อนุสารอุดมศึกษา issue 405

Page 1

อุ ด มศึ ก ษา อนุสาร

ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔๐๕ ประจำเดือนมีนาคม ๒๕๕๕ เอกสารเผยแพร่ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ISSN 0125-2461

อนุสารอุดมศึกษาออนไลน์ www.mua.go.th/pr_web

International Asia-Europe Conference on Enhancing Balanced Mobility


อุดมศึกษา

อนุสาร

ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔๐๕ ประจำเดือนมีนาคม ๒๕๕๕

สารบัญ เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย รมว. ศธ. ให้นโยบายงบประมาณ ประจำปี ๒๕๕๖ ๓ สกอ. แนะนำจัดการศึกษานอกที่ตั้งได้มาตรฐาน ๔ คุ้มครองผู้บริโภค เลขาธิการ กกอ. หวัง นศ.ทุนเอสโซ่ นำความสำเร็จสู่ชีวิต ๕ เลขาธิการ กกอ. หวัง นศ.ปรับตัว สู่การเป็นประชาคมอาเซียน ๖ สกอ. หารือร่วมสถาบันอุดมศึกษา ๔ กลุ่ม ๗ ปรับเวลาเปิดภาคเรียนตามระบบสากล สกอ. จัดประกวดการพัฒนาความเป็นนานาชาติ ๘ ของสถาบันอุดมศึกษา สกอ. สานต่อโครงการเชื่อมสัมพันธ์ไทย-ลาว ครั้งที่ ๒ ๙

เรื่องเล่าอาเซียน

การเกิดประชาคมอาเซียนกับการศึกษาของประเทศไทย (๖)

เรื่องพิเศษ

๑๐

ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖

๑๒

พูดคุยเรื่องมาตรฐาน

๑๔

การพัฒนาความเป็นนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษา

เรื่องแนะนำ ตรวจสอบก่อนตัดสินใจ

๑๖

เหตุการณ์เล่าเรื่อง International Asia - Europe Conference on

๑๘

Enhancing Balanced Mobility

เล่าเรื่องด้วยภาพ

๒๑

คณะผู้จัดทำ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๒๖ เว็บไซต์ http://www.mua.go.th อีเมล์ pr_mua@mua.go.th นายอภิชาติ จีระวุฒิ รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติยกวี นางวราภรณ์ สีหนาท นายศิระวิทย์ คลี่สุวรรณ ที่ปรึกษา บรรณาธิการ นายกฤษณ์กร วงศ์ไทย กองบรรณาธิการ นางสาวปิยาณี วิริยานนท์ นางชุลีกร กิตติก้อง นายเจษฎา วณิชชากร นางปราณี ชื่นอารมณ์ นายพรชัย สิทธินันทน์ นายจรัส เล็กเกาะทวด บริษัท ออนป้า จำกัด ผู้พิมพ์


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

รมว.ศธ. ให้

นโยบายงบประมาณ

ประจำปี ๒๕๕๖

๖ มีนาคม ๒๕๕๕ - สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดประชุมมอบนโยบายในการจัดทำงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๖ เพื่อให้ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และผู้บริหารและ

เจ้ า หน้ า ที ่ ข องสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาในสั ง กั ด และในกำกั บ ได้ ร ั บ ทราบนโยบายในการจั ด ทำงบประมาณรายจ่ า ยประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖ ของกระทรวงศึกษาธิการ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการอุดมศึกษา และสามารถนำไปใช้เป็นแนวทาง

ในการจั ด ทำและการบริ ห ารจั ด การงบประมาณรายจ่ า ยประจำปี ง บประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖ ให้ ส อดคล้ อ งกั บ ยุ ท ธศาสตร์

การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖ และสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีเปิดและมอบนโยบาย ณ โรงแรม ปรินซ์พาเลซ ศาสตราจารย์สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวในการเปิดประชุมว่า ในกระบวนการจัดทำ งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๖ นอกจากส่วนราชการจะต้องเตรียมความพร้อมเบื้องต้น โดยทบทวนผล การดำเนินงาน และผลการใช้จ่ายงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ และ ๒๕๕๕ แล้ว ส่วนราชการยังต้องรับมอบ นโยบายจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัด เพื่อจัดทำเป้าหมายและยุทธศาสตร์กระทรวงที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ รายจ่ า ยประจำปี ง บประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๖ เพื ่ อ พิ จ ารณาจั ด ทำรายละเอี ย ดวงเงิ น และคำของบประมาณรายจ่ า ยประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๖ ด้วย “ทั้งนี้ ขอให้สถาบันอุดมศึกษาจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยยึดตาม นโยบายของกระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร ในส่ ว นของอุ ด มศึ ก ษาเป็ น แนวทาง รวมทั้ ง การคำนึ ง ถึ ง ความสอดรั บ กั บ ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๖ และการวิเคราะห์ความเชื่อมโยงทาง ยุทธศาสตร์ ตลอดจนเป้าหมายการให้บริการด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้กระบวนการจัดการงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน สามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมต่อประเทศชาติ ตามแนวนโยบายของรัฐบาลต่อไป” รมว.ศธ. กล่าวในตอนท้าย อนุสารอุดมศึกษา

3


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

สกอ. แนะนำจัด การศึกษา

นอกที่ตั้ง ได้ม าตรฐาน

คุ้มครองผู้บริโภค

๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ - นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวถึงกรณีนักศึกษาหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม จำนวน ๑๘ คน ร้องขอความเป็นธรรมต่อรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ กรณีมหาวิทยาลัยบริหารงานผิดพลาดจนส่งผลให้นักศึกษาหลักสูตรดังกล่าว ซึ่งจบการศึกษาแล้วไม่ได้รับใบ อนุ ญ าตประกอบวิ ช าชี พ ครู จ ากคุ ร ุ ส ภา ว่ า มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ จั นทรเกษมได้ เปิ ด หลั ก สู ต รดั ง กล่ า ว ณ ศู น ย์ ก ารศึ ก ษา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม-ชัยนาท ก่อนประกาศกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งของสถาบัน อุดมศึกษาของรัฐ พ.ศ. ๒๕๕๒ อย่างไรก็ตาม เมื่อประกาศดังกล่าวมีผลบังคับใช้ในปี ๒๕๕๒ มหาวิทยาลัยได้แจ้งการจัดการ ศึกษานอกสถานที่ตั้งเพื่อให้ สกอ. รับทราบ จำนวน ๓ แห่ง คือ ศูนย์โรงเรียนสหพาณิชย์บริหารธุรกิจ กรุงเทพฯ จำนวน ๗ หลักสูตร ศูนย์โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ จำนวน ๗ หลักสูตร และศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม-ชัยนาท จั ง หวั ด ชั ย นาท จำนวน ๔ หลั ก สู ต ร คื อ ๑) ศิ ล ปศาสตรบั ณฑิ ต สาขาวิ ช ารั ฐ ประศาสนศาสตร์ ๒) นิ ต ิ ศ าสตรบั ณฑิ ต ๓) บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และ ๔) บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป โดยไม่ได้แจ้งการ เปิ ด สอนหลั ก สู ตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู ที่ ศู น ย์ ก ารศึ ก ษามหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ จั นทรเกษม-ชั ย นาท หลักสูตร

ดังกล่าวจึงไม่อยู่ในกระบวนการรับทราบจาก สกอ. และมีผลกระทบต่อผู้สำเร็จการศึกษาตามที่เป็นข่าว “จากการหารือร่วมกับรักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมและคณะ เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา สกอ. ได้ขอให้มหาวิทยาลัยต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย และกระบวนการรับทราบการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งต่อไป โดยดำเนินการตามข้อสังเกตในประเด็นที่ผู้ทรงคุณวุฒิไปตรวจเยี่ยมในปี ๒๕๕๔ ให้ไว้ โดยเฉพาะการนำเรื่องการจัดการศึกษานอก สถานที่ตั้งให้สภามหาวิทยาลัยพิจารณาทบทวนเหตุผลความจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนนอกสถานที่ตั้งอีกครั้งหนึ่ง ซึ่ง สกอ. จะได้เดินทางไปทำการตรวจประเมินการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง ประจำปี ๒๕๕๕ ต่อไป” เลขาธิการ กกอ. กล่าว เลขาธิการ กกอ. กล่าวในตอนท้ายว่า สถาบันอุดมศึกษาใดที่มีการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง และมิได้ดำเนินการตาม ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง และประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการพิจารณาประเมินคุณภาพการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๒ ให้เร่ง ตรวจสอบและดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อมิให้เกิดปัญหาเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ซึ่ง สกอ. พร้อม ให้คำแนะนำให้ดำเนินการให้ถูกต้อง ทั้งนี้ เพื่อการธำรงรักษาไว้ซึ่งคุณภาพมาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษาและ เป็นการคุ้มครองผู้เรียนต่อไป

4

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

เลขาธิการ กกอ. หวัง นศ. ทุนเอสโซ่ นำความสำเร็ จ สู่ ชี วิ ต ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ - สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมกับบริษทั เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกั ด (มหาชน) จั ด พิ ธ ี ม อบทุ นการศึ ก ษาเอสโซ่ สมโภชกรุ ง รั ต นโกสิ นทร์ ๒๐๐ ปี ณ สำนั ก งานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา โดยได้รับเกียรติจากนายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และมิสเตอร์ ซี จอห์น อัทนัส ประธาน กรรมการและกรรมการผู้จัดการ บริษัทเอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นประธานร่วมในการมอบทุนการศึกษาให้แก่นิสิต

นักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และนางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะ กรรมการการอุดมศึกษา เข้าร่วมในพิธี นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวให้โอวาทแก่นิสิตนักศึกษาที่ได้รับทุนการศึกษาว่า ขอให้นิสิต นักศึกษาทุกคนภูมิใจที่ได้รับการคัดเลือกให้รับทุนการศึกษา บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุนนี้ จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้รับทุนสามารถศึกษาเล่าเรียนได้อย่างต่อเนื่อง และนำความสำเร็จมาสู่ชีวิต พร้อมกันนี้ขอให้นิสิต

นักศึกษาตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ทั้งด้านวิชาการ การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย รวมทั้งประพฤติปฏิบัติตนในทางที่ถูกที่ควร รู้จัก ใช้จ่ายทุนการศึกษาอย่างประหยัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการศึกษา และขอให้ใช้ความรู้ความสามารถที่มีให้เกิด ประโยชน์ ต่ อ ตนเองและทำประโยชน์ คื น สู่ สั ง คมในอนาคต เพื่ อ เป็ น พลเมื อ งดี ข องประเทศชาติ ต่ อ ไป ทั ้ ง นี ้ สำนั ก งาน

คณะกรรมการการอุดมศึกษาต้องขอขอบคุณ บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ที่ได้เล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญ ของการศึกษาในระดับอุดมศึกษา โดยให้ความช่วยเหลือ ส่งเสริมสนับสนุนด้านทุนการศึกษาอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งนับเป็นการอำนวยประโยชน์แก่นิสิตนักศึกษาที่ได้รับทุนให้ได้มีโอกาสศึกษาในระดับอุดมศึกษา สำหรับในปีการศึกษา ๒๕๕๔ บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ได้เพิ่มเงินทุนการศึกษาสมทบเข้ากองทุนการศึกษา เอสโซ่ สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี จำนวนเงิน ๘๔๐,๐๐๐ บาท โดยจัดสรรเป็นทุนการศึกษาจำนวน ๘๐ ทุน ๆ ละ ๑๐,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นการร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ ให้แก่นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีผลการเรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ จากสถาบันอุดมศึกษาใน

ส่วนกลาง จำนวน ๒๔ ทุน และในส่วนภูมิภาค จำนวน ๕๖ ทุน ให้ได้มีกำลังใจในการศึกษาเล่าเรียน พร้อมที่จะเป็นบัณฑิตที่มี คุณภาพ เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

อนุสารอุดมศึกษา

5


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

เลขาธิการ กกอ. หวัง นศ. ปรั บ ตั ว สู่การเป็นประชาคมอาเซียน ๒๑ กุ ม ภาพั น ธ์ ๒๕๕๕ - สำนั ก งานคณะกรรมการการ อุ ด มศึ ก ษา ร่ ว มกั บ เครื อ ข่ า ยอุ ด มศึ ก ษาภาคกลางตอนบน และ มหาวิ ท ยาลั ย ศรี ป ทุ ม จั ด การแข่ ง ขั นตอบปั ญ หาอาเซี ย นระดั บ อุดมศึกษา สำหรับนิสิตนักศึกษาของเครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลาง ตอนบน ณ มหาวิ ท ยาลั ย ศรี ป ทุ ม โดยนายอภิ ช าติ จี ร ะวุ ฒ ิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวในตอนหนึ่งของพิธี เปิดการแข่งขัน ว่า เจตนารมณ์ของการจัดการแข่งขันตอบปัญหา อาเซียนระดับอุดมศึกษา เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการตระหนัก เข้าใจ และรับรู้ถึงความสำคัญของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน รวมทั้งให้ สถาบั น เครื อ ข่ า ยอุ ด มศึ ก ษาภาคกลางตอนบน ได้ ร ่ ว มประกาศ เจตนารมณ์และรวมพลังในการขับเคลื่อนการพัฒนานิสิตนักศึกษา สู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยสอดคล้องกับนโยบายและ ยุทธศาสตร์ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนานิสิตนักศึกษาในสถาบัน อุดมศึกษาของสานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ที่มุ่งพัฒนา ศักยภาพนิสิตนักศึกษา ให้เป็นนิสิตที่มีความสมบูรณ์พร้อมทั้งทาง ด้านร่างกาย จิตใจ และความรู้ความสามารถทางวิชาการ เพื่อรับใช้ สังคมและประเทศชาติต่อไป “การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทำให้เกิดการเคลื่อนย้าย สิ นค้ า การบริ ก าร การลงทุ น เงิ นทุ น และแรงงานในประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนอย่างเต็มที่ ผู้ที่ปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง ได้อย่างรวดเร็วจะได้รับประโยชน์มากกว่า นิสิตนักศึกษาเป็นอีก กลุ่มหนึ่งที่ต้องเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่การเป็นประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน ดังนั้น การแข่งขันในวันนี้เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วย สร้างความตระหนักรู้ให้นิสิตนักศึกษาที่เข้าร่วมการแข่งขัน ได้รับรู้ถึง ความสำคั ญ ของประชาคมเศรษฐกิ จ อาเซี ย น” เลขาธิ ก าร กกอ. กล่าว สำหรับการแข่งขันครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้น ๑๐๘ ทีม รวม จำนวน ๒๑๖ คน จากสถาบันอุดมศึกษา ๔๒ แห่ง ซึง่ นายธีรนันทน์ ผิ ว นิ ล และนางสาวรั ช นี สั ง ข์ ท อง จากที ม AI มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ เป็นผู้ชนะเลิศได้รับโล่เกียรติยศ จากรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ และเงินรางวัล จำนวน ๓๐,๐๐๐ บาท

6

อนุสารอุดมศึกษา


สกอ. หารือร่วมสถาบันอุดมศึกษา ๔ กลุ่ม ปรับเวลาเปิดภาคเรียนตามระบบสากล ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ - สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดการประชุมหารือ เรื่องการปรับเวลาเปิดและปิดภาคเรียน โดยมีรองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ศาสตราจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์ ประธานที่ ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย รองศาสตราจารย์นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ ประธานคณะกรรมการอธิการบดีมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคล และผู้ช่วยศาสตราจารย์ประดิษฐ์ เถกิงรังสฤษฏ์ นายกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย

เข้าร่วมหารือ ณ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยรองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการ อุดมศึกษา เปิดเผยหลังการหารือว่า จากการที่ประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งส่งผลให้เกิดเสรีทางการค้า ตลาดแรงงาน และการศึกษา ดังนั้น ทุกภาคส่วนได้มีการกำหนดนโยบายเพื่อเตรียมความพร้อมในเรื่องดังกล่าว สำหรับกระทรวง ศึกษาธิการได้กำหนดนโยบายรองรับในการก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนไว้หลายประการ เช่น การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับ อาเซียน การเตรียมความพร้อมทางด้านภาษาของนักเรียนและบุคลากร การส่งเสริมแลกเปลี่ยนนักเรียน/นักศึกษา/บุคลากร โดยเฉพาะ การเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดเสรีทางการศึกษา ทำให้เกิดความตื่นตัวเพื่อเตรียมความพร้อมตามนโยบายดังกล่าว รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า การพิจารณาปรับเวลาเปิดและปิดภาคเรียน เพื่อให้สอดคล้องกันทั้งภายในอาเซียนและสากล ถือเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ดังนั้น สกอ. ในฐานะหน่วยงานกลาง จึงได้ร่วม หารือกับผู้แทนกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาในสังกัด ๔ กลุ่ม ทั้งมหาวิทยาลัยรัฐ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

ราชมงคล และมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยมีความเห็นร่วมกันในหลักการว่ามีแนวโน้มที่จะปรับเวลาเปิดและปิดภาคเรียน จากเดิม

มาเปิดภาคเรียนในช่วงเวลาประมาณ ๑๕ สิงหาคม - ๑๕ กันยายน ซึง่ สอดคล้องกับระบบสากล และเอือ้ ให้เกิดประโยชน์ตอ่ การพัฒนา อุดมศึกษา การพัฒนาคุณภาพบัณฑิตโดยรวม และเพิ่มโอกาสในการแลกเปลี่ยนบุคลากรและนักศึกษาให้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ จะดำเนินการปรับเวลาเปิดและปิดภาคเรียนแบบค่อยเป็นค่อยไปตามความพร้อมของแต่ละสถาบันหรือหลักสูตร โดยคาดว่าน่า จะพร้อมกันทั้งหมดได้ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ “การปรับเวลาเปิดและปิดภาคเรียนจะไม่มีผลกระทบต่อนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือนักศึกษาระดับ อาชี ว ศึ ก ษา แม้ ว่ า จะมี ค วามห่ า งของระยะเวลาในการเปิ ด และปิ ด ภาคเรี ย นมากขึ้ น แต่ จ ะเป็ น ประโยชน์ แ ก่ นั ก เรี ย น

นักศึกษา โดยเฉพาะนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ สามารถใช้เวลาในห้องเรียนได้เต็มที่มากยิ่งขึ้น ไม่ต้องเร่งเตรียมตัว เพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัย นอกจากนี้ช่องว่างของช่วงเวลาที่เกิดขึ้น สถาบันอุดมศึกษาสามารถใช้สำหรับเตรียมความพร้อม ให้นักศึกษาในการเข้าสู่ระบบอุดมศึกษา พัฒนาทักษะด้านภาษา หรือพัฒนาทักษะด้านอื่นๆ เพิ่มเติมให้แก่นักศึกษาได้” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อไปว่า ที่ประชุมยังเห็นว่าน่าจะใช้โอกาสนี้ ในการพัฒนาระบบการรับนักศึกษา ทั้งระบบกลาง (Admissions) และระบบรับตรง ให้เกิดความเท่าเทียม เป็นธรรม ประหยัด เนื่องจากในปัจจุบันมีการเปิดสอบที่หลากหลายมากส่งผล ให้นักเรียนที่ด้อยโอกาสเสียเปรียบ ทั้งนี้ ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้รับหลักการไปศึกษาและหาแนวทาง ในการพัฒนาปรับปรุงระบบการรับนักศึกษาทั้งสองระบบต่อไป “อย่างไรก็ตามคงต้องมีการหารือร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อขอความเห็นและขับเคลื่อนในระดับนโยบาย ต่อไป พร้อมทั้งยังต้องหารือกับองค์กรวิชาชีพต่างๆ สำหรับผลกระทบในการเข้าสู่งานของบัณฑิต เช่น การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ครูของครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ การชดใช้ทุนของแพทย์ และทันตแพทย์ ซึ่งอาจต้องมีการปรับหลักสูตร หรือปรับกำหนดเวลา เพื่อ ความชัดเจนต่อไป” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว อนุสารอุดมศึกษา

7


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

สกอ. จัดประกวดการพัฒนา

ความเป็นนานาชาติ ของสถาบันอุดมศึกษา

๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ - สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจัด โครงการแนวปฏิบัติที่ดีเด่น (Best Practice) ในการพัฒนาความเป็นนานาชาติ ของสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดและในกำกับของสำนักงานคณะกรรมการการ อุ ด มศึ ก ษา เพื ่ อ ส่ ง ประกวดประจำปี ๒๕๕๕ โดยรองศาสตราจารย์ พ ิ น ิ ต ิ

รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เปิดเผยถึงโครงการ ดังกล่าว ว่า สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ปรับ ‘โครงการแนว ปฏิ บ ั ต ิ ท ี ่ ด ี (Best Practices) ในการแลกเปลี ่ ย นนั ก ศึ ก ษาระหว่ า งสถาบั น อุดมศึกษาในสังกัดและในกำกับของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ’ ซึ่งเริ่มดำเนินการมา ตั ้ ง แต่ ป ี ๒๕๕๓ มาเป็ น ‘โครงการแนวปฏิ บั ติ ที่ ดี เด่ น (Best Practice) ในการพั ฒ นาความเป็ นนานาชาติ ข องสถาบั น อุดมศึกษาในสังกัดและในกำกับของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา’ เพื่อส่งเสริมบทบาทเชิงวิชาการของสถาบัน อุดมศึกษาไทยให้แข่งขันได้ในเวทีวิชาการระดับนานาชาติ โดยมีกิจกรรมภายใต้โครงการที่เน้น ๓ ประเภท คือ ๑) หน่วยงานที่

ส่งเสริมความเป็นนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษา ๒) การแลกเปลี่ยนนักศึกษานานาชาติ และ ๓) หลักสูตรนานาชาติ เนื่องจากเป็น กิจกรรมหลักที่เป็นองค์ประกอบของการเป็นนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษา และเป็นกลไกที่นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการจัดการ เรียนการสอนของสถาบันอุดมศึกษาไทยให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ พร้อมทั้งเป็นการเปิดโลกทัศน์และพัฒนา ศักยภาพบัณฑิตไทยให้แข่งขันได้ในระดับสากล และเป็นการเตรียมความพร้อมให้มีทักษะสำหรับประกอบอาชีพในอนาคต “การพัฒนาความเป็นนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษาไทยนั้น สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้ปฏิรูปหลักสูตรการ ศึกษาทุกระดับ รองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกและทัดเทียมกับมาตรฐานสากล โดยจัดการศึกษาขั้นอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับ ตลาดแรงงาน รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียนและการเคลื่อนย้ายแรงงาน เสรี ตลอดจนการระดมสรรพกำลังเพื่อพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อสร้างทุนทางปัญญาและนวัตกรรม ซึ่งการจัด โครงการในครั้งนี้เพื่อแสวงหาแนวปฏิบัติที่ดีเด่นในการพัฒนาความเป็นนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดและในกำกับของ สำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาทั ้ ง ๓ ประเภท

ข้ า งต้ น เพื ่ อ เป็ นตั ว อย่ า ง และส่ ง เสริ ม ให้ ส ถาบั น อุ ด ม ศึกษาอื่นๆ นำไปปรับใช้ พร้อมทั้งพัฒนากระบวนงานที่ เกี ่ ย วข้ อ งกั บ ลั ก ษณะการดำเนิ น งานกิ จ กรรมทั ้ ง ๓ โครงการ ประเภท ที ่ จ ะนำไปสู ่ ก ารพั ฒ นาคุ ณ ภาพการเรี ย นการ

เข้าร่วมประกวดโครงการ

สอนอย่างยั่งยืนและแข่งขันได้ในเวทีวิชาการนานาชาติ” แนวปฏิบตั ทิ ด่ี ี (Best Practices) ในการแลกเปลีย่ น รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว นักศึกษาระหว่างสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดและในกำกับ ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากับสถาบัน ทัง้ นี้ สถาบันอุดมศึกษาในสังกัดและในกำกับของสำนักงาน อุดมศึกษาต่างประเทศ ประจำปี ๒๕๕๔ คณะกรรมการการอุดมศึกษาที่สนใจ สามารถนำเสนอโครงการ

ประเภทการแลกเปลี่ยนนักศึกษานานาชาติ: โครงการบริหารธุรกิจ ส่งประกวดได้ ภายในวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๕ โดยดูรายละเอียด บัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) Bachelor of Business Administration Program (International Program) : BBA ของคณะพาณิชยศาสตร์

เพิ่มเติมที่เว็บไซต์ http://inter.mua.go.th/main2/index.php และ และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐ ๒๖๑๐ ๕๔๐๐-๒ หรือทาง

ประเภทหลักสูตรนานาชาติ: โครงการพัฒนาและบริหารจัดการ อี เมล์ wannee_k@mua.go.th, sumantan@mua.go.th และ หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาอายุรศาสตร์เขตร้อน และสุขวิทยา (หลักสูตรนานาชาติ) ของคณะ

chantaroagwong@gmail.com เวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

8

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

สกอ. สานต่อ

โครงการเชื่อมสัมพันธ์ไทย-ลาว ครั้งที่ ๒

๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ - สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดประชุมประสานการเตรียมความพร้อมในการดำเนิน โครงการแลกเปลี ่ ย นเรียนรู้และจัดกิจกรรมนักศึกษา เพื ่ อ เชื ่ อ มสั ม พั นธ์ ไทย-ลาว ระหว่ า งผู ้ บ ริ ห ารสำนั ก งานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์ ณ มหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์ เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว โดยนางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในฐานะประธานคณะทำงานโครงการสาน สัมพันธ์ไทย - ลาว ร่วมกับรองศาสตราจารย์ นายแพทย์อำนาจ อยู่สุข รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพนักศึกษาและกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รองประธานคณะทำงานฯ ได้ติดตามความคืบหน้าการดำเนินการตามข้อตกลงที่ได้จัดประชุมร่วมกับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๔ นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการฯ กล่าวถึงผลการประชุมหารือว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้ดำเนินการโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และจัดกิจกรรมนักศึกษาเพื่อเชื่อมสัมพันธ์ไทย - ลาว ครั้งที่ ๒ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๕ ณ มหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์ เมืองหลวง พระบาง สปป.ลาว ระหว่างวันที่ ๑ - ๕ เมษายน ๒๕๕๕ โดยการจัดสร้างอาคารโรงอาหาร ๒ อาคาร ซึ่งมีผู้เข้าร่วมโครงการประกอบ ด้วย นักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาไทย จำนวน ๓๐ คน จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยพายัพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตภาค พายั พ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ อุ ด รธานี มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี ร าชมงคลอี ส าน วิ ท ยาเขตขอนแก่ น มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล และนักศึกษาสังกัดมหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์ สปป.ลาว จำนวน ๓๐ คน อาจารย์และเจ้าหน้าที่จากประเทศ ไทย ๑๐ คน จาก สปป.ลาว ๑๐ คน “ทั้งนี้ สกอ. คาดหวังว่านักศึกษาไทยและลาวที่เข้าร่วมโครงการฯ ในครั้งนี้ จะเกิดความสามัคคีในหมู่คณะ และได้นำความรู้ ความสามารถในด้านต่างๆ ไปช่วยพัฒนาชนบท ได้ศึกษาความเป็นอยู่ ภูมิปัญญาท้องถิ่นของประชาชน เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างไทยและลาว และเป็นการรวมพลังเพือ่ ขับเคลือ่ นการพัฒนานักศึกษาสูก่ ารเป็นประชาคมอาเซียนร่วมกันต่อไป” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวในตอนท้าย

อนุสารอุดมศึกษา

9


เรื่องเล่าอาเซียน โดย รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล

การเกิดประชาคมอาเซี ย นกับการศึกษาของประเทศไทย (๖) ‘คอลัมน์เรื่องเล่าอาเซียน’ ๕ ฉบับที่ผ่านมา เป็นการบอกเล่าข้อมูลภาพรวมพื้นฐานที่เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน กฎบัตร อาเซียน ไล่เรียงมาจนถึงที่ประชุมรัฐมนตรีศึกษาอาเซียน และกลไกของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนต่อการเข้าสู่การเป็น ประชาคมอาเซียนของประเทศไทย สำหรับฉบับนี้ ‘อนุสารอุดมศึกษา’ จะขอนำเสนอการดำเนินการของสำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ในฐานะหน่วยงานด้านการศึกษาที่รับผิดชอบนโยบายการเตรียมความพร้อมของสถาบันอุดมศึกษา ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรอุดมศึกษา นิสิตนักศึกษา และประชาชน สำหรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ.๒๕๕๘ ในช่วง ๔ ปีที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ดำเนินการเพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาไทย เตรียมพร้อมเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๑ สกอ.จัดประชุมอย่างไม่เป็นทางการ ระหว่างผู้บริหารระดับสูงของ สกอ. กับผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานที่รับผิดชอบการบริหารจัดการการอุดมศึกษา ของกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงของ สกอ. ได้รู้จักและสร้างความคุ้นเคยกับผู้บริหารระดับสูงที่รับผิดชอบการ บริหารจัดการการอุดมศึกษาของประเทศสมาชิกต่างๆ ของอาเซียน พร้อมทั้งสร้างช่องทางในการติดต่อระหว่างกันได้โดยตรง อย่างสะดวกและรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการกำหนดนโยบายและการบริหารจัดการ การอุ ด มศึ ก ษาของประเทศต่างๆ ในอาเซียน ตลอดจนเป็ นการปู พ ื ้ นฐานที ่ จ ะนำไปสู ่ ก ารรวมตั ว ของประชาคมอาเซี ยนในปี พ.ศ.๒๕๕๘ และเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของการอุดมศึกษาไทย ระหว่างปี ๒๕๕๑ - ๒๕๕๓ ปี ๒๕๕๔ ระหว่าง

