อนุสารอุดมศึกษา issue 411

Page 1

อุ ด มศึ ก ษา อนุสาร

ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔๑๑ ประจำเดือนกันยายน ๒๕๕๕ เอกสารเผยแพร่ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ISSN 0125-2461

อนุสารอุดมศึกษาออนไลน์ www.mua.go.th/pr_web

หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ : เส้นทางสู่การเป็นผู้ประกอบการ


อุดมศึกษา

อนุสาร

ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔๑๑ ประจำเดือนกันยายน ๒๕๕๕

สารบัญ เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย เตรียมการจัดงานสัปดาห์แห่งการเฉลิมฉลอง ๑๒๐ ปี ๓ แห่งวันคล้ายวันพระราชสมภพ พระบรมราชชนก ก.พ.อ. แต่งตั้งกรรมการ ก.พ.อ. ๔ ก.พ.อ. กำหนดตำแหน่งสายงานจิตวิทยาคลินิกเพิ่ม ๕ ก.พ.อ. แต่งตั้งอนุกรรมการจัดทำหลักเกณฑ์กลาง ๕ สำหรับพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา สกอ. ร่วม กสท พัฒนาเครือข่ายการศึกษาแห่งชาติ ๖ สกอ. หารือปรับปฏิทินเปิดภาคการศึกษา ๗

เรื่องเล่าอาเซียน

การเกิดประชาคมอาเซียนกับการศึกษาของประเทศไทย (๑๒)

เรื่องพิเศษ ผลการดำเนินงานของรัฐบาล ด้านการศึกษาครบรอบ ๑ ปี

๑๐

พูดคุยเรื่องมาตรฐาน

๑๔

แนวทางในการจัดทำ Curriculum Mapping (๒)

เรื่องแนะนำ โครงการค่ายเรียนรู้และเผยแพร่โครงการพระราชดำริ

๑๖

เหตุการณ์เล่าเรื่อง หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ : เส้นทางสู่การเป็นผู้ประกอบการ

เล่าเรื่องด้วยภาพ

๒๑

๑๘

คณะผู้จัดทำ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๒๖ เว็บไซต์ http://www.mua.go.th อีเมล์ pr_mua@mua.go.th นายอภิชาติ จีระวุฒิ รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติยกวี นางวราภรณ์ สีหนาท นายศิระวิทย์ คลี่สุวรรณ ที่ปรึกษา บรรณาธิการ นายกฤษณ์กร วงศ์ไทย กองบรรณาธิการ นางสาวปิยาณี วิริยานนท์ นางชุลีกร กิตติก้อง นายเจษฎา วณิชชากร นางปราณี ชื่นอารมณ์ นายพรชัย สิทธินันทน์ นายจรัส เล็กเกาะทวด บริษัท ออนป้า จำกัด ผู้พิมพ์


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

เตรียมการจัดงานสัปดาห์แห่งการเฉลิมฉลอง ๑๒๐ ปี แห่งวันคล้ายวันพระราชสมภพ พระบรมราชชนก ๓ กันยายน ๒๕๕๕ - ศาสตราจารย์สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการอำนวยการงานเฉลิมฉลองครบรอบ ๑๒๐ ปี แห่งวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดช วิกรม พระบรมราชชนก ครั้งที่ ๒/๒๕๕๕ ณ ห้องประชุมราชวัลลภ เพื่อเตรียมการจัดงานสัปดาห์แห่งการเฉลิมฉลอง ๑๒๐ ปี แห่งวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้า ร่วมประชุม ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย ศาสตราจารย์สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นชอบการจัดกิจกรรม สัปดาห์แห่งการเฉลิมฉลองการถวายพระราชสมัญญา ‘พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย’ ในวาระครบรอบ ๑๒๐ ปีแห่ง

วันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ระหว่างวันที่ ๑๑ - ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๕ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับเชิญเสด็จเป็นองค์ประธาน ในวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ เวลา ๑๕.๐๐ น. ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยกิ จ กรรมภายในงาน ประกอบด้ ว ยพิ ธ ี ส งฆ์ พิ ธ ี พ ระราชทานหนั ง สื อ อ่ า นประกอบ และปาฐกถาพิ เศษ เรื ่ อ ง

พระกรุณาธิคุณสมเด็จพระบรมราชชนก ที่เกี่ยวกับการอุดมศึกษา พิธีเปิดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ ซึ่งจัดโดยสำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้า มหิดลในพระบรมราชูปถัมภ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มูลนิธิสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดช วิกรม พระบรมราชชนก โรงพยาบาลแมคคอร์มิค บริษัทไปรษณีย์ไทย กรมธนารักษ์ กรมประมง และกองทัพเรือ “นอกจากนี้ที่ประชุมเห็นชอบตั้งคณะอนุกรรมการการจัดงานดังกล่าว ซึ่งอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ (๖) แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นอนุกรรมการที่ปรึกษา อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธานอนุกรรมการ และผู้ช่วยอธิการบดีจุฬาลงกรณ์ มหาวิ ท ยาลั ย เป็ น อนุ ก รรมการและเลขานุ ก าร มี อ ำนาจหน้ า ที ่ จ ั ด เตรี ย มการรั บ เสด็ จ ฯ สมเด็ จ พระเทพรั ต นราชสุ ด าฯ

สยามบรมราชกุมารี พร้อมทั้งจัดเตรียมพื้นที่ในการจัดนิทรรศการให้เพียงพอและเหมาะสม ตลอดจนประสานหน่วยงาน

ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การจัดงานสัปดาห์แห่งการเฉลิมฉลอง ๑๒๐ ปี แห่งวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ดำเนินไปอย่างเรียบร้อย” รมว.ศธ. กล่าว

อนุสารอุดมศึกษา

3


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๕ - สำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา จัดการประชุมคณะกรรมการข้าราชการ พลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ครั้งที่ ๖/๒๕๕๕ โดยมีศาสตราจารย์สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุม ณ กระทรวง ศึ ก ษาธิ ก าร ทั ้ ง นี ้ นายอภิ ช าติ จี ร ะวุ ฒ ิ เลขาธิ ก าร

คณะกรรมการการอุดมศึกษา เปิดเผยหลังจากการประชุมว่า ในการประชุมครั้งนี้มีวาระเกี่ยวกับการแต่งตั้งกรรมการ ก.พ.อ. โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ลงนามในประกาศแต่งตั้ง กรรมการ ก.พ.อ. เพื่อทำหน้าที่เป็นกรรมการ ก.พ.อ.ตามมาตรา ๖๗ (๓) และ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนใน สถาบัน อุ ด มศึ ก ษา พ.ศ.๒๕๔๗ แทนตำแหน่งที่ค รบวาระ จำนวน ๔ ราย ได้ แ ก่ รองศาสตราจารย์ เปรื ่ อง กิ จ รั ตน์ ภร อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร นายสว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ศาสตราจารย์สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และรองศาสตราจารย์วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งนี้

ตั้งแต่วันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๕ เป็นต้นไป “นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบคุณสมบัติและผลงานทางวิชาการของผู้เสนอขอกำหนดตำแหน่งศาสตราจารย์ เพื่อนำ ความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ จำนวน ๗ ราย ได้แก่ ๑) รองศาสตราจารย์สุเมธ ศิริคุณโชติ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ในสาขาวิชากฎหมายภาษีอากร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๒) รองศาสตราจารย์ชยันต์ พิเชียรสุนทร ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ๓) รองศาสตราจารย์สมพร ศรีเฟื่องฟุ้ง ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาจุลชีววิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล ๔) รองศาสตราจารย์วสันต์ จันทรานิตย์ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาพยาธิวิทยาคลินิก มหาวิทยาลัยมหิดล ๕) รองศาสตราจารย์ศุขธิดา อุบล ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาจุลชีววิทยา (ไวรัสวิทยา) มหาวิทยาลัยมหิดล ๖) รองศาสตราจารย์พรทิพย์ ดีสมโชค ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ๗) รองศาสตราจารย์พลภัทร บุราคม ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ในสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พร้อมทั้ง ได้เห็นชอบสาระและความถูกต้องเหมาะสมของการพิจารณาอนุมัติกำหนดตำแหน่งศาสตราจารย์นิธิยา รัตนาปนนท์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท.๑๑ ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร” เลขาธิการ กกอ. กล่าว เลขาธิการ กกอ. กล่าวถึง กรรมการ ก.พ.อ. ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้มีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการ ก.พ.อ.ผู้ทรงคุณวุฒิ ๑๐ ราย ตาม มาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.๒๕๔๗ ตั้งแต่วันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๒ ซึ่งมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ ๓ ปีนั้น ได้ครบวาระการดำรงตำแหน่งแล้ว เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๕ จึงจำเป็นต้อง ดำเนินการให้ได้มาซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย ๘ ราย เพื่อนำเสนอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไป ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาแล้ว เห็นชอบให้ ก.พ.อ. ดำเนินการให้ได้มาซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน ๑๐ ราย โดยใช้วิธีการตามที่ ก.พ.อ. เคยกำหนดไว้เมื่อปี ๒๕๔๗ และ ๒๕๕๒ คือ กำหนดสาขาวิชาความรู้ ความเชี่ยวชาญของผู้ทรงคุณวุฒิ เพิ่มเติมจากมาตรา ๑๑ วรรคสองกำหนด อีก ๓ สาขาวิชา คือ วิชาทางด้าน มนุษยศาสตร์ สังคมคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

