อนุสารอุดมศึกษา issue 409

Page 1

อุ ด มศึ ก ษา อนุสาร

ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔๐๙ ประจำเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๕ เอกสารเผยแพร่ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ISSN 0125-2461

อนุสารอุดมศึกษาออนไลน์ www.mua.go.th/pr_web

เตรียมพร้อมรับอาเซียน


อุดมศึกษา

อนุสาร

ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔๐๙ ประจำเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๕

สารบัญ เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย สกอ. เสนอแผนร่วมมือบรูไน ๔ โครงการ ๓ สกอ. ร่วมมือนักวิชาชีพไทยในต่างแดนพัฒนาอุดมศึกษาไทย ๔ สกอ. ส่งเสริมการกู้ยืมเงินทุนหมุนเวียน ๕ เพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน สกอ. ผลักดันผู้เรียนบรรลุมาตรฐานผลการเรียนรู้ ๗ สกอ. จัดประชุมทางไกล แลกเปลี่ยนความรู้ ๘ ด้านสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม

เรื่องเล่าอาเซียน

การเกิดประชาคมอาเซียนกับการศึกษาของประเทศไทย (๑๐)

เรื่องพิเศษ เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ

๑๑

สยามมกุฎราชกุมาร

พูดคุยเรื่องมาตรฐาน

ทำความรู้จักกับ ThaiLIS

๑๔

สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา

เรื่องแนะนำ รองศาสตราจารย์ชวนี ทองโรจน์ เหตุการณ์เล่าเรื่อง เปิดโลกทัศน์ เรียนรู้จากงานสัมมนา ‘APSSA’ ครั้งที่ ๑๓

๑๖

๑๘

เล่าเรื่องด้วยภาพ

๒๒

คณะผู้จัดทำ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๒๖ เว็บไซต์ http://www.mua.go.th อีเมล์ pr_mua@mua.go.th นายอภิชาติ จีระวุฒิ รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติยกวี นางวราภรณ์ สีหนาท นายศิระวิทย์ คลี่สุวรรณ ที่ปรึกษา บรรณาธิการ นายกฤษณ์กร วงศ์ไทย กองบรรณาธิการ นางสาวปิยาณี วิริยานนท์ นางชุลีกร กิตติก้อง นายเจษฎา วณิชชากร นางปราณี ชื่นอารมณ์ นายพรชัย สิทธินันทน์ นายจรัส เล็กเกาะทวด บริษัท ออนป้า จำกัด ผู้พิมพ์


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

สกอ. เสนอแผนร่วมมือบรูไน ๔ โครงการ ๒๖ มิ ถ ุ น ายน ๒๕๕๕ - สำนั ก งานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาเป็นเจ้าภาพจัดประชุมอย่างไม่เป็นทางการ (Retreat) ระหว่ า งผู ้ บ ริ ห ารสำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาและ

ผู้บริหารของ Higher Education Division กระทรวงศึกษาธิการ บรูไน ดารุ ส ซาลาม ครั ้ ง ที ่ ๑ ณ โรงแรมพู ล แมน กรุ ง เทพ โดย

รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุ ด มศึ ก ษา และนางวราภรณ์ สี ห นาท รองเลขาธิ ก ารคณะ กรรมการการอุดมศึกษา พร้อมด้วยคณะผู้บริหารของสำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษาเข้าร่วมประชุมกับ Dr. Junaidi Haji Abdul Rahman, Permanent Secretary (Higher Education) หัวหน้า คณะจากบรู ไ นดารุ ส ซาลาม พร้ อ มคณะผู ้ บ ริ ห ารของ Higher Education Division กระทรวงการศึกษา บรูไนดารุสซาลาม รองศาสตราจารย์ พ ิ น ิ ต ิ รตะนานุ กู ล รองเลขาธิ ก าร

คณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา เปิ ด เผยหลั ง จากการประชุ ม ว่ า การประชุ ม ครั ้ ง นี ้ เป็ นการเปิ ด โอกาสให้ ผู ้ บ ริ ห ารของสำนั ก งาน

คณะกรรมการการอุดมศึกษาได้สร้างความคุ้นเคยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับนโยบายการศึกษาระหว่างกัน ตลอดจน

ร่วมหารือเพื่อกำหนดแผนงานที่จะดำเนินการร่วมกันในอนาคตกับผู้บริหารระดับสูงของ Higher Education Division กระทรวงการศึกษา บรูไนดารุสซาลาม เพื่อเตรียมพร้อมการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี ค.ศ. ๒๐๑๕ ซึ่งในการประชุม สกอ. ได้เสนอแผนความร่วมมือ ในอนาคตภายใต้โครงการ ๔ โครงการ ได้แก่ ASEAN International Mobility for Students (AIMS) หรือ M-I-T Student Mobility Programme, ASEAN Research Cluster (ARC), ASEAN Citation Index (ACI) และ Thai-ASEAN Student Exchange Programme นอกจากนี้ ยังได้เสนอให้บรูไนดารุสซาลามพิจารณาจัดทำฐานข้อมูล Brunei Citation Index (BCI) เพื่อร่วมพัฒนาระบบฐานข้อมูล ACI ต่อไปใน อนาคต โดยในการประชุมได้เชิญศาสตราจารย์ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ จากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี นำเสนอเรื่อง “การพัฒนาฐานข้อมูลดัชนีการอ้างอิงวารสารสำหรับประเทศในกลุ่มอาเซียน (ACT)” แก่คณะผู้แทน จากบรูไนดารุสซาลาม “ข้อสรุปความร่วมมือจากการประชุมในครั้งนี้ บรูไนดารุสซาลามแสดงความสนใจที่จะมีความร่วมมือกับประเทศไทยในเรื่องการ แลกเปลี่ยนนักศึกษา การแลกเปลี่ยนบุคลากร ความช่วยเหลือด้านวิชาการ การวิจัยร่วม ระบบการศึกษาแบบสองภาษา และโครงการ ฝึกงานระยะสั้นของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้ บรูไนดารุสซาลามรับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Retreat ครั้งที่ ๒ ใน เดือนมกราคม ๒๕๕๖ โดยจะหารือในรายละเอียดแผนและกิจกรรมความร่วมมือที่ควรจะดำเนินการร่วมกันต่อไป” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว อนุสารอุดมศึกษา

3


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

สกอ. ร่วมมือนักวิชาชีพไทยในต่างแดน พัฒนาอุดมศึกษาไทย ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๕ - สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดการประชุมนักวิชาชีพไทยในต่างประเทศ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ภายใต้หัวข้อ Raising Higher Education Standards: Lessons Learned from Thai Professional Experiences ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็น ประธานเปิดการประชุมและบรรยายพิเศษในหัวข้อ “Thai Government Policy on Higher Education” รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพและยกระดับมาตรฐานในการจัดการศึกษาและการวิจัยเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศ ทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษา และยกระดับอุดมศึกษาให้มีความทัดเทียมกัน และพัฒนาสู่สากล จึงได้ดำเนินโครงการให้

นักวิชาชีพไทยที่อยู่ต่างประเทศกลับมาร่วมพัฒนาการอุดมศึกษาไทยตั้งแต่ปี ๒๕๓๙ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี

ขั้นสูง ที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศไทย บรรเทาปัญหาการขาดแคลนนักวิชาการสาขาที่ขาดแคลน รวมทั้งปรับปรุงหลักสูตรการ เรียนการสอนและการวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาไทย ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในการนำองค์ความรู้ที่ทันสมัยของนักวิชาชีพ/นักวิชา การไทยในต่างประเทศมาช่วยพัฒนามหาวิทยาลัยไทยในหลายๆ มิติ “ในปีนี้ ซึ่งเป็นปีที่ ๓ หลังจากเริ่มการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ ๒ รัฐบาลมุ่งเน้นการปฏิรูปคุณภาพการศึกษาเป็นหลัก ซึ่งแตกต่างจากการปฏิรูปเฉพาะโครงสร้างอย่างที่ผ่านมา อุดมศึกษาในฐานะที่เป็นแหล่งรวบรวม สร้าง และถ่ายทอดองค์ความรู้ และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญที่สุดเป็นตัวแปรหลักที่มีผลต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของการปฏิรูปการศึกษา ดังนั้น การสัมมนา ในวันนี้จึงเป็นเวทีในการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาและรับรองคุณภาพการจัดการอุดมศึกษาใน

ต่างประเทศที่ได้รับการยอบรับว่ามีมาตรฐานระดับสากลโดยผู้ทรงคุณวุฒิชาวไทยในต่างประเทศ ซึ่งมีบทบาทเกี่ยวข้องกับ การพัฒนาคุณภาพอุดมศึกษาในประเทศเหล่านั้นโดยตรง และเปิดโอกาสให้มีการระดมสมอง ริเริ่มความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง สถาบันอุดมศึกษาไทยกับนักวิชาชีพไทยในต่างประเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพอุดมศึกษาไทยให้มีศักยภาพในการแข่งขันในระดับ นานาชาติ ไ ด้ องค์ ค วามรู้ แ ละประสบการณ์ จ ากนั ก วิ ช าชี พ ไทยที่ คุ้ น เคยกั บ ระบบการพั ฒ นาคุ ณ ภาพอุ ด มศึ ก ษาใน

ต่างประเทศเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการนำมาถ่ายทอดสู่สถาบันอุดมศึกษาไทยเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับสถาบัน อุดมศึกษาไทยแต่ละแห่งต่อไป” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า จากการดำเนินงานโครงการให้นักวิชาชีพไทยที่อยู่ต่างประเทศกลับมาร่วมพัฒนาการ อุดมศึกษาไทยที่ผ่านมาได้มีการรวมตัวกันเป็นสมาคมเพื่อสร้างเครือข่ายระหว่างนักวิชาการไทยอยู่ในแต่ละประเทศในภูมิภาคนั้นๆ ทำให้มีความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร ประสานงานระหว่างสมาชิกในสมาคม ซึ่งปัจจุบันสมาคมนักวิชาการไทยมีทั้งหมด ๓ สมาคม คือ สมาคมนักวิชาชีพไทยในอเมริกาและแคนาดา (ATPAC) สมาคมนักวิชาชีพไทยในยุโรป (ATPER) สมาคมนักวิชาชีพไทย ในญี่ปุ่น (ATPIJ) นอกจากนั้น สกอ. ยังผลักดันให้สถาบันอุดมศึกษามีการรวมตัวกันเพื่อก่อตั้ง consortium ตามสาขาวิชาต่างๆ เพื่อ ความสะดวกในการประสานงาน และร่วมกันดำเนินโครงการความร่วมมือขนาดใหญ่ขึ้น ช่วยให้โครงการมีผลต่อการพัฒนาการ อุดมศึกษาที่ชัดเจน และสถาบันอุดมศึกษาได้รับประโยชน์จากการดำเนินโครงการสูงสุด ปัจจุบันมี consortium ทั้งหมด ๔ สาขาวิชา คือ สาขาวิชาสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมเกษตร เภสัชศาสตร์ และพยาบาลศาสตร์ โดยผลการดำเนินโครงการตั้งแต่ปี ๒๕๓๙ ๒๕๕๕ มีโครงการที่ได้รับการสนับสนุนแล้วทั้งหมด ๗๑๔ โครงการ คิดเป็นเงินประมาณ ๑๙๗.๓ ล้านบาท

