อนุสารอุดมศึกษา issue 416

Page 1

พลบดีเกมส์

กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 40

ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๔๑๖ ประจำ�เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ เอกสารเผยแพร่ของสำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ISSN 0125-2461

อนุสารอุดมศึกษาออนไลน์ www.mua.go.th/pr_web

พลบดีเกมส์

รู้รักสามัคคี มีน้ำ�ใจ สู่เส้นชัย


สารบัญ

ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๔๑๖ ประจำ�เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย สกอ. จัดสัมมนาชึ้แจงมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการศึกษา ๓ สกอ. ร่วมประชุมเตรียมการเจ้าหน้าที่อาวุโส ๔ สำ�หรับการประชุมรัฐมนตรีศึกษาเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ ๔ MOU กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ๖ กับกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาเทคโนโลยีของฝรั่งเศส พิธีประสาทอนุปริญญาบัตร ๗ แก่ผู้สำ�เร็จการศึกษาวิทยาลัยชุมชนบุรีรัมย์

เรื่องพิเศษ การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยครั้งที่ ๔๐ “พลบดีเกมส์” ๙ รู้รักสามัคคี มีน้ำ�ใจ สู่เส้นชัย : Love United Spirit Hit the Games

พูดคุยเรื่องมาตรฐาน

มหาวิทยาลัยในกำ�กับของรัฐ

๑๒

เรื่องแนะนำ� ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ รายจ่ายประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗

๑๖

๑๘

ขอแสดงความยินดีกับผู้บริหารใหม่

เล่าเรื่องด้วยภาพ

๒๐

๔ ๒๐

คณะผู้จัดทำ� สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๒๖ เว็บไซต์ http://www.mua.go.th อีเมล์ pr_mua@mua.go.th ที่ปรึกษา นายอภิชาติ จีระวุฒิ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำ�จร ตติยกวี นางวราภรณ์ สีหนาท นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองศาสตราจารย์ชวนี ทองโรจน์ นางสาวสุนันทา แสงทอง นายศิระวิทย์ คลี่สุวรรณ บรรณาธิการ นายกฤษณ์กร วงศ์ไทย กองบรรณาธิการ นางสาวปิยาณี วิริยานนท์ นางชุลีกร กิตติก้อง นายเจษฎา วณิชชากร นางปราณี ชื่นอารมณ์ นายพรชัย สิทธินันทน์ นายจรัส เล็กเกาะทวด บริษัท ออนป้า จำ�กัด ผู้พิมพ์


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

สกอ. จัด สัมมนาชี ้แจง มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการศึกษา ๘ กุ ม ภาพั นธ์ ๒๕๕๖ - นายอภิ ช าติ จี ร ะวุ ฒิ เลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา เป็นประธานและกล่าวเปิดการสัมมนาเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุน การศึกษา ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการ กกอ. กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบและอนุมัติหลักการตามที่กระทรวง การคลังเสนอมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการศึกษา โดยกำ�หนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้แก่ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่มีการบริจาคเงินให้แก่สถาบันการศึกษาของทางราชการและเอกชน สำ�หรับการบริจาคที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ ซึ่ง สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเห็นว่ามาตรการภาษีดังกล่าว จะเป็นประโยชน์ต่อสถาบัน อุดมศึกษาที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างยิ่งทำ�ให้ภาคเอกชนได้มีส่วนร่วมสนับสนุนด้านการศึกษามากขึ้น เพื่ อ ส่ ง เสริ ม ให้ มี ก ารพั ฒ นาคุ ณ ภาพการศึ ก ษาและเป็ นการสร้ า งโอกาสทางการศึ ก ษาและเพิ่ ม ขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน สาระสำ � คั ญ ของมาตรการภาษี เพื่ อ สนั บ สนุ น การศึ ก ษาและการกี ฬ า (มติ ครม. วั น ที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๕) มีรายละเอียดดังนี้ ๑. บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่บริจาคให้แก่สถานศึกษาของราชการและเอกชนโดยไม่รวม โรงเรียนนอกระบบ สามารถนำ�รายจ่ายดังกล่าวมาเป็นค่าใช้จ่ายในการคำ�นวณภาษีเงินได้ ๒ เท่า แต่เมื่อรวมกับรายจ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา ต้องไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของเงินได้สุทธิ (กรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา) และหรือเมื่อรวมกับ ค่าใช้จ่ายในการจัดสร้างและการบำ�รุงรักษา สนามเด็กเล่น สวนสาธารณะหรือสนามกีฬาฯแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของกำ�ไรสุทธิ ก่ อ นหั ก รายจ่ า ยเพื่ อ การกุ ศ ลสาธารณะหรื อ เพื่ อ การสาธารณประโยชน์ แ ละรายจ่ า ยเพื่ อ การศึ ก ษาหรื อ เพื่ อ การกี ฬ า (กรณี ภ าษี เงิ น ได้ นิติบุคคล) ทั้งนี้ การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีทั้งหมดข้างต้น มีผลบังคับสำ�หรับรายจ่ายที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๖ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๘ ๒. บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่บริจาคให้แก่การกีฬาแห่งประเทศไทย คณะกรรมการกีฬาจังหวัด กรมพลศึกษา สมาคมกีฬาแห่ง ประเทศไทยที่ได้รับการรับรองโดยการกีฬาแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬาจังหวัดที่ได้รับอนุญาตจัดตั้งตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่ง ประเทศไทย พ.ศ.๒๕๒๘ และกองทุนพัฒนากีฬาแห่งชาติสามารถนำ�รายจ่ายดังกล่าวมาเป็นค่าใช้จ่ายในการคำ�นวณภาษีเงินได้ ๒ เท่า แต่เมื่อรวมกับรายจ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา ต้องไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของเงินได้สุทธิ(กรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา) และหรือเมื่อรวมกับ ค่าใช้จ่ายในการจัดสร้างและการบำ�รุงรักษาสนามเด็กเล่น สวนสาธารณะหรือสนามกีฬาฯ แล้ว ต้องไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของกำ�ไรสุทธิ ก่อนหัก รายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์และรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬา(กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล) ทั้งนี้ การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีทั้งหมดข้างต้น มีผลบังคับสำ�หรับรายจ่ายที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๖ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๘ อนุสารอุดมศึกษา

3


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

สกอ. ร่วมประชุมเตรียมการเจ้าหน้าที่อาวุโส

สำ�หรับการประชุมรัฐมนตรีศึกษาเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ ๔

กระทรวงการอุ ด มศึ ก ษาของประเทศมาเลเซี ย เป็ น เจ้ า ภาพจั ด การประชุ ม เตรียมการเจ้าหน้าที่อาวุโสสำ�หรับการประชุมรัฐมนตรีศึกษาเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ ๔ (4th Asia-Europe Meeting of Ministers for Education: ASEMME4) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซี ย เพื่ อ จั ด เตรี ย มประเด็ น เชิ ง นโยบายและจั ด ทำ � ร่ า ง Chair’s Conclusions สำ � หรั บ นำ � เสนอในการประชุ ม รั ฐ มนตรี ศึ ก ษาเอเชี ย -ยุ โ รป การประชุมเตรียมการจัดขึ้นในระหว่างวันที่ ๒๗ ถึง ๒๙ มกราคม ที่ผ่านมา โดยมี ผู้แทนจากประเทศเอเชียเข้าร่วมการประชุม จำ�นวน ๑๒ ประเทศและจากประเทศ ยุ โรป จำ � นวน ๑๘ ประเทศ โดยมีรองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำ�จร ตติ ย กวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนจากสำ�นักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษาเข้าร่วมการประชุม รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ กำ � จร ตติ ย กวี รองเลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา กล่ า วว่ า การประชุ ม ครั้ ง นี้ มี วัตถุประสงค์เพื่อจัดเตรียมประเด็นเชิงนโยบายและจัดทำ�ร่าง Chair’s Conclusions สำ�หรับจัดทำ�ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายความร่วมมือ ด้ า นการอุ ด มศึ ก ษาให้ มี ก ารนำ � ไปดำ � เนิ นการในกลุ่ ม ประเทศสมาชิ ก ASEM โดยจะมี ก ารนำ � เสนอในการประชุ ม รั ฐ มนตรี ศึ ก ษา เอเชีย-ยุโรป ที่มีกำ�หนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๓ ถึง๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

