อุ ด มศึ ก ษา อนุสาร
ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔๑๐ ประจำเดือนสิงหาคม ๒๕๕๕ เอกสารเผยแพร่ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ISSN 0125-2461
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕ อนุสารอุดมศึกษาออนไลน์ www.mua.go.th/pr_web
อุดมศึกษา
อนุสาร
ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔๑๐ ประจำเดือนสิงหาคม ๒๕๕๕
สารบัญ เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย เลขาธิการ กกอ. เปิดงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ ๑๓ ๓ รมว.ศธ.อนุญาตเปลี่ยนประเภท "ว.ตาปี" เป็นมหาวิทยาลัย ๔ พร้อมจัดตั้ง "ส.เทคโนโลยียานยนต์มหาชัย" เลขาธิการ กกอ. เปิดงานวลัยลักษณ์วิชาการ ๒๕๕๕ สกอ. ส่งเสริมบูรณาการการเรียนรู้ออนไลน์ WUNCA ครั้งที่ ๒๕ ระดมสมองด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร สกอ. ส่งมอบแท็บเล็ต ๙ โรงเรียนสังกัดสถาบันอุดมศึกษา ในพื้นที่กรุงเทพ
๕ ๖ ๗
๘
เรื่องเล่าอาเซียน
การเกิดประชาคมอาเซียนกับการศึกษาของประเทศไทย (๑๑)
เรื่องพิเศษ เฉลิมพระเกรียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
๙
๑๑
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕
พูดคุยเรื่องมาตรฐาน
๑๕
แนวทางในการจัดทำ Curriculum Mapping
เรื่องแนะนำ สถาบันเทคโนโลยียานยนต์มหาชัย
๑๗
เหตุการณ์เล่าเรื่อง กอล์ฟการกุศลอุดมศึกษา ครั้งที่ ๔ ๑๘
เล่าเรื่องด้วยภาพ
๒๐
คณะผู้จัดทำ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๒๖ เว็บไซต์ http://www.mua.go.th อีเมล์ pr_mua@mua.go.th นายอภิชาติ จีระวุฒิ รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติยกวี นางวราภรณ์ สีหนาท นายศิระวิทย์ คลี่สุวรรณ ที่ปรึกษา บรรณาธิการ นายกฤษณ์กร วงศ์ไทย กองบรรณาธิการ นางสาวปิยาณี วิริยานนท์ นางชุลีกร กิตติก้อง นายเจษฎา วณิชชากร นางปราณี ชื่นอารมณ์ นายพรชัย สิทธินันทน์ นายจรัส เล็กเกาะทวด บริษัท ออนป้า จำกัด ผู้พิมพ์
๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕ - นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมบันทึกเทปโทรทัศน์เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายพระพร ๘๐ พรรษา มหาราชินี พร้อมด้วยศาสตราจารย์สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายศักดา
คงเพชร รั ฐ มนตรี ช ่ ว ยว่ า การกระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร และผู ้ บ ริ ห ารกระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร ทางสถานี ว ิ ท ยุ โทรทั ศ น์ แห่ ง ประเทศไทย
กรมประชาสัมพันธ์
เลขาธิการ กกอ. เปิดงาน ศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้ง ๑๓ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕ - มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาจัดงานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครัง้ ที่ ๑๓ และงานวัฒนธรรมสัมพันธ์ ๒๕๕๕ “รวมดวงใจถวายแม่ของแผ่นดิน” ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากนายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานในพิธี เปิดงาน ณ บริเวณสนามกีฬา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา โดยมีนางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไพโรจน์ ด้วงวิเศษ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ผู้บริหาร คณาจารย์ และนักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษา ต่าง ๆ เข้าร่วมงาน นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวในพิธีเปิดว่า การจัดงานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ ๑๓ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาเป็นเจ้าภาพจัดงาน พร้อมกับงานวัฒนธรรมสัมพันธ์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๕ งานประจำปีที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาจัดต่อเนื่องมายาวนานถึง ๒๔ ปี ได้แสดงออกถึงความเป็นไทยอย่างชัดเจน มีความมุ่งมั่นจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เพราะการรักษาวัฒนธรรม คือ การรักษาชาติ การมีจิตมุ่งดี มุ่งเจริญ มุ่งกตัญญู คือการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรมตามคำสอนของศาสนา และการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา “นิสิต นักศึกษาและเยาวชน เป็นพลังสำคัญของบ้านเมือง ดังนั้น สถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่สนับสนุนและส่งเสริม ให้นิสิต
นักศึกษาและเยาวชน ได้เรียนรู้ โดยการปฏิบัติ หรือโดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงให้เกิดความผูกพันและหวงแหนใน วัฒนธรรมของชาติ รวมทั้งหาแนวทางส่งเสริมและพัฒนาวิถีชีวิตให้มีการวิวัฒน์วัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย โดยที่ยังสามารถ ธำรงเอกลักษณ์ของความเป็นไทยไว้ได้อย่างสมศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิ” เลขาธิการ กกอ. กล่าว อนุสารอุดมศึกษา
3
เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย
รมว.ศธ.อนุญาตเปลี่ยนประเภท “ว.ตาปี” เป็นมหาวิทยาลัย พร้อมจัดตั้ง “ส.เทคโนโลยียานยนต์มหาชัย” ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๕ - สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดพิธีมอบใบอนุญาตให้กับมหาวิทยาลัยตาปีและสถาบัน เทคโนโลยียานยนต์มหาชัย โดยได้รับเกียรติจากนายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานใน
พิธีมอบ ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยคำแนะนำของ คณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้อนุญาตให้ ‘วิทยาลัยตาปี’ เปลี่ยนประเภทเป็น ‘มหาวิทยาลัยตาปี’ พร้อมเปลี่ยนตราสัญลักษณ์ และบริษัท พี.เอ็ม.ที.เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ประเภทสถาบัน ชื่อ ‘สถาบันเทคโนโลยียานยนต์มหาชัย’ เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ลงนามในใบอนุญาตและประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การเปลี่ยนประเภทวิทยาลัยตาปีเป็นมหาวิทยาลัยตาปี และ เรื่อง การจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ประเภทสถาบัน ชื่อ ‘สถาบันเทคโนโลยียานยนต์มหาชัย’ ขณะนี้อยู่ระหว่างนำประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เลขาธิการ กกอ. กล่าวว่า จากที่อธิการบดีวิทยาลัยตาปี ได้มีหนังสือขออนุญาตเปลี่ยนประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชนจาก วิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัย โดยใช้ชื่อว่า ‘มหาวิทยาลัยตาปี’ คณะอนุกรรมการพิจารณาการจัดตั้งและเปลี่ยนประเภทสถาบัน อุดมศึกษาเอกชน ได้พิจารณาในประเด็นความพร้อมด้านกายภาพ ด้านวิชาการ ด้านการเงินและข้อกำหนด พร้อมทั้งพิจารณา ศักยภาพความพร้อม ความเหมาะสมของโครงการ ณ สถานที่ตั้ง พบว่า วิทยาลัยตาปีมีความพร้อมด้านกายภาพ มีจำนวนที่ดินและ กรรมสิทธิ์ เป็นไปตามกฎกระทรวง กำหนดลักษณะและเนื้อที่ที่ดินที่จะใช้เป็นที่จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.๒๕๔๙ ซึ่ง สามารถรองรับพันธกิจและการขยายตัวในอนาคตได้ นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรที่หลากหลาย ได้รับการรับรองมาตรฐานและเป็นไป ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.ศ.๒๕๔๘ และผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษา (สมศ.) ที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีทั้งในระดับสถาบัน และระดับกลุ่มสาขาวิชา ซึ่งเมื่อได้รับการเปลี่ยน ประเภทแล้วมหาวิทยาลัยมีทุนประเดิม ๑๑๔,๓๐๔,๘๑๒.๕๗ บาท สภาพคล่องด้านการเงินอยู่ในเกณฑ์ดี สำหรับสถาบันเทคโนโลยียานยนต์มหาชัย เลขาธิการ กกอ. กล่าวว่า บริษัท พี.เอ็ม.ที.เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด มีหนังสือยื่นคำขอ อนุญาตจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชนประเภทสถาบัน ตั้งอยู่เลขที่ ๖๔/๑ ถนนพระรามสอง ตำบลบางน้ำจืด อำเภอเมือง จังหวัด สมุทรสาคร บนเนื้อที่ ๑๑ ไร่ ๑๑ ตารางวา โดยจะจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยี ยานยนต์ และสาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการวิชาเอกการจัดการศูนย์บริการรถยนต์ ในปีการศึกษา ๒๕๕๕ ซึ่งคณะอนุกรรมการ พิจารณาการจัดตั้งและเปลี่ยนประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชน คณะอนุกรรมการด้านนโยบายและแผน และคณะกรรมการการ อุดมศึกษา ได้พิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยียานยนต์มหาชัย โดยเห็นว่าสาขาที่จะเปิดสอน คือ สาขาวิชา เทคโนโลยียานยนต์ และสาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการวิชาเอกศูนย์การบริการรถยนต์ เป็นการผลิตบุคลากรเพื่อการพัฒนาและ