4

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

ก.พ.อ. กำหนดตำแหน่งสายงานจิ ต วิ ท ยาคลิ นิ ก เพิ่ม นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า จากการที่ ก.พ.อ.ได้กำหนดมาตรฐานกำหนด ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.๒๕๕๓ ซึ่งมีบัญชีมาตรฐานกำหนดตำแหน่งกลุ่มประเภทวิชาชีพเฉพาะไว้ ๑๘ กลุ่มสายงาน โดยไม่ได้กำหนดสายงานจิตวิทยาคลินิกไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งดังกล่าว ในขณะที่บางมหาวิทยาลัยได้มี ข้าราชการดำรงตำแหน่งนักจิตวิทยาคลินิกที่ปฏิบัติหน้าที่โดยใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการปฏิบัติงานด้านจิตวิทยา ตามมาตรฐานวิชาชีพจิตวิทยาคลินิกของสำนักงาน ก.พ. จำนวน ๗ ราย ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ๑ ราย มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ ๒ ราย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๑ ราย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ๑ ราย และมหาวิทยาลัยมหิดล ๒ ราย ดังนั้น ที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ครั้งที่ ๖/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๕ ได้พิจารณาแล้ว เห็นชอบกำหนดตำแหน่งสายงานจิตวิทยาคลินิก เพิ่มเติมอีก ๑ สายงาน โดยเทียบเคียงกับ มาตรฐานกำหนดตำแหน่งตามแบบของสำนักงาน ก.พ. และเห็นชอบให้ผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับชำนาญการขึ้นไปของสายงาน จิตวิทยาคลินิกซึ่งเป็นตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งด้วย

ก.พ.อ. แต่งตั้งอนุกรรมการจัดทำหลักเกณฑ์กลาง สำหรับพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เปิดเผยว่า จากการที่เครือข่ายพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา ได้ยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อขอให้จัดประชุมหารือ แนวทางปฏิบัติหรือหลักเกณฑ์กลางในการบริหารงานบุคคลสำหรับพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาอาชีพให้มี เกียรติศักดิ์ศรี มีความมั่นคง มีเงินเดือนและสวัสดิการที่ดี สามารถจูงใจคนที่มีความรู้ความสามารถและเป็นคนดีเข้ามาปฏิบัติ งานในมหาวิทยาลัย ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ดำเนินการประชุมหารือระหว่างผู้แทนที่ประชุมอธิการบดีแห่ง ประเทศไทย ผู้แทนที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ผู้แทนที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ ผู้แทน เครือข่ายพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา ผู้แทนสำนักงบประมาณและผู้แทนกรมบัญชีกลาง โดยได้ข้อสรุปว่า ควรมีการพิจารณา ในประเด็นเร่งด่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบสัญญาจ้าง ระบบค่าตอบแทน และระบบสวัสดิการ ทั้งนี้ เครือข่ายพนักงานมหาวิทยาลัย เห็นว่าควรมีการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำเกี่ยวกับระบบการจ้าง ค่าตอบแทนและสวัสดิการด้วย ดังนั้น ที่ประชุมคณะ กรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ครั้งที่ ๖/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๕ จึงได้พิจารณาเห็น ชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อจัดทำร่างแนวทางปฏิบัติหรือหลักเกณฑ์กลางในการบริหารงานบุคคลสำหรับ

พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา โดยมอบหมายให้นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธานอนุกรรมการ และให้สำนักงานคณะกรรมการ

การอุดมศึกษาเป็นเลขานุการ เพื่อกำหนดองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการ พร้อมทั้งให้ความเห็น ข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการจัดทำร่างพระราชบัญญัติพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ....หรือการปรับปรุงพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน ในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.๒๕๔๗

อนุสารอุดมศึกษา

5


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

สกอ. ร่วม กสท พัฒนาเครือข่ายการศึกษาแห่งชาติ ๔ กันยายน ๒๕๕๕ - สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จัดพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือเพื่อการสนับสนุนและ พัฒนาเครือข่ายสารสนเทศเพื่อการศึกษาและวิจัยระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ณ ห้องกรุงเทพ ๑ โรงแรม เซนทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว รองศาสตราจารย์กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการได้มอบให้สำนักงานคณะกรรรมการการอุดมศึกษาดำเนินการบูรณาการ เครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นเครือข่าย

การศึกษาแห่งชาติ หรือที่เรียกว่า ‘NEdNet’ โดยให้เครือข่าย UniNet หรือโครงการเครือข่าย สารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ดำเนินการ มาตั้งแต่ปี ๒๕๓๙ เป็นเครือข่ายแกนหลัก และขยายไปยังสถาบันการศึกษาในระดับ ต่างๆ ทั่วประเทศ ปัจจุบันจึงถือได้ว่าเครือข่าย NEdNet เป็นเครือข่ายการศึกษาวิจัยแห่ง เดียวที่มีการเชื่อมต่อและให้บริการสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ โดยถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ ภาครัฐต้องจัดให้บริการกับนักเรียน นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย รวมถึงบุคลากรทางการศึกษาในสถาบันการศึกษา และประชาชนทั่วไปที่ สนใจสามารถใช้บริการสถาบันการศึกษาต่างๆ “สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) มีความเห็นร่วมกันว่า เครือข่ายการศึกษา แห่งชาติถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญ เพื่อสนับสนุนการจัดการ และพัฒนาการศึกษาวิจัยของประเทศ

ดังนัน้ สกอ. และ กสท จะร่วมมือกันในการสนับสนุนและพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศเพือ่ การศึกษาและวิจยั และเครือข่ายการศึกษาแห่งชาติ (NEdNet) รวมทั้งพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารร่วมกัน เพื่อให้เครือข่ายมีความพร้อมและเหมาะสมสำหรับ

การศึกษาและวิจัย และเป็นเครือข่ายสารสนเทศเพื่อการศึกษาและวิจัยหลักของประเทศ จึงได้ทำบันทึกความร่วมมือ มีกำหนดระยะเวลา ๓ ปี นั บ แต่ ว ั นที ่ ๑ ตุ ล าคม ๒๕๕๕ ถึ ง วั นที ่ ๓๐ กั น ยายน ๒๕๕๘ โดย กสท ยิ นดี จ ะดำเนิ นการสนั บ สนุ นการให้ บ ริ ก ารระบบ โทรคมนาคม เพื่อสนับสนุนเครือข่ายการศึกษาแห่งชาติ (NEdNet) เป็นกรณีพิเศษ ในขณะที่ สกอ. จะดำเนินการบริหารจัดการและใช้ บริการระบบโทรคมนาคมที่ กสท จัดหาและให้การสนับสนุนกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานเพื่อการศึกษาวิจัย ทั้งนี้ สกอ. และ กสท จะร่วมมือกันในการศึกษาวิจัยและพัฒนาระบบการบริการโทรคมนาคม อาทิ การบริการ Cloud Computing, IPv6, Multicast พร้อมทั้ง

ร่วมมือกันพัฒนาเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านการศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผ่านโครงข่ายสื่อสารผ่านดาวเทียม CAT Channel ตลอดจนร่วมมือกันในการดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบการให้บริการเครือข่ายการศึกษาแห่งชาติ (NEdNet) และเครือข่ายของ กสท เพื่อร่วมใช้ทรัพยากรทั้งสองฝ่ายที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งถือเป็นการสนับสนุนการพัฒนาการศึกษา วิจัยของประเทศ เพื่อพร้อมรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนต่อไป” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว

6

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

สกอ. หารือปรับ ปฏิทินเปิดภาคการศึกษา ๑๑ กันยายน ๒๕๕๕ - สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จั ด ประชุ ม เรื ่ อ ง การปรั บ ปฏิ ท ิ น การเปิ ด ภาคการศึ ก ษา โดยมี ศาสตราจารย์สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน และมีผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น

พื ้ น ฐาน (สพฐ.) สำนั ก งานคณะกรรมการการอาชี ว ศึ ก ษา (สอศ.)

ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) คณะกรรมการอธิการบดี มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี ร าชมงคล (ทปอ.มทร.) ที ่ ป ระชุ ม อธิ ก ารบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.) สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่ง ประเทศไทย และประธานอนุกรรมการดำเนินการคัดเลือกบุคคลเข้า ศึ ก ษาต่ อ ในสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา เข้ า ร่ ว มประชุ ม ณ ศู น ย์ ป ฏิ บ ั ต ิ ก าร กระทรวงศึกษาธิการ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เปิดเผยภายหลังการ ประชุมว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้สนับสนุนมติที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ให้เลื่อนเปิด

ภาคเรียนตามอาเซียนรวมถึงสากล จากปัจจุบันไปเป็นช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน โดยเริ่มต้นในปีการศึกษา ๒๕๕๗ เพราะจะทำให้ เชื ่ อ มโยงระหว่ า งมหาวิ ท ยาลั ย ไทยกั บ สากลสะดวกขึ ้ น โดยเฉพาะในเรื ่ อ งการเที ย บโอนหน่ ว ยกิ ต

แต่ ทปอ.มรภ.ได้รายงานว่า มติที่ประชุม ทปอ.มรภ.ยืนยันที่จะไม่ขยับการเปิดภาคเรียน เนื่องจากตามผลการศึกษา วิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ๔๐ แห่ง พบว่าส่วนใหญ่ยังไม่ต้องการเลื่อนวันเปิดภาคเรียน เพราะจะทำให้วิถีชีวิตและ วัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงไป “ในขณะที่มติที่ประชุม ทปอ.มทร.ยินดีที่จะปรับการเปิดภาคเรียนหากมีการปรับทั้งระบบ เพราะ มทร.จะต้อง

เชื่อมโยงกับระดับอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษา อย่างไรก็ตามในส่วนของ สพฐ. ยังไม่ได้ให้ความเห็นและคิดว่าอาจไม่ จำเป็นต้องเลื่อน เพื่อให้นักเรียนมีเวลาในการเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัยมากขึ้น นอกจากนี้ที่ประชุมได้หารือ ประเด็ น โรงเรีย นสาธิต มหาวิทยาลัย ในสังกัด สกอ. ซึ ่ ง ต้ องพิ จารณาว่ า หาก สพฐ.ไม่ เ ลื ่ อนการเปิ ดภาคเรี ยนแล้ว โรงเรี ย นสาธิ ต จะไม่ เ ลื ่ อ นตาม สพฐ. หรื อ จะเลื ่ อ นตามมหาวิ ท ยาลั ย ซึ ่ ง ขณะนี ้ โรงเรี ย นสาธิ ต แห่ ง จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย กำลังศึกษาถึงข้อดีข้อเสีย รวมทั้งผลกระทบต่างๆ” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว นอกจากนี้ที่ประชุมได้หารือเรื่องการเลื่อนเปิด-ปิดภาคเรียนจะมีผลต่อระบบการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย อย่างไร เพราะระยะเปิด-ปิดภาคเรียนของโรงเรียนกับมหาวิทยาลัยจะมีความสัมพันธ์กัน ยิ่งมีช่องว่างเวลาที่ยาวนาน

ก็จะเกิดปัญหาการวิ่งรอกสอบเข้ามหาวิทยาลัยมากขึ้น ซึ่งการสอบแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายทั้งค่าพาหนะ ค่าที่พัก ค่าอาหาร ซึ่งที่ประชุมได้ยกตัวอย่าง กรณีมหาวิทยาลัยที่ไม่เลื่อนและเปิดภาคเรียนก่อน อาจมีจำนวนนักศึกษาสละสิทธิ์จำนวน มาก เมื่อสอบคัดเลือกเข้าในมหาวิทยาลัยอื่นที่เปิดภาคเรียนภายหลัง แม้จะจ่ายค่าเล่าเรียนไปแล้วก็ตาม นอกจากนี้ อาจส่งผลให้เกิดปัญหามหาวิทยาลัยบางแห่งจะเลื่อนรับนักศึกษาออกไปเรื่อยๆ กลายเป็นปัญหาในระบบการคัดเลือก เข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าควรมีข้อตกลงร่วมกันว่า จะพยายามลดการสอบให้เหลือน้อยที่สุด ทั้งนี้ สกอ.จะทำหนังสือถึง มหาวิทยาลัยทุกแห่งเพื่อขอทราบข้อมูลว่าในรอบปีของแต่ละมหาวิทยาลัย จะเปิดรับนักศึกษากี่ครั้งมีการสอบอะไรบ้าง เพื่อกำหนดการจัดสอบไม่ควรเกิน ๓ ครั้ง หรืออาจมาจัดสอบร่วมกันในลักษณะเดียวกับระบบสอบตรงร่วม (Clearing House) อนุสารอุดมศึกษา

7


เรื่องเล่าอาเซียน

โดย รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล

การเกิดประชาคมอาเซี ย น กับการศึ ก ษา ของประเทศไทย (๑๒) ช่วงเวลาจากนี้ไปประมาณ ๓ ปี ในปี พ.ศ.๒๕๕๘ หลายท่านคงทราบดีว่าเป็นช่วงเวลาที่ประชาคมอาเซียนจะเริ่มก่อตั้ง อย่างเป็นรูปเป็นร่างที่ชัดเจน ซึ่งการศึกษาจะมีบทบาทสำคัญในการสร้างประชาคมอาเซียน โดยในแผนงานการจัดตั้ง ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC Blueprint) ได้กำหนดให้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นเป้าหมายสำคัญอันดับ แรกในการเสริมสร้างวิถีชีวิตที่ดีของประชากรในภูมิภาค ด้วยการให้ความสำคัญกับการศึกษาและการสร้างโอกาสทางการ ศึกษา การลงทุนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการเรียนรู้ตลอดชีวิต การส่งเสริมการจ้างงานที่เหมาะสม การส่งเสริม เทคโนโลยีสารสนเทศ การอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงประยุกต์ สำหรับการเตรียมความพร้อมด้านการศึกษาของภาคส่วนอุดมศึกษา ในขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้มีการจัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์เพื่อเตรียมการรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนในอีก ๓ ปีข้างหน้า โดยได้มีการจัดทำ ยุทธศาสตร์ แนวทางการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนสำหรับการศึกษาในระดับอุดมศึกษา มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๑ ซึ่งยุทธศาสตร์ดังกล่าวได้มีการเผยแพร่ในวงกว้างไปยังสถาบันอุดมศึกษา ทั้งส่วนที่เป็นมหาวิทยาลัย สถาบัน วิทยาลัย ทั้งที่เป็นส่วนราชการ และสถาบันการศึกษาเอกชน เพื่อที่จะได้นำยุทธศาสตร์และแนวทางการเตรียมความพร้อมนี้ ไปสู่การปฏิบัติต่อไป และในหลายปีที่ผ่านมากิจกรรมสำหรับรองรับการเตรียมความพร้อมนี้ ได้มีการดำเนินการมาอย่าง

ต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ในเรื่องของอาเซียน ในระดับของนักศึกษา ครู อาจารย์ เจ้าหน้าที่ ในมหาวิทยาลัย โดยมีการจัดกิจกรรมต่างๆ อาทิ การแนะนำในเรื่องของการจัดเตรียมความรู้ในเรื่องอาเซียน การจัดทำหลักสูตรในเรื่องของ อาเซียนศึกษา ทั้งในระดับที่เป็นส่วนของปริญญาตรี จนกระทั่งถึงการเตรียมความพร้อมในบางสถาบันที่จะมีการจัดเตรียม การสอนในระดับของปริญญาเอก ทั้งนี้ ทางสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากำลังรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อจะนำ

เผยแพร่สู่สาธารณชนให้ทราบอย่างเป็นระบบต่อไป การเตรียมความพร้อมในส่วนของสถาบันอุดมศึกษาไม่ได้เตรียมความพร้อมในเรื่องของการจัดหลักสูตร การเตรียมพร้อม ในเรื่องของการให้ความรู้เท่านั้น ประเด็นที่สำคัญในปัจจุบัน คือ การเตรียมความพร้อมของบัณฑิตที่จะจบจากสถาบัน อุ ด มศึ ก ษาของรัฐและเอกชนต่อไป โดยจะต้อ งเตรี ย มความพร้ อ มของบั ณฑิ ต ที่ จ ะทำงานในอนาคตแบบสังคม

พหุวัฒนธรรม ในสังคมที่แตกต่างไปจากเดิม ในสังคมที่มีความหลากหลายของกลุ่มชนที่มาทำงานร่วม ในระยะเวลา ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้มีการสื่อสารข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ให้กับสถาบันต่างๆ ทราบอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ เนื่องจากการจัดทำหลักสูตร การจัดเตรียมความพร้อม ทั้งในส่วนที่เป็นบุคลากรของสถาบันการศึกษา ในส่วนที่เป็นนิสิต นักศึกษา และบัณฑิตที่จะจบออกไปจากสถาบันอุดมศึกษานั้น จะต้องได้รับความร่วมมือจากสถาบันการศึกษาในทุกระดับ

