อนุสารอุดมศึกษา issue 408

Page 1

อุ ด มศึ ก ษา อนุสาร

ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔๐๘ ประจำเดือนมิถุนายน ๒๕๕๕ เอกสารเผยแพร่ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ISSN 0125-2461

อนุสารอุดมศึกษาออนไลน์ www.mua.go.th/pr_web

ความยินดีของแผ่นดิน


อุดมศึกษา

อนุสาร

ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔๐๘ ประจำเดือนมิถุนายน ๒๕๕๕

สารบัญ เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย ก.พ.อ. เห็นชอบแต่งตั้งศาสตราจารย์ ๑๐ ราย ๓ สกอ. เน้นสภามหาวิทยาลัยยึดหลักนิติธรรม ๔ เลขาธิการ กกอ. มอบนโยบาย ผอ.วชช. ๕ สกอ. พัฒนาสื่อการสอนภาษาจีน ๕ สกอ.จัดสรร ๑๐๐ ทุนเรียนดีมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ๖ สกอ. ร่วม จุฬา ตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาเชิงเครือข่าย ๗

เป็นศูนย์บริการเบ็ดเสร็จครบวงจร ศธ. คลอดเกณฑ์โครงการผลิตครูมืออาชีพปีการศึกษา ๒๕๕๔ ๘

เรื่องเล่าอาเซียน

การเกิดประชาคมอาเซียนกับการศึกษาของประเทศไทย (๙)

เรื่องพิเศษ ความยินดีของแผ่นดิน

๑๑

พูดคุยเรื่องมาตรฐาน

๑๕

เรื่องแนะนำ ดูฟุตบอล ยูโร ๒๐๑๒ เป็นกีฬา

๑๗

สกอ. ย้ำสถาบันอุดมศึกษายึดพันธกิจ จัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ

เหตุการณ์เล่าเรื่อง นวัตกรรมสหกิจศึกษาไทย ก้าวไกลสู่ประชาคมโลก

๑๙

เล่าเรื่องด้วยภาพ

๒๒

คณะผู้จัดทำ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๒๖ เว็บไซต์ http://www.mua.go.th อีเมล์ pr_mua@mua.go.th นายอภิชาติ จีระวุฒิ รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติยกวี นางวราภรณ์ สีหนาท นายศิระวิทย์ คลี่สุวรรณ ที่ปรึกษา บรรณาธิการ นายกฤษณ์กร วงศ์ไทย กองบรรณาธิการ นางสาวปิยาณี วิริยานนท์ นางชุลีกร กิตติก้อง นายเจษฎา วณิชชากร นางปราณี ชื่นอารมณ์ นายพรชัย สิทธินันทน์ นายจรัส เล็กเกาะทวด บริษัท ออนป้า จำกัด ผู้พิมพ์


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

ก.พ.อ. เห็นชอบแต่งตั้ง ศาสตราจารย์ ๑๐ ราย

๑ มิ ถ ุ น ายน ๒๕๕๕ - สำนั ก งานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา จัดการประชุมคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ในสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา (ก.พ.อ.) ครั้ ง ที่ ๕/๒๕๕๕ โดยมี ศาสตราจารย์ ส ุ ช าติ ธาดาธำรงเวช รั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวง ศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุม ณ กระทรวงศึกษาธิการ ทั ้ ง นี ้ นายอภิ ช าติ จี ร ะวุ ฒ ิ เลขาธิ ก ารคณะกรรมการการ อุดมศึกษา เปิดเผยหลังจากการประชุมว่า ในการประชุมครั้งนี้มี วาระเกี่ยวกับการแต่งตั้งศาสตราจารย์ ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบให้นำ ความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งบุคคล ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ จำนวน ๑๐ ราย ดังนี้ ๑) รองศาสตราจารย์จิรายุ เอื้อวรากุล ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาอายุรศาสตร์

(โลหิตวิทยา) มหาวิทยาลัยมหิดล ๒) รองศาสตราจารย์จามรี ธีรตกุลพิศาล ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ในสาขาวิชากุมารเวชศาสตร์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น ๓) รองศาสตราจารย์สุพัฒน์ อรรถธรรม ให้ ด ำรงตำแหน่ ง ศาสตราจารย์ ในสาขาวิ ช าโรคพื ช

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ๔) รองศาสตราจารย์นวลฉวี รุ่งธนเกียรติ ให้ ด ำรงตำแหน่ ง ศาสตราจารย์ ในสาขาวิ ช ารั ง สี

ประยุกต์และไอโซโทป มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ๕) รองศาสตราจารย์งามผ่อง คงคาทิพย์ ให้ ด ำรงตำแหน่ ง ศาสตราจารย์ ในสาขาวิ ช าเคมี

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ๖) รองศาสตราจารย์วีระพล จันทร์ดียิ่ง ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาสูติศาสตร์

และนรีเวชวิทยา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

๗) รองศาสตราจารย์ศุภยางค์ วรวุฒิคุณชัย ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาจุลชีววิทยา

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ๘) รองศาสตราจารย์คม สุคนธสรรพ์ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาปรสิตวิทยา

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๙) รองศาสตราจารย์วิชัย ศรีคำ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาภูมิศาสตร์

มหาวิทยาลัยศิลปากร ๑๐) รองศาสตราจารย์ทรงศักดิ์ ศรีบุญจิตต์ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นอกจากนี้ ทีป่ ระชุมเห็นชอบสาระและความถูกต้องเหมาะสม ของการพิจารณาอนุมัติกำหนดตำแหน่ง ศาสตราจารย์อภิชาติ จิตต์เจริญ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ได้รับเงินเดือนใน อันดับ ท.๑๑ ในสาขาวิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา มหาวิทยาลัย มหิดล เลขาธิ ก าร กกอ. กล่ า วถึ ง การแต่ ง ตั้ ง กรรมการใน

คณะกรรมการข้ า ราชการพลเรื อ นในสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา หรื อ ก.พ.อ. ว่ า ที ่ ป ระชุ ม ได้ ร ั บ ทราบการแต่ ง ตั ้ ง กรรมการ ก.พ.อ.ในส่วนของนายกสภาสถาบันอุดมศึกษา ที่ได้ทำการคัด เลือกกันเอง ๒ ราย คือ ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน นายก สภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และ ศาสตราจารย์ พิ เ ศษนรนิ ติ เศรษฐบุ ต ร นายกสภามหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ลงนาม ในประกาศแต่งตั้งแล้วตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕

อนุสารอุดมศึกษา

3


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

สกอ. เน้นสภามหาวิ ท ยาลั ย ยึดหลั ก นิ ติ ธ รรม ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๕ - สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยโครงการจัดตั้งสถาบันธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย (University Governance Institute: UGI) สถาบันคลังสมองของชาติ ภายใต้มูลนิธิส่งเสริมทบวงมหาวิทยาลัย จัดงานสัมมนาทาง

วิ ช าการ เรื ่ อ ง “สภามหาวิ ท ยาลั ย กั บ บทบาทในการกำกั บ ดู แ ลการดำเนิ นงานของมหาวิ ท ยาลั ย ตามหลั ก นิ ติ ธ รรม”

ณ โรงแรมสยามซิตี้ ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากนายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิด การจัดงานสัมมนานี้เป็นกิจกรรมหนึ่งเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาธรรมาภิบาลของสภาสถาบันอุดมศึกษาภายใต้กรอบแผน อุด มศึ ก ษาระยะยาว ๑๕ ปี ฉบับที่ ๒ (๒๕๕๑ - ๒๕๖๕) เพื ่ อสร้ า งความตระหนั กในการปฏิ บั ติ ตามบทบาทหน้ า ที ่ ของสภา มหาวิทยาลัยในการควบคุมกำกับดูแลการดำเนินการของมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามหลักนิติธรรม (Rule of Law) และเพื่อแลกเปลี่ยน เรียนรู้ประสบการณ์ และความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบของสภามหาวิทยาลัยเกี่ยวกับการกระทำทาง ปกครอง การออกกฎ ระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับของมหาวิทยาลัย และการบังคับใช้กฎ ระเบียบ ประกาศ และข้อบังคับต่างๆ และ แนวทางปฏิบัติที่ดีระหว่างกรรมการสภากับผู้ทรงคุณวุฒิด้านบริหารอุดมศึกษาและด้านกฎหมาย หรือแม้กระทั่งในกลุ่มกรรมการ สภามหาวิทยาลัยด้วยกัน ซึ่งการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาลของสภาสถาบันอุดมศึกษา และผู้บริหาร สถาบันอุดมศึกษานั้น จะนำมาซึ่งประโยชน์สูงสุดแก่นิสิต นักศึกษา ประชาชนผู้รับบริการ นอกจากนี้แล้ว โครงการจัดตั้งสถาบันธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย สถาบันคลังสมองของชาติ มูลนิธิส่งเสริมทบวงมหาวิทยาลัย ยังได้จัดทำหลักสูตร “ธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา” (University Governance Program: UGP) สำหรับกรรมการ สภามหาวิทยาลัยขึ้นตั้งแต่ ปี ๒๕๕๒ เป็นต้นมา เพื่อให้กรรมการสภามหาวิทยาลัยได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และแสดง ความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการกำกับดูแลมหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการที่ดี สร้าง ความตระหนักในการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของกรรมการสภามหาวิทยาลัยอย่างถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ ตลอดจนการสร้าง เครือข่ายสภามหาวิทยาลัย ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และแนวทางปฏิบัติที่ดี (Good practice) ระหว่างกัน ซึ่งขณะนี้อยู่ใน ระหว่างเปิดรับสมัครกรรมการสภาฯ เข้าอบรมหลักสูตรธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ รุ่นที่ ๑๐ อบรม ระหว่างวันที่ ๒๑ มิถุนายน - ๖ สิงหาคม รุ่นที่ ๑๑ อบรมระหว่างวันที่ ๙ สิงหาคม - ๒๔ กันยายน รุ่นที่ ๑๒ อบรมระหว่างวันที่

๖ กันยายน - ๒๒ ตุลาคม และรุ่นที่ ๑๓ อบรมระหว่างวันที่ ๒๙ ตุลาคม - ๑๔ ธันวาคม ผู้สนใจเข้าดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.knit.or.th หรือติดต่อได้ที่สถาบันคลังสมองของชาติ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๔๐ ๐๔๖๑ โทรสาร ๐ ๒๖๔๐ ๐๔๖๕

สถาบันคลังสมองของชาติ จัดตั้งขึ้นโดยมูลนิธิส่งเสริมทบวงมหาวิทยาลัย ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี

เมื่อวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๔๖ เป็นองค์กรที่ไม่หวังผลกำไรภายใต้มูลนิธิส่งเสริมทบวงมหาวิทยาลัย โดยได้รับงบประมาณจาก ภาครัฐในรูปของเงินอุดหนุนทั่วไป ผ่านสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มีคณะกรรมการบริหาร ทำหน้าที่กำกับดูแลเชิงนโยบาย และคณะกรรมการที่ปรึกษาให้คำปรึกษา และมีผู้อำนวยการสถาบันรับผิดชอบการดำเนินงาน และประสานงานกับเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญหน่วยงานของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม

4

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

เลขาธิการ กกอ. มอบนโยบาย ผอ.วชช. ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๕ - สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดประชุมผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนทั่วประเทศ ครั้งที่

