อนุสารอุดมศึกษา issue 414

Page 1

ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔๑๔ ประจำเดือนธันวาคม ๒๕๕๕ เอกสารเผยแพร่ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ISSN 0125-2461

อนุสารอุดมศึกษาออนไลน์ www.mua.go.th/pr_web


สารบัญ

ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔๑๔ ประจำเดือนธันวาคม ๒๕๕๕

เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย ถวายสัตย์ปฏิญาณ ๓ ถวายพระพร ๓ สกอ. ผลักดันการประกันคุณภาพการศึกษาสู่อาเซียน ๔ ส.วชช. ขยายเวลารับสมัคร 'ครูผู้ช่วย' ๕ ยกระดับบัณฑิตศึกษาในอาเซียน ๖

ส่งเสริมการทำงานร่วมกับภาคเอกชน สกอ. มุ่งให้ไทยเป็นศูนย์กลางอีเลิร์นนิงในอาเซียน สกอ. สนับสนุนกิจกรรมนักศึกษา พร้อมรับอาเซียน โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาอาเซียน ขยายเพิ่ม ๒ สาขา

๗ ๘ ๙

๑๒

เรื่องเล่าอาเซียน

การเกิดประชาคมอาเซียนกับการศึกษาของประเทศไทย (๑๕)

เรื่องพิเศษ ดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ ๓๙

๑๐ ๑๒

พูดคุยเรื่องมาตรฐาน

๑๕

ยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษา เพื่อสร้างความเป็นพลเมือง (๒)

เรื่องแนะนำ กีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน

๑๗

เหตุการณ์เล่าเรื่อง ๑๙ แนวปฏิบัติที่ดีในการนำความรู้ด้านการประกันคุณภาพ ไปใช้ในการดำเนินกิจกรรมนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา

เล่าเรื่องด้วยภาพ

๑๙

๔ คณะผู้จัดทำ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๒๖ เว็บไซต์ http://www.mua.go.th อีเมล์ pr_mua@mua.go.th นายอภิชาติ จีระวุฒิ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติยกวี นางวราภรณ์ สีหนาท นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ นายศิระวิทย์ คลี่สุวรรณ ที่ปรึกษา บรรณาธิการ นายกฤษณ์กร วงศ์ไทย กองบรรณาธิการ นางสาวปิยาณี วิริยานนท์ นางชุลีกร กิตติก้อง นายเจษฎา วณิชชากร นางปราณี ชื่นอารมณ์ นายพรชัย สิทธินันทน์ นายจรัส เล็กเกาะทวด บริษัท ออนป้า จำกัด ผู้พิมพ์


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

ถวายสัตย์ปฏิญาณ

๓ ธันวาคม ๒๕๕๕ - นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการ

คณะกรรมการการอุดมศึกษา นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา นางสาวสุนันทา แสงทอง

ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา พร้อมด้วยผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๕ ณ กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธี

ถวายพระพร

๑๔ พฤศจิ ก ายน ๒๕๕๕ -

นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ร่วมบันทึกเทปโทรทัศน์ถวาย พระพรชัยมงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั เนือ่ งในโอกาสวันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๕ ณ โมเดิร์นไนน์ทีวี โดยมี นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ และผู้บริหารกระทรวง ศึกษาธิการ เข้าร่วมบันทึกเทป อนุสารอุดมศึกษา

3


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

สกอ. ผลักดันการประกันคุณภาพการศึกษาสู่อาเซียน ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ - สำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา จัดการประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง

การประกันคุณภาพการศึกษา : สู่มาตรฐานคุณภาพ

การศึกษาอาเซียน ณ ห้องแกรนด์ ไดมอนด์ บอลรูม อาคารศูนย์การประชุม อิมแพ็คฟอรั่ม ศูนย์แสดงสินค้า และการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยได้รับเกียรติ จากนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุม นายพงศ์ เ ทพ เทพกาญจนา รั ฐ มนตรี ว ่ า การ กระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า การเร่งพัฒนาคุณภาพการ ศึกษาและคุณภาพผู้ศึกษาเป็นนโยบายที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง สถาบันอุดมศึกษาต้องผลิตบัณฑิตให้มี คุณภาพ มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในศาสตร์ต่างๆ รวมทั้งมีความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงานทั้งภายในและภายนอกประเทศ มีความ สำนึกและความรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะพลเมืองไทยและพลเมืองโลก ทั้งนี้ บัณฑิตจะมีคุณภาพดังกล่าวได้ต้องมาจากคุณภาพ อาจารย์ที่มีคุณวุฒิและประสบการณ์ที่ตรงตามสาขาที่เปิดสอน ซึ่งสะท้อนได้จากคุณภาพงานวิจัย ที่เป็นส่วนสำคัญในการยกระดับ คุณภาพการศึกษาภายในสถาบันอุดมศึกษา ทั้งในเรื่องการเรียนการสอน การขยายพรมแดนความรู้ที่เชื่อมโยงกับสภาพเศรษฐกิจและ ความต้องการของสังคม โดยเฉพาะงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในภาคอุตสาหกรรม ภาคการผลิต ธุรกิจและสังคม การดำเนินการ เพื ่ อ ให้ ได้ ค ุ ณ ภาพและมาตรฐานเหล่ า นี ้ สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาจะต้ อ งมี ก ารบริ ห ารจั ด การตามหลั ก ธรรมาภิ บ าลและพั นธกิ จ ของการ อุดมศึกษาอย่างมีดุลยภาพ และโปร่งใส มีการดำเนินการพัฒนา ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลผ่านระบบและกลไกการประกัน คุณภาพการศึกษาภายในและถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง “การจัดประชุมวิชาการในครั้งนี้ จะเป็นการกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนของสังคมอุดมศึกษามีความร่วมมือกันในการยกระดับ คุณภาพการศึกษาให้เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับอาเซียนและระดับสากล และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาคุณภาพตามพันธกิจของ สถาบันอุดมศึกษา สามารถสร้างบัณฑิต งานวิจัย และการบริการวิชาการที่มีคุณภาพ มีการพัฒนาศักยภาพอุดมศึกษาในการ สร้างความรู้และนวัตกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษา ระดับอุดมศึกษาไปสู่ความเป็นเลิศ เป็นศูนย์กลางทางการศึกษาในระดับภูมิภาค โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อการพัฒนาประเทศ ที่ยั่งยืน” รมว.ศธ. กล่าว ด้านนายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า สกอ. ได้ดำเนินการส่งเสริมและกำกับให้สถาบัน อุดมศึกษามีการประกันคุณภาพการจัดการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา เพื่อตรวจสอบและประเมินการดำเนินงานของภาค วิชา คณะวิชา และสถาบันอุดมศึกษาในภาพรวม โดยครอบคลุมภารกิจหลัก ๔ ด้าน คือ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และเพิ่มเติมประเด็นด้านปรัชญาและวิสัยทัศน์ กิจกรรมนักศึกษา การบริหารจัดการ การเงินงบ ประมาณ และระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ทั้งนี้ ให้สถาบันอุดมศึกษารายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในดังกล่าว ผ่านระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (CHE QA Online) และเปิดเผยต่อสาธารณชนเพือ่ การคุม้ ครองประโยชน์ของผูบ้ ริโภค “สำหรับการจัดประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และประสบการณ์เกี่ยวกับคุณภาพการศึกษา ระดับ อุดมศึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิของไทยและอาเซียน รวมทั้งเป็นเวทีแสดงผลงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีในการประกันคุณภาพ การศึกษาระหว่างสถาบันอุดมศึกษา ตลอดจนเป็นเวทีประกาศเกียรติคุณและมอบรางวัลแก่สถาบันอุดมศึกษาที่มีการดำเนินงานด้านการ ศึกษาที่ได้มาตรฐานคุณภาพด้วย” เลขาธิการ กกอ. กล่าว

4

อนุสารอุดมศึกษา


๔ ธันวาคม ๒๕๕๕ - นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในฐานะประธาน อ.ก.ค.ศ. สำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน เปิดเผยว่า ตามที่ อ.ก.ค.ศ. สำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน สำนักงานคณะกรรมการ การอุ ด มศึ ก ษา ได้ ป ระกาศรั บ สมั ค รสอบแข่ ง ขั นเพื่อบรรจุและแต่งตั้ งบุ คคลเข้ ารั บราชการเป็ นข้ าราชการครูแ ละ บุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย จำนวน ๑๕ อัตรา โดยรับสมัครระหว่างวันที่ ๒๓ - ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ทีผ่ า่ นมา และจะประกาศรายชือ่ ผูม้ สี ทิ ธิส์ อบแข่งขันภายในวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๕ และสอบแข่งขันระหว่างวันที่ ๑๕ - ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๕ นั้น ในการประชุม อ.ก.ค.ศ. สำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน สกอ. ครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕ พิจารณาเห็นว่าในช่วงเวลาการรับสมัครดังกล่าวมีเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองบริเวณถนนราชดำเนินนอก ทำให้ผู้สมัครเกิดความไม่สะดวกในการเดินทางไปยื่นใบสมัคร ประกอบกับบางตำแหน่งไม่มีผู้ยื่นใบสมัครและยอดรวม ของผู้สมัครมีจำนวนน้อย ดังนั้น เพื่อให้การรับสมัครสอบแข่งขันครั้งนี้มีผู้สมัครครบทุกตำแหน่งและสามารถสรรหา บุคคลที่มีความรู้ความสามารถเหมาะที่จะบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจึงเห็นชอบให้ มีการเพิ่มวันรับสมัครสอบแข่งขันฯ เป็นระหว่างวันที่ ๑๑ - ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๕ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. ทุกวันไม่เว้น วันหยุดราชการ เปลี่ยนแปลงวันประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบแข่งขันฯ จาก “ภายในวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๕” เป็น “ภายในวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๕” และวันที่สอบแข่งขันฯ จาก “ระหว่างวันที่ ๑๕ - ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๕” เป็น “ระหว่างวันที่ ๑๒ - ๑๓ มกราคม ๒๕๕๖” ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ www.bcca.go.th หรือติดต่อที่ สำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน โทร. ๐ ๒๒๘๐ ๐๐๙๑ - ๖ ต่อ ๔๐๓๕-๔๐

เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

ส.วชช. ขยายเวลารับสมัคร ‘ครูผู้ช่วย’

