อนุสารอุดมศึกษา issue 451

Page 1


สารบัญ

CONTENT

๓ เรื่องเล่าอุดมศึกษา ๖ เรื่องเล่าอาเซียน ๗ เรื่องพิเศษ ๑๓ เรื่องแนะน�ำ ๑๗ เหตุการณ์เล่าเรื่อง ๒๒ เล่าเรื่องด้วยภาพ

- มหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น - WUNCA ครั้งที่ ๓๒

- กฎบัตรเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน

- ‘นบน. ๑’ จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง ‘งานกิจการนักศึกษา’

๒๑

- มหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยระดับโลก (๑) - ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาคนใหม่ - ‘กันเกราเกมส์’ กีฬาปัญญาชนไทย

๒๓

คณะผู้จัดท�ำ

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๒๖ http://www.mua.go.th pr_mua@mua.go.th www.facebook.com/ohecthailand www.twitter.com/ohec_th ที่ปรึกษา นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม นายขจร จิตสุขุมมงคล นางอรสา ภาววิมล บรรณาธิการ นายกฤษณ์กร วงศ์ไทย กองบรรณาธิการ นางสาวปิยาณี วิริยานนท์ นางชุลีกร กิตติก้อง นายเจษฎา วณิชชากร นางปราณี ชื่นอารมณ์ นายจรัส เล็กเกาะทวด พิมพ์ท ี่ บริษัท เอกพิมพ์ไท จ�ำกัด โทรศัพท์ : ๐ ๒๘๘๘ ๘๑๕๒ , ๐ ๒๘๘๘ ๘๑๒๑ , ๐ ๒๘๘๘ ๘๔๘๖ โทรสาร : ๐ ๒๘๘๘ ๘๑๒๐


เรื่องเล่า

อุดมศึกษา

มหาวิทยาลัย

เพื่อพัฒนาท้องถิ่น

๒๑ ธั น วาคม ๒๕๕๘ - ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา โดยส�ำนักบริหารโครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัย วิจัยแห่งชาติ ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จัดประชุมวิชาการ เรื่อง ‘ความหลากหลายทางชีวภาพ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น : บูรณาการ ความรู้สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ครั้งที่ ๔’ ระหว่างวันที่ ๒๑ - ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๘ ณ หอประชุ ม ใหญ่ มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ เชี ย งราย โดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ น�ำเสนอองค์ความรูแ้ ละผลงานวิจยั ทีไ่ ด้รบั การสนับสนุนทุนวิจยั ในปีงบประมาณ ๒๕๕๘ และโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัย ในปีงบประมาณ ๒๕๕๙ เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การจัดการทรัพยากรท้องถิ่น รวมถึง พัฒนานักวิจัยในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากนางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานเปิดการประชุม และบรรยายพิเศษ นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า ผลจากการด�ำเนินงานอย่างเป็นระบบในการพัฒนา นักวิจัยของกลุ่มความหลากหลายทางชีวภาพ ท�ำให้มีการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการงานวิจัย และสร้างองค์ความรู้ใหม่ เพื่อการ พัฒนาท้องถิ่น ตามศักยภาพและสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของแต่ละมหาวิทยาลัยโดยการมีส่วนร่วมกับชุมชนในรูปแบบสหวิทยาการ เช่น การบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอนและภูมิปัญญาท้องถิ่น เกิดนวัตกรรมแหล่งเรียนรู้ทั้งในมหาวิทยาลัยและในชุมชน หนังสือ ต�ำรา สื่อการสอน ผลิตภัณฑ์จากฐานทรัพยากรในท้องถิ่น ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ต้นแบบการบริหารจัดการงานวิจัยระดับประเทศของกลุ่ม วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ และเกิดเครือข่ายศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพที่ท�ำงานในรูปแบบเครือข่ายขององค์กรในท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการพัฒนาท้องถิ่นที่เป็นรูปธรรม ดังนั้น การจัดประชุมครั้งนี้จึงเป็นเวทีให้นักวิจัยได้น�ำเสนอผลงานและผู้ทรงคุณวุฒิช่วยวิพากษ์

3


และให้คำ� แนะน�ำเพือ่ ให้งานวิจยั มีคณ ุ ภาพ เป็นเวทีแลกเปลีย่ นเรียนรู้ ร่วมกัน และมีการน�ำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบนิทรรศการ รวมทั้ง คัดเลือกงานวิจัยที่มีคุณภาพดีมากไปน�ำเสนอในการประชุมใหญ่ โครงการส่งเสริมงานวิจยั ในอุดมศึกษา ครัง้ ที่ ๔ (HERP Congress IV) ทีม่ หาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ในวันที่ ๘ - ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ เลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า จากการรายงานผลการ พัฒนานักวิจยั ของกลุม่ ความหลากหลายทางชีวภาพของมหาวิทยาลัย ราชภัฏ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และสถาบันเทคโนโลยี ปทุมวัน รวม ๕๐ แห่ง ที่ด�ำเนินการอย่างเป็นระบบ เกิดการพัฒนา นักวิจัยทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ จนเกิดเป็นเครือข่ายศูนย์วิจัย ความหลากหลายทางชีวภาพ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยในปี ๒๕๕๘ จัดตั้งศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพขึ้น ใน ๑๔ มหาวิทยาลัย และจะด�ำเนินการลงนามความร่วมมือทาง การวิจยั เพือ่ ให้เกิดระบบวิจยั เครือข่ายวิจยั แบบบูรณาการ ข้ามศาสตร์ ข้ า มมหาวิ ท ยาลั ย ทั้ ง มหาวิ ท ยาลั ย ในกลุ ่ ม มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน และ มหาวิทยาลัยของรัฐ โดยผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาของ แต่ละมหาวิทยาลัยต้องท�ำงานสัมพันธ์กับคณะต่างๆ รวมทั้งประสาน กับศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพของมหาวิทยาลัยอย่างใกล้ชิด ซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนที่ส�ำคัญ ท�ำให้ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยเข้าใจ และให้การสนับสนุนทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งจะน�ำไปสู่การพัฒนา การเรียนการสอนการวิจัย และการบริการวิชาการของอาจารย์อย่าง มีประสิทธิภาพ “ส� ำ หรั บ แนวทางการสนั บ สนุ น งานวิ จั ย ในระยะที่ ๒ ปีงบประมาณ ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔ จะมีการจัดสรรงบประมาณอย่าง ต่อเนื่อง เพราะการบริหารจัดการทุนวิจัยของมหาวิทยาลัยกลุ่มนี้ เน้นเชื่อมโยงกับท้องถิ่น เนื่องจากสถาบันเหล่านี้เป็น ‘มหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาท้องถิ่น’ เป็นการสร้างเครือข่ายวิจัยและท�ำงานวิจัยเป็น กลุ่มแบบบูรณาการระหว่างสถาบันกับชุมชน ควรมีการแต่งตั้งคณะ กรรมการก�ำกับทิศทาง (steering committee) ก�ำหนดนโยบาย ให้ชัดเจนในการจัดสรรงบประมาณ การสนับสนุนงบประมาณอย่าง ต่ อ เนื่ อ ง มี ก ารก� ำ หนดคลั ส เตอร์ ด ้ า นเศรษฐกิ จ สั ง คมบนฐาน ความหลากหลายทางชีวภาพ ครอบคลุม ๓ กลุ่มบูรณาการเดิม จัดให้มีผู้ประสานงานระดับภูมิภาค ระดับประเทศ เพื่อเป็นพี่เลี้ยง คอยติดตาม ประเมินผล และให้ค�ำปรึกษาแก่นักวิจัยอย่างใกล้ชิด รวดเร็ว และท�ำงานร่วมกับชุมชน องค์การบริหารส่วนต�ำบล องค์การ บริหารส่วนจังหวัด และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพืน้ ที่ จัดระบบ เครือข่ายการพัฒนานักวิจัยรุ่นเก่า และรุ่นใหม่ เพื่อเป็นเวทีวิชาการ ข้ามศาสตร์ ข้ามสถาบัน เป็นพลังขับเคลื่อนที่ส�ำคัญของมหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาท้องถิ่นอย่างแท้จริง” เลขาธิการ กกอ. กล่าว

