อนุสารอุดมศึกษา issue 455

Page 1

อนุสาร ปที่ ๔๒ ฉบับ ๔๕๕ ประจำเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๙

เอกสารเผยแพรของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ISSN 0125-2461


สารบัญ

CONTENT

๓ เรื• ่องเล่าอุดมศึกษา ๑๓ ๑๕

พิธีลงนามความร่วมมือโครงการสานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษา จังหวัดชายแดนภาคใต้ สกอ.เปิดเวทีระดมสมองวิเคราะห์ตวั ชีว้ ดั “จัดอันดับมหาวิทยาลัยไทย” สกอ. ปฐมนิเทศผูร้ บั ทุนพัฒนาศักยภาพการท�ำงานวิจยั ของอาจารย์รนุ่ ใหม่ และทุนส่งเสริมนักวิจัยรุ่นใหม่ สกอ. เร่ ง จั ด ท� ำ ยุ ท ธศาสตร์ ก ารพั ฒ นานิ สิ ต นั ก ศึ ก ษาในสถาบั น อุดมศึกษา แถลงข่าวการจัดงาน วันสหกิจศึกษาไทย ครั้งที่ ๗ สกอ.จัดอบรมเกี่ยวกับกฎหมายและวินัยของข้าราชการและพนักงาน ในสถาบันอุดมศึกษา สกอ. ปัจฉิมนิเทศครูอาสาสมัครชาวจีน รุ่นที่ ๑๔

• • • • • • เรื่องเล่าอาเซียน • การประชุ มผู้บริหารระดับสูงที่ก�ำกับดูแลงานด้านการศึกษาระดับ อุดมศึกษาของประเทศในภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ • การประชุ มติดตามผลการด�ำเนินโครงการ AUN/SEED-Net ระยะที่ ๓ ครั้งที่ ๒ พูดคุยเรื่องมาตรฐาน • • นโยบายการยกระดั บมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา การเตรียมความพร้อมสถาบันอุดมศึกษา เพื่อขอรับการรับรองจาก ABET

๒๑ เรื• ่องแนะน�ำ ๒๓ เล่าเรื่องด้วยภาพ

รายงานผลการศึกษาสภาวการณ์การผลิตและพัฒนาก�ำลังคนอุดมศึกษา

๑๗

คณะผู้จัดท�ำ

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๒๖ http://www.mua.go.th pr_mua@mua.go.th www.facebook.com/ohecthailand www.twitter.com/ohec_th ที่ปรึกษา นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม นายขจร จิตสุขุมมงคล นางอรสา ภาววิมล นายวันนี นนท์ศิริ บรรณาธิการ นางสาวปิยาณี วิริยานนท์ กองบรรณาธิการ นายกฤษณ์กร วงศ์ไทย นายเจษฎา วณิชชากร นางปราณี ชื่นอารมณ์ นายจรัส เล็กเกาะทวด นางสาวกุลนันท์ ภูมิภักดิ์ พิมพ์ท ี่ บริษัท เอกพิมพ์ไท จ�ำกัด โทรศัพท์ : ๐ ๒๘๘๘ ๘๑๕๒ , ๐ ๒๘๘๘ ๘๑๒๑ , ๐ ๒๘๘๘ ๘๔๘๖ โทรสาร : ๐ ๒๘๘๘ ๘๑๒๐


เรื่องเล่า

อุดมศึกษา

พิธีลงนามความร่วมมือ...โครงการ

สานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษา จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๙ – พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารพร้ อ มด้ ว ย พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีชว่ ยว่าการกระทรวง ศึกษาธิการ ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึก ข้ อ ตกลงความร่ ว มมื อ โครงการสานฝั น การกี ฬ าสู ่ ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่าง นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการ คณะกรรมการการศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐานและนาย ชาญเวช บุญประเดิม รองเลขาธิการคณะกรรมการการ อาชีวศึกษา ณ ห้องประชุม ส�ำนักงานศึกษาธิการภาค ๘ จังหวัดยะลา ซึง่ เป็นหนึง่ ในการปฏิบตั ภิ ารกิจในจังหวัด ยะลา คือการประชุมผู้บริหารหน่วยงานการศึกษาใน พืน้ ทีจ่ งั หวัดชายแดนภาคใต้ และพิธปี ดิ การจัดมหกรรม กีฬานักเรียนนักศึกษาภาคฤดูร้อนจังหวัดชายแดน ภาคใต้ ประจ�ำปี ๒๕๕๙

3


บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการสานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนใต้ ระหว่าง ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และส�ำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ได้ตระหนักถึงความส�ำคัญของการขับเคลื่อนนโยบาย น�ำการกีฬามาใช้ในการพัฒนาเยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ได้รับการศึกษาที่มี คุณภาพสอดคล้องกับความต้องการ ความสนใจ และศักยภาพของตน สามารถน�ำความรู้ความ สามารถด้านกีฬาไปใช้ในการศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพได้ เพือ่ น�ำไปสูก่ ารพัฒนาคุณภาพชีวติ ของเยาวชนและครอบครัวในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป จึงได้มีการลงนามความร่วมมือ สนับสนุนการด�ำเนินงานโครงการสานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนใต้ ดังนี้ ๑. ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พืน้ ฐานจะให้ความร่วมมือในการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่นโยบาย แนวทางปฏิบตั ิ “โครงการสานฝันการกีฬาสูร่ ะบบการศึกษาจังหวัดชายแดนใต้” ให้เข้าถึงเยาวชน ผู้ปกครอง คณาจารย์ และผู้ที่เกี่ยวข้องในจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างทั่วถึง รวมทัง้ ส่งเสริมการจัดหลักสูตรบูรณาการวิชาการและการกีฬาส�ำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตอนปลายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีความสามารถด้านกีฬาควบคู่กับด้านวิชาการ และ สนับสนุนทุนการศึกษาให้นกั เรียนกลุม่ เป้าหมายได้รบั การส่งเสริมและพัฒนาตนเองตามศักยภาพ จนจบในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ แผนการเรียน วิทยาศาสตร์ – กีฬา และแผนการเรียน ศิลป์ ภาษา-กีฬา

4

อนุสาร


เรื่องเล่า

อุดมศึกษา -๒-

๒. ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะให้ความร่วมมือและสนับสนุนในการ เตรียมความพร้อม และการจัดหาสถาบันอุดมศึกษาให้แก่เยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ทมี่ ี ความสามารถด้านกีฬาให้สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาตามศักยภาพและความ สามารถ โดยจะสนับสนุนทุนการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาจนส�ำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ในระดับปริญญาตรี ๓. ส�ำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจะให้ความร่วมมือและสนับสนุนในการ จัดหาสถานศึกษาในสังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ให้แก่เยาวชนในจังหวัด ชายแดนภาคใต้ที่มีความสามารถด้านกีฬาให้สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และระดับปริญญาตรี ตามศักยภาพและความสามารถ โดยจะสนับสนุน ทุนการศึกษาจนส�ำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ทั้งนี้ในการร่วมมือด�ำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขัน้ พืน้ ฐาน ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และส�ำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จะหารือและตกลงรายละเอียดการด�ำเนินงานโดยผ่านคณะกรรมการบริหารโครงการซึ่ง ประกอบด้วยผู้แทนจากทั้งสามฝ่าย ลงนาม ณ วันที่ ๒๕ เดือน เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๙

ลงชื่อ..................................................... ลงชื่อ.................................................. (นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์) (นายการุณ สกุลประดิษฐ์) เลขาธิการ กกอ. เลขาธิการ กพฐ.

ลงชื่อ ................................................... (นายชาญเวช บุญประเดิม) รองเลขาธิการ สอศ. แทนเลขาธิการ สอศ.