รายละเอียดคุณวุฒิ และสาขาวิชาที่จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย กลุ่มที่ ๑ คุณวุฒิปริญญาโท ทางปฐมวัย หรือ อนุบาลศึกษา กลุม่ ที่ ๕ คุณวุฒปิ ริญญาโท ทางพืช หรือ พืชไร่ หรือ ๑.๑ วิทยาลัยชุมชนตาก จำนวน ๑ อัตรา พืชสวน หรือ พืชไร่นา ๑.๒ วิทยาลัยชุมชนระนอง จำนวน ๑ อัตรา ๕.๑ วิทยาลัยชุมชนสระแก้ว จำนวน ๑ อัตรา ๑.๓ วิทยาลัยชุมชนสตูล จำนวน ๑ อัตรา กลุม่ ที่ ๖ คุณวุฒปิ ริญญาโท ทางรัฐศาสตร์ หรือ กลุม่ ที่ ๒ คุณวุฒปิ ริญญาโท ทางคอมพิวเตอร์ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ๖.๑ วิทยาลัยชุมชนระนอง จำนวน ๑ อัตรา ๒.๑ วิทยาลัยชุมชนบุรีรัมย์ จำนวน ๑ อัตรา กลุม่ ที่ ๗ คุณวุฒปิ ริญญาโท ทางอุตสาหกรรมการท่องเทีย่ ว ๒.๒ วิทยาลัยชุมชนตราด จำนวน ๑ อัตรา หรือ อุตสาหกรรมการท่องเทีย่ วและบริการ หรือ กลุ่มที่ ๓ คุณวุฒิปริญญาโท ทางภาษาอังกฤษ การจัดการโรงแรมและการท่องเทีย่ ว หรือ การจัดการ ๓.๑ วิทยาลัยชุมชนหนองบัวลำภู จำนวน ๑ อัตรา อุตสาหกรรมท่องเทีย่ ว ๓.๒ วิทยาลัยชุมชนตราด จำนวน ๑ อัตรา ๗.๑ วิทยาลัยชุมชนระนอง จำนวน ๑ อัตรา ๓.๓ วิทยาลัยชุมชนสตูล จำนวน ๑ อัตรา ๗.๒ วิทยาลัยชุมชนน่าน จำนวน ๑ อัตรา กลุ่มที่ ๔ คุณวุฒิปริญญาโท ทางหลักสูตรและการสอน หรือ กลุ่มที่ ๘ คุณวุฒิปริญญาโท ทางวิจัย การพัฒนาหลักสูตร ๘.๑ วิทยาลัยชุมชนสระแก้ว จำนวน ๑ อัตรา ๔.๑ วิทยาลัยชุมชนหนองบัวลำภู จำนวน ๑ อัตรา ๘.๒ วิทยาลัยชุมชนตราด จำนวน ๑ อัตรา ในการประชุมเดียวกัน ที่ประชุมได้เห็นชอบให้เพิ่มวันสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการครูและบุคลากรทางการ ศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ จำนวน ๖ อัตรา คือ (๑) ปริญญาโท ทางการศึกษา จำนวน ๒ อัตรา บรรจุที่ วิทยาลัยชุมชนระนอง จำนวน ๑ อัตรา และวิทยาลัยชุมชนน่าน จำนวน ๑ อัตรา (๒) ปริญญาโท ทางยุทธศาสตร์การพัฒนา จำนวน ๑ อัตรา บรรจุที่วิทยาลัยชุมชนระนอง (๓) ปริญญาโท ทางการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน ๑ อัตรา บรรจุที่วิทยาลัยชุมชนสตูล (๔) ปริญญา โท ทางการวัดผลการศึกษา จำนวน ๑ อัตรา บรรจุที่วิทยาลัยชุมชนพังงา และ (๕) ปริญญาโท ทางหลักสูตรและการสอน จำนวน ๑ อัตรา บรรจุที่วิทยาลัยชุมชนน่าน โดยเพิ่มวันสมัครคัดเลือกฯ เป็นระหว่างวันที่ ๑๑ - ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๕ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. ทุกวันไม่เว้น วันหยุดราชการ เปลี่ยนแปลงวันประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์คัดเลือกฯ จาก “ภายในวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๕” เป็น “ภายในวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๕” และวันที่คัดเลือกฯ จาก “ระหว่างวันที่ ๑๕ - ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๕” เป็น “ระหว่างวันที่ ๑๒ - ๑๓ มกราคม ๒๕๕๖” อนุสารอุดมศึกษา

5


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

ยกระดับบัณฑิตศึกษาในอาเซียน ส่งเสริมการทำงานร่วมกับภาคเอกชน

๒๙ พฤศจิ ก ายน ๒๕๕๕ - สำนั ก งานเลขานุ ก ารโครงการเครื อ ข่ า ย มหาวิ ท ยาลั ย อาเซี ย นเพื ่ อ การพั ฒ นาการศึ ก ษาด้ า นวิ ศ วกรรมศาสตร์

(AUN/SEED-Net: ASEAN University Network/Southeast Asia Engineering Education Development Network) จัดพิธีลงนามตามกรอบความร่วมมือของ เครือข่ายพัฒนาการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน ณ โรงแรมแกรนด์ มิลเลนเนียม สุขุมวิท โดยได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานในพิธี และมีคณะผู้แทนจากรัฐบาลและ มหาวิทยาลัยสมาชิกของกลุ่มประเทศอาเซียนและประเทศญี่ปุ่นเข้าร่วมกันลงนาม ตามกรอบความร่วมมือดังกล่าว รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการ อุดมศึกษา กล่าวว่า การลงนามในกรอบความร่วมมือครั้งนี้นับเป็นการเปิดศักราชใหม่ของความร่วมมือเพื่อยกระดับบัณฑิตศึกษาใน ภูมิภาคอาเซียน โดยมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมการทำงานร่วมกับภาคเอกชนเพื่อพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม อันจะนำไปสู่การจัดตั้ง ประชาคมอาเซียน โดยกรอบความร่วมมือใหม่นี้จะกำหนดแนวทางการปฏิบัติงาน โครงสร้างและการขยายเครือข่ายของ AUN/SEED-Net นับตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป ซึ่งจะครอบคลุมไปถึงสมาชิกใหม่อีก ๗ สถาบันจากภูมิภาคอาเซียน คือ มหาวิทยาลัย แห่ ง ชาติ อ ิ น โดนี เซี ย และสถาบั น เทคโนโลยี เซปู ลู ห ์ โนเปมเบอร์ จากประเทศอิ น โดนี เซี ย มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี ม าเลเซี ย และ มหาวิทยาลัยปูตรามาเลเซียจากประเทศมาเลเซีย มหาวิทยาลัยแห่งรัฐมินดาเนา และสถาบันเทคโนโลยีอิลลิแกน จากประเทศ ฟิลิปปินส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีสถาบันสนับสนุนจากประเทศ ญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอีก ๓ แห่ง คือ มหาวิทยาลัยนาโกย่า มหาวิทยาลัยโอซาก้า และมหาวิทยาลัยโทโฮคุ รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า อีก ๕ ปีนับจากนี้ AUN/SEED-Net จะพุ่งเป้าไปที่ ๓ ภารกิจสำคัญ คือ (๑) สนับสนุนการ พัฒนาของอุตสาหกรรมในภูมิภาคอาเซียนผ่านการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรม (๒) การศึกษา ประเด็นปัญหาร่วมกันของภูมิภาคผ่านความร่วมมือทางการวิจัยและการประชุมวิชาการ และ (๓) ดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาการ ศึกษาและความสามารถทางการวิจัยของสถาบันสมาชิกผ่านการผลิตคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ การแลกเปลี่ยนนักวิจัยและนักศึกษา ภายในภูมิภาคและกับประเทศญี่ปุ่น ควบคู่ไปกับการสนับสนุนการเรียนการสอนร่วมกันระหว่างสถาบันสมาชิกต่างๆ “ทีก่ ล่าวข้างต้น คือ ความร่วมมือใหม่ๆ ระหว่างมหาวิทยาลัยในภูมภิ าคนี้ และยังเป็นการทำงานร่วมกันครัง้ แรกระหว่าง เครือข่ายการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมในภูมภิ าคอาเซียน AUN/SEED-Net ได้รบั การคาดหวังอย่างสูงจากภาครัฐและภาคีที่ เกีย่ วข้องว่าจะสามารถช่วยส่งเสริมการก่อตัง้ ประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในการสร้างเสริมความเป็นเอกภาพระหว่าง นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพวิศวกรรม และการสร้างแรงงานที่มีมาตรฐานสูงและมีความเป็นพลเมืองอาเซียน”

รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว

6

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

สกอ. มุ่งให้ไทยเป็นศู น ย์ ก ลางอี เ ลิ ร์ นนิ ง ในอาเซี ย น

๑๕ พฤศจิ ก ายน ๒๕๕๕- สำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา โดยโครงการ มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทยจัดประชุมวิชาการ Smart Higher Education for ASEAN: Challenge & Opportunities of ASEAN Cyber University Project ณ โรงแรม วิ น เซอร์ ส วี ท ส์ กรุ ง เทพมหานคร โดยได้ ร ั บ เกี ย รติ จ ากนางวราภรณ์ สี ห นาท

รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านอีเลิร์นนิงจากประเทศสมาชิกอาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลีใต้ อาทิ

ผู้แทนระดับกระทรวงศึกษาธิการ และผู้แทนจากมหาวิทยาลัยของสมาชิกโครงการ มหาวิทยาลัยไซเบอร์แห่งอาเซียน (ASEAN Cyber University Project: ACU) จากประเทศ กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม สาธารณรัฐเกาหลีใต้ นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวถึงการประชุม ครั้งนี้ว่า สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย ร่วมกับ โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์แห่งอาเซียน (ASEAN Cyber University Project: ACU) สาธารณรัฐ เกาหลีใต้ เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมวิชาการอีเลิร์นนิง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตระหนักถึงการประกันคุณภาพการศึกษาแบบ

อีเลิรน์ นิง และส่งเสริมการจัดการศึกษาแบบอีเลิรน์ นิงในประเทศไทย ตลอดจนเปิดโอกาสให้ผเู้ ชีย่ วชาญด้านอีเลิรน์ นิงในภูมภิ าคอาเซียน ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินการอีเลิร์นนิง และเป็นการแนะนำโครงการ ACU ซึ่งเป็นการดำเนินการภายใต้ความ ร่วมมือทางวิชาการกับ ACU ที่ดำเนินกิจกรรมทางวิชาการเพื่อการพัฒนาอีเลิร์นนิงในประเทศอาเซียน “การจัดประชุมวิชาการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สถาบันการศึกษาไทยและนักวิชาการจากประเทศอาเซียนได้รับ ความรู้ที่ครอบคลุม ทั้งการจัดการศึกษาแบบอีเลิร์นนิงในสถาบันการศึกษา และการประกันคุณภาพการศึกษาแบบ

อีเลิร์นนิง ทั้งนี้ ยังเป็นการแสดงศักยภาพ ความพร้อมที่ สกอ. ผ่านทางโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทยเป็นศูนย์กลาง การจัดการศึกษาแบบอีเลิน์นนิงในแถบประเทศอาเซียนต่อไป” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อไปว่า จากประเด็นในการประชุมที่เกี่ยวกับโอกาสและความท้าทายของโครงการมหาวิทยาลัย