8

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องเล่าอาเซียน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาถึงแม้จะมีการจัดทำยุทธศาสตร์ การจัดทำแนวทาง แต่จะเป็นการจัดทำในลักษณะที่ เป็นการเตรียมความพร้อมและสนับสนุนในเชิงนโยบาย ซึ่งเท่าที่ผ่านมากิจกรรมต่างๆ ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ให้การสนับสนุน ได้แก่ การสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนนักศึกษา ทั้งในระดับปริญญาตรีหรือระดับที่สูงกว่า โดยมีการจัดทำ โครงการที่จะให้นักศึกษาได้มีโอกาสศึกษาในสถาบันการศึกษาในต่างประเทศในกรอบของอาเซียน เป็นระยะเวลา ๑ ภาคการ ศึกษา พร้อมกันนั้นก็มีการถ่ายโอนหน่วยกิตกลับมายังสถาบันการศึกษาในหลักสูตรที่ตัวเองศึกษาอยู่ด้วย การจัดโครงการใน ลักษณะนี้จะเป็นการช่วยส่งเสริมเพื่อที่จะให้นักศึกษาได้เห็นโลกที่กว้างขึ้นในบริบทของอาเซียน ไม่ใช่ในบริบทของประเทศไทย เท่านั้น ข้อมูลที่ได้กลับมาจากการที่นักศึกษาไปร่วมกิจกรรมเหล่านี้ล้วนแล้วแต่แสดงให้เห็นว่ากิจกรรมต่างๆ เหล่านี้เป็นประโยชน์ ไม่เฉพาะโดยตรงต่อนักศึกษาเท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์โดยตรงต่อสถาบันในเรื่องของการนำข้อมูลที่นักศึกษากลับมาแจ้งยัง สถาบันเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรต่างๆ ของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาในกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อ สถาบันการศึกษาจะได้มีการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้อง ทันสมัย และเป็นการเพิ่มคุณภาพให้กับบัณฑิตไทยที่จะจบออกไป นอกจากนี้นักศึกษาที่ได้ร่วมโครงการยังสามารถมีเครือข่ายเพื่อนที่เป็นนักศึกษาด้วยกันในเวทีของอาเซียนต่อไป ซึ่งจะช่วยให้

นักศึกษาสามารถทำงานในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีเพื่อนต่างประเทศ ทำให้สังคมในโลกของนักศึกษาแคบลง จน สามารถเชื่อมโยงกับนักศึกษาที่เป็นคนต่างชาติได้ดีขึ้น นี่คือประเด็นจุดสำคัญที่จะสร้างเยาวชนไทยรุ่นใหม่ให้เกิดภาวะความเป็น ผู้นำได้ เพราะว่าการที่เรียนรู้มากขึ้น การที่ได้เห็นสิ่งต่างๆ มากขึ้น จะทำให้บัณฑิตเหล่านี้มีแนวคิดที่กว้างไกลมากขึ้น มีเพื่อนที่อยู่ ต่างประเทศมากขึ้น การทำงานในอนาคตก็จะเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญที่สุดบุคคลเหล่านี้คืออนาคต คือผู้นำ ของประเทศในกลุ่มอาเซียนในอนาคตต่อไป สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษายังได้ผลักดันให้สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ให้มีการจัดทำหลักสูตรร่วม โดยเฉพาะกับ มหาวิทยาลัยในกลุ่มอาเซียน โดยจะมีการพัฒนาหลักสูตรเหล่านี้เพื่อเอื้อให้เกิดการเรียนการสอนข้ามมหาวิทยาลัย ข้ามประเทศ ต่อไปได้ การจัดทำหลักสูตรเหล่านี้จะช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถมีเครือข่ายของมหาวิทยาลัยที่ร่วมกันพัฒนาเชิงคุณภาพของ หลักสูตร ของอาจารย์ ของนักวิจัย ของนักศึกษาด้วยกัน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นอกจากการจัดทำหลักสูตรหรือโครงการต่างๆ แล้ว สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษายังมีกิจกรรม/โครงการที่จะเพิ่ม ทักษะการเรียนรู้เรื่องอาเซียนให้กับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการสนับสนุนการเรียนการสอนภาษาของ ประเทศเพื่อนบ้าน การสอนภาษาอังกฤษ การเรียนรู้วัฒนธรรมต่างๆ เพื่อให้บัณฑิตที่จบออกมาสามารถทำงานได้ในสังคม

พหุวัฒนธรรมที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ กิจกรรมเหล่านี้จะเป็นไปตามความต้องการ ตามวัตถุประสงค์ของ สถาบันการศึกษาต่างๆ ที่สามารถส่งโครงการเข้ามายังสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้พิจารณาในการให้การสนับสนุน ต่อไป การจัดกิจกรรมเหล่านี้เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อสอดคล้องกับบริบท ความต้องการของมหาวิทยาลัย ของพื้นที่อย่างแท้จริง

ไม่ได้เป็นการกำหนดกิจกรรมหรือโครงการไปจากส่วนกลาง เพราะฉะนั้นกิจกรรมเหล่านี้ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เห็นว่าน่าจะมีส่วนส่งเสริม สนับสนุน พัฒนากิจกรรมเพื่อส่งเสริมในเรื่องของการเรียนรู้เรื่องอาเซียนให้กับเยาวชน อาจารย์ และ บุคลากรของมหาวิทยาลัย อย่างเป็นระบบต่อไป สำหรับประเด็นเรื่องของคุณภาพ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษามีความร่วมมือใกล้ชิดกับกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับ อุดมศึกษาในกลุ่มประเทศอาเซียน ๑๐ ประเทศ โดยมีการประชุมอย่างไม่เป็นทางการที่เป็นประเทศคู่เจรจาอย่างต่อเนื่อง

ในปัจจุบัน ได้มีการจัดทำการประชุมอย่างไม่เป็นทางการในหลายประเทศ ซึ่งที่ผ่านมามีความก้าวหน้า มีการแลกเปลี่ยนบุคลากร เช่น ประเทศอินโดนีเซีย โดยกระทรวงศึกษา ในส่วนของอุดมศึกษาได้มีการส่งข้าราชการในสังกัดของอุดมศึกษามาดูงาน มาเรียน รู้การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย ได้มีการทำความรู้จัก เข้าใจกันเพื่อที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูล ความใกล้ชิดต่อไป ในอนาคต ในทำนองเดียวกันประเทศไทยก็ส่งบุคลากรในส่วนของอุดมศึกษาไปยังประเทศต่างๆ ในลักษณะเดียวกัน เพื่อให้เรียนรู้ ระบบ ทำความคุ้นเคย เชื่อว่าต่อไปในอนาคตการทำงานจะมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิด เป็นรูปธรรมมากขึ้น การดำเนินงานต่างๆ สำหรับการพัฒนาอุดมศึกษาในกรอบของอาเซียนก็จะเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่ผ่านมาการดำเนินงานในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้มีกิจกรรมอย่างหลากหลาย ครอบคลุมในทุก มิติ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะนำเผยแพร่อย่างเป็นระบบให้ทุกสถาบันได้เรียนรู้ซึ่งกันและกันว่า มีกิจกรรมอะไรบ้างที่ได้ดำเนินการไปและเกิดประโยชน์อย่างไร เพื่อร่วมกันพัฒนากิจกรรมในการเตรียมนิสิต นักศึกษา บัณฑิต และบุคลากรของไทย ก้าวสู่ประชาคมอาเซียนได้อย่างแข็งแกร่งต่อไป

อนุสารอุดมศึกษา

9


เรื่องพิเศษ

ผลการดำเนินงานของรัฐบาล

ด้านการศึกษา ครบรอบ ๑ ปี เมื่อวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๕ กระทรวงศึกษาธิการ จัดงานแถลงผลการดำเนินงานของรัฐบาลด้านการศึกษาครบรอบ

๑ ปี ‘๓๑ นโยบายหลักด้านการศึกษาของ ฯพณฯ ยิง่ ลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ภายใต้การบริหารของศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ’ ณ อาคารชาเลนเจอร์ ๑ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทอง ธานี โดยมีศาสตราจารย์สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายศักดา คงเพชร รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา พร้อมด้วยผู้บริหาร ข้าราชการ ครู และบุคลากรทางการศึกษา และ นักเรียน นักศึกษา เข้าร่วมงาน ‘อนุ ส ารอุ ด มศึ ก ษา’ ฉบั บ นี ้ มี ข ้ อ มู ล โดยสั ง เขปเกี ่ ย วกั บ ๓ นโยบายหลั ก ที ่ ส ำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา

รับผิดชอบ คือ นโยบายที่ ๙ กองทุนตัง้ ตัวได้ นโยบายที่ ๑๔ ทุนการศึกษาเพือ่ อนาคต (กรอ.) Income Contingent Loan นโยบายที่ ๑๕ ครูมืออาชีพ มาบอกเล่าให้ผู้อ่านทราบ

10

อนุสารอุดมศึกษา


นโยบายที่ ๙ กองทุนตั้งตัวได้ สื บ เนื ่ อ งจากคำแถลงนโยบายของรั ฐ บาล นางสาว

ยิ ่ ง ลั ก ษณ์ ชิ น วั ต ร เมื ่ อ วั น ที ่ ๒๓ สิ ง หาคม ๒๕๕๔

ข้อ ๑.๑๐.๓ ให้จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้ในวงเงินประมาณ ๑,๐๐๐ ล้ า นบาท ต่ อ สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาที ่ ร ่ ว มโครงการ สนับสนุนการสร้างผูป้ ระกอบการรายย่อย เพือ่ ให้สามารถกูย้ มื เพื ่ อ การสร้ า งอาชี พ ผนวกกั บ กลไกของ ‘หน่ ว ยบ่ ม เพาะ วิสาหกิจ’ ในสถานศึกษา โดยมุ่งให้เกิดวิสาหกิจนวัตกรรม ใหม่ที่จะเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จึงส่งผล ให้ในปีงบประมาณ ๒๕๕๕ สำนักงานคณะกรรมการการ อุ ด มศึ ก ษาได้ ส นั บ สนุ น หน่ ว ยบ่ ม เพาะวิ ส าหกิ จ ดำเนิ น โครงการพัฒนาและสร้างผู้ประกอบการ โดยใช้ความรู้ใน สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาเป็ นฐาน ซึ ่ ง เครื อ ข่ า ยหน่ ว ยบ่ ม เพาะ วิสาหกิจ ได้จัดหลักสูตรรวมทั้งสิ้น ๗๕ รุ่น โดยแบ่งเป็น ๒ รูปแบบ คือ หลักสูตร ก. การอบรมทักษะการประกอบอาชีพ ระยะสัน้ เบือ้ งต้นเชิงสร้างสรรค์ (๑๘ ชัว่ โมง) และ หลักสูตร ข. การอบรมและพั ฒ นาการประกอบการธุ ร กิ จ สำหรั บ

