ

367.73 12.73

398.05

117.59 37.50 55.00 242.95

กูกอสรางฯ

300.00

แผนภูมิแสดงการอนุมัติวงเงินกูยืมใหกับสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จำนวน 10 แหง ในปงบประมาณ 2556

84 รายงานประจ�ำปี 2556

ÖćøÖŠĂÿøšćÜĂćÙćøđøĊ÷î

ÖćøÝĆéàČĂĚ ĂčðÖøèŤÖćøýċÖþć

ÝĆéÿŠÜĂćÝćø÷ŤĕðýċÖþćêŠĂ

แผนภูมิแสดงจำนวนทุนร เพื่อพัฒนาอา


น า ฐ ร ต า ม า ษ ึ ก ศ ร า การจดั ก ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 85


มาตรฐานการจัดการศึกษา มาตรฐานการจัดการศึกษา

สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จัดทากรอบ มาตรฐานคุ ณวุกฒงานคณะกรรมการการอุ ิระดับอุดมศึกษา (TQFด:มศึ HEd) เพืจ่อัดเป็ทนากรอบ กลไก ส�ำสนัานั กงานคณะกรรมการการอุ ดมศึกษาได้กจษาได้ ัดท�ำกรอบ หรื อเครื่องมืณอวุในการน าแนวนโยบายการพั ฒนาคุเพืณ่อภาพและ มาตรฐานคุ ดมศึ กษา: HEd) (TQFเพื: ่อHEd) มาตรฐานคุ ณวุฒิระดัฒ บอุิรดะดัมศึบกอุษา (TQF เป็นกลไกหรืเป็อนกลไก มาตรฐานการศึ กษา จากพระราชบั ญญัติการศึ กษาแห่ งชาติ เครื่องมืำอแนวนโยบายการพั ในการน าแนวนโยบายการพั ฒนาคุ ณภาพและ เครื่อหรื งมืออในการน� ฒนาคุณภาพและมาตรฐาน พ.ศ. 2542 ไปสู่กการปฏิ บัติอย่างเป็นรูชาติ ปธรรม โดยมี แนวคิ ดใน ษา ญัตพ.ศ. ิการศึ กษาแห่ การศึมาตรฐานการศึ กษา จากพระราชบั ญญัจากพระราชบั ติการศึกษาแห่งญ 2542 ไป งชาติ การผลิ ติอย่บัาณงเป็ฑิไปสู มีคุณภาพ ่งงเป็ เน้นนดในการผลิ พ.ศ.บัต2542 ่ปกธรรม ารปฏิ บโดยมี ัติอย่มุแานวคิ รูมาตรฐานผลการเรี ปธรรมตโดยมี นวคิยดนรูใน้ สู่การปฏิ นตรูให้ บัณฑิแตให้ อย 5 ด้าน ยคืนรู อ้ การผลิ ต่งเน้ บัตณน(Learning ฑิตให้มีคุณOutcomes) ภาพ ยมุนรู่งเน้ นมาตรฐานผลการเรี มีคุณของบั ภาพ ณมุฑิ มาตรฐานผลการเรี ้ของบั ณอย่ ฑิตางน้(Learning ด้ของบั านคุณณธรรม ้ ด้าอย่ นทั ษะทางปั ฑิอย่ตา(Learning อย ด้5าด้นาญนญา คือ Outcomes) งน้จริ อยย5ธรรม ด้าน ด้Outcomes) คือา นความรู ด้านคุณธรรม จริายกงน้ ธรรม ด้ด้าานทั ษะความสั นธ์ระหว่ างบุ คคลและความรั บผิางดชอบ ความรู ้ นคุ ด้กาณนทั กษะทางปั ญา กษะความสั มพันกธ์ษะทางปั ระหว่ ธรรม จริมยญพัธรรม ด้านทั นความรู ้ ด้านทั ญญา และด้ า นทั ก ษะการวิ เ คราะห์ เ ชิ ง ตั ว เลข การสื ่ อ สาร และการใช้ บุคคลและความรั บผิดชอบม พัและด้ นทักาษะการวิ เคราะห์เชิงตัวเลข ด้านทักษะความสั นธ์ราะหว่ งบุคคลและความรั บผิดชอบ เทคโนโลยี เพื่อสพัารสนเทศ ฒ ณฑิเพืต่อการสื ให้ ีค่อุณ ลักฑิและการใช้ ษณะที การสื ่อสาราและการใช้ เทคโนโลยี พัฒมนาบั ณ ตให้ ่พึง และด้ นทัสการสนเทศ ษะการวิ เคราะห์ เชินาบั งตัวเลข สาร วามรู้ ความสามารถในการประกอบอาชี มีคุณประสงค์ ลักษณะที่พมีสึงคารสนเทศ ประสงค์ มีคเพื วามรู ความสามารถในการประกอบ เทคโนโลยี ่อพั้ ฒ นาบัณฑิตให้มีคุณลักษณะทีพ่พทีึง่ งมีขัคนงวามรู ฑิตฑิในระดั อาชีสามารถแข่ พประสงค์ ที่สามารถแข่ ขักันบกับับณ ณ ตในระดับบสากล สากล ้ บัความสามารถในการประกอบอาชี พ ที่ สามารถแข่งขันกับบัณฑิตในระดับสากล

86 รายงานประจ�ำปี 2556


กรอบมาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชาการท่องเที่ยว

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ส่งเสริมการ ด� ำ เนิ น การตามกรอบมาตรฐานคุ ณ วุ ฒิ ร ะดั บ อุ ด มศึ ก ษา (Thai Qualifications Framework: TQF: HEd.) ซึ่งได้ประกาศใช้อย่าง เป็นทางการตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา เพือ่ ให้เกิดการพัฒนา หลักสูตร การจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการวัดและประเมินผล ที่มุ่งเน้นมาตรฐานผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) ของผู้เรียน เป็นส�ำคัญ โดยได้รับความร่วมมือจากฝ่ายการศึกษา สถานทูต ออสเตรเลียอย่างต่อเนื่องในการเทียบเคียงคุณภาพและมาตรฐาน การด�ำเนินการดังกล่าว ส�ำหรับปี พ.ศ. 2556 ได้จดั ประชุมเชิงปฏิบตั กิ าร เรือ่ ง ‘กรอบมาตรฐานคุณวุฒ:ิ การออกแบบหลักสูตร กลยุทธ์การสอนและ การประเมินผล ในสาขาวิชาการท่องเทีย่ ว’ ระหว่างวันที่ 20 - 22 พฤษภาคม 2556 เนือ่ งจากสาขาวิชาดังกล่าวเป็นสาขาทีม่ คี วามส�ำคัญ ในการเข้าสูป่ ระชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จึงมีสถาบันอุดมศึกษาในสังกัด และหน่วยงานอืน่ ๆ เข้าร่วมประชุม 60 แห่ง โดยมีผทู้ รงคุณวุฒขิ อง โครงการน�ำร่องกรอบมาตรฐานคุณวุฒิเป็นวิทยากรประจ�ำกลุ่มร่วม กับวิทยากรหลักซึง่ เป็นผูเ้ ชีย่ วชาญออสเตรเลีย ได้แก่ Mr. Wayne

Crosbie ผูอ้ ำ� นวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจนานาชาติแห่งสถาบันวิลเลีย่ ม แองกลิสส์ (William Angliss Institute) เครือรัฐออสเตรเลีย ซึง่ เป็น ผูจ้ ดั ท�ำสมรรถนะต�ำแหน่งงานในสาขาวิชาการท่องเทีย่ วให้กบั อาเซียน และ Dr. David Foster ผูอ้ ำ� นวยการ Australian Centre for Tourism and Hospitality ทัง้ นีม้ วี ตั ถุประสงค์เพือ่ แลกเปลีย่ นประสบการณ์ของ ผู้ทรงคุณวุฒิไทยและออสเตรเลียในการส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษา จัดหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนบรรลุมาตรฐาน ผลการเรียนรูส้ าขาวิชาการท่องเทีย่ วและการโรงแรมโดยเฉพาะ ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการเป็นที่พึงพอใจของผู้เข้าร่วม ประชุ มในระดั บดี ม าก เนื่ อ งจากเกิ ด ความรู ้ ความเข้ าใจในการ ถ่ายทอดผลการเรียนรู้จากกรอบมาตรฐานคุณวุฒิไปสู่มาตรฐาน คุณวุฒิสาขา (มคอ.1 การท่องเที่ยวและการโรงแรม) หลักสูตร และรายวิชา ตลอดจนกระบวนการเรียนการสอน และการวัดและ ประเมินผลได้อย่างเชื่อมโยงและครบวงจร ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีโอกาส แลกเปลี่ยนเรียนรู้และซักถามประเด็นข้อสงสัยที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ ดังกล่าวและได้รับค�ำตอบที่ชัดเจนร่วมกัน

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 87


ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากับสหภาพยุโรป ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำ� เนินการกิจกรรมต่างๆ เพือ่ ส่งเสริมสถาบันอุดมศึกษาในการปรับปรุง และพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ซึ่งประกาศใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 เพื่อมุ่งให้ผู้เรียนเกิดมาตรฐานผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) ทีเ่ ทียบเคียงได้กบั ระดับสากล ส�ำหรับปี พ.ศ. 2555 - 2556 ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษามุ่งที่จะส่งเสริมกรอบมาตรฐานคุณวุฒิและหลักสูตร สูส่ ากล จึงได้ดำ� เนินการโครงการ ‘Tuning Educational Structures to the Internationalization’ โดยมีวัตถุประสงค์เพือ่ แลกเปลีย่ น ข้อมูลในเชิงลึกเกีย่ วกับการจัดท�ำมาตรฐานคุณวุฒสิ าขาวิชา (มคอ.1) การออกแบบหลักสูตร (มคอ.2) การจัดการเรียนสอน การวัดและ ประเมินผลทีม่ งุ่ เน้นมาตรฐานผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) ของผู้เรียนเป็นส�ำคัญ ทั้งในระดับหลักสูตรและรายวิชาตามวงจร คุณภาพของ TQF เพือ่ เป็นการประกันคุณภาพหลักสูตร และประกัน คุณภาพบัณฑิต ตลอดจนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือของสถาบัน อุดมศึกษาไทยและต่างประเทศในอนาคต กิจกรรมที่ได้ด�ำเนินการ ร่วมกันตัง้ แต่เดือนมิถนุ ายน 2555 เป็นต้นมา มีดงั นี้ 88 รายงานประจ�ำปี 2556

ระยะที่ 1 ผู้เชี่ยวชาญของสหภาพยุโรป (Professor Julia Gonzalez) ได้เดินทางมาปฏิบัติภารกิจเพื่อประชุมหารือและ แลกเปลีย่ นเรียนรูก้ บั ผูท้ รงคุณวุฒขิ องไทยเกีย่ วกับแนวทางการจัดท�ำ มาตรฐานคุณวุฒิสาขา (มคอ.1) โดยเลือกสาขาน�ำร่อง 3 สาขา ได้แก่ สาขาคอมพิวเตอร์ สาขาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และสาขาการ ท่องเที่ยวและการโรงแรม ระยะที่ 2 ผู้เชี่ยวชาญของสหภาพยุโรป จ�ำนวน 3 คน ได้เดินทางมาปฏิบัติภารกิจในการเทียบเคียงแนวทางการออกแบบ หลักสูตร (มคอ.2) การพัฒนารายวิชา (มคอ.3) และกระบวนการ จัดการเรียนการสอน ตลอดจนการวัดและประเมินผล ร่วมกับ มหาวิทยาลัยของประเทศไทย ได้แก่ Dr. Béatrice Delpouve ประชุม ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และ คณิตศาสตร์) Dr. Cristina Ortega Neure ประชุม ณ มหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนดุสิต (สาขาการท่องเที่ยว) และ Dr. Joše Contreras ประชุมร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (สาขา คอมพิวเตอร์) ผลจากการประชุมทั้ง 2 ระยะดังกล่าว พบว่า ประเทศไทย มีการด�ำเนินการจัดท�ำมาตรฐานคุณวุฒิในสาขาดังกล่าว และการ


ด�ำเนินการตามวงจรคุณภาพ TQF ที่สามารถเทียบเคียงกันได้โดยมี ข้อเสนอแนะให้มีการก�ำหนดผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) ในระดับหลักสูตร ระดับรายวิชา และน�ำไปสู่กระบวนการเรียนการ สอนให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ในการนี้ สหภาพยุโรปจึงได้เชิญประเทศไทยเข้า ร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติต่อไป ระยะที่ 3 สหภาพยุโรปเชิญผูแ้ ทนส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาและผู้แทนสถาบันอุดมศึกษา รวมจ�ำนวน 9 คน เข้าร่วมประชุมนานาชาติในเรือ่ ง Tuning in the World: New Degree Profiles for New Societies ในระหว่างวันที่ 20 - 21 พฤศจิกายน 2555 ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยีย่ ม ซึง่ เป็นการประชุมวิชาการ ของประเทศต่างๆ ทัว่ โลกทีเ่ ป็นสมาชิกได้มกี จิ กรรมต่างๆ ร่วมกันอย่าง สม�ำ่ เสมอในการเทียบเคียงคุณภาพการจัดหลักสูตร การก�ำหนดผลการ เรียนรูท้ พี่ งึ ประสงค์ของผูเ้ รียน กระบวนการเรียนการสอน การวัดและ ประเมินผล และการท�ำวิจยั ประเทศสมาชิกทีเ่ ข้าร่วม อาทิ ประเทศใน แถบลาตินอเมริกา สหรัฐอเมริกา รัสเซีย ออสเตรเลีย แคนาดา ประเทศ ในแถบแอฟริกาใต้ จีน ญีป่ นุ่ และประเทศไทย ในการนี้ ผูเ้ ชีย่ วชาญของ สหภาพยุโรปได้น�ำเสนอถึงการเทียบเคียงมาตรฐานของยุโรปกับของ ไทย Tuning Thailand 2012 - 2013 ให้ทปี่ ระชุมรับทราบด้วย ระยะที่ 4 การจั ด ประชุ ม วิ ช าการนานาชาติ เรื่ อ ง Internationalisation of Education Reform and the TQF ระหว่าง วันที่ 12 - 14 มิถนุ ายน 2556 ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ กรุงเทพฯ โดยมี วัตถุประสงค์เพือ่ ให้สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งได้รบั ทราบและแลกเปลีย่ น ข้อมูลแนวโน้มในการจัดการศึกษาและการปฏิรปู อุดมศึกษาในภูมภิ าค ต่างๆ ของโลกจากประสบการณ์ของผูท้ รงคุณวุฒขิ องไทยและสหภาพยุโรป เกิดวิสยั ทัศน์และมุมมองใหม่ๆ ในการจัดการศึกษา ส่งเสริมให้ผบ้ ู ริหาร และคณาจารย์เกิดความมั่นใจในการใช้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิเป็น เครือ่ งมือในการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตทีม่ งุ่ เน้นผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) ของผูเ้ รียนเป็นส�ำคัญ และเปิดโอกาสให้คณาจารย์ได้ ฝึกปฏิบัติวิธีการก�ำหนดตัวบ่งชี้การประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน สามารถน�ำไปใช้ประโยชน์ในการวัดและประเมินผลในชั้นเรียนต่อไป

รวมทัง้ สร้างเครือข่ายความร่วมมือของคณาจารย์และบุคลากรทีเ่ กีย่ วข้อง ในการผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาต่างๆ ให้ร่วมกันก�ำกับ ดูแลคุณภาพ และมาตรฐานการจัดหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน ตลอดจน การวัดและประเมินผลอย่างมีคณ ุ ภาพเป็นทีย่ อมรับในระดับสากล ในการนี้ สหภาพยุโรปได้ส่งผู้ทรงคุณวุฒิมาเป็นวิทยากร จ�ำนวน 2 คน ได้แก่ Prof. Dr. Julia Gonzalez และ Prof. Dr. Robert Wagenaar ส�ำหรับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิของไทย ได้แก่ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร โดยมีกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ 1. การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ‘Outcome-based learning: The Assessment of Learning Outcomes’ เป็นการ ฝึกอบรมคณาจารย์น�ำร่องกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ 60 คน 2. การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ‘TQF and the Paradigm Shift of Higher Education in the World’ จัดให้แก่ ผู้บริหารและคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่ง จ�ำนวน 400 คน 3. การประชุมวิชาการนานาชาติ เรือ่ ง ‘Internationalization of Education Reform and the TQF’ จัดให้แก่ผบู้ ริหารและ คณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่ง จ�ำนวน 400 คน ผลจากการประชุม ผู้เข้าประชุมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยน เรี ย นรู ้ ก ระบวนทั ศ น์ ที่ เ ปลี่ ย นไปในการจั ด การอุ ดมศึกษา และมี โอกาสฝึกปฏิบตั แิ ละซักถามอย่างทัว่ ถึง จนเป็นทีเ่ ข้าใจถึงหลักการและ แนวทางที่ชัดเจนถูกต้องของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ โดยเปรียบเทียบ กับการปฏิรปู การศึกษาของทวีปยุโรปตามข้อตกลง Bologna Process และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระบวนการ Tuning เป็นกระบวนการที่เกิด จากการริเริ่มของผู้เกี่ยวข้องในฝ่ายปฏิบัติ ได้แก่ คณาจารย์ในสาขา ผู้ใช้บัณฑิต องค์กรวิชาชีพ และเสียงสะท้อนจากสังคมและประชาชน จึงก่อให้เกิดความเต็มใจในการปฏิรูปการจัดหลักสูตร การเรียน การสอน ผลสะท้ อ นที่ ไ ด้ จ ากการประชุ มจึ ง เกิ ด ความพึงพอใจใน ระดับดีมาก ทั้งนี้ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะได้ ส่งเสริมเครือข่ายการจัดการศึกษาทั้งในระดับกระทรวง และระดับ มหาวิทยาลัยต่อไป ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 89


มาตรฐานดนตรีไทยและเกณฑ์การประเมิน

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ทบวงมหาวิทยาลัยเดิม) ได้ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมในโครงการส่งเสริมการดนตรีไทย สืบเนือ่ งจากปี 2530 เป็นต้นมา ซึง่ โครงการดังกล่าวเป็นโครงการตาม มติคณะรัฐมนตรี 2 ครัง้ กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2532 มีวตั ถุประสงค์ใน การส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของชาติไทยให้มคี วามยัง่ ยืนและเป็นมรดก ทางวัฒนธรรมทีล่ ำ�้ ค่าของคนไทย และในปี พ.ศ. 2536 เพือ่ ให้สถาบัน การศึกษาได้นำ� เกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย ตัง้ แต่ระดับอนุบาลถึงระดับ อุดมศึกษาไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการบริหารงานบุคคล ต่อไป ซึง่ ได้รบั ความร่วมมือของศิลปินแห่งชาติดา้ นดนตรีไทย ผูเ้ ชีย่ วชาญ หรือช�ำนาญการด้านดนตรีไทย คณาจารย์ดา้ นดนตรีไทย ผูแ้ ทนหน่วยงาน ทีเ่ กีย่ วข้องกับสาขาวิชาดนตรีไทย เพือ่ เป็นการอนุรกั ษ์ศลิ ปวัฒนธรรม ด้านดนตรีให้คงอยูอ่ ย่างยัง่ ยืนคูช่ าติไทย ในปี 2556 ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดย คณะอนุกรรมการติดตามและพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานสาขาวิชาดนตรี ไทย ได้ด�ำเนินงานการพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยและเกณฑ์ การประเมิน ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 2 - 4 กันยายน 2556 ได้จดั อบรมเชิง ปฏิบัติการเตรียมความพร้อมเป็นผู้ประเมินในการทดสอบความ สามารถด้านดนตรีไทยตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย เพื่อท�ำหน้าที่ เป็นผู้ประเมินความสามารถด้านดนตรี ไ ทยตามเกณฑ์ ม าตรฐาน ดนตรีไทย ในเครื่องดนตรีไทยด้านต่างๆ ตามที่ก�ำหนดไว้ในเกณฑ์ มาตรฐานดนตรีไทยและเกณฑ์การประเมิน ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏ บ้ า นสมเด็ จ เจ้ า พระยา และจั ด การทดสอบความสามารถด้ า น ดนตรีไทย เครื่องดนตรี ‘ฆ้องวงใหญ่’ เป็นเครื่องดนตรีน�ำร่อง ในวันที่ 3 ธันวาคม 2556 ณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

90 รายงานประจ�ำปี 2556


การน�ำเกณฑ์มาตรฐานศิลปะผ้าไทยไปใช้กับประชาชนในท้องถิ่น ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ดำ� เนินการต่อเนือ่ ง จากการจัดท�ำเกณฑ์มาตรฐานสาขาวิชาศิลปะผ้าไทย ด้านการผลิต วัตถุดบิ ด้านการฟอกย้อม ด้านการทอ และด้านการออกแบบและพัฒนา ผลิตภัณฑ์ รวมทัง้ เกณฑ์มาตรฐานสาขาวิชาศิลปะผ้าไทยในภาพรวมทัง้ 4 ด้านดังกล่าว โดยได้ลงพืน้ ทีภ่ าคสนามร่วมกับผูท้ รงคุณวุฒทิ เี่ กีย่ วข้อง จากหน่วยงานต่างๆ อาทิ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สถาบันอุดมศึกษา โครงการศิลปาชีพ ส�ำนักพระราชวัง กรมหม่อนไหม เพือ่ พบปะหารือกับ ผูเ้ ชีย่ วชาญในท้องถิน่ และน�ำเกณฑ์มาตรฐานฯ ไปใช้ทดสอบทักษะ ความรู้ ความสามารถกับประชาชนในท้องถิน่ ในระหว่างวันที่ 16 - 23 กรกฎาคม 2556 ณ จังหวัดนครราชสีมา บุรรี มั ย์ สุรนิ ทร์ และจังหวัดอุบลราชธานี ทัง้ นี้ เพือ่ จะน�ำข้อมูลทีไ่ ด้มาปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานฯ และจัดท�ำเกณฑ์ การประเมินสาขาวิชาศิลปะผ้าไทยต่อไป ผลจากลงพื้นที่พบว่า ชาวบ้านมีความรู้พื้นฐานที่ดีในองค์ ความรูข้ องงานศิลปะผ้าไทยในทุกๆ ด้าน และเป็นไปตามผลการเรียนรูท้ ี่ ก�ำหนดไว้ ทัง้ ด้านการผลิตวัตถุดบิ ด้านการฟอกย้อมด้วยสีธรรมชาติและสี เคมี ด้านการทอ รวมทัง้ ด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ แต่ในการ ท�ำงานแต่ละคนจะมีความช�ำนาญในหน้าทีห่ ลักเฉพาะด้านไป เช่น การ สาวไหม การฟอกย้อม การเก็บตะกอ การมัดหมี่ การทอผืนผ้า และการ ออกแบบลวดลาย เป็นต้น จากการประเมินการพัฒนาและการประยุกต์

ใช้ความรู้ ความสามารถ พบว่า ชาวบ้านสามารถวิเคราะห์ชนิดของเส้นใย ทดสอบคุณสมบัติของเส้นใย ตลอดจนชนิดและสมบัติของสีย้อมเคมี และสีธรรมชาติ รวมทัง้ การจ�ำแนกลวดลายของผ้าไทยตามกลุม่ ชาติพนั ธุไ์ ด้ บางคนมีความสามารถในการแกะลวดลายจากผ้าโบราณที่หายาก จึงเป็นการอนุรกั ษ์ลวดลายศิลปะผ้าไทยโบราณไว้ได้ดว้ ย ทัง้ ยังสามารถ ประยุกต์ใช้ความรู้ ความสามารถในการผลิตผ้าไหมได้ตามทีล่ กู ค้าทัง้ ในและต่างประเทศต้องการได้อย่างสวยงาม ก่อให้เกิดรายได้จากการ สัง่ ซือ้ ทัง้ ในและต่างประเทศ ชาวบ้านส่วนหนึง่ มีทายาทซึง่ เป็นเยาวชน รุน่ ใหม่ทชี่ นื่ ชอบในงานศิลปะผ้าไทยและสานต่อสืบทอดเจตนารมณ์ของ บรรพบุรษุ ในท้องถิน่ จนได้รบั รางวัลเป็นความภาคภูมใิ จของครอบครัว และท้องถิน่ ด้วย ประโยชน์ทไี่ ด้จากการลงพืน้ ทีพ่ บปะชาวบ้านท�ำให้รจู้ กั กับ ผูเ้ ชีย่ วชาญในท้องถิน่ ซึง่ จะเป็นประโยชน์ตอ่ การจัดหลักสูตรฝึกอบรม ระยะสั้นของหน่วยงานที่ต้องการความรู้เฉพาะทาง และพบว่าการ ก�ำหนดผลการเรียนรูใ้ นเกณฑ์มาตรฐานสาขาวิชาศิลปะผ้าไทยบางส่วน มีการก�ำหนดผลลัพธ์ การเรียนรูด้ ว้ ยถ้อยค�ำทีเ่ ป็นเชิงวิชาการมากเกินไป ซึง่ จะได้นำ� มาปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมต่อการจัดท�ำเกณฑ์การประเมิน สาขาวิชาศิลปะผ้าไทยต่อไป

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 91


การจัดการศึกษาในระบบการศึกษาทางไกล

การจัดการศึกษาทางไกลเป็นการจัดการศึกษาที่มุ่งเปิด โอกาสและขยายโอกาสให้นักศึกษาและผู้สนใจใฝ่หาความรู้สามารถ ศึกษาหาความรู้ได้ในเวลาและสถานที่ที่ตนสะดวกตามความสนใจ และความสามารถของแต่ละบุคคล โดยการจัดการศึกษาทางไกลด้วย วิธีการที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สือ่ สารอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการศึกษาทางไกลทีม่ คี ณ ุ ภาพและ มาตรฐานนั้น กระทรวงศึกษาธิการได้ออกประกาศกระทรวงว่าด้วย หลักเกณฑ์การขอเปิดและด�ำเนินการหลักสูตรระดับปริญญาในระบบ การศึกษาทางไกล พ.ศ. 2548 เพือ่ ส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวติ ส�ำหรับ ประชาชนและส่งเสริมให้ผเู้ รียนได้มโี อกาสเรียนรูด้ ว้ ยตนเอง และเพือ่ ธ�ำรงไว้ซึ่งคุณภาพมาตรฐานการจัดการอุดมศึกษา และส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษาได้มปี ระกาศเพือ่ เสนอแนวปฏิบตั ติ ามหลัก เกณฑ์การขอเปิดและด�ำเนินการหลักสูตรระดับปริญญา ในระบบการ ศึกษาทางไกล พ.ศ. 2548 ปัจจุบนั การศึกษาทางไกลมีหลากหลายรูป แบบ ระบบการเรียนการสอนและเทคโนโลยีเปลีย่ นแปลงอย่างรวดเร็ว เกณฑ์และแนวปฏิบัติต่างๆ ต้องมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับ สถานการณ์ปจั จุบนั รองรับการเปลีย่ นแปลงในอนาคต และมีความ ชัดเจนในทางปฏิบตั ิ การพัฒนาแนวปฏิบตั ใิ นการพิจารณาคุณภาพ การจัดการศึกษาในระบบการศึกษาทางไกล จะท�ำให้เกิดแนวปฏิบัติ ที่ชัดเจนของการจัดการศึกษาทางไกลอย่างมีมาตรฐานและคุณภาพ และเป็นแนวทางการพิจารณาและติดตามประเมินผลการจัดการศึกษา 92 รายงานประจ�ำปี 2556

ระบบการศึกษาทางไกลในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาได้ จั ด ตั้ ง คณะ อนุกรรมการพิจารณาและติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาระบบ ทางไกล และคณะท�ำงานพัฒนาเกณฑ์การเปิดด�ำเนินการหลักสูตรระดับ ปริญญาในระบบการศึกษาทางไกล และได้จดั ท�ำ ‘เกณฑ์การประเมิน คุณภาพการจัดการศึกษาระบบการศึกษาทางไกล’ เวียนแจ้งให้สถาบัน อุดมศึกษาทุกแห่ง ทั้งรัฐและเอกชนทราบแล้ว นอกจากนี้ยังได้จดั ท�ำ ร่างตัวชีว้ ดั เพือ่ ตรวจสอบคุณภาพส�ำหรับการจัดการศึกษาทางไกลตาม หลักเกณฑ์ การขอเปิดและด�ำเนินการหลักสูตรระดับปริญญาในระบบ การศึกษาทางไกล พ.ศ. 2548 และได้จดั การประชุมระดมความคิดเห็น เรือ่ ง ‘แนวทางการจัดการคุณภาพการศึกษาทางไกล’ เพือ่ น�ำสรุปผลการ ระดมความคิดเห็นสูก่ ารพัฒนาแนวทางการจัดการคุณภาพการศึกษา ทางไกลในระดับอุดมศึกษาที่เหมาะสมส�ำหรับประเทศไทย เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2556 มีผบู้ ริหารสถาบันอุดมศึกษา รองอธิการบดีฝา่ ย วิชาการ รองอธิการบดีฝา่ ยเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบการศึกษา ทางไกลของสถาบันอุดมศึกษา และผูท้ รงคุณวุฒ ิ รวมจ�ำนวน 140 คน เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทางไกล ขณะนีอ้ ยูร่ ะหว่างการ วิเคราะห์ตวั บ่งชีฯ้ รวมทัง้ เอกสารหลักฐานประกอบตัวบ่งชีเ้ พือ่ การ ตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษาทางไกล


การตรวจประเมินการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษา จากข้อมูลผลการด�ำเนินการตรวจประเมินการจัดการ ศึกษานอกทีต่ งั้ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 - 2556 โดยไม่รวมการ ตรวจประเมินซ�ำ้ พบว่า ศูนย์การจัดการศึกษานอกสถานทีต่ งั้ ทีม่ ผี ล การประเมินผ่านมีจ�ำนวนเพิ่มขึ้นเนื่องจากสถาบันอุดมศึกษามีการ ปรับปรุง/พัฒนาการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งให้เป็นตามเกณฑ์/ มาตรฐานที่ก�ำหนด และอีกส่วนหนึ่งซึ่งมีผลการประเมินไม่ผ่านมี แนวโน้มลดลง แสดงดังแผนภูมิ

186 จ�ำนวนหลักสูตร

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ตระหนักถึงความ ส�ำคัญของวิกฤติอดุ มศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิง่ ประเด็นการจัดการศึกษา นอกสถานทีต่ งั้ ทีด่ อ้ ยคุณภาพ ทัง้ นี้ คณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ ก�ำหนดมาตรการการก�ำกับดูแลเรือ่ งดังกล่าวอย่างต่อเนือ่ ง นับตัง้ แต่มี การประกาศกฏกระทรวงว่าด้วยการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งของ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2551 และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ พ.ศ. 2552 ตามล�ำดับ มีการก�ำหนดมาตรการติดตามประเมินผลโดย เริม่ ต้นจากการตรวจเยีย่ มน�ำร่องในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 จ�ำนวน 8 ศูนย์ ตรวจเยีย่ มทุกสถาบันอย่างน้อยสถาบันละ 1 แห่ง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 จ�ำนวน 67 ศูนย์ และได้มกี ารเริม่ กระบวนการตรวจประเมิน การจัดการศึกษานอกสถานทีต่ งั้ มาใช้ตงั้ แต่ปงี บประมาณ พ.ศ. 2555 ซึง่ ได้ดำ� เนินการตรวจประเมินไปแล้ว 43 สถาบัน 110 ศูนย์ 285 หลักสูตร โดยมีผลการประเมินระดับผ่าน จ�ำนวน 36 หลักสูตร ระดับต้องปรับปรุง 63 หลักสูตร และระดับไม่ผา่ น จ�ำนวน 186 หลักสูตร ส�ำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาได้ด�ำเนินการตรวจประเมินการจัดการศึกษานอกที่ตั้ง ส่วนที่เหลือ จ�ำนวน 33 สถาบัน 69 ศูนย์ 168 หลักสูตร โดยมีผล การประเมินระดับผ่าน จ�ำนวน 43 หลักสูตร ระดับต้องปรับปรุง 50 หลักสูตร และระดับไม่ผ่าน จ�ำนวน 75 หลักสูตร และด�ำเนินการตรวจ ประเมินซ�้ำในศูนย์ที่มีผลการประเมินต้องปรับปรุง จ�ำนวน 5 สถาบัน 8 ศูนย์ 18 หลักสูตร/สาขาวิชา สรุปผลการด�ำเนินงานที่ผ่านมา คณะกรรมการการอุดมศึกษาได้มีมติเห็นชอบผลการตรวจประเมิน การจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งปี 2555 - 2556 แล้ว จ�ำนวน 54 สถาบัน 177 ศูนย์ 453 หลักสูตร

แผนภูมิเปรียบเทียบผลการตรวจประเมินการจัดการศึกษา นอกสถานที่ตั้ง ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 - 2556

200

63 36

0

75 43

50

ผ่าน ต้องปรับปรุง ไม่ผา่ น

ปี 2555

ปี 2556

จากผลการด�ำเนินการดังกล่าวนับตั้งแต่มีการตรวจเยี่ยม ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 จนถึงการตรวจประเมิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 พบว่า จ�ำนวนสถาบันและศูนย์ทจี่ ดั การศึกษานอกสถานทีต่ งั้ ลดลงจาก 96 สถาบัน 678 ศูนย์ เป็น 49 สถาบัน 163 ศูนย์ ซึง่ สนับสนุน วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ กล่าวคือ เพื่อประเมินการจัดการศึกษานอก สถานที่ ตั้ ง ของสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาตามเกณฑ์ / มาตรฐานก� ำ หนด น�ำข้อมูลมาใช้ประกอบการพิจารณาการจัดการศึกษานอกสถานทีต่ งั้ ของคณะกรรมการการอุดมศึกษาและเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะ และลดการจัดการศึกษาทีไ่ ม่มคี ณ ุ ภาพซึง่ มีผลกระทบเชิงลบต่อสังคม นอกจากนี้ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษายังได้ ด�ำเนินการส�ำรวจข้อมูลการจัดการศึกษานอกสถานทีต่ งั้ จากหน่วยงาน ราชการในพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อให้มีความมั่นใจว่าได้มีการด�ำเนินการ ในเรื่องนี้ไม่เพียงแต่เฉพาะข้อมูลที่มีการแจ้งจากสถาบันอุดมศึกษา เท่านั้น ซึ่งจากการส�ำรวจข้อมูลดังกล่าว พบว่า มีข้อมูลที่เปิด ด�ำเนินการแต่ไม่แจ้ง สกอ. จ�ำนวน 67 ศูนย์ (29 สถาบัน) ทั้งนี้ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะได้ด�ำเนินการกับศูนย์ที่ จัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งดังกล่าวต่อไป ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 93


การด�ำเนินการจัดตั้ง เปลี่ยนชื่อ และเปลี่ยนประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชน นับแต่กฎกระทรวง ก�ำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงือ่ นไขในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตให้จดั ตัง้ สถาบัน อุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2549 และกฎกระทรวง ก�ำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อหรือ เปลีย่ นประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2552 มีผลบังคับใช้ จนถึงปัจจุบนั โดยในปี 2556 มีผลการด�ำเนินการ ดังนี้ 1. การออกใบอนุญาตจัดตัง้ เปลีย่ นชือ่ และเปลีย่ น ประเภท สถาบันอุดมศึกษาเอกชน การเปลี่ยนชื่อ จ�ำนวน 1 แห่ง คือ มหาวิทยาลัย อิสลามยะลา เปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยฟาฏอนี โดยที่ประชุม คณะกรรมการการอุดมศึกษาเห็นชอบในคราวประชุมครั้งที่ 8/2556 เมือ่ วันที่ 3 ตุลาคม 2556 การเปลีย่ นประเภท จ�ำนวน 1 แห่ง คือ วิทยาลัย เฉลิมกาญจนา เปลีย่ นประเภทเป็นมหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา โดยที่ ประชุมคณะกรรมการการอุดมศึกษาเห็นชอบในคราวประชุมครั้งที่ 10/2556 เมือ่ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2556 2. การคืนเรือ่ ง โดยมติคณะอนุกรรมการการจัดตัง้ และเปลีย่ นประเภท สถาบันอุดมศึกษาเอกชน และมติคณะกรรมการการอุดมศึกษา และ การตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ เนือ่ งจากการเสนอโครงการจัดตัง้ ไม่เป็นไป ตามกฎกระทรวงก�ำหนดหลักเกณฑ์ วิธกี าร และเงือ่ นไขในการขอรับ ใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตให้จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2549 อาทิ รายงานการศึกษาความเป็นไปได้ไม่ครอบคลุม/รอบด้าน การประมาณการงบประมาณไม่ เ หมาะสมที่ จ ะจั ด การศึ ก ษาได้ อย่างมีคณ ุ ภาพ จ�ำนวน 13 โครงการ ประกอบด้วย วิทยาลัยยันฮี (จ.นครปฐม) วิทยาลัยนานาชาติลา้ นนา (จ.พะเยา) วิทยาลัยนานาชาติ

94 รายงานประจ�ำปี 2556

อาคาเดเมี ย ร์ อิ ต าเลี ย นา (จ.อุ ด รธานี ) วิ ท ยาลั ย เผยแพร่ พระพุ ท ธศาสนา (จ.นครศรี ธ รรมราช) วิ ท ยาลั ย เทคโนโลยีล ะโว้ (จ.ลพบุร)ี วิทยาลัยแลมป์เทค (จ.ล�ำปาง) สถาบันเทคโนโลยีมติ รภาพ (จ.พะเยา) สถาบันสัมมาสิกขาวิชชาราม (จ.อุบลราชธานี) วิทยาลัย นานาชาติเซนต์เทเรซา (จ.นครนายก) วิทยาลัยเอเชียไซเบอร์เทคโนโลยี (มหาสารคาม) วิทยาลัยเซาท์อสี ต์บางกอก (กทม.) วิทยาลัยนานาชาติ ราฟเฟิลส์ (จ.สมุทรปราการ) และมหาวิทยาลัยอีสานบัณฑิตพัฒนา (จ.ขอนแก่น) 3. โครงการทีอ่ ยูร่ ะหว่างด�ำเนินการ การขออนุ ญ าตจั ด ตั้ ง และเปลี่ ย นประเภทสถาบั น อุดมศึกษาเอกชนทีอ่ ยูใ่ นกระบวนการพิจารณา มีจำ� นวน 17 เรือ่ ง เป็น โครงการจัดตัง้ ใหม่ 11 เรือ่ ง และขอเปลีย่ นประเภท 6 เรือ่ ง ดังนี้ 1) โครงการทีข่ อจัดตัง้ ใหม่ ประกอบด้วย วิทยาลัย พรเพชรภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ (จ.ยโสธร) สถาบันการจัด การอี ส ต์ เ วสต์ (จ.ชั ย นาท) มหาวิ ท ยาลั ย เซ็ น ทรั ลแลงคาเชียร์ (จ.สมุทรสาคร) สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ (จ.สมุทรปราการ) วิทยาลัยนานาชาติราฟเฟิลส์ (จ.สมุทรปราการ) วิทยาลัยเอกวรรณ (จ.อ�ำนาจเจริญ) สถาบั น วิ ท ยาการจั ด การแห่ ง แปซิ ฟ ิค (จ.พะเยา) สถาบัน ยัน ฮี (จ.นครปฐม) วิทยาลัยเทคโนโลยีจิตรลดา (กทม.) สถาบันธรรมชัย (จ.พระนครศรีอยุธยา) และสถาบันวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีระยอง (จ.ระยอง) 2) โครงการขอเปลี่ ย นประเภทเป็ น มหาวิ ท ยาลั ย ประกอบด้วย วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ (กทม.) วิทยาลัยเทคโนโลยี สยาม (กทม.) วิทยาลัยเชียงราย (จ.เชียงราย) วิทยาลัยราชพฤกษ์ (กทม.) วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ (จ.นครศรีธรรมราช) และวิทยาลัยอินเตอร์เทค ล�ำปาง (จ.ล�ำปาง)


ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 95


ความร่วมมือกับต่างประเทศ

ความร่วมมืความร่ อกับต่วามมืงประเทศ อกับต่างประเทศ

สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ดาเนินความร่วมมือทางวิชาการกับ ่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานของการอุ ดมศึ กษาไทยให้ ที่ยอมรับอ่ ยก ต่างประเทศเพื ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุ ดมศึกษาได้ดำ� เนินความร่วมมื อทางวิ ชาการกับเต่ป็านงประเทศเพื ในระดั นานาชาติและพัฒนาศัดกมศึยภาพและสมรรถนะสากลของนั กศึกษา อาจารย์ และ ระดั บคุณบภาพและมาตรฐานของการอุ กษาไทยให้ ทีย่ อมรั บในระดั บนานาชาติ ฒนาศั กยภาพและ สานักงานคณะกรรมการการอุ ดมศึเกป็นษาได้ ดาเนิ นความร่ วมมืแอละพั ทางวิ ชาการกั บ บุ ค ลากรอุ ด มศึ กกษา ่ อ เป็ นและบุ การเตรี ย มความพร้ มเข้ า สู่ ก ารรวมตั สมรรถนะสากลของนั ศึกษาเพือาจารย์ คลากรอุ ดมศึกษา เพืออ่ เป็ นการเตรี ยมความพร้วอเป็ มเข้นาประชาคม สูก่ ารรวมตัวเป็น ต่างประเทศเพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานของการอุดมศึกษาไทยให้เป็นที่ยอมรับ อาเซียนและเสริ มสร้างขี ของประเทศโดยการส่ โดยการส่ มและ ประชาคมอาเซี ยนและเสริ มสร้ดาความสามารถในการแข่ งขีดความสามารถในการแข่งงขัขันนของประเทศ งเสริงมเสริ และสนั บสนุน ในระดับนานาชาติและพัฒนาศักยภาพและสมรรถนะสากลของนักศึกษา อาจารย์ และ บ สนุ ให้กสษาไทยสร้ ถาบั น อุาดงและสานต่ มศึ ก ษาไทยสร้ งและสานต่ เครื อนข่อุดามศึ ยความร่ ว มมื อ กั ทับ้งใน ให้สนั สถาบั นอุนดมศึ อเครือข่าายความร่ วมมือกับอสถาบั กษาต่างประเทศ บุ ค ลากรอุ ด มศึ ก ษา เพื่ อ เป็ น การเตรี ย มความพร้ อ มเข้ า สู่ ก ารรวมตั วเป็ น ประชาคม สถาบั ดมศึกษาต่ างประเทศรวมทั ทั้งในระดั มิภาคและระดั บนานาชาติ รวมทั บสนุกษาทั น ง้ ระดั บภูมนภิ อุาคและระดั บนานาชาติ ง้ สนับสนุบนภูและเข้ าร่วมกิจกรรมกั บหน่วยงานหลั กด้​้งาสนั นการศึ อาเซี ย นและเสริ ม สร้ า งขี ด ความสามารถในการแข่ ง ขั น ของประเทศ โดยการส่ ง เสริ ม และ ในระดั บทวิ และพหุ ภาคี ศูบนหน่ ย์ระดัวบยงานหลั ภูมภิ าคและองค์ การระหว่กาษาทั งประเทศต่ างๆ บทวิภาคีและพหุภาคี และเข้ าร่ภวาคีมกิ จกรรมกั กด้านการศึ ้งในระดั สนั บ สนุ น ให้ ส ถาบั น อุ ด มศึ ก ษาไทยสร้ า งและสานต่ อ เครื อ ข่ า ยความร่ ว มมื อ กั บ ศูนย์ระดับภูมิภาคและองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ สถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ รวมทั้งสนับสนุน และเข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานหลักด้านการศึกษาทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี ศูนย์ระดับภูมิภาคและองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ 96 รายงานประจ�ำปี 2556


การด�ำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน การจัดประชุมอย่างไม่เป็นทางการกับประเทศสมาชิกอาเซียน ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ริเริ่มการจัด ประชุมอย่างไม่เป็นทางการกับผู้บริหารหน่วยงานที่รับผิดชอบการ บริหารจัดการการอุดมศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน เมื่อปี พ.ศ. 2551 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปูพื้นฐานที่จะน�ำไปสู่การรวมตัวเป็น ประชาคมอาเซี ย นภายในปี พ.ศ. 2558 แลกเปลี่ ย นความรู ้ ประสบการณ์ ใ นการก� ำ หนดนโยบายและการบริ ห ารจั ด การการ อุดมศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึงการกระตุ้นและสร้าง ความคุ้นเคยระหว่างผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานที่รับผิดชอบการ บริหารจัดการอุดมศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียนให้ตื่นตัวกับการ รวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน โดยได้ด�ำเนินการจัดประชุมอย่างไม่ เป็นทางการแล้วจ�ำนวน 6 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ลาว สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และบรูไนดารุสซาลาม นอกจากนั้น ส�ำนัก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา ได้มีการประชุมในกรอบความร่วมมือระดับทวิภาคีในลักษณะคณะ ท�ำงานร่วมด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษา (Joint Working Group) กับประเทศมาเลเซีย ซึง่ จะเป็นเวทีในการส่งเสริมการด�ำเนินกิจกรรม ความร่วมมือระหว่างสองประเทศอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะสาขาที่ มีความสนใจร่วมกัน

สาระส�ำคัญจากการประชุมและกิจกรรมที่ได้ด�ำเนินการ ตามข้อตกลงจากที่ประชุมมีประเด็นหลัก ดังนี้ 1) การแลกเปลี่ยนบุคลากรระหว่างกันเพื่อศึกษาระบบ การท�ำงาน การสร้างความคุ้นเคยระหว่างบุคลากร 2) ความร่ ว มมื อ ในการพั ฒ นาและจั ด ตั้ ง วิ ท ยาลั ย ชุมชน การจัดท�ำพจนานุกรมภาษาลาว-ไทย-อังกฤษ การพัฒนา บุคลากร 3) การพัฒนาความร่วมมือในสาขาทีม่ คี วามสนใจร่วมกัน 7 สาขา ได้แก่ สาขาชีววิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์การกีฬา วิทยาศาสตร์ การอาหาร การศึกษาด้านเทคนิคและอาชีวศึกษา วิทยาลัยชุมชน การท�ำวิจยั ด้านมนุษยศาสตร์ และการจัดการโรงแรมและการท่องเทีย่ ว 4) ความร่วมมือในการเชื่อมโยงเครือข่ายสารสนเทศเพื่อ พัฒนาการศึกษา 5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการ ศึกษาระดับอุดมศึกษา