ยกระดั บ ความสามารถของแรงงานในภาคอุ ต สาหกรรมรถยนต์ ข องประเทศ ซึ ่ ง ผู ้ ข อรั บ ใบอนุ ญ าตเป็ น บริ ษ ั ท เอกชนอยู ่ แ วดวง อุตสาหกรรมยานยนต์ ทั้งนี้ สถาบันยังมีศักยภาพความพร้อมความเหมาะสมทั้งด้านกายภาพ คือ สิ่งปลูกสร้าง ครุภัณฑ์และ อุปกรณ์การศึกษา ด้านวิชาการ ด้านการบริหารจัดการด้านการเงิน และมีลักษณะของความเป็นสถาบันเฉพาะทาง “สกอ. ในฐานะหน่วยงานที่กำกับ ดูแล นโยบายด้านการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา มีความยินดีที่ภาคเอกชนได้มีส่วนร่วม ในการจัดการศึกษาของประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้พิจารณาการขอจัดตั้ง และการขอเปลี่ยนประเภทด้วย ความรอบคอบ และคำนึงถึงการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ สามารถผลิตบัณฑิตให้มีศักยภาพ พร้อมที่จะแข่งขันกับนานาประเทศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ” เลขาธิการ กกอ. กล่าวในตอนท้าย
4
อนุสารอุดมศึกษา
เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย
เลขาธิการ กกอ. เปิดงานวลัยลักษณ์วิชาการ ๒๕๕๕ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๕ - มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จัดงาน ‘วลัยลักษณ์วิชาการ ๒๕๕๕ เปิดบ้านวลัยลักษณ์เกษตรแฟร์’ ระหว่างวันที่ ๒๓ - ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อแสดงผลงานและศักยภาพความพร้อมในด้านต่างๆ ของ มหาวิทยาลัย ให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา นักวิชาการ คณาจารย์และผู้สนใจทั่วไปได้เห็นถึงความสำเร็จ ความก้าวหน้า และ พัฒนาการของมหาวิทยาลัย โดยได้รับเกียรติจากนายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานเปิดงาน ในวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ณ อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีและพัฒนานวัตกรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวแสดงความยินดีและชื่นชมในความเจริญก้าวหน้าและความ สำเร็จของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งปรากฎผ่านผลงานต่างๆ ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ โดยเฉพาะผลงานความ ก้าวหน้าทางวิชาการและผลการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ที่จัดแสดงในงาน ‘วลัยลักษณ์วิชาการ ๒๕๕๕’ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐระดับต้น ๆ ของประเทศ ได้รับการสถาปนา ก่อตั้ง และดำเนินการต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๕ เติบโต ก้าวหน้ามาอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านการเรียน การสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม นับถึงปัจจุบัน เป็นเวลา ๒๐ ปี แต่มีพัฒนาการที่โดดเด่นก้าวหน้ามากมายหลายด้าน ซึ่งเชื่อมั่นว่า ในอนาคตของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
จะยิ่งมีความเข้มข้น โดดเด่น และก้าวหน้า ยิ่งขึ้นไป สมดั่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับประเทศ ระดับประชาคมอาเซียน และระดับโลก ‘วลัยลักษณ์วิชาการ ๒๕๕๕ เปิดบ้านวลัยลักษณ์เกษตรแฟร์’ เป็นกิจกรรมเพื่อร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสปี พ.ศ.๒๕๕๕
เป็นปีแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ครบ ๒๐ ปี เป็นมหกรรมการจัดแสดงกิจกรรม การเรียนรู้หลากหลายลักษณะ ประกอบด้วย เปิดบ้านวลัยลักษณ์ การประชุมวิชาการ การจัดงานวันภาษาไทยวลัยลักษณ์ การอบรมและสัมมนา การบรรยายพิเศษ ในหัวข้อต่าง ๆ โดยวิทยากรผูท้ รงคุณวุฒริ ะดับประเทศ ตลอดจนการเปิดห้องปฏิบตั กิ ารต่าง ๆ เพือ่ ให้นกั เรียนและประชาชนทัว่ ไปเข้าชม เช่น ห้องปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ห้องปฏิบัติการสารสนเทศ ห้องปฏิบัติการผลิตยา การจัดแสดงนิทรรศการนวัตกรรม ด้านการเรียนการสอนของสำนักวิชาต่าง ๆ ทั้ง ๑๑ สำนักวิชา นิทรรศการด้านการวิจัย การถ่ายทอดเทคโนโลยีต่าง ๆ สู่ชุมชน นิทรรศการด้านสหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ และนิทรรศการแสดงความก้าวหน้าการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รวมทั้งความร่วมมือกับต่างประเทศและทิศทางของมหาวิทยาลัยในอนาคต
อนุสารอุดมศึกษา
5
เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย
สกอ. ส่งเสริมบูรณาการการเรียนรู้ออนไลน์ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๕ - สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย จัดการประชุมวิชา การระดับชาติด้านอีเลิร์นนิง (National e-Learning Conference: Integrating ASEAN Online learning: Policy and Process) บูรณาการการเรียนรู้ออนไลน์ประชาคมอาเซียน: นโยบายและกระบวนการ ระหว่างวันที่ ๑๔ - ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๕ ณ อาคาร ๙ อิมแพค เมืองทองธานี รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวในการเปิดประชุมว่า สำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ร่วมผลักดันและสนับสนุนในการพัฒนาการศึกษา และเตรียมความพร้อมก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคม อาเซียนในปี ๒๕๕๘ โดยได้จัดทำกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว ๑๕ ปี ฉบับที่ ๒ เพื่อให้ระบบอุดมศึกษาเตรียมความพร้อมในการ รองรับให้ประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งมีประเด็นนโยบายเชิงยุทธศาสตร์การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมา ประยุกต์พัฒนาการศึกษาได้ทันที สำหรับโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญและอนุมัติให้มีการ พัฒนาเครือข่าย UniNet เป็นเครือข่ายการศึกษาแห่งชาติ หรือที่เรียกว่า ‘NEdNet’ เพื่อเชื่อมโยงการเรียนรู้จากมหาวิทยาลัย อาชีวศึกษา และการศึกษาขั้นพื้นฐานเข้าด้วยกัน เพื่อให้นิสิต นักศึกษา นักเรียน ตลอดจนประชาชนทั่วไป สามารถเข้าถึงแหล่ง ความรู้ที่มีอยู่ทั่วทุกมุมโลก ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทยเป็นแกนหลักในการพัฒนาการเรียนการสอน แบบอีเลิร์นนิง ส่งเสริมให้จัดระบบกลางเพื่อการบริการและสนับสนุนสื่อการเรียนรู้แบบ Open Courseware ของมหาวิทยาลัยออกสู่ สาธารณะ ให้สามารถแบ่งปันการใช้งานร่วมกันได้ “การเรียนรู้ผ่านระบบอีเลิร์นนิงของอุดมศึกษาไทย เป็นหนึ่งในวิธีการจัดการศึกษาของไทยในขณะนี้ เนื่องจากเป็นวิธีการ
ส่งเสริมให้ผู้คนได้มีโอกาสเรียนรู้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งนี้ อีเลิร์นนิงได้มีส่วนสนับสนุนให้เกิดการศึกษาตลอด ชีวิตอย่างมาก เพราะเปิดโอกาสให้บุคคลทุกเพศ ทุกวัย สามารถศึกษาผ่านทางอินเทอร์เน็ต ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ ซึ่งเปรียบ เสมือนการเปิดโลกแห่งการเรียนรู้ที่ไม่มีพรมแดน สถาบันการศึกษาในปัจจุบันมีการเปิดการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิง ทั้งเพื่อแทนที่ และเพื่อเสริมการสอนปกติเพิ่มขึ้น จึงทำให้มีผลงานวิจัยและการพัฒนาองค์ความรู้ ตลอดจนกรณีศึกษาของการจัดการอีเลิร์นนิงใน สถาบันการศึกษาต่าง ๆ มีจำนวนมากเป็นลำดับ” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า สกอ. หวังว่าการประชุมวิชาการในครั้งนี้จะเป็นโอกาสอันดีที่จะได้รับสารสนเทศเพื่อเป็นการ เตรี ย มความพร้ อ มด้ า นนโยบายและกระบวนการของการเรี ย นออนไลน์ โดยคณาจารย์ นั ก วิ ช าการ นิ ส ิ ต นั ก ศึ ก ษา จาก มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ครอบคลุม ทั้งการเลือกใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เทคนิคการจัดการเรียนการสอนจาก กรณีศึกษา รวมถึงผลงานวิจัย และนวัตกรรมด้านอีเลิร์นนิงให้กว้างขวางขึ้น อันจะส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนา ประเทศเพื่อการรองรับการจัดการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงของประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียนต่อไป
6
อนุสารอุดมศึกษา
เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย
WUNCA ครั้งที่ ๒๕ ระดมสมองด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ๗ สิงหาคม ๒๕๕๕ - สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การดำเนินกิจกรรมบนระบบ
เครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ครั้งที่ ๒๕” (Workshop on UniNet Network and Computer Application: WUNCA) ณ ศูนย์ ประชุมนานาชาติ มหาวิทยาสงขลานครินทร์ โดยได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ในฐานะผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (CIO) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานกล่าวเปิด