ไซเบอร์แห่งอาเซียน และอีเลิร์นนิงที่มีคุณภาพสำหรับอาเซียน: การจัดตั้งโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์แห่งอาเซียนทำให้เห็นว่าการ จัดการเรียนการสอนอีเลิร์นนิง ถือเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่สำคัญ ในปัจจุบันการนำอีเลิร์นนิงมาใช้ในการจัดการศึกษาใน

รูปแบบและระดับที่เหมาะสม จะช่วยเพิ่มคุณภาพการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยี แนวคิด และนวัตกรรมที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วในทุกด้าน เพื่อให้เกิดการ จัดการศึกษาอย่างก้าวกระโดดต่อไป

อนุสารอุดมศึกษา

7


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

สกอ.สนับสนุนกิจกรรมนักศึกษาพร้อมรับอาเซียน ๒๒ พฤศจิ ก ายน ๒๕๕๕ - สำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาจั ด

การประชุมวิชาการด้านกิจการนิสิตนักศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ ๓ เรื่องบทบาท ของนิสิตนักศึกษาต่อการพัฒนาสังคม ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุ ง เทพฯ โดยได้ ร ั บ เกี ย รติ จ ากนางสาวอาภรณ์ แก่ น วงศ์ รองเลขาธิ ก าร

คณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานเปิดการประชุม พร้อมบรรยาย เรื่อง กิจกรรมนิสิตนักศึกษา : การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวถึง การประชุมครั้งนี้ว่า สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ตระหนักถึงความ สำคัญของการพัฒนานิสิตนักศึกษา และการพัฒนางานด้านกิจการนิสิตนักศึกษาให้ มีการพัฒนาองค์ความรูใ้ หม่ การวิจยั ตลอดจนการแลกเปลีย่ นเรียนรูแ้ นวทางปฏิบตั ทิ ด่ี ี (Best Practice) เพือ่ ให้ผรู้ บั ผิดชอบ ผูป้ ฏิบตั งิ าน และนักศึกษาในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ข้อมูลข่าวสาร และแนวคิดใหม่ในภารกิจการพัฒนานิสิต

นักศึกษา นำไปปรับใช้ในการพัฒนางานด้านกิจการนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนนิสิตนักศึกษาได้มี เวทีในการนำเสนอผลงาน สะท้อนความต้องการ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่างๆ ที่จะสามารถขยายผลได้ต่อไป “การประชุมวิชาการในวันนี้ จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงการศึกษาอย่างกว้างขวาง ชัดเจน และเป็นรูปธรรมมากขึ้น การเปิด เสรีอาเซียนทำให้ประเทศไทยอยู่นิ่งไม่ได้ โดยต้องเตรียมบุคลากรให้พร้อมรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ดังนั้น การพัฒนานิสิต

นักศึกษาต้องปรับให้ทนั กับโลก เพือ่ ผลิตบัณฑิตให้สามารถปรับตัวได้ทนั ต่อการเปลีย่ นแปลง การเตรียมอาชีพ และทักษะต่างๆ ทีจ่ ำเป็น

ให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีศักดิ์ศรี มีคุณค่า และเป็นที่ยอมรับของสังคมโลก” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวในการบรรยาย เรื่อง กิจกรรมนิสิตนักศึกษา : การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ว่า การพัฒนานิสิต

นักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีความสมบูรณ์พร้อม เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ มีคุณภาพและศักยภาพ และมีความสามารถในการแข่งขัน ในเวทีโลกได้ ถือเป็นภารกิจหลักของทุกสถาบัน ซึ่งนอกจากจะมีการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพแล้วยังมี กระบวนการพัฒนานิสิตนักศึกษาผ่านกิจกรรมเสริมหลักสูตรอย่างสร้างสรรค์ด้วย ซึ่งกิจกรรมนักศึกษากับการพัฒนาทักษะชีวิต และ การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ ควรดำเนินกิจกรรมที่ช่วยเสริมให้นิสิตนักศึกษามีความพร้อมสำหรับการปรับตัวในอนาคตได้ อย่างเหมาะสม และมีความสุข โดยจะหล่อหลอมให้นิสิตนักศึกษามีลักษณะ (๑) การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น

(๒) มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (๓) การจัดการกับอารมณ์และความเครียด และ (๔) การสร้าง สัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นและเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาไทย กับนักศึกษาในกลุ่มประเทศอาเซียน รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า สำหรับรูปแบบการจัดกิจกรรม ควรมีดังนี้ (๑) เป็นกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ (จิ ต อาสา) (๒) เป็ นกิ จ กรรมที ่ เ สริ ม สร้ า งคุ ณ ลั ก ษณะตามนโยบายของสถานศึ ก ษา (๓) กิ จ กรรมเรี ย นรู ้ ต ามแนวพระราชดำริ

(๔) กิจกรรมค่ายร่วมกับนักศึกษาในกลุ่มประเทศอาเซียน และ (๕) กิจกรรมการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในด้านต่างๆ เพื่อให้นิสิต นักศึกษามีความซื่อสัตย์ ความเสียสละ ความสามัคคี และความพอเพียง เป็นต้น “สกอ. ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนานิสิตนักศึกษาให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ สามารถปรับตัวได้ทันกับ สถานการณ์ของโลก ดังนั้น การจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา นอกจากการพัฒนาความรู้ทางวิชาการและวิชาชีพ แล้ว ควรจัดให้มีการเรียนการสอนและกิจกรรมของนักศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะต่างๆ ที่จำเป็น เพื่อให้นิสิตนักศึกษามี คุณภาพและสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถเพื่อรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคม อาเซียน และพร้อมที่จะแข่งขันได้ในเวทีโลกต่อไป” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวในตอนท้าย

8

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องเล่าอุดมศึกษาไทย

โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาอาเซียน ขยายเพิ่ม ๒ สาขา ๑๕ - ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ - สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา พร้อม ด้วยผู้แทนจากสถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล มหาวิ ท ยาลั ย แม่ ฟ ้ า หลวง มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้าร่วมการประชุมประเมินผลโครงการแลกเปลี่ยน

นักศึกษาอาเซียน (ASEAN International Mobility for Students: AIMS) ครั้งที่ ๔ ณ มหาวิท ยาลั ยเว้ เมื องเว้ สาธารณรั ฐสั ง คมนิ ยมเวี ยดนาม ทั ้ ง นี ้ ได้ ร ั บเกียรติจ าก นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นหัวหน้าคณะ ฝ่ายไทย ประชุมร่วมกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการศึกษาและฝึกอบรมเวียดนาม อธิบดีกรมการอุดมศึกษาเวียดนาม ผู้แทน

คณะกรรมการการอุดมศึกษาฟิลปิ ปินส์ ผูแ้ ทนสถาบันอุดมศึกษาจากประเทศเวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไนดารุสซาลาม และผูแ้ ทน ศูนย์ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าด้วยการอุดมศึกษาและการพัฒนา (SEAMEO Regional Center for Higher Education and Development- SEAMEO RIHED) นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวถึงวัตถุประสงค์การประชุมครั้งนี้ ว่า เพื่อหารือ แนวทางการแลกเปลี่ยนนักศึกษาในรอบต่อไป แนวทางการดำเนินการในอนาคต และการร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิด ขึ้นในการดำเนินโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา ซึ่งในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ประเทศไทยได้ส่งนักศึกษาไปแลกเปลี่ยนภายใต้โครงการ AIMS รวม ๔๔ คน โดยส่งไปที่มหาวิทยาลัยในประเทศมาเลเซีย ๒๐ คน และมหาวิทยาลัยในประเทศอินโดนีเซีย ๒๔ คน และรับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยในประเทศมาเลเซีย ๒๔ คน และมหาวิทยาลัยในประเทศอินโดนีเซีย ๒๖ คน “ที่ประชุมได้ตกลงให้มีการขยายสาขาเพิ่ม ๒ สาขา คือ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และสาขาเศรษฐศาสตร์ สำหรับสาขา ย่อยให้เป็นการตกลงร่วมระหว่างสถาบัน นอกเหนือจากเดิมที่ดำเนินการใน ๕ สาขา ได้แก่ สาขาภาษาและวัฒนธรรม (Language and Culture) สาขาการเกษตร (Agriculture) สาขาเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์การอาหาร (Food Sciences and Technology) สาขาธุรกิจ ระหว่างประเทศ (International Business) และสาขาการบริการและการท่องเที่ยว (Hospitality and Tourism) ทั้งนี้ จำนวนนักศึกษาที่ สามารถส่งเข้าร่วมโครงการจากแต่ละประเทศ ขั้นต่ำประเทศละ ๕๐ คนต่อปี โดยอาจเป็นทุนสนับสนุนจากรัฐบาลและจากสถาบัน อุดมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ และจะมีการมอบประกาศนียบัตรการเข้าร่วมโครงการ (Certification of Completion) ให้นักศึกษาที่เข้าร่วม โครงการ ซึ่งมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการจะต้องเสนอโดยกระทรวงการศึกษาธิการหรือหน่วยงานที่ดูแลการอุดมศึกษาในแต่ละ ประเทศ สำหรับการจัดประชุมประเมินผลโครงการ AIMS ครั้งที่ ๕ จะจัดที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ประมาณเดือน มีนาคม ๒๕๕๖” รองเลขาธิการ กกอ. โครงการ AIMS หรือชื่อเดิมคือ M-I-T Student Mobility Programme เป็นการแลกเปลี่ยนนักศึกษาในระดับปริญญาตรีระหว่าง ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย ภายใต้เงื่อนไขการถ่ายโอนหน่วยกิต โดยสถาบันอุดมศึกษาไทยที่เข้าร่วมโครงการ AIMS มี ๖ แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประเทศอื่นๆ ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ ได้แก่ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ประเทศฟิลิปปินส์ และบรูไนดารุสซาลาม อนุสารอุดมศึกษา

9


เรื่องเล่าอาเซียน

การเกิ ดประชาคมอาเซี ย น กั บ การศึ ก ษาของประเทศไทย (๑๕) จากฉบับที่แล้ว‘อนุสารอุดมศึกษา’ ได้นำเสนอข้อมูลที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาดำเนินการ

ส่งเสริมและสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาจัดเตรียมความพร้อมด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพื่อเข้าสู่ประชาคม อาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ในส่วนของการจัดทำยุทธศาสตร์อุดมศึกษาไทยในการเตรียมความพร้อมสู่การเป็น ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ทั้ง ๓ ยุทธศาสตร์ที่สถาบันอุดมศึกษาไทยได้นำไปใช้เป็นกรอบแนวทางในการ จัดทำแผนปฏิบัติการรายสถาบัน ฉบั บ นี้ ‘อนุ ส ารอุ ด มศึ ก ษา’ ขอนำข้ อ มู ล ผลการดำเนิ นงานการเตรี ย มความพร้ อ มด้ า นการศึ ก ษาระดั บ อุดมศึกษาเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในส่วนของโครงการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษและภาษาของ ประเทศเพือ่ นบ้าน โครงการแลกเปลีย่ นนักศึกษาไทยและอาเซียน โครงการการแลกเปลีย่ นบุคลากรและนักศึกษาไทย กับประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โครงการ ASEAN International Mobility for Students มานำเสนอให้ผู้อ่านทราบ รายละเอียดดังนี้

โครงการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษและภาษาของประเทศเพื่อนบ้าน สกอ. ได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมและพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษและภาษาของประเทศเพื่อนบ้านให้แก่นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรด้านอุดมศึกษาไทย อันจะเป็นการสร้างศักยภาพของบัณฑิตในอนาคตให้มีความสามารถตอบสนองตลาด แรงงานและการเคลื่อนย้ายกำลังคนระหว่างสมาชิกของประชาคมอาเซียน และเป็นการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศเพื่อรองรับการประกาศใช้กฎบัตรอาเซียนที่มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศสมาชิกอาเซียนไปสู่ประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ โครงการนีม้ วี ตั ถุประสงค์หลักเพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพการเรียนการสอนภาษาอังกฤษและภาษาของประเทศเพือ่ นบ้าน ได้แก่ ภาษาพม่า ภาษาลาว ภาษาเขมร ภาษาเวียดนาม ภาษาบาฮาซามาเลเซีย และภาษาบาฮาซาอินโดนีเซีย และส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของ นักศึกษาในการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาของประเทศเพื่อนบ้านให้อยู่ในระดับที่ใช้ในการทำงานได้เป็นอย่างดี (Proficiency working Level) ในปีงบประมาณ ๒๕๕๕ สกอ. ได้สนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินโครงการที่ผ่านการคัดเลือก จำนวนรวม ๕๓ โครงการ แบ่งเป็น • โครงการวิจัยเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับการทำงานในประชาคมอาเซียน จำนวน ๖ โครงการ • โครงการวิจัยเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้าน จำนวน ๑๐ โครงการ • โครงการจัดทำหลักสูตรร่วมเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษและภาษาของประเทศเพื่อนบ้าน จำนวน ๘ โครงการ • โครงการกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาของประเทศเพื่อนบ้านให้แก่นักศึกษาและ อาจารย์ จำนวน ๒๙ โครงการ การนำไปใช้ประโยชน์ ๑. อาจารย์ บุคลากร และสถาบันอุดมศึกษาไทยได้ผลการวิจัยที่จะนำไปใช้เป็นแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนภาษา อังกฤษและภาษาประเทศเพื่อนบ้านให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและมีผลในทางปฏิบัติจริง ๒. อาจารย์ บุคลากร และสถาบันอุดมศึกษาไทยได้หลักสูตรร่วมระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยกับสถาบันอุดมศึกษาในกลุ่ม ประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษและภาษาประเทศเพื่อนบ้านให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ๓. อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาไทยที่เข้าร่วมโครงการได้พัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ และภาษาของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญของภาษาอังกฤษและภาษาของ ประเทศเพื่อนบ้าน อันจะนำไปสู่การตอบสนองตลาดแรงงานและการเคลื่อนย้ายกำลังคนระหว่างสมาชิกของประชาคมอาเซียน

10

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องเล่าอาเซียน

โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาไทยและอาเซียน ในปีงบประมาณ ๒๕๕๕ สกอ. ได้ริเริ่มโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาไทยและอาเซียน เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การรวมตัว เป็นประชาคมอาเซียน พัฒนาศักยภาพนักศึกษาไทยให้พร้อมกับการแข่งขันในตลาดแรงงานในภูมิภาค และส่งเสริมการถ่ายโอน หน่วยกิตกลับมายังสถาบันอุดมศึกษาไทย รวมทั้งใช้การศึกษานำไปสู่การกระชับความสัมพันธ์กับประเทศสมาชิกอาเซียน กิจกรรมหลักของโครงการ คือ การจัดสรรทุนให้นักศึกษาที่ศึกษาในระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ ๒ ขึ้นไป จากสถาบัน อุดมศึกษาไทยไปศึกษาเป็นระยะเวลา ๑ ภาคการศึกษา แต่ไม่เกิน ๔ เดือน อย่างน้อย ๒ รายวิชา ในสถาบันอุดมศึกษาของ ประเทศสมาชิกอาเซียน ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม และถ่ายโอน หน่วยกิตกลับมายังสถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัดในประเทศไทยอย่างน้อย ๖ หน่วยกิต สกอ. ได้สนับสนุนให้นักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาไทยไปเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาไทยและอาเซียน ประจำปี ๒๕๕๕ รวมทั้งสิ้น ๓๙ คน ประเทศที่นักศึกษาไทยไปแลกเปลี่ยน ได้แก่ เวียดนาม ๒๐ คน อินโดนีเซีย ๑๓ คน มาเลเซีย ๓ คน ฟิลิปปินส์ ๒ คน และ กัมพูชา ๑ คน การนำไปใช้ประโยชน์ ๑. นักศึกษาไทยได้พัฒนาศักยภาพทางวิชาการและทักษะที่จำเป็นในการเข้าสู่ตลาดแรงงานในอาเซียน ๒. นักศึกษาไทยสามารถถ่ายโอนหน่วยกิตกลับมายังสถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัด โครงการการแลกเปลี่ยนบุคลากรและนักศึกษาไทยกับประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง สกอ. ได้ดำเนินโครงการแลกเปลี่ยนบุคลากรและนักศึกษาไทยกับประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตั้งแต่ปี ๒๕๔๓ เพื่อ

ส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยและสถาบันอุดมศึกษาในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (กัมพูชา พม่า ลาว เวียดนาม ไทย และจีน เฉพาะมณฑลยูนนานและมณฑลกวางสี) และส่งเสริมมิตรภาพและความเข้าใจระหว่างกัน รวมทั้ง ช่วยส่งเสริมบทบาทของประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางเครือข่ายทางวิชาการระดับอุดมศึกษาของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง กิ จ กรรมภายใต้ โ ครงการแลกเปลี ่ ย นบุ ค ลากรและนั ก ศึ ก ษาไทยกั บ ประเทศอนุ ภู ม ิ ภ าคลุ ่ ม แม่ น ้ ำ โขง ประกอบด้ ว ย

การแลกเปลี่ยนคณาจารย์ นักวิชาการ นักศึกษา ข่าวสารข้อมูลและการวิจัยร่วมระดับอุดมศึกษาระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของ ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยเป็นการให้ทุนแลกเปลี่ยนสองทาง ในปีงบประมาณ ๒๕๕๕ มีผู้ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน ๓๐ คน จำแนกเป็น บุคลากรไทย จำนวน ๔ คน บุคลากรจากประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง จำนวน ๘ คน นักศึกษาไทย จำนวน ๑๖ คน และนักศึกษาจากประเทศอนุภูมิภาค ลุ่มแม่น้ำโขง จำนวน ๒ คน การนำไปใช้ประโยชน์ ๑. สถาบันอุดมศึกษาไทยได้ใช้กิจกรรมการแลกเปลี่ยนสร้างและขยายความร่วมมือระดับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ ๒. นักศึกษาและบุคลากรได้มีความเข้าใจด้านความแตกต่างทางภาษา สังคม วัฒนธรรมและความเป็นอยู่ ซึ่งจะช่วยให้ เกิดการปรับตัวเพื่อทำงานในสังคมพหุวัฒนธรรมในอนาคต โครงการ ASEAN International Mobility for Students สกอ. ร่วมกับศูนย์ระดับภูมิภาคของซีมีโอว่าด้วยการอุดมศึกษาและการพัฒนา (SEAMEO RIHED) ดำเนินโครงการนำร่อง การแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างมาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ เพื่อส่งเสริมให้การแลกเปลี่ยนนักศึกษา สามารถเป็นตัวกระตุ้นการถ่ายโอนหน่วยกิตระหว่างกัน และผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาในภูมิภาค ผู้แทนประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย ได้ตกลงให้มีการแลกเปลี่ยนนักศึกษาในระดับปริญญาตรี ใน ๕ สาขาวิชา ได้แก่ Agriculture, Language/Culture, Hospitality & Tourism, International Business, Food Science & Technology และตั้ง

เป้าหมายว่าให้แต่ละประเทศส่งนักศึกษาเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนประเทศละ ๕๐ คน เป็นเวลา ๑ ภาคการศึกษา และให้มี การถ่ายโอนหน่วยกิตระหว่างกันอย่างน้อย ๑๘ หน่วยกิต โดย สกอ. ได้สนับสนุนงบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายรายเดือน ค่าบัตร โดยสารเครื่องบินไป - กลับ (ชั้นประหยัด) และค่าประกันสุขภาพ นอกจากนี้มีแผนขยายกรอบในการแลกเปลี่ยนไปจนครบ

๑๐ ประเทศอาเซียนภายในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ในปี ง บประมาณ ๒๕๕๕ สกอ. ได้ ส นั บ สนุ นงบประมาณในการส่ ง นั ก ศึ ก ษาไทย จำนวน ๔๓ คน จากจุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เดินทางไปแลกเปลี่ยน ณ มหาวิทยาลัย ประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย เป็นเวลา ๑ ภาคการศึกษา

อนุสารอุดมศึกษา

11


เรื่องพิเศษ สำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา โดย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นเจ้าภาพจัดงานดนตรี ไทยอุ ด มศึ ก ษา ครั ้ ง ที ่ ๓๙ เฉลิ ม พระเกี ย รติ พ ระบาท สมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ ห ั ว ทรงเจริ ญ พระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ ๕๗ พรรษา ระหว่างวันที่ ๒๘ - ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ณ สนามกลาง หม่ อ มราชวงศ์ จ ุ ร ี พ รหม กมลาศน์ มหาวิ ท ยาลั ย ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร วันศุกร์ที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิ ด งานดนตรี ไ ทยอุ ด มศึ ก ษา ครั ้ ง ที ่ ๓๙ โดยมี

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เฝ้ารับเสด็จฯ

12

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องพิเศษ

ในโอกาสนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงขั บ ร้ อ งนำเพลง ‘ลาวสมเด็ จ ’ ร่ ว มกั บ วงมหาดุ ร ิ ย างค์

รวมสถาบัน ๙๘๕ คน และทรงระนาดเอก เพลงโหมโรงมหาราช ร่วมกับวงมหาดุริยางค์ทั้งนี้ ทรงมีพระราชดำรัสเปิดงานดนตรีไทย อุดมศึกษา ครั้งที่ ๓๙ ความว่า