วันที่

สถานที่

ระหว่าง

สถานที่

ไทย - มาเลเซีย ครั้งที่ ๑ ๒๒ มี.ค. ๒๕๕๑ ณ จังหวัดเชียงราย

ไทย - ลาว ครั้งที่ ๒

ไทย - อินโดนีเซีย ครั้งที่ ๑ ๒๘ มิ.ย. ๒๕๕๑ ณ จังหวัดชลบุรี

ไทย - อินโดนีเซีย ครั้งที่ ๓ ๒๔ มิ.ย. ๒๕๕๔ ณ ประเทศอินโดนีเซีย

ไทย - อินโดนีเซีย ครั้งที่ ๒ ๒๐ ก.พ. ๒๕๕๒ ณ ประเทศอินโดนีเซีย

ไทย - ฟิลิปปินส์ ครั้งที่ ๑ ๒๒ ก.ค. ๒๕๕๔ ณ กรุงเทพมหานคร

ไทย - สิงคโปร์ ครั้งที่ ๑ ๑๙ ส.ค. ๒๕๕๓ ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ไทย - ลาว ครั้งที่ ๑

10

วันที่

๒๒ เม.ย. ๒๕๕๓ ณ จังหวัดขอนแก่น

เพือ่ ความต่อเนือ่ งในการติดตามความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทีร่ บั ผิดชอบ การบริหารจัดการการอุดมศึกษาของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ดังนั้น สกอ. จึงดำเนินการจัดประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้บริหารระดับสูงของ สกอ. กั บ ผู ้ บ ริ ห ารระดั บ สู ง ของหน่ ว ยงานที ่ ร ั บ ผิ ด ชอบการบริ ห ารจั ด การการ อุดมศึกษาของกลุ่มประเทศอาเซียน โดยในปี พ.ศ.๒๕๕๕ กำหนดจัดประชุม ร่วมกับสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ครั้งที่ ๔ ระหว่างวันที่ ๒๙ - ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๕ ณ กรุงเทพมหานคร และอยู่ในระหว่างการประสานงานเพื่อจัดประชุม ร่วมกับสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ครั้งที่ ๒ ในเดือนพฤษภาคมนี้ ในปี พ.ศ.๒๕๕๓ สกอ. ได้จดั ทำยุทธศาสตร์อดุ มศึกษาไทยในการเตรียม ความพร้อมสูก่ ารเป็นประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ.๒๕๕๘ เพื่อเป็นกรอบและ แนวทางในการดำเนินการของ สกอ. และสถาบันอุดมศึกษาให้มีความพร้อม และสนับสนุนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน โดยมีวิสัยทัศน์ให้บัณฑิตไทยมี ความสามารถในระดับสากล และมีความรับผิดชอบในฐานะสมาชิกประชาคม อาเซียนและประชาคมโลก อนุสารอุดมศึกษา

๑๘ มิ.ย. ๒๕๕๔ ณ สปป.ลาว

เป้ า หมายยุ ท ธศาสตร์ อุ ด มศึ ก ษาไทยในการ

เตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ๑. ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของบัณฑิต ไทยอยู่ในระดับที่ทัดเทียมกับบัณฑิตในประเทศ สมาชิกอาเซียน ๒. สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งจัดการเรียนการสอนที ่ เอือ้ ต่อการเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี พ.ศ.๒๕๕๘ ๓. ส ถาบั น อุ ด มศึ ก ษาไทยมี จ ำนวนกิ จ กรรมทาง

วิชาการที่ทำร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนเพิ่ม มากขึ้นในแต่ละปี ๔. จ ำนวนบั ณ ฑิ ต ที ่ ส ำเร็ จ การศึ ก ษาจากสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาไทยสามารถทำงานทั ้ ง ในหน่ ว ยงาน ระหว่างประเทศ บริษัทข้ามชาติในประเทศ และ/ หรือประกอบการในกลุ่มประเทศอาเซียนเพิ่มขึ้น ในแต่ละปี ๕. จำนวนนักศึกษาอาเซียนในสถาบันอุดมศึกษาไทย

เพิ่มขึ้น ร้อยละ ๒๕ ต่อปี


เรื่องเล่าอาเซียน ทั ้ ง นี ้ อุ ด มศึ ก ษาไทย มี พ ั นธกิ จ ตามยุ ท ธศาสตร์ อุ ด มศึ ก ษาไทยในการเตรี ย มความพร้ อ มสู ่ ก ารเป็ น ๑. การเพิ่มขีดความสามารถของบัณฑิตให้มีคุณภาพมาตรฐานในระดับสากล ประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ.๒๕๕๘ ร่วมกัน ในการผลิต บัณฑิตที่มีคุณภาพระดับสากลและมีความตระหนักใน ๒. การพัฒนาความเข้มแข็งของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนา การเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียน พร้อมทั้งพัฒนา ประชาคมอาเซียน ศักยภาพในการจัดการการอุดมศึกษาให้มีคุณภาพร่วม ๓. การส่งเสริมบทบาทของอุดมศึกษาไทยในประชาคมอาเซียน กับประเทศสมาชิกอาเซียน การแลกเปลี่ยนบุคลากร และนักศึกษา ถือเป็นอีกกลไกสำคัญที่จะช่วยสร้างความกลมกลืน (Harmonisation) ของการ อุดมศึกษาในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงการลดช่องว่างของความแตกต่างทั้งทางด้านภาษา ศาสนาและวัฒนธรรมระหว่างประเทศ สมาชิกอาเซียน ตลอดจนผลักดันให้เกิดความร่วมมือกันในประเทศสมาชิกอาเซียน ทั้งทางด้านการพัฒนาหลักสูตร และการ พัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ การสร้างเครือข่ายทางวิชาการ การสร้างเครือข่ายการวิจัย ตลอดจนการเปิดโลกทัศน์ให้ กั บ บุ ค ลากร และนั ก ศึ ก ษาของประเทศสมาชิ ก อาเซี ย นร่ ว มกั น โครงการนำร่ อ งการแลกเปลี่ ย นนั ก ศึ ก ษามาเลเซี ย อินโดนีเซีย-ไทย เป็นโครงการนำร่องที่ริเริ่มขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๕๓ โดยแสดงถึงความตั้งใจจริงของประเทศไทยที่ได้ให้ความสำคัญ กับการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเป็นรากฐานสำคัญที่ส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนย้าย

นั ก วิ ช าชี พ ในภู ม ิ ภ าคในอนาคต อั นจะมี ส ่ ว นช่ ว ยให้ ป ระชาคมเศรษฐกิ จ อาเซี ย นเจริ ญ เติ บ โตและมี ก ารพั ฒ นาอย่ า งยั ่ ง ยื น

ในขณะเดียวกัน โครงการนี้ยังเป็นกลไกสำคัญในการขยายเครือข่ายโครงการแลกเปลี่ยนความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกันและ ส่งเสริมการเคลื่อนย้ายนักศึกษาและบุคลากรในภูมิภาคให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเอื้อต่อการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนที่ เข้มแข็งในอนาคต เนื่องจากการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นกลไก สำคัญที่ก่อให้เกิดการพัฒนาเขตการอุดมศึกษาร่วมในภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Community Space) จึงเป็นเรื่องท้าทายที่จะกระตุ้นให้นักศึกษาสนใจเข้าร่วม โครงการนี้ให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งได้มีการตั้งเป้า ภายในปี ๒๕๕๘ จะให้มีการแลก เปลี่ยนนักศึกษา จำนวน ๕๐๐ คน และเชิญชวนให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเข้า ร่วมโครงการให้ครบทั้ง ๑๐ ประเทศ รวมทั้งเชิญประเทศคู่เจรจาของอาเซียน ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เข้าร่วมโครงการด้วย นอกจากนี้จะได้มีการขยายสาขา วิชาที่แลกเปลี่ยนให้หลากหลายมากขึ้น เพราะจากการเข้าร่วมโครงการ นักศึกษาจะได้ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งด้านวิชาการและ วัฒนธรรมทำให้ได้รู้จักประเทศสมาชิกอาเซียนได้ลึกซึ้งขึ้น ที่ผ่านมา มีสถาบันอุดมศึกษามาเลเซีย จำนวน ๖ แห่ง สถาบันอุดมศึกษาอินโดนีเซีย จำนวน ๑๑ แห่ง และสถาบัน อุดมศึกษาไทยเข้าร่วมโครงการ จำนวน ๖ แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหิดล มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ จำนวน ๙๕ คน จำแนกเป็นนักศึกษาไทย จำนวน ๓๙ คน และนักศึกษามาเลเซียและอินโดนีเซียที่มาแลกเปลี่ยนที่มหาวิทยาลัย ไทย จำนวน ๕๖ คน ยุทธศาสตร์

Malaysia Sains Malaysia, r st u d e n ts iti rs ve ni U n o se s o u Tey Yi She e ac tu al ly e xp lture and we can m m ra g ro p is h cu T learn a new where we can to fit to the lifestyle here. adapt ourselves Eka – ISI Denpasar, Indonesia I learn Art & Architecture here. I’m surprised that there are so many similarities between Thai architecture and Bali architecture. I just think that maybe we are brothers and sisters.

Aimron – Thammasat University, Thailand When I had my first trip to Kuala Lumpur. It’s kind of my first Impression that I love that country. The multiculture, that the three cultures combine together. That is why I love it.

