อนุสารอุดมศึกษา issue 452

Page 1


สารบัญ

CONTENT ๓ เรื่องเล่าอุดมศึกษา

- แนะแนวการศึกษา ‘เยาวชนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้’ - สกอ. รับฟังความคิดเห็น ร่าง พ.ร.บ. ระเบียบการบริหารงานบุคคล ในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. .... - The 11th University Administrators Workshop - ส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษา - ปัจฉิมนิเทศ ทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ - 1st FEALAC University Network Meeting

๑๒ เรื่องเล่าอาเซียน ๑๔ เรื่องพิเศษ ๑๗ เรื่องแนะน�ำ ๒๑ เล่าเรื่องด้วยภาพ

- สานสัมพันธ์ ไทย-ลาว ครั้งที่ ๖

- จิตอาสาพัฒนาสังคมไทย สกอ. ห่วงใยสังคม

๑๐

- มหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยระดับโลก (๒)

๑๔

คณะผู้จัดท�ำ

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๒๖ http://www.mua.go.th pr_mua@mua.go.th www.facebook.com/ohecthailand www.twitter.com/ohec_th ที่ปรึกษา นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม นายขจร จิตสุขุมมงคล นางอรสา ภาววิมล นายวันนี นนท์ศิริ บรรณาธิการ นางสาวปิยาณี วิริยานนท์ กองบรรณาธิการ นายกฤษณ์กร วงศ์ไทย นางชุลีกร กิตติก้อง นายเจษฎา วณิชชากร นางปราณี ชื่นอารมณ์ นายจรัส เล็กเกาะทวด พิมพ์ท ี่ บริษัท เอกพิมพ์ไท จ�ำกัด โทรศัพท์ : ๐ ๒๘๘๘ ๘๑๕๒ , ๐ ๒๘๘๘ ๘๑๒๑ , ๐ ๒๘๘๘ ๘๔๘๖ โทรสาร : ๐ ๒๘๘๘ ๘๑๒๐


เรื่องเล่า

อุดมศึกษา

แนะแนวการศึกษา

‘เยาวชนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้’ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๙ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมกับศูนย์อ�ำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จัดการ ประชุมสัมมนาโครงการแนะแนวการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีสำ� หรับเยาวชน ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ ห้องพญาตานี โรงแรมเซาท์เทิร์น วิว จังหวัดปัตตานี โดยได้รับเกียรติจากพลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุม สัมมนา และมอบนโยบายการบูรณาการตามแผนยุทธศาสตร์การขับเคลือ่ นการ แก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า การประชุมสัมมนาวันนี้ ทาง สกอ. ร่วมกับ ศอ.บต. จัดขึ้นเพื่อให้เกิด ความเข้ า ใจในเรื่ อ งของโครงการทุ น อุ ด มศึ ก ษา และสร้ า งโอกาสให้ กั บ นักเรียนมัธยมปลายที่จะได้มีโอกาสรับทุนเรียนต่อเนื่องไปถึงระดับอุดมศึกษา ซึ่งจากการด�ำเนินการต่างๆ ที่ผ่านมา ส่งผลให้คุณภาพการศึกษาของจังหวัด ชายแดนภาคใต้มีคุณภาพมากขึ้น ท�ำให้การพัฒนาเยาวชนซึ่งพร้อมที่จะเป็น บัณฑิตที่มีคุณภาพ เป็นทรัพยากร เป็นก�ำลังส�ำคัญในการน�ำความรู้ และ ประสบการณ์ไปพัฒนาพื้นที่ชุมชน ภูมิล�ำเนาในล�ำดับต่อไป

3


รมช.ศธ. กล่าวต่อว่า กระทรวงศึกษาธิการได้ให้ความส�ำคัญ กับการส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาของนักเรียน เรื่องทุนการศึกษา โดยปีที่ผ่านมาได้มอบทุนให้กับนักเรียนทั้งสายสามัญและสายอาชีพ เป็นทุนรายปีต่อเนื่อง จ�ำนวน ๑๒,๑๘๗ ทุน ใช้เงินงบประมาณ ๑๙๒ ล้านบาทเศษ ท�ำให้โอกาสของนักเรียนได้รับการสนับสนุนมากขึ้น กระทรวงศึกษาธิการคาดหวังว่าคุณภาพทางการศึกษาของนักเรียน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะดีข้ึน โดยจะดูความก้าวหน้าของครู บุคลากรทางการศึกษา ที่ได้รับการพัฒนาความรู้ ได้มีการพัฒนาการ เรียนการสอน ส�ำหรับนักเรียนจะได้รบั การส่งเสริมทางด้านความถนัด เช่น ทางด้านการกีฬา ตลอดจนผู้ที่ยังไม่อยู่ในระบบก็สามารถที่จะ ศึกษาตามอัธยาศัยได้ด้วย “ทั้ ง นี้ รั ฐ บาลเชื่ อ มั่ น ว่ า กลไกทางการศึ ก ษาเป็ น ปั จ จั ย หลั ก ส� ำ คั ญ ในการขั บ เคลื่ อ นให้ เ ยาวชนในสามจั ง หวั ด ชายแดน ภาคใต้ ก ลั บ มาพั ฒ นาภู มิ ล� ำ เนาได้ อ ย่ า งยั่ ง ยื น ซึ่ ง กระบวนการ ดังกล่าวนี้ต้องอาศัยความร่วมมือ ร่วมใจ ร่วมท�ำงานกับทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากรทางการศึกษา ผู้บริหารสถาบันศึกษา โรงเรียน อาจารย์ ล้วนเป็นก�ำลังส�ำคัญทั้งสิ้น ถือว่ามีส่วนเชื่อมโยง แผนนโยบายการพัฒนาการศึกษาทุกระดับในทางปฏิบัติ ให้เป็น รูปธรรมชัดเจนในครั้งต่อไป การเชื่อมโยงนโยบายและโครงการต่างๆ ของรั ฐ บาลให้ ส ามารถเข้ า ใจและเข้ า ถึ ง ในกลุ ่ ม ของเด็ ก นั ก เรี ย น

4

เยาวชน และประชาชน จะท�ำให้เยาวชนและผู้ปกครองเกิดความ ส่งเสริมและพัฒนาชีวติ น�ำไปสูก่ ารมีสว่ นร่วมในการแก้ไขตามนโยบาย ของรัฐบาลอย่างยั่งยืนต่อไป” รมช.ศธ. กล่าว ด้านนายขจร จิตสุขุมมงคล รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา กล่าวว่า การประชุมสัมมนาวันนี้มีจุดมุ่งหมายส�ำคัญ ร่วมกัน คือ เพื่อให้ผู้บริหารและครูแนะแนวในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ใน พื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รับข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับแนวทาง การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นทั้งระดับอุดมศึกษา และสายอาชีพหรือ อาชีวศึกษา เพื่อน�ำไปแนะแนวทางเลือกและเตรียมความพร้อมให้แก่ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในสถานศึกษา ซึง่ จะเป็นการจูงใจ ให้นักเรียนในสังกัดสนใจเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และเสริมสร้าง โอกาสทางการศึกษาให้แก่เยาวชนในพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทัง้ เพือ่ ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ความรูค้ วามเข้าใจเกีย่ วกับโครงการ ทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้แก่ผู้บริหาร สถาบันการศึกษาและอาจารย์แนะแนว ในพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดน ภาคใต้ ให้ผู้บริหารและอาจารย์แนะแนว สามารถน�ำข้อมูลและความ รู้ความเข้าใจที่ได้รับจากการเข้าร่วมประชุมในวันนี้ ไปเผยแพร่ให้แก่ ผู้ปกครองและเยาวชนในพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่สนใจ เข้าร่วมและสมัครรับทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดน ภาคใต้ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