การประชุมผ่านระบบเทเลคอนเฟอเร้นซ (Tele Conference) รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า เครือข่าย UniNet ได้ก้าวอีกขั้นสู่
ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาวิจัยของไทยอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยการพัฒนาวางโครงสร้างพื้นฐานด้านเครือข่าย โดยการจัดสร้าง โครงข่ายสื่อสัญญาณเคเบิลใยแก้วนำแสงเชื่อมโยงเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา และสถาบันการ ศึกษาในระดับอื่น ทั้งในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและสังกัดกระทรวงอื่น รวมถึงหน่วยงานเพื่อการศึกษาวิจัยทั้งในประเทศและต่าง ประเทศเข้าด้วยกันบนเครือข่ายเดียว ซึ่งถือเป็นการบูรณาการเครือข่ายและการใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบัน รัฐบาลได้ ให้ความสำคัญและอนุมัติให้พัฒนาเครือข่าย UniNet เป็นเครือข่ายการศึกษาแห่งชาติ หรือที่เรียกว่า “NEdNet” ซึ่งเป็นอีกบทบาทหนึ่งที่ สกอ. ได้ร่วมผลักดันและสนับสนุนในการพัฒนาการศึกษา และเตรียมความพร้อมก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘
โดย สกอ. ได้จัดทำกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว ๑๕ ปี ฉบับที่ ๒ เพื่อให้ระบบอุดมศึกษาเตรียมความพร้อมในการรองรับให้ประเทศไทย เข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยมีประเด็นนโยบายเชิงยุทธศาสตร์การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาประยุกต์พัฒนาการศึกษาได้ ทันที ได้แก่ การสมานรอยต่อระหว่างการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา การเพิ่มบทบาทของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาขีด ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยสนับสนุนทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการศึกษาวิจัย และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การเรียนรู้ให้เอื้อต่อการพัฒนาไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ โดยการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพิ่มโอกาสทาง
การศึกษาและการเรียนรู้อย่างทั่วถึง สกอ. โดยความร่วมมือของสถาบันการศึกษาจะได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาร่วม
ผลักดันนโยบายดังกล่าวให้ลุล่วง อันจะส่งผลให้ประเทศไทยสามารถรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า สกอ. มีความมุ่งหวังที่จะส่งเสริมพัฒนางานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อเร่งยก ระดับคุณภาพและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึง ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดให้มีระบบและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบ อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นกลไกในการแลกเปลี่ยนกระบวนทัศน์การเรียนรู้ให้เป็นแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและเอื้อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ถือเป็นการเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่งเสริมการพัฒนาและผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพพร้อมรับการก้าวเข้าสู่การเป็น ประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ รวมถึงผลงานวิจัย และนวัตกรรม อันจะส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาประเทศต่อไป “สถาบันอุดมศึกษา ถือเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาศักยภาพ คุณภาพชีวิต เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยการกระจายและ พัฒนาความรู้ให้กับคนในชาติ สังคม และชุมชน เป็นศูนย์รวมองค์ความรู้และบุคลากรผู้ที่มีความรู้ความสามารถทั้งในด้านวิชาการ ด้าน ปฏิบัติการ ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ จะเป็นโอกาสให้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร ได้ร่วมกันคิด วิเคราะห์ วางแผนการพัฒนาเครือข่ายเพื่อการศึกษาวิจัยของประเทศร่วมกัน รวมถึงการศึกษาเรียนรู้และแลกเปลี่ยน ความรู้ร่วมกันในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตลอดจนเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต่อการพัฒนาและสร้างความเข้มแข็ง ให้กับเครือข่ายสถาบันการศึกษาของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว อนุสารอุดมศึกษา
7
เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย
สกอ. ส่งมอบแท็บเล็ต ๙ โรงเรียนสังกัดสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่กรุงเทพ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕ - สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดพิธีส่งมอบคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต ตามโครงการแท็บเล็ต เพื่อการศึกษาไทย (One Tablet per Child) ของรัฐบาล ให้แก่โรงเรียนในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการ อุ ด มศึ ก ษา ในเขตพื ้ นที ่ ก ารศึ ก ษาประถมศึ ก ษากรุ ง เทพมหานคร โดยได้ ร ั บ เกี ย รติ จ ากนางวราภรณ์ สี ห นาท รองเลขาธิ ก าร
คณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานในพิธีส่งมอบ ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน สำนักงานคณะกรรมการ
การอุดมศึกษา นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวในพิธีส่งมอบว่า รัฐบาลมีวัตถุประสงค์ให้โครงการ แท็บเล็ตเพื่อการศึกษาไทย (One Tablet per Child) เกิดความเท่าเทียมกันทางการศึกษาในสังคมไทย ไม่ใช่เพียงการแจกแท็บเล็ตให้ กับเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เท่านั้น แต่เป็นการเติมปัญญาด้วยเทคโนโลยีให้กับเด็ก ซึ่งเป็นการเปิดโลกแห่งการเรียนรู้แนวใหม่ ให้ เด็กเข้าถึงข้อมูลข่าวสารตามความสนใจใฝ่รู้ของเด็ก และเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยการเสริมทักษะการอ่าน เขียน คิดเลขเร็ว การเสริมทักษะการเรียนรู้ผ่านสื่อแบบเอ็ดดูเทนเม็นท์ (Edutainment) การเสริมทักษะกระบวนการคิดผ่านเทคโนโลยี การเรียนรู้ได้ด้วย ตนเอง ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ และการเรียนรู้ร่วมกันทั้งเด็ก ครู และผู้ปกครอง รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้รับจัดสรรคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต ตามโครงการ แท็บเล็ตเพื่อการศึกษาไทย ระยะที่ ๑ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ของโรงเรียนในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ๙ แห่ง จำนวน ๑,๓๑๔ เครื่อง โดยแบ่งเป็น
(๑) โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ๒๕๕ เครื่อง (๒) โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ๔๒๘ เครื่อง (๓) โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) ๒๐๐ เครื่อง (๔) โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย รามคำแหง (ฝ่ายประถม) ๑๕๔ เครื่อง (๕) โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ๘๙ เครื่อง (๖) โรงเรียนสาธิต มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ สวนสุ น ั นทา ๘๕ เครื ่ อ ง (๗) โรงเรี ย นสาธิ ต มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ บ้ า นสมเด็ จ เจ้ า พระยา ๗๙ เครื ่ อ ง
(๘) โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ๑๖ เครื่อง และ (๙) โรงเรียนดรุณสิกขาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ๘ เครื่อง “โดยในเบื้องต้น สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาขอความร่วมมือโรงเรียนในการกำหนดระเบียบ วิธีปฏิบัติและแนวทาง ในการแจกจ่ายคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต ให้กับนักเรียนเป็นการเฉพาะ ตามความเหมาะสมในการบริหารจัดการของโรงเรียน พร้อม
แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ ครูของโรงเรียนในการดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต และขอให้โรงเรียนแจ้งผู้ปกครองลงนามรับทราบ เงื่อนไขความรับผิดชอบ และการชดใช้กรณีคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตสูญหาย ทั้งนี้ คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต รับประกันการใช้งาน ๒ ปี กรณีชำรุด เสียหาย ให้โรงเรียนแจ้งบริการซ่อมฟรีที่ศูนย์ซ่อมกระทรวงศึกษาธิการ ๓๐ ศูนย์ทั่วประเทศ สำนักงานคณะกรรมการ
การอุดมศึกษา หวังเป็นอย่างยิ่งว่า โรงเรียนจะใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต ตามโครงการแท็บเล็ตเพื่อการศึกษาไทย อย่างเต็มประสิทธิภาพ” รองเลขาธิการ กกอ.กล่าวในตอนท้าย