M-I-T Make ASEAN one happy and healthy home for all

asat Third – Thamm land University, Thai โครงการ อยากจะขอบคุณ MIT ที่ให้โอกาส ิตในครั้งนี้ ประสบการณ์ชีวที่จะได้ไป ซึ่งเป็นครั้งแรก เปิดโลกใหม่ๆ

กิจกรรมข้างต้นเป็นเพียงบางส่วนของการดำเนินการของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่มุ่งเน้นการเตรียมความ พร้อมในอุดมศึกษาไทยทุกมิติ ตั้งแต่ระดับนโยบายของผู้บริหารจนถึงการปรับตัวให้เข้ากับสังคมหลากหลายวัฒนธรรมของ

นักศึกษา เพื่อเข้าสู่การเป็นหนึ่งเดียวของประชาคมอาเซียนในอนาคตอันใกล้ อนุสารอุดมศึกษา

11


เรื่องพิเศษ

ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖

จากที ่ ส ำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาจั ด ประชุ ม มอบนโยบายในการจั ด ทำงบประมาณรายจ่ า ยประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๕ ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ เพื่อให้ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สำนักงาน

คณะกรรมการการอุดมศึกษา และผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของสถาบันอุดมศึกษาในสังกัด/ในกำกับของ สกอ. ได้รับทราบ นโยบายในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖ ของกระทรวงศึกษาธิการ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ การอุดมศึกษา และสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดทำและการบริหารจัดการงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖ และสอดคล้องกับ นโยบายรัฐบาล ‘คอลัมน์เรื่องพิเศษ’ ฉบับนี้ ขอนำรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖ ซึ่งได้กำหนดไว้ ๘ ยุทธศาสตร์ และ ๑ รายการ คือ ยุทธศาสตร์การสร้างรากฐานการพัฒนาที่สมดุลสู่สังคม การสร้างความปรองดองสมานฉันท์และฟื้นฟูประชาธิปไตย การป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ การส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ การแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ การฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศในภูมิภาค การลดภาระค่าครองชีพ ส่งเสริมและรักษาเสถียรภาพราคาพลังงาน การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน การส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งทุน การเสริมสร้างเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตร การสนับสนุนสินเชื่อเพื่อการเกษตร การเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว การพัฒนาศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชน การพัฒนาระบบประกันสุขภาพ การสนับสนุนเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาเพื่อการศึกษา การส่งเสริมการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วม การฟื้นฟู และสร้างความเชื่อมั่นในการบริหารความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติเพื่ออนาคตประเทศ ยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งรัฐ การเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ การเสริมสร้างระบบป้องกันประเทศ การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ยุทธศาสตร์การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน การบริหารจัดการเศรษฐกิจมหภาคให้เกิดความยั่งยืน การส่งเสริมประสิทธิภาพการผลิตและสร้างมูลค่าภาคการเกษตร การยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม การเพิ่มประสิทธิภาพภาคการตลาด การค้าและการลงทุน การส่งเสริมธุรกิจและอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ การพัฒนาการท่องเที่ยวและบริการ การส่งเสริมและพัฒนาการกีฬา การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

12

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องพิเศษ ยุทธศาสตร์การศึกษา คุณธรรม จริยธรรม คุณภาพชีวิต และความเท่าเทียมกันในสังคม การสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน การขยายโอกาสและพัฒนาการศึกษา การพัฒนาและยกระดับมาตรฐานแรงงาน การพัฒนาด้านสาธารณสุข การอนุรักษ์ ส่งเสริมและพัฒนาศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม การเสริมสร้างความมั่นคงของชีวิตและสังคม การป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติภัยทางถนน ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ การจัดการภัยพิบัติ การแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม การส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย ยุทธศาสตร์การต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ การรักษา พัฒนาและคุ้มครองสิทธิคนไทยและผลประโยชน์ของประเทศ ยุทธศาสตร์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดิน การส่งเสริมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ การสนับสนุนการจัดการของรัฐสภา ศาล องค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ การพัฒนากฎหมายและกระบวนการยุติธรรม รายการค่าดำเนินการภาครัฐ รายการงบกลางเพื่อรองรับกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ค่าใช้จ่ายบุคลากรในงบกลาง การบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ นอกจากนี้ ยังมี กรอบแนวคิดการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปี ที่ให้จัดทำคำของบประมาณรายจ่าย ประจำปี โดยต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ คำแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภา แผนการบริหารราชการแผ่นดิน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี แผนพัฒนาจังหวัด และกลุ่มจังหวัด ทั้งนี้ ในการจัดทำคำของบประมาณ ขอให้ศึกษาและใช้แนวทางปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็น แนวทางในการพิจารณาจัดทำแผนยุทธศาสตร์กระทรวง/หน่วยงาน ตลอดจนการเพิ่มผลผลิต/โครงการ กิจกรรมใหม่ และการ เร่งรัด ชะลอ ยกเลิก หรือลดเป้าหมายการดำเนินงานผลผลิต/โครงการ กิจกรรมเดิม ดังนี้ (๑) การวิเคราะห์ระดับความสำเร็จ ของการดำเนินงานจากการใช้จ่ายงบประมาณ (Performance Assessment Rating Tool: PART ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๐) (๒) คู่มือมาตรฐานการจัดการงบประมาณ (การวางแผนและบริหารโครงการ : ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๐) (๓) หลักเกณฑ์การวิเคราะห์ความเสี่ยงตามหลักธรรมาภิบาลของแผนงาน/โครงการสำคัญตามนโยบาย รัฐบาล (ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๒) และ (๔) คู่มือการจัดทำต้นทุนหน่วยปฏิบัติ (Operating Unit Cost: OUC) ผู้สนใจ สามารถสืบค้นรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงบประมาณ www.bb.go.th อนุสารอุดมศึกษา

13


พูดคุยเรื่องมาตรฐาน

การพัฒนาความเป็นนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษา จากที ่ ส ำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาเชิ ญ ชวนให้ ส ถาบั น อุ ด มศึ ก ษาในสั ง กั ด และในกำกั บ ของสำนั ก งาน

คณะกรรมการการอุดมศึกษานำเสนอโครงการแนวปฏิบัติที่ดีเด่น (Best Practice) ในการพัฒนาความเป็นนานาชาติของสถาบัน อุดมศึกษาในสังกัดและในกำกับของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เข้าร่วมประกวดเพื่อแสวงหาแนวปฏิบัติที่ดีเด่นใน การพัฒนาความเป็นนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดและในกำกับของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาใน

๓ ด้าน ได้แก่ ๑) หน่วยงานที่ส่งเสริมความเป็นนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษา ๒) การแลกเปลี่ยนนักศึกษานานาชาติ และ ๓) หลักสูตรนานาชาติ โดยให้สถาบันอุดมศึกษาในสังกัดและในกำกับของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่สนใจ เลือกส่งแนวปฏิบัติที่ดีเด่นในการพัฒนาความเป็นนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดและในกำกับของสำนักงาน

คณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ ๑ ประเภทหรือ ๑ โครงการเข้าประกวดในนามของสถาบันอุดมศึกษา และเขียนบรรยายแนว ปฏิบัติที่ดีเด่นความยาวไม่เกิน ๕ หน้ากระดาษขนาด เอสี่ ตามแบบฟอร์มที่กำหนดและนำเสนอสำนักงานคณะกรรมการ

การอุ ด มศึ ก ษา จำนวน ๒๐ ชุ ด และส่ ง ทางอี เ มล์ ไ ปยั ง wannee_k@mua.go.th, sumantan@mua.go.th และ chantaroagwong@gmail.com พร้อมหลักฐานตามเกณฑ์ไม่เกิน ๑๐ หน้ากระดาษขนาดเอสี่ ‘คอลัมน์พูดคุยเรื่องมาตรฐาน’ จึงขอถือโอกาสนี้นำรายละเอียด คำนิยามต่างๆ มานำเสนอให้ผู้อ่านทราบโดยทั่วกัน ดังนี้ หน่วยงานที่ส่งเสริมความเป็นนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษา หมายถึง ‘หน่วยงานที่สถาบันอุดมศึกษาตั้งหรือ กำหนดขึ ้ น เพื ่ อ ทำหน้ า ที ่ ป ระสานนโยบายหรื อ ดำเนิ นงานที ่ ส ่ ง เสริ ม ความเป็ นนานาชาติ ข องสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาโดยรวม’

โดยสถาบันอุดมศึกษาที่ส่งโครงการในประเภทนี้ต้องแสดงให้เห็นการดำเนินงานที่เชื่อมโยงกับหน่วยงานระดับนโยบายและ ระดับปฏิบัติของสถาบันอุดมศึกษา การแลกเปลี่ยนนักศึกษานานาชาติ หมายถึง ‘การแลกเปลี่ยนนักศึกษาสองทางระหว่างสถาบันอุดมศึกษาในสังกัด และในกำกับของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ ที่ดำเนินการภายใต้ข้อตกลงด้าน การแลกเปลี่ยนระหว่างกันหรือภายใต้หลักสูตรร่วม (Joint/Double Degree Program) การแลกเปลี่ยนสามารถเป็นได้ทั้งการ

แลกเปลี่ยนระยะสั้น (๑ ภาคการศึกษา) และการแลกเปลี่ยนระยะยาว (มากกว่า ๑ ภาคการศึกษา) มีการถ่ายโอนหน่วยกิต ระหว่างกัน และจำนวนนักศึกษาแลกเปลี่ยนของแต่ละฝ่ายใกล้เคียงกัน’ หลักสูตรนานาชาติ หมายถึง ‘หลักสูตรที่มีเนื้อหาสาระและมาตรฐานระดับนานาชาติหรือมีลักษณะนานาชาติศึกษา (International Studies Program)/ภูมิภาคศึกษา (Area Studies)’ หลักสูตรนานาชาติมีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นหลักสูตรที่เปิดโอกาสให้ใช้ภาษาเป็นสื่อในการเรียนการสอนได้ทุกภาษา โดยต้องใช้ภาษาเดียวเป็นสื่อในการเรียน การสอนทั้งหลักสูตร และหากเป็นหลักสูตรที่ใช้ภาษาไทยเป็นสื่อในการเรียนการสอนจะต้องมีลักษณะที่แตกต่างจากการจัดการ เรียนการสอนในหลักสูตรทั่วไป เช่น หลักสูตรไทยศึกษาสำหรับนักศึกษาต่างชาติ เป็นต้น เป็นหลักสูตรที่เปิดโอกาสให้ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้าศึกษา อาจารย์ผู้สอนต้องมีประสบการณ์ในเนื้อหาวิชาที่สอนและในการสอนผู้เรียนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม รวมทั้ง มีความรู้ภาษาที่ใช้สอนอยู่ในเกณฑ์ดีมาก อุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน ตำราเรียน สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ และสิ่งสนับสนุนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ต้องมี ความทันสมัยและเอื้อให้นักศึกษาสามารถใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด เป็นหลักสูตรที่มีกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความเป็นนานาชาติ เช่น กิจกรรมแลกเปลี่ยนทางวิชาการกับ สถาบันต่างประเทศ ได้แก่ การแลกเปลี่ยนนักศึกษา นักวิจัย และนักวิชาการ รวมถึงการปฏิสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมและ ระหว่างชาติ เป็นต้น ควรมีความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันต่างประเทศเพื่อการพัฒนาหลักสูตร การส่งผู้เชี่ยวชาญมาทำการสอน

การแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษา การเทียบโอนหน่วยกิต การให้ปริญญาระหว่างสถาบัน (Joint Degree Program) และ ความร่วมมือในรูปแบบอื่นๆ (Joint Venture)

14

อนุสารอุดมศึกษา


พูดคุยเรื่องมาตรฐาน ทั ้ ง นี ้ สำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาได้ ก ำหนดเกณฑ์ ในการคั ด เลื อ กแนวปฏิ บั ติ ที่ ดี เด่ น (Best Practice)

ในการพัฒนาความเป็นนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดและในกำกับของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

โดยพิจารณาจาก แนวทางการดำเนินงานที่มีนวัตกรรม หมายถึง การดำเนินการในรูปแบบใหม่ๆ/แตกต่าง/โดดเด่นที่ทำให้การดำเนิน โครงการมีประสิทธิภาพ แนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินโครงการนานาชาติ หมายถึง การเสนอวิธีการแก้ปัญหาที่เป็น ระบบ ส่งเสริมความเป็นนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษา หมายถึง โครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินการนำไปสู่การส่งเสริมความเป็น นานาชาติของสถาบันอุดมศึกษา/เป็นไปตามทิศทางของสถาบันฯ ในภาพรวม ส่งเสริมการสร้าง/ขยายเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ หมายถึง รูปแบบการดำเนินงานที่ทำให้เกิดเครือข่าย/ความ ร่วมมือระหว่างประเทศเป้าหมายกับสถาบันอุดมศึกษาในภาพรวม รูปแบบที่สถาบันอุดมศึกษาอื่นสามารถนำไปปรับใช้เป็นแนวปฏิบัติได้ (Replicability) หมายถึง มีระบบที่ชัดเจนซึ่งจะทำให้ สถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ สามารถนำไปปรับใช้เพื่อพัฒนาโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การดำเนินการอย่างยั่งยืน (Sustainability) หมายถึง สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องและมีพัฒนาการที่ดีขึ้น เป็นระบบ และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์/แผนพัฒนา/เป้าหมายการพัฒนาความเป็นสากลของสถาบันอุดมศึกษา การใช้ประโยชน์จากโอกาสใหม่ๆ (Taking advantage of new opportunity) หมายถึง ความสามารถในการมองเห็นโอกาสที่ เกิดขึ้นและใช้โอกาสนั้นๆ ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา/ส่งเสริมการดำเนินโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลกระทบของโครงการนำไปสู่ การพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา การพัฒนาคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาในภาพรวม การพัฒนาคุณภาพสังคม/ชุมชนในภาพรวม ความพร้อมด้านการจัดการเรียนการสอน หลักสูตร คณาจารย์ บุคลากรสายสนับสนุน โครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความ สะดวกในการจัดการเรียนการสอน กิจกรรมสนับสนุนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม กิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริม ความเป็นนานาชาติ ด้านการให้บริการสำหรับนักศึกษาต่างชาติและการมีบรรยากาศความเป็นนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษา มีเว็บไซต์ของหน่วยงานซึ่งเป็นภาษาอังกฤษหรือเป็นภาษาของประเทศเป้าหมายที่บรรจุข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษา/ อาจารย์ต่างชาติ และนักศึกษา/อาจารย์แลกเปลี่ยน การติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการอย่างสม่ำเสมอและนำผลการประเมินมาพัฒนาการดำเนินงาน มีฐานข้อมูล ได้แก่ ๑) ฐานข้อมูลนักศึกษา/อาจารย์ต่างชาติ และนักศึกษา/อาจารย์แลกเปลี่ยน ๒) ฐานข้อมูลการจัด กิจกรรมทางวิชาการนานาชาติ ๓) ฐานข้อมูลสัญญาหรือข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ และผลการดำเนินกิจกรรม รวมทั้งแนวทางการจัดการในกรณีของสัญญา/ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการที่ไม่มีการดำเนิน

การอย่างต่อเนื่อง โดยฐานข้อมูลทั้งหมดย้อนหลัง ๓ ปี มีการกำหนดเกณฑ์/เครื่องมือที่ใช้ในการเทียบโอนหน่วยกิตและมีหลักฐานการถ่ายโอนหน่วยกิตหรือ Degree Supplement ย้อนหลัง 3 ปี การดำเนินการใดๆ ไม่ขัดแย้งกับกฎระเบียบของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา นอกจากการดำเนินการจัดประกวดและคัดเลือกโครงการแนวปฏิบัติที่ดีเด่น (Best Practice) ในการพัฒนาความเป็น นานาชาติของสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดและในกำกับของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแล้ว สำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษายังมีแผนงานขยายผลการดำเนินงาน โดยพิมพ์เอกสารเผยแพร่โครงการที่ได้รับคัดเลือกเป็นแนวปฏิบัติที่ดีเด่น

จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมทั้งเปิดช่องทาง ‘การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความเป็นแนวปฏิบัติในการพัฒนาความเป็นนานาชาติ ของสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดและในกำกับของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา’ ในเว็บไซต์ www.inter.mua.go.th

เพื่อนำโครงการที่ได้รับคัดเลือกและโครงการอื่นๆ ที่มีจุดเด่น ประชาสัมพันธ์ให้เป็นประโยชน์ต่อสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ ได้นำไป ประยุกต์ใช้เป็นแนวทางพัฒนาความเป็นนานาชาติต่อไป

อนุสารอุดมศึกษา

15


เรื่องแนะนำ

ตรวจสอบ ก่อนตัดสินใจ ในช่วงเดือนมีนาคม - เดือนเมษายน ของทุกปี จะถือเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ที่จะต้อง ตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาจะเปิดรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในหลากหลายรูปแบบ อาทิ การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลางหรือแอดมิชชั่น การรับตรง ระบบโควตาเรียนดี สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในฐานะองค์กรกำกับดูแลการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ประสงค์จะให้ ประชาชนผู้รับบริการอุดมศึกษาได้รับการคุ้มครองจากรัฐ สามารถรับบริการด้านการอุดมศึกษาที่มีคุณภาพ มาตรฐาน

ได้ตามกฎหมาย นิสิตนักศึกษาได้รับการบริการจากสถาบันอุดมศึกษาอย่างครบถ้วน ตามมาตรการในการคุ้มครองสิทธิของ กระทรวงศึกษาธิการ จึงขอให้ผู้ปกครองและนักเรียน ตรวจสอบข้อมูลและใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจก่อนเลือกเรียนใน หลั ก สู ต รหรื อ สถาบั น ใด โดยตรวจสอบหลั ก สู ต รก่ อ นตั ด สิ น ใจที ่ เว็ บ ไซต์ http://www.mua.go.th/users/bhes/index.htm

ซึ่งหลักสูตรทุกสาขาวิชาต้องเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษาและผ่านการรับทราบจากสำนักงาน

คณะกรรมการการอุดมศึกษา และหลักสูตรทุกสาขาวิชาทีต่ อ้ งสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ต้องผ่านการรับรองจากองค์กรวิชาชีพ นั้นๆ โดยสามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ขององค์กรวิชาชีพต่างๆ ดังนี้ • คุรุสภา http://www.ksp.or.th/ksp2009/th/news/detail.php?NewsID=1962&Key=hotnews • ทันตแพทยสภา http://www.mua.go.th/users/bhes/profession/royalthaident.pdf • แพทยสภา http://www.tmc.or.th/detail_news.php?news_id=588&id=4 • สภากายภาพบำบัด http://www.pt.or.th/news_detail.php?news_id=366 • สภาการพยาบาล http://www.tnc.or.th/content/content-448.html • สภาทนายความ http://www.lawyerscouncil.or.th/UserFiles/File/123(2).pdf • สภาเทคนิคการแพทย์ http://www.mtcouncil.org/index.php?components=mtc_content&file=350 • สภาเภสัชกรรม http://www.pharmacycouncil.org/tpecs/certification.php • สัตวแพทยสภา http://vc.vetcouncil.or.th/information_1.aspx • สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี http://www.cstp.or.th/cstp/ • สภาวิศวกร http://www.coe.or.th/_coe/_coenew/mainIndex.php?aMenu=6 • สภาสถาปนิก http://www.act.or.th/download/notice/2010/0714/PS2553.pdf • สภาวิชาชีพบัญชี http://www.fap.or.th/ สำหรับหลักสูตรที่จัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งของสถาบัน ต้องผ่านการรับทราบจากคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) นอกจากนี้ สถาบันอุดมศึกษาที่นักเรียนจะเลือกเข้าศึกษาต่อ ควรผ่านมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน และผ่านมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) หากผู ้ อ ่ า นมี ข ้ อ สงสั ย สามารถสอบถามเพิ ่ ม เติ ม ได้ ท ี ่ ส ำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา หมายเลขโทรศั พ ท์

๐ ๒๖๑๐ ๕๓๘๐, ๐ ๒๖๑๐ ๕๓๗๔, ๐ ๒๖๑๐ ๕๓๗๘, ๐ ๒๖๑๐ ๕๔๕๔ และ ๐ ๒๖๑๐ ๕๓๗๙ หมายเลขโทรสาร

๐ ๒๓๕๔ ๕๕๓๐ และ ๐ ๒๓๕๔ ๕๔๙๑

16

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องแนะนำ

สำหรั บ การสมั ค รเพื ่ อ คั ด เลื อ กบุ ค คลเข้ า ศึ ก ษาในสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาในระบบกลาง(Admissions) สมาคมอธิ ก ารบดี

แห่งประเทศไทย (สอท.) ได้กำหนดปฏิทินการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง (Admissions) ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๕ ดังนี้ กิจกรรม

