อนุสาร ปที่ ๔๒ ฉบับ ๔๕๗ ประจำเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๙
เอกสารเผยแพร่ของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ISSN 0125-2461
สารบัญ
CONTENT
๓ เรื่องเล่าอุดมศึกษา
• องคมนตรีมอบโอวาทแก่ผู้รับทุนพระราชทานตามโครงการกองทุน การศึกษา ประจ�ำปี ๒๕๕๙ • แถลงข่าวโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น • สกอ. จัดประชุมวิพากษ์ ร่างยุทธศาสตร์การพัฒนานิสิต • การประชุมผู้ประสานงานเครือข่ายคลังสมองเอเชียตะวันออก ครั้งที่ ๒๕ • กสพท รับตรงแพทยศาสตร์บัณฑิต ปี ๖๐ • งาน WUNCA 33rd • การประชุมวิชาการนานาชาติด้านอีเลิร์นนิง ครั้งที่ ๗ • การฝึกอบรม นบม. รุ่นที่ ๒๗ • ทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ • การฝึกอบรม “หลักสูตรการบริหารงานอุดมศึกษาระดับสูง (สายสนับสนุน)” รุ่นที่ ๑๕ • การประชุมเชิงปฎิบัติการ Advancing Conceive, Design, Implement and Operate : CDIO Framework
๑๗ เหตุการณ์เล่าเรื่อง
๖
๘
• กีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน ครั้งที่ ๑๘ ณ สาธารณรัฐสิงค์โปร์ 18th ASEAN University Games : Singapore 2016 • นิทรรศการแนะแนวการศึกษาต่อประเทศไทยและการหารือ ความร่วมมือระดับอุดมศึกษาไทย-ยูนนาน ณ นครคุนหมิง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
๒๓ เล่าเรื่องด้วยภาพ
๑๐
คณะผู้จัดท�ำ
ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๒๖ http://www.mua.go.th pr_mua@mua.go.th www.facebook.com/ohecthailand www.twitter.com/ohec_th ที่ปรึกษา นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม นายขจร จิตสุขุมมงคล นางอรสา ภาววิมล นายวันนี นนท์ศิริ บรรณาธิการ นางสาวปิยาณี วิริยานนท์ กองบรรณาธิการ นายกฤษณ์กร วงศ์ไทย นายเจษฎา วณิชชากร นางปราณี ชื่นอารมณ์ นายจรัส เล็กเกาะทวด นางสาวกุลนันท์ ภูมิภักดิ์ พิมพ์ท ี่ บริษัท เอกพิมพ์ไท จ�ำกัด โทรศัพท์ : ๐ ๒๘๘๘ ๘๑๕๒ , ๐ ๒๘๘๘ ๘๑๒๑ , ๐ ๒๘๘๘ ๘๔๘๖ โทรสาร : ๐ ๒๘๘๘ ๘๑๒๐
เรื่องเล่า
อุดมศึกษา
องคมนตรีมอบโอวาทแก่ผู้รับทุน
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี
พระราชทานตามโครงการกองทุน การศึกษาประจ�ำปี ๒๕๕๙ ๑ กรกฏาคม ๒๕๕๙ - พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี
มอบโอวาทแก่ นั ก เรี ย นทุ น พระราชทานตามโครงการกองทุ น การศึกษา และมอบนักเรียนทุนพระราชทานทีส่ ำ� เร็จการศึกษาระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย เพือ่ เข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาในสังกัด ส�ำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา ซึง่ จะได้รบั การสนับสนุนทุนการ ศึกษาระดับอุดมศึกษาจนจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี โดยมี นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานกล่าวเปิดการปฐมนิเทศนักศึกษาทุน “โครงการกองทุน การศึกษาระดับอุดมศึกษา” ประจ�ำปี ๒๕๕๙ ณ ห้องประชุม ศาสตราจารย์วจิ ติ ร ศรีสอ้าน ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ทุนพระราชทานส�ำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษานี้พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงมีกระแสพระราชด�ำรัสกับประธานองคมนตรี และคณะองคมนตรี ใ ห้ ร ่ ว มกั น สร้ า งคนดี แ ก่ บ ้ า นเมื อ งและได้ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อเป็นทุนการศึกษาด้วย ซึ่งในระดับอุดมศึกษาโครงการนี้มีการร่วมมือกันระหว่างส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา และโครงการกองทุ น การศึ ก ษา ในการด� ำ เนิ น การคั ด เลื อ กผู ้ รั บ ทุ น และให้ ก ารสนั บ สนุ น เงิ น ทุ น พระราชทาน ให้แก่นกั เรียนทีม่ คี วามประพฤติดี แต่ยากจน ในท้องถิน่ ทรุกันดาร โดยส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้สนับสนุน ทุ น การศึ ก ษาในระดั บ ปริ ญ ญาตรี ต ามระยะเวลาการศึ ก ษาของ
หลักสูตร ตามมติ คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๙ ในอัตราทุนละ ๕๕,๐๐๐ บาท ต่อคนต่อปีการศึกษา ซึ่งในปีนี้มีนักเรียน ทุนพระราชทานฯ จ�ำนวน ๑๒ คน ที่อยู่ในการดูแลของ สกอ. นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวรายงานว่า ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จะร่วมกับ สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาในการให้ ค� ำ แนะน� ำ และเป็ น ที่ ป รึ ก ษาทั้ ง ในด้ า น การเรียนและการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย ตลอดจนจัดโครงการติดตาม ประเมินผล เพื่อร่วมพบปะดูแลนักเรียนทุนในระหว่างที่ศึกษาในสถาบัน อุดมศึกษา รวมทัง้ จัดโครงการแนะแนวอาชีพและสร้างเครือข่ายนักศึกษา ทุนเพื่อประโยชน์ในการวางแผนการด�ำเนินชีวิตภายหลังจากการส�ำเร็จ การศึกษาแล้ว จากนั้น พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี ได้ให้โอวาทแก่ ผู้รับทุนการศึกษา ในตอนหนึ่งว่า “การทีจ่ ะเป็นคนเก่งนัน้ ไม่ได้เป็นเรือ่ งที่ ยากเมือ่ เราเป็นคนดีกอ่ น เพราะฉะนัน้ สิง่ นีข้ อให้นกั ศึกษาทุกคนได้จดจ�ำไว้ และต้องพยายามท�ำให้ได้ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านได้ พระราชทานแนวทางไว้ สักวันหนึง่ เราก็คงจะตอบโจทย์ในหลายๆส่วนได้วา่ ระบบการศึกษาทีด่ นี นั้ ต้องเป็นไปตามทีพ่ ระองค์ทา่ นมีพระราชด�ำรัส ก็คอื ท�ำอย่างไรทีจ่ ะสร้างคนดีขนึ้ มาก่อน แล้วคนดีนนั้ ก็จะเป็นคนเก่งได้งา่ ย”
3
พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
แถลงข่าว
โครงการผลิตครู เพื่อพัฒนาท้องถิ่น พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมแถลงข่าวเกีย่ วกับความคืบหน้าและการรับสมัครผู้ร่วมโครงการ ผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.๒๕๕๙-๒๕๗๒) ในความรับผิดชอบ ของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ณ ห้องราชวัลลภ กระทรวง ศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีในการ ประชุมเมือ่ วันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๙ มีมติเห็นชอบให้กระทรวงศึกษาธิการ ด�ำเนินโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.๒๕๕๙-๒๕๗๒) โดยมี วัตถุประสงค์ที่จะคัดเลือกคนดี คนเก่ง มาเป็นครู โดยจะรับเข้าศึกษาใน สถาบันอุดมศึกษา ในสังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ซึ่งเมื่อส�ำเร็จการศึกษาแล้ว บัณฑิตครูจะได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ในสังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ส�ำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และ ส�ำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ซึ่งในปี ๒๕๕๙ นี้มีเป้าหมายในการคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการฯ ที่มี คุณสมบัติครบตามเกณฑ์ที่ก�ำหนด จ�ำนวน ๔,๐๗๙ คน และในปีแรกนี้จะ เปิดโอกาสให้ผทู้ มี่ คี ณ ุ วุฒวิ ชิ าชีพครูและผูส้ ำ� เร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาอืน่ ทีค่ ณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) รับรอง และอยากเป็นครู สมัครเข้าร่วมโครงการได้อีกด้วย ปีนี้จะแบ่งการรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการเป็น ๔ กลุ่ม กลุ่มที่ ๑ คือ นิสิตนักศึกษาครูหลักสูตรระดับปริญญาตรี (๕ ปี) ที่ก�ำลังศึกษาชั้นปีที่ ๕