๒/๒๕๕๕ ณ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากนายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการ อุดมศึกษา เป็นประธานในการประชุมและมอบนโยบาย โดยได้กล่าวในตอนหนึ่งว่า การบริหารองค์กรต้องมีบรรยากาศในการ ทำงานที่ดี และที่สำคัญยึดบุคคลเป็นหลักในการทำงานร่วมกัน ได้แก่ ความเป็นพี่ ความเป็นเพื่อน และความเป็นน้อง ซึ่งหมายถึง บุคลากรจะทำงานร่วมกันได้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย และต้องรู้จักกัน สามารถเชื่อมโยงเครือข่าย สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ แลก เปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกันได้ รวมถึงสามารถแลกเปลี่ยนครูอาจารย์ของแต่ละวิทยาลัยเพื่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อม ทั้งต้องรู้ขอบเขตของอำนาจการบริหารงาน ต้องรู้กฎหมาย ระเบียบต่างๆ และต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด รัดกุม ต้องมีความซื่อสัตย์ สุจริต เปิดใจรับความสำเร็จ และไม่สำเร็จ พร้อมทั้งต้องเป็นนักแก้ปัญหาที่ดี เลขาธิการ กกอ. ได้กล่าวถึงการขับเคลื่อนการดำเนินงานของวิทยาลัยชุมชนว่า การเปิดหลักสูตรของวิทยาลัยชุมชนต้องเป็น ความต้องการของพื้นที่ ซึ่งจะเป็นเจตนารมณ์ของการตั้งวิทยาลัยชุมชนอย่างแท้จริง หลักสูตรระยะสั้นต่างๆ ต้องคำนึงถึง ชุมชน ถ้าชุมชนต้องการ เราต้องเข้าไปหาชุมชน ไปจัดการเรียนการสอนในชุมชน ถ้าทำได้จะเป็นเรื่องดีมาก และวิทยาลัย ชุมชนควรร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นๆ ในพื้นที่ รวมถึงควรมีการขึ้นทะเบียนวิทยากร ผู้มีความรู้ในด้าน ต่างๆ และขึ้นทะเบียนวิชาความรู้ รวบรวมสหวิชาพื้นบ้านที่เป็นของท้องถิ่นอย่างแท้จริง เพื่อเป็นผลงานทางวิชาการของวิทยาลัยชุมชน และเป็นองค์ความรู้ที่สืบทอดกันต่อไป ภารกิจของวิทยาลัยชุมชนจึงจะสมบูรณ์

สกอ. พัฒนาสื่ อ การสอนภาษาจี น ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๕ - สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจัดสัมมนาพิจารณ์ การจัด ทำและพั ฒ นาสื ่ อ และตำราการเรี ย นการสอนภาษาจี น ระดั บ อุ ด มศึ ก ษา ณ ห้ อ งประชุ ม ศาสตราจารย์ ว ิ จ ิ ต ร ศรี ส อ้ า น ทั ้ ง นี ้ ได้ ร ั บ เกี ย รติ จ ากนางวราภรณ์ สี ห นาท รองเลขาธิ ก าร

คณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา เป็ น ประธานเปิ ด โดยกล่ า วว่ า สำนั ก งานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาได้ทำความตกลงร่วมมือกับสำนักส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติ (The Office of Chinese Language Council International: Hanban) ตามโครงการพัฒนาสื่อและตำราการเรียนการสอนภาษาจีนระดับอุดมศึกษาแบบ e-Learning และแบบทดสอบภาษาจีนสำหรับวัดระดับความรู้อาจารย์สอนภาษาจีนในระดับอุดมศึกษาของไทย ซึ่งได้แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อทำหน้าที่ในการจัดทำและพัฒนาสื่อและตำราการเรียนการสอนภาษาจีนระดับอุดมศึกษา พร้อมทั้งได้ขอความร่วมมือจาก East China Normal University ในการพัฒนาสื่อและตำราการเรียนการสอนภาษาจีนระดับอุดมศึกษา และขอลิขสิทธิ์ในการแปล เป็นภาษาไทย เพื่อเผยแพร่ให้สถาบันการศึกษาไทยได้นำไปใช้ในการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีน “คณะทำงานฯ ได้ดำเนินการจัดทำ และพัฒนาสื่อ ทั้งแปล เรียบเรียง และตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสม จนได้ร่าง ฉบับภาษาไทย จำนวน ๔ เล่ม เรียบร้อยเมื่อเดือนมีนาคม และเพื่อให้การพัฒนาสื่อและตำราการเรียนการสอนภาษาจีนระดับ อุดมศึกษามีความเหมาะสมกับผู้ใช้และในบริบทของไทยยิ่งขึ้น จึงได้จัดสัมมนาพิจารณ์ร่วมกับคณาจารย์ผู้สอนภาษาจีนระดับ อุดมศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๙๘ แห่ง ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นระหว่างกัน เพื่อให้สื่อและตำรา สื่อการเรียนการสอนภาษาจีนมีความสมบูรณ์พร้อมใช้งานได้อย่างเหมาะสม เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสถาบันอุดมศึกษา”

รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว อนุสารอุดมศึกษา

5


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

สกอ.จัดสรร

๑๐๐ ทุนเรียนดีมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๕ - สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดพิธีปฐมนิเทศนักเรียนทุนโครงการพัฒนากำลัง คนด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ทุนเรียนดีมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย) ณ สำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการ อุดมศึกษาและประธานคณะอนุกรรมการบริหารโครงการพัฒนากำลังคนด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นประธานใน พิธีเปิดการปฐมนิเทศ โดยกล่าวว่า เพื่อให้นักเรียนทุนมีความเข้าใจในสถานภาพ บทบาทหน้าที่ มีความตระหนักในการเป็น นักเรียนทุนที่ดี และประสบความสำเร็จในการเรียนตามวัตถุประสงค์ของโครงการอันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศ จึงเห็นควร เตรียมความพร้อมให้แก่นักเรียนทุนในเรื่องต่างๆ ซึ่งนับเป็นโอกาสที่ดีที่นักเรียนทุนได้รับความกรุณาจากศาสตราจารย์เจตนา นาควัชระ ให้เกียรติเป็นวิทยากรปาฐกถาพิเศษ เรื่อง ‘ความตระหนักในการนำความรู้และประสบการณ์มาใช้ในการพัฒนา สถานศึกษาและประเทศ’ นอกจากนี้ สำนักงาน ก.พ. สถานทูตออสเตรเลีย สถานทูตฝรั่งเศส สถานทูตอเมริกา และ British Council ยังได้ร่วมให้แนวทางในการปฏิบัติตนที่ถูกต้องเหมาะสมกับการเป็นผู้รับทุน สำหรับนักเรียนทุนในต่างประเทศ รวมทั้ง เป็นโอกาสอันดีที่ผู้รับทุนจะได้พบกับอธิการบดีและผู้แทนมหาวิทยาลัยต้นสังกัด รองเลขาธิ ก าร กกอ. กล่าวต่อ ไปว่า โครงการพั ฒ นากำลั ง คนด้ า นมนุ ษ ยศาสตร์ แ ละสั ง คมศาสตร์ ได้ ดำเนิ นการใน ปี ง บประมาณ ๒๕๕๒ นำร่ อ งเป็ น ปี แรก โดยคณะอนุ ก รรมการบริ ห ารโครงการพั ฒ นากำลั ง คนด้ า นมนุ ษ ยศาสตร์ แ ละ สั ง คมศาสตร์ ได้ ร ั บ มอบหมายให้ พ ิ จ ารณาดำเนิ นการจั ด สรรทุ น โครงการฯ ซึ ่ ง จากการดำเนิ น โครงการฯ ที ่ ผ ่ า นมาถึ ง ปีงบประมาณ ๒๕๕๔ ได้ดำเนินการจัดสรรทุนเป็น ๒ ลักษณะ คือ การประกาศรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อรับทุนโครงการฯ จำนวน ๓ ครั้ง คือ ปีการศึกษา ๒๕๕๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๓ และปีการศึกษา ๒๕๕๓ - ๒๕๕๔ ได้ผู้สอบผ่านเป็นผู้รับทุน จำนวนรวม ๑๗๘ ทุน และการพิจารณาคัดเลือกผู้รับทุน จำนวน ๑ ครั้ง ในปีการศึกษา ๒๕๕๔ ได้ผู้รับทุนจำนวน ๗๗ ทุน รวมผู้รับทุนทั้งสิ้น ๒๕๕ ทุน “สำหรับในปีงบประมาณ ๒๕๕๕ เพื่อเป็นการสนับสนุนความเข้มแข็งของมหาวิทยาลัย สำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา โดยคณะอนุกรรมการบริหารโครงการพัฒนากำลังคนด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้พิจารณาจัดสรรทุน จากงบประมาณที่เหลือจากการโอนเงินให้แก่นักเรียนทุนผูกพันโครงการฯ เรียบร้อยแล้ว โดยการพิจารณาคัดเลือกผู้รับทุนปีการ ศึกษา ๒๕๕๕ จำนวน ๑๐๐ ทุน จำแนกเป็น ทุนต่างประเทศ ๖๙ ทุน และทุนในประเทศ ๓๑ ทุน” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว สาขาวิชาด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นสาขาหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนา ฐานกำลังคนให้มีคุณภาพ โดยเฉพาะบางสาขาที่มีจำนวนผู้สนใจเลือกเข้าศึกษาน้อย แต่จำเป็นที่จะต้องผลิตบัณฑิตเพื่อ อนุรักษ์วัฒนธรรม ความเป็นชาติและเพื่อเกื้อหนุนให้เกิดการพัฒนาอย่างมั่นคงและยั่งยืนในระยะยาว เพื่อให้ได้บัณฑิตที่ มีคุณภาพด้านวิชาการ สามารถใช้วิชาชีพให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศ และสามารถทำงานวิจัยได้ทั้งระดับประเทศและ ระดับนานาชาติ รวมทั้งสถาบันการศึกษาจะได้พัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรที่ทันสมัย ยกระดับ มาตรฐานการศึกษาให้เทียบเท่าระดับสากล และมีการประสานความร่วมมือกันในลักษณะเครือข่าย ดังนั้น สำนักงาน คณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาจึ ง ได้ จ ั ด ทำโครงการพั ฒ นากำลั ง คนด้ า นมนุ ษ ยศาสตร์ แ ละสั ง คมศาสตร์ (ทุ น เรี ย นดี มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย) เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและได้ให้ความเห็นชอบโครงการฯ เมื่อ วันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๐

6

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

สกอ. ร่วม จุฬา ตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาเชิงเครือข่าย เป็นศูนย์บริการเบ็ดเสร็จครบวงจร

๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ - รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เปิดเผยถึงโครงการจัดตั้ง ศูนย์อาเซียนศึกษา หรือ ASEAN Studies Center ขึ้นในประเทศไทย ว่า จากการประชุมคณะกรรมการการอุดมศึกษา ครั้งที่ ๔/๒๕๕๕ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เสนอโครงการจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาขึ้นในประเทศไทย โดยมียุทธศาสตร์การดำเนินงานเพื่อให้เป็นแหล่ง อ้างอิงทั้งภายในและภายนอกประเทศ และส่งเสริมการบูรณาการภูมิภาค ซึ่งมี ๕ ยุทธศาสตร์ คือ (๑) ยุทธศาสตร์ฐานข้อมูลและคลังสมอง (๒) ยุทธศาสตร์สร้างองค์ความรู้ (๓) ยุทธศาสตร์เชิงนโยบายในการรับมือการเปลี่ยนแปลงในอาเซียน (๔) ยุทธศาสตร์เผยแพร่ความรู้และ การประชาสัมพันธ์ และ (๕) ยุทธศาสตร์ประสานความร่วมมือทางวิชาการ ทั้งนี้การดำเนินงานระยะที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๕๕ - ๒๕๕๙) มี

เป้าหมายเพื่อช่วยประเทศไทยเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ โดยมุ่งดำเนินงานเพื่อเตรียมพร้อมเป็นศูนย์บริการ

เบ็ดเสร็จครบวงจร (one-stop service) ด้านอาเซียน และประสงค์ให้ศูนย์อาเซียนศึกษาเป็นแหล่งอ้างอิง (reference center) ด้านอาเซียนใน ภูมิภาค ซึ่งจะมีการสร้างฐานข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียนที่สมบูรณ์เพื่อให้เป็นแหล่งอ้างอิง โดยประสานงานเชื่อมโยงเชิงเครือข่ายกับฐานข้อมูล ต่างๆ และการเป็นคลังสมองในประเด็นเกี่ยวกับอาเซียนเชิงลึกด้วยการจัดกิจกรรมทางวิชาการ พร้อมทั้งมีการวิจัยทั้งในภาพรวมและสอด รับกับสามเสาหลักของประชาคมอาเซียน รวมถึงการวิจัยเพื่อองค์ความรู้เชิงลึกของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีผล กระทบต่อภาคส่วนต่างๆ ของประเทศไทย นอกจากนี้จะมีการจัดกิจกรรมกระตุ้นความเป็นอาเซียน (ASEAN Alert) เพื่อกระตุ้นให้ทุกภาค ส่วนเตรียมความพร้อมอย่างเร่งด่วนในการรับมือสู่ประชาคมอาเซียน โดยจะมีการเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะทั้งระยะสั้นและระยะยาว รวม ทั้งการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ โดยเริ่มจากสถาบันสมาชิกของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน มุ่งเน้นหน่วยงานที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย เป็นหลัก รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า สำหรับเป้าหมายการดำเนินการในระยะที่ ๒ (พ.ศ.๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) จะมุ่งพัฒนาการดำเนินงานให้ ศูนย์อาเซียนศึกษาเป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางขึ้นในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ โดยมีเครือข่ายกับหน่วยงาน ภายนอกประเทศไทยเพิ่มขึ้น โดยเน้นการสร้างความเข้มแข็งแก่สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ในการจัดทำและพัฒนาหลักสูตร การให้ความรู้ ผ่านการเรียนการสอน และการประเมินคุณภาพการเรียนการสอนร่วมกันเพื่อการพัฒนาขั้นต่อไป รวมทั้งเน้นการศึกษาวิจัยประเด็นต่างๆ หลังการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ทั้งนี้ การจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) เป็นคลังข้อมูลและคลังสมองเกี่ยวกับอาเซียนในเชิงลึก ในประเทศไทย (๒) เป็นศูนย์ส่งเสริมการผลิตผลงานวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้เรื่องอาเซียน (๓) เป็นศูนย์แห่งชาติทำหน้าที่สังเคราะห์

องค์ความรู้เรื่องอาเซียน เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในอาเซียน โดยร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม (๔) เป็นศูนย์ส่งเสริมการเผยแพร่ความรู้และประชาสัมพันธ์เรื่องอาเซียนสู่สาธารณะ ทั้งในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ และ (๕) เป็นศูนย์ประสานงานความร่วมมือด้านวิชาการระหว่างประเทศไทยกับประชาคมอาเซียน ประเทศคู่เจรจาอาเซียน และองค์กรระหว่างประเทศ “สำหรั บ งบประมาณระยะเวลา ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙) จะขอรั บ การสนั บ สนุ นจาก ๓ ส่ ว นหลั ก คื อ จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัยสนับสนุนสถานที่ตั้งศูนย์ฯ พร้อมสาธารณูปโภค และสถานที่ในการจัดกิจกรรมทางวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการสำนักงาน และจากหน่วยงานภายนอกจากหลายภาคส่วน ทั้งหน่วยงานจากภาครัฐที่มี ความสนใจด้านฐานข้อมูล การวิจัย การสัมมนา เอกสารเชิงนโยบาย หน่วยงานภาคเอกชนที่ต้องการข้อมูลเพื่อการลงทุนในอาเซียน และ หน่วยงานระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมและสร้างความยั่งยืนของศูนย์ฯ ทั้งนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอทบทวนปรับแก้ไขชื่อ โครงการเพื่อให้ครอบคลุมกับการดำเนินงานของศูนย์ฯ ตลอดจนปรับองค์ประกอบของคณะกรรมการเพื่อความเหมาะสม หลังจากนั้น สกอ.จะต้องนำโครงการดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อขอความเห็นชอบและขออนุมัติงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ ต่อไป” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว ต่อหน้า ๘

อนุสารอุดมศึกษา

7


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย จากหน้า ๗

รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า ศูนย์อาเซียนศึกษาที่จะจัดตั้งขึ้นนี้จะเป็นหน่วยงานระดับชาติที่มีรูปแบบเป็นหน่วยงาน อิสระในการบริหารจัดการ ทำหน้าที่ประสานและบริการเกี่ยวกับการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ผลิตและเผยแพร่ข้อมูลด้านอาเซียน มีโครงสร้างบริหารจัดการเป็น ๔ คณะกรรมการ คือ คณะกรรมการบริหารระดับชาติ คณะกรรมการบริหารศูนย์อาเซียนศึกษา คณะกรรมการประสานงานเครือข่าย และคณะกรรมการที่ปรึกษา โดยมีผู้อำนวยการเป็นผู้บริหารงานศูนย์ “สกอ.คาดว่าโครงการจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับชาติจะเป็นการแสดงศักยภาพของประเทศไทยใน ฐานะประเทศสมาชิกและความพร้อมของการศึกษาไทยที่จะร่วมเสริมสร้างความตระหนักรู้เรื่องอาเซียน พร้อมทั้งเป็นการ กำหนดบทบาทเชิงรุกของประเทศไทยในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อนบ้านไปสู่ประชาคมอาเซียน ตลอดจน ช่วยส่งเสริมการพัฒนาสามเสาหลักของประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็งและสอดรับกัน” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว

ศธ. คลอดเกณฑ์ โครงการผลิตครู มื อ อาชี พ ปีการศึกษา ๒๕๕๔ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๕ - นางสาวศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธาน

คณะกรรมการคัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิตและนักศึกษาทุนโครงการผลิตครูมืออาชีพ เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการคัดเลือก สถาบันฝ่ายผลิตและนักศึกษาทุนโครงการผลิตครูมืออาชีพ ณ กระทรวงศึกษาธิการ ว่า คณะกรรมการบริหารโครงการผลิตครูมือ อาชีพ และคณะกรรมการคัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิตและนักศึกษาทุนโครงการผลิตครูมืออาชีพ ได้กำหนดเกณฑ์การคัดเลือกผู้เข้า ร่วมโครงการผลิตครูมืออาชีพปีการศึกษา ๒๕๕๔ รูปแบบการประกันมีงานทำ กรณีคัดเลือกนิสิตนักศึกษาครูที่กำลังศึกษา ชั้นปีที่ ๔ โดยผู้เข้าร่วมโครงการต้องมีคุณสมบัติเป็นสัญชาติไทย และมีบัตรประจำตัวประชาชนไทย มีบุคลิกภาพดี มีคุณธรรม จริยธรรม ความประพฤติเหมาะสมที่จะเป็นครูและบุคลากรทางการศึกษา ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากร ทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ทั้งนี้ ต้องเป็นนิสิต นักศึกษาครูหลักสูตรระดับปริญญาตรี ๕ ปี ที่กำลังศึกษาชั้นปีที่ ๔ ในปีการศึกษา ๒๕๕๔ ในสาขาวิชาที่โครงการฯ กำหนดจาก ความต้องการของหน่วยงานผู้ใช้ครูในแต่ละปี เลขานุ ก าร รมว.ศธ. กล่ า วถึ ง เกณฑ์ ก ารคั ด เลื อ ก ว่ า ในการคั ด เลื อ กจะใช้ (๑) ผลการเรี ย นเฉลี ่ ย สะสมทุ ก วิ ช า (GPAX)

(๒) ผลการเรียนในวิชาเอกสะสม (GPAX) และ (๓) ผลการเรียนในวิชาชีพครูสะสม (GPAX) ๓ ปีการศึกษา (ตั้งแต่ชั้นปีที่ ๑ - ๓)

ตามข้อบังคับของสถาบันอุดมศึกษา ไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐ ในกรณีที่จำนวนผู้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ เกินกว่าจำนวนที่โครงการฯ ประกาศรับสมัคร คณะกรรมการฯ จะดำเนินการคัดเลือก ซึ่งจะประกาศให้ทราบวิธีและแนวทางการคัดเลือกต่อไป สำหรับนักศึกษาที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการผลิตครูมืออาชีพ รูปแบบการประกันการมีงานทำ รัฐไม่จัดสรรเงินทุนการ ศึกษาให้ เมื่อสำเร็จการศึกษาต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมทุกวิชา (GPAX) ผลการเรียนในวิชาเอกสะสม (GPAX) และผลการเรียนใน วิชาชีพครูสะสม (GPAX) ตามข้อบังคับของสถาบันอุดมศึกษาที่สังกัด ไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐ และต้องพร้อมทันทีที่จะรับการบรรจุเข้ารับ ราชการเป็นข้าราชการ ครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือสถาน ศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ที่โครงการฯ กำหนด หากได้คะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ จะถูกตัดสิทธิ์การได้รับ การบรรจุเข้ารับราชการ หากนักศึกษาต้องการยกเลิกไม่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องแจ้งให้คณะกรรมการฯ ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย

๑๕ วัน ทั้งนี้ กรณีที่เกิดปัญหา หรือมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถดำเนินการตามเกณฑ์นี้ได้ ให้คณะกรรมการบริหารโครงการผลิตครูมือ อาชีพพิจารณาดำเนินการอื่นๆ ได้ตามควรแก่กรณี การวินิจฉัยของคณะกรรมการบริหารโครงการผลิตครูมืออาชีพให้ถือเป็นที่สิ้นสุด “ในการคัดเลือกนักศึกษาเข้าร่วมโครงการฯ คณะกรรมการฯ กำหนดเป้าหมายจำนวนร้อยละ ๓๐ ของอัตราการบรรจุเข้ารับ ราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในตำแหน่งครูผู้ช่วยของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ซึ่งในปีงบประมาณ ๒๕๕๖ มีอัตราที่ให้กับโครงการผลิตครูมืออาชีพ จำนวน ๑,๕๖๖ อัตรา