4

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า สำ�หรับกิจกรรมและโครงการริเริ่มใหม่สำ�หรับการดำ�เนินการในอนาคตที่จะบรรจุในร่าง Chair’s Conclusions จะครอบคลุ ม สาขาที่ สำ � คั ญ ต่ อ การพั ฒ นาการอุ ด มศึ ก ษา ๔ ด้ า น ได้ แ ก่ (๑) Quality Assurance and Recognition (๒) Engaging Business and Industry in Education (๓) Balanced Mobility และ (๔) Lifelong Learning including Vocational Education and Training “นอกจากนี้ สืบเนื่องจากการจัดประชุมรัฐมนตรีศึกษาเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ ๓ ที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ประเทศไทย โดยสำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาร่วมกับสำ�นักงานเลขานุการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนได้รับเป็นเจ้าภาพจัด the 4th ASEM Rectors’ Conference และ the 2nd Asia-Europe Students’ Forum ซึ่งจะจัดขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๕๗ ที่กรุงเทพมหานครด้วย” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว การจัดประชุมรัฐมนตรีศึกษาเอเชีย-ยุโรป (Asia-Europe Meeting of Ministers for Education: ASEMME) มีกำ�หนดจัดทุกๆ ๒ ปี โดยประเทศสมาชิกในยุโรปและเอเชียจะผลัดกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ทั้งนี้ ประเทศลัตเวียรับเป็นเจ้าภาพจัดการ ประชุมรัฐมนตรีศึกษาเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ ๕ ในปี พ.ศ.๒๕๕๘ และประเทศเกาหลีใต้รับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ครั้งที่ ๖ ในปี พ.ศ.๒๕๖๐ ตามลำ�ดับ และประเทศอินโดนีเซียรับเป็นเจ้าภาพที่ตั้ง ASEM Education Secretariat ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๕๖ ถึง พ.ศ.๒๕๖๐ ต่อจากประเทศเยอรมนี

อนุสารอุดมศึกษา

5


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

MOU กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

กับกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาเทคโนโลยีของฝรั่งเศส

๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ - นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนายฌอง-มาร์ค เอโรต์ (H.E. Mr. Jean-Marc Ayrault) นายกรั ฐ มนตรี ส าธารณรั ฐ ฝรั่ ง เศสร่ ว มเป็ น สั ก ขี พ ยานการลงนามเอกสารความตกลง ระหว่ า งกลุ่ ม มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยีราชมงคลของไทย (RMUTN) กับกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาเทคโนโลยีของฝรั่งเศส (ADUIT) โดยมีรองศาสตราจารย์ นำ�ยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ ประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และ ศาสตราจารย์ฟิลิปป์ ปิแยโร รองประธานกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาเทคโนโลยีของฝรั่งเศส เป็นผู้ลงนามเอกสารความตกลง ณ ตึกสันติไมตรี ทำ�เนียบรัฐบาล นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิก ารคณะกรรมการการอุ ดมศึ กษา เปิ ดเผยว่ า บั นทึ กความเข้ า ใจระหว่ า งกลุ่ม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลของราชอาณาจักรไทย กับกลุ่มสถาบันเทคโนโลยีอุดมศึกษาของสาธารณรัฐฝรั่งเศส มีสาระหลัก เพื่อพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิศวกรรม อาหารและอุตสาหกรรมเกษตร และภาคบริการ โดยจะมีการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูล ประสบการณ์ และนักวิชาการระหว่างกัน รวมทั้งดำ�เนินกิจกรรมด้านวิชาการร่วมกัน และส่งเสริมการสร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสถาบันทั้งสองตามความเชี่ยวชาญ

6

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

พิธ ีประสาทอนุปริญญาบัตร แก่ผู้สำ�เร็จการศึกษาวิทยาลัยชุมชนบุรีรัมย์

๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ – สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและวิทยาลัยชุมชนบุรีรัมย์ได้จัดพิธีประสาทอนุปริญญาบัตรแก่ ผู้ สำ � เร็ จ การศึ ก ษาวิ ท ยาลั ย ชุ ม ชนบุ รี รั ม ย์ ประจำ � ปี ก ารศึ ก ษา ๒๕๕๒–๒๕๕๓ ณ ห้ อ งประชุ ม โรงเรี ย นอนุ บ าลเมื อ งบุ รี รั ม ย์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีนายกฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานคณะกรรมการวิทยาลัยชุมชน ได้รับมอบหมายจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ให้เป็นประธานในพิธีประสาทอนุปริญญาบัตร ซึ่งมีผู้สำ�เร็จการศึกษา ตามหลักสูตร ๖ สาขาวิชา ได้แก่ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ การศึกษาปฐมวัย การปกครองท้องถิ่น พัฒนาชุมชน วิทยาการคอมพิวเตอร์ และการจัดการทั่วไป จำ�นวน ๙๐๖ คน และได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ชวนี ทองโรจน์ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น นายปรัชญา จินต์จันทรวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ และหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดบุรีรัมย์เข้าร่วมพิธีประสาทอนุปริญญาบัตรในครั้งนี้ด้วย นายกฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานคณะกรรมการวิทยาลัยชุมชน กล่าวให้โอวาทแก่ผู้สำ�เร็จการศึกษาว่า วิทยาลัยชุมชนบุรีรัมย์ เล็งเห็นประโยชน์และความสำ�คัญของการศึกษา ซึ่งเป็นเจตนารมณ์ของการจัดการศึกษารูปแบบวิทยาลัยชุมชนที่มุ่งมั่นให้การศึกษา เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของประชาชนที่ขาดโอกาสและอยู่พื้นที่ห่างไกล ได้เข้าสู่ระบบการศึกษาตามความต้องการและ ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ในการศึกษาเล่าเรียนและสร้างประสบการณ์แห่งการเรียนรู้ และเมื่อสำ�เร็จการศึกษาแล้ว ยังสามารถ ดำ � รงชี วิ ต อยู่ ในชุ ม ชนของตนได้ อ ย่ า งมี ค วามสุ ข นั บ ว่ า ผู้ สำ � เร็ จ การศึ ก ษาทุ ก ท่ า นเป็ น ผลผลิ ต จากความมุ่ ง มั่ นของคณะผู้ บ ริ ห าร คณาจารย์และบุคลากร ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องจากภาคส่วนต่างๆ ที่ต้องการให้วิทยาลัยชุมชนบุรีรัมย์ เป็นองค์กรทางการศึกษา ที่ช่วย ยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในจังหวัดบุรีรัมย์อย่างแท้จริง ขอให้ผู้สำ�เร็จการศึกษาของวิทยาลัยชุมชนบุรีรัมย์ทุกท่าน มีความ ตระหนักและยึดมั่นในหลักวิชาความรู้ และนำ�ทักษะที่ท่านได้รับจากการศึกษามาใช้ในเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเอง ครอบครัว และ ชุมชน ยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นแนวทางในการดำ�เนินชีวิต และที่สำ�คัญ ท่านควรทำ�หน้าที่ศิษย์เก่าที่ดีของวิทยาลัยชุมชนบุรีรัมย์ และหาโอกาสสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนของท่านต่อไป อนุสารอุดมศึกษา