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 97


การสัมมนาวิชาการระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยกับเมียนมาร์และนิทรรศการการศึกษาไทย ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาร่วมกับกระทรวง การศึกษา สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง ได้จัดสัมมนาวิชาการเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้าน อุดมศึกษาระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยกับเมียนมาร์และนิทรรศการ การศึกษาไทย ณ กรุงย่างกุง้ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ เมือ่ วันที่ 13 มิถนุ ายน 2556 โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ พัฒนาความสัมพันธ์และ ส่งเสริมความร่วมมือด้านอุดมศึกษาระหว่างประเทศไทยและเมียนมาร์ให้ แน่นแฟ้นยิง่ ขึน้ พร้อมทัง้ ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลีย่ นความรู้ ความ เชีย่ วชาญ ข่าวสารข้อมูลระหว่างนักวิชาการของทัง้ สองฝ่าย ซึง่ จะช่วย สร้างความสัมพันธ์ทดี่ ตี อ่ กันบนฐานของความเข้าใจอันดีระหว่างสถาบัน อุดมศึกษาไทยกับเมียนมาร์ อันจะน�ำไปสู่การสานต่อเครือข่ายความ ร่วมมือทางวิชาการให้กว้างขวางและสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการให้แก่ สถาบันอุดมศึกษาของทัง้ สองประเทศ การจัดสัมมนาและนิทรรศการในครั้งนี้ได้เปิดโอกาสให้ ผูบ้ ริหารและคณาจารย์ของสถาบันอุดมศึกษาไทยและ เมียนมาร์ได้ แลกเปลีย่ นเรียนรูร้ ะหว่างกัน ซึง่ กระทรวงการศึกษาเมียนมาร์มงุ่ เน้น เรือ่ งการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับอุดมศึกษา การพัฒนาการ 98 รายงานประจ�ำปี 2556

จัดการศึกษานอกโรงเรียน การเรียนการสอนภาษาไทย รวมทัง้ การ แลกเปลี่ยนเรียนรู้นโยบายและแนวปฏิบัติในการบริหารจัดการการ อุดมศึกษา และการด�ำเนินกิจกรรมความร่วมมือระหว่างกัน เพือ่ เตรียม ความพร้อมรองรับการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ผูเ้ ข้าร่วมการสัมมนาดังกล่าว ประกอบด้วย ผูบ้ ริหารระดับสูง และคณาจารย์จากสถาบันอุดมศึกษาไทยจ�ำนวน 104 คนจาก 31 สถาบัน ผูแ้ ทนจากกรมอุดมศึกษา กระทรวงการศึกษา สาธารณรัฐแห่งสหภาพ เมียนมาร์ จ�ำนวน 14 คน และผูแ้ ทนจากสถาบันอุดมศึกษาเมียนมาร์ จ�ำนวน 95 คน จาก 46 สถาบัน นอกจากนี้ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้จดั นิทรรศการการศึกษาไทยควบคูก่ บั การจัดสัมมนาวิชาการ โดยได้ เชิญสถาบันอุดมศึกษาไทย กรมอุดมศึกษา กระทรวงการศึกษาเมียนมาร์ และสถาบันอุดมศึกษาเมียนมาร์รว่ มจัดนิทรรศการการศึกษาด้วย ทัง้ นี้ หน่วยงานทีร่ ว่ มจัดนิทรรศการ ได้แก่ สถาบันอุดมศึกษาไทย จ�ำนวน 25 แห่ง กรมอุดมศึกษา กระทรวงการศึกษาเมียนมาร์ และสถาบันอุดมศึกษา เมียนมาร์ จ�ำนวน 4 แห่ง และมีผเ้ ู ข้าชมนิทรรศการ จ�ำนวนประมาณ 600 คน


ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 99


การพั ฒ นาฐานข้ อ มู ล ดั ช นี ก ารอ้ า งอิ ง วารสารสำ�หรั บ ประเทศในกลุ่มอาเซียน (ASEAN Citation Index: ACI) ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้รเิ ริม่ สร้างความ ร่วมมือด้านการวิจยั ในกลุม่ ประเทศอาเซียน โดยเป็นเจ้าภาพจัดประชุม The First Conference on Pioneering ASEAN Higher Education Research Cluster เมือ่ เดือนพฤศจิกายน 2553 ซึง่ ทีป่ ระชุมในครัง้ นัน้ เห็นชอบและสนับสนุนการจัดตัง้ ASEAN Citation Index : ACI โดยมี วัตถุประสงค์เพือ่ ผลักดันให้ผลงานวิจยั ของสถาบันอุดมศึกษาในอาเซียน ได้มีการเผยแพร่และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล แนวทางการจัดตั้ง ASEAN Citation Index (ACI) เริม่ จากการชักชวนให้แต่ละประเทศ สมาชิกอาเซียนจัดท�ำฐานข้อมูลดัชนีการอ้างอิงวารสารระดับประเทศ (National Citation Index: NCI) เพือ่ เป็นกลไกผลักดันให้เกิดการ พัฒนาคุณภาพผลงานทางวิชาการผ่านการพัฒนาคุณภาพวารสารภายใน ประเทศ จากนัน้ จึงท�ำการเชือ่ มโยงข้อมูลจาก NCI ของแต่ละประเทศ เข้ากับฐานข้อมูล ACI เพือ่ ใช้เป็นฐานข้อมูลกลางส�ำหรับรวบรวมผลงาน ตีพมิ พ์จากวารสารของประเทศสมาชิก ให้สามารถสืบค้นข้อมูลการตีพมิ พ์ และข้อมูลการอ้างอิงร่วมกันได้ นอกจากนี้ จะมีการส่งเสริมให้เกิดการ แลกเปลีย่ นความรู้ ความเข้าใจถึงแนวทางในการพัฒนาคุณภาพวารสาร วิชาการร่วมกันระหว่างประเทศในอาเซียน การมีฐานข้อมูลวารสารระดับ ประเทศและระดับภูมภิ าคจะมีสว่ นส�ำคัญเป็นอย่างยิง่ ต่อการพัฒนางาน วิชาการของประเทศในด้านต่างๆ เช่น การจัดศักยภาพทางด้านงานวิจัย ของบุคลากรในประเทศและภูมิภาคระดับนานาชาติ การตัดสินใจ เลือกมหาวิทยาลัยของนักศึกษาในและนอกภูมิภาค รวมทั้งการจัด อันดับมหาวิทยาลัยโลกด้วย โครงการนีเ้ ริม่ ด�ำเนินการเมือ่ ปี พ.ศ. 2554 100 รายงานประจ�ำปี 2556

โดยศูนย์ดชั นีการอ้างอิงวารสารไทย {Thai-Journal Citation Index (TCI) Centre} มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรภี ายใต้การ สนับสนุนงบประมาณจากส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้รว่ มกับศูนย์ดชั นี การอ้างอิงวารสารไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรจี ดั การ ประชุม ASEAN Citation Index Workshop for Steering Committee ครัง้ ที่ 1 เมือ่ วันที่ 19 สิงหาคม 2556 โรงแรมพูลแมน บางกอก คิง พาวเวอร์ โดยเชิญผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียนที่ท�ำหน้าที่ บรรณาธิการของวารสารทางวิชาการชัน้ น�ำของแต่ละประเทศมาร่วมหารือ ถึงแนวทางการขับเคลือ่ นด�ำเนินงาน ได้แก่ การจัดตัง้ คณะกรรมการบริหาร การจัดท�ำระบบฐานข้อมูลโครงการ การก�ำหนดเกณฑ์การคัดเลือก วารสารที่มีคุณภาพของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าสู่ฐานข้อมูล ของ ACI และประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุมครั้งที่ 2 ปลาย เดือนกุมภาพันธ์ 2557


ความร่วมมือภายใต้กรอบข้อริเริ่มลุ่มน้ำ�โขงตอนล่าง (Lower Mekong Initiative: LMI) Lower Mekong Initiative (LMI) เป็นกรอบความร่วมมือที ่ ริเริม่ โดยสหรัฐอเมริกา มีวตั ถุประสงค์เพือ่ แลกเปลีย่ นข้อมูล ความรู้ และ ประสบการณ์ของประเทศสมาชิกเมือ่ ปี พ.ศ. 2552 โดยแรกเริม่ มีประเทศ สมาชิก 5 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว เวียดนาม ไทย และสหรัฐอเมริกา และก�ำหนดกรอบสาขาความร่วมฃมือ 4 สาขา และประเทศผูร้ บั ผิดชอบ หลัก โดยพิจารณาจากความต้องการในการพัฒนาของแต่ละประเทศ สมาชิก ดังนี้ กัมพูชารับผิดชอบสาขาสุขภาพ (Health) ลาวรับผิดชอบ สาขาโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) เวียดนามรับผิดชอบสาขา สิ่งแวดล้อม (Environment) และไทยรับผิดชอบสาขาการศึกษา (Education) ส�ำหรับสหรัฐอเมริกาเป็นตัวกลางเชื่อมโยงความ ร่วมมือและรับผิดชอบร่วมในทุกสาขา ในการประชุมรัฐมนตรีตา่ งประเทศข้อริเริม่ ลุม่ น�ำ้ โขงตอนล่าง ครัง้ ที่ 5 เมือ่ เดือนกรกฎาคม 2555 ทีก่ รุงพนมเปญ ทีป่ ระชุมมีมติรบั สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์เข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิกโดยให้รบั ผิดชอบในสาขาการเกษตรและความมัน่ คงทางอาหาร (Agriculture and Food Security) และขยายขอบเขตของสาขาให้ครอบคลุมมากขึน้ โดยปรับเปลี่ยนชื่อสาขาโครงสร้างพื้นฐานเป็น ‘ความเชื่อมโยง’ (Connectivity) และสิ่งแวดล้อมเป็น ‘สิ่งแวดล้อมและแหล่งน�้ำ’ (Environment and Water) และประเทศไทยได้เสนอให้มีสาขาใหม่ ในเรื่องความมั่นคงด้านพลังงาน (Energy Security) พร้อมทั้ง ขอรับเป็นประเทศผู้รับผิดชอบหลัก กระทรวงการต่างประเทศได้ขอให้สำ� นักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษารับเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในสาขาการศึกษา ในปี งบประมาณ 2555 ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ขอความ ร่วมมือสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันแกนหลัก ในการด�ำเนินโครงการอบรมภาษาอังกฤษ LMI-English Project: Professional Communication Skills for Leaders ให้แก่ผบ้ ู ริหาร นักวิจยั ข้าราชการระดับกลางถึงระดับสูงของประเทศสมาชิกแรกเริม่ 4 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว เวียดนาม และไทย โดยจัดอบรมเชิงปฏิบตั กิ ารเพือ่

พัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการประชุมระดับนานาชาติและการน�ำ เสนอจ�ำนวน 4 ครัง้ ๆ ละ 3 สาขาความร่วมมือ โดยสาขาสาธารณสุข จัดการอบรม ณ ประเทศกัมพูชา สาขาโครงสร้างพืน้ ฐาน จัดการอบรม ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาขาสิง่ แวดล้อม จัดการ อบรม ณ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม พร้อมทั้งจัดการประชุม Lower Mekong Initiative (LMI) English for Specific Purposes (ESP) Symposium เพือ่ เป็นเวทีระดมความคิดเห็นในการสร้างองค์ความรูแ้ ละ การก�ำหนดยุทธศาสตร์การด�ำเนินงานในอนาคต ในการประชุมคณะท�ำงานระดับภูมภิ าคข้อริเริม่ ลุม่ น�ำ้ โขง ตอนล่าง ครัง้ ที่ 4 เมือ่ เดือนเมษายน 2556 ทีส่ าธารณรัฐสังคมนิยม เวียดนาม ทีป่ ระชุมเห็นชอบในการสานต่อโครงการอบรมภาษาอังกฤษ ระยะทีส่ อง ดังนัน้ ในปีงบประมาณ 2556 ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาร่วมกับสหรัฐอเมริกา และสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ได้ดำ� เนินโครงการอบรมภาษาอังกฤษระยะทีส่ องให้แก่ ผูบ้ ริหาร นักวิจยั ข้าราชการระดับกลางถึงระดับสูงของประเทศสมาชิก LMI ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม และไทย โดยจัดการอบรม ใน 6 สาขาความร่วมมือในแต่ละประเทศสมาชิกพร้อมๆ กัน ส�ำหรับ ประเทศไทย ผูบ้ ริหาร นักวิจยั ข้าราชการไทยจะเข้าร่วมการอบรม ณ สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลักสูตรการฝึกอบรมเน้น กิจกรรมการใช้ภาษาในการประชุมสัมมนาจริง 40 ชัว่ โมงในลักษณะ face-to-face และการใช้ภาษาในการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการจ�ำลองสถานการณ์เสมือนจริง 20 ชัว่ โมงภายหลังการอบรม จากนัน้ จะมีการประชุม LMI Forum ระหว่างนักวิชาการ นักวิจยั และ ผูแ้ ทนจากหน่วยงานภาครัฐของกลุม่ ประเทศลุม่ น�ำ้ โขงตอนล่าง เพือ่ เป็น เวทีระดมความคิดเห็นในการสร้างองค์ความรูแ้ ละก�ำหนดยุทธศาสตร์ การด�ำเนินงานในอนาคต รวมทัง้ เปิดโอกาสให้สถาบันการศึกษาระดับ อุดมศึกษาในภูมภิ าคสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาการเรียนการ สอนและการฝึกอบรม

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 101


การส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษและภาษาประเทศเพื่อนบ้าน ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้เล็งเห็นความ ส�ำคัญของการส่งเสริมและพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษและภาษาของ กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านให้แก่นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรอุดมศึกษาไทย อันจะเป็นการสร้างศักยภาพ ของบัณฑิตในอนาคตให้มคี วามสามารถตอบสนองตลาดแรงงานและ การเคลือ่ นย้ายก�ำลังคนระหว่างสมาชิกของประชาคมอาเซียน และเป็น การเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพื่อรองรับ การประกาศใช้กฎบัตรอาเซียนที่มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศสมาชิก อาเซียนไปสูป่ ระชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 โครงการมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ เรียนการสอนภาษาอังกฤษและภาษาของประเทศเพือ่ นบ้าน ได้แก่ ภาษาพม่า ภาษาลาว ภาษาเขมร ภาษาเวียดนาม ภาษาบาฮาซา มาเลเซีย และภาษาบาฮาซาอินโดนีเซีย และส่งเสริมและพัฒนา ศักยภาพของนักศึกษาในการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาของประเทศ เพือ่ นบ้านให้อยูใ่ นระดับทีใ่ ช้ในการท�ำงานได้เป็นอย่างดี (Proficiency working level) โดยมีเป้าหมายให้ได้ผลการวิจยั ทีจ่ ะน�ำไปใช้เป็นแนวทาง การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษและภาษาประเทศเพือ่ นบ้าน ให้มปี ระสิทธิภาพมากยิง่ ขึน้ และมีผลในทางปฏิบตั จิ ริง และสามารถกระตุน้ ให้เกิดความตื่นตัวและตระหนักถึงความส�ำคัญของภาษาอังกฤษและ ภาษาของประเทศเพื่อนบ้าน อันจะน�ำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของ ทรัพยากรบุคคลทีต่ อบสนองความต้องการของตลาดแรงงานและการ 102 รายงานประจ�ำปี 2556

เคลือ่ นย้ายก�ำลังคนระหว่างสมาชิกของประชาคมอาเซียน ตลอดจน เกิดเครือข่ายความร่วมมือด้านการอุดมศึกษาของประเทศไทยกับ สถาบันอุดมศึกษาในประเทศสมาชิกอาเซียนมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด และยัง่ ยืน ในปี พ.ศ. 2556 ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้สนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาด�ำเนินโครงการที่ผ่านการคัดเลือก จ�ำนวนรวม 84 โครงการ แบ่งเป็น 1) โครงการวิ จั ย เพื่ อ ส่ ง เสริ ม และพั ฒ นาการเรี ย นการ สอนภาษาอังกฤษเชิงวิชาชีพส�ำหรับการท�ำงานในประชาคมอาเซียน จ�ำนวน 22 โครงการ 2) โครงการการวิ จั ย เพื่ อ ส่ ง เสริ ม และพั ฒ นาการเรี ย น การสอนภาษาของประเทศเพื่อนบ้าน (ภาษาเขมร ภาษาบาฮาซา มาเลเซีย/อินโดนีเซีย ภาษาพม่า ภาษาลาว และภาษาเวียดนาม จ�ำนวน 9 โครงการ 3) โครงการจั ด กิ จ กรรมส่ ง เสริ ม และพั ฒ นาทั ก ษะการ ใช้ภาษาอังกฤษ ให้แก่นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร จ�ำนวน 25 โครงการ 4) โครงการจั ด กิ จ กรรมส่ ง เสริ ม และพั ฒ นาทั ก ษะการ ใช้ภาษาของประเทศเพื่ อ นบ้า น (ภาษาเขมร ภาษาบาฮาซา มาเลเซี ย /อินโดนีเซีย ภาษาพม่า ภาษาลาว และภาษาเวียดนาม) ให้แก่นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร จ�ำนวน 28 โครงการ


การด�ำเนินความร่วมมือในกรอบอาเซียน สหภาพยุโรป และเอเชีย-ยุโรป ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ริเริ่มสานต่อ และสนับสนุนความร่วมมือด้านต่างประเทศภายใต้กรอบความ ร่วมมือต่างๆ ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี เพื่อแสดงบทบาท น�ำด้านวิชาการและด้านการบริหารจัดการเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างประเทศของสถาบันอุดมศึกษาไทย และเพื่อเป็นเวที ในการริ เ ริ่ ม หรื อ ก� ำ หนดกิ จ กรรมใหม่ ที่ จ ะมี ผ ลกระทบโดยตรง ต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการเตรียมความพร้อมของ ประเทศไทยให้มีความสามารถในการแข่งขันได้ในเวทีโลก ทั้งนี้ ความคืบหน้าของความร่วมมือในกรอบต่างๆ มีดังนี้ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 103


เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network: AUN) ได้จดั ตัง้ ขึน้ เมือ่ ปี 2538 ตามมติของทีป่ ระชุมสุดยอด อาเซียน ครั้งที่ 4 ซึ่งมีด�ำริให้อาเซียนเร่งสร้างความเป็นปึกแผ่นและ การพัฒนาเอกลักษณ์ของภูมภิ าคผ่านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดย การสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาในภูมภิ าคเพือ่ ที่ จะจัดตัง้ มหาวิทยาลัยอาเซียนในท้ายทีส่ ดุ เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน จึงนับเป็นเครือข่ายความร่วมมือด้านอุดมศึกษาทีจ่ ดั ตัง้ ขึน้ ตามเจตจ�ำนง ของรัฐบาลอาเซียน มีรัฐมนตรีการศึกษาของอาเซียนเป็นผู้ลงนามใน กฎบัตร (Charter) และผูบ้ ริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยสมาชิกลงนาม ในข้อตกลงร่วม (Agreement) ทัง้ นี้ เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนเป็น องค์ประกอบหนึง่ ในองค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา (ASEAN Sectoral Ministerial Bodies) ในเสาประชาคมสังคมและวัฒนธรรม อาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community) ประเทศไทยในฐานะ ประเทศสมาชิกอาเซียนได้มบี ทบาทส�ำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุน การบริหารและด�ำเนินงานของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนมาตัง้ แต่ เริม่ ก่อตัง้ โดยคณะรัฐมนตรีได้มมี ติเห็นชอบในหลักการให้ประเทศไทย เป็นเจ้าภาพทีต่ งั้ ถาวรของส�ำนักงานเลขานุการเครือข่ายมหาวิทยาลัย อาเซียน ในปี 2542 โดยคณะกรรมการอ�ำนวยการเครือข่ายมหาวิทยาลัย อาเซียน (AUN Board of Trustees เป็นกลไกระดับบริหารและส�ำนักงาน เลขานุการเครือข่ายเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนเป็นกลไกระดับปฏิบตั ิ เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน ประกอบด้วย มหาวิทยาลัย ชั้นน�ำของอาเซียน จ�ำนวน 30 แห่ง สถาบันอุดมศึกษาไทยเข้าร่วม เป็ น สมาชิ ก จ� ำ นวน 5 แห่ ง ได้ แ ก่ จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 104 รายงานประจ�ำปี 2556

ปัจจุบนั กิจกรรมภายใต้เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนได้ขยาย ขอบเขตออกไปอย่างกว้างขวาง นอกจากจะมีความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยสมาชิกทัง้ ในด้านการแลกเปลีย่ นนักศึกษา และคณาจารย์ การท�ำวิจยั ร่วม การจัดท�ำหลักสูตรอาเซียนศึกษา การประกันคุณภาพ การศึกษา และการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารแล้ว ยังได้มีกิจกรรม ความร่วมมือกับประเทศคูเ่ จรจาของอาเซียน 6 ประเทศ ได้แก่ จีน รัสเซีย อินเดีย เกาหลี ญีป่ นุ่ และสหภาพยุโรป โดยเฉพาะความร่วมมือ กับเกาหลีและญี่ปุ่นประสบความส�ำเร็จอย่างมาก และส่งผลให้เกิด การจัดตั้งส�ำนักงานระหว่างประเทศขึ้นอีก 2 แห่ง ในประเทศไทย คือ ส�ำนักงานเลขานุการโครงการเครือข่ายการพัฒนาการศึกษา ด้านวิศวกรรมศาสตร์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN University Network/Southeast Asia Engineering Education Development Network: AUN/SEED-Net) ซึ่งเป็นความร่วมมือ ระหว่างเครื อ ข่า ยมหาวิ ท ยาลั ย อาเซี ย นกั บญี่ ปุ่ น และ ASEAN Center for Korean Studies ซึ่งเป็นกิจกรรมความร่วมมือของ เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนกับสาธารณรัฐเกาหลี เพื่ อ ส่ ง เสริ ม การแลกเปลี่ ย นนั ก ศึ ก ษาระหว่ า ง มหาวิทยาลัยสมาชิก เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนได้มีการพัฒนา ระบบการถ่ายโอนหน่วยกิตของอาเซียน (ASEAN Credit Transfer System: ACTS) ขึ้ น เพื่ อ เป็ น เครื่ อ งมื อ ในการถ่ ายโอนหน่วยกิต ส�ำหรับการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยสมาชิกของ เครื อ ข่ า ยมหาวิ ท ยาลั ย อาเซี ย น ปั จ จุ บัน มี มหาวิ ท ยาลัยสมาชิก 14 แห่ง เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาผ่านระบบ ACTS หลักสูตรที่อยู่ในระบบจ�ำนวน 12,369 หลักสูตร และมีนักศึกษา เข้าร่วมโครงการจ�ำนวน 84 คน (นับถึงเดือนมีนาคม 2556)


ศูนย์ภูมิภาคแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าด้วยการอุดมศึกษาและการพัฒนา (SEAMEO RIHED) SEAMEO RIHED (Southeast Asian Ministers of Education Organization Regional Centre for Higher Education and Development) เป็น ศูน ย์หนึ่งภายใต้ อ งค์ การ รัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีบทบาทส�ำคัญในการ สนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และคุณภาพของอุดมศึกษาในภูมิภาคผ่านกิจกรรมการจัดฝึกอบรม ประชุ ม สั ม มนา การท�ำวิจัยและการเป็น ศูน ย์เอกสารและข้ อ มู ล ด้านการอุดมศึกษาระดับภูมิภาค ประเทศไทยโดยส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นเจ้าภาพที่ตั้งและให้การสนับสนุนงบประมาณด� ำ เนิ น งานของ SEAMEO RIHED มาตั้งแต่ป ี 2531 ซึ่งส่งผลให้ประเทศไทยมี บทบาทน� ำ ในการจั ด กิ จ กรรมทางวิ ช าการในประเด็ น ที่ มี ค วาม ส� ำ คั ญ และมี ค วามสนใจร่ ว มกั น เพื่ อ พั ฒ นาการอุ ด มศึ ก ษาใน ภูมิภาค

กลไกการด�ำเนินงานของศูนย์ฯ ประกอบด้วย คณะกรรมการ บริหาร ซึ่งมีเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นประธาน คณะกรรมการบริหาร และสมาชิกประกอบด้วยผู้แทนทางด้าน อุดมศึกษาจากประเทศสมาชิก SEAMEO 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน ดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลปิ ปินส์ สิงคโปร์ ไทยและเวียดนาม รวมทัง้ ผูแ้ ทนจากองค์กรระหว่างประเทศทางด้านการ ศึกษาทีเ่ กีย่ วข้อง ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาร่วมกับ SEAMEO RIHED ได้ด�ำเนินกิจกรรม/โครงการเพื่อส่งเสริมความเป็นสากลของ อุดมศึกษาไทยและการบูรณาการการอุดมศึกษาในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ผ่านโครงการต่าง ๆ ได้แก่ โครงการ ASEAN International Mobility for Students (AIMS) โครงการ Internationalisation Award (iAward) และการจัดประชุม The Meeting of Directors General/Secretary General/ Commissioner of Higher Education in Southeast Asia ครั้งที่ 6 ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 105


การประชุมรัฐมนตรีศึกษาเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 4 รั ฐมนตรี ว ่าการกระทรวงศึก ษาธิการ (นายพงศ์ เ ทพ เทพกาญจนา) ได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีศึกษาเอเชีย-ยุโรป ครัง้ ที่ 4 จัดโดยกระทรวงการอุดมศึกษาของมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 13-14 พฤษภาคม 2556 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย โดยมี รัฐมนตรีที่รับผิดชอบด้านการศึกษาและเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสของ ประเทศสมาชิ ก เอเชีย-ยุโรป เข้า ร่ว มประชุม ประมาณ 150 คน จากประเทศสมาชิกทั้งหมด 34 ประเทศ (ประเทศสมาชิกเอเชีย-ยุโรป มี 49 ประเทศ) และ 7 องค์กรระหว่างประเทศ โดยที่ประชุมได้ ต้อนรับประเทศบังกลาเทศ นอรเวย์ และสวิตเซอร์แลนด์ เข้าร่วม เป็นประเทศสมาชิกใหม่ของเอเชีย-ยุโรป

106 รายงานประจ�ำปี 2556

ประเทศไทยได้ เ สนอเข้ า ร่ ว มโครงการน� ำ ร่ อ งภายใต้ โครงการ ASEM Work Placement Pilot Program ร่วมกับเบลเยียม (Flemish Community) บรูไนดารุสซาลาม และเยอรมนี ซึ่งเป็น โครงการความร่วมมือระหว่างภูมิภาคที่ส่งเสริมการฝึกปฏิบัติใน สถานประกอบการจริง และสร้างความเข้าใจด้านความแตกต่างทาง วัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมและเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในการท�ำงานก่อนออกไปท�ำงานหลังส�ำเร็จการ ศึกษาแล้ว ซึ่งจะเป็นการลดช่องว่างระหว่างการเรียนในห้องเรียนกับ การท�ำงานในชีวิตจริง


Internationalization and Tuning of Higher Education Structures โครงการ Internationalization and Tuning of Higher Education Structures อยู่ภายใต้ Thailand-EU Cooperation Facility - Phase II (TEC II): Policy Dialogues Support Component และเป็นความร่วมมือระหว่างคณะผู้แทนสหภาพ ยุโรปประจ�ำประเทศไทยกับส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสถาบันคลังสมองของชาติ ภายใต้โครงการนี้มีผู้เชี่ยวชาญของ EU มาร่วมด�ำเนินกิจกรรมใน 3 สาขา ได้แก่ 1) Internationalization of Higher Education การเชิญผู้เชี่ยวชาญ EU (Assoc. Prof. Petrus Kommers และ Mr. Darren McDermott) มาร่วมประเมินโครงการแลกเปลี่ยน นักศึกษากับต่างประเทศที่ด�ำเนินการโดยส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา การพัฒนากระบวนการเทียบเคียงสมรรถนะหลักสูตร นานาชาติ ข องสถาบัน อุด มศึก ษาไทยกับ ยุโรป รวมทั้ ง การศึ ก ษา เปรี ย บเที ย บการบู ร ณาการของสหภาพยุ โ รปกั บ การรวมตั ว เป็ น ประชาคมอาเซียนทีส่ ง่ ผลกระทบต่อสถาบันอุดมศึกษา และส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษาร่วมกับคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจ�ำ ประเทศได้มกี ารจัด Conference on Internationalisation Policy and Strategy : Lessons Learned from EU and Thailand’s Experiences ณ โรงแรมพลูแมน บางกอก คิง พาวเวอร์ เมื่ อ วั น ที่ 31 ตุ ล าคม 2556 เพื่ อ ขยายผลการด� ำ เนิ น งานและแลกเปลีย่ น เรียนรูร้ ะหว่างกัน โดยมีผบู้ ริหารและผูแ้ ทนทีด่ แู ลงานด้านต่างประเทศ จากสถาบันอุดมศึกษาทัว่ ประเทศเข้าร่วมการประชุม

2) University Governance - การเชิญผูเ้ ชีย่ วชาญ EU (Mrs. Nadine Burquel) มาเป็นวิทยากรแลกเปลีย่ นความรูแ้ ละ แนวปฏิบตั ทิ ดี่ ใี นการก�ำกับดูแลสถาบันอุดมศึกษา ภายใต้ University Governance Program (UPG) ของสถาบันคลังสมองของชาติ 3) Standard and Evaluation - การเชิญผูเ้ ชีย่ วชาญ EU (Prof. José Lino Contreras) มาประชุมเชิงปฏิบัติการร่วม กั บคณาจารย์ ข องไทยในสาขาวิ ชาวิ ท ยาศาสตร์ แ ละคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ การท่องเที่ยวและการโรงแรม วิศวกรรมศาสตร์ โลจิสติกส์ พยาบาลศาสตร์ และการบัญชี กิจกรรมในการประชุม เชิงปฏิบตั กิ าร รวมถึงการสังเกตลักษณะและวิธกี ารสอนของอาจารย์ การร่วมกันสร้างเครื่องมือที่เหมาะสมกับเนื้อหาวิชาและน�ำไปทดลอง ใช้ในการเรียนการสอนในห้องเรียน ตลอดจนการประเมินพฤติกรรม การเรียนรู้ของผู้เรียน และจะขยายผลการประยุกต์ใช้เครือ่ งมือต่างๆ ไปสูส่ าขาวิชาอืน่ ๆ ต่อไป และเพือ่ เป็นการขยายผลการด�ำเนินงาน ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ร่วมกับคณะผู้แทนสหภาพ ยุ โ รปประจ� ำ ประเทศไทย จั ด การประชุ มเชิ ง ปฏิบัติการและการ ประชุมวิชาการ เรื่อง ‘กรอบมาตรฐานคุณวุฒแิ ละการปฏิรปู การ เรียนการสอนในสถาบันอุดมศึกษา’ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2556 ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค โดยมีผู้ร่วมการประชุม ประกอบด้วย คณะอนุกรรมการด้านมาตรฐานอุดมศึกษา คณาจารย์นำ� ร่องในสาขา วิชาต่างๆ ของกรอบมาตรฐานคุณวุฒริ ะดับอุดมศึกษา และผูบ้ ริหาร สถาบันอุดมศึกษาทัว่ ประเทศ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 107


การแลกเปลี่ยนนักศึกษาไทยกับต่างประเทศ

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ให้ความส�ำคัญกับ การแลกเปลีย่ นนักศึกษากับต่างประเทศมาโดยตลอดเนือ่ งจากเป็นกลไก ส�ำคัญที่น�ำไปสู่การพัฒนาคุณภาพทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษา ไทยให้ได้มาตรฐานเป็นทีย่ อมรับในระดับนานาชาติ ทัง้ ยังเป็นรากฐาน ส�ำคัญทีส่ ง่ เสริมการเคลือ่ นย้ายนักศึกษา บุคลากรและนักวิชาชีพให้มี ความสมดุลมากขึน้ นอกจากนัน้ ยังเป็นกลไกส�ำคัญทีจ่ ะน�ำไปสูก่ ารบูรณาการ การอุดมศึกษาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อสนับสนุนการ พัฒนาอุดมศึกษาไทยให้มคี ณ ุ ภาพ มาตรฐานทางวิชาการทีท่ ดั เทียมกับ สากล และเตรียมความพร้อมของนักศึกษาไทยให้มคี วามรู้ ความสามารถ ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ ทัง้ นี้ โครงการแลกเปลีย่ นนักศึกษากับต่างประเทศที่ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาด�ำเนินการทุกโครงการได้กำ� หนด ให้มกี ารถ่ายโอนหน่วยกิตของนักศึกษาแลกเปลีย่ นกลับไปยังสถาบันต้น สังกัดเพือ่ ส่งเสริมการยอมรับคุณวุฒกิ ารศึกษาระดับอุดมศึกษาระหว่าง สถาบันอุดมศึกษาไทยกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศในระยะยาว โครงการแลกเปลีย่ นนักศึกษากับต่างประเทศทีส่ ำ� นักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาด�ำเนินการ มีดงั นี้ 108 รายงานประจ�ำปี 2556


1) โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา ไทยกับต่างประเทศ (University Mobility in Asia and the Pacific : UMAP) มีนกั ศึกษาไทยเข้าร่วมโครงการ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ จีน ไต้หวัน และรัสเซีย จ�ำนวน 17 คน 2) โครงการ ASEM - DUO Fellowship Programme (DUO - Thailand) นักศึกษาไทยและยุโรปได้รบั คัดเลือกเข้าร่วม โครงการ จ�ำนวน 3 คู่ (6 คน) โดยนักศึกษาไทยไปแลกเปลีย่ นทีป่ ระเทศ สวีเดน เบลเยีย่ ม และฝรัง่ เศส และนักศึกษาจากประเทศดังกล่าวมา แลกเปลีย่ นในประเทศไทย 3) โครงการน�ำร่องการแลกเปลี่ยนนัก ศึ ก ษามาเลเซี ย อินโดนีเซียและไทย (Malaysia-Indonesia-Thailand Student Mobility Programme: M-I-T Student Mobility Programme) ปัจจุบนั เปลีย่ นชือ่ เป็นโครงการ ASEAN International Mobility for Students (AIMS) Programme โดยส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาร่วมกับศูนย์ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าด้วยการ อุดมศึกษาและการพัฒนาได้รเิ ริม่ ขึน้ ในปี พ.ศ.2553 เพือ่ สร้างความ

กลมกลืนของการอุดมศึกษาในภูมภิ าคอาเซียน ซึง่ จะสนองตอบการ รวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558 และมุง่ หวังที่จะลด ช่องว่างความแตกต่างทั้งทางด้านภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน โดยสนับสนุนการแลกเปลีย่ น นักศึกษาระดับปริญญาตรีแบบสองทางให้ไปแลกเปลี่ ย นเป็ น เวลา 1 ภาคการศึกษา และก�ำหนดให้มีการถ่ายโอนหน่วยกิตระหว่าง กันอย่างน้อย 9 หน่วยกิต ใน 7 สาขาวิชา มีประเทศสมาชิกอาเซียน ทีเ่ ข้าร่วมโครงการ 6 ประเทศ โดยมีสถาบันอุดมศึกษาไทยทีไ่ ด้รบั การ คัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการมีจ�ำนวน 7 สถาบัน 4) โครงการแลกเปลี่ ย นนั ก ศึ ก ษาไทยและอาเซี ย น ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ริเริ่มโครงการแลกเปลี่ยน นักศึกษาไทยและอาเซียนขึ้นในปีงบประมาณ 2555 เพื่อเตรียมความ พร้อมสู่การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน พัฒนาศักยภาพนักศึกษา ไทยให้พร้อมกับการแข่งขันในตลาดแรงงานในภูมิภาค และส่งเสริม การถ่ายโอนหน่วยกิตกลับมายังสถาบัอุดมศึกษาไทย รวมทั้งใช้การ ศึกษาน�ำไปสูก่ ารกระชับความสัมพันธ์กบั ประเทศสมาชิกอาเซียน

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 109


ความร่วมมือทางวิชาการระดับทวิภาคี ระหว่างไทย-จีน ประเทศไทยได้ ด� ำ เนิ น กิ จ กรรมความร่ ว มมื อ ร่ ว มกั บ ส�ำนักงานฮั่นปั้นและสถานเอกอัครราชทูตจีนประจ�ำประเทศไทย ดังนี้ o โครงการครูอาสาสมัครชาวจีน ประจ�ำปี 2556 รวม 227 คน ปฏิบัติงานที่สถาบันอุดมศึกษา 91 คน และปฏิบัติงานที่ สถาบันขงจื่อ 136 คน o โครงการประกวดสุนทรพจน์ภาษาจีนระดับอุดมศึกษา o การส�ำรวจข้อมูลการเรียนการสอนภาษาจีนในสถาบัน อุดมศึกษาไทย ประจ�ำปีการศึกษา 2556 ส� ำ หรั บ ความร่ ว มมื อ ด้ า นทุ น การศึ ก ษาและการพั ฒ นา อาจารย์ระหว่างไทยและจีน ได้ด�ำเนินการผ่านโครงการต่าง ๆ ดังนี้ o โครงการแลกเปลีย่ นทุนการศึกษาไทย-จีน ฝ่ายละ 7 ทุน โดยนั ก ศึ ก ษาจี น มาศึ ก ษาในสาขาวิ ช าภาษาและวรรณคดี ไ ทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นระยะเวลา 10 เดือน (1 ปีการศึกษา) ส�ำหรับนักศึกษาไทย 7 คน ได้ไปศึกษา ณ Beijing Normal University, Huazhong Normal University, East China Normal University, Wu Han University และ Zhejiang University สาธารณรัฐประชาชนจีน o โครงการอบรมเทคนิคการสอนภาษาจีนส�ำหรับอาจารย์ ชาวไทย จ�ำนวน 80 คน จัดโดยส�ำนักงานฮัน่ ปัน้ สาธารณรัฐประชาชนจีน o โครงการอบรมร�ำมวยไท้เก๊กประจ�ำปี 2556 ส�ำหรับ อาจารย์พลศึกษาประเทศไทย จ�ำนวน 40 คน

110 รายงานประจ�ำปี 2556


ความร่วมมือด้านการศึกษาภายใต้กรอบเอเปค

กระทรวงศึกษาธิการในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบเครือข่ายด้านการศึกษา (Education Network: EDNET) ซึ่งเป็นเครือข่าย ภายใต้คณะท�ำงานเอเปคด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRDWG) โดยส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้เข้าร่วมประชุมคณะท�ำงาน เอเปคด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRDWG) ครั้งที่ 35 ซึ่งประกอบด้วย การประชุมเครือข่ายด้านการศึกษา (Education Network: EDNET) ครั้งที่ 29 เมื่อวันที่ 22 - 26 มิถุนายน 2556 ณ เมืองเมดาน สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาระจากการประชุมสรุปได้ดังนี้ o ประเทศไทยเสนอตัวให้ความช่วยเหลือเวียดนามในการจัดประชุมรัฐมนตรีด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ครั้งที่ 6 ในปี พ.ศ. 2557 ร่วมกับประเทศออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ จีนไทเป และสหรัฐอเมริกา o น�ำเสนอรายงานการด�ำเนินโครงการในสาขาการพัฒนาทักษะส�ำหรับศตวรรษที่ 21 ซึ่งให้ความส�ำคัญกับรูปแบบการเรียนการ สอนวิชาคณิตศาสตร์ o ผูแ้ ทนมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้รายงานผลการด�ำเนินโครงการ Emergency Preparedness Education ซึง่ ได้รบั งบประมาณ สนับสนุนจากเอเปค และได้นำ� เสนอข้อเสนอแนวคิดโครงการเรือ่ ง Emergency Preparedness Education Focus on Fire and Eruption เพือ่ ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากเอเปคต่อไป o ไทยเสนอตัวเข้าร่วมเป็นกรรมการในคณะกรรมการความร่วมมือเฉพาะกิจ (Ad Hoc Coordinating Committee) ร่วมกับเขต เศรษฐกิจสมาชิก ในสาขาการศึกษาด้านเทคนิคและอาชีวศึกษาและคุณภาพการอุดมศึกษา o ร่วมจัดท�ำแผนงานความร่วมมือด้านการจัดการศึกษาข้ามพรมแดน (Cross-Border Education Cooperation Workplan) ร่วมกับเขตเศรษฐกิจสมาชิกอื่นของเครือข่ายด้านการศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 111


การจัดท�ำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางวิชาการ ด้านอุดมศึกษากับต่างประเทศ เนือ่ งจากโลกก้าวสูก่ ารเปลีย่ นแปลงในทุกๆ ด้าน ซึง่ เป็นผล สืบเนือ่ งจากกระแสโลกาภิวตั น์และการก้าวสูก่ ารรวมตัวเป็นประชาคม อาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาใน ฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งเสริมและสนับสนุนการ พัฒนาความเป็นสากลของสถาบันอุดมศึกษาผ่านการสร้างเครือข่าย ความร่วมมือกับต่างประเทศจึงเห็นสมควรจัดท�ำยุทธศาสตร์ด้าน ต่างประเทศของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเพื่อใช้เป็น กรอบและแนวทางในการด� ำ เนิ น การและพั ฒ นาความร่วมมือกับ ต่างประเทศให้มีประสิทธิภาพและเพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาไทยได้รับ ประโยชน์สงู สุด รวมทัง้ ตอบสนองความต้องการของสถาบันอุดมศึกษา และทิศทางการพัฒนาประเทศ ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาได้ จั ด ท� ำ ยุ ท ธศาสตร์ ด ้ า นต่ า งประเทศของส� ำ นั ก งานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาและยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางวิชาการด้านอุดมศึกษา ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และ เวียดนาม) โดยร่างยุทธศาสตร์ที่ได้เป็นยุทธศาสตร์แบบองค์รวมของ การอุดมศึกษาไทยที่ต้องอาศัยการขับเคลื่อนร่วมกันระหว่างสถาบัน อุดมศึกษาและส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ขณะนี้ ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาอยู ่ ใ น ระหว่างกระบวนการจัดท�ำยุทธศาสตร์ทั้งสองฉบับให้เป็นยุทธศาสตร์ ฉบับสมบูรณ์เพื่อน�ำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

112 รายงานประจ�ำปี 2556


ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 113


การพัฒนาศักยภาพนักศึกษา

การพัฒนาศักยภาพนักศึกษา

ดมศึดมศึ กษาระยะยาว (พ.ศ.2551 2551- 2565) - 2565) ให้แนวทางการ แผนอุ แผนอุ กษาระยะยาว15 15 ปีปี ฉบั ฉบับบทีที่ ่ 22(พ.ศ. ได้ให้ได้ แนวทางการพั ฒนาเยาวชน พันักฒศึนาเยาวชน นั ก ศึ ก ษา และบั ณ ฑิ ต ในอนาคต โดยให้ อ ุ ด มศึ ก ษาส่ ง เสริ ม กิ จ กรรมนอก กษา และบัณฑิตในอนาคต โดยให้อดุ มศึกษาส่งเสริมกิจกรรมนอกหลักสูตร เพือ่ เพิม่ พืน้ ทีก่ ารเรียนรูข้ อง หลั กสูตร เพืก่อศึเพิกษา ่มพืในรู ้นทีป่กแบบของทั ารเรียนรูก้ขษะชี องเยาวชนและนั ศึกษา ในรูน้ ฐานที ปแบบของทั กษะชีว้ ชิ วาการ ิต การ เยาวชนและนั วติ ทักษะสังคม กสมรรถนะพื ข่ า้ มพ้นความรู ทัสะสมความรู ก ษะสั ง คม สมรรถนะพื้ นงฐานที ่ ข้ า มพ้ าการ การสะสมความรู ้ แ ละ สมั พันธ์ แ้ ละความสามารถเชิ บูรณาการที ฝ่ งั ตันวความรู ทีห่ าไม่ไ้ วด้ิ ชจากการเรี ยนการสอนในห้องทีข่ าดปฏิ ความสามารถเชิ ง บูอ้ รหาให้ ณาการที ่ ฝั ง ตับวสภาพสั ที่ ห าไม่ จ ากการเรี ย นการสอนในห้ งที่ ข าด โดยปรับรูปแบบและเนื เหมาะสมกั งคมไ ด้การบู รณาการกิ จกรรมนอกหลักสูตอรและชี วติ จริงเข้า ปฏิ สั มกพัสูตนรเป็ ธ์ โดยปรั บ รู ป แบบและเนื บ สภาพสั การบู รอณาการ กับหลั นอีกแนวทางหนึ ง่ เพือ่ ให้น้ อกั ศึหาให้ กษาได้เ หมาะสมกั ฝกึ มีความท้ าทายต่อนังกคม ศึกษาและต่ อาจารย์มากกว่า กิการสอนจากต� จกรรมนอกหลั กสูาตงเดี รและชี บหลักสูดตให้รเป็ อีกยแนวทางหนึ ่ง เพืจกรรม ่อให้นักโดยเฉพาะอย่ ศึกษาได้ างยิง่ ำราอย่ ยว ทัวง้ ิตนีจริ ้ อุงดเข้มศึากกัษาควรจั มกี นารเรี นการสอนและกิ ฝึพักฒนาการทางด้ มีความท้าทายต่ อนัอ่ กความ ศึกษาและต่ มากกว่ าการสอนจากต าราอย่ างเดีการท� ยว ทัำ้งงานเป็ นี้ นทีม านการสื การตัดอสินอาจารย์ ใจ การพั ฒนาความเป็ นผูน้ ำ� การแก้ ปญ ั หา อุความอดทน ดมศึ ก ษาควรจั ให้ มี ก ารเรีย นการสอนและกิ จกรรม โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ งพั ฒนาการ และคุณดธรรม

114

ทางด้านการสื่อความ การตัดสินใจ การพัฒนาความเป็นผู้นา การแก้ปัญหา การทางาน เป็นทีม ความอดทน และคุณธรรม รายงานประจ�ำปี 2556


ค่ายอาเซียน

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยคณะท�ำงาน โครงการค่ายอาเซียน ตระหนักและเล็งเห็นความส�ำคัญในการขับเคลือ่ น การเรียนรูป้ ระชาคมอาเซียนสูส่ ถาบันอุดมศึกษา จึงจัดท�ำโครงการค่าย อาเซียน มีวตั ถุประสงค์เพือ่ ให้นกั ศึกษาเกิดความตระหนัก และเสริมสร้าง ความรูค้ วามเข้าใจ ผ่านกระบวนการจัดกิจกรรมทีห่ ลากหลาย เพือ่ ส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ประชาคมอาเซียน ตลอดจนการสร้างเครือข่ายและความสัมพันธ์อนั ดี ต่อกันของเยาวชนในกลุม่ อาเซียน ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดโครงการค่าย อาเซียน ระหว่างวันที่ 9 - 12 สิงหาคม 2556 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบ้านไทยรีสอร์ท (หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย) จังหวัดสุพรรณบุรี มีนกั ศึกษาเข้าร่วมโครงการ จ�ำนวนทัง้ สิน้ 120 คน ประกอบด้วย

นักศึกษาต่างชาติ (ประเทศสมาชิกอาเซียน) ทีศ่ กึ ษาในสถาบันอุดมศึกษา ในประเทศไทย จ�ำนวน 26 คน และนักศึกษาไทย จ�ำนวน 94 คน จาก 66 สถาบัน เป็นนักศึกษาสังกัดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ/สถาบันอุดมศึกษา ในก�ำกับของรัฐ จ�ำนวน 38 คน สถาบันอุดมศึกษาเอกชน จ�ำนวน 45 คน มหาวิทยาลัยราชภัฏ จ�ำนวน 30 คน และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคล จ�ำนวน 7 คน โดยมีกจิ กรรมการบรรยาย การฝึกปฏิบตั ิ การจัดกิจกรรมการเรียนรูท้ เี่ กีย่ วกับประชาคมอาเซียน ในรูปแบบของ การบูรณาการในกลุม่ สาระการเรียนรูต้ า่ งๆ ทัง้ นี้ ได้พฒ ั นากิจกรรมให้ เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ ให้ได้เรียนรูว้ ฒ ั นธรรมของประเทศ เพือ่ นบ้าน การท�ำงานร่วมกันของเยาวชน และประสบการณ์ในการ ท�ำงานกับชาติตา่ งๆ ทัง้ ในอาเซียนและขยายไปสูส่ ากลได้ ซึง่ จะเป็น ประโยชน์สงู สุดแก่นกั ศึกษาและผูเ้ กีย่ วข้องต่อไป ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 115


การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ‘บัณฑิตไทยไม่โกง’ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้การสนับสนุน สถาบันอุดมศึกษาจัดโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและ ธรรมาภิบาล ‘บัณฑิตไทยไม่โกง’ โดยมุง่ หวังว่าสถาบันอุดมศึกษาจะมี การบูรณาการเนือ้ หาความมีคณ ุ ธรรม จริยธรรม ความพอเพียง ความ ซื่อสัตย์สุจริต และปัญหาทุจริตคอรัปชั่นเข้ากับรายวิชาในหลักสูตร ศึกษาทัว่ ไป ตลอดจนสร้างสรรค์กจิ กรรมเสริมสร้างค่านิยมทีถ่ กู ต้องดีงาม เพือ่ พัฒนานักศึกษาอย่างต่อเนือ่ ง ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้สนับสนุน เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา 9 เครือข่าย ด�ำเนินการจัดท�ำ กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ‘บัณฑิตไทย ไม่โกง’ เครือข่ายละไม่เกิน 1,500,000.-บาท ไม่จ�ำกัดจ�ำนวน โครงการ กิจกรรมประกอบด้วย การประชุม การสัมมนา การฝึก อบรม การเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กิจกรรมค่าย และการ จัดกิจกรรมรณรงค์ โดยเป็นกิจกรรมที่ก�ำหนดวัตถุประสงค์และ การด�ำเนินการอย่างชัดเจนในการสนับสนุนและส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ความพอเพียง ความซื่อสัตย์สุจริตและแก้ไขปัญหาทุจริต คอรัปชั่น และเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์และนวัตกรรมทางความคิดที่ สามารถปลูกฝังค่านิยมอื่นๆ ที่ดีงาม โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของ บุคลากรและนักศึกษาในเครือข่าย นอกจากนี้ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษายังได้ จัดโครงการประกวด ผลิตและเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ การรณรงค์ ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาล ‘บัณฑิตไทยไม่โกง’

116 รายงานประจ�ำปี 2556

ประกอบด้วย การประกวดบทความ แอนิเมชั่น และภาพยนตร์สั้น ภายใต้หัวข้อ ‘บัณฑิตไทยไม่โกง’ เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ สร้างสรรค์ผลงานสือ่ ทางเลือกทีจ่ ะสามารถเข้าถึงกลุม่ เป้าหมายทีเ่ ป็น เยาวชนรุ่นใหม่ สื่อให้เห็นวิธีคิดของเยาวชนรุ่นใหม่ในการจัดการกับ ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในยุคปัจจุบันอย่างสร้างสรรค์ อาศัยพลังของ บัณฑิตไทยในการเป็นพลเมืองทีม่ คี ณ ุ ภาพ มีภมู ติ า้ นทาน รักความ ถูกต้อง มีความกล้าหาญทางจริยธรรมและเป็นผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง โดยผลงานที่ได้รับรางวัลจะได้รับการเผยแพร่ไปยังสื่อต่างๆ และ กระจายไปยั ง สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาทุ ก แห่ ง ในสั ง กั ด ส� ำ นั ก งานคณะ กรรมการการอุดมศึกษา ทัง้ นี้ เพือ่ กระตุน้ ให้เยาวชนตืน่ ตัว เห็นความ ส�ำคัญ หันมาสนใจปัญหาที่เกิดขึ้นและพร้อมที่จะเป็นก�ำลังส�ำคัญใน การต่อต้านการทุจริตคอรัปชัน่ และการโกงทุกรูปแบบต่อไป กลุ ่ ม เป้ า หมายเป็ น นั ก ศึ ก ษาที่ ก� ำ ลั ง ศึ ก ษาอยู ่ ใ น ระดับปริญญาตรีทุกสถาบัน ในสังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา ทั้งนี้ หลังจากปิดรับผลงานเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2556 มี นักศึกษาสนใจและส่งผลงานเข้าร่วมประกวด จ�ำนวน 330 ผลงาน ซึ่งคณะกรรมการตัดสินได้พิจารณาผลงานและได้มีการประกาศผล และรับรางวัลอย่างเป็นทางการ ในการประชุมทางวิชาการประจ�ำปี 2556 เรื่อง ‘บัณฑิตไทย คนรุ่นใหม่หัวใจคุณธรรม’ ซึ่งจัดโดยที่ ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 ณ ห้องแกรนด์ ไดมอนด์ บอลรูม ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี


ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 117


ค่ายเรียนรู้และเผยแพร่โครงการพระราชด�ำริ

การด�ำเนินงานในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ นอกจากการฟื้นฟู พัฒนา และส่งเสริมความอยู่ดีกินดีแก่ราษฎรแล้ว อีกหนึ่งแนวทางการด�ำเนินการที่ส�ำคัญ คือ การสร้างรากฐานความรู้ การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ คุณธรรมและจริยธรรม น�ำความรอบรู้ อย่างเท่าทัน มีสุขภาวะที่ดี อยู่ในครอบครัวที่อบอุ่น ชุมชนที่เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ มีความมั่นคงในการด�ำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีภายใต้ ดุลยภาพของความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ดังนัน้ เพือ่ ให้แนวพระราชด�ำริและหลักการทรงงานของ พระองค์ทา่ น สามารถถ่ายทอดไปสูน่ สิ ติ นักศึกษา ซึง่ เป็นกลุม่ คนรุน่ ใหม่ ที่จะมีส่วนช่วยในการสานต่อแนวพระราชด�ำริให้บังเกิดความยั่งยืน และเพือ่ สร้างกระบวนการเรียนรู้ที่มีความต่อเนื่อง ทั้งต่อการศึกษา และการด�ำรงชีวติ ในสังคม ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จึงจัดให้มกี ารด�ำเนินงานโครงการ ‘ค่ายเรียนรูแ้ ละเผยแพร่โครงการ พระราชด�ำริ’ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการต่อยอดขยายผลการเรียนรู้ เกี่ยวกับหลักการทรงงาน รวมถึงพระราชกรณียกิจ และพระราชด�ำริ ในเรื่ องความซื่ อสั ต ย์สุจริต และการเป็น อยู่อย่ า งพอเพี ย ง ที่ ไ ด้ พระราชทานความช่วยเหลือผ่านโครงการอันเนือ่ งมาจากพระราชด�ำริ ในพืน้ ทีต่ า่ งๆ โดยมีกิจกรรมการให้ความรู้เชิงบูรณาการ ผสมผสาน การเรียนรู้และปฏิบตั จิ ากพืน้ ทีจ่ ริง อันเป็นพืน้ ฐานส�ำคัญของแต่ละ ชุมชน ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาได้ ใ ห้ ก าร สนับสนุนเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา 9 เครือข่าย จัดท�ำ 118 รายงานประจ�ำปี 2556

โครงการค่ายเรียนรูแ้ ละเผยแพร่โครงการพระราชด�ำริ ทีม่ งุ่ เน้นความดี ตามหลักการทรงงานและแนวพระราชด�ำริ ในเรือ่ งความซือ่ สัตย์สจุ ริต และการเป็นอยู่อย่างพอเพียง เครือข่ายละ 4 - 5 ค่าย รวม 40 ค่าย เป็นเงินงบประมาณ 9,500,800 บาท โดยมีผลการด�ำเนินงานในปี 2556 ดังนี้ o เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบน จ�ำนวน 5 ค่าย งบประมาณ 1,205,000 บาท o เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษาภาคเหนือตอนล่าง จ�ำนวน 5 ค่าย งบประมาณ 1,205,000 บาท o เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียง เหนือตอนบน จ�ำนวน 4 ค่าย งบประมาณ 964,000 บาท o เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียง เหนือตอนล่าง จ�ำนวน 4 ค่าย งบประมาณ 964,000 บาท o เครื อ ข่ า ยเพื่ อ การพั ฒ นาอุ ด มศึ ก ษาภาคตะวั น ออก จ�ำนวน 3 ค่าย งบประมาณ 723,000 บาท o เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษาภาคกลางตอนบน จ�ำนวน 5 ค่าย งบประมาณ 1,065,800 บาท o เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง จ�ำนวน 8 ค่าย งบประมาณ 1,928,000 บาท o เครื อ ข่ า ยเพื่ อ การพั ฒ นาอุ ด มศึ ก ษาภาคใต้ ต อนบน จ�ำนวน 3 ค่าย งบประมาณ 723,000 บาท o เครื อ ข่ า ยเพื่ อ การพั ฒ นาอุ ด มศึ ก ษาภาคใต้ ต อนล่ า ง จ�ำนวน 3 ค่าย งบประมาณ 723,000 บาท


ค่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรม

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ด�ำเนินงาน โครงการค่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรม โดยน�ำนิสิต นักศึกษาจากจังหวัดชายแดนภาคใต้และในภูมภิ าคอืน่ ๆ มาแลกเปลีย่ น ประสบการณ์และเรียนรู้ซึ่งกันและกันผ่านการร่วมกิจกรรมและ ั นธรรม ซึง่ อยู่ ทัศนศึกษาสังคมหรือชุมชนทีม่ ลี กั ษณะพหุลกั ษณ์พหุวฒ ร่วมกันอย่างมีความสุข โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ ส่งเสริมให้นสิ ติ นักศึกษา มีทศั นคติทดี่ ใี นการอยูร่ ว่ มกันในสังคมพหุวฒ ั นธรรมและเปิดโอกาสให้ นิสติ นักศึกษาได้รวมกลุม่ สร้างความสัมพันธ์อนั ดีทจี่ ะน�ำไปสูก่ ารสร้าง สันติสขุ ซึง่ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ดำ� เนินโครงการ อย่างต่อเนือ่ งมาตัง้ แต่ปี 2550 จนถึงปัจจุบนั ในปีงบประมาณ 2556 ส�ำนัก งานคณะกรรมการ การอุ ด มศึ ก ษาร่ ว มกับ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ได้ จัด โครงการ

ระหว่างวันที่ 13 - 17 ธันวาคม 2555 ณ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต และโรงแรมริเวอร์วิว เพลส จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีผู้เข้าร่วม โครงการประมาณ 100 คน ประกอบด้ ว ย นั ก ศึ ก ษาจาก จั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ 50 คน และนั ก ศึ ก ษาจากภาคอื่ น ๆ ทั่วประเทศ 50 คน นักศึกษาที่ได้เข้าร่วมโครงการจะได้รับความ รู้เรื่องสังคมพหุวัฒนธรรมของไทย ได้ทัศนศึกษาสังคมและชุมชน ที่มีลักษณะของการอยู่ร่วมกันแบบพหุลักษณ์พหุวัฒนธรรม และ ร่ ว มกิ จ กรรมที่ ส ่ ง เสริ ม ให้ นั ก ศึ ก ษาได้ แ ลกเปลี่ ย นความคิ ด เห็ น และประสบการณ์ รวมทั้ ง ร่ ว มคิ ด โครงการต่ อ ยอดความรู ้ แ ละ ประสบการณ์ ที่ ไ ด้ รั บ เพื่ อ ขยายผลโครงการไปถ่ายทอดให้ผู้อื่น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมและชุนชนต่อไป ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 119


การรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถาบันอุดมศึกษา รัฐบาลก�ำหนดนโยบายให้การป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติด เป็นวาระแห่งชาติโดยก�ำหนดให้ปฏิบัติการพลังแผ่นดิน เอาชนะยาเสพติดอย่างยั่งยืน ปี 2556 เป็นยุทธศาสตร์ส�ำคัญ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ด�ำเนินงานตามแผนงานที่ 3 การสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติด (Potential Demand) การสร้างภูมิคุ้มกัน นอกจากจะสร้างความรู้ความเข้าใจแล้ว ยังต้อง ปลูกฝังทัศนคติจนกระทั่งกลายเป็นทักษะการใช้ชีวิตที่ห่างไกลจาก ยาเสพติ ด ต้ อ งใช้ เ วลาในการสร้ า งและสะสมผ่ า นกิ จ กรรมใน หลากหลายรูปแบบแตกต่างกันตามสภาพสถานการณ์ปัญหาในพื้นที่ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษามีเครือข่ายเพื่อ การพัฒนาอุดมศึกษา 9 เครือข่าย ท�ำหน้าทีถ่ า่ ยทอดและผลักดันนโยบาย เกีย่ วกับการอุดมศึกษา ซึง่ เป็นกลไกส�ำคัญในการด�ำเนินงานด้านการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดระดับพืน้ ทีม่ าอย่างต่อเนือ่ ง โดยในปี 2556 ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สนับสนุนงบประมาณให้ เครือข่ายจัดท�ำโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดใน สถาบันอุดมศึกษา ในภาพรวมของเครือข่าย จ�ำนวน 152 โครงการ เพื่อร่วมกันสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดให้แก่นิสิตนักศึกษา สร้างคุณภาพชีวติ ลดจ�ำนวนผูเ้ สพรายใหม่ ขจัดปัจจัยเสีย่ งทีเ่ อือ้ ต่อ ปัญหายาเสพติดให้หมดไป นอกจากการด�ำเนินโครงการในส่วนของนิสิตนักศึกษา ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษายั ง ได้ ด� ำ เนิ น การใน ส่ ว นของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันปัญหายาเสพติดใน 120 รายงานประจ�ำปี 2556

สถาบันอุดมศึกษา ด้วยการจัดโครงการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ เจ้าหน้าทีผ่ ปู้ ฏิบตั งิ านด้านการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถาบัน อุดมศึกษา โดยได้จดั ท�ำหลักสูตรร่วมกับส�ำนักงาน ป.ป.ส. หลักสูตร 3 วัน 2 คืน มีวตั ถุประสงค์เพือ่ เพิม่ พูนศักยภาพผูป้ ฏิบตั งิ านให้มี องค์ความรู้ ประสบการณ์ การเฝ้าระวัง การบ�ำบัดรักษา และการ ให้การปรึกษาเชิงบวก ด�ำเนินการทั้งสิ้น 5 รุ่น จ�ำนวน 294 คน รายละเอียดดังนี้ o ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ด�ำเนินการ 2 รุน่ คือ กลุม่ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 20 - 22 พ.ค.2556 ณ โรงแรม รามาดา เดมา มักกะสัน กรุงเทพฯ จ�ำนวน 72 คน และกลุม่ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ระหว่างวันที่ 11 - 13 กรกฎาคม 2556 ณ โรงแรม เอเชีย แอร์พอร์ท จังหวัดปทุมธานี จ�ำนวน 56 คน o มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ อุ ต รดิ ต ถ์ ด� ำ เนิ น การในกลุ ่ ม ภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 25 - 27 มิถนุ ายน 2556 ณ โรงแรมสีหราช จังหวัดอุตรดิตถ์ จ�ำนวน 52 คน o มหาวิทยาลัยขอนแก่น ด�ำเนินการในกลุม่ ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 19 - 21 มิถนุ ายน 2556 ณ โรงแรมราชาวดี รีสอร์ท แอนด์ โฮเทล จังหวัดขอนแก่น จ�ำนวน 68 คน o มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ ด� ำ เนิ น การในกลุ ่ ม ภาคใต้ ระหว่างวันที่ 17 - 19 มิถุนายน 2556 ณ โรงแรมบีพี แกรนด์ทาวเวอร์ หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จ�ำนวน 46 คน


การคัดเลือกนักศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทาน ระดับอุดมศึกษา งานคัดเลือกนักศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทานระดับ อุดมศึกษา ถือเป็นหนึ่งในพันธกิจของส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุ ด มศึ ก ษา ที่ ต ้ องการส่งเสริม และสนับ สนุน การพั ฒ นาคุ ณ ภาพ มาตรฐาน และศักยภาพของนักศึกษา ให้สอดรับกับนโยบายส�ำคัญใน การพัฒนาบัณฑิตในอุดมคติไทยสองประการ คือ การพัฒนาบัณฑิต อุดมคติไทยที่สอดคล้องกับบริบทของสถาบันอุดมศึกษา โดยเน้นให้ บัณฑิตมีความภูมิใจในสถาบันและสามารถด�ำรงชีวิตได้อย่างสง่างาม รวมทั้งการพัฒนาบัณฑิตให้เกิดการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม นิสิตนักศึกษาจึงต้องได้รับการพัฒนาทั้งในระหว่างเรียนและการ เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่สถาบันจัดขึ้น และการพัฒนาบัณฑิต อุดมศึกษาในบริบทที่เป็นสากล โดยจะต้องมีความเป็นพลวัตรให้ เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของโลกภายนอกเพื่อพัฒนาบัณฑิตให้ สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งจ�ำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องอาศัยความร่วมมือของสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่ง ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ด�ำเนินการ คัดเลือกนักศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทานระดับอุดมศึกษาอย่าง ต่อเนื่องเป็นประจ�ำทุกปี ตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 จนถึงปัจจุบัน โดยการคัดเลือกก�ำหนดให้แบ่งสถาบันอุดมศึกษาออกเป็น 5 เขต จ�ำแนกตามสถานทีต่ งั้ ของสถาบัน คือ พืน้ ทีภ่ มู ภิ าค 4 เขต และพืน้ ที่

กรุงเทพมหานคร 1 เขต แต่ละเขตแบ่งสถานศึกษาออกเป็น 3 ขนาด คือ ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ตามจ�ำนวนของนักศึกษาใน แต่ละปีการศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จัดประชุม สัมมนาการคัดเลือกนักศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทาน และมอบโล่ เชิดชูเกียรติให้สถาบันอุดมศึกษาที่มีนักศึกษารับรางวัลพระราชทาน ระดั บอุ ด มศึ ก ษาสามปี การศึ ก ษาขึ้ น ไป โดยสถาบันอุดมศึกษา ที่ ได้รับโล่เชิดชูเกียรติจำ� นวน 9 สถาบัน ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ น มหาวิ ท ยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา และมหาวิทยาลัย นอร์ทกรุงเทพ โดยในปีการศึกษา 2555 มีนักศึกษาที่ได้รับรางวัล พระราชทาน จ�ำนวน 16 คน และนักศึกษาพิการ จ�ำนวน 5 คน นอกจากนี้ มีนกั ศึกษาทีไ่ ด้รบั รางวัลชมเชยจากกระทรวง ศึกษาธิการ จ�ำนวน 30 คน นักศึกษาพิการได้รบั รางวัลชมเชยกระทรวง ศึกษาธิการ 7 คน และรางวัลชมเชยจากส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา จ�ำนวน 36 คน นักศึกษาพิการที่ได้รับรางวัลชมเชยจาก ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 1 คน

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 121


กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที ่ 28 มีนาคม 2538 และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2539 ให้เริม่ ด�ำเนินการในลักษณะเงินทุนหมุนเวียน ตามนัยมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัตเิ งินคงคลัง พ.ศ. 2491 โดยมี 3 หน่วยงาน หลักที่รับผิดชอบ คือ กระทรวงการคลัง กระทรวงศึกษาธิการ และส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และต่อมาได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2541 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กู้ยืมเงินแก่นักเรียน/นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ตั้งแต่ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (สายสามัญและสายอาชีพ) จนถึงระดับปริญญาตรี เพื่อเป็นค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และ ค่าครองชีพระหว่างศึกษา ในปีการศึกษา 2556 ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาโดยคณะอนุกรรมการบัญชีจ่ายที่สองได้อนุมัติจัดสรรจ�ำนวนรายและ วงเงินส�ำหรับผู้กู้ยืมรายใหม่ ให้แก่สถานศึกษาในสังกัดและในก�ำกับ ดังนี้

ระดับการศึกษา มัธยมศึกษาตอนปลาย ปวช. ปวท./ปวส. อนุปริญญา/ปริญญาตรี

122 รายงานประจ�ำปี 2556

จ�ำนวนผู้กู้ (ราย) 27 612 1,395 48,715

วงเงินให้กู้ยืม(บาท) 491,400 18,604,800 53,568,000 2,533,180,000


กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.)

กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2547 โดยให้ส�ำนักงาน กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เป็นผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) โดยเริ่มด�ำเนินการให้กู้ส�ำหรับนิสิต/นักศึกษา ชั้นปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2549 เป็นปีแรก และถูกยกเลิก ในปีการศึกษา 2550 และปีการศึกษา 2553 2554 และตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2555 ให้ด�ำเนินการกู้ยืมกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2555 เป็นต้นไป โดยให้ทุนการศึกษาแบบต้องใช้คืนส�ำหรับนิสิต/นักศึกษาในชั้นปีที่ 1 ระดับอาชีวศึกษา ชัน้ สูง (ปวส.) ทุกสาขา/วิชา และระดับอนุปริญญา/ปริญญาตรี ทีศ่ กึ ษาในสาขาวิชาทีเ่ ป็นความต้องการหลักและมีความชัดเจนของการผลิตก�ำลังคน โดยปีการศึกษา 2556 มีหลักสูตร/สาขาวิชา ทั้งสิ้น 1,313 หลักสูตร/สาขาวิชา โดยการช�ำระคืนเงินกู้จะยึดโยงกับความสามารถในการ หารายได้ในอนาคตเป็นส�ำคัญ งบประมาณการให้กู้ยืมกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) ในปีการศึกษา 2556 เป็นเงิน 7,942 ล้านบาท (รวมทั้งผู้กู้ยืมรายเก่าและรายใหม่) ผลการด�ำเนินงานกองทุนเงินกูย้ มื เพือ่ การศึกษาทีผ่ กู กับรายได้ในอนาคต (กรอ.) ประจ�ำปีการศึกษา 2556 ในส่วนของคณะอนุกรรมการ บัญชีจา่ ยทีส่ อง ข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2556 ดังนี้

ระดับการศึกษา

ผู้กู้ยืมรายเก่า

ผู้กู้ยืมรายใหม่ (ปี 1)

รวม (จ�ำนวนราย)

วงเงิน (ล้านบาท)

ปวส.

38

19

57

2.1030

อนุ/ปริญญาตรี

10,855

17,834

28,689

1,999.5853

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 123


การพัฒนาความเป็นเลิศด้านกีฬาให้กับนิสิตนักศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เริม่ ด�ำเนินโครงการ พัฒนาความเป็นเลิศด้านกีฬาให้กบั นิสติ นักศึกษา ในปีงบประมาณ 2553 ภายใต้การก�ำกับดูแลของคณะกรรมการบริหารกีฬามหาวิทยาลัย แห่งประเทศไทย (ก.ก.ม.ท) โดยเริ่มจัดตั้งศูนย์ฝึกกีฬาของโครงการ 10 แห่ง ได้แก่ ศูนย์ฝึกกีฬาเทควันโด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์ฝกึ กีฬาวอลเลย์บอลชาย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ศูนย์ฝกึ กีฬา วอลเลย์บอลหญิง มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ศูนย์ฝกึ กีฬาบาสเกตบอลชาย มหาวิ ท ยาลั ย ศรี น คริน ทรวิโรฒ ศูน ย์ฝึก กีฬ าบาสเกตบอลหญิ ง มหาวิทยาลัยศรีปทุม ศูนย์ฝกึ กีฬาวอลเลย์บอลชายหาดมหาวิทยาลัย ราชภัฏวไลอลงกรณ์ ศูนย์ฝึกกีฬากอล์ฟ มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง ศู นย์ ฝ ึ ก กี ฬ าแบดมิ นตัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศู น ย์ รั ง สิ ต ศูนย์ฝึกกีฬาเทเบิลเทนนิส จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์ฝึก กีฬาเทนนิส มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 124 รายงานประจ�ำปี 2556

ผลการด�ำเนินงานในปีงบประมาณ 2556 ซึง่ ได้ปรับ ลดจ�ำนวนศูนย์ฝกึ กีฬาลงเหลือ จ�ำนวน 7 แห่ง มีนกั กีฬาทีม่ ที กั ษะความ สามารถและผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการฯ เข้าร่วมโครงการ รวมทั้งสิ้น 132 คน โดยนักกีฬาของโครงการฯ ได้รับคัดเลือกเข้าร่วม การแข่งขันรายการกีฬาทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อพัฒนา ความสามารถ และสร้ า งประสบการณ์ ในรายการที่ ส� ำ นั ก งาน คณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาสนั บสนุ น อาทิ การแข่งขัน กี ฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครัง้ ที่ 40 และการแข่งขันกีฬา มหาวิทยาลัยอาเซียน ครัง้ ที่ 16 ซึง่ นักกีฬาในโครงการได้รบั การพัฒนา ศักยภาพเข้าสูก่ ารแข่งขันระดับทีมชาติ อาทิ นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิง นักกีฬาวอลเลย์บอลชายหาด นักกีฬาบาสเกตบอล


การประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์การกีฬาส�ำหรับผู้ฝึกสอนกีฬา ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษามีภารกิจในการ พัฒนานิสิต นักศึกษาและบุคลากรด้านกีฬาเพื่อพัฒนามาตรฐาน ด้า นกี ฬ าให้ กั บ ประเทศ การพัฒนาบุคลากรด้า นกี ฬาจึ ง มี ค วาม ส�ำคัญและจ�ำเป็นในกระบวนการพัฒนานักกีฬา ซึง่ การด�ำเนินงานด้าน กีฬาของสถาบันแต่ละแห่งมีงบประมาณสนับสนุนทีแ่ ตกต่างกัน ดังนัน้ หากสถาบันสามารถประยุกต์ใช้อปุ กรณ์การฝึกทีม่ รี าคาไม่สงู มากร่วม กับความรูใ้ นด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาจะช่วยประหยัดงบประมาณและ สร้างมาตรฐานการพัฒนานักกีฬาได้อกี ระดับหนึง่ ในปีงบประมาณ 2556 ส�ำนัก งานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬา ร่วมกับศูนย์ฝกึ กีฬาเพือ่ ความเป็นเลิศบาสเกตบอลหญิง มหาวิทยาลัย ศรีปทุม และวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัย มหิดล จัดการอบรมเชิงปฏิบตั กิ าร เรือ่ ง ‘การพัฒนาบุคลากรด้านกีฬา เพือ่ การพัฒนาความเป็นเลิศด้านกีฬาให้กบั นิสติ นักศึกษา’ ในระหว่างวันที่

18 - 21 มีนาคม 2556 ณ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมุง่ เน้นให้ผเู้ ข้ารับ การอบรมได้เรียนรู้หลักการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อการ ฝึกซ้อมกีฬาให้กับนิสิตนักศึกษา ทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ พร้อมทัง้ ผลักดันให้วงการกีฬาของสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ได้มโี อกาส พัฒนาบุคลากร โดยเฉพาะผูท้ ที่ ำ� หน้าทีเ่ ป็นผูฝ้ กึ สอนกีฬาประเภทต่างๆ ในแต่ละสถาบัน โดยในเนื้อหาการฝึกอบรมมุ่งเน้นปลูกฝังแนวคิด ในการพัฒนาหรือประยุกต์ใช้อุปกรณ์การฝึกและวิธีการฝึกแบบง่าย เพือ่ ให้เหมาะสมกับสถานที่ และงบประมาณ แต่มปี ระโยชน์จากการฝึกสูง อันจะเป็นกระบวนการส�ำคัญที่จะท�ำให้ผู้ฝึกเข้าอบรมได้เกิดแนวคิด และสามารถน�ำไปใช้พัฒนาประสิทธิภาพของนักกีฬา ที่เป็นนักศึกษา ของแต่ละสถาบันการศึกษา ให้มีประสิทธิภาพและความสามารถ ในการเล่นกีฬาที่ดียิ่งขึ้น และจะส่งผลต่อการพัฒนามาตรฐานกีฬา มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยให้สูงยิ่งขึ้นไป ซึ่งมีผู้สนใจจากสถาบัน ต่างๆ เข้าร่วมการอบรมจ�ำนวน 150 คน ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 125


การส่งเสริมกีฬาเพื่อสุขภาพในสถาบันอุดมศึกษา

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ด�ำเนินการ จัดท�ำโครงการส่งเสริมกีฬาเพื่อสุขภาพในสถาบันอุดมศึกษา ตั้งแต่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ต่อเนื่องถึงปัจจุบัน โดยมีลักษณะกิจกรรม การด�ำเนินงานในการส่งเสริมกีฬามวลชน เป็นกิจกรรมกีฬาทีส่ ามารถ เล่นได้ทุกคน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมิได้มุ่งผลสัมฤทธิ์จากการ แข่งขัน และการอนุรักษ์ให้นิสิต นักศึกษา บุคลากร เยาวชน และ ประชาชน ให้เห็นคุณค่าการเล่นกีฬาไทยและกีฬาพื้นบ้าน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ได้รับจัดสรรเงินงบประมาณ จ�ำนวนเงิน 6,000,000 บาท เพื่อจัดท�ำโครงการส่งเสริมกีฬาเพื่อสุขภาพในสถาบันอุดมศึกษา โดยคณะกรรมการส่ ง เสริ ม กี ฬ าเพื่ อ สุ ข ภาพในสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา ได้มีมติเห็นชอบให้จัดสรรเงินงบประมาณเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายการ ด�ำเนินกิจกรรมโครงการส่งเสริมกีฬาฯ ให้สถาบันการศึกษาที่เป็น แกนหลัก 10 เขต โดยพิจารณาจัดสรรเงินงบประมาณตามจ�ำนวน สถาบันการศึกษาทีเ่ ข้าร่วมกิจกรรม โดยสถาบันการศึกษาเป็น 2 กลุม่ ดังนี้ 1. สถาบันการศึกษาที่มีเครือข่ายตั้งแต่ 15 สถาบันการ ศึกษาขึ้นไป ได้รับจัดสรรเงินงบประมาณ จ�ำนวนเงิน 650,000 บาท ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2. สถาบันการศึกษาที่มีเครือข่ายน้อยกว่า 15 สถาบัน การศึกษา ได้รับจัดสรรเงินงบประมาณ จ�ำนวนเงิน 550,000 บาท ได้แก่ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

126 รายงานประจ�ำปี 2556


การแข่งขันกีฬามิตรภาพไทยและมาเลเซีย

การแข่งขันกีฬามิตรภาพ ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย ‘Annual Malaysia - Thailand Varsity Games’ เกิดจากการประชุมหารือร่วมของรัฐบาลทัง้ 2 ประเทศ เพือ่ ตกลงให้มกี ารจัดกิจกรรมนักศึกษาเชือ่ มความสัมพันธ์และสร้างความ ร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยและมาเลเซีย โดยได้เริม่ จัดการแข่งขันต่อเนือ่ งมาแล้ว รวม 5 ครัง้ ซึง่ ในครัง้ แรกประเทศมาเลเซียรับเป็น เจ้าภาพจัดการแข่งขันทีม่ หาวิทยาลัย UPM เมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 24 - 28 กรกฎาคม 2551 ‘1st Annual Malaysia Thailand Varsity Games 2008’ ส�ำหรับการจัดการแข่งขันกีฬามิตรภาพไทย - มาเลเซีย ครัง้ ที่ 6 ประจ�ำปี พ.ศ. 2556 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยคณะกรรมการบริหารกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต ภูเก็ต และมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน โดยก�ำหนดจัดการแข่งขันในระหว่างวันที่ 18 - 22 กันยายน 2556 ณ จังหวัด ภูเก็ต ซึง่ แต่ละประเทศจะจัดส่งนักกีฬาและเจ้าหน้าทีเ่ ข้าร่วมการแข่งขันฝ่ายละ 84 คน มีการแข่งขันกีฬาเชือ่ มความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรและ นักศึกษารวม 5 ชนิดกีฬา ได้แก่ ฟุตบอลชาย วอลเลย์บอลหญิง เปตอง กอล์ฟ และโบว์ลงิ่ รวมทัง้ มีการแสดงแลกเปลีย่ นวัฒนธรรมของนักศึกษา ทัง้ 2 ประเทศ การจัดกิจกรรมครัง้ นีเ้ ป็นการเพิม่ พูนประสบการณ์ให้กบั นักศึกษาทัง้ ในด้านการกีฬา การจัดกิจกรรมอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง อาทิ การแสดง แลกเปลีย่ นศิลปวัฒนธรรม การศึกษา การท่องเทีย่ ว การใช้ภาษา และบุคลากรของสถาบันการศึกษาของไทยและมาเลเซียได้มกี ารประชุมหารือและ แลกเปลีย่ นประสบการณ์ในด้านหลักสูตรการเรียนการสอน และการจัดกิจกรรมด้านอืน่ ๆ เพือ่ เป็นการพัฒนานักศึกษาร่วมกันด้วย ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 127


การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยระดับนานาชาติ

ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา โดยคณะ กรรมการกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย เป็นสมาชิกขององค์กรกีฬา มหาวิทยาลัยระดับนานาชาติ ได้แก่ สหพันธ์กีฬามหาวิทยาลัยโลก สหพันธ์กีฬามหาวิทยาลัยแห่งเอเชีย สภากีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน เพื่ อร่ ว มจั ด กิ จ กรรมการพัฒนามาตรฐานการแข่งขัน ของนั ก กี ฬา มหาวิ ท ยาลั ย ทั้ ง กีฬาภายในประเทศและกีฬ าระดับนานาชาติ เป็นการยกระดับการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยของไทยไปสูก่ ารแข่งขัน ระดับนานาชาติ มีมาตรฐานเป็นทีย่ อมรับ โดยกิจกรรมหลักจะเป็นการจัด การแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ และจัดส่งนักกีฬาทีไ่ ด้รบั การคัดเลือกจาก มหาวิทยาลัยต่างๆ ไปเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาทีอ่ งค์กรกีฬามหาวิทยาลัย ระดับนานาชาติจดั ขึน้ ตลอดจนจัดส่งนักศึกษาและเจ้าหน้าทีท่ เี่ กีย่ วข้อง กับกิจกรรมด้านกีฬาไปเข้าร่วมประชุมสัมมนาทางวิชาการด้านกีฬาและ กิจกรรมการพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ของนักศึกษา โดยในปี 2556 มีการด�ำเนินงานส�ำคัญๆ ดังนี้ จัดส่งนักกีฬาและเจ้าหน้าที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬา มหาวิทยาลัยอาเซียน ครัง้ ที่ 16 ระหว่างวันที่ 9 - 21 ธันวาคม 2555 ณ เมืองเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จ�ำนวน 264 คน เข้าร่วมการแข่งขัน 15 ชนิดกีฬา ได้รบั เหรียญรางวัลเป็น อันดับที่ 3 ได้ 45 เหรียญทอง 52 เหรียญเงิน 56 เหรียญทองแดง จัดส่งคณะนักกีฬาและเจ้าหน้าที่เข้าร่วมการแข่งขัน กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูรอ้ น ครัง้ ที่ 27 ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน 20 กรกฎาคม 2556 ณ เมืองคาซาน สหพัน ธรั ฐรั ส เซี ย

128 รายงานประจ�ำปี 2556

โดยมี นั ก กี ฬาและเจ้ าหน้ า ที่ จ� ำ นวน 118 คน แบ่งเป็น นั ก กี ฬา จ� ำ นวน 81 คน เจ้ าหน้า ที่ จ� ำ นวน 37 คน เข้ าร่วมการ แข่ ง ขั น 8 ชนิ ด กี ฬา โดยผลงานการแข่ ง ขั น ของนักกีฬ าไทย ประสบความส�ำเร็จเป็นอย่างดี ได้รับเหรียญรางวัลเป็นอันดับที่ 23 ของโลก จากจ�ำนวนประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขัน 162 ประเทศ ได้รับรางวัล 2 เหรียญทอง จากกีฬาแบดมินตันชาย และกีฬายิงปืน เป้าบินหญิง 7 เหรียญเงิน 6 เหรียญทองแดง จัดการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลชายหาดชิงชนะเลิศ มหาวิทยาลัยเอเชีย ครัง้ ที่ 2 ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลชายหาดชิงชนะเลิศ มหาวิทยาลัยเอเชีย ครัง้ ที่ 2 ในระหว่างวันที ่ 27 - 30 พฤศจิกายน 2555 ณ ชายหาดชะอ�ำ อ�ำเภอชะอ�ำ จังหวัดเพชรบุรี พร้อมจัดส่ง คณะนักกีฬาและเจ้าหน้าที่เข้าร่วมการแข่งขัน มีประเทศเข้าร่วมการ แข่งขัน 17 ประเทศ ได้แก่ บาห์เรน ฮ่องกง อิหร่าน มาเลเซีย มองโกเลีย โอมาน ซีเรีย เติรก์ มินสิ ถาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เกาหลีใต้ ลาว จีน คีกซิ สถาน คาซัคสถาน ญีป่ นุ่ ฟิลปิ ปินส์ และไทย โดยแบ่งออกเป็น ทีมชาย 24 ทีม และทีมหญิง 19 ทีม ผลการแข่งขันปรากฏว่า นักกีฬา ทีมมหาวิทยาลัยไทย ได้รับรางวัลชนะเลิศ ทั้งประเภททีมชาย และทีมหญิง โดยทีมชาย จากสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุโขทัย และทีมหญิง จากมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรม ราชูปถัมภ์


ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 129


การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย

ส� ำนั ก งานคณะกรรมการการอุด มศึก ษา ได้ เ ห็ น ถึ ง ความส�ำคัญการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้กีฬาเป็นเครื่องมือในการพัฒนานิสิตนักศึกษา ให้มีสุขภาพ พลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง มีบุคลิกภาพที่ดี มีน�้ำใจเป็นนักกีฬา มีระเบียบวินัย มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างนิสิต นักศึกษา ทั้ง ในสถาบันเดียวกันและต่างสถาบันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ซึ่งส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จดั สรรงบประมาณค่าใช้จา่ ยสนับสนุน ในเรื่องการจัดการแข่งขัน การเดินทาง และค่าเบี้ยเลี้ยงบางส่วนให้ กับสถาบันที่ส่งนักกีฬาและเจ้าหน้าที่เข้าร่วมการแข่งขัน โดยมีการ จัดการแข่งขันปีละ 1 ครั้ง แบ่งออกเป็นการแข่งขันรอบคัดเลือก และการแข่งขันรอบมหกรรม ซึ่งการแข่งขันรอบคัดเลือก ปัจจุบันจัด แบ่งกลุ่มสถาบันตามเขตภูมิภาค แบ่งเป็น 5 เขต คือ เขตภาคเหนือ เขตภาคกลาง เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขตภาคใต้ และเขต กรุงเทพมหานคร โดยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนการเป็นเจ้าภาพในทุกปี ผลการด�ำเนินงานในปี พ.ศ. 2556 เป็นการจัดการ แข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครัง้ ที่ 40 ‘พลบดีเกมส์’ รอบคัดเลือกเริม่ แข่งขันในระหว่างเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน 2555 และจัดการแข่งขันรอบมหกรรมในระหว่างวันที่ 10 -19 มกราคม 2556 โดยมีสถาบันการพลศึกษา จังหวัดชลบุรี เป็นเจ้าภาพจัดการ 130 รายงานประจ�ำปี 2556

แข่งขันมีนักกีฬาและเจ้ า หน้ า ที่ เ ข้ า ร่ ว มการแข่ ง ขั น รอบคั ด เลื อ ก จ�ำนวน 10,022 คน และรอบมหกรรม จ�ำนวน 12,250 คน จาก สถาบันการศึกษา 110 แห่ง และมีการแข่งขัน 30 ชนิดกีฬา ซึ่งในปีนี้ การจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยประสบความ ส�ำเร็จเป็นอย่างดีได้รับความสนใจจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ส่งนักกีฬา เข้าร่วมการแข่งขันจ�ำนวนมาก นิสิต นักศึกษาที่มีความสามารถ ด้ า นกี ฬ าได้ มี โ อกาสเข้ า ร่ ว มมหกรรมการแข่ ง ขั น กี ฬ าระดั บ ชาติ เพื่ อ สร้ า งประสบการณ์ แ ละพั ฒ นาศั ก ยภาพด้ า นกี ฬ าให้ สู ง ขึ้ น โดยการจัดการแข่งขันได้รับความร่วมมือสนับสนุนจากกระทรวงการ ท่องเทีย่ วและกีฬา หน่วยงานภาครัฐและเอกชนในจังหวัดชลบุรี รวมทัง้ มีนิสิต นักศึกษา และประชาชนสนใจเข้าชมการแข่งขันจ�ำนวนมาก ซึง่ ผลการแข่งขันสถาบันทีไ่ ด้รบั เหรียญรางวัลอันดับ 1 - 3 มีดงั นี้ อันดับที่ 1 สถาบันการพลศึกษา 63 เหรียญทอง 58 เหรียญเงิน 33 เหรียญทองแดง อันดับที่ 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 52 เหรียญทอง 32 เหรียญเงิน 40 เหรียญทองแดง อันดับที่ 3 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 24 เหรียญทอง 30 เหรียญเงิน 42 เหรียญทองแดง


การแข่งขันกีฬาบุคลากรส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา การแข่งขันกีฬาบุคลากรส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา เป็นการจัดกิจกรรมด้านกีฬาให้กับบุคลากรของสถาบัน อุดมศึกษา มีวตั ถุประสงค์ในการแข่งขันเพือ่ สร้างเสริมสุขภาพพลานามัย ของบุคลากร สังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นกีฬา เพือ่ ความสามัคคี สร้างความสัมพันธ์อนั ดีระหว่างบุคลากรในสังกัด สกอ. โดยได้กำ� หนดให้สถาบันอุดมศึกษาสังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา หมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาปีละหนึ่งครั้ง โดยส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจัดงบประมาณประจ�ำปี สนับสนุนค่าใช้จา่ ยให้กบั สถาบันอุดมศึกษาเจ้าภาพบางส่วน ผลการด�ำเนินงานในปี พ.ศ. 2556 เป็นการจัดการแข่งขัน กีฬาบุคลากร ครัง้ ที่ 32 ภายใต้ชอื่ ‘บางแสนเกมส์’ โดยมหาวิทยาลัย บูรพารับเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันขึน้ ระหว่างวันที่ 1 - 8 พฤษภาคม

2556 ณ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี มีคำ� ขวัญประจ�ำการ แข่งขัน คือ ‘กีฬาสร้างความสุขสันต์ แบ่งปันแลกเปลีย่ นเรียนรู้ เชิดชู น�ำ้ ใจนักกีฬาบุคลากร’ มีสถาบันอุดมศึกษาเข้าร่วมการแข่งขัน จ�ำนวน 58 แห่ง แข่งขันใน 19 ชนิดกีฬา ผลการแข่งขันเป็นไปด้วยความ เรียบร้อย โดยทีมทีไ่ ด้อนั ดับ 1 - 3 มีดงั นี้ อันดับที่ 1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 55 เหรียญทอง 40 เหรียญเงิน 28 เหรียญทองแดง อันดับที่ 2 มหาวิทยาลัยมหิดล 42 เหรียญทอง 37 เหรียญเงิน 51 เหรียญทองแดง อันดับที่ 3 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 19 เหรียญทอง 13 เหรียญเงิน 23 เหรียญทองแดง

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 131


132 รายงานประจ�ำปี 2556


น ช ุ ม ช ั ย ล า ย ิ ท ว ิ ม ร ส เ การสง่ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 133


การส่งเสริมวิทยาลัยชุมชน

การส่งเสริมวิทยาลัยชุมชน

การจัดการศึกษาของวิทยาลัยชุมชนอยู่ภายใต้กฎกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับ อุดมศึกษาต�่ำกว่าปริญญารูปแบบวิทยาลัยชุมชน พ.ศ.2546 ก�ำหนดให้ ‘วิทยาลัยชุมชนเป็นสถานศึกษาของรัฐที่ การจัดการศึกษาของวิทยาลัยชุมชนอยู่ภายใต้กฎกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัด จัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาต�่ำกว่าปริญญา ซึ่งบริหารจัดการโดยชุมชน มีวัตถุประสงค์ในการให้การศึกษาและฝึก การศึกษาระดับอุดมศึกษาต่ากว่าปริญญารูปแบบวิทยาลัยชุมชน พ.ศ.2546 กาหนดให้ ‘วิทยาลัย อบรมด้านวิชาการและวิชาชีพตามหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการชุมชน และส่งเสริมให้มีการพัฒนาอาชีพ ชุและพั มชนเป็ นสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาต่ากว่าปริญญา ซึ่งบริหารจัดการ ฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคล และชุมชน’ ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา วิทยาลัยชุมชนได้พิจารณาทบทวน โดยชุ มชน มีวัตและวิ ถุประสงค์ การศึกษาและฝึ อบรมด้ นวิชาการและวิอชงการของสั าชีพตามหลั กสูตมรที กรอบนโยบาย ธีการจัใดนการให้ การศึกษามาอย่ างต่อเนื่อกงเพื ่อให้ตาอบสนองความต้ งคม/ชุ ชน่ โดยยึด สอดคล้ องกับความต้ องการชุ ชน และส่ งเสริม้นให้เป็มนีกล�ารพั พและพั ฒนาคุณภาพชี วิตยของ บทบาทและการเข้ ามามี ส่วนร่วมมของชุ มชนมากขึ ำดับฒนาอาชี ตลอดจนปรั บบทบาทของวิ ทยาลั ชุมชนให้เป็น บุการศึ คคลกษาในกระแสหลั และชุมชน’ ในระยะเวลา 10 ปี ท ผ ่ ี า ่ นมา วิ ท ยาลั ย ชุ ม ชนได้ พ ิ จ ารณาทบทวนกรอบนโยบาย กเพือ่ ชุมชน มิใช่การศึกษาทางเลือกในชุมชนอีกต่อไป พัฒนาการเชิงนโยบายนีเ้ ป็นการยกระดับ และวิ ารจัยดชุการศึ างต่างขึ อเนื้น่อมองเห็ งเพื่อให้นความเชื ตอบสนองความต้ องการของสั คม/ชุ มชนมชนที โดยยึ่เชืด่อมโยงกับ ของวิทธีกยาลั มชนให้กษามาอย่ มีทิศทางกว้ ่อมโยงของการพั ฒนาท้องงถิ ่นและชุ บทบาทและการเข้ ามามีสจ่วและสั นร่วมของชุ มชนมากขึ้นเป็้นนลโดยยั าดับ งตลอดจนปรั บบทบาทของวิ ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิ งคมของประเทศมากขึ คงด�ำรงรักษาวิ ถีชีวิต สังคมทยาลั และวัยฒนธรรม ชุของชุ ม ชนให้ เ ป็น การศึ กษาในกระแสหลัก เพื่ อชุ ม ชน มิ ใ ช่ก ารศึ ก ษาทางเลื อ กในชุ มชนอี กต่ อ ไป มชนไว้

134

พัฒนาการเชิงนโยบายนี้เป็นการยกระดับของวิทยาลัยชุมชนให้มีทิศทางกว้างขึ้น มองเห็นความ มโยงของการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนที่เชื่อมโยงกับทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของ รายงานประจ�เชื ำปี่อ2556 ประเทศมากขึ้น โดยยังคงดารงรักษาวิถีชีวิต สังคม และวัฒนธรรมของชุมชนไว้


ร่างพระราชบัญญัติสถาบันวิทยาลัยชุมชน พ.ศ. ....