ผู้ประกอบอาชีพ (๓๐ ชั่วโมง และมีกิจกรรมให้คำปรึกษา ๖๐ ชั่วโมง) ซึ่งมีจำนวนผู้เข้ารับการอบรมรวม ๒,๗๗๐ คน นอกจากนี้เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่ใช้ กลไกของหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในการสร้างผู้ประกอบการ เพื่อส่งต่อเข้าระบบกองทุนตั้งตัวได้ สำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาจึงมีนโยบายสนับสนุนการจัดตัง้ หน่วยบ่มเพาะ แห่งใหม่เพิ่มเติมไม่น้อยกว่า ๔ แห่ง ซึ่งปรากฏว่ามีสถาบัน อุดมศึกษาทีส่ ง่ ข้อเสนอโครงการเพือ่ สมัครเข้ารับการพิจารณา จำนวน ๑๒ แห่ง โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการคัดเลือก

อนุสารอุดมศึกษา

11


เรื่องพิเศษ

คณะรั ฐ มนตรี ไ ด้ ม ี ม ติ เมื ่ อ วั น ที ่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕

เห็นชอบหลักการดำเนินการโครงการเงินกู้เพื่อการศึกษาที่ผูกกับ รายได้ในอนาคต เพื่อเป็นการสร้างโอกาสทางการศึกษา ลดข้อ จำกัดของการเข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษา ชั้นสูง อีกทั้งจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการสนับสนุนการผลิตและ พัฒนากำลังที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและ พลังขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ โดยให้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ภาค เรียนที่ ๑/๒๕๕๕ เป็นต้นไป ทั้งนี้ โครงการฯ ครอบคลุมเฉพาะ นั ก เรี ย น นั ก ศึ ก ษา ในระดั บ อุ ด มศึ ก ษาหรื อ เที ย บเท่ า เฉพาะ หลักสูตร/สาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลักและมีความชัดเจน ของการผลิตกำลังคน โดยผู้เข้าร่วมโครงการฯ ต้องเป็นนักเรียน/ นักศึกษารายใหม่ ที่มิใช่ผู้กู้ยืมรายเก่าของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อ การศึกษา (กยศ.) ยกเว้นกรณีผู้กู้ยืมรายเก่าของ กยศ.ที่เปลี่ยน ระดับจาก ม.๖ หรือเทียบเท่า เป็นระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่า ในปีการศึกษา ๒๕๕๕ โดยผู้กู้ยืมที่เปลี่ยนระดับนี้ อาจเลือกที่จะ กู้ยืม กยศ. หรือ เข้าร่วมโครงการฯ ก็ได้ ทั ้ ง นี ้ สำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาโดย

คณะทำงานพิจารณากำหนดหลักสูตร/สาขาที่เป็นความต้องการ หลักและมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคนได้กำหนดสาขาที่ เป็นความต้องการหลักและมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคน จำนวนทั้งสิ้น ๑,๐๐๕ สาขาวิชา ซึ่งประกอบด้วย สาขาวิชาตาม มติ ค ณะรั ฐ มนตรี ว ั น ที ่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ สาขาวิ ช าใน โครงการผลิตครูมืออาชีพ สาขาวิชาที่ปรากฏตามกรอบมาตรฐาน คุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา (TQF) เพื่อเป็นการสนับสนุนการศึกษา ซึ่งเมื่อจบมาแล้วมีศักยภาพในการมีงานทำ ซึ่งได้เปิดให้นักศึกษา ลงทะเบียนกู้ยืมเงินกองทุน กรอ. ในระบบ e-Studentloan ตั้งแต่ ๑ มิถุนายน ถึง ๑๔ กันยายน ๒๕๕๕ ที่ผ่านมา

นโยบายที่ ๑๔ ทุนการศึกษาเพื่ออนาคต (กรอ.) Income Contingent Loan

12

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องพิเศษ

นโยบายที่ ๑๕ ครูมืออาชีพ

คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ มี มติเห็นชอบให้ปรับเปลี่ยนชื่อโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่เป็นโครงการ ผลิตครูมืออาชีพ เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการที่ ต้องการผลิตครูมืออาชีพ ที่มีความรู้ทางวิชาการ เชี่ยวชาญวิชาชีพ และมีอุดมการณ์ในวิชาชีพครู ในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการของ

ผู้ใช้ และเมื่อสำเร็จการศึกษาตามเกณฑ์โครงการบรรจุเป็นข้าราชการ ครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา และเห็นชอบแต่งตั้งคณะกรรมการ ๒ ชุด ได้แก่ คณะกรรมการบริหารโครงการผลิตครูมืออาชีพ (รัฐมนตรี ว่ า การกระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารเป็ น ประธานกรรมการ) และคณะ กรรมการคัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิตและนักศึกษาทุนโครงการผลิตครู มืออาชีพ เพื่อทำหน้าที่บริหารโครงการให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ คณะกรรมการบริหารโครงการผลิตครูมืออาชีพ ซึ่งมีรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานกรรมการ ได้ให้นโยบายการ ดำเนินโครงการ โดยกำหนดเป้าหมายการรับนิสิต/นักศึกษาเข้าร่วม โครงการ ประมาณร้อยละ ๓๐ ของอัตรากำลังการบรรจุข้าราชการ

ครูและบุคลากรทางการศึกษาในตำแหน่งครูผู้ช่วยในแต่ละปี ของหน่วยงานที่จะบรรจุและผลิตในรูปแบบการประกันการมี งานทำ (ไม่มีทุนการศึกษาให้) เพียงรูปแบบเดียว และมอบให้ คณะกรรมการคั ด เลื อ กสถาบั น ฝ่ า ยผลิ ต และนั ก ศึ ก ษาทุ น โครงการผลิตครูมืออาชีพ เป็นผู้ดำเนินงานต่อไป โครงการผลิตครูมืออาชีพ มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตครูใน สาขาและพื้นที่ที่ขาดแคลนและจำเป็นต่อการจัดการศึกษาขั้น พื้นฐาน และอาชีวศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมทั้ง ผลิตครูมืออาชีพที่มีความรู้ทางวิชาการ เชี่ยวชาญทางวิชาชีพ และมีอุดมการณ์ในวิชาชีพครู ด้วยหลักสูตรและกระบวนการ ที่เน้นการปฏิบัติและการฝึกอบรมที่เข้มข้น

อนุสารอุดมศึกษา

13


พูดคุยเรื่องมาตรฐาน

แนวทางในการจัดทำ Curriculum Mapping (๒) ‘พูดคุยเรื่องมาตรฐาน’ ฉบับนี้ มานำเสนอแนวทางที่ดีในการจัดทำแผนที่การกระจายความรับผิดชอบในรายละเอียด ของหลักสูตร (มคอ.๒) ต่อจากฉบับที่แล้ว โดยฉบับนี้จะเป็นแนวทางในการจัดทำแผนที่กระจายความรับผิดชอบในช่วง

เริ่มต้นพัฒนาหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ แบบที่ ๒ แบบที่ไม่มีการบูรณาการมาตรฐานผลการเรียนรู้จากรายวิชา ต่างๆ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ แบบที่ ๒ แบบที่ไม่มีการบูรณาการมาตรฐานผลการเรียนรู้จากรายวิชาต่างๆ กรณีนี้ อาจารย์ผู้รับผิดชอบ หลักสูตรจะรับมาตรฐานผลการเรียนรู้จากรายวิชาในหมวดวิชาและจากคณะที่เป็นเจ้าของรายวิชาต่างๆ แล้วนำมารวบรวม เป็นมาตรฐานผลการเรียนรู้ในหลักสูตร โดยไม่มีการปรับปรุงใดๆ ในการเขียนมาตรฐานผลการเรียนรู้ควรเรียงมาตรฐาน ผลการเรียนรู้ในแต่ละด้านให้ครบถ้วนก่อนว่ามาจากหมวดใดบ้าง เพื่อให้เห็นความซ้ำซ้อน และจะเป็นประโยชน์ต่อการ ทบทวนมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่เป็นจุดเด่นของบัณฑิตในการปรับปรุงหลักสูตรครั้งต่อไป เพื่อให้เห็นจุดเด่นเฉพาะของ มาตรฐานผลการเรียนรู้ในหลักสูตร กรณีนี้ มาตรฐานผลการเรียนรู้ในหลักสูตร (มคอ.๒) จะเป็นแบบเดียวกับในรายวิชา

(มคอ.๓) ตัวอย่างเช่น หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มีมาตรฐานผลการเรียนรู้ด้านรวม ๖ ด้าน แต่แสดงตัวอย่างเฉพาะด้านคุณธรรม จริยธรรม ในบางรายวิชา ด้านคุณธรรม จริยธรรม

