อุดมศึกษา อนุสาร
ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๔๒๙ ประจำ�เดือนมีนาคม ๒๕๕๗
เอกสารเผยแพร่ของสำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ISSN 0125-2461
อนุ ส ารอุ ด มศึก ษาออนไลน์ www.mua.go.th/pr_web
สารบัญ
ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๔๒๙ ประจำ�เดือนมีนาคม ๒๕๕๗
เรื่องเล่าอุดมศึกษา สกอ. พัฒนาทีคิวเอฟ สาขาวิศวกรรมศาสตร์ กกอ. สัญจร เยี่ยมเครือข่ายภาคตะวันออก
สกอ. ย�้ำ ตรวจสอบก่อนตัดสินใจเลือกเรียน
สกอ. ร่วมจัด ‘MOE Summer Camp 2014’ หอการค้าญี่ปุ่นมอบทุนการศึกษา สกอ. ส่งเสริมการจัดการความรู้
๔ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐
๓
เรื่องเล่าอาเซียน ความคืบหน้าและแนวโน้มการปิดและเปิดภาคการศึกษา
๑๓
๑๑
ของไทยและอาเซียน เรื่องพิเศษ สมเด็จเจ้าฟ้านักการศึกษา
๑๓
พูดคุยเรือ่ งมาตรฐาน ความก้าวหน้าของมาตรฐานอุดมศึกษา
๑๗
๔
เรื่องแนะน�ำ มหกรรมอุดมศึกษา อ่างแก้วเกมส์
คณะผู้จัดทำ� สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
๒๐ ๒๑
อนุสารอุดมศึกษา
เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๒๖ เว็บไซต์ http://www.mua.go.th อีเมล pr_mua@mua.go.th เฟสบุ๊ค www.facebook.com/ohecthailand ทวิตเตอร์ www.twitter.com/ohec_th ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์พเิ ศษทศพร ศิรสิ มั พันธ์ รองศาสตราจารย์ ดร.พินติ ิ รตะนานุกลู รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำ จร ตติยกวี นางวราภรณ์ สีหนาท นายสุภัทร จำ�ปาทอง นายศิระวิทย์ คลี่สุวรรณ บรรณาธิการ นายกฤษณ์กร วงศ์ไทย กองบรรณาธิการ นางสาวปิยาณี วิริยานนท์ นางชุลีกร กิตติก้อง นายเจษฎา วณิชชากร นางปราณี ชื่นอารมณ์ นายพรชัย สิทธินันทน์ นายจรัส เล็กเกาะทวด พิมพ์ที่ บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำ�กัด โทรศัพท์ ๐ ๒๙๐๓ ๘๒๕๗ - ๙
เรื่องเล่าอุดมศึกษา
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จลง ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต พระราชทานพระราชวโรกาสให้ นายจาตุ ร นต์ ฉายแสง รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงศึกษาธิการ น�ำคณะผูบ้ ริหารส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา เฝ้ า ทู ล ละอองพระบาท ทู ล เกล้ า ทู ล กระหม่ อ ม ถวายใบอนุ ญ าตจั ด ตั้ ง วิ ท ยาลั ย เทคโนโลยีจิตรลดา เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๗
อนุสารอุดมศึกษา
3
เรื่องเล่าอุดมศึกษา
๑๘ มีนาคม ๒๕๕๗ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุ ดมศึกษา จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิกับการ จัดการเรียนการสอนในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ประเด็ น ปั ญ หา และข้ อ เสนอแนะระหว่ า งผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ไ ทยและ ออสเตรเลียในการส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาจัดหลักสูตรการเรียน การสอนเพื่ อ พั ฒ นาให้ ผู ้ เรี ย นบรรลุ ม าตรฐานผลการเรี ย นรู ้ ที่ เ น้ น สาขาวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมทั้งให้ผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากร ที่เกี่ยวข้องของสถาบันอุดมศึกษามีความรู้ ความเข้าใจกลยุทธ์การสอน และการประเมินผลที่สะท้อนให้เห็นถึงการบรรลุมาตรฐานผลการเรียนรู้ ของผู้เรียนในสาขาที่สะท้อนกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ตลอดจนสร้าง เครื อ ข่ า ยความร่ ว มมื อ ของคณาจารย์ จ ากสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาต่ า งๆ ในการพัฒนามาตรฐานหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนตาม กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอย่างต่อเนื่องและจริงจัง โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการ การอุMr ดมศึ ษา และ Mr. James Wise Joseph Wise เอกอัครราชทูต . กJames Joseph ออสเตรเลียประจ�ำประเทศไทย เป็นประธานในพิธีเปิด
4
อนุสารอุดมศึกษา
เรื่องเล่าอุดมศึกษา
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา กล่าวว่า สกอ. ได้จัดท�ำประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบ มาตรฐานคุณวุฒริ ะดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ หรือ TQF (Thai Qualifications Framework) โดยรวมความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาทุกฝ่าย ทั้งผู้บริหาร คณาจารย์ องค์กรวิชาชีพ ผูใ้ ช้บณ ั ฑิต นักศึกษา และหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง ร่วมกันก�ำหนดคุณลักษณะของบัณฑิตทีพ่ งึ ประสงค์ตามบริบท ของสังคมไทย และเทียบได้กบั บัณฑิตในระดับสากล โดยทีส่ ถาบันอุดมศึกษายังคงมีอสิ ระในการพัฒนาทางวิชาการและเพิม่ เติมเอกลักษณ์ หรือจุดเด่นของสถาบัน ตามวิสยั ทัศน์ พันธกิจ ได้อย่างอิสระ นอกจากนี้ ยังได้รว่ มกันจัดท�ำกลไกในการขับเคลือ่ นไปสูก่ ารปฏิบตั ติ ามวงจร คุณภาพของ TQF ตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรือ่ ง แนวทางการปฏิบตั ติ ามกรอบมาตรฐานคุณวุฒริ ะดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ และสถาบันอุดมศึกษาได้ให้ความร่วมมือด�ำเนินการในการน�ำมาเป็นแหล่งอ้างอิงในการพัฒนาหลักสูตรแนวใหม่ทตี่ อ้ งมุง่ เน้น ผลการเรียนรูข้ องบัณฑิตเป็นส�ำคัญ โดยจะต้องมีกลไกในการบริหารจัดการ และปรับเปลีย่ นกระบวนการจัดการเรียนการสอน ตลอดจน การสร้างบรรยากาศและสิง่ แวดล้อมต่างๆ ทีจ่ ะเอือ้ ให้บณ ั ฑิตพัฒนาตนเองให้มคี ณ ุ ลักษณะและมาตรฐานผลการเรียนรูท้ พี่ งึ ประสงค์ตามที่ TQF ก�ำหนดไว้อย่างกว้าง ๆ เป็นอย่างน้อย ๕ ด้าน “หัวใจส�ำคัญของกระบวนการจัดการศึกษาและจัดการเรียนการสอนให้มคี ณ ุ ภาพเป็นสิง่ ทีต่ อ้ งใช้เวลาในการสร้างความเข้าใจและ พัฒนาร่วมกัน และทีส่ �ำคัญต้องการภาวะผูน้ �ำจากผูบ้ ริหารและคณาจารย์ทจี่ ะต้องใช้ความพยายามในการสร้างความเปลีย่ นแปลงให้เกิดขึน้ ในตัวผูเ้ รียนและเกิดคุณลักษณะทีพ่ งึ ประสงค์ ดังนัน้ สกอ. ในฐานะทีเ่ ป็นหน่วยงานสนับสนุนและส่งเสริมสถาบันอุดมศึกษาจึงได้วางแผน จัดกิจกรรมในการส่งเสริมสถาบันอุดมศึกษาให้ด�ำเนินการตามกรอบ TQF อย่างสม�่ำเสมอทุกปี โดยในการประชุมครั้งนี้ได้จะเป็นการ ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรทีม่ งุ่ เน้นผลการเรียนรูเ้ ฉพาะสาขาวิชา โดยได้เลือกสาขาซึง่ เป็นทีส่ นใจในการจัดท�ำข้อตกลงร่วมกันของ การเคลือ่ นย้ายแรงงานเสรีของอาเซียน ได้แก่ สาขาวิศวกรรมศาสตร์ ทัง้ นี้ ได้รบั เกียรติจากศาสตราจารย์ ดร. โรบิน คิง (Prof. Dr. Robin King) มาเป็นวิทยากร เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจน ขณะเดียวกันก็จะเป็นการเทียบเคียงกับการด�ำเนินการพัฒนาบัณฑิตสู่สากลด้วย” เลขาธิการ กกอ. กล่าว เลขาธิการ กกอ. กล่าวในตอนท้ายว่า สกอ. คาดหวังว่าผูเ้ ข้าร่วมประชุมจะเกิดความเข้าใจในการก�ำหนดกลยุทธ์การสอน และมุง่ เน้น การวัดและประเมินผลทีจ่ ะน�ำผลการฝึกปฏิบตั กิ ลับไปประยุกต์ใช้ในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างมัน่ ใจว่า ผูเ้ รียนจะบรรลุผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) ตามทีม่ งุ่ หวัง มีคณ ุ ธรรม ความรู้ ความสามารถ และทักษะในการประกอบอาชีพเป็นทีพ่ งึ พอใจของผูจ้ า้ งงาน และ แข่งขันกับนานาชาติได้
อนุสารอุดมศึกษา
5
เรื่องเล่าอุดมศึกษา
ศาสตราจารย์พเิ ศษ ดร.ทศพร ศิรสิ มั พันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เปิดเผยถึงโครงการประชุมคณะกรรมการการ อุดมศึกษาสัญจร ว่า ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะจัดขึน้ เป็นครัง้ แรก เพือ่ ให้คณะกรรมการการอุดมศึกษาและผูบ้ ริหารของ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้มีโอกาสพบปะกับผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่าง คณะกรรมการการอุดมศึกษา ผู้บริหารส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และผู้บริหารมหาวิทยาลัยเครือข่าย ในการยกระดับ คุณภาพอุดมศึกษาไทย โดยการรับฟังปัญหาและข้อเท็จจริงดังกล่าวจะเป็นการหาแนวทางในการขับเคลื่อนนโยบายคณะกรรมการ การอุดมศึกษาไปสูก่ ารปฏิบตั ใิ ห้เป็นผลอย่างเป็นรูปธรรมได้ รวมทัง้ เป็นการสร้างศักยภาพการท�ำงานของเครือข่ายอุดมศึกษา “การประชุมคณะกรรมการการอุดมศึกษาสัญจรดังกล่าวจะจัดขึน้ ระหว่างวันที่ ๒ - ๓ เมษายน ๒๕๕๗ ณ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี โดยมีผบู้ ริหารสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออก จ�ำนวน ๘ แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยบูรพา (แม่ขา่ ย) มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีตะวันออก มหาวิทยาลัยราชภัฏร�ำไพพรรณี มหาวิทยาลัยเอเชียน วิทยาลัย เฉลิมกาญจนาระยอง วิทยาลัยชุมชนตราด และวิทยาลัยชุมชนสระแก้ว เข้าร่วมประชุมเสวนาแลกเปลีย่ นความคิดเห็นในประเด็นคุณภาพ อุดมศึกษาไทย กับคณะกรรมการการอุดมศึกษา และผูบ้ ริหาร สกอ.” เลขาธิการ กกอ. กล่าว เลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อไปว่า ในโอกาสนีค้ ณะกรรมการการอุดมศึกษา จะเดินทางไปยังสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายทุกแห่ง เพือ่ เยีย่ มชมแนวปฏิบตั ทิ ดี่ ี (best practices) ของสถาบันสมาชิกเครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออก ซึง่ คณะกรรมการการอุดมศึกษา จะถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนประเด็นที่น่าสนใจจากการเยี่ยมชมสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายระหว่างกัน เพื่อร่วมกันหาแนวทาง การยกระดับคุณภาพอุดมศึกษาในภาพรวมต่อไป ทัง้ นี้ สกอ. จะจัดการประชุมคณะกรรมการการสัญจรในลักษณะนีใ้ ห้ครบทัง้ ๙ เครือข่าย
6
อนุสารอุดมศึกษา
เรื่องเล่าอุดมศึกษา