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันวิทยาลัยชุมชน พ.ศ. .... ให้ส�ำนักเลขาธิการ คณะรัฐมนตรีบรรจุเข้าวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี เรื่องเพื่อพิจารณา เรื่องที่ 9 ในวันอังคารที่ 28 สิงหาคม 2555 ซึ่งคณะรัฐมนตรีพิจารณา แล้วลงมติมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการ และส�ำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับร่างพระราชบัญญัติสถาบันวิทยาลัยชุมชน พ.ศ. .... ไป พิจารณาร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง โดยรับความเห็นของนายกรัฐมนตรี กระทรวงการคลัง และส�ำนักงบประมาณไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วให้ น�ำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2556 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติสถาบันวิทยาลัยชุมชน พ.ศ. .... และให้ส่ง คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 135


การพัฒนามาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยชุมชน

วิทยาลัยชุมชนเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่มีภารกิจในการจัดการศึกษาระดับต�่ำกว่าปริญญาและการฝึกอบรม โดยหลักสูตร ที่เปิดสอนในวิทยาลัยชุมชนสามารถตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน และเพื่อพัฒนาอาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิต ตามปรัชญาและ หลักการจัดการศึกษารูปแบบวิทยาลัยชุมชน ซึ่งผู้ส�ำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยชุมชนจะเป็นผลผลิตที่ออกสู่สังคมอย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน ดังนัน้ ในปี 2556 ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จึงก�ำหนดให้มโี ครงการส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยชุมชน ซึง่ เป็นโครงการตามภารกิจด้านจัดการศึกษาของวิทยาลัยชุมชนทีม่ งุ่ การเสริมสร้างพลเมืองดีทมี่ ศี กั ยภาพและเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง โดยด�ำเนินงาน พัฒนาหลักเกณฑ์การเทียบโอนผลการเรียนรู้และเทียบประสบการณ์เข้าสู่ระบบการศึกษาของวิทยาลัยชุมชน พัฒนาเกณฑ์การประเมิน คุณภาพภายในของวิทยาลัยชุมชน พัฒนาเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรประกาศนียบัตรวิทยาลัยชุมชน พัฒนาคูม่ อื หลักสูตรระยะสัน้ ของวิทยาลัยชุมชน พัฒนาการเขียนเอกสารประกอบการสอน พัฒนาศักยภาพสภาวิชาการวิทยาลัยชุมชน จัดท�ำข้อสอบประมวลความรู้อนุปริญญาวิทยาลัยชุมชน (หมวดวิชาศึกษาทั่วไปและความรู้เฉพาะสาขาวิชา) ส่งเสริมการพัฒนาเอกสาร ต�ำรา ชุดวิชา และสือ่ ประกอบการเรียนการสอนตามหลักสูตร อนุปริญญาของวิทยาลัยชุมชน ประชุมคณะอนุกรรมการด้านมาตรฐานการศึกษา อบรมผูป้ ระเมินภายในของวิทยาลัยชุมชน ติดตามการด�ำเนินงาน การจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัยชุมชน ประเมินและติดตามระบบการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนของวิทยาลัยชุมชน นอกจากนี้ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษายังได้ท�ำความร่วมมือทางวิชาการกับกระทรวงแรงงาน ในการพัฒนา หลักสูตรอบรม เพื่อพัฒนาศักยภาพแรงงาน ให้มีความรู้ ความสามารถ และมีทักษะฝีมือแรงงานที่สูงขึ้น ทันต่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย และ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน และการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมของชุมชน โดยมีแนวทางความร่วมมือทางวิชาการกับกรม พัฒนาฝีมือแรงงาน ในเรื่อง (1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและร่วมกันพัฒนาศักยภาพนักศึกษาก่อน เข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด (2) กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจะสนับสนุนให้วิทยาลัยชุมชนจัดศึกษาดูงาน ณ ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดทุกแห่ง (3) แนวทางความร่วมมือทางวิชาการ อาทิ การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม การพัฒนาคนในชุมชน จัดการอบรมทักษะฝีมือแรงงาน เสริมสร้างประสบการณ์อาชีพ โดยการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และ (4) ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานตามหลักสูตร และให้การรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงาน ทั้งนี้ ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกระทรวงแรงงาน กับส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2556 ณ ห้องโถง ชั้น 1 ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยรองศาสตราจารย์ชวนี ทองโรจน์ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และนายนคร ศิลปอาชา อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน เป็นผู้ลงนามในบันทึกข้อตกลง 136 รายงานประจ�ำปี 2556


การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมและพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน : ผลิตภัณฑ์ผ้า เพื่ อให้การขับ เคลื่อนการจัด การศึก ษาของวิ ท ยาลั ย ชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ตอบสนอง รองรับ ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ คณะกรรมการวิทยาลัยชุมชนในคราว ประชุมครั้งที่ 3/2556 เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2556 ได้เห็นชอบ กรอบนโยบายและแนวทางการปรับ ปรุงการเรียนการสอน และ บริการวิชาการของวิทยาลัยชุมชน พร้อมทั้งเห็นชอบในหลักการ ให้ แ ต่ ง ตั้ ง คณะกรรมการเฉพาะกิ จ เพื่ อ ขั บ เคลื่ อ นการด� ำ เนิ น งาน ดังกล่าว จึงได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการท�ำงานพัฒนากรอบการ จั ด การศึ ก ษาเพื่ อส่งเสริม การพัฒนาผลิต ภัณฑ์ชุม ชน ท� ำ หน้าที่ ก�ำหนดกรอบแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างการประกอบ กิจการธุรกิจในชุมชน ส่งเสริมการจัดการศึกษา/ฝึกอบรม และ หลักสูตร เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ธุรกิจชุมชน รวมทั้งส่งเสริม พัฒนา และขับเคลื่อนการจัดการศึกษาระบบ e-Learning รองรับการ จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน คณะอนุกรรมการฯ ในการประชุมครั้งที่ 1/2556 เมื่อ วันที่ 14 มิถุนายน 2556 ได้ร่วมกันก�ำหนดกรอบแนวทางการจัดการ ศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน โดยได้พิจารณาคัดเลือก หลั ก สู ต รที่ สามารถส่งเสริม และยกระดับ ชุม ชนได้ ซึ่ ง ที่ ประชุ ม เห็ น ควรให้ พั ฒ นาหลัก สูต ร ‘ส่ง เสริม และพัฒ นาการออกแบบ

ผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP)’ ในรูปแบบหลักสูตรออนไลน์ระยะสั้น น�ำร่องในผลิตภัณฑ์ 3 กลุ่ม คือ ผ้า อาหาร และเครื่องจักสาน เนื่องจาก เป็นสาขาวิชาที่เป็นความต้องการของประเทศ แต่วิทยาลัยชุมชน ยังขาดแคลนวิทยากรในพื้นที่ ในการด�ำเนินงานพัฒนาหลักสูตร ในปีงบประมาณ 2556 จะน�ำร่องพัฒนาบทเรียนในรายวิชาด้านการ ออกแบบผลิตภัณฑ์กลุ่มผ้า โดยได้จ้างคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร เป็นที่ปรึกษาเพื่อศึกษา วิเคราะห์ และออกแบบบทเรียน วิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้า ส�ำหรับใช้จัดการศึกษาหลักสูตรฝึก อบรมระยะสั้นของวิทยาลัยชุมชน น�ำขึ้นเผยแพร่บนระบบบริหาร จัดการการเรียนการสอน e-Learning ของมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา โดยมี วัตถุป ระสงค์เพื่อ เพิ่ มพู น เสริ มสร้า งความรู ้ ความเข้ า ใจด้ านการจัดการศึกษา/ ถ่ายทอดการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าให้แก่บุคลากรวิทยาลัยชุมชน ในการเตรียมพร้อมจัดบริการการศึกษาด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ผ้ า แก่ ผู ้ ป ระกอบการในชุ ม ชน ซึ่ ง การจั ด การศึ ก ษาในรู ป แบบ ดังกล่าวจะท�ำให้วทิ ยาลัยชุมชนสามารถจัดการศึกษาทีเ่ ข้าถึง (Access) กลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวาง ยืดหยุ่น และทั่วถึง มีคุณภาพ มาตรฐาน รวมทั้งแก้ปัญหาการขาดแคลนครูผู้สอนในบางพื้นที่

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 137


การด�ำเนินงานของวิทยาลัยชุมชนกรุงเทพมหานคร วิทยาลัยชุมชนกรุงเทพมหานคร ประกาศจัดตั้งโดย กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร คือ โรงเรียน ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร 10 แห่ง ในสังกัดส�ำนักพัฒนาสังคม ท�ำหน้าที่ บริหารและด�ำเนินงาน ทัง้ ด้านงบประมาณ บุคลากร และจัดการศึกษามา ตัง้ แต่ปกี ารศึกษา 2546 เป็นต้นมา ต่อมาพบปัญหาทัง้ ด้านวิชาการและ การบริหารอันเนือ่ งจากสถานภาพไม่ชดั เจนว่าอยูใ่ นสังกัดใด จนมีการน�ำ สูท่ ปี่ ระชุมคณะกรรมการวิทยาลัยชุมชน เพือ่ หาแนวทางแก้ไขปัญหา และ ในขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชในสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้มีแนวคิดที่จะจัดตั้งวิทยาลัยเพื่อรองรับพันธกิจของวิทยาลัยชุมชน กรุงเทพมหานคร ภายหลังจัดการศึกษาให้กบั นักศึกษาคงเหลือเสร็จสิน้ ในเดือนกันยายน 2556 แล้วเห็นสมควรประกาศยุบเลิกวิทยาลัยชุมชน กรุงเทพมหานครในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึง่ มติของคณะกรรมการ วิทยาลัยชุมชน ในการประชุมครัง้ ที่ 9/2555 ลงวันที่ 20 ธันวาคม 2555 เห็นชอบให้ด�ำเนินการจัดท�ำระเบียนผู้ส�ำเร็จการศึกษา (ท. 2) รายงาน กระทรวงศึกษาธิการ และเตรียมรับการประเมินภายนอกจากส�ำนักงาน รองรับมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ทีส่ ามารถผ่อนผันได้ถงึ เดือนกรกฎาคม 2556 ก่อนทีก่ ารจัดการศึกษา

ให้นักศึกษาคงเหลือเสร็จสิ้นลงในเดือนกันยายน 2556 พร้อมทั้งให้ แต่งตั้งคณะท�ำงานตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของวิทยาลัยชุมชน กรุงเทพมหานคร เพือ่ ท�ำหน้าทีใ่ นการตรวจสอบทรัพย์สนิ และหนีส้ นิ ของวิทยาลัยชุมชนกรุงเทพมหานคร ตัง้ แต่เริม่ ก่อตัง้ จนถึงปัจจุบนั และ ให้รายงานผลการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของวิทยาลัยชุมชน กรุงเทพมหานครต่อส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ทั้งนี้ คณะท�ำงานฯ ดังกล่าวได้ประชุมเมือ่ วันที่ 10 กรกฎาคม 2556 โดยมีมติ ทีป่ ระชุมดังนี้ 1. ให้วทิ ยาลัยชุมชนกรุงเทพมหานครส�ำรวจอาคารสถานที่ ครุภัณฑ์ ทรัพย์สินอื่นๆ และหนี้สิน โดยจัดท�ำบัญชีแสดงทรัพย์สิน หนี้สินทั้งหมดเสนอต่อกรุงเทพมหานคร เพื่อให้มีหนังสือแจ้งส่งคืน ภารกิจของวิทยาลัยชุมชนกรุงเทพมหานคร ต่อกระทรวงศึกษาธิการ ภายในเดือนสิงหาคม 2556 2. ให้ วิ ท ยาลั ย ชุ ม ชนกรุ ง เทพมหานครส่ ง มอบส� ำ เนา ระเบียนรายงานผลส�ำเร็จการศึกษา (ท. 2) ต่อส�ำนักบริหารงาน วิทยาลัยชุมชน ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวง ศึกษาธิการ เมื่อสิ้นสุดภารกิจในเดือนกันยายน 2556

ความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยชุมชนไทยกับต่างประเทศ

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ดำ� เนินการเพือ่ ความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยชุมชนไทยกับต่างประเทศ ในปีงบประมาณ 2556 ดังนี้ 1. การประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างวิทยาลัยชุมชนไทย - มาเลเซีย เพื่อเรียนรู้กระบวนการจัดท�ำหลักสูตร Modular ของ ประเทศมาเลเซีย ณ ประเทศมาเลเซีย จ�ำนวน 7 คน ในระหว่างวันที่ 21 - 27 เมษายน 2556 2. การประชุมเจรจาความร่วมมือการจัดการศึกษาภาษาจีนระหว่างวิ ท ยาลั ย ชุ ม ชนไทยกั บ มหาวิ ท ยาลั ย หั ว เฉี ย ว มณฑลฟูเจี้ยน ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน จ�ำนวน 2 คน ในระหว่างวันที่ 21 - 23 พฤษภาคม 2556

138 รายงานประจ�ำปี 2556


ี ย ล โ น โ ค ท เ ั ย ิ จ ว ร า ก ิ ม ร า ส ษ เ ึ ก ่ ง ศ ม ุ ด การส พฒ อ ั น บ า ถ ส า น ั ร า ก ะ แล ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 139


การส่ งเสริงเสริ มการวิ จัย จเทคโนโลยี การส่ มการวิ ัย เทคโนโลยี และการพั ฒนาสถาบั นอุดนมศึ ษากษา และการพั ฒนาสถาบั อุดกมศึ

การส่งเสริ มและสนั สนุนการวิ ให้กับจสถาบั ดมศึนกษา มีจกุดษา มุ่งหมายที ะเสริม่จสร้ะเสริ าง มสร้าง การส่ งเสริมบและสนั บสนุจนัยการวิ ัยให้กนับอุสถาบั อุดมศึ มีจุดมุ่ง่จหมายที ศักยภาพของสถาบั ดมศึ นาสูพน่กอุัฒารมี ุณ่การมี ภาพและมาตรฐานระดั มีการนอุดมีมศึกการษา ศักงยภาพของสถาบั นกอุษาให้ ดจยัมศึ ษาให้ บนานาชาติ การส่ เสริมและสนันบอุสนุ นการวิ ให้พกกบั​ัฒ สถาบั ดนาสู มศึคกษา มีจคดุ ุณมุง่ภาพและมาตรฐานระดั หมายทีจ่ ะเสริมสร้าบงศันานาชาติ กยภาพของสถาบั ารจับริ การทรั พการทรั ยากรทีพ่ดยากรที ี เพื่อความเป็ นเลิศทางวิ ้งในระดั ประเทศและระดั หารจั ่ดี เพื ่อความเป็ เลิชศาการ ทางวิ าการ ้งบในระดั ให้บริ พัฒหนาสู ่กดารมี คุณดภาพและมาตรฐานระดั บนานาชาติ มีกนารบริ หารจัดชทัการทรั พทัยากรที ่ดี เพืบ่อประเทศและระดั ความเป็นบเลิโลก ศทางวิบชโลก าการ วามก้า่ควหน้ อมของงานพื ้นฐานทางด้ านเทคโนโลยี สารสนเทศและการ วามก้าและความพร้ าบวหน้ อมของงานพื ้นฐานทางด้ านเทคโนโลยี สารสนเทศและการ ทัในขณะที ้ ง ในระดัในขณะที บ่คประเทศและระดั โลกาและความพร้ ในขณะที ่ ค วามก้ า วหน้ า และความพร้ อมของงานพื ้ น ฐานทางด้ า นเทคโนโลยี สื่ อ สารจะเป็ น อี่อกสารจะเป็ ช่ อนงทางหนึ ่ ง ที่ จ ะสนั บ่ จสนุ นาของสถาบั อุ ดโดยสถาบั มศึนกอุษา สื่ อ สารจะเป็ อี กนอีช่กอช่องทางหนึ ะสนั บการพั สนุฒนฒนาของสถาบั การพั ฒ นาของสถาบั ดนอุมศึ โดย สารสนเทศและการสื งทางหนึ ง่ ที่ งจ่ ทีะสนั บสนุนนการพั นอุดมศึกนษา ดโดย มศึกกษา ษาสามารถ าการศึ ถึง และแลกเปลี นรู่ยนเรี ้กับสถาบั เฃืสถาบั อ่ มโยงนเข้อุสถาบั าดถึมศึ ง และแลกเปลี นเรียนรู่อก้มโยง บั สถาบัเข้ กเข้ ษาและการวิ จย่ั ได้นเรี ทวั่ ยโลก นกษาสามารถเฃื อุดมศึกย่ ษาสามารถเฃื ่อนมโยง าถึง และแลกเปลี ยนรู้กนับการศึ สถาบักนษาและการ การศึกษาและการ วิจัยได้ทวิั่วจโลก ัยได้ทั่วโลก

140 รายงานประจ�ำปี 2556


การส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษา

โครงการส่ ง เสริ ม การวิ จั ย ในอุ ด มศึ ก ษาและพั ฒ นา มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนามหาวิทยาลัย ชั้ น น� ำ ของประเทศให้ มี ขี ด ความสามารถการแข่ ง ขั น ในระดั บ มหาวิทยาลัยโลกได้โดยยกระดับให้เป็น ‘มหาวิทยาลัยวิจยั แห่งชาติ’ และเชื่อมโยงบูรณาการงานวิจัยของแต่ละมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ที่อยู่ในรูปของคลัสเตอร์วิจัยให้เกิดเป็นภาพระดับมหภาคที่ส่งผลต่อ การสร้างผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมด้านการเกษตร ด้านอุตสาหกรรม ด้านพาณิชยกรรมด้านวิชาการ และวิชาชีพควบคุมด้านการแพทย์ และสุขภาพ รวมถึงด้านความคิดสร้างสรรค์ (มนุษย์ศาสตร์ และ สังคมศาสตร์) ผลการด�ำเนินงานกลุ่มมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ 9 แห่ง ในรอบ 3 ปี (พ.ศ. 2554 - 2556)

1) จ� ำ นวนผลงานตี พิ ม พ์ (ในวารสารวิ ช าการนานาชาติ SCOPUS) โดยวัดผลสัมฤทธิ์จากผลงานวิจัยระดับพื้นฐานที่สามารถ ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ และการอ้างอิงในฐานข้อมูลระดับสากล ของมหาวิทยาลัยวิจัย 9 แห่ง มีเป้าหมายจ�ำนวนผลงานตีพิมพ์ 4,352 เรื่อง ในขณะที่มีผลการด�ำเนินการ จ�ำนวน 5,912 เรื่อง 2) จ� ำ นวนการผลิ ต บั ณ ฑิ ต โดยใช้ ง านวิ จั ย ในโครงการ มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติเป็นกลไกส�ำหรับการสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ ให้ กั บ มหาวิ ท ยาลั ย ของรั ฐ และเพื่ อ การทดแทนบุ ค ลากรผู ้ ที่ เกษี ย ณอายุ รวมทั้ ง การสร้า งทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ในระดับ สูงที่เป็น ความต้องการในตลาดงาน ทั้งในประเทศ ในภูมิภาคอาเซียน และ เป็ น พลเมื อ งโลก ซึ่ ง สามารถเข้ า แข่ ง ขั น ตลาดภู มิ ภ าคอาเซี ย น และตลาดโลก ซึ่ ง การผลิ ต และพั ฒ นาบุ ค ลากรระดับ สูงของของ มหาวิทยาลัยวิจัย 9 แห่ง มีเป้าหมาย 3,226 คน ในขณะที่มีผลการ ด�ำเนินการ จ�ำนวน 5,222 คน ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 141


3) จ�ำนวนผลงานทีน่ ำ� ไปใช้ประโยชน์ (สิทธิบตั ร นโยบาย เชิงประจักษ์) โดยโครงการมีการพัฒนาการในด้านการวิจยั ทีเ่ ป็นภาพ บูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม เมือ่ มีการจับกลุม่ เป็นคลัสเตอร์ภายในแต่ละ มหาวิทยาลัยก็จะสามารถเห็นความเชื่อมโยงที่เกิดการน�ำไปใช้ได้ ตั้งแต่ระดับนโยบาย อุตสาหกรรม ชุมชน และสังคม ซึง่ จ�ำนวนผลงาน ทีน่ ำ� ไปใช้ประโยชน์ของมหาวิทยาลัยวิจยั 9 แห่ง มีเป้าหมายจ�ำนวน 602 เรือ่ ง ในขณะทีม่ ผี ลการด�ำเนินการ 1,587 เรือ่ ง 4) การที่มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติมีชื่อปรากฏอยูใ่ นอันดับ มหาวิทยาลัยโลก (World Class University) ซึง่ ในภูมภิ าคอาเซียนมีเพียง 2 ประเทศทีม่ มี หาวิทยาลัยวิจยั ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย และประเทศไทย ซึ่ ง จากผลการด� ำ เนิ น การภายใต้ โ ครงการนี้ มี ม หาวิ ท ยาลั ย ไทย ที่ได้ผ่านเข้าในระดับ World Class University 2 แห่ง คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหิดล ผลการด�ำเนินงานกลุม่ มหาวิทยาลัยทีก่ ำ� ลังพัฒนาศักยภาพ หรือกลุม่ มหาวิทยาลัย 70 แห่ง ในรอบ 3 ปี (พ.ศ. 2554-2556) 1) การพั ฒ นาบุ ค ลากรขั้ น สู ง ระดั บ ปริ ญ ญาเอกให้ กั บ คณาจารย์ในมหาวิทยาลัยทัง้ 70 แห่ง เพือ่ เพิม่ ทัง้ ปริมาณและคุณภาพ ของคณาจารย์ในระบบอุดมศึกษา มีจำ� นวนทุนทีจ่ ดั สรรทัง้ สิน้ 298 ทุน 2) การสร้างองค์ความรู้ควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลากรผ่าน กระบวนการศึกษาวิจยั ภายใต้สาขาวิชาตามความต้องการของท้องถิน่ ทีใ่ ช้ กลไกการศึกษาแลกเปลีย่ นประสบการณ์วจิ ยั ในต่างประเทศ หรือการ เชิญผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาช่วยในการพัฒนาส่งเสริมการวิจยั ั ฑิตทีผ่ ลิตได้มงี านตามความต้องการของตลาด และหลักสูตร เพือ่ ให้บณ แรงงาน และสามารถแข่งขันในตลาดงานในภูมภิ าคอาเซียน 3) การสร้ า งผลงานวิ จั ย ที่ เ น้ น การตอบโจทย์ ที่ ม าจาก ชุมชน ท้องถิ่น ซึ่งเน้นการวิจัยเชิงประยุกต์ การน�ำไปใช้ประโยชน์ การส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมของท้องถิน่ รวมทัง้ การสร้างหลักสูตรการพัฒนาครูที่คิดเป็น แก้ปัญหาเป็นผ่านกระบวน การคิดวิเคราะห์เชิงวิจยั โดยมีจำ� นวนโครงการวิจยั เดีย่ ว 741 โครงการ และจ�ำนวนโครงการวิจยั บูรณาการ 3 คลัสเตอร์ ได้แก่ คลัสเตอร์โจทย์ ั ญาท้องถิน่ มาพัฒนาด้วยนวัตกรรม วิจยั ท้องถิน่ คลัสเตอร์การน�ำภูมปิ ญ วิทยาสตร์ และคลัสเตอร์การพัฒนาครูวิจัยผ่านโจทย์ปัญหาท้องถิ่น 153 โครงการ

142 รายงานประจ�ำปี 2556


ผลการด�ำเนินงานนับตั้งแต่ ธันวาคม 2543 ถึงสิ้นสุด ณ พฤศจิกายน 2556 มีผลการด�ำเนินงานด้านวิชาการสรุปได้ดังต่อไปนี้

การพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศ

ส� ำ นั ก พั ฒ นาบั ณ ฑิ ต ศึ ก ษาและวิ จั ย ด้ า นวิ ท ยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็ น หน่ ว ยงานในก� ำ กั บ ภายในของส� ำ นั ก งาน คณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา ซึ่ ง ได้ ริ เ ริ่ ม ด� ำ เนิ น การมาตั้ ง แต่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 โดยมีมหาวิทยาลัยของรัฐ สถาบันวิจัย และสถาบันการศึกษานานาชาติเข้าร่วมในโครงการ รวมทั้งสิ้น 30 สถาบัน มีพันธกิจหลักในการดูแลก�ำกับการท�ำงานของศูนย์ความ เป็นเลิศ ปัจจุบันรวม 11 ศูนย์ฯ ประกอบด้วย (1) ศูนย์ฯ นวัตกรรม ทางเคมี (2) ศูนย์ฯ อนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา (3) ศูนย์ฯ การ จัดการสารและของเสียอันตราย (4) ศูนย์ฯ เทคโนโลยีปิโตรเคมี และวัสดุ (5) ศูนย์ฯ เทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม (6) ศูนย์ฯ เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร (7) ศูนย์ฯ นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการ เก็บเกี่ยว (8) ศูนย์ฯ คณิตศาสตร์ (9) ศูนย์ฯ ฟิสิกส์ และ 2 ศูนย์ฯ ใหม่ ที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีในปี 2555 คือ (10) ศูนย์ฯ ความหลากหลายทางชีวภาพ และ (11) ศูนย์ฯ เทคโนโลยีชีวภาพ ทางการแพทย์ เพื่อให้ศูนย์ความเป็นเลิศสามารถด�ำเนินการได้ตาม เป้าหมายนโยบาย และวัตถุประสงค์ที่ก�ำหนด กลไกของศูนย์ความ เป็นเลิศ คือ ศูนย์วิจัยเฉพาะทางที่ขับเคลื่อนการด�ำเนินงานด้านการ วิจัยและการพัฒนานักวิจัย/ก�ำลังคนระดับสูง เพื่อสร้างองค์ความรู้ ทั้งเพื่อการพึ่งตนเองและเพื่อสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมส�ำหรับ เชื่อมโยงภาคการผลิต ตลอดจนการพัฒนาทางด้านวิชาการและ พัฒนาก�ำลังคนระดับสูงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีทักษะ ด้านการวิจัย มีความรอบรู้เท่าทันโลก

กิจกรรมการด�ำเนินงาน จ�ำนวน โปรแกรมวิจัยเชิงบูรณาการ 2 โปรแกรม 38 โครงการ (1) การพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพส�ำหรับประเทศไทย (Biofuel Development for Thailand) 20 โครงการ (2) การศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศของประเทศไทย (Selected Implications of Climate Change on Thailand) ผลงานการวิจัยตีพิมพ์ 2,011 ชิ้นงาน (1) ตีพิมพ์ในวารสารในประเทศ 5,220 ชิ้นงาน (2) ตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศ 12,202 ชิ้นงาน (3) ผลงานวิจัยน�ำเสนอในที่ประชุมวิชาการ ทรัพย์สินทางปัญญา (1) จดทะเบียนในประเทศ (2) จดทะเบียนต่างประเทศ การพัฒนานักวิจัยตามทิศทางและกลุ่มการวิจัยและการ สนับสนุนการผลิตบัณฑิตระดับบัณฑิตศึกษา (1) การพัฒนานักวิจัยและร่วมผลิตบัณฑิต (รับเข้า) - ระดับปริญญามหาบัณฑิต - ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต (2) การพัฒนานักวิจัยและร่วมผลิตบัณฑิต (ผู้ส�ำเร็จ) - ระดับปริญญามหาบัณฑิต - ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต การพัฒนานักวิจัยระดับหลังปริญญาเอก

148 ชิ้นงาน 11 ชิ้นงาน

7,885 คน 2,294 คน 5,497 คน 987 คน 91 คน

การถ่ายทอดเทคโนโลยี (ภาครัฐ/ภาคการผลิตและบริการ) 1,448 โครงการ - วิจัยร่วมกับภาคการผลิต - บริการวิเคราะห์ตรวจสอบ รับรองมาตรฐาน และการให้ 30,715 ครั้ง ค�ำปรึกษาแนะน�ำ 32 โครงการ - พัฒนาระบบคาดการณ์สถานการณ์ในอนาคต และการ พัฒนาระบบเตือนภัย - การฝึกอบรมและประชุมวิชาการ 2,040 ครั้ง

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 143


สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์มีการด�ำเนินงานในภารกิจต่างๆ ในปี 2556 จ�ำนวน 2 โครงการ/กิจกรรม คือ ผลงานวิจัยเพื่อสร้าง องค์ความรู้ และผลงานการให้บริการรักษาพยาบาล และส่งเสริมสุขภาพเพื่อการศึกษา 144 รายงานประจ�ำปี 2556


ผลงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ สถาบันวิจยั จุฬาภรณ์ดำ� เนินงานวิจยั ด้านวิทยาศาสตร์พนื้ ฐาน ได้ แ ก่ ด� ำเนิ น งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยด้ านวิ ท ยาศาสตร์ ชีวการแพทย์ พิษวิทยาสิง่ แวดล้อม เทคโนโลยีชวี ภาพ เคมี และงานวิจยั เชิงบูรณาการเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลด ความเสี่ยงด้านสุขภาพของประชาชน ปรับปรุงคุณภาพชีวิต ปกป้อง สิ่งแวดล้อม พัฒนายาและสารสังเคราะห์ที่มีฤทธิ์ในการป้องกันและ รั ก ษาโรคที่ มี คุ ณ ภาพดี ใ นราคาที่ เ หมาะสม เพื่ อ ให้ ป ระชาชน สามารถเข้าถึงบริการทางสุขภาพได้มากขึ้น อีกทั้งยังสนับสนุนการ พัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มขีดความ สามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศ ในปีงบประมาณ 2556 สถาบันวิจยั จุฬาภรณ์มผี ลด�ำเนินงาน วิจยั ในชุดโครงการวิจยั รวม 8 ชุดโครงการ ได้แก่ (1) ชุดโครงการวิจยั ด้าน เคมี (2) ชุดโครงการวิจยั ด้านวิทยาศาสตร์ชวี การแพทย์ (3) ชุดโครงการ วิจยั ด้านพิษวิทยาสิง่ แวดล้อม (4) ชุดโครงการวิจยั ด้านเทคโนโลยีชวี ภาพ (5) ชุดโครงการวิจยั เพือ่ การประยุกต์ใช้ (6) ชุดโครงการวิจยั เชิงบูรณาการ ด้านผลิตภัณฑ์ธรรมชาติเพือ่ พัฒนาเป็นยาและผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ (7) ชุดโครงการวิจยั เชิงบูรณาการด้านโรคมะเร็ง และ (8) ชุดโครงการวิจยั เชิงบูรณาการด้านผลกระทบของสารเคมีตอ่ สุขภาพ โดยมีโครงการวิจยั ที่ เริม่ ด�ำเนินการในปีงบประมาณ 2556 จ�ำนวน 7 โครงการ โครงการวิจยั ที่ ด�ำเนินการต่อเนือ่ งจากปีงบประมาณ 2555 จ�ำนวน 35 โครงการ โดยใน จ�ำนวนนัน้ เป็นโครงการวิจยั ทีด่ ำ� เนินการแล้วเสร็จเมือ่ สิน้ ปีงบประมาณ 2556 จ�ำนวน 6 โครงการ โดยสถาบันฯ ด�ำเนินงานในโครงการ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสเฉลิม พระชนมพรรษา 84 พรรษา 3 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการจัดท�ำ โครงสร้าง/ความจ�ำเป็นพืน้ ฐานทางวิทยาศาสตร์เพือ่ วิจยั และพัฒนายา (2) โครงการผลิตนักวิทยาศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และ (3) โครงการจัดตัง้ คลังชีววัตถุและวิจยั เรือ่ งมะเร็งตับและท่อน�ำ้ ดี ซึง่ ผลการด�ำเนินงานวิจยั ดังนี้

1. สามารถพั ฒ นาเซลล์ ต ้ น แบบส� ำ หรั บ ผลิ ต ยาชี ว วั ต ถุ พัฒนาการเลี้ยงเซลล์เพื่อผลิตชีววัตถุ พัฒนากระบวนการแยกชีววัตถุ ให้บริสุทธิ์ และพัฒนาวิธีทดสอบคุณลักษณะชีววัตถุ 2. รั บ นั ก ศึ ก ษาเข้ า ร่ ว มโครงการผลิ ต นั ก วิ ท ยาศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติร่วมกับสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ใน 3 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพประยุกต์ และสาขาเคมีชีววิทยา รวม 25 คน แยกเป็นระดับปริญญาเอก 9 คน ปริญญาโท 16 คน 3. จัดท�ำคลังเก็บชีววัตถุของผู้ป่วยโรคมะเร็ง 1 คลัง และ ด�ำเนินการเก็บรวบรวมตัวอย่างชีววัตถุของผู้ป่วยมะเร็ง แบ่งเป็น ตัวอย่างเลือด 403 ตัวอย่าง และตัวอย่างชิ้นเนื้อ 113 ตัวอย่าง นอกจากนั้นได้ด�ำเนินการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเพิ่มคุณค่า ของข้ าวไทย โดยการวิ เ คราะห์ ปริ มาณโลหะหนักและธาตุต่างๆ ในข้าว พัฒนาวิธีการสกัดและวิเคราะห์ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ และปริมาณวิตามินอีในข้าว ทดสอบฤทธิต์ า้ นอนุมลู อิสระในสารสกัด จากข้าว ซึง่ สถาบันฯ ร่วมมีบทบาทส�ำคัญในการเผยแพร่ผลงานวิจยั และให้ข้อมูลแก่สาธารณชนเพื่อสร้างความมั่นใจในคุณภาพของข้าว ไทยว่ามีความปลอดภัย มีสารปนเปือ้ นอยูใ่ นระดับทีย่ อมรับได้ตาม มาตรฐาน Codex โดยนักวิจยั ของสถาบันฯ ได้รบั เชิญเข้าร่วมชีแ้ จงให้ ข้อมูลผลงานวิจยั เกีย่ วกับข้าวไทยในโอกาสต่างๆ จากการด�ำเนินงานดังกล่าว ในปีงบประมาณ 2556 สถาบันฯ ตีพิมพ์บทความวิชาการเพื่อเผยแพร่ความรู้จากการวิจัยลงในวารสาร วิทยาศาสตร์นานาชาติจ�ำนวน 62 เรื่อง นอกจากการด�ำเนินงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่แล้ว สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ยังได้รับการแต่งตั้งจากองค์การอนามัยโลกให้ เป็นศูนย์กลางความร่วมมือด้านการพัฒนาบุคลากรและการวิจัยด้าน อนามัยสิง่ แวดล้อมและพิษวิทยา (WHO Collaborating Center ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 145


for Capacity Building and Research in Environmental Health Science and Toxicology) และในเดือนมิถนุ ายน 2556 ได้รบั การ แต่งตั้งเป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมของ WHO - SEARO ด้านความ ปลอดภัยของสารเคมีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Regional Training Center for Chemical Safety in the South-East Asia Region) ซึ่งการด�ำเนินงานในรอบปีงบประมาณ 2556 ที่ผ่านมา ได้ จั ด การอบรมวิ ช าการในหัว ข้อเกี่ยวกับ พิษวิทยา และอนามั ย สิง่ แวดล้อมให้แก่นกั ศึกษานักวิจยั และผูท้ เี่ กีย่ วข้อง จ�ำนวน 3 หลักสูตร โดยมีผเู้ ข้าร่วมการอบรม 94 คน จาก 20 ประเทศ ส�ำหรับการพัฒนาสภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวติ ด�ำเนินงาน ตามแผนงานโครงการในหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนาภาคใต้ตอนบน และล่ า ง โครงการทั บ ทิ ม สยามตามแนวชายแดนไทย-กั ม พู ช า ซึง่ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ทรงมีความห่วงใย ต่อสภาพความเป็นอยู่ของราษฎร เนื่องจากประชาชนที่อยู่ในถิ่น ทุรกันดารขาดโอกาส ขาดความรู้ที่จะมาพัฒนาคุณภาพชีวิตและ ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยด�ำเนินงานแล้วเสร็จ ดังนี้ 1. จัดแปลงทดลองปลูกพืชเศรษฐกิจ อาทิ ข้าวหอมมะลิ 105 หม่อนรับประทานผลพันธุเ์ ชียงใหม่ 60 และอ้อยคัน้ น�ำ้ 2. ศูนย์ศกึ ษาและแหล่งเผยแพร่ความรูก้ ารเพาะเลีย้ งกล้วยไม้ ไม้ดอกและไม้ประดับ ในหมูบ่ า้ นทับทิมสยาม 06 และหมูบ่ า้ นจุฬาภรณ์ พัฒนา 5 3. ราษฎรในโครงการสามารถปลูกพืชสมุนไพร จ�ำนวน 5 ชนิด 146 รายงานประจ�ำปี 2556

ส่งห้องปฎิบตั กิ ารเพือ่ ศึกษาและแปรรูปเป็นยารักษาโรค 4. รวบรวมพันธ์พชื สมุนไพรเพือ่ เป็นแหล่งรวบรวมพันธุกรรม พืชสมุนไพรในท้องถิน่ จ�ำนวน 200 ชนิด โดยมีการปลูกแบบผสมผสาน กับพืชอืน่ เช่น ไม้ปา ่ ไม้โตเร็ว 5. สร้างชุมชนผู้ประสบเหตุธรณีพิบัติภัยในจังหวัดพังงาให้ เป็นหมูบ่ า้ นต้นแบบในการอนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อมและเป็นศูนย์บริการการ ท่องเทีย่ วในท้องถิน่ 6. ศูนย์บริการการท่องเที่ยวและแหล่งเผยแพร่ความรู้การ อนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลให้การอบรมและปลูกจิตส�ำนึกแก่ นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทัว่ ไปในท้องถิน่ และพืน้ ทีใ่ กล้เคียงด้าน การอนุรกั ษ์ทรัพยากรทางทะเล 7. การสนับสนุนงานหน่วยแพทย์พระราชทานด้านสุขภาพ อนามัยของราษฎร และการจัดหาสิ่งของอุปกรณ์ยังชีพที่จ�ำเป็นแก่ ผู้ประสบภัย เพือ่ คุณภาพชีวติ ของราษฎรผูด้ อ้ ยโอกาสทีม่ ฐี านะยากจนให้ สามารถเข้าถึงการรักษาได้ 8. จัดอบรมให้แก่ราษฎรในโครงการ อาทิ การท�ำไม้กวาด ดอกหญ้า การท�ำเสือ่ ลายขิต การเก็บรวบรวมความรูภ้ มู ปิ ญั ญาท้องถิน่ เพือ่ การเผยแพร่ในโอกาสต่อไป 9. ทดสอบสายพันธุ์ เก็บตัวอย่าง ตัดช่อดอกเพือ่ ด�ำเนินการ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และปรับปรุงซ่อมแซมโรงเรือนกล้วยไม้ที่ได้รับผล กระทบจากพายุลกู เห็บ ฯลฯ 10. ส่งเสริมคุณภาพเด็กเล็ก และเด็กประถม โรงเรียนในพืน้ ที่ โครงการทับทิมสยาม


ผลงานการให้บริการรักษาพยาบาล และส่งเสริมสุขภาพเพื่อการศึกษา ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี องค์ประธานสถาบันวิจยั จุฬาภรณ์ ทรงมีพระด�ำริ ให้จดั ตัง้ ‘ศูนย์วจิ ยั ศึกษาและบ�ำบัดโรคมะเร็ง สถาบันวิจยั จุฬาภรณ์’ เพือ่ เป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ พระบรมราชินนี าถ ในมหามงคลสมัยทรงเจริญ พระชนมพรรษา 6 รอบ ในปี พ.ศ. 2547 โดยทรงมุง่ หวังให้เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทาง มุง่ เน้นให้การดูแลรักษาผูป้ ว่ ย โรคมะเร็ง และพัฒนางานวิจยั ทีเ่ กีย่ วข้องกับโรคมะเร็งเป็นส�ำคัญ เน้นการรักษาเชิงวิจัย บริการโดยทีมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด ที่จะช่วยเหลือประชาชนชาวไทยที่ต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคมะเร็ง เป็นการ เพิ่มโอกาสในการรักษาโรคมะเร็งให้หายขาดได้ เพื่อผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีและยืนยาวขึ้น และให้เป็นสถาบันแห่งความเป็นเลิศทางวิชาการ ช่วยประเทศชาติในการพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ เพือ่ การรักษาโรคมะเร็งได้ผลดีทดั เทียมกับประเทศทีพ่ ฒ ั นาแล้ว โรงพยาบาลจุฬาภรณ์เปิด ให้บริการอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552 โดยในปี 2556 มีผลการด�ำเนินงานดังนี้

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 147


ด้านงานบริการทางการแพทย์แก่ผู้ป่วยโรคมะเร็งอย่างครบวงจร เปิดให้บริการผู้ป่วยได้อย่างครบวงจร โดยปัจจุบนั มีผเู้ ข้ามารับบริการ ตามกลุม่ งานบริการ และตามกิจกรรมหลักเป็นจ�ำนวน 77,981 ราย โรงพยาบาล จัดท�ำโปรแกรมเพือ่ การรักษาโรคมะเร็งแบบครบวงจร ได้ 4 Care Program คือ โปรแกรมการดูแลรักษามะเร็งล�ำไส้ใหญ่และทวารหนัก (Colorectal Cancer Care Program) โปรแกรมการดูแลรักษามะเร็งเซลล์ตบั และมะเร็งท่อน�ำ้ ดี (Liver Cancer Care Program) โปรแกรมการดูแลรักษามะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer Care Program) และโปรแกรมการดูแลรักษามะเร็งปอด (Lung Cancer Care Program) ด้วยทีมแพทย์ผเู้ ชีย่ วชาญ โดยคณะกรรมการก�ำหนดแผนการรักษา หรือ Tumor board committee แบบสหสาขาวิชาชีพ พร้อมทัง้ ให้การตรวจวินจิ ฉัยโรค ด้วยเครือ่ งมือและเทคโนโลยีทที่ นั สมัย โดยเฉพาะอย่างยิง่ เทคโนโลยีทางรังสีและ ทางเวชศาสตร์นวิ เคลียร์ ปัจจุบนั โรงพยาบาลสามารถพัฒนาการรักษาทางด้านรังสี เป็นการรักษา 4 มิติ หรือ รังสีรกั ษาภาพน�ำวิถี (Image guided radiation therapy : IGRT) ซึง่ เป็นเทคนิคทีท่ นั สมัยทีส่ ดุ เพิม่ โอกาสการหายของผูป้ ว่ ยมะเร็ง และลด ภาวะแทรกซ้อนของเนือ้ เยือ่ ปกติจากรังสีได้ นอกจากนีย้ งั มีการติดตามและเฝ้าระวังโครงการบ�ำเพ็ญพระกุศล จ�ำนวน 4 โครงการ คือ โครงการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งล�ำไส้ใหญ่และทวารหนัก โครงการ เฝ้าระวังและคัดกรองโรคมะเร็งเซลล์ตับในผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง โครงการป้องกันและเฝ้าระวังมะเร็งปากมดลูกแนวใหม่ และโครงการตรวจคัด กรองมะเร็งปอดแบบบูรณาการ พร้อมทั้งจัดกิจกรรมโครงการบ�ำเพ็ญพระกุศล ‘โครงการตรวจคัดกรองมะเร็งล�ำไส้ใหญ่ กลุม่ ที่ 2’ ในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี การจัดกิจกรรมคลินกิ ประเมินความเสีย่ งโรคมะเร็ง การพัฒนาศูนย์สง่ เสริมคุณภาพ ชีวติ เพือ่ เป็นแนวทางคูข่ นานกับการรักษาโรคมะเร็ง ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพ ในด้านผลงานทางวิชาการและปรับปรุงระบบการด�ำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ และคุณภาพ ซงึ่ เตรียมความพร้อมเรือ่ งการขอรับรองคุณภาพโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ จากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) โดยได้รบั วุฒบิ ตั รรับรองคุณภาพ บันไดขัน้ ที่ 2 สู่ HA เมือ่ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556 ทีผ่ า่ นมาได้ประสบความส�ำเร็จ ได้ รับการรับรองคุณภาพในภารกิจของโรงพยาบาลแล้วหลายด้าน อาทิ ด้านห้อง ปฏิบัติการกลาง ด้านห้องปฏิบัติการวิจัย ด้านห้องปฏิบัติการพยาธิ ด้านการ พยาบาลโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และด้านงานบริการทางการแพทย์ศนู ย์ไซโคลตรอน และเพทสแกนแห่งชาติ

148 รายงานประจ�ำปี 2556


ด้านงานโครงการวิจัยโรคมะเร็ง ด้านงานวิจยั โรคมะเร็ง ได้พฒ ั นางานวิจยั ทีเ่ กีย่ วข้องกับโรคมะเร็งควบคูไ่ ปกับการให้บริการรักษาพยาบาล เพือ่ ค้นคว้าหาองค์ความรูใ้ หม่ทงั้ ในระดับ Translational Research, Clinical Research และ Population based Research ปัจจุบนั มุง่ เน้นงานวิจยั ทีเ่ กีย่ วกับโรคมะเร็งล�ำไส้ใหญ่ โรคมะเร็งเซลล์ตบั และท่อน�ำ้ ดี โรคมะเร็งปากมดลูก และโรคมะเร็งปอด โรงพยาบาลอยูร่ ะหว่างด�ำเนินการงานวิจยั จ�ำนวน 8 โครงการ โดยใน จ�ำนวนนีอ้ ยูร่ ะหว่างรอการตีพมิ พ์ 2 โครงการ

