อนุสารอุดมศึกษา issue 422

Page 1

ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๔๒๒ ประจ�ำเดือนสิงหาคม ๒๕๕๖ เอกสารเผยแพร่ของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ISSN 0125-2461

อนุ ส ารอุดมศึกษาออนไลน์ www.mua.go.th/pr_web


สารบัญ

ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๔๒๒ ประจ�ำเดือนสิงหาคม ๒๕๕๖

เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย ๑๕ นโยบายด้านการอุดมศึกษา ๓ เผยรายชื่อมหาวิทยาลัยต่างประเทศเข้าข่าย สกอ. ไม่รับรองวุฒิ ๔ สกอ. ตั้ง ‘ศูนย์เฉพาะกิจ’ ช่วยนักศึกษาไทยที่เดินทางกลับจากอียิปต์ ๕ สร้างเครือข่ายนักศึกษา ‘ทุนเฉลิมราชกุมารี’ ๖ พัฒนาอาจารย์ ‘สอนเก่งเร่งการเรียนรู้’ ๖ พัฒนาบัณฑิต มุ่งเน้นช่วยเหลือสังคม ๗ สกอ. จัดกิจกรรมกระตุ้น ‘บัณฑิตไทยไม่โกง’ ๘ เตรียมความพร้อมนักศึกษาแลกเปลี่ยนไทยและอาเซียน ๙ สกอ. ร่วมกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน พัฒนาหลักสูตร ๑๐ พัฒนาศักยภาพอาจารย์สู่มืออาชีพ ๑๑ เรื่องเล่าอาเซียน สกอ. เดินหน้าจัดตั้งฐานข้อมูลดัชนีการอ้างอิงวารสารของอาเซียน ๑๒

๑๔

เรื่องพิเศษ บทอาศิรวาท สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ

๑๔

พูดคุยเรื่องมาตรฐาน

หลักสูตรทางด้านอิสลามและภาษาอาหรับ

เรื่องแนะน�ำ คณะกรรมการการอุดมศึกษา

เหตุการณ์เล่าเรื่อง ‘ค่ายอาเซียน’ เชื่อมสัมพันธ์นักศึกษาไทย-อาเซียน เล่าเรื่องด้วยภาพ

๑๕ ๑๗

๑๘ ๒๓

๔ คณะผู้จัดท�ำ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๒๖ เว็บไซต์ www.mua.go.th อีเมล์ pr_mua@mua.go.th นายอภิชาติ จีระวุฒิ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี นางวราภรณ์ สีหนาท นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ชวนี ทองโรจน์ นางสาวสุนันทา แสงทอง นายสุภัทร จ�ำปาทอง นายศิระวิทย์ คลี่สุวรรณ บรรณาธิการ นายกฤษณ์กร วงศ์ไทย กองบรรณาธิการ นางสาวปิยาณี วิริยานนท์ นางชุลีกร กิตติก้อง นายเจษฎา วณิชชากร นางปราณี ชื่นอารมณ์ นายพรชัย สิทธินันทน์ นายจรัส เล็กเกาะทวด ผู้พิมพ์ บริษัท ออนป้า จ�ำกัด


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

๑๕ นโยบายด้านการอุดมศึกษา ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖ - นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา พร้อมด้วยผู้บริหารและข้าราชการส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา ต้อนรับ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในโอกาสตรวจเยี่ยมและมอบนโยบาย ให้แก่ผู้บริหารส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์วจิ ิตร ศรีสอ้าน นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงศึกษาธิการ มอบ ๑๕ นโยบายด้านการอุดมศึกษา โดยมีรายละเอียดดังนี้ ๑. สกอ. จัดให้มกี ารศึกษาแนวโน้มความต้องการก�ำลังคนระดับอุดมศึกษาของประเทศ ในสาขาวิชาต่างๆ และประกาศให้มหาวิทยาลัย และสาธารณชนทราบ ทุกๆ สามปี ๒. หามาตรการในการควบคุมปริมาณการผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับความต้องการของชาติ ไม่ขยายวิทยาเขต/ศูนย์บริการนอกเขต พืน้ ทีบ่ ริการ แต่เน้นการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานให้มากขึน้ จัดท�ำระบบ accreditation อุดมศึกษา ทัง้ มิตขิ องสถาบัน และหลักสูตรการศึกษา ๓. จัดให้มรี ะบบจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษา ทีเ่ หมาะสมกับสถานการณ์ในประเทศ และประกาศผลการจัดอันดับให้สาธารณชนทราบ ทุกปี โดยอาจร่วมมือกับภาคเอกชน เช่น สื่อมวลชน ๔. จัดให้มีโครงการ “มหาวิทยาลัยระดับโลก” (World Class University) ตามนโยบายรัฐบาล โครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ โดยให้มีการก�ำหนดเงื่อนไขและคุณลักษณะของการเป็น WCU ที่ชัดเจน และผลักดันให้มหาวิทยาลัยติดอันดับการจัดอันดับของนานาชาติ ให้มากขึ้น จ�ำนวนไม่น้อยกว่า ๗ มหาวิทยาลัย ในช่วงเวลา ๕ ปี ๕. เร่งรัดให้มพี ระราชบัญญัตอิ ดุ มศึกษา เพือ่ เป็นหลักประกันความเป็นอิสระและความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันอุดมศึกษา และ รัฐสามารถก�ำกับเชิงนโยบาย และคุณภาพมาตรฐาน และพัฒนาโครงสร้างและหน้าทีข่ องคณะกรรมการการอุดมศึกษา ให้เป็นกลไกขับเคลือ่ น เชิงนโยบายและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานอุดมศึกษาให้มากขึน้ ๖. ส่งเสริมให้วทิ ยาลัยชุมชนให้สามารถเป็นกลไกสร้างความเข้มแข็ง พัฒนาอาชีพ และสร้างองค์ความรูใ้ ห้กบั ชุมชน โดยจะเร่งผลักดัน พระราชบัญญัตวิ ทิ ยาลัยชุมชนให้มผี ลบังคับใช้โดยเร็ว ๗. พัฒนาระบบผลิตครูแห่งชาติ และศึกษาความต้องการและวางแผนผลิตครูของประเทศในระยะยาว มีระบบคัดเลือกเพือ่ ให้สถาบัน การผลิตครูท่มี ีคุณภาพสูงเข้าร่วมโครงการ โดยการก�ำกับคุณสมบัติของสถาบันให้ชดั เจน ๘. ปฏิรปู การเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยจัดการเรียนการสอนด้าน “ศิลปวิทยาศาสตร์” (Liberal Arts Education) เพือ่ มุง่ ให้เกิดความเข้มแข็งในสาขาวิชาพืน้ ฐานอย่างแท้จริง • ก�ำหนดทักษะด้านภาษาอังกฤษและภาษาต่างประเทศอื่นให้เป็นคุณสมบัติของบัณฑิต ให้ สกอ. ร่วมกับ สทศ. หรือสถาบัน การศึกษา สร้างระบบแห่งชาติส�ำหรับประเมินความสามารถด้านภาษา ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เช่นเดียวกันกับระบบ TOEFL หรือ IELTS • สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยจัดตัง้ ศูนย์ภาษา ๙. พัฒนากองทุนเงินกู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (ICL) ให้สามารถเป็นกลไกในการพัฒนาคุณภาพ เพิ่มโอกาสและผลิตบัณฑิต ให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ ๑๐. พัฒนาระบบการคัดเลือกบุคคลให้เข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ให้สอดคล้องกับการปฏิรปู การเรียนการสอนในระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ๑๑. เร่งรัดให้มกี ารจัดตัง้ สถาบันเทคโนโลยีเพือ่ การศึกษาและกองทุนเทคโนโลยีเพือ่ การศึกษา เป็นองค์กรในก�ำกับ กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเป็นหน่วยงานด้านนโยบายและวางแผน วิจัยและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ๑๒. พัฒนาให้ไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษานานาชาติส�ำหรับภูมภิ าคอาเซียน : สนับสนุนให้มสี ถาบันการศึกษาชั้นน�ำของโลกมาเปิด ด�ำเนินการในประเทศไทย เปิดโอกาสให้นกั ศึกษาจากประเทศอาเซียนมาศึกษาในประเทศไทย ๑๓. ส่งเสริมการวิจัยระดับอุดมศึกษา และการน�ำผลการวิจัยและเทคโนโลยีจากมหาวิทยาลัยไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ ๑๔. พัฒนาอาจารย์ระดับอุดมศึกษาให้มขี ดี ความสามารถทางวิชาการสูง โดยมีมาตรฐานทัดเทียมอาจารย์มหาวิทยาลัยระดับนานาชาติ : จัดให้มีทนุ พัฒนาอาจารย์ สนับสนุนให้มแี หล่งผลิตอาจารย์ภายในประเทศให้มากขึ้น ๑๕. ส่งเสริมเอกชนให้เข้ามาร่วมจัดอุดมศึกษา โดยรัฐก�ำกับเท่าที่จ�ำเป็น เพื่อรักษาคุณภาพ มาตรฐาน และปรับปรุงระเบียบ ให้ยืดหยุ่นมากขึ้น อนุสารอุดมศึกษา