อนุสาร


เรื่องเล่า

อุดมศึกษา สกอ. รับฟังความคิดเห็น ร่าง พ.ร.บ. ระเบียบการบริหาร งานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. .... ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา จัดการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติ ระเบี ย บการบริ ห ารงานบุ ค คลในสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา พ.ศ. .... ณ โรงแรม อมารี วอเตอร์เกท โดยได้รับเกียรติจากนางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธาน เปิ ด การประชุ ม และมี น ายถนอม อิ น ทรก� ำ เนิ ด ประธานคณะ อนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติระเบียบการ บริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. .... รองศาสตราจารย์ ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและอนุกรรมการ เฉพาะกิจ อธิการบดี และผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา เข้าร่วมประชุม นางสาวอาภรณ์ แก่ น วงศ์ เลขาธิ ก ารคณะกรรมการ การอุดมศึกษา กล่าวว่า ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เห็นความส�ำคัญในการพัฒนาระบบการบริหารงานบุคคลในสถาบัน อุดมศึกษา โดยเฉพาะกลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นก�ำลังหลัก ในการขับเคลื่อนภารกิจของสถาบันอุดมศึกษา แต่ปัจจุบันยังไม่มี กฎหมายของพนักงานมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะ ส่งผลให้ระบบการ บริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษาของพนักงานมหาวิทยาลัย เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็น สัญญาจ้างรายปี ท�ำให้ขาดความมั่นคงในอาชีพและขาดขวัญและ ก�ำลังใจในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ระบบสวัสดิการยังเป็นไปตาม ข้อบังคับของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่ง ก่อให้เกิดความลักลั่น ส่งผลต่อแรงจูงใจ รวมถึงประสิทธิภาพในการท�ำงานของพนักงาน มหาวิทยาลัยของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่ง และภาพรวมของ ประเทศ “คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ได้พิจารณาปัญหาดังกล่าว เห็นว่าควรมีการจัดท�ำกฎหมาย ส�ำหรับพนักงานมหาวิทยาลัยเป็นการเฉพาะเพือ่ แก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อปรับปรุงร่างพระราช บัญญัตริ ะเบียบการบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ... ขึน้ เพือ่ ด�ำเนินการจัดท�ำร่างพระราชบัญญัตริ ะเบียบการบริหารงานบุคคล ในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. .... ให้ครอบคลุมบุคลากรในสถาบัน อุดมศึกษาทั้ง ๓ กลุ่ม ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา

พนั ก งานในสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา และลู ก จ้ า งในสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การบริหารงานบุคคลมีความเป็นเอกภาพ มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีกรอบมาตรฐานในการก�ำหนดต�ำแหน่ง เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน สวัสดิการ ตลอดจนสิทธิประโยชน์อื่น ของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาทุกกลุ่ม” เลขาธิการ กกอ. กล่าว เลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อไปว่า สกอ. ในฐานะอนุกรรมการ และเลขานุการของ ก.พ.อ. จัดให้มีการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็น เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษารับทราบ รวมถึงรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ ร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว ตามมติของ ก.พ.อ. ก่อนที่จะรวบรวม ความเห็นที่ได้รับไปปรับปรุงและน�ำเสนอต่อ ก.พ.อ. เพื่อให้การ ด�ำเนินการจัดท�ำร่างพระราชบัญญัติระเบียบการบริหารงานบุคคล ในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ... เป็นไปด้วยความเรียบร้อยต่อไป

5


6

ร่างพระราชบัญญัติระเบียบการบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ... มีหลักการที่ส�ำคัญ สรุปดังนี้ ๑. ก�ำหนดให้มคี ณะกรรมการบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา (ก.บ.อ.) ท�ำหน้าทีเ่ ป็นองค์กร กลางในการบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา ๒. ก�ำหนดให้มีคณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ ท�ำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ กรณีที่ บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาหรือลูกจ้างในสถาบันอุดมศึกษาถูกสั่งให้ออกจากงานหรือออกจากราชการ หรือถูกสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก ๓. ก�ำหนดมาตรฐานการบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษาในการบรรจุแต่งตั้ง วินัยและ จรรยาบรรณ และการด�ำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์ร้องทุกข์ ๔. ให้อำ� นาจสภาสถาบันอุดมศึกษาในก�ำหนดให้สภาสถาบันอุดมศึกษาก�ำหนดกรอบอัตราก�ำลังที่ พึงมีในสถาบันอุดมศึกษา กรอบของต�ำแหน่ง อันดับเงินเดือนของต�ำแหน่ง ภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของ ต�ำแหน่ง และคุณสมบัติเฉพาะต�ำแหน่ง ๕. ก�ำหนดให้บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษามีสิทธิได้รับเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินเพิ่มค่าครองชีพ ชัว่ คราว เบีย้ เสีย่ งภัย หรือสิทธิประโยชน์อย่างอืน่ เพิม่ ขึน้ เมือ่ รัฐจัดสรรงบประมาณให้กบั ข้าราชการพลเรือน ๖. ก�ำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาจัดให้มรี ะบบการประเมินผลการปฏิบตั งิ านของบุคลากรในสถาบัน อุดมศึกษาสายวิชาการที่เป็นธรรม ๗. ก�ำหนดให้มกี ารจัดท�ำบัญชีเงินเดือน เงินประจ�ำต�ำแหน่ง และค่าตอบแทนของบุคลากรในสถาบัน อุดมศึกษา เป็นการเฉพาะ ๘. ก�ำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาจัดตัง้ กองทุนส�ำรองเลีย้ งชีพ และจัดให้มรี ะบบการประกันสุขภาพ ให้กับพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาและลูกจ้างในสถาบันอุดมศึกษา ฯลฯ อนุสาร


เรื่องเล่า

อุดมศึกษา

The 11th University Administrators Workshop ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเจ้าภาพ ร่วมกับ Kyoto University และ Hong Kong University of Science and Technology จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ The 11th University Administrators Workshop (UAW) ณ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย โดยมีผบู้ ริหารและเจ้าหน้าทีท่ ดี่ แู ลงานด้านความร่วมมือ กับต่างประเทศของสถาบันอุดมศึกษาจากประเทศต่างๆ ในเอเชีย ประมาณ ๘๐ คน เข้าร่วมการประชุม ในโอกาสนี้ นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้บรรยายพิเศษ ในหัวข้อ ‘Cooperation in Higher Education: Key Implications and Prospects’ ซึง่ กล่าวถึงโอกาสและสิง่ ท้าทายทีก่ ระตุน้ ให้สถาบัน อุดมศึกษาสร้างความร่วมมือทั้งในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ ได้แก่ - กระแสความเป็นสากลของอุดมศึกษา และความคาดหวัง ของสังคมต่อบทบาทของอุดมศึกษาที่ต้องมีส่วนช่วยในการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน - การขยายตัวของการศึกษาข้ามชาติ (Transnational Education) หรือ การศึกษาข้ามพรมแดน (Cross-Border Education) ซึง่ ประกอบด้วย การแลกเปลีย่ นนักศึกษาและบุคลากร การจัดหลักสูตร ร่วม การเรียนการสอนออนไลน์ระบบเปิด และการจัดตั้งวิทยาเขต ในต่างประเทศ - วาระด้านการศึกษา ‘Education 2030’ เป็นเป้าหมาย ล�ำดับที่ ๔ จาก ๑๗ เป้าหมายการพัฒนาอย่างยัง่ ยืนของสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals) ที่ก�ำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “การจัดการศึกษาทีม่ คี ณ ุ ภาพอย่างทัว่ ถึงและเท่าเทียม รวมทัง้ ส่งเสริม โอกาสในการเรียนรูต้ ลอดชีวติ ส�ำหรับทุกคน” (Ensure inclusive and equitable quality education and promote lifelong learning opportunities for all) ซึ่งการขับเคลื่อนการด�ำเนินงานให้บรรลุ เป้าหมายนีจ้ ำ� เป็นต้องอาศัยความร่วมมือทัง้ ในระดับสถาบัน ระดับชาติ และระดับภูมิภาค นอกจากนี้ เลขาธิ ก าร กกอ. ได้ ก ล่ า วถึ ง นโยบายด้ า น การอุ ด มศึ ก ษาของไทย และการด� ำ เนิ น งานด้ า นความร่ ว มมื อ กับต่างประเทศของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา รวมถึง โครงการส�ำคัญต่างๆ ทั้งที่ก�ำลังด�ำเนินงานและที่ริเริ่มใหม่ อาทิ การปรับยุทธศาสตร์ (Reprofiling) มหาวิทยาลัยกลุม่ ใหม่ และ Talent Mobility