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา เปิดเผยถึงกรณี การร้องเรียนของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เรื่องการรับรองมาตรฐานหลักสูตรและมาตรฐาน การผลิตปริญญาครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร ๕ ปี) ว่า ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ได้รบั ทราบหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต หลักสูตร ๕ ปี หลักสูตรใหม่ พ.ศ.๒๕๔๙ ไปแล้ว เมือ่ ปี พ.ศ.๒๕๔๙ และส�ำนักงาน ก.พ. ให้การรับรองคุณวุฒิ เรียบร้อยแล้ว จ�ำนวน ๑๐ หลักสูตร คือ หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา คณิตศาสตร์ (๕ ปี) หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา (๕ ปี) หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ (๕ ปี) หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี (๕ ปี) หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ (๕ ปี) หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (๕ ปี) หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (๕ ปี) หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา (๕ ปี) หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (๕ ปี) หลักสูตร ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ (๕ ปี) เลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า จากทีร่ ฐั มนตรีวา่ การกระทรวงศึกษาธิการ มีด�ำริให้ สกอ. หามาตรการเข้มงวดดูแลการเปิดหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา และติดตามให้ขอ้ มูลแก่ผเู้ กีย่ วข้องและนักเรียน นักศึกษา ทีป่ ระสงค์สมัครเข้าเรียน เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจนั้น ทาง สกอ. จะเร่งด�ำเนินการส�ำรวจข้อมูล หลักสูตรทีเ่ ปิดสอนในสถาบันอุดมศึกษาทุกสาขาวิชา ในสถาบันอุดมศึกษาใน สังกัด/ในก�ำกับของ สกอ. ทุกแห่ง โดยเฉพาะหลักสูตรทีต่ อ้ งผ่านการรับรอง จากองค์กรวิชาชีพ อาทิ หลักสูตรครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ให้รีบด�ำเนินการ ส�ำรวจข้อมูลโดยทันที ซึง่ โดยปกติแล้วทาง สกอ.ได้จดั ท�ำข้อมูลหลักสูตรสถาบัน อุดมศึกษาต่างๆ ทีผ่ า่ นการรับทราบจาก สกอ. ขึน้ เผยแพร่บนเว็บไซต์ ของ สกอ. http://www.mua.go.th/ เพือ่ ให้นกั เรียน นักศึกษา ตลอดจนผูป้ กครอง ใช้เป็น ข้อมูลเบื้องต้นในการพิจารณาเพื่อเข้าศึกษาต่อ ซึ่งหากมีข้อสงสัย สามารถ สอบถามข้อมูลเพิม่ เติมได้ทหี่ มายเลข ๐ ๒๖๑๐ ๕๓๘๑ - ๘๒ “ทัง้ นี้ ก่อนตัดสินใจเลือกเรียนอะไร มหาวิทยาลัยไหนนัน้ ขอให้นกั เรียน นักศึกษา ผูป้ กครองตรวจสอบก่อนตัดสินใจ โดยหลักสูตรทุกสาขาวิชาต้องเป็นไป ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา และผ่านการรับทราบจาก สกอ. และในกรณีสาขาวิชาทีต่ อ้ งสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หลักสูตรนัน้ ต้องผ่าน การรับรองจากองค์กรวิชาชีพ ส�ำหรับหลักสูตรที่จัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง ต้องผ่านการรับทราบจากคณะกรรมการการอุดมศึกษา นอกจากนี้สถาบัน อุดมศึกษาควรผ่านมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน และมาตรฐาน การประกันคุณภาพภายนอก รวมทัง้ ควรมีขอ้ มูลระบบการลงทะเบียนทีถ่ กู ต้อง มีรายชือ่ และคุณวุฒขิ องอาจารย์ประจ�ำหลักสูตรจากเอกสารหลักสูตรทีผ่ า่ นการ รับทราบจาก สกอ. ตลอดจนมีระบบการให้บริการต่างๆ ตามสิทธิท์ นี่ สิ ติ นักศึกษา พึงจะได้รบั ” เลขาธิการ กกอ. กล่าว อนุสารอุดมศึกษา
7
เรื่องเล่าอุดมศึกษา