3


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

เผยรายชื่อมหาวิทยาลัยต่างประเทศเข้าข่าย สกอ. ไม่รับรองวุฒิ

๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๖ - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีชว่ ยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการปราบปราม วุฒิเถื่อน ว่า จากที่มีนโยบายให้ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเร่งจัดการกับการจัดการศึกษาที่ไม่ได้คุณภาพ การแอบอ้าง มหาวิทยาลัยต่างประเทศทีม่ าเปิดสอนในประเทศไทยโดยไม่ได้รบั อนุญาต และการปลอมแปลงวุฒเิ ถือ่ น นัน้ สกอ. ได้จดั ตัง้ ศูนย์ปราบปราม วุฒิเถื่อน โดยมีหมายเลขติดต่อ ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ และด�ำเนินการรับเรื่องมาสัปดาห์กว่า มีผู้ส่งข้อมูลเข้ามาจ�ำนวนมาก จากการด�ำเนินการตรวจสอบข้อมูลของ สกอ. สามารถจัดกลุ่มมหาวิทยาลัยที่เข้าข่ายผิดกฎหมายและ สกอ. จะไม่รับรองวุฒิ เป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มที่ ๑ มหาวิทยาลัยที่อ้างว่าจัดการศึกษาร่วมกับต่างประเทศ คือ มหาวิทยาลัยอดัมสัน (Adamson University) สหรัฐอเมริกา International Academy of Management and Economics (IAME) ประเทศฟิลปิ ปินส์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ยูอนิ (California Yuin University) สหรัฐอเมริกา และ Victoria University สมาพันธรัฐสวิส มหาวิทยาลัยกลุ่มนี้ทาง สกอ. จะตรวจสอบอย่างใกล้ชดิ เบื้องต้น สกอ. จะแจ้งให้ส�ำนักงาน ก.พ. รับทราบว่า มหาวิทยาลัยทั้ง ๔ แห่งนี้จัดการศึกษาไม่ถูกต้องตามกฎหมายไทย และเป็นวุฒิที่ สกอ. จะไม่รับรอง กลุม่ ที่ ๒ มหาวิทยาลัยทีไ่ ม่ได้รบั การรับรองจากต่างประเทศ เป็นมหาวิทยาลัยทีไ่ ม่สามารถสืบค้นต้นสังกัด ไม่มตี วั ตน อาทิ มหาวิทยาลัยสันติภาพโลก มหาวิทยาลัยโรชวิลล์ (Rochville University) มหาวิทยาลัยลาครอส (Lacrosse University) สหรัฐอเมริกา วิทยาลัย สไปเซอร์ เมโมเรียล (Spicer Memorial College) สาธารณรัฐอินเดีย Islamic University of South Africa สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ Intercultural Open University ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ Dhammakaya Open University (DOU) สหรัฐอเมริกา Darul Uloom Nadwatul Ulama สาธารณรัฐ อินเดีย Institut Francais de la Mode สาธารณรัฐฝรั่งเศส ซึ่งจากการตรวจสอบของ สกอ. พบว่า มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ไม่ได้รบั การรับรอง วิทยฐานะจากหน่วยงานที่รับรองวิทยฐานะของประเทศต่างๆ หรือไม่ได้จดทะเบียนกับกระทรวงศึกษาธิการ ส�ำหรับมหาวิทยาลัยกลุ่มนี้ อยู่ในข่ายที่ สกอ. จะไม่รับรองวุฒิ ทัง้ นี้ ทาง สกอ. จะจัดท�ำเว็บเพจ ‘ศูนย์ปราบปรามวุฒเิ ถือ่ น’ เพือ่ น�ำรายละเอียดของทัง้ ๒ กลุม่ ประกาศบนเว็บไซต์ของ สกอ. www.mua.go.th เพื่อให้ประชาชนได้ตรวจสอบ และให้ประชาชนแจ้งเบาะแส “นอกจากนี้ สกอ. ยังได้แจ้งว่ามีโรงเรียนเอกชนแห่งหนึง่ แอบอ้างว่าจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี และปริญญาโทได้ โดยไม่ได้รบั อนุญาต ซึ่งได้สั่งการให้ สกอ. ด�ำเนินการหาข้อเท็จจริง รวบรวมข้อมูล หลักฐาน และพิจารณาด�ำเนินการทางคดีกับผู้ประกอบการดังกล่าว ต่อไป” รมช. ศธ. กล่าว

4

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

สกอ. ตั้ง ‘ศูนย์เฉพาะกิจ’

ช่วยนักศึกษาไทยที่เดินทางกลับจากอียิปต์ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๖ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดการแถลงข่าว เรื่อง การจัดตัง้ ศูนย์เฉพาะกิจเพือ่ ให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษาแก่นกั ศึกษาไทยทีเ่ ดินทาง กลับเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศอียิปต์ โดยมีนายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานในการแถลงข่าว ณ ห้องประชุมบริหาร ชั้น ๔ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา นายอภิ ช าติ จี ร ะวุ ฒิ เลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา เปิ ด เผยถึ ง แผนการ ให้ความช่วยเหลือนักศึกษาไทยที่เดินทางกลับมาจากประเทศอียิปต์ ว่า จากสถานการณ์ ความรุนแรงทางการเมืองในประเทศอียปิ ต์ ขณะนี้มีนกั ศึกษาไทย ประมาณ ๘๐๐ - ๙๐๐ คน แจ้งความประสงค์ขอเดินทางกลับมาประเทศไทย เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ ความไม่สงบในกรุงไคโร ดังนัน้ เพือ่ เตรียมการให้ความช่วยเหลือนักศึกษาไทยทีก่ �ำลังจะเดินทาง กลับมาจากประเทศอียิปต์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มิให้เกิดผลกระทบต่อนักศึกษาไทย ด้านการศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงได้จัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจเพื่อให้ความ ช่วยเหลือด้านการศึกษาแก่นักศึกษาไทยที่เดินทางกลับเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบ ในประเทศอียิปต์ โดยมี นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นผูอ้ �ำนวยการศูนย์ฯ โดยศูนย์ให้ความช่วยเหลือนักศึกษาทีเ่ ดินทางกลับมาจากประเทศอียปิ ต์ ด้านการศึกษาจะตั้งอยู่ที่ ชั้น ๑ อาคารส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เปิดให้บริการ วันจันทร์ - ศุกร์ ตัง้ แต่เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. หมายเลขติดต่อ โทร. ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ และ ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๔๖ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๔๖ และจะเริ่มให้บริการตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ทั้งนี้ สกอ. ได้จดั ท�ำแบบฟอร์มให้นกั ศึกษากรอกข้อมูล และความช่วยเหลือที่ต้องการ “เบือ้ งต้น สกอ. ได้กำ� หนดแนวทางความช่วยเหลือ ทัง้ ด้านการเทียบโอนหน่วยกิต/เทียบโอน รายวิชาจากสถาบันอุดมศึกษาในประเทศอียิปต์มายังสถาบันอุดมศึกษาไทย และได้เตรียม ประสานงานกับสถาบันอุดมศึกษาเพือ่ น�ำนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในสาขาทีต่ อ่ เนือ่ งหรือเกีย่ วเนือ่ ง กับที่ศึกษาอยู่ในประเทศอียิปต์ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ซึง่ เปิดสอนสาขาอิสลามศึกษา และกฎหมายอิสลาม เนือ่ งจากนักศึกษาทีเ่ รียนอยู่ประเทศอียปิ ต์ ส่วนใหญ่จะเรียนสาขาเหล่านี้” เลขาธิการ กกอ. กล่าว

อนุสารอุดมศึกษา

5


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

สร้างเครือข่ายนักศึกษา ‘ทุนเฉลิมราชกุมารี’ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๖ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจัดการสัมมนาโครงการแนะแนวอาชีพ และสร้างเครือข่ายนักศึกษาทุนการศึกษาเฉลิมราชกุมารี ณ เดอะไพน์ รีสอร์ท จังหวัดปทุมธานี เพื่อแนะแนวอาชีพ และการท�ำงานให้ประสบความส�ำเร็จ รวมถึงสร้างเครือข่ายของนักศึกษาทุนการศึกษา เฉลิมราชกุมารีในแต่ละรุ่น ตลอดจนเปิดโอกาสให้นักศึกษาทุนการศึกษาเฉลิมราชกุมารี ได้แลกเปลี่ยน ความรู้ และประสบการณ์ รวมทั้งเข้าร่วมกิจกรรมบ�ำเพ็ญประโยชน์ต่อสาธารณะ ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานเปิดการสัมมนา นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาคาดหวังว่า นิสิต นักศึกษา ที่ได้รับทุนเฉลิมราชกุมารี จะน�ำความรู้กลับไปพัฒนาท้องถิ่นบ้านเกิด เป็นพลเมืองดี รักแผ่นดินถิ่นเกิด เป็นต้นแบบ ของคนดี เพื่อพัฒนาท้องถิ่นแผ่นดินเกิดให้มั่นคงยั่งยืน พร้อมทั้งเป็นก�ำลังส�ำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศชาติต่อไปในอนาคต “ทั้งนี้ ขอฝากให้นสิ ิต นักศึกษา ตั้งใจรับฟังความรู้และประสบการณ์จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ มีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษา หาความรู้อย่างสม�่ำเสมอ ประพฤติปฏิบัติตนในทางที่ถูกที่ควร มีความเสียสละ มีจิตอาสาในการช่วยเหลือสังคมและส่วนรวม และ มีแรงบันดาลใจในการน�ำความรู้ไปพัฒนาท้องถิ่นและภูมิล�ำเนาต่อไป” เลขาธิการ กกอ. กล่าว

พัฒนาอาจารย์ ‘สอนเก่งเร่งการเรียนรู้’ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๖ - ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา โดยสมาคมเครือข่ายพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และ องค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย จัดการประชุมวิชาการ ครั้งที่ ๘ เรื่อง ‘สอนเก่งเร่งการเรียนรู้’ (How learning works with smart teaching) ณ โรงแรมดิ อิ ม พี เ รี ย ล ควีนส์ ปาร์ค กรุงเทพฯ โดยได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานเปิดการประชุม รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า การพัฒนาการศึกษาทุกระดับ ต้องท�ำอย่างต่อเนื่องจึงจะได้ผลอย่างแท้จริง การจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ การประกอบอาชีพ ให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ จึงเป็นเรื่องที่ส�ำคัญและมีคุณค่าอย่างยิ่ง สถาบันการศึกษา และคณาจารย์ผู้ท�ำหน้าที่ ในการจัดการเรียนการสอนจึงเป็นส่วนส�ำคัญที่สุดในการออกแบบและสร้างบัณฑิตที่มีคุณลักษณะพึงประสงค์ตามกรอบมาตรฐาน คุณวุฒิทั้ง ๕ ด้าน คือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ความสามารถ ด้านทักษะการคิดที่เป็นเหตุเป็นผล ด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ และอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุขและมีความเข้าใจ รวมทั้งด้านความสามารถในการสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาสากล เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑ และการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน “การจัดการศึกษาเพื่อให้ได้บัณฑิตที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ต้องมีการออกแบบและวางแนวทางการจัดการเรียนการสอน ที่เหมาะสมและเอื้ออ�ำนวยต่อการสร้างคุณสมบัติดังกล่าว เมื่อมีการประเมินผลแล้วมองย้อนกลับไปดูการด�ำเนินการที่ผ่านมา จะเห็นว่า ผลผลิตทางการศึกษาที่เกิดขึ้นยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของภาคผู้ใช้บัณฑิตเท่าที่ควรจะเป็น ดังนั้น สกอ. จึงสนับสนุน ให้มีการจัดการอบรมและประชุมวิชาการด้านการพัฒนาการเรียนการสอนมาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากอาจารย์เป็นองค์ประกอบที่สำ� คัญ ที่จะท�ำให้การจัดการศึกษาบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้ง อันส่งผลต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพของนักศึกษา อาจารย์จึงเป็นปัจจัย แห่งความส�ำเร็จของผลลัพธ์ในการปฏิรูปการศึกษาที่จะเกิดขึ้น ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการถือว่าเป็นนโยบายที่จะต้องด�ำเนินการพัฒนา อาจารย์อย่างต่อเนื่องและจะน�ำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ของอุดมศึกษาไทยต่อไป” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว

6

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

พัฒนาบัณฑิต มุ่งเน้นช่วยเหลือสังคม ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมกับเครือข่าย การพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทยเขตภาคกลางและมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม จัดการประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง ‘การพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย บนเส้นทาง มหาวิทยาลัยกับความรับผิดชอบต่อสังคม University Social Responsibility, USR’ ระหว่างวันที่ ๓๑ กรกฎาคม - ๑ สิงหาคม ๒๕๕๖ ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น โดยได้รับเกียรติจากนางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิด นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้เห็นถึงความส�ำคัญของการพัฒนาบัณฑิต ให้พร้อมทีจ่ ะก้าวขึน้ มารับผิดชอบต่อสังคม ประเทศชาติ และร่วมรับผิดชอบต่อสังคมโลก จึงได้ก�ำหนดทิศทางการพัฒนาบัณฑิตไว้ในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ ๑๑ โดยให้มงุ่ เน้นการผลิตก�ำลังคนทีม่ ศี กั ยภาพตรงตามความต้องการของตลาดงาน สามารถท�ำงานเพือ่ ด�ำรงชีพตนเองและเพือ่ ช่วยเหลือสังคม มีคณ ุ ธรรม มีความรับผิดชอบ และมีสขุ ภาวะทัง้ ร่างกายและจิตใจ ประชาคมอุดมศึกษายุคใหม่จงึ ต้องเรียนรู้ ท�ำความเข้าใจ ร่วมกันแสดงออกด้วยการท�ำให้ดู อยู่ให้เห็น สร้างกลไกการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการปลูกฝังให้นิสิตนักศึกษารุ่นใหม่ได้เข้าใจและแสดงออกให้เห็นอย่างเด่นชัด ในประเด็นดังกล่าว ซึง่ น่าจะต้องถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของสถาบันอุดมศึกษา เพราะบัณฑิตซึ่งเป็นผลผลิตของสถาบันอุดมศึกษา มีผลโดยตรงต่อความด�ำรงคงอยู่ ความก้าวหน้าอย่างยั่งยืนของสังคมทั้งสิ้น จึงถือได้ว่าเป็นประเด็นความท้าทาย อย่างยิ่งของสถาบันอุดมศึกษาทั้งในปัจจุบันและอนาคต อนุสารอุดมศึกษา

7


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

สกอ. จัดกิจกรรมกระตุ้น ‘บั ณ ฑิ ต ไทยไม่ โ กง’

สิงหาคม ๒๕๕๖ - นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เปิดเผยถึงโครงการประกวด ผลิตและเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์การรณรงค์ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ‘บัณฑิตไทยไม่โกง’ ว่ า ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาตระหนั ก ถึ ง ปั ญ หาการคอรั ป ชั่ น ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในปั จ จุ บั น จึ ง ได้ จั ด โครงการนี้ เพือ่ เปิดโอกาสให้นกั ศึกษาได้สร้างสรรค์ผลงานสือ่ ทางเลือกทีจ่ ะสามารถเข้าถึงกลุม่ เป้าหมายทีเ่ ป็นเยาวชนรุน่ ใหม่ โดยนักศึกษา ที่ได้รับรางวัลจะได้มีโอกาสน�ำเสนอผลงานในเวทีของการประชุมวิชาการโครงการบัณฑิตไทยไม่โกง ในหัวข้อ ‘บัณฑิตไทย คนรุ่นใหม่หวั ใจคุณธรรม’ ซึ่งที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ก�ำหนดจัดในระหว่างวันที่ ๒๑ - ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ พร้อมทัง้ ได้รบั การเผยแพร่ไปยังสือ่ ต่างๆ และกระจายไปยังสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งในสังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า ส�ำหรับการประกวดในครั้งนี้ มี ๓ กิจกรรม คือ การประกวดแอนิเมชั่น การประกวด ภาพยนตร์สั้น และการประกวดบทความ ภายใต้หัวข้อ ‘บัณฑิตไทยไม่โกง’ เพื่อสื่อให้เห็นวิธีคิดของเยาวชนรุ่นใหม่ ในการจัดการกับปัญหาทุจริตคอรัปชัน่ ในยุคปัจจุบนั อย่างสร้างสรรค์ อาศัยพลังของบัณฑิตไทยในการเป็นพลเมืองทีม่ คี ณ ุ ภาพ มีภูมิต้านทาน รักความถูกต้อง มีความกล้าหาญทางจริยธรรมและเป็นผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง โครงการนี้มีกลุ่มเป้าหมาย เป็นนักศึกษาทีก่ ำ� ลังศึกษาอยูใ่ นระดับปริญญาตรีทกุ สถาบัน ในสังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยมีเงินรางวัลรวม ๓๕๐,๐๐๐ บาท “สกอ. คาดหวังว่าการจัดการประกวดครัง้ นีจ้ ะเป็นแรงขับให้นกั ศึกษาน�ำความรูค้ วามสามารถ ศักยภาพทีม่ อี ยูใ่ นด้านต่างๆ มาใช้ประโยชน์เพื่อสังคม ส�ำหรับโครงการนี้ สกอ. ต้องการกระตุ้นให้นักศึกษาซึ่งเป็นเยาวชน และสังคมไทยตื่นตัว และเห็นความส�ำคัญของปัญหาการคอรัปชั่น และพร้อมที่จะเป็นก�ำลังส�ำคัญในการต่อต้านการทุ​ุจริตคอรัปชั่น และการโกง ทุกรูปแบบ จึงให้นกั ศึกษาเป็นผูค้ ดิ และผลิต เพือ่ ให้เนือ้ หาสือ่ และรูปแบบในการน�ำเสนอ พร้อมทัง้ ใช้ชอ่ งทางในการน�ำเสนอ ที่เข้าถึงกลุ่มเยาวชนด้วยกันเองง่ายขึ้น” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อไปว่า การประกวดครั้งนี้ นอกจากจะมีผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านจาก สถาบันอุดมศึกษา มาร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินแล้ว ในการประกวดแอนิเมชัน่ และภาพยนตร์สนั้ ยังมีรางวัลป๊อปปูลา่ โหวต ทีจ่ ะตัดสินจากจ�ำนวนผูเ้ ข้าชมผลงานผ่านเว็บไซต์ยทู ปู อีกด้วย จึงขอเชิญชวนผูส้ นใจเข้าไปชมและติดตามผลงานของนักศึกษา ทางยูทูป ส�ำหรับสถาบันอุดมศึกษาที่สนใจส่งนักศึกษาเข้าร่วมการประกวดสามารถดูรายละเอียด และดาวน์โหลดใบสมัคร ได้ทเี่ ว็บไซต์ www.mua.go.th หรือสอบถามที่ โทร. ๐ ๒๖๑๐ ๕๔๑๖ ทัง้ นีจ้ ะหมดเขตส่งผลงานในวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ นี้