5


สกอ. เปิดเวทีระดมสมองวิเคราะห์ ตัวชี้วัด “จัดอันดับมหาวิทยาลัยไทย” ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์การจัดอันดับมหาวิทยาลัย และเสนอแนะตัวชี้วัดที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศขึ้น โดยเชิญ อธิการบดี รองอธิการบดี ผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วมระดมความคิดเห็น เพื่อวิเคราะห์ตัวชี้วัดที่เหมาะสมกับบริบท ของประเทศ ผลกระทบ (impact) ของตัวชี้วัดของสถาบันจัดอันดับ มหาวิทยาลัยที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยในระดับสูง และ แสวงหาแนวทางในการก�ำหนดทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยของไทย ณ โรงแรมมณเฑียร กรุงเทพมหานคร นางสาวอาภรณ์ แก่ น วงศ์ เลขาธิ ก ารคณะกรรมการการ อุดมศึกษา กล่าวว่า ปัจจุบันสถาบันจัดอันดับต่างๆหลายสถาบัน ได้ ด� ำ เนิ น การจั ด อั น ดั บ และประกาศผลการจั ด อั น ดั บ มหาวิ ท ยาลั ย

6

ออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยตัวชี้วัดต่างๆ มาใช้เป็นเกณฑ์ในการ พิจารณา ซึ่งตัวชี้วัดที่สถาบันจัดอันดับต่างๆ น�ำมาใช้นั้น เป็นตัวชี้วัด ในระดับสากลทีไ่ ด้รบั การยอมรับว่าเป็นตัวชีว้ ดั ทีส่ ง่ ผลดีตอ่ การพัฒนา คุณภาพมาตรฐานของมหาวิทยาลัยให้มีคุณภาพมาตรฐานในระดับ สากล แต่อย่างไรก็ตาม มีเพียงมหาวิทยาลัยของไทยบางกลุ่มเท่านั้น ทีม่ ศี กั ยภาพในการใช้ตวั ชีว้ ดั ดังกล่าว มาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา มหาวิทยาลัย เพือ่ การก้าวสูก่ ารเป็นมหาวิทยาลัยในระดับโลก ขณะที่ กลุ ่ ม มหาวิ ท ยาลั ย ที่ มี ศั ก ยภาพในการผลั ก ดั น ให้ มี ค วามเป็ น เลิ ศ (potential) และกลุม่ มหาวิทยาลัยเฉพาะทาง เช่น กลุม่ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคล อาจจ�ำเป็นต้องพิจารณาตัวชี้วัดอื่นๆ ที่มีความ เหมาะสมกับบริบทการพัฒนาของมหาวิทยาลัยแต่ละกลุ่มต่อไป “การประชุ ม เชิ ง ปฏิ บั ติ ก ารเพื่ อ วิ เ คราะห์ ก ารจั ด อั น ดั บ มหาวิทยาลัยและเสนอแนะตัวชี้วัดที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศ ในครัง้ นี้ จะเป็นส่วนส�ำคัญในการได้มาซึง่ ตัวชีว้ ดั ทีเ่ หมาะสมกับบริบท ของประเทศ อันจะเป็นประโยชน์ในการก�ำหนดทิศทางการพัฒนาและ ขับเคลื่อนให้มหาวิทยาลัยของไทยให้มีคุณภาพมาตรฐานเทียบเคียง ในระดับสากล อันจะส่งผลให้ผลการจัดอันดับของสถาบันจัดอันดับ ต่างๆ อยู่ในล�ำดับที่ดียิ่งขึ้น” เลขาธิการ กกอ. กล่าวในตอนท้าย อนุสาร


เรื่องเล่า

อุดมศึกษา

สกอ. ปฐมนิเทศผู ร้ บั ทุนพัฒนาศักยภาพการท�ำงาน

วิจยั ของอาจารย์รนุ่ ใหม่ และทุนส่งเสริมนักวิจยั รุน่ ใหม่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๙ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา(สกอ.) ร่วมกับส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) จัดปฐมนิเทศผูร้ บั ทุนพัฒนาศักยภาพการท�ำงานวิจยั ของอาจารย์รนุ่ ใหม่ และทุนส่งเสริมนักวิจัยรุ่นใหม่ โดยได้รับเกียรติจาก นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานเปิด การประชุม ณ ห้องกมลทิพย์ โรงแรมเดอะ สุโกศล กรุงเทพมหานคร เลขาธิการ กกอ. กล่าวในตอนหนึ่งว่า การประชุมในครั้งนี้ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาร่วมกับส�ำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัยได้สนับสนุนทุนวิจัยส�ำหรับนักวิจัยรุ่นใหม่ เพื่อยก ระดับความเข้มแข็งทางวิชาการ และสร้างความก้าวหน้าในเรื่องของ การวิจัยของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการร่วมการให้ทุนสนับสนุน เพือ่ ส่งเสริมนักวิจยั ให้มโี อกาสท�ำการวิจยั อย่างต่อเนือ่ ง ซึง่ กิจกรรมใน ครั้งนี้ได้ด�ำเนินการมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งสิ้น ๓,๐๐๐ กว่าทุน โดยในปีงบประมาณ ๒๕๕๙ ส�ำนักงานคณะกรรมการ

การอุดมศึกษาและส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยได้ร่วมกัน สนับสนุนทุนวิจัย จ�ำนวน ๒๗๐ ทุน โดย ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาสนับสนุนเงิน ๑๑๐ ล้านบาท และส�ำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัยสนับสนุนเงิน ๖๐ ล้านบาท เพื่อสร้างโอกาสให้ นักวิจัยรุ่นใหม่สามารถที่จะก้าวไปสู่การเป็นนักวิจัยอาชีพ เพื่อเป็นการพัฒนาประเทศอย่างมั่นคงและยั่งยืน ส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ให้ความส�ำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพ นักวิจัยเป็นอย่างมาก ประกอบกับนโยบายของรัฐบาลที่จะเพิ่ม การลงทุนวิจัย และการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และนักวิจัย ให้เพียงพอทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ทั้งยังเป็นการรองรับกับ แผนการขยายการลงทุ น ด้ า นการวิ จั ย และแผนการเพิ่ ม นั ก วิ จั ย ในการพัฒนาประเทศอย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป เลขาธิการ กกอ. กล่าวในตอนท้าย

7


สกอ. เร่งจัดท�ำยุทธศาสตร์การ พัฒนานิสิต นักศึกษาในสถาบัน อุดมศึกษา ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙ – นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฎิบัติ การและมอบนโยบายการจัดท�ำยุทธศาสตร์การพัฒนานิสิต นักศึกษา ในสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา ณ ห้ อ งแกรนด์ บ อลรู ม โรงแรมอี ส ติ น กรุงเทพมหานคร เลขาธิการ กกอ. กล่าวตอนหนึ่งว่า ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ในฐานะหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบการส่งเสริมและ พัฒนาศักยภาพนิสติ นักศึกษาในทุกมิตผิ า่ นเครือข่ายความร่วมมือของ สถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงได้ด�ำริที่จะจัดท�ำ ยุทธศาสตร์การพัฒนานิสิต นักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา โดยผ่าน กระบวนการระดมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้ก�ำหนดนโยบาย ใน สถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง เพือ่ ใช้เป็นกรอบแนวทาง ในการก�ำหนดแผนงานและโครงการในการด�ำเนินการและพัฒนา ศักยภาพของนิสิต นักศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งมุ่งตอบสนองต่อ ความต้องการของสถาบันอุดมศึกษาและทิศทางการพัฒนาสังคมและ ประเทศต่อไป การจัดท�ำยุทธศาสตร์การพัฒนานิสิต นักศึกษาใน สถาบันอุดมศึกษาฉบับนี้ จึงเปรียบเสมือนการก�ำหนดเป้าหมายและ แนวทางการด�ำเนินงานด้านการพัฒนานิสติ นักศึกษาร่วมกันระหว่าง ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและสถาบันอุดมศึกษา เพื่อ ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต ให้สอดคล้องกับแผนระดับชาติ ต่างๆ เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาการ ศึกษาแห่งชาติ ที่ได้มีการก�ำหนดยุทธศาสตร์ประการหนึ่ง คือ การ พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนให้สนับสนุนการเจริญเติบโตของ ประเทศและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งมุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพ

8

การศึกษาและการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับทักษะ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ดังนั้นการอุดมศึกษาจึงจ�ำเป็นต้อง เปิดตัวสู่โลกภายนอก โดยใช้กลไกการขับเคลื่อนของสถาบัน อุ ด มศึ ก ษาร่ ว มกั บ เครื อ ข่ า ยการท� ำ งานกั บ ทุ ก ภาคส่ ว นที่ เกี่ยวข้อง เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการ อุดมศึกษา โดยมีเป้าหมายสูงสุด คือ การพัฒนาบัณฑิต ซึ่งเป็น ทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ที่ เ ป็ น ก� ำ ลั ง ส� ำ คั ญในการพั ฒ นาสังคมและ ประเทศชาติต่อไป การพัฒนาบัณฑิตซึง่ เป็นผลผลิตของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้เป็น “ทรัพยากรบุคคล” ที่สมบูรณ์แบบ สามารถตอบ สนอง และเอื้ออ�ำนวยต่อการพัฒนาสังคมและประเทศชาติได้ ในทุกๆ ด้านในสภาพสังคมปัจจุบันที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่าง มากและรวดเร็วนัน้ การบูรณาการการเรียนการสอนกับกิจกรรม นิสติ นักศึกษาเข้าด้วยกัน จึงเป็นสิง่ จ�ำเป็นอย่างมากและถือเป็น หลั ก การส� ำ คั ญ ในยุ ท ธศาสตร์ ก ารพั ฒ นานิ สิ ต นั ก ศึ ก ษาใน สถาบันอุดมศึกษา ซึ่งส�ำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาก�ำลัง ด�ำเนินการยกร่างยุทธศาสตร์ฉบับนี้อยู่ โดยได้ก�ำหนดกรอบ แนวคิดว่า การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาไม่ใช่เน้นแต่องค์ ความรูห้ รือความเป็นเลิศทางวิชาการแต่เพียงอย่างเดียว แต่ควร ใช้กิจกรรมเป็นเครื่องมือทางการศึกษาในการพัฒนาคุณภาพ บัณฑิตด้วย เลขาธิการ กกอ. กล่าวในตอนสุดท้าย อนุสาร