14

๑. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

๑. คุณธรรมค้ำจุนโลก เช่น พรหมวิหารธรรม ๔ สังคหวัตถุ ๔ ๒. คุณธรรม จริยธรรมเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน เช่น จริยธรรมของเวลา สิทธิและความรับผิดชอบของมนุษย์ ความเป็นธรรมระหว่างคนรุ่นปัจจุบันกับ คนรุ่นหลัง ความใจกว้าง และความอดทน ๓. คุณธรรม จริยธรรมของผู้นำที่มีหัวใจประชาธิปไตย และผู้นำที่หลากหลาย

๒. หมวดวิชาเฉพาะ ๒.๑ วิชาชีพครู

๔. คุณธรรม จริยธรรมสำหรับครู เช่น กัลยาณมิตรธรรม ๗ ๕. จรรยาบรรณวิชาชีพที่กำหนดโดยองค์กรวิชาชีพ คือ คุรุสภา

๒.๒ วิชาเอกการศึกษา ปฐมวัย

๖. มีคุณธรรม จริยธรรมสำหรับครูระดับการศึกษาปฐมวัย มีจรรยาบรรณของ วิชาชีพครูและค่านิยมที่พึงประสงค์ ๗. ยอมรั บ ในคุ ณค่ า ของความแตกต่ า งหลากหลาย สามารถนำความรู ้ ท าง

คุณธรรม จริยธรรมสำหรับครูระดับการศึกษาปฐมวัยไปใช้ในการดำรงชีวิต และประกอบวิชาชีพ

อนุสารอุดมศึกษา


พูดคุยเรื่องมาตรฐาน แผนที่การกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้สู่รายวิชา (ยกตัวอย่างเฉพาะด้านคุณธรรม จริยธรรม) ● รับผิดชอบหลัก ○ รับผิดชอบรอง รายวิชา ๑. หมวดศึกษาทั่วไป ๑.๑ รายวิชาตามข้อกำหนดของมหาวิทยาลัย ๑.๑.๑ กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ ๑.๒ รายวิชาตามข้อกำหนดของคณะ ๑.๒.๑ รายวิชาบังคับ ๒๗๑๙๑๑๑ วิชาภาษาไทย ๒๗๓๖๒๑๐ วิชาสุนทรีนิยม ๒. หมวดวิชาแกน (วิชาชีพครู) ๒.๑ รายวิชาบังคับของคณะ ๒๗๕๙๒๑๔ จิตวิทยาพื้นฐานการศึกษา ๒๗๑๗๓๐๒ นวัตกรรมการสอนและการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ๒๗๑๖๓๐๒ การออกแบบและการจัดการเรียนการสอน ๒.๒ วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย ๒๗๑๗๑๑๑ วัฒนธรรมและการเล่นในการศึกษาปฐมวัย ๒๗๑๗๒๒๑ การศึกษาปฐมวัย

คุณธรรม จริยธรรม ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ●

อย่างไรก็ตาม กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา หรือ TQF มีเป้าหมายสูงสุด คือ การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ซึ่งเป็นการคุ้มครองผู้เรียนให้ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพที่พึงได้รับ และเป็นการประกันคุณภาพผู้เรียนให้แก่สังคม โดย สกอ. เป็นผู้ส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษา ผู้ใช้บัณฑิต และองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) มาร่วมกันดำเนินการวิจัยเพื่อ กำหนดมาตรฐานการจัดหลักสูตร การเรียนการสอนในสาขาต่างๆ ซึ่งจะเป็นมาตรฐานเชิงวิชาการที่ทัดเทียมกับสากลและ เอื้อให้เกิดความสะดวกต่อการเคลื่อนย้ายของนักศึกษาเพื่อการศึกษาต่อ การเทียบโอนหน่วยกิต ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอด ชีวิต และการรับรองคุณวุฒิซึ่งกันและกัน

อนุสารอุดมศึกษา

15


เรื่องแนะนำ

โครงการค่ายเรียนรู้และเผยแพร่โครงการพระราชดำริ ‘อนุสารอุดมศึกษา’ ฉบับนี้ มีโครงการค่ายเรียนรู้และเผยแพร่โครงการพระราชดำริ ซึ่งเป็นโครงการที่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้น้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่จะพัฒนา ความเป็นอยู่ของราษฎรให้เกิดความ "พออยู่ พอกิน” โดยทรงใช้พระอัจฉริยภาพในด้านต่างๆ พระราชทานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อประโยชน์สุขแก่ทุกชีวิตในประเทศไทยตลอดมา การดำเนินงานในโครงการอันเนื่อง มาจากพระราชดำริ นอกจากการฟื้นฟู พัฒนา และส่งเสริมความอยู่ดีกินดีแก่ราษฎรแล้ว อีกหนึ่งแนวทางการดำเนิน การที่สำคัญ คือ การสร้างรากฐานความรู้ การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ คุณธรรมและจริยธรรม นำความ รอบรู้อย่างเท่าทัน มีสุขภาวะที่ดี อยู่ในครอบครัวที่อบอุ่น ชุมชนที่เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ มีความมั่นคงใน การดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีภายใต้ดุลยภาพของความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ดังนั้น เพื่อให้แนวพระราชดำริและหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สามารถถ่ายทอดไปสู่ นิสิตนักศึกษา ซึ่งเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่จะมีส่วนช่วยในการสานต่อแนวพระราชดำริให้บังเกิดความยั่งยืน และเพื่อ สร้างกระบวนการเรียนรู้ที่มีความต่อเนื่อง สามารถนำผลสำเร็จของโครงการไปประยุกต์ปฏิบัติได้จริง ทั้งต่อการศึกษา และการดำรงชีวิตในสังคม สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จึงเห็นสมควรจัดให้มีการดำเนินงานโครงการ กิจกรรมนิสิตนักศึกษาในลักษณะ ‘ค่ายเรียนรู้’ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการต่อยอดขยายผลการเรียนรู้เกี่ยวกับหลักการ ทรงงาน รวมถึงพระราชกรณียกิจ และพระราชดำริที่ได้พระราชทานความช่วยเหลือผ่านโครงการอันเนื่องมาจาก

พระราชดำริในพื้นที่ต่างๆ โดยกิจกรรมจะประกอบไปด้วยการให้ความรู้เชิงบูรณาการ ผสมผสานการเรียนรู้และปฏิบัติ จากพื้นที่จริง อันเป็นพื้นฐานสำคัญของแต่ละชุมชนและองค์ความรู้หรือศาสตร์เฉพาะในแต่ละสาขาที่นำไปสู่ความสุข ความเข้มแข็งของชุมชนแต่ละแห่ง โดยใช้ชื่อกิจกรรมนี้ว่า ‘ค่ายเรียนรู้และเผยแพร่โครงการพระราชดำริ’ โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตนักศึกษาได้รับประสบการณ์ตรงและเรียนรู้จากการไปสัมผัสหรือ ปฏิบัติงานจริง (Activity Based Learning) ในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และสร้างนิสิตนักศึกษารุ่นใหม่ที่จะ สืบสานและน้อมนำพระราชดำริและหลักการทรงงานไปใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง สามารถบูรณาการไปสู่การ พัฒนาชุมชนและสังคมต่อไป พร้อมทั้งเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับชุมชน ในการเป็นแหล่ง เรียนรู้ที่สัมผัสได้ของนิสิตนักศึกษา เป็นห้องทดลองหรือห้องเรียนมีชีวิตของสถาบันอุดมศึกษา ตลอดจนเผยแพร่ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและหลักการทรงงาน สู่นิสิตนักศึกษา สังคม และชุมชนต่างๆ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย เป็นนิสิตนักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จำนวน ๓๐๐ คน จาก กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือ รับผิดชอบโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาในเขตภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ รับผิดชอบโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาในเขตภาคใต้ รับผิดชอบโดย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาในเขตภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก รับผิดชอบ โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อให้ผู้นำนิสิตนักศึกษาได้เรียนรู้ควบคู่ไปกับการทดลองปฏิบัติในพื้นที่จริง สำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาจึงกำหนดเป้าหมายดำเนินการในพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งของ ‘ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ’ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ อาทิ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา ศูนย์ศึกษาการ พัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย จังหวัดเพชรบุรี ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน จังหวัดสกลนคร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง จังหวัด นราธิวาส ซึ่งแต่ละศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ จะมีสภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นตัวแทนของแต่ละภูมิภาค และมีศูนย์สาขาเพื่อ ทำการศึกษาเป็นการเฉพาะเรื่อง

16

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องแนะนำ

โครงการค่ายเรียนรู้และเผยแพร่โครงการพระราชดำริ จะดำเนินกิจกรรมในลักษณะ ‘ค่ายเรียนรู้’ มีการพัก ค้างในชุมชน/พื้นที่ เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์การอยู่ค่าย และประสบการณ์การทำงานร่วมกัน โดยมีรายละเอียดของ กิจกรรม ตั้งแต่ การปฐมนิเทศ ในภาพรวมของโครงการ กิจกรรมที่นักศึกษาจะได้รับ และข้อควรปฏิบัติ เช่น การ ปฏิบัติตัวของนิสิตนักศึกษา การให้เกียรติสถานที่ ฯลฯ การบรรยายพิเศษ เรื่อง ‘รู้งานสืบสานพระราชดำริ’ เพื่อ แนะนำทำความรู ้ จ ั ก บทบาทของสำนั ก งานคณะกรรมการพิ เศษเพื ่ อ ประสานงานโครงการอั น เนื ่ อ งมาจาก