7


8

อนุสารอุดมศึกษา

เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย


เรื่องพิเศษ

การแข่งขันกี ฬ ามหาวิท ยาลัย แห่งประเทศไทยครั้งที่ ๔๐

“พลบดี เ กมส์ ”

รู้รักสามัคคี มีน้ำ�ใจ สู่เส้นชัย : Love United Spirit Hit the Games การแข่ ง ขั นกี ฬ ามหาวิ ท ยาลั ย แห่ ง ประเทศไทย เป็ นการแข่ ง ขั นกี ฬ าของนิ สิ ต นั ก ศึ ก ษาระดั บ อุ ด มศึ ก ษาในสั ง กั ด สำ � นั ก งาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยก่อน พ.ศ.๒๕๐๐ กีฬาที่แข่งขันระหว่างสถาบันอุดมศึกษามีไม่มากนัก เช่น กรีฑา ว่ายน้ำ� ฟุตบอล รักบี้ฟุตบอล เทนนิสและแบดมินตัน เป็นต้น และมีมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมการแข่งขัน ๕ มหาวิทยาลัย คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน) มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศิลปากร การแข่งขันระหว่างมหาวิทยาลัย ขณะนั้นยังไม่เรียกว่ากีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย และ ไม่มีการรวมกีฬาหลายชนิดมาแข่งพร้อมกันอย่างในปัจจุบัน ต่อมา พ.ศ.๒๕๑๓ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งจัดโดยสมาคมกีฬา มีสมาชิกทั้งหมด ๕ สถาบัน มีการรวมเอากีฬาชนิดต่างๆ มาแข่งขันพร้อมกัน และจัดการแข่งขันภายในเวลา ๑ สัปดาห์ ซึ่งนับได้ว่า เป็นต้นกำ�เนิดของกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย จนกระทั่ง พ.ศ.๒๕๑๕ จึงได้ตั้ง “คณะกรรมการกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย พุทธศักราช ๒๕๑๖” หรือ “ก.ก.ม.ท.” (The University Sports Board of Thailand :U.S.B.T.) โดยมีหน้าที่เพื่อส่งเสริมปรับปรุงข้อบังคับ ให้สอดคล้องกับข้อบังคับของสหพันธ์กีฬานานาชาติ ในปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยที่ผ่านการพิจารณาของ ก.ก.ม.ท. เข้าเป็นสมาชิกเกือบ ๓๐๐ สถาบัน และส่งเข้าแข่งขันโดยผ่านเกณฑ์ทางเทคนิคกีฬาประมาณ ๒๕๐ สถาบัน การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยจะจัดขึ้นทุกปี โดยสำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้การสนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายให้แก่นิสิตนักศึกษาในการเข้าร่วมการแข่งขัน สำ�หรับในปี ๒๕๕๖ สถาบันการพลศึกษา ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๔๐ หรือ พลบดีเกมส์ ระหว่างวันที่ ๑๐ – ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ณ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี จังหวัดชลบุรี ภายในแนวคิด รู้รักสามัคคี มีน้ำ�ใจ สู่เส้นชัย : Love United Spirit Hit the Games จัดการแข่งขัน ๓๐ ชนิดกีฬา และ ๒ ชนิดกีฬาสาธิต รวม ๓๗๕ เหรียญทอง ประกอบด้วย กรีฑา กอล์ฟ ขี่ม้า คาราเต้โด อนุสารอุดมศึกษา

9


เรื่องพิเศษ เซปักตะกร้อ ดาบไทย เทควันโด เทควันโด-พุ่มเซ่ เทนนิส เทเบิลเทนนิส เนตบอล บาสเกตบอล แบตมินตัน ปันจักสีลัด เปตอง ฟันดาบ ฟุตซอล ฟุตบอล มวยไทยสมัครเล่น มวยปล้ำ� มวยสากลสมัครเล่น ยกน้ำ�หนัก ยิงปืน ยูโด รักบี้ฟุตบอล เรือพาย ลีลาศ วอลเลย์บอล วอลเลย์บอลชายหาด ว่ายน้ำ� หมากกระดาน ฮอกกี้ และแฮนด์บอล โดยมีนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ประมาณ ๑๒,๗๐๐ คน จากสถาบันอุดมศึกษา ๑๑๐ แห่งทั่วประเทศ เข้าร่วมการแข่งขัน สถาบันการพลศึกษาได้จัดพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๖ ณ สนามกีฬากลาง สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี จังหวัดชลบุรี มีการแสดงมินิคอนเสิร์ตจาก ติ๊ก ชีโร่ และการขับร้องเพลง พลบดีเกมส์ จาก สมจิตร จงจอหอ นักมวย เหรียญทองโอลิมปิก ๒๐๐๘ การแสดง “พลังสามัคคี คนไทย ในหนึ่งเดียว เทิดไท้องค์ราชันย์” การวิ่งคบเพลิงจากนักกีฬาชุดโอลิมปิก ๒๐๑๒ และการจุดคบเพลิงโดย “น้องแต้ว” พิมศิริ ศิริแก้ว นักกีฬายกน้ำ�หนักเหรียญเงินโอลิมปิก ๒๐๑๒ ปิดท้ายด้วยการแสดง “วิถไี ทย ภูมใิ จไทย ใส่ใจสุขภาพ รวมพลังสูอ่ าเซียน” ทัง้ นี้ ได้รบั เกียรติจาก นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิด ซึ่งมีทัพนักกีฬา เจ้าหน้าที่ แขกผู้มีเกียรติ สื่อมวลชน ตลอดจนประชาชนชาวจังหวัดชลบุรี เข้าร่วมพิธี ในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๔๐ “พลบดีเกมส์” สถาบันการพลศึกษา ได้เลือก ช้างไทย เป็นสัตว์นำ�โชค (Mascot) โดยให้ชื่อว่า "น้องสามัคคี" เป็นช้างไทยที่มีความหมายให้นักกีฬารวมทั้งผู้ที่เข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ มีความสามัคคีเป็น น้ำ�หนึ่งใจเดียวกัน พลบดีเกมส์ ได้ปิดฉากอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๖ โดยผลการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๔๐ สถาบันที่ชนะเลิศเหรียญทองมากที่สุด ๕ ลำ�ดับ ได้แก่ สถาบันการพลศึกษา ๖๓ เหรียญทอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๕๒ เหรียญทอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ๒๔ เหรียญทอง มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ๒๑ เหรียญทอง และมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ๑๙ เหรียญทอง ทั้ ง นี้ มหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ น ได้ รั บ มอบการเป็ น เจ้ า ภาพการแข่ ง ขั นกี ฬ ามหาวิ ท ยาลั ย แห่ ง ประเทศไทย ครั้ ง ที่ ครั้ ง ที่ ๔๑ “มอดินแดงเกมส์” ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ในปี ๒๕๕๗

10

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องพิเศษ

ผลการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๔๐ “พลบดีเกมส์” ๑๐ อันดับแรก ลำ�ดับ