เรื่องเล่า

อุดมศึกษา

แถลงข่าวการจัดงาน

วันสหกิจศึกษาไทย ครัง้ ที่ ๗ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๙ - รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม รองเลขาธิการคณะกรรมการการ อุดมศึกษา และศาสตราจารย์วจิ ติ ร ศรีสอ้าน นายกสมาคมสหกิจศึกษาไทย ร่วมกันแถลงข่าว การจัดงาน “วันสหกิจศึกษาไทย ครัง้ ที่ ๗ พ.ศ.๒๕๕๙” ณ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าว ในการแถลงข่าวว่า ส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา ร่วมกับสมาคมสหกิจศึกษาไทย เครือ ข่ายพัฒนาสหกิจศึกษาภาคกลางตอนบน และเครือ ข่ายพัฒนาสหกิจศึกษาภาคกลางตอนล่าง ร่วมกัน จัดงานวันสหกิจศึกษาไทย ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๕๙ ในวันจันทร์ที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ณ ห้อง ประชุมบัวสรรค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล รัตนโกสินทร์ ต�ำบลศาลายา อ�ำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยการจัดงานครั้งนี้ ได้เล็งเห็น ถึ ง ความส� ำ คั ญ ของการจั ด การศึ ก ษาในรู ป แบบ สหกิจศึกษา และการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับ การท�ำงาน ซึง่ ต้องการความร่วมมือระหว่างสถาบัน อุดมศึกษากับสถานประกอบการ โดยจัดให้นกั ศึกษา ไปปฏิบัติงานจริง เสมือนหนึ่งเป็นพนักงานของ สถานประกอบการ เพือ่ ให้นกั ศึกษามีความสมบูรณ์ พร้อม มีศักยภาพ สมรรถนะ และมีคุณลักษณะ ที่ ต รงกั บ ความต้ อ งการของสถานประกอบการ หรื อ ตลาดงาน โดยเป็ น นโยบายที่ รั ฐ บาลและ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้ความ ส�ำคัญเนื่องจากเป็นกระบวนการที่ส�ำคัญยิ่งในการ พัฒนาคุณภาพนักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่สามารถ เข้าสู่การประกอบอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพดังนั้น ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับสหกิจศึกษาจึงต้องช่วย กันพัฒนาและเตรียมความพร้อมให้กับบัณฑิตไทย

ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน นายกสมาคมสห กิจศึกษาไทย กล่าวในการแถลงข่าวตอนหนึ่งว่างาน วันสหกิจศึกษาไทย ครั้งที่ ๗ นี้จัดขึ้น โดยมีแนวคิด ของการจัดงาน คือ “สหกิจศึกษา : รู้ชัด ปฏิบัติได้ ใน ศตวรรษที่ ๒๑” ด้วยเล็งเห็นความส�ำคัญของคุณภาพ ของบัณฑิต ในศตวรรษที่ ๒๑ ที่ต้องมีศักยภาพทาง ด้านวิชาการ และความสามารถในทักษะการปฏิบตั งิ าน ควบคู่กันไป และเป็นบัณฑิตที่มีศักยภาพ ตรงกับ ความต้องการของสถานประกอบการ มีศักยภาพที่ สามารถพร้อมท�ำงานได้ทันทีหลังส�ำเร็จการศึกษา โดยวัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อให้ทุกภาคส่วน ทัง้ รัฐและเอกชน ทีร่ ว่ มจัดสหกิจศึกษา และภาคสังคม ได้ตระหนักและเห็นความส�ำคัญ รวมทั้งประโยชน์ ของการจัดการศึกษาระบบสหกิจศึกษา เผยแพร่ ความรู้ความเข้าใจและความก้าวหน้าในการด�ำเนิน การจั ด การศึ ก ษาแบบสหกิ จ ศึ ก ษาอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ยกย่ อ งและให้ เ กี ย รติ แก่ ผู ้ ท� ำ คุ ณ ประโยชน์ ใ ห้ กั บ สหกิจศึกษาไทยให้องค์กรและบุคคลทั้งภาครัฐและ เอกชนที่ร่วมด�ำเนินการสหกิจศึกษาได้มีโอกาสสร้าง ปฏิสมั พันธ์โดยพบปะแลกเปลีย่ นความรูแ้ ละความคิด เห็นระหว่างกัน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริม พั ฒ นาสหกิ จ ศึ ก ษาของประเทศไทยอย่ า งจริ ง จั ง ต่อเนือ่ ง และเป็นประโยชน์ตอ่ การส่งเสริมพัฒนาการ เรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย ต่อไป...

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา

ศาสตราจารย์วจิ ติ ร ศรีสอ้าน นายกสมาคมสหกิจศึกษาไทย

9


สกอ. จัดอบรมเกีย่ วกับ ก ฎ ห มา ยแล ะ วิ นั ยของ

ข้าราชการและพนักงานใน สถาบันอุดมศึกษา ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙ - นายขจร จิตสุขมุ มงคล รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นประธานเปิดการโครงการฝึกอบรม เกี่ยวกับกฎหมายและวินัยของข้าราชการและพนักงานในสถาบัน อุดมศึกษา ณ โรงแรม เดอะ เซส (The Sez Hotel) จังหวัดชลบุรี รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวว่า การจัดอบรมในครัง้ นีจ้ ะสามารถ สร้างความเข้มแข็ง ด้านการบริหารงานบุคคลให้แก่สถาบันอุดมศึกษา มากยิง่ ขึน้ ตลอดจนเป็นการเพิม่ พูนความรูเ้ กีย่ วกับการด�ำเนินการทาง วินยั ของข้าราชการและพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา เสริมสร้างทักษะ และเทคนิคในการปฏิบัติงาน รวมทั้งเปิดโอกาสให้มีการรับฟังปัญหา แลกเปลีย่ น ความคิดเห็นและประสบการณ์ดา้ นการสอบสวนทางวินยั อีกทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายบุคลากรผู้ปฏิบัติงานระหว่างสถาบัน อุดมศึกษากับส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา อันจะเป็น ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในอนาคต การจัดโครงการฝึกอบรมขึ้นในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพือ่ ให้ผเู้ ข้ารับการอบรมสามารถน�ำความรูเ้ กีย่ วกับหลักเกณฑ์ และวิธปี ฏิบตั ติ า่ งๆ ในการสอบสวนและพิจารณาโทษทางวินยั ไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง ให้มีทักษะและเทคนิคใน ด้านการพิจารณาความผิดและก�ำหนดโทษทางวินัย ตลอดจน สามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบตั งิ านได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่และจริยธรรม หรือ จรรยาบรรณของผู ้ ด� ำ เนิ น การทางวิ นั ย นอกจากนี้เปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการ อบรมได้ แ ลกเปลี่ ย นเรี ย นรู ้ แ ส ด ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น แ ล ะ ประสบการณ์ ตลอดจน ร่วมกันพิจารณาก�ำหนด แนวทางหรื อ แก้ ไ ขข้ อ ขั ด ข้ อ งหรื อ ปั ญ หา อุปสรรคในการด�ำเนิน การทางวินัย