4

ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาได้ ด� ำ เนิ น การ โครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัย แห่งชาติ เพื่อสนับสนุนการพัฒนามหาวิทยาลัยไปสู่ความก้าวหน้า ทางวิชาการ ตัง้ แต่ปงี บประมาณ ๒๕๕๔ ภายใต้การบริหารจัดการของ ส� ำ นั ก บริ ห ารโครงการส่ ง เสริ ม การวิ จั ย ในอุ ด มศึ ก ษาและพั ฒ นา มหาวิ ท ยาลั ย วิ จั ย แห่ ง ชาติ โดยมี ศ าสตราจารย์ เ กี ย รติ คุ ณ วิ ชั ย บุญแสง เป็นผู้อ�ำนวยการ ศาสตราจารย์เกียรติคุณวิสุทธิ์ ใบไม้ เป็ น รองผู ้ อ� ำ นวยการ และรั บ ผิ ด ชอบชุ ด โครงการวิ จั ย กลุ ่ ม ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนา ชุมชนท้องถิ่นและพัฒนาชาติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นการค้นหาความรู้ความเข้าใจในชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งการ อนุ รั ก ษ์ แ ละใช้ ป ระโยชน์ จ ากทรั พ ยากรธรรมชาติ ดิ น -น�้ ำ -ป่ า ความหลากหลายทางชี ว ภาพ วั ฒ นธรรมและภู มิ ป ั ญ ญาท้ อ งถิ่ น เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง คณะท� ำ งานชุ ด โครงการวิ จั ย ความหลากหลายทาง ชี ว ภาพได้ ท� ำ การถอดบทเรี ย นการบริ ห ารจั ด การงานวิ จั ย จาก ข้อมูลและประสบการณ์ตลอดระยะเวลา ๔ ปี (๒๕๕๔ - ๒๕๕๗) ที่ผ่านมา เพื่อสะท้อนปัญหาและแนวทางแก้ไขส�ำหรับการบริหาร จั ด การโครงการวิ จั ย ให้ เ กิ ด ผลดี ยิ่ ง ขึ้ น และจั ด ประชุ ม วิ ช าการ ‘ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น: บูรณาการ องค์ ค วามรู ้ สู ่ ก ารพั ฒ นาท้ อ งถิ่ น อย่ า งยั่ ง ยื น ’ ต่ อ เนื่ อ งกั น ทุ ก ปี โดยเริ่มการประชุมวิชาการ ชุดโครงการวิจัยความหลากหลายทาง ชี ว ภาพ ครั้ ง ที่ ๑ ด� ำ เนิ น การโดยมหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ เชี ย งราย ครั้ ง ที่ ๒ ด� ำ เนิ น การโดยมหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ นครศรี ธ รรมราช ครั้งที่ ๓ ด�ำเนินการโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และ ครั้งที่ ๔ ด�ำเนินการโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย อนุสาร


เรื่องเล่า

อุดมศึกษา

WUNCA ครั้งที่ ๓๒ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๙ - ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จัดการประชุมเชิง ปฏิบัติการ ‘การด�ำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อ พัฒนาการศึกษา หรือ WUNCA ครั้งที่ ๓๒’ ระหว่างวันที่ ๒๐ - ๒๒ มกราคม ๒๕๕๙ ณ อาคารเรียนรวม ๑ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี สุรนารี จังหวัดนครราชสีมา โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ ก�ำหนดแนวทางใน การด�ำเนินกิจกรรมบนเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet) พร้อมทั้งให้สมาชิกของเครือข่าย UniNet จ�ำนวนกว่า ๑๐,๐๐๐ แห่ง ได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบเครือข่ายระหว่างกลุ่มสมาชิก รวมถึงรับทราบข้อมูลการ ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี เครือข่าย Hardware and Software ซึ่งจะได้น�ำไปปรับปรุงระบบ เครือข่าย และการพัฒนาสารสนเทศภายในของหน่วยงานที่ดูแลอยู่ ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิชาญ เลิศวิภาตระกูล ผู้อ�ำนวยการ ส�ำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา กล่าวถึง การประชุมเชิงปฏิบัติการ ‘การด�ำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่าย สารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา หรือ WUNCA ครั้งที่ ๓๒’ ว่า การประชุมครั้งนี้เป็นนิมิตหมายอันดีที่ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ

ระดับสูงของสถาบันอุดมศึกษาจะได้ร่วมกันระดมความคิดเห็นและ ให้ข้อเสนอแนะทิศทางของการพัฒนาเครือข่ายเพื่อการศึกษาวิจัย ของ UniNet ให้สอดคล้องตามความต้องการของสถาบันอุดมศึกษา เพื่ อ ใช้ ป ระโยชน์ ไ ด้ ต รงวั ต ถุ ป ระสงค์ แ ละมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพมากขึ้ น นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมส�ำคัญที่ต่อเนื่องจาก WUNCA ครั้งที่ ๓๑ ซึ่ง UniNet ได้ร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาเครือข่ายเทคโนโลยี สารสนเทศเพื่อการศึกษาวิจัยด้าน Future Internet ด�ำเนินโครงการ ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพการให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้รองรับ IPv6 ตามแผนปฏิบัติการเพื่อผลักดัน ส่งเสริม เร่งรัด ติดตามผล การด�ำเนินงาน IPv6 ในประเทศไทย และได้มอบรางวัลเกียรติคุณ ให้กบั สถาบันอุดมศึกษาไปแล้ว ๑๕ แห่ง โดยในปีนมี้ สี ถาบันอุดมศึกษา ทั้ ง รั ฐ และเอกชนที่ ส ามารถพั ฒ นาเครื อ ข่ า ยอิ น เทอร์ เ น็ ต พื้ น ฐาน ที่รองรับ IPv6 เป็นไปตามเกณฑ์ ทั้งสิ้น ๒๖ แห่ง “การประชุมเชิงปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของ สมาชิกเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษาเป็นการแลกเปลี่ยน ข้อมูล ประสบการณ์ ในการดูแลระบบและบริหารจัดการเครือข่าย ที่จะต้องใช้งานร่วมกัน ซึ่งนอกจากการได้แลกเปลี่ยนข้อมูลแล้วยัง จะเป็นโอกาสอันดีที่บุคลากรผู้ปฏิบัติหน้าที่จะได้มีโอกาสรับรู้ข้อมูล เกีย่ วกับเทคโนโลยีเครือข่ายใหม่ๆ รวมทัง้ การรวมกลุม่ กับเพือ่ นสมาชิก เพื่อท�ำการศึกษาและวิจัย และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการสนับสนุนการศึกษาและยังเป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ให้สามารถท�ำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ” ผศ.วิชาญ กล่าว