8
อนุสารอุดมศึกษา
เรื่องเล่าอาเซียน
โดย รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล
การเกิดประชาคมอาเซียนกับการศึกษาของประเทศไทย (๑๑) การแลกเปลี่ยนนักศึกษาเป็นกิจกรรมที่สถาบันอุดมศึกษาในทุกภูมิภาคของโลกดำเนินการเนื่องจากหลายๆ เหตุผล ได้แก่ ความ ต้องการยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษา ต้องการพัฒนาคนเพื่อเป็นกำลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ต้องการดึงองค์ ความรู้จากนานาชาติมาพัฒนาประเทศ การประชาสัมพันธ์การศึกษาและวัฒนธรรมของประเทศให้เป็นที่รู้จักในต่างประเทศ และอาเซียน จะเข้าสู่การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนเต็มรูปแบบภายในปี ๒๕๕๘ ผลกระทบจากการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนต่อการศึกษา ได้แก่ การเปิดเสรีทางการศึกษาและการเคลื่อนย้ายกำลังคนเสรีในตลาดแรงงานของภูมิภาค โดยตลาดแรงงานจะมีโอกาสในการเลือกจ้าง บุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถและความชำนาญมากขึ้น การแข่งขันเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานสูงขึ้น ปัจจัยกระตุ้นจากภายนอกนี้ส่งผลให้สถาบันอุดมศึกษาต้องเตรียมนักศึกษาที่กำลังจะเป็นบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรอบรู้และสามารถที่ จะเป็นพลโลก เพื่อแข่งขันได้ในตลาดแรงงานระดับภูมิภาคและระดับสากล การให้นักศึกษาได้มีโอกาสไปศึกษาในต่างประเทศในช่วงเวลา สั้นๆ เป็นกลไกที่สำคัญยิ่งในการกระตุ้นให้นักศึกษาได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม เรียนรู้วิธีการศึกษาใน ประเทศอื่นๆ เรียนรู้การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม เรียนรู้วิชาการใหม่ๆ ที่แตกต่างไปจากวิชาที่สอนในมหาวิทยาลัยต้นสังกัด เรียนรู้ภาษาต่าง ประเทศ ทั้งด้านวิชาการและการสื่อสาร ได้เปิดโลกทัศน์สู่สากล รวมทั้งได้เครือข่ายในกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการ ทำงานในอนาคต เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๓ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้เริ่มโครงการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนนักศึกษาภายใต้โครงการ M-I-T Mobility Programme เป็นโครงการนำร่องในการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างมาเลเซีย อินโดนีเซียและไทย โดยให้มีการแลกเปลี่ยน
นักศึกษาในอาเซียน เพื่อให้เป็นกลไกความร่วมมือที่สำคัญในการขับเคลื่อนการเกิดประชาคมอาเซียนที่เข้มแข็งต่อไปในอนาคต พร้อมทั้ง สร้างความกลมกลืนของสถาบันอุดมศึกษาในประชาคมอาเซียน และลดความแตกต่างระหว่างภาษา ศาสนา และวัฒนธรรมของประเทศ สมาชิก ซึ่งโครงการดังกล่าวสนับสนุนการแลกเปลี่ยนนักศึกษาในระดับปริญญาตรีใน ๕ สาขาวิชาที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ คือ เกษตรศาสตร์ ภาษาและวัฒนธรรม การบริการและการท่องเที่ยว ธุรกิจระหว่างประเทศ และ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร เป็นเวลา ๑ ภาคการศึกษา และเน้นให้มีการถ่ายโอนหน่วยกิตกลับมายังมหาวิทยาลัยต้นสังกัดอย่างน้อย ๙ - ๑๒ หน่วยกิต โดยมี มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการจำนวน ๒๓ แห่ง แบ่งเป็นมหาวิทยาลัยของประเทศมาเลเซีย ๖ แห่ง มหาวิทยาลัยของประเทศอินโดนีเซีย ๑๑ แห่ ง และมหาวิ ท ยาลั ย ของประเทศไทย ๖ แห่ ง คื อ มหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย
สงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ในปี ๒๕๕๘ โครงการ M - I - T Mobility Programme กำหนดเป้าหมายในการขยายจำนวนนักศึกษาให้เพิ่มขึ้นเป็น ๕oo คน ครอบคลุมประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด ๑o ประเทศ และขยายไปถึงประเทศคู่เจรจาของอาเซียนอีก ๓ ประเทศ คือ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศจีน และประเทศเกาหลี อีกทั้งเพิ่มสาขาวิชาให้มีความหลากหลาย เพื่อจูงใจให้นักศึกษาจากประเทศสมาชิกเข้าร่วมโครงการ
แลกเปลี่ยนให้มากขึ้น จากการนำร่องของโครงการ M - I - T Mobility Programme ที่ได้รับความสนใจของสถาบันอุดมศึกษา และนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ มาระยะหนึ่ง ดังนั้น เพื่อพัฒนาศักยภาพนักศึกษาไทยให้พร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงานในภูมิภาคอาเซียนและมีประสบการณ์ใน
ต่างประเทศ พร้อมทั้งใช้การศึกษาเป็นตัวนำสู่การกระชับความสัมพันธ์และการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ตลอดจนส่งเสริมการถ่ายโอน หน่วยกิตกลับมายังสถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จึงได้เริ่ม โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาไทยและอาเซียน โดยการจัดสรรทุนการศึกษาให้นักศึกษาไทยระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ ๒ ขึ้นไป จากทุก สถาบันอุดมศึกษาไทยไปลงทะเบียนเรียน (และต้องไม่ใช่การฝึกอบรมหรือดูงาน) ระยะเวลา ๑ ภาคการศึกษา แต่ไม่เกิน ๔ เดือน ในทุก สาขาวิชา ในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน ประกอบด้วย เนการาบรูไนดารุสซาลาม ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐ อินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มาเลเซีย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐ สิงคโปร์ และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ทั้งนี้ นักศึกษาไทยลงทะเบียนเรียนอย่างน้อย ๒ รายวิชา และต้องถ่ายโอนหน่วยกิตกลับ มายังสถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัดอย่างน้อย ๖ หน่วยกิต โดยต้องแสดงหลักฐานว่ามีการถ่ายโอนหน่วยกิตระหว่างกัน อนุสารอุดมศึกษา
9
เรื่องเล่าอาเซียน
ในปี ๒๕๕๕ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้สนับสนุนผู้เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาไทยและอาเซียนทั้งหมด จำนวน ๓๘ คน โดยมีสถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ ดังนี้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยพายัพ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัย อุ บ ลราชธานี มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม มหาวิ ท ยาลั ย ศรี นคริ นทรวิ โ รฒ จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย ซึ ่ ง จะไปเข้ า ร่ ว มโครงการ
ณ ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย มาเลเซีย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ในปีงบประมาณ ๒๕๕๖ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ขยายโครงการให้ครอบคลุมนักศึกษาไทยระดับบัณฑิตศึกษา
ทุกสาขาวิชา เพื่อไปศึกษาหรือทำวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยจะให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถเสนอชื่อ
นักศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา เข้าร่วมโครงการได้ไม่เกิน ๑๐ คน ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาหรือนักศึกษาผู้สนใจเข้าร่วม โครงการในปีหน้า สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ http://inter.mua.go.th/ หรือสอบถามได้ที่ โทร. ๐ ๒๖๑๐ ๕๔๐๒ สรุปแนวทางการสมัครเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาไทยและอาเซียน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๖ ระดับปริญญาตรี ระดับบัณฑิตศึกษา •
•
•
จัดสรรทุนการศึกษาให้นักศึกษาไทยระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ ๒ ขึ้นไปจากทุกสถาบันอุดมศึกษาไทยไปลงทะเบียนเรียนใน หลักสูตรที่เปิดสอนตามปกติ (และต้องไม่ใช่การฝึกอบรม หรือดูงาน) ระยะเวลา ๑ ภาคการศึกษา แต่ไม่เกิน ๔ เดือน ในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน นักศึกษาไทยลงทะเบียนเรียนอย่างน้อย ๒ รายวิชา และ ต้องถ่ายโอนหน่วยกิตกลับมายังสถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัด อย่างน้อย ๖ หน่วยกิต โดยต้องแสดงหลักฐานว่ามีการถ่าย โอนหน่วยกิตระหว่างกัน นักศึกษาที่ไปศึกษาสามารถเข้าร่วมโครงการได้ตลอดภาค การศึ ก ษา ตามระบบการศึก ษาของสถาบันอุด มศึ กษาที ่ สมัครไปแลกเปลี่ยน (อาจเป็น Semester, Trimester หรือ Quarter) แต่ไม่เกิน ๔ เดือน
ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลด
รายละเอียดได้จากเว็บไซต์ www.inter.mua.go.th หัวข้อ Announcement
10
อนุสารอุดมศึกษา