พระราชดำริ (กปร.) พระราชกรณียกิจ หลักการทรงงาน และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่สำคัญ และ เรือ่ ง ‘บุคคลแห่งแรงบันดาลใจ’ เพือ่ ให้นสิ ติ นักศึกษาได้รบั ฟังประสบการณ์ และมุมมองของวิทยากรพิเศษทีม่ ชี อ่ื เสียง ที่น้อมนำแนวพระราชดำริมาใช้จนประสบผลสำเร็จหรือเป็นตัวอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิต ในรูปแบบของการ สัมภาษณ์ พูดคุยสนทนา แบบเป็นกันเอง การบรรยายเชิงประจักษ์ แนะนำความรู้เกี่ยวกับแนวพระราชดำริ

ผลสำเร็จ และการขยายผลไปสู่ราษฎร จากศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริในแต่ละภูมิภาค ตลอดจนกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้นิสิตนักศึกษาได้สัมผัสและเรียนรู้วิถีชีวิตและการทำงานของผู้ที่ น้อมนำแนวพระราชดำริมาใช้ในการดำเนินชีวิตจนประสบผลสำเร็จ มีชีวิตที่พอเพียงและมีความสุขอย่างแท้จริง โดยมีกิจกรรมย่อย อาทิ กิจกรรมการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง กิจกรรมเรียนรู้และลงมือปฏิบัติในพื้นที่การเกษตรจริง กิจกรรม ‘ภัตตาคารบ้านป่า’ ทั้งนี้ กิจกรรมที่จัดให้แก่นิสิตนักศึกษาจะเน้นการส่งเสริมให้นิสิตนักศึกษาได้

แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและอาจมีกิจกรรมในลักษณะที่ให้นิสิตนักศึกษาร่วมคิดร่วมทำ สามารถนำความรู้ที่ค้นพบ ไปประยุกต์ปฏิบัติให้เห็นผล และเผยแพร่ขยายผลต่อในชุมชน ในสถาบัน และต่อสังคมในวงกว้าง การจัดโครงการครั้งนี้จะใช้ระยะเวลาในการจัดกิจกรรมทั้งในภาคทฤษฎี ดูงานจากพื้นที่จริง เรียนรู้จากการ ปฏิบัติ และสรุปรายงาน ไม่น้อยกว่า ๘ วัน โดยสถาบันอุดมศึกษาสามารถเริ่มจัดกิจกรรมได้ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม - ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ หลังจากนั้นนิสิตนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการจะต้องสรุปผล ได้แก่ การศึกษาเรียนรู้ การ สำรวจและสังเกตชุมชน/สถานที่ต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จ หรือสัมภาษณ์บุคคลที่น้อมนำแนวพระราชดำริมาใช้ จนประสบผลสำเร็จ หรือเป็นตัวอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตอยู่บนหลักความพอดี พอประมาณ และมีเหตุมีผลตาม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำข้อมูลมาจัดทำเอกสารสรุปผลการดำเนินงานโครงการ กลุ่ม/พื้นที่ละ ๑ เล่ม

โดยจัดทำเป็นรูปเล่มนำส่งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จำนวน ๑ เล่ม พร้อม CD Rom ๑ แผ่น และ จัดทำเอกสารเพื่อมอบให้หน่วยงานในพื้นที่ องค์กร ชุมชน และห้องสมุดของสถาบันไว้ศึกษาต่อไป จากรูปแบบกิจกรรมภายใต้โครงการค่ายเรียนรู้และเผยแพร่โครงการพระราชดำริที่สำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษากำหนดขึ้นนั้น มีความคาดหวังให้นิสิตนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ ได้เรียนรู้พระราชดำริ พระราช กรณี ย กิ จ หลั ก การทรงงาน ตลอดจนความรู ้ เนื ้ อ หา และทั ก ษะ จากศู น ย์ ศ ึ ก ษาการพั ฒ นาอั น เนื ่ อ งมาจาก

พระราชดำริ และสามารถนำไปถ่ายทอดหรือประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต และเผยแพร่พระราชกรณียกิจให้เป็นที่ ประจักษ์ต่อไป พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับชุมชน ในการสืบสานงาน

พระราชดำริเพิ่มขึ้น

อนุสารอุดมศึกษา

17


เหตุการณ์เล่าเรื่อง

หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ : เส้นทางสู่การเป็นผู้ประกอบการ

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ริเริ่ม และส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาจัดตั้งหน่วยบ่มเพาะ วิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (University Business Incubator) หรื อ ที ่ เรี ย กกั น สั ้ น ๆ ว่ า ‘UBI’ ตั ้ ง แต่ ป ี ๒๕๔๗ โดยมี ว ั ต ถุ ป ระสงค์ เพื ่ อ ให้ เ กิ ด การเชื ่ อ มต่ อ

องค์ความรู้และเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยของสถาบัน อุดมศึกษากับโลกธุรกิจ สร้างวงจรรายได้ผลประโยชน์ กลับสูส่ ถาบันอุดมศึกษา และสร้างผลสัมฤทธิส์ เู่ ป้าหมาย การพัฒนาขีดความสามารถเชิงการแข่งขันของประเทศ โดยใช้ความรู้เป็นฐาน โดยหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจใน สถาบันอุดมศึกษาจะทำหน้าที่บ่มเพาะนิสิตนักศึกษา ศิษย์เก่า คณาจารย์ ตลอดจนผู้ประกอบธุรกิจรายย่อย ให้เป็นผู้ประกอบการใหม่ (New Entrepreneurs) และ ยกระดับเป็นบริษทั เต็มรูปในอนาคต (Startup Companies)

18

อนุสารอุดมศึกษา


เหตุการณ์เล่าเรื่อง

ปั จจุ บั น มี ห น่ ว ย UBI ทั ้ ง หมดจำนวน ๕๖ แห่ ง กระจายอยู ่ ใ นสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาทั ่ ว ทุ ก ภูมิภาคของประเทศ มีผู้ประกอบการใหม่เข้ารับ การบ่มเพาะ จำนวน ๒๑๙ ราย ผลการดำเนิน งานสามารถพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการที่ได้ มาตรฐาน จำนวน ๑๕๘ ราย มีผู้ประกอบการที่ สามารถยกระดั บ เป็ น บริ ษ ั ท เต็ ม รู ป ในอนาคต จำนวน ๖๖ ราย สถิติในช่วงปี ๒๕๕๓ - ๒๕๕๔ แสดงให้ เ ห็ น ว่ า ผู ้ ป ระกอบการในหน่ ว ย UBI ทั้งหมดสามารถสร้างรายได้รวม ๑๑๒.๒๗ ล้าน บาท มีการจ้างงาน มากกว่า ๑,๔๐๐ คน ก่อ ให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศมากกว่า ๓๕๐ ล้านบาท ทั้งนี้ สกอ. กำหนดเป้าหมายจะ จัดตั้งหน่วย UBI ใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี ๆ ละไม่น้อย กว่า ๔ แห่ง โดยจะพัฒนาผู้ประกอบการใหม่เพิ่ม อีกไม่น้อยกว่าปีละ ๕๐ ราย ภายใต้เป้าหมาย สร้างรายได้รวมไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ล้านบาท เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕ สำนักงาน คณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาจั ด นิ ท รรศการ ‘หน่ ว ยบ่ ม เพาะวิ ส าหกิ จ : เส้ นทางสู ่ ก ารเป็ น

ผู้ประกอบการ’ ณ ฮอลล์ ๓ อิมแพ็ค เมืองทอง ธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีแสดงผลงาน ของหน่วย UBI และเปิดโอกาสให้นักศึกษาและ ประชาชนได้ ท ราบถึ ง ช่ อ งทางการเป็ น เจ้ า ของ ธุ ร กิ จ ซึ ่ ง กระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารได้ จ ั ด เตรี ย ม

แหล่ ง ทุ น ในการพั ฒ นาต่ อ ยอดธุ ร กิ จ ให้ แ ก่ น ิ ส ิ ต

น ั ก ศ ึ ก ษ า ใน ส ถ า บ ั นก า ร ศ ึ ก ษ า ท ั ้ ง ร ะ ด ั บ อาชีวศึกษาและอุดมศึกษา ทั้งนี้ กิจกรรมในงาน ประกอบด้ ว ย นิ ท รรศการแสดงความเป็ น มา กระบวนการบ่มเพาะ และผลการดำเนินงานของ ‘หน่วย UBI ในสถาบันอุดมศึกษา’ รวมทั้งการจัด แสดงผลิตภัณฑ์และบริการธุรกิจต่าง ๆ ที่ผ่านการ