8

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

เตรียมความพร้อมนั ก ศึ ก ษาแลกเปลี่ ย นไทยและอาเซี ย น ๕ สิงหาคม ๒๕๕๖ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจัดการประชุมเพือ่ เตรียมความพร้อมของนักศึกษาทีจ่ ะเข้าร่วม โครงการแลกเปลีย่ นนักศึกษาไทยและอาเซียน ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยได้รบั เกียรติจากนางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานเปิดการประชุม และรองศาสตราจารย์ นันทนา คชเสนี ผูอ้ ำ� นวยการบริหารเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน และผูท้ รงคุณวุฒเิ กีย่ วกับประเทศอาเซียนจากสถาบันอุดมศึกษามาเป็น วิทยากรให้ความรูเ้ พือ่ เสริมสร้างความเข้าใจเกีย่ วกับประเทศอาเซียนแก่นกั ศึกษา นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวในการเปิดประชุมว่า ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาได้ตดิ ตามผลการเข้าร่วมโครงการแลกเปลีย่ นนักศึกษาไทยและอาเซียนทีผ่ า่ นมา พบว่านักศึกษาทีเ่ ข้าร่วมโครงการได้รบั การพัฒนาทักษะภาษาต่างประเทศ เพิ่มประสบการณ์ชวี ิตและเปิดโลกทัศน์ทางการศึกษา รวมทั้งได้เรียนรู้ท่จี ะปรับตัวให้เข้ากับสังคม และวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากสังคมไทย ในส่วนของปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างเข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่เป็นเรื่องของ การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ซึ่งคนในประเทศที่เข้าร่วมโครงการบางแห่งไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ ปัญหาในการปรับตัวให้เข้ากับ สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมที่แตกต่างจากไทย การร้องขอให้ สกอ. จัดสรรงบประมาณสนับสนุนค่าลงทะเบียนเรียนและค่าธรรมเนียม การศึกษาให้ด้วย ทัง้ นี้ สกอ. ได้รวบรวมข้อมูลและพยายามหาแนวทางแก้ไขในประเด็นทีส่ ามารถท�ำได้ อาทิ ประสานเพือ่ ขอความร่วมมือจากสถาบัน อุดมศึกษาไทยในการให้ความรู้เกี่ยวกับภาษาที่ใช้ในประเทศที่นักศึกษาจะไปเข้าร่วมโครงการ การขอความอนุเคราะห์ในการประสาน กับสถาบันอุดมศึกษาเจ้าภาพเพื่ออ�ำนวยความสะดวกในการจัดรถรับ-ส่งนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ ส�ำหรับการจัดสรรงบประมาณ สนับสนุนค่าลงทะเบียนเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษา สกอ. ไม่ได้จัดสรรให้ เนื่องจากต้องการผลักดันให้เกิดการติดต่อกันระหว่าง สถาบันอุดมศึกษาไทยและสถาบันอุดมศึกษาเจ้าภาพ ซึ่งจะน�ำไปสู่การท�ำความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกันในอนาคต สถาบัน อุดมศึกษาไทยที่มีความร่วมมือทางวิชาการกับประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่แล้วอาจได้ประโยชน์ในการใช้ข้อตกลงที่มีต่อกันเพื่อขอให้ ยกเว้นค่าลงทะเบียนเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาให้กบั นักศึกษาของตนที่จะไปศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาคู่สญ ั ญา “การประชุมครัง้ นีเ้ พือ่ เตรียมความพร้อมให้กบั นักศึกษาทีไ่ ด้รบั คัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการผ่านการบอกเล่าประสบการณ์ของนักศึกษา ทีเ่ ป็นศิษย์เก่าของโครงการ เพือ่ ให้นกั ศึกษาทีก่ ำ� ลังจะเดินทางไปประเทศเพือ่ นบ้านของไทยได้เตรียมตัวล่วงหน้าก่อนการเดินทางไปใช้ชวี ติ และไปศึกษาหาความรูใ้ นสังคมทีม่ วี ฒ ั นธรรมแตกต่างไปจากประเทศไทย การไปเรียนรูใ้ นกลุม่ ประเทศสมาชิกอาเซียนจะเป็นประโยชน์ตอ่ การเปิดโลกทัศน์และเสริมสร้างประสบการณ์ของนักศึกษา หากสามารถปรับตัวและใช้ชวี ติ ในกลุม่ ประเทศสมาชิกอาเซียนได้กม็ นั่ ใจได้วา่ นักศึกษาจะเป็นผู้ใหญ่ขึ้นและสามารถใช้ชีวิตในประเทศอื่นๆ ได้ทั่วโลก ทั้งนี้ สกอ. ได้ขยายผลโดยเชิญนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ ASEAN International Mobility for Students (AIMS) ซึ่งเป็นโครงการแลกเปลี่ยนสองทางระหว่างประเทศไทยกับประเทศสมาชิกอาเซียน มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ในครั้งนี้ด้วย เพื่อให้นักศึกษาได้รบั ทราบข้อมูลจากหลากหลายมุมมอง” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว ด้านรองศาสตราจารย์นนั ทนา คชเสนี ผูอ้ ำ� นวยการบริหารเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน กล่าวว่า การเข้าร่วมโครงการแลกเปลีย่ นเป็น โอกาสดีสำ� หรับนักศึกษาทีจ่ ะได้ไปเรียนรูท้ ศั นคติและมุมมองใหม่ๆ นอกจากนี้ การทีน่ กั ศึกษาเดินทางไปเข้าร่วมโครงการในประเทศสมาชิก อาเซียนเปรียบเสมือนการเป็นผูแ้ ทนของประเทศไทยไปเผยแพร่ความเป็นไทย ณ ประเทศสมาชิกอาเซียน อนุสารอุดมศึกษา

9


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

สกอ. ร่วมกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

พัฒนาหลักสูตร

๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๖ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดพิธลี งนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างกระทรวงแรงงาน กับส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยมีรองศาสตราจารย์ชวนี ทองโรจน์ ที่ปรึกษา ด้านพัฒนาภูมปิ ัญญาท้องถิ่น ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และนายนคร ศิลปอาชา อธิบดีกรมพัฒนาฝีมอื แรงงาน กระทรวงแรงงาน ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลง ณ ห้องโถง ชั้น ๑ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โอกาสนี้ได้รับเกียรติ จากรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนาม ดังกล่าว รองศาสตราจารย์ชวนี ทองโรจน์ ทีป่ รึกษาด้านพัฒนาภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เปิดเผยถึง ความร่วมมือทางวิชาการดังกล่าว ว่า ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้หารือร่วมกับกรมพัฒนาฝีมอื แรงงานถึงแนวทาง ความร่วมมือทางวิชาการและการพัฒนาฝีมอื แรงงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพแรงงานให้มคี วามรู้ ความสามารถ และให้มีทักษะฝีมือแรงงานที่สูงขึ้น ให้ทันต่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน และ การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน รวมทั้งเพื่อรองรับการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจในอนาคต ที่ปรึกษาด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น กล่าวว่า สกอ. และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้มีความเห็นร่วมกันที่จะพัฒนาหลักสูตร ฝึกอบรมโดยให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและร่วมกันพัฒนาศักยภาพให้แก่นกั ศึกษามีทักษะฝีมือ และได้มาตรฐาน ฝีมือแรงงานก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด ให้มีการแลกเปลี่ยนวิทยากร สถานที่และ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรฝึกอบรม และเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ใช้ในการท�ำงาน พร้อมทั้งร่วมกันพัฒนามาตรฐานและ การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานของผู้ส�ำเร็จการศึกษา ทั้งระดับ ปวช. ปวส. และอนุปริญญา และระดับอื่นๆ ก่อนเข้าสู่ ตลาดแรงงาน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และส่งเสริมการเทียบโอนผลการฝึกอบรมและประสบการณ์ของผู้รบั การฝึกอบรม ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานเข้าสู่ระบบหน่วยกิตเพื่อการศึกษาต่อตามหลักเกณฑ์ของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตลอดจนจัดท�ำฐานข้อมูลก�ำลังแรงงานของชุมชนในพื้นที่ที่วิทยาลัยชุมชนตั้งอยู่ เพื่อประโยชน์ของการพัฒนาฝีมือแรงงาน ตรงตามความต้องการของชุมชนและตลาดแรงงาน และการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศของประชาชน “ทั้งนี้ วิทยาลัยชุมชนมีความต้องการที่จะร่วมมือกับศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เช่น หลักสูตรพัฒนาทักษะ เสริมสร้างประสบการณ์อาชีพต่างๆ หรือหลักสูตรพัฒนาคุณภาพชีวติ ตามความต้องการของชุมชนในพืน้ ที่ ทีว่ ทิ ยาลัยชุมชนตัง้ อยู่ การพัฒนาคนในชุมชน จัดการอบรมทักษะฝีมอื แรงงาน เสริมสร้างประสบการณ์อาชีพ โดยการใช้ทรัพยากร ร่วมกัน การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานตามหลักสูตรและให้ใบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงาน และถ้าผู้จบการฝึกอบรมจาก วิทยาลัยชุมชนมีความประสงค์จะประกอบอาชีพอิสระสามารถมาฝึกอบรมหลักสูตรการประกอบอาชีพอิสระของกรมพัฒนาฝีมอื แรงงานได้ นอกจากนี้ กรมพัฒนาฝีมอื แรงงานยินดีให้วทิ ยาลัยชุมชนจัดศึกษาดูงาน ณ ศูนย์พฒ ั นาฝีมอื แรงงานจังหวัดทุกแห่งได้ โดยให้วทิ ยาลัยชุมชนประสานงานกับศูนย์พฒ ั นาฝีมือแรงงานจังหวัดล่วงหน้า” ที่ปรึกษาด้านพัฒนาภูมปิ ัญญาท้องถิ่น กล่าว

10

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

พัฒนาศักยภาพอาจารย์สู่มืออาชีพ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๖ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมกับสมาคมเครือข่ายการพัฒนา วิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท) จัดการอบรมหลักสูตร ‘ก้าวแรกสู่ อาจารย์มืออาชีพ’ รุ่นที่ ๙ ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและความตระหนักรู้ในบทบาท และหน้าที่ของความเป็นอาจารย์ มืออาชีพ ให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาคุณภาพของ บัณฑิตไทยได้ตามคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ ให้กับผู้เข้าอบรม จ�ำนวน ๕๐ คน ซึ่งเป็นผู้รบั ทุน ของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ทัง้ ทุนตามโครงการเครือข่ายเชิงกลยุทธ์เพือ่ การผลิตและพัฒนา อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา และทุนพัฒนาอาจารย์และบุคลากรส�ำหรับสถาบันอุดมศึกษาในเขตพัฒนา เฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ชวนี ทองโรจน์ ที่ปรึกษา ด้านภูมปิ ัญญาท้องถิ่น เป็นประธานเปิดการอบรม รองศาสตราจารย์ชวนี ทองโรจน์ ที่ปรึกษาด้านภูมปิ ัญญาท้องถิ่น กล่าวว่า ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาตระหนักดีว่า คณาจารย์เป็นผู้ท่มี ีความส�ำคัญอย่างยิ่งและมีส่วนส�ำคัญในการจัดการศึกษา เพื่อสร้างคนที่มีคุณภาพสูง มีทักษะทางเทคนิคชั้นสูง มีความคิดสร้างสรรค์ และสร้างองค์ความรู้เพื่อ การพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ จึงถือเป็นนโยบายส�ำคัญในการเตรียมความพร้อมก่อน การเข้าปฏิบัติงานและพัฒนาศักยภาพความเป็นอาจารย์ผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งมิใช่รอบรู้เพียง เนื้อหาวิชาการเท่านั้น แต่ต้องเข้าใจกระบวนการเรียนการสอน และกระบวนการพัฒนาขีดความสามารถ ของผู้เรียนโดยเน้นรูปแบบที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ และแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้เต็มตามศักยภาพ นอกจากนั้นการจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน ฝึกทักษะ การคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรูม้ าใช้เพือ่ ป้องกันและแก้ไขปัญหา บทบาท ของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา นอกจากต้องเป็นผูส้ อน ผูถ้ า่ ยทอดความรูแ้ ล้ว ยังต้องสามารถเป็นผูช้ แี้ นะ เพือ่ สร้างองค์ความรู้ เน้นการสอนเชิงสร้างสรรค์ และมีสว่ นร่วมในการบริหารจัดการ ตลอดจนดูแลคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษา “อาจารย์ผสู้ อนต้องเป็นผูท้ มี่ คี วามช�ำนาญทัง้ ด้านการสอน การวิจยั การบริการชุมชน มีมนุษยสัมพันธ์ และมีการประเมินผลการสอนอย่างเป็นระบบ และที่ส�ำคัญ คือ มีใจรักในวิชาชีพอาจารย์ อันเป็น คุณลักษณะของอาจารย์มืออาชีพ สอดคล้องกับกรอบแผนอุดมศึกษาระยาว ๑๕ ปี ที่มุ่งเน้น การพัฒนาการเรียนการสอนของอาจารย์ระดับอุดมศึกษา และการเชือ่ มโยงเครือข่ายความร่วมมือ ในการพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และกระบวนการเรียนการสอนให้มี ประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้คณาจารย์ท�ำการวิจัยเพื่อการพัฒนาองค์ความรู้ ทั้งนี้ เพื่อตอบสนอง เป้าหมายการพัฒนาคุณภาพอุดมศึกษาไทย ทัง้ การพัฒนาคุณภาพบัณฑิต คุณภาพอาจารย์ คุณภาพงานวิจยั รวมทัง้ คุณภาพการจัดการศึกษา และการแก้ไขปัญหาด้านการเรียนการสอนร่วมกัน รวมทัง้ การร่วมแลกเปลีย่ น คิดค้นรูปแบบและเทคนิคการสอนใหม่ๆ ร่วมกัน เพือ่ น�ำไปสูค่ วามพร้อมในการจัดกระบวนการเรียนการสอน อย่างมีประสิทธิภาพ” ที่ปรึกษาด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น กล่าว อนุสารอุดมศึกษา