จัดสรรทุนการศึกษาให้นักศึกษาไทยระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อ ไปศึกษาหรือทำวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศสมาชิก อาเซียน นักศึกษาระดับปริญญาโท • ไปลงทะเบียนเรียนอย่างน้อย ๒ รายวิชา ในหลักสูตรที่ เปิดสอนตามปกติของสถาบันอุดมศึกษาเจ้าภาพ โดย รายวิชาสัมพันธ์กับวิชาที่ศึกษาอยู่ ณ สถาบันอุดมศึกษา ต้นสังกัด (และต้องไม่ใช่การฝึกอบรมหรือดูงาน) และ ต้องถ่ายโอนหน่วยกิตกลับมายังสถาบันอุดมศึกษาต้น สังกัดอย่างน้อย ๖ หน่วยกิต โดยแสดงหลักฐานว่ามีการ ถ่ายโอนหน่วยกิตระหว่างกัน หรือ • ไปทำวิ จั ยที ่ เป็ น ส่ ว นหนึ ่ ง ของการศึ กษา หากการวิจ ัย
ดั ง กล่ า วเป็ น ส่ ว นหนึ ่ ง ของวิ ท ยานิ พ นธ์ ต้ อ งได้ ร ั บ การ อนุมัติหัวข้อวิทยานิพนธ์จากสถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัด แล้ ว การทำวิ จั ย ไม่ จ ำเป็ น ต้ อ งถ่ า ยโอนหน่ ว ยกิ ต กลับมายังสถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัด นักศึกษาระดับปริญญาเอก • ไปทำวิ จ ั ยที ่ เป็ น ส่ ว นหนึ ่ ง ของการศึ กษา หากการวิจ ัย
ดั ง กล่ า วเป็ น ส่ ว นหนึ ่ ง ของวิ ท ยานิ พ นธ์ ต้ อ งได้ ร ั บ การ อนุมัติหัวข้อวิทยานิพนธ์จากสถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัด แล้วการทำวิจัยไม่จำเป็นต้องถ่ายโอนหน่วยกิตกลับ มายังสถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัด ระยะเวลาเข้าร่วมโครงการ • ระยะเวลาสำหรับการศึกษา ๑ ภาคการศึกษา แต่ไม่เกิน ๔ เดือน • ระยะเวลาสำหรั บ การทำวิ จ ั ย ๑ เดื อ น แต่ ไ ม่ เ กิ น
๔ เดือน
เฉลิมพระเกียรติ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ เป็นพระธิดาองค์ใหญ่ของพลเอกพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ (หม่อมเจ้า นักขัตรมงคล กิติยากร) กับหม่อมหลวงบัว กิติยากร พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาพระราชทานนามว่า ‘สิริกิต์’ ซึ่งมี ความหมายว่า ‘ผู้เป็นศรีแห่ง กิติยากร’ ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๗๕ ที่บ้านพลเอกเจ้าพระยาวงศานุประพันธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) ผู้เป็นบิดาของหม่อมหลวงบัว ณ บ้านเลขที่ ๑๘๐๘ ถนนพระรามหก ตำบลวังใหม่ อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร ขณะนั้น เป็น ระยะที่ประเทศเพิ่งเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย ก่อนหน้านั้นพระบิดาของ พระองค์ทรงดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก มียศเป็นพันเอกหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เริ่มเรียนชั้นอนุบาลที่โรงเรียนราชินี ปากคลองตลาดในพุทธศักราช ๒๔๗๙ แต่เมื่อสงครามมหาเอเชียบูรพา ลุกลามมาถึงประเทศไทย จังหวัดพระนครถูกโจมตีทางอากาศบ่อยๆ ทำให้การเดินทางไม่สะดวกและไม่ปลอดภัย หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์
จึงต้องย้ายไปเรียนที่โรงเรียนเซ็นต์ฟรังซิสซาเวียร์คอนแวนต์ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ได้เผชิญสภาพของสงครามโลกเช่นเดียวกับคนไทยทั้งหลาย พระบิดาผู้ทรงเป็นทหารเป็นผู้ปลูกฝังให้บุตร และบุตรี รู้จักความมีวินัย ความอดทน ความกล้าหาญ และความเสียสละ โดยอาศัยเหตุการณ์ในสงครามเป็นตัวอย่าง และสงครามก็ทำให้ผู้คนต้อง หันหน้าเข้าช่วยเหลือกันในยามทุกข์ยาก สิ่งเหล่านี้หล่อหลอมให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์มีความเมตตาต่อผู้อื่น และรักความมีระเบียบแบบแผน มาตั้งแต่เยาว์วัย หลังจากสงครามสงบแล้ว นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น คือ นายควง อภัยวงศ์ ได้แต่งตั้งให้หม่อมเจ้านักขัตรมงคล เป็นรัฐทูตวิสามัญและ อัครราชทูต ผู้มีอำนาจเต็มประจำสำนักเซ็นต์เจมส์ ประเทศอังกฤษ หม่อมเจ้านักขัตรมงคลจึงทรงพาครอบครัวทั้งหมด ไปด้วยในกลางปี พุทธศักราช ๒๔๘๙ ขณะนั้นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เรียนจบชั้นมัธยมปีที่ ๓ ของโรงเรียนเซ็นต์ฟรังซิสซาเวียร์คอนแวนต์แล้ว ระหว่างที่อยู่ในประเทศอังกฤษ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ตั้งใจเรียนเปียโน ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศสกับครูพิเศษ แต่อยู่อังกฤษได้
ไม่นาน หม่อมเจ้านักขัตรมงคล ก็ทรงย้ายไปประเทศเดนมาร์ก และประเทศฝรั่งเศส ตามลำดับ ระหว่างนี้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ยังคงตั้งใจ เรียนเปียโน เพื่อเตรียมสอบเข้าวิทยาลัยการดนตรี ที่มีชื่อเสียงของกรุงปารีส อนุสารอุดมศึกษา
11
เรื่องพิเศษ พุ ท ธศั ก ราช ๒๔๙๑ ขณะที ่ ห ม่ อ มเจ้ า นั ก ขั ต รมงคลและ ครอบครัวอยู่ในปารีส ได้รับเสด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งโปรดเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรโรงงานทำรถยนต์ใน
กรุงปารีสอยู่เสมอ จนเป็นที่คุ้นเคยต่อพระยุคลบาทและต้องพระราช อั ธ ยาศั ย ฉะนั ้ น เมื ่ อ สมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ ห ั ว ทรงประสบอุ ป ั ท วเหตุ
ทางรถยนต์ ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ต้องประทับรักษาพระองค์
ในสถานพยาบาล จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ หม่อมหลวงบัวพาบุตรีทั้งสอง คือ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ และหม่อม ราชวงศ์บุษบา เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทเยี่ยมอาการเป็นประจำ จน พระอาการประชวรทุเลาลง เสด็จกลับพระตำหนักได้ สมเด็จพระราช ชนนีได้รับสั่งขอให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ อยู่ศึกษาต่อที่เมืองโลซานน์ ในโรงเรียนประจำ Riante Rive ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียง ในการ สอนวิชาพิเศษแก่กุลสตรี คือ ภาษา ศิลปะ ดนตรี ประวัติวรรณคดี และประวัติศาสตร์ ต่ อ มาอี ก ๑ ปี ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ ให้ ห ม่ อ มเจ้ า
นักขัตรมงคลและครอบครัวมาเฝ้าฯ แล้วสมเด็จพระราชชนนี รับสั่งขอ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ต่อหม่อมเจ้านักขัตรมงคล และประกอบพระราช พิธีหมั้นอย่างเงียบ ๆ ในวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๒ ทรงใช้พระธำมรงค์ที่สมเด็จพระราชบิดาทรงหมั้นสมเด็จพระราชชนนี เป็นพระธำมรงค์หมั้น แล้วคงให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ศึกษาต่อไป จน เสด็จนิวัตพระนคร จึงโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ตามเสด็จ กลั บ มาถวายพระเพลิ ง พระบรมศพพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ ห ั ว
อานันทมหิดล ในเดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ วั น ที ่ ๒๘ เมษายน พุ ท ธศั ก ราช ๒๔๙๓ มี พ ระราชพิ ธ ี ราชาภิเษกสมรส ณ วังสระปทุม สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงเป็นประธานพระราชทานน้ำพระพุทธ มนต์และเทพมนต์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและหม่อม ราชวงศ์สิริกิติ์ ได้ทรงจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย และในวันนั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เป็นสมเด็จ พระราชินี
วันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ เป็นวันพระราชพิธี บรมราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับเฉลิมพระบรมนามาภิไธย ว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” และทรงสถาปนาเฉลิมพระยศ สมเด็จพระราชินีเป็น “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี”
12
อนุสารอุดมศึกษา
วันที่ ๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๙๓ ทั้งสองพระองค์ เสด็จกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพราะแพทย์ผู้รักษาพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กราบบังคมทูลแนะนำให้ทรงพักรักษา พระองค์อีกระยะหนึ่ง พุทธศักราช ๒๔๙๔ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี มีพระประสูติกาลสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้า อุบลรัตนราชกัญญาฯ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อเจริญพระชันษาได้ ๗ เดือน ทั้งสามพระองค์จึงเสด็จนิวัต ประเทศ ประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต หลัง จากนั้น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ ซึ่งต่อ มาทรงได้ ร ั บ การสถาปนาเป็ น สมเด็ จ พระบรมโอรสาธิ ร าชฯ สยามมกุ ฎ ราชกุ ม าร สมเด็ จ พระเจ้ า ลู ก เธอ เจ้ า ฟ้ า สิ ร ิ นธร
เทพรัตนราชสุดาฯ ซึ่งต่อมาทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้า ลู ก เธอ เจ้ า ฟ้ า จุ ฬ าภรณ์ ว ลั ย ลั ก ษณ์ ฯ ได้ ป ระสู ต ิ ต ่ อ มาตาม ลำดับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน รวมพระราชโอรสและพระราช ธิดา ๔ พระองค์