4

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

สกอ. ส่งเสริมและสนับสนุนการกู้ ยื ม เงิ นทุ น หมุ น เวี ย น

เพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

๒๑ มิ ถุ นายน ๒๕๕๕ - สำนักงานคณะกรรมการการอุ ดมศึ กษา จั ดประชุมสั มมนาและมอบนโยบายเรื่ องการส่ง เสริมและ สนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในส่วนที่เกี่ยวกับการกู้ยืมเงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ทั้งนี้ ได้รับเกียรติ จากรองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานเปิดประชุม ซึ่งได้มอบนโยบาย เรื่องการส่งเสริมและสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในส่วนที่เกี่ยวกับการกู้ยืมเงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ว่า ผลจากพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๖ ที่กำหนดให้ภาครัฐต้องอุดหนุนและส่งเสริม โดยจัดตั้งกองทุนเพื่อ พัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในด้านต่าง ๆ ดังนั้น คณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๔๗ จึงได้อนุมัติหลักการ ให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ยุบรวมเงินทุนหมุนเวียนที่บริหารจัดการอยู่จำนวน ๒ ทุน คือ เงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนา สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาเอกชน และเงิ นทุ น หมุ น เวี ย นเพื ่ อ พั ฒ นาอาจารย์ ส ถาบั น อุ ด มศึ ก ษาเอกชนเหลื อ เพี ย ง ๑ กองทุ นชื ่ อ ว่ า “เงิ น ทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน” เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๘ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ

กองทุนฯ ที่คล่องตัวมากขึ้นและมีจำนวนวงเงินกู้เพิ่มมากขึ้น โดยให้โอนทรัพย์สินและหนี้สินทั้ง ๒ ทุนเข้าอยู่ด้วยกัน โดยกำหนด วัตถุประสงค์ใหม่ ดังนี้ (๑) เพื่อสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชนกู้ยืมเงินเป็นส่วนสมทบในการจัดหา/จัดซื้ออุปกรณ์การศึกษา และ การก่อสร้างอาคารเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน และสามารถขยายการเปิดสอนในสาขาที่ตรงตามความ ต้องการของตลาดแรงงาน และ (๒) เพื่อสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชนกู้ยืมเงินเพื่อพัฒนาคุณวุฒิอาจารย์ โดยให้ศึกษาต่อระดับ ปริญญาโท และ/หรือระดับปริญญาเอกในสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศที่สำนักงาน ก.พ. รับรอง “ผลการดำเนินงานของเงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในช่วงที่ผ่านมา มีสถาบันอุดมศึกษาเข้ามาใช้บริการ รวม ๑๕ ราย จำนวนรวม ๕๒ สัญญา โดยแบ่งการกู้ยืมเป็นการก่อสร้างอาคาร ๒๒ สัญญา การจัดซื้ออุปกรณ์การศึกษา ๒๑ สัญญา และการพัฒนาอาจารย์ศึกษาต่อปริญญาโท-เอก ๙ สัญญา รวม ๓๙ คน (ปริญญาเอก ๑๕ คน ปริญญาโท ๒๔ คน) รวมวงเงินกู้ยืม ประมาณ ๗๐๐,๕๘๙,๗๒๐ บาท ในขณะที่ผลการประเมินประสิทธิภาพเงินทุนหมุนเวียนฯ โดยผู้ประเมินภายนอกได้รับคะแนนค่อนข้าง ต่ำ จึงถือได้ว่าเงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนเป็นเงินทุนหมุนเวียนที่มีประสิทธิภาพต่ำจากมุมมองของกระทรวง การคลัง แต่จากสถิติข้อมูลช่วงเริ่มจัดตั้งนโยบายเงินทุนหมุนเวียนฯ ทั้ง ๒ กองทุนจะเห็นได้ว่า สถาบันอุดมศึกษาเอกชนมีความต้องการ ใช้ประโยชน์เงินทุนหมุนเวียนฯ ที่จัดตั้งใหม่ค่อนข้างมากในช่วงเวลา ๕ - ๘ ปีแรก จากนั้นจะลดลงเรื่อยๆ แสดงว่าเป็นความต้องการ

ที่ตอบสนองสังคมในช่วงเวลาหนึ่ง ปัจจัยเหล่านี้สามารถแก้ไขโดยระดับผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว ต่อหน้า ๖

อนุสารอุดมศึกษา

5


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย จากหน้า ๕

รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า การดำเนินงานของเงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนา สถาบันอุดมศึกษาเอกชนถือเป็นนโยบายสาธารณะของภาครัฐในการส่งเสริมสนับสนุนให้ ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมลงทุนจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษา มีหลักเกณฑ์และ ระเบี ย บในการบริ ห ารจั ด การเงิ นทุ น หมุ น เวี ย นฯ แม้ ว ่ า สำนั ก งานคณะกรรมการการ อุ ด มศึ ก ษาเป็ น ผู ้ จ ั ด ทำหลั ก เกณฑ์ แ ละแนวปฏิ บ ั ต ิ แต่ ต ้ อ งขออนุ ม ั ต ิ ก ารปรั บ ปรุ ง จาก กระทรวงการคลังให้เรียบร้อยก่อนจึงจะนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้ โดยจะต้องงดเว้นการ ปรับแก้ไขวัตถุประสงค์ของเงินทุนหมุนเวียนฯ ที่ไม่สามารถแก้ไขปรับปรุงได้เพราะเป็นการ กำหนดวัตถุประสงค์จากมติคณะรัฐมนตรี อันทำให้เป็นข้ออุปสรรคสำคัญในการพัฒนา ประสิทธิภาพของเงินทุนหมุนเวียนฯ ให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการได้อย่าง แท้จริง “สถาบันอุดมศึกษาเอกชนนับว่าเป็นองค์กรภาคีที่สำคัญของสำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ซึ่งร่วมแบ่งเบาภาระในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้มีมาตรฐานเช่น เดียวกับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ การผลิตผลงานวิจัย การ ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ตลอดจน การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาความ สามารถและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ ดังนั้น การประชุมวันนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุม ในฐานะผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มี ต่อการบริหารจัดการและระเบียบของเงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน รวมทั้งรับทราบความต้องการและความคาดหวังของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เพื่อนำไป ปรับปรุงแก้ไขและกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาสถาบัน อุดมศึกษาเอกชนให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ต่อไป” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว

ที ่ ผ ่ า นมา สำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาได้ ร ั บ ความ

ร่วมมือจากสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่ง ผู้ใช้บัณฑิต องค์กรวิชาชีพ และ หน่วยงานต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง ตลอดจนคณาจารย์นำร่องของโครงการช่วยกัน ผลักดันกิจกรรมต่างๆ ของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯ โดยได้ร่วมกันจัดทำ มาตรฐานคุ ณ วุ ฒ ิ ในสาขาวิ ช าต่ า งๆ จนแล้ ว เสร็ จ จำนวน ๑๐ สาขา ได้แก่ สาขาคอมพิวเตอร์ พยาบาล (ระดับปริญญาตรี โท และปริญญา เอก) โลจิ ส ติ ก ส์ การท่ อ งเที ่ ย วและการโรงแรม วิ ศ วกรรมศาสตร์

การบั ญ ชี ครุ ศ าสตร์ / ศึ ก ษาศาสตร์ ภาษาไทย วิ ท ยาศาสตร์ แ ละ คณิตศาสตร์ และสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ (ระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา) และขณะนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการจัดทำมาตรฐาน คุณวุฒิสาขาวิชาต่างๆ อีก ๒๔ สาขา และในปีการศึกษานี้ได้กำหนดให้ ทุ ก หลั ก สู ต รต้ อ งดำเนิ นการให้ ส อดคล้ อ งกั บ กรอบมาตรฐานคุ ณ วุ ฒ ิ นอกจากนี้ ยังมีสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งได้พัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อเอื้อความสะดวกต่อคณาจารย์ในการพัฒนาหลักสูตรและรายวิชาที่ มุ ่ ง เน้ น มาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิต อย่างน้อ ย ๕ ด้ า น ตามที ่ กำหนดไว้ในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯ การเชื่อมโยงผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอน การวัดและการประเมิน ผลที่มีประสิทธิภาพ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้บัณฑิตมีมาตรฐานตามที่ กำหนดในแต่ละหลักสูตร จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้เข้าร่วมประชุมจะได้ รับประโยชน์จากการเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ และสามารถ ขยายผลในการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจที่ได้รับไปสู่เพื่อนร่วมอาชีพ และผู้ที่เกี่ยวข้องในสถาบันอุดมศึกษาต่อไป