ในตอนท้าย เลขาธิการ กกอ. ได้เน้นย�้ำปัจจัยสู่ความส�ำเร็จ ในการด�ำเนินงานความร่วมมือกับต่างประเทศ ได้แก่ (๑) การสื่อสาร ภายในองค์กรที่ต้องมีความชัดเจนในด้านนโยบายและทิศทางการ ด�ำเนินงานของสถาบันจากระดับบริหารไปสู่ระดับปฏิบัติเพื่อให้เกิด ความเข้าใจตรงกันและด�ำเนินงานไปในทิศทางเดียวกันให้สอดคล้อง กับเป้าหมาย (๒) การใช้ประโยชน์จากข้อตกลง (Agreement) หรือ บันทึกความเข้าใจ (MOU) ที่ได้ลงนามระหว่างสถาบันอุดมศึกษา กับคู่ความร่วมมือโดยควรริเริ่มกิจกรรมความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม (๓) การด�ำเนินงานความร่วมมือให้เกิดมูลค่าเพิม่ โดยอาจร่วมกันด�ำเนิน กิจกรรม/โครงการที่ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคม หรือช่วยลด ช่องว่างของการพัฒนา (๔) การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสถาบัน อุดมศึกษากับคู่ความร่วมมือในด้านนโนบายและการด�ำเนินงาน อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนบุคลากร ที่ดูแลงานด้านความร่วมมือกับต่างประเทศของสถาบันอุดมศึกษา (๕) การติดตามประเด็นส�ำคัญที่ได้มีการหารือในกรอบการเจรจา ระดับพหุภาคีซึ่งจะส่งผลต่อการก�ำหนดทิศทางการพัฒนาอุดมศึกษา ทั้งในระดับสถาบันและระดับภูมิภาค

7


ส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษา ๘ กุ ม ภาพั น ธ์ ๒๕๕๙ - ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการ การอุ ด มศึ ก ษา โดยส� ำ นั ก บริ ห ารโครงการส่ ง เสริ ม การวิ จั ย ใน อุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจยั แห่งชาติ ร่วมกับมหาวิทยาลัย ราชภัฏอุบลราชธานี จัดการประชุมใหญ่โครงการส่งเสริมการวิจัย ในอุดมศึกษา ครั้งที่ ๔ : “สร้างสรรค์วิชาการ สืบสานกระบวนไทย งานวิจยั ระดับชาติ” โดยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยภายใต้โครงการ ทั้ง ๗๐ แห่ง เพื่อเป็นเวทีให้นักวิจัยได้น�ำเสนอผลงาน มีผู้ทรงคุณวุฒิ ช่วยวิพากษ์และให้ค�ำแนะน�ำ ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน อีกทั้งมีการน�ำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบนิทรรศการ และคัดเลือก งานวิจัยที่มีคุณภาพสูงให้ได้รับรางวัล ซึ่งได้รับเกียรติจากนายขจร จิตสุขมุ มงคล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธาน ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

8

อนุสาร


เรื่องเล่า

อุดมศึกษา นายขจร จิตสุขุมมงคล รองเลขาธิการคณะกรรมการการ อุดมศึกษา กล่าวว่า การวิจัยนับว่ามีบทบาทส�ำคัญยิ่งในสถาบัน อุดมศึกษาไทย เนื่องจากการวิจัยเป็นกระบวนการที่จะนําไปสู่การ บุกเบิกและแสวงหาความรูท้ มี่ คี ณ ุ ค่า ส่งผลให้บคุ ลากรของสถาบันการ ศึกษาได้เพิ่มพูนความรู้ผ่านการปฏิบัติ และสามารถถ่ายทอดความรู้ ตลอดจนนําความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ตรงตามความ ต้องการของสังคม “สถาบันการศึกษาแต่ละแห่งมีศักยภาพและอัตลักษณ์ แตกต่างกัน ดังนั้น สกอ. จึงเน้นส่งเสริมให้ด�ำเนินงานวิจัยที่สอดรับ กับพื้นฐานของมหาวิทยาลัย โดยมีส่วนร่วมกับชุมชนในรูปแบบสห วิทยาการ เช่น การบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ากับการเรียนการ สอน จนเกิดเป็นนวัตกรรมและแหล่งเรียนรู้ต่างๆ น�ำไปสู่ผลผลิตจาก งานวิจยั ทีใ่ ช้ประโยชน์ได้จริงในเชิงสาธารณะ รวมถึงเกิดเครือข่ายการ วิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยและองค์กรในท้องถิ่นด้วย” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว

รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า ขณะนี้ เข้าสู่ปีที่ ๖ แล้ว ที่ได้ท�ำการพัฒนานักวิจัยด้วยการสนับสนุนทุนวิจัย แม้งบประมาณ มีจ�ำกัดและลดน้อยลงทุกปี แต่จากจ�ำนวนข้อเสนอโครงการที่ส่งมา ขอรับการพิจารณามีจ�ำนวนมากขึ้น แสดงให้เห็นว่า นักวิจัยมีความ ตืน่ ตัวและเห็นความส�ำคัญของการท�ำงานวิจยั มากขึน้ อย่างเห็นได้ชดั อย่างไรก็ตาม สกอ. ต้องมีแนวทางการสนับสนุนทุนวิจยั เช่นเดิม ไม่วา่ จะในรูปแบบใดก็ตาม เนือ่ งจากมหาวิทยาลัยภายใต้โครงการส่งเสริมฯ เป็นกลุ่มที่ก�ำลังพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัย มีบุคลากรที่เพิ่งจบใหม่ ทั้งปริญญาโทและปริญญาเอกจากสถาบันชั้นน�ำจากทั้งในประเทศ และต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถือเป็นก�ำลังส�ำคัญในการขับเคลื่อน ให้เกิดความเข้มแข็งทางวิชาการ จึงควรได้รับการสนับสนุนอย่าง ต่อเนื่อง และต้องมี mentor ที่มากประสบการณ์คอยให้ค�ำแนะน�ำ เพื่อให้เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยเพื่อท้องถิ่นอย่างแท้จริง

9


ปัจฉิมนิเทศ

ทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้

๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา จัดโครงการปัจฉิมนิเทศเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ อาชีพในพื้นที่และสร้างเครือข่ายผู้รับทุนโครงการทุนอุดมศึกษาเพื่อ การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ โรงแรมสีดา รีสอร์ท จังหวัด นครนายก โดยได้รบั เกียรติจากนายขจร จิตสุขมุ มงคล รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานปิดโครงการและมอบ ประกาศนียบัตร นายขจร จิตสุขุมมงคล รองเลขาธิการคณะกรรมการการ อุดมศึกษา กล่าวว่า นิสิต นักศึกษา ที่เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ได้รับ ความรู้และแนวทางในการประกอบอาชีพและการศึกษาต่อในระดับ ที่สูงขึ้น รวมทั้งได้มีโอกาสรู้จักและแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นใน การท�ำกิจกรรมร่วมกัน และได้สร้างเครือข่ายการเป็นนักศึกษาทุน อุดมศึกษาเพือ่ การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึง่ นับได้วา่ เป็นความ ส�ำเร็จทีส่ ำ� คัญของโครงการทีส่ ำ� นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา คาดหวังให้นิสิต นักศึกษาทุกคนที่ส�ำเร็จการศึกษาไปแล้วจะได้สร้าง เครือข่ายร่วมกัน ช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกัน รวมทั้งมีการติดต่อสื่อสาร กันอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งน�ำความรู้และประโยชน์ที่ได้รับจากการ สัมมนาในครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้ในอนาคตต่อไป