11


เรื่องเล่าอาเซียน

สกอ. เดินหน้าจัดตั้งฐานข้อมูล

ดัชนีการอ้างอิงวารสารของอาเซียน “ภาคการอุดมศึกษาในฐานะทีเ่ ป็นผูผ้ ลิตองค์ความรูแ้ ละนวัตกรรมมีบทบาทส�ำคัญต่อการพัฒนาทางสังคม และเศรษฐกิจของอาเซียน ที่จริงแล้วอาเซียนมีผลงานวิจัยที่ส�ำคัญมากมายแต่ไม่ค่อยเป็นที่โดดเด่นหรือได้รับ การอ้างอิงในระดับสากล ประเทศสมาชิกอาเซียนจึงควรร่วมมือกันท�ำให้ผลงานวิจัยของสถาบันอุดมศึกษา ในอาเซียนเป็นที่โดดเด่นได้รบั การยอมรับในระดับสากลเพิ่มมากขึ้น ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจึง ผลักดันให้เกิดการจัดตั้งฐานข้อมูลดัชนีการอ้างอิงวารสารของอุดมศึกษาอาเซียน โดยมีศูนย์ดัชนีการอ้างอิง วารสารไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรเี ป็นหน่วยงานหลักในการด�ำเนินงานเมือ่ ปี ๒๕๕๔ ซึง่ ได้รบั ความเห็นชอบร่วมกันโดยผูบ้ ริหารทีด่ แู ลรับผิดชอบด้านการอุดมศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน ๑๐ ประเทศ”

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ก� ำ จร ตติ ย กวี รองเลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา กล่ า วเน้ น ย�้ ำ ถึ ง ความส� ำ คั ญ ของการริ เ ริ่ ม จั ด ตั้ ง ฐานข้ อ มู ล ดั ช นี ก ารอ้ า งอิ ง วารสารของอาเซี ย นในพิ ธีเ ปิ ด การประชุ ม 1 st ASEAN Citation Index Workshop for Steering Committee เมือ่ วันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๖ โรงแรมพูลแมน บางกอก คิงพาวเวอร์

การจัดการประชุม 1st ASEAN Citation Index Workshop for Steering Committee สืบเนื่องมาจากส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมกับศูนย์ดชั นีการอ้างอิงวารสารไทย [Thai-Journal Citation Index (TCI) Centre] มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ริเริ่มโครงการ ‘การพัฒนาฐานข้อมูลดัชนีการอ้างอิงวารสารส�ำหรับประเทศในกลุม่ อาเซียน’ หรือ (ASEAN Citation Index - ACI) เมือ่ ปี ๒๕๕๔ เพือ่ ผลักดันให้ ผลงานวิจัยของสถาบันอุดมศึกษาในอาเซียนได้เผยแพร่และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล แนวทางการจัดตั้ง ACI เริ่มจากการชักชวนให้แต่ละ ประเทศสมาชิกอาเซียนจัดท�ำฐานข้อมูลดัชนีการอ้างอิงวารสารระดับประเทศ (National Citation Index, NCI) ขึ้นเพื่อเป็นกลไกผลักดันให้เกิด การพัฒนาคุณภาพผลงานทางวิชาการผ่านการพัฒนาคุณภาพวารสารภายในประเทศ จากนั้นจึงท�ำการเชื่อมโยงข้อมูลจาก NCI ของแต่ละ ประเทศเข้ากับฐานข้อมูล ACI กล่าวได้ว่า ACI คือ ฐานข้อมูลกลางทีร่ วบรวมผลงานตีพมิ พ์จากวารสารของประเทศสมาชิกอาเซียน ซึง่ สามารถสืบค้นข้อมูลการตีพมิ พ์ และข้อมูลการอ้างอิงร่วมกันได้ นอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจถึงแนวทางในการพัฒนาคุณภาพ วารสารวิชาการร่วมกันระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน และเพื่อให้การจัดตั้ง ACI เป็นไปตามแผนงานที่ก�ำหนดไว้และมีการด�ำเนินงาน เป็นไปด้วยความโปร่งใส ได้รับการยอมรับจากประเทศสมาชิกอาเซียน จึงจ�ำเป็นต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนาฐาน ข้อมูลดัชนีการอ้างอิงวารสารส�ำหรับประเทศในกลุ่มอาเซียน หรือ ASEAN Citation Index Steering Committee เพื่อร่วมกันก�ำหนดนโยบาย กฎระเบียบข้อบังคับ ตรวจสอบและคัดเลือกวารสารที่มคี ุณภาพของแต่ละประเทศเพื่อป้อนเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลของ ACI ในการนี้ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงร่วมกับศูนย์ดชั นีการอ้างอิงวารสารไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดการประชุม 1st ASEAN Citation Index Workshop for Steering Committee เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๖ โรงแรมพูลแมน บางกอก คิงพาวเวอร์ โดยเชิญผูแ้ ทนจากประเทศสมาชิกอาเซียนทีม่ บี ทบาทส�ำคัญในการท�ำหน้าทีบ่ รรณาธิการของวารสารทางวิชาการชัน้ น�ำของแต่ละ ประเทศมาร่วมหารือถึงแนวทางการขับเคลื่อนด�ำเนินงาน ได้แก่ การจัดตั้งคณะกรรมการบริหาร การจัดท�ำระบบฐานข้อมูลโครงการ การก�ำหนดเกณฑ์การคัดเลือกวารสารทีม่ คี ณ ุ ภาพของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าสูฐ่ านข้อมูลของ ACI โดยมีผแู้ ทนจากประเทศอาเซียน เข้าร่วมประชุมทั้งหมด ๘ ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนีเซีย สปป.ลาว มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม

12

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องเล่าอาเซียน

ในการประชุมเชิงปฏิบตั กิ ารในครัง้ นี้ ศาสตราจารย์ณรงค์ฤทธิ์ สมบัตสิ มภพ หัวหน้าโครงการศูนย์ดชั นีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index (TCI) Centre) ได้รับมอบหมายจากส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้เป็นผู้ด�ำเนินการหารือระดมสมองกับผู้แทน ประเทศสมาชิกอาเซียนในประเด็นส�ำคัญสรุปได้ดงั นี้ ๑. การจัดตั้งคณะกรรมการการบริหารโครงการ ACI (ASEAN Steering Committee) ที่ประชุมเห็นชอบให้ประเทศสมาชิกอาเซียนมอบหมายผู้แทนเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการโครงการ ACI ประเทศละ ๒ คน มีวาระ การด�ำรงต�ำแหน่งคราวละ ๓ ปี และเห็นชอบให้ไทยโดย TCI เป็นเจ้าภาพจัดตัง้ ACI ในระยะเริม่ ต้นเพือ่ ให้การด�ำเนินงานเป็นไปอย่างราบรืน่ และมีความต่อเนื่อง ๒. การจัดท�ำข้อก�ำหนด/แนวทางในการด�ำเนินงาน (Terms of References) ทีป่ ระชุมเห็นชอบให้มกี ารจัดตัง้ คณะอนุกรรมการเพือ่ ศึกษารายละเอียดเพิม่ เติมในการจัดท�ำข้อก�ำหนดหรือแนวทางในการด�ำเนินงาน และประเด็นทีเ่ กีย่ วข้อง อาทิ การจัดท�ำฐานข้อมูลและตัวบ่งชีม้ าตรฐาน การออกแบบและการพัฒนาเกณฑ์การคัดเลือกวารสารเพือ่ น�ำเสนอ คณะกรรมการบริหารพิจารณาต่อไปโดยผู้แทนของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนยินดีรับหน้าที่เป็นผู้ประสานงานหลัก ๓. เกณฑ์การคัดเลือกวารสารลงในฐานข้อมูล (Criterion for Journal selections) ทีป่ ระชุมเห็นชอบให้กำ� หนดเกณฑ์การคัดเลือกวารสารลงในฐานข้อมูล ACI โดยใช้เกณฑ์การประเมินคุณภาพวารสารในฐานข้อมูล TCI เป็นต้นแบบ ในการนี้ แต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนจะจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อท�ำหน้าที่คัดเลือกและประเมินวารสารภายในประเทศ เพื่อเสนอให้คณะกรรมการบริหาร ACI พิจารณาอนุมัติ ส�ำหรับไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งมีศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารของประเทศอยู่แล้ว ศูนย์ฯ นั้นจะท�ำหน้าที่คัดเลือกและ ประเมินวารสารภายในประเทศเพื่อเสนอให้คณะกรรมการบริหาร ACI พิจารณาอนุมัติ เกณฑ์การประเมินคุณภาพวารสารในฐานข้อมูล TCI ประกอบด้วย เกณฑ์หลัก • ทุกบทความที่ตพี ิมพ์ในวารสารต้องมีการควบคุมคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) • วารสารต้องตีพิมพ์เผยแพร่ตรงตามเวลาที่ก�ำหนด เกณฑ์รอง • วารสารต้องมีอายุการตีพิมพ์บทความวิชาการไม่น้อยกว่า ๓ ปี • วารสารต้องมี citation ที่ตรวจสอบได้จากฐานข้อมูลของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน และ/หรือจากฐานข้อมูลระดับสากล • วารสารต้องมีการก�ำหนดกติกาและรูปแบบการตีพิมพ์อย่างชัดเจน • วารสารต้องมีกองบรรณาธิการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิมาจากหลากหลายหน่วยงาน • วารสารต้องตีพิมพ์บทความที่มผี ู้นิพนธ์มาจากหลากหลายหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก • วารสารต้องมีการตีพิมพ์บทความที่มีรูปแบบการตีพิมพ์และรูปเล่มที่ได้มาตรฐาน • วารสารควรมีเว็บไซต์ของวารสาร หรือ มีระบบการส่งบทความแบบออนไลน์ (ที่ไม่ใช่การส่งทาง e-mail) และมีการปรับปรุงให้ทนั สมัยและต่อเนื่อง ๔. เกณฑ์การพิจารณาคัดวารสารออกจากฐานข้อมูล (Criterion for Journal de-selection) ทีป่ ระชุมเห็นว่ายังไม่ควรก�ำหนดเกณฑ์การคัดเลือกวารสารออกจากฐานข้อมูล แต่จะมีการพิจารณาเฉพาะกรณีทเี่ กิดกรณีรอ้ งเรียน ๕. การประเมินคุณภาพของฐานข้อมูล ACI (Quality Assessments for ACI) ทีป่ ระชุมเห็นชอบให้มกี ารส่งเสริมวารสารทีม่ คี ณ ุ ภาพโดยการมอบรางวัล โดยจะมีการจัดตัง้ คณะอนุกรรมการพิจารณารายละเอียด ในเรื่องดังกล่าว ๖. การด�ำเนินงานอย่างยั่งยืนในด้านงบประมาณและการลงทุน (Budgeting and Investments) เพื่อให้โครงการ ACI มีการด�ำเนินงานที่ยั่งยืนและเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างแท้จริง ที่ประชุม ได้พจิ ารณาความเป็นไปได้ในการจัดท�ำข้อเสนอโครงการเพือ่ ขอรับงบประมาณสนับสนุนการด�ำเนินโครงการจากกองทุนอาเซียน (ASEAN Fund) โดยผู้แทนแต่ละประเทศควรจัดท�ำข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับเงินสนับสนุนจากหน่วยงานภายในประเทศให้มีความเชื่อมโยงกับข้อเสนอ โครงการของ ACI ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายในการด�ำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการจะประกอบด้วย การจัดฝึกอบรม การจัดท�ำระบบวารสารออนไลน์ การประเมินวารสาร และค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปเข้าร่วมกิจกรรม ทั้งนี้ ไทยโดยส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จัดสรร งบประมาณเป็นเงิน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หรือประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ) เพือ่ ริเริม่ ด�ำเนินงานจัดตัง้ ACI ในระยะเริม่ ต้นช่วง ๓ ปีแรก (๒๕๕๔-๒๕๕๖) โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีสนับสนุนด้านก�ำลังคน สถานที่และสิ่งอ�ำนวยความสะดวกต่างๆ ๗. การจัดประชุมประจ�ำปีและจัดอบรม (Annual Meetings and Trainings) ที่ประชุมเห็นชอบให้มกี ารประชุมคณะกรรมการบริหาร ACI ปีละ ๒ ครั้ง โดยการประชุมครั้งต่อไปจะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ประมาณ ปลายเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ (ข้อมูล : ส�ำนักยุทธศาสตร์อดุ มศึกษาต่างประเทศ) อนุสารอุดมศึกษา

13


เรื่องพิเศษ

น้อมถวาย บังคม บรมนารถ พระนางแก้ว เคียงคู่ พระภูวนัย ที่ขาดแคลน กันดาร ทรงงานถึง น้อมร�ำลึก บุญญา คุณานันต์

ภักดีบาท องค์ราชินี ศรีสมัย บันดาลให้ ราษฎร์สุข ทุกชีวัน ราษฎร์ตราตรึง ปรีเปรมดิ์ เกษมสันต์ น้อมใจมั่น ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้บริหาร ข้าราชการ และบุคลากร ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

(นายกรกฎ คำ�แหง ร้อยกรอง)

14

อนุสารอุดมศึกษา


พูดคุยเรื่องมาตรฐาน

หลักสูตรทางด้านอิสลามและภาษาอาหรับ ตามที่เกิดสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศอียิปต์ รัฐบาลได้อพยพคนไทย รวมทั้งนักศึกษาไทยที่ศึกษาระดับ อุดมศึกษาอยู่ในประเทศอียิปต์กลับประเทศไทย และเพื่อให้การด�ำเนินการช่วยเหลือนักศึกษาไทยไม่ให้ได้รบั ผลกระทบ ด้านการศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงจัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษาแก่ นักศึกษาไทยที่เดินทางกลับเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศอียิปต์ โดยมีนางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นผู้อ�ำนวยการศูนย์เฉพาะกิจฯ ซึ่งจะช่วยประสานงานสถาบันอุดมศึกษา เพื่อน�ำนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในสาขาต่อเนื่องหรือเกี่ยวเนื่องกับที่ศึกษาอยู่ในประเทศอียิปต์ หรือสาขาอื่น พร้อมทั้ง ประสานงานและจัดการแก้ไขปัญหาในกรณีการเทียบโอนผลการเรียน ซึ่งนักศึกษาที่เรียนอยู่ประเทศอียิปต์ส่วนใหญ่ จะเรียนสาขาอิสลามศึกษา และกฎหมายอิสลาม ดังนัน้ อนุสารอุดมศึกษา ฉบับนี้ ขอน�ำข้อมูลตัวอย่างหลักสูตรทางด้านอิสลามและภาษาอาหรับทีผ่ า่ นการรับทราบ จากคณะกรรมการการอุดมศึกษาแล้ว อาทิ

สถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

หลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชา/วิชาเอก/แขนงวิชา กฎหมายอิสลาม ภาษาอาหรับ อิสลามศึกษา

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต อิสลามศึกษา ศิลปศาสตรบัณฑิต

ธุรกิจอิสลามศึกษา

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

ครุศาสตรบัณฑิต

อิสลามศึกษา (๕ ปี)

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

การสอนอิสลามศึกษา

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

ศิลปศาสตรบัณฑิต

กฎหมายอิสลาม

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

บริหารธุรกิจบัณฑิต

การจัดการในอิสลาม

ศิลปศาสตรบัณฑิต

กฎหมายอิสลาม ภาษาอาหรับ เศรษฐศาสตร์และการจัดการในอิสลาม อิสลามศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)

ศึกษาศาสตรบัณฑิต

ครุศาสตร์อิสลาม (๕ ปี)

ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต การบริ ห ารและการจั ด การการศึ ก ษา อิสลาม มหาวิทยาลัยรังสิต

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

อิสลามศึกษา

ศิลปศาสตรบัณฑิต

อิสลามศึกษา อิสลามศึกษาและภาษาอาหรับ

อนุสารอุดมศึกษา

15


พูดคุยเรื่องมาตรฐาน

สถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

หลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชา/วิชาเอก/แขนงวิชา ชะรีอะฮฺ ชะรีอะฮฺ (กฎหมายอิสลาม) ภาษาอาหรับ (หลักสูตรนานาชาติ) อิสลามศึกษา อุศูลุดดีน (หลักการศาสนาอิสลาม)

ศึกษาศาสตรบัณฑิต

การสอนอิสลามศึกษา

ประกาศนียบัตรบัณฑิต

การสอนอิสลามศึกษา

ศิลปมหาบัณฑิต

ภาษาอาหรั บ และวรรณคดี (หลั ก สู ต รภาษา อังกฤษ)

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

ชะรีอะฮฺ ประวัติศาสตร์และอารยธรรมอิสลาม ภาษาอาหรับและวรรณคดี

ทั้งนี้ นักศึกษาไทยที่เดินทางกลับมาจากประเทศอียิปต์เนื่องจากสถานการณ์ไม่สงบ ที่ประสงค์จะเทียบโอนและกลับมา ศึกษาต่อทีป่ ระเทศไทย สามารถกรอกแบบฟอร์มแสดงความจ�ำนง โดยดาวน์โหลดได้ทเี่ ว็บไซต์ www.mua.go.th และส่งกลับมาที่ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา ราชเทวี กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์/โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๔๖ อีเมล์ int_coop@mua.go.th

16

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องแนะนำ�

คณะกรรมการการอุดมศึกษา อนุสารอุดมศึกษา ฉบับนี้ ขอแนะน�ำ คณะกรรมการการอุดมศึกษาชุดใหม่ ซึ่งถือเป็น ชุดที่ ๓ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมือ่ วันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๖ อนุมตั ใิ ห้แต่งตัง้ ประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการการอุดมศึกษา จ�ำนวน ๑๘ ราย ประกอบด้วย ๑. รองศาสตราจารย์ คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ประธานกรรมการ ๒. นายชวลิต หมื่นนุช กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๓. พลต�ำรวจเอกชาญวุฒิ วัชรพุกก์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๔. พลต�ำรวจตรีชุมศักดิ์ พฤกษาพงษ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๕. ศาสตราจารย์นักสิทธ์ คูวัฒนาชัย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๖. ศาสตราจารย์ปรีชา เถาทอง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๗. ศาสตราจารย์ลิขิต ธีรเวคิน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ รองศาสตราจารย์ คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ๘. ศาสตราจารย์วิชัย ริ้วตระกูล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ประธานกรรมการ ๙. ศาสตราจารย์วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๑๐. ศาสตราจารย์ศักดา ธนิตกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๑๑. รองศาสตราจารย์ศิโรจน์ ผลพันธิน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๑๒. ศาสตราจารย์กิตติคุณสมหวัง พิธิยานุวัฒน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๑๓. นายสว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๑๔. ศาสตราจารย์สุนทร บุญญาธิการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๑๕. รองศาสตราจารย์อานนท์ เที่ยงตรง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๑๖. นายวิทยา เจียรพันธุ์ กรรมการผู้แทนองค์กรเอกชน ๑๗. นายอรรถพร สุวัธนเดชา กรรมการผู้แทนองค์กรปกครองท้องถิ่น ๑๘. รองศาสตราจารย์สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ กรรมการผู้แทนองค์กรวิชาชีพ ทัง้ นี้ กฎกระทรวง ก�ำหนดจ�ำนวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธกี ารสรรหา การเลือกประธานกรรมการและกรรมการ วาระการด�ำรงต�ำแหน่งและการพ้นจากต�ำแหน่ง ของกรรมการในคณะกรรมการการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ ก�ำหนดให้มีกรรมการ โดยต�ำแหน่ง ดังนี้ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการ คณะกรรมการการอาชีวศึกษา อ�ำนวยการส�ำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษา และเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นกรรมการและเลขานุการโดยต�ำแหน่ง