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 149


กิจกรรมวิจัยโรคมะเร็งระยะยาว (Population -based cohort studies) เพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งบนฐานประชากรไทยใน เมืองและในชนบท ปัจจุบนั อยูร่ ะหว่างด�ำเนินการ จ�ำนวน 7 โครงการ 1. โครงการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งล�ำไส้ใหญ่และทวารหนัก เริ่มด�ำเนินการตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2552 กลุ่มเป้าหมายผู้มี อายุ 50-65 ปี จ�ำนวนผู้ผ่านเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 1,408 ราย ตรวจพบ มะเร็งล�ำไส้ใหญ่ 19 ราย ในจ�ำนวนนี้ 15 ราย จัดเป็นมะเร็งระยะแรก ได้รับ การผ่าตัดและตรวจติดตามอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีโอกาสหายขาด สูงถึง 90% ปัจจุบันอยู่ระหว่างการดูแลติดตามอาการ และรักษาผู้ป่วยในโครงการฯ อย่างต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 5 2. โครงการเฝ้าระวังและคัดกรองโรคมะเร็งเซลล์ตับในผู้ป่วย โรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง เริ่ มด� ำ เนิ น การตั้ ง แต่ เ ดื อ นกรกฎาคม 2553 กลุ ่ มเป้าหมาย ประชาชนไทยผู้ที่มีอายุ 20-65 ปี จ�ำนวนผู้ผ่านเข้าร่วมโครงการ จ�ำนวน 2,441 ราย ผู้ป่วยที่ตรงตามเกณฑ์ มีจ�ำนวน 458 ราย และจากการตรวจคัด กรองพบผู้ป่วยที่เป็นมะเร็ง จ�ำนวน 16 ราย (มะเร็งตับ 14 ราย มะเร็งท่อน�้ำดี 2 ราย) ปัจจุบนั อยูร่ ะหว่างการดูแลติดตามอาการ และรักษาผูป้ ว่ ยในโครงการฯ อย่างต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 4 3. โครงการป้องกันและเฝ้าระวังมะเร็งปากมดลูกแนวใหม่ เริ่มด�ำเนินการตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2554 กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนไทยผูม้ อี ายุระหว่าง 20-70 ปี มีจำ� นวนผูผ้ า่ นเข้าร่วมโครงการ ทัง้ สิน้ 4,487 ราย จากผลการตรวจคัดกรองพบการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีสายพันธุ์ ความเสีย่ งสูง ซึง่ เป็นสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งปากมดลูก จ�ำนวน 292 ราย นอกจากนี้ยังตรวจพบรอยโรคก่อนเป็นมะเร็งปากมดลูก จ�ำนวน 237 ราย และมีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกระยะที่ 1 จ�ำนวน 4 ราย ซึ่งได้รับการรักษาแล้วทั้ง 4 ราย โดยให้ผลการรักษาที่ดี ปัจจุบันยังคงได้รับ การติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 3 4. โครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดแบบบูรณาการ เริ่มด�ำเนินการตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2555 กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนไทยที่มีอายุ 50-70 ปี มีจ�ำนวนผู้ผ่านเข้าร่วมโครงการ 778 ราย ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่าเป็นมะเร็งปอด จ�ำนวน 10 ราย อยู่ระหว่างการวินิจฉัย เพิ่ มเติ มเพื่ อ การรั ก ษา ปั จ จุ บัน อยู ่ ร ะหว่า งการติ ด ตามผลการรั กษาอย่ าง ต่ อ เนื่องเข้าสู่ปีที่ 2

150 รายงานประจ�ำปี 2556


5. โครงการตรวจคัดกรองมะเร็งล�ำไส้ใหญ่ กลุ่มที่ 2 เริ่มด�ำเนินการเดือนกรกฎาคม 2556 กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนทั่วไป อายุระหว่าง 50-65 ปี มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฯ จ�ำนวน 2,200 ราย จ�ำนวนผู้เข้าร่วมโครงการฯ ที่ได้รับการตรวจ อุจจาระ จ�ำนวน 637 ราย ผลปกติ 389 ราย และผิดปกติ 48 ราย 6. โครงการความร่วมมือเพื่อป้องกันและควบคุมโรค มะเร็งของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ณ จังหวัดร้อยเอ็ด - โครงการคัดกรองมะเร็งล�ำไส้ใหญ่และทวารหนัก เริ่มด�ำเนินการปี 2552 มีผู้เข้าร่วมโครงการ 10,081 ราย พบผิดปกติ 829 ราย มาส่องกล้องตรวจล�ำไส้ใหญ่ 684 ราย ตัดชิ้นเนื้อ 244 ราย ผลเป็นมะเร็ง 10 ราย - โครงการเฝ้ า ระวั ง ผู ้ ติ ด เชื้ อ ไว้ รั ส ตั บ อั ก เสบบี เริ่ ม ด�ำเนินการปี 2553 ตรวจเลือด 14,027 ราย ผิดปกติ 1,327 ราย ติดตามปริมาณไวรัส และการท�ำงานของตับ ทุก 6 เดือน ปัจจุบันมี ผู้ป่วย 97 ราย ที่ได้รับยาต้านไวรัส - โครงการตรวจคั ด กรองและเฝ้ า ระวั ง มะเร็ ง ตั บ ที่ อ�ำเภอพนมไพร จ.ร้อยเอ็ด เริ่มด�ำเนินการ ปี 2556 มีผู้เข้าร่วม โครงการ 839 ราย สงสัยว่าเป็นมะเร็งหรือพบความผิดปกติ 97 ราย ส่งตรวจ CT with contrast, MRI, MRCP etc. เพิ่มเติมพบเป็นมะเร็ง 9 ราย 7. โครงการศึกษาและบ�ำบัดโรคมะเร็งเซลล์ตับและท่อ น�้ำดี ในประชาชน อ.บ้านหลวง จ.น่าน เริ่มด�ำเนินการปี 2554 กลุ่มเป้าหมายประชากร อายุ 30-60 ปี ปัจจุบันเข้าสู่การให้บริการระยะที่ 4 ผู้เข้าร่วมโครงการ จ�ำนวน 4,188 ราย ตรวจพบว่าเป็นมะเร็งท่อน�้ำดี 4 ราย ปัจจุบันอยู่ ระหว่างการดูแลติดตามอาการและรักษาผู้ป่วยในโครงการฯ อย่าง ต่อเนื่อง

กิจกรรมสงเคราะห์ผู้ป่วยที่ยากไร้ ที่ไม่สามารถเข้าถึงการบริการ รักษาพยาบาลได้ เพือ่ ช่วยเหลือผูป้ ว่ ยผูย้ ากไร้ ได้เข้าถึงบริการการรักษาพยาบาล อย่างทัว่ ถึง และอย่างเท่าเทียมกัน โรงพยาบาลได้จดั หน่วยบริการให้การ ช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้ป่วยที่ยากไร้ ที่มีปัญหาด้านค่ารักษาพยาบาล ปัญหาความยากจน ขาดรายได้ ปัญหาสุขภาพ รวมถึงจัดกิจกรรมเพือ่ ออกช่วยเหลือประชาชนโดยไม่เสียค่าใช้จา่ ยอย่างต่อเนือ่ ง อาทิ จัดหน่วย แพทย์พระราชทาน ร่วมกับมูลนิธแิ พทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี (พอ.สว.) จัดท�ำกิจกรรมหน่วยแพทย์พระราชทาน ณ พระต�ำหนักจักรีบงกช จัดกิจกรรมให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็ง ปากมดลูก ต�ำบลบางขะแยง จังหวัดปทุมธานี จัดให้หน่วยส่งเสริมคุณภาพ ชีวิต เพื่อส่งแพทย์และพยาบาลไปดูแลเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคมะเร็ง เป็ น ระยะ เพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ สนั บ สนุ น ผู ้ ป ่ ว ยมะเร็ ง และครอบครั ว อย่างต่อเนื่อง จัดกิจกรรมโครงการบ�ำเพ็ญพระกุศลฯ โดยผู้เข้าร่วม โครงการไม่ต้องเสียค่าใช้จา่ ย

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 151


ส�ำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ส� ำ นั ก งานบริ ห ารเทคโนโลยี ส ารสนเทศเพื่ อ พั ฒ นาการ ศึกษา มีโครงการภายใต้ผลผลิต ‘หน่วยงานในสังกัดกระทรวง ศึ ก ษาธิ ก ารได้ รั บ บริ ก ารเทคโนโลยี ส ารสนเทศทางการศึ ก ษา’ มีความสัมพันธ์สอดคล้องและเชือ่ มโยงกัน จ�ำนวน 3 โครงการ คือ โครงการเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเพือ่ พัฒนาการศึกษา (Inter University Network : UniNet) โครงการเครือข่ายการศึกษา แห่งชาติ (National Education Network : NEdNet) และโครงการ เครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยไทย (Thai Library Integrated System : ThaiLIS) ส�ำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพือ่ พัฒนาการศึกษา มุ่งเน้นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายเฉพาะกิจเพื่อการศึกษา วิจยั อย่างต่อเนือ่ ง เพือ่ รองรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร การเปลีย่ นแปลงเพิม่ ความสะดวกด้านการบริหารการศึกษา เพิม่ โอกาส ทางด้านการศึกษา เพิม่ ประสิทธิภาพการเรียนการสอน และรองรับการ เข้าสูป่ ระชาคมอาเซียน โดยมีการพัฒนาโครงการเครือข่ายสารสนเทศ เพือ่ พัฒนาการศึกษา จากเดิมทีเ่ ป็นลักษณะวงจรเช่า พัฒนาต่อยอด ไปสู่โครงการเครือข่ายการศึกษาแห่งชาติ โดยการจัดสร้างโครงข่าย เคเบิลใยแก้วน�ำแสงขึน้ เอง มีการบูรณาการเครือข่ายภายในกระทรวง ศึกษาธิการเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียว รองรับการศึกษาทุกระดับ (ระดับอุดมศึกษา ระดับอาชีวศึกษา ระดับการศึกษาขัน้ พืน้ ฐานและ อืน่ ๆ) นอกจากนัน้ ยังด�ำเนินโครงการเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยไทย ในการบริหารจัดการทรัพยากรทางการศึกษาบนเครือข่ายร่วมกันใน การเชือ่ มต่อถึงหอสมุด/ห้องสมุด ทีเ่ ป็นสมาชิก 152 รายงานประจ�ำปี 2556

ในปี 2556 ส�ำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพือ่ พัฒนาการศึกษา มีผลการด�ำเนินงานดังนี้ 1. บริหารจัดการเครือข่ายเฉพาะกิจเพื่อการศึกษาวิจัย รองรับสมาชิกเครือข่ายที่รับบริการกว่า 6,000 แห่ง ทั่วประเทศ รองรับการศึกษา ระดับอุดมศึกษา ระดับอาชีวศึกษา ระดับการ ศึกษาขั้นพืน้ ฐาน และอืน่ ๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัย/สถาบัน วิทยาลัย อาชีวศึกษา ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียนสังกัด สพฐ. ห้องสมุดประชาชน กศน. โรงเรียนพิเศษ/สงเคราะห์ สังกัด สช. สถาบัน การศึกษาและวิจยั 2. อยูร่ ะหว่างการพัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐานเครือข่ายเพิม่ เติม โดยขยายโครงข่ายเคเบิลใยแก้วน�ำแสงไปสูโ่ รงเรียนอีก 4,000 กว่าแห่ง ซึง่ เมือ่ ด�ำเนินแล้วเสร็จจะมีสมาชิกเครือข่ายไม่นอ้ ยกว่า 10,000 แห่ง เพือ่ รองรับสมาชิกเครือข่ายเฉพาะกิจเพือ่ การศึกษาวิจยั เพิม่ เติม 3. ประสานความร่วมมือกับสมาชิกเครือข่ายโครงการ ห้ อ งสมุ ด มหาวิ ท ยาลั ย ไทย (ThaiLIS) อย่ า งต่ อ เนื่ อ งโดยมี โครงการย่อย 4 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการสหบรรณานุกรม (Union Catalog : UC) เป็นการรวบรวมบรรณานุกรมของห้องสมุด มหาวิทยาลัยต่างๆ มารวมเป็นฐานข้อมูลเดียวกันท�ำให้สามารถ สืบค้นและพัฒนาความร่วมมือ เพื่อการยืมคืนและการใช้ทรัพยากร ทางการศึกษาทีม่ อี ยูร่ ว่ มกันอย่างมีประสิทธิภาพ อ�ำนวยความสะดวก ลดระยะเวลาและประหยัดค่าใช้จ่าย ปัจจุบันมีข้อมูลบริการสืบค้น จ�ำนวนกว่า 3,500,00 ระเบียน (2) โครงการพัฒนาระบบจัดเก็บ ข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Thai Digital Collection :


เครือขายเฉพาะดานการศึกษาวิจัย

รูปแบบการใหบริการของ NEdNet

10G

วิทยาลัยอาชีวศึกษา

มหาวิทยาลัย/สถาบัน

หองสมุดประชาชน เขตพื้นที่การศึกษา

ศูนยการเรียนรูบนเครือขาย

โรงเรียน ศูนยความรูชุมชน

วิทยาลัยชุมชน

E-Library Research e - Learning IPTV Ditance Learning

TDC) เป็ น การน�ำวิทยานิพนธ์ในระดับ บัณฑิต ศึกษา งานวิ จั ย บทความวิชาการ หนังสือหายาก จัดเก็บในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มความสะดวกในการสืบค้นและเข้าถึงข้อมูลเอกสารฉบับเต็ม ผ่านระบบเครือข่าย โดยได้มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย/สถาบัน ทั้งรัฐและเอกชน รวมถึงหน่วยงานด้านการศึกษาวิจัยทั่วประเทศ จ�ำนวน 167 แห่ง มีขอ้ มูลจัดเก็บในระบบจ�ำนวนกว่า 300,000 เล่ม (3) โครงการบอกรับฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพือ่ การสืบค้น (Reference Database: RD) เป็นการบอกรับสมาชิกเพือ่ เข้าใช้ ฐานข้อมูล/วารสารทางวิชาการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ต่างประเทศ เพื่อใช้ในการศึกษาค้นคว้าวิจัยโดยด�ำเนินการบอกรับสมาชิกในภาพ รวมให้กบั สถาบันอุดมศึกษาในสังกัด/ในก�ำกับ สกอ. จ�ำนวน 78 แห่ง บอกรับฐานข้อมูลทัง้ สิน้ จ�ำนวน 14 ฐานข้อมูล อาทิ ScienceDirect, IEEE, ProQuest, ISI Web of Science เป็นต้น (4) โครงการพัฒนา ระบบโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ (Auto Library) เป็นการพัฒนา โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัตขิ นึ้ ใช้เองภายในประเทศ โดยการสนับสนุน ให้มหาวิทยาลัย 3 แห่ง (มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุร)ี ท�ำหน้าที่ พัฒนา โดยปัจจุบันมีสถาบันการศึกษา และหน่วยงานราชการได้ น�ำโปรแกรมดังกล่าวไปใช้งานแล้วจ�ำนวน 84 แห่ง 4. จั ด การศึ ก ษาทางไกลผ่ า นเครื อ ข่ า ยอิ น เทอร์ เ น็ ต ความเร็วสูง โดยบริการระบบการเรียนการสอนทางไกล การเรียนการ สอนทางการแพทย์ เป็นการจัด Bandwidth เฉพาะส�ำหรับการเรียน การสอนความเร็วสูง รวมจ�ำนวนกว่า 1,500 ครัง้

TOT_NIX

CAT_NIX

CAT_NG

APAN

TEIN4

1G

20G

35G

622M.

310M.

Uninet/NEdNet :National Internet Exchanged :International Internet Gateway :Research and Education Network

1G 1G

Internet2

ThaiREN 1G

ThaiSARN 1G

MOE_Net

5. จัดประชุมเชิงปฏิบตั กิ าร การด�ำเนินกิจกรรมบนระบบ เครือข่ายสารสนเทศเพือ่ พัฒนาการศึกษา (Workshop on UniNet Network and Computer Application : WUNCA) จ�ำนวน 2 ครัง้ มี บุคลากรด้ านเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่ อสารของสถาบัน การศึกษา เข้าร่วมประชุมและฝึกอบรมหลักสูตรทีจ่ ำ� เป็นในการบริหาร จัดการเครือข่ายและพัฒนาระบบข้อมูล จ�ำนวนกว่า 1,700 คน 6. พั ฒ นางานวิ จั ย ด้ า นเทคโนโลยี ส ารสนเทศบน เครือข่าย โดยสนับสนุนการด�ำเนินกิจกรรมวิจัยให้กับคณาจารย์ ของสถาบันการศึกษาทีม่ คี วามเชี่ ย วชาญด้ า นต่ างๆ อาทิ IPv6, Network Monitoring, Future Internet, OpenSource, Tele Education and Tele-Medicine, E-Culture, eduroam, UniCloud รวมถึงประสานความร่วมมือกับเครือข่ายเพือ่ การศึกษาวิจยั นานาชาติ เพือ่ ร่วมกันพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรูจ้ ากกลุม่ เพือ่ การศึกษาวิจัย ทั่วโลก ท�ำให้เกิดการเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้ระหว่างบุคลากร ทางการศึกษาร่วมกัน 7. โครงการ Teacher TV ส่งเสริมวิชาชีพครูด้วย รายการโทรทั ศ น์ ซึ่ ง เป็ น ตั ว อย่ า งนวั ต กรรมการเรี ย นการสอน การบริหารสถานศึกษา และการแก้ไขปัญหาเฉพาะด้าน เพื่อให้ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู อาจารย์ นิสิต นักศึกษา นักเรียน ได้เรียนรู้ ตัวอย่างจาก Best Practice โดยมีสมาชิกโทรทัศน์ครูครอบคลุม 77 จังหวัด เครือข่ายโทรทัศน์ครูภมู ภิ าค 9 ภูมภิ าค มีการผลิตรายการ โทรทั ศ น์ ค รู ค รบทุ ก กลุ ่ มสาระการเรี ย นรู ้ ติ ด ตามรายละเอียดที่ http://www.thaiteachers.tv ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 153


8. รวบรวม จัดเก็บ เผยแพร่ความรูจ้ ากสือ่ ความรู้ การสัมมนา ฝึกอบรม ด้วยเทคโนโลยีโทรทัศน์บนอินเทอร์เน็ตผ่าน ช่องรายการ UniNet IPTV ซึ่งมีข้อมูลความรู้มากมาย สามารถ สืบค้นดูย้อนหลังได้ในรูปของ Video On Demand ที่เว็บไซต์ http://iptv.uni.net.th มีรายการทั้งหมด 3,485 รายการ จ�ำนวน ผู้เข้าชมกว่า 2,800,000 ครั้ง 9. การให้บริการบนเครือข่าย UniNet ที่จ�ำเป็นต้อง อาศัยเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีความเร็ว เพียงพอส�ำหรับการจัดการศึกษา สามารถติดต่อแลกเปลีย่ นหรือร่วม กับหลักสูตรกับสถาบันการศึกษาทัง้ ในประเทศและต่างประเทศ ซึง่ มี

154 รายงานประจ�ำปี 2556

เครือข่าย UniNet เพียงแห่งเดียวทีม่ คี วามพร้อม โดยมีการเชือ่ มต่อ กับเครือข่ายเพือ่ การศึกษาวิจยั ในต่างประเทศ ซึง่ เป็นวงจรสือ่ สัญญาณ เฉพาะ เช่น เชือ่ มต่อไปยังเครือข่าย Internet2 ของสหรัฐอเมริกา เครือข่าย JGN2Plus ของญีป่ นุ่ เครือข่าย TEIN ซึง่ เป็นเครือข่ายความ ร่วมมือของเครือข่ายเพือ่ การศึกษาวิจยั ในกลุม่ ประเทศเอเชีย โดยได้ รับการสนับสนุนจากกลุม่ สหภาพยุโรปตามมติทปี่ ระชุม ASEM ซึง่ เป็น ช่องทางในการเชื่อมต่อกับเครือข่ายเพื่อการศึกษาวิจัยของประเทศ ต่างๆ เช่น CERNET ของสาธารณรัฐประชาชนจีน AARNET ของ ออสเตรเลีย SingAREN ของสิงคโปร์ เป็นต้น โดยสถาบันการศึกษาที่ เชือ่ มต่อกับเครือข่าย UniNet ก็สามารถใช้งานได้ในลักษณะเดียวกัน


การจัดตั้งสถาบันธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย

สถาบันคลังสมองของชาติ เป็นหน่วยงานภายใต้มูลนิธิ ส่งเสริมทบวงมหาวิทยาลัย ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้เล็งเห็นความส�ำคัญของการน�ำหลักธรรมาภิบาล และการบริหาร จัดการที่ดีมาเป็นพลังในการขับเคลื่อนการพัฒนาอุดมศึกษาและ มหาวิทยาลัย ในการประชุมคณะกรรมการการบริหารสถาบันคลัง สมองของชาติ ครัง้ ที่ 1/2551 เมือ่ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2551 ทีป่ ระชุมมีมติ เห็นชอบให้จัดตั้งสถาบัน LGM (Leadership, Governance and Management) หรือสถาบันธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยขึ้น และให้ สถาบันคลังสมองของชาติด�ำเนินการต่อไป สถาบันคลังสมองของชาติ โดยโครงการจัดตั้งสถาบัน ธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย (University Governance Institute: UGI) ได้ดำ� เนินการจัดหลักสูตร ‘ธรรมาภิบาลเพือ่ การพัฒนาอุดมศึกษา’ (University Governance Program: UGP) ส�ำหรับกรรมการ สภามหาวิทยาลัย ตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2552 ซึง่ ประกอบด้วย นายก สภามหาวิทยาลัย อุปนายกสภามหาวิทยาลัย กรรมการสภามหาวิทยาลัย ผูท้ รงคุณวุฒิ อธิการบดี ประธานสภาคณาจารย์ และกรรมการสภา มหาวิทยาลัย ผูแ้ ทนต่างๆ ผูเ้ ข้าร่วมหลักสูตรจะมีโอกาสได้แลกเปลีย่ น เรียนรู้กับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับการก�ำกับดูแลมหาวิทยาลัย อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการที่ดี ได้เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ ของกรรมการสภามหาวิทยาลัยภายใต้นโยบายและปรัชญาอุดมศึกษา และประเด็นท้าทายอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21 ได้เสริมสร้างความรู้ แลกเปลีย่ นประสบการณ์ และความคิดเห็นในเรือ่ งต่างๆ เกีย่ วกับบทบาท ของสภามหาวิทยาลัยในการก�ำกับดูแลการบริหารเงินและทรัพย์สิน การอนุมตั หิ ลักสูตร และการบริหารงานบุคคล การก�ำกับความเสีย่ ง ในมหาวิทยาลัย การออกกฎ ระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับต่างๆ (ค�ำสัง่ ทางปกครอง) การประเมินสภามหาวิทยาลัย การระมัดระวังและหลีกเลีย่ ง เรือ่ งผลประโยชน์ทบั ซ้อน ตลอดจนเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือของ ผูด้ ำ� รงต�ำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัย เพือ่ ประโยชน์ในการพัฒนาการ อุดมศึกษาของประเทศ

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 155


ปัจจุบนั หลักสูตรธรรมาภิบาลเพือ่ การพัฒนาอุดมศึกษา ได้ดำ� เนินการมาแล้วจ�ำนวน 18 รุน่ (รุน่ 0-17) มีผทู้ เี่ ข้าร่วมหลักสูตร ทัง้ สิน้ จ�ำนวน 347 คน ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยของรัฐ 59 คน มหาวิทยาลัยในก�ำกับของรัฐ 55 คน มหาวิทยาลัยราชภัฏ 102 คน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 83 คน มหาวิทยาลัยเอกชน 32 คน วิทยาลัย/สถาบันฯ 10 คน และอืน่ ๆ 6 คน นอกจากนี้ แ ล้ ว โครงการจั ด ตั้ ง สถาบั น ธรรมาภิ บ าล มหาวิทยาลัยยังได้ดำ� เนินการ ‘หลักสูตรธรรมาภิบาลเพือ่ การพัฒนาคณะ’ (Faculty Governance Programme, FGP) ขึน้ ในปี พ.ศ. 2556 เพือ่ พัฒนาคณะกรรมการประจ�ำคณะ โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ เสริมสร้าง ความรู้ ความเข้าใจ เกีย่ วกับบทบาทและหน้าทีข่ องคณะกรรมการ คณะในการบริหารงานคณะด้านต่างๆ ด้านการศึกษาพัฒนาหลักสูตร ด้านการวิจัยและพัฒนา และด้านคุณภาพของบุคลากรและนิสิต นักศึกษา ให้สอดคล้องกับนโยบายของสภามหาวิทยาลัย ปรัชญา อุดมศึกษา ประเด็นท้าทายอุดมศึกษาในปัจจุบนั และอนาคต เพือ่ ส่งเสริม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ และความคิดเห็นในเรื่องเกี่ยว กับการท�ำหน้าที่ของคณะกรรมการคณะ วิทยาลัย และสถาบัน ภายใต้หลักธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการอุดมศึกษาที่ดี ตลอด จนเพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพและเครือข่ายความร่วมมือในระหว่าง คณะกรรมการคณะของสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ปั จ จุ บัน หลั ก สู ต รธรรมาภิ บาลเพื่ อ การพัฒ นาคณะได้ ด�ำเนินการมาแล้วจ�ำนวน 3 รุน่ (รุน่ 0-2) มีผทู้ เี่ ข้าร่วมหลักสูตรทัง้ สิน้ จ�ำนวน 115 คน ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยของรัฐ 42 คน มหาวิทยาลัย ในก�ำกับของรัฐ 26 คน มหาวิทยาลัยราชภัฏ 16 คน มหาวิทยาลัย เทคโลยีราชมงคล 24 คน และมหาวิทยาลัยเอกชน 7 คน ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมหลักสูตรจะได้ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ และความรั บ ผิ ด ชอบในฐานะกรรมการสภามหาวิ ท ยาลั ย และ กรรมการคณะกรรมการประจ�ำคณะมากยิ่งขึ้น ได้แนวคิด มุมมอง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการก�ำกับดูแลมหาวิทยาลัย การบริหารจัดการคณะให้สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาลและการ บริหารจัดการอุดมศึกษาที่ดี ได้สร้างเครือข่ายความร่วมมือของ กรรมการสภามหาวิทยาลัย และกรรมการคณะกรรมการประจ�ำ คณะ เพือ่ ประโยชน์ในการพัฒนาการคุณภาพอุดมศึกษาของประเทศ ต่อไป 156 รายงานประจ�ำปี 2556


การส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพ การบริหารจัดการ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 157


คุณคุภาพการบริ ณภาพการบริ หารจั หารจั ดการ ดการ การส่งเสริมการพัฒนา คุการส่ ณภาพการบริ หารจั ดการ งเสริมการพั ฒนา คุณภาพการบริหารจัดการ

158

ปั จ จุ บปั​ั นจสจุานับั นก สงานคณะกรรมการการอุ านั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ กดษาได้ มศึ กดษาได้ าเนิ นดการส่ าเนิ นงการส่ เสริ มงการพั เสริ มฒการพั นา ฒนา คุณภาพการบริ คุณภาพการบริ จของ จสกอ. ของ โดยใช้ สกอ. โดยใช้ เครืด่องมื เครื อกในการพั ่อษาได้ งมือในการพั ฒนาการบริ ฒนาการบริ ารจัมดการพั หการ ารจัดฒการ ปัหจารจั จุ บดั นหการภารกิ สารจั านัดกการภารกิ งานคณะกรรมการการอุ มศึ ด าเนิ น การส่ งหเสริ นา องค์ก รในมิ องค์ ก ต รในมิ ป ิ ระสิ ต ท ป ิ ธิ ระสิ ภ าพ ท ธิ มิ ภ ต าพ ค ิ ณ ุ มิ ภาพ ต ค ิ ณ ุ มิ ภาพ ต ิ ป ระสิ มิ ต ท ิ ป ธิ ระสิ ผ ล ท และมิ ธิ ผ ล ต และมิ ิ ก ารพั ต ฒ ิ ก ารพั นาองค์ ฒ นาองค์ ก ร ในค ก ารั ร ในค บ รอง ารั บ รอง ปัจจุบนั หส�ารจั ำนักงานคณะกรรมการการอุ ดมศึกโดยใช้ ษาได้ดำเ� ครื เนิน่อการส่ เสริมการพัฒฒนาการบริ นาคุณภาพการบริ ารจัดการภารกิจ คุณภาพการบริ ดการภารกิจของ สกอ. งมืองในการพั หารจัดหการ การปฏิ การปฏิ บ ั ต ิ ร าชการของส่ บ ั ต ิ ร าชการของส่ ว นราชการตามแนวทางการปฏิ ว นราชการตามแนวทางการปฏิ ร ู ป ระบบราชการที ร ู ป ระบบราชการที ่ ส านั ก งาน ่ ส านั ก ก.พ.ร. งาน ก.พ.ร. ปั จตจุิปเบครื ั นอ่ สงมืทานัอธิในการพั งานคณะกรรมการการอุ ษาได้ เสริ ขององค์สกอ. โดยใช้ ตปิ ระสิตดทิกาเนิ ธิารพั ภาพนฒการส่ มินาองค์ ตคิ ณ ุ งภาพ ตการพั ปิ ระสิ ผนา ล และมิตกิ าร กรในมิ ระสิ ภกาพ มิฒตนาการบริ ิคุณภาพหมิารจั ติปดการองค์ ระสิทดธิกมศึ ผรในมิ ล กและมิ กรมมิในค ารัทบฒธิรอง กาหนดตั าหนดตั แต่กปบรีงัต้ บประมาณ แต่ ปำรัีงหบบประมาณ นต้นสกอ. เป็วมานราชการตามแนวทางการปฏิ นต้รวมทั นมา ้งรวมทั ได้ าเกณฑ์ การพั ฒกฒารพั นาคุ นาคุ ภาพการ พัฒกคุการปฏิ นาองค์ ในค� รองการปฏิ บตั พ.ศ.2547 ริ าชการของส่ รปู ระบบราชการที นัภาพการ กก.พ.ร. งาน ณ้งภาพการบริ ารจั ดพ.ศ.2547 การภารกิ จเป็ ของ โดยใช้ เครืน่อาเกณฑ์ อนในการพั นาการบริ หส่ ณำ� ารจั ดการก.พ.ร.ก�ำหนด ิราชการของส่ วนราชการตามแนวทางการปฏิ ร้งงมื ูปได้ระบบราชการที ่สฒณานั กงาน ง้ องค์ งี การจั บประมาณ ต้ิคนุณ มา รวมทัมิเป็ ง้ ตได้ ารพั ฒ้งนาคุ ภาพการบริ หPMQA) ารจัฒด:กนาคุ การภาครั บริหตัารจั บริ ดปหการภาครั ด้งการภาครั (Public Sector Management Management Quality Quality Award :ารพั และ รในมิ ติปปฐระสิ ทธิฐภ(Public าพเป็Sector มินตพ.ศ.2547 ภาพ ิปนนระสิ ทธิกผรวมทั ล และมิ ิกาเกณฑ์ ารพัฒ รPMQA) ในค ารัฐ บ(Public รอง Sector กแต่าหนดตั แต่ ีงพ.ศ.2547 บประมาณ ต้ำ� เกณฑ์ นมา ได้ นตณAward กนาองค์ ณและ ภาพการ Management Award PMQA) นผลภาคราชการแบบบู รณาการ การปฏิ าชการของส่ ว:นราชการตามแนวทางการปฏิ รูปQuality ระบบราชการที ่สSystem านั กงาน ระบบการประเมิ ระบบการประเมิ นิรQuality ผลภาคราชการแบบบู นผลภาคราชการแบบบู รและระบบการประเมิ ณาการ รManagement ณาการ (Government (Government Evaluation Evaluation System :ก.พ.ร. บริหารจับดัตการภาครั ฐ (Public Sector Award : (Government PMQA) และ:Evaluation :กGES) กัหบารจั การบริ หารจั ารจัดดการของ การของ ำรวมทั ในปี บประมาณ พ.ศ.2551 และปีSystem งภาพการ บประมาณ กระบบการประเมิ าหนดตั ีงบประมาณ พ.ศ.2547 นสกอ. ต้นตามล� มาาดั ้งบงได้งบประมาณ นาเกณฑ์ กพ.ศ.2551 ารพัฒพ.ศ.2551 นาคุ ณและ GES)System GES) มาใช้ มาใช้ ากั้งแต่ บมาใช้ การบริ กปากั การบริ ดหการของ สกอ.เป็รสกอ. ตามล ตามล บดับในปี าดั ในปี งบประมาณ และ: พ.ศ.2555 นกบำ� ผลภาคราชการแบบบู ณาการ (Government Evaluation ในลัปี รดพ.ศ.2555 ณาการองค์ รฐวมในการน� ำองค์ษณะบู กรรณาการองค์ การวางแผนเชิ งยุทรธศาสตร์ การให้ คการวางแผนเชิ วามส� ญPMQA) กับผูร้ บั บริ ารและผู บริกงษณะบู หบประมาณ ารจัมาใช้ การภาครั (Public :พ.ศ.2551 และ ปีงบประมาณ ในลั กหษณะบู ในลั รManagement ณาการองค์ วมในการน วมในการน าองค์ กาองค์ รAward กรำคัการวางแผนเชิ ง กและ ง ม้ สี ว่ นได้ GES) กากัพ.ศ.2555 บการบริ ารจักดSector การของ สกอ.รตามล าดั บQuality ในปี งบประมาณ ส่วระบบการประเมิ ย การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรูร้ การมุ ง่ เน้นทรั พยากรบุคคล การจัEvaluation ดการกระบวนการSystem และการมุง่ :เน้นผลลัพธ์ นผลภาคราชการแบบบู ณาการ ยุทธศาสตร์ ยุปีนเสี ทงบประมาณ ธศาสตร์ การให้การให้ ความส คาคั วามส ญกัาคั บผูญ้รกับกัษณะบู บริ บผูก้รารและผู ับบริ การและผู ้มีส่ว(Government นได้ ้มรีสวมในการน ส่ว่วนได้ นเสีสย่วนเสี การวั ย ดการวั ด เการวิ คราะห์ เคราะห์ง พ.ศ.2555 ในลั รณาการองค์ าองค์ กการวิ ร การวางแผนเชิ ำ เนิ น การ ซึ ง ่ การด� ำ เนิ น งานพั ฒ นาคุ ณ ภาพการบริ ห ารจั ด การที ส ่ ำ � คั ญ ของ สกอ. ในปี ง บประมาณ พ.ศ.2556 มีดงั นี้ การด� มาใช้ กากั้ บการมุ การบริ ารจั สกอ. ตามล าดั ในปี บประมาณ และ ยุGES) ทธศาสตร์ การให้ ความส บทรั ผู้รพับยากรบุ บริ การและผู ้มการกระบวนการ ีส่วบนได้ ส่วงนเสี ย และการมุ การวัดพ.ศ.2551 การวิ และการจั และการจั ดการความรู ดการความรู ้ ่งการมุ เน้หนาคั ทรั ่งญเน้พดกัการของ นยากรบุ คคล การจั คคล ดการจั ดการกระบวนการ และการมุ ่งเน้นเคราะห์ ่งเน้ น ปีกงารด บประมาณ ในลั กาเนิ ษณะบู รณาการองค์ รวมในการน าองค์ และการจั ดนการความรู ้ ซึการมุ นทรั พนาคุ ยากรบุ คคลณภาพการบริ การจั การกระบวนการ และการมุ เน้นง ผลลัพธ์ผลลั พธ์าเนิ การด การ าเนิพ.ศ.2555 นซึการ ่งการด ่งาเนิ การด น่งเน้ งานพั นฒงานพั ฒณนาคุ ภาพการบริ หดารจั ดหการที ารจั ด่สการที าคักรญ่สการวางแผนเชิ ของ าคัญสกอ. ของ ่งสกอ. ยุผลลั ทธศาสตร์ การให้ ความส าคั กันีบ้ ผูน้รงานพั ับบริกฒารและผู ้มีส่วนได้สห่วนเสี การวั่สดาคัการวิ เคราะห์ ธ์การด าเนินพ.ศ.2556 การ นาคุณภาพการบริ ารจัดยการที ญของ สกอ. ในปีงบประมาณ ในปี งพบประมาณ พ.ศ.2556 มีดซึั ่งนีการด ้ มีดญังาเนิ รายงานประจ�ำและการจั ปี 2556 ดการความรู ้ การมุมี่งดเน้ ในปี งบประมาณ พ.ศ.2556 ังนีน้ ทรัพยากรบุคคล การจัดการกระบวนการ และการมุ่งเน้น ผลลัพธ์การดาเนินการ ซึ่งการดาเนินงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการที่สาคัญของ สกอ. ในปีงบประมาณ พ.ศ.2556 มีดังนี้


การพัฒนาระบบบริหารจัดการของ สกอ. ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ด�ำเนินการพัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กร โดยท�ำการส�ำรวจการพัฒนาองค์กร (Organization Development Survey) เกี่ยวกับการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล การพัฒนาระบบข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ และการพัฒนาบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์กรของ สกอ. ประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ.2556 ระหว่างวันที่ 17 ธันวาคม 2555 ถึง วันที่ 4 มกราคม 2556 เพื่อศึกษาความแตกต่าง (Gap) ระหว่างความส�ำคัญกับความเห็นด้วยของข้าราชการต่อการบริหารและการด�ำเนินงานของ สกอ. ในด้านต่าง ๆ ทั้ง 3 ด้าน และน�ำผลการศึกษามาจัดท�ำแผนพัฒนาปรับปรุงระบบการด�ำเนินงานแต่ละด้านตามความเห็นของข้าราชการ โดยรวมให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลดียิ่งขึ้น ดังนี้

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 159


การพัฒนาระบบการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล 1. สื่อสารประชาสัมพันธ์นโยบาย เป้าหมาย และแผน ยุทธศาสตร์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลของ สกอ.ให้ บุคลากรได้ทราบอย่างทั่วถึง 2. จัดท�ำหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะให้กับข้าราชการและ บุคลากรตามกลุ่มเป้าหมายและติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ 3. จั ด ฝึ ก อบรมหลั ก สู ต รการเป็ น ข้ า ราชการที่ ดี ใ ห้ กั บ ข้าราชการใหม่ 4. จัดฝึกอบรมให้ความรู้แก่ข้าราชการเกี่ยวกับเกณฑ์การ เลื่อนระดับ การโยกย้าย การโอน รวมทั้งการฝึกทักษะการเขียนเชิง วิชาการ เพื่อเตรียมท�ำผลงานทางวิชาการ

160 รายงานประจ�ำปี 2556

5. จัดฝึกอบรมให้ความรู้แก่ผู้บังคับบัญชาระดับส�ำนัก/ หน่วยงาน/กลุ่มงาน เกี่ยวกับเทคนิคการให้ค�ำปรึกษา การสอนงาน และภาวะผู้น�ำ 6. จัดกิจกรรมโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต ‘การพัฒนา จิตกับประสิทธิภาพการท�ำงาน’ และ ‘การศึกษาดูงานสถานที่ส�ำคัญ ทางพุทธศาสนา’ 7. จั ด ฝึ ก อบรมพั ฒ นาทั ก ษะด้ า นภาษาอั ง กฤษส� ำ หรั บ บุคลากร สกอ. 8. เปิดโอกาสและสนับสนุนให้มีการหมุนเวียนงานของ บุคลากรใน สกอ.


การพัฒนาปรับปรุงระบบข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ก�ำหนดการ พัฒนาปรับปรุงระบบข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นตัวชี้วัดระดับ ส�ำนัก/หน่วยงานเพือ่ ทีจ่ ะให้สำ� นัก/หน่วยงานได้รว่ มด�ำเนินการพัฒนา ปรับปรุงระบบข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศของส�ำนัก/หน่วยงานให้ สอดคล้องสัมพันธ์กบั ศูนย์สารสนเทศ ส�ำนักอ�ำนวยการในการพัฒนา ระบบข้ อมู ล เทคโนโลยีสารสนเทศในภาพรวมของ สกอ. โดยใน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 สกอ. ได้ดำ� เนินการพัฒนาปรับปรุงระบบ ข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนี้ 1. ก� ำ หนดแนวทางและมาตรการจั ด เก็ บ เอกสารเพื่ อ พัฒนาระบบการจัดเก็บเอกสารของ สกอ. 2. พัฒนาปรับปรุงระบบข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษา เอกชน 3. จัดท�ำฐานข้อมูลสหกิจศึกษา 4. พัฒนาปรับปรุงระบบฐานข้อมูลการติดตามหลักสูตร ฐานข้อมูลงบประมาณและบัญชี และฐานข้อมูลการรายงานผลการ

ปฏิบตั ริ าชการตามค�ำรับรองการปฏิบตั ริ าชการระดับส�ำนัก/หน่วยงาน 5. ปรั บ ปรุ ง ระบบฐานข้ อ มู ล ของส� ำ นั ก /หน่ ว ยงานให้ เชือ่ มโยงกับฐานข้อมูลกลางของ สกอ. ได้แก่ ฐานข้อมูลผูร้ บั ทุนโครงการ พัฒนาก�ำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ฐานข้อมูลการติดตามประเมินผลด้านงบประมาณ และด้านนโยบาย ยุทธศาสตร์ ฐานข้อมูลการบริหารการศึกษาของวิทยาลัยชุมชน 6. พัฒนาระบบฐานข้อมูลทุนพัฒนาอาจารย์ในสถาบัน อุดมศึกษา โดยรวมฐานข้อมูลพัฒนาอาจารย์ UDC ฐานข้อมูลทุน พัฒนาอาจารย์วิทยาเขตสารสนเทศ ฐานข้อมูลทุนพัฒนาอาจารย์ สาขาขาดแคลน ฐานข้อมูลทุนพัฒนาอาจารย์โครงการเครือข่ายเชิง ยุทธศาสตร์ และฐานข้อมูลทุนพัฒนาอาจารย์ในเขตพัฒนาเฉพาะกิจ จังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าด้วยกัน 7. มีการจัดอบรมให้ความรู้การใช้งานระบบฐานข้อมูลให้ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ รวมทั้งการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบฐานข้อมูล

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 161


การพัฒนาปรับปรุงบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์กร ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้แต่งตั้งคณะท�ำงานพัฒนาปรับปรุงบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์กรเพื่อจัดท�ำแผน พัฒนาปรับปรุงบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์กรของ สกอ. โดยร่วมกับส�ำนัก/หน่วยงานในการจัดกิจกรรมตามแผนเพื่อส่งเสริมบรรยากาศและ วัฒนธรรมองค์กรของ สกอ. ก่อให้เกิดความรักและผูกพันของบุคลากรต่อ สกอ. ตามกิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากร สกอ.ต่าง ๆ ดังนี้ 1. กิจกรรมรณรงค์รักษาความสะอาด ประกวด 5 ส 2. กิจกรรมการจัดการความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ KM Days 3. กิจกรรมการเขียนบทความการส่งเสริมประสิทธิภาพและความสุขในการปฏิบัติงานของ สกอ. 4. การจัดนิทรรศการภาพเขียน 5. การจัดกิจกรรมศิลปะ ดนตรี และกีฬา 6. การจัดฉายภาพยนตร์ฝึกทักษะภาษาอังกฤษ 7. การจัดการเรียนการสอนภาษาจีนกลางให้กับบุคลากรที่สนใจในช่วงเย็น สัปดาห์ละ 2 วัน 8. การจัดกิจกรรมรับฟังการบรรยายธรรม 9. การส่งเสริมการท�ำงานเป็นทีม ได้แก่ การด�ำเนินการจัดสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการของ สกอ. 10. การจัดวันสถาปนาส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 11. การส�ำรวจความคิดเห็นและความพึงพอใจของผู้รับบริการทั้งภายในและภายนอกของ สกอ. 162 รายงานประจ�ำปี 2556


การจัดการความรู้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจัดให้มโี ครงการ ‘การน�ำเสนอความรู้ และการแลกเปลีย่ นเรียน รูข้ องบุคลากร สกอ.’ ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถนุ ายน 2556 จ�ำนนวน 6 ครัง้ โดยเป็นการบรรยายให้ความรูแ้ ละถ่ายทอดประสบการณ์ของ บุคลากรแต่ละส�ำนัก/หน่วยงาน มีเป้าหมายส�ำคัญ คือ มุง่ ให้ขา้ ราชการและบุคลากรของ สกอ. ปฏิบตั ภิ ารกิจโดยน�ำองค์ความรูท้ แี่ ลกเปลีย่ นเรียน รูร้ ะหว่างกันมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบตั งิ านได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทัง้ จัดกิจกรรมการประกวดการจัดการความรูร้ ะดับบุคคล โดยให้เสนอบทความเกีย่ วกับการส่งเสริมประสิทธิภาพและความสุขในการปฏิบตั งิ านของ สกอ. แล้วน�ำองค์ความรูท้ แี่ ลกเปลีย่ นเรียนรูม้ าเผยแพร่ บนเว็บไซต์ของ สกอ. อีกด้วย

การพัฒนาระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงของ สกอ. ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ให้ความส�ำคัญต่อการพัฒนาระบบควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงของ องค์กรตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการก�ำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544 ซึ่งก�ำหนดให้หน่วยงานภาครัฐ จัดวางระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง โดยใช้มาตรฐานการควบคุมภายในตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ให้สอดคล้องกับภารกิจหลักและภารกิจสนับสนุนของส่วนราชการ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงมีค�ำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ พัฒนาระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงของ สกอ. โดยได้ร่วมประชุมกับผู้แทนส�ำนัก/หน่วยงานพิจารณาจัดวางระบบการ ควบคุมภายในของทุกส�ำนัก/หน่วยงาน และวิเคราะห์ประเมินปัจจัยเสี่ยงของกิจกรรม/โครงการตามประเด็นยุทธศาสตร์ของ สกอ. เพื่อน�ำมา ด�ำเนินการบริหารความเสี่ยง 7 กิจกรรม/ โครงการในปีงบประมาณ พ.ศ.2556 ดังนี้ 1. การพัฒนาบัณฑิตศึกษาและการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2. การสนับสนุนการด�ำเนินงานของวิทยาลัยชุมชน 3. โครงการเครือข่ายการศึกษาแห่งชาติ (NEdNet) 4. โครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ 5. กิจกรรมรักษาพยาบาลเพื่อการศึกษาและวิจัย 6. กิจกรรมสนับสนุนการด�ำเนินการวิจัยของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ 7. โครงการส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งทุกโครงการ/กิจกรรมได้ด�ำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยง และได้ผลผลิตตามเป้าหมายที่ก�ำหนด

การบริหารความต่อเนื่องในการปฏิบัติราชการของ สกอ. กรณีเกิดภัยพิบัติ ส�ำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาได้ด�ำเนินการบริหารจัดการความพร้อมต่อสภาวะวิกฤตกรณีเกิดภัยพิบัติโดยน�ำแนวทางการ บริหารความต่อเนื่อง (Business Continuity Management : BCM) มาใช้ในการบริหารจัดการต่อสภาวะวิกฤต โดยมอบให้กลุ่มพัฒนาระบบ บริหารและส�ำนัก/หน่วยงานร่วมด�ำเนินการวิเคราะห์ภาระงานหลักที่ส�ำคัญของส�ำนัก/หน่วยงาน รวมทั้งความรุนแรงของผลกระทบที่จะได้รับ และระยะเวลาที่จะฟื้นคืนสภาพกรณีเกิดภัยพิบัติน�ำมาจัดท�ำแผนบริหารจัดการภัยพิบัติและความต่อเนื่องในการปฏิบัติราชการของ สกอ. (Business Continuity Plan : BCP) เพื่อให้ สกอ.สามารถกอบกู้ภาวะวิกฤตจากภัยพิบัติและสามารถปฏิบัติงานในภารกิจหลักหรืองานบริการ ที่ส�ำคัญได้อย่างต่อเนื่อง แม้เกิดสภาวะวิกฤตในระดับที่ยอมรับได้ ขณะเดียวกันก็จะลดผลกระทบจากเหตุการณ์และลดระยะเวลาของการหยุด ชะงักการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ ท�ำให้สามารถกลับมาด�ำเนินการหรือให้บริการตามปกติได้ ซึ่งจะส่งผลให้การด�ำเนินงานบรรลุเป้าหมาย ตามภารกิจและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้รับบริการและองค์กรในภาพรวม ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 163