6

อนุสารอุดมศึกษา

จากหน้า ๗


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

สกอ. ผลักดันผู้เรียนบรรลุม าตรฐานผลการเรี ย นรู้ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๕ - สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมกับฝ่ายการศึกษา สถานทูตออสเตรเลีย และสถาบันอุดมศึกษา ในเครือข่ายอุดมศึกษา ๙ เครือข่าย จัดประชุมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเชื่อมโยงผลการเรียนรู้กลยุทธ์การสอน การวัดและ การประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพ ระหว่างวันที่ ๑๙ - ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๕ ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค ซึ่งในการ ประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องของสถาบันอุดมศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ สามารถเชื่อมโยง ผลการเรียนรู้กับกลยุทธ์การสอน การวัดและการประเมินผลที่สะท้อนให้เห็นถึงการบรรลุมาตรฐานผลการเรียนรู้ รวมทั้งเพื่อแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ของผู้ทรงคุณวุฒิไทยและออสเตรเลียในการส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาจัดหลักสูตรการเรียนการสอนในการพัฒนาให้ผู้เรียน บรรลุมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่มุ่งหวังตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ การผลิตบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาในขณะนี้ต้องเผชิญกับปัจจัยทั้งภายในและภายนอกที่มีผลกระทบต่อการจัดการศึกษา ดังจะ เห็นได้จากความคาดหวังของสังคมต่อคุณภาพบัณฑิต การเคลื่อนย้าย ถ่ายโอนของนักศึกษา การแข่งขันของสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและ ต่างประเทศ ข้อตกลงร่วมกันของประเทศในภูมิภาคต่างๆ โดยเฉพาะการรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งจะมีผล กระทบโดยตรงต่อกระทรวงศึกษาธิการและสถาบันการศึกษาที่ถูกฝากความหวังให้เป็นแหล่งบ่มเพาะปัญญาสำหรับคนรุ่นใหม่ก่อนเข้าสู่โลก ของการทำงาน ดังนั้น หลักสูตรแนวใหม่ของสถาบันอุดมศึกษาจึงต้องมุ่งเน้นมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิตเป็นสำคัญ และจะต้องมี กลไกในการบริหารจัดการ และปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่จะเอื้อ ให้บัณฑิตพัฒนาตนเองให้มีคุณลักษณะและมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่พึงประสงค์ดังกล่าวได้ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาใน ฐานะที่เป็นหน่วยงานสนับสนุน และส่งเสริมสถาบันอุดมศึกษาจึงได้วางแผนจัดกิจกรรมในการส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการตาม กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework: TQF: HEd) อย่างมีประสิทธิภาพไว้อย่างต่อเนื่อง สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษามุ่งที่จะส่งเสริมการพัฒนาฐานข้อมูล TQF การพัฒนาเครือข่าย TQF เพื่อให้คณาจารย์ที่ร่วม กันจัดทำมาตรฐานคุณวุฒิสาขา หรือ มคอ.๑ ได้มีกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่องและเป็นเวทีช่วยกันกำกับ ดูแลมาตรฐานการจัดการศึกษา ในสาขานั้นๆ ร่วมกัน นอกจากนี้ ยังมีการวางแผนติดตามและเทียบเคียงผลการดำเนินการ TQF กับประเทศต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้สถาบัน อุดมศึกษารับทราบข้อมูลที่ทันสมัย การศึกษาข้อมูลการออกใบรับรองความรู้ ความสามารถ และทักษะต่างๆ ของบัณฑิตที่เรียกว่า Diploma Supplement ซึ่งมหาวิทยาลัยในต่างประเทศออกให้แก่บัณฑิตประกอบกับใบปริญญาบัตรและ Transcript ตลอดจนการเทียบโอน หน่วยกิต การรับรองคุณวุฒิ และความร่วมมือกับประเทศที่มีการนำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพ บัณฑิตรวมทั้งแนวคิดของ UNESCO ในการที่จะประสานการจัดทำ ASEAN Qualifications Framework เป็นต้น ต่อหน้า ๖

อนุสารอุดมศึกษา

7


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

สกอ. จัดประชุมทางไกล แลกเปลี่ยนความรู้

ด้านสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๕ - สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา จัดการ ศึกษาและอภิปรายผ่านระบบประชุมทางไกลระหว่างประเทศ หัวข้อเรื่อง Tele-Conference Discussion on Asian Culture on Architecture and Environment, 2012 ภายใต้โครงการจัดการศึกษาทางไกลระหว่างประเทศ โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายทุกวันเสาร์ ระหว่าง วันที่ ๑๖ มิถุนายน ถึงวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ณ ห้องประชุม ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน อาคารสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยมีการบรรยายลักษณะเชิงแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน ระหว่างคณาจารย์และนิสิต นักศึกษา ที่เข้าร่วมฝึกอบรม ในการจัดโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาทั้งของไทย และ

ต่างประเทศ โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนผ่านระบบ Tele-Conference พร้อมทั้งให้นักศึกษาและอาจารย์ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยน ความรู้ด้านสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างเสริมความเข้าใจอันดีด้านวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญใน การพัฒนาประเทศ และเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ตลอดจนส่งเสริมการใช้งานเครือข่ายเพื่อ การศึกษาวิจัยให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา จึงได้ร่วมกับสถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มหาวิทยาลัยโตไก (Tokai University) ประเทศญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยมูโรแลน (Muroran Institute of Technology) ประเทศญี่ปุ่น Ballstate University Purdue University สหรัฐอเมริกา และมหาวิทยาลัยคอนคุก (Konkuk University) สาธารณรัฐเกาหลี จัดการศึกษาและอภิปรายผ่านระบบประชุมทางไกลระหว่างประเทศ (The 2nd Asian Culture Tele-Conference Discussion on Asian Culture on Architecture and Environment) เพื่อให้นิสิต นักศึกษา และคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย/สถาบันที่ เป็นสมาชิกเครือข่ายฯ ตลอดจนผู้สนใจทั่วไปได้รับความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงเทคโนโลยีสารสนเทศที่มี ความเชื่อมโยงกัน ตลอดจนสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างสถาบันการศึกษาทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้ สกอ. คาดหวังให้นิสิตนักศึกษา และอาจารย์ สามารถจัดการเรียนการสอนระหว่างกันได้ ผ่านระบบ Tele-Conference

แม้จะอยู่ต่างพื้นที่ พร้อมทั้งเสริมสร้างและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทยและญี่ปุ่นและเอเชีย ในด้านงานสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม อันเป็นมรดกของชาติทั้งสอง โดยการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างสถาบันการศึกษาไทยและสถาบันการศึกษาในประเทศญี่ปุ่น

ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยเข้าช่วย ซึ่งทำให้นักศึกษาและอาจารย์ได้มีโอกาสเพิ่มพูนความรู้ด้านวัฒนธรรมไทยและญี่ปุ่นและ เอเชีย ที่เกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสร้างเสริมความเข้าใจอันดีด้านวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมอันเป็น พื้นฐานในการพัฒนาสังคมของประเทศไทยและประเทศใกล้เคียงในแถบเอเชีย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ดำเนินการโครงการเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (Inter-University Network: UniNet) โดยเชื่อมโยงเครือข่ายความเร็วสูงระหว่างมหาวิทยาลัย/สถาบัน และสถาบันการศึกษาต่างๆ ภายในประเทศ และเครือข่ายงานวิจัยในต่างประเทศ เพื่อเป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษาไปสู่ภูมิภาคและชุมชน เป็นการแบ่งปัน ทรัพยากรทางการศึกษาร่วมกัน โดยได้สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมทางด้านการเรียนการสอนทางไกล และการวิจัยที่เกี่ยวข้อง กับเทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกันกับมหาวิทยาลัย/สถาบันต่างๆ รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสมาชิกที่เชื่อมต่ออยู่บน เครือข่าย โดยปัจจุบันมีสมาชิกที่เชื่อมต่ออยู่บนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา จำนวน ๒๓๑ แห่ง และอยู่ ระหว่างพัฒนาและขยายเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา เพื่อรองรับการศึกษาทั้งระบบ ทั้งนี้ ยังทำหน้าที่ ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมเพื่อใช้ในการศึกษาและวิจัยในสาขาวิชาต่างๆ เป็นจำนวนมาก โดยกิจกรรมด้านการศึกษา ที่สำคัญ ได้แก่ โครงการพัฒนาความร่วมมือและสนับสนุนให้เกิดการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษาทางไกลผ่าน เครือข่ายฯ

8

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องเล่าอาเซียน

โดย รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล

การเกิดประชาคมอาเซียนกับการศึกษาของประเทศไทย (๑๐) จากสองฉบับที่แล้ว ‘อนุสารอุดมศึกษา’ นำเสนอเรื่องกิจกรรมของสถาบันอุดมศึกษาไทยในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่การเป็น ประชาคมอาเซียน ตลอดจนการจัดตั้งศูนย์เพื่อการศึกษาเกี่ยวกับอาเซียน เนื้อหาฉบับนี้ขอมุ่งเน้นไปถึงความพยายามของสำนักงาน คณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาที ่ ต ้ อ งการผลั ก ดั น สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาไทยเพื ่ อ เตรี ย มความพร้ อ มในการสร้ า งความกลมกลื น (Harmonization) ของการอุดมศึกษาไทยกับกลุ่มประเทศต่างๆ เช่น กลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก กลุ่มประเทศในสหภาพ ยุโรป และกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้น โดยสนับสนุนให้นักศึกษาไทยเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนระหว่างสถาบัน อุดมศึกษาไทยกับกลุ่มประเทศดังกล่าว อาทิ โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาไทยกับต่างประเทศ โครงการแลก เปลี่ยนนักศึกษาผ่านระบบออนไลน์ (USCO) ภายใต้ UMAP (University Mobility in Asia and the Pacific) โครงการ ASEM DUOThailand Fellowship program และโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาไทยและอาเซียน และนำระบบการเทียบโอนหน่วยกิตกลางมาใช้ใน โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาดังกล่าวซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของสถาบันอุดมศึกษาไทยได้อย่าง กลมกลืน เป็นมาตรฐานเดียวกัน เนื่องจากสถาบันอุดมศึกษาในภูมิภาคอาเซียนมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก ทั้งในเรื่องของปฏิทินปีการศึกษา และระบบ หน่วยกิต จึงส่งผลให้การดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนนักศึกษาเป็นไปค่อนข้างยาก ดังนั้น ระบบการเทียบโอน หน่วยกิตกลางจึงมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับนักศึกษาและบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษา เพราะจะให้การเทียบโอนผลการเรียน ของนักศึกษาดำเนินการได้สะดวกขึ้น ทั้งนี้ ระบบหน่วยกิต ไม่ว่าจะเป็นระดับสถาบันการศึกษา ระดับประเทศ หรือระดับภูมิภาค อาเซียน จะเป็นกลไกที่เป็นประโยชน์ในการส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างประเทศมากขึ้น ที่ผ่านมา เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน หรือ AUN ได้ดำเนินการพัฒนาระบบเทียบโอนหน่วยกิตของอาเซียน (The ASEAN Credit Transfer System: ACTS) ซึ่งได้มีการนำไปใช้ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นสมาชิกของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน จำนวน ๒๖ สถาบัน ระบบเทียบโอนหน่วยกิตของอาเซียนเป็นระบบที่ใช้นักศึกษาเป็นศูนย์กลาง บนพื้นฐานของปริมาณงานของนักศึกษาตาม ที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดความสำเร็จของผลการเรียนรู้ ซึ่งระบบได้ถูกออกแบบเพื่อให้ใช้งานได้ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นสมาชิก เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน โดยมีระบบการแปลงหน่วยวัดในการคำนวณผลการเรียน เมื่อนักศึกษาเข้าศึกษาโครงการแลกเปลี่ยน ภายใต้ระบบเทียบโอนหน่วยกิตของอาเซียน ภายในช่วงเวลา ๑ - ๒ เทอมการศึกษา ACTS Grading Scale ACTS Grade Description Normal Distribution Guide (if necessary) A Excellent 10% B Very Good 25% C Good 30% D Satisfactory 25% E/F Fail 10% ACTS Credits:

๑ ปีการศึกษา = ๖๐ หน่วยกิต ๑ เทอมการศึกษา = ๓๐ หน่วยกิต ๑ เทอม (สำหรับระบบ ๓ ภาคการศึกษา) = ๒๐ หน่วยกิต อนุสารอุดมศึกษา

9


เรื่องเล่าอาเซียน

ทั้งนี้ โครงการแลกเปลี่ยนภายใต้ระบบเทียบโอนหน่วยกิตของอาเซียนมีหลักสูตร ๑๒,๒๗๐ หลักสูตร สำหรับ

นักศึกษาแลกเปลี่ยน ซึ่งขณะนี้มีนักศึกษาจากสถาบันที่เป็นสมาชิกเครือข่ายมหาวิทยาลัย จำนวน ๕๑ คน เข้าร่วม โครงการแลกเปลี่ยนภายใต้ระบบเทียบโอนหน่วยกิตของอาเซียน และได้ไปศึกษาอยู่ที่ Universiti Brunei Darussalam, Universitas Indonesia, University of Malaya, Universiti Putra Malaysia, Universiti Kebangsaan Malaysia, Universiti Sains Malaysia and Mahidol University สำหรับผู้อ่านที่สนใจเรื่องระบบเทียบโอนหน่วยกิตของอาเซียน สามารถเข้าไปสืบค้นรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ http://acts.ui.ac.id ในขณะเดียวกัน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้นำระบบ UCTS (UMAP Credit Transfer Scheme) มาใช้ภายใต้โครงการ UMAP และระบบ ECTS (European Credit Transfer System) มาใช้ใน โครงการทุนการศึกษาภายใต้ ASEM DUO-Thailand Fellowship Program แต่ด้วยสภาพการณ์ปัจจุบัน คือ นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนยังมีจำนวนน้อยและระบบการเทียบโอนหน่วยกิตกลางยังไม่ถูกนำ มาใช้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากสถาบันอุดมศึกษาต่างมีระบบการถ่ายโอนหน่วยกิตของตัวเอง และสถาบัน อุดมศึกษาบางแห่งอาจไม่เข้าใจกลไกการทำงาน หรือประโยชน์จากการนำระบบการเทียบโอนหน่วยกิตกลาง มาใช้ ในสถาบันอุดมศึกษาไทย ดั งนั้น เพื่อ ผลัก ดันให้ส ถาบั น อุ ดมศึก ษาไทยส่ง นักศึกษาเข้ าร่วมโครงการ

แลกเปลี ่ ย นเพิ ่ ม มากขึ ้ น และนำระบบการเที ย บโอนหน่ ว ยกิ ต กลางมาใช้ ใ นการถ่ า ยโอนหน่ ว ยกิ ต ได้ อ ย่ า งมี ประสิ ท ธิ ภ าพ เพื ่ อ เตรี ย มความพร้ อ มในการสร้ า งความกลมกลื นของการอุ ด มศึ ก ษาไทยกั บ กลุ ่ ม ประเทศต่ า งๆ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จึงเร่งดำเนินการสร้างความเข้าใจแก่สถาบันอุดมศึกษาไทยเกี่ยวกับการ ดำเนินการโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และวิธีการนำระบบการเทียบโอน หน่วยกิตกลางไปใช้ในการเทียบโอนหน่วยกิตภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา ซึ่งได้มีการพัฒนาระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านระบบการเทียบถ่ายโอนหน่อยกิตกลางมาอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบัน Assoc. Prof. Taiji Hotta, Ph.D. จาก Hiroshima University กำลังดำเนินการพัฒนาระบบ UCTS มาเป็นระบบ New UCTS เพื่อนำมาใช้ภายใต้ โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาในภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิก การมีระบบเทียบโอนหน่วยกิตกลางที่มีประสิทธิภาพ กอรปกับโครงการแลกเปลี่ยน

นักศึกษาที่มีหลักสูตรที่หลากหลาย จะเกิดประโยชน์และส่งผลให้เกิดความกลมกลืน ระหว่างสังคมหนึ่งไปยังสังคมหนึ่งจนกลายเป็นประชาคมเดียวกันได้อย่างกลมเกลียว

จะเกิ ด ขึ ้ น ไม่ ได้ หากไม่ ม ี ส ถาบั น อุ ด มศึ ก ษา องค์ ก รทางการศึ ก ษา ผู ้ บ ริ ห ารสถาบั น อุดมศึกษา หรือแม้แต่บุคลากรทางการศึกษา ให้ความสำคัญต่อการนำระบบเทียบโอน หน่วยกิตกลางที่มีอยู่นำไปใช้กับโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษา ก้าวไปเรียนรู้จากสังคมที่ต่างวัฒนธรรม และทำให้บัณฑิตไทยอยู่ในสังคมโลกอย่างมีคุณภาพได้

10

อนุสารอุดมศึกษา


เฉลิมพระเกียรติ

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕

พระราชสมภพ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ มีพระนามเมื่อแรกประสูติว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ์ เทเวศร์ธำรงสุบริบาล อภิคุณูปการมหิตลาดุลยเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร กิตติสิริสมบูรณ์สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร” เป็น

พระราชโอรสพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ เวลา ๑๗ นาฬิกา ๔๕ นาที ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต สมโภชเดือน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ ณ พระทีน่ ง่ั อัมพรสถาน พระราชวังดุสติ ในระหว่างวันที่ ๑๔ - ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๕ โดยสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงเป็นประธานเจริญพระพุทธมนต์ในเย็นวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๕ เช้าวันรุ่งขึ้น (๑๕ กันยายน) จึงมีพิธีสงฆ์และพิธีพราหมณ์ในห้องพิธี เริ่มด้วยพอถึงพระฤกษ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจรด พระกรรบิดกริบพระเกศา ทรงเจิม ทรงผูกด้ายพระขวัญ พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา พราหมณ์ประกอบพิธีลอยกุ้ง ปลาทอง มะพร้าว เงิน มะพร้าวทองลงในพระขันสาคร แล้วพระสงฆ์ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา พระมหาราชครูเชิญเสด็จขึ้นพระอู่และเห่กล่อมเปิด ศิวาลัยไกรลาศตามประเพณีพิธีของพราหมณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงวางพระราชภัณฑ์ลงในพระอู่ตามพระราชประเพณีแล้ว พระมหาราชครูเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณฯ ขึ้นพระอู่แล้ว พระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาทเวียน เทียนครบรอบตามประเพณี สภาวัฒนธรรมแห่งชาติได้จัดขับไม้มโหรีขับกล่อมถวายพระพรในวาระนี้ด้วย ในการนี้มีการถ่ายทอดเสียงใน พระราชพิธีทางวิทยุไปทั่วประเทศ

อนุสารอุดมศึกษา

11


สมเด็จพระยุพราช เมื่อมีพระชนมายุครบ ๒๐ ชันษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมพิ ลอดุลยเดช โปรดให้สถาปนา สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎ ราชกุมาร เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ มีพระนามตามจารึกใน พระสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิตยสมบูรณสวางควัฒน์ วรขัตติยราชสันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศยุพราชวิสุทธ สยามมกุฎราชกุมาร” การศึกษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงสำเร็จการศึกษาขั้นต้นในระดับ อนุบาล รุ่นที่ ๒ จากโรงเรียนจิตรลดา แล้วจึงเสด็จฯ ไปทรงศึกษาต่อใน ระดั บ ประถมศึ ก ษาที ่ โ รงเรี ย นคิ ง ส์ ม ี ด แคว้ น ซั ส เซกส์ และในระดั บ มั ธ ยมศึ ก ษาที ่ โ รงเรี ย นมิ ล ฟิ ล ด์ แคว้ นซอมเมอร์ เซท ประเทศอั ง กฤษ

หลังจากนั้น ทรงศึกษาต่อวิชาทหารที่โรงเรียนคิงส์สกูล ซิดนีย์ ประเทศ ออสเตรเลี ย เสร็ จ แล้ ว ทรงการศึ ก ษาต่ อ ในระดั บ ปริ ญ ญาตรี ส าขา