สมเด็ จ พระนางเจ้ า สิ ร ิ ก ิ ต ิ ์ พระบรมราชิ น ี น าถ ได้ ท รง ปฏิบัติพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่เป็นลำดับมา ทั้งในฐานะที่ ทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชินีของไทย และในฐานะคู่พระราช หฤทัยแห่งพระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัว กล่าวคือ ทรงช่วยแบ่ง เบาพระราชภาระทั้งหลายไปได้มาก อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ไทย ทรัพยากรธรรมชาติ และการพัฒนาประเทศอยู่เนือง ๆ เห็นได้ชัดจากพระราชกรณียกิจ ที่เผยแพร่สู่สายตาประชาชน อยู่ทุกวันนี้
เรื่องพิเศษ พระราชกรณียกิจด้านการศึกษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สนพระราชหฤทัยในด้านการศึกษา และทรงยึดมั่นในคำสอนของสมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้าว่า “ปัญญาทำให้มนุษย์เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์” สติปัญญาเกิดขึ้นได้ด้วยการศึกษาหาความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการ อ่านหนังสือ พระราชกรณียกิจด้านการศึกษานานัปการ ที่พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทยนั้น ประกอบด้วย ทรงส่งเสริมการศึกษา
ในระบบโรงเรียน เช่น พระราชทานทุนการศึกษาแก่นักเรียน สร้างโรงเรียน พระราชทานพระราชทรัพย์อุดหนุนโรงเรียน พระราชทาน อุ ป กรณ์ ก ารเรี ย น ทรงรั บ โรงเรี ย นไว้ ในพระบรมราชิ นู ป ถั ม ภ์ เสด็ จ พระราชดำเนิ น ไปทรงเยี ่ ย มโรงเรี ย น เป็ นต้ น ด้ า นการศึ ก ษา
นอกโรงเรียน เช่น ทรงสอนหนังสือชาวบ้าน ทรงสร้างศาลาร่วมใจ ทรงส่งเสริมการอาชีวศึกษา ทรงอนุรกั ษ์ ฟืน้ ฟู และพัฒนางานศิลปาชีพ นอกจากนี้ ยังทรงส่งเสริมการศึกษาของพระภิกษุสามเณร และทรงรับมูลนิธิแม่ชีไทยไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เป็นต้น พระอัจฉริยภาพด้านการศึกษาของสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เป็นที่ประจักษ์ทั่วไปทั้งในประเทศและนานาประเทศ พระราชจริยวัตรและพระราชกรณียกิจที่ทรงบำเพ็ญด้วยพระวิริยะอุตสาหะพระราชทานแก่องค์การศึกษาของภาครัฐ ภาคเอกชน และ พสกนิกรทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชาชนผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษามีฐานะยากจน หรืออยู่ในท้องถิ่นทุรกันดาร ทำให้มหาวิทยาลัย ต่ า ง ๆ ขอพระราชทานทู ล เกล้ า ทู ล กระหม่ อ มถวายปริ ญ ญาดุ ษ ฎี บ ั ณฑิ ต กิ ต ติ ม ศั ก ดิ ์ ท างการศึ ก ษาแด่ ส มเด็ จ พระนางเจ้ า ฯ
พระบรมราชินีนาถ เช่น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒใน พ.ศ. ๒๕๐๙ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ใน พ.ศ. ๒๕๑๖ และจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยใน พ.ศ. ๒๕๓๕
ทรงเป็นครูที่ดี สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระอุปนิสัยรักการอ่านหนังสือมาก ซึ่งเป็นอุปนิสัยที่ได้ถ่ายทอดมายังพระราชโอรส
พระราชธิดาทุกพระองค์ นอกจากจะโปรดการอ่านแล้วยังโปรดการเป็นครูด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ได้ทรงเล่าไว้ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง “สมเด็จแม่กับการศึกษา” ว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โปรดการเป็นครูมาตั้งแต่ ทรงพระเยาว์ โดยทรงเล่นเป็นครูและนักเรียนกับเด็กที่บ้าน ทรงมีวิธีการสอนที่สนุก เด็กๆ ในบ้านจึงชอบเป็นลูกศิษย์ของพระองค์
เมื่อพระราชโอรสและพระราชธิดายังทรงพระเยาว์ ทรงสอนให้พับกระดาษ เขียนรูป และทำการฝีมือต่าง ๆ ก่อนเข้าบรรทมทรงอ่าน หนังสือหรือทรงเล่านิทานพระราชทาน และทรงซื้อหนังสือพระราชทานด้วย ซึ่งมีทั้งวรรณคดี ภาษาอังกฤษ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม
พุทธศาสนา ฯลฯ เมื่อหลายสิบปีมาแล้ว ขณะที่เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับแรมที่วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หลังจาก เสด็จเยี่ยมราษฎรแล้ว ทรงใช้ศาลาริมหาดปราณบุรี ประทับสอนหนังสือราษฎรด้วยพระองค์เอง ทรงทำหน้าที่เป็นครูใหญ่และ
ข้าราชบริพารทีต่ ามเสด็จเป็นครูนอ้ ยช่วยสอนหนังสือด้วย ทรงวางแผนการศึกษาอย่างมีระบบ โดยจัดครูสอนเป็นกลุม่ ๆ ตามความรูพ้ น้ื ฐาน ของผู้เรียน และพระราชทานหนังสือเรียนให้ ซึ่งมีทั้งหนังสือเรียนตามระดับชั้น หนังสืออ่านประกอบ และหนังสือความรู้ทั่วไปสำหรับ เด็กโต เช่น นิทานพื้นบ้าน นิทานชาดก ประวัติศาสตร์ สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ จะใช้วิธีสอนแบบตัวต่อตัวบ้าง เป็นกลุ่มเล็ก ๆ ๒ - ๓ คนบ้าง ทรงทดลองความรู้พื้นฐาน ของผู้เรียนโดยการซักถาม ให้อ่านหนังสือถวาย แล้วจึงเริ่มเรียนแล้วหัดอ่านจากผู้ช่วยต่อไป ทรงมีบันทึกรายชื่อนักเรียน ผลการเรียน และทรงติดตามความก้าวหน้าในการเรียนอย่างใกล้ชิด ถ้าใครเรียนดีก็จะพระราชทานรางวัลให้ วิธีการสอนของพระองค์นอกจาก
จะมุ่งให้เด็กอ่านออกเขียนได้แล้ว ยังทรงแทรกความรู้ทางพุทธศาสนา จริยธรรม สุขภาพอนามัย และความรักชาติรักแผ่นดินเกิดด้วย นับเป็นแบบอย่างที่ดีของครู เพราะนอกจากจะทรงสอนวิชาการแล้ว ยังทรงอบรมให้เป็นคนดีด้วย อนุสารอุดมศึกษา
13
เรื่องพิเศษ ทรงเป็นนักการศึกษา สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ มิได้ศึกษาด้านการศึกษาโดยตรง แต่พระราชดำริที่พระราชทานในเรื่องการศึกษา ไม่ว่าจะเกี่ยวกับนักเรียนในพระบรมราชานุเคราะห์ โครงการศิลปาชีพ หรือศาลารวมใจ ล้วนแสดงถึงพระปรีชาญาณด้านการ จัดการศึกษาของชาติทั้งสิ้น ศาลารวมใจ ที่พระราชทานไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ นั้น คือ โครงการที่สอดคล้องกับปรัชญาการศึกษา สากลว่า การศึกษา คือ ชีวิต ประชาชนควรมีโอกาสที่จะศึกษาหาความรู้ได้ตลอดชีวิต ไม่เฉพาะแต่ในโรงเรียนเท่านั้น ศาลารวมใจ คือ แหล่งเรียนรูท้ ช่ี าวบ้านสามารถศึกษาหาความรูไ้ ด้ดว้ ยตนเอง เป็นทีพ่ บปะสังสรรค์แลกเปลีย่ นความรู้ ความคิด สร้างความสามัคคีให้เกิดในชุมชน หนังสือประเภทต่าง ๆ ที่สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานไว้ที่ศาลารวมใจ ทุก ๆ แห่ง คือ หนังสือความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประเทศไทย ประวัติศาสตร์ วรรณคดี ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี นวนิยายที่มี คติสอนใจ คู่มือทำการเกษตร ฯลฯ บางคราวที่เสด็จแปรพระราชฐานไปทรงเยี่ยมราษฎร ก็โปรดให้ราษฎรเข้าเฝ้าทูลละอองธุลี พระบาท ที่ศาลารวมใจ ทรงฉายสไลด์ และทรงบรรยายเรื่องราวด้วยพระองค์เอง ศาลารวมใจนอกจากเป็นห้องสมุดที่ชาวบ้าน สามารถหาความรู้ด้วยตนเองแล้ว ยังมีห้องปฐมพยาบาลที่ให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้น เพราะนอกจากจะมียาพระราชทานแล้ว ยังมีเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร หมอหมู่บ้าน เป็นผู้ดูแลอย่างน้อย ๑ คน ให้คำแนะนำและช่วยเหลือชาวบ้าน ศาลารวมใจ จึงเปรียบเสมือนศูนย์รวมชาวบ้านในท้องถิ่นทุรกันดาร เป็นทั้งห้องสมุด ห้องพยาบาล และห้องประชุมในคราวเดียวกัน ศาลา รวมใจมีทั้งหมด ๗ แห่ง ดังนี้ ศาลารวมใจบ้านกาด ศาลารวมใจบ้านขุนคง ศาลารวมใจพร้าว ศาลารวมใจบ้านวัดจันทร์ ศาลา รวมใจเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ณ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพบ้านกุดนา ศาลารวมใจวัดพระพุทธ และศาลารวมใจวัดสารวัน บ้านลุดง (สารวัน) ข้อมูล : http://www.belovedqueen.com/ ตราสัญลักษณ์ งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕ ตราสัญลักษณ์ประกอบด้วย อักษรพระนามาภิไธย ส.ก. อยู่ภายในวงรีเป็นพระมหามงกุฎภายในพระมหามงกุฎ เป็นพระแสงจักรและพระแสงตรีศูล มีเครื่องราชอิสริยาภรณ์โบราณมงคลพระมหาสังวาล นพรัตนราชวราภรณ์ล้อมรอบวงรี ขนาบข้างด้วยพระสัปตปฎลเศวตฉัตร ด้านล่างเป็นวงรี เป็ น เลขไทย ๘๐ อยู ่ ในรู ป ทรงของเพชร ด้ า นล่ า งเลขไทย ๘๐ เป็ น ผ้ า แพรแถบอั ก ษร ข้อความ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕ ในการพระราชพิ ธ ี บ รมราชาภิ เษก วั นที ่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระราชินี เป็นสมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินี แล้วพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันเป็นโบราณมงคลนพรัตน์ ราชวราภรณ์ พระมหามงกุฎ : เครื่องประกอบพระราชอิสริยยศของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระสัปตปฏลเศวตฉัตร : เป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยศักดิ์ พระแสงจักรและพระแสงตรีศูล : เครื่องหมายแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เลขไทย ๘๐ : พระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ผ้าแพรแถบสีชมพู : เครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้า สีน้ำเงิน - สีฟ้า : สีวันพระราชสมภพ ผู้ออกแบบนายสุเมธ พุฒพวง สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