10

“ในโอกาสนี้ ขอฝากให้นสิ ติ นักศึกษาทุกคน ขยันหมัน่ เพียร ในการศึกษาเล่าเรียน และในการประกอบอาชีพในอนาคต ขอให้ทกุ คน เป็นผูท้ มี่ คี วามเสียสละ มีจติ อาสาในการช่วยเหลือสังคมและส่วนรวม พร้อมที่จะเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ เป็นทรัพยากรที่เป็นก�ำลังส�ำคัญ ในการน�ำความรูแ้ ละประสบการณ์ไปพัฒนาถิน่ ฐานบ้านเกิด ซึง่ เชือ่ ว่า การศึ ก ษาเป็ น ปั จ จั ย หลั ก ที่ ส� ำ คั ญ ในการขั บ เคลื่ อ นการพั ฒ นา และแก้ ไ ขปั ญ หาในจั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ โดยนิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา ทุกคนที่มารวมกันในวันนี้จะเป็นก�ำลังส�ำคัญในการพัฒนาท้องถิ่น ภูมิล�ำเนาอย่างยั่งยืน และเชื่อว่าความร่วมมือร่วมใจ ความตั้งใจจริง ในการจัดสัมมนาในครั้งนี้จะเป็นแรงบันดาลใจที่ให้นิสิต นักศึกษา น�ำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ต่อตนเองและท�ำประโยชน์คืนสู่สังคม รวมทั้งน�ำความรู้ไปพัฒนา ท้องถิ่นและภูมิล�ำเนาอย่างยั่งยืนสืบไป” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว อนุสาร


เรื่องเล่า

อุดมศึกษา

1 FEALAC University Network Meeting st

๒๑ มกราคม ๒๕๕๙ - ส�ำนัก งานคณะกรรมการการ อุ ด มศึ ก ษา ร่ ว มกั บ กรมอเมริ ก าและแปซิ ฟ ิ ก ใต้ กระทรวงการ ต่ า งประเทศ และศู น ย์ ล าติ น อเมริ ก าศึ ก ษา คณะอั ก ษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัย ของภูมภิ าคเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกา ครัง้ ที่ ๑ (1st FEALAC University Network Meeting) ณ อาคารมหาจุ ฬ าลงกรณ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้รับเกียรติจาก นางอรสา ภาววิมล ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานเปิดการประชุม และมีผู้แทนจากสถาบันอุดมศึกษา ในกลุ่มประเทศลาตินอเมริกาและเอเชียตะวันออก ผู้แทนสถาบัน อุดมศึกษาไทย รวมทั้งเอกอัครราชทูตจากประเทศบราซิล คิวบา โคลอมเบีย เปรู และผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตของประเทศ ลาตินอเมริกาและเอเชียตะวันออกในประเทศไทย ได้แก่ สาธารณรัฐ ประชาชนจีน มาเลเซีย อาเจนติน่า และชิลี เข้าร่วมการประชุม ดังกล่าว

นางอรสา ภาววิมล ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการ อุดมศึกษา กล่าวว่า ประเทศบราซิลเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดในการจัด ประชุม FEALAC University Network วัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้าง ความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของภูมิภาคเอเชียตะวันออก และลาตินอเมริกาให้มคี วามเข้มแข็งและเป็นรูปธรรม และเห็นว่าการ ที่ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นเจ้าภาพในการจัดการ ประชุม 1st FEALAC University Network จะเป็นโอกาสอันดีที่ ผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาของทั้งสองภูมิภาคได้สร้างความคุ้นเคย

และหารือความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกัน ในการประชุมครั้งนี้ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้รบั เกียรติจากศาสตราจารย์ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในฐานะผู้แทนจากที่ประชุมอธิการบดีแห่ง ประเทศไทย ท�ำหน้าที่ประธานฝ่ายไทย และ H.E. Mr. Gilberto Fonseca Guimaraes de Moura เอกอัครราชทูตบราซิลประจ�ำ ประเทศไทย ท�ำหน้าที่เป็นประธานฝ่ายบราซิล ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ร่วมแสดงความคิดเห็นและอภิปรายเกี่ยว กับสาขาวิชาที่สถาบันอุดมศึกษาทั้งสองภูมิภาคต้องการที่จะสร้าง ความร่วมมือ โดยให้ความส�ำคัญกับสาขาวิชา Language, Literature, Culture และ Humanities เนื่องจากเห็นว่าสาขาวิชาดังกล่าวจะมี ส่วนช่วยผลักดันให้สถาบันอุดมศึกษาของทัง้ สองภูมภิ าคได้เรียนรูแ้ ละ เข้าใจกันมากยิง่ ขึน้ ทัง้ นี้ ทีป่ ระชุมมีความเห็นว่ากิจกรรมความร่วมมือ ทีส่ ามารถจะด�ำเนินการได้ในเบือ้ งต้น คือ การให้ทนุ การศึกษาส�ำหรับ นักศึกษาจากประเทศเอเชียตะวันออกเพื่อไปศึกษาภาษาสเปนและ ภาษาโปรตุเกสในประเทศลาตินอเมริกา การแลกเปลี่ยนการเยือน การศึกษาดูงาน การท�ำวิจัยร่วมในสาขาที่ทั้งสองฝ่ายมีความสนใจ ร่วมกัน รวมไปถึงการส่งเสริมการจัดตั้ง Asian Studies Center และ Latin American Study Center ทั้งนี้ ในล�ำดับถัดไปทั้งสองฝ่ายจะ ต้องก�ำหนดผู้ประสานงานและก�ำหนดช่องทางในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างกัน

11


เรื่องเล่าอาเซียน

สานสัมพันธ์ ไทย-ลาว ครั้งที่ ๖ เพื่ อ สร้ า งความคุ ้ น เคยระหว่ า งผู ้ บ ริ ห ารระดั บ สู ง ของ หน่วยงานที่รับผิดชอบการบริหารจัดการการอุดมศึกษาของประเทศ อาเซียนต่างๆ พร้อมทั้งสร้างช่องทางในการติดต่อระหว่างกันได้ โดยตรงให้มีความรวดเร็วและสะดวก เพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ในการก�ำหนดนโยบายและการบริหารจัดการ การอุดมศึกษาของประเทศอาเซียนอื่นๆ ตลอดจนสร้างขีดความ สามารถในการแข่งขันของการอุดมศึกษาไทย ดังนั้น ส�ำนักงานคณะ กรรมการการอุดมศึกษา และหน่วยงานทีร่ บั ผิดชอบการบริหารจัดการ การอุดมศึกษาของประเทศอาเซียนต่างๆ จึงผลัดกันเป็นเจ้าภาพ จัดการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ (retreat) ระหว่างหน่วยงาน ที่ รั บ ผิ ด ชอบการบริ ห ารจั ด การการอุ ด มศึ ก ษาของกลุ ่ ม ประเทศ อาเซียน มาอย่างต่อเนื่อง ในปี ๒๕๕๘ ที่ ผ ่ า นมา ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา จัดการประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้บริหาร ระดับสูงของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กับหน่วยงาน ที่รับผิดชอบการบริหารจัดการการอุดมศึกษาของประเทศอาเซียน ต่างๆ อาทิ สิงคโปร์ กัมพูชา และเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม

12

อย่างไม่เป็นทางการ (retreat) กับผู้บริหารระดับสูงของกรมการ ศึกษาชั้นสูง กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว ครัง้ ที่ ๕ ณ โรงแรม พินนาเคิลแกรนด์จอมเทียน รีสอร์ต แอนด์สปา จังหวัดชลบุรี ดังนัน้ ในปี ๒๕๕๙ กรมการศึกษาชัน้ สูง กระทรวงศึกษาธิการ และกีฬา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จึงเป็นเจ้าภาพ จัดการประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้บริหารระดับสูงของ ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา กระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร กับผู้บริหารระดับสูงของกรมการศึกษาชั้นสูง กระทรวงศึกษาธิการ และกี ฬ า สาธารณรั ฐ ประชาธิ ป ไตยประชาชนลาว ครั้ ง ที่ ๖ ณ มหาวิทยาลัยจ�ำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๙ โดยมีนางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทย และ ดร. พรเพชร บุปผา อธิบดีกรมการศึกษาชั้นสูงฯ สปป.ลาว เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายลาว ผูเ้ ข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย ผูบ้ ริหาร ระดับสูงกรมการศึกษาชัน้ สูง และคณะผูบ้ ริหารมหาวิทยาลัยจ�ำปาสัก สปป.ลาว และผูบ้ ริหารระดับสูงและเจ้าหน้าทีส่ ำ� นักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา อนุสาร


เรื่องเล่า

อาเซียน ลาวและไทยมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมาเป็นเวลายาวนาน นอกเหนือจากความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์แล้ว ทั้งสองประเทศยัง มีภาษา วัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่คล้ายคลึงกัน ดังนั้น การประชุม อย่างไม่เป็นทางการ (Retreat Meeting) ที่จัดขึ้นเป็นประจ�ำทุกปี โดยทั้งสองฝ่ายผลัดกันเป็นเจ้าภาพนั้น เป็นการกระชับความสัมพันธ์ เพื่อหาแนวทางในการริเริ่มและสานต่อความร่วมมือทางวิชาการ ระดับอุดมศึกษาระหว่างไทยกับลาวบนพื้นฐานของความจ�ำเป็นและ ความต้องการในการพัฒนาอุดมศึกษาของทั้งสองประเทศ ทั้งในด้าน นโยบายและแผนการอุดมศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้ง การแลกเปลีย่ นองค์ความรูใ้ นด้านต่างๆ ซึง่ ในปีทผี่ า่ นมาไทยได้ดำ� เนิน โครงการจัดฝึกอบรมด้านการบริหารจัดการด้านการเงินให้แก่บคุ ลากร ของกรมอุดมศึกษาชั้นสูงกระทรวง ศึกษาธิการและกีฬา สปป.ลาว เพื่อสร้างความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการวางแผน และการบริหารการเงินที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

ส�ำหรับการประชุมในครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้หารือและเห็น พ้องที่จะริเริ่มการด�ำเนินกิจกรรมความร่วมมือในระดับอุดมศึกษา ระหว่ า งกั น ภายใต้ ก รอบแผนงานที่ ค รอบคลุ ม ในทุ ก มิ ติ ได้ แ ก่ (๑) การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษา (๒) การบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (๓) การพัฒนางานวิจยั ระดับอุดมศึกษา (๔) การจัดตัง้ หน่วยบ่มเพาะ วิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษาของ สปป. ลาว และ (๕) การแลกเปลีย่ น ความรู้ด้านการจัดเก็บข้อมูลอุดมศึกษา นอกจากนั้น ยังตกลงที่จะ ผลั ก ดั น และการสานต่ อ กิ จ กรรมที่ ไ ด้ ริ เ ริ่ ม แต่ ยั ง อยู ่ ร ะหว่ า งการ ด� ำ เนิ น การให้ แ ล้ ว เสร็ จ เช่ น โครงการจั ด ท� ำ พจนานุ ก รมภาษา ลาว-ไทย-อังกฤษ เป็นต้น การประชุมครั้งนี้เป็นอีกก้าวหนึ่งของการพัฒนาความ ร่วมมือเพือ่ การพัฒนาทรัพยากรบุคคลทีม่ ขี ดี ความสามารถในการ แข่งขันในเวทีระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่องและอย่างยั่งยืน

13


เรื่องพิเศษ

จิตอาสาพัฒนาสังคมไทย สกอ. ห่วงใยสังคม

จากความมุ่งมั่น ผ่านค�ำปรารภของเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาคนปัจจุบัน ‘นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์’ ที่อยากให้ข้าราชการส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาท�ำโครงการจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือดูแลโรงเรียนที่ได้รับโอกาสน้อย อย่างต่อเนื่อง ในวันมอบนโยบายให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ของ สกอ. เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๘ วันแรกที่เข้ารับต�ำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา จากวันนั้น ถึงวันนี้ เป็นเวลาเพียง ๔ เดือนเท่านั้น ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้จัดกิจกรรมเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) ภายใต้โครงการจิตอาสาพัฒนาสังคมไทย สกอ. ห่วงใยสังคม ตามความมุง่ มัน่ ของเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา ซึ่งเป็นกิจกรรมน�ำร่องครั้งแรก ในรูปแบบการบริจาคเพื่อการกุศล โดยรับบริจาคอุปกรณ์ส�ำหรับ การจัดการศึกษา ทั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สมุด หนังสือแบบเรียน หนังสือพจนานุกรม หนังสือส�ำหรับสืบค้นในห้องสมุด สื่อการสอน เครือ่ งเขียน อุปกรณ์กฬี า เครือ่ งเวชภัณฑ์ เครือ่ งอุปโภคบริโภค เพือ่ น�ำไปสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนบ้านดอนมะกอก สังกัดส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต ๒ มีนักเรียนชั้นอนุบาล ๑ ถึงประถมศึกษาปีที่ ๖ จ�ำนวน ๘๔ คน

14

อนุสาร


เรื่อง

พิเศษ

ทั้ ง นี้ ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา ได้รับ การ สนับสนุนร่วมบริจาคสิ่งของจากหน่วยงานราชการและบริษัทเอกชน ดังนี้ (๑) ราชบัณฑิตยสถาน ร่วมบริจาค หนังสือพจนานุกรม ส�ำหรับ ห้องสมุด (๒) องค์การค้าของส�ำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการ และสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ร่วมบริจาค สมุด และหนังสือเรียน (๓) บริษัท เอสวีโอเอ จ�ำกัด (มหาชน) ร่วมบริจาค เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง (๔) บริษัท โรงงานฟุตบอลล์ ไทย สปอร์ตติ้งกู๊ดส์ จ�ำกัด (FBT) และส�ำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด (ปปส.) ร่วมบริจาค อุปกรณ์กีฬา และ (๕) บริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิทเทม จ�ำกัด (เทสโกโลตัส) ร่วมบริจาค เครื่องอุปโภคบริโภค ส�ำหรับส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้จัดหาโต๊ะคอมพิวเตอร์ เครื่องเวชภัณฑ์ เสื้อผ้าไทยส�ำหรับนักเรียน และบุคลากร และทุนอาหารกลางวัน เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๙ นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา พร้อมด้วยผูบ้ ริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้น�ำสิ่งของ ที่ได้รับบริจาคไปมอบให้นายพงษกร อินทราพงศ์ ผู้อ�ำนวยการโรงเรียน บ้านดอนมะกอก และได้เลี้ยงอาหารกลางวันนักเรียน เพื่อถวายเป็น พระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาส มหามงคลเฉลิ ม พระชนมพรรษา ๗ รอบ ๑๒ สิ ง หาคม ๒๕๕๙ ตามโครงการจิตอาสาพัฒนาสังคมไทย สกอ. ห่วงใยสังคม ในโอกาสนี้ เลขาธิการ กกอ. และคณะ ได้มีโอกาสเยี่ยมชม โรงเรียน ทั้งห้องคอมพิวเตอร์ ห้องพยาบาล ห้องโภชนากร ห้องสมุด และแหล่งเรียนรู้ไร่นาสวนผสม ภายในบริเวณโรงเรียนด้วย นี่คือ จุดเริ่มต้นเล็กๆ ที่พี่ช่วยน้อง