แบ่งเป็น สพฐ. จำนวน ๑,๔๗๒ อัตรา และ สอศ. ๙๔ อัตรา ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ จะพิจารณาผู้ที่สมัครเข้าร่วมโครงการผลิตครู พันธุ์ใหม่เดิม จำนวน ๗๔๒ คน เป็นลำดับแรก โดยให้ยืนยันความประสงค์ การเลือกประเภทโรงเรียน และสำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษาที่ได้สมัครไว้กับโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ ซึ่งต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์การคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการผลิตครูมืออาชีพ ปีการศึกษา ๒๕๕๔ กรณีคัดเลือกนิสิตนักศึกษาครูที่กำลังศึกษาชั้นปีที่ ๔ รูปแบบการประกันการมีงานทำ หากจำนวนไม่ได้ครบ ตามที่อัตราที่จะบรรจุ จะเปิดสมัครผู้ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด เข้าร่วมโครงการผลิตครูมืออาชีพ ซึ่งคาดว่ามีตำแหน่งจำนวน ประมาณ ๘๗๔ อัตรา” เลขานุการ รมว.ศธ. กล่าว

8

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องเล่าอาเซียน

โดย รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล

การเกิดประชาคมอาเซียนกับการศึกษาของประเทศไทย (๙) ‘เรื ่ อ งเล่ า อาเซี ย น’ ฉบั บ นี ้ ขอลงลึ ก รายละเอี ย ดของการจั ด ตั ้ ง ศู น ย์ เพื ่ อ การศึ ก ษาเกี ่ ย วกั บ อาเซี ย น ที ่ ส ำนั ก งาน

คณะกรรมการการอุดมศึกษา จะร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดตั้งขึ้นมาเป็นศูนย์บริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (one-stop service) ด้านอาเซียน และให้เป็นแหล่งอ้างอิง (reference center) ด้านอาเซียนในภูมิภาค ซึ่งจะมีการสร้างฐานข้อมูลเกี่ยวกับ อาเซียนที่สมบูรณ์เพื่อให้เป็นแหล่งอ้างอิง โดยประสานงานเชื่อมโยงเชิงเครือข่ายกับฐานข้อมูลต่างๆ และการเป็นคลังสมองใน ประเด็นเกี่ยวกับอาเซียนเชิงลึกด้วยการจัดกิจกรรมทางวิชาการ พร้อมทั้งมีการวิจัยทั้งในภาพรวมและสอดรับกับสามเสาหลัก ของประชาคมอาเซียน รวมถึงการวิจัยเพื่อองค์ความรู้เชิงลึกของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีผล กระทบต่อภาคส่วนต่างๆ ของประเทศไทย ที่ประชุมคณะกรรมการการอุดมศึกษา ครั้งที่ ๔/๒๕๕๕ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ได้เห็นชอบในหลัก การโครงการจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา ให้เป็นหน่วยงานระดับชาติ ตามที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเสนอ โดยกำหนดวิสัยทัศน์ ของศูนย์อาเซียนศึกษา ให้เป็นแหล่งความรู้ แหล่งอ้างอิงของแผ่นดิน และเป็นแกนกลางทางวิชาการของประเทศไทยในการ ประสานสร้างเสริมเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านอาเซียนในเชิงลึกระหว่างสถาบันการศึกษากับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมภายในประเทศ ตลอดจนเป็นประตูเชื่อมโยงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศไทย กับประชาคมอาเซียน ประเทศคู่เจรจาอาเซียน และองค์การระหว่างประเทศ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (๑) เป็นคลังข้อมูลและคลังสมองเกี่ยวกับอาเซียนในเชิงลึกในประเทศไทย (๒) เป็นศูนย์ส่งเสริมการผลิตผลงานวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้เรื่องอาเซียน (๓) เป็นศูนย์แห่งชาติทำหน้าที่สังเคราะห์องค์ความรู้เรื่องอาเซียนเพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อรับมือ กับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในอาเซียน โดยร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ๔) เป็นศูนย์ส่งเสริมการเผยแพร่ความรู้และประชาสัมพันธ์เรื่องอาเซียนสู่สาธารณะ ทั้งในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ (๕) เป็นศูนย์ประสานงานความร่วมมือด้านวิชาการระหว่างประเทศไทยกับประชาคมอาเซียน ประเทศคู่เจรจา อาเซียน และองค์กรระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานของศูนย์อาเซียนศึกษา มุ่งเน้นการดำเนินงานเพื่อให้เป็นแหล่ง อ้างอิงทั้งภายในและภายนอกประเทศ และส่งเสริมการบูรณาการภูมิภาค แบ่งเป็น ๕ ด้าน คือ ยุทธศาสตร์ฐานข้อมูลและคลังสมอง มุ่งจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียน ได้แก่ กิจกรรมคลังข้อมูล (การจัดทำฐาน ข้อมูลด้านอาเซียน) กิจกรรมคลังสมอง (การจัดกิจกรรมทางวิชาการเพื่อระดมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอาเซียน เชิงลึก) ยุทธศาสตร์สร้างองค์ความรู้ มุ่งเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการและส่งเสริมการทำวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับอาเซียน ได้แก่ โครงการวิจัยเพื่อตอบสนองความต้องการด้านนโยบาย โครงการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และโครงการวิจัยเพื่อ เพิ่มความตระหนักรู้เรื่องอาเซียน รวมถึงการส่งเสริมการสร้างบุคลากรด้านอาเซียนศึกษา ยุทธศาสตร์เชิงนโยบายในการรับมือการเปลี่ยนแปลงในอาเซียน มุ่งศึกษาการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก กรอบความร่วมมือของอาเซียน ได้แก่ การจัดทำเอกสารเชิงนโยบาย การจัดกิจกรรมกระตุ้นความเป็นอาเซียน (ASEAN Alert) และการประเมินความคืบหน้าของประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ยุทธศาสตร์เผยแพร่ความรู้และประชาสัมพันธ์ มุ่งเน้นการเปลี่ยนทัศนคติและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน โดย แบ่งเป็น ๒ ระดับ คือ ระดับเชิงลึก ที่เน้นการจัดกิจกรรมในรูปแบบของการจัดประชุม สัมมนา ในหัวข้อเชิงนโยบายเพื่อระดม ข้อคิดเห็นทางวิชาการอันจะเอื้อต่อการจัดทำเอกสารเชิงนโยบาย และระดับสาธารณะ ที่เน้นการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านอาเซียน ได้แก่ การอบรม การจัดทำจดหมายข่าว และการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ยุ ท ธศาสตร์ ป ระสานความร่ ว มมื อ ทางวิ ช าการ มุ ่ ง เน้ นการสร้ า งเครื อ ข่ า ยด้ า นอาเซี ย นศึ ก ษาทั ้ ง แบบพั นธมิ ต ร (alliance) หุ้นส่วน (partnership) และโครงการเฉพาะกิจ (consortium) กับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในประเทศ ระหว่างสถาบัน อุดมศึกษาในสังกัด/ในกำกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หน่วยงานภาควิชาการ ภาคราชการ ภาคเอกชน

อนุสารอุดมศึกษา

9


เรื่องเล่าอาเซียน ภาคประชาสังคม รวมไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอาเซียนและประเทศสมาชิกอาเซียน ตลอดจนเครือข่ายความร่วมมือทางวิชา การระหว่างประเทศภายในอาเซียน อาทิ ASEAN Studies Centre-Singapore, Institute of Southeast Asian Studies (ISEAS), ASEAN University Network (AUN) และเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศภายนอกกลุ่มอาเซียน อาทิ BIMSTEC, MekongJapan, United Nation (UN), Asian Development Bank (ADB) สำหรับเป้าหมายการดำเนินงาน แบ่งเป็น ๒ ระยะ ได้แก่ ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙) มุ่งเน้นการดำเนินงานเพื่อช่วยประเทศไทยเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคม อาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยจะมีการจัดทำเอกสารท่าทีจากยุทธศาสตร์สู่แผนปฏิบัติการ (position paper) เพื่อนำยุทธศาสตร์ ทั้งหมดมาจัดทำเป็นแผนงานที่ชัดเจน พร้อมทั้งมุ่งให้ศูนย์ฯ เป็นแหล่งอ้างอิง (reference center) ด้านอาเซียนในภูมิภาค

โดยดำเนินงานเพื่อเตรียมพร้อมเป็นศูนย์บริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (one-stop service) ด้านอาเซียนศึกษาด้วยการจัดกิจกรรมและ ดำเนินงานโครงการต่างๆ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ทั้ง ๕ ด้าน ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) มุ่งพัฒนาการดำเนินงานให้ศูนย์อาเซียนศึกษาแห่งประเทศไทยเป็นที่รู้จักและเป็นที่ ยอมรับอย่างกว้างขวางมากขึ้นในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ โดยมีเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอกประเทศไทยมากขึ้น โดยเน้นการสร้างความเข้มแข็งแก่สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ในการจัดทำและพัฒนาหลักสูตร การให้ความรู้ผ่านการเรียนการสอน และการประเมินคุณภาพการเรียนการสอนร่วมกันเพื่อการพัฒนาขั้นต่อไป รวมทั้งเน้นการศึกษาวิจัยประเด็นต่างๆ หลังการเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน ด้านงบประมาณระยะเวลา ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙) สำหรับเป็นค่าจ้างบุคลากร ค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ

ค่าสาธารณูปโภค เงินอุดหนุน และค่าครุภัณฑ์ โดยขอรับการสนับสนุนจาก ๓ ส่วนหลัก คือ (๑) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสนับสนุนสถานที่ตั้งศูนย์ฯ พร้อมสาธารณูปโภค และสถานที่ในการจัดกิจกรรมทาง วิชาการ (๒) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการสำนักงาน ได้แก่ ค่าจ้างเงิน เดือนบุคลากร ค่าจัดประชุม/สัมมนาทางวิชาการ/ฝึกอบรม และใช้สอยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (๓) หน่วยงานภายนอกจากหลายภาคส่วน เพื่อสนับสนุนกิจกรรมและสร้างความยั่งยืนของศูนย์ฯ เช่น หน่วยงานจาก ภาครัฐที่มีความสนใจด้านฐานข้อมูล การวิจัย การสัมมนา เอกสารเชิงนโยบาย หน่วยงานภาคเอกชนที่ต้องการข้อมูลเพื่อการ ลงทุนในอาเซียน และหน่วยงานระหว่างประเทศ การดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา ให้เป็นหน่วยงานระดับชาติที่มีรูปแบบหน่วยงานอิสระในการบริหารจัดการ

ทำหน้าที่ประสานและบริการเกี่ยวกับการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ผลิตและเผยแพร่ข้อมูลด้านอาเซียน มีโครงสร้างบริหารจัดการเป็น ๔ คณะกรรมการ คือ คณะกรรมการบริหารระดับชาติ คณะกรรมการบริหารศูนย์อาเซียนศึกษา คณะกรรมการประสานงาน