5


เรื่องเล่า

อาเซียน

กฎบัตรเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในฐานะหน่วยงาน ที่ดูแลรับผิดชอบส�ำนักงานเลขานุการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะท�ำงานเฉพาะกิจเพื่อพิจารณา แก้ไขกฎบัตรเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน ครั้งที่ ๓ (The 3rd Task Force Meeting on AUN Charter Revision) เมือ่ วันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๙ ณ โรงแรมปทุมวันปริน้ เซส กรุงเทพฯ โดยมีรองศาสตราจารย์ ศรีสมร สิทธิราชวงศา ปลัดกระทรวงการศึกษาและกีฬา สาธารณรัฐ ประชาธิ ป ไตยประชาชนลาว และประธานที่ ป ระชุ ม เจ้ า หน้ า ที่ อาวุโสด้านการศึกษาของอาเซียน เป็นประธานการประชุม และ นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวต้อนรับและเข้าร่วมประชุม ทั้งนี้ มีผู้แทนเจ้าหน้าที่อาวุโส ด้านการศึกษาของอาเซียนจากประเทศบรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ลาว และไทย ผู้แทนส�ำนักเลขาธิการอาเซียน ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ของไทย และผู้แทนส�ำนักงานเลขานุการเครือข่ายมหาวิทยาลัย อาเซียนเข้าร่วมการประชุม

6

การประชุมครัง้ นีเ้ ป็นผลสืบเนือ่ งจากการประชุมคณะท�ำงาน เฉพาะกิจเพื่อพิจารณาแก้ไขกฎบัตรเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ โดยที่ประชุมได้น�ำประเด็น เนื้อหาของกฎบัตรเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนในบางประเด็น ที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนและซับซ้อนมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อให้ได้ กฎบัตรเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนที่มีเนื้อหาที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ครอบคลุมเนื้อหาในทุกด้าน และเอื้อประโยชน์ต่อการเสริมสร้าง ความร่วมมือและสานประโยชน์ต่อการอุดมศึกษาในภูมิภาคอาเซียน อย่างแท้จริง ส�ำหรับการด�ำเนินการต่อไป ส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาร่วมกับส�ำนักงานเลขานุการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน และกระทรวงศึกษาธิการ จะได้ผลักดันกฎบัตรเครือข่ายมหาวิทยาลัย อาเซียนฉบับแก้ไขเข้าสู่กระบวนการตามขั้นตอนเพื่อการรับรองและ น�ำไปสู่การบังคับใช้ต่อไป

อนุสาร


เรื่อง

พิเศษ

ต้นของการเปลี่ยนแปลง ‘นบน. ๑’จุดเริ่ม‘งานกิ จการนักศึกษา’ ‘งานกิจการนักศึกษา’ เป็นกระบวนการหนึง่ ในการจัดการศึกษาทีม่ บี ทบาทส�ำคัญในการเสริมสร้าง คุณลักษณะบัณฑิตให้มสี มรรถนะ ที่พึงประสงค์ โดยมีคุณลักษณะทั้งด้านความรู้ สมรรถนะ และทักษะชีวิต เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการท�ำงาน การใช้ชีวิตเพื่อการ อยูร่ ว่ มกันภายใต้สถานการณ์ใหม่ ซึง่ ในสถานการณ์ปจั จุบนั ถือเป็นช่วงรอยต่อของการเปลีย่ นแปลง ‘งานกิจการนักศึกษา’ ทีม่ คี วามจ�ำเป็น ต้องปรับตัวและเตรียมการทั้งในด้านการวางยุทธศาสตร์การพัฒนา การก�ำหนดโครงสร้างการด�ำเนินงาน การพัฒนาปัจจัยพื้นฐานทาง การบริหาร การแสวงหาพันธมิตรและสร้างเครือข่ายสนับสนุน เพือ่ ให้พร้อมรับมือกับสถานการณ์การเปลีย่ นแปลง และให้การด�ำเนินงาน สามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ จึงเป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่หน่วยงานกิจการนักศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้จัดโครงการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา หลักสูตรนักบริหารระดับสูงด้าน กิจการนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อสร้างจุดเริ่มต้นของการพัฒนานักบริหารกิจการนักศึกษาระดับสูงในสถาบันอุดมศึกษาน�ำไปสู่ การเสริมสร้างความเข้มแข็งในการด�ำเนินงานด้านกิจการนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาโดยรวม และส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต ตามความมุ่งหวังต่อไปในอนาคต ‘นบน. ๑’ หรือ โครงการพัฒนาผูบ้ ริหารสถาบันอุดมศึกษา หลักสูตรนักบริหารระดับสูงด้านกิจการนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา รุน่ ที่ ๑ ได้จดั ขึน้ ในช่วงเดือนธันวาคม ๒๕๕๘ โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ เสริมสร้างและพัฒนาแนวคิด ความรู้ ความเข้าใจ สมรรถนะ เพือ่ การ บริหารงานกิจการนักศึกษาแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ ให้สามารถวางแนวทางการบริหารงานกิจการนักศึกษาเพื่อสนองตอบต่อทิศทางการ พัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตทีพ่ งึ ประสงค์ ทัง้ ในปัจจุบนั และอนาคต โดยหลักสูตรมีจดุ เน้นทีม่ งุ่ การเสริมสร้างวิสยั ทัศน์ แนวคิด มุมมองอนาคต ใน ๔ ประเด็น ส�ำคัญ ซึ่งผู้บริหารกิจการนักศึกษาจ�ำเป็นต้องทราบ ประกอบด้วย (๑) ความเข้าใจในบริบทของงานกิจการนักศึกษา และ ประเด็นการด�ำเนินงานอนาคต (๒) การเสริมสร้างวิสัยทัศน์และประสบการณ์ด้านการบริหารกิจการนักศึกษา (๓) การเรียนรู้ลักษณะ นักศึกษายุคใหม่ และแนวทางการบริหารจัดการ (๔) การจัดท�ำแผนยุทธศาสตร์ด้านกิจการนักศึกษา

7


เรื่องพิเศษ

เพื่ อ ให้ ห ลั ก สู ต รสามารถตอบโจทย์ ใ นการ พัฒนาแนวคิด ความรู้ ความเข้าใจ สมรรถนะ เพือ่ การบริหาร งานกิจการนักศึกษาแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ องค์ประกอบ ของหลักสูตร จึงประกอบด้วย ๕ ชุดวิชา (Module) ได้แก่ (๑) บริบทการจัดการศึกษา ศตวรรษที่ ๒๑ และแนวคิด การบริหารกิจการนักศึกษา (๒) การพัฒนาวิสัยทัศน์การ บริหารกิจการนักศึกษา (๓) ลักษณะนักศึกษายุคใหม่กับ มุมมองเพื่อการบริหารกิจการนักศึกษา (๔) ทักษะเพื่อการ บริหารงานกิจการนักศึกษาเชิงรุก และ (๕) ประสบการณ์ และการประยุกต์ใช้เพื่อการบริหาร ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมโครงการ ‘นบน. ๑’ ได้มีโอกาสศึกษาดูงานที่ The Hong Kong University of Science and Technology (HKUST) และ The Chinese University of Hong Kong (CUHK) ณ เขตบริ ห ารพิ เ ศษฮ่ อ งกง สาธารณรั ฐ ประชาชนจี น โดยมีนายขจร จิตสุขุมมงคล รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา เป็นหัวหน้าคณะ ซึ่งส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาคาดหวังว่าผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับการเสริมสร้างวิสัยทัศน์ ประสบการณ์ และมุมมองใหม่ๆ ด้านการบริหารกิจการนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา รวมทัง้ ได้สร้างเครือข่ายความร่วมมือ เพือ่ สนับสนุน การบริหารงานด้านกิจการนักศึกษากับสถาบันอุดมศึกษาในระดับนานาชาติ ประเด็นส�ำคัญ หลังจากสิ้นสุดโครงการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา หลักสูตรนักบริหารระดับสูงด้านกิจการนักศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษา รุ่นที่ ๑ ผู้เข้าร่วมโครงการ หรือ ‘สมาชิก นบน. ๑’ ได้มีโอกาสน�ำเสนอผลงานการเรียนรู้และแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น ‘ยุทธศาสตร์การบริหารกิจการนักศึกษา’ ให้ผู้บริหารด้านกิจการนักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษา ทั่วประเทศรับฟังและให้ ข้อคิดเห็น พร้อมทั้งสรุปประสบการณ์และการประยุกต์ใช้เพื่อการบริหาร ดังบทความ เรื่อง “THAILAND CHANGE” กลยุทธ์การ พัฒนานักศึกษาไทยสู่ความเป็นพลเมืองโลก ๓๖๐º โดย ดร.พีรยา หาญพงศ์พันธุ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัย กรุงเทพ ซึ่งเป็นบทสรุปในภาพรวมของ ‘สมาชิก นบน. ๑’ ที่ ‘อนุสารอุดมศึกษา’ ได้ขออนุญาตน�ำมาเผยแพร่ให้ผู้อ่านทราบโดยทั่วกัน