การประเมินมาตรฐานความโปร่งใสและตรวจสอบได้ของ สกอ. ด้วยคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมือ่ วันที่ 12 ตุลาคม 2553 เห็นชอบเครือ่ งมือวัดความโปร่งใสและตรวจสอบได้ของส่วนราชการ ทีส่ ำ� นักงาน ก.พ. ได้พฒ ั นาขึน้ พร้อมทัง้ ส่งเสริมให้ทกุ ส่วนราชการมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการและขัน้ ตอนเกีย่ วกับการประเมินมาตรฐาน ความโปร่งใสขององค์กร ซึง่ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลตามยุทธศาสตร์และแผนงานเชิงรุกของรัฐบาลในการต่อต้านการทุจริตคอร์รปั ชัน่ เพือ่ ส่งเสริมสนับสนุนนโยบายและมติคณะรัฐมนตรีดงั กล่าว ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ออกประกาศส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา เรือ่ ง นโยบายเกีย่ วกับความโปร่งใส และการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพือ่ ใช้เป็น บรรทัดฐานและเป็นการสร้างมาตรฐานการปฏิบตั งิ านของข้าราชการให้มคี วามโปร่งใส ลดความเสีย่ งของหน่วยงานต่อปัญหาการทุจริตคอร์รปั ชัน่ รวมทัง้ เป็นค่านิยมร่วมส�ำหรับองค์กรและบุคลากรทุกคนพึงยึดถือเป็นแนวทางปฏิบตั ิ รวมทัง้ ได้ออกค�ำสัง่ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรือ่ งแต่งตัง้ คณะกรรมการประเมินมาตรฐานความโปร่งใสของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ซึง่ ประกอบด้วยผูบ้ ริหารของ สกอ. และผูท้ รง คุณวุฒภิ ายนอก รวมทัง้ ผูแ้ ทนสือ่ มวลชน เป็นคณะกรรมการท�ำหน้าทีด่ ำ� เนินการตรวจสอบประเมินมาตรฐานความโปร่งใสในการปฏิบตั ริ าชการ ของ สกอ.ใน 4 มิติ 13 ตัวชีว้ ดั ซึง่ ผลการประเมินความโปร่งใสตรวจสอบได้ของ สกอ. อยูท่ รี่ ะดับคะแนน 4.65 จากคะแนนเต็ม 5

การตรวจรับรองคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐานของ สกอ. ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้มุ่งมั่นส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพการบริหารจัดการภารกิจ ของ สกอ. ตั้งแต่เริ่มต้นการปฏิรูประบบราชการ โดยบูรณาการพัฒนาองค์กรตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) และ การประเมินผลภาคราชการแบบบูรณาการ (GES) ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ.2556 ส�ำนักงาน ก.พ.ร. ได้เข้าเยี่ยมตรวจประเมินรับรอง คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน (Certified Fundamental Level) ของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2556 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มั่นใจว่า สกอ. มีแนวทางหรือระบบต่างๆ ที่ตอบสนองต่อลักษณะส�ำคัญขององค์การ และมี การบริหารจัดการจนมีแนวปฏิบัติและระบบการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการปรับปรุง แนวทางและระบบการบริหารจัดการตามภารกิจขององค์การอย่างเหมาะสม ซึ่งการตรวจประเมินเป็นการตรวจเชิงคุณภาพโดยคณะ ผู้ตรวจรับรองที่ทรงคุณวุฒิ ด้วยวิธีการบรรยาย สัมภาษณ์และสอบถามผู้บริหาร บุคลากรหลัก และคณะท�ำงาน PMQA ของ สกอ. ซึ่งผล การตรวจประเมินของ สกอ.ผ่านเกณฑ์การประเมิน และส�ำนักงาน ก.พ.ร. ได้ออกประกาศรับรองคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับ พื้นฐานให้กับ สกอ.เพื่อที่จะด�ำเนินการยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการสู่ระดับสากลอย่างยั่งยืนต่อไป

164 รายงานประจ�ำปี 2556


ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 165


ตารางแสดงงบประมาณรายจายประจำปงบประมาณ พ.ศ. 2556 จำแนกตามแผนงาน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในสังกัดและในกำกับ ตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจาย ประจำปงบประมาณ พ.ศ. 2556 ลำดับที่

หนวยงาน

รวมทั้งสิ้น 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11

166 รายงานประจ�ำปี 2556

แผนงานปองกัน ปราบปราม และบำบัดรักษายาเสพติด แผนงานปองกันและปราบปรามการทุจริต แผนงานแกไขปญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต แผนงานฟนฟูความสัมพันธและพัฒนาความรวมมือกับประเทศในภูมิภาค แผนงานเพิ่มรายไดจากการทองเที่ยว แผนงานสนับสนุนเครื่องคอมพิวเตอรพกพาเพื่อการศึกษา แผนงานสนับสนุนการจัดการศึกษาตั้งแตปฐมวัยจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน แผนงานสรางและกระจายโอกาสทางการศึกษาใหทั่วถึงและเปนธรรม แผนงานพัฒนาดานสาธารณสุข แผนงานอนุรักษ สงเสริมและพัฒนาศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม แผนงานสงเสริมและสนับสนุนการวิจัย

รวมทั้งสิ้น

88,716,993,500 30,000,000 40,000,000 470,331,800 541,520,300 66,687,200 27,904,200 392,881,600 73,878,792,600 8,703,942,100 355,059,100 4,209,874,600


สำนักงาน คณะกรรมการ การอุดมศึกษา

สถาบันอุดมศึกษา ของรัฐในสังกัด 16 แหง

มหาวิทยาลัย เทคโนโลยี ราชมงคล 9 แหง

สถาบันอุดมศึกษา ของรัฐในกำกับ 13 แหง

มหาวิทยาลัยสงฆ 2 แหง

มหาวิทยาลัย ราชภัฏ 40 แหง

14,573,923,700

6,804,932,800

25,717,113,400 8,562,061,000

30,720,516,500 2,338,446,100

30,000,000 40,000,000 137,486,000 76,600,000 18,096,000 4,347,489,600 835,078,500 1,320,182,700

14,000,000 205,281,800 54,835,400 89,512,500 665,000 24,965,700 195,900 13,905,900 705,300 223,577,200 21,912,690,900 8,236,048,400 2,209,271,700 41,703,200 79,689,400 958,218,300 213,907,800

22,164,000 228,709,200 29,656,500 3,791,800 46,781,200 23,286,912,300 5,659,591,900 41,857,500 1,401,052,100

91,400,000 91,863,200 11,400,000 10,010,600 103,721,900 2,185,351,200 13,910,300,200 69,616,000 122,193,000 285,611,800 30,901,900

ที่มา : 1. สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี. เอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 3 งบประมาณรายจายประจำปงบประมาณ พ.ศ. 2556 เลมที่ 8 (1) กระทรวงศึกษาธิการ (1) - เลมที่ 8 (5) กระทรวงศึกษาธิการ (5). กรุงเทพฯ : หางหุนสวน อรุณการพิมพ จำกัด, 2555. 2. พระราชบัญญัติงบประมาณรายจายประจำปงบประมาณ พ.ศ. 2556

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 167


รายงานนักศึกษาทั้งหมด ปการศึกษา 2556 จำแนกตามระดับการศึกษา เฉพาะนักศึกษาที่มีสถานภาพกำลังศึกษาปจจุบัน (ลงทะเบียนโดยมีหนวยกิตเพิ่ม) หรือ นักศึกษาที่มีสถานภาพรักษาสภาพนักศึกษา (ลงทะเบียนโดยไมมีหนวยกิตเพิ่ม) นักศึกษาทั้งหมด ปการศึกษา 2556 ต่ำกวา ปริญญาตรี ปริญญาตรี

ป.บัณฑิต

ปริญญาโท

ป.บัณฑิตชั้นสูง

ปริญญาเอก

อื่นๆ

รวมทั้งหมด

รวมทั้งหมด

30,859

1,874,147

5,559

198,292

1,442

25,397

3,141

2,138,837

สถาบันอุดมศึกษารัฐ

27,694

1,606,347

5,298

172,432

1,442

22,812

3,006

1,839,031

มหาวิทยาลัยของรัฐ

3,663

274,533

255

47,821

457

8,843

12

335,584

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

5,917

141,893

298

2,655

0

138

0

150,901

877

562,490

3,680

17,058

18

2,100

567

586,790

2,351

236,622

145

44,237

967

9,924

126

294,372

0

390,809

920

60,661

0

1,807

2,301

456,498

14,886

0

0

0

0

0

14,886

สถาบันอุดมศึกษาเอกชน

3,165

267,800

261

25,860

0

2,585

135

299,806

มหาวิทยาลัยเอกชน

3,098

227,187

168

20,670

0

2,532

135

253,790

วิทยาลัยเอกชน

67

29,206

93

4,607

0

11

0

33,984

สถาบันเอกชน

0

11,407

0

583

0

42

0

12,032

มหาวิทยาลัยราชภัฎ มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ มหาวิทยาลัยรัฐไมจำกัดรับ วิทยาลัยชุมชน

จากขอมูล จำนวนนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา ทั้งหมดจำนวน 151 แหง สงขอมูล 131 แหง ไมสงขอมูล 20 แหง (รัฐ 3 แหง เอกชน 17 แหง)

นักศึกษาทั้งหมด ปริญญาตรี 600,000 500,000 400,000 300,000 200,000 100,000 0

562,490 390,809 274,533

227,187 141,893

236,622 0

29,206

11,407 ปริญญาตรี

168 รายงานประจ�ำปี 2556


นักศึกษาทั้งหมด ต่ำกวา ป.ตรี 16,000 14,000 12,000 10,000 8,000 6,000 4,000 2,000 0

14,886

3,663

5,917 877

2,351

3,098 67

ต่ำกวา ปริญญาตรี

นักศึกษาทั้งหมด สูงกวา ป.ตรี 70,000 60,000 50,000 40,000 30,000 20,000 10,000 0

65,689 57,388

55,399

23,423 3,091

23,505 4,711

625

สูงกวา ป.ตรี

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 169


รายงานนักศึกษาใหม ปการศึกษา 2556 จำแนกตามระดับการศึกษา เฉพาะนักศึกษาที่มีสถานภาพกำลังศึกษาปจจุบัน (ลงทะเบียนโดยมีหนวยกิตเพิ่ม) หรือ นักศึกษาที่มีสถานภาพรักษาสภาพนักศึกษา (ลงทะเบียนโดยไมมีหนวยกิตเพิ่ม) ต่ำกวา ปริญญาตรี

ปริญญาตรี

ป.บัณฑิต

ปริญญาโท

ป.บัณฑิตชั้นสูง

ปริญญาเอก

อื่นๆ

รวม

รวมทั้งหมด

12,590

486,094

801

49,679

549

3,823

1,359

554,895

สถาบันอุดมศึกษารัฐ

11,212

410,474

791

42,636

549

3,446

1,235

470,343

มหาวิทยาลัยของรัฐ

1,657

77,607

191

11,493

227

1,374

12

92,561

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

2,619

44,247

0

794

0

1

0

47,661

มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ

1,105

66,263

66

12,603

322

1,519

35

81,913

0

72,217

523

14,998

0

248

1,002

88,988

11

150,140

11

2,748

0

304

186

153,400

วิทยาลัยชุมชน

5,820

0

0

0

0

0

0

5,820

สถาบันอุดมศึกษาเอกชน

1,378

75,620

10

7,043

0

377

124

84,552

มหาวิทยาลัยเอกชน

1,364

61,924

10

5,002

0

368

124

68,792

วิทยาลัยเอกชน

14

10,469

0

1,859

0

0

0

12,342

สถาบันเอกชน

0

3,227

0

182

0

9

0

3,418

มหาวิทยาลัยรัฐไมจำกัดรับ มหาวิทยาลัยราชภัฎ

จากขอมูล จำนวนนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา ทั้งหมดจำนวน 151 แหง สงขอมูล 131 แหง ไมสงขอมูล 20 แหง (รัฐ 3 แหง เอกชน 17 แหง)

นักศึกษาใหม ปริญญาตรี

ปริญญาตรี

170 รายงานประจ�ำปี 2556


นักศึกษาใหม ต่ำกวา ป.ตรี

ต่ำกวา ปริญญาตรี

สูงกวา ป.ตรี

สูงกวา ป.ตรี

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 171


172 รายงานประจ�ำปี 2556


ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

Office of the Higher Education Commission : OHEC 328 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 2610 5200 โทรสาร 0 2354 5524-6 web site: www.mua.go.th e-mail address: pr_mua@mua.go.th facebook: www.facebook.com/ohecthailand twitter: www.twitter.com/ohec_th

ท�ำเนียบผู้บริหาร ปีงบประมาณ พ.ศ.2557 ศาสตราจารย์พิเศษทศพร ศิริสัมพันธ์ Prof.Thosaporn Sirisumphand, Ph.D. thosaporn@mua.go.th เลขาธิการ Secretary-General

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี Assoc.Prof.Kamjorn Tatiyakavee, M.D. tkamjorn@mua.go.th, tkamjorn@yahoo.com รองเลขาธิการ Deputy Secretary-General

หมายเลขติดต่อ 0 2610 5250 โทรศัพท์เคลื่อนที่ 08 1612 3521 โทรสาร 0 2354 5595 เลขานุการ น.ส.ลักษมณ สมานสินธุ์ sluksmon@gmail.com หมายเลขติดต่อ 0 2610 5201 โทรศัพท์เคลื่อนที่ 08 1988 3838

หมายเลขติดต่อ 0 2610 5210 โทรศัพท์เคลื่อนที่ 08 1938 0269 โทรสาร 0 2610 5218 เลขานุการ นางจิตฤดี ขวัญพุฒ jitrudee@mua.go.th หมายเลขติดต่อ 0 2610 5211 โทรศัพท์เคลื่อนที่ 08 1134 5552

รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล Assoc.Prof.Piniti Ratananukul, Ph.D. piniti@mua.go.th รองเลขาธิการ Deputy Secretary-General

นางวราภรณ์ สีหนาท Mrs.Varaporn Seehanath, Ph.D. varaporn@mua.go.th รองเลขาธิการ Deputy Secretary-General

หมายเลขติดต่อ 0 2610 5214 โทรศัพท์เคลื่อนที่ 08 1938 0263 โทรสาร 0 2610 5217 เลขานุการ นางจันทนี ดอกบัว dokbaur@gmail.com หมายเลขติดต่อ 0 2610 5215 โทรศัพท์เคลื่อนที่ 08 4657 6776

หมายเลขติดต่อ 0 2610 5212 โทรศัพท์เคลื่อนที่ 08 1938 0273 โทรสาร 0 2644 5489 เลขานุการ น.ส.ดวงจันทร์ มาค�ำสาย Kaopun2007@gmail.com หมายเลขติดต่อ 0 2610 5213 โทรศัพท์เคลื่อนที่ 08 9683 3878 ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 173


นายอาณัติ พงศ์สุวรรณ (รักษาราชการ) Mr.Arnut Pongsuwan (Acting) arnut@mua.go.th ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผน Senior Advisor for Policy and Planning หมายเลขติดต่อ โทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรสาร เลขานุการ หมายเลขติดต่อ โทรศัพท์เคลื่อนที่

0 2610 5363 08 5488 7040 0 2354 5600 นางเมตตา อภิรมย์เสมอ 0 2610 5364 08 1617 9538

นายสุภัทร จ�ำปาทอง (รักษาราชการ) Mr.Suphat Champatong, Ph.D. (Acting) suphat2505@gmail.com ที่ปรึกษาด้านกิจการอุดมศึกษาเอกชน Senior Advisor for Private Higher Education Affairs หมายเลขติดต่อ โทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรสาร เลขานุการ หมายเลขติดต่อ โทรศัพท์เคลื่อนที่

0 2610 5296 08 1818 9875 0 2354 5450 นางสาวทิวาพร เอี่ยมโต 0 2610 5271 08 6568 4356

นายขจร จิตสุขุมมงคล (รักษาราชการ) Mr.Kajorn Jitsukummongkol (Acting) kajorn@mua.go.th ที่ปรึกษาด้านระบบบริหาร Senior Advisor for Administrative Development

นายสุภัทร จ�ำปาทอง Mr.Suphat Champatong, Ph.D. suphat2505@gmail.com ผู้ช่วยเลขาธิการ Assistant Secretary-General

หมายเลขติดต่อ โทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรสาร เลขานุการ หมายเลขติดต่อ โทรสาร

หมายเลขติดต่อ โทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรสาร เลขานุการ หมายเลขติดต่อ โทรศัพท์เคลื่อนที่

0 2610 5333 08 9890 3326 0 2354 5548 นางทัศนีย์ ยะพิมพ์สิน 0 2610 5303 0 2354 5541

นางอรสา ภาววิมล (รักษาราชการ) Mrs.Aurasa Pavavimol (Acting) aurasa@mua.go.th ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานการศึกษา Senior Advisor for Higher Education Standards หมายเลขติดต่อ โทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรสาร เลขานุการ หมายเลขติดต่อ โทรศัพท์เคลื่อนที่

0 2610 5343 08 5488 7047 0 2354 5607 น.ส.วรางคณา วิชัยค�ำ 0 2610 5344 08 0203 4325

174 รายงานประจ�ำปี 2556

0 2610 5296 08 1818 9875 0 2354 5450 นางสาวทิวาพร เอี่ยมโต 0 2610 5271 08 6568 4356

นายศิระวิทย์ คลี่สุวรรณ Mr.Sirawit Kleesuwan suphat2505@gmail.com ผู้อ�ำนวยการส�ำนักอ�ำนวยการ Director, Bureau of General Administration หมายเลขติดต่อ โทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรสาร เลขานุการ หมายเลขติดต่อ โทรศัพท์เคลื่อนที่

0 2610 5277 08 5488 7058 0 2354 5524 น.ส.ณัฐนิชา ภู่ระโหง 0 2354 5549 08 9704 0036


นายอาณัติ พงศ์สุวรรณ Mr.Arnut Pongsuwan arnut@mua.go.th ผู้อำ� นวยการส�ำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา Director, Bureau of Policy and Planning

นางมยุรี สิงห์ไข่มุกข์ Mrs.Mayuree Singkhaimook mayuree@mua.go.th ผู้อ�ำนวยการส�ำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา Director, Bureau of Standards and Evaluation

หมายเลขติดต่อ โทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรสาร เลขานุการ หมายเลขติดต่อ โทรศัพท์เคลื่อนที่

หมายเลขติดต่อ โทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรสาร เลขานุการ หมายเลขติดต่อ โทรศัพท์เคลื่อนที่

0 2610 5363 08 5488 7040 0 2354 5600 นางเมตตา อภิรมย์เสมอ 0 2610 5364 08 1617 9538

0 2610 5383 08 9170 6962 0 2354 5530, 0 2354 5491 น.ส.ชมภัสสร สุขสมัย 0 2610 5384 08 3702 8698

นายสมศักดิ์ ตันติแพทยางกูร Mr.Somsak Tantipaetyangkul somsakt@yahoo.com ผู้อำ� นวยการส�ำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน Director, Bureau of Community College Administration

นางสาวชฎารัตน์ สิงหเดชากุล Miss Chadarat Singhadechakul chada@mua.go.th ผู้อ�ำนวยการส�ำนักยุทธศาสตร์อุดมศึกษาต่างประเทศ Director, Bureau of International Cooperation Strategy

หมายเลขติดต่อ 0 2281 0649, 0 2280 0091-6 ต่อ 4000 โทรศัพท์เคลื่อนที่ 08 1834 6966 โทรสาร 0 2280 4162, 0 2281 1588 เลขานุการ น.ส.กรรณิการ์ เรือนค�ำ หมายเลขติดต่อ 0 2281 0596 นางอรสา ภาววิมล Mrs.Aurasa Pavavimol aurasa@mua.go.th ผู้อำ� นวยการส�ำนักประสานและส่งเสริมกิจการอุดมศึกษา Director, Bureau of Cooperation and Promotion

หมายเลขติดต่อ โทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรสาร เลขานุการ หมายเลขติดต่อ

0 2610 5343 08 5488 7047 0 2354 5607 น.ส.วรางคณา วิชัยค�ำ 0 2610 5344 08 0203 4325

หมายเลขติดต่อ โทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรสาร เลขานุการ หมายเลขติดต่อ

หมายเลขติดต่อ โทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรสาร เลขานุการ หมายเลขติดต่อ โทรศัพท์เคลื่อนที่

0 2610 5404 08 5488 7062 0 2354 5570 น.ส.นันท์นภัส ดอนศรีจันทร์ 0 2610 5403

ผู้อ�ำนวยการส�ำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา Director, Bureau of Student Development 0 2610 5408 0 2354 5460 น.ส.กรรณิการ์ สอาดพันธ์ 0 2610 5466

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 175


นายขจร จิตสุขุมมงคล Mr.Kajorn Jitsukummongkol kajorn@mua.go.th ผู้อ�ำนวยการส�ำนักส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะบุคลากร Director, Bureau of Personnel Administration and Development หมายเลขติดต่อ โทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรสาร เลขานุการ หมายเลขติดต่อ โทรสาร

0 2610 5333 08 9890 3326 0 2354 5540 นางจีราวัตน์ ชูฤทธิ์ 0 2610 5334 0 2354 5541

ผศ.วิชาญ เลิศวิภาตระกูล Asst.Prof.Wichan Lertwipatrakul director@uni.net.th ผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพือ่ พัฒนาการศึกษา Director, Office of Information Technology Administration for Educational Development หมายเลขติดต่อ 0 2351 5678 ต่อ 1001 โทรศัพท์เคลื่อนที่ 08 9455 7711 โทรสาร 0 2354 5678 ต่อ 5012 เลขานุการ นางสาวอิ่มใจ คงจุ้ย amjai@uni.net.th หมายเลขติดต่อ 0 2354 5678 ต่อ 1000

นางสาวอัมพา สุวรรณศรี (ปฏิบัติหน้าที่) Miss Ampa Suwannasri (Acting) ampa@mua.go.th ผู้อ�ำนวยการส�ำนักติดตามและประเมินผลอุดมศึกษา Director, Bureau of Monitoring and Evaluation

ผศ.ฐาปนีย์ ธรรมเมธา Asst.Prof.Thapanee Thammetar, Ph.D. thapanee@su.ac.th, kobthapanee@gmail.com ผู้อ�ำนวยการโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย Director of Thailand Cyber University Project

หมายเลขติดต่อ 0 2610 5304 โทรศัพท์เคลื่อนที่ 08 9124 9351 โทรสาร 0 2644 5604 เลขานุการ นางสาวณัฐกานต์ เชื้อวรสถิตย์ หมายเลขติดต่อ 0 2610 5305

หมายเลขติดต่อ โทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรสาร เลขานุการ หมายเลขติดต่อ

นายสุทน เฉื่อยพุก (ปฏิบัติหน้าที่) Mr.Suthon Chauyphuk (Acting) suthon_mua@hotmail.com ผู้อ�ำนวยการส�ำนักนิติการ Director, Bureau of Legal Affairs

นายภาสกร เหมกรณ์ (ปฏิบัติหน้าที่) Mr.Pasakorn Heamakorn pasakorn@mua.go.th ผู้อ�ำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร Director, Public Sector Development Group

หมายเลขติดต่อ 0 2610 5431 โทรศัพท์เคลื่อนที่ 08 7501 3749 0 2354 5609 โทรสาร เลขานุการ นางสาวธัญลักษณ์ สุหร่ายพรหม หมายเลขติดต่อ 0 2610 5430

หมายเลขติดต่อ 0 2610 5457 โทรศัพท์เคลื่อนที่ 08 1821 9578, 08 7984 4442 โทรสาร 0 2354 5618

176 รายงานประจ�ำปี 2556

0 2610 5414 08 1813 6967 0 2354 5476 นางจุฑามาศ วิรุฬห์ชีว 0 2610 5231


นางนันทิกานต์ หมวดเดช (ปฏิบัติหน้าที่) Mrs.Nantikan Muaddech nantikan@mua.go.th หัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายใน Chief of Internal Audit Unit หมายเลขติดต่อ 0 2610 5389 โทรศัพท์เคลื่อนที่ 08 5488 7060 โทรสาร 0 2354 5531

รศ.คุณหญิงมธุรส รุจิรวัฒน์ Assoc.Prof. Khunying Mathuros Ruchirawat, Ph.D. mathuros@cri.or.th รองประธานฝ่ายวิจัย/วิชาการ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ Vice President for Research and Academic Affairs, Chulabhorn Research Institute หมายเลขติดต่อ 0 2574 0615 โทรสาร 0 2574 0616

รศ.ชัยยุทธ ขันทปราบ Assoc. Prof. Chaiyudh Khuntaprab, Ph.D. chaiyudh@perdo.or.th ผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักบัณฑิตศึกษาและวิจยั ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Director, S&T Postgraduate Education and Research Development Office

นายด�ำรง รัตนพานิช Mr.Damrong Ratanapanich damrong@cri.or.th รองประธานฝ่ายกิจกรรมพิเศษ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ Vice President for Special Affairs, Chulabhorn Research Institute

หมายเลขติดต่อ 0 2252 9465 โทรศัพท์เคลื่อนที่ 08 1928 7954 โทรสาร 0 2252 9466

หมายเลขติดต่อ 0 2574 0609 โทรศัพท์เคลื่อนที่ 08 6788 8555 โทรสาร 0 2574 0614

ศ.ปิยะวัติ บุญ-หลง Prof.Piyawat Boon-Long, Ph.D. piyawat@knit.or.th ผู้อำ� นวยการสถาบันคลังสมองของชาติ Executive Director, Knowledge Network Institute of Thailand

คุณหญิงลักษณาจันทร เลาหพันธุ์ Khunying Laxanachantorn Laohaphan Laxanacl1@hotmail.com รองประธานฝ่ายบริหาร สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ Executive Vice President, Chulabhorn Research Institute

หมายเลขติดต่อ 0 2640 0461 ต่อ 124 โทรสาร 0 2640 0465

หมายเลขติดต่อ 0 2984 8708 โทรศัพท์เคลื่อนที่ 08 9201 0767 โทรสาร 0 2575 1495

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 177


ท�ำเนียบหน่วยงานในก�ำกับภายใน สกอ. โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย Thailand Cyber University Project (TCU) ชัน้ 7 อาคารส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 328 ถนนศรีอยุธยา ราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทร. 0 2610 5233-9 โทรสาร 0 2354 5476 www.thaicyberu.go.th

สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ Chulabhorn Research Institute (CRI) 54 ถนนก�ำแพงเพชร 6 แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 โทร. 0 2553 8555 โทรสาร 0 2553 8527 www.cri.or.th

ส�ำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet) Office of Information Technology Administration for Educational Development ชัน้ 9 อาคารส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 328 ถนนศรีอยุธยา ราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทร. 0 2354 5678 โทรสร 0 2354 5678 ต่อ 5012 www.uni.net.th

ส�ำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สบว) S&T Postgraduate Education and Research Development Office (PERDO) อาคารจุฬาวิชช์ 1 ชัน้ 5 ถนนอังรีดนู งั ต์ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทร. 0 2252 9467-8 หรือ 0 2251 0855-6 โทรสาร 0 2252 9466 www.perdo.or.th 178 รายงานประจ�ำปี 2556


ท�ำเนียบองค์กรที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สกอ. โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากรในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก University Mobility in Asia and the Pacific (UMAP) ชัน้ 10 อาคารส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 328 ถนนศรีอยุธยา ราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทร. 0 2610 5401 โทรสาร 0 2354 5570 www.umap.org, www.inter.mua.go.th

ศูนย์ภูมิภาคแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าด้วยการอุดมศึกษาและการพัฒนา SEAMEO Regional Centre for Higher Education and Development (SEAMEO RIHED) ชัน้ 5 อาคารส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 328 ถนนศรีอยุธยา ราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทร. 0 2644 9856-62 โทรสาร 0 2644 5421 www.rihed.seameo.org

สถาบันคลังสมองของชาติ Knowledge Network Institute of Thailand (KNIT) ชัน้ 22 บี อาคารมหานครยิบซัม่ 539/2 ถนนศรีอยุธยา ราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทร. 0 2640 0461 โทรสาร 0 2640 0465 www.knit.or.th

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 179


สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย Asian Institute of Technology (AIT) อธิการบดี ศาสตราจารย์วรศักดิ์ กนกนุกลุ ชัย (Professor Worsak Kanok-Nukulchai) 58 หมู่ 9 กม.42 ถนนพหลโยธิน คลองหลวง ปทุมธานี 12120 โทรศัพท์ 0 2516 0110 - 44 โทรสาร 0 2516 2126 www.ait.ac.th

ส�ำนักงานเลขานุการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน ASEAN University Network (AUN) ห้อง 210 อาคารจามจุรี 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท กรุงเทพมหานคร 10330 โทร. 0 2215 3640, 0 2215 3642, 0 2218 3256 โทรสาร 0 2216 8808 www.aunsec.org

ส�ำนักบริหารโครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ Higher Education Research Promotion - National Research Universities (HERP - NRU) อาคารพญาไท พลาซ่า ชัน้ 33 เอ เลขที่ 128/356 ถนนพญาไท แขวงทุง่ พญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ 0 2129 3108 โทรสาร 0 2129 3107 www.nru.go.th

180 รายงานประจ�ำปี 2556


ท�ำเนียบหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) Council of University Presidents of Thailand (CUPT) ชัน้ 3 อาคารส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 328 ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ 0 2354 3728-9 โทรสาร 0 2354 3730 www.cupt-thailand.net e-mail: cupt@chula.ac.th

สมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (สอท.) Association of University Presidents of Thailand (AUPT) ชัน้ 3 อาคารส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 328 ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ 0 2354 5150-2 หรือ 0 2610 5432 - 4 โทรสาร 0 2354 5155-6 www.aupt.or.th และ www.cuas.or.th e-mail: contact@aupt.or.th และ contact@cuas.or.th

ส�ำนักงานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ The Office of the Council of Rajabhat University Presidents ชัน้ 5-6 อาคารรัชมังคลาภิเษก 2 กระทรวงศึกษาธิการ ถนนราชด�ำเนินนอก เขตดุสติ กรุงเทพมหานคร 10300 โทรศัพท์ 0 2280 1902, 0 2281 0528, 0 2280 1345 โทรสาร 0 2280 1902 www.rajabhatnetwork.com

ประธานคณะกรรมการอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (ทปอ.มทร.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 128 ถนนห้วยแก้ว ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300 โทรศัพท์ 0 5392 1444 ต่อ 1002-3 โทรสาร 0 5392 1448 www.rmutl.ac.th ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 181


สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.)

Association of Private Higher Education Institution of Thailand (APHEIT) ชัน้ 6 ส�ำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา 328 ถนนถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ 0 2354 5689 - 91 โทรสาร 0 2354 5691 www.apheit.com

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) Student Loan Fund (SLF)

ชัน้ 16 อาคาร 2 เลขที่ 63 ซอยทวีมติ ร ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310 โทร. 0 2610 4888 โทรสาร 0 2643 1470 www.studentloan.or.th

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทศ.) National Institute of Educational Testing Service (Public Organization) อาคารพญาไท พลาซ่า ชัน้ 36 เลขที่ 128 แขวงทุง่ พญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทร. 0 2217 3800 โทรสาร 0 2219 2996

182 รายงานประจ�ำปี 2556


สถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขตปทุมวัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เขตทุ่งครุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เขตบางซื่อ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เขตดุสิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เขตลาดกระบัง สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา เขตบางพลัด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เขตจตุจักร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขตพระนคร มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง เขตบางกะปิ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เขตวัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร เขตพระนคร สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน เขตปทุมวัน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เขตบางกะปิ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เขตจตุจักร มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เขตธนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เขตธนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เขตบางเขน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เขตดุสิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เขตดุสิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ เขตสาทร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เขตดุสิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เขตคลองเตย มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี เขตทวีวัฒนา มหาวิทยาลัยเกริก เขตบางเขน มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เขตสวนหลวง มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น เขตจตุจักร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เขตหนองจอก มหาวิทยาลัยธนบุรี เขตหนองแขม

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 183


มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เขตหลักสี่ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ เขตสายไหม มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต เขตบางกะปิ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เขตจตุจักร มหาวิทยาลัยสยาม เขตภาษีเจริญ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เขตดินแดง มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เขตบางกะปิ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ เขตหนองแขม วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ เขตลาดกระบัง วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ เขตสาทร วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก เขตบางนา วิทยาลัยดุสิตธานี เขตประเวศ วิทยาลัยทองสุข เขตทวีวัฒนา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เขตบางกอกใหญ่ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น เขตสวนหลวง สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ เขตหลักสี่ สถาบันรัชต์ภาคย์ เขตวังทองหลาง สถาบันอาศรมศิลป์ เขตบางขุนเทียน วิทยาเขตบางขุนเทียน เขตบางขุนเทียน (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี) วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ เขตดินแดง (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก) วิทยาเขตอุเทนถวาย เขตปทุมวัน (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก) พื้นที่บพิตรพิมุข จักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์) วิทยาลัยเพาะช่าง เขตพระนคร (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์) ศูนย์ศึกษาสยามคอมเพล็กซ์ กรุงเทพ เขตราชเทวี (มหาวิทยาลัยคริสเตียน) ศูนย์วิทยบริการ เขตประเวศ (มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด) วิทยาเขตกรุงเทพ เขตดุสิต (มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก) ศูนย์การศึกษาเนชั่นทาวเวอร์ เขตบางนา (มหาวิทยาลัยเนชั่น) วิทยาคารพญาไท เขตพญาไท (มหาวิทยาลัยศรีปทุม) วิทยาเขตยศเส เขตป้อมปราบ (มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ) วิทยาเขตสุรวงศ์ เขตบางรัก (วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา)

184 รายงานประจ�ำปี 2556


สถาบันอุดมศึกษาในภาคกลาง มหาวิทยาลัยมหิดล จ.นครปฐม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จ.พระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จ.นครปฐม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช จ.นนทบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี จ.กาญจนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จ.ลพบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จ.นครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จ.เพชรบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จ.ปทุมธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จ.ราชบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จ.ปทุมธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ จ.นครปฐม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จ.พระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยคริสเตียน จ.นครปฐม มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา จ.นครสวรรค์ มหาวิทยาลัยชินวัตร จ.ปทุมธานี มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด จ.เพชรบุรี มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก จ.สระบุรี มหาวิทยาลัยปทุมธานี จ.ปทุมธานี มหาวิทยาลัยภาคกลาง จ.นครสวรรค์ มหาวิทยาลัยรังสิต จ.ปทุมธานี มหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์(ประเทศไทย) จ.เพชรบุรี มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น จ.กาญจนบุรี

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 185


มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จ.สมุทรปราการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย จ.ปทุมธานี วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา จ.นครนายก วิทยาลัยราชพฤกษ์ จ.นนทบุรี วิทยาลัยแสงธรรม จ.นครปฐม สถาบันกันตนา จ.นครปฐม สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน จ.สมุทรสงคราม สถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ จ.นนทบุรี สถาบันเทคโนโลยียานยนต์มหาชัย จ.สมุทรสาคร สถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา จ.พระนครศรีอยุธยา วิทยาเขตราชบุรี จ.ราชบุรี (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี) วิทยาเขตกาญจนบุรี จ.กาญจนบุรี (มหาวิทยาลัยมหิดล) วิทยาเขตนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ (มหาวิทยาลัยมหิดล) วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม จ.นครปฐม (มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย) วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย จ.พระนครศรีอยุธยา (มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย) วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย ในพระราชูปถัมภ์ จ.นครปฐม (มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย) วิทยาเขตก�ำแพงแสน จ.นครปฐม (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) โครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุพรรณบุรี จ.สุพรรณบุรี (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ศูนย์รังสิต จ.ปทุมธานี (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) วิทยาเขตองครักษ์ จ.นครนายก (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จ.นครปฐม (มหาวิทยาลัยศิลปากร) วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี จ.เพชรบุรี (มหาวิทยาลัยศิลปากร) ศูนย์นนทบุรี จ.นนทบุรี (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ) ศูนย์วาสุกรี จ.พระนครศรีอยุธยา (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ) ศูนย์สุพรรณบุรี จ.สุพรรณบุรี (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ) วิทยาเขตรังสิต จ.ปทุมธานี (มหาวิทยาลัยกรุงเทพ) วิทยาเขตบางนา จ.สมุทรปราการ (มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ) วิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร วิทยาลัยชุมชนอุทัยธานี จ.อุทัยธานี

186 รายงานประจ�ำปี 2556


สถาบันอุดมศึกษาในภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยพะเยา จ.พะเยา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏก�ำแพงเพชร จ.ก�ำแพงเพชร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จ.เชียงราย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จ.พิษณุโลก มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏล�ำปาง จ.ล�ำปาง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จ.อุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จ.เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนอร์ท - เชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเนชั่น จ.ล�ำปาง มหาวิทยาลัยพายัพ จ.เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยพิษณุโลก จ.พิษณุโลก มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น จ.เชียงใหม่ วิทยาลัยเชียงราย จ.เชียงราย วิทยาลัยลุ่มน�้ำปิง จ.ตาก วิทยาลัยอินเตอร์เทคล�ำปาง จ.ล�ำปาง

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 187


วิทยาเขตเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ (มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย) วิทยาเขตแพร่ จ.แพร่ (มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย) วิทยาเขตพะเยา จ.พะเยา (มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย) วิทยาเขตล้านนา จ.เชียงใหม่ (มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย) ศูนย์ล�ำปาง จ.ล�ำปาง (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์ (มหาวิทยาลัยนเรศวร) วิทยาเขตสารสนเทศก�ำแพงเพชร จ.ก�ำแพงเพชร (มหาวิทยาลัยนเรศวร) วิทยาเขตแพร่ เฉลิมพระเกียรติ จ.แพร่ (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) เขตพื้นที่ล�ำปาง จ.ล�ำปาง (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา) เขตพื้นที่ตาก จ.ตาก (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา) เขตพื้นที่พิษณุโลก จ.พิษณุโลก (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา) เขตพื้นที่น่าน จ.น่าน (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา) เขตพื้นที่เชียงราย จ.เชียงราย (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา) เขตแก้วนวรัฐ จ.เชียงใหม่ (มหาวิทยาลัยพายัพ) วิทยาลัยชุมชนตาก จ.ตาก วิทยาลัยชุมชนน่าน จ.น่าน วิทยาลัยชุมชนพิจิตร จ.พิจิตร วิทยาลัยชุมชนแพร่ จ.แพร่ วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน จ.แม่ฮ่องสอน

188 รายงานประจ�ำปี 2556


สถาบันอุดมศึกษาในภาคอีสาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ.นครราชสีมา มหาวิทยาลัยขอนแก่น จ.ขอนแก่น มหาวิทยาลัยนครพนม จ.นครพนม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จ.มหาสารคาม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จ.นครราชสีมา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จ.มหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด จ.ร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จ.เลย มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จ.ศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จ.สกลนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จ.สุรินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จ.อุดรธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จ.นครราชสีมา มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น จ.อุบลราชธานี มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา จ.ศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น มหาวิทยาลัยราชธานี จ.อุบลราชธานี มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จ.นครราชสีมา วิทยาลัยเทคโนโลยีพนมวันท์ จ.นครราชสีมา

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 189


วิทยาลัยนครราชสีมา จ.นครราชสีมา วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย จ.ขอนแก่น วิทยาลัยพิชญบัณฑิต จ.หนองบัวล�ำภู วิทยาลัยสันตพล จ.อุดรธานี วิทยาเขตอ�ำนาจเจริญ จ.อ�ำนาจเจริญ (มหาวิทยาลัยมหิดล) วิทยาเขตหนองคาย จ.หนองคาย (มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย) วิทยาเขตขอนแก่น จ.ขอนแก่น (มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย) วิทยาเขตนครราชสีมา จ.นครราชสีมา (มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย) วิทยาเขตอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี (มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย) วิทยาเขตสุรินทร์ จ.สุรินทร์ (มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย) วิทยาเขตอีสาน จ.ขอนแก่น (มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย) วิทยาเขตร้อยเอ็ด จ.ร้อยเอ็ด (มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย) วิทยาเขตศรีล้านช้าง จ.เลย (มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย) วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จ.สกลนคร (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) วิทยาเขตหนองคาย จ.หนองคาย (มหาวิทยาลัยขอนแก่น) วิทยาเขตขอนแก่น จ.ขอนแก่น (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน) วิทยาเขตสุรินทร์ จ.สุรินทร์ (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน) วิทยาเขตกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน) วิทยาเขตสกลนคร จ.สกลนคร (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน) วิทยาเขตหมื่นไวย จ.นครราชสีมา (มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล) วิทยาลัยชุมชนบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร จ.มุกดาหาร วิทยาลัยชุมชนยโสธร จ.ยโสธร วิทยาลัยชุมชนหนองบัวล�ำภู จ.หนองบัวล�ำภู

190 รายงานประจ�ำปี 2556


สถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จ.ฉะเชิงเทรา มหาวิทยาลัยราชภัฏร�ำไพพรรณี จ.จันทบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก จ.ชลบุรี มหาวิทยาลัยเอเชียน จ.ชลบุรี วิทยาลัยเฉลิมกาญจนาระยอง จ.ระยอง วิทยาเขตปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ) วิทยาเขตระยอง จ.ระยอง (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ) วิทยาเขตจันทบุรี จ.จันทบุรี (มหาวิทยาลัยบูรพา) วิทยาเขตสระแก้ว จ.สระแก้ว (มหาวิทยาลัยบูรพา) วิทยาเขตระยอง จ.ระยอง (สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง) วิทยาเขตศรีราชา จ.ชลบุรี (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ศูนย์พัทยา จ.ชลบุรี (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) วิทยาเขตจันทบุรี จ.จันทบุรี (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก) วิทยาเขตชลบุรี จ.ชลบุรี (มหาวิทยาลัยศรีปทุม) วิทยาลัยชุมชนตราด จ.ตราด วิทยาลัยชุมชนสระแก้ว จ.สระแก้ว

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 191


สถาบันอุดมศึกษาในภาคใต้ มหาวิทยาลัยทักษิณ จ.สงขลา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จ.นราธิวาส มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จ.สงขลา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จ.ภูเก็ต มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จ.ยะลา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จ.สงขลา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎ์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จ.สงขลา มหาวิทยาลัยตาปี จ.สุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยฟาฏอนี จ.ยะลา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จ.สงขลา วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ จ.นครศรีธรรมราช วิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ จ.สงขลา วิทยาลัยศรีโสภณ จ.นครศรีธรรมราช

192 รายงานประจ�ำปี 2556


สถาบันทักษิณคดีศึกษา จ.สงขลา (มหาวิทยาลัยทักษิณ) วิทยาเขตพัทลุง จ.พัทลุง (มหาวิทยาลัยทักษิณ) วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จ.ชุมพร (สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง) วิทยาเขตนครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช (มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย) วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช จ.นครศรีธรรมราช (มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย) วิทยาเขตชุมพร จ.ชุมพร (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) วิทยาเขตหาดใหญ่ จ.สงขลา (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) วิทยาเขตปัตตานี จ.ปัตตานี (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) วิทยาเขตภูเก็ต จ.ภูเก็ต (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) วิทยาเขตตรัง จ.ตรัง (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) วิทยาเขตวังไกลกังวล จ.ประจวบคีรีขันธ์ (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์) วิทยาเขตนครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย) วิทยาเขตตรัง จ.ตรัง (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย) วิทยาลัยชุมชนนราธิวาส จ.นราธิวาส วิทยาลัยชุมชนปัตตานี จ.ปัตตานี วิทยาลัยชุมชนพังงา จ.พังงา วิทยาลัยชุมชนยะลา จ.ยะลา วิทยาลัยชุมชนระนอง จ.ระนอง วิทยาลัยชุมชนสงขลา จ.สงขลา วิทยาลัยชุมชนสตูล จ.สตูล

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 193


Listing สถาบันอุดมศึกษาในก�ำกับของรัฐ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (จฬ.)

อธิการบดี : ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล ที่ตั้ง : 254 ถ.พญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ : 0 2215 0871-3 0 2215 3555 0 2611 7500 โทรสาร : 0 2215 4804 เว็บไซต์ : www.chula.ac.th

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.)

อธิการบดี : รศ.นพ.นิเวศน์ นันทจิต ที่ตั้ง : 239 ถ.ห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 โทรศัพท์ : 0 5394 1000 0 5394 3333 0 5394 4444 โทรสาร : 0 5321 7143 0 5394 4900 เว็บไซต์ : www.cmu.ac.th

มหาวิทยาลัยทักษิณ (มทษ.) อธิการบดี : รศ.วิชัย ช�ำนิ เว็บไซต์ : www.tsu.ac.th

วิทยาเขตสงขลา

ที่ตั้ง : 140 ถ.กาญจนวนิช ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา 90000 โทรศัพท์ : 0 7431 1711 0 7444 3992 0 7431 7600 โทรสาร : 0 7444 3965 0 7432 4440

194 รายงานประจ�ำปี 2556

สถาบันทักษิณคดีศึกษา

ที่ตั้ง : บ้านอ่าวทราย ต.เกาะยอ อ.เมือง จ.สงขลา โทรศัพท์ : 0 7459 1611-8 โทรสาร : 0 7459 1619

วิทยาเขตพัทลุง

ที่ตั้ง : 222 หมู่ 2 ต.บ้านพร้าว อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง 93110 โทรศัพท์ : 0 7460 9600 โทรสาร : 0 7469 3555

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) อธิการบดี : รศ.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ที่ตั้ง : 126 ถ.ประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140 โทรศัพท์ : 0 2470 8000 0 2427 0039 โทรสาร : 0 2427 8412 เว็บไซต์ : www.kmutt.ac.th

บางขุนเทียน

ที่ตั้ง : 49 ซ.เทียนทะเล 25 หมู่ 8 ถ.บางขุนเทียน-ชายทะเล แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150 โทรศัพท์ : 0 2452 3456 โทรสาร : 0 2452 3455

เขตราชบุรี

ที่ตั้ง : 209 หมู่ 1 ต�ำบลรางบัว อ�ำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี 70150 โทรศัพท์ : 0 2470 9962


Listing มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ (มจพ.) อธิการบดี : ศ.ธีรวุฒิ บุณยโสภณ เว็บไซต์ : www.kmutnb.ac.th

มจพ. กรุงเทพฯ

ที่ตั้ง : 1518 ถ.ประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800 โทรศัพท์ : 0 2555 2000 โทรสาร : 0 2587 4350

มจพ. ปราจีนบุรี

ที่ตั้ง : 129 หมู่ 6 ต.เนินหอม อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี 25230 โทรศัพท์ : 0 3721 7300 โทรสาร : 0 3721 7333

มจพ. ระยอง

ที่ตั้ง : ต.หนองละลอก อ.บ้านค่าย จ.ระยอง 21120 โทรศัพท์ : 0 2555 2000 โทรสาร : 0 2587 4350

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.)