อนุสารอุดมศึกษา

17


เหตุการณ์เล่าเรื่อง

18

ภาพประกอบเรื่อง : Facebook Baan Thai Asean camp 2013

‘ค่ายอาเซียน’

เชื่อมสัมพันธ์นักศึกษาไทย-อาเซียน

อนุสารอุดมศึกษา


ภาพโดย วรพล บุญจิตต์

เหตุการณ์เล่าเรื่อง

จากนี้ไปอีกประมาณ ๒ ปีกว่า ที่ ๑๐ ประเทศสมาชิกอาเซียนจะรวมกันเป็นประชาคมอาเซียน อย่างเป็นทางการในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ ประเทศไทยในฐานะหนึ่งในสิบประเทศสมาชิกอาเซียน ที่ก�ำลังจะก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและ วัฒนธรรม และการเมืองและความมัน่ คง ต่อทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคประชาชน ทีต่ อ้ งได้รบั การเตรียม ความพร้อม โดยการสร้างความตระหนักรู้ และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างประชาคม อาเซียน ตลอดจนเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกีย่ วกับอาเซียนในประชาชนทุกภาคส่วนและในทุกระดับ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ให้ความส�ำคัญต่อการขับเคลื่อนการเรียนรู้ประชาคม อาเซียนสู่สถาบันอุดมศึกษา โดยเน้นการสร้างความตระหนัก การเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการ เป็นประชาคมอาเซียน ผ่านการจัดกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา โดยจัดโครงการ ‘ค่ายอาเซียน’ ระหว่างวันที่ ๙ - ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๖ ณ บ้านไทยรีสอร์ท จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสเปิดโลกทัศน์ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ผ่านรูปแบบการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อสร้างความตระหนักและเจตคติที่ดีเกี่ยวกับ ประชาคมอาเซียน ‘ค่ายอาเซียน’ กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่เอือ้ ต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ทแี่ ตกต่างจาก การเรียนการสอนในห้องเรียน โดยเปลี่ยนวิธีการรับรู้ เปลี่ยนสถานที่เรียนรู้ เปลี่ยนบริบทของการเรียนรู้ จากการเรียนรู้ในต�ำราเรียนไปสู่การเรียนรู้จากสถานการณ์ ประสบการณ์จริง และที่ส�ำคัญส่งเสริม ให้นกั ศึกษาได้ลงมือปฏิบตั ไิ ด้ดว้ ยตนเอง มีกระบวนการคิดวิเคราะห์ การแลกเปลีย่ นประสบการณ์รว่ มกับ เพื่อนๆ เป็นหมู่คณะ และสามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ซึ่งเป็นปัจจัยส�ำคัญที่จะกระตุ้นให้นักศึกษา เกิดการเรียนรู้ได้มากยิ่งขึ้น โดยคาดหวังว่าประสบการณ์ที่นักศึกษาได้รับ หรือสร้างความรู้ความเข้าใจ ด้วยตนเองจะเป็นทักษะและกระบวนการเรียนรู้ที่ติดตัว อันเป็นเครื่องมือส�ำคัญในการเรียนรู้และ ความเข้าใจที่ลึกซึ้ง และน�ำไปสู่การสร้างความตระหนักและเจตคติที่ดีเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนและ ประเทศสมาชิกต่อไป นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า จากการที่ ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี ๒๕๕๘ ซึ่งจะท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านเศรษฐกิจ วั ฒ นธรรม สั ง คม และการเมื อ ง ส� ำ หรั บ การเปลี่ ย นแปลงในระดั บ นโยบายที่ ส�ำ คั ญ ที่ ส� ำ นั ก งาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา สถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก�ำลังเร่งผลักดัน คือ การเลือ่ นเปิด - ปิดภาคเรียนให้ตรงกับอาเซียน การพัฒนาคน การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ การพัฒนา ภาคี เ ครื อ ข่ า ย การศึ ก ษาที่ เ น้ น การเรี ย นมากกว่ า การสอน การพั ฒ นาด้ า นภาษาอั ง กฤษและ ภาษาอาเซียน การมีจิตส�ำนึกอาเซียน (ASEAN Spirit) การพัฒนาทักษะอาชีพตามมาตรฐานอาเซียน เป็นต้น อนุสารอุดมศึกษา

19


เหตุการณ์เล่าเรื่อง

ดังนั้น การสร้างความเข้าใจในเรื่องการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนว่ามีผลกระทบอย่างไรเป็นสิ่งจ�ำเป็น และเป็นกุญแจส�ำคัญในการ ก้าวไปสู่ความส�ำเร็จในอนาคต ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นโจทย์ส�ำคัญที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องเร่งแก้ไข และหาแนวทางเตรียมการในการสร้าง ความพร้อมเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเร่งด่วนและจริงจังในทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษา เพราะถ้าไม่เริ่มต้นจากความรู้ ก่อน ความเป็นไปได้ในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนภายใต้กรอบเวลาอันจ�ำกัดจะไม่เกิดขึ้นเลย การศึกษานอกจากการให้การศึกษาเรื่อง กฎ กติกาอาเซียนแล้ว ยังต้องมีการให้ความรู้เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นประเด็นพื้นฐานที่ส�ำคัญในการสร้างประชาคมอาเซียน การเรียนรู้เกีย่ วกับประเทศเพือ่ นบ้าน รู้เขา รู้เรา จะน�ำไปสู่ความเชือ่ ใจ การเคารพซึง่ กันและกัน การนับถือ การแสวงหาช่องทางทีจ่ ะแก้ไข ปัญหาร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ สังคม “สิง่ หนึง่ ทีอ่ ยากฝากส�ำหรับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติทเี่ ข้าร่วมโครงการ คือ การปรับตัว มองเห็นโอกาส และเตรียมตนเอง ให้พร้อมรับมือกับสถานการณ์ในอนาคต ทัง้ ในด้านความรู้ ทักษะ และบุคลิกอุปนิสยั โดยการเตรียมตัวด้านลักษณะนิสยั การสร้างโอกาส ในการเพิ่มพูนสมรรถนะในตน การเตรียมตนเองด้านแนวคิดและทัศนคติ การเตรียมตนเองด้านการเรียนรู้ การติดตามข้อมูลข่าวสาร ความเคลือ่ นไหวเกีย่ วกับประชาคมอาเซียนและความรูท้ เี่ กีย่ วข้องกับประเทศเพือ่ นบ้าน และด้านการรูจ้ กั ตนเอง โดยใช้โอกาสในการเข้าร่วม โครงการในครั้งนี้ เสริมสร้างมิตรภาพผ่านกิจกรรม การพบปะพูดคุยในระหว่างที่พักอยู่ในค่าย หรือการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ สิ่งเหล่านี้ จะสามารถน�ำไปใช้เป็นวิธกี ารในการสร้างความเข้าใจและเรียนรูถ้ งึ วัฒนธรรมทีแ่ ตกต่างของแต่ละประเทศได้” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว นายสุ ภั ท ร จ� ำ ปาทอง ผู ้ ช ่ ว ยเลขาธิ ก าร คณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า โครงการค่าย อาเซี ย นเป็ น โครงการที่ ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาให้ความส�ำคัญ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งใน กระบวนการเรี ย นรู ้ แ ละพั ฒ นานิ สิ ต นั ก ศึ ก ษาให้ มี คุณลักษณะความเป็นสากล เหมาะสมต่อสถานการณ์ ในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น การจัดกิจกรรมค่ายเพือ่ เตรียมความพร้อมให้กบั นักศึกษา ในครั้งนี้จึงนับเป็นการเปิดโอกาสที่ดีให้กับนักศึกษา ในการศึกษาเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆ นอกห้องเรียน ตลอดจนได้มีโอกาสสัมผัส และแสวงหาความรู้จาก การจัดกิจกรรม บนความเหมือนและความแตกต่าง ของวัฒนธรรมระหว่างประเทศในประชาคมอาเซียน ซึ่ ง นั ก ศึ ก ษาจะสามารถน� ำ ข้ อ มู ล ความรู ้ ที่ ไ ด้ รั บ ไป ใช้ประโยชน์ให้เกิดขึ้นได้ทั้งกับตนเอง สถาบันและ ประเทศชาติ “นั ก ศึ ก ษาควรจะน� ำ ความรู ้ ต ่ า งๆ ที่ ไ ด้ รั บ มา พัฒนาโลกทัศน์ให้กว้างขึน้ และท�ำความเข้าใจ พร้อมทัง้ หาแนวทางในการพัฒนาตนเองให้มศี กั ยภาพ ตลอดจน แบ่ ง ปั น ความรู ้ แ ละประสบการณ์ ที่ ไ ด้ รั บ มาให้ กั บ เพื่อนนักศึกษาในสถาบันเดียวกัน หรือต่างสถาบัน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม นอกจากนี้นักศึกษา ควรสร้างความร่วมมือและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง นั ก ศึ ก ษาที่ ร ่ ว มโครงการ และสร้ า งเครื อ ข่ า ยกั บ เพื่อนนักศึกษาต่างชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และ ประสบการณ์กนั อย่างต่อเนือ่ งต่อไป” ผู้ช่วยเลขาธิการ กกอ. กล่าว