8

อนุสาร


เรื่อง

พิเศษ

“THAILAND CHANGE”

กลยุทธ์การพัฒนานักศึกษาไทยสู่ความเป็นพลเมืองโลก ๓๖๐

ดร.พีรยา หาญพงศ์พันธุ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

9


เรื่องพิเศษ บทน�ำ

ในยุคแห่งการก้าวสู่ศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งเต็มไปด้วยกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและทางคมนาคม ส่งผลให้เกิดพลวัตทางสังคมและวัฒนธรรม ที่เต็มไปด้วยความซับซ้อนและความหลากหลาย สถาบันอุดมศึกษาจึงจ�ำเป็นต้องร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียจากหลายภาคส่วนในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยอย่างสม�่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อให้ได้มา ซึง่ บัณฑิตทีม่ สี มรรถนะและขีดความสามารถพร้อมทีจ่ ะก้าวสูเ่ วทีการท�ำงานและการแข่งขันในประชาคมโลก ได้อย่างมีคุณภาพ ทั้งนี้ สถาบันอุดมศึกษาต้องมุ่งเน้นการเสริมสร้างทุนทางปัญญาและภูมิคุ้มกันทาง ปัญญาเป็นส�ำคัญ ด้วยการบ่มเพาะทักษะความสามารถทั้งด้านวิชาการ (Hard Skills) และด้านคน และสังคม (Soft Skills) ให้เป็นผู้ที่มีความรอบรู้เชิงลึกในสาขาวิชาเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่และสามารถ น�ำไปต่อยอดสู่การพัฒนานวัตกรรมได้ และมีความรอบรู้เชิงกว้างจากการบูรณาการองค์ความรู้ของ ศาสตร์และศิลป์แขนงต่างๆ ที่มีความแตกต่างที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน การบูรณาการดังกล่าวท�ำให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้แบบองค์รวม เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ รู้เท่าทัน รู้จักแยกแยะสิ่งที่เป็นประโยชน์และโทษ รูร้ บั ผิดชอบชัว่ ดี ซึง่ น�ำไปสูค่ วามมีจติ ใจอันดีงาม เอือ้ เฟือ้ เผือ่ แผ่ และสามารถปฏิบตั ติ นให้เกิดประโยชน์สงู สุด ทั้งต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ การเสริมสร้างทุนและภูมคิ มุ้ กันทางปัญญาภายใต้บริบทการเปลีย่ นแปลงทางสังคม วัฒนธรรม และ สิง่ แวดล้อมอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้งานทางด้านกิจการนักศึกษาทีถ่ อื ได้วา่ เป็นกระบวนการหนึง่ ในการจัดการ การศึกษาทีม่ บี ทบาทส�ำคัญในการเสริมสร้างคุณลักษณะบัณฑิตส�ำหรับศตวรรษที่ ๒๑ ทีพ่ งึ ประสงค์ดงั กล่าว ต้องปรับตัว ยกระดับคุณภาพ และเตรียมความพร้อมในการเสริมสร้างคุณลักษณะบัณฑิตให้มีสมรรถนะ ที่พึงประสงค์สามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ปัจจัยส�ำคัญอย่างยิ่งต่อการปรับตัวเพื่อยกระดับคุณภาพงาน ด้านกิจการนักศึกษา คือ การปรับชุดความคิด (Mindset) กระบวนทัศน์ (Paradigm) ทักษะด้านคนและ สังคม (Soft Skills) ของผู้บริหารในสายงานกิจการนักศึกษา ในการท�ำงานร่วมกันกับหน่วยงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

10

อนุสาร


เรื่อง

พิเศษ

THAILAND CHANGE :

การเปลี่ยนผ่านสู่กระบวนทัศน์ ใหม่ ของการบริหารงานกิจการนักศึกษา

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยส�ำนักส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพนักศึกษา ได้เล็งเห็นถึงความส�ำคัญในประเด็น ดั ง กล่ า ว จึ ง ได้ ริ เ ริ่ ม โครงการพั ฒ นาผู ้ บ ริ ห ารสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา หลักสูตรนักบริหารระดับสูงด้านกิจการนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (นบน. ๑) โดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์เพื่อเสริม สร้างและพัฒนาแนวคิ ด ความรู้ ความเข้าใจ สมรรถนะ เพื่อการบริหารงานกิจการนักศึกษา แก่ผทู้ เี่ ข้าร่วมโครงการ ให้สามารถวางแนวทางการบริหารงานกิจการ นักศึกษาเพือ่ สนองตอบต่อทิศทางการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตทีพ่ งึ ประสงค์ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตลอดระยะเวลาของการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้บริหาร ระดับสูงด้านกิจการนักศึกษาจากหลากหลายสถาบัน ในการวาง แนวทางการบริหารงานกิจการนักศึกษาเพื่อตอบสนองต่อทิศทาง การพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตส�ำหรับศตวรรษที่ ๒๑ สู่ความเป็น พลเมืองโลก ผ่าน ๕ ชุดวิชาหลัก คือ (๑) บริบททางการจัดการศึกษา ศตวรรษที่ ๒๑ และแนวคิดการบริหารกิจการนักศึกษา (๒) การพัฒนา วิสยั ทัศน์การบริหารกิจการนักศึกษา (๓) ลักษณะของนักศึกษายุคใหม่ กับมุมมองเพื่อการบริหารกิจการนักศึกษา (๔) ทักษะเพื่อการบริหาร งานกิจการนักศึกษาเชิงรุก และ (๕) ประสบการณ์และการประยุกต์ใช้