4
ในปีการศึกษา ๒๕๕๘ โดย ต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) (ทุกภาคการศึกษารวมทัง้ ภาคฤดู ร ้ อ น) ตามข้ อ บั ง คั บ ของ สถาบันอุดมศึกษา ตัง้ แต่ภาคเรียนที่ ๑ นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ ของชั้นปีที่ ๑ - ภาคเรียนที่ ๑ ของ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ชั้นปีที่ ๕ ในภาพรวมทุกวิชา วิชาเอก และวิชาชีพครู ไม่ต�่ำกว่า ๓.๐๐ กลุ่มที่ ๒ คือผู้ส�ำเร็จการศึกษาหลักสูตร การผลิตครู ๕ ปี ที่มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร(GPAX) ในภาพรวมทุกวิชา วิชาเอก และวิชาชีพครู ไม่ต�่ำกว่า ๓.๐๐ กลุ่มที่ ๓ คือ ผูส้ ำ� เร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มีผลการเรียน เฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร (GPAX) ระดับปริญญาตรี ในภาพรวมทุกวิชา วิชาเอก และวิชาชีพครูระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู ไม่ต�่ำกว่า ๓.๐๐ กลุ่มที่ ๔ คือผู้ส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาอื่นที่คณะ กรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) รับรอง มีผล การเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร (GPAX) ระดับปริญญาตรีในภาพรวม ทุกวิชา วิชาเอก ไม่ตำ�่ กว่า ๓.๐๐ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงศึกษาธิการ กล่าว ผู้สนใจสมัครร่วมโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่นฯ โดยผ่านระบบ อินเตอร์เน็ตทีเ่ ว็บไซต์ของ สทศ. http://www.niets.or.th/protbyohec ตัง้ แต่ บัดนี้จนถึงวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๙ โดยจะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ/ที่ นั่งสอบ/สถานที่สอบ ในวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๙ สอบคัดเลือกในวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๙ และจะประกาศผลสอบคัดเลือกในวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๙ อนุสาร
สกอ. จัดประชุมวิพากษ์
ร่างยุทธศาสตร์การพัฒนานิสิต (Public Hearing) ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙ - นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็ น ประธานเปิดประชุมวิพากษ์ (Public Hearing) ร่าง ยุ ท ธศาสตร์ ก ารพั ฒ นานิ สิ ต ผู ้ เ ข้ า ร่ ว มประกอบด้ ว ย คณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาคณะอนุ ก รรมการ ด้านนโยบายและแผน คณะท�ำงานเพือ่ พิจารณายุทธศาสตร์ การพัฒนานิสิต ผู้แทนจากหน่วยงานผู้ใช้บัณฑิตผู้แทน ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา ผู้บริหารกิจการนิสิตนักศึกษา นายกสโมสรนิสติ นักศึกษา และนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ณ โรงแรมเอเชีย กรุงเทพมหานคร เลขาธิการ กกอ. กล่าวในทีป่ ระชุมว่า การด�ำเนินงานด้านการส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพนิสติ นักศึกษา ระดับอุดมศึกษา ให้มคี วามเป็นเอกภาพ และประสิทธิภาพมากขึน้ นัน้ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงได้ ด�ำริที่จะจัดท�ำยุทธศาสตร์การพัฒนานิสิต นักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา โดยผ่านกระบวนการระดมความคิดเห็นจากผูเ้ ชีย่ วชาญ ผูก้ ำ� หนดนโยบาย ในสถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทาง ในการก�ำหนดแผนงานและโครงการในการด�ำเนินการและพัฒนาศักยภาพ ของนิสติ นักศึกษาได้อย่างมีคณ ุ ภาพ ซึง่ มุง่ ตอบสนองต่อความต้องการของ สถาบันอุดมศึกษาและทิศทางการพัฒนาสังคมและประเทศต่อไป ซึ่ง การจัดท�ำยุทธศาสตร์การพัฒนานิสติ นักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาฉบับนี้ จึงเปรียบเสมือนการก�ำหนดเป้าหมายและแนวทางการด�ำเนินงานด้านการ
เรื่องเล่า
อุดมศึกษา พั ฒ นานิ สิ ต นั ก ศึ ก ษาร่ ว มกั น ระหว่ า ง ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสถาบันอุดมศึกษา เพื่อประโยชน์ ในการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต ให้ สอดคล้องกับเป้าหมาย ของกรอบแผนอุดมศึกษา ระยะยาว ๑๕ ปี ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๔) ที่ ส� ำ นั ก ง า น ค ณ ะ กรรมการการอุดมศึกษา ก�ำลังด�ำเนินการยกร่างอยู่ใน ขณะนี้ ซึ่งได้ก�ำหนดเป้าหมาย ในการสร้างทุนทางสังคมให้เกิด ผู้น�ำทางความคิดที่น�ำไปสู่การ เปลี่ยนแปลงสังคมที่ดีขึ้น ทั้งนี้ยัง สอดรับกับแผนพัฒนาการศึกษา ระดั บ อุ ด มศึ ก ษา ฉบั บ ที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔ ทีส่ ำ� นักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษาอยู่ระหว่างการยกร่างภายใต้กรอบ แผนอุดมศึกษา ระยะยาว ๑๕ ปี ฉบับที่ ๓ โดยมีเป้าหมายและแนวทาง การพัฒนาที่สอดคล้องกับแผนระดับชาติต่าง ๆ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเชือ่ ว่าการพัฒนาเยาวชน “ นิสติ นักศึกษาให้มคี ณ ุ ภาพและก้าวสูค่ วามเป็นบัณฑิตทีส่ มบูรณ์แบบ เพือ่ เป็นก�ำลังส�ำคัญในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ ต้องเน้นการพัฒนา รอบด้าน (The Whole Person) ทั้งทางกาย สังคม จิตใจ และปัญญา การ จัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาจึงต้องด�ำเนินการทัง้ ด้านการเรียนการสอน เพือ่ เสริมสร้างพัฒนาความรูท้ างวิชาการหรือวิชาชีพ และสนับสนุนการจัด กิจกรรมของนักศึกษา เพื่อพัฒนานิสิต นักศึกษาให้มีคุณลักษณะที่พึง ประสงค์ มี คุณ ภาพ และสามารถอยู ่ ใ นสั ง คมได้ อ ย่ า งมีค วามสุข ” เลขาธิการ กกอ. กล่าวในตอนสุดท้าย
5
การประชุมผู้ประสานงาน
เครือข่ายคลังสมอง
เอเชียตะวันออกครั้งที่ ๒๕
๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๙ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็น เจ้าภาพจัดการประชุมผู้ประสานงานเครือข่ายคลังสมองเอเชียตะวันออก ครั้งที่ ๒๕ (25th Network of East Asia Think Tanks Country Coordinators Meeting: NEAT CCM) ภายใต้หวั ข้อ Crisis Management in ASEAN Plus Three โดยได้รับเกียรติจาก นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในฐานะประธานเครือข่ายคลัง สมองเอเชียตะวันออกประจ�ำปี ๒๕๕๙ ท�ำหน้าที่เป็นประธานการประชุม ร่วมกับ Professor Choong-Lyol Lee ผู้ประสานงานเครือข่ายคลังสมอง สาธารณรัฐเกาหลี ในฐานะที่สาธารณรัฐเกาหลีจะเป็นเจ้าภาพจัดการ ประชุมผู้ประสานงานเครือข่ายคลังสมองเอเชียตะวันออกและการประชุม NEAT Annual Conference ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ โรงแรมปทุมวัน ปริน๊ เซส กรุงเทพฯ เลขาธิการ กกอ เปิดเผยว่า การประชุมผู้ประสานงานเครือข่าย คลังสมองเอเชียตะวันออกครัง้ ที่ ๒๕ ในครัง้ นีม้ วี ตั ถุประสงค์เพือ่ เสริมสร้าง
6