ข้าพเจ้ายินดีทไี่ ด้มาเปิดงานดนตรีไทยอุดมศึกษา ครัง้ ที่ ๓๙ ทีม่ หาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเป็นเจ้าภาพ จัดขึน้ ในโอกาสนี้ กิจกรรมดนตรีไทยอุดมศึกษา นอกจากจะมีผลดี ในทางช่วยส่งเสริมและเผยแพร่ศลิ ปะของชาติ ยังเป็น โอกาสให้นักศึกษาผู้มีเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะสืบทอด มรดกของชาติ ได้ ม าพบปะแลกเปลี่ ย นเรี ย นรู้ ซึ่ ง

กันและกัน ทำให้เกิดความเป็นมิตร ความสัมพันธ์ที่ดี โดยมีดนตรีไทยเป็นสือ่ กลาง นำให้ทกุ คนมารวมตัวกัน มิตรภาพและสัมพันธภาพที่เกิดขึ้น จะสามารถขยาย ไปสู่ ค วามร่ ว มมื อ ในด้ า นอื่ น ๆ หรื อ การช่ ว ยเหลื อ เกื้อกูลในทางที่เป็นคุณประโยชน์แก่ตัวนักศึกษาเอง ตลอดจนสังคมในวันข้างหน้า นักศึกษาที่มีส่วนร่วม ในการจั ด งาน ก็ จ ะได้ รั บ ประสบการณ์ ด้ า นการ ทำงาน ที่จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็ง ช่วยพัฒนา ความคิ ด จิ ต ใจ อารมณ์ และวิ จ ารณญาณในการ ตัดสินหรือแก้ไขปัญหา เป็นประสบการณ์ที่มีคุณค่า และสามารถใช้ในชีวิตจริง โดยประการดังกล่าวมา ถ้อยคำที่กวีเอกของไทยรจนาไว้ว่า “อันดนตรีมีคุณ ทุกอย่างไป” จึงมิใช่คำกล่าวอ้างที่เกินความเป็นจริง ข้าพเจ้าขอเปิดงานดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ ๓๙ ณ บั ด นี้ ขอให้ ง านประสบผลสำเร็ จ สมดั ง ที ่ มุ่งหมายไว้ทุกประการ และขอให้ทุกๆ ท่านที่มาร่วม ในงานประสบแต่ ค วามสุ ข สวั ส ดี และความเจริ ญ รุ่งเรืองจงทุกเมื่อทั่วกัน.

อนุสารอุดมศึกษา

13


เรื่องพิเศษ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการ

คณะกรรมการอุ ด มศึ ก ษา เข้ า รั บ พระราชทานของที ่ ร ะลึ ก จาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานดนตรีไทย อุดมศึกษา ครั้งที่ ๓๙ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยมหาวิ ท ยาลั ย ศรี น คริ น ทรวิ โ รฒ เป็ น เจ้ า ภาพจั ด งาน

ณ สนามกลางหม่อมราชวงศ์ จุรีพรหม กมลาศน์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ

สำหรับการจัดงานดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ ๔๐ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๗ นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา

ได้กล่าวในพิธีส่งมอบตราสัญลักษณ์เจ้าภาพงานดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ ๔๐ ว่า ตามมติคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานการจัดงานดนตรีไทย อุดมศึกษา ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้อนุมัติให้มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นเจ้าภาพจัดงานดนตรีไทยอุดมศึกษา ครัง้ ที่ ๔๐ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๗ โดยกำหนดจัดงาน ณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม และ หวังเป็นอย่างยิ่งว่ามหาวิทยาลัยมหาสารคามจะได้ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา ทุกแห่ง จัดกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์และส่งเสริมดนตรีไทย อันเป็นมรดกของ ชาติให้แพร่หลายยิ่ง ๆ ขึ้นไป

14

อนุสารอุดมศึกษา


(๒)

จากฉบับที่แล้ว ‘อนุสารอุดมศึกษา’ ได้นำรายละเอียดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาเพื่อสร้าง ความเป็นพลเมือง พ.ศ. ๒๕๕๓ - ๒๕๖๑ มานำเสนอให้ผู้อ่านทราบไปแล้วเบื้องต้น ฉบับนี้ขอนำรายละเอียดของยุทธศาสตร์ที่ ๑ เกี่ยวกับการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองสำหรับเด็ก และเยาวชน ซึ่งจะมี ๒ มาตรการ คือ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : การศึกษา เพื่อความเป็นพลเมืองในสถานศึกษา และ ระดับอุดมศึกษา : การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองในวิทยาลัย และมหาวิทยาลัย ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองสำหรับเด็ก และเยาวชน กระทรวงศึกษาธิการ โดยเฉพาะสถานศึกษา ถือเป็นหน่วยงานหลักในการจัด “การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมือง” เพื่อสร้างเด็ก และเยาวชนรุ่นใหม่ของประเทศไทยให้เป็นพลเมือง โดยจะต้องดำเนินการทั้งในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับอุดมศึกษา ทั้งใน ระบบและนอกระบบด้วยมาตรการดังต่อไปนี้ ๑) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองในสถานศึกษา (๑) เร่งให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรในสถานศึกษา ตั้งแต่ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาทุกคนโดยเน้นการเป็นผู้สอน และการเป็นผู้ปฏิบัติ “ความเป็นพลเมือง” เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับผู้เรียนแทนการสอนให้รู้ ให้จำแบบดั้งเดิม (๒) ปรับและทบทวน เนื้อหาสาระ การเรียนรู้ในวิชาหน้าที่พลเมืองที่เน้น “ความรู้” ในเรื่องรัฐธรรมนูญ และการเมืองการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ให้เหลือเท่าที่จำเป็นและเหมาะสมกับช่วงวัยของผู้เรียน สำหรับ เนื้อหาในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน ให้นำมาสอนเฉพาะมาตราสำคัญที่เป็นพื้นฐานเท่านั้น (๓) พัฒนากระบวนการเรียนการสอนและกิจกรรม ในเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองและความเป็นประชาธิปไตย ให้กับผู้เรียน โดยจัดให้เหมาะสมกับระดับชั้นและช่วงวัยของนักเรียน เน้นกระบวนการกลุ่ม และฝึกฝนให้นักเรียนเกิดทักษะที่เป็นพื้นฐาน ของความเป็นพลเมือง คือ การรับฟังผู้อื่น การเคารพผู้อื่นว่าเสมอกับตนเอง การเคารพความคิดเห็นที่แตกต่าง การคิดวิเคราะห์เชื่อมโยง ปัญหาและเชื่อมโยงตนเองกับปัญหา สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่น โดยแยกแยะ “ข้อเท็จจริง” ที่เป็นวัตถุวิสัย (objective) กับ “ความคิดเห็น” ที่เป็นอัตวิสัย (subjective) มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น คำนึงถึงส่วนรวม และมีความรับผิดชอบต่อ ตนเอง ต่ อ ผู ้ อ ื ่ น และต่ อ สั ง คม ผ่ า นการลงมื อ ทำโครงการ/กิ จ กรรมต่ า งๆ ที ่ ส ถานศึ ก ษาและผู ้ ป กครองมี ส ่ ว นร่ ว ม เพื ่ อ ให้

ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองให้เป็นพลเมือง ซึ่งสามารถจัดเนื้อหาและกิจกรรมให้เหมาะสมกับระดับชั้นและช่วงวัยของนักเรียนได้ดังต่อไปนี้ ชั้นอนุบาล : ฝึกฝนการเคารพกติกาแบบง่ายๆ ที่ปฏิบัติอยู่แล้วในห้องเรียนอนุบาล เช่น การอยู่ร่วมกับผู้อื่นใน สังคม การแบ่งปัน รอคอย ขอโทษ ให้อภัย รวมถึงไม่ใช้ความรุนแรงเมื่อเกิดความขัดใจ ความขัดแย้ง และเริ่มฝึกฝนให้นักเรียนมี ความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อเพื่อนๆ ต่อห้องเรียนแบบง่ายๆ สนุกสนาน เพื่อสร้างต้นทุนการเป็นพลเมืองให้กับนักเรียนตัวน้อย โดย ครูและผู้ปกครองต้องเป็นตัวแบบที่สะท้อนทัศนคติ วิธีคิด การแสดงออกทางพฤติกรรมและการพูดคุยเจรจาเป็นหลัก หรือไม่เน้นการ อบรมสั่งสอน แต่เน้นเรื่องวิถีชีวิตและการถ่ายทอดทางจิตวิญญาณ ชั้นประถมศึกษา : ฝึกฝนในเชิงต่อยอดจากระดับอนุบาล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อสังคม การเคารพกติกา เคารพสิทธิผู้อื่น เคารพความแตกต่าง ทั้งมิติที่เห็นด้วยตาและมิติความคิด เคารพหลักความเสมอภาค และการแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยไม่ใช้กำลัง และช่วงนี้เป็นช่วงที่ก้าวสู่การฝึกฝนนักเรียนให้เป็น “พลเมืองของโรงเรียน” ได้ดีโดย เฉพาะการฝึกให้นักเรียนมีความคิดเชื่อมโยงระหว่างตนเองกับสังคม รวมถึงการไม่สร้างภาระ สร้างปัญหาให้โรงเรียนและสังคม

ขณะเดียวกันก็ให้เห็นมิติที่เป็นพลังด้วย ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น : ฝึกฝนให้เป็น “พลเมืองของโรงเรียน” ในระดับสูงขึ้น เป็นรูปธรรมขึ้น เช่น คิดถึงส่วนรวม มีจิตสาธารณะ ด้วยการให้ทำ “โครงงาน” เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียน ซึ่งเป็นปฏิบัติการที่เริ่มต้นจากตนเอง สำหรับ เนื้อหาและกระบวนการที่ต้องต่อยอดต่อไป นั่นคือ ฝึกฝนการเคารพกฎหมาย การใช้สิทธิเสรีภาพโดยไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของ ประชาชน ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๘ ชั ้ น มั ธ ยมศึ ก ษาตอนปลาย / ประกาศนี ย บั ต รวิ ช าชี พ (ปวช.) : ให้ ท ำโครงงานแก้ ป ั ญ หาที ่ เ กิ ด ขึ ้ น ในสั ง คม

ซึ่งนอกจากจะทำในโรงเรียนแล้ว ให้นักเรียนได้ออกมาสัมผัสกับปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมด้วย เริ่มจากชุมชนที่อยู่รอบๆ โรงเรียน โดยให้ มีการลงมือทำและเชื่อมโยงกับกิจกรรมจิตอาสาหรือบำเพ็ญประโยชน์ของโรงเรียน ให้ฝึกฝน “การปกครองตนเอง” ตามระบอบ ประชาธิปไตย โดยเชื่อมโยงสภานักเรียน และการเลือกตั้งสภานักเรียนกับการเรียน และทำให้ประชาธิปไตยเป็นวิถีชีวิตในโรงเรียน

อนุสารอุดมศึกษา

พูดคุยเรื่องมาตรฐาน

ยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาเพื่ อ สร้ า งความเป็ น พลเมื อ ง