เพื่อการบริหาร สมาชิก นบน. ๑ ได้เสนอแนะแนวทางการเตรียม ความพร้อมและติดอาวุธให้กับนักศึกษาสู่ความเป็นพลเมืองโลก ภายใต้แนวคิด THAILAND CHANGE ซึ่งมีสาระส�ำคัญที่น�ำไปสู่ แนวทางปฏิบัติ ดังนี้ (๑) ก�ำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) ว่าด้วยการผลิตบัณฑิตไทย ทีม่ คี วามเป็นพลเมืองโลก ๓๖๐º (360º Global Citizen) มีภมู คิ มุ้ กัน ทางปัญญา มีความเป็นผู้น�ำในสังคมโลก รู้จักความรับผิดชอบร่วม ในการธ�ำรงรักษาโลก สังคม และชุมชนอย่างสันติสุข รู้จักเคารพ ความเป็นมนุษย์ เคารพผู้อื่น เคารพความหลากหลาย สามารถเรียนรู้ และอยู่ได้บนความแตกต่างและความหลากหลาย และมีศักยภาพ อันเป็นที่ต้องการในอันดับต้นๆ ของบรรดาอุตสาหกรรมชั้นน�ำต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ (๒) การยกระดับจากงานบริการและงานกิจการนักศึกษา (Student Service) ไปสูก่ ารกระบวนการสร้างคุณค่าและประสบการณ์ ในความพลเมืองโลกและความเป็นมืออาชีพที่แท้จริงให้กับนักศึกษา (Student Experience) (๓) การก�ำหนดกรอบการสร้างต้นทุนของความเป็นบัณฑิต ไทยสู่ความเป็นพลเมืองโลก ๓๖๐º ภายใต้แนวคิด THAILAND CHANGE ซึ่งประกอบด้วย ๑๔ คุณลักษณะ โดยมีคุณลักษณะ ความเป็นไทย (THAILAND –Trust, Hospitality, Adaptability, Innovation, Lifestyle, Allegiance, Newness, Diversity) เป็นต้นทุน พื้นฐานในการพัฒนาต่อยอดสู่คุณลักษณะของความเป็นพลเมืองโลก (CHANGE – Creativity, Holistic Outlook, Appreciation of Life, Network, Glocalization, Entrepreneurship)

11


เรื่องพิเศษ

(๔) การก�ำหนดกรอบแนวคิด (Student Experience Framework) และค่านิยมร่วมของสถาบัน (Core Values) ในการพัฒนา ศักยภาพของนักศึกษาสู่ความเป็นพลเมืองโลก โดยน�ำคุณลักษณะ ทั้ง ๑๔ ลักษณะมาจัดกลุ่มการพัฒนา 6Hs -- Head, Hands, Heart, Harmony, Habit, High Performance คือ การใช้สมองคิดให้ดีใน การท�ำงาน การใช้มือท�ำให้เต็มที่ร่วมมือกับทุกคน การมีใจรักงาน การท� ำ งานด้ ว ยหั ว ใจ การมีความสมานสามัคคีแ ละมีพฤติ ก รรม นิสัยที่ดีอยู่ในวินัยอันดีงาม และการมีผลประกอบการที่เป็นเลิศ ตามรายละเอียด ดังนี้ ขั้นที่ ๑ HEAD : Newness, Innovation, Creativity ขั้นที่ ๒ HANDS : Adaptability, Glocalization, Entrepreneurship ขั้นที่ ๓ HEART : Trust, Hospitality, Happiness & Holistic Outlook ขั้นที่ ๔ HABIT : Healthy Lifestyle, Appreciation of Life, Social Engagement Accountability ขัน้ ที่ ๕ HARMONY : Allegiance, Diversity, Networking ขั้นที่ ๖ HIGHT PERFORMANCE : Innovation, Entrepreneurship

12

(๕) การก�ำหนดโครงสร้างการบริหารจัดการและการด�ำเนิน งานอย่างชัดเจน บนพื้นฐานของท�ำงานเชิงบูรณาการร่วมกันระหว่าง ฝ่ายวิชาการและฝ่ายกิจการนักศึกษา และการท�ำงานให้เป็นไปใน ทิศทางเดียว เพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกัน ซึ่งเน้นการบริหารจัดการ ใน ๓ รูปแบบ คือ Integrated Management, Competency-based Management และ Digital Information-driven Management (๖) การออกแบบโครงการ/กิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์ อย่างสร้างสรรค์ในรูปแบบของคลัสเตอร์ (Student Experience Clusters) ทีต่ อ่ ยอดค่านิยมร่วมขององค์กร ซึง่ น�ำไปสูก่ ารสร้างผลลัพธ์ การเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ (Learning Outcomes) ให้เกิดขึ้นกับ นักศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม เช่น ThailandChange Brand Style Guideline Kit, ThailandCHANGE Website and Online Presence, ThailandCHANGE Communication Collateral และ Creative Engagement Workshop เป็นต้น (๗) การสร้างเครือข่ายการท�ำงานร่วมกับพันธมิตรทาง การศึ ก ษา พั น ธมิ ต รทางสั ง คมและทางธุ ร กิ จ (Collaborative Alliance Networks) เพื่อรองรับการว่าจ้างงาน (Job Placement) อย่างเต็มศักยภาพ เช่น U-SEED Network (University Student Empowerment and Engagement Development Network) อนุสาร


เรื่อง

แนะน�ำ มหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยระดับโลก (๑) Thailand Excellence 2030 ข้อมูลโดย ส�ำนักส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะบุคลากร การทีป่ ระเทศไทยจะสามารถแข่งขันได้ในภูมภิ าคทีก่ ำ� ลังมีความพยายามในการปรับตัวเป็นสังคมเศรษฐกิจฐานความรูย้ คุ โลกาภิวตั น์ (Globalizing Knowledge-based Economy) พร้อมทั้งปรับเส้นทางการผลิตไปสู่ภาคส่วนที่เป็นการเพิ่มมูลค่า (Value-added Segment) ของทรัพยากร ควบคู่กับการขับเคลื่อนด้านการบริการที่อาศัยองค์ความรู้ (Knowledge Intensive Products and Services) รัฐบาลไทย จึงมีความจ�ำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องลงทุนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อลดปัญหาเชิงโครงสร้างก�ำลังคนที่จะส่งผลกระทบต่อศักยภาพ การพัฒนาของประเทศในระยะยาว รวมทั้งมุ่งผลสู่การสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยีทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ เพือ่ ให้บรรลุวตั ถุประสงค์ตามทีก่ ล่าวข้างต้น ประเทศไทยควรมีระบบอุดมศึกษาทีเ่ ข้มแข็ง ซึง่ จะเป็นกุญแจดอกส�ำคัญทีจ่ ะแก้ไขปัญหา ด้านการผลิตทรัพยากรมนุษย์ให้มคี วามรูข้ นั้ สูง สถาบันอุดมศึกษาต้องท�ำหน้าทีเ่ ป็นศูนย์บม่ เพาะ และเสริมสร้างขีดความสามารถทางเทคโนโลยี ขั้นสูง รวมทั้งเป็นก�ำลังส�ำคัญในการสร้างเครือข่ายและกระจายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมลงไปถึงระดับท้องถิ่น ดังนั้น เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของประเทศ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงเสนอ ‘โครงการ Thailand Excellence 2030’ ซึง่ มีเป้าประสงค์ (Purpose) ทีจ่ ะเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การค้นคว้าวิจัย การผลิตก�ำลังคนคุณภาพสูง ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และนวัตกรรม โดยใช้สถาบันอุดมศึกษาเป็นหัวรถจักรขับเคลื่อน การพัฒนาประเทศมุ่งน�ำพาประเทศไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยมีรายได้ประชาชาติ (GDP-per capita) ๑๒,๐๐๐ เหรียญสหรัฐต่อปี ภายในปี ๒๐๓๐ ซึ่งจะท�ำให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดักกลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง (Middle-Income Trap) แผนภาพที่ ๑ ความสัมพันธ์ของโครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยโลกกับโครงการสร้างขีดความสามารถในการ แข่งขันและโครงการส่งเสริมศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทยภายใต้โครงการ Thailand Excellence 2030