สถานที่

วัน เดือน ปี

จำหน่ายหนังสือระเบียบการฯ

ศูนย์กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย

๔-๒๐ เมษายน ๒๕๕๕

หมายเหตุ : ศูนย์จำหน่ายหนังสือระเบียบการฯ อาจมีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมหรือ ลดลง ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ทาง www.cuas.or.th ณ วันจำหน่ายอีกครั้ง

ศูนย์ภูมิภาค มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยนครพนม มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

๔-๒๐ เมษายน ๒๕๕๕

รับสมัคร

ทางเว็บไซต์ www.cuas.or.th

๑๑-๒๐ เมษายน ๒๕๕๕

ชำระเงินค่าสมัคร

ชำระผ่านธนาคาร หรือ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ไทย

๑๑-๒๔ เมษายน ๒๕๕๕

ผู้สมัครตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล

ทางเว็บไซต์ www.cuas.or.th

๑๒-๒๕ เมษายน ๒๕๕๕

ผู้สมัครยื่นคำร้องขอแก้ไขข้อมูลส่วนตัว

ทางโทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๔ ๕๑๕๕-๖

๑๒-๒๗ เมษายน ๒๕๕๕

ตรวจสอบคะแนนดิบที่ใช้ในการคัดเลือกและ ทางเว็บไซต์ www.cuas.or.th รายชื่อนักเรียนที่ถูกตัดสิทธิ์เข้า Admissions กลาง ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ และตรวจร่างกาย

ทางเว็บไซต์ www.cuas.or.th

สอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย

มหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษาที่สอบได้

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาใน แต่ละสถาบัน

ทางเว็บไซต์ www.cuas.or.th

๒๙-๓๐ เมษายน ๒๕๕๕ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ๑๔-๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕

ทัง้ นี้ ผูส้ นใจสามารถติดตามรายละเอียดปฏิทนิ การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง (Admissions) ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๕ และข้อมูลองค์ประกอบและค่าร้อยละของกลุ่มสาขาวิชาในการรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบัน อุดมศึกษา ได้ที่เว็บไซต์ http://www.cuas.or.th/index.php

อนุสารอุดมศึกษา

17


เหตุการณ์เล่าเรื่อง

Panel discussion on ‘Promising tools for balanced mobility’ Panel discussion on ‘How to enhance balanced mobility between Asia and Europe’

International Asia-Europe Conference on Enhancing Balanced Mobility สำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา จัดประชุม International Asia-Europe Conference on Enhancing Balanced Mobility ระหว่ า งวั นที ่

๕ - ๖ มี น าคม ๒๕๕๕ ณ โรงแรมพู ล แมน ซึ ่ ง

รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการ

คณะกรรมการการอุดมศึกษา เปิดเผยถึงการประชุม นานาชาติ เ อเชี ย -ยุ โ รป ในประเด็ น การส่ ง เสริ ม

การเคลื่อนย้ายบุคลากรและนักศึกษาอย่างสมดุล (International Asia-Europe Conference on Enhancing Balanced Mobility) ว่า สำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาได้รับเกียรติจากที่ประชุมรัฐมนตรีศึกษา แห่งเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ ๓ ให้จัดการประชุมครั้งนี้ขึ้น เพื ่ อ ประชุ ม หารื อ ร่ ว มกั น ระหว่ า งผู ้ เชี ่ ย วชาญของ ประเทศสมาชิ ก กลุ ่ ม ประเทศเอเชี ย -ยุ โรป เพื ่ อ ได้

ข้ อ เสนอแนะแนวทางการดำเนิ น การให้ เ กิ ด การ

แลกเปลี่ยนที่สมดุลระหว่างภูมิภาคเอเชียและยุโรป

18

อนุสารอุดมศึกษา


ประเด็นหลักในการประชุม International Asia-Europe Conference on Enhancing Balanced Mobility ประกอบด้ ว ยสถานการณ์ ป ั จ จุ บ ั น ในการ เคลื่อนย้ายนักศึกษาและบุคลากรของภูมิภาคเอเชียและยุโรป ตัวอย่างแนว ปฏิบัติที่ดีในการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากรในภูมิภาคเอเชียและยุโรป มาตรการและยุทธศาสตร์ที่จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนที่สมดุลย์ของสอง ภูมิภาค ตลอดจนแนวทางดำเนินงานร่วมกันในอนาคต ผลสรุปและข้อเสนอ แนะจากที่ประชุมจะนำเสนอในการประชุมรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชีย-ยุโรป ครั้งต่อไป “สกอ. หวั ง ว่ า จากการประชุ ม ครั ้ ง นี ้ ซึ ่ ง มี ผู ้ เข้ า ร่ ว มประชุ ม ทั ้ ง จาก สถาบันอุดมศึกษาไทย สถานทูตในประเทศไทย หน่วยงานด้านการศึกษาใน ไทยและจากต่างประเทศ จะเป็นการผลักดันให้เกิดความร่วมมือของสถาบัน อุดมศึกษาในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซม โดยเฉพาะในเรื่องของการแลก เปลี ่ ย นนั ก ศึ ก ษาและบุ ค ลากร ทั ้ ง นี ้ ถ้ า สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาไทยส่ ง เสริ ม สนับสนุนให้มีการเคลื่อนย้ายบุคลากรไปในวงกว้าง และเพิ่มจำนวนมากขึ้น ทั้งในฐานะของผู้ส่งออกและผู้นำเข้า ซึ่งจะป็นประโยชน์กับนักศึกษาและ บุ ค ลากรของไทยมาก สำหรั บ การพั ฒ นาสมรรถนะด้ า นต่ า งๆ ทั ้ ง ภาษา

ต่างประเทศ ความเข้าใจในประเทศและวัฒนธรรมอื่นๆ รวมทั้งพัฒนาความ สามารถในการแข่งขันในตลาดแรงงานโลกด้วย” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว ในตอนท้าย

อนุสารอุดมศึกษา

19


เหตุการณ์เล่าเรื่อง การประชุมเอเชีย-ยุโรป (Asia-Europe Meeting - ASEM) การประชุมเอเชีย-ยุโรป หรือ ASEM เป็นข้อริเริ่มของสิงคโปร์และฝรั่งเศส เพื่อให้เป็นเวทีที่ผู้นำจากทั้ง ๒ ภูมิภาคได้มาพบ และหารือกันเกี่ยวกับประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายให้ความสนใจ เพื่อหาลู่ทางที่จะกระชับความสัมพันธ์ ขยายความร่วมมือ และเสริมสร้าง ความเข้าใจระหว่างกัน โดยเป็นเวทีสำหรับการหารือ (dialogue) มากกว่าการเจรจา เพื่อให้มีผลบังคับใช้เป็นรูปธรรม ครอบคลุม ๓ เสาหลั ก ได้ แ ก่ ๑) ด้ า นการเมื อ ง ๒) ด้ า นเศรษฐกิ จ และ ๓) ด้ า นสั ง คม วั ฒ นธรรม และอื ่ น ๆ ทั ้ ง นี ้ ASEM เป็ น

กรอบความร่วมมือระดับผู้นำกรอบเดียวระหว่างภูมิภาคเอเชียและภูมิภาคยุโรปในขณะนี้ ตั้งแต่เริ่มแรกเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๙ ASEM ประกอบด้วยสมาชิกฝ่ายเอเชีย ๑๐ ประเทศ และสมาชิกฝ่ายยุโรป ๑๕ ประเทศ กับ ๑ องค์กร ปัจจุบัน ASEM ประกอบด้วยสมาชิก ๔๖ ประเทศ และ ๒ องค์กร ได้แก่ ประเทศสมาชิกฝ่ายยุโรป ๒๗ ประเทศ (ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ๒๗ ประเทศ - ออสเตรีย เบลเยียม บัลแกเรีย ไซปรัส สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮังการี อิตาลี ไอร์แลนด์ ลัตเวีย ลิทัวเนีย ลักเซมเบิร์ก มอลตา เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ โปรตุเกส โรมาเนีย สเปน สาธารณรัฐสโลวัก สโลวีเนีย สวีเดน สหราชอาณาจักร) ประเทศสมาชิกฝ่ายเอเชีย ๑๖ ประเทศ (ประเทศสมาชิกอาเซียน ๑๐ ประเทศ - บรูไนฯ กัมพูชา อินโดนีเซีย สปป.ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม และประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือและเอเชียใต้ (North, East, and South Asia - NESA) ๖ ประเทศ - จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี มองโกเลีย อินเดีย ปากีสถาน) ประเทศสมาชิกฝ่าย Temporary Third Category ๓ ประเทศ (ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รัสเซีย) องค์กรระดับภูมิภาค ๒ องค์กร (คณะกรรมาธิการยุโรป สำนักเลขาธิการอาเซียน) ASEM ไม่มีสำนักเลขาธิการ แต่ประสานงานผ่านผู้ประสานงาน (Coordinator) ปัจจุบัน ผู้ประสานงานฝ่ายยุโรป ได้แก่ ประธานสหภาพยุโรป คือ เดนมาร์ก (วาระ ๖ เดือน และจะครบวาระในเดือนมิถุนายน ๒๕๕๕) และ กระทรวงการต่างประเทศ EU (European External Action Service - EEAS) กลุ่มอาเซียน ได้แก่ สปป. ลาว (วาระ ๒ ปี และครบวาระในปี ๒๕๕๕) และกลุ่ม NESA ได้แก่ ปากีสถาน (วาระ ๑ ปี และครบวาระในปี ๒๕๕๖) ASEM กำหนดจัดการประชุมผู้นำทุก ๒ ปี โดยประเทศสมาชิก ASEM ฝ่ายยุโรปและฝ่ายเอเชียสลับกันเป็นเจ้าภาพ ทั้งนี้ การประชุมผู้นำ ASEM ได้จัดขึ้นแล้ว ๘ ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ ASEM 1 ASEM 2 ASEM 3 ASEM 4