15


พูดคุยเรื่องมาตรฐาน

16

รูปแบบการเรียนการสอนระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน เน้นการเรียนรู้แบบกลุ่ม (Group Learning) แบบแลกเปลี่ยน เรียนรู้ (Show and Share) โดยอาศัยฐานการเรียนรูบ้ นสถานการณ์จริง บริบทจริงในชุมชน ในย่านทีอ่ ยูอ่ าศัยของนักเรียน ในท้องถิน่ ฯลฯ (๔) จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารสถานศึกษาต้องบริหารสถานศึกษา และสร้างวิถีชีวิตและบรรยากาศในสถานศึกษาให้เป็น ประชาธิปไตย หรือเป็นต้นแบบในการเป็น “พลเมือง” ที่สำคัญคือ การทำงานในเชิงแนวระนาบ โดยรับฟังความคิดเห็นของครูและ ผู้ใต้บังคับบัญชา เคารพครูและผู้ใต้บังคับบัญชา ในฐานะเพื่อนร่วมงาน ไม่เน้นสั่งการแบบอำนาจนิยมแนวดิ่ง แต่ใช้หลักการ บริหารแบบมีส่วนร่วมทั้งระดับบุคลากร และระดับนักเรียน (๕) ให้สถานศึกษาบูรณาการสาระความเป็นพลเมืองในส่วนที่หลักสูตรกำหนดให้สถานศึกษาจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ เชื่อมโยงกับวิถีชีวิต เน้นปฏิบัติการทั้งในและนอกโรงเรียน ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓๐ ของเวลาเรียน นอกเหนือจากกิจกรรมลูกเสือ และเนตรนารี ที่ต้องให้ความสำคัญในการนำไปสู่การสร้างความเป็นพลเมืองอย่างจริงจัง รวมทั้งต้องบูรณาการกับวิชาอื่นๆ และ เรื่องอื่นๆ ในโรงเรียน เป้าหมายคือ ทำให้ “ประชาธิปไตย” และ “ความเป็นพลเมือง” เป็นเรื่อง “วิถีชีวิต” เป็นวัฒนธรรมของ โรงเรียน ที่สอดแทรกในทุกกิจกรรมตั้งแต่เข้าแถวเคารพธงชาติ ในโรงอาหาร ในสนามกีฬา ฯลฯ โดยที่ผู้บริหาร ครู และบุคลากร ทางการศึกษา เป็นตัวอย่างและแรงบันดาลใจของความเป็นพลเมืองให้กับผู้เรียน (๖) ให้ผู้บริหาร และศึกษานิเทศก์เขตพื้นที่การศึกษา เป็นแกนนำ ในการเป็นตัวอย่างความเป็นพลเมืองและประสานการ ดำเนินงาน ติดตาม ประเมินผล “ความเป็นพลเมือง” ของนักเรียนในเขตพื้นที่การศึกษา โดยใช้กระบวนการประชาธิปไตย และ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนในเขตการศึกษา รวมถึงการเรียนรู้จากโรงเรียนที่เป็นแบบอย่างที่ดี ส่วนการประเมินผล

ให้วัดที่การเปลี่ยนแปลงทางความคิดและพฤติกรรม ที่เกิดขึ้นกับตัวนักเรียน หรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโรงเรียน หลังจาก

โรงเรียนมีนักเรียนที่มีความเป็น พลเมืองเพิ่มมากขึ้น (๗) จัดให้มี “คู่มือการจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในเชิงกระบวนการ” รวมถึงสื่อประกอบกิจกรรม เชิงปฏิบัติการที่หลากหลาย เพื่อให้การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมือง ปรากฏผลในวิถีชีวิตอย่างเป็นรูปธรรม (๘) ให้มีหน่วยงานรับผิดชอบ ติดตามประเมินผล เพื่อคัดเลือกกรณีตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ (Best Practice) และ ดำเนินการหาโรงเรียนตัวอย่างที่มีปฏิบัติการดีที่สุด (Best Practice) ทั้งในด้านเนื้อหาและกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเป็นพลเมือง เพื่อเผยแพร่และขยายผลต่อไป ๒) ระดับอุดมศึกษา : การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองในวิทยาลัย และมหาวิทยาลัย (๙) สถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ส่งเสริมหรือกำหนดให้มี “วิชาพลเมือง” ในหลักสูตร “วิชาศึกษาทั่วไป” (General Education) ซึ่งนิสิต นักศึกษาทุกคนต้องเรียน โดยอาจเป็นวิชาเฉพาะขึ้นมาใหม่ หรือปรับวิชาที่มีอยู่แล้วให้เป็นวิชา พลเมือง เพื่อสร้างนิสิต นักศึกษาให้เป็นพลเมืองที่เคารพผู้อื่น เคารพกติกา มีความรับผิดชอบต่อสังคม และเข้าใจเรื่องการ ปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยการลงมือปฏิบัติ เพื่อการเป็นพลเมืองในวิทยาลัย/มหาวิทยาลัย การเลือกตั้งและการปกครอง ตนเองของนิสิต นักศึกษา ทั้งในรูปสภานักเรียน /องค์กรนิสิตนักศึกษา อันจะส่งผลให้เป็นพลเมืองของชุมชนและของประเทศต่อไป ทั้งนี้ ให้สถาบันการศึกษามีอิสรภาพในการเลือกใช้วิธีการและกระบวนการเรียนการสอนเพื่อสร้าง “พลเมือง” โดยหน่วยงาน

ต้นสังกัด จะไม่ใช่ผู้กำหนดวิธีการเรียนการสอน แต่จะทำหน้าที่อำนวยการและให้ความสนับสนุน ได้แก่ การจัดทำคู่มือเพื่อเป็น

คำแนะนำและแนวทางสำหรับเลือกมาใช้ ตลอดจนจัดอบรมให้ โดยในการติดตามผลจะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการเรียนรู้ และการ ประเมินผลจะมุ่งเน้นไปที่ผลที่เกิดกับตัวนักศึกษาและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดในสถาบันการศึกษาเมื่อมีพลเมืองเพิ่มมากขึ้น (๑๐) สถาบันอุดมศึกษาเปลี่ยนการเรียนการสอนให้เป็น Service Learning หรือการเรียนเพื่อนำไปบริการสังคม และการ บริการสังคมเพื่อนำมาเรียน โดยการทำวิชา “จริยธรรมวิชาชีพ” หรือวิชา “จริยธรรม” ของแต่ละคณะ ให้เป็น Service Learning โดยการใช้ “ปัญหา” เป็นตัวตั้ง (problem based) ให้นักศึกษาลงชุมชนรอบๆ วิทยาลัย/มหาวิทยาลัย ให้ประมวล “ความรู้” ตาม สาขาวิชาที่ได้เรียนมา นำมาใช้ในการวิเคราะห์ปัญหา หาสาเหตุ เสนอวิธีแก้ไข และลงมือปฏิบัติ โดยให้เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ “หนึ่งจังหวัด-หนึ่งมหาวิทยาลัย” เพื่อให้เกิดจริยธรรมในการประกอบอาชีพ ความรับผิดชอบต่อสังคม และการเป็น “พลเมือง” โดยการลงมือปฏิบัติ สำหรับรายละเอียดยุทธศาสตร์ที่ ๒ การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองสำหรับผู้ใหญ่ ครอบครัว และชุมชนยุทธศาสตร์ที่ ๓ การสร้างพลเมืองในวงกว้างและการสร้างความตระหนักในสังคมโดยใช้สื่อมวลชน และยุทธศาสตร์ที่ ๔ การเชื่อมประสาน

เครือข่ายภาครัฐและเอกชน ‘อนุสารอุดมศึกษา’ จะนำเสนอต่อในฉบับหน้า

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องแนะนำ

กีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน ASEAN University Games (AUG) เกิดขึ้นได้โดยอาศัยความร่วมมือทางด้าน การเมืองเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน จนในปี ๒๕๒๓ ได้เกิดองค์กรด้านการกีฬาในกลุ่มนิสิต

นักศึกษาของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน โดยใช้ชื่อ ‘สภากีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน’ (The ASEAN University Sports Council (AUSC) และได้เริ่มจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยอาเซียนครั้งแรก ในปี ๒๕๒๓ โดยมอบหมายให้ประเทศไทย เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน สภากีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน มีสมาชิกทั้งสิ้น ๑๑ ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย บรูไนดารุสซาลาม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และไทย สภากี ฬ ามหาวิทยาลัย อาเซีย น ได้จัด การแข่ง ขั นกี ฬามหาวิ ทยาลั ยอาเซี ยนมาแล้ ว จำนวน ๑๕ ครั ้ ง โดยหมุ นเวียน

ผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพทุก ๒ ปี

ครั้งที่ ปี เจ้าภาพ ๑ พ.ศ. ๒๕๒๓ ประเทศไทย (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) ๒ พ.ศ. ๒๕๒๕ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ๓ พ.ศ. ๒๕๒๗ ประเทศมาเลเซีย ๔ พ.ศ. ๒๕๒๙ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ๕ พ.ศ. ๒๕๓๑ ประเทศไทย (มหาวิทยาลัยบูรพา) ๖ พ.ศ. ๒๕๓๓ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕ ประเทศมาเลเซีย ๘ พ.ศ. ๒๕๓๗ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ๙ พ.ศ. ๒๕๓๙ บรูไนดารุสซาลาม ๑๐ พ.ศ. ๒๕๔๒ ประเทศไทย (มหาวิทยาลัยรามคำแหง) ๑๑ พ.ศ. ๒๕๔๔ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๗ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ๑๓ พ.ศ. ๒๕๔๙ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ๑๔ พ.ศ. ๒๕๕๑ ประเทศมาเลเซีย ๑๕ พ.ศ. ๒๕๕๓ ประเทศไทย (จังหวัดเชียงใหม่) ๑๖ พ.ศ. ๒๕๕๕ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

อนุสารอุดมศึกษา

17


เรื่องแนะนำ

สำหรับการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน ครั้งที่ ๑๖ สภากีฬามหาวิทยาลัยอาเซียนได้มอบหมายให้สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นเจ้าภาพจัดขึ้น ระหว่างวันที่ ๑๒ - ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๕ ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน ลาว โดยจัดการแข่งขันทั้งสิ้น ๑๗ ชนิดกีฬา จำนวน ๒๔๕ เหรียญ คณะกรรมการบริหารกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการเตรียมการและคัดเลือกนักกีฬา เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน ครั้งที่ ๑๖ ดำเนินการพิจารณาคัดเลือกนิสิต นักศึกษา เพื่อเป็นตัวแทนนักกีฬาเข้า ร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน ครั้งที่ ๑๖ รวมทั้งสิ้นจำนวน ๑๖ ชนิดกีฬา ได้แก่ ฟุตบอล เซปักตะกร้อ กรีฑา ว่ายน้ำ บาสเกตบอล วอลเลย์บอล วอลเลย์บอลชายหาด แบดมินตัน เทนนิส เทเบิลเทนนิส เปตอง เทควันโด ยูโด คาราเต้-โด ปันจักสีลัต และมวย โดยมีคณะนักกีฬา และเจ้าหน้าที่ไทย เข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ รวมจำนวน ๓๙๓ คน

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย...