13


เรื่องแนะน�ำ ส�ำหรับ ‘โครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยระดับโลก’ นี้ เป็น ๑ ใน ๓ โครงการ ภายใต้โครงการ Thailand Excellence 2030 มีวัตถุประสงค์ที่จะผลักดันให้ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาไทยในปัจจุบัน เห็นถึงความส�ำคัญกับ การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานในการผลิตบุคลากรระดับอุดมศึกษามากกว่าการขยายเชิงปริมาณ โดยด�ำเนินการประเมินสถานภาพ ผลการด�ำเนินการ ผลสัมฤทธิ์เพื่อชี้บ่งถึงความเข้มแข็ง (Strength) ของมหาวิทยาลัย ใช้ความเป็นผู้น�ำที่มีพลังขับเคลื่อน (Dynamic Leadership) และนโยบายก้าวหน้าที่ ‘น�ำเสนอ’ มากกว่า ‘รอสนอง’ (Proactive Policy) ท�ำการยกระดับการบริหารจัดการ ของมหาวิทยาลัยไทย เน้นการพัฒนาก�ำลังคนที่มีคุณภาพในระดับสูงเพื่อเปลี่ยนผ่านสังคมไทยสู่สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ รวมถึงเพิ่มศักยภาพ ของทรัพยากรมนุษย์ในเชิงสร้างสรรค์ เกิดการจัดสรรทรัพยากรด้านการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอย่าง มีประสิทธิภาพควบคูไ่ ปกับการพัฒนามหาวิทยาลัยไทยสูก่ ารเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก (World Class University) อีกทัง้ โครงการ ยังจะท�ำให้เกิดหน่วยงานบริหารจัดการข้อมูลอุดมศึกษาไทยเพื่อการพัฒนา ยกระดับคุณภาพ พร้อมระบบการจัดอันดับสถาบัน อุดมศึกษาขั้นสูงของประเทศตามบริบทของการอุดมศึกษาไทย แผนภาพที่ ๒ แสดงถึงคุณสมบัตแิ ละปัจจัยส�ำคัญทีม่ หาวิทยาลัยไทยควรค�ำนึงถึงในด้านการบริหารจัดการเพือ่ การพัฒนา สู่การเป็นมหาวิทยาลัยโลก(World Class University) (ภาพถูกปรับปรุงมาจากข้อเสนอของ Jamil Salmi, World Bank)

14

อนุสาร


เรื่อง

แนะน�ำ วิ ธี ด� ำ เนิ น การของ ‘โครงการขั บ เคลื่ อ นมหาวิ ท ยาลั ย ไทยสู ่ ม หาวิ ท ยาลั ย ระดั บ โลก’ นั้ น เริ่ ม จากการวางกติ ก าเพื่ อ กระตุ้นให้ทีมบริหารของสถาบันอุดมศึกษาไทยจ�ำเป็นต้องปฏิวัติ หลักการคิด ปรับเปลี่ยนและทบทวนยุทธศาสตร์ ปรับปรุงรูปแบบ และแนวทางการบริหารในองค์รวม ลดความซ�้ำซ้อนของการใช้ ทรัพยากรประเภทต่างๆ ให้เกิดการพัฒนาวิธีการเรียนการสอน ในหลั ก สู ต รในแบบที่ แ ผนการศึ ก ษามี ค วามสอดคล้ อ งกั บ แผน การวิจัย สร้างเสริมให้เกิดการกระตุ้นการพัฒนาทักษะทางวิชาการ ควบคู ่ กั บ ทั ก ษะทางวิ ช าชี พ เพิ่ ม กลไกการเรี ย นรู ้ อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ทัง้ ทางตรงและทางอ้อม ตัวอย่างเช่น การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ กั บ สถาบั น พั ฒ นาทั ก ษะระดั บ ชุ ม ชนในการถ่ า ยทอดองค์ ค วามรู ้ และนวัตกรรมทีท่ นั สมัยหรือการร่วมพัฒนาหลักสูตรประเภทบ่มเพาะ ทั้งด้านเทคโนโลยีและธุรกิจ เป็นต้น ผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวังจากการ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยภาคการอุดมศึกษานี้ ควรมีทิศทางเพื่อ สร้างสรรค์นวัตกรรมบนรากฐานของการพัฒนาทรัพยากรสิง่ แวดล้อม ทางภูมิศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรมของประเทศไทย ครอบคลุม ไปถึ ง การยกระดั บ ทั ก ษะแรงงานและการประกอบธุ ร กิ จ ที่ ใ ช้ พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบ โดยตรงต่ อ เศรษฐกิ จ ของประเทศไทย เพิ่ ม ขี ด ความสามารถใน การแข่ ง ขั น ของประเทศไทยในภู มิ ภ าค และที่ ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด คื อ การปรั บ กระบวนการเรี ย นรู ้ แ ละการสร้ า งสมรรถนะของบั ณ ฑิ ต (Optimization of Talents) เพื่อให้เกิดทักษะที่เหมาะสมสอดคล้อง กับความต้องการของตลาดแรงงาน สร้างเสริมการยอมรับตลอดจน

เพิ่ ม ระดั บ ความมั่ น ใจจากภาคสั ง คม ภาคการผลิ ต และบริ ก าร ของประเทศในทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ที่ ผ ลิ ต จากสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา ของไทย ส�ำหรับแผนงบประมาณโครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย ไทยสู่มหาวิทยาลัยระดับโลกนั้น จะใช้งบประมาณ ๒๕๐ ล้านบาท ในปีแรก เพือ่ การวางแผนการก�ำหนดยุทธศาสตร์รว่ มกับมหาวิทยาลัย การว่าจ้างที่ปรึกษา ซึ่งเป็นนักการศึกษาระดับโลกและผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อท�ำการพิจารณาและให้ค�ำแนะน�ำโครงการ พร้อมทั้งจัดให้มี ระบบติดตาม การด�ำเนินการแบบ realtime ซึ่งอาศัยการจัดการ ฐานข้อมูลอุดมศึกษาไทยซึ่งเชื่อมโยงเป็นระบบเดียวกันทั้งประเทศ จากนั้ น คณะผู ้ บ ริ ห ารมหาวิ ท ยาลั ย จั ด ท� ำ ข้ อ เสนอแนวทางการ ด�ำเนินการและผลลัพธ์ที่คาดหวังอย่างมีพันธะสัญญา (ตามแบบ ฟอร์มข้อเสนอโครงการ : Proposal Template) ในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เมือ่ ได้แผนการด�ำเนินงานของมหาวิทยาลัย ที่ผ่านการพิจารณาเป็นที่เรียบร้อย จึงเริ่มสนับสนุนโครงการปีละ ๕,๐๐๐ ล้านบาท ในระยะที่ ๑ เป็นเวลา ๕ ปี รวมจ�ำนวนงบประมาณ ทั้งสิ้น ๒๕,๐๐๐ ล้านบาท โดยจะมีการแบ่งหมวดค่าใช้จ่ายในแต่ละ ปีงบประมาณออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ ประเภทงบประมาณ ด้านโครงสร้างพืน้ ฐานของด้านวิจยั (Infrastructure) ร้อยละ ๖๐ และ งบประมาณด้านการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ (Knowledge Creation) ร้อยละ ๔๐ ซึ่งอาจมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมในภายหลัง รวมเป็นงบประมาณทั้งสิ้น ๒๕,๒๕๐ ล้านบาท (ติดตามตอน ๒ ฉบับหน้า)