ความร่วมมือทางวิชาการในประเด็นเรื่องการจัดการความท้าทายและ ปัญหาผู้ย้ายถิ่นฐานและการให้บริการสาธารณสุขในกลุ่มประเทศอาเซียน บวกสาม และการสนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออก เลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อไปว่า ทีป่ ระชุมรับทราบผลการด�ำเนินงาน ของคณะท�ำงานจ�ำนวน ๔ คณะ ได้แก่ ๑) Crisis Management in ASEAN Plus Three Countries ของประเทศไทย ๒) The Road towards the East Asia Economic Community ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ๓) Enhancement of Regional Health in East Asia with Special Reference to the Public Health and Universal Health Coverage ของประเทศญี่ปุ่น และ ๔) Institutional Sustainability of NEAT towards the East Asian community ของสาธารณรัฐเกาหลี จาก ผลการด�ำเนินของคณะท�ำงาน ที่ประชุมได้ร่างข้อเสนอทางนโยบายโดย เน้นการจัดการปัญหาผูอ้ พยพย้ายถิน่ ฐานในกลุม่ ประเทศอาเซียนบวกสาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการค้ามนุษย์ ผู้ลี้ภัย และแรงงานข้ามชาติ การส่งเสริมการให้บริหารสาธารณสุขที่ครอบคลุมโดยเน้นการป้องกันโรค ติดต่อและไม่ตดิ ต่อเพือ่ การเตรียมความพร้อมให้แก่ประเทศสมาชิกทีก่ ำ� ลัง เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย ตะวันออก ทัง้ นี้ จะได้นำ� เสนอข้อเสนอเชิงนโยบายดังกล่าวในทีป่ ระชุมเจ้าหน้าที่ อาวุโสอาเซียนบวกสาม ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙ ต่อไป เลขาธิการ กกอ. กล่าว ในตอนสุดท้าย
อนุสาร
กสพท. รับตรง แพทยศาสตร์บัณฑิต ปี ๖๐ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๙ - กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท) และสมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (สอท.) จัดการแถลงข่าว การสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ผ่านระบบรับตรง (Direct Admissions) ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๖๐ ตามหลักสูตร แพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตร สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต โดยได้รับ มอบอ�ำนาจจากคณะแพทยศาสตร์ ๑๒ สถาบัน คณะทันตแพทยศาสตร์ ๗ สถาบัน คณะสัตวแพทยศาสตร์ ๖ สถาบัน และคณะเภสัชศาสตร์ ๘ สถาบัน ผ่านระบบรับตรงของ กสพท. โดยได้รบั เกียรติจาก ศาสตราจารย์ นายแพทย์อุดม คชินทร ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ศาสตราจารย์ นายแพทย์อาวุธ ศรีศุกรี เลขาธิการ กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) และศาสตราจารย์ แพทย์หญิงบุญมี สถาปัตยวงศ์ ประธานอนุกรรมการ การสอบคัดเลือก ระบบรับตรงของ กสพท. ร่วมแถลงข่าว ณ ห้องประชุม ศาสตราจารย์ วิจิตร ศรีสอ้าน ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการ กสพท. กล่าวว่า วัตถุประสงค์ในการเปิดสอบคัดเลือกใน ครัง้ นีเ้ พือ่ เป็นการลดภาระของนักเรียนและผูป้ กครอง และลดปัญหาในการ มอบตัวเข้าศึกษาซ�้ำซ้อนหลายสถาบันในปีการศึกษาเดียวกัน อันเป็นเหตุ ให้มีการสละสิทธิ์และมีที่นั่งว่างในแต่ละสถาบัน ซึ่งปีนี้เรามีที่นั่งเพิ่มขึ้น ๑๖๐ ที่นั่ง ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ๒๕๑ ที่นั่ง ในการจัดสอบครั้งนี้มั่นใจว่า มีความโปร่งใส ยุตธิ รรม และทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ คือ มีความเสมอภาคของนักเรียน ทุกคนที่เข้าสอบ ประธานอนุกรรมการการสอบคัดเลือกระบบรับตรงของ กสพท. กล่าวว่า ปีนี้ กสพท. รับสมัครนักเรียน ๑,๘๔๓ คน ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์
เรื่องเล่า
อุดมศึกษา ม.ขอนแก่น ๒๐ คน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๙๐ คน ม.เชียงใหม่ ๔๕ คน ม.ธรรมศาสตร์ ๖๕ คน ม.นเรศวร ๓๐ คน โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล ๑๔๘ คน วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ราช วิทยาลัยจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ๒๐ คน ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ๒๖๐ คน วิทยาลัยแพทยศาสตร์ ม.รังสิต(โรงพยาบาลราชวิถี) ๕๐ คน วิทยาลัยแพทยศาสตร์ม.รังสิต(โรงพยาบาลเลิดสิน) ๑๕ คน ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ๑๘๐ คน ม.สงขลานครินทร์ ๒๐ คน วชิรพยาบาล ม.นวมินทราธิราช ๗๐ คน วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า (ชาย) ๖๐ คน วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า(หญิง) ๔๐ คน คณะทันต แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๘๕ คน ม.มหิดล ๗๐ คน ม.เชียงใหม่ ๓๐ คน ม.สงขลานครินทร์ ๑๐ คน ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ๒๕ คน ม.ขอนแก่น ๑๕ คน ม.ธรรมศาสตร์ ๒๐ คน คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๐๐ คน ม.เกษตรศาสตร์ ๗๐ คน ม.ขอนแก่น ๑๐ คน ม.เชียงใหม่ ๑๐ คน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ๑๐ คน ม.มหิดล ๑๕ คน คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สาขา วิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม) ๒๐ คน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สาขา เภสัชกรรมอุตสาหการ) ๒๐ คน ม.มหิดล ๓๕ คน ม.เชียงใหม่ ๑๐ คน ม.ศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม) ๑๐ คน ม.อุบลราชธานี (สาขาวิชาการบริบาททางเภสัชกรรม) ๑๐ ม.ธรรมศาสตร์ ๒๐ คน ม.นเรศวร (สาขาวิ ช าบริ บ าทเภสั ช กรรม) ๑๕ คน และ ม.มหาสารคาม (สาขาวิชาการบริบาททางเภสัชกรรม) ๑๐ คน ผู้ที่สนใจ สามารถเข้าไปตรวจสอบระเบียบ กฎเกณฑ์ ต่าง ๆ ได้ทเี่ ว็บไซต์ของสถาบัน แต่ละแห่ง รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวในตอนท้ายว่า การสอบคัดเลือกของ กสพท. ด�ำเนินการได้ตามนโยบายของ คณะกรรมการการอุดมศึกษาและ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงศึกษาธิการ ได้แก่ การใช้ขอ้ สอบวิชาการส่วนกลาง การเริ่มสอบวิชาการ ไม่เร็วกว่าเดือนมกราคม ซึ่งการสอบของ กสพท. มี มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของผู้ปกครอง และนักเรียนทั้งประเทศ ส�ำหรับรายละเอียดการรับสมัครสอบและการสอบ สามารถเข้าไปดู ได้ที่ www.si.mahidol.ac.th
7
งาน WUNCA 33
rd
๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๙ - รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานเปิดการประชุม เชิงปฏิบัติการ การด�ำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อ พัฒนาการศึกษา ครั้งที่ ๓๓ WUNCA 33rd ซึ่งจัดขึ้นโดยส�ำนักงานบริหาร เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้เชี่ยวชาญ คณาจารย์ นักวิจัย จากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศร่วมให้ความรู้ ฝึกอบรม มีผสู้ นใจลงทะเบียนและตอบรับเข้าร่วมงานจ�ำนวนทัง้ สิน้ ๑๐,๕๔ คน การจัดงานครั้งนี้ ยังได้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเทิดพระเกียรติพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั และพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยูห่ วั เนื่องในโอกาสครบ ๑๐๐ ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวว่าการประชุม WUNCA เป็นกิจกรรมของผู้ดูแลเครือข่าย นักพัฒนา เทคโนโลยีสารสนเทศ คณาจารย์ นักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ซึ่งส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) ได้พัฒนาเครือข่าย
8