20

อนุสารอุดมศึกษา


เหตุการณ์เล่าเรื่อง

ภาพโดย ชุลีกร กิตติก้อง

ด้านนักศึกษาทีเ่ ข้าร่วมโครงการ ‘ค่ายอาเซียน’ นางสาวจารุวรรณ ดอกสูงเนิน นักศึกษา คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ ๒ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย กล่าวว่า กิจกรรมที่เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ถือว่ามีความส�ำคัญ มีประโยชน์มาก ทั้งด้านเศรษฐกิจ การติดต่อสื่อสาร การท�ำธุรกิจ การเปิดกว้างและเปิดรับโลกทัศน์ใหม่ๆ กับต่างชาติ ตลอดจน การศึกษาเรียนรู้ กิจกรรมต่างๆ ที่หลายหน่วยงานก�ำลังด�ำเนินการอยู่สามารถน�ำไปใช้ได้จริง เช่น ค่ายอาเซียนที่ท างส�ำ นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจัดขึ้น ท�ำ ให้ได้ฝ ึกตนเอง ในทุกด้าน ทั้งด้านภาษา วัฒนธรรม มิตรภาพที่ได้รับ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษที่ได้เรียนรู้ และเกิดการพัฒนาขึ้นจากเดิม เนื่องจากในค่ายนี้มีท้ังคนไทย และเพื่อนชาวต่างชาติ ท�ำให้ได้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน นายสราวุธ แสงสมบัติ นั ก ศึ ก ษาคณะบั ญ ชี ชั้ น ปี ที่ ๓ มหาวิทยาลัยภาคกลาง กล่าวว่า กิจกรรมทีเ่ กีย่ วกับอาเซียน ที่หลายหน่วยงานก�ำลังด�ำเนินการอยู่ ในขณะนี้ เ ป็ น ประโยชน์ ม าก เพราะ แต่ละประเทศจะเปิดเสรีซึ่งกันและกัน การที่เราจัดกิจกรรม อย่างค่ายอาเซียน ถือเป็นการให้ความรู้และเตรียมตัวที่จะ ร่วมในกลุม่ ประชาคมอาเซียน เพือ่ ให้รจู้ กั ประเทศในภูมิภาคอาเซียนได้มากขึ้น และจะท�ำให้เราประพฤติปฏิบัติตัวถูก เมื่อเราไปอยู่ในประเทศนั้นๆ

นายนพพร อัศวภูวตานนท์ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ ชั้นปีที่ ๓ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กล่าวว่า ค่ายนี้สามารถกระตุ้น ความเป็นอาเซียนทีท่ ำ� ให้เยาวชนได้มี ส่วนร่วมในการแสดงออกทางความคิด และจุดประกายเส้นทางแห่งอนาคต เป็ น การสร้ า งเครื อ ข่ า ยเยาวชน ในระดั บ อุ ด มศึ ก ษาที่ เ ป็ น แรงหลั ก ในอาเซี ย น ที่ ส ามารถขั บ เคลื่ อ น ประชาคมอาเซี ย น และที่ ส� ำ คั ญ เยาวชนไทยและประเทศสมาชิ ก อาเซียน ได้ท�ำกิจกรรมร่วมกันเป็น การกระตุน้ พลังทางความคิดสร้างสรรค์ ที่จะพัฒนาและขับเคลื่อนประชาคม อาเซียนให้ประสบผลส�ำเร็จ

อนุสารอุดมศึกษา

21


เล่าเรื่องด้วยภาพ ในขณะทีน่ กั ศึกษาต่างชาติทเี่ ข้าร่วมโครงการนี้ ให้ทศั นะทีห่ ลากหลาย โดย Mr Baldwin Chancellor G. Catane II นักศึกษาคณะนานาชาติ ชั้นปีที่ ๓ มหาวิทยาลัยนเรศวร สัญชาติฟิลิปปินส์ กล่าวว่า ค่ายนี้เป็นค่ายที่ดี ช่วยท�ำให้เจอเพื่อนต่างชาติ กิจกรรมต่างๆ ช่วยให้เราเรียนรู้เกี่ยวกับการท�ำงานเป็นทีม ความซื่อสัตย์ และการเป็น ผู้น�ำที่ดี ยังได้เรียนรู้จักการแพ้ การชนะ การให้อภัย ท�ำให้พวกเราเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ท�ำให้พวกเราแข็งแกร่ง มากขึ้น และยังสามารถสร้างชีวิตที่ดีในอนาคต เพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนอย่างเต็มที่ Mr Piseth Sout นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ชั้นปีท่ี ๔ มหาวิทยาลัยบูรพา สัญชาติ กัมพูชา กล่าวว่า ผมคิดว่าการที่ได้ร่วมค่ายอาเซียนครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดีที่ที่ให้ผมได้เรียนรู้ทั้ง ความเป็นมิตรภาพ ความสัมพันธ์ และวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเตรียมพร้อมการเป็น ประชาคมอาเซียน โครงการนีเ้ ป็นประโยชน์อย่างมากทีท่ ำ� ให้เยาวชนอาเซียนได้เข้าใจกันมากยิง่ ขึน้ ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ Ms Preyanuch Kamonkittikan นักศึกษาคณะบัญชี ชั้นปีที่ ๒ มหาวิทยาลัย ราชภั ฏ ก� ำ แพงเพชร สั ญ ชาติ เ มี ย นมาร์ กล่ า วว่ า ค่ า ยอาเซี ย นได้ เ พิ่ ม ความรู ้ พร้อมทั้งสร้างความสัมพันธ์ และความสามัคคีระหว่างเพื่อนร่วมกลุ่ม ท�ำให้เราได้เตรียมตัวให้พร้อมที่จะ เข้าร่วมการเป็นประชาคมอาเซียน ท�ำให้เราได้แลกเปลี่ยนและเข้าใจวัฒนธรรม ภาษา การแต่งกายของ แต่ละประเทศ ‘ค่ายอาเซียน’ จากค่ายเรียนรู้นอกห้องเรียนค่ายเล็กๆ ที่รวมผู้แทนนักศึกษาไทย และนักศึกษาจาก ประเทศสมาชิกอาเซียนเพียง ๑๒๐ คน เป็นจุดเริ่มต้นที่ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาต้องการสร้าง ความตระหนักในการเข้าร่วมประชาคมอาเซียนให้กบั เยาวชนประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะนักศึกษาไทย ให้ได้เรียนรู้ ภาษา วัฒนธรรม และสังคม การปรับตัวให้อยู่ร่วมกันของคนที่ต่างเชื้อชาติ โดยการเปิดมุมมองให้เห็นทั้งความต่างและ ความเหมือน เปิดโลกทัศน์ ปรับแนวคิด และขยายผลจากการเข้าร่วมค่ายอาเซียนไปยังเพื่อนนักศึกษาด้วยกัน เพื่อให้ นักศึกษาไทยพร้อมเข้าเป็นหนึ่งในสมาชิกประชาคมอาเซียนได้อย่างมั่นคง

22

อนุสารอุดมศึกษา


เล่าเรื่องด้วยภาพ

๒๐ สิ ง หาคม ๒๕๕๖ - นายเสริม ศัก ดิ์ พงษ์ พ านิช รัฐ มนตรี ช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา เดิ น ทางไปรั บ คณะ นักศึกษาไทยที่เดินทางกลับเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบ ในประเทศอียิปต์ ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง

๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖ - นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะ กรรมการการอุดมศึกษา พร้อมด้วยผู้บริหารส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ประชุมร่วมกับคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทน ราษฎร และคณะ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านการจัดการศึกษา ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา

๕ สิงหาคม ๒๕๕๖ - นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ต้ อ นรั บ ศาสตราจารย์ อ าคิ ร ะ ซู เ อะฮิ โ ระ ประธานกองทุนมิซูโฮ (Mizuho Asian Fund) และคณะ ในโอกาสเข้ า พบเพื่ อ ชี้ แ จง วัตถุประสงค์และการด�ำเนินงานของกองทุน พร้อมทั้งขอรับทราบนโยบายของกระทรวง ศึกษาธิการและการบริหารการอุดมศึกษา ของไทย ณ ห้ อ งประชุ ม บริ ห าร ชั้ น ๔ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

๖ สิงหาคม ๒๕๕๖ - นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา รั บ มอบประกาศเกี ย รติ คุ ณ “หน่ ว ยงาน โปร่งใส” ณ ห้องประชุมสุขุมนัยประดิษฐ ส�ำนักงาน ก.พ. จังหวัดนนทบุรี

๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๖ - นางวราภรณ์ สี ห นาท รองเลขาธิ ก ารคณะกรรมการ การอุดมศึกษา รับมอบทุนการศึกษา จาก บริษัท น�้ำมันปิโตรเลียมไทย จ�ำกัด โดยมี นายสั ม พั น ธ์ ติ ง ธนาธิ กุ ล รองกรรมการ ผู ้ จั ด การ พร้ อ มด้ ว ยผู ้ บ ริ ห ารระดั บ สู ง ของ บริษทั น�้ำมันปิโตรเลียมไทย จ�ำกัด เป็นผู้แทน มอบทุนการศึกษา ณ อาคารทีพีแอนท์ที

๑ สิ ง หาคม ๒๕๕๖ - นางสาวอาภรณ์ แก่ น วงศ์ รองเลขาธิ ก ารคณะกรรมการ การอุ ด มศึ ก ษา และศาสตราจารย์ วิ ชั ย บุญแสง ผู้อ�ำนวยการส�ำนักบริหารโครงการ ส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนา มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ให้การต้อนรับ คณะผู้บริหารจากมหาวิทยาลัย Macquarie น� ำ โดย Professor Mark Gabbott, Pro Vice-Chancellor (International) ณ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

๕ สิงหาคม ๒๕๕๖ - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ฐาปนีย์ ธรรมเมธา ผู้อ�ำนวยการโครงการ มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย เป็นประธานเปิด การประชุมวิชาการระดับชาติด้านอีเลิร์นนิง ปี ๒๕๕๖ พร้อมมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ หน่ ว ยงานเผยแพร่ ค วามรู ้ แ บบอี เ ลิ ร ์ น นิ ง ประจ�ำปี ๒๕๕๖ ณ อาคารฟอรั่ม อิมแพค เมืองทองธานี

แสดงความยิ น ดี - นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ได้รับมอบโล่ศิษย์เก่า เกียรติยศ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิ ท ยาลั ย ในโอกาสวั น คล้ า ย วันสถาปนาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย อนุสารอุดมศึกษา

23



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.