15


เรื่องแนะน�ำ

ขอแสดงความยินดี

‘ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาคนใหม่’ อนุสารอุดมศึกษาฉบับนี้ ขอน�ำประวัติของผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาคนใหม่ ‘นางอรสา ภาววิมล’ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ด�ำรงต�ำแหน่งตั้งแต่วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ที่ผ่านมา

นางอรสา ภาววิมล

ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา aurasa@mua.go.th ประวัติการศึกษา วิทยาศาสตรบัณฑิต (จิตวิทยา) ครุศาสตรมหาบัณฑิต (จิตวิทยาการศึกษา) ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (อุดมศึกษา) ประวัติการท�ำงาน พ.ศ. ๒๕๕๓ - ๒๕๕๕ พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๗ พ.ศ. ๒๕๕๗ - ๒๕๕๘ พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ - ปัจจุบัน

เกียรตินิยมอันดับสอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้อ�ำนวยการส�ำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา ผู้อ�ำนวยการส�ำนักประสานและส่งเสริมกิจการอุดมศึกษา ผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา ผู้อ�ำนวยการส�ำนักส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะบุคลากร ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา

เครื่องราชย์อิสริยาภรณ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ ประถมาภรณ์มงกุฏไทย พ.ศ. ๒๕๕๗ ประถมาภรณ์ช้างเผือก ผลงานด้านการอุดมศึกษา การพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา การพัฒนาระบบติดตามและประเมินผลอุดมศึกษา การส่งเสริมงานวิจัยเพื่อประโยชน์สาธารณะและเชิงพาณิชย์ การบริหารกองทุนเงินหมุนเวียนเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน การจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษา

16

อนุสาร


เหตุการณ์

เล่าเรื่อง

กีฬาปัญญาชนไทย เปิดฉาก วันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๙ กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๔๓ ‘กันเกราเกมส์’ เปิดฉากการแข่งขันด้วยพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ ที่สนามกีฬากลาง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยได้รบั เกียรติจากนายแพทย์ธรี ะเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธี และมีนางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา นายสมศักดิ์ จังตระกุล ผูว้ า่ ราชการ จังหวัดอุบลราชธานี ศาสตราจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์ ประธานคณะกรรมการ บริหารกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (กกมท.) รองศาสตราจารย์นงนิตย์ ธีระวัฒนสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เข้าร่วมพิธีเปิด และมีนางสาว ธิดารัตน์ บัวแสน อดีตนักกีฬายูโดเหรียญทองกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นผู้จุดคบเพลิง นอกจากนี้ เจ้าภาพจัดการแข่งขัน ได้จัดการแสดง ๔ ชุด ภายใต้แนวคิด ‘สายน�้ำ แสงตะวัน เชื่อมสัมพันธ์ สามัคคี’ พร้อมการแปรอักษรของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และมีไฮไลท์ส�ำคัญ คือ การแสดงของนักร้องเพลงลูกทุ่งสาว ‘ต่าย’ อรทัย ดาบค�ำ พร้อมกับพลุไฟ อีกกว่า ๘๐๐ นัด

17


เหตุการณ์เล่าเรื่อง

สถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่โดยตรงในการผลิตและสร้าง ก�ำลังคนที่มีคุณภาพให้แก่ประเทศชาติ การจัดการแข่งขันกีฬา มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยนับเป็นแนวทางหนึง่ ทีม่ คี วามส�ำคัญ ในการเสริมสร้างทรัพยากรมนุษย์ ที่มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกฝังให้เกิดความ รับผิดชอบ มีน�้ำใจนักกีฬา รู้รักสามัคคี และเสริมสร้างมิตรภาพที่ดี ต่อกัน ซึ่งเป็นคุณลักษณะและวัฒนธรรมอันดีงาม การแข่งขันกีฬา จะเป็นทีป่ ระทับใจของผูเ้ ข้าร่วมแข่งขันและผูช้ มกีฬาได้นนั้ ทุกฝ่าย จะต้องท�ำหน้าที่อย่างตั้งใจ และได้มาตรฐานทางด้านการกีฬา นักกีฬาจะต้องเล่นกีฬาด้วยสปิริต โดยแสดงความสามารถอย่าง เต็มที่ ภายใต้กฎ กติกา และความมีน�้ำใจ ส่วนกรรมการผู้ตัดสิน ก็ตอ้ งท�ำหน้าทีอ่ ย่างสุจริต ยุตธิ รรม และผูช้ ม ผูเ้ ชียร์ ก็ตอ้ งท�ำหน้าที่ ของตนอย่างสร้างสรรค์ มุ่งสร้างความสมัครสมานสามัคคีเป็นที่ตั้ง

นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

18

อนุสาร


เหตุการณ์

เล่าเรื่อง

ชนิดกีฬา

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัย แห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๔๓ ระหว่างวันที่ ๙ - ๑๘ มกราคม ๒๕๕๙ ณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ ๒๕ ปี ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และเป็นการพัฒนานักศึกษา และ บุคลากรของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งจัดการแข่งขันกีฬา ๒๗ ชนิดกีฬา ได้แก่ กรีฑา ว่ายน�้ำ บาสเกตบอล ฟุตบอล วอลเลย์บอล เซปักตะกร้อ ดาบสากล เทควันโด เทนนิส เทเบิลเทนนิส แบดมินตัน มวยสากล สมัครเล่น ยิงปืน ยูโด ฮอกกี้ วอลเลย์บอลชายหาด เปตอง เรือพาย ลีลาศ ฟุตซอล ปันจักสีลัต ครอสเวิร์ด หมากกระดาน บริดจ์ มวยไทย สมัครเล่น ยูยติ สู (กีฬาสาธิต) บีบกี นั (กีฬาสาธิต) มีการชิงชัยเหรียญทอง จ�ำนวน ๓๑๙ เหรียญ โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเข้าร่วมการแข่งขัน ๑๑๑ สถาบัน นอกจากนีย้ งั ได้จดั การประชุมวิชาการในหัวข้อเรือ่ ง ‘กีฬากับ การท�ำกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR)’ กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ กิจกรรม การแสดงศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น

19


เหตุการณ์เล่าเรื่อง ผลการแข่งขัน

สรุปเหรียญรางวัล

รวม

๑ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒ สถาบันการพลศึกษา ๓ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ๔ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ๕ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ๖ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๗ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ๘ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ๙ มหาวิทยาลัยรังสิต ๑๐ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

๑๓๕ ๑๒๗ ๘๗ ๕๔ ๕๑ ๖๒ ๕๕ ๕๔ ๒๑ ๑๙

๕๑ ๔๗ ๓๐ ๓๐ ๒๑ ๑๕ ๑๔ ๑๒ ๙ ๗

๓๖ ๔๘ ๒๕ ๑๐ ๑๔ ๒๑ ๑๖ ๑๖ ๔ ๓

๔๘ ๓๒ ๓๒ ๑๔ ๑๖ ๒๖ ๒๕ ๒๖ ๘ ๙

หลังจากจบการแข่งขัน เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๙ ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการแข่งขัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครอง ต�ำแหน่งเจ้าเหรียญทอง เป็นสมัยที่ ๓ ติดต่อกัน และเป็นแชมป์สมัยที่ ๑๓ หลังกวาดไปทั้งหมด ๕๑ เหรียญทอง ๓๖ เหรียญเงิน ๔๘ เหรียญ ทองแดง สถาบันการพลศึกษา เป็นรองแชมป์ ๓ ครั้งต่อเนื่องกัน ได้ ๔๗ เหรียญทอง ๔๘ เหรียญเงิน ๓๒ เหรียญทองแดง ล�ำดับที่ ๓ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ ๓๐ เหรียญทอง ๒๕ เหรียญเงิน ๓๒ เหรียญทองแดง ล�ำดับที่ ๔ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ได้ ๓๐ เหรียญ ทอง ๑๐ เหรียญเงิน ๑๔ เหรียญทองแดง ล�ำดับที่ ๕ มหาวิทยาลัย รั ต นบั ณ ฑิ ต ได้ ๒๑ เหรี ย ญทอง ๑๔ เหรี ย ญเงิ น ๑๖ เหรียญ ทองแดง ส่วนเจ้าภาพ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ ๒ เหรียญเงิน ๑ เหรียญทองแดง