UniNet ให้เป็นโครงสร้างพืน้ ฐานในการสนับสนุนการจัดการศึกษาและวิจยั การพัฒนาดังกล่าวจ�ำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากผู้บริหาร คณาจารย์ และผู้ดูแลเครือข่ายของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อร่วมกันพัฒนาแลกเปลี่ยน ความรู้ รับฟังปัญหาอุปสรรค รวมถึงการแก้ไขปัญหา ดังนั้นกิจกรรมครั้งนี้ จึงถือเป็นโอกาสดีที่จะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน ซึ่งใน ปัจจุบันทุกมหาวิทยาลัยได้น�ำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้สนับสนุนด้าน การเรียนการสอนและการวิจยั รวมถึงการบริหารการศึกษา นอกเหนือจาก การพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแล้ว ยังได้พฒ ั นาเครือ่ งมือและ แหล่งข้อมูลเพือ่ สนับสนุนการผลิตผลงานทางวิชาการ รวมถึงการเชือ่ มโยง และส่งต่อข้อมูลอุดมศึกษา สกอ. ได้ร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการพัฒนาระบบก�ำกับคุณภาพมาตรฐานการจัดท�ำและบริหารจัดการ วิทยานิพนธ์ส�ำหรับสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งเป็นระบบกลางของประเทศเพื่อ บริหารข้อมูลบัณฑิตศึกษา และส่งต่อจัดเก็บเป็นคลังความรู้ของประเทศ และสามารถต่อยอดในการพัฒนาระบบเพื่อการวิเคราะห์ส�ำหรับผู้บริหาร สถาบันการศึกษา และผู้บริหารในระดับกระทรวง ทบวง กรมได้อย่างมี ประสิทธิภาพ อีกทัง้ ยังจะช่วยลดภาระสถาบันการศึกษาในการจัดส่งข้อมูล ให้กับ สกอ. ได้ต่อไป.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิชาญ เลิศวิภาตระกูล ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงาน บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ได้กล่าวตอนหนึ่งว่า การจัดงานครัง้ นีค้ ณะกรรมการจัดงานได้คดั เลือกหัวข้อบรรยายและฝึกอบรม โดยพิจารณาตามกลุ่มเทคโนโลยีที่ก�ำลังเป็นที่สนใจในปัจจุบัน โดยมุ่งหวัง ให้ผเู้ ข้าร่วมกิจกรรมได้มโี อกาสรับรูข้ อ้ มูลข่าวสารและองค์ความรูท้ ที่ นั สมัย และเป็นเวทีที่ผู้ดูแลเครือข่าย คณาจารย์ และกลุ่มนักวิจัย ได้แลกเปลี่ยน เรียนรูก้ ารพัฒนาและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเพือ่ การศึกษา วิจยั ของประเทศร่วมกัน การจัดงานครัง้ นีย้ งั ได้มโี อกาสจัดกิจกรรมส่งเสริม พัฒนาศักยภาพการให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตพื้นฐานที่รองรับ IPv6 เพือ่ ให้เป็นไปตามแผนปฏิบตั กิ าร ส่งเสริม เร่งรัดและติดตามผลการด�ำเนิน งาน IPv6 ในประเทศไทย ซึง่ ได้จดั กิจกรรมดังกล่าวต่อเนือ่ งมาเป็นครัง้ ที่ ๓ โดยครัง้ นี้ มีสถาบันการศึกษาทีป่ ระสบความส�ำเร็จในการพัฒนาเพิม่ ขึน้ อีก จ�ำนวน ๑๕ แห่ง ซึ่งถือเป็นนิมิตหมายอันดีที่เครือข่ายความร่วมมือเพื่อ พัฒนาการศึกษาวิจยั ของไทยจะสามารถขยายผลและมีการถ่ายทอดเทคนิค ความรู้ไปยังการศึกษาระดับอื่นต่อไป อนุสาร
เรื่องเล่า
อุดมศึกษา
การประชุมวิชาการนานาชาติด้านอีเลิร์นนิง ครั้งที่ ๗ “The 7th International e-Learning Conference 2016 (IEC 2016)”
๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๙ - รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ ด้านอีเลิร์นนิง ครั้งที่ ๗ “The 7th International e-Learning Conference 2016 (IEC 2016)” ซึ่ง งานในครัง้ นีเ้ น้นประเด็น “Disruptive Innovations in Learning” ณ ศูนย์ประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวในพิธเี ปิดประชุม ตอนหนึ่งว่า นโนบายของรัฐบาลด้านเศรษฐกิจ ดิจทิ ลั (Digital economy) ทีม่ งุ่ น�ำประเทศไทยเข้าสู่ ไทยแลนด์ ๔.๐ เน้นการขับเคลื่อนประเทศ โดย ใช้เทคโนโลยีทางการสื่อสารและข้อมูล หรือ ไอซีที (ICT) โดยมีส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาด�ำเนินการขับเคลื่อนนโยบายผ่าน ทางโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (TCU) ที่สนับสนุนการใช้ไอทีเพื่อการเรียนการสอนใน ระดับอุดมศึกษา ตลอดจนส่งเสริมการเรียนรู้ ตลอดชีวติ ของคนไทยมาอย่างต่อเนือ่ ง โดยมีการ พัฒนารายวิชาเรียนรูอ้ อนไลน์ทใี่ ช้งานร่วมกันใน สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ทั่วประเทศ ส�ำหรับ การประชุมในครัง้ นี้ ถือเป็นเวทีทจี่ ะได้มกี ารร่วม กันแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การใช้
ไอซีทีหรือดิจิทัลเพื่อการศึกษา และการเรียน การสอนออนไลน์ ข องนั ก วิ ช าการทั้ ง ในและ ต่างประเทศร่วมกัน การประชุมวิชาการในครัง้ นี้ มีผเู้ ชีย่ วชาญ คณาจารย์ และนักวิชาการ จาก ๑๐ ประเทศ เข้าร่วมให้ความรู้ และแบ่งปันประสบการณ์ ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร เพื่อการศึกษา และมีผู้สนใจลงทะเบียนเข้าร่วม ประชุม ทั้งสิ้น ๘๓๐ คน กิจกรรมภายในงาน ประชุ ม วิ ช าการในครั้ ง นี้ ป ระกอบด้ ว ยการ บรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “Empowering Higher Education for Digital Economy” โดยสรุปว่า ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้รว่ มมือ กั บ กระทรวงเทคโนโลยี ส ารสนเทศและการ สื่อสาร กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และ กระทรวงศึกษาธิการ ด�ำเนินการพัฒนาการเรียน ออนไลน์ระบบเปิดส�ำหรับผู้เรียนจ�ำนวนมาก (Thai Massive Open Online Course: Thai MOOC) และ มีการพัฒนารายวิชาร่วมกันของมหาวิทยาลัย เครือข่ายเพือ่ พัฒนาอุดมศึกษา ทัว่ ประเทศ ผลิต เนื้อหาวิชามากถึง ๑๒๐ เนื้อหา ซึ่งผู้ที่สนใจ สามารถเข้ า ลงทะเบี ย นเรี ย นในรายวิ ช าจาก มหาวิทยาลัยทีส่ นใจได้ โดยทัง้ หมดจะเรียนรูผ้ า่ น เนื้ อ หาดิ จิ ทั ล และใช้ ท รั พ ยากรออนไลน์ ใ น ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาทีม่ คี วามเชีย่ วชาญใน หลากหลายสาขาวิชา ซึง่ มีระบบกลางในการจัดเก็บ
และรวบรวมข้อมูลการเรียน สะสมหน่วยกิต รวมถึงการลงทะเบียนรายวิชาที่มีหน่วยกิตข้าม สถาบันอุดมศึกษา ซึง่ จะสามารถท�ำการถ่ายโอน หน่วยกิตระหว่างสถาบันอุดมศึกษาต่อไปได้ จากรูปแบบการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ดงั กล่าว ข้างต้น จะเป็นการพัฒนาคนไทยให้สามารถ เรี ย นรู ้ ไ ด้ ต ลอดชี วิ ต ด้ ว ยเทคโนโลยี ดิ จิ ทั ล สอดคล้องกับนโยบายของทางภาครัฐที่จะสร้าง ให้คนไทยเป็น SMART People ในยุคเศรษฐกิจ ดิจทิ ลั เพือ่ ร่วมสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามาเป็น ส่วนหนึ่งของ ไทยแลนด์ ๔.๐ ซึ่งจะสามารถ น�ำประเทศเข้าสู่ SMART Thailand ต่อไป
9
การฝึกอบรม นบม. รุ่นที่ ๒๗ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙ - นายขจร จิตสุขุมมงคล รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานในพิธีปิดการฝึกอบรมและ มอบประกาศนียบัตรแก่ผสู้ ำ� เร็จฝึกอบรม หลักสูตรการพัฒนานักบริหาร มหาวิทยาลัย สายวิชาการระดับสูง (นบม.) รุ่นที่ ๒๗ ณ โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส กรุงเทพฯ
10
รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวว่า การฝึกอบรมในโครงการพัฒนาผูบ้ ริหาร ระดั บ สู ง มหาวิ ท ยาลั ย รุ ่ น ที่ ๒๗ ซึ่ ง เป็ น หนึ่ ง ในโครงการที่ ส� ำ นั ก งาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา มุ่งหวังว่าจะเป็นส่วนส�ำคัญในการเสริมสร้าง ความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของสถาบันอุดมศึกษาให้สามารถเกื้อหนุน และรองรับต่อการพัฒนาสังคมและประเทศชาติในอนาคต ตลอดจนได้ ทราบถึงผลกระทบของกระแสและเหตุปัจจัยจากภายนอกประเทศต่อ การพัฒนาความสามารถของประเทศในเวทีโลก สภาพความเป็นจริงของ สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาไทย และความจ� ำ เป็ น อย่ า งเร่ ง ด่ ว นในการพั ฒ นา ขีดความสามารถในการด�ำเนินภารกิจของสถาบันอุดมศึกษา ถึงเวลาที่ ทุกสถาบันจะต้องปรับกระบวนทัศน์ใหม่ โดยร่วมคิดและร่วมมือกัน ใน การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการด�ำเนินงานซึง่ กันและกัน ภายใต้มโนทัศน์ ทีว่ า่ “การแข่งขันภายใต้บรรยากาศของความร่วมมือ” ซึง่ เชือ่ ว่าการสร้างเครือ ข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาจะเป็นกลไกหนึ่งที่ทวีความ ส�ำคัญ