10

อนุสาร


เรื่องเล่า

อุดมศึกษา

สกอ. ป ัจฉิมนิเทศครู

อาสาสมัครชาวจีน รุน่ ที่ ๑๔

ส�ำ

นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมกับส�ำนักงาน ฮัน่ ปัน้ ประจ�ำประเทศไทย จัดงานปัจฉิมนิเทศครูอาสาสมัคร ชาวจีน ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๕๘ กลุ่มที่ ๒ โดยได้รับเกียรติจาก นางอรสา ภาววิมล ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานเปิดงาน ณ โรงแรมรัชดาซิตี้ ห้วยขวาง กรุงเทพฯ ผู้ช่วยเลขาธิการ กกอ. กล่าวในตอนหนึ่งว่า การด�ำเนิน โครงการครูอาสาสมัครชาวจีนในประเทศไทยได้ประสบความส�ำเร็จ ลุล่วงมาด้วยดี โดยครูอาสาสมัครกลุ่มนี้ถือเป็นรุ่นที่ ๑๔ ต้อง ขอขอบคุ ณ หน่ ว ยงานต่ า งๆ ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง ที่ ร ่ ว มแรงร่ ว มใจกั น ขับเคลื่อนการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยให้ด�ำเนินไป อย่างราบรื่นและประสบความส�ำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูอาสา สมัครทุกท่านที่ได้มุ่งมั่นและตั้งใจปฏิบัติหน้าที่สอนภาษาจีนใน สถานศึกษาและสถาบันอุดมศึกษาของไทยอย่างเต็มก�ำลังและความ สามารถ ส�ำหรับการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศในประเทศไทย นั้น ภาษาจีนนับว่าเป็นภาษาต่างประเทศที่มีผู้เรียนมากที่สุดภาษา หนึ่ง และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในทุกๆปี ดังนั้น การเรียนการสอน ภาษาจีนจากเจ้าของภาษาโดยตรงจึงเป็นสิ่งส�ำคัญยิ่งที่จะท�ำให้ ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกฝนทักษะต่างๆ ของภาษาจีนได้อย่างถูกต้อง รวมไปถึงโอกาสในการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมด้านต่างๆ ของจีน อันจะเป็นประโยชน์ตอ่ การเสริมสร้างความเข้าใจในเชิงลึกเกีย่ วกับ ภาษาจีนให้กับผู้เรียนต่อไป ภายใต้กรอบความร่วมมือเพือ่ พัฒนาการเรียนการสอนภาษา จีนระหว่างส�ำนักงานส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติ (Hanban) และกระทรวงศึกษาธิการ ประเทศไทย (Framework of Co-operation between China National Office for Teaching Chinese as a Foreign Language (Hanban) and the Ministry of Education of the Kingdom of Thailand on Cooperation in Chinese Language Teaching)

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาร่วมกับส�ำนักงาน ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติ (Hanban) และ สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจ�ำประเทศไทย ได้ด�ำเนินโครงการครูอาสาสมัครชาวจีนโดยจัดส่งครูอาสาสมัคร ชาวจีนมาปฏิบัติงานที่ประเทศไทยเป็นระยะเวลา ๑ ปีการศึกษา เพื่อมาช่วยสอนและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในสถาบัน อุดมศึกษาไทยตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๔๙ เป็นต้นมา ปี ๒๕๔๙ มีจ�ำนวน ๑๖ คน ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษา ปี ๒๕๕๐ มีจำ� นวน ๑๓๕ คน ปฏิบตั งิ านในสถาบันอุดมศึกษา ๖๐ คน สถาบันขงจื่อ ๗๕ คน ปี ๒๕๕๑ มีจำ� นวน ๑๔๐ คน ปฏิบตั งิ านในสถาบันอุดมศึกษา ๖๙ คน สถาบันขงจื่อ ๗๑ คน ปี ๒๕๕๒ มีจำ� นวน ๑๘๓ คน ปฏิบตั งิ านในสถาบันอุดมศึกษา ๗๖ คน สถาบันขงจื่อ ๑๐๗ คน ปี ๒๕๕๓ มีจำ� นวน ๑๗๗ คน ปฏิบตั งิ านในสถาบันอุดมศึกษา ๗๗ คน สถาบันขงจื่อ ๑๐๐ คน ปี ๒๕๕๔ มีจำ� นวน ๒๐๗ คน ปฏิบตั งิ านในสถาบันอุดมศึกษา ๑๐๐ คน สถาบันขงจื่อ ๑๐๗ คน ปี ๒๕๕๕ มีจำ� นวน ๒๐๓ คน ปฏิบตั งิ านในสถาบันอุดมศึกษา ๑๐๐ คน สถาบันขงจื่อ ๑๐๓ คน ปี ๒๕๕๖ มีจำ� นวน ๒๒๗ คน ปฏิบตั งิ านในสถาบันอุดมศึกษา ๙๑ คน สถาบันขงจื่อ ๑๓๖ คน ปี ๒๕๕๗ มีจำ� นวน ๒๗๕ คน ปฏิบตั งิ านในสถาบันอุดมศึกษา ๙๒ คน สถาบันขงจื่อ ๑๘๓ คน ปี ๒๕๕๘ มีจำ� นวน ๒๖๕ คน ปฏิบตั งิ านในสถาบันอุดมศึกษา ๗๖ คน สถาบันขงจื่อ ๑๘๙ คน ปี ๒๕๕๙ มีจำ� นวน ๒๗๖ คน ปฏิบตั งิ านในสถาบันอุดมศึกษา ๘๐ คน สถาบันขงจื่อ ๑๙๖ คน

11


เรื่องเล่าอาเซียน

การประชุมผู บ้ ริหารระดับสูง ที่ ก�ำ กั บ ดู แลงานด้ า นการศึ ก ษา ระดับอุดมศึกษาของประเทศ ในภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ศูนย์ภมู ภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้วา่ ด้วยการอุดมศึกษาและ การพัฒนา (SEAMEO Regional Centre for Higher Education and Development: SEAMEO RIHED) ร่วมกับ กระทรวงการศึกษา สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Directors General/Secretary General/Commissioner of Higher Education in Southeast Asia ครั้งที่ ๑๐ เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๙ ณ เมืองมัณฑะเลย์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา โดยมีนางสาว อาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาเข้าร่วม การประชุม และมีผเู้ ข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผูบ้ ริหารจากกัมพูชา อินโดนีเซีย สปป.ลาว เมียนมา มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน สิงคโปร์ เวียดนามและไทย ที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าในการด�ำเนินกิจกรรมและ โครงการของศูนย์ SEAMEO RIHED ทั้ง ๔ ด้าน ได้แก่ การส่งเสริม การแลกเปลี่ยนนักศึกษา (Student Mobility Enhancement) การ พัฒนาภาวะผู้น�ำ (Leadership Development) E-learning and Mobile Learning และการจัดตั้งกลุ่มการท�ำวิจัยของอาเซียนและ การจัดท�ำฐานข้อมูลดัชนีการอ้างอิงวารสารในกลุ่มประเทศอาเซียน (ASEAN Research Clusters & ASEAN Citation Index) นอกจาก

12

นี้หน่วยงานระหว่างประเทศ ได้แก่ ศูนย์อาเซียนจีน (ASEAN China Center: ACC) ธนาคารเพือ่ การพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) และ European Union Support to Higher Education in the ASEAN Region (EU SHARE) ได้นำ� เสนอโครงการและกิจกรรม ที่ด�ำเนินการร่วมกับศูนย์ SEAMEO RIHED เพื่อพัฒนาคุณภาพและ ความกลมกลืน (Harmonization) ของอุดมศึกษาในอาเซียน ส�ำหรับในส่วนของประเทศไทย ส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาได้รายงานความก้าวหน้าในการด�ำเนินโครงการพัฒนาฐาน ข้อมูลดัชนีการอ้างอิงวารสารในกลุม่ ประเทศอาเซียน (ASEAN Citation Index: ACI) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับคุณภาพของวารสารทาง วิชาการของประเทศอาเซียนให้ได้รบั การเผยแพร่และยอมรับในระดับ นานาชาติ โดยส่งเสริมให้มีการบรรจุรายชื่อวารสารทางวิชาการที่มี คุณภาพของประเทศอาเซียนในฐานข้อมูล ACI โดยส�ำนักงานคณะ กรรมการการอุดมศึกษาร่วมกับศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index Centre) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรีจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการ บริหารโครงการครั้งที่ ๔ ณ ประเทศไทยในปี พ.ศ.๒๕๕๙ โดยจะ เชิญผู้แทนซึ่งเป็นกรรมการบริหารของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน เข้าร่วมการประชุม อนุสาร


เรื่องเล่า

อาเซียน

การประชุมติดตามผลการด�ำเนินโครงการ AUN/SEED-Net ระยะที่ ๓ ครัง้ ที่ ๒ The 2nd Joint Review Committee Meeting under AUN/SEED-Net Project (Phase 3)

ส�ำ

นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจัดการประชุม ติดตามผลการด�ำเนินโครงการเครือข่ายการพัฒนาการ ศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ของภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network/ Southeast Asia Engineering Education Development Network: AUN/SEED–Net) ระยะที่ ๓ ครั้ง ที่ ๒ (The 2nd Joint Review Committee Meeting under AUN/SEED-Net Project (Phase 3)) เมือ่ วันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๙ ณ โรงแรมปทุมวัน ปริ้นเซส กรุงเทพฯ โดยมี นางสาว อาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็น ประธานการประชุม