ตราสัญลักษณ์ (Logo) เป็นพญานาค (‘Nark’ or ‘Naga’) ซึ่งถือ เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ของชาวอาเซียน เป็นสัตว์ที่เต็มไปด้วยพลังอำนาจ และเชื่อกันว่าช่วยปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย พญานาคปรากฏในตำนานของลาว เมื ่ อ ๔๕๐ ปี ท ี ่ แ ล้ ว ก่ อ นการก่ อ ตั ้ ง เมื อ งเวี ย งจั นทร์ และดอกจำปา

(ดอกลีลาวดี) เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ประจำชาติลาวที่มีความสวยงาม เต็มไปด้วยความหอม และความเป็นมงคล การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยอาเซียนในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายในการ สร้ า งความเป็ น อั น หนึ ่ ง อั น เดี ย วกั น มิ ต รภาพ และสั นติ ส ุ ข ภายใน ประชาคมอาเซียน ดังคำขวัญที่ว่า ‘We are ASEAN Family’

สัตว์นำโชค (Mascots) คือ ผึ้งซึ่งเป็นแมลงแห่ง ความสงบสุ ข ผึ ้ ง จะปกป้ อ งตั ว เองจากสิ ่ ง รบกวน ภายนอกและอั นตรายต่ า งๆ ผึ ้ ง ทำงานเป็ นที ม ด้ ว ย ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สัตว์นำโชคประจำการ แข่งขันครั้งนี้ มี ๒ ตัว คือ ‘สันติภาพ’ ซึ่งแสดงถึง สันติสุขระหว่างชาติอาเซียน และ ‘มิตรภาพ’ ซึ่งแสดง ถึงมิตรภาพที่ดีระหว่างชาติอาเซียน

18

อนุสารอุดมศึกษา


เหตุการณ์เล่าเรื่อง

แนวปฏิบัติที่ดีในการนำความรู้ด้านการประกั นคุ ณ ภาพ ไปใช้ในการดำเนินกิ จ กรรมนิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา ระดับอุดมศึกษา จากพิธีประกาศเกียรติคุณโครงการนิสิตนักศึกษาที่มีแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practices) ในการนำความรู้ด้านการประกันคุณภาพ ไปใช้ในการดำเนินกิจกรรมนิสิตนักศึกษา ระดับอุดมศึกษา ในการประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง การประกันคุณภาพการศึกษา :

สู่มาตรฐานคุณภาพการศึกษาอาเซียน ณ ห้องแกรนด์ ไดมอนด์ บอลรูม เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ที่ผ่านมา ‘อนุสารอุดมศึกษา’ จึงขอนำรายละเอียดประกาศเกียรติคุณผลงานคุณภาพโครงการนิสิตนักศึกษาที่มีแนวปฏิบัติที่ดี ในการนำ ความรูด้ า้ นประกันคุณภาพไปใช้ในการดำเนินกิจกรรมนิสติ นักศึกษา ระดับอุดมศึกษา ทีไ่ ด้รบั รางวัล ๘ โครงการ แบ่งเป็นประเภทดีเด่น ประเภทดี และประเภทชมเชย ซึ่งสมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินกิจกรรมนิสิตนักศึกษาใน สถาบันอุดมศึกษาอื่นต่อไป มีดังต่อไปนี้ โครงการ

สถาบันอุดมศึกษา

ประเภทดีเด่น จำนวน ๓ รางวัล คือ

โครงการผลิตยารักษาน้ำกัดเท้าและตะไคร้หอมไล่ยุงเพื่อผู้ประสบอุทกภัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โครงการชาวจุฬาฯ รวมใจ ช่วยภัยน้ำท่วม

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โครงการเส้นทางสู่แชมป์โลกหุ่นยนต์ ๔ สมัย: ชัยชนะสู่การพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเภทดี จำนวน ๑ รางวัล คือ

โครงการพัดลมไล่ยุงเพื่อสุขภาพ บ้านห้วยระย้า

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช

ประเภทชมเชย จำนวน ๔ รางวัล คือ

โครงการส่งเสริมศักยภาพนิสิต (SIFF KU) ต่อยอดองค์ความรู้ สู่การพัฒนาคุณภาพ ชีวิตอย่างยั่งยืน

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โครงการ นนส.ร่วมใจ ใส่ใจสุขภาพประชาชน ภายใต้กิจกรรม “เรียนรู้เท่าทันสิทธิ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”

มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

โครงการ “รำไทย ป้องกันข้อไหล่ติด”

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท

โครงการ วศม. ห่วงใย ขับขี่ปลอดภัยใส่ใจสังคม

วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม

อนุสารอุดมศึกษา

19


เหตุการณ์เล่าเรื่อง

20

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษามีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนให้นิสิตนักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน

ด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถาบันอุดมศึกษา ในฐานะที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง เพื่อให้เป็นพลังผลักดันงาน ประกันคุณภาพการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น และมุ่งหวังในสถาบันอุดมศึกษามีการดำเนินการถ่ายทอด องค์ความรู้ในระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบัน เพื่อให้นิสิตนักศึกษาได้มีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะและมีส่วนร่วม ในการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อส่งเสริมการประกันคุณภาพของสถาบันให้เข้มแข็ง รวมทั้งจัดระบบให้ทุกกิจกรรมหรือ โครงการของนักศึกษามีการประกันคุณภาพทุกกิจกรรมหรือโครงการ สกอ.ได้ดำเนินโครงการประกวดแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practices) ในการนำความรู้ด้านการประกันคุณภาพไปใช้ในการ ดำเนินกิจกรรมนิสิตนักศึกษา ระดับอุดมศึกษา โดยเป็นกิจกรรมการพัฒนานิสิตนักศึกษาทั้ง ๕ ด้าน ได้แก่ กิจกรรมวิชาการที่ ส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ กิจกรรมกีฬาหรือการส่งเสริมสุขภาพ กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์หรือรักษาสิ่งแวดล้อม กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม และกิจกรรมส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม ต่อเนื่องเป็นปีที่ ๒ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ

๔ ประการ คือ (๑) เพื่อเป็นเวทีคุณภาพในการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการนำความรู้ด้านการประกันคุณภาพไปใช้ใน การดำเนินกิจกรรมนิสิตนักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ (๒) เพื่อแสวงหารูปแบบและแนวปฏิบัติที่ดีในการนำความรู้ด้าน การประกันคุณภาพไปใช้ในการดำเนินกิจกรรมของนิสิตนักศึกษา (๓) เพื่อเป็นการกระตุ้นให้นิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษาให้ ความสำคัญกับการดำเนินกิจกรรมตามระบบและกลไกคุณภาพ (๔) เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับสถาบันอุดมศึกษาอื่นในการจัด กิจกรรมประกันคุณภาพการศึกษาแก่นิสิตนักศึกษา ในการประกวดครั้งนี้ มีสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาที่แสดงความจำนงส่งกิจกรรมนักศึกษาเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น ๓๑ สถาบัน ๕๕ โครงการ เป็นสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน ๑๘ แห่ง ๓๓ โครงการ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน ๑๓ แห่ง ๒๒ โครงการทั้งนี้ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการประกันคุณภาพการศึกษาและการพัฒนากิจกรรม นิสิต/นักศึกษา ได้คัดเลือกผลงาน โดยพิจารณาจากเอกสารโครงการที่นำเสนอประกอบด้วยบทสรุป ที่มาและความสำคัญของ โครงการ วัตถุประสงค์และเป้าหมาย การดำเนินโครงการตามวงจรคุณภาพ (PDCA) หลักฐานที่แสดงถึงผลความสำเร็จของ โครงการจนเป็นที่ยอมรับในระดับสถาบัน ระดับชาติหรือระดับนานาชาติ และแนวทางที่จะพัฒนาต่อไปในอนาคต รวมถึงการ

นำเสนอด้วยวาจาต่อหน้าคณะกรรมการฯ ‘อนุสารอุดมศึกษา’ ขอนำรายละเอียดของ ๔ โครงการที่ได้รับยกย่องว่าเป็นโครงการแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practices) ใน การนำความรู้ด้านการประกันคุณภาพไปใช้ในการดำเนินกิจกรรมนิสิตนักศึกษา ระดับอุดมศึกษา ประเภทดีเด่น และประเภทดี เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านต่อไป ดังนี้ รางวัลดีเด่น จำนวน ๓ รางวัล คือ • โครงการผลิ ต ยารั ก ษาน้ ำ กั ด เท้ า และตะไคร่ ห อมไล่ ยุ ง เพื่ อ

ผู้ประสบอุทกภัย ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นกิจกรรมวิชาการที่ ส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตอันพึงประสงค์ ที่ดำเนินการโดยสโมสรนิสิต เภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เห็นปัญหา ภาวะการขาดแคลนด้านเภสัชกรรมของผู้ประสบอุทกภัยที่มีเป็นจำนวนมาก ได้ร่วมมือกันจัดทำ “โครงการผลิตยารักษาน้ำกัดเท้าและตะไคร้หอม ไล่ยุง” เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้แก่

ผู้ประสบอุทกภัย โดยมีการบูรณาการดำเนินงานหลายด้านซึ่งในการบริหาร และดำเนินงานได้นำหลักการวงจร PDCA มาประยุกต์ใช้อย่างต่อเนื่องและ เป็นระบบ มีการทบทวนปัญหาและข้อผิดพลาดในการดำเนินการอย่าง

ต่อเนื่อง นำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงทีเพื่อให้สามารถบรรเทา ความเดือดร้อนของผู้ประสบอุทกภัยได้อย่างรวดเร็ว และได้แนวทางและมาตรฐานการดำเนินงานที่ดี จนทำให้โครงการประสบ ความสำเร็จ มีการกระจายยาขี้ผึ้งรักษาน้ำกัดเท้า และตะไคร้หอมไล่ยุง ให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยที่เดือดร้อนกว่า ๑๐๐,๐๐๐ ราย ผ่านหน่วยงานทัง้ ภาครัฐและเอกชนกว่า ๒๐ องค์กร ซึง่ ได้รบั ความร่วมมือจากนิสติ อาจารย์ บุคลากร ศิษย์เก่า ประชาชนจิตอาสา สังคมและสื่อมวลชนต่างๆ และได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอในการแสดงผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมในเหตุการณ์อุทกภัยแก่