เครือข่าย และคณะกรรมการที่ปรึกษา โดยมีผู้อำนวยการเป็นผู้บริหารงานศูนย์นั้น ทั้งนี้ ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะ สถาบันอุดมศึกษาเจ้าภาพในการจัดตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา คาดหวังเพื่อให้เกิดผล ดังนี้ (๑) มีคลังข้อมูลอาเซียนเชิงลึกที่สอดคล้องกับการพัฒนาด้านสังคม เศรษฐกิจ การค้าและการเมือง (๒) มีศูนย์ประสานงานในการให้คำปรึกษาเชิงนโยบายไทยและอาเซียน (๓) ส่งเสริมพัฒนาความรู้เกี่ยวกับอาเซียนและการเผยแพร่ความรู้ด้านอาเซียนศึกษาสู่สาธารณะ (๔) มีเครือข่ายความร่วมมือในการศึกษาวิจัยด้านอาเซียน (๕) ช่วยปรับบทบาทประเทศไทยในการส่งเสริมการบูรณาการของภูมิภาค (๖) มีการจัดเก็บผลงานวิจัยและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียนศึกษาอย่างเป็นระบบ (๗) เป็นการกำหนดบทบาทเชิงรุกของประเทศไทยในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อนบ้านไปสู่ประชาคม อาเซียน (๘) เป็นการแสดงศักยภาพของประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกและความพร้อมของการศึกษาไทยที่จะร่วมเสริม สร้างความตระหนักรู้เรื่องอาเซียน (๙) เป็นการช่วยส่งเสริมการพัฒนาสามเสาหลักของประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็งและสอดรับกัน ขณะนี้ โครงการดังกล่าวอยูร่ ะหว่างการแก้ไขรายละเอียดและทบทวนปรับแก้ไขชือ่ โครงการเพือ่ ให้ครอบคลุมกับการดำเนินงาน ของศูนย์ฯ เพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ขอความเห็นชอบและขออนุมัติงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ต่อไป

10

อนุสารอุดมศึกษา


ความยินดีของแผ่นดิน เมือ่ วันที่ ๙ มิถนุ ายน ๒๕๕๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ พร้อม ด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปทรง เปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันท มหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ทรงอุ ท ิ ศ ถวาย สมเด็ จ พระปรเมนทรมหาอานั น ทมหิ ด ล

พระอัฐมรามาธิบดินทร สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดช วิกรม พระบรมราชชนก สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวง นราธิ ว าสราชนคริ น ทร์ ณ พระบรมราชานุ ส าวรี ย ์ ส มเด็ จ

พระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร

“สะพานพระราม ๘” “สวนหลวงพระราม ๘” และ “พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๘” นอกจากจะสะท้อนสายใยแห่งความรักความผูกพันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีต่อ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร

และเป็นตัวแทนแห่งพระเมตตาและพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มี ต่อพสกนิกรชาวไทยแล้ว ยังสื่อถึงความจงรักภักดีที่ปวงชนชาวไทยมีต่อพระมหากษัตริย์ ทั้ง ๒ พระองค์ ผู้เป็นที่รักยิ่งมิเสื่อมคลายอีกด้วย

อนุสารอุดมศึกษา

11


เรื่องพิเศษ

กำเนิด “สะพานพระราม ๘” ด้วยพระมหากรุณา คลายทุกข์มหาชน ตลอดกว่า ๖๐ ปี แห่งการครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยและเอาพระราชหฤทัยใส่ใน ทุกข์สุขสวัสดิภาพ และความปลอดภัยของพสกนิกรเสมอมา ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการอันเป็นที่มา ของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินับร้อยนับพันโครงการ ครอบคลุมทุกด้านอันเกี่ยวเนื่องกับความอยู่ดีมี สุขของประชาชน “สะพานพระราม ๘” เป็ น อี ก หนึ ่ ง ในโครงการอั น เนื ่ อ งมาจากพระราชดำริ ท ี ่ เ กิ ด ขึ ้ น ในระหว่ า งเสด็ จ พระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมพระอาการประชวรของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ โรงพยาบาลศิริราช เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๘ พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นวิกฤตจราจรบริเวณเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าฝั่งธนบุร ี ช่วงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อเนื่องไปจนถึงถนนราชดำเนินและบริเวณใจกลางเกาะรัตนโกสินทร์ จึงมีพระราชดำริ ให้กรุงเทพมหานครสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งใหม่ขึ้นทางด้านเหนือของสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า พร้ อ มทางยกระดับเชื่อมต่อจากทางคู่ขนานลอยฟ้ า ถนนบรมราชชนนี บริ เวณแยกอรุ ณ อมริ นทร์ ฝั ่ ง ธนบุ ร ี

ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปบรรจบกับปลายถนนวิสุทธิกษัตริย์ ฝั่งพระนคร เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรและรองรับ การเดินทางเชื่อมต่อระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรี โครงการดังกล่าวไม่เพียงคลี่คลายปัญหาจราจรเฉพาะจุดในบริเวณนั้น แต่ยังช่วยเติมเต็มโครงข่ายจตุรทิศ ตะวันตก - ตะวันออกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งเป็นโครงข่ายจราจรขนาดใหญ่ที่มุ่งบรรเทาปัญหาการจราจร ระหว่างฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ อย่างเป็นระบบให้สมบูรณ์อีกด้วย สะท้อนชัดถึงความห่วงใยและความเอาพระราชหฤทัยใส่ในทุกข์สุขของราษฎรอย่างแท้จริง เพราะแม้ในขณะที่ ทรงเป็นทุกข์อย่างแสนสาหัส จากพระอาการประชวรของพระบรมราชชนนี หากแต่ก็ยังมิวายที่จะทรงคิดถึงความ ทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชน และด้วยความรำลึกถึงพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้ พระราชทานนามสะพานแห่งใหม่นี้ว่า “สะพานพระราม ๘” และได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในพิธี เปิดในวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหา อานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร สะพานแห่งนี้ จึงไม่เพียงเป็นสะพานที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของผู้คนริมสองฝั่งน้ำ หากแต่ยังเป็นสะพานที่ เชื่อมโยงความรัก ความผูกพันของพระมหากษัตริย์สองพี่น้องอันเป็นที่รักยิ่งแห่งปวงชนชาวไทยด้วย พระบรมราชานุสาวรีย์ สดุดีอัฐมราชา ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร กรุงเทพมหานครจึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อก่อสร้าง “พระบรมราชานุสาวรีย์พระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร” ประดิษฐานไว้

ณ ใจกลางสวนหลวงพระราม ๘ เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์เคียงคู่สะพานพระราม ๘ องค์ พ ระบรมรู ป ใหม่ น ี ้ ห ล่ อ ขึ ้ นจากโลหะผสม ทองแดง สั ง กะสี ตะกั ่ ว และดี บ ุ ก มี ข นาดเป็ น ๓ เท่ า

ของพระองค์จริง สูง ๕.๔ เมตร พระอิริยาบถประทับยืนประดิษฐานบนแท่นที่ความสูงระดับเดียวกับราวสะพาน สง่างามสมพระเกียรตินับเป็นพระบรมรูปของพระองค์ที่ใหญ่ที่สุดที่เคยสร้างมาในประเทศไทย ส่วนฐานพระบรมราชานุสาวรีย์เป็นอาคารรูปทรง ๘ เหลี่ยม ลักษณะคล้ายรูปดาว ๘ แฉก มีลวดลาย

ตกแต่งตามพระราชลัญจกรของพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ใต้ฐานพระบรมราชา

นุสาวรีย์เป็นโถง จัดแสดงนิทรรศการเทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์ทั้ง ๒ รัชกาล รวมถึงการปั้นหล่อพระบรม

ราชานุสาวรีย์ การก่อสร้างสะพานพระราม ๘ ตลอดจนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อแก้ไขปัญหาการ จราจรในกรุงเทพฯ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้ประชาชนได้ศึกษาพระราชกรณียกิจ ชื่นชมพระราช จริยวัตร และน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของทั้ง ๒ พระองค์

12

อนุสารอุดมศึกษา


น้อมเกล้าสดุดี ๒ ราชัน มิ่งขวัญแผ่นดิน “ราชสกุลมหิดล” ได้ให้กำเนิดพระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่รักยิ่งแก่ปวงชนชาวไทยถึง ๒ พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร

มหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ ๘ และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ทั้ง ๒ พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ดำรงอยู่ในทศพิธราชธรรม และได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการ ซึ่งล้วน แต่สร้างประโยชน์สุขสู่อาณาประชาราษฎร์และความร่มเย็นไพบูลย์สู่แผ่นดินไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน พระองค์ทรงอุทิศกำลังพระวรกายบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อประเทศชาติ และประชาชนมากว่า ๖๐ ปี แห่งการ ครองราชย์ ซึ่งยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทยและในโลกถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ กำเนิดผู้เป็น “ความยินดีแห่งแผ่นดิน” พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระโอรสพระองค์โตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระประสูติกาลเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ.๒๔๖๘ ณ เมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมนี ซึ่งตรงกับวันเสด็จพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ สมเด็จพระบรมอัยกาธิราช ยังความปลื้มปีติยินดีมาสู่พระบรมราชชนก พระบรมราชชนนี และพระประยูรญาติเป็น อย่างยิ่ง สมดังพระนามที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานว่า “อานันทมหิดล” อัน หมายถึง “ความยินดีแห่งแผ่นดิน” พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงเป็นพระเชษฐาและพระอนุชาที่สนิทสนมรักใคร่กันอย่างยิ่ง ทรงเติบโตมาด้วยกันอย่างใกล้ชิด และ ทรงประกอบกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันเสมอ แม้เมื่อต่างทรงเจริญพระชันษา สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชได้เสด็จขึ้นครองราชย์ และเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบ พระราชกรณียกิจต่างๆ “สมเด็จพระราชอนุชา” ก็ยังคงประทับอยู่เคียงข้างไม่ห่าง ดังที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ตรัสไว้ว่า “ทรงเป็นมากกว่าพี่น้อง ทรงเป็นเหมือนแฝดกันเลยและทรงเป็นเพื่อนที่รักกันมากกว่า เพื่อนอื่นๆ” “ยุวกษัตริย์พระองค์น้อย” ดวงประทีปแห่งความหวัง ในช่วงที่บ้านเมืองกำลังระส่ำระสายจากภาวะภัยสงครามโลกที่ยังคุกรุ่น ปัญหาเศรษฐกิจที่รุมเร้า และการประกาศสละราช สมบั ต ิ ข องพระบาทสมเด็ จ พระปกเกล้ า เจ้ า อยู ่ ห ั ว ประชาชนเริ ่ ม เคว้ ง คว้ า งขาดหลั ก ยึ ด การเสด็ จ ขึ ้ น สื บ ราชสั นตติ ว งศ์ ข อง “พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล” เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๘ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ จึงยังความปลื้มปีติยินดี มาสู่ปวงชนชาวไทยทั่วทั้งแผ่นดิน อนุสารอุดมศึกษา