อักษรศาสตร์ (ด้านการทหาร) จากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ประเทศ ออสเตรเลีย เมื่อนิวัติประเทศไทยทรงรับราชการทหารและศึกษาต่อที่โรงเรียน เสนาธิการทหารบก รุ่นที่ ๔๖ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐ แล้วทรงผนวช เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑ ครั้นแล้ว ทรงศึกษาที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช รุ่นที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ และสำเร็จหลักสูตร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร จากประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๓ ในการศึกษาทุกระดับชั้น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ทรงปฏิบัติตามระเบียบของสถานศึกษา เหมือนอย่างนักเรียนทั่วไปและเมื่อทรงเข้าศึกษาวิชาการทหารซึ่งมีการฝึกอบรมอย่างเข้มงวด ก็ได้ทรงปฏิบัติตามกฎระเบียบ โดยสมบูรณ์ ในระหว่างเวลาที่ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนคิงส์ สกูล ตำบลพารา-มัตตา นครซิดนีย์ ทรงได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้า บ้านแมคอาเทอร์เฮาส์ และได้ทรงปฏิบัติพระองค์อย่างดีเด่น โดยเฉพาะในการฝึกทหาร ในระหว่างที่เสด็จกลับมาประทับอยู่ในประเทศไทยใน ฐานะองค์พระรัชทายาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรด เกล้ า ฯ ให้ เ สด็ จ พระราชดำเนิ น แทนพระองค์ ใ นพระราช กรณียกิจที่สำคัญต่าง ๆ ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนั้นๆ สนองพระมหากรุณาธิคุณ ด้วยความมั่นพระราชหฤทัย ด้วย ความรอบคอบ และด้ ว ยความรั บ ผิ ด ชอบสำเร็ จ ผลดี เ สมอ ทรงใช้เวลาในระหว่างหยุดเรียนโดยเสด็จพระราชดำเนินตาม พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ ห ั ว และสมเด็ จ พระนางเจ้ า ฯ พระบรมราชินีนาถไปทรงเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่าง ๆ และ ในที่ห่างไกลเนือง ๆ ทรงพอพระราชหฤทัยทำความคุ้นเคยกับ ประชาชนและข้าราชการในท้องถิ่นนั้นๆ เพื่อทรงทราบและ เข้าพระราชหฤทัยถึงความต้องการและสถานการณ์อย่างแท้จริง ยังความโสมนัสอย่างยิ่งให้เกิดแก่ข้าราชการและประชาชนที่ ได้เฝ้าฯ รับเสด็จในโอกาสนั้น นอกจากนั้นยังทรงฝักใฝ่เลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนา และทรงสนพระราชหฤทัยในกระบวนการยุติธรรมเป็นพิเศษ

รวมทั้งในการปกครองประเทศให้สงบสุขและความเจริญรุ่งเรืองอีกด้วย

12

อนุสารอุดมศึกษา


ตราสัญลักษณ์ งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕ อักษรพระนามาภิไธย ม.ว.ก. ภายในวงรีแนวนอน ภายใต้พระอนุราชมงกุฎ อันเป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ภายในพระอนุราชมงกุฎเป็นพระแสงจักรและแสงตรีศูล เครื่องหมาย แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระอนุราชมงกุฎ นั้น ประดิษฐานอยู่ด้านหน้าพระสัปตปฎลเศวตฉัตร เบื้องล่างอักษร

พระนามาภิไธย ม.ว.ก. เป็นเลขไทย ๖๐ หมายถึง มีพระชนมพรรษา ๖๐ พรรษา ถัดจากเลข ๖๐ ลงมา เป็นผ้าแพรแถบ มีปลายด้านบนเป็นพญานาค อันหมายถึง ปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ซึ่งมีพญานาคเป็นเครื่องหมายแห่ง ปี มะโรงนั ก ษั ต ร รองรับองค์ประกอบของตราสัญ ลั กษณ์ ฯ ทั ้ ง หมด ภายในผ้ า แพรแถบมี ข ้ อความว่ า “พระราชพิธ ี

มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕” ผู้ออกแบบ นายสุเมธ พุฒพวง สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

อนุสารอุดมศึกษา

13


พูดคุยเรื่องมาตรฐาน

ทำความรู้จักกับ

ThaiLIS

โครงการพัฒนาเครือข่ายระบบห้องสมุดในประเทศไทย (ThaiLIS) เป็นการดำเนินการเชื่อมโยงเครือข่ายห้องสมุด มหาวิทยาลัยส่วนกลาง (Thai Library Network - Metropolitan : Thailinet) เครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค (Provincial University Library Network : Pulinet) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเข้าด้วยกันบนเครือข่าย UniNet เพื่อประโยชน์ในการขยายเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานการศึกษาและห้องสมุดอื่นๆ ในอนาคต ก่อให้ เกิดความเป็นเอกภาพของห้องสมุดอุดมศึกษาและเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ในภูมิภาคเอเซียอาคเนย์ โดยนำระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่มาใช้งานห้องสมุด พัฒนาให้เป็นระบบ อัตโนมัติ (Automated Library System) สร้างระบบเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัย เพื่อให้การบริหารจัดการ สารสนเทศมีความครบถ้วนสมบูรณ์และรวดเร็วยิ่งขึ้น เกิดระบบการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ดำเนินโครงการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย (ThaiLIS) โดยเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัย/สถาบันที่เป็นสมาชิกผ่านเครือข่าย UniNet โดยมีโครงการภายใต้เครือข่าย

๕ โครงการ คือ • พัฒนาฐานข้อมูลสหบรรณานุกรมห้องสมุดมหาวิทยาลัย/สถาบัน (Union Catalog) • พัฒนาระบบจัดเก็บเอกสารฉบับเต็มในรูปอิเล็กทรอนิกส์ (Thai Digital Collection) • ดำเนินการบอกรับฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้น (Reference Database) • พัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติสำหรับสถาบันอุดมศึกษาไทย (Automatic Library) • พัฒนาฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้นไทย (Thai Academic Reference Database) โครงการพัฒนาเครือข่ายระบบห้องสมุดในประเทศไทย (ThaiLIS) จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ บริการสารสนเทศในระบบอัตโนมัติ ให้สนองความต้องการของผู้ใช้ให้มากที่สุด ครบถ้วน และสะดวกต่อการเข้าถึง โดยใช้ ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันอย่างประหยัด พร้อมทั้งพัฒนาห้องสมุดมหาวิทยาลัยให้เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้และ

สารสนเทศที่เอื้อต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา รวมถึงสนับสนุน การกระจายโอกาสทางการศึกษาและความเสมอภาคทางการศึกษา โดยใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล ตามโครงการ เครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่งผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากห้องสมุดได้ อย่างรวดเร็วโดยผ่านระบบเครือข่ายบริการของห้องสมุดมหาวิทยาลัยตลอดจนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชาติ ทั้งด้านผู้ให้ บริการและผู้ใช้ห้องสมุด ให้มีความรู้และความชำนาญในการจัดการและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งนี้ โครงการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย (ThaiLIS) มีเป้าหมายในการดำเนินการพัฒนาระบบฐานข้อมูล สหบรรณานุ ก รม (Union Catalog) ของห้ อ งสมุ ด มหาวิ ท ยาลั ย และพั ฒ นาฐานข้ อ มู ล จั ด เก็ บ เอกสารฉบั บ เต็ ม ในรู ป อิเล็กทรอนิกส์ (Digital Collection) ซึ่งเป็นการจัดเก็บเอกสารฉบับเต็มพร้อมภาพ (Full Text and Image) ของวิทยานิพนธ์ เอกสารวิจัยที่มีในห้องสมุดมหาวิทยาลัยทุกแห่งในประเทศ รวมถึงจัดให้มีการบริการฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ ทรัพยากรร่วมกันระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัยในประเทศไทยทุกแห่ง และพัฒนาให้มีการบริการจัดส่งสารสนเทศระหว่าง ห้องสมุดด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่าย เพื่อสนองความต้องการของผู้ใช้ห้องสมุดได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก ขึ้น พร้อมเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และศูนย์รวมทรัพยากรสารสนเทศที่ทันสมัย ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ ด้วยตนเอง นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายในการพัฒนาบุคลากรและผู้ใช้บริการให้มีความพร้อม และสามารถรองรับพัฒนาการของ เทคโนโลยีสารสนเทศ และความต้องการใช้สารสนเทศทางวิชาการได้อย่างเหมาะสมรวมถึงพัฒนาระบบเครือข่ายห้องสมุด มหาวิทยาลัยไทย (ThaiLIS) ให้ครอบคลุมสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสนับสนุน ศูนย์การเรียนรู้ระดับอุดมศึกษาในทุกสถาบัน และให้กระจายไปสู่ระดับการศึกษาพื้นฐาน พร้อมทั้งพัฒนาระบบการเรียนรู้ ด้วยตนเอง ระบบการสืบค้น ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการเรียนการสอน และระบบการบริหารจัดการ โดย

ผู้เรียนสามารถสืบค้นข้อมูลผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และบนเครือข่ายสารสนเทศได้ ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาระบบห้อง สมุดอัตโนมัติ (Automated Library System) ที่พัฒนาโดยนักวิชาการของไทย

14

อนุสารอุดมศึกษา


พูดคุยเรื่องมาตรฐาน โครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ได้ดำเนินการโครงการต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาห้องสมุด ทั้งทางด้านการบริการทรัพยากรสารสนเทศ การใช้ทรัพยากรร่วมกัน รวมถึงให้ความช่วยเหลือกันเพื่อพัฒนาคลังความรู้ ข้อมูล และ สารสนเทศสำหรับประเทศไทย และในไม่กี่ปีต่อจากนี้ไป ThaiLIS จะเป็นส่วนหนึ่งของประเทศที่จะได้มีส่วนในประชาคมอาเซียนต่อ ไปซึ่งขณะนี้ ThaiLIS ดำเนินการโครงการต่าง ๆ ดังนี้ การบริการฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้น (Reference Database) เป็นการให้บริการการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ในต่างประเทศเพื่อการใช้ทรัพยากรตามเกณฑ์มาตรฐานเดียวกัน และเข้าถึง ข้อมูลสารสนเทศ ตลอดจนเอกสารฉบับเต็มได้สะดวก รวดเร็ว ผ่านเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา UniNet สำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา ทั้งนี้ รวมถึงเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ประเภท e-BOOK ซึ่งเป็นการให้บริการหนังสือและวิทยานิพนธ์ อิเล็กทรอนิกส์ของต่างประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยืม หนังสือที่ห้องสมุด สามารถสืบค้น และใช้งานหนังสือเล่มที่ต้องการได้ผ่านเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ปัจจุบันมีหนังสือที่ให้บริการอยู่จำนวน ๑๔,๔๗๐ รายการ โครงการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษามีนโยบายสนับสนุนการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติเพื่อให้สถาบันการศึกษาใน สังกัดกระทรวงศึกษาธิการใช้งาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อซอฟต์แวร์ห้องสมุดอัตโนมัติ และค่า บำรุงรักษา ให้กับมหาวิทยาลัย/สถาบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และเพื่อรองรับการขยายตัวของ วิทยาลัยต่างๆ โรงเรียน และหน่วยงานอื่น ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมนี้ ได้มีมหาวิทยาลัย/สถาบัน ขอเสนอโครงการเข้า ร่วมพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ประกอบด้วย • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ใช้ .NET • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ใช้ JAVA • มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยใช้ .NET ดังนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับมหาวิทยาลัย/สถาบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาลัย ต่างๆ และสถาบันการศึกษาอื่น ได้ใช้งานระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่เป็นของคนไทยพัฒนาขึ้นเอง และเพื่อเป็นการประหยัด