วันที่ ๑ - ๒ มี.ค. ๒๕๓๙ ๓ - ๔ เม.ย. ๒๕๔๑ ๑๙ - ๒๑ ต.ค. ๒๕๔๓ ๒๒ - ๒๔ ก.ย. ๒๕๔๕

สถานที่ ณ กรุงเทพฯ ณ กรุงลอนดอน ณ กรุงโซล ณ กรุงโคเปนเฮเกน

ครั้งที่ ASEM 5 ASEM 6 ASEM 7 ASEM 8

วันที่ ๗ - ๙ ต.ค. ๒๕๔๗ ๑๐ - ๑๑ ก.ย. ๒๕๔๙ ๒๔ - ๒๕ ต.ค. ๒๕๕๑ ๔ - ๕ ต.ค. ๒๕๕๓

สถานที่ ณ กรุงฮานอย ณ กรุงเฮลซิงกิ ณ กรุงปักกิ่ง ณ กรุงบรัสเซลส์

ทั้งนี้ การประชุมผู้นำ ASEM 9 กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๕ - ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว สำหรับความร่วมมือด้านการศึกษา ได้มีการจัดประชุมรัฐมนตรีศึกษาธิการ ASEM (ASEM Education Ministers’ Meeting) แล้ว ๓ ครั้ง โดยการประชุมฯ ครั้งที่ ๓ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๙ - ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ณ ประเทศเดนมาร์ก กิจกรรมของประเทศไทยในกรอบ ASEM โครงการ ASEM Interfaith Cultural Youth Camp โดยกระทรวงการต่างประเทศเป็นเจ้าภาพ (๖ - ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒) การประชุม ASEM Conference Lifelong Learning: E-Learning and Workplace Learning โดยกระทรวงแรงงานและสวัสดิการ สังคมร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ เป็นเจ้าภาพ (๒๐ - ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒) โครงการ ASEM Interfaith Cultural Photography Contest โดยกระทรวงการต่างประเทศเป็นเจ้าภาพ (เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๒ - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓) การประชุม ASEM 8 Students’ Simulation Summit โดยกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตเบลเยียมประจำ ประเทศไทย และสำนักงานคณะผู้แทนสหภาพยุโรปแห่งประเทศไทย เป็นเจ้าภาพ (๑๓ กันยายน ๒๕๕๓) การประชุ ม ASEM High-Level Conference on Food Security โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็น เจ้าภาพ (๙ - ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔) การประชุม ASEM Customs Directors General / Commissioners’ Meeting ครั้งที่ ๙ โดยกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง เป็น เจ้าภาพ (๑๑ - ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๔) การประชุม International Asia-Europe Conference on Enhancing Balanced Mobility โดยสำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาเป็นเจ้าภาพ (๕ - ๖ มีนาคม ๒๕๕๕)

ข้อมูล: กรมยุโรป กระทรวงการต่างประเทศ ณ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕

20

อนุสารอุดมศึกษา


ภารกิจ เลขาธิการ กกอ.

เล่าเรื่องด้วยภาพ

๑,๐๐๐ คน ณ ศูนย์ แ ส ด ง ส ิ น ค ้ า แ ล ะ

การประชุ ม อิ ม แพ็ ค เมืองทองธานี

๒๙ กุ ม ภาพั นธ์ ๒๕๕๕ - นายอภิ ช าติ

จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เข้ า ร่ ว มพิ ธ ี เปิ ด งานโครงการพั ฒ นาศั ก ยภาพ อาจารย์เพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ และการ พัฒนาศักยภาพเพื่อการเข้าสู่ตำแหน่งชำนาญการ พิ เศษและตำแหน่ ง เชี ่ ย วชาญของบุ ค ลากรสาย สนับสนุน ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด โดยมีนายศักดา คงเพชร รัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานพิธเี ปิดงาน และมีการประชุมหารือ ระหว่างรัฐมนตรีชว่ ยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการคณะกรรมการการ อุดมศึกษา และอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑๒ แห่ง ในประเด็นเรือ่ งทิศทางพัฒนาโครงสร้างสถาบันอุดมศึกษาเพือ่ รองรับ การขยายตัว และสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่เยาวชนในพืน้ ที่ รวมทัง้ กลไกการ จัดสรรทุนพัฒนาอาจารย์เพือ่ ศึกษาต่อระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ทั้งนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวบรรยายพิเศษเพื่อ มอบนโยบายทางการศึกษาให้กับคณะผู้บริหาร คณาจารย์ของมหาวิทยาลัย ราชภัฏกลุม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเน้นให้ดำเนินภารกิจการเรียนการสอน และการวิจยั ทีต่ อ้ งบูรณาการกันอย่างมีประสิทธิภาพ เสริมสร้างคุณภาพผลงาน วิจัยสร้างองค์ความรู้ต่าง ๆ เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการจัดทำผลงานเพื่อ ประเมินเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ และสิ่งสำคัญของสถาบันอุดมศึกษา คือ ต้องใช้ประโยชน์องค์ความรูเ้ พือ่ ให้บริการวิชาการแก่ชมุ ชนท้องถิน่ ด้วย ๖ มีนาคม ๒๕๕๕ - นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมงาน “อนาคตการศึกษาไทย” ตามยุทธศาสตร์การ พัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมี ศาสตราจารย์สชุ าติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีวา่ การ กระทรวงศึกษาธิการ เป็น ประธานเปิ ด งาน พร้ อ ม

ผูบ้ ริหาร ข้าราชการ บุคลากร ทางการศึกษา และนักเรียน นักศึกษา เข้าร่วมงานกว่า

๖ มีนาคม ๒๕๕๕ - นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ พินติ ิ รตะนานุกลู รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา และนางวราภรณ์ สีหนาท

รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมประชุม

รั บมอบนโยบายในการจั ดทำงบประมาณรายจ่า ยประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๖ ซึง่ ได้รบั เกียรติจากศาสตราจารย์ สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

เป็นประธาน ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ ๑๒ มี น าคม ๒๕๕๕ -

นายอภิ ช าติ จี ร ะวุ ฒ ิ เลขาธิ ก าร คณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา

รั บ มอบทุ น การศึ ก ษา บริ ษ ั ท น้ำมันปิโตรเลียมไทย จำกัด โดย นายสมภพ ติงธนาธิกลุ กรรมการ ผู้จัดการและคณะผู้บริหาร เป็น ผู้แทนมอบ

ทั ้ ง นี ้ นางวราภรณ์ สี ห นาท รองเลขาธิ ก าร

คณะกรรมการอุ ด มศึ ก ษา นางแน่ ง น้ อ ย พั ว พั ฒ นกุ ล

ที่ปรึกษาสำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน ร่วมเป็นเกียรติ

ในพิธี ณ ห้องประชุมพันเอกอาทร ชนเห็นชอบ (๑) อนุสารอุดมศึกษา

21


เล่าเรื่องด้วยภาพ

๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ - รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา และรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ก ำจร ตติยกวี

รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา รับฟังการบรรยายพิเศษ และรับมอบ นโยบายจากศาสตราจารย์สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในการประชุ ม สามั ญ ที ่ ป ระชุ ม อธิ ก ารบดี แ ห่ ง ประเทศไทย ครั ้ ง ที ่ ๑/๒๕๕๕

ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบนโยบายการทำงาน และ นโยบายด้านการอุดมศึกษากับที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย อาทิ นโยบาย การศึกษาโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัยในการออก นอกระบบ ตำแหน่งทางวิชาการ ระบบประเมินมหาวิทยาลัย ระบบการเข้าศึกษาต่อ ในสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา การลงทุ น ในมหาวิ ท ยาลั ย กองทุ นตั ้ ง ตั ว ได้ การรั บ น้ อ ง

เงินเดือนพนักงานมหาวิทยาลัย การสนับสนุนงบประมาณของมหาวิทยาลัย

๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ - รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา ร่ ว มอภิ ป รายในการ ประชุมสัมมนาระดับชาติ เรื่อง การกำหนดทิศทางการจัดการศึกษา ข้ า มชาติ / ข้ า มพรมแดนในประเทศไทย (Transnational Education)

ในหัวข้อเรื่อง “ทิศทางการจัดการศึกษาข้ามชาติเพื่อเตรียมการเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน” พร้อมทั้งเป็นประธานการอภิปราย เรื่อง “ความ ร่วมมือทางการศึกษากับประเทศในอาเซียน” ณ โรงแรมอโนมา

22

อนุสารอุดมศึกษา

๘ กุ ม ภาพั นธ์ ๒๕๕๕ - รองศาสตราจารย์ พ ิ น ิ ต ิ

รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา บรรยายพิเศษ เรื่อง “การเตรียมความพร้อมเชิงรุกของ สถาบันอุดมศึกษาเข้าสู่ประชาคมอาเซียน” ณ บัณฑิต วิทยาลัย อาคารนวมินทราราชินี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ


เล่าเรื่องด้วยภาพ

๘ มีนาคม ๒๕๕๕ - รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธาน การประชุม เรื่อง แนวปฏิบัติการดำเนินการหลักสูตรการศึกษาที่ เกี่ยวข้องกับองค์กรวิชาชีพ ณ ห้องกมลทิพย์ โรงแรมสยามซิตี้

๖ มีนาคม ๒๕๕๕ - รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานการประชุมผู้นำนิสิตนักศึกษาอบรมให้ความรู้ ทางกฎหมายที ่ เ กี ่ ย วกั บ การคุ ้ ม ครองสิ ท ธิ น ั ก ศึ ก ษา

ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร

๕ มีนาคม ๒๕๕๕ - นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานเปิดงานวันสถาปนา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๕ ณ อาคาร ๔๐ ปี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

๑๓ กุ ม ภาพั น ธ์ ๒๕๕๕ นางวราภรณ์ สี ห นาท รองเลขาธิ ก าร

คณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธาน การประชุ ม คณะกรรมการส่ ง เสริ ม และ ป ร ะ ส า นง า นก า ร จ ั ด ง า นด นต ร ี ไท ย อุดมศึกษา ครั้งที่ ๑/๒๕๕๕ ซึ่งได้มีการ ประชุมเตรียมงานดนตรีไทยอุดมศึกษา ครัง้ ที่ ๓๙ ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร

อนุสารอุดมศึกษา

23



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.