อนุสาร
เรื่องเล่า
อุดมศึกษา
รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อไปว่า ในอนาคตและโครงการนี้น่าจะเป็นส่วนส�ำคัญที่จะจุดประกายการสร้างเครือข่าย ความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาทีเ่ ป็นรูปธรรม และอ�ำนวยประโยชน์ตอ่ การด�ำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาในอนาคต ดังนัน้ ภายหลังเสร็จสิน้ การฝึกอบรมแล้ว ขอให้รว่ มกันสรรสร้างกิจกรรม อันจะเป็นการสานต่อเครือข่ายความร่วมมือระหว่าง ผู้เข้ารับการอบรมอย่างต่อเนื่องและขยายต่อไปยัง รุ่นอื่น ๆ เพื่อให้เครือข่ายความร่วมมือเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และส่งเสริมให้การด�ำเนินภารกิจของสถาบันอุดมศึกษามีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต
11
ทุนอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนา
จังหวัดชายแดนภาคใต้ นายขจร จิตสุขุมมงคล รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา เป็นประธานการปฐมนิเทศและเตรียม ความพร้อมก่อนเข้ารับการสอบสัมภาษณ์ โครงการทุน อุดมศึกษาเพือ่ การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระยะที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ ณ ห้องประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๙ ที่ผ่านมา โครงการทุนอุดมศึกษาเพือ่ การพัฒนา จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นโครงการตาม นโยบายรัฐบาลทีม่ คี วามมุง่ หมายในการให้ โอกาสทางการศึ ก ษาแก่ เ ยาวชนที่ มี ภู มิ ล� ำ เนาในเขตพั ฒ นาพิ เ ศษเฉพาะกิ จ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่พลาดโอกาส ทางการศึกษาและไม่สามารถสอบคัดเลือก เข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาได้ท้ังใน ระบบการรับตรงและการสอบคัดเลือก ผ่านระบบ Admission โดยการด�ำเนินงาน ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ ขอความอนุเคราะห์สถาบันอุดมศึกษาใน สังกัด ให้ความอนุเคราะห์ที่นั่งการศึกษา เป็นกรณีพิเศษ พร้อมให้ทุนค่าเล่าเรียน โดยการยกเว้นค่าเล่าเรียนตามระยะเวลา การศึกษาของหลักสูตรหรือตามเงื่อนไขที่ สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาก� ำ หนด มี ส ถาบั น อุ ด มศึ ก ษาที่ เข้ า ร่ ว มโครงการจ� ำ นวน ๗๑ แห่ง ได้ให้การสนับสนุน ทีน่ งั่ การศึกษา เป็นกรณีพิเศษพร้อมให้ทุนการศึกษาเพื่อ
12
เป็นค่าเล่าเรียนในคณะ/สาขาวิชาต่าง ๆ ตลอดหลักสูตรจนส�ำเร็จการศึกษาตาม ระยะเวลาของหลักสูตร จ�ำนวน ๑,๖๑๕ ที่นั่ง และส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาสนับสนุนเงินทุนค่าครองชีพให้ แก่นักศึกษาตามระยะเวลาการศึกษาของ หลักสูตร จ�ำนวน ๒๕๐ ทุน จ�ำนวนทุนละ ๔๐,๐๐๐ บาทต่อปีการศึกษา ให้แก่นิสิต นักศึกษา ตามระยะเวลาการศึกษาของ หลักสูตรในระดับปริญญาตรี ส�ำหรับโครงการทุนอุดมศึกษาเพื่อ การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ริเริ่ม โครงการในระยะที่ ๑ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๐ – ๒๕๕๔ ระยะที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ – ๒๕๕๘ และเริ่มด�ำเนินการใน ระยะที่ ๓ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๙ – ๒๕๖๓ ผู ้ รั บ ทุ น ไปแล้ ว จ� ำ นวน ๙ รุ ่ น จ�ำนวนทั้งสิ้น ๓,๘๓๙ คน และมีผู้ส�ำเร็จ การศึกษาไปแล้วจ�ำนวน ๑,๓๙๓ คน โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับคุณภาพการ
ศึกษาของเยาวชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลในการใช้ การศึ ก ษาเป็ น กลไกส� ำ คั ญ ในการขั บ เคลื่อนปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัด ชายแดนภาคใต้ เนือ่ งจากสถานการณ์และ ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทีส่ ง่ ผลกระทบในหลายด้านอย่างกว้างขวาง รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งนโยบายรัฐบาล ได้ให้ความส�ำคัญถึงการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ โดยใช้กลไกทางด้านการศึกษามา ร่วมแก้ไขปัญหาดังกล่าว และให้ความ ส� ำ คั ญ กั บ ภารกิ จ งานด้ า นการศึ ก ษาใน จั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ และหนึ่ ง ใน เป้ า หมายการด� ำ เนิ น งานที่ ส� ำ คั ญ คื อ การสร้างและขยายโอกาสทางการศึกษา รวมทัง้ การบูรณาการหน่วยงานทุกภาคส่วน เพือ่ สนับสนุนทุนการศึกษาให้นกั เรียนและ เยาวชนในจั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ ไ ด้ รับโอกาสทางการศึกษาอย่างต่อเนือ่ งและ ทั่วถึง อนุสาร
เรื่องเล่า
อุดมศึกษา
ขอเป็นก�ำลังใจ และอยากให้ผรู้ บั ทุนทุกคนตระหนักและเห็นคุณค่าของเงินทุนการศึกษาทีม่ งุ่ หมายให้ผรู้ บั ทุนได้มโี อกาสศึกษา ต่อในระดับปริญญาตรี เพือ่ น�ำวิชาความรูท้ ไี่ ด้ศกึ ษาเล่าเรียนกลับไปพัฒนาถิน่ ฐานบ้านเกิด ช่วยเหลือท้องถิน่ และภูมลิ ำ� เนาให้เจริญ ก้าวหน้า มีสันติสุขทุกชุมชุน และเมื่อนักเรียนทุกคนได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยแล้ว ขอให้ประพฤติปฏิบัติตนเป็นนิสิตนักศึกษา ที่มีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาหาความรู้อย่างสม�่ำเสมอ มีความเสียสละ มีจิตอาสาในการช่วยเหลือสังคมและส่วนรวม รู้จัก ปรับตัว ให้เข้ากับสังคม วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อมใหม่ ประสบความส�ำเร็จในการศึกษาตามที่มุ่งหวังไว้ รวมทั้งมีแรงบันดาล ใจในการน�ำความรู้ไปพัฒนาท้องถิ่นและภูมิล�ำเนาต่อไป เพราะการศึกษาเป็นพื้นฐานที่ส�ำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาตนเอง สังคม และประเทศต่อไปในอนาคต รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวในตอนสุดท้าย
13
การฝึกอบรม
“หลักสูตรการบริหารงานอุดมศึกษา ระดับสูง (สายสนับสนุน)” รุ่นที่ ๑๕ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙ - นายขจร จิตสุขมุ มงคล รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึก อบรม“หลักสูตรการบริหารงานอุดมศึกษาระดับสูง (สาย สนับสนุน)” รุ่นที่ ๑๕ ณ โรงแรมเอเชีย ราชเทวี กรุงเทพฯ รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวว่า สถาบันอุดมศึกษาถือเป็นแหล่งรวม ขององค์ความรูท้ างวิชาการทีห่ ลากหลาย มีภารกิจหลัก ๔ ประการ ทีส่ ำ� คัญ ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ทั้งการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การท�ำนุบ�ำรุง ศิลปวัฒนธรรม และการบริการวิชาการ ซึ่งการปฏิบัติภารกิจดังกล่าวจะ ต้องอาศัยผูบ้ ริหารสถาบันทีม่ วี สิ ยั ทัศน์ มีทกั ษะความช�ำนาญ ความรูค้ วาม สามารถที่ จ ะบริ ห ารสถาบั น ให้ อ ยู ่ ร อดท่ า มกลางสภาวการณ์ ค วาม เปลี่ยนแปลงและการแข่งขันในโลกปัจจุบัน ผู้บริหารมหาวิทยาลัยสาย สนับสนุนนับเป็นกลไกที่ส�ำคัญในการบริหารงานให้สอดคล้องรองรับกับผู้ บริหารระดับสูง เพือ่ ขับเคลือ่ นสถาบันให้ดำ� เนินภารกิจได้ตามเป้าประสงค์ จากการปฏิรปู การศึกษาของชาติ โดยเฉพาะการปฏิรปู อุดมศึกษาเพือ่ ให้มี ความเท่าเทียมกับนานาชาติ และรู้เท่าทันกับกระแสโลกาภิวัฒน์ สถาบัน อุดมศึกษาจึงจ�ำเป็นต้องเตรียมความพร้อมสู่การเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ เป็นองค์กรแห่งความรู้ องค์กรแห่งการเรียนรู้ สามารถชีน้ ำ� สังคมในแนวทาง ที่ถูกต้อง และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเมื่อประเทศประสบกับสภาวะ วิกฤต ซึ่งภารกิจเหล่านี้เป็นหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูง รวมทั้งผู้บริหาร สายสนับสนุนตลอดจนบุคลากรทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันเพื่อน�ำพาสถาบัน อุดมศึกษาไปสูค่ วามเป็นเลิศในระดับนานาชาติและพึง่ พาตนเองได้ในระยะ