สถาบัน

เหรียญทอง

เหรียญเงิน

เหรียญทองแดง

รวม

สถาบันการพลศึกษา

๖๓

๕๘

๓๓

๑๕๔

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๕๒

๓๒

๔๐

๑๒๔

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

๒๔

๓๐

๔๒

๙๖

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

๒๑

๑๒

๒๐

๕๓

มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

๑๙

๒๒

๔๘

มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต

๑๘

๑๒

๑๘

๔๘

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

๑๓

๒๕

๔๗

มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง

๑๒

๑๗

๓๗

มหาวิทยาลัยสยาม

๑๒

๑๑

๒๙

๑๐

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

๑๐

๑๑

๑๒

๓๓

อนุสารอุดมศึกษา

11


พูดคุยเรื่องมาตรฐาน

“มหาวิทยาลัยในกำ�กับของรัฐ” คณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันอังคารที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ .......... เป็นแห่งแรกในปี ๒๕๕๖ (กำ�หนดไว้ ๖ แห่ง) ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา อนุสารอุดมศึกษาขอนำ�สาระในเบื้องต้นเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยในกำ�กับของรัฐ มานำ�เสนอ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้รับข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าใจและใช้ประโยชน์ต่อตามเหมาะสมต่อไป

ความจำ�เป็นของการออกนอกระบบราชการของมหาวิทยาลัยไทย เป็นมหาวิทยาลัยในกำ�กับของรัฐ

มหาวิทยาลัยไทยได้กำ�เนิดขึ้นและเจริญก้าวหน้ามาเกือบศตวรรษแล้ว โดยได้สั่งสมองค์ความรู้และประสบการณ์ด้านต่างๆ ไว้จำ�นวนมาก แต่ก็มีทั้งจุดเด่นและจุดด้อย ในด้านจุดเด่นได้แก่การเป็นที่ศูนย์รวมของมันสมองของชาติ ศูนย์รวมองค์ความรู้และ งานวิจัย เพื่อใช้ผลิตมันสมองของชาติรุ่นต่อๆ มา จุดด้อยได้แก่การบริหารงานและบริหารบุคลากรที่ยังอยู่ในกรอบของระเบียบราชการ ก่อให้เกิดความล่าช้าในการบริหารและการปรับเปลี่ยน ขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยให้ทันกับความก้าวหน้าของวิทยาการ ปัจจุบันสภาพสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงไปกลายเป็นสังคมเทคโนโลยีข่าวสาร สังคมที่เน้นคุณภาพมากขึ้น สังคมที่ไร้พรมแดน ในทุ ก ด้ า น ทำ � ให้ เ กิ ด ความตื่ นตั ว ของกลุ่ ม บุ ค ลากรที่ เป็ นนั ก คิ ด นั ก วิ ช าการ และนั ก ธุ ร กิ จ ภาคเอกชน ซึ่ ง ต้ อ งการผลผลิ ต ของ มหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพให้สามารถแข่งขันกับมหาวิทยาลัยทั่วโลกให้ได้ ต้องการการบริหารจัดการที่เน้นประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ต้องการบริหารรวมทั้งพัฒนาคนให้มีคุณภาพสูง จากการที่ตื่นตัวดังกล่าวประกอบกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศที่ถดถอยอย่างมากในช่วง ๔ ปีที่ผ่านมา ทำ�ให้เกิดการกู้ยืม เงินจากต่างประเทศเข้ามามากและเกิดการวิเคราะห์ถึงสภาพโครงสร้างด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะทรัพยากรคนทุกระดับ การศึกษา ซึ่งได้ข้อสรุปที่ชัดเจนตรงกันว่า ถ้าจะให้ประเทศไทยพัฒนาได้อย่างรวดเร็วมหาวิทยาลัยของรัฐจะต้องปรับเปลี่ยนบทบาท โดยเฉพาะจะต้องมีความคล่องตัวในด้านการบริหารองค์กรและคนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น เพื่อผลผลิตอุดมศึกษาที่มี คุณภาพสูงขึ้น การปรับเปลี่ยนสภาพจากมหาวิทยาลัยของรัฐซึ่งมีความเป็นราชการทั้งหมด มาเป็นมหาวิทยาลัยในรูปแบบอื่น ที่ไม่ใช่ มหาวิทยาลัยเอกชนและไม่ใช่ในรูปแบบรัฐวิสาหกิจหากแต่ยังคงสภาพเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐอยู่ และยังต้องใช้งบประมาณแผ่นดินแต่ มีการบริหารจัดการที่แตกต่างออกไป จึงต้องให้ความสำ�คัญและมีความชัดเจนกับการดำ�เนินการที่เกี่ยวกับบทบาท อำ�นาจ หน้าที่ และ การบริ ห ารจั ด การองค์ ก รทั้ ง แผนงาน แผนเงิ น บุ ค ลากร รวมทั้ ง การดำ � เนิ น ภารกิ จ ผลิ ต บั ณฑิ ต ค้ นคว้ า วิ จั ย บริ ก ารวิ ช าการและ ทำ�นุบำ�รุงศิลปวัฒนธรรมอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โปร่งใส คุ้มค่า

สถานภาพปัจจุบันของมหาวิทยาลัยในกำ�กับของรัฐในไทย

มหาวิทยาลัยในกำ�กับของรัฐ เป็นไปตามมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่บัญญัติให้ สถานศึกษาที่จัดการศึกษาปริญญาเป็นนิติบุคคล และอาจจัดเป็นส่วนราชการหรือหน่วยงานในกำ�กับของรัฐ และโดยนัยดังกล่าว เพื่อ ให้มหาวิทยาลัยมีการบริหารจัดการศึกษาที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล มีความคล่องตัวในการดำ�เนินงาน ควบคู่กับความรับผิดชอบที่จะ ดำ�เนินภารกิจอย่างมีคุณภาพ ประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนาประเทศ มีความเชื่อมโยงกับนโยบายของรัฐบาล โดยรัฐสามารถกำ�กับดูแลและตรวจสอบได้ ๑. สถานภาพของมหาวิทยาลัยในกำ�กับของรัฐ • สถานภาพเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการและไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ • เป็นนิติบุคคล และอยู่ภายใต้การกำ�กับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ • เป็ น หน่ ว ยงานของรั ฐ ที่ ยั ง คงได้ รั บ การจั ด สรรงบประมาณแผ่ นดิ นตามพระราชบั ญ ญั ติ วิ ธีก ารงบประมาณอย่ า งเพี ย งพอ ที่จะเป็นต่อการประกันคุณภาพการศึกษาไว้ได้

12

อนุสารอุดมศึกษา


พูดคุยเรื่องมาตรฐาน

๒. ความเชื่อมโยงกับนโยบายของรัฐบาล • การดำ�เนินงานของมหาวิทยาลัย ทั้งการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการและการทำ�นุบำ�รุงศิลปะและวัฒนธรรม ต้องเป็นไปอย่างมีคุณภาพ ประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการของสังคม เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลและแผนการ พัฒนาประเทศ • การผลิตบัณฑิต ควรให้โอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชนโดยไม่เลือกปฏิบัติ จัดการศึกษาหลากหลายรูปแบบ ส่งเสริมการ เรียนรู้ตลอดชีวิตรวมทั้งมีความคล่องตัวและยืดหยุ่นในการปรับตัวไปตามสถานการณ์ • ให้มีกลไกการจัดสรรงบประมาณ หรือกลไกการกำ�กับดูแล โดยองค์กรที่รัฐจัดตั้งขึ้นเพื่อความเชื่อมโยงกับการดำ�เนินงานของ มหาวิทยาลัย ปัจจุบันในประเทศไทยมีสถาบันอุดมศึกษาในกำ�กับของรัฐ จำ�นวน ๑๖ แห่ง (ใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินโดยไม่ได้ขึ้นอยู่กับระบบ ราชการ ไม่อยู่ในสายการบังคับบัญชาของสำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา) โดยในจำ�นวนนี้มี ๕ มหาวิทยาลัยและ ๑ สถาบัน ที่เป็นสถาบันในกำ�กับของรัฐบาลตั้งแต่ก่อตั้ง ส่วนที่เหลือนั้นเป็นสถาบันในกำ�กับของรัฐบาลโดยการแปรสภาพด้วยผลของกฎหมาย • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา เป็นมหาวิทยาลัยในกำ�กับของรัฐแห่งแรกของไทย (ออกนอกระบบ ราชการตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย) • มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช (ออกนอกระบบราชการตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย) • มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย (ออกนอกระบบราชการตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย) • มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา (ออกนอกระบบราชการตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย) • มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร (ออกนอกระบบราชการตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย) • สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา กรุงเทพมหานคร (ออกนอกระบบราชการตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งสถาบัน) • มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสงฆ์) • มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสงฆ์) • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรุงเทพมหานคร (เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งแรกที่พร้อมและขอออกนอก ระบบราชการ แปรสภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำ�กับของรัฐเมื่อปี ๒๕๔๐) • สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพมหานคร • มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร • มหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดนครปฐม • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ • มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี

ในปี ๒๕๕๖ จะมีมหาวิทยาลัยของรัฐ ๖ แห่ง ปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำ�กับของรัฐ

๑. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ พ.ศ...... ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทน ราษฎรพิจารณาก่อนเสนอ สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป โดยมีสาระสำ�คัญ กำ�หนดให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีฐานะเป็นหน่วยงานในกำ�กับของรัฐ ไม่เป็น ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการและ กฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายอื่นและ เป็นนิติบุคคล มีรายได้จากเงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้เป็นรายปี และให้รายได้ของมหาวิทยาลัยไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำ�ส่งกระทรวง การคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ) ๒. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ๓. มหาวิทยาลัยขอนแก่น ๔. มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต ๕. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ๖. มหาวิทยาลัยศิลปากร อนุสารอุดมศึกษา

13


พูดคุยเรื่องมาตรฐาน

เงื่อนไขของมหาวิทยาลัยในกำ�กับของรัฐ

มหาวิทยาลัยทีจ่ ะเปลีย่ นสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำ�กับของรัฐ ต้องปฏิบตั ติ ามมติคณะรัฐมนตรี เมือ่ วันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๖ ซึ่งกำ�หนดหลักการของการเป็นมหาวิทยาลัยในกำ�กับของรัฐไว้ (สืบค้นมติคณะรัฐมนตรีย้อนหลัง ได้จากเว็บไซต์สำ�นักเลขาธิการ คณะรัฐมนตรี http://www.cabinet.thaigov.go.th) สรุปร่างหลักการกลางที่จะบัญญัติในร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยของรัฐในกำ�กับ มติคณะรัฐมนตรีวันอังคารที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๖ ที่เกี่ยวกับร่างหลักการกลางที่จะบัญญัติในร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย ของรัฐในกำ�กับ สรุปสาระสำ�คัญคือ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบหลักการกลางที่จะบัญญัติในร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยของรัฐในกำ�กับ ทุกฉบับ ตามที่คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเสนอ และให้สำ�นักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยในกำ�กับของรัฐดังกล่าว เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล มีความคล่องตัวในการดำ�เนินงาน ควบคู่ กั บ ความรั บ ผิ ด ชอบที่ จ ะดำ � เนิ น ภารกิ จ อย่ า งมี คุ ณ ภาพ ประสิ ท ธิ ภ าพ สอดคล้ อ งกั บ ความต้ อ งการในการพั ฒ นาประเทศ มีความเชื่อมโยงกับนโยบายของรัฐบาล โดยรัฐสามารถกำ�กับดูแลและตรวจสอบได้โดยกลไกของรัฐในประเด็น ความเชื่อมโยงกับ นโยบายของรัฐบาล ความคล่องตัวของมหาวิทยาลัย สภามหาวิทยาลัยและผู้บริหารมหาวิทยาลัย การบริหารจัดการทั่วไป งบประมาณ และทรัพย์สิน การใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดการบริหารงานวิชาการ การกำ�กับ ตรวจสอบ

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเป็นมหาวิทยาลัยในกำ�กับของรัฐ

มหาวิทยาลัยในกำ�กับของรัฐมีความเป็นอิสระ ๓ ด้าน ดังนี้ ๑. ด้านงบประมาณและทรัพย์สิน สภามหาวิทยาลัยมีอำ�นาจในการกำ�หนดระบบบริหารการเงิน การงบประมาณและทรัพย์สิน ซึ่งรวมถึงการวางแผนการจัดการ การจัดสรร และการใช้ทรัพยากร โดยรายได้ของมหาวิทยาลัยไม่จำ�ต้องนำ�ส่งกระทรวงการคลัง ตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง และกฎหมายว่าด้วยวิธีงบประมาณ โดยอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของสภามหาวิทยาลัย ๒. ด้านการบริหารวิชาการ สภามหาวิทยาลัยมีอำ�นาจในการอนุมัติหลักสูตร การเปิดสอนหลักสูตร การจัดตั้ง ยุบ เลิก หน่วยงาน ต่างๆของมหาวิทยาลัย การพัฒนากระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา และการดำ�เนินการทางวิชาการอื่นๆ ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามหลัก เสรีภาพทางวิชาการและต้องสอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานวิชาการของหน่วยงานกลาง ๓. ด้านบริหารงานบุคคล มหาวิทยาลัยสามารถจัดรูปแบบการบริหารงานบุคคลได้เอง พร้อมทั้งการกำ�หนดอัตราเงินเดือน ความก้าวหน้าในวิชาชีพ ดังนั้น เมื่อมหาวิทยาลัยมีความอิสระใน ๓ ด้านดังกล่าว ทำ�ให้มหาวิทยาลัยมีความเข้มแข็ง ตามความต้องการของประเทศ และ ส่งผลให้ผู้รับบริการได้รับบริการที่มีคุณภาพจากบุคคลชั้นนำ�ทุกวิชาชีพที่มหาวิทยาลัยนำ�เข้ามาสู่ระบบมหาวิทยาลัย ประโยชน์ที่มหาวิทยาลัย/สถาบัน จะได้รับ • เกิดความคล่องตัวในการบริหารมหาวิทยาลัยมากยิ่งขึ้น • เป็นการลดภาระค่าใช้จ่าย • สามารถเปิดหลักสูตรเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานได้ทันการ • สวัสดิการและค่าตอบแทนจะเป็นมาตรการที่ชักจูงบุคลากรคุณภาพสูงเข้าทำ�งานได้ได้ ประโยชน์ที่ผู้บริหาร อาจารย์และบุคลากร จะได้รับ • บุคลากรของมหาวิทยาลัย ที่ได้รับการบรรจุภายหลังจากพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ มีสถานภาพเป็น “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” ซึ่งจะได้รับสิทธิและสวัสดิการต่างๆไม่น้อยกว่าข้าราชการ แต่การได้รับเงินเดือนและผลประโยชน์ตอบแทนจะสูงกว่าโดยเป็นไปตามที่ สภามหาวิทยาลัยกำ�หนดให้สอดคล้องกับศักยภาพ และผลิตภาพทางวิชาการที่เกิดขึ้น • ข้าราชการและลูกจ้างประจำ�เดิมของมหาวิทยาลัย สามารถเลือกสถานภาพโดยขอเข้าสู่บุคลากรระบบใหม่ได้ตามความสมัครใจ ในส่ ว นของข้ า ราชการนั้ น เมื่ อ เปลี่ ย นแปลงสถานภาพแล้ ว ให้ ค งสิ ท ธิ ก ารเป็ น สมาชิ ก กองทุ น บำ � เหน็ จ บำ � นาญข้ า ราชการ และ สิทธิประโยชน์อื่นตามที่รัฐกำ�หนด หากไม่สมัครใจเปลี่ยน จะยังคงเป็นข้าราชการเช่นเดิม • ระบบบริหารงานบุคคลให้ตราเป็นข้อบังคับ โดยให้มีองค์กรบริหารบุคคลที่บุคลากรมีส่วนร่วม ยึดหลักการบริหารในระบบ คุณธรรม มีระบบการประเมินผลการทำ�งานของบุคลากรที่โปร่งใส เป็นระบบให้คุณสำ�หรับผู้ทำ�ดีมีคุณประโยชน์ที่ชัดเจน ขณะเดียวกัน ต้องจัดให้มีกลไกให้ความเป็นธรรมต่างๆได้แก่ ระบบการอุทธรณ์ร้องทุกข์ที่ขึ้นตรงต่อสภามหาวิทยาลัย