13


เรื่องเล่าอาเซียน

14

AUN/SEED-Net

การประชุ ม ติ ด ตามผลการด� ำ เนิ น โครงการเครื อ ข่ า ยการ พัฒนาการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ภายใต้เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน ในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วม ประชุมประกอบด้วย ผูแ้ ทนจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศ ของญี่ปุ่น (JICA) สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจ�ำประเทศไทย ส� ำ นั ก งานเลขานุ ก ารเครื อ ข่ า ยมหาวิ ท ยาลั ย อาเซี ย น ส� ำ นั ก งาน เลขานุการโครงการ AUN/SEED-Net และสถาบันอุดมศึกษาไทยที่ เป็นสมาชิกโครงการ AUN/SEED-Net ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย บูรพา และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยทีป่ ระชุมได้นำ� เสนอกรอบการท�ำงานของโครงการ AUN/SEED-Net และได้รายงานความก้าวหน้าและผลการด�ำเนินกิจกรรมภายใต้กรอบ ดังกล่าว นอกจากนั้นยังได้หารือถึงแผนการด�ำเนินงานและการเสนอ ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะเพือ่ ประกอบการพิจารณาการขยายการด�ำเนิน โครงการ AUN/SEED-Net ระยะที่ ๔ ต่อไป ส�ำหรับโครงการ AUN/SEED-Net เริ่มด�ำเนินการระยะที่ ๑ ตัง้ แต่เดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๔๔ โดยได้รบั เงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาล ญีป่ นุ่ ผ่านองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญีป่ นุ่ มีสำ� นักงาน เลขานุการตั้งอยู่ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานทีด่ ำ� เนินกิจกรรมความร่วมมือเพือ่ การพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ระหว่างอาเซียนและประเทศญี่ปุ่น ภายใต้กรอบความร่วมมือ ของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน มีวตั ถุประสงค์เพือ่ พัฒนาการเรียน การสอนด้านวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในภูมิภาคอาเซียนให้ ได้มาตรฐานสากลและน�ำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

อนุสาร


พูดคุยเรื่อง

มาตรฐาน

นโยบายการยกระดั บ มาตรฐาน ภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา

นโยบายการยกระดั บ มาตรฐานภาษาอังกฤษใน สถาบันอุดมศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตระหนักถึงนโยบายด้าน การศึ ก ษาและเรี ย นรู ้ ข องรั ฐ บาล ที่ จั ด ให้ มี ก ารปฏิ รู ป การศึ ก ษาและ การเรียนรูเ้ พือ่ สร้างคุณภาพของคนไทยให้สามารถเรียนรู้ พัฒนาตนได้เต็ม ตามศักยภาพ และเพื่อสอดคล้องกับนโยบายยกระดับมาตรฐานภาษา อั ง กฤษในทุ ก หลั ก สู ต รของรั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารเพื่ อ พัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถใช้

ภาษาอังกฤษเป็นเครือ่ งมือศึกษาค้นคว้าองค์ความรูท้ เี่ ป็นสากลและ ก้าวทันโลก เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และการเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่ ง ขั น ของประเทศ คณะกรรมการการ อุดมศึกษาในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๙ จึงออกประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรือ่ ง นโยบาย การยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา โดยให้ สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาก� ำ หนดนโยบายและเป้ า หมายการยกระดั บ มาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษาในทุกหลักสูตรและ ทุกระดับการศึกษา เพือ่ เป็นแนวทางในการพัฒนาความสามารถการ ใช้ภาษาอังกฤษของนิสิตนักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีความพร้อมทั้ง วิชาการ วิชาชีพ และทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในระดับที่ใช้ งานได้ รวมทั้งจัดท�ำแผนด�ำเนินการใช้เป็นไปตามนโยบายและ เป้าหมายที่มีตัวชี้วัดและมีการประเมินผลที่ชัดเจน

15


ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรือ่ ง นโยบายการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา ด้วยรัฐบาลมีนโยบายด้านการศึกษาและการเรียนรู้ โดยจัดให้มกี ารปฏิรปู การศึกษาและการเรียนรูเ้ พือ่ สร้างคุณภาพ ของคนไทยให้สามารถเรียนรู้ พัฒนาตนได้เต็มตามศักยภาพ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายยกระดับ มาตรฐานภาษาอังกฤษในทุกหลักสูตร เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถใช้ภาษา อังกฤษเป็นเครื่องมือศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้ที่เป็นสากลและก้าวทันโลก เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และการ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่อไป อาศัยอ�ำนาจตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวง ศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ คณะกรรมการการอุดมศึกษาในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๙ จึงออกประกาศคณะกรรมการ การอุดมศึกษา เรื่อง นโยบายการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้สถาบันอุดมศึกษาก�ำหนดนโยบายและเป้าหมายการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา ในทุกหลักสูตรและทุกระดับการศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาทักษะความสามารถ การใช้ภาษาอังกฤษของนิสิตนักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีความพร้อมทั้งวิชาการ วิชาชีพ และทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ ในระดับที่ใช้งานได้ (Working Knowledge) ข้อ ๒ ให้สถาบันอุดมศึกษาจัดท�ำแผนเพื่อด�ำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายและเป้าหมาย โดยมีตัวชี้วัดและมี การประเมินผลที่ชัดเจน ข้อ ๓ ให้สถาบันอุดมศึกษาพิจารณาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาอังกฤษโดยมุง่ ผลสัมฤทธิต์ าม เป้าหมายที่ก�ำหนด ข้อ ๔ ให้สถาบันอุดมศึกษาพิจารณาการจัดกิจกรรมนอกหลักสูตร กระบวนการ สื่อ และ/หรือสิ่งแวดล้อม ที่จะเปิด โอกาสและเสริมแรงจูงใจให้นิสิตนักศึกษาสามารถพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษได้ด้วยตนเอง ข้อ ๕ ให้สถาบันอุดมศึกษาพิจารณาจัดให้นสิ ติ นักศึกษาทุกคน ทดสอบความรูภ้ าษาอังกฤษตามแบบทดสอบมาตรฐาน ระดับอุดมศึกษาทีส่ ถาบันสร้างขึน้ หรือทีเ่ ห็นสมควรจะน�ำมาใช้วดั สมิทธิภาพทางภาษาอังกฤษ (English Proficiency) โดย สามารถเทียบเคียงผลกับ Common European Framework of Reference for Languages (CEFR) หรือมาตรฐานอื่น เพื่อให้ทราบระดับความสามารถของนิสิตนักศึกษา แต่ละคน และสถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณาน�ำผลการทดสอบความ รู้ทางภาษาอังกฤษบันทึกในใบรับรองผลการศึกษาหรือจัดท�ำเป็นประกาศนียบัตร โดยเริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๙ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๙

(รองศาสตราจารย์ คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการอุดมศึกษา

16

อนุสาร


พูดคุยเรื่อง

มาตรฐาน

การเตรียมความพร้อมสถาบันอุดมศึกษา เพือ่ ขอรับการรับรองจาก ABET ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาร่วมกับมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การเตรียมความพร้อมของสถาบันอุดมศึกษาไทยเพือ่ ขอรับการรับรอง จาก Accreditation Board for Engineering and Technology (ABET) ในสาขาวิศวกรรมโยธา สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิศวกรรม คอมพิวเตอร์ และสาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ขนึ้ โดยได้รบั เกียรติ จาก นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม ณ อาคาร KX (Knowledge Exchange for Innovation Center) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี คลองสาน เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคมที่ผ่านมา โลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้วยอิทธิพลของความ เคลือ่ นไหวด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง กระแสความเคลือ่ นไหว สูก่ ารบูรณาการในระดับภูมภิ าค ผนวกกับการผลักดันการเปิดเสรีดา้ น การค้าและการลงทุน ส่งผลให้มีการเคลื่อนย้ายบุคลากร นักวิชาชีพ นักศึกษา และครู อาจารย์โดยเสรี และการแข่งขันที่ทวีความรุนแรง เพิ่มขึ้น ทุกภาคส่วนของสังคมจึงมีความจ�ำเป็นต้องปรับตัวให้เท่าทัน

ความเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะการเตรียมพร้อมบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ เพื่อรองรับการท�ำงานในศตวรรษที่ ๒๑ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในฐานะหน่วยงานที่ ให้การส่งเสริมการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศให้มีความเป็น เลิศทางวิชาการและมีมาตรฐานเทียบเคียงระดับสากล ได้ตระหนักถึง ความจ�ำเป็นเร่งด่วนในการเตรียมการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ดั ง กล่ า วโดยการยกระดั บ คุ ณ ภาพหลั ก สู ต ร คุ ณ ภาพของบั ณ ฑิ ต อาจารย์และงานวิจยั ให้มมี าตรฐานเทียบเคียงได้ในระดับอาเซียนและ ระดับนานาชาติ เพื่อสร้างความมั่นใจแก่สังคมว่าสถาบันอุดมศึกษา ไทยจะสามารถพัฒนาองค์ความรู้ สร้างนวัตกรรมและผลิตบัณฑิตที่ ตอบสนองความต้องการของประเทศและแข่งขันได้ในประชาคมโลก การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นเครือ่ งมือส�ำคัญและจ�ำเป็นที่ สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาทุ ก แห่ ง ต้ อ งด� ำ เนิ น การ ซึ่ ง สถาบั น อุ ด มศึ ก ษา สามารถเลือกใช้ระบบประกันคุณภาพภายในทีเ่ หมาะสมสอดคล้องกับ ระดั บ การพั ฒ นาของสถาบั น โดยจะต้ อ งเป็ น ระบบที่ ส นองต่ อ เจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และกฎกระทรวง

17


ศึกษาธิการ และอาจเป็นระบบทีค่ ณะกรรมการประกันคุณภาพภายใน ระดับอุดมศึกษา หรือ ค.ป.ภ. พัฒนาขึ้น หรือเป็นระบบคุณภาพอื่นที่ เป็นที่ยอมรับในระดับสากล การที่หลักสูตรสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ของสถาบันอุดมศึกษาได้รับการรับรองมาตรฐานจาก ABET ที่เป็น ระบบประกันคุณภาพในระดับสากลจะเป็นกลไกส�ำคัญในการยกระดับ ความสามารถและคุณภาพของบัณฑิตในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ให้ ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงานในประชาคมอาเซียน และนานาชาติ ในปีนี้ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จดั ท�ำโครงการ น�ำร่องเพื่อเตรียมความพร้อมของสถาบันอุดมศึกษาไทยในการขอรับ การรับรองจาก ABET ใน ๕ สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิศวกรรมเครือ่ งกล สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ สาขาวิศวกรรมโยธา สาขาวิศวกรรม คอมพิวเตอร์และสาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ โดยได้รบั เกียรติจาก นักวิชาชีพไทยในสหรัฐอเมริกามาให้ข้อมูลในเชิงลึกเกี่ยวกับแนวทาง ขัน้ ตอนและวิธกี ารขอรับการรับรองจาก ABET รวมทัง้ เป็นพีเ่ ลีย้ งและ ประเมินความพร้อมให้สถาบันอุดมศึกษาไทย

18

การประชุมในครั้งนี้ผู้เข้าร่วมประชุมจะได้ฝึกปฏิบัติการจัดท�ำ รายงานการศึกษาตนเองในส่วนของ student outcomes และ continuous improvement ซึง่ เป็นเกณฑ์สำ� คัญในการประเมินของ ABET รวมทัง้ จะได้รบั ทราบข้อมูลเกีย่ วกับกรอบการรับรองมาตรฐาน การศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ของคณะอนุกรรมการรับรองมาตรฐาน คุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ หรือ TABEE ซึง่ สถาบันอุดมศึกษา ต้องศึกษาคุณสมบัตขิ อง student outcomes ของ ABET และ TABEE ควบคูก่ นั เพือ่ ให้การก�ำหนดคุณสมบัตขิ องบัณฑิตมีความสอดคล้องกัน ส�ำหรับในปี ๒๕๖๐ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะ ยังคงด�ำเนินโครงการเพื่อผลักดันให้สถาบันอุดมศึกษาไทยได้รับ การรับรองจาก ABET ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีสถาบันอุดมศึกษาไทยได้รับ การรับรองจาก ABET แต่หวังเป็นอย่างยิ่งว่าในอนาคตอันใกล้นี้ สถาบันอุดมศึกษาของไทยจะได้รบั การรับรองมาตรฐานหลักสูตรสาขา วิศวกรรมศาสตร์จาก ABET หรือระบบการประกันคุณภาพระดับ สากลอืน่ ๆ รวมทัง้ มีหลักสูตรอืน่ ๆ ได้รบั การรับรองมาตรฐานในระดับ สากลเพิม่ มากขึน้ ซึง่ จะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของสถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

อนุสาร


เรื่อง

แนะน�ำ

รายงานผลการศึกษาสภาวการณ์การผลิต และพัฒนาก�ำลังคนอุดมศึกษา

ส�ำ

นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ท�ำการศึกษาเชิงวิจัยสถาบัน เรื่อง การศึกษาสภาวการณ์การผลิตและพัฒนาก�ำลัง คนปีการศึกษา ๒๕๕๓-๒๕๕๗ ของสถาบันอุดม ศึกษาภายใต้ภารกิจส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยใช้ระบบ การจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ซึ่งเป็นฐานข้อมูลรายบุคคลนักศึกษาที่สถาบันอุดมศึกษาได้รายงานข้อมูลเข้ามาในช่วง ๕ ปีการ ศึกษาต่อเนื่อง มาท�ำการศึกษาในครั้งนี้

ผลการศึกษาได้สะท้อนก�ำลังการผลิตก�ำลังคนอุดมศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาระหว่างปีการศึกษา ๒๕๕๓-๒๕๕๗ ซึง่ มีจำ� นวน ๑๗๔ สถาบัน จ�ำแนกเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ๑๐๐ แห่ง เอกชน ๗๔ แห่ง และในการวัด วิเคราะห์ สังเคราะห์ ได้แบ่งประเภทสถาบันออก เป็น ๙ กลุม่ สถาบัน แบ่งระดับการศึกษาออกเป็น ๙ ระดับ จัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาต่าง ๆ ให้แก่นกั ศึกษาเข้าใหม่ ๒,๑๑๓-๒,๒๕๔ สาขาวิชา/ปีการศึกษา นักศึกษารวม ๒,๖๔๙-๒,๙๒๗ สาขาวิชา/ปีการศึกษา และนักศึกษาคาดว่าส�ำเร็จการศึกษา ๑,๔๐๘-๑,๕๐๑ สาขา วิชา/ปีการศึกษา ทั้งนี้ ได้แบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็นกลุ่มสาขาการศึกษา ต่าง ๆ (Fields of Education) ตามเกณฑ์ ISCED ๙๗ (International Standard Classification of Education - ๑๙๙๗) ที่แบ่งกลุ่มการศึกษาและฝึกอบรมออกเป็น ๓ ระดับ ประกอบด้วย การแบ่งกลุ่มสาขาในระดับภาพกว้าง (Board Field) ๙ กลุ่มสาขา และแบ่งกลุ่มย่อยออกไปอีกในระดับภาพแคบ (Narrow Field) ๒๕ กลุ่ม สาขา และยังแบ่งกลุ่มย่อย ๆ ออกไปในระดับรายละเอียด (Detail Field) ได้อีก ๙๒ กลุ่มสาขา ซึ่งจะช่วยสะท้อนสภาวะการณ์การผลิตก�ำลัง คนอุดมศึกษาทัง้ ระบบ ทัง้ ในประเด็นนโยบายและการตัดสินใจรับนักศึกษาเข้าใหม่ ประเด็นโครงสร้างระบบการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ตลอดจนสะท้อนเวทีการศึกษาเพือ่ การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ (ตลาดการศึกษา ตลาดแรงงาน) รวมทัง้ แสดงสถิตขิ อ้ มูลจ�ำนวนนักศึกษา ที่เข้ามาเรียน สถิติการบรรลุผลการศึกษาต่อประชากรวัยเรียน และสถิติอื่นที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาโดยสรุปในประเด็นส�ำคัญๆ มีดังต่อไปนี้ ๑. ระบบ (System) ผลิตก�ำลังคนระดับอุดมศึกษา ในช่วง ๕ ปีการศึกษา ๒๕๕๓-๒๕๕๗ มีจ�ำนวนนักศึกษาเข้าใหม่ นักศึกษารวม และนักศึกษาคาดว่าส�ำเร็จการศึกษาดังนี้ นโยบายแหงรัฐ ยุทธศาสตรการผลิตและพัฒนากําลังคนของประเทศชวงปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง พ.ศ. 2552-2561 กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ป ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551-2565 แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบันที่ 11 พ.ศ. 2555-2559 นักศึกษาเขาใหม (Input) 532,422-565,729 คน/ป เฉลี่ย 548,830 คน/ป