14
ยาว หลักสูตรการบริหารงานอุดมศึกษาระดับสูง (สายสนับสนุน) นี้ นับเป็น เครื่องมือส�ำคัญในอันที่จะเสริมสร้างวิสัยทัศน์ ความรู้ ความเข้าใจ ในการ บริหารจัดการสถาบันได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพ ทุกท่านที่ได้มีโอกาสเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรนี้ จึงถือว่าเป็น ส่วนส�ำคัญที่จะช่วยกันขับเคลื่อนสถาบันอุดมศึกษา โดยในการฝึกอบรม ครัง้ นีจ้ ะได้รว่ มแลกเปลีย่ นประสบการณ์อนั จะเป็นประโยชน์ในการบริหาร สถาบันอุดมศึกษายุคใหม่ สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบัน อุดมศึกษา รวมทัง้ การพัฒนาผูบ้ ริหารสถาบันอุดมศึกษาและสร้างความเข้ม แข็งแก่สังคมอุดมศึกษาต่อไป รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวในตอนท้าย
อนุสาร
เรื่องเล่า
อุดมศึกษา
การประชุมเชิงปฎิบัติการ Advancing Conceive, Design, Implement and Operate : CDIO Framework
นางอรสา ภาววิมล ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา พร้อมด้วยผู้บริหารระดับอธิการบดีและรองอธิการบดีของมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคล ทั้ง ๙ แห่งได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการภายใต้ โครงการ Temasek Foundation – Singapore Polytechnic TVET (General) Specialists Programme, Thailand on “Advancing Conceive, Design, Implement and Operate: CDIO Framework” ณ ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งจัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และ Singapore Polytechnic โดยได้รับ การสนับสนุนจาก Temasek Foundation ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๙ ที่ผ่านมา ผู้ช่วยเลขาธิการ กกอ. เปิดเผยว่า การจัดการศึกษาภายใต้กรอบ แนวคิดที่เรียกว่า Conceive, Design, Implement, and Operate หรือ CDIO-based Education Framework CDIO ได้รบั การคิดค้นและพัฒนา มาตั้งแต่ปี ค.ศ. ๒๐๐๐ โดยผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันที่มีชื่อเสียงของโลก ในประเทศสวีเดนและสหรัฐอเมริกา ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างความเป็นเลิศใน ๔ ด้าน ได้แก่ การรับรูป้ ญ ั หา (Conceive) หาแนวทางแก้ปญ ั หา (Design) การประยุกต์ใช้ (Implement) และการด�ำเนินงาน (Operate) หรือ การผลิตผลงาน เน้นการสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพ (Hands-on professional graduate) ที่สามารถท�ำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หัวใจ ส�ำคัญของการน�ำ CDIO มาประยุกต์ใช้ คือ ผูบ้ ริหารสถาบันต้องมีความมุง่ มัน่ และตั้งใจจริงในการส่งเสริมและสนับสนุนทั้งด้านทรัพยากรบุคคลและ งบประมาณตามระดั บ การพั ฒ นาและศั ก ยภาพของแต่ ล ะสถาบั น
เพือ่ ให้การพัฒนาบัณฑิตโดยใช้แนวคิดแบบ CDIO บรรลุเป้าหมายอย่างแท้จริง นอกจากนัน้ สถาบัน ต้องมีนโยบายที่ชัดเจนและมีการวางแผนการ ด�ำเนินการในระยะยาว เพื่อสนับสนุนการบูรณาการ แนวคิดแบบ CDIO ในการจัดการเรียนการสอน ไม่เฉพาะคณะวิศวกรรมศาสตร์ เท่านั้น แต่ควรให้สามารถขยายผลไปยังสาขาอื่น ๆ ได้ ผู้ช่วยเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อไปว่า Singapore Polytechnic ได้ มาแลกเปลีย่ นประสบการณ์และแนวปฏิบตั ทิ ดี่ ี ในการ น�ำ CDIO มาใช้เป็น กลไกในการจัดการเรียนการสอน จะเห็นว่าสถาบันให้ความส�ำคัญต่อ การบูรณาการ CDIO กับหลักสูตรการเรียนการสอน เพือ่ น�ำไปสูก่ ารกระตุน้ ให้เกิดการเรียนรู้ ประกอบการฝึกปฏิบัติและการผลิตผลงานร่วมกัน ระหว่างนักศึกษา อาจารย์และผูท้ อี่ ยูใ่ นภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมและยังเป็น ช่องทางส�ำคัญของนักศึกษาในการออกแบบแนวคิดเพือ่ การสร้างนวัตกรรม หรือผลิตภัณฑ์ทสี่ ามารถน�ำไปใช้ประโยชน์ได้จริง เช่น การสร้าง Solar car ของนักศึกษาเพื่อน�ำไปแข่งขันที่ประเทศออสเตรเลีย ซึ่ง Singapore Polytechnic เป็นผู้แข่งขันแห่งเดียวที่ไม่ได้มาจากมหาวิทยาลัย หรือ การสร้างอุปกรณ์สำ� หรับอ�ำนวยความสะดวกในการจัดยาตามใบสัง่ แพทย์ ในแผนกจ่ายยาของโรงพยาบาล เป็นต้น ในส่วนของประเทศไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ Conceive, Design, Implement, and Operate (CDIO) Framework for Re-Thinking Engineering Education, Thailand ภายใต้การสนับสนุนของ Temasek Foundation และ Singapore Polytechnic และ ในฐานะทีเ่ ป็นสมาชิก Collaborator แห่งแรกของประเทศไทยได้น�ำกระบวนการเรียนการสอนแบบ CDIO มาประยุกต์ใช้ที่มหาวิทยาลัยโดยเริ่มจากภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ภาควิชาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระดับ รายวิชาจนถึงระดับหลักสูตร และจะขยายไปสู่หลักสูตรแพทย์แผนไทย เทคโนโลยีสื่อสารมวลชนและสาขาอื่น ๆ ผู้ช่วยเลขาธิการ กกอ. กล่าวใน ตอนสุดท้าย อนึง่ เมือ่ วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๙ ได้มกี ารลงนามความร่วมมือทาง วิชาการส�ำหรับการด�ำเนินการจัดการศึกษาแบบ CDIO ระดับสูง ระหว่าง มทร. ธัญบุรี มทร. ล้านนา มทร. กรุงเทพ มทร. อีสานและ มทร. พระนคร กับ Singapore Polytechnic และยังมีแผนจะขยายผลไปยังมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคล ทั้ง ๙ แห่งและมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ต่อไป
15
กีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน ครั้งที่ ๑๘ ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์
18th ASEAN University Games : Singapore 2016 การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน ครั้งที่ ๑๘ ระหว่างวันที่ ๑๐ – ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๙ ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ซึ่งมีประเทศ สมาชิกอาเซียนเข้าร่วมการแข่งขันทั้งสิ้น ๑๑ ประเทศ คือ มาเลเซีย สาธารณรั ฐ อิ น โดนี เชี ย บรู ไ นดารุ ส ซาลาม สาธารณรั ฐ สิ ง คโปร์ สาธารณรั ฐ ประชาธิ ป ไตยประชาชนลาว สาธารณรั ฐ ฟิ ลิ ป ปิ น ส์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์ เลสเต ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และ ประเทศไทย โดยมีชิงชัยทั้งสิ้น ๑๖ ชนิดกีฬา ได้แก่ ยิงธนู กรีฑา แบดมินตัน บาสเกตบอล เรือพาย ฟันดาบ ฟุตบอล ปันจัก สีลัด เปตอง รักบี้ฟุตบอล ตะกร้อ ยิงปืน ว่ายน�้ำ เทเบิลเทนนิส วอลเลย์บอล และโปโลน�้ำ จ� ำ นวน ๑๗๕ เหรี ย ญทอง ส� ำ หรั บ ประเทศไทย ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา โดยความร่วมมือ ของคณะกรรมการบริ ห ารกี ฬ า มหาวิ ท ยาลั ย แห่ ง ประเทศไทย และสถาบันอุดมศึกษา ส่งคณะ นักกีฬาและเจ้าหน้าทีข่ องไทยเข้า ร่วมรวมทั้งสิ้น ๓๙๗ คน เข้าร่วม การแข่งขันทุกชนิดกีฬา