งบประมาณในการจัดซื้อระบบใหม่ และบำรุงรักษา โดยที่ความสะดวกสบายไม่แตกต่างกันมาก และเป็นการยกระดับความพร้อม ของห้องสมุดในการส่งเสริมการเรียนรู้อย่างไร้ข้อจำกัด อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาทางวิชาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศ โดยรวม โครงการเอกสารฉบับเต็มในรูปอิเล็กทรอนิกส์ โครงการเอกสารฉบับเต็มในรูปอิเล็กทรอนิกส์ หรือ TDC (Thai Digital Collection) เป็นโครงการรวบรวมเผยแพร่เอกสารวิชาการ ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ของวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา รายงานการวิจัย บทความวิชาการของสถาบันการศึกษา และหน่วยงาน ด้านการศึกษาวิจัยภายในประเทศ โครงการสหบรรณานุกรม สหบรรณานุกรมเป็นโครงการเพื่อรวบรวมรายการบรรณานุกรม ทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดสมาชิกมาให้บริการสืบค้น เพื่อการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ช่วยให้สามารถรู้ได้ว่าหนังสือหรือทรัพยากรที่ต้องการนั้นมีที่ห้องสมุดใหนบ้าง เป็นข้อมูลเพื่อการยืม ระหว่างห้องสมุด ช่วยลดเวลาการวิเคราะห์หมวดหมู่ ให้หัวเรื่อง และลดการจัดซึ้อที่ซ้ำซ้อนกัน ThaiLIS ดำเนิ นการภายใต้ ช ื ่ อ โครงการ UC ซึ ่ ง ปั จ จุ บ ั น มี ส มาชิ ก ที ่ ส ่ ง ข้ อ มู ล เข้ า ร่ ว ม เฉพาะมหาวิ ท ยาลั ย สั ง กั ด ทบวง มหาวิทยาลัยเดิมเท่านั้น ทั้งนี้ เนื่องจากต้องใช้งบประมาณสูงในการดำเนินการ ขณะนี้คณะทำงานได้ดำเนินการตั้งที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาระบบสหบรรณานุกรมเพื่อรองรับสมาชิกที่เหลือ อยู่ระหว่างการพัฒนา ระบบ โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้นไทย(Thai Academic Reference Database: TAR) จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมเอกสารทางวิชาการ ทั้งที่เป็นบทความ หรือไฟล์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประชุม เพื่อ ถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป โดยมุ่งหวังว่าทรัพยากรสารสนเทศเหล่านี้ที่ได้รับการจัดเก็บในรูปดิจิทัล จะเป็นเครื่อง อำนวยความสะดวกแก่บุคคลที่สนใจในการศึกษาค้นคว้า วิจัย และเพิ่มเติมต่อยอด ทั้งนี้ เอกสารที่นำมาเผยแพร่เป็นเอกสารที่ สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้ ผู้อ่านสามารถสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับ ThaiLIS ได้ที่เว็บไซต์ http://www.thailis.or.th/

อนุสารอุดมศึกษา

15


เรื่องแนะนำ

รองศาสตราจารย์ชวนี ทองโรจน์ รักษาการที่ปรึกษาด้านพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น (นักวิชาการศึกษาทรงคุณวุฒิ) chavanee@gmail.com

ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (๒๕๒๘) ตริตาภรณ์ช้างเผือก (๒๕๓๒) ทวิติยาภรณ์มงกุฎไทย (๒๕๓๖) ทวิติยาภรณ์ช้างเผือก (๒๕๔๐) ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (๒๕๔๗) เหรียญจักรพรรดิมาลา (๒๕๔๗) ประถมาภรณ์ช้างเผือก (๒๕๕๐)

‘อนุสารอุดมศึกษา’ ฉบับนี้ ขอแสดงความยินดีและขอแนะนำรองศาสตราจารย์ชวนี ทองโรจน์ ซึ่งคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๕ อนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอรับโอน นางชวนี ทองโรจน์ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตำแหน่งรองศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง

ที่ปรึกษาด้านพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น (นักวิชาการศึกษาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตได้ตกลงยินยอมการโอนด้วยแล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป ประวัติการศึกษา • มัธยมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนสตรีวิทยา (๒๕๑๓) • เภสัชศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (๒๕๑๘) • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เภสัชวิทยา) มหาวิทยาลัยมหิดล (๒๕๒๗) • หลักสูตรนักบริหารมหาวิทยาลัยระดับสูง ทบวงมหาวิทยาลัย (๒๕๔๖) • หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ (๒๕๔๙) ประสบการณ์การทำงานและการบริหารมหาวิทยาลัย กระทรวงสาธารณสุข • นักวิชาการอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข (๒๕๑๙ - ๒๕๒๘) • หัวหน้างานกำหนดมาตรฐาน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข (๒๕๒๘ - ๒๕๓๕) • รักษาการหัวหน้าฝ่ายพัฒนายา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข (๒๕๓๕) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ • หัวหน้าภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (๒๕๓๕ - ๒๕๓๙) • รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและการต่างประเทศ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (๒๕๓๘ - ๒๕๓๙) • หัวหน้าโครงการจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (๒๕๓๗ - ๒๕๓๙) • คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (๒๕๓๙ - ๒๕๔๐) • รักษาการคณบดี คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (๒๕๔๔ - ๒๕๔๕) • รองอธิการบดีฝ่ายแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (๒๕๔๐ - ๒๕๔๖) • ผู้ช่วยศาสตราจารย์(เภสัชศาสตร์) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (๒๕๓๗ - ๒๕๔๗) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต • รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (๒๕๔๗ - ปัจจุบัน) • รองศาสตราจารย์ (วิทยาศาสตร์สุขภาพ) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (๒๕๔๘ - ปัจจุบัน) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา • รักษาการที่ปรึกษาด้านพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น (นักวิชาการศึกษาทรงคุณวุฒิ) รางวัลที่ได้รับเกียรติ • สตรีตัวอย่างด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต สาขาเภสัชศาสตร์ ประจำปี ๒๕๔๑ • ศิษย์เก่าดีเด่นของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ประเภทผู้บริหารดีเด่น ประจำปี ๒๕๔๗

16

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องแนะนำ

พัฒนาพรสวรรค์ สรรค์สร้างคีตกวี ผลิตนักดนตรีสู่สากล นอกจากนี ้ ‘อนุส ารอุดมศึกษา’ ยังขอถือโอกาสแนะนำสถาบัน อุดมศึกษารายล่าสุด คือ ‘สถาบันดนตรีกัลยาณิว ัฒนา’

ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้น ณ วันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๕ การจัดตั้งสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา (สกว.) เป็นความร่วมมือของกระทรวงวัฒนธรรมและมหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อเทิด

พระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในฐานะองค์อุปถัมภ์วงการดนตรีคลาสสิค ของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์หลักที่สำคัญ คือ ให้เป็นสถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพและทักษะด้านดนตรีคลาสสิค สำหรับผู้มีความสามารถพิเศษและบุคคลทั่วไป ทั้งในระบบและนอกระบบการศึกษา ตั้งแต่ระดับปฐมวัย ต่อเนื่องจนถึงระดับ มัธยมศึกษาตอนปลายและระดับปริญญา รวมทั้งทำหน้าที่เผยแพร่ดนตรีคลาสสิคแก่สาธารณชนในลักษณะของการแสดงดนตรี การ ฝึกอบรม และกิจกรรมเสริมทักษะอื่น ๆ เพื่อการบริการทางวิชาการแก่สังคมและการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม นอกจากนี้ สถาบันฯ ยังทำหน้าที่ในการพัฒนามาตรฐานและกำหนดเกณฑ์การประเมินมาตรฐานความรู้ ความสามารถและทักษะด้านดนตรี คลาสสิคของนักดนตรีในประเทศเพื่อเทียบเคียงมาตรฐานสากล ในการผลิตนักดนตรีคลาสสิคของสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา สถาบันฯ คำนึงถึงความเสมอภาค และความหลากหลายในการ จัดการเรียนการสอนภายใต้ปณิธาน “พัฒนาพรสวรรค์ สรรค์สร้างคีตกวี ผลิตนักดนตรีสู่สากล” ในช่วงเริ่มต้นจะรับนักศึกษาจากผู้มี คุณสมบัติตามมาตรฐานที่สถาบันฯ กำหนดปีละ ๓๐ คน โดยคัดเลือกจากผู้ที่ได้เคยผ่านการเรียนหลักสูตรดนตรีสากลระดับปฐมวัย และระดับเตรียม ที่จัดสอนนอกเวลาโดยสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ทั้งนี้ การจัดการเรียนการสอนยังคงไว้ซึ่งมาตรฐานหลักสูตรการ ศึกษา เพื่อให้สามารถพัฒนาตนเองสู่ความเป็นนักดนตรีคลาสสิคระดับนานาชาติ นอกจากบทบาทของสถาบันฯ ในการจัดการเรียน การสอน จะจัดกิจกรรมในการบริการทางวิชาการแก่สังคม การพัฒนามาตรฐานและกำหนดเกณฑ์การประเมินมาตรฐานด้านดนตรี คลาสสิค สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาจึงมีความแตกต่างจากสถาบันการศึกษาทั่วไป อันเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของสถาบันฯ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้บทบาทของสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนามีส่วนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนและสาธารณชน อย่างชัดเจน สถาบันฯ จะกำหนดปฏิทินกิจกรรมการแสดงดนตรีตลอดปี โดยส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมในลักษณะสาธารณกุศลและเพื่อ ให้สถาบันฯ สามารถพึ่งตนเองได้ในระดับหนึ่ง เป็นการลดภาระด้านงบประมาณจากราชการ จึงกำหนดให้กิจกรรมบางส่วนเป็นไปใน ลั ก ษณะเพื ่ อ การสร้ า งรายได้ แ ก่ ต นเองด้ ว ย โดยสถาบั น ฯ จะจั ด ตั ้ ง วงดนตรี ข นาดเล็ ก (Chamber) และวงดุ ร ิ ย างค์ ข นาดใหญ่ (Orchestra) เพื่อให้บริการ การดำเนินการในเบื้องต้นของสถาบันฯ จะผนวกอยู่กับคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในระยะแรก ปีการศึกษา ๒๕๕๔ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาจัดการเรียนการสอนหลักสูตรพิเศษในระดับปฐมวัยจนถึง มัธยมศึกษาตอนต้น ในลักษณะเสริมทักษะด้านดนตรี ซึ่งเป็นการศึกษานอกระบบการศึกษา โดยจะจัดการเรียนการสอนในช่วงเวลา เย็นในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ และวันสุดสัปดาห์ ในปีการศึกษา ๒๕๕๕ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาได้ขยายการจัดการเรียนการสอนในระบบการศึกษาไปยังระดับมัธยมศึกษา ตอนปลายของสถาบัน ในลักษณะ Preparatory School โดยกำหนดเป้าหมายจำนวนนักเรียน ๕๐ คน ต่อจากนั้น ในปี ๒๕๕๖

จะจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรดุริยางคศาสตร์ สาขาวิชาดนตรีคลาสสิค โดยการเปิดรับนักศึกษาที่มีคุณสมบัติตามที่สถาบัน ดนตรีกัลยาณิวัฒนากำหนด ในภาคการศึกษาที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๖ กำหนดเป้าหมายการรับนักศึกษาปีละ ๓๐ คน

อนุสารอุดมศึกษา

17


เหตุการณ์เล่าเรื่อง โดย ยศวรรธน์ กิตติก้อง

เปิดโลกทัศน์ เรียนรู้จากงานสัมมนา ‘APSSA’ ครั้งที่ ๑๓ ‘APSSA’ (Asia Pacific Student Services Association) หรื อ สมาคมกิ จ การนั ก ศึ ก ษาภาคพื ้ น เอเชียแปซิฟิก เป็นสมาคมที่รวบรวมบุคลากรที่ทำงาน เกี่ยวกับการบริหารการศึกษาและกิจการนิสิตนักศึกษา ในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก มีประเทศที่มีสถาบันอุดมศึกษา เป็นสมาชิก คือ ประเทศไทย ฮ่องกง จีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย โดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ ห ลั ก เพื ่ อ ยกระดั บ การประสานงานและ ความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก ในการพัฒนางาน ด้านกิจการนิสิตนักศึกษาและการบริการนิสิตนักศึกษา ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พร้อมทั้งสนับสนุนการพัฒนา งานด้านกิจการนิสิตนักศึกษา และเพิ่มประสิทธิภาพใน การพั ฒ นาการศึ ก ษาในภู ม ิ ภ าค ตลอดจนส่ ง เสริ ม สวั ส ดิ ก ารของนิ ส ิ ต นั ก ศึ ก ษาภายในภู ม ิ ภ าค รวมถึ ง

ส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างวัฒนธรรมและการติดต่อ สื่อสารระหว่างสมาชิก เมื ่ อ วั นที ่ ๕ - ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ที ่ ผ ่ า นมา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้มีโอกาสนำ ตัวแทนนิสิตนักศึกษา จากสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับ การคัดเลือก จำนวน ๑๐ คน ไปเข้าร่วมสัมมนาของ สมาคมกิ จ การนั ก ศึ ก ษาภาคพื้ น เอเชี ย แปซิ ฟิ ก

ครั้ ง ที่ ๑๓ (The 13 th Asia Pacific Student Services Association International Conference) ซึ่งสมาคมนักกิจการนักศึกษาแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (PAASA: Philippine Association of Administrators of Student Affairs, Inc.) ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการ สัมมนา ณ มหาวิทยาลัยเดอ ลา ซาล (De La Salle University) เมืองมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ โดยมี หั ว ข้ อ การสั ม มนา “Global Citizenship: Challenges, Opportunities and Responses”

18

อนุสารอุดมศึกษา


เหตุการณ์เล่าเรื่อง นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า จาก วัตถุประสงค์ของการสัมมนาที่ต้องการยกระดับคุณภาพการบริการนิสิตนักศึกษาให้สอดคล้อง กับความต้องการและการเปลี่ยนแปลงของสังคม นำไปสู่การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาให้เป็น บัณฑิตที่มีความสมบูรณ์พร้อม เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าต่อประเทศ และพัฒนาสู่การ เป็นพลเมืองโลก ดังนั้น สกอ. จึงให้ความสำคัญที่จะนำนิสิตนักศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการ พัฒนาด้านกิจการนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาไทย ไปเปิดโลกทัศน์ ได้เข้าร่วมสัมมนา เพื่อรับทราบแนวทางและแลกเปลี่ยนแนวคิดวิธีการในการปรับปรุงการดำเนินการด้านการ บริการและพัฒนาศักยภาพนิสิตนักศึกษาใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ รวมทั้งการสร้าง เครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินการเพื่อการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา ทั้งในกลุ่มสถาบัน อุดมศึกษาภายในประเทศ และในกลุ่มภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นายพณิชย์ ศักดิ์ศรีพาณิชย์ ประธานสโมสรนิสิตวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิ ท ยาลั ย นเรศวร ประจำปี ก ารศึ ก ษา ๒๕๕๕ ชั้ น ปี ที่ ๓ สาขาภาษา อังกฤษเพื่อการสื่อสารธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ) เล่าว่า การได้รับเลือก จากสกอ.เพื่อเป็นหนึ่งในตัวแทนประเทศไทยที่เข้าร่วมการสัมมนา 13 th Asia Pacific Student Services Association International Conference ถือเป็นโอกาสที่ ยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งที่ได้ใช้ความรู้ความสามารถของตนเอง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการ พัฒนางานกิจการนิสิตนักศึกษาของไทย โดยการเข้าร่วมครั้งนี้ ได้มีโอกาสเรียนรู้ ความคิดใหม่ๆ จากนิสิตนักศึกษาหลายประเทศในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ไม่ว่าจะ เป็นนักศึกษาจากประเทศสิงคโปร์ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฯลฯ เปรียบ เสมือนการเปิดโลกทัศน์และมุมมองของผมให้กว้างขึ้น ดังประโยคที่ผมได้เรียนรู้ จากเพื่อนใหม่ชาวญี่ปุ่นว่า “Think globally, act locally” เราไม่ได้อยู่เพียงลำพัง บนโลกนี้ เรายังมีความเป็นพลเมือง ให้คำนึงถึงและแสดงออกอย่างกลมกลืนกับ พื้นฐานความเป็นตัวตนของตนเอง ซึ่งการจะเกิดขึ้นของประชาคมอาเซียนในปี ๒๐๑๕ นั้น แนวคิดดังกล่าวสามารถนำมาปรับใช้ได้อย่างดีในการรับมือกับความ แตกต่างระหว่างเชื้อชาติในอาเซียน (diversities) สร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน (understanding) อันนำไปสู่กุญแจหลักซึ่งจะนำความสงบสุขระหว่างการอยู่ร่วม กัน คือ ความเคารพซึ่งกันและกัน (respect) ผมเชื่อว่าแนวคิดดังกล่าวที่ได้จาก การตกผลึ ก จากการเข้ า ร่ ว มสั ม มนาในครั ้ ง นี ้ หากถู ก นำไปใช้ จ ริ ง ความเป็ น อาเซียนจะอยู่บนพื้นฐานของสันติและความเอื้ออาทร จนเกิดประชาคมอาเซียนที่ น่าอยู่และเป็นปึกแผ่นต่อไปในอนาคต “เราทุกคนไม่ได้เป็นเพียงประชากรของประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่เราเป็นประชากรของ โลก” คือ คำสรุปของประสบการณ์ที่นางสาวพิมพ์ภัทรา พิมพ์วาปี ภาควิชาการตลาด วิ ท ยาลั ย นานาชาติ ชั้ น ปี ที่ ๓ มหาวิ ท ยาลั ย กรุ ง เทพ ได้ เ ก็ บ เกี ่ ย วมาจากการประชุ ม APSSA ครั้งที่ ๑๓ ภายใต้หัวข้อการสัมมนาเรื่อง “Global Citizenships” ซึ่งได้ปลูกฝังให้

นักศึกษาตระหนักถึงความสำคัญและแบ่งปันประสบการณ์ผ่านกิจกรรมนักศึกษาที่แสดงถึง ความเป็นประชากรของโลก การยอมรับและความห่วงใย การให้ความช่วยเหลือเพื่อนร่วมโลก ทำให้ได้เห็นมุมมองใหม่ๆ ปัญหาที่แตกต่าง รวมทั้งวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะกิจกรรมของนักศึกษาญีป่ นุ่ และจีนทีไ่ ด้ทำร่วมกันในการให้ความช่วยเหลือผูป้ ระสบภัย จากแผ่นดินไหวและสึนามิที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้ผู้ประสบภัยมีกำลังใจและได้รับการ เยียวยาอย่างรวดเร็ว ซึ่งน้องพิมพ์ภัทราประทับใจกิจกรรมจากห้องสัมมนานี้ และคิดว่า สามารถนำมาปรับใช้เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ ยังทำให้

นักศึกษาเคารพซึ่งกันและกัน ไม่คำนึงเชื้อชาติ ศาสนาไม่ว่ามาจากที่ไหนหรืออยู่ที่ใด เพราะ ทุกคนอยู่ร่วมโลกเดียวกัน อนุสารอุดมศึกษา

19


เหตุการณ์เล่าเรื่อง

นายฟิลิป สงกรานต์ อัพตัน ประธานองค์กรนักศึกษา มหาวิ ท ยาลั ย นานาชาติ แสตมฟอร์ด ชั้นปีที่ ๒ การบริ ก าร และบริหารการท่องเที่ยว เล่าว่า การเข้าร่วมประชุม Asia-Pacific Student Services ครั้งที่ ๑๓ ในกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ทำให้ตัวแทนนักศึกษาจากภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกได้พัฒนาทักษะ ด้านความเป็นผู้นำ ซึ่งเป็นผลดีต่อประเทศไทยในฐานะที่เราต้อง

เตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.๒๕๕๘ ในการ สัมมนาครั้งนี้ นักศึกษาได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์จาก ตั ว แทนประเทศอื ่ น ๆ ได้ เรี ย นรู ้ เ กี ่ ย วกั บ ความแตกต่ า งระหว่ า ง วั ฒ นธรรมและพั ฒ นาพื ้ นฐานในการติ ด ต่ อ สื ่ อ สาร เสริ ม สร้ า ง ทัศนคติ แนวคิดความเป็นสากลและความเป็นพลเมืองโลก จาก การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นมีประเด็นหลักที่ถูกนำเสนอ ได้แก่ สภาวะแวดล้ อ ม การศึ ก ษา และความแตกต่ า งทางวั ฒ นธรรม และผมมีโอกาสเป็นหนึ่งในหกของตัวแทนนักศึกษาจากประเทศ ไทย มาเลเซี ย สิ ง คโปร์ ฟิ ล ิ ป ปิ น ส์ ออสเตรเลี ย และญี ่ ป ุ ่ น

ในการนำเสนอแผนการปฏิบัติงาน ซึ่งหวังว่าเมื่อกลับไปนักศึกษา ทุกคนจะสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้และได้รับจากการประชุมมาปรับ ใช้เพื่อเป็นผู้นำที่ดีในอนาคตได้

20

อนุสารอุดมศึกษา


เหตุการณ์เล่าเรื่อง “ผมได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทำงานกับเพื่อนๆ ที่มาจากต่างชาติ ต่ า งความคิ ด และที ่ ส ำคั ญ เรามาจากต่ า งวั ฒ นธรรม แต่ เราก็ ย ั ง นำสิ ่ ง ที ่ แตกต่างกันนี้มาประยุกต์เข้าด้วยกันได้อย่างลงตัว นอกจากนี้ยังได้แนวคิด เกีย่ วกับการเตรียมตัวสูค่ วามเป็นพลเมืองโลกทีด่ ี รวมทัง้ ได้เรียนรูก้ จิ กรรมต่าง ๆ ที่สามารถทำให้เรานำไปปรับใช้กับการจัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์ได้ กิจกรรม ครั้งนี้ทำให้ได้เปิดโลกทัศน์ของนักศึกษาเป็นอย่างมาก ทำให้เราเกิดความคิด ในหลายมุมมองที่จะนำไปพัฒนาและเปลี่ยนแปลงองค์กรให้เป็นไปในทางที่ดี ขึ้น และที่สำคัญที่สุด คือ คำว่า มิตรภาพจากเพื่อนทั่วทุกมุมโลก ที่ยังคอย ต้อนรับเราอยู่เสมอ จนทำให้เกิดความอบอุ่นและไม่อาจสามารถทำให้ลืม ความทรงจำอันดีนี้ได้” เป็นอีกหนึ่งคำบอกเล่าจากนายกฤษกร พิมพิชัย คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ ๔ มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี ซึ่งเห็นว่าการประชุมในครั้งนี้มีประโยชน์และมีคุณค่าเป็นอย่างมาก เนื่องจากการประชุมได้ฝึกทักษะหลาย ๆ อย่างให้กับผู้นำนักศึกษา การเข้า ร่วมกิจกรรมนี้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาไทย ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน โดยการเตรียมให้นักศึกษาไทยตื่นตัวในการเข้าสู่ ความเป็นพลเมืองของประชาคมอาเซียนและเป็นพลเมืองโลกต่อไป นางสาวสายฤดี พงศ์สุวณิช เลขานุการชมรมวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๕

ชั้นปีที่ ๓ คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาเพื่อการพัฒนา (เอกภาษาอังกฤษ) เล่าถึงกิจกรรมของการสัมมนาครั้งนี้ว่า การ สัมมนามุ่งเน้นให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญของความเป็นพลเมืองโลก มีกิจกรรมที่มีประโยชน์หลายกิจกรรม อาทิ กิจกรรม Getting to Know You ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาจากนานาชาติทั้งไทย ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และฮ่องกง ได้ทำความรู้จักกันโดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ กิจกรรม Global Citizen, Take Action! ที่กำหนดให้นักศึกษาร่วมกัน แลกเปลี่ยนข้อมูลด้านวัฒนธรรมของประเทศตนเอง ซึ่งมีทั้งเหมือนกันและต่างกัน ทำให้ได้แง่คิดที่ว่า คนเราล้วนมีความแตกต่างกัน การจะก้าวสู่ความเป็นพลเมืองโลกนั้นต้องเคารพ (Respect) ซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมระดมความคิด “๓ ประเด็นเร่งด่วนที่ นักศึกษาต้องเข้าร่วมแก้ไข” คือ ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ความไม่ยอมรับในความแตกต่าง และความด้อยโอกาสทางการศึกษา นับได้ ว่าการเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้เป็นโอกาสในการเปิดโลกทัศน์ด้านกิจกรรมนักศึกษา ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ตัวแทนนักศึกษา ในการนำความ รู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปปรับใช้ในการทำกิจกรรมต่อไปในอนาคต จากคำบอกเล่ า ประสบการณ์ ข อง น้ อ งๆ นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา จะเห็ น ได้ ว่ า การ สัมมนาจะไม่ใช่แค่การบรรยาย และพูด คุ ย ของผู้ ใ หญ่ อี ก ต่ อ ไป หากผู้ ใ หญ่ ใ ห้ ความสำคั ญ ในการหยิ บ ยื่ น โอกาสให้ เยาวชนเด็ ก รุ่ น ใหม่ ที่ จ ะเป็ น กำลั ง ของ สั ง คมโลก เข้ า ไปมี ส่ ว นร่ ว มในการนำ เสนอความคิ ด เพื่ อ ร่ ว มพั ฒ นาและแก้ ปั ญ หาต่ า งๆ ร่ ว มกั น งานสั ม มนาของ สมาคมกิ จ การนั ก ศึ ก ษาภาคพื้ น เอเชี ย แปซิฟิก ครั้งที่ ๑๓ เป็นอีกหนึ่งงานที่ให้ โอกาสนี้ แ ก่ นั ก ศึ ก ษา เพื่ อ เปิ ด โลกทั ศ น์ ของเยาวชนต่างเชื้อชาติ ต่างภาษา ต่าง วัฒนธรรม ให้มาเป็นหนึ่งเดียวกัน เคารพ ในการอยู่ร่วมกันบนโลกใบนี้

อนุสารอุดมศึกษา

21


เล่าเรื่องด้วยภาพ

๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕ - นายอภิ ช าติ จี ร ะวุ ฒ ิ เลขาธิ ก าร

คณะกรรมการการอุดมศึกษา เข้าร่วมงานแถลงข่าวโครงการนำข้าราชการ ครูทั่วประเทศเข้าวัดปฏิบัติธรรมเพื่อร่วมฉลองปีพุทธชยันตี พระพุทธศาสนา มี อ ายุ ค รบ ๒๖๐๐ ปี และเนื ่ อ งในโอกาสมหามงคลที ่ พ ระบาทสมเด็ จ

พระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๘๕ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา และสมเด็จพระบรม โอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา โดยมีพระพรหมสิทธิเจ้าคณะ ๑๐ และที่ปรึกษาสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์

วัดสระเกศ พร้อมด้วยศาสตราจารย์สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ และนายอำนาจ บัวศิริ รองผู้อำนวยการสำนักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติร่วมกันแถลงข่าว ณ ศาลาสมเด็จพระพุฒาจารย์

๑๖ มิ ถ ุ น ายน ๒๕๕๕ - นายอภิ ช าติ จี ร ะวุ ฒ ิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธาน เปิดโครงการปลูกต้นไม้ประจำปีของชาติ ๒๕๕๕ โดย มีผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน

คณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา เข้ า ร่ ว มกิ จ กรรม

ณ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว

๒๑ มิถุน ายน ๒๕๕๕ - รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ก ำจร ตติ ย กวี รองเลขาธิ ก าร

คณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานพิธีเปิด การสั ม มนาวิ ช าการเพื ่ อ ติ ด ตามสถานภาพและ ความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานภายหลังการรับทุน โครงการพัฒนาอาจารย์จากเงินนอกงบประมาณ และโครงการสนับสนุนทุนการศึกษาเด็กอัจฉริยะ

ณ ห้องกิ่งทอง โรงแรมเอเชีย

22

อนุสารอุดมศึกษา


เล่าเรื่องด้วยภาพ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๕ - รองศาสตราจารย์ พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ร่วมให้การต้อนรับ Ms.Xu Lin

ผู้อำนวยการใหญ่สถาบันขงจื่อแห่งสาธารณรัฐ ประชาชนจี น หรื อ ฮั ่ น ปั ้ น (Hanban) และคณะ จำนวน ๒๐ คน ซึ่งเข้าหารือความร่วมมือด้าน การศึกษากับศาสตราจารย์สุชาติ ธาดาธำรงเวช รั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร และ

ผู ้ บ ริ ห ารกระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร ณ ห้ อ งประชุ ม

ราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ

๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๕ - รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมให้การต้อนรับ

Prof. Patrick Donnet อดีตผู้อำนวยการสถาบัน Institute University of Technology Le Mans และรองผู้อำนวยการฝ่ายวิเทศสัมพันธ์สมัชชา ผู้บริหารสถาบัน Institute University of Technology (IUT) สาธารณรัฐฝรั่งเศส และ Mr. Olivier Ribault ผู้แทนสมัชชาผู้บริหารสถาบัน Institute University of Technology (IUT) สาธารณรัฐฝรั่งเศส ณ ห้องประชุมบริหาร ชั้น ๔ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ใน โอกาสเดินทางมาเยือนประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๒๘ - ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๕ เพื่อศึกษาดูงานและหารือเกี่ยวกับความร่วมมือด้าน อุดมศึกษากับประเทศไทย โดยเน้นความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอนที่ผสมผสานทฤษฎีกับการฝึกปฏิบัติในภาค อุตสาหกรรม

๔ กรกฎาคม ๒๕๕๕ - รองศาสตราจารย์ พ ิ น ิ ต ิ รตะนานุ กู ล รองเลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา และนางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา พร้อมด้วยผู้บริหาร สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เข้าร่วมประชุมอย่าง

ไม่เป็นทางการระหว่างผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากับผู้บริหารคณะกรรมการการอุดมศึกษาของฟิลิปปินส์ ครั้งที่ ๒

ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ อนุสารอุดมศึกษา

23



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.