13


เรื่องพิเศษ

“ยุวกษัตริย์พระองค์น้อย” ซึ่งแม้ว่าขณะนั้นยังมีพระราชภารกิจในการศึกษาอยู่ต่างประเทศ ยังมิได้ประทับอยู่ ในประเทศไทย หากแต่ก็เปรียบประดุจแสงเทียนส่อง ทรงเป็นความหวังอันเรืองรอง และเข้ามาประทับอยู่ในหัวใจ ของพสกนิกรไทยในเวลาอันรวดเร็ว และต่างเฝ้ารอคอยวันที่พระองค์จะเสด็จนิวัติพระนครเพื่อถวายความจงรักภักดี และชื่นชมพระบารมีอย่างใกล้ชิด การเสด็จนิวัติพระนครครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๔๘๑ เป็นระยะเวลา ๒ เดือน ซึ่งแม้จะไม่นานนัก หากแต่ก็เปรียบ ประดุจน้ำทิพย์ชโลมใจพสกนิกรให้เต็มเปี่ยมไปด้วยความหวัง และแล้ววันที่พสกนิกรทั่วทั้งแผ่นดินต่างเฝ้ารอคอยก็มาถึง เมื่อสงครามสงบลงใน พ.ศ. ๒๔๘๘ และทรงเจริญ พระชนมพรรษาครบ ๒๐ พรรษา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรจึงได้ เสด็จนิวัติพระนครเป็นการถาวรพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ ถือเป็นการนำ ขวัญและกำลังใจของประชาชนที่เหือดหายไปให้กลับฟื้นคืนมาอีกครั้ง พระบารมีแผ่ทั่วหล้า ปวงประชาสุขศานต์ ตลอดช่ วงรัชสมัย แม้จะเป็นเพีย งช่วงระยะเวลาสั ้ น ๆ หากแต่ พระองค์ ได้ ท รงประกอบพระราชกรณี ยกิ จ นานัปการที่ล้วนเป็นคุณประโยชน์อย่างอเนกอนันต์แก่แผ่นดิน ครอบคลุมครบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง การปกครอง การแพทย์ และสาธารณสุข การศึกษา การสังคมสงเคราะห์ ฯลฯ ที่สำคัญ เช่น การสร้างเกียรติภูมิ ไทยในเวทีโลกให้ประจักษ์แก่สายตานานาประเทศ ด้วยการเสด็จพระราชดำเนินตรวจพลสวนสนามกองทหาร สหประชาชาติ ในฐานะ “จอมทัพไทย” พร้อมด้วยกองกำลังพลเสรีไทยและลอร์ด หลุยส์ เมานท์แบตเตน (Lord Louis Mountbatten) ผู้บัญชาการทหารฝ่ายสัมพันธมิตรภาคตะวันออกไกล เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๙ ภายหลังสงครามโลก ครั้งที่ ๒ สงบลง ทำให้ประเทศไทยสามารถประกาศศักดิ์ศรีและความเป็น “ไท” จากการถูก ญี่ปุ่นยึดครองในช่วงสงครามโลก การนำประเทศเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย โดยพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับใหม่ เมื่อ วันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ ทำให้ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญใช้อย่างเป็นทางการอีกวาระหนึ่ง การสร้างความสมานฉันท์ ทรงคลี่คลายความขัดแย้งของชนในชาติอันเป็นผลพวงจากภัยสงคราม ด้วยการ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระราชอนุชาไปทรงเยี่ยมชุมชนชาวจีนในย่านสำเพ็ง เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในย่านนั้น ทั้งชาวจีน แขก และไทย ต่างซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็น ล้นพ้น และนำความสงบสุขมาสู่แผ่นดินไทยได้อีกครั้งหนึ่ง ไม่เพียงเท่านั้น พระองค์ยังทรงช่วยกอบกู้ขวัญและกำลังใจในยามที่พสกนิกรทุกข์ร้อนมืดมน ด้วยการเสด็จ พระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยียนข้าราชการ ทหาร พระสงฆ์ และประชาชนทุกหมู่เหล่าตามสถานที่สำคัญต่างๆ เช่น กรม กองทหาร วั ด โรงพยาบาล หอสมุ ด แห่ ง ชาติ การเสด็ จ พระราชดำเนิ น ไปพระราชทานปริ ญ ญาบั ต ร

ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ รวมทั้งการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎร

ซึ่งเป็นพระราชกรณียกิจที่โปรดมากที่สุด และทุกครั้งพระองค์จะพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประชาชนได้ เข้าเฝ้าฯ ชื่นชมพระบารมีอย่างใกล้ชิด จนถึงพระราชกรณียกิจสุดท้าย คือ การเสด็จพระราชดำเนินไปทรงหว่าน เมล็ดธัญพืชลงผืนแผ่นดินที่สถานีเกษตรกลางบางเขน เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ซึ่งได้สร้างความปลื้มปีติ ยินดีให้แก่เกษตรกรทั่วทั้งแผ่นดิน ด้วยเหตุนี้ จึงทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่รัก และเทิดทูนอย่างยิ่งของปวงชนชาวไทย ทรงเป็นศูนย์รวม แห่งความหวังและกำลังใจเป็น “ความยินดีของแผ่นดิน” สมดังพระนาม “อานันทมหิดล” โดยแท้ การเสด็จสวรรคตของพระองค์อย่างกะทันหัน ในวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ จึ ง นำความโศกาอาดู ร และ สิ้นหวัง มาสู่พสกนิกรทั่วทั้งแผ่นดิน ตราบจนเมื่อสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราช สมบัติ สืบต่อเป็นรัชกาลที่ ๙ ความหวังและกำลังใจของปวงพสกนิกรจึงกลับฟื้นคืนมาดังเดิม

14

อนุสารอุดมศึกษา


พูดคุยเรื่องมาตรฐาน

สกอ. ย้ำสถาบันอุดมศึกษายึ ด พั นธกิ จ

จัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดโครงการนำร่องเพื่อตรวจเยี่ยมการจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยใหม่ การจัดการเรียนการสอนนอกสถานที่ตั้ง และการจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัยชุมชน ภายใต้การกำกับของสำนักงาน

คณะกรรมการการอุดมศึกษา ระหว่างวันที่ ๘ - ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๕ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ของ สกอ. ได้รับทราบสภาพความเป็นจริงของการจัดการเรียนการสอนในบริบทต่างๆ เพื่อนำไปหาแนวทางในการพัฒนาการ จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้มีคุณภาพต่อไป ทั้งนี้ นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้นำ คณะตรวจเยี่ยมมหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ (วิทยาเขตแพร่) และวิทยาลัยชุมชนแพร่ นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว ๑๕ ปี ฉบับที่ ๒ (พ.ศ.๒๕๕๑ - ๒๕๖๕) ที่ต้องการแก้ไขปัญหาอุดมศึกษาที่มีความซ้ำซ้อน การขาดคุณภาพ การขาดประสิทธิภาพ โดยให้มี การพั ฒ นาเพื ่ อ การจั ด สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาเป็ น ๔ กลุ ่ ม คื อ (๑) กลุ ่ ม วิ ท ยาลั ย ชุ ม ชน (๒) กลุ ่ ม มหาวิ ท ยาลั ย สี ่ ป ี และ มหาวิทยาลัยศิลปศาสตร์ (๓) กลุ่มมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเฉพาะทาง มหาวิทยาลัยสมบูรณ์ แบบ และ (๔) กลุ่มมหาวิทยาลัยวิจัย และมหาวิทยาลัยบัณฑิตศึกษา ซึ่งการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเป็น ๔ กลุ่ม เป็นไป ตามการกำกับนโยบายของมหาวิทยาลัย ควบคู่ไปกับการประเมินมาตรฐานการศึกษาที่สอดคล้องกับกลุ่มอุดมศึกษาที่มี

พันธกิจต่างกัน ทั้งนี้ สถาบันอุดมศึกษาทั้ง ๔ กลุ่ม ต่างมีจุดเน้นของพันธกิจและบทบาทในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ ของประเทศ ที่มีความต้องการหลากหลาย ทั้งการพัฒนาฐานราก สังคม เศรษฐกิจ รวมถึงการกระจายอำนาจในระดับ

ท้องถิ่น การขับเคลื่อนภาคการผลิตในชนบท ท้องถิ่นและระดับประเทศ นอกจากนี้ยังมีพื้นที่บริการ และระดับการศึกษา ที่เป็น จุดเน้นต่างกัน แต่สิ่งสำคัญสำหรับการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ของสถาบันอุดมศึกษาทั้ง ๔ กลุ่ม สกอ. มุ่งผลักดันให้ สถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐ และเอกชน ตลอดจนวิทยาลัยชุมชน ดำเนินการจัดการเรียนการสอน และการบริการทางวิชา การ โดยคำนึงถึงพันธกิจของสถาบัน และคุณภาพของการจัดการศึกษา ด้านมาตรฐานหลักสูตร คุณภาพบุคลากรและ อาจารย์ ปัจจัยในด้านสถานที่เรียน อุปกรณ์การเรียนที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้บุคลากรที่สถาบันอุดมศึกษาผลิตมีศักยภาพ

มีทักษะในการทำงาน สามารถดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข และแข่งขันได้ในตลาดอาเซียนอันใกล้นี้ต่อไป เลขาธิการ กกอ. กล่าวย้ำถึงการตรวจเยี่ยมครั้งนี้ว่า มหาวิทยาลัยพะเยาเป็นมหาวิทยาลัยใหม่ที่ยกฐานะขึ้นมาจาก วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่มีศักยภาพและความพร้อมที่จะพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศได้

มีเป้าหมายพัฒนาไปสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ โดยเน้นพื้นที่เป้าหมายในเขตภาคเหนือตอนบน ๗ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพะเยา เชียงราย ลำปาง แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน และลำพูน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการกระจายโอกาสและการสร้างความ

เสมอภาคทางการศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งจะเน้นการผลิตบัณฑิตทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสังคมศาสตร์ รวมถึงการปฏิบัติภารกิจด้านการวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อนุสารอุดมศึกษา

15


พูดคุยเรื่องมาตรฐาน “นอกจากการจัดตั้งมหาวิทยาลัยใหม่ หรือการยกฐานะ วิทยาเขตที่มีศักยภาพขึ้นมาเป็นมหาวิทยาลัยแล้ว สถาบัน อุดมศึกษาในปัจจุบันยังได้กระจายโอกาสทางการศึกษาระดับ อุ ด มศึ ก ษาให้ เข้ า ถึ ง กลุ ่ ม เป้ า หมายเพิ ่ ม ขึ ้ น โดยการจั ด การ ศึ ก ษานอกสถานที ่ ต ั ้ ง ตามกฎกระทรวงว่ า ด้ ว ยการจั ด การ ศึ ก ษานอกสถานที ่ ต ั ้ ง ของสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๑ และประกาศกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการ ศึ ก ษานอกสถานที ่ ต ั ้ ง ของสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาของรั ฐ พ.ศ. ๒๕๕๒ เพื ่ อ เป็ นกรอบในการดำเนิ นการจั ด การศึ ก ษานอก สถานที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐ และเอกชน โดยมุ่ง เน้นให้จัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพและมาตรฐานครบถ้วน ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งการ จัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง เดิมมีศูนย์นอกสถานที่ตั้ง จำนวน ๓๑๓ ศู น ย์ ๖๖๑ หลั ก สู ต ร ต่ า งมุ ่ ง เน้ น การขยายโอกาส ทางการศึกษาระดับอุดมศึกษา และการบริการทางวิชาการไป สู ่ ท ้ อ งถิ ่ น ทั ้ ง นี ้ เพื ่ อ ให้ ก ารจั ด การศึ ก ษานอกสถานที ่ ต ั ้ ง มี คุณภาพเช่นเดียวกับการเรียนการสอนในที่ตั้ง คณะกรรมการ การอุดมศึกษาจึงได้ออกประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์และแนว ปฏิบัติเกี่ยวกับการพิจารณาประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา นอกสถานที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.๒๕๕๒ เพื่อเป็น เกณฑ์ให้คณะผู้ทรงคุณวุฒิไปตรวจเยี่ยมการจัดการศึกษานอก สถานที ่ ต ั ้ ง โดยการตรวจเยี ่ ย มในช่ ว ง ๒ - ๓ ปี ท ี ่ ผ ่ า นมา ปรากฏว่า ปัจจุบันมีศูนย์นอกสถานที่ตั้งดำเนินการอยู่ จำนวน ๒๕๖ ศูนย์ ๖๔๔ หลักสูตร” สำหรั บ การจั ด การเรี ย นการสอนของวิ ท ยาลั ย ชุ ม ชน เลขาธิ ก าร กกอ. กล่ า วว่า จากปรัชญาของวิทยาลัยชุมชน