16
ผลการแข่ ง ขั น กี ฬ า มหาวิทยาลัยอาเซียนในครั้งนี้ ประเทศไทยได้เป็นเจ้าหรียญทอง เป็นครั้งที่ ๔ และเป็นเจ้าเหรียญ ทองครั้งแรกในรอบ ๓๕ ปี ที่ออกไป แข่งขันในต่างประเทศ โดยได้เหรียญรางวัล ทั้งหมด ๑๒๑ เหรียญ แบ่งเป็น ๕๒ เหรียญทอง ๓๔ เหรียญเงิน ๓๕ เหรียญทองแดง อนึ่ง ในช่วงพิธิเปิดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน ครั้งที่ ๑๘ ศาสตราจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์ ประธาน คณะกรรมการบริห ารกีฬามหาวิ ทยาลั ย แห่ ง ประเทศไทย และนายขจร จิตสุขุมมงคล รองเลขาธิการคณะกรรมการการ อุ ด มศึ ก ษา พร้ อ มคณะผู ้ บริห ารได้เดินทางไปร่ ว ม พิ ธี เ ปิ ด และเยี่ ย มชมให้ ก�ำลังใจนักกีฬาที่เข้าร่วม แข่งขันด้วย
อนุสาร
เหตุการณ์
เล่าเรื่อง
ตารางสรุปผลการแข่งขัน NO 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11
ประเทศ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ กัมพูชา ลาว ติมอร์ เลสเต เมียนมาร์ บรูไน
ทอง เงิน ทองแดง รวม ๕๒ ๓๓ ๒๗ ๒๖ ๒๔ ๖ ๔ ๓ ๐ ๐ ๐
๓๔ ๕๔ ๓๑ ๑๐ ๒๐ ๑๓ ๑ ๙ ๒ ๑ ๐
๓๕ ๒๘ ๓๕ ๑๓ ๒๙ ๑๘ ๒ ๙ ๒ ๐ ๐
๑๒๑ ๑๑๕ ๙๓ ๔๙ ๗๓ ๓๗ ๗ ๒๑ ๔ ๑ ๐
17
นิทรรศการแนะแนว
การศึกษาต่อประเทศไทย และการหารือความร่วมมือ ระดับอุดมศึกษาไทย-ยูนนาน
ณ นครคุนหมิง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
18
ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาโดยส�ำนัก ยุทธศาสตร์อดุ มศึกษาต่างประเทศ และสถานกงสุลใหญ่ ณ นครคุนหมิง ร่วมกับบริษัท New Oriental Vision Overseas Consulting สาธารณรัฐประชาชนจีน จัด นิ ท รรศการแนะแนวการศึ ก ษาต่ อ ประเทศไทย ณ โรงแรม Green Lake นครคุนหมิง และร่วมกับกรมการ ศึ ก ษามณฑลยู น นานจั ด กิ จ กรรมหารื อ ความร่วมมือ ระดับอุดมศึกษาระหว่างไทย-ยูนนาน ณ มหาวิทยาลัย ชนชาติยนู นาน โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ ส่งเสริมความร่วม มือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยและสถาบันอุดมศึกษา ในมณฑลยูนนานให้ขยายตัวและมีความแน่นแฟ้นยิง่ ขึน้ ในระหว่างวันที่ ๑๐ - ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙
อนุสาร
เหตุการณ์
เล่าเรื่อง
งานนิทรรศการแนะแนว การศึกษาต่อประเทศไทย ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๙ - นางสาวชฎารัตน์ สิงหเดชากุล ผูอ้ ำ� นวยการ ส� ำ นั ก ยุ ท ธศาสตร์ อุ ด มศึ ก ษาต่ า งประเทศ ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาพร้อมด้วยผูแ้ ทนจากสถาบันอุดมศึกษาไทย จ�ำนวน ๑๑ แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยแม่ฟา้ หลวง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และสถาบันการจัดการปัญญาภิวฒ ั น์ ได้รว่ มงานนิทรรศการแนะแนวการศึกษาต่อประเทศไทยเพือ่ ประชาสัมพันธ์ ข้อมูลอุดมศึกษาและการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาไทย ตลอดจน ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการศึกษาต่อในประเทศไทยแก่นักเรียน นักศึกษาและ ผู้ปกครองชาวจีนที่เข้าชมงาน โดยมีสถาบันอุดมศึกษาจากประเทศอื่น ๆ เข้าร่วมงานในครั้งนี้ ได้แก่ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ และ สหรัฐอเมริกา ในงานดังกล่าว ผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักยุทธศาสตร์อดุ มศึกษาต่างประเทศ ได้บรรยายเรื่อง “ประเทศไทย: จุดมุ่งหมายในการศึกษาต่อของคุณ” โดย ผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังได้แก่ นักเรียน นักศึกษา และผู้ปกครองชาวจีนในนคร คุนหมิง จ�ำนวนประมาณ ๒๐๐ คน
19
การหารือความร่วมมือ ระดับอุดมศึกษาระหว่างไทย-ยูนนาน ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙ - คณะผู้แทนจากประเทศไทยได้ร่วมหารือ ความร่วมมือด้านการศึกษากับผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาในมณฑลยูนนาน ณ มหาวิทยาลัยชนชาติยูนนาน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและหารือ ความเป็นไปได้ในการสร้างความร่วมมือระหว่างกัน โดยมีนายพรภพ อ่วมพิทยา กงสุ ล ใหญ่ ณ นครคุ น หมิ ง เป็ น ประธานฝ่ า ยไทย และนายโจว หรง อธิบดีกรมการศึกษามณฑลยูนนานเป็นประธานฝ่ายจีน ทั้งนี้ กงสุลใหญ่ ณ นครคุนหมิงได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการสร้างความร่วมมือ ไทย - ยูนนาน ๔ ด้าน ได้แก่ ๑) ส่งเสริมการศึกษา วิจัยและพัฒนา ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ๒) ส่งเสริมการศึกษา วิจยั และ พัฒนาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ปรัชญาและการบริหารจัดการอย่าง ยั่งยืน ๓) ส่งเสริมการท�ำวิจัยของนักศึกษาในระดับปริญญาเอก โดย การจัดสรรทุนการศึกษา วิจัยให้แก่บุคลากรทางการศึกษาของทั้งสองฝ่าย และ ๔) ส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาทั้งสองฝ่ายจัดท�ำหลักสูตรร่วมกัน
20
ในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่แต่ละฝ่ายมีความเข้มแข็งให้มากขึ้น เพื่อพัฒนาและ ยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนในสาขาดังกล่าว นอกจากนี้ ภายในบริเวณมหาวิทยาลัยชนชาติยูนนานยังจัดพื้นที่ ส�ำหรับผูแ้ ทนส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและสถาบันอุดมศึกษา ที่ไปร่วมงานดังกล่าวได้ประชาสัมพันธ์ข้อมูลการศึกษาต่อที่ประเทศไทย โดยมีผู้ที่สนใจเข้ามาสอบถามข้อมูลเป็นจ�ำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักศึกษาของมหาวิทยาลัยชนชาติยูนนาน ในช่วงบ่ายของวันเดียวกันคณะผูแ้ ทนจากประเทศไทยน�ำโดย กงสุลใหญ่ ณ นครคุนหมิง ได้เดินทางไปเยีย่ มชมและศึกษาดูงาน ณ ศูนย์ TusKspace ของมหาวิทยาลัยยูนนาน วิทยาเขตเฉิงก้ง ซึง่ เป็นศูนย์บม่ เพาะวิสาหกิจของ มหาวิทยาลัยยูนนาน และมีโอกาสไปเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยยูนนาน วิทยาเขตเฉิงก้ง โดยมีนายหยาง หลิน เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจ�ำ มหาวิทยาลัยยูนนานและคณะให้การต้อนรับอย่างดียิ่ง
อนุสาร
เล่าเรื่อง
ด้วยภาพ
๖ กรกฎาคม ๒๕๕๙ - นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษาร่วมบันทึกวีดิทัศน์อาศิรพาท ถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙ พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการโดยมีรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารเป็ น ผู ้ ก ล่ า วอาศิ ร พาทถวายพระพร ชัยมงคล ณ สถานีโทรทัศน์ช่อง ๙ MCOT HD
๗ กรกฎาคม ๒๕๕๙ - นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และนางอรสา ภาววิมล ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุ ด มศึ ก ษา ร่ ว มพิ ธี สั ก าระศาลพระภู มิ ป ระจ� ำ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เนื่องในโอกาส วั น คล้ า ยวั น สถาปนาส� ำ นั ก งานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา บริเวณหน้าอาคารอุดมศึกษา ๒
๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๙ - พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ครัง้ ที่ ๓/๒๕๕๙ ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์วจิ ติ ร ศรีสอ้าน โดยมี นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะ กรรมการการอุดมศึกษา เข้าร่วมประชุมด้วย
21
๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙ – นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมพิธบี วงสรวงงานบูรณะ ซ่อมแซม และ ปรับปรุงอาคารราชวัลลภ (วังจันทรเกษม) โดยมี ท่านผูห้ ญิงบุตรี วีระไวทย ะ ประธานกรรมการมู ล นิ ธิ พ ระบรมราชานุ ส รณ์ พระบาทสมเด็ จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั ในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นประธานพิธี ร่วมด้วย พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ บริหารระดับสูงกระทรวงศึกษาธิการ และตัวแทนหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง ณ บริเวณหน้าอนุสาวรีย์รัชกาลที่ ๖ กระทรวงศึกษาธิการ อาคารราชวัลลภ วังจันทรเกษม แต่เดิมเป็นวังที่พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ทรงพระราชทานให้เป็นที่ ประทับของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎ ราชกุมาร (รัชกาลที่ ๖) แต่เนือ่ งจากตอนเริม่ สร้างวังแห่งนีพ้ ระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยูห่ วั จึงมีพระราชด�ำริให้ดำ� เนินการสร้างต่อ เมื่อสร้างเสร็จทรงโปรด เกล้ า ให้ ใ ช้ เ ป็ น โรงเรี ย นการเรื อ นและเป็ น สถานพยาบาลส� ำ หรั บ ข้าราชการ บริพาร รวมทั้งเป็นที่ท�ำการของกรมมหรสพต่อมาในสมัย พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (รัชกาลที่ ๘) ได้ยกวังจันทรเกษมให้เป็นอาคารที่ท�ำการของกระทรวง ธรรมการ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงศึกษาธิการ โดยปัจจุบันยัง เก็บรักษาตราราชวัลลภไว้ที่อาคารราชวัลลภแห่งนี้ และถึงเวลาที่ต้อง ท� ำ การบู ร ณะให้ มี ค วามแข็งแรงมั่น คง เพื่อเป็น สถานที่ท� ำ งานของ ข้าราชการและบุคลากรกระทรวงศึกษาธิการต่อไป
22
อนุสาร
เล่าเรื่อง
ด้วยภาพ
๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๙ - นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม นายขจร จิตสุขุมมงคล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และนางอรสา ภาววิมล ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตรวจเยี่ยมอาคารอุดมศึกษา ๒
๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๙ - นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม นายขจร จิตสุขุมมงคล และรองศาสตราจารย์บัณฑิต ทิพากร รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมพิธีท�ำบุญตักบาตรเพื่อถวายเป็น พระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฏราชกุมาร ณ ลานหน้าอาคารอุดมศึกษา ๒ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๙ - รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมเสวนา วิชาการ ๖ ทศวรรษ เรือ่ ง "ตกผลึกความคิด ๖ ผูน้ ำ� การศึกษาทิศทาง การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษาของไทย... จะไปทางไหนดี?" ณ ห้ อ งประชุ ม ร� ำ ไพ สุ จ ริ ต กุ ล คณะครุ ศ าสตร์ จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย โดยมีผเู้ ข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย นายแพทย์ธรี ะเกียรติ เจริ ญ เศรษฐศิ ล ป์ รั ฐ มนตรี ช ่ ว ยว่ า การกระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน ศาสตราจารย์กิตติคุณสมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ราชบัณฑิต ศาสตราจารย์พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ และรองศาสตราจารย์มนตรี แย้มกสิกร
23
การจัดกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ ในสถาบันอุดมศึกษา ด้วยกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ เป็นประเพณีทสี่ บื ทอดมายาวนานในสถาบันอุดมศึกษา มีปณิธานเพือ่ ถ่ายทอดความสัมพันธ์ ของนิสิตนักศึกษารุ่นพี่สู่รุ่นน้อง ยังผลให้เกิดความสามัคคี มีระเบียบวินัย ความภาคภูมิใจในสถาบัน และมีการช่วยเหลือเกื้อกูลฉันพี่น้อง ฯลฯ ดังนั้น เพื่อให้ประเพณีการรับน้องใหม่และการประชุมเชียร์ในสถาบันอุดมศึกษาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ธ�ำรงไว้ซึ่งปณิธานที่ดีงาม อีกทั้งมี ลักษณะในการจัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์ อบอุ่น ประทับใจและเสริมสร้างการพัฒนานิสิตนักศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงได้ ก�ำหนดนโยบายและมาตรการในการจัดกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ของสถาบันอุดมศึกษา ดังนี้
นโยบาย
มาตรการ
๑.
มุ่งเสริมสร้างกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์และก่อให้ เกิดภาพลักษณ์เชิงบวกแก่สาธารณชน
๒.
เคารพสิทธิ เสรีภาพและหลักความเสมอภาค ไม่มคี วามรุนแรงและ ห้ามล่วงละเมิดสิทธิสว่ นบุคคลทัง้ ทางร่างกายและหรือจิตใจ ไม่ดมื่ สุราและเสพสิ่งมึนเมาทุกชนิด
๓.
ต้องไม่กระทบต่อการเรียนการสอน
๔.
ต้องอยู่ในความรับผิดชอบ ก�ำกับ ดูแลของผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรทุก คณะ/ภาควิชา และนิสิตนักศึกษารุ่นพี่ รวมถึง ต้องให้ค�ำปรึกษาในการจัด กิจกรรมให้มลี กั ษณะสร้างสรรค์ ไม่ขดั ต่อระเบียบสถาบัน กฎหมาย วัฒนธรรม ประเพณีและมารยาททางสังคมที่ดีงาม
๕.
ไม่จัดกิจกรรมนอกสถานที่ เพื่อความปลอดภัยและ ความประหยัดของนิสิตนักศึกษาเป็นส�ำคัญ
๗.
๓.
๑.
รุ่นพี่ที่จัดกิจกรรมจะต้องได้รับการ คัดเลือก และมีการเตรียมความพร้อม พัฒนาทักษะก่อนการจัดกิจกรรม
๕.
ให้สถาบันอุดมศึกษามีการ ประเมิ น ผล และแลกเปลี่ ย น เรียนรู้การจัดกิจกรรมต้อนรับน้อง ใหม่และประชุมเชียร์ มีการยกย่องชมเชย นิสิตนักศึกษาที่มีการจัดกิจกรรมอย่าง สร้างสรรค์ให้เป็นที่ประจักษ์ต่อ สาธารณชนในโอกาสอันควร
ให้สถาบันอุดมศึกษา รณรงค์ ประชาสั ม พั น ธ์ เ ปิ ด เผยรู ป แบบ ให้ ส ถาบั น อุ ด มศึ ก ษาออกกฎ กิจกรรม เพื่อสร้างความเข้าใจกับนิสิต ระเบียบ ข้อบังคับหรือหลักเกณฑ์และ นักศึกษา บุคลากร ผูป้ กครอง และประชาชน มาตรการในการจัดกิจกรรมให้สอดคล้อง ทั่วไป ให้เข้าใจวัตถุประสงค์ นโยบายและ มาตรการ รวมทั้ ง มี ทั ศ นคติ ที่ ดี ต ่ อ กั บ แนวนโยบายของส� ำ นั ก งานคณะ กิ จ กรรมต้ อ นรั บ น้ อ งใหม่ แ ละ กรรมการการอุดมศึกษา ให้ ส ถาบั น อุ ด มศึ ก ษา มี บ ท ประชุมเชียร์ ตลอดจนร่วมตรวจ ลงโทษทางวินยั อย่างเข้มงวดกับนิสติ ให้ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา สอบการ จัดกิจกรรมได้ นั ก ศึ ก ษา รวมถึ ง ผู ้ รั บ ผิ ด ชอบและ แต่ ล ะสถาบั น ถื อ เป็ น หน้ า ที่ แ ละ ผูเ้ กีย่ วข้องในการจัดกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่ ความรับผิดชอบในการด�ำเนินการตาม และประชุมเชียร์ของนิสิตนักศึกษาที่ขัด นโยบายและมาตรการข้างต้นอย่าง ต่อหลักสิทธิมนุษยชนขัน้ พืน้ ฐาน หลัก เคร่งครัด ความเสมอภาค และกฎ ระเบียบ สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาควรจั ด ตั้ ง ให้นิสิตนักศึ กษาใหม่ เข้ า ร่ ว ม ข้อบังคับ ของสถาบัน ศูนย์เฝ้าระวังผ่านสื่อต่าง ๆ เพื่อ กิจกรรมต้อนรับน้องใหม่และประชุม เชี ย ร์ ด ้ ว ยความสมั ค รใจ รวมทั้ ง เปิ ด ติดตาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แก้ไขปัญหา โอกาสให้ผู้ปกครองเข้ามาสังเกตการณ์ และประสานกั บ สื่ อ มวลชนและ * จากประกาศส�ำนักงานคณะกรรมการ การจัดกิจกรรมได้ ผู้ปกครอง การอุดมศึกษา เรื่อง การจัดกิจกรรม
๔.
๒.
๘.
๖.
ต้อนรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ใน สถาบันอุดมศึกษา ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