บ่มเพาะ จากหน่วย UBI จำนวน ๑๒๐ รายการ นอกจากนี้ยังมีการเสวนา เรื่อง ‘หนูอยากได้ตังค์ ทำธุรกิจ’ ซึง่ ได้รบั เกียรติจากคุณโอฬาร ไชยประวัติ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีเป็นผู้ร่วมเสวนา เกมโชว์ ‘UBI ตีแตก’ และ ‘คลินิกธุรกิจ’ เพื่อให้คำปรึกษา ในการประกอบธุรกิจ

อนุสารอุดมศึกษา

19


เหตุการณ์เล่าเรื่อง

นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวในการเปิดนิทรรศการ ว่า สำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษาและหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา ได้มีผลงานการสร้างผู้ประกอบ การรุ่นใหม่จากโครงการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษาที่มีจำนวนไม่น้อย และได้สร้างรายได้ให้กับ ประชาชนและประเทศชาติเป็นจำนวนเงินที่น่าพอใจ ทั้งนี้ ต้องถือเป็นความภาคภูมิใจของกระทรวงศึกษาธิการที่ ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนา และส่งเสริมนักศึกษาและบัณฑิตในการก้าวเข้าสู่โลกธุรกิจอย่างมั่นคง และสร้าง โอกาสในการสร้างงานด้วยตนเอง “นักศึกษา บัณฑิต และผู้ประกอบการที่มาร่วมงานในวันนี้ ล้วนเป็นประชาชนที่ควรได้รับการสนับสนุนใน การประกอบธุรกิจเพื่อจะทำให้เกิดรายได้ทั้งต่อตนเอง ต่อครอบครัว และต่อสังคมประเทศชาติ ซึ่งสำนักงาน

คณะกรรมการการอุดมศึกษามุ่งมั่นที่จะดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนให้นักศึกษา บัณฑิต และศิษย์เก่ามีศักยภาพ ในการเป็นผู้ประกอบการ เพื่อพึ่งพาตนเองได้อย่างมีคุณภาพ มีความเป็นอยู่ที่ดี มีรายได้ดี สังคมดี เพื่อส่งผลกับ ประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองตลอดไป” เลขาธิการ กกอ. กล่าว เลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า ในปีงบประมาณ ๒๕๕๖ รัฐบาลได้จัดเตรียมแหล่งทุนในการพัฒนาต่อยอด ธุรกิจให้แก่นิสิตนักศึกษาในสถาบันการศึกษาทั้งระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา รวมทั้งบัณฑิตที่จบแล้วไม่เกิน ๕ ปี ถ้ามีไอเดียทางธุรกิจ โดยเฉพาะแนวคิดแบบ Innovation หรือ Creative ก็สามารถเข้ามาใช้ประโยชน์จาก กองทุนได้ ซึ่งนิสิตนักศึกษาและบัณฑิตสามารถเข้าถึงกองทุนนี้ได้ โดยผ่านช่องทางการบ่มเพาะวิสาหกิจใน สถาบันอุดมศึกษา ที่รัฐบาลเล็งเห็นว่ามีวัตถุประสงค์และศักยภาพในการสร้างนิสิตนักศึกษาให้เป็นผู้ประกอบการ รุ่นใหม่ รวมทั้งพัฒนาผู้ประกอบการเดิมให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการส่งเสริม

ให้เกิดการสร้างผู้ประกอบการรายย่อยรุ่นใหม่ และรายย่อยรายเดิมให้เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อการพัฒนา ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ “แหล่งทุนที่รัฐบาลจัดเตรียมไว้สำหรับส่งเสริมการสร้างผู้ประกอบการใหม่ ใช้ชื่อว่า ‘กองทุนตั้งตัวได้’ ซึ่งได้ รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว และขณะนี้อยู่ระหว่างการรอประกาศระเบียบกองทุน กองทุนนี้จะเป็น

กองทุนทีจ่ ะนำมาช่วยส่งเสริมการประกอบธุรกิจของผูป้ ระกอบการรุน่ ใหม่ เมือ่ ระเบียบประกาศใช้แล้ว จะมีการจัดตัง้ สำนักงานกองทุน ซึ่งจะได้ทราบรายละเอียดในโอกาสต่อไป ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและ หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษาจะเป็นกลไกส่งเสริมสนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ และ อยากให้เติบโตเป็นผูป้ ระกอบการขนาดใหญ่ มีศกั ยภาพสูง เพือ่ เป้าหมายของการเพิม่ ขีดความสามารถในการแข่งขัน ของประเทศต่อไป” เลขาธิการ กกอ. กล่าวในตอนท้าย

20

อนุสารอุดมศึกษา


เล่าเรื่องด้วยภาพ

๕ กันยายน ๒๕๕๕ - ศาสตราจารย์สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงานแถลงผลการ ดำเนินงานของรัฐบาลด้านการศึกษาครบรอบ ๑ ปี ‘๓๑ นโยบายหลักด้านการศึกษา ของ ฯพณฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ภายใต้ การบริหารของศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ’ โดยมีนายศักดา คงเพชร รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการ การอุ ด มศึ ก ษา นายชิ น ภั ท ร ภู ม ิ ร ั ต น เลขาธิ ก ารคณะกรรมการการศึ ก ษาขั ้ น พื ้ นฐาน รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ก ำจร ตติ ย กวี

รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา พร้อมด้วยผู้บริหาร ข้าราชการ ครู และบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนนักศึกษา เข้าร่วม งานณ อาคารชาเลนเจอร์ ๑ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี

๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๕ - นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา เป็ น ประธานมอบโอวาทแก่ บ ุ ค ลากรใหม่ ใ นวิ ท ยาลั ย ชุมชน ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร

อนุสารอุดมศึกษา

21


เล่าเรื่องด้วยภาพ ๗ กั น ยายน ๒๕๕๕ - รองศาสตราจารย์

นายแพทย์ ก ำจร ตติ ย กวี รองเลขาธิ ก ารคณะ กรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานเปิดการสัมมนา โครงการติดตามและประเมินผลโครงการให้ความช่วย เหลื อ ฟื ้ น ฟู เยี ย วยาผู ้ ไ ด้ ร ั บ ผลกระทบจาก สถานการณ์ อ ุ ท กภั ย ปี ง บประมาณ พ.ศ.๒๕๕๔ ๒๕๕๕ และโครงการป้ อ งกั น ปั ญ หาอุ ท กภั ย ต้ นน้ ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ณ โรงแรมแกรนด์ ทาวน์เวอร์ อินน์

๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๕ - นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เข้าร่วมพิธีนำนักเรียนทุนเข้าร่วม โครงการ ๑ อำเภอ ๑ ทุน รุ่นที่ ๓ เข้าคารวะและรับโอวาทจากศาสตราจารย์สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ก่อนเดินทางไปศึกษาต่อทั้งในและต่างประเทศ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๕ - นายสุภัทร จำปาทอง ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา เป็นประธานในพิธีประดับเข็ม ‘ติดปีกสู่ความสำเร็จ’ แก่นักศึกษาชั้นปีที่ ๒ สาขาวิชาธุรกิจการบิน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม โดยมีนางรัชนีพร พุคยาภรณ์ พุกกะมาน อธิการบดี พร้อมด้วยคณบดีคณะศิลปศาสตร์ และคณะผู้บริหารของ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ร่วมเป็นเกียรติในพิธีประดับปีก ณ ห้องออดิทอเรียม อาคาร ๔๐ปี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

22

อนุสารอุดมศึกษา


เล่าเรื่องด้วยภาพ

๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๕ - นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ ผู้ตรวจราชการ กระทรวง ศึกษาธิการ พร้อมด้วยผู้บริหาร ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ สำนักงานคณะกรรมการการ อุ ด มศึ ก ษา ร่ ว มทอดผ้ า ป่ า สามั ค คี ณ วั ด ไร่ ม ะม่ ว ง(พระราชดำรั ส ) ดอนขุ น ห้ ว ย จ.เพชรบุรี ๗ กั น ยายน ๒๕๕๕ - สำนั ก งาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดโครงการ พั ฒ นาคุ ณ ภาพชี ว ิ ต เพื ่ อ ส่ ง เสริ ม ความรู ้ ความเข้ า ใจด้ า นคุ ณธรรมและจริ ย ธรรม ข้าราชการ สกอ. ในหัวข้อ ‘ธรรมะกับการ ทำงาน’ ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน บรรยายธรรมโดย พระครูวินัยธ รวิ เชี ย ร วชิ ร ธั ม โม ผู ้ ช ่ ว ยเจ้ า อาวาสวั ด ประยูรวงศาวาส

๑๒ กันยายน ๒๕๕๕ - สำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา โดยโครงการศูนย์ประมวลสารสนเทศอุดมศึกษา เพื่อบริการประชาชน (Call Center) จัดประชุมให้ความรู้ สร้างความเข้าใจแนะนำระบบการให้บริการของ CONTACT CENTER แก่ บ ุ ค ลากรของสำนั ก งานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา ที่รับผิดชอบด้านฐานข้อมูล ด้านการบริหาร จัดการข้อมูล ด้านการจัดทำข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศ อุ ด มศึ ก ษาทางเว็ บ ไซด์ ข องสำนั ก งานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา ณ โรงแรม พูลแมน คิงส์พาวเวอร์ อนุสารอุดมศึกษา

23



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.