ตั้งแต่เริ่มดำเนินการที่ต้องการเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษา ระดับอุดมศึกษา เพื่อเพิ่มคุณค่าชีวิตและศักยภาพของบุคคล และชุมชน โดยมีหลักการ (๑) บริการที่เปิดกว้าง เข้าถึงง่าย หลั ก สู ต รหลากหลาย (๒) ตอบสนองต่ อ ความต้ อ งการของ ชุมชน (๓) ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ และผนึก กำลังเครือข่ายชุมชน (๔) ใช้ทรัพยากรของรัฐและเอกชนที่มีอยู่ ให้ เ กิ ด ประโยชน์ สู ง สุ ด และ (๕) การจั ด ตั ้ ง วิ ท ยาลั ย ชุ ม ชน เป็นการริเริ่มจากชุมชน ทั้งนี้ วิทยาลัยชุมชนมีพันธกิจที่ชัดเจน ในการจัดการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาทั้งสายวิชาการและ วิชาชีพ ในหลักสูตรอนุปริญญา และหลักสูตรประกาศนียบัตร ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน ฝึกอบรมเพื่อพัฒนา ทักษะอาชีพ ทักษะการเรียนรู้ และทักษะชีวิต บริการทางวิชา การต่ อ ชุ ม ชน วิ จ ั ย เพื ่ อ พั ฒ นาการเรี ย นการสอน และวิ จ ั ย สถาบันเพื่อการพัฒนาการดำเนินงาน พร้อมทั้งมีส่วนร่วมใน การทำนุบำรุงและพัฒนาศิลปวัฒนธรรมกับชุมชน จากความต่างของบริบทและพันธกิจของการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยใหม่ การจัดการศึกษานอก สถานที่ตั้ง และวิทยาลัยชุมชน สู่ความเหมือนในเรื่องการกำกับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนให้ได้มาตรฐาน ที่สำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษาเน้นย้ำให้เกิดขึ้นในทุกสถาบัน ...นี่คือโจทย์ที่เราต้องร่วมมือกันสร้างคุณภาพให้เกิดขึ้นในอุดมศึกษาไทย

16

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องแนะนำ

ยูโร ๒๐๑๒ น กีฬา ดูฟุตบอล เป็ เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๕ นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ลงนามในประกาศสำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง การป้องกันและแก้ไขปัญหาการพนันในสถาบันอุดมศึกษา พร้อมมีหนังสือเวียนแจ้งสถาบัน อุดมศึกษาในสังกัด/ในกำกับ ให้ทราบประกาศดังกล่าว ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาพิจารณาเห็นว่า ปัญหาการพนัน เป็นเรื่องสำคัญที่สถาบันอุดมศึกษาจะต้องร่วมกันรับผิดชอบและแก้ไข ด้วยการสอดส่องดูแลอย่างใกล้ชิดไม่ให้นิสิตนักศึกษาเข้าไป เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในช่วงการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป (UEFA EURO 2012) พร้อมส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมทางบวก ต่างๆ ให้กับนิสิตนักศึกษา จึงได้กำหนดแนวทางให้สถาบันอุดมศึกษาในสังกัด/ในกำกับ พิจารณาดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหา การพนันในสถาบันอุดมศึกษา ดังนี้ ๑. สอดส่องดูแลไม่ให้นิสิตนักศึกษาเข้าไปเกี่ยวข้องกับการพนันทุกชนิด ๒. ส่งเสริม สนับสนุน กิจกรรมทางบวกต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนา เสริมสร้างศักยภาพ การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ฯลฯ กับนิสิตนักศึกษา ๓. จัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของการพนัน พร้อมทั้งใช้สื่อทุกชนิด เช่น เสียงตามสาย วิทยุ สิ่งพิมพ์ที่อยู่ใน ความดูแล ชี้ให้นิสิตนักศึกษาตระหนักถึงผลเสียของการเล่นพนัน ๔. ให้อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ประจำวิชา สอดแทรกเรื่องผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการพนันในทุกครั้งที่มีโอกาส ๕. ให้สนับสนุนการจัดตั้งเครือข่ายนักศึกษาเพื่อช่วยกันสอดส่องดูแลมิให้มีการเล่นพนันในสถาบัน หากพบให้แจ้งผู้บริหาร สถาบันอุดมศึกษาทราบเพื่อดำเนินการแก้ไข ๖. มีการจัดตั้งศูนย์แนะนำให้คำปรึกษา ศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์หรือศูนย์ฮอตไลน์ เพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและใกล้ชิด ๗. ให้อาจารย์ประจำห้องคอมพิวเตอร์ดูแลไม่ให้นิสิตนักศึกษาใช้ช่องทางระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อเล่นการพนัน ๘. ประสานสถานีตำรวจในท้องที่ให้หมั่นตรวจตรา และจับกุมแหล่งรับพนันฟุตบอลที่แอบเข้ามารับพนันในสถาบัน บริเวณโดยรอบ หรือบริเวณหอพักนิสิตนักศึกษา ๙. มีมาตรการและบทลงโทษทางวินัยกับนิสิตนักศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพนัน โดยเฉพาะผู้เป็นเจ้ามือจะต้องลงโทษขั้นเด็ดขาด ๑๐. พิจารณาออกมาตรการอื่นเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขปัญหาการพนันทุกชนิดในสถาบันอุดมศึกษา โดยให้สอดคล้องกับประกาศ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาฉบับนี้ “การแข่งขันฟุตบอลยูโร ๒๐๑๒ ครั้งนี้ เป็นการแข่งขันที่ได้รับความสนใจจากคนทั่วโลก รวมถึงคนไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะ นิสิตนักศึกษา จึงอยากให้นิสิตนักศึกษาดูการแข่งขันฟุตบอลยูโร ๒๐๑๒ เป็นการกีฬา เพื่อความบันเทิงและนันทนาการ อย่าไป เกี่ยวข้องกับการพนัน เพราะการพนันเป็นปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งที่สังคมไทยกำลังประสบ และได้ส่งผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง อีกทั้งมีแนวโน้มจะขยายวงกว้างสู่นิสิตนักศึกษามากยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดผลเสียหายทั้งด้านการศึกษาเล่าเรียน เสียทรัพย์ เสียเวลา นำความเดือดร้อนสู่ตนเอง ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ และบางรายถูกทำร้ายหรือถูกข่มขู่ชักจูงไปสู่ทางเสียหายหรือก่อคดี

จนต้องสูญเสียอนาคต การพนันจึงเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกภาคส่วนในสังคมจะต้องร่วมกันรับผิดชอบและแก้ไข” เลขาธิการ กกอ. กล่าว

อนุสารอุดมศึกษา

17


เรื่องแนะนำ การแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ๒๐๑๒ (2012 UEFA European Football Championship) หรื อ ที่ นิ ย มเรี ย กทั่ ว ไปว่ า ยู โร ๒๐๑๒ (EURO 2012) เป็ นการแข่ ง ขั น ฟุ ต บอลชิ ง แชมป์ แห่ ง ชาติ ยุ โรป ครั้ ง ที่ ๑๔ จั ด โดยสมาคมฟุ ต บอลยุ โรป (ยู ฟ่ า ) โดยใน

การจัดการแข่งขันครั้งนี้ สาธารณรัฐโปแลนด์ และประเทศยูเครน ผ่านการพิจารณาจาก

คณะกรรมการคัดเลือกของยูฟ่า เมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐ (ค.ศ. ๒๐๐๗) ที่เมือง คาร์ดิฟฟ์ของเวลส์ ให้เป็นประเทศเจ้าภาพจัดการแข่งขัน โดยในรอบคัดเลือก มีทีมชาติ

เข้ า ร่ ว มแข่ ง ขั น ๕๑ ประเทศ ระหว่ า งเดื อ นสิ ง หาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ (ค.ศ. ๒๐๑๐)

ถึ ง พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ (ค.ศ. ๒๐๑๑) โดยการแข่ ง ขั น รอบมหกรรมจั ด ขึ้ น ระหว่ า ง

วั น ศุ ก ร์ ที่ ๘ มิ ถุ น ายน ถึ ง วั น อาทิ ต ย์ ที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ (ค.ศ. ๒๐๑๒)

ที่สาธารณรัฐโปแลนด์ และประเทศยูเครน ซึ่งการแข่งขันครั้งนี้ นับเป็นเจ้าภาพร่วม ครั้งที่ ๓ ของฟุ ต บอลยู โ ร โดยก่ อ นหน้ า นี้ คื อ เบลเยี ย มกั บ เนเธอร์ แ ลนด์ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๓

(ค.ศ. ๒๐๐๐) และออสเตรียกับสวิตเซอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ (ค.ศ. ๒๐๐๘)

ตุ๊กตาสัญลักษณ์ สลาเวก และ สลาฟโก เป็น ตุก๊ ตาสัญลักษณ์ (Mascots) ประจำการแข่งขัน ครั้งนี้ ซึ่งเป็นฝาแฝดกัน และเป็นตัวแทนของทั้งสองประเทศ มีการออกแบบให้ สีเหมือนกับธงชาติโปแลนด์และยูเครน โดยวอร์เนอร์บราเธอร์ส ผู้ผลิตแอนิเมชั่น ระดับโลก ทั้งนี้ มีการประกาศเปิดตัวอย่างเป็นทางการ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ (ค.ศ. ๒๐๑๐) อนึ่ง ชื่อของทั้งสองตัวนี้ ได้รับการ ลงคะแนนสู ง สุ ด จากผู ้ ช มเว็ บ ไซต์ ทางการของการแข่งขัน

สัญลักษณ์และคำขวัญ คำขวัญประจำการแข่งขันครั้งนี้ คือ Creating History Together หรือ แปลเป็นภาษาไทยว่า สร้างประวัติศาสตร์ไปด้วยกัน โดยคำขวัญนี้แสดงให้ เห็นว่า ทั้งสองประเทศตั้งใจจะจัดการแข่งขัน ให้ดีที่สุดในประวัติศาสตร์ของ การแข่งขันรายการนี้ ส่วนสัญลักษณ์ประจำการแข่งขัน เป็นการใช้วีชีนานกี อันเป็นศิลปะการตัดกระดาษในพื้นที่ชนบทของโปแลนด์และยูเครน ซึ่งแสดง ถึงความเป็นธรรมชาติ มาประกอบในส่วนต่างๆ ของภาพ โดยมีการจัดงานประกาศคำขวัญ และตราสัญลักษณ์ประจำการแข่งขัน อย่างเป็นทางการไปพร้อมกัน ที่จัตุรัสมีไคลีฟสกาของกรุงเคียฟ เมื่อวันที่

๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ (ค.ศ. ๒๐๐๙) ซึ่งในส่วนหนึ่งของกิจกรรมนี้

มีการฉายแสงสีเป็นภาพตราสัญลักษณ์ดังกล่าว บนพื้นผิวของอาคารสำคัญ ใน ๘ เมืองที่ตั้งสนามแข่งขันด้วย

18

อนุสารอุดมศึกษา


เหตุการณ์เล่าเรื่อง

นวัตกรรมสหกิ จ ศึ ก ษาไทย ก้าวไกลสู่ ป ระชาคมโลก วันที่ ๖ มิถุนายนของทุกปี เป็นวันสหกิจศึกษาไทย ซึ่งจัด ขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๕๕๒ เป็นวันที่มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกับ วงการศึ ก ษาของไทยโดยเฉพาะอย่ า งยิ ่ ง ในระดั บ อุ ด มศึ ก ษา

จัดโดยองค์กรภาคี ๓ ฝ่าย ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการ อุ ด มศึ ก ษา ร่ ว มกั บ สมาคมสหกิ จ ศึ ก ษาไทย เครื อ ข่ า ยพั ฒ นา

สหกิจศึกษา ๙ เครือข่าย ร่วมกันจัดงานวันสหกิจศึกษาไทยขึ้น เป็นประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคสั ง คม ได้ ต ระหนั ก และเห็ นความสำคั ญ

รวมทั้งประโยชน์ของการจัดการศึกษาแบบสหกิจศึกษา เพื่อเผย แพร่ ค วามรู ้ ค วามเข้ า ใจ และความก้ า วหน้ า ในการดำเนิ นการ จัดการศึกษาในรูปแบบสหกิจศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยยกย่องและ ให้เกียรติแก่ผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับสหกิจศึกษาไทย องค์กรและ บุคคลทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่ร่วมดำเนินการสหกิจศึกษา ได้มี โอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์พบปะแลกเปลี่ยนความรู้ และความคิด เห็นระหว่างกัน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมและพัฒนา

สหกิจศึกษาของประเทศไทยต่อไป ในปี ๒๕๕๕ สำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา (สกอ.) ร่วมกับสมาคมสหกิจศึกษาไทย เครือข่ายสหกิจศึกษาของ สถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ร่วมกันจัดงานวันสหกิจศึกษาไทย ครั้งที่ ๔ ประจำปี ๒๕๕๕ “Thai Cooperation Education Day 2012” ภายใต้ ห ั ว ข้ อ “นวั ต กรรมสหกิ จ ศึ ก ษาไทย ก้ า วไกลสู ่ ประชาคมโลก” เมือ่ วันที่ ๖ มิถนุ ายน ๒๕๕๕ ณ ห้องรอยัลจูบลิ ลี่ บอลรูม อาคารชาเลนเจอร์ โดยได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์สุชา ติ ธาดาธำรงเวช รั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร เป็ น ประธานเปิดงาน อนุสารอุดมศึกษา

19


เหตุการณ์เล่าเรื่อง

สำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาได้ ให้ ก ารส่ ง เสริ ม สนับสนุนการจัดการศึกษาในรูปแบบสหกิจศึกษาอย่างต่อเนื่อง

ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลในการเร่งรัดพัฒนาคุณภาพการ จัดการศึกษา โดยเฉพาะในระดับอุดมศึกษาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๑ เป็นต้นมา โดยได้จัดทำยุทธศาสตร์การส่งเสริมสหกิจ ศึก ษาในสถาบั น อุ ด มศึก ษา พ.ศ.๒๕๕๑ - ๒๕๕๕ ขึ ้ น เพื ่ อใช้ เป็นกรอบนโยบายในการส่งเสริมพัฒนาสหกิจศึกษา มีกลยุทธ์หลัก ที่สำคัญ ๔ ประการ ได้แก่ (๑) การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ย วกั บ สหกิ จ ศึ ก ษา (๒) การกำหนดมาตรฐานการดำเนิ นงาน

สหกิจศึกษา (๓) การส่งเสริมสนับสนุนสหกิจศึกษา (๔) การส่งเสริม และสนับสนุนสหกิจศึกษานานาชาติ โดยมีสำนักงานคณะกรรมการ การอุ ด มศึ ก ษา สมาคมสหกิ จ ศึ ก ษาไทย และเครื อ ข่ า ยเพื ่ อ

การพัฒนาสหกิจศึกษา ๙ เครือข่าย เป็นหน่วยงานหลักในการ ดำเนินการ และบูรณาการความร่วมมือกับสถานประกอบการ และ ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา

งานวันสหกิจศึกษาไทย ครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๕๕ มีการจัดกิจกรรมทางวิชาการที่น่าสนใจต่างๆ อาทิ การประชุมวิชาการ การบรรยายพิ เศษ หั ว ข้ อ “สหกิ จ ศึ ก ษากั บ การพั ฒ นาศั ก ยภาพบั ณฑิ ต สู ่ ป ระชาคมโลก (Strengthening Graduate Competency for the World Community through Cooperative Education)” โดย Dr. Paul Stonely, WACE CEO การเสวนา จากผู้ทรงคุณวุฒิ นิทรรศการและผลงานดีเด่นด้านสหกิจศึกษา เพื่อให้ทราบความก้าวหน้าในการดำเนินงานสหกิจศึกษา พร้อมร่วมยกย่องผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับสหกิจศึกษาไทย และมอบรางวัลสหกิจศึกษาดีเด่น

20

อนุสารอุดมศึกษา


เหตุการณ์เล่าเรื่อง รางวัลสหกิจศึกษาดีเด่นระดับชาติ สถานศึกษาสหกิจศึกษาดีเด่น รางวัลสถานศึกษาดำเนินงานสหกิจศึกษาดีเด่น มหาวิทยาลัยสยาม รางวัลสถานศึกษาดาวรุ่งด้านการดำเนินงานสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ รางวัลผู้บริหารสหกิจศึกษาดีเด่นในสถานศึกษา รองศาสตราจารย์วันดี ทาตระกูล คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร สถานประกอบการสหกิจศึกษาดีเด่น สถานประกอบการขนาดใหญ่ บริษัท เครือเบทาโกร สถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม บริษัท หน่ำฮั่วรับเบอร์ จำกัด ผู้ปฏิบัติงานสหกิจศึกษาดีเด่นในสถานประกอบการ ดร.ดิลก มูลวงศ์ ผู้จัดการอาวุโสส่วนงานทรัพยากรมนุษย์ บริษัท Hitachi Global Storage Technologies (Thailand) Ltd. โครงงานสหกิจศึกษาดีเด่น ประเภทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โครงงานการลดตำหนิที่เกิดขึ้นในงานหล่ออลูมิเนียม ผลงานของนายณัฐวุฒิ พงษ์ชัย สาขาวิชาวิศวกรรมโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ปฏิบัติงานที่บริษัท นิชชินเบรก (ประเทศไทย) จำกัด ประเภทสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และการจัดการ โครงงานการออกแบบตัวละครในเกมอสุรา ผลงานนายภัทรวุฒิ ทวี สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชั่น สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปฏิบัติงานที่บริษัท ดีบัซส์ จำกัด นวัตกรรมสหกิจศึกษาดีเด่น Automatic Student Allocation System for Cooperative Education ผลงานนายอดิสร วงศ์วาลย์ และ ดร.สุรพงษ์ อุตมา สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง นักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติดีเด่น นายหัสดี พิมพ์สุวรรณ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โครงงานระบบทดสอบการเป็นไปตามมาตรฐานเอ็กซ์ทรีดี (Automatic X3D Conformance Test System ปฏิบัติงานสหกิจศึกษาที่ บริษัท Bit Management Software GmbH ประเทศเยอรมนี

อนุสารอุดมศึกษา

21


เล่าเรื่องด้วยภาพ

๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ - รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เข้าร่วมพิธีเปิด โครงการครูอาสาสมัครสอนภาษาจีน ประจำปี ๒๕๕๕ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการไทย - จีน โดยได้รับเกียรติ จากนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ - รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมการ เข้าเยี่ยมคารวะและหารือข้อราชการของเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอินเดีย ประจำประเทศไทย กับรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการเข้าร่วม ณ ห้องรับรองจันทรเกษม กระทรวงศึกษาธิการ

22

อนุสารอุดมศึกษา


เล่าเรื่องด้วยภาพ

๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๕ - รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติ ย กวี รองเลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา

ร่ ว มประชุ ม คณะกรรมการอำนวยการงานเฉลิ ม ฉลอง

ครบรอบ ๑๒๐ ปี แห่งวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จ พระมหิ ต ลาธิ เ บศร อดุ ล ยเดชวิ ก รม พระบรมราชชนก

ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ มหานาค

๘ มิ ถุ น ายน ๒๕๕๕ - นางวราภรณ์ สี ห นาท

รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมลงนาม ความร่ ว มมื อ โครงการส่ ง เสริ ม นั ก เรี ย นผู้ มี คุ ณธรรม จริยธรรม และบำเพ็ญประโยชน์ ได้มีโอกาสเข้าศึกษา ต่อในสถาบันอุดมศึกษาใกล้บ้าน ในระบบโควต้าพิเศษ โดยไม่ ต้ อ งมี ก ารสอบแข่ ง ขั น โดยมี น ายชิ น ภั ท ร

ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และศาสตราจารย์ ส มคิ ด เลิ ศ ไพฑู ร ย์ ประธาน

ที่ ป ระชุ ม อธิ ก ารบดี แ ห่ ง ประเทศไทย ร่ ว มลงนาม

ณ กระทรวงศึกษาธิการ

๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๕ - รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติ ย กวี รองเลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา ประธานเปิดการประชุมการขอรับงบประมาณการสนับสนุน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ณ ห้องราชเทวี ๑ โรงแรมเอเชีย

๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ - นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษามอบนโยบายการบริหารงาน ในวิทยาลัยชุมชนแก่ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนที่ได้รับการ แต่งตั้งใหม่ ณ สำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน กระทรวง ศึกษาธิการ

๕๕ เร ื ่ อ งย ้ า ยข ้ า รา ชก าร

คำ สั ่ ง สก อ. ที ่ ๑๙ ๐/ ๒๕ วยการสำนักประสานและ ให้นายสุภัทร จำปาทอง ผู้อำน ไปเป็น ผู้อำนวยการสำนัก ส่งเสริมกิจการอุดมศึกษา ด มศ ึ ก ษา (ส มอ .) แล ะให้

มา ตร ฐา นแ ละ ปร ะเมิ น ผล อุ การสำนักมาตรฐานและ นางอรสา ภาววิมล ผู้อำนวย เป ็ น ผู ้ อ ำน วย กา รส ำน ั ก ปร ะเ มิ น ผล อุ ด มศ ึ ก ษา ไป ุดมศึกษา(สสอ.) ทั้งนี้ มีผล ประสานและส่งเสริมกิจการอ ๕๕ ตั้งแต่วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕

อนุสารอุดมศึกษา

23



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.