ปิดฉาก

วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๙ ‘กันเกราเกมส์’ การแข่งขันกีฬา มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๔๓ ได้ปิดฉากเป็นที่เรียบร้อย โดยพิธีปิดการแข่งขัน พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน ซึ่งเจ้าภาพจัดการแข่งขันมีการ แสดงชุ ด ‘กั น เกราเกมส์ เ ชื่ อ มสั ม พั น ธ์ รวมพลั ง ก้ า วสู ่ เ ออี ซี ’ ขณะที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬา มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยครั้งที่ ๔๔ ได้ส่งการแสดงสองชุด เพือ่ รับมอบธงเจ้าภาพ ครัง้ ที่ ๔๔ คือ ร�ำโทน ซึง่ เป็นการแสดงพืน้ บ้าน ของชาวจังหวัดนครราชสีมา และเชียร์ลีดดิ้ง

ถึงแม้รางวัลและชัยชนะ จะเป็นเป้าหมายของการฝึกฝน และความส�ำเร็จ แต่การเรียนรู้ที่จะรู้จักการเคารพกติกา เคารพผู้อื่น และรู ้ จั ก วิ นั ย รวมไปถึ ง การฝึ ก ความมี น�้ ำ ใจนั ก กี ฬ า มิ ต รภาพ ความปรองดอง การสร้างความสมานฉันท์ จะเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่และ เป็นรางวัลชีวิตอันมีค่ายิ่งที่พวกเราทุกคนได้รับ ที่นอกเหนือไปจาก การชิงชัย หรือการแพ้ชนะ แต่เพียงอย่างเดียว ผมเชื่อมั่นว่าการจัด กิจกรรมในครั้งนี้ จะช่วยปลูกฝังคุณลักษณะที่ดีงามของพวกเราที่จะ ร่วมกันสร้างสรรค์ประเทศไทยต่อไป

พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

20

‘หลากหลายสถาบัน รวมกันเป็นหนึ่ง’ อนุสาร


เหตุการณ์

เล่าเรื่อง

เตรียมพร้อม ‘สุรนารีเกมส์’ การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๔๔ ‘สุรนารีเกมส์’ ก�ำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๒ - ๒๑ มกราคม ๒๕๖๐ โดยมี ม หาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี สุ ร นารี เ ป็ น เจ้ า ภาพจั ด การแข่ ง ขั น เพื่อเป็นการฉลอง ๒๗ ปีการก่อตั้งมหาวิทยาลัย ซึ่งก�ำหนดให้มี การชิงชัย ๓๒๐ เหรียญทองจาก ๒๗ ชนิดกีฬา ได้แก่ กรีฑา ว่ายน�้ำ บาสเกตบอล ฟุตบอล วอลเลย์บอลในร่ม-ชายหาด กอล์ฟ เซปักตะกร้อ ดาบสากล เทควันโด เทนนิส เทเบิลเทนนิส แบดมินตัน ยิงปืน ฮอกกี้ รักบี้ ฟุตบอล (๗ คน, ๑๕ คน) เปตอง เรือพาย ลีลาศ ฟุตซอล ปันจักสีลัต จักรยาน ครอสเวิร์ด บริดจ์ เอแม็ท หมากกระดาน มวยไทยสมัครเล่น และใช้ ส นามแข่ ง ขั น ๓ จุ ด คื อ ในมหาวิ ท ยาลั ย สนามกี ฬ า เฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา จังหวัดนครราชสีมา และศูนย์การค้า เดอะมอลล์ โคราช นอกจากนี้ มีการจัดสรรหอพักภายในมหาวิทยาลัย เพื่อจัดเป็นหมู่บ้านนักกีฬา ซึ่งรองรับนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ได้ถึง ๘,๐๐๐ คน มีรถพลังงานไฟฟ้ารับ-ส่ง ระหว่างสนามแข่งขัน

การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย เป็นกิจกรรม ตามนโยบายการพัฒนาศักยภาพ นิสิต นักศึกษา ในด้านกีฬาและ สุ ข ภาพ เปิ ด โอกาสให้ ไ ด้ พ บปะ แลกเปลี่ ย นประสบการณ์ แ ละ เสริมสร้างมิตรภาพอันดีระหว่างกัน นอกจากนี้ กีฬายังเป็นเครื่องมือ ปลูกฝังจิตส�ำนึกการเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศ

นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา

21


เล่าเรื่องด้วยภาพ

๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๘ - นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และ เจ้าหน้าที่ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมพิธีท�ำบุญตักบาตรพระสงฆ์ ๖๐ รูป เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ ๒๕๕๙ ของกระทรวง ศึกษาธิการ โดยมีพลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ และนายแพทย์ ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมท�ำบุญ ณ กระทรวงศึกษาธิการ

๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๘ - นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา และนางอรสา ภาววิมล ผู้ช่วยเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา เข้าร่วมอวยพรเนือ่ งในโอกาสวันขึน้ ปีใหม่ ๒๕๕๙ โดยมอบบัตรอวยพรแด่ พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ และนายแพทย์ ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ณ ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ

22

อนุสาร


เล่าเรื่อง

ด้วยภาพ สุขสันต์วันปีใหม่ นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา นายขจร จิตสุขมุ มงคล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และนางอรสา ภาววิมล ผูช้ ว่ ยเลขาธิการคณะ กรรมการการอุดมศึกษา พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มอบกระเช้าสวัสดีปีใหม่ ให้ ศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน อดีตปลัดทบวงมหาวิทยาลัย นายกฤษณพงษ์ กีรติกร นายสุเมธ แย้มนุ่น รองศาสตราจารย์พนิ ติ ิ รตะนานุกลู รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำ� จร ตติยกวี อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และรองศาสตราจารย์ คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

๙ มกราคม ๒๕๕๙ - นายขจร จิตสุขุมมงคล รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา เข้าร่วมงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ ประจ�ำปี ๒๕๕๙ กิจกรรม ‘Kids Carnival’ ซึ่งมีพลเอก ประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ณ สนามเสือป่า

๑๕ มกราคม ๒๕๕๙ - นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการ คณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา ให้ โ อวาทแก่ ผู ้ เ ข้ า ร่ ว มโครงการ ค่ายเยาวชนอาเซียนผสานความร่วมมือด้านภาษาและวัฒนธรรม กั บ มหาวิ ท ยาลั ย ในต่ า งประเทศ ครั้ ง ที่ ๒ ปี ก ารศึ ก ษา ๒๕๕๘ ของมหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ บ้ า นสมเด็ จ เจ้ า พระยา ณ ห้องประชุม ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน

23



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.