นักศึกษารวม (Process) 1,991,277-2,135,943 คน/ป เฉลี่ย 2,038,090 คน/ป

นศ. เขาใหม (Input) ปวช. ปวส. อนุฯ ป. ตรี 406,584-506,920 คน/ป เฉลี่ย 475,321 คน/ป

นศ. รวม (Process) ปวช. ปวส. อนุฯ ป. ตรี 1,761,428-1,899,597 คน/ป เฉลี่ย 1,815,913 คน/ป

นศ. คาดวาสําเร็จ กศ. (Output) ปวช. ปวส. อนุฯ ป.ตรี 279,514-451,722 คน/ป เฉลี่ย 402,763 คน/ป

อัตราสําเร็จ กศ. (นศ. คาดวาสําเร็จ กศ. ตอ นศ.เขาใหม) ระดับ ปวช. 65.36 ระดับ ปวส. 82.75 ระดับอนุฯ 73.93 ระดับ ป.ตรี 72.20 เฉลี่ยรอยละ 72.29

๒. ระดับการศึกษาที่ใช้ในการผลิตและพัฒนาก�ำลังคนของสถาบันอุดมศึกษา พบว่า มี ๙ ระดับ มีการผลิตในระดับ

ปริญญาตรีสูงที่สุด ร้อยละ ๘๖.๙๑-๙๗.๙๕ รองลงมาระดับปริญญาโท ร้อยละ ๘.๙๑-๙.๑๖ ส่วนการศึกษาระดับอื่น ๆ ท�ำการผลิตไม่ถึง ร้อยละ ๒ มีสัดส่วนก�ำลังการผลิตอยู่ในช่วงร้อยละ ๐.๑๐-๑.๓๒ และมีระดับ ปวช. จัดเป็นการศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน

19


เรื่องแนะน�ำ ระดับการ ศึกษา

ป.ตรี

ป.โท

อนุฯ

ปวส.

ป.บัณฑิต

ป.เอก

ปวช.

วุฒิกลุ่มอื่น

ป.บัณฑิค/สูง

นักศึกษา ใหม่

๘๖.๙๖

๙.๑๖

๐.๙๐

๐.๘๔

๐.๗๕

๐.๕๙

๐.๒๖

๐.๑๙

๐.๑๐

นักศึกษา รวม นักศึกษา ส�ำเร็จ

๘๖.๙๑

๘.๙๑

๐.๗๕

๐.๖๙

๑.๓๒

๑.๑๔

๐.๒๐

๐.๑๔

๐.๐๗

๐.๗๖

๐.๙๙

๙๗.๙๕

๐.๒๙

๓. จ�ำนวนและเพศนักศึกษา จ�ำนวนรับนักศึกษาเข้าใหม่ในแต่ละปีเปลี่ยนแปลงค่อนข้างน้อย จ�ำนวนรับแต่ละปีจึงไม่แตกต่างกัน มีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ ๑๙.๔๐-๒๐.๖๒ และจ�ำนวนนักศึกษารวมก็ไม่แตกต่างกัน โดยมีสัดส่วนแต่ละปีอยู่ที่ร้อยละ ๑๙.๕๔-๒๐.๙๖ ยกเว้น นักศึกษาคาดว่าส�ำเร็จการศึกษาที่ปีการศึกษา ๒๕๕๔ มีสัดส่วนเพียงร้อยละ ๑๕.๘๑ ส่วนอีก ๓ ปีการศึกษามีสัดส่วนในแต่ละปีอยู่ที่ร้อยละ ๒๐.๐๑-๒๒.๕๒ ในท�ำนองเดียวกันผลการศึกษานักศึกษาเพศชายและหญิงค่อนข้างคงที่ โดยนักศึกษาเข้าใหม่มีสัดส่วนเพศชายและหญิงร้อย ละ ๓๙.๕๕-๔๒.๒๒ : ๕๗.๗๘-๖๐.๔๕ และนักศึกษารวมมีสัดส่วนร้อยละ ๔๐.๑๘-๔๓.๒๑ : ๕๖.๗๙-๕๙.๘๒ ตามล�ำดับ ในขณะที่ประชากรวัย เรียน (อายุ ๐-๒๑ ปี) แต่ละปีมีสัดส่วนชายมากกว่าหญิง คิดเป็นร้อยละ ๕๑.๒๙-๕๑.๓๐ : ๔๘.๗๐-๔๘.๗๙ ซึ่งสะท้อนระบบการศึกษาระดับ อุดมศึกษาของประเทศไทยเปิดโอกาสทางการศึกษาอย่างเป็นธรรม ไม่มีข้อจ�ำกัดด้านเพศ ๔. อัตราการเข้าเรียนอุดมศึกษาเปรียบเทียบประชากรวัยเรียน อัตราการเข้าเรียนอุดมศึกษา (เฉพาะหลักสูตรระดับ ปวช. ปวส. อนุปริญญา และปริญญาตรี) พบว่า มีอตั ราการเข้าเรียนระดับปริญญาตรีสงู ทีส่ ดุ โดยนักศึกษาเข้าใหม่มอี ตั ราเข้าเรียนร้อยละ ๒๔.๐๔-๒๕.๓๓ นักศึกษารวมร้อยละ ๘๙.๖๐-๙๕.๓๗ และนักศึกษาคาดว่าส�ำเร็จการศึกษาร้อยละ ๑๓.๘๔-๒๐.๐๔ ส่วนระดับ ปวช. ปวส. และอนุปริญญา มีอัตราเข้าเรียนไม่ถึงร้อยละ ๒ อัตราการเข้าเรียนสะท้อนภาพขีดความสามารถระบบอุดมศึกษาของประเทศ ในการสร้างความเสมอภาคแก่ ประชาชนวัยเรียนในการเข้ารับบริการการศึกษา ซึ่งจัดได้เพียงร้อยละ ๒๔–๒๖ เท่านั้น ๕. จ�ำนวนนักศึกษาในแต่ละชั้นปีระหว่างก�ำลังศึกษาในสถาบัน ในช่วง ๕ ปีการศึกษา การศึกษาระดับ ปวช. ปวส. อนุปริญญา และปริญญาตรี มีจ�ำนวนนักศึกษาลดลง เมื่อเลื่อนไปสู่ชั้นปีที่สูงขึ้น แต่พบความผิดปกติในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ที่มี นักศึกษาเพิ่มขึ้นในชั้นปีที่ ๒ ท�ำให้มีจ�ำนวนมากกว่าชั้นปีที่ ๑ โดยเฉพาะระดับปริญญาเอกที่มีจ�ำนวนนักศึกษาเพิ่มสูงขึ้นทั้งในชั้นปีที่ ๒ และชั้น ปีที่ ๓ ๖. อัตราการออกกลางคัน การออกกลางคันของนักศึกษาระดับอนุปริญญามีอัตราสูงในการเลื่อนจากชั้นปีที่ ๑ ขึ้นชั้นปีที่ ๒ และ ลดลงในปีที่มีการเลื่อนไปชั้นปีที่สูงกว่าตามล�ำดับ ตรงข้ามกับการออกกลางคันของนักศึกษาระดับ ปวช. และ ปริญญาตรี ที่อัตราเพิ่มสูงขึ้น ๆ ในปีที่มีการเลื่อนไปชั้นปีที่สูงกว่าตามล�ำดับ ส่วนระดับปริญญาโทและปริญญาเอกมีความผิดปกติ ไม่มีอัตราการออกกลางคันจากการเลื่อนชั้น ปีที่ ๑ ไปสู่ชั้นปีที่ ๒ อันเนื่องจากมีจ�ำนวนนักศึกษาชั้นปีที่ ๒ มากกว่าชั้นปีที่ ๑ โดยมีรายละเอียดการออกกลางคัน