15


Tips

รูปแบบการจัดกิจกรรม CSR หรือชนิดกิจกรรม แบ่งได้เป็น ๗ ประเภท คือ

การส่งเสริมการรับรู้ประเด็นปัญหาทางสังคม (Cause Promotion) เป็นการจัดหาเงินทุน วัสดุสิ่งของ หรือทรัพยากรอื่นขององค์กร การตลาดที่เกี่ยวโยงกับประเด็นทางสังคม (Cause-Related Marketing) เป็นการอุดหนุนหรือ การบริจาครายได้ส่วนหนึ่งจากการขายผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยเหลือหรือร่วมแก้ไขประเด็นปัญหาทางสังคม การตลาดเพือ่ มุง่ แก้ไขปัญหาสังคม (Corporate Social Marketing) เป็นการสนับสนุนการพัฒนาหรือ การท�ำให้เกิดผลจากการรณรงค์เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในด้านสาธารณสุข ด้านความปลอดภัย ด้านสิ่งแวดล้อม หรือด้านสุขภาวะ การบริจาคเพื่อการกุศล (Corporate Philanthropy) เป็นการช่วยเหลือไปที่ประเด็นปัญหาทางสังคม โดยตรง ในรูปของการบริจาคเงินหรือวัตถุสิ่งของ การอาสาช่วยเหลือชุมชน (Community Volunteering) เป็นการสนับสนุนหรือจูงใจให้พนักงาน คู่ค้า ร่วมสละเวลาและแรงงานในการท�ำงานให้แก่ชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่และเพื่อตอบสนองต่อประเด็นปัญหาทางสังคม ที่องค์กรให้ความสนใจหรือห่วงใย การประกอบธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคม (Socially Responsible Business Practices) เป็นการด�ำเนินกิจกรรมทางธุรกิจอย่างพินจิ พิเคราะห์ทงั้ ในเชิงป้องกันด้วยการหลีกเลีย่ งการก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม หรือในเชิงร่วมกันแก้ไขด้วยการช่วยเหลือเยียวยาปัญหาทางสังคม การพัฒนาและส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการตามก�ำลังซือ้ ของคนในระดับฐานราก (Developing and Delivering Affordable Products and Services) เป็นการใช้กระบวนการทางธุรกิจในการผลิตและจ�ำหน่าย สินค้าและบริการสู่ตลาดที่เรียกว่า The Bottom of the Pyramid (BoP) ในราคาที่ไม่แพง เหมาะกับก�ำลังซื้อ ของผู้บริโภคในระดับฐานราก การจ�ำแนกกิจกรรม CSR ข้างต้น จะพบว่ากิจกรรม ๓ ชนิดแรก เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมทางการพูด หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่งว่าเป็นการสื่อสารการตลาดที่เข้าข่ายการด�ำเนินกิจกรรมโดยใช้ทรัพยากรนอกองค์กรเป็นหลัก (Social-driven CSR) ส่วนกิจกรรม ๔ ชนิดหลัง เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมทางการกระท�ำ หรือเป็นการด�ำเนินกิจกรรม ขององค์กรโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ภายในองค์กรเป็นหลัก (Corporate-driven CSR)

16

ข้อมูล : www.thaicsr.com อนุสาร


เรื่อง

แนะน�ำ มหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยระดับโลก (๒) Thailand Excellence 2030 ข้อมูลโดย ส�ำนักส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะบุคลากร เป้าประสงค์ของโครงการ (Purpose) ๑) เสริมสร้างขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการค้นคว้าวิจัย การผลิต ก�ำลังคนคุณภาพสูง ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (ก�ำหนดเป้าหมายการผลิตของประเทศ) โดยใช้สถาบันอุดมศึกษา เป็นหัวรถจักรขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ๒) มุ่งน�ำพาประเทศไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยมีรายได้ประชาชาติ (GDP-per capita) ๑๒,๐๐๐ เหรียญสหรัฐต่อปี ภายในปี ๒๐๓๐ ซึ่งจะท�ำให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดักกลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง (Middle-Income Trap) ๓) เกิดหน่วยงานบริหารจัดการข้อมูลอุดมศึกษาไทยเพื่อการพัฒนา ยกระดับคุณภาพ และจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษา ขั้นสูงของประเทศไทย วัตถุประสงค์หลัก (Primary Objectives) ๑) พัฒนาสถาบันอุดมศึกษาให้เป็นศูนย์รวมแห่งพลังปัญญาของประเทศที่มีศักยภาพสูง ประกอบด้วย นิสิตนักศึกษา คณาจารย์ และนักวิจัย (Concentration of Talent) ๒) พัฒนาเสถียรภาพและความพอเพียงของทรัพยากรอุดมศึกษาจากแหล่งทรัพยากรของรัฐ การแสวงหารายได้ในรูปแบบ ต่างๆ การสะสมทุนในระยะยาว การสนับสนุนจากแหล่งทุนในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนพัฒนาประสิทธิภาพและความโปร่งใส ในการใช้จ่ายของประเทศ (Abundant Resources) ๓) กระตุน้ และส่งเสริมการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษา การแก้ไขกฎระเบียบ การบริหารและวิชาการ ให้เกิดความคล่องตัวและมีอิสระในการบริหารจัดการเป็นของตนเอง เพื่อสร้างเสถียรภาพ ทางวิชาการ การสร้างทีมผู้น�ำ วิสัยทัศน์ เชิงยุทธศาสตร์ และวัฒนธรรมความเป็นเลิศทางวิชาการ วัตถุประสงค์รอง เพื่อเร่งให้เกิดการจัดการยกระดับคุณภาพการอุดมศึกษาไทยและการใช้เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาในการกระจาย องค์ความรู้ โดยมุ่งหวังที่จะให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างด้านก�ำลังคน การเพิ่มทุนทางปัญญาและนวัตกรรมของชาติ เปลี่ยนผ่านสังคม ไทยสู่สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ โดย ๑) ผลักดันกลุ่มมหาวิทยาลัยที่มีความพร้อมและมีศักยภาพสูงเข้าสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยที่มีมาตรฐานระดับโลก (World Class University) ๒) ผลักดันมหาวิทยาลัยที่มีสาขาวิชา (Subject Area) และสาขาวิชาย่อย (Subject) ที่มีศักยภาพที่จะแข่งขันได้ ให้เกิด การพัฒนาถึงคุณภาพและมาตรฐานในระดับโลก ๓) ผลักดันมหาวิทยาลัยกลุ่มใหม่ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมจากงานวิจัยผ่านเครือข่ายวิจัย (University Research Consortium) เพื่อการพัฒนาทุนมนุษย์และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