14

อนุสารอุดมศึกษา


เมื่อมหาวิทยาลัยปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำ�กับของรัฐแล้ว จะมีสถานภาพเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็น ส่วนราชการ มีฐานะเป็นนิติบุคคล และอยู่ภายใต้การกำ�กับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในการบริหารจัดการและงบประมาณ มหาวิทยาลัยมีความคล่องตัวโดยกลไกของสภามหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นองค์กรที่รับผิดชอบ ควบคุม ดูแล การดำ�เนินกิจการของมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล โดยสภามหาวิทยาลัยสามารถกำ�หนดระเบียบ ข้อบังคับในการบริหารการจัดการในเรื่องต่างๆได้เอง ภายใต้กรอบแห่งพระราชบัญญัติของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง การบริหารจัดการ จะสิ้นสุดที่สภามหาวิทยาลัยเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นเรื่องที่จะเสนอคณะรัฐมนตรี ที่จะต้องเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการให้ ความเห็นชอบและนำ�เสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป สำ �หรั บ บทบาทของสำ � นั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา ไม่ มี ห น้ า ที่ ในการกำ � กั บ มหาวิ ท ยาลั ย ในกำ � กั บ ของรั ฐ โดยตรง เนื่องจากมหาวิทยาลัยในกำ�กับของรัฐไม่ใช่ส่วนราชการในสำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา แต่อย่างไรก็ตามสำ�นักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษาจะมีส่วนกำ�กับโดยทางอ้อม โดยจะต้องเสนอแนะรัฐมนตรีในการจัดสรรงบประมาณให้มหาวิทยาลัยใน กำ�กับของรัฐ

พูดคุยเรื่องมาตรฐาน

รัฐกำ�กับดูแลมหาวิทยาลัยในกำ�กับของรัฐอย่างไร

การเปลี่ยนแปลงที่สืบเนื่องมาจาก การออกนอกระบบราชการของมหาวิทยาลัย

๑. สภามหาวิทยาลัยต้องเข้มแข็ง การกำ�หนดให้การดำ�เนินงานในเชิงนโยบายและการบริหารสิ้นสุดที่สภามหาวิทยาลัย โดยสภามหาวิทยาลัยเป็นองค์กรสูงสุดในการกำ�หนด อธิการบดีจะเป็นนักบริหารเชิงรุก ดังนั้นถ้าหากสภามหาวิทยาลัยไม่เข็มแข็ง ก็จะทำ�ให้การดำ�เนินงานของมหาวิทยาลัยไม่ประสบผลตามเป้าหมายได้ ๒. บุคลากรต้องมีขวัญและกำ�ลังใจ การปรับเปลี่ยนมหาวิทยาลัยที่เป็นส่วนราชการไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำ�กับของรัฐ บุคลากรก็ต้องเปลี่ยนไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย อาจทำ�ให้เกิดความรู้สึกไม่มั่นคงในอาชีพเมื่อเปรียบเทียบกับระบบราชการเดิม ซึ่งเป็นระบบที่ให้ความมั่นคงมาก การสร้างความเชื่อมั่น ขวัญและกำ�ลังใจในการทำ�งาน ด้วยระบบธรรมาภิบาลในการบริหารงาน บุคคลเป็นสิ่งสำ�คัญ ๓. เกิดการปรับเปลี่ยนวิธีการทำ�งาน บุคลากรของมหาวิทยาลัยที่อยู่ในระบบราชการมานาน อาจมีแนวทางในการทำ�งานที่ ติดอยู่กับกฎระเบียบของราชการ อาจเน้นกฎระเบียบมากกว่าจุดมุ่งหมาย บุคลากรเหล่านี้ต้องปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม ให้ทำ�งานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ รวดเร็ว คุณภาพสูง ภายใต้ต้นทุนและทรัพยากรตามที่กำ�หนด การที่บุคลากรเปลี่ยนความคิดหรือ พฤติกรรมไม่ได้อาจส่งผลกระทบต่อการดำ�เนินงานในรูปแบบใหม่ของมหาวิทยาลัย ในฐานะมหาวิทยาลัยในกำ�กับของรัฐ ๔. มีการไหลของบุคลากรและทรัพยากร การให้มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งกำ�หนดกฎเกณฑ์ หรือระเบียบในเรื่องต่างๆ ได้เอง ถ้ามหาวิทยาลัยในกำ�กับของรัฐหลายๆ แห่ง มีความแตกต่างกันและเปรียบเทียบกันได้ในกฎเกณฑ์ กฎระเบียบ การตอบแทน ความก้าวหน้า อาจทำ�ให้เกิดการแข่งขันสูง หรือเกิดการไหลของบุคลากรและทรัพยากรจากมหาวิทยาลัยหนึ่งไปสู่มหาวิทยาลัยหนึ่ง ๕. ต้องสร้างความเข้าใจกับประชากรในมหาวิทยาลัยและประชาชน เน้นกลุ่มที่ยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับการเป็นมหาวิทยาลัย ในกำ�กับของรัฐ ความไม่เข้าใจนี้นำ�มาซึ่งทัศนคติทางลบ เช่น มีความคิดว่ามหาวิทยาลัยในกำ�กับของรัฐเก็บค่าเล่าเรียนแพง รัฐไม่ให้ งบประมาณสนับสนุน ผู้มีฐานะดีเท่านั้นจึงจะได้เรียน มีการเรียนการสอนเฉพาะที่เป็นความต้องการของตลาด ดังนั้นการสื่อสารเพื่อ ปรับกระบวนทัศน์ เพื่อรักษาระดับการรับรู้ ความเข้าใจในกระบวนการบริหารจัดการแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกระดับเพื่อป้องกันความเข้าใจ ผิดนั้น มีความจำ�เป็น ๖. การดำ�เนินงานจะคำ�นึงถึงต้นทุนการผลิต เช่น อาจยุติหรือยุบรวมการดำ�เนินการของมหาวิทยาลัย คณะหรือการเปิด สอนหลักสูตรที่ไม่คุ้มทุน มีการให้ภาคเอกชนรับจ้างดำ�เนินการในบางกิจกรรมที่ไม่อยู่ในภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย อาจมีการเพิ่ม งบลงทุนเพื่อผลของการประหยัดงบประมาณมหาวิทยาลัยในระยะยาว

อนุสารอุดมศึกษา

15


เรื่องแนะนำ�

ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ รายจ่ายประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗

ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ จัดทำ�ขึ้นภายใต้กรอบแนวนโยบายพื้นฐาน แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ แผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๘ และ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙) ที่คำ�นึงถึงความต่อเนื่องในการบริหารราชการ แผ่นดินของรัฐบาล ควบคู่กับการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยกำ�หนดประเด็นยุทธศาสตร์และ จุดเน้นของนโยบายการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ ให้สอดคล้อง เชื่อมโยงกับผลการประชุม เชิงปฏิบัติการการบูรณาการตามยุทธศาสตร์ประเทศ (Country Strategy) และยุทธศาสตร์เข้าสู่ประชาคมอาเซียนปี ๒๕๕๘ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐสามารถนำ�ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำ�ปีไปใช้เป็นแนวทางในการกำ�หนดลำ�ดับ ความสำ�คัญของภารกิจหน่วยงาน และใช้เป็นเครื่องมือในการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ ให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และเป็นการวางพื้นฐานเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศในระยะยาวต่อไป โดยยุทธศาสตร์การ จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ ได้กำ�หนดไว้ ๘ ยุทธศาสตร์ และ ๑ รายการ

โครงสร้างยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่าย ประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗

16

๑. ยุทธศาสตร์เร่งรัดการพัฒนาประเทศ และเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ๑.๑ การรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ๑.๒ การพัฒนาศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชน ๑.๓ การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ๑.๔ การส่งเสริมสินค้าด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ๑.๕ การดูแลผู้สูงอายุ เด็ก สตรี คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส ๑.๖ การแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๑.๗ การเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวและบริการ ๑.๘ การยกระดับคุณภาพแรงงาน จัดการแรงงานต่างด้าว และป้องกันการค้ามนุษย์ ๑.๙ การเชื่อมโยงระบบคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศระหว่างภูมิภาค

๒. ยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งรัฐ ๒.๑ การเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ๒.๒ การสร้างความปรองดองสมานฉันท์และฟื้นฟูประชาธิปไตย ๒.๓ การเสริมสร้างระบบป้องกันประเทศ ๒.๔ การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ

๓. ยุทธศาสตร์การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน ๓.๑ การบริหารจัดการเศรษฐกิจมหภาคให้เกิดความยั่งยืน ๓.๒ การส่งเสริมประสิทธิภาพการผลิตและสร้างมูลค่าภาคการเกษตร ๓.๓ การเสริมสร้างเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตร ๓.๔ การยกระดับรายได้และเพิ่มกำ�ลังซื้อของประชาชน ๓.๕ การส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งทุน ๓.๖ การยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม

อนุสารอุดมศึกษา


๔. ยุทธศาสตร์การศึกษา คุณธรรม จริยธรรม คุณภาพชีวิต และความเท่าเทียมกันในสังคม ๔.๑ การขยายโอกาสและพัฒนาคุณภาพการศึกษา ๔.๒ การสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๔.๓ การพัฒนาด้านสาธารณสุข ๔.๔ การพัฒนาระบบประกันสุขภาพ ๔.๕ การสร้างโอกาสการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชน ๔.๖ การป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ ๔.๗ การป้องกัน ปราบปราม และบำ�บัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ๔.๘ การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและคุ้มครองแรงงาน ๔.๙ การอนุรักษ์ ส่งเสริม และพัฒนาศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ๔.๑๐ การเสริมสร้างความมั่นคงของชีวิตและสังคม

เรื่องแนะนำ�

๓.๗ การเพิ่มประสิทธิภาพภาคการตลาด การค้าและการลงทุน ๓.๘ การพัฒนาการท่องเที่ยวและบริการ ๓.๙ การส่งเสริมและพัฒนาการกีฬา ๓.๑๐ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ๓.๑๑ การพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ๓.๑๒ การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

๕. ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๕.๑ การป้องกันและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ ๕.๒ การส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำ�อย่างบูรณาการ ๕.๓ การอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ๕.๔ การจัดการสิ่งแวดล้อม ๕.๕ การจัดการภัยพิบัติ

๖. ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม ๖.๑ การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา ๖.๒ การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม

๗. ยุทธศาสตร์การต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ๗.๑ การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและรักษาผลประโยชน์ของชาติ

๘. ยุทธศาสตร์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ๘.๑ การปฏิรูปกฎหมายและพัฒนากระบวนการยุติธรรม ๘.๒ การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหาราชการแผ่นดิน ๘.๓ การส่งเสริมการกระจายอำ�นาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๘.๔ การบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ ๘.๕ การสนับสนุนการจัดการของรัฐสภา ศาล องค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ

๙. รายการค่าดำ�เนินการภาครัฐ ๙.๑ รายการงบกลางเพื่อรองรับกรณีฉุกเฉินหรือจำ�เป็น ๙.๒ ค่าใช้จ่ายบุคลากรในงบกลาง ๙.๓ การบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ ๙.๔ รายจ่ายชดใช้เงินคงคลัง

อนุสารอุดมศึกษา

17


เรื่องแนะนำ�

ขอแสดงความยินดีกับผู ้บริหารใหม่ อนุสารอุดมศึกษา ฉบับนี้ขอแนะนำ�นางสาวสุนันทา แสงทอง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในโอกาสที่ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำ�รงตำ�แหน่ง ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผน (นักวิชาการศึกษาทรงคุณวุฒิ) ตั้งแต่ วันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๕ ประกาศ ณ วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ โอกาสนี้ขอแนะนำ�ประวัติของที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนคนใหม่ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

นางสาวสุนันทา แสงทอง ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผน (นักวิชาการศึกษาทรงคุณวุฒิ)

ประวัติการศึกษา

ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) (สังคมศาสตร์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (๒๕๑๗) สังคมวิทยามหาบัณฑิต (สค.ม.) (สังคมวิทยาเน้นหนักประชากรศาสตร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (๒๕๒๓) Master of Arts (M.A.) (Measurement, Evaluation and Research Design) Michigan State University ประเทศสหรัฐอเมริกา (๒๕๒๙)

เจ้าหน้าที่เยาวชน ๓ กองฝึกอบรม สำ�นักงานส่งเสริมเยาวชนแห่งชาติ สำ�นักนายกรัฐมนตรี (๒๕๑๙) นักวิชาการศึกษา ๓ กองแผนงาน สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (๒๕๒๐) นักวิชาการศึกษา ๔ กองแผนงาน สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (๒๕๒๑) นักวิชาการศึกษา ๕ กองแผนงาน สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (๒๕๒๗) เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ๖ กองแผนงาน สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (๒๕๓๑) เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ๗ กองแผนงาน สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (๒๕๓๔) เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ๘ว กองแผนงาน สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (๒๕๔๐) ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานโครงการวิทยาลัยชุมชน สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (๒๕๔๔) ผู้อำ�นวยการสำ�นักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน (นักวิชาการศึกษา ๙) สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (๒๕๔๗) ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (นักบริหารต้น) สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (๒๕๕๕) ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผน (นักวิชาการศึกษาทรงคุณวุฒิ) สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๕)

ประวัติการรับราชการ

18

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องแนะนำ�

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) (๒๕๕๕) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ ๑ ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) (๒๕๕๐) เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.) (๒๕๔๔)

ประวัติการฝึกอบรม

หลักสูตร Education Planning And Technology (INNOTECH) หลักสูตรปฏิบัติการจิตวิทยา ฝ่ายอํานวยการรุ่น ๘๕ หลักสูตรประกาศนียบัตร กฎหมายมหาชนรุ่นที่ ๑๒ หลักสูตรการวางแผนและการบริหารเชิงกลยุทธ์สมัยใหม่ หลักสูตรนักบริหารระดับสูง : ผู้นําที่มีวิสัยทัศน์ หลักสูตรที่ ๑ รุ่นที่ ๔๘ ฝึกอบรม ประชุม สัมมนา และศึกษาดูงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการและการจัดการศึกษาของระบบวิทยาลัยชุมชน ประเทศสหรัฐอเมริกา ๑๒ ครั้ง

ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน

เป็นผูร้ บั ผิดชอบหลักในการดําเนินงานวิทยาลัยชุมชนตามนโยบายรัฐบาล ตัง้ แต่ พ.ศ.๒๕๔๔ – ๒๕๕๕ โดยมีภารกิจสำ�คัญ อาทิ ๑. เป็นคณะทํางานจัดทําแนวทางการดําเนินงานตามนโยบายรัฐบาล พ.ศ.๒๕๔๔ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการจัดตั้ง วิทยาลัยชุมชน ๒. เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการวิทยาลัยชุมชน (๒๕๔๔–๒๕๕๕) ๓. ดําเนินการเกี่ยวกับงานทั้งมวลของการจัดตั้งและการดําเนินงานวิทยาลัยชุมชนมาระหว่าง พ.ศ. ๒๕๔๔-๒๕๕๕ อาทิ • จัดตั้งสํานักงานโครงการวิทยาลัยชุมชน • วางระบบงานภายในสํานักงานโครงการวิทยาลัยชุมชน และสำ�นักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน • จัดทําโครงการจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี • จัดทําร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาตํา่ กว่าปริญญา รูปแบบวิทยาลัยชุมชน พ.ศ.๒๕๔๖ • จัดทําร่างพระราชบัญญัติวิทยาลัยชุมชนพ.ศ. .... • จัดทําคําขอรับการจัดสรรงบประมาณดําเนินงานวิทยาลัยชุมชนตั้งแต่ปี ๒๕๔๕–๒๕๕๕ • ขอกรอบอัตรากําลังข้าราชการพลเรือน ข้าราชการครู และพนักงานราชการเพื่อปฏิบัติงานในสํานักบริหารงาน วิทยาลัยชุมชนและวิทยาลัยชุมชน • บริหารกิจการของสํานักบริหารงานวิทยาลัยชุมชนและส่งเสริมสนับสนุนการ ดําเนินงานของวิทยาลัยชุมชนในสังกัด ๒๐ แห่ง • เขียนเอกสารและบทความเกี่ยวกับวิทยาลัยชุมชน อาทิ - โครงการวิทยาลัยชุมชน - การดําเนินงานวิทยาลัยชุมชน กระทรวงศึกษาธิการ - การพัฒนางานวิทยาลัยชุมชน กระทรวงศึกษาธิการ - นโยบายและการดําเนินงานวิทยาลัยชุมชน - วิทยาลัยชุมชน : ปฐมบทแห่งการพัฒนา - วิทยาลัยชุมชนมติใหม่ทางการศึกษาและอาชีพ • เป็นผู้บรรยายหลักเกี่ยวกับเจตนารมณ์ ปรัชญา หลักการ พันธกิจ และพัฒนาการของวิทยาลัยชุมชน ๔. เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดําเนินงานวิทยาลัยชุมชนกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.๒๕๓๗–๒๕๓๙ ๕. เป็นผู้รับผิดชอบหลักในฐานะคณะกรรมการฝ่ายเลขานุการจัดเตรียมการด้านปฏิรูปการศึกษาและจัดทําพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒

อนุสารอุดมศึกษา

19


เล่าเรื่องด้วยภาพ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๖ - นายอภิ ช าติ จี ร ะวุ ฒิ เลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา เป็ น ประธานพิ ธีเปิ ด การแข่ ง ขั น กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๔๐ “พลบดีเกมส์” ณ สนามกีฬากลาง จ.ชลบุรี

๒-๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ - นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ในฐานะกรรมการบริหารสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทศ. ตรวจเยี่ยมศูนย์สนามสอบวัดผลระดับชาติ O-NET ชัน้ ป.๖ และ ม.๓ พร้อมพบปะคณะกรรมการดำ�เนินการจัดสอบและดูสภาพทัว่ ไป ของโรงเรียนที่เป็นสนามสอบ ณ จ.พระนครศรีอยุธยา จ.อ่างทอง จ.สระบุรี และ จ.นครราชสีมา

20

อนุสารอุดมศึกษา


เล่าเรื่องด้วยภาพ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ - นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา มอบกระเช้าและอวยพรวันเกิด ในโอกาสวันคล้ายวันเกิดแก่ นางสาวสุนันทา แสงทอง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ณ ห้อง ผู้ช่วยเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา

๑๐ มกราคม ๒๕๕๖ - รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ กำ � จร ตติ ย กวี รองเลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา พร้อมผู้บริหารสำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มอบกระเช้าอวยพรปีใหม่ ๒๕๕๖ แด่ ศาสตราจารย์วิชัย ริ้วตระกูล ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ณ ห้องประธานกรรมการ สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

๒๑ มกราคม ๒๕๕๖ - รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ กำ � จร ตติ ย กวี รองเลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ 4th Asia Regional Open Course Ware and Open Education Conference 2012 : AROOC 2012 ณ โรงแรมวินเซอร์ สวีทส์ กรุงเทพฯ

อนุสารอุดมศึกษา

21


เล่าเรื่องด้วยภาพ

๒๑ มกราคม ๒๕๕๖ - นางสาวสุนนั ทา แสงทอง ผูช้ ว่ ย เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นตัวแทนสำ�นักงาน คณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา มอบเงิ น สมทบเข้ า โครงการ ช่วยเหลือครูชายแดนใต้ โดยมี นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้รับมอบ ณ สถานี โทรทัศน์โมเดิร์นไนท์ทีวี กรุงเทพฯ

๒๓ มกราคม ๒๕๕๖ - นางสาวสุนันทา แสงทอง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาพร้อม ผู้ บ ริ ห ารสำ � นั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา มอบกระเช้าอวยพรปีใหม่ ๒๕๕๖ แด่ รองศาสตราจารย์ วันชัย ศิริชนะ อดีตปลัดทบวงมหาวิทยาลัย

๒๕ มกราคม ๒๕๕๖ - นางสาวสุนันทา แสงทอง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาพร้อมผู้บริหารสำ�นักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา มอบกระเช้าอวยพรปีใหม่ ๒๕๕๖ แด่ อาจารย์กฤษณ์พงษ์ กีรติกร อดีตเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา

22

อนุสารอุดมศึกษา


เล่าเรื่องด้วยภาพ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๖ - รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุม เชิงปฏิบัติการ เรื่อง การดำ�เนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อการพัฒนาการศึกษา ครั้งที่ ๒๖ หรือ WUNCA 26th ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จ.สกลนคร

๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ - นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา มอบกระเช้าและอวยพรวันเกิดในโอกาส วันคล้ายวันเกิดแก่ นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ณ ห้องรองเลขาธิการคณะกรรมการการ อุดมศึกษา

อนุสารอุดมศึกษา

23


Higher

Education

สกอ.

ขับเคลื่อนอุดมศึกษาเพื่อชี้นำสังคมไทย ใหกาวไกลสูนานาชาติ

รวมทีมทำงาน สรางสรรคองคกร สอดคลองเปาหมาย โปรงใสเปนธรรม นำประโยชนสวนรวม สำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา (สกอ.) ๓๒๘ ถนนศรี อ ยุ ธ ยา แขวงทุ ง พญาไท เขตราชเทวี กรุ ง เทพฯ ๑๐๔๐๐ โทรศั พ ท ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๖ http://www.mua.go.th Facebook : www.facebook.com/ohecthailand Twitter : www.twitter.com/ohec_th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.