20

อนุสาร


เรื่อง

แนะน�ำ

๗. สภาวการณ์การผลิตและพัฒนาก�ำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ ผลการศึกษา พบว่า เป้าหมายการผลิตก�ำลังคนด้าน วิทยาศาสตร์ (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์สุขภาพ) มีอัตราเพิ่มขึ้นน้อยมาก โดยอยู่ในช่วงร้อยละ ๒๘.๔๓-๒๙.๕๑ ในขณะที่ เป้าหมายตามแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙) อยู่ที่ร้อยละ ๓๕-๔๕ (เปรียบเทียบเฉพาะเป้าหมายปี การศึกษา ๒๕๕๕-๒๕๕๗) เมือ่ พิจารณารายสถาบัน พบว่า มีสถาบัน ๑๑ แห่ง บรรลุเป้าหมายผลิตก�ำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ มีสดั ส่วนการผลิตอยูท่ รี่ อ้ ยละ ๔๖.๖๙๑๐๐.๐๐ ดังนี้ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลล้านนา ๘. การผลิตและพัฒนาก�ำลังคนสาขาวิชาต่าง ๆ แบ่งกลุ่มสาขาตามเกณฑ์ ISCED ๙๗ การผลิตและพัฒนาก�ำลังคน อุดมศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาพิจารณา ทั้งในเชิงปริมาณ (จ�ำนวนนักศึกษา) และในเชิงคุณภาพ/ศักยภาพ (สาขาวิชาที่เปิดสอน) ผลผลิต คือ จ�ำนวนบัณฑิตส�ำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาต่าง ๆ ป้อนเข้าสู่ตลาดความต้องการก�ำลังคนของสังคม ผลการศึกษาการผลิตและพัฒนาก�ำลังคนสาขาวิชาต่าง ๆ จัดแบ่งกลุ่มสาขาตามเกณฑ์ ISCED ๙๗ ระดับภาพกว้าง ๙ กลุ่มสาขาพบว่า มีสดั ส่วนผลิตก�ำลังคนในกลุม่ สาขาด้านสังคมศาสตร์ ธุรกิจการค้า และนิตศิ าสตร์ (Social science, Business and Law) เป็นจ�ำนวนมากเกือบ ครึง่ หนึง่ ของการผลิตก�ำลังคนอุดมศึกษาทัง้ หมด คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ ๔๖.๕๖-๔๘.๐๒ รองลงมา คือ กลุม่ สาขาด้านวิศวกรรม อุตสาหกรรม การผลิต และการก่อสร้าง (Engineering, Manufacturing and construction) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ ๑๐.๘๘-๑๑.๘๑ และกลุ่มสาขาอื่น ๆ กลุ่มสาขาด้านสังคมศาสตร์ ธุรกิจการค้า และนิติศาสตร์ กลุ่มสาขาด้านวิศวกรรม อุตสาหกรรมการผลิต และการก่อสร้าง กลุ่มสาขาด้านการศึกษา กลุ่มสาขาด้านมนุษยศาสตร์และศิลปศาสตร์ กลุ่มสาขาด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาขาด้านสุขภาพและสวัสดิการ/สุขภาพและความมี สุขภาพดี กลุ่มสาขาด้านการบริการ กลุ่มสาขาด้านเกษตรศาสตร์และสัตวแพทย์ศาสตร์ กลุ่มด้านอื่นๆ หรือที่ไม่ได้ระบุไว้ กลุ่มโปรแกรมทั่วไป

ผลการศึกษาเปรียบเทียบรายสาขาวิชาทีม่ นี กั ศึกษาต่อปีจำ� นวนมาก ๕ ล�ำดับแรก พบว่า เป็นสาขาวิชาทีอ่ ยูใ่ นกลุม่ สาขาด้านสังคมศาสตร์ ธุรกิจการค้า และนิติศาสตร์ ทั้งสิ้น สาขาวิชา

ล�ำดับ

นักศึกษาเข้าใหม่

ล�ำดับ

นักศึกษารวม

ล�ำดับ

นักศึกษาคาดว่า ส�ำเร็จการศึกษา

นิติศาสตร์

๒๖,๒๒๔-๓๒,๐๖๐

๑๑๒,๕๗๖-๑๔๐,๖๓๑

๑๗,๘๖๗-๒๖,๖๔๕

รัฐศาสตร์

๒๐,๗๕๘-๒๖,๔๔๕

๑๐๕,๒๖๔-๑๒๖,๒๙๗

๑๔,๔๐๖-๒๓,๕๗๖

บัญชี

๑๔,๓๕๗-๒๓,๕๑๖

๔๗,๗๗๒-๗๐,๓๙๘

๘,๙๕๕-๑๕๔๕๕

รัฐประศาสนศาสตร์

๑๒,๘๓๕-๒๑,๐๘๕

๕๘,๑๕๑-๘๐,๖๕๔

๖,๙๙๐-๑๒,๒๘๔

การจัดการ

๑๐,๒๓๕-๑๕,๐๔๘

๓๐,๘๖๗-๔๕,๗๗๒

๖,๐๐๒-๙,๐๓๐

สามารถศึกษารายงานผลการศึกษาโดยละเอียดได้ที่ www.mua.go.th/users/development/vip/vip.htm

21


เล่าเรื่องด้วยภาพ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙ นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา ให ก้ าร ต้อนรับและร่วมประชุมกับคณะกรรมการ ติ ด ตามและตรวจสอบการใช จ้ ่า ย งบประมาณภาครัฐ (คตร.) เพือ่ ชีแ้ จงเกีย่ ว กับโครงสร า้ งการจัดหน่วยงาน ภารกิจ และการใช จ้ ่า ยงบประมาณภาครั ฐ ป ีงบประมาณ ๒๕๕๙ ณ หอ้ งประชุม ศาสตราจารย์วจิ ติ ร ศรีสอ้าน ส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา

๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๙ นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วม กิจกรรมปลูกต้นไม ้ และทอดผ า้ ปา่ สามัคคี เพือ่ ถวายเป น็ พระราชกุศลแด่ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินนี าถ เนื่ อ งในโอกาสมหามงคลเฉลิ ม พระชนมพรรษา ๗ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙ ณ วัดไร่มะม่วง อ�ำเภอชะอ�ำ จังหวัดเพชรบุรี

22

อนุสาร


เล่าเรื่อง

ด้วยภาพ ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วม งานสโมสรสันนิบาตเฉลิมพระเกียรติและถวาย พระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัว เนือ่ งในวันฉัตรมงคล ณ ตึกสันติไมตรี ท�ำเนียบ รัฐบาล

๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา ให ้การต้อนรับ นายพุดทะสอน พมมะลาด รองหัวหนา้ ฝา่ ยประเมินผล กรมการศึกษาชัน้ สูง กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา สปป.ลาว ตามโครงการแลก เปลีย่ นความรูด้ า้ นการจัดการฐานขอ้ มูลอุดมศึกษา และการ ศึกษาดูงานเกีย่ วกับการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในระดับอุดมศึกษา ณ หอ้ งประชุมบริหาร ชัน้ ๓

๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙ นางอรสา ภาววิมล ผูช้ ว่ ยเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ร่วมพิธแี สดงความยินดีในโอกาสวัน สถาปนากรมประชาสัมพันธ์ ครบรอบ ๘๓ ป ี และร่วม บริจาคสมทบทุนสร า้ งโบสถ์วัดพรหมยานรังสรรค์ จ.ประจวบคีรขี นั ธ์ ณ หอประชุมกรมประชาสัมพันธ์ กรุงเทพฯ

๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙ นางอรสา ภาววิมล ผูช้ ว่ ยเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป น็ ประธานกล่าวเป ดิ และมอบรางวัล การประกวดสุนทรพจน์และ ความรู ้ภาษาจีนระดับอุดมศึกษา ครัง้ ที่ ๑๕ ณ โรงแรมรัชดาซิตี้ กรุงเทพฯ

23


สรางครูคืนถิ่นฐาน พัฒนาการศึกษาไทยกาวไกลสูสากล

เฟนหาอัตลักษณและมูลคาเพิ่มของมหาวิทยาลัยไทย เพื่อใหเกิดความเปนเลิศทางการบริการอุดมศึกษา

สหกิจศึกษา พัฒนาคนใหรูชัด พัฒนางานใหปฏิบัติได ในศตวรรษที่ ๒๑

เครือขายอุดมศึกษารวมบูรณาการองคความรู

และทรัพยากรเพื่อขับเคลื่อนศักยภาพสถาบันอุดมศึกษาไทย ใหยกระดับโรงเรียนขั้นพื้นฐาน ตามบริบทของทองถิ่น

แปลงองคความรู...สูนวัตกรรมในระดับธุรกิจ เปลี่ยนบัณฑิต...สูผูประกอบการในระดับสากล

ยุทธศาสตรที่มุงสรางความรูวิชาการ ทักษะวิชาชีพ และเทคนิคการใชชีวิตใหกับบัณฑิตไทยเพื่อการมีงานทำ และการดำเนินชีวิตอยูไดอยางมีความสุขทามกลาง ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลก

ศูนยความเปนเลิศสรางเครือขายในการพัฒนาบัณฑิตศึกษา และสรางมูลคาเพิ่มในงานวิจัยและนวัตกรรมจาก สถาบันอุดมศึกษาเพื่อยกระดับการอุดมศึกษาใหเปนปจจัย ในการเพิ่มขีดความสามารถในการแขงขันของประเทศ

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา แขวงทุงพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐

๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๖ www.mua.go.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.