อธิการบดี : ศ.ประสาท สืบค้า ที่ตั้ง : 111 ถ.มหาวิทยาลัย ต.สุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000 โทรศัพท์ : 0 4422 3000 โทรสาร : 0 4422 4070 เว็บไซต์ : www.sut.ac.th

ศูนย์ประสานงาน

ที่ตั้ง : อาคารพญาไท พลาซ่า ชั้น 22 ห้อง ฉ 128/237 ถ.พญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ : 0 2216 5410 โทรสาร : 0 2216 5411

มหาวิทยาลัยบูรพา (มบ.)

อธิการบดี : ศ.นพ.สมพล พงศ์ไทย ที่ตั้ง : 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131 โทรศัพท์ : 0 3810 2222 โทรสาร : 0 3839 0353 0 3839 0351 เว็บไซต์ : www.buu.ac.th

วิทยาเขตจันทบุรี

ที่ตั้ง : 57 หมู่ 1 ถ.ชลประทาน ต.โขมง อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี 22170 โทรศัพท์ : 0 3931 0000 โทรสาร : 0 3931 0128

วิทยาเขตสระแก้ว

ที่ตั้ง : 254 หมู่ 4 ต.วัฒนานคร อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว 27160 โทรศัพท์ : 0 3726 1560 โทรสาร : 0 3726 1801

มหาวิทยาลัยพะเยา (มพ.)

อธิการบดี : ศ.(พิเศษ) มณฑล สงวนเสริมศรี ที่ตั้ง : 19 หมู่ 2 ต.แม่กา อ.เมือง จ.พะเยา 56000 โทรศัพท์ : 0 5446 6666 โทรสาร : 0 5446 6690 เว็บไซต์ : www.up.ac.th

วิทยาเขตเชียงราย

ที่ตั้ง : 333 หมู่ 4 ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงราย บ้านฝั่งหมิ่น ต.ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 โทรศัพท์ : 0 5315 2152 โทรสาร : 0 5315 2151

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 195


Listing มหาวิทยาลัยมหิดล (มม.)

อธิการบดี : ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน ที่ตั้ง : 999 ถ.พุทธมณฑล สาย 4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170 โทรศัพท์ : 0 2849 6000 โทรสาร : 0 2849 6211 เว็บไซต์ : www.mahidol.ac.th

สำ�นักงาน กรุงเทพฯ

ที่ตั้ง : 127 ปัจภูมิ 2 ชัน้ 7 ถ.สาทรใต้ แขวงทุง่ มหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ : 0 2679 0038-9 โทรสาร : 0 2679 0038

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (มวล.)

ที่ตั้ง : 199 หมู่ 9 ต.ลุ่มสุ่ม อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี 71150 โทรศัพท์ : 0 3458 5060-5 โทรสาร : 0 3458 5077 เว็บไซต์ : www.ka.mahidol.ac.th

อธิการบดี : นายกีร์รัตน์ สงวนไทร ที่ตั้ง : 222 ต.ไทรบุรี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช 80161 โทรศัพท์ : 0 7567 3000 0 7538 4000 โทรสาร : 0 7567 3708 เว็บไซต์ : www.wu.ac.th

วิทยาเขตนครสวรรค์

ศูนย์ประสานงาน

วิทยาเขตกาญจนบุรี

ที่ตั้ง : 402/1 หมู่ 5 ต.เขาทอง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ 60130 โทรศัพท์ : 08 8278 6883 โทรสาร : 0 5627 4366 เว็บไซต์ : www.na.mahidol.ac.th

วิทยาเขตอำ�นาจเจริญ

โทรศัพท์ : 0 4552 3211 โทรสาร : 0 4552 3211 เว็บไซต์ : www.acr.mahidol.ac.th

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.)

อธิการบดี : รศ.วันชัย ศิริชนะ ที่ตั้ง : 333 หมู่ 1 ต.ท่าสุด อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 โทรศัพท์ : 0 5391 6000 0 5391 7034 โทรสาร : 0 5391 6034 0 5391 7049 เว็บไซต์ : www.mfu.ac.th

196 รายงานประจ�ำปี 2556

ที่ตั้ง : 979/42-46 อาคารเอสเอ็ม ทาวเวอร์ ชั้น 19 ถ.พหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ : 0 2298 0244 0 2299 0930 โทรสาร : 0 2298 0248

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง (สจล.)

อธิการบดี : ศ.ถวิล พึ่งมา ที่ตั้ง : 3 หมู่ 2 ถ.ฉลองกรุง แขวงล�ำปะทิว เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520 โทรศัพท์ : 0 2329 8000-99 โทรสาร : 0 2326 4997 0 2329 8106 เว็บไซต์ : www.kmitl.ac.th

วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

ที่ตั้ง : 17/1 หมู่ 6 ต.ชุมโค อ.ปะทิว จ.ชุมพร 86160 โทรศัพท์ : 0 7750 6410 โทรสาร : 0 7750 6425


Listing สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา (สกว.)

อธิการบดี : รศ.คุณหญิงวงจันทร์ พินัยนิติศาสตร์ ที่ตั้ง : 2010 ซ.อรุณอัมรินทร์ 36 ถ.อรุณอัมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700 โทรศัพท์ : 0 2447 8597 โทรสาร : 0 2447 8598 เว็บไซต์ : www.pgvim.ac.th

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (ม.มจร.)

อธิการบดี : ศ.พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) ที่ตั้ง : 79 หมู่ 1 ต.ล�ำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา 13170 โทรศัพท์ : 0 3524 8000-5 0 3535 4710-1 โทรสาร : 0 3524 8006 เว็บไซต์ : www.mcu.ac.th

วิทยาเขตหนองคาย

ที่ตั้ง : 219 หมู่ 3 บ้านโพนตาล ต.ค่ายบกหวาน อ.เมือง จ.หนองคาย 43000 โทรศัพท์ : 0 4243 6950 โทรสาร : 0 4243 6951

วิทยาเขตนครศรีธรรมราช

ที่ตั้ง : 3/3 หมู่ 5 ถ.ราชด�ำเนิน ต.มะม่วงสองต้น อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 80000 โทรศัพท์ : 0 7534 2898 โทรสาร : 0 7534 5862

วิทยาเขตเชียงใหม่

ที่ตั้ง : วัดสวนดอก ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000 โทรศัพท์ : 0 5327 8967 โทรสาร : 0 5327 0452

วิทยาเขตขอนแก่น

ที่ตั้ง : 30 หมู่ 1 บ้านโคกสี ถ.ขอนแก่น-น�้ำพอง ต.โคกสี อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000 โทรศัพท์ : 0 4328 3546 โทรสาร : 0 4328 3399

วิทยาเขตนครราชสีมา

ที่ตั้ง : บ้านหัวถนน ถ.ชายพัฒนา ต.หัวทะเล อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000 โทรศัพท์ : 0 4492 4556-7 โทรสาร : 0 4426 4560

วิทยาเขตอุบลราชธานี

ที่ตั้ง : หมู่ 1 บ้านหมากมี่ ต.กระโสบ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 34000 โทรศัพท์ : 0 4542 2156 โทรสาร : 0 4542 2155

วิทยาเขตแพร่

ที่ตั้ง : 111 หมู่ 5 ต.แม่ค�ำมี อ.เมือง จ.แพร่ 54000 โทรศัพท์ : 0 5464 6585 โทรสาร : 0 5462 1250

วิทยาเขตพะเยา

ที่ตั้ง : วัดศรีโคมค�ำ ต.เวียง อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา 56000 โทรศัพท์ : 0 5443 1556 โทรสาร : 0 5448 2876

วิทยาเขตสุรินทร์

ที่ตั้ง : ห้วยเสนง หมู่ 8 ต.นอกเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ 32000 โทรศัพท์ : 0 4414 2107 โทรสาร : 0 4414 2108 0 4414 2106

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 197


Listing วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม

วิทยาเขตล้านนา

ที่ตั้ง : วัดมหาสวัสดิ์นาคพุฒาราม ต.มหาสวัสดิ์ อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170 โทรศัพท์ : 0 3429 9356 โทรสาร : 0 3429 9356

ที่ตั้ง : วัดเจดีย์หลวง 103 ถ.พระปกเกล้า ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 โทรศัพท์ : 0 5327 0975-6 โทรสาร : 0 5381 4752

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.)

วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

อธิการบดี : พระราชบัณฑิต (ธรณิศ ชาคโร) ที่ตั้ง : 248 หมู่ 1 บ้านวัดสุวรรณ ถ.ศาลายา-นครชัยศรี ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170 โทรศัพท์ : 0 2444 6000 โทรสาร : 0 2444 6060 เว็บไซต์ : www.mbu.ac.th

วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย

ที่ตั้ง : วัดชูจิตธรรมาราม 57 หมู่ 1 ต.สนับทึบ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา 13170 โทรศัพท์ : 0 3574 5037-8 โทรสาร : 0 3574 5037

วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย ในพระราชูปถัมภ์

ที่ตั้ง : วัดสิรินธรเทพรัตนาราม 26 หมู่ 7 ถ.เพชรเกษม ต.อ้อมใหญ่ อ.สามพราน จ.นครปฐม 73160 โทรศัพท์ : 0 2429 1663 0 2429 1719 โทรสาร : 0 2429 1241 0 2429 1719

วิทยาเขตอีสาน

ที่ตั้ง : บ้านโนนชัย ถ.ราษฎร์คนึง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000 โทรศัพท์ : 0 4324 1488 โทรสาร : 0 4324 1502

198 รายงานประจ�ำปี 2556

ที่ตั้ง : วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ถ.ราชด�ำเนิน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 80000 โทรศัพท์ : 0 7534 0499 โทรสาร : 0 7535 7968

วิทยาเขตร้อยเอ็ด

ที่ตั้ง : วัดศรีทองไพบูรณ์วนาราม ถ.เลียงเมือง ต.ดงลาน อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด 45000 โทรศัพท์ : 0 4351 8364 0 4351 6076 โทรสาร : 0 4351 4618

วิทยาเขตศรีล้านช้าง

ที่ตั้ง : วัดศรีสุทธาวาส 253/7 ถ.วิสุทธิเทพ ต.กุดป่อง อ.เมือง จ.เลย 42000 โทรศัพท์ : 0 4281 3028 โทรสาร : 0 4283 0686

มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

อธิการบดี : นายพิจิตร รัตตกุล ที่ตั้ง : 131/1 ถนนขาว แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 โทรศัพท์ : 0 2244 3846 โทรสาร : 0 2244 3847 เว็บไซต์ : www.nmu.ac.th


Listing สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) อธิการบดี : รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ เว็บไซต์ : www.ku.ac.th

วิทยาเขตบางเขน

ที่ตั้ง : 50 ถ.งามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ : 0 2942 8500-11 0 2579 0113 0 2942 8200-45 โทรสาร : 0 2942 8170 0 2942 8151-3

วิทยาเขตกำ�แพงแสน

ที่ตั้ง : 1 หมู่ 6 ถ.มาลัยแมน ต.ก�ำแพงแสน อ.ก�ำแพงแสน จ.นครปฐม 73140 โทรศัพท์ : 0 3428 1053-6 0 2942 8200-45 # 3600-4 โทรสาร : 0 3435 1894 0 3428 1053-6 เว็บไซต์ : www.kps.ku.ac.th

วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จ.สกลนคร

ที่ตั้ง : 59 หมู่ 1 ถ.สกลนคร-นครพนม ต.เชียงเครือ อ.เมือง จ.สกลนคร 47000 โทรศัพท์ : 0 4272 5000 โทรสาร : 0 4272 5013 เว็บไซต์ : www.csc.ku.ac.th

วิทยาเขตศรีราชา

ที่ตั้ง : 199 หมู่ 6 ถ.สุขุมวิท ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20230 โทรศัพท์ : 0 3835 4581-6 โทรสาร : 0 3835 1169 เว็บไซต์ : www.src.ku.ac.th

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุพรรณบุรี

ที่ตั้ง : 98 หมู่ 11 ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี 72150 โทรศัพท์ : 0 3552 1260 (อาคารสารนิเทศ 50 ปี ชั้น U) โทรศัพท์ : 0 2942 8838 0 2942 8129 โทรสาร : 0 2942 8129

มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.)

อธิการบดี : รศ.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย ที่ตั้ง : 123 ถ.มิตรภาพ อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002 โทรศัพท์ : 0 4300 9700 โทรสาร : 0 4320 2216 เว็บไซต์ : www.kku.ac.th

วิทยาเขตหนองคาย

ที่ตั้ง : 112 ต.หนองกอมเกาะ อ.เมือง จ.หนองคาย 43000 โทรศัพท์ : 0 4241 5600 โทรสาร : 0 4241 5699 เว็บไซต์ : www.nkc.kku.ac.th

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.)

อธิการบดี : ศ.สมคิด เลิศไพฑูรย์ เว็บไซต์ : www.tu.ac.th

ท่าพระจันทร์

ที่ตั้ง : 2 ถ.พระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ : 0 2613 3333 โทรสาร : 0 2224 8105

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 199


Listing ศูนย์รังสิต

ที่ตั้ง : 99 หมู่ 18 ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12121 โทรศัพท์ : 0 2564 4440

ศูนย์ลำ�ปาง

ที่ตั้ง : ถ.ล�ำปาง-เชียงใหม่ ต.ปงยางตก อ.ห้างฉัตร จ.ล�ำปาง 52190 โทรศัพท์ : 0 9433 9004-5

ศูนย์พัทยา

ที่ตั้ง : 39/4 หมู่ 5 ต.โป่ง อ.บางละมุง จ.ชลบุรี 20150 โทรศัพท์ : 0 3825 9010 ต่อ 1036 โทรสาร : 0 3825 9023

มหาวิทยาลัยนครพนม (มนพ.)

อธิการบดี : รศ.สุวิทย์ เลาหศิริวงศ์ ที่ตั้ง : 103 หมู่ 3 ถ.ชยางกูร ต.ขามเฒ่า อ.เมือง จ.นครพนม 48000 โทรศัพท์ : 0 4253 2477-8 โทรสาร : 0 4253 2479 เว็บไซต์ : www.npu.ac.th

ศูนย์ประสานงาน

ที่ตั้ง : 99/349 อาคาร ณ นคร ชั้น 6 ถ.แจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์ : 0 2576 1361 โทรสาร : 0 2576 1361

มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ (มนธ.)

อธิการบดี : ผศ.จงรัก พลาศัย ที่ตั้ง : 99 ต.โคกเคียน อ.เมือง จ.นราธิวาส 96000 โทรศัพท์ : 0 7370 9030-59 0 7351 1192 โทรสาร : 0 7351 1905 0 7351 3886 เว็บไซต์ : www.pnu.ac.th

200 รายงานประจ�ำปี 2556

มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.)

อธิการบดี : ศ.สุจินต์ จินายน ที่ตั้ง : 99 หมู่ 9 ถ.พิษณุโลก-นครสวรรค์ ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 โทรศัพท์ : 0 5526 1000-4 โทรสาร : 0 5526 1014 เว็บไซต์ : www.nu.ac.th

วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบูรณ์

โทรศัพท์ : 0 5671 1454 โทรสาร : 0 5672 0166

วิทยาเขตสารสนเทศกำ�แพงเพชร

โทรศัพท์ : 0 5571 1901 โทรสาร : 0 5572 0629

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.)

อธิการบดี : รศ.ศุภชัย สมัปปิโต (รักษาราชการ) ที่ตั้ง : 41/20 ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม 44150 โทรศัพท์ : 0 4375 4333 โทรสาร : 0 4375 4235 เว็บไซต์ : www.msu.ac.th

เขตพื้นที่ในเมือง

ที่ตั้ง : 269/2 ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม 44000 โทรศัพท์ : 0 4375 4243 0 1816 4993 โทรสาร : 0 4375 4242

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (มจ.)

อธิการบดี : ผศ.จ�ำเนียร ยศราช ที่ตั้ง : 63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290 โทรศัพท์ : 0 5387 3000 โทรสาร : 0 5387 3042 เว็บไซต์ : www.mju.ac.th


Listing วิทยาเขตชุมพร

ที่ตั้ง : 99 หมู่ 5 บ้านแหลมสันติ ต.ละแม อ.ละแม จ.ชุมพร 86170 โทรศัพท์ : 0 7755 9111 โทรสาร : 0 7755 9000 เว็บไซต์ : www.chumporn.mju.ac.th

วิทยาเขตแพร่ เฉลิมพระเกียรติ

ที่ตั้ง : ต.แม่ทราย อ.ร้องกวาง จ.แพร่ 54140 โทรศัพท์ : 0 5464 8593-5 โทรสาร : 0 5464 8596 เว็บไซต์ : www.phrae.mju.ac.th

มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง (มร.)

อธิการบดี : ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ ที่ตั้ง : ถ.รามค�ำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 โทรศัพท์ : 0 2310 8000 โทรสาร : 0 2310 8022 เว็บไซต์ : www.ru.ac.th

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) อธิการบดี : ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ เว็บไซต์ : www.swu.ac.th

ประสานมิตร

ที่ตั้ง : 114 สุขุมวิท 23 (ประสานมิตร) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ : 0 2649 5000 โทรสาร : 0 2258 0311

มหาวิทยาลัยศิลปากร (มศก.) อธิการบดี : ผศ.ชัยชาญ ถาวรเวช เว็บไซต์ : www.su.ac.th

วังท่าพระ

ที่ตั้ง : 31 ถ.หน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ : 0 2623 6115-22 โทรสาร : 0 2225 7258

สำ�นักงานอธิการบดี ตลิ่งชัน

ที่ตั้ง : 22 ถ.บรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทรศัพท์ : 0 2849 7500 โทรสาร : 0 2849 7519

วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

ที่ตั้ง : ถ.ราชมรรคาใน อ.เมือง จ.นครปฐม 73000 โทรศัพท์ : 0 3425 3910-9 0 3425 3840-1 0 3427 0222-4 โทรสาร : 0 3425 5099

วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุร ี

ที่ตั้ง : 1 หมู่ที่ 3 ถ.ชะอ�ำ-ปราณบุรี ต.สามพระยา อ.ชะอ�ำ จ.เพชรบุรี 76120 โทรศัพท์ : 0 3259 4026 0 3259 4030 โทรสาร : 0 3259 4026

องครักษ์

ที่ตั้ง : 107 หมู่ 6 ถ.รังสิต-นครนายก คลอง 16 (กม. 42) ต.องครักษ์ อ.องค์รกั ษ์ จ.นครนายก 26120 โทรศัพท์ : 0 2649 5000 โทรสาร : 0 3732 2616

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 201


Listing มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) อธิการบดี : รศ.ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล เว็บไซต์ : www.psu.ac.th

วิทยาเขตหาดใหญ่

ที่ตั้ง : 15 ถ.กาญจนวณิชย์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 โทรศัพท์ : 0 7428 2801 : 0 7428 2000 โทรสาร : 0 7421 2828 : 0 7455 8941

วิทยาเขตปัตตานี

ที่ตั้ง : 181 หมู่ที่ 6 ถ.เจริญประดิษฐ์ ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี 94000 โทรศัพท์ : 0 7333 5129 โทรสาร : 0 7333 5127

วิทยาเขตภูเก็ต

ที่ตั้ง : ถ.วิชิตสงคราม อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต 83120 โทรศัพท์ : 0 7627 6009 โทรสาร : 0 7627 6002

วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี

ที่ตั้ง : ถ.สุราษฎร์-นาสาร ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84100 โทรศัพท์ : 0 7735 5040 โทรสาร : 0 7733 5041

วิทยาเขตตรัง

ที่ตั้ง : ต.ควนปริง อ.เมือง จ.ตรัง 92000 โทรศัพท์ : 0 7523 6394 โทรสาร : 0 7521 2036 เว็บไซต์ : www.trang.psu.ac.th

202 รายงานประจ�ำปี 2556

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.)

อธิการบดี : รศ.นพ.ชัยเลิศ พิชิตพรชัย ที่ตั้ง : 9/9 หมู่ 9 ถ.แจ้งวัฒนะ ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 โทรศัพท์ : 0 2503 3550 0 2504 7777 โทรสาร : 0 2503 3554 0 2503 3556 0 2503 3607 เว็บไซต์ : www.stou.ac.th

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (มอบ.)

อธิการบดี : รศ.นงนิตย์ ธีระวัฒนสุข ที่ตั้ง : 85 ถ.สกลมาร์ค ต.เมืองศรีไค อ.วารินช�ำราบ จ.อุบลราชธานี 34190 โทรศัพท์ : 0 4535 3000-3 0 4528 8391 โทรสาร : 0 4528 8391 เว็บไซต์ : www.ubu.ac.th

สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน (สทป.)

อธิการบดี : รศ.ปัญญา มินยง ที่ตั้ง : 833 ถ.พระราม 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ : 0 2104 9099 โทรสาร : 0 2219 3872 เว็บไซต์ : www.ptwit.ac.th

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (สพบ.)

อธิการบดี : รศ.ประดิษฐ์ วรรณรัตน์ ที่ตั้ง : 118 หมู่ 3 ถ.เสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 โทรศัพท์ : 0 2727 3000 โทรสาร : 0 2375 8798 เว็บไซต์ : www.nida.ac.th


Listing สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ(ราชภัฏ) มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี (มรกจ.)

อธิการบดี : ผศ.ปัญญา การพานิช ที่ตั้ง : ต.หนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี 71000 โทรศัพท์ : 0 3463 3227-30 โทรสาร : 0 3463 3224 เว็บไซต์ : www.kru.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ (มกส.)

อธิการบดี : รศ.สุวกิจ ศรีปัดถา ที่ตั้ง : 13 หมู่ 14 ต.สงเปลือย อ.นามน จ.กาฬสินธุ์ 46230 โทรศัพท์ : 0 4360 2033-43 โทรสาร : 0 4360 2044 เว็บไซต์ : www.ksu.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏก�ำแพงเพชร (มรภ.กพ.)

มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ (มชย.)

อธิการบดี : ศ.ศิรวิทย์ กุลโรจนภัทร (รักษาราชการ) ที่ตั้ง : ถ.ชัยภูมิ-ตาดโตน ต.นาฝาย อ.เมือง จ.ชัยภูมิ 36000 โทรศัพท์ : 0 4481 5111 โทรสาร : 0 4481 5116 เว็บไซต์ : www.cpru.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย (มร.ช.)

อธิการบดี : ผศ.ทศพล อารีนิจ ที่ตั้ง : 80 หมู่ 9 ต.บ้านดู่ อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 โทรศัพท์ : 0 5377 6000 0 5377 6007 โทรสาร : 0 5377 6001 เว็บไซต์ : www.cru.in.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (มร.ชม.)

อธิการบดี : ผศ.สุวิทย์ วงษ์บุญมาก ที่ตั้ง : หมู่ 1 ต.นครชุม อ.เมือง จ.ก�ำแพงเพชร 62000 โทรศัพท์ : 0 5570 6555 0 5572 2500 โทรสาร : 0 5570 6518 เว็บไซต์ : www.kpru.ac.th

อธิการบดี : รศ.ประพันธ์ ธรรมไชย ที่ตั้ง : 202 ถ.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300 โทรศัพท์ : 0 5388 5555 โทรสาร : 0 5388 5556 เว็บไซต์ : www.cmru.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม (มจษ.)

มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี (มรท.)

อธิการบดี : รศ.สุมาลี ไชยศุภรากุล ที่ตั้ง : 39/1 ถ.รัชดาภิเษก แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ : 0 2942 6900-99 0 2541 6060 โทรสาร : 0 2541 7113 เว็บไซต์ : www.chandra.ac.th

อธิการบดี : รศ.นันทนา แจ้งสุวรรณ์ ที่ตั้ง : 24 ถ.นารายณ์มหาราช ต.ทะเลชุบศร อ.เมือง จ.ลพบุรี 15000 โทรศัพท์ : 0 3642 7485-93 โทรสาร : 0 3642 2610 เว็บไซต์ : www.tru.ac.th

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 203


Listing มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี (มรธ.)

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (มรนว.)

อธิการบดี : ผศ.ยุวลักษณ์ เวชวิทยาขลัง ที่ตั้ง : 172 ถ.อิสรภาพ แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ 10600 โทรศัพท์ : 0 2890 1801-8 โทรสาร : 0 2466 6776 เว็บไซต์ : www.dru.ac.th

อธิการบดี : ผศ.บัญญัติ ช�ำนาญกิจ ที่ตั้ง : 398 หมู่ที่ 9 ถ.สวรรค์วิถี ต.นครสวรรค์ตก อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60000 โทรศัพท์ : 0 5621 9100-29 โทรสาร : 0 5622 1554 เว็บไซต์ : www.nsru.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (มรน.)

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (มบส.)

อธิการบดี : ผศ.สมเดช นิลพันธุ์ ที่ตั้ง : 85 ถ.มาลัยแมน อ.เมือง จ.นครปฐม 73000 โทรศัพท์ : 0 3426 1021-36 โทรสาร : 0 3426 1048 เว็บไซต์ : www.npru.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา (มร.นม.)

อธิการบดี : ผศ.เศาวนิต เศาณานนท์ ที่ตั้ง : 340 ถ.สุรนารายณ์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000 โทรศัพท์ : 0 4425 4000 0 4435 5321-2 0 4425 6656 0 4427 2828 โทรสาร : 0 4424 4739 เว็บไซต์ : www.nrru.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (มรนศ.)

อธิการบดี : รศ.วิมล ด�ำศรี ที่ตั้ง : 1 หมู่ 4 ต.ท่างิ้ว อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 80280 โทรศัพท์ : 0 7537 7426 0 7539 2087 โทรสาร : 0 7537 7440 เว็บไซต์ : www.nstru.ac.th

204 รายงานประจ�ำปี 2556

อธิการบดี : รศ.พลสิทธิ์ หนูชูชัย ที่ตั้ง : 1061 ซ.อิสรภาพ 15 ถ.อิสรภาพ แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพฯ 10600 โทรศัพท์ : 0 2473 7000 โทรสาร : 0 2466 6539 เว็บไซต์ : www.bsru.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (มรภ.บร.)

อธิการบดี : รศ.มาลิณี จุโฑปะมา ที่ตั้ง : ถ.จิระ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ 31000 โทรศัพท์ : 0 4461 1221 0 4461 7588 โทรสาร : 0 4461 2858 เว็บไซต์ : www.bru.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร (มรภ.พน.)

อธิการบดี : รศ.พงศ์ หรดาล ที่ตั้ง : 3 หมู่ 6 ถ.แจ้งวัฒนะ แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220 โทรศัพท์ : 0 2544 8000 โทรสาร : 0 2521 7909 เว็บไซต์ : www.pnru.ac.th


Listing มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา (มรอย.)

อธิการบดี : นายบูรพาทิศ พลอยสุวรรณ์ ที่ตั้ง : 96 ถ.โรจนะ ต.ประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา 13000 โทรศัพท์ : 0 3532 2076-9 โทรสาร : 0 3524 2708 เว็บไซต์ : www.aru.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (มรพส.)

อธิการบดี : ผศ.คงศักดิ์ ศรีแก้ว (รักษาราชการ) ที่ตั้ง : 156 หมู่ 5 ต.พลายชุมพล อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 โทรศัพท์ : 0 5526 7000-2 โทรสาร : 0 5526 7058 เว็บไซต์ : www.psru.ac.th

ส่วนวังจันทน์

ที่ตั้ง : 66 ถ.วังจันทน์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 โทรศัพท์ : 0 5525 8584 0 5525 1206 0 5525 9927

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี (มรภ.พบ.)

อธิการบดี : ผศ.นิวัติ กลิ่นงาม ที่ตั้ง : 38 หมู่ 8 ต.นาวุ้ง อ.เมือง จ.เพชรบุรี 76000 โทรศัพท์ : 0 3249 3300-7 โทรสาร : 0 3249 3308 เว็บไซต์ : www.pbru.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ (มรพช.)

อธิการบดี : รศ.เปรื่อง จันดา ที่ตั้ง : 83 หมู่ 11 ถ.สระบุรี-หล่มสัก ต.สะเดียง อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ 67000 โทรศัพท์ : 0 5671 7100 โทรสาร : 0 5671 7110 เว็บไซต์ : www.pcru.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต (มรภ.)

อธิการบดี : ผศ.ประภา กาหยี ที่ตั้ง : 21 หมู่ 6 ถ.เทพกระษัตรี ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทรศัพท์ : 0 7624 0474-7 0 7621 1959 0 7622 2370 โทรสาร : 0 7621 1778 เว็บไซต์ : www.pkru.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (มรม.)

อธิการบดี : นายสมชาย วงศ์เกษม ที่ตั้ง : 80 ถ.นครสวรรค์ ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม 44000 โทรศัพท์ : 0 4372 2118-9 0 4371 3080-9 โทรสาร : 0 4372 2117 เว็บไซต์ : www.rmu.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (มรย.)

อธิการบดี : ผศ.สมบัติ โยธาทิพย์ ที่ตั้ง : 133 ถ.เทศบาล 3 อ.เมือง จ.ยะลา 95000 โทรศัพท์ : 0 7322 7151 โทรสาร : 0 7322 7125 เว็บไซต์ : www.yru.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด (ม.รอ.)

อธิการบดี : ผศ.ดุสิต อุบลเลิศ ที่ตั้ง : 113 หมู่ 12 ถ.ร้อยเอ็ด-โพนทอง ต.เกาะแก้ว อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด 45120 โทรศัพท์ : 0 4351 8231 0 4354 4739 โทรสาร : 0 4354 4744 0 4355 6009 เว็บไซต์ : www.reru.ac.th

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 205


Listing มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ (มรร.)

อธิการบดี : นายเอนก เทพสุภรณ์กุล ที่ตั้ง : 422 ถ.มรุพงษ์ ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา 24000 โทรศัพท์ : 0 3851 1010 0 3853 5426-8 โทรสาร : 0 3881 0337 เว็บไซต์ : www.rru.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏร�ำไพพรรณี (มรรพ.)

อธิการบดี : ผศ.สิริชัย ประทีปฉาย (รักษาราชการ) ที่ตั้ง : 41 หมู่ 5 ต.ท่าช้าง อ.เมือง จ.จันทบุรี 22000 โทรศัพท์ : 0 3947 1053-57 0 3947 1055 โทรสาร : 0 3947 1063 0 3947 1067 เว็บไซต์ : www.rbru.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏล�ำปาง (มร.ลป.)

อธิการบดี : ผศ.เล็ก แสงมีอานุภาพ ที่ตั้ง : 119 หมู่ 9 ถ.ล�ำปาง-แม่ทะ ต.ชมพู อ.เมือง จ.ล�ำปาง 52100 โทรศัพท์ : 0 5423 7399 0 5424 1020 โทรสาร : 0 5423 7388 0 5423 7389 เว็บไซต์ : www.lpru.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย (มรล.)

อธิการบดี : ผศ.สนิท เหลืองบุตรนาค ที่ตั้ง : 234 ถ.เลย-เชียงคาน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.เลย 42000 โทรศัพท์ : 0 4283 5224-8 โทรสาร : 0 4281 1143 เว็บไซต์ : www.lru.ac.th

206 รายงานประจ�ำปี 2556

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (มรว.)

อธิการบดี : รศ.สมบัติ คชสิทธิ ์ ที่ตั้ง : 1 หมู่ 20 ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 13180 โทรศัพท์ : 0 2529 0674-7 โทรสาร : 0 2529 2580 0 2909 1761 เว็บไซต์ : www.vru.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (มรภ.ศก.)

อธิการบดี : ผศ.ประกาศิต อานุภาพแสนยากร ที่ตั้ง : 319 ถ.ไทยพันทา ต.โพธิ์ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ 33000 โทรศัพท์ : 0 4563 3440 0 4564 3600-7 0 4564 3606 โทรสาร : 0 4564 3607 เว็บไซต์ : www.sskru.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร (มรสน.)

อธิการบดี : ผศ.ชนินทร์ วะสีนนท์ ที่ตั้ง : 680 หมู่ 11 ถ.นิตโย ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000 โทรศัพท์ : 0 4297 0021 โทรสาร : 0 4271 3063 เว็บไซต์ : www.snru.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สข.)

อธิการบดี : รศ.สุนทร โสตถิพันธุ ์ ที่ตั้ง : 160 หมู่ 4 ถ.กาญจนวนิช ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา 90000 โทรศัพท์ : 0 7431 4993 โทรสาร : 0 7431 1210 เว็บไซต์ : www.skru.ac.th


Listing มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (มสด.)

อธิการบดี : ผศ.พิทักษ์ จันทร์เจริญ ที่ตั้ง : 295 ถ.ราชสีมา เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทรศัพท์ : 0 2244 5000 โทรสาร : 0 2243 0457 เว็บไซต์ : www.dusit.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (มรภ.สส.)

อธิการบดี : รศ.ฤๅเดช เกิดวิชัย ที่ตั้ง : 1 ถ.อู่ทองนอก แขวงวชิระ เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทรศัพท์ : 0 2160 1111 โทรสาร : 0 2160 1010 เว็บไซต์ : www.ssru.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.)

อธิการบดี : ผศ.ประโยชน์ คุปต์กาญจนากุล ที่ตั้ง : 272 หมู่ 9 ต.ขุนทะเล อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84100 โทรศัพท์ : 0 7735 5466-7 0 7735 5469 โทรสาร : 0 7735 5468 เว็บไซต์ : www.sru.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ (ม.รภ.สร.)

อธิการบดี : ศ.เกษม จันทร์แก้ว (รักษาราชการ) ที่ตั้ง : 186 ถ.สุรินทร์-ปราสาท ต.นอกเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ 32000 โทรศัพท์ : 0 4451 1604 0 4452 1389 โทรสาร : 0 4451 1631 เว็บไซต์ : www.srru.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (มร.อด.)

อธิการบดี : นายณัติเทพ พิทักษานุรัตน์ ที่ตั้ง : 64 ถ.ทหาร ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000 โทรศัพท์ : 0 4221 1040-59 โทรสาร : 0 4224 1418 เว็บไซต์ : www.udru.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ (มรอ.)

อธิการบดี : ผศ.เรืองเดช วงศ์หล้า ที่ตั้ง : 27 ถ.อินใจมี ต.ท่าอิฐ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ 53000 โทรศัพท์ : 0 5541 1096 0 5541 6601-31 โทรสาร : 0 5541 1296 เว็บไซต์ : www.uru.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี (มรภ.อบ.)

อธิการบดี : ผศ.ประชุม ผงผ่าน ที่ตั้ง : 2 ถ.ราชธานี ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 34000 โทรศัพท์ : 0 4526 2423-32 0 4535 2000-29 โทรสาร : 0 4531 1472 0 4531 1465 เว็บไซต์ : www.ubru.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง (มรมจ.)

อธิการบดี : ผศ.ชาญชัย ยมดิษฐ์ ที่ตั้ง : 46 หมู่ 3 ต.จอมบึง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี 70150 โทรศัพท์ : 0 3226 1790-7 โทรสาร : 0 3226 1078 เว็บไซต์ : www.mcru.ac.th ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 207


Listing สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (ราชมงคล) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี)

อธิการบดี : รศ.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ ที่ตั้ง : 39 หมู่ 1 ถ.รังสิต-นครนายก ต.คลองหก อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี 12110 โทรศัพท์ : 0 2549 3333 0 2549 3013 โทรสาร : 0 2577 2357 เว็บไซต์ : www.rmutt.ac.th

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ (มทร.กรุงเทพ)

อธิการบดี : นายสาธิต พุทธชัยยงค์ ที่ตั้ง : 2 ถ.นางลิ้นจี่ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ : 0 2287 9600 0 2286 3991-5 โทรสาร : 0 2287 3596 เว็บไซต์ : www.rmutk.ac.th

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก (มทร.ตะวันออก)

อธิการบดี : ศ.สิน พันธุ์พินิจ เว็บไซต์ : www.rmutto.ac.th

วิทยาเขตบางพระ

ที่ตั้ง : 43 หมู่ 6 ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 โทรศัพท์ : 0 3835 8137 โทรสาร : 0 3834 1808-9

208 รายงานประจ�ำปี 2556

วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ

ที่ตั้ง : 122/41 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ : 0 2692 2360-4 0 2277 3660 โทรสาร : 0 2277 3693 เว็บไซต์ : www.cpc.rmutto.ac.th

วิทยาเขตจันทบุรี

ที่ตั้ง : 131 หมู่ 5 ถ.บ�ำราศนราดูร ต.พลวง กิ่ง อ.เขาคิชฌกูฎ จ.จันทบุรี 22210 โทรศัพท์ : 0 3930 7261-4 โทรสาร : 0 3930 7268 เว็บไซต์ : www.chan.rmutto.ac.th

วิทยาเขตอุเทนถวาย

ที่ตั้ง : 225 ถ.พญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ : 0 2252 7029 0 2252 2736 โทรสาร : 0 2252 7580 เว็บไซต์ : www.uthen.rmutto.ac.th

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (มทร.พระนคร)

อธิการบดี : ผศ.จุฑามาศ พีรพัชระ (รักษาราชการ) ที่ตั้ง : 399 ถ.สามเสน สี่เสาเทเวศน์ แขวงวชิระ เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทรศัพท์ : 0 2282 9009-15 โทรสาร : 0 2281 0073 เว็บไซต์ : www.rmutp.ac.th


Listing มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ (มทร.รัตนโกสินทร์)

อธิการบดี : ผศ.ศิวะ วสุนธราภิวัฒน์ เว็บไซต์ : www.rmutr.ac.th

ศาลายา (สำ�นักงานอธิการบดี)

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (มทร.ล้านนา)

อธิการบดี : รศ.น�ำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ เว็บไซต์ : www.rmutl.ac.th

เขตพื้นที่ภาคพายัพเชียงใหม่

ที่ตั้ง : 96 หมู่ 3 ถ.พุทธมณฑล สาย 5 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170 โทรศัพท์ : 0 2441 6000 โทรสาร : 0 2889 4588

ที่ตั้ง : 128 ถ.ห้วยแก้ว ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300 โทรศัพท์ : 0 5392 1444 โทรสาร : 0 5321 3183

พื้นที่บพิตรพิมุข จักรวรรดิ

เขตพื้นที่ลำ�ปาง

ที่ตั้ง : 264 ถ.จักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ 10100 โทรศัพท์ : 0 2226 5925-6 0 2222 2814 โทรสาร : 0 2226 4879 เว็บไซต์ : www.ppc.rmutr.ac.th

วิทยาลัยเพาะช่าง

ที่ตั้ง : 86 ถ.ตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ : 0 2623 8790-5 โทรสาร : 0 2225 7631 เว็บไซต์ : www.pohchang.rmutr.ac.th

วิทยาเขตวังไกลกังวล

ที่ตั้ง : 35/9 ถ.เพชรเกษม (ก.ม. 242) ต.หนองแก อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีบันธ์ 77110 โทรศัพท์ : 0 3261 8500 โทรสาร : 0 3261 8570 เว็บไซต์ : www.rmutr.ac.th

ที่ตั้ง : 200 หมู่ 17 ต.พิชัย อ.เมือง จ.ล�ำปาง 52000 โทรศัพท์ : 0 5434 2547-8 โทรสาร : 0 5434 2549

เขตพื้นที่ตาก

ที่ตั้ง : 41 ถนนพหลโยธิน ต.ไม้งาม อ.เมือง จ.ตาก 63000 โทรศัพท์ : 0 5551 5904-5 โทรสาร : 0 5551 1833

เขตพื้นที่พิษณุโลก

ที่ตั้ง : 52 หมู่ 7 ต.บ้านกร่าง อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 โทรศัพท์ : 0 5529 8438 0 5526 2789 โทรสาร : 0 5529 8440

เขตพื้นที่น่าน

ที่ตั้ง : 59 หมู่ 13 ต.ฝายแก้ว กิ่งอ.ภูเพียง จ.น่าน 55000 โทรศัพท์ : 0 5471 0259 โทรสาร : 0 5477 1398

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 209


Listing เขตพื้นที่เชียงราย

ที่ตั้ง : 99 หมู่ 10 ต.ทรายขาว อ.พาน จ.เชียงราย 57120 โทรศัพท์ : 0 5372 9600-5 โทรสาร : 0 5372 9606-7

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (มทร.ศรีวิชัย)

อธิการบดี : ผศ.รุจา ทิพย์วารี ที่ตั้ง : 1 ถ.ราชด�ำเนินนอก ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา 90000 โทรศัพท์ : 0 7431 7100 โทรสาร : 0 7431 7123 เว็บไซต์ : www.rmutsv.ac.th

วิทยาเขตนครศรีธรรมราช

ที่ตั้ง : 133 หมู่ 5 ถ.เอเชีย 41 ต.ทุ่งใหญ่ อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช 80240 โทรศัพท์ : 0 7547 9496-7 0 7535 0029 โทรสาร : 0 7535 0028 เว็บไซต์ : www.nakhor.rmutsv.ac.th

วิทยาเขตตรัง

ที่ตั้ง : 179 หมู่ 3 ต.ไม้ฝาด อ.สิเกา จ.ตรัง 92150 โทรศัพท์ : 0 7527 4151-6 โทรสาร : 0 7527 4159 เว็บไซต์ : www.trang.rmutsv.ac.th

210 รายงานประจ�ำปี 2556

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (มทร.สุวรรณภูมิ)

อธิการบดี : ผศ.ไพศาล บุรินทร์วัฒนา เว็บไซต์ : www.rmutsb.ac.th

ศูนย์หันตรา

ที่ตั้ง : 60 หมู่ 3 ถ.สายเอเซีย (กรุงเทพฯ-นครสวรรค์) ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา 13000 โทรศัพท์ : 0 3524 2554 0 3570 9103 โทรสาร : 0 3524 2654 0 3532 3607

ศูนย์วาสุกรี

ที่ตั้ง : 19 ถ.อู่ทอง ต.ท่าวาสุกรี อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา 13000 โทรศัพท์ : 0 3532 4179-80 โทรสาร : 0 3525 2393

ศูนย์นนทบุร ี

ที่ตั้ง : 7/1 ถ.นนทบุรี ต.สวนใหญ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ : 0 2969 1364-74 โทรสาร : 0 2525 2682

ศูนย์สุพรรณบุรี

ที่ตั้ง : 450 ถ.สุพรรณบุรี-ชัยนาท ต.ย่านยาว อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี 72130 โทรศัพท์ : 0 3554 4301-3 โทรสาร : 0 3554 4299-300


Listing มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน)

อธิการบดี : ผศ.วิโรจน์ ลิ้มไขแสง ที่ตั้ง : 744 หมู่ 6 ถ.สุรนารายณ์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000 โทรศัพท์ : 0 4423 3000 โทรสาร : 0 4423 3052 0 4424 2217 เว็บไซต์ : www.rmuti.ac.th

วิทยาเขตขอนแก่น

ที่ตั้ง : 150 ถ.ศรีจันทร์ อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000 โทรศัพท์ : 0 4333 6371 โทรสาร : 0 4323 7149 เว็บไซต์ : www.kkc.rmuti.ac.th

วิทยาเขตสุรินทร์

ที่ตั้ง : 145 หมู่ 15 ถ.สุรินทร์-ปราสาท ต.นอกเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ 32000 โทรศัพท์ : 0 4415 3090 โทรสาร : 0 4415 3064 เว็บไซต์ : www.surin.rmuti.ac.th

วิทยาเขตกาฬสินธุ์

ที่ตั้ง : 62/1 ถ.เกษตรสมบูรณ์ ต.กาฬสินธุ์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ 46000 โทรศัพท์ : 0 4381 1128 โทรสาร : 0 4381 3070 เว็บไซต์ : www.ksc.rmuti.ac.th

วิทยาเขตสกลนคร

ที่ตั้ง : 199 หมู่ 3 ถ.พังโคน-วาริชภูมิ ต.พังโคน อ.พังโคน จ.สกลนคร 47160 โทรศัพท์ : 0 4273 4724-5 โทรสาร : 0 4273 4723 เว็บไซต์ : www.skc.rmuti.ac.th

มหาวิทยาลัยเอกชน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (มกท.)

อธิการบดี : นางสาวมัทนา สานติวัตร เว็บไซต์ : www.bu.ac.th

วิทยาเขตกล้วยน้ำ�ไท

ที่ตั้ง : 119 ซ.สุขุมวิท 40 (ซอยบ้านกล้วยใต้) แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ : 0 2350 3500-99 โทรสาร : 0 2240 1516

วิทยาเขตรังสิต

ที่ตั้ง : 9/1 หมู่ 5 ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 โทรศัพท์ : 0 2902 0250-99 โทรสาร : 0 2516 8553

มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี (มกธ.)

อธิการบดี : นางบังอร เบ็ญจาธิกุล ที่ตั้ง : 16/10 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10160 โทรศัพท์ : 0 2800 6800-5 โทรสาร : 0 2800 6806 0 2431 5587 เว็บไซต์ : www.bkkthon.ac.th

มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น (มจทอ.)

อธิการบดี : นางสาวจินติยา จินารัตน์ ที่ตั้ง : 749/1 ถ.ชยางกูร ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 34000 โทรศัพท์ : 0 4528 3771-2 0 4531 1737 0 4531 2752 โทรสาร : 0 4528 3773 เว็บไซต์ : www.umt.ac.th

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 211


Listing มหาวิทยาลัยเกริก (ม.กร.)

อธิการบดี : นางสาวณภัทร มังคละพฤกษ์ ที่ตั้ง : 43/1111 ถ.รามอินทรา กม.1 เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220 โทรศัพท์ : 0 2552 3500-9 0 2970 5820 โทรสาร : 0 2552 3511 0 2552 3513 เว็บไซต์ : www.krirk.ac.th

มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต (มกบ.)

อธิการบดี : นายวัลลภ สุวรรณดี ที่ตั้ง : 1761 ถ.พัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250 โทรศัพท์ : 0 2320 2777 โทรสาร : 0 2321 4444 เว็บไซต์ : www.kbu.ac.th

มหาวิทยาลัยคริสเตียน (ม.ค.ต)

อธิการบดี : ผศ.จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง ที่ตั้ง : 144 หมู่ 7 ถ.พระประโทน-บ้านแพ้ว ต.ดอนยายหอม อ.เมือง จ.นครปฐม 73000 โทรศัพท์ : 0 3422 9480 0 3422 9480-7 โทรสาร : 0 3422 9499 เว็บไซต์ : www.christian.ac.th

ศูนย์ศึกษาสยามคอมเพล็กซ์ กรุงเทพฯ

ที่ตั้ง : วิทยาคารสภาคริสตจักรในประเทศไทย 328 ถ.พญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ : 0 2214 6038-9 โทรสาร : 0 2214 6039

212 รายงานประจ�ำปี 2556

มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา (มจพ.)

อธิการบดี : นายจินต์ วิภาตะกลัศ ที่ตั้ง : 13/1 หมู่ 6 ต.หนองกรด อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60240 โทรศัพท์ : 0 5633 4236 0 5633 4714 โทรสาร : 0 5633 4719 เว็บไซต์ : www.cpu.ac.th

มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา (วฉก.)