14
อนุสารอุดมศึกษา
พูดคุยเรื่องมาตรฐาน
แนวทางในการจัดทำ Curriculum Mapping ‘พูดคุยเรื่องมาตรฐาน’ ฉบับนี้ ขอพูดในเรื่อง ‘Curriculum Mapping’ ในหลักสูตร (มคอ.๒) หรือที่เรียกในภาษาไทยว่า ‘แผนที่การ กระจายความรับผิดชอบ’ มานำเสนอเกี่ยวกับแนวทางที่ดีในการจัดทำแผนที่การกระจายความรับผิดชอบในรายละเอียดของหลักสูตร (มคอ.๒) ปกติแล้ว ‘แผนที่การกระจายความรับผิดชอบ’ ในรายละเอียดของหลักสูตร (มคอ.๒) จะมีเพียง ๑ ตาราง เป็นการกำหนด
มาตรฐานผลการเรียนรู้ที่มุ่งหวังให้นักศึกษาในหลักสูตรสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้นั้นๆ คณาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรจะต้องใช้ความเป็น มืออาชีพของผู้รับผิดชอบหลักสูตรในการวินิจฉัยว่า มาตรฐานผลการเรียนรู้ในหลักสูตรสอดคล้องหรือปรากฏอยู่ในผลการเรียนรู้ของ รายวิชาต่างๆ ชัดเจนมากน้อยแค่ไหน เพื่อกำหนดความรับผิดชอบหลักหรือรอง โดยไม่จำเป็นต้องนำรายละเอียดของผลการเรียนรู้ใน แต่ละวิชา (Learning Outcomes at the subject level) มาใส่ในมาตรฐานผลการเรียนรู้ของแผนที่กระจายความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นผลการ เรียนรู้ระดับหลักสูตร (Learning Outcomes at the program level) ดังนั้น การทำแผนที่การกระจายความรับผิดชอบของรายวิชาในหมวด วิชาศึกษาทั่วไป (General Education: GE) และหมวดวิชาเฉพาะ ซึ่งเป็นรายวิชาหลักๆ ของหลักสูตร จึงสามารถอยู่ในแผนที่กระจาย ความรับผิดชอบเดียวกันของหลักสูตรได้ รายวิชาเลือกเสรี อาจนำมาใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ เนื่องจากผู้เรียนจะเลือกไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อเริ่มต้นพัฒนาหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นต้นมา การพัฒนาหมวดวิชา ศึกษาทั่วไป (GE) จะพัฒนาตามหลังหลักสูตรในสาขาต่างๆ ในที่นี้ จึงอนุโลมให้มีแผนที่กระจายความรับผิดชอบของหมวดวิชาศึกษา ทั่วไป (GE) ต่างหากอีก ๑ ตาราง ดังนั้น ในหลักสูตรจึงต้องมีแผนที่กระจายความรับผิดชอบไม่เกิน ๒ ตาราง คือ แผนที่ของหมวด ศึกษาทั่วไป(GE) และแผนที่ของหมวดวิชาเฉพาะ อย่างไรก็ตาม เพื่อลดปัญหาในการใช้การวินิจฉัย Learning Outcomes ระดับรายวิชา และหลักสูตร จึงเสนอแนวทางในการจัดทำแผนที่กระจายความรับผิดชอบในช่วงเริ่มต้นพัฒนาหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิให้ สามารถดำเนินการได้ ๒ แบบ ดังนี้ แบบที่ ๑ แบบบูรณาการมาตรฐานผลการเรียนรู้ กรณีนี้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรจะต้องมีความชัดเจนว่า หลักสูตร ต้องการให้ผู้เรียนเกิดมาตรฐานผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes ระดับหลักสูตร) อะไรบ้าง ซึ่งต้องมีอย่างน้อย ๕ ด้าน แล้วจึง พิจารณาว่า แต่ละรายวิชาที่มาจากคณะอื่นๆ ซึ่งนักศึกษาจะต้องไปเรียนในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป(GE) หมวดวิชาเฉพาะ (เช่น วิชา
พื้นฐาน วิชาชีพ วิชาเอก) มีจุดเด่นของมาตรฐานผลการเรียนรู้อะไรที่อาจารย์ในรายวิชานั้นๆ กำหนด (Learning Outcomes ระดับ รายวิชา) และดึงส่วนที่มีความสอดคล้องกับหลักสูตรมาวินิจฉัยเป็นความรับผิดชอบหลักหรือรอง และบูรณาการเขียนเป็นมาตรฐานผล การเรียนรู้ของหลักสูตร (มคอ.๒) โดยไม่จำเป็นต้องเก็บรายละเอียดทั้งหมดของแต่ละรายวิชามาไว้ใน มคอ.๒ เพราะรายละเอียด ทั้งหมดที่อาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชากำหนดไว้จะปรากฏใน มคอ.๓ ของรายวิชานั้น ซึ่งเป็นการให้อิสระและความยืดหยุ่นแก่อาจารย์
ผู้สอนที่จะเพิ่มเติมรายละเอียดให้มากกว่าหรือลึกซึ้งกว่าที่ มคอ.๒ กำหนด ตามความถนัดของอาจารย์แต่ละท่านและตามลักษณะ ธรรมชาติของรายวิชานั้นๆ และเป็นการรองรับหลักสูตรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อีก ดังนั้น การเขียนมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่ดีในหลักสูตร จะต้องถอดแนวคิดมาจากมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่ปรากฏในกรอบ มาตรฐานคุ ณ วุ ฒ ิ ร ะดั บ อุ ด มศึ ก ษา (TQF) หรื อ มคอ.๑ (ถ้ า มี ) นำมาเขี ย นมาตรฐานผลการเรี ย นรู้ ใน มคอ.๒ (Learning Outcomes ระดับ Program) ในลักษณะที่เอื้อหรือรองรับมาตรฐานผลการเรียนรู้ของรายวิชา (Learning Outcomes ระดับ Subject) จากหมวดวิชาต่างๆ ได้ ทั้งนี้ อาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชาจะสามารถเพิ่มเติมรายละเอียดของมาตรฐานผลการ เรียนรู้ระดับรายวิชาที่เป็นความเฉพาะเจาะจงของรายวิชานั้นๆ เพิ่มขึ้นใน มคอ.๓ ได้อีกอย่างอิสระ และต้องรับผิดชอบผล การเรียนรู้อย่างน้อย ๕ ด้าน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิให้ครบถ้วน เพื่อเป็นการแสดงว่ารายวิชานี้ มีมาตรฐานผลการ เรียนรู้ที่เป็น Generic Learning Outcomes และที่เป็น Specific Learning Outcomes อย่างครบถ้วน ตามแนวคิดของ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ตัวอย่างเช่น ด้านคุณธรรม จริยธรรม
๑. แสดงความซื่อสัตย์สุจริตอย่างสม่ำเสมอ ๒. แสดงออกถึงความมีระเบียบ และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ๓. แสดงออกถึงความมีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณในการประกอบ อาชีพ ๔. แสดงออกถึงความเคารพสิทธิและความคิดเห็นของผู้อื่น ๕. แสดงความคิดเห็นหรือพฤติกรรมการมีจิตสาธารณะ
อนุสารอุดมศึกษา
15
พูดคุยเรื่องมาตรฐาน ด้านความรู้
๑. สามารถอธิบายถึงความรู้ในหลักการ และทฤษฎีในรายวิชาหรือศาสตร์ที่เรียน ๒. สามารถบูรณาการความรู้พื้นฐานในรายวิชาต่างๆ ที่เรียน กับการเรียนในสาขาครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ได้ ๓. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการในรายวิชาที่เรียน และในสาขาครุศาสตร์ ๔. ใช้ความรอบรู้ในศาสตร์ต่างๆ ที่เรียนไปประยุกต์กับการดำรงชีวิตประจำวัน
ทักษะทางปัญญา
๑. สามารถแสดงออกถึงการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ และมีเหตุผล ๒. นำความรู้ทางสาขา ไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ๓. มีความใฝ่รู้ สามารถวิเคราะห์ และสังเคราะห์ความรู้จากแหล่งต่างๆ ที่หลากหลายได้อย่าง ถูกต้อง เพื่อการนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรม
ทั ก ษ ะ ค ว า ม สั ม พั น ธ์ ระหว่ า งบุ ค คลและความ รับผิดชอบ
๑. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นในฐานะผู้นำ และสมาชิกที่ดีของกลุ่ม ๒. มีความรับผิดชอบต่อสังคมและองค์กร ๓. สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ และวัฒนธรรมองค์กร
ทักษะในการวิเคราะห์เชิง ตั ว เลข การสื่ อ สาร และ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
๑. สามารถประยุกต์ความรู้ทางคณิตศาสตร์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสาร สนเทศ การแก้ปัญหาและการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม ๒. สามารถใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการเลือกรูปแบบการ สื่อสารได้อย่างเหมาะสม ๓. ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารและค้นคว้าข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานและการนำเสนอได้ ๔. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเก็บรวบรวม สืบค้น และนำเสนอข้อมูลได้อย่างมี ประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสถานการณ์
ทั ก ษ ะ ก า ร จั ด ก า ร ก า ร ๑. แสดงความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้สาหรับเด็กปฐมวัยที่มีรูปแบบหลากหลายทั้งที่เป็น เรียนรู้ ทางการ (Formal) กึ่งทางการ (Non-formal) และไม่เป็นทางการ (Informal) อย่างสร้างสรรค์ ๒. แสดงความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยที่หลากหลาย ทั้งที่ มีความสามารถพิเศษ ปานกลาง และที่มีความต้องการพิเศษ ๓. แสดงความเชี่ยวชาญในการบู ร ณาการการจั ด การเรี ย นรู ้ ในสาขาวิ ช า/วิ ช าเอกการศึกษา ปฐมวัย หรือปฐมวัยศึกษาอย่างมืออาชีพ การกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้สู้รายวิชา • รับผิดชอบหลัก ๐ รับผิดชอบรอง รายวิชา วิชา...ใน GE วิชา...ใน GE
ทักษะความสัมพันธ์ ทักษะในการวิเคราะห์เชิง ทักษะทาง ทักษะการจัดการ คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ระหว่างบุคคลและ ตัวเลข การสื่อสาร และการ ปัญญา เรียนรู้ ความรับผิดชอบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๑ ๒ ๓ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ • • ๐ ๐ • • • • ๐ • • • ©¶๐ • ๐ • ๐ • •
วิชา...ในหมวดวิชาเฉพาะ • • กลุ่มวิชาแกน วิ ช า...ในกลุ ่ ม วิ ช าเฉพาะ • •
๐
•
•
๐
๐
๐
๐
• •