17


เรื่องแนะน�ำ ระยะเวลาด�ำเนินการ ในปี ง บประมาณ ๒๕๕๗ ก� ำ หนดให้ มี ก ารจ้ า งผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ร ะดั บ นานาชาติ ด้ า นการบริ ห ารมหาวิ ท ยาลั ย และ การเป็น “World Class University” เป็นที่ปรึกษาโครงการ ก�ำหนดกรอบและผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวัง รวมถึงประเมินและ ให้ ค� ำ แนะน� ำ กั บ มหาวิ ท ยาลั ย ในการปฏิ รู ป การขั บ เคลื่ อ นมหาวิ ท ยาลั ย ไปสู ่ ร ะดั บ คุ ณ ภาพที่ สู ง ขึ้ น มี ก ารจั ด ตั้ ง หน่ ว ยงาน บริหารจัดการฐานข้อมูลอุดมศึกษาไทยเพื่อการติดตามและเพื่อก�ำหนดทิศทางของการบริหารมหาวิทยาลัย จากนั้นจึงถึงระยะ เริ่มต้นของโครงการซึ่งมีระยะเวลาด�ำเนินการ ๑๕ ปี (ปีงบประมาณ ๒๕๕๘ - ๒๕๗๒) ก�ำหนดแผนปฏิบัติการออกเป็น ๓ ระยะ ระยะละ ๕ ปี โดยให้มหาวิทยาลัยจัดท�ำข้อเสนอโครงการพร้อมเอกสารแนบเป็นภาษาอังกฤษ ในขณะเดียวกัน ส�ำนักงานคณะ กรรมการการอุดมศึกษาจะแต่งตั้งคณะท�ำงาน (Task Force) ที่ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากต่างประเทศพิจารณาเอกสาร จากมหาวิ ท ยาลั ย ตามที่ ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาก� ำ หนด โดยคณะกรรมการจะพิ จ ารณาพร้ อ มพบปะหารื อ เพื่อสะท้อน (Feedback) ผลการประเมิน ให้ค�ำแนะน�ำกับผู้บริหารและให้มหาวิทยาลัยท�ำการแก้ไขปรับปรุงโครงการจนเป็นที่พอใจ ของคณะกรรมการ จากนั้นจึงอนุมัติให้มหาวิทยาลัย เริ่มด�ำเนินโครงการตามแผน เป้าหมาย เป้าหมายระยะ ๕ ปี ๑) เครือข่ายมหาวิทยาลัยไทย (Thai University Consortia) ที่เกิดจากความร่วมมือในการสร้างหลักสูตรและงานวิจัย คุณภาพร่วมกัน ทั้งนี้รวมถึงสาขาวิชาที่เป็น Interdisciplinary หรือ Multidisciplinaries ที่เกิดจากการบริหารจัดการที่มีการ สอดรับและใช้ความเข้มแข็งทางด้านวิชาการของแต่ละสถาบัน ๒) ระบบการอุดมศึกษาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพในการสนับสนุนสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้และเชิงสร้างสรรค์ ๓) ทรัพยากรมนุษย์ซึ่งมีทักษะและความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่ตนถนัด และมีความสามารถในการบูรณาการความรู้ ในลักษณะของสหสาขาวิทยาการ (Interdisciplinary) เน้นการพัฒนาที่ให้อิสระทางความคิดบนพื้นฐานของความรู้และความเข้าใจ วิถีของการด�ำรงชีวิตในสังคม และความท้าทายของสังคมอนาคต เพื่อตอบสนองความต้องการของคนที่จะเป็นทุนมนุษย์ในยุคใหม่ ซึ่งต้องมีสมรรถนะหลัก (Core Competency) อย่างสมบูรณ์ตามสายวิชาชีพและต้องมีลักษณะเด่นชัดในการปรับตัวเปลี่ยนแปลง ให้ตนเองมีมูลค่าเพิ่ม (Value-added) อย่างสม�่ำเสมอและต่อเนื่อง ๔) สัดส่วนงานวิจัยที่ตอบสนองต่อภาคอุตสาหกรรมและบริการเพิ่มมากขึ้น ๕) การจัดอันดับมหาวิทยาลัยไทย (Ranking) ที่เหมาะสมกับบริบทและเป้าหมายการอุดมศึกษาของประเทศไทย เพื่อใช้ ในการยกระดับคุณภาพของมหาวิทยาลัยไทย ๖) ฐานข้อมูลอุดมศึกษาทีม่ กี ารให้คำ� จ�ำกัดความของข้อมูลทีม่ คี วามชัดเจน น�ำมาใช้ในการขับเคลือ่ นโครงการและประเมิน คุณภาพ (ข้อมูลในฐานข้อมูลต้องเป็นข้อมูลตรวจสอบ (Validate) ได้และที่มีความถูกต้อง)

18

อนุสาร


เรื่อง

แนะน�ำ เป้าหมายระยะ ๑๐ ปี ๑) มหาวิทยาลัยทีม่ คี วามพร้อมและมีศกั ยภาพสูงทีต่ ดิ อันดับ (Ranking) ของสถาบันทีไ่ ด้รบั การรับรองจากระดับนานาชาติ ๒) สาขาวิชา (Subject Area) และสาขาวิชาย่อย (Subject) ในมหาวิทยาลัยไทยที่มีคุณภาพและมาตรฐานในระดับโลก ๓) งานวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมตามบริบทของชุมชน โดยอาศัยเครือข่ายมหาวิทยาลัย (University Consortium) สร้างนวัตกรรมงานวิจยั ส่งผลให้เกิดการพัฒนาในมหาวิทยาลัยกลุม่ ใหม่ และการเพิม่ ขีดความสามารถในการแข่งขันของมหาวิทยาลัย กลุ่มใหม่ในภูมิภาคอาเซียน ๔) ฐานข้อมูลอุดมศึกษาที่น�ำมาใช้ในการขับเคลื่อนโครงการและประเมินคุณภาพ สามารถเปรียบเทียบความก้าวหน้า ของการพัฒนามหาวิทยาลัยกับฐานข้อมูลอุดมศึกษาของประเทศอื่นๆ ได้ เป้าหมายระยะ ๑๕ ปี ๑) University Consortia ที่มีความยั่งยืน (Sustainable) ๒) อ�ำนาจการต่อรองทางการเงิน (Financial Leverages) ให้กับมหาวิทยาลัยในการได้มาซึ่งงบประมาณสมทบจาก หน่วยงานภายนอกไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หรือภาคเอกชน หรือแม้แต่หน่วยงานระหว่างประเทศ ๓) อุตสาหกรรมของประเทศก้าวไปสูก่ ารใช้ฐานการผลิตทีอ่ าศัยเทคโนโลยีระดับสูง โดยเน้นการใช้นวัตกรรมทีค่ ำ� นึงถึงปัจจัย ด้านสิ่งแวดล้อม (Green Innovation) ควบคู่กับกระบวนการผลิตแบบลีน (Lean Manufacturing) เพื่อเป็นการเพิ่มผลิตภาพและ ยกระดับมาตรฐานของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ในประเทศทั้งระบบซึ่งเป็นผู้ประกอบการในระดับกลางและเล็ก (SME) ๔) มหาวิทยาลัยมีความพร้อมและศักยภาพสูงที่ติดอันดับ (Ranking) ที่ดีขึ้น ๕) ฐานข้อมูลอุดมศึกษาที่น�ำมาใช้ในการขับเคลื่อนโครงการและประเมินคุณภาพได้อย่างสมบูรณ์และยั่งยืน ๖) ระบบการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย

19


เรื่องแนะน�ำ ในส่ ว นของกลไกการประเมิ น ผลสั ม ฤทธิ์ ข องโครงการ ควรเริ่ ม จากก� ำ หนดกติ ก า แรงจู ง ใจ และความคาดหวั ง เช่ น ความคาดหวั ง ด้ า นความส� ำ เร็ จ (Expected Achievement) ของมหาวิทยาลัย ด้านการบริหารที่มีธรรมาภิบาล (Governance) แล้วท�ำการประเมินความส�ำเร็จ (Achievement) ด้านผลิตภาพ (Quantity) ทางวิชาการ ด้านคุณภาพ (Quality) ทางวิชาการ ประเมิน ความคุ้มค่าด้านงบประมาณ ผลสัมฤทธิ์และภาพพจน์ (outcome and impression) รวมถึงประเมินการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เชื้อเชิญ (Conducive Environment) การจั ด ซื้ อ และบริ ห ารจั ด การ ด้ า นครุ ภั ณ ฑ์ สิ่ ง เอื้ อ อ� ำ นวย ตลอดจนการสร้ า งบรรยากาศของ การเรียนการสอน การวิจัย (Academic Atmosphere) เพื่อการ รักษาบุคลากรและนักศึกษาระดับคุณภาพไว้ นอกจากนี้ สิ่งที่จะขาด ไม่ ไ ด้ คื อ การประเมิ น ผลจากผลการด� ำ เนิ น งานและท� ำ การ จัดอันดับและเทียบเคียง (Benchmark) กับมหาวิทยาลัยคู่เทียบ เป้าหมาย ตลอดจนพิจารณาถึงวัฏจักรของการประเมินคุณภาพ (Cycle of Quality Assessment) ได้แก่ การน�ำผลการประเมิน ตนเองมาปรับปรุงองค์กรอย่างต่อเนื่อง ท�ำให้เกิด Best Practice ของการบริ ห ารองค์ ก รที่ ยั่ ง ยื น พร้ อ มทั้ ง การเปรี ย บเที ย บอั ต รา การพั ฒ นาว่ า ก้ า วทั น กระแสการปรั บ ปรุ ง มหาวิ ท ยาลั ย ในระดั บ นานาชาติหรือไม่ ผลกระทบที่คาดว่าจะได้รับเมื่อจบโครงการ ๑๕ ปี ได้แก่ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจในเชิงมหภาค หากอ้างอิงถึงข้อมูลการลงทุน วิจัยพัฒนาของประเทศเกาหลี พบว่าสัดส่วนของการลงทุนวิจัย พัฒนาส่งผลกระทบสูงที่สุดในการเพิ่มผลิตภัณฑ์ในประเทศ (Gross Domestic Product-GDP) คือ ช่วง 1% จะส่งผลให้รายได้มวลรวม ประชาชาติ (Gross National Income-GNI) เพิ่มขึ้นถึง ๓ เท่าตัว ดังนั้น หากรัฐบาลไทยประมาณ Gross Domestic Expenditure on Research and Development (GERD) ของประเทศในปี ๒๕๕๙ ไว้ที่ ๑๓๐,๐๐๐ ล้านบาท (คิดเป็น 1% ของ GDP) โดยเป็นเงินลงทุน ภาครัฐทั้งสิ้นประมาณ ๔๐,๐๐๐ ล้านบาท (จากสัดส่วนการลงทุน จากภาครัฐ : เอกชน คือ ๓๐ : ๗๐) รายได้มวลรวมประชาชาติของ ประเทศควรจะขยายตัวอยู่ที่ไม่ต�่ำกว่า 12,000 USD per capita จากปัจจุบัน 5,210 USD per capita นอกจากนี้ ภาคอุตสาหกรรม ของประเทศจะก้าวไปสู่การใช้ฐานการผลิตที่อาศัยเทคโนโลยีระดับ สูง เกิดการขยายการใช้เทคโนโลยีระดับสูงไปสู่ SME เพือ่ เพิม่ คุณภาพ ผูป้ ระกอบการ คุณภาพผลผลิต เกิดการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี

20

ด้วยภูมิปัญญาไทยทั้งทางด้านกระบวนการผลิตทางด้านสิ่งประดิษฐ์ ที่เ ป็น Value-added Products และบริ การที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยและสังคมโลก โดยเฉพาะในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสีเขียว ในระยะยาวการเกิด ผลกระทบทางบวกต่อเศรษฐกิจในเชิงมหภาคอย่างต่อเนื่อง พร้อมๆ ไปกับการเพิ่มขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้วยการเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรมและภาคการผลิตอย่างยั่งยืน จะท�ำให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดักกลุม่ ประเทศรายได้ปานกลาง (Middle-Income Trap) ส่วนผลกระทบด้านการศึกษาและสังคม ได้แก่ เกิดการผลิต ครูทมี่ คี วามสามารถในการถ่ายทอดความรู้ โดยเฉพาะด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์และนักวิชาการคุณภาพ มีสมรรถนะที่สอดคล้อง กับโครงสร้างการผลิตและการบริการบนฐานความรู้และเศรษฐกิจ สร้ า งสรรค์ นอกจากนี้ เ กิ ด การพั ฒ นาครู ด ้ ว ยโจทย์ วิ จั ย ท้ อ งถิ่ น สร้างศักยภาพการบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาต่างๆ เพื่อการวิจัย ต่ อ ยอดจากฐานภู มิ ป ั ญ ญาท้ อ งถิ่ น สู ่ น วั ต กรรมด้ า นวิ ท ยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เกิดการริเริ่มโครงการที่กระตุ้นให้เกิดความร่วมมือ ระหว่างชุมชนและนักวิชาการในท้องถิ่นอันจะน�ำไปสู่งานวิจัยใน ชุมชนบนฐานการวิจยั และพัฒนาบนฐานทรัพยากร (Local Content) การพัฒนาบทเรียนท้องถิ่นและการประยุกต์ใช้บทเรียนที่ได้ ไม่ว่า จะเป็นด้านวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ความเป็นอยู่ สุขภาวะ หรือ เพื่อการอนุรักษ์ฟื้นฟูและใช้ประโยชน์จากท้องถิ่นอย่างยั่งยืน อาทิ งานวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อการพัฒนา อนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรชีวภาพในระบบนิเวศ ผลกระทบทางอ้อมนี้จะน�ำมาสู่ การพัฒนาคุณภาพชีวิต สุขภาวะ และความเป็นอยู่ด้านสิ่งแวดล้อม ที่ยั่งยืนในสังคมไทย ทั้งนี้ ปัจจัยส�ำคัญที่สุดที่จะน�ำ “โครงการขับเคลื่อน มหาวิทยาลัยไทยสูม่ หาวิทยาลัยระดับโลก” ไปสูค่ วามส�ำเร็จ (Key Success Factor) นั้นขึ้นอยู่กับการรับรอง (Endorsement) และ การผลักดันระยะยาวจากรัฐบาลให้โครงการได้รับการสนับสนุน อย่างจริงจังและอย่างต่อเนื่องในด้านงบประมาณ โดยมีเป้าหมาย หลักเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ในด้านทรัพยากรมนุษย์ ยังผลให้ประเทศไทยก้าวสูก่ ารเป็นสมาชิก ในกลุ่มประเทศที่หลุดพ้นจากกับดักกลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง (Middle-Income Trap)

อนุสาร


เล่าเรื่อง

ด้วยภาพ

๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ - นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ สรนิต ศิลธรรม รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และนายขจร จิตสุขมุ มงคล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมลงนาม ถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง โดยมีพลเอก ดาว์พงศ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ และผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมลงนามด้วย

21


เล่าเรื่องด้วยภาพ

๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ - นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมพิธลี งนามบันทึกความร่วมมือ โครงการ ‘การจัดท�ำยุทธศาสตร์การจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ สถาบันทางการแพทย์ สถาบันการศึกษาต่างๆ ภาพรวมของ ประเทศ ในระยะยาว (๕ -๑๐ ปี)’ ณ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยมี พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ศึกษาธิการ พร้อมด้วย ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ พลเอก อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ร่วมเป็นสักขีพยาน

๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ - นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานในพิธีปิด และมอบ ประกาศนียบัตรโครงการฝึกอบรมข้าราชการบรรจุใหม่ ‘หลักสูตรการเป็นข้าราชการที่ดี ตามกรอบของส�ำนักงาน ก.พ.’ ณ โรงแรม เดอะ ทวิน ทาวเวอร์

22

อนุสาร




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.