นายบัน คีมุน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ในโอกาสเยือนประเทศไทย รวมถึงได้รับรางวัลโครงการดีเด่นจากจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ และยังเป็นโครงการนำร่องในการบูรณาการความรู้ทางเภสัชกรรมของนิสิตกับความรับผิดชอบ ต่อสังคม ส่งเสริมให้เป็นนิสิตที่มีคุณภาพ มีจิตสาธารณะ มีคุณลักษณะนิสิตที่พึงประสงค์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อนุสารอุดมศึกษา


เหตุการณ์เล่าเรื่อง

• ชาวจุ ฬ าฯ รวมใจ ช่ ว ยภั ย น้ ำ ท่ ว ม เป็ นกิ จ กรรมบำเพ็ ญ ประโยชน์ ห รื อ รั ก ษาสิ ่ ง แวดล้ อ มที ่ อ งค์ ก ารบริ ห ารสโมสรนิ ส ิ ต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งประกอบด้วย นิสิตส่วนกลาง นายกสโมสรนิสิตจากทุกคณะ หัวหน้าหอพักนิสิต และนิสิตจุฬาฯ ตระหนัก ถึงความทุกข์ยากของประชาชนที่เกิดขึ้นจากการเกิดอุทกภัยที่นับเป็นภัยพิบัติครั้งใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง จึงได้ กำหนดกระบวนการบริหารจัดการภาวะวิกฤติในรูปแบบเฉพาะขึ้น โดยเน้นที่ “การบูรณาการคนและบูรณาการงาน” เพื่อให้สามารถ ดำเนินงานได้อย่างฉับไวและมีประสิทธิภาพ การดำเนินกิจกรรมต่างๆ เป็นการประยุกต์องค์ความรูจ้ ากศาสตร์ตา่ งๆ มาใช้ในการแก้ปญ ั หา และช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยแบบองค์รวม โดยมุ่งเน้นให้ผู้ประสบภัยพ้นจากความทุกข์ยากลำบาก ทั้งในมิติด้านร่างกาย จิตใจ และ สังคม หลังจากวิกฤติการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ผ่านพ้นไป พบว่าพื้นที่ที่ประสบภัยจะอยู่ในสภาพเสียหายอย่างหนัก จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟู อย่างเหมาะสม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความพร้อมที่จะนำความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาช่วยฟื้นฟูอย่างเป็นระบบ ครบวงจร และยั่งยืนแบบบูรณาการ ทั้งในทางด้านกายภาพ สังคม และสาธารณสุข คณะกรรมการประสานงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมได้ กำหนดแนวทางการดำเนินงานจากการวางแผน (Plan) ในหลากหลายภาคส่วน เพื่อให้ความช่วยเหลืออย่างเป็นระบบและครบวงจร (Do) ภายใต้โครงการ “ชาวจุฬาฯ รวมใจ ช่วยภัยน้ำท่วม” โดยมีลักษณะการทำงานในการประชุมแบบ War Room เพื่อวางแผน เตรียม กลยุทธ์ และตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ รวมทั้งกำกับติดตามการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด และหลังจากที่ได้ลงมือในขั้นตอนการ ปฏิบัติงานเรียบร้อยตามแผนที่ได้ตั้งเอาไว้ ได้มีการประเมินสถานการณ์ (Check) และได้กำหนดมาตรการการแก้ไขปัญหาจากอุทกภัยทั้ง ๑๐ ปัญหาด้วยกัน เพื่อหาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในอนาคต (Action) ต่อไป นับว่าเป็นสิ่งเล็กๆ ที่จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยสามารถช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยได้ ทั้งทางด้านจิตใจและการดำรงชีพในช่วงก่อนเกิดอุทกภัย ช่วงขณะเกิดอุทกภัย และ หลังจากเกิดอุทกภัยได้อย่างเต็มที่ และยั่งยืน

• โครงการเส้ น ทางสู่ แ ชมป์ โ ลกหุ่ น ยนต์ ๔ สมั ย : ชั ย ชนะสู่ ก ารพั ฒ นาต่ อ ยอดองค์ ค วามรู้ ของมหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ เป็นกิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ เป็นทีมนิสิตที่เกิดจากการรวมตัวกันของนิสิตจากต่าง สาขาวิชา ได้แก่ วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมซอฟต์แวร์และความรู้ ได้นำความรู้และทักษะ ต่างๆ ที่ได้รับจากการเรียนรู้ที่แตกต่างกันในศาสตร์ของตนเอง ทั้งเรื่องของไฟฟ้า เครื่องกล และคอมพิวเตอร์ มาผสานทำงานเป็นทีม เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ชิงแชมป์โลก (World RoboCup) ซึ่งเป็นการประกวดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านการแข่งขัน ฟุตบอลหุ่นยนต์ในระดับนิสิตนักศึกษาจากทั่วโลก และสามารถคว้าแชมป์โลกได้ ๔ สมัยติดต่อกัน ซึ่งในสมัยที่ ๔ นี้ (ปี ๒๐๑๑ ๒๐๑๒) ทีม SKUBA ได้มีการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้จากหุ่นยนต์เตะฟุตบอล รุ่นขนาดเล็ก (@SSL : Small Size League) ไปสู่หุ่นยนต์ รับใช้งานบ้าน (@Home) ซึ่งสามารถได้เข้ารอบ ๑๐ ทีมสุดท้าย อยู่ในอันดับที่ ๙ ของโลก ในปีถัดไปได้ตั้งเป้าหมายว่าจะคว้าแชมป์โลก ในรายการหุ่นยนต์รับใช้งานบ้าน (Robocup@Home) ให้ได้อีก ๑ รายการ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาอีกหลายปี ส่วนหุ่นยนต์เตะฟุตบอล (Robocup@SSL) ต้องรักษาแชมป์ให้ได้ต่อเนื่องต่อไปให้ได้มากที่สุด ซึ่งความสำเร็จอย่างต่อเนื่องของนิสิตทีม SKUBA ได้สะท้อนให้เห็นว่า ความสำเร็จดังกล่าวเกิดจากการมีแนวปฏิบัติที่ดี การมีความมุ่งมั่นตั้งใจจริงของนิสิตในการดำเนินกิจกรรม และการมีปัจจัยเกื้อหนุนที่ ส่งเสริมให้นิสิตได้พัฒนา และพร้อมที่จะเข้าร่วมการแข่งขันและสามารถสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และประเทศไทย ในเวทีโลก รางวัลดี จำนวน ๑ รางวัล คือ • โครงการพัดลมไล่ยุงเพื่อสุขภาพ บ้านห้วยระย้า เป็นกิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตอันพึงประสงค์ที่นักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช ได้จัดทำขึ้นเพื่อป้องกันและส่งเสริมสุขภาพของประชาชนบ้านห้วยระย้า ตำบลนาพรุ อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสวนยางพาราเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย สาเหตุของไข้เลือดออก

นักศึกษาคิดโครงการพัดลมไล่ยุงเพื่อสุขภาพขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก ป้องกันอันตรายจากการใช้ยา จุดกันยุง โดยการผลิตพัดลมไล่ยุงดังกล่าว มีประสิทธิภาพดีกว่าการใช้ยาจุดกันยุง มีความคุ้มค่าและปลอดภัยกว่ายาจุดกันยุง เพราะ ใช้น้ำตะไคร้หอม ซึ่งเป็นสมุนไพรและสามารถผลิตได้เองในชุมชน และสามารถขยายผลไปสู่หมู่บ้านอื่นที่มีพื้นที่ในลักษณะเดียวกันได้

อนุสารอุดมศึกษา

21


เล่าเรื่องด้วยภาพ

๕ ธันวาคม ๒๕๕๕ - นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา และรองศาสตราจารย์ชวนี ทองโรจน์ ที ่ ป รึ ก ษาด้ า นพั ฒ นาภู ม ิ ป ั ญ ญาท้ อ งถิ ่ น พร้ อ มด้ ว ยผู ้ บ ริ ห าร สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมเข้าเฝ้าทูลละอองธุลี พระบาท ในการพระราชพิธีเสด็จออกมหาสมาคม เนื่องในโอกาส พระราชพิ ธ ี เฉลิ ม พระชนมพรรษา ณ บริ เวณหน้ า สี ห บั ญ ชร พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต

๑๖ พฤศจิ ก ายน ๒๕๕๕ - สำนั ก งานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาจัดสัมมนาคณะกรรมการการอุดมศึกษา (retreat) เรื่อง ทิศทางอุดมศึกษาไทย ระหว่างวันที่ ๑๖ - ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ในการนี ้ ศาสตราจารย์ ว ิ ช ั ย ริ ้ ว ตระกู ล ประธานคณะกรรมการ

การอุดมศึกษามอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่ศาสตราจารย์พิเศษ ภาวิช ทองโรจน์ รองประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในโอกาสที่ คณะรัฐมนตรีมมี ติเห็นชอบแต่งตัง้ ให้ศาสตราจารย์พิเศษภาวิช ทองโรจน์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่

วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ เป็นต้นไป

๑๖ พฤศจิ ก ายน ๒๕๕๕ - นางวราภรณ์ สี ห นาท

รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้สัมภาษณ์รายการ ข่าวการศึกษา ช่วงโต๊ะข่าว ETV ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการ ศึกษา ETV กระทรวงศึกษาธิการ ในประเด็น ค่ายเรียนรู้ สานต่อ โครงการ “พระราชดำริ” ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ETV

22

อนุสารอุดมศึกษา


เล่าเรื่องด้วยภาพ

๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ - นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ส่งมอบตรา สัญลักษณ์เจ้าภาพงานดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ ๔๐ ซึ่งมติคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานการจัดงาน ดนตรี ไทยอุ ด มศึ ก ษา ในการประชุ ม ครั ้ ง ที ่ ๑/๒๕๕๕ สำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา ได้ อ นุ ม ั ต ิ ให้ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นเจ้าภาพจัดงานดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ ๔๐ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๗

โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์สุจิน บุตรดีสุวรรณ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม เป็นผู้รับมอบ ในงานดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ ๓๙ ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ - นางสาวสุนันทา แสงทอง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และนายสุนทร อรุณานนท์ชัย ประธานมูลนิธิเทสโก้เพื่อไทย ร่วมกันมอบทุนการศึกษา เทสโก้โลตัส เพื่อนิสิต นักศึกษามหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๕ ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน สำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา

อนุสารอุดมศึกษา

23


Higher

Education

สกอ.

ขับเคลื่อนอุดมศึกษาเพื่อชี้นำสังคมไทย ใหกาวไกลสูนานาชาติ

รวมทีมทำงาน สรางสรรคองคกร สอดคลองเปาหมาย โปรงใสเปนธรรม นำประโยชนสวนรวม สำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา (สกอ.) ๓๒๘ ถนนศรี อ ยุ ธ ยา แขวงทุ ง พญาไท เขตราชเทวี กรุ ง เทพฯ ๑๐๔๐๐ โทรศั พ ท ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๖ http://www.mua.go.th Facebook : www.facebook.com/ohecthailand Twitter : www.twitter.com/ohec_th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.