อธิการบดี : นางสุชีราภรณ์ ธุวานนท์ ที่ตั้ง : 99 หมู่ 6 ถ.ศรีสะเกษ-อุบล ต.โพธิ์ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ 33000 โทรศัพท์ : 0 4561 7971-2 โทรสาร : 0 4561 7974 เว็บไซต์ : www.ckc.ac.th

มหาวิทยาลัยชินวัตร (มชว.)

อธิการบดี : ศ.วรเดช จันทรศร ที่ตั้ง : 99 หมู่ 10 ต.บางเตย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี 12160 โทรศัพท์ : 0 2599 0000 โทรสาร : 0 2599 3350-1 เว็บไซต์ : www.siu.ac.th

ศูนย์ประสานงาน

ที่ตั้ง : 197 ถ.วิภาวดีรังสิต สามเสนใน กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ : 0 2650 6011-2 โทรสาร : 0 2650 6033

มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น (มซจ.)

อธิการบดี : นายจุฬาเกษม ชินะผา ที่ตั้ง : 1110/5 ถ.วิภาวดีรังสิต เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ : 0 2938 7058-65 โทรสาร : 0 2512 2275 เว็บไซต์ : www.stjohn.ac.th


Listing มหาวิทยาลัยตาปี (มตป.)

มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ (มนก.)

อธิการบดี : นางขวัญดี ศรีไพโรจน์ ที่ตั้ง : 8/151 ถ.ศรีวิชัย ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000 โทรศัพท์ : 0 7726 4431-2 0 7726 4225 โทรสาร : 0 7726 4225 เว็บไซต์ : www.tapee.ac.th

อธิการบดี : นายประเสริฐ ประวัติรุ่งเรือง ที่ตั้ง : 6/999 หมู่ 5 ซ.พหลโยธิน 52 แขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพฯ 10220 โทรศัพท์ : 0 2972 7200 โทรสาร : 0 2972 7751 เว็บไซต์ : www.northbkk.ac.th

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร (มทม.)

อธิการบดี : นายณรงค์ ชวสินธุ์ ที่ตั้ง : 169 หมู่ 3 ต.หนองแก้ว อ.หางดง จ.เชียงใหม่ 50230 โทรศัพท์ : 0 5381 9999 โทรสาร : 0 5381 9998 เว็บไซต์ : www.northcm.ac.th

อธิการบดี : รศ.สุเจตน์ จันทรังษ์ ที่ตั้ง : 140 หมู่ 1 ถ.เชื่อมสัมพันธ์ แขวงกระทุ่มราย เขตหนองจอก กรุงเทพฯ 10530 โทรศัพท์ : 0 2988 3666 0 2988 3655 0 2988 4021-4 โทรสาร : 0 2988 4040 เว็บไซต์ : www.mut.ac.th

มหาวิทยาลัยธนบุรี (มธร.)

อธิการบดี : นายบัญชา เกิดมณี ที่ตั้ง : 29 ถ.เพชรเกษม ซอย 110 แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม กรุงเทพฯ 10160 โทรศัพท์ : 0 2809 0823-7 โทรสาร : 0 2809 0832 เว็บไซต์ : www.thonburi-u.ac.th

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.)

อธิการบดี : รศ.วรากรณ์ สามโกเศศ ที่ตั้ง : 110/1-4 ถ.ประชาชื่น แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์ : 0 2954 7300-29 โทรสาร : 0 2589 9605-6 เว็บไซต์ : www.dpu.ac.th

มหาวิทยาลัยนอร์ท - เชียงใหม่ (มนช.)

ศูนย์ประสานงาน

ที่ตั้ง : อาคารสินธุ์ 24/10 ซ.ชินวร ถ.เสรีไทย แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10240 โทรศัพท์ : 0 2732 5420-3 0 2375 5490-1 โทรสาร : 0 2374 5097

มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด (มนชส.)

อธิการบดี : รศ.บุญมาก ศิริเนาวกุล ที่ตั้ง : 1458 ถ.เพชรเกษม ต.ชะอ�ำ อ.ชะอ�ำ จ.เพชรบุรี 76120 โทรศัพท์ : 0 3252 0789 0 3244 2322-3 โทรสาร : 0 3244 2324 เว็บไซต์ : www.stamford.edu

ศูนย์วิทยบริการ

ที่ตั้ง : 16 ถ.มอเตอร์เวย์ แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250 โทรศัพท์ : 0 2769 4000-98 โทรสาร : 0 2769 4099

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 213


Listing มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก (ม.น.อ.)

มหาวิทยาลัยพายัพ (มพย.)

อธิการบดี : Mr.Loren George Agrey ที่ตั้ง : 195 หมู่ 3 ถ.มวกเหล็ก-วังม่วง ต.มวกเหล็ก อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี 18180 โทรศัพท์ : 0 3672 0777 โทรสาร : 0 3672 0673 เว็บไซต์ : www.apiu.edu

อธิการบดี : รศ.เพ็ญพิไล ฤทธาคนานนท์ (รักษาการ) โทรศัพท์ : 0 5324 1255 โทรสาร : 0 5324 1983 เว็บไซต์ : www.payap.ac.th

วิทยาเขตกรุงเทพ

ที่ตั้ง : ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000 โทรศัพท์ : 0 5385 1478-86

ที่ตั้ง : 430 ถ.พิษณุโลก แขวงสี่แยกมหานาค เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทรศัพท์ : 0 2280 8243-6 โทรสาร : 0 2280 8247

มหาวิทยาลัยเนชั่น (มนช.)

อธิการบดี : ผศ.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม ที่ตั้ง : 444 ถ.วชิราวุธด�ำเนิน ต.พระบาท อ.เมือง จ.ล�ำปาง 52000 โทรศัพท์ : 0 5426 5170-6 โทรสาร : 0 5426 5184 เว็บไซต์ : www.nation.ac.th

ศูนย์การศึกษาเนชั่นทาวเวอร์

ที่ตั้ง : ถ.บางนา-ตราด กม.ที่ 4.5 กรุงเทพฯ โทรศัพท์ : 0 2338 3950 โทรสาร : 0 2338 3950

มหาวิทยาลัยปทุมธานี (ม.ป.ท.)

อธิการบดี : นางชนากานต์ ยืนยง ที่ตั้ง : 140 หมู่ 4 ถ.ติวานนท์ ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.ปทุมธานี 12000 โทรศัพท์ : 0 2975 6999 โทรสาร : 0 2975 6954 0 2979 6728 เว็บไซต์ : www.ptu.ac.th

214 รายงานประจ�ำปี 2556

เขตแม่คาว

เขตแก้วนวรัฐ

ที่ตั้ง : 131 ถ.แก้วนวรัฐ ต.วัดเกต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000 โทรศัพท์ : 0 5324 5808 0 5324 3969 โทรสาร : 0 5324 2532

มหาวิทยาลัยพิษณุโลก (มพล.)

อธิการบดี : นางประภาพรรณ รักเลี้ยง ที่ตั้ง : 693 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 โทรศัพท์ : 0 5530 3411 โทรสาร : 0 5530 3411 เว็บไซต์ : www.plu.ac.th

มหาวิทยาลัยฟาฏอนี (มฟน.)

อธิการบดี : นายอิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา ที่ตั้ง : 203 หมู่ 7 ถ.ยะลา-รามัน ต.บุดี อ.เมือง จ.ยะลา 95000 โทรศัพท์ : 0 7341 8613 : 0 7328 8080-1 โทรสาร : 0 7328 8011 : 0 7341 8614 เว็บไซต์ : www.yiu.ac.th


Listing มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น (ม.ฟ.อ.)

มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต (มรบ.)

อธิการบดี : นายกิตติพัฒน์ สุวรรณชิน ที่ตั้ง : 120 ถ.มหิดล ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 โทรศัพท์ : 0 5320 1800-4 โทรสาร : 0 5320 1810 เว็บไซต์ : www.feu.ac.th

อธิการบดี : นายประเวช รัตนเพียร ที่ตั้ง : 306 ซ.ลาดพร้าว 107 บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 โทรศัพท์ : 0 2375 4480-7 โทรสาร : 0 2375 4489 เว็บไซต์ : www.rbac.ac.th

มหาวิทยาลัยภาคกลาง (ม.ภก.)

มหาวิทยาลัยราชธานี (มรธ.)

อธิการบดี : นางสาวสราญภัทร สถิรางกูร ที่ตั้ง : 932/1 หมู่ 9 ถ.สายเอเชีย ต.นครสวรรค์ตก อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60000 โทรศัพท์ : 0 5680 1822-4 0 5680 1629 โทรสาร : 0 5680 1821 เว็บไซต์ : www.tuct.ac.th

อธิการบดี : นางวิลาวัณย์ ตันวัฒนะพงษ์ ที่ตั้ง : 487 ซ.เทคโน ถ.ชยางกูร ต.ขามใหญ่ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 34000 โทรศัพท์ : 0 4531 2176-7 0 4531 1254 โทรสาร : 0 4528 3447 เว็บไซต์ : www.rtu.ac.th

มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ม.ภ.น.)

อธิการบดี : นางปราณี วงษ์ชวลิตกุล ที่ตั้ง : 84 หมู่ 4 ถ.มิตรภาพ ต.บ้านเกาะ อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000 โทรศัพท์ : 0 4420 3778-84 โทรสาร : 0 4420 3785 เว็บไซต์ : www.vu.ac.th

อธิการบดี : นายประสาน วงษ์ใหญ่ (รักษาการ) ที่ตั้ง : 199/19 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000 โทรศัพท์ : 0 4322 2959-61 โทรสาร : 0 4322 6823-4 เว็บไซต์ : www.neu.ac.th

มหาวิทยาลัยรังสิต (มรส.)

อธิการบดี : นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ ที่ตั้ง : 52/347 หมู่บ้านเมืองเอก ถ.พหลโยธิน ต.หลักหก อ.เมือง จ.ปทุมธานี 12000 โทรศัพท์ : 0 2997 2222-30 0 2791 5777 โทรสาร : 0 2533 9470 เว็บไซต์ : www.rsu.ac.th

มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล (มว.)

วิทยาเขตหมื่นไวย

ที่ตั้ง : 12/2 ถ.มิตรภาพ อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000 โทรศัพท์ : 0 4425 5523-4 โทรสาร : 0 4427 1317

มหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์(ประเทศไทย) (ม.ว.ท.)

อธิการบดี : Mr.Ratish Thakur ที่ตั้ง : 143 หมู่ 5 ต.สามพระยา อ.ชะอ�ำ จ.เพชรบุรี 76120 โทรศัพท์ : 0 3245 6161-7 โทรสาร : 0 3245 6169 เว็บไซต์ : www.webster.ac.th

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 215


Listing ศูนย์ประสานงาน

ที่ตั้ง : อาคาร Maneeya Center ชั้น 12 ถ.เพลินจิต ลุมพินี กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ : 0 2652 0705 โทรสาร : 0 2652 0708

มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น (มท.)

อธิการบดี : ผศ.จิรศักดิ์ จิยะจันทน์ ที่ตั้ง : 600 ต.สระลงเรือ อ.ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี 71170 โทรศัพท์ : 0 3565 1000 โทรสาร : 0 3565 1144 เว็บไซต์ : www.western.ac.th

มหาวิทยาลัยศรีปทุม (มศป.)

อธิการบดี : นางรัชนีพร พุคยาภรณ์ พุกกะมาน

วิทยาเขตบางเขน

ที่ตั้ง : 2410/2 ถ.พหลโยธิน แขวงเสนานิคม เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ : 0 2579 1111 โทรสาร : 0 2561 1721 เว็บไซต์ : www.spu.ac.th

วิทยาเขตชลบุรี

ที่ตั้ง : 79 ถ.บางนา-ตราด อ.เมือง จ.ชลบุรี 20000 โทรศัพท์ : 0 3874 3690-703 โทรสาร : 0 3874 3700 เว็บไซต์ : www.east.spu.ac.th

วิทยาคารพญาไท

ที่ตั้ง : อาคารเอสเอ็ม ทาวเวอร์ ชั้น 17 และ 20 ถ.พหลโยธิน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ : 0 2298 0181-3 โทรสาร : 0 2298 0185

216 รายงานประจ�ำปี 2556

มหาวิทยาลัยสยาม (มส.)

อธิการบดี : นายพรชัย มงคลวนิช ที่ตั้ง : 38 ถ.เพชรเกษม เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 10160 โทรศัพท์ : 0 2867 8088 0 2868 6000 โทรสาร : 0 2467 3174 0 24573982 เว็บไซต์ : www.siam.edu

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (มกค.)

อธิการบดี : รศ.เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ ที่ตั้ง : 126/1 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ : 0 2697 6000 โทรสาร : 0 2276 2126 เว็บไซต์ : www.utcc.ac.th

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (ม.ฉ.ก.)

อธิการบดี : รศ.ประจักษ์ พุ่มวิเศษ เว็บไซต์ : www.hcu.ac.th

วิทยาเขตบางพลี

ที่ตั้ง : 18/18 กม.ที่ 18 ถ.บางนา-ตราด ต.บางโฉลก อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540 โทรศัพท์ : 0 2312 6300-79 โทรสาร : 0 2312 6237

วิทยาเขตยศเส

ที่ตั้ง : 121 ถ.อนันตนาค เขตป้อมปราบ กรุงเทพฯ 10100 โทรศัพท์ : 0 2621 7070 โทรสาร : 0 2621 7075


Listing มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ (ม.ญ.)

มหาวิทยาลัยเอเชียน (ม.เอเชียน)

อธิการบดี : นายวิทวัส ดิษยะศริน สัตยารักษ์ ที่ตั้ง : 125/502 ถ.พลพิชัย ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 โทรศัพท์ : 0 7442 5464-6 0 7442 5000 โทรสาร : 0 7442 5467 เว็บไซต์ : www.hu.ac.th

อธิการบดี : นายวิพรรธ์ เริงพิทยา ที่ตั้ง : 89 ทางหลวง หมายเลข 331 ต.ห้วยใหญ่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี 20260 โทรศัพท์ : 0 3825 3700 โทรสาร : 0 3825 3749 เว็บไซต์ : www.asianust.ac.th

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (มอช.)

ที่ตั้ง : อาคารเคียนหงวน 2 เลขที่ 140/1 ชั้น 18 ถ.วิทยุ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ : 0 2253 4771-2 โทรสาร : 0 2651 4105-6

อธิการบดี : ภารดาบัญชา แสงหิรัญ เว็บไซต์ : www.au.edu

วิทยาเขตหัวหมาก

ที่ตั้ง : 592/3 ถ.รามค�ำแหง 24 แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 โทรศัพท์ : 0 2300 4553-62 โทรสาร : 0 2300 4563

วิทยาเขตบางนา

ที่ตั้ง : 88 หมู่ 8 ถ.บางนา-ตราด กม.26 ต.บางเสาธง อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ 10540 โทรศัพท์ : 0 2723 2222 โทรสาร : 0 2707 0395

ศูนย์ประสานงาน

มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ (ม.อ.อ.)

อธิการบดี : นายฉัททวุฒิ พืชผล ที่ตั้ง : 19/1 หมู่ 7 ถ.เพชรเกษม เขตหนองแขม กรุงเทพฯ 10160 โทรศัพท์ : 0 2807 4500-27 โทรสาร : 0 2807 4528-30 เว็บไซต์ : www.sau.ac.th

มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย (มวอ.)

อธิการบดี : นายโชติรัส ชวนิชย์ ที่ตั้ง : 200 ถ.รังสิต-นครนายก (คลอง5) ต.รังสิต อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี 12110 โทรศัพท์ : 0 2577 1028-31 โทรสาร : 0 2577 1022-3 เว็บไซต์ : www.eau.ac.th

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 217


Listing วิทยาลัยเอกชน วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ (วกส.)

วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก (ซ.อ.บ.)

อธิการบดี : นายวิศิษฐ์ แสงหิรัญ ที่ตั้ง : 489 หมู่ 2 ถ.ประชาพัฒนา แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10250 โทรศัพท์ : 0 2172 9623-26 โทรสาร : 0 2172 9620 เว็บไซต์ : www.bsc.ac.th

อธิการบดี : นายสมศักดิ์ รุ่งเรือง ที่ตั้ง : 298 ถ.สรรพาวุธ แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ : 0 2744 7356-65 โทรสาร : 0 2398 1356 เว็บไซต์ : www.southeast.ac.th

วิทยาลัยเฉลิมกาญจนาระยอง (วฉกร)

วิทยาลัยดุสิตธานี (วดธ.)

อธิการบดี : นายพอพันธุ์ สนเจริญ ที่ตั้ง : 333 หมู่ 3 ถ.สุขุมวิท ต.วังหว้า อ.แกลง จ.ระยอง 21110 โทรศัพท์ : 0 3867 2898 โทรสาร : 0 3867 2898 เว็บไซต์ : www.ckc.ac.th/rayong

วิทยาลัยเชียงราย (วชร.)

อธิการบดี : นายอินทร์ จันทร์เจริญ ที่ตั้ง : 199 หมู่ 6 ต.ป่าอ้อดอนชัย อ.เมือง จ.เชียงราย 57000 โทรศัพท์ : 0 5317 0331 โทรสาร : 0 5317 0335 เว็บไซต์ : www.crc.ac.th

วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ (ว.ซล.)

อธิการบดี : นางสาวสมศรี สุเมธ ที่ตั้ง : 19 ถ.สาทรใต้ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ : 0 2675 5304-12 โทรสาร : 0 2675 5313 เว็บไซต์ : www.slc.ac.th

218 รายงานประจ�ำปี 2556

อธิการบดี : นางวีรา พาสพัฒนพาณิชย์ ที่ตั้ง : 1 ซ.แก่นทอง แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250 โทรศัพท์ : 0 2361 7805 0 2361 7811-3 โทรสาร : 0 2361 7806 เว็บไซต์ : www.dtc.ac.th

วิทยาลัยทองสุข (ว.ท.)

อธิการบดี : นางสาวพรจิต อรัญยกานนท์ ที่ตั้ง : 99/79 ถ.บรมราชชนนี แขวงศาลาธรรมสพม์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170 โทรศัพท์ : 0 2885 1421-4 โทรสาร : 0 2885 1428 เว็บไซต์ : www.thongsook.ac.th

วิทยาลัยเทคโนโลยีจิตรลดา (วจด.)

ที่ตั้ง : อาคาร 611 โรงเรียนจิตรลดา (สายอาชีพ) ส�ำนักพระราชวัง สนามเสือป่า แขวงจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ : 0 2282 6808 0 2282 6782 โทรสาร : 0 2282 1396


Listing วิทยาลัยเทคโนโลยีพนมวันท์ (วทพ.)

อธิการบดี : นายพิสิษฐ์ ศิริรักษ์ ที่ตั้ง : 198 ถ.มิตรภาพ ต.บ้านโพธิ์ อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30310 โทรศัพท์ : 0 4495 5121-2 โทรสาร : 0 4495 5120 เว็บไซต์ : www.phanomwan.ac.th

วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ (วทต.)

อธิการบดี : ศ.นิตย์ศรี แสงเดือน ที่ตั้ง : 124/1 ถ.เพชรเกษม (ทุ่งสง-ห้วยยอด) ต.ที่วัง อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช 80110 โทรศัพท์ : 0 7577 0136-7 โทรสาร : 0 7553 8031 เว็บไซต์ : www.sct.ac.th

วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (วทส.)

อธิการบดี : นายพรพิสุทธิ์ มงคลวนิช ที่ตั้ง : 46 ถ.จรัลสนิทวงศ์ แขวงท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ 10600 โทรศัพท์ : 0 2878 5000 โทรสาร : 0 2878 5007 0 2878 5012 เว็บไซต์ : www.siamtechu.net

วิทยาลัยนครราชสีมา (วนม.)

อธิการบดี : นายฉลอม อินทกุล ที่ตั้ง : 290 หมู่ 2 ถ.มิตรภาพ ต.บ้านใหม่ อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000 โทรศัพท์ : 0 4446 6111 โทรสาร : 0 4446 5668 เว็บไซต์ : www.nmc.ac.th

วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา (วนท.)

อธิการบดี : นางปิยะดา วรรธนะสาร ที่ตั้ง : 1 หมู่ 6 ถ.รังสิต-นครนายก ต.บึงศาล อ.องครักษ์ จ.นครนายก 26120 โทรศัพท์ : 0 3739 5311-5 โทรสาร : 0 3733 3235 เว็บไซต์ : www.stic.ac.th

วิทยาเขตสุรวงศ์

ที่ตั้ง : ชั้น 34 อาคารสกุลไทย-สุรวงศ์ ถ.สุรวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทรศัพท์ : 0 2233 1506 0 2233 2455 0 2234 5599 โทรสาร : 0 2233 1752

วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย (ว.บ.อ.)

อธิการบดี : นายกษม ชนะวงศ์ ที่ตั้ง : 179/137 ซ.ประชาราษฎร์ ถ.ประชาสโมสร อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000 โทรศัพท์ : 0 4324 6536-8 โทรสาร : 0 4324 6539 เว็บไซต์ : www.cas.ac.th

วิทยาลัยพิชญบัณฑิต (พญบ)

อธิการบดี : นายศึกษา อุ่นเจริญ ที่ตั้ง : 171/2 หมู่ 2 ถ.วิจารณ์รังสรรค์ ต.หนองบัว อ.เมือง จ.หนองบัวล�ำภู 39000 โทรศัพท์ : 0 4236 0994 โทรสาร : 0 4236 0995 เว็บไซต์ : www.pcbc.ac.th

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 219


Listing วิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ (ว.พ.น.)

วิทยาลัยสันตพล (วสพ.)

อธิการบดี : Prof.Charles Willemen ที่ตั้ง : 88 หมู่ 2 ถ.คลองแงะ-ควนสะตอ ต.ทุ่งหมอ อ.สะเดา จ.สงขลา 90240 โทรศัพท์ : 0 7453 6202-3 โทรสาร : 0 7453 6201 เว็บไซต์ : www.ibc.ac.th

อธิการบดี : นางกรรณิการ์ นันทโพธิเดช ที่ตั้ง : 299/1 ถ.อุดร-สกล ต.หนองบัว อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000 โทรศัพท์ : 0 4232 3464 โทรสาร : 0 4220 4263 เว็บไซต์ : www.stu.ac.th

วิทยาลัยราชพฤกษ์ (วรพ.)

อธิการบดี : บาทหลวงชาติชาย พงษ์ศิริ ที่ตั้ง : 20 หมู่ 6 ถ.เพชรเกษม ต.ท่าข้าม อ.สามพราน จ.นครปฐม 73110 โทรศัพท์ : 0 2429 0100-3 โทรสาร : 0 2429 0819 เว็บไซต์ : www.saengtham.ac.th

อธิการบดี : นายอณาวุฒิ ชูทรัพย์ ที่ตั้ง : 9 หมู่ 1 ถ.นครอินทร์ ต.บางขนุน อ.บางกรวย จ.นนทบุรี 11130 โทรศัพท์ : 0 2432 6100-6 โทรสาร : 0 2432 6107 เว็บไซต์ : www.rc.ac.th

วิทยาลัยลุ่มน�้ำปิง (วป.)

อธิการบดี : นายไตรรัตน์ ยืนยง ที่ตั้ง : 290 หมู่ 2 ถ.พหลโยธิน ต.หนองบัวใต้ อ.เมือง จ.ตาก 63000 โทรศัพท์ : 0 5551 5141-2 0 5551 4406 โทรสาร : 0 5551 1330 เว็บไซต์ : www.lpc.th.edu

วิทยาลัยศรีโสภณ (ว.ศส.)

อธิการบดี : นางสาวนนทพร โสภณ ที่ตั้ง : 3/3 หมู่ 5 ต.มะม่วงสองต้น อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 80000 โทรศัพท์ : 0 7535 7617-20 โทรสาร : 0 7535 7621 เว็บไซต์ : www.ssc.ac.th

220 รายงานประจ�ำปี 2556

วิทยาลัยแสงธรรม (วส.)

วิทยาลัยอินเตอร์เทคล�ำปาง (ว.อ.ท.)

อธิการบดี : นายจักรพันธ์ พรนิมิตร ที่ตั้ง : 173 ถ.พหลโยธิน ต.ชมพู อ.เมือง จ.ล�ำปาง 52100 โทรศัพท์ : 0 5423 1068-9 โทรสาร : 0 5423 1066 เว็บไซต์ : www.lit.ac.th


Listing สถาบันเอกชน สถาบันกันตนา (สกน.)

อธิการบดี : ผศ.ปนัดดา ธนสถิตย์ ที่ตั้ง : 999 หมู่ 2 ต.คลองโยง อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170 โทรศัพท์ : 0 3424 0361 - 4 0 2275 0046 # 8 โทรสาร : 0 3424 0365 เว็บไซต์ : www.kantanainstitute.ac.th

สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน (สรพ.)

อธิการบดี : รศ.เสรี พงษ์พิศ ที่ตั้ง : 13/2 หมู่ 1 ต.บางคนที อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม 75120 โทรศัพท์ : 0 3475 7452-9 โทรสาร : 0 3475 7460 เว็บไซต์ : www.life.ac.th

สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น (สทญ.)

อธิการบดี : รศ.กฤษดา วิศวธีรานนท์ ที่ตั้ง : 1771/1 ซ.พัฒนาการ 37 ถ.พัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250 โทรศัพท์ : 0 2763 2600-4 โทรสาร : 0 2763 2700 เว็บไซต์ : www.tni.ac.th

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (สจป.)

อธิการบดี : รศ.สมภพ มานะรังสรรค์ ที่ตั้ง : 85/1 ถ.แจ้งวัฒนะ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 โทรศัพท์ : 0 2832 0200-12 โทรสาร : 0 2832 0391 เว็บไซต์ : www.pim.ac.th

สถาบันเทคโนโลยียานยนต์มหาชัย (สทม.)

อธิการบดี : นายภักดี ฐานปัญญา ที่ตั้ง : 61/1 หมู่ 4 ถ.พระราม 2 ต.บางน�้ำจืด อ.เมือง จ.สมุทรสาคร 74000 โทรศัพท์ : 0 3487 4223 0 2450 3695 โทรสาร : 0 2450 3694 เว็บไซต์ : www.miat.ac.th

สถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา (สทอ.)

อธิการบดี : นายรวี งามโชคชัยเจริญ ที่ตั้ง : 109 หมู่ 5(สี่แยกทุ่งมะขามหย่อง) ต.วัดตูม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา 13000 โทรศัพท์ : 0 3571 3556-9 โทรสาร : 0 3571 3560 เว็บไซต์ : www.ayothaya.ac.th

สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ (สบจ.)

อธิการบดี : ศ.สมศักดิ์ รุจิรวัฒน์ ที่ตั้ง : 54 หมู่ 4 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์ : 0 2554 1900 โทรสาร : 0 2554 1990-1 เว็บไซต์ : www.cgi.ac.th

สถาบันรัชต์ภาคย์ (ส.รภ.)

อธิการบดี : นายราชวิกรม อาทิตย เจริญรัชต์ภาคย์ ที่ตั้ง : 68 ซ.นวศรี ถ.รามค�ำแหง 21 เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์ : 0 2319 8201-3 โทรสาร : 0 2319 6710 เว็บไซต์ : www.rajapark.ac.th

สถาบันอาศรมศิลป์ (อ.ศ.)

อธิการบดี : รศ.วีระ สัจกุล ที่ตั้ง : 399 ซ.อนามัยเจริญ 25 ถ.พระราม 2 แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150 โทรศัพท์ : 0 2490 4748-54 โทรสาร : 0 2870 7514 เว็บไซต์ : www.arsomsilp.ac.th ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 221


Listing วิทยาลัยชุมชน วิทยาลัยชุมชนตราด

ผู้อำ� นวยการ : นางกรรณิกา สุภาภา ที่ตั้ง : 64/1 หมู่ 2 ถ.ตราด-คลองใหญ่ ต.เนินทราย อ.เมือง จ.ตราด 23000 โทรศัพท์ : 0 3967 1887 โทรสาร : 0 3967 1888 เว็บไซต์ : www.tratcc.ac.th

วิทยาลัยชุมชนตาก

ผู้อำ� นวยการ : นายศิริชัย เทียนทอง (รก.) ที่ตั้ง : หมู่ 1 ถ.พหลโยธิน ต.หนองบัวใต้ อ.เมือง จ.ตาก 63000 โทรศัพท์ : 0 55897060-1 โทรสาร : 0 5589 7063 เว็บไซต์ : www.takcc.ac.th

วิทยาลัยชุมชนนราธิวาส

ผู้อำ� นวยการ : นายไสว ชินพงษ์ ที่ตั้ง : 223 หมู่ 10 ถ.สุรยิ ะประดิษฐ์ ต.ล�ำภู อ.เมือง จ.นราธิวาส 96000 โทรศัพท์ : 0 7364 2721-2 โทรสาร : 0 7364 2723 เว็บไซต์ : www.ncc.ac.th

วิทยาลัยชุมชนน่าน

ผู้อำ� นวยการ : นายฌัชชภัทร พานิช ที่ตั้ง : 10 หมู่ 5 ถ.ยันตรกิจโกศล ต�ำบลดู่ใต้ อ�ำเภอเมือง จังหวัดน่าน 55000 โทรศัพท์ : 0 5471 1229 โทรสาร : 0 5471 1229 เว็บไซต์ : www.nancc.ac.th

วิทยาลัยชุมชนบุรีรัมย์

ผู้อำ� นวยการ : นายสุรศักดิ์ ศรีสว่างรัตน์ ที่ตั้ง : 182 หมู่ 1 ถ.บุรีรัมย์-สตึก ต.บัวทอง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ 31000 โทรศัพท์ : 0 4461 5128 โทรสาร : 0 4461 5129 เว็บไซต์ : www.brcc.ac.th 222 รายงานประจ�ำปี 2556

วิทยาลัยชุมชนปัตตานี

ผู้อ�ำนวยการ : นายวิชาพร ชินประพัทธ์ ที่ตั้ง : 2 ถ.ปากน�ำ้ ต.รูสะมิแร อ.เมือง จ.ปัตตานี 94000 โทรศัพท์ : 0 7346 0205 โทรสาร : 0 7346 0061 เว็บไซต์ : www.pncc.ac.th

วิทยาลัยชุมชนพังงา

ผู้อ�ำนวยการ : นายมานิต วิมุตติสุข ที่ตั้ง : หมู่ 6 ต.บ่อแสน อ.ทับปุด จ.พังงา 82180 โทรศัพท์ : 0 7659 9014 โทรสาร : 0 7659 9214 เว็บไซต์ : www.pngcc.ac.th

วิทยาลัยชุมชนพิจิตร

ผู้อ�ำนวยการ : นายบรรจง พงษ์ประเสริฐ ที่ตั้ง : 150 หมู่ 6 ต.ท่าบัว อ.โพทะเล จ.พิจิตร 66130 โทรศัพท์ : 0 5665 9180 โทรสาร : 0 5665 9180 # 107 เว็บไซต์ : www.pcc.ac.th

วิทยาลัยชุมชนแพร่

ผู้อ�ำนวยการ : นายบุญญพัฒน์ นามวงค์พรหม (รก.) ที่ตั้ง : 33/13 ถ.คุ้มเดิม ต.ในเวียง อ.เมือง จ.แพร่ 54000 โทรศัพท์ : 0 5453 2191 โทรสาร : 0 5453 2192 เว็บไซต์ : www.phr.ac.th

วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร

ผู้อ�ำนวยการ : นางอัญญา ทวีโคตร ที่ตั้ง : 30 ซ.ค่ายลูกเสือ ถ. พิทักษ์พนมเขต อ.เมือง จ.มุกดาหาร 49000 โทรศัพท์ : 0 4261 2596-9 โทรสาร : 0 4261 5197 เว็บไซต์ : www.mukcc.ac.th


Listing วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน

ผู้อ�ำนวยการ : นายคมสัน คูสินทรัพย์ ที่ตั้ง : 36 ถ.ปางล้อนิคม ต.จองค�ำ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน 58000 โทรศัพท์ : 0 5369 5438 โทรสาร : 0 5369 5439 เว็บไซต์ : www.mcc.ac.th

วิทยาลัยชุมชนยโสธร

ผู้อ�ำนวยการ : นายศิลป์ ชื่นนิรันดร์ ที่ตั้ง : บ้านบาก หมู่ 11 ถ.แจ้งสนิท ต.ส�ำราญ อ.เมือง จ.ยโสธร 35000 โทรศัพท์ : 0 4558 6295 โทรสาร : 0 4558 6296 เว็บไซต์ : www.yasocc.ac.th

วิทยาลัยชุมชนยะลา

ผู้อ�ำนวยการ : นายจรูญ พรหมสุข ที่ตั้ง : 2 ถ.สุขยางค์ 1 ต.สะเตง อ.เมือง จ.ยะลา 95000 โทรศัพท์ : 0 7321 6646 โทรสาร : 0 7321 6648 เว็บไซต์ : www.ycc.ac.th

วิทยาลัยชุมชนระนอง

ผู้อ�ำนวยการ : นายปรีชา หนูน้อย ที่ตั้ง : 2/4 หมู่ 1 ถ.เพชรเกษม ต.บางริ้น อ.เมือง จ.ระนอง 85000 โทรศัพท์ : 0 7782 1068 โทรสาร : 0 7782 3326 เว็บไซต์ : www.ranong-cc.ac.th

วิทยาลัยชุมชนสงขลา

ผู้อำ� นวยการ : นายนิยม ชูชื่น ที่ตั้ง : (บริเวณที่ว่าการอ�ำเภอเทพา) ต.เทพา อ.เทพา จ.สงขลา 90150 โทรศัพท์ : 0 7437 6667 โทรสาร : 0 7437 6665 เว็บไซต์ : www.sk-cc.ac.th

วิทยาลัยชุมชนสตูล

ผู้อำ� นวยการ : นายน�ำชัย กฤษณาสกุล ที่ตั้ง : 271 หมู่ 4 ต.เกตรี อ.เมือง จ.สตูล 91000 โทรศัพท์ : 0 7471 1958 โทรสาร : 0 7477 2116 เว็บไซต์ : www.stcc.ac.th

วิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร

ผู้อำ� นวยการ : นายวีระชัย กวีธีระวัฒน์ ที่ตั้ง : 101 หมู่ 9 กระซ้าขาว ต.บ้านบ่อ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร 74000 โทรศัพท์ : 0 3445 0001-2 โทรสาร : 0 3445 0003 เว็บไซต์ : www.smkcc.ac.th

วิทยาลัยชุมชนสระแก้ว

ผู้อำ� นวยการ : นายศิระพจน์ จริยาวุฒิกุล ที่ตั้ง : หมู่ 3 ถ.สุวรรณศร ต.ท่าเกษม อ.เมือง จ.สระแก้ว 27000 โทรศัพท์ : 0 3742 5487-9 โทรสาร : 0 3742 5291 เว็บไซต์ : www.skcc.ac.th

วิทยาลัยชุมชนหนองบัวล�ำภู

ผู้อ�ำนวยการ : นายพงษ์ศักดิ์ ศรีวรกุล ที่ตั้ง : 199 หมู่ 1 ต.บ้านพร้าว อ.เมือง จ.หนองบัวล�ำภู 39000 โทรศัพท์ : 0 4294 1101 โทรสาร : 0 4294 1101 เว็บไซต์ : www.nbcc.ac.th

วิทยาลัยชุมชนอุทัยธานี

ผู้อำ� นวยการ : ผศ.สมภพ เจิมขุนทด ที่ตั้ง : 7 หมู่ 2 ถ.บ้านไร่-ลานสัก ต.ห้วยแห้ง อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี 61140 โทรศัพท์ : 0 5653 9204 โทรสาร : 0 5653 9205 เว็บไซต์ : www.uthai-cc.ac.th

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 223


วันสถาปนาสถาบันอุดมศึกษาในก�ำกับของรัฐ สถาบันอุดมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุร ี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

วันสถาปนาสถาบัน

มีฐานะเป็นสถาบัน อุดมศึกษาในกำ�กับของรัฐ

26 มีนาคม 2459 24 มกราคม 2508 1 ตุลาคม 2511 4 กุมภาพันธ์ 2503 19 กุมภาพันธ์ 2502 8 กรกฎาคม 2498 2 มีนาคม 2512 13 กันยายน 2439 16 กันยายน 2436 24 สิงหาคม 2503

6 กุมภาพันธ์ 2551 6 มีนาคม 2551 5 กุมภาพันธ์ 2551 7 มีนาคม 2541 26 ธันวาคม 2550 9 มกราคม 2551 16 ตุลาคม 2550 1 ตุลาคม 2540 1 ตุลาคม 2540 7 มีนาคม 2551

วันที่จัดตั้งเป็นสถาบันอุดมศึกษาในก�ำกับของรัฐ สถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสรุ นารี มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยแม่ฟา้ หลวง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สถาบันดนตรีกลั ยาณิวฒ ั นา

224 รายงานประจ�ำปี 2556

วันจัดตั้ง

27 กรกฎาคม 2533 12 พฤศจิกายน 2553 17 กรกฎาคม 2553 25 กันยายน 2541 29 มีนาคม 2535 25 พฤษภาคม 2555


วันสถาปนาสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดของรัฐ

สถาบันอุดมศึกษา

วันสถาปนา

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มหาวิทยาลัยราชภัฏ

2 กุมภาพันธ์ 2486 25 มกราคม 2509 27 มิถนุ ายน 2477 2 กันยายน 2548 (มีผลตามพ.ร.บ.) 9 กุมภาพันธ์ 2548 (มีผลตามพ.ร.บ.) 29 กรกฎาคม 2533 9 ธันวาคม 2537 7 มิถนุ ายน 2475 26 พฤศจิกายน 2518 28 เมษายน 2492 12 ตุลาคม 2486 13 มีนาคม 2511 5 กันยายน 2521 30 กรกฎาคม 2533 1 สิงหาคม 2475 1 เมษายน 2509 19 มกราคม 2548 * 15 มิถนุ ายน 2547 **

*สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล 39 แห่ง ทั่วประเทศ หลอมรวมเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง และมีสถานภาพเป็นนิติบุคคล ในวันที่ 19 มกราคม 2548 ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ.2548 **สถาบันราชภัฏ ทั้ง 40 แห่งทั่วประเทศ เปลี่ยนสถานภาพเป็นนิติบุคคล ในวันที่ 15 มิถุนายน 2547 ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย ราชภัฏ พ.ศ.2547 ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 225


วันที่ได้รับจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน สถาบันอุดมศึกษา

วันจัดตั้ง วันเปลี่ยนประเภท วันที่เปลี่ยนชื่อ

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 28 พฤษภาคม 2513 มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุร ี 28 มกราคม 2545 มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอสี เทิรน์ 26 กุมภาพันธ์ 2542 (วิทยาลัยโปลีเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดิม) มหาวิทยาลัยเกริก 28 พฤษภาคม 2513 มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 24 กุมภาพันธ์ 2530 มหาวิทยาลัยคริสเตียน 7 กันยายน 2526 มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา 31 มีนาคม 2541 มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา 1 มิถนุ ายน 2547 มหาวิทยาลัยชินวัตร 27 ธันวาคม 2542 มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น 5 มกราคม 2532 มหาวิทยาลัยตาปี 26 กุมภาพันธ์ 2542 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร 27 กุมภาพันธ์ 2533 มหาวิทยาลัยธนบุร ี 27 มีนาคม 2541 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 28 พฤษภาคม 2513 มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ 31 ตุลาคม 2543 มหาวิทยาลัยนอร์ท - เชียงใหม่ 13 กันยายน 2542 มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด 29 พฤศจิกายน 2538 (มหาวิทยาลัยนานาชาติชลิ เลอร์-แสตมฟอร์ด เดิม) มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟกิ 25 มีนาคม 2529 (วิทยาลัยมิชชัน เดิม) มหาวิทยาลัยเนชัน่ 12 มกราคม 2531 (มหาวิทยาลัยโยนก เดิม) มหาวิทยาลัยปทุมธานี 27 ธันวาคม 2542 มหาวิทยาลัยพายัพ 21 มีนาคม 2517

226 รายงานประจ�ำปี 2556

24 ตุลาคม 2527 11 มิถนุ ายน 2552 21 กรกฎาคม 2552 7 กุมภาพันธ์ 2538 29 มกราคม 2536 15 สิงหาคม 2544 - 14 มกราคม 2557 - 19 มีนาคม 2539 31 กรกฎาคม 2555 30 มีนาคม 2537 16 มกราคม 2550 24 ตุลาคม 2527 22 มิถนุ ายน 2553 26 พฤษภาคม 2547 14 กุมภาพันธ์ 2546

21 กรกฎาคม 2552 -

30 มิถนุ ายน 2552 23 สิงหาคม 2549

30 มิถนุ ายน 2552 15 ธันวาคม 2554

26 พฤษภาคม 2547

13 พฤษภาคม 2548 25 กรกฎาคม 2527

-


สถาบันอุดมศึกษา

มหาวิทยาลัยพิษณุโลก มหาวิทยาลัยฟาฏอนี (มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา เดิม) มหาวิทยาลัยฟาร์อสี เทอร์น มหาวิทยาลัยภาคกลาง มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชธานี (วิทยาลัยเทคโนโลยีราชธานี เดิม) มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล มหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์(ประเทศไทย) มหาวิทยาลัยเวสเทิรน์ (มหาวิทยาลัยณิวฒ ั นา เดิม) มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยสยาม (มหาวิทยาลัยเทคนิคสยาม เดิม) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (วิทยาลัยการค้า เดิม) มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ (วิทยาลัยเมืองหาดใหญ่ เดิม) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มหาวิทยาลัยอีสเทิรน์ เอเชีย มหาวิทยาลัยอีสาน (วิทยาลัยบัณฑิตบริหารธุรกิจ เดิม)

วันจัดตั้ง วันเปลี่ยนประเภท วันที่เปลี่ยนชื่อ 19 เมษายน 2544 3 เมษายน 2541

6 พฤษภาคม 2554 14 มิถนุ ายน 2550 31 ตุลาคม 2556

27 ธันวาคม 2542 13 กุมภาพันธ์ 2529 8 มีนาคม 2531 25 มกราคม 2528 18 ธันวาคม 2540 29 เมษายน 2536

20 เมษายน 2549 31 ตุลาคม 2545 27 ธันวาคม 2542 31 กรกฎาคม 2533 24 มิถนุ ายน 2546 25 กันยายน 2546

- 25 กันยายน 2546

2 มีนาคม 2527 18 ธันวาคม 2540 18 มิถนุ ายน 2540

10 ตุลาคม 2537 - -

16 สิงหาคม 2547

28 พฤษภาคม 2513 6 พฤศจิกายน 2530 28 กันยายน 2516 5 กันยายน 2529 5 กันยายน 2529 17 มิถนุ ายน 2513

24 ตุลาคม 2527

24 ตุลาคม 2527

17 ธันวาคม 2524 11 มีนาคม 2535 9 เมษายน 2540 30 พฤษภาคม 2546

30 พฤษภาคม 2546

16 มิถนุ ายน 2515 22 พฤษภาคม 2533 16 เมษายน 2539 - 28 มกราคม 2545 9 กันยายน 2552

- 9 กันยายน 2552

(เพิกถอนใบอนุญาต ตัง้ แต่วนั ที่ 31 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป)

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 227


วันที่ได้รับจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

สถาบันอุดมศึกษา

มหาวิทยาลัยเอเชียน (มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งเอเชีย เดิม) มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูม ิ วิทยาลัยเฉลิมกาญจนาระยอง วิทยาลัยเชียงราย (วิทยาลัยกรุงธนเชียงราย เดิม) วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ (วิทยาลัยพยาบาลเซนต์หลุยส์ เดิม) วิทยาลัยเซาธ์อสี ท์บางกอก วิทยาลัยดุสติ ธานี วิทยาลัยทองสุข วิทยาลัยเทคโนโลยีพนมวันท์ วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม วิทยาลัยเทคโนโลยีราชธานีอดุ ร วิทยาลัยนครราชสีมา วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา (วิทยาลัยเซนต์เทเรซา-อินติ เดิม) วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย วิทยาลัยพิชญบัณฑิต วิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ วิทยาลัยราชพฤกษ์ วิทยาลัยลุม่ น�ำ้ ปิง

228 รายงานประจ�ำปี 2556

วันจัดตั้ง วันเปลี่ยนประเภท วันที่เปลี่ยนชื่อ 18 มิถนุ ายน 2540

-

6 พฤศจิกายน 2549

6 สิงหาคม 2516 22 กุมภาพันธ์ 2549 16 มกราคม 2550 18 กรกฎาคม 2546

5 มีนาคม 2535 - - -

30 ธันวาคม 2547

1 มิถนุ ายน 2528 26 พฤศจิกายน 2542 26 พฤศจิกายน 2542 - 29 มีนาคม 2542 - 30 พฤษภาคม 2539 - 10 ตุลาคม 2537 21 พฤศจิกายน 2550 - - 27 ธันวาคม 2542 - 28 ธันวาคม 2548 3 กันยายน 2541 (รวมกิจการกับมหาวิทยาลัยราชธานี เมือ่ วันที่ 16 มกราคม 2549) 4 พฤษภาคม 2547 - 3 เมษายน 2544 - 11 มิถนุ ายน 2553 26 กุมภาพันธ์ 2542 17 พฤศจิกายน 2551 25 กันยายน 2546 20 เมษายน 2549 3 ธันวาคม 2540

- - - - -

-


สถาบันอุดมศึกษา

วันจัดตั้ง วันเปลี่ยนประเภท วันที่เปลี่ยนชื่อ

วิทยาลัยศรีโสภณ วิทยาลัยสันตพล วิทยาลัยแสงธรรม วิทยาลัยอินเตอร์เทคล�ำปาง สถาบันกันตนา สถาบันการเรียนรูเ้ พือ่ ปวงชน สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญีป่ นุ่ สถาบันเทคโนโลยีปญ ั ญาภิวฒ ั น์ สถาบันเทคโนโลยียานยนต์มหาชัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ สถาบันรัชต์ภาคย์ (วิทยาลัยรัชต์ภาคย์ เดิม) สถาบันอาศรมศิลป์

25 กรกฎาคม 2527 - 1 กรกฎาคม 2541 - 19 เมษายน 2519 - 6 พฤษภาคม 2547 - 21 กรกฎาคม 2553 - - 31 สิงหาคม 2553 - 29 กันยายน 2549 - 9 มีนาคม 2550 - 31 กรกฎาคม 2555 - 16 มกราคม 2550 - 28 ธันวาคม 2548 29 เมษายน 2536 12 พฤษภาคม 2553 - 17 ตุลาคม 2549

-

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 229


230 รายงานประจ�ำปี 2556


ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 231


ขอบคุณทุกสวนภาค ที่รวมสรางอุดมศึกษาไทยใหยั่งยืน

รายงานประจำป 2556 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดพิมพเผยแพร พุทธศักราช 2557 จำนวน 3,000 เลม ISBN 978-616-202-891-5 232 รายงานประจ� ำปี 2556




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.