• •
๐
•
•
•
•
•
๐
• •
• •
•
•
•
•
•
ด้านบังคับ • • • ๐ ๐ • ๐ • • ๐ ๐ • ๐ • • • • วิ ช า...ในวิ ช าเฉพาะด้ า น เลือก ในฉบับหน้า ‘พูดคุยเรื่องมาตรฐาน’ จะนำแนวทางในการจัดทำแผนที่กระจายความรับผิดชอบในช่วงเริ่มต้นพัฒนาหลักสูตรตาม กรอบมาตรฐานคุณวุฒิในแบบที่ ๒ แบบที่ไม่มีการบูรณาการมาตรฐานผลการเรียนรู้จากรายวิชาต่างๆ มานำเสนอ
16
อนุสารอุดมศึกษา
เรื่องแนะนำ
สถาบันเทคโนโลยียานยนต์มหาชัย
หลั ง จากอนุ ส ารอุ ด มศึ ก ษาฉบั บ เดื อ นกรกฎาคม ได้ แนะนำสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ฉบับนี้ ‘คอลัมน์แนะนำ’ มีสถาบันอุดมศึกษารายใหม่ล่าสุดที่ได้รับมอบใบอนุญาตใน การจัดตั้งไปเมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๕ มาแนะนำให้
ผู้อ่านทราบทั่วกันคือ ‘สถาบันเทคโนโลยียานยนต์มหาชัย’ ซึ่งบริษัท พี.เอ็ม.ที.เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ยื่นคำขออนุญาต จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ประเภทสถาบัน เมื่อวันที่
๑ มิถุนายน ๒๕๕๔ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยคำแนะนำของ คณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา ได้ อ นุ ญ าตให้ บริ ษ ั ท พี . เอ็ ม .ที . เอ็ น เตอร์ ไพรส์ จำกั ด จั ด ตั ้ ง สถาบั น อุ ด มศึ ก ษา เอกชน ประเภทสถาบั น ชื ่ อ ‘สถาบั น เทคโนโลยี ย านยนต์ มหาชัย’ เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารได้ ล งนามในใบอนุ ญ าตและประกาศ กระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร เรื ่ อ ง การจั ด ตั ้ ง สถาบั น อุ ด มศึ ก ษา เอกชน ประเภทสถาบั น ชื ่ อ ‘สถาบั น เทคโนโลยี ย านยนต์ มหาชัย’ ขณะนี้อยู่ระหว่างนำประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา ‘สถาบันเทคโนโลยียานยนต์มหาชัย’ ตั้งอยู่เลขที่ ๖๔/๑ ถนนพระรามสอง ตำบลบางน้ ำ จื ด อำเภอเมื อ ง จั ง หวั ด สมุทรสาคร เนื้อที่ ๑๑ ไร่ ๑๑ ตารางวา โดยจะจัดการศึกษา ระดั บ ปริ ญ ญาตรี หลั ก สู ต รเทคโนโลยี บ ั ณฑิ ต สาขาวิ ช า เทคโนโลยี ย านยนต์ และสาขาวิ ช าเทคโนโลยี ก ารจั ด การ
วิชาเอกการจัดการศูนย์บริการรถยนต์ ในปีการศึกษา ๒๕๕๕
อนุสารอุดมศึกษา
17
เหตุการณ์เล่าเรื่อง
กอล์ฟการกุศลอุดมศึกษา
ครั้งที่ ๔
สำนั กงานคณะกรรมการการอุ ดมศึ กษา ร่ว มกับ มูลนิธิส่งเสริมทบวงมหาวิทยาลัย จัด โครงการแข่งขัน กอล์ฟการกุศลอุดมศึกษา ครั้งที่ ๔ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ของบุคลากรระหว่างองค์กร ส่งเสริมการประสานงาน เพื่อเพิ่มศักยภาพการทำงาน ระหว่างกันให้เกิดประสิทธิภาพ รวมทั้งนำรายได้ส่วน หนึ่งสนับสนุนสวัสดิการให้กับข้าราชการในสำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา การแข่ ง ขั นกอล์ ฟ การกุ ศ ลอุ ด มศึ ก ษา ครั ้ ง ที ่ ๔
จัดขึน้ ในวันอาทิตย์ท่ี ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ณ สนามกอล์ฟ วินด์เซอร์ ปาร์ค แอนด์กอล์ฟคลับ (The Windsor Park and Golf Club) ถนนสุวินทวงศ์ เขตหนองจอก กรุงเทพฯ โดยมีสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมการ แข่งขันกอล์ฟการกุศลอุดมศึกษา ครัง้ ที่ ๔ จำนวน ๖๗ ทีม ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธาน ในพิธีเปิดและมอบรางวัล
18
อนุสารอุดมศึกษา
เหตุการณ์เล่าเรื่อง
ภาพบรรยากาศของผู้เข้าร่วมการแข่งขันกอล์ฟการกุศลอุดมศึกษา ครั้งที่ ๔ ภาพบรรยากาศของทีมผู้ได้รับรางวัลจากการแข่งขัน
อนุสารอุดมศึกษา
19
เล่าเรื่องด้วยภาพ
๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๕ - นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา พร้อมด้วยผู้บริหารและข้าราชการ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เข้าร่วมกิจกรรมโครงการปลูกต้นไม้ถวาย ๘๐ ล้านต้น เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ๘๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕ โดยมีศาสตราจารย์สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดโครงการ ณ บริเวณสนามหน้ากระทรวงศึกษาธิการ
๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๕ - นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา บรรยายพิเศษและมอบวุฒิบัตร "หลักสูตรการเป็นข้าราชการที่ดี" ในการฝึกอบรมข้าราชการใหม่
ณ ห้ อ งประชุ ม ศาสตราจารย์ ว ิ จ ิ ต ร ศรี ส อ้ า น สำนั ก งาน
คณะกรรมการการอุดมศึกษา
20
อนุสารอุดมศึกษา
เล่าเรื่องด้วยภาพ
๗ สิงหาคม ๒๕๕๕ - รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา พร้อมผู้บริหารและข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา ร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕ โดยมีศาสตราจารย์สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธี ณ บริเวณสนามหน้ากระทรวงศึกษาธิการ
๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๕ - นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานเปิดการสัมมนาระดมความ
คิดเห็นโครงการศึกษา ติดตามและประเมินผลการบังคับใช้พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพมหานคร การสัมมนาครั้งนี้ได้มุ่งเน้นการติดตามและประเมินผลการบังคับใช้พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๖ และที่ แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อศึกษา วิเคราะห์ เกี่ยวกับสภาพปัญหา อุปสรรค และผลกระทบอันเกิดจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติดังกล่าว และนำผลที่ได้ไปปรับปรุง แก้ไข และพัฒนา รวมทั้งการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะเป็นประโยชน์และเป็นการสนับสนุนสถาบัน อุดมศึกษาเอกชนต่อการรักษามาตรฐานการศึกษาและจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป อนุสารอุดมศึกษา
21
เล่าเรื่องด้วยภาพ
๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๕ - รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธาน ในพิธีเปิดงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติทางวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ : นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาภูมิภาค ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๕ พร้อมบรรยายพิเศษ เรื่อง ‘นวัตกรรมการอุดมศึกษา สำหรับการพัฒนาภูมิภาค’ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม จัดขึ้นในระหว่างวันที่ ๑๙ - ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๕ - รองศาสตราจารย์ พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการ อุ ด มศึ ก ษา เป็ น วิ ท ยากรบรรยายพิ เ ศษ เรื ่ อ ง “กลยุ ท ธ์ ก ารพั ฒ นาอุ ด มศึ ก ษาให้ แ ข่ ง ขั น ได้ ก ั บ ประเทศในประชาคมอาเซี ย น” ในการประชุ ม
วิ ช าการเสนอผลงานวิ จ ั ย ทางพระพุ ท ธศาสนา นานาชาติ ครั้งที่ ๑ เรื่อง “การเตรียมความพร้อม สังคมไทยสู่ประชาคมอาเซียนในมิติทางพระพุทธ ศาสนา” ซึ ่ ง จั ด โดยสถาบั น วิ จ ั ย ญาณสั ง วร มหาวิ ท ยาลั ย มหามกุ ฎ ราชวิ ท ยาลั ย ร่ ว มกั บ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักงาน คณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ และสถาบันพัฒนา นั ก วิ จ ั ย แห่ ง ประเทศไทย ณ โรงแรมรอยั ล ซิ ต ี ้ กรุ ง เทพฯ โดยมี น ายสุ ช าติ เมื อ งแก้ ว อดี ต
รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผู้แทน กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนจาก สาธารณรั ฐ ประชาธิ ป ไตยประชาชนลาวและ ประเทศมาเลเซีย ร่วมบรรยาย
22
อนุสารอุดมศึกษา
เล่าเรื่องด้วยภาพ
๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕ - นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา รับมอบตราสัญลักษณ์เจ้าภาพงาน ศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา จากผู้ช่วยศาสตราจารย์ไพโรจน์ ด้วงวิเศษ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เพื่อส่งมอบต่อให้ผู้แทน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จังหวัดสงขลา คณะกรรมการส่ ง เสริ ม และประสานงานการจั ด งานศิ ล ปวั ฒ นธรรมอุ ด มศึ ก ษา ในการประชุ ม ครั ้ ง ที ่ ๑/๒๕๕๓ เมื ่ อ วั นที ่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๓ อนุ ม ั ต ิ ให้ ม หาวิ ท ยาลั ย มหาสารคามเป็ น เจ้ า ภาพจั ด งานศิ ล ปวั ฒ นธรรมอุ ด มศึ ก ษา ครั ้ ง ที ่ ๑๔ ประจำ ปีงบประมาณ ๒๕๕๗
๙ สิงหาคม ๒๕๕๕ - นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุ ด มศึ ก ษา เป็ น ประธานเปิ ด หลั ก สู ต ร “ธรรมาภิ บ าลเพื ่ อ การพั ฒ นา อุดมศึกษา” รุ่น ๑๑ ณ โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส
อนุสารอุดมศึกษา
23