สกอ. ร่วมจัด ‘MOE Summer Camp 2014’ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๗ - กระทรวงศึกษาธิการ จัดงานแถลงข่าวจัดกิจกรรม ‘MOE Summer Camp 2014’ โดยมีนายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย ดร.สุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รองศาสตราจารย์ ดร.พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา นายอกนิษฐ์ คลังแสง รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา นายสมเกียรติ บุญรอด ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้บริหารองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วม แถลงข่าว ณ ส�ำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.พินติ ิ รตะนานุกลู รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการได้ตระหนักถึง การจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงปิดภาคฤดูร้อนประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๕๖ ได้ก�ำหนดไว้ในลักษณะของกิจกรรม หรือโครงการที่เชื่อมโยงกับพื้นฐานความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ที่นักเรียนได้เรียนรู้จากสถานศึกษา ในการจัดกิจกรรมของกระทรวง ศึกษาธิการ ในช่วงปิดภาคเรียนภาคฤดูร้อน ใช้ชื่อว่า MOE Summer Camp 2014 ซึ่งในปีนี้ ได้จัดครอบคลุมเป้าหมาย ๓ กลุ่ม ได้แก่ (๑) นักเรียน นักศึกษา (๒) ครู อาจารย์ และ (๓) ผู้ปกครองและผู้สนใจทั่วไป “ในส่วนของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้จัดกิจกรรม ทั้งหมด ๖ โครงการ ได้แก่ โครงการค่ายอาเซียน โครงการค่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรม โครงการดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ ๔๑ โครงการค่ายเรียนรู้และเผยแพร่โครงการ พระราชด�ำริ โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ‘มหาวิทยาลัยโปร่งใสบัณฑิตไทยไม่โกง’ และโครงการสร้างระบบ เฝ้าระวังและป้องกันยาเสพติด” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว รองศาสตราจารย์ ดร.พิ นิ ติ รตะนานุ กู ล รองเลขาธิ ก าร คณะกรรมการการอุดมศึกษา ให้เกียรติเป็นผู้ร่วมอภิปรายในการประชุม The 7th International Conference in Educational Reform (ICER 2014) ในหัวข้อ‘Innovations and Good Practices in Education: Global Perspectives ระหว่างวันที่ ๑๕ - ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๗ ณ เมืองเว้ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม การประชุมดังกล่าว เป็ น การเปิ ด โอกาสให้ นั ก วิ ช าการ นั ก วิ จั ย และนั ก การศึ ก ษาได้ แลกเปลี่ยนมุมมอง ข้อคิดเห็น และข้อมูลด้านการปฏิรูปการศึกษา เพือ่ สร้างองค์ความรูแ้ ก่สงั คม พัฒนาแนวทางปฏิบตั ใิ นการจัดการศึกษา และเสริมสร้างเครือข่ายระหว่างกันในระดับนานาชาติ
8
อนุสารอุดมศึกษา
เรื่องเล่าอุดมศึกษา
๑๔ มีนาคม ๒๕๕๗ - หอการค้าญี่ปุ่น กรุงเทพฯ จัดพิธีมอบทุน การศึ ก ษาหอการค้ า ญี่ ปุ ่ น กรุ ง เทพฯ โดยมี ดร.วราภรณ์ สี ห นาท รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และนายฮิโรยูกิ ซาวาดะ รองประธานหอการค้ า ญี่ ปุ ่ น กรุ ง เทพฯ และประธานฝ่ า ยการศึ ก ษา ร่วมเป็นประธานในพิธีมอบทุนการศึกษา ณ หอการค้าญี่ปุ่น กรุงเทพฯ ดร.วราภรณ์ สี ห นาท รองเลขาธิ ก ารคณะกรรมการการ อุดมศึกษา กล่าวว่า ทุนการศึกษาหอการค้าญี่ปุ่น กรุงเทพฯ เป็นทุนการศึกษาที่จัดสรรให้แก่นิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโท ที่ศึกษาในสาขาวิชาสิ่งแวดล้อมหรือสาขาวิชาอื่นๆ ในสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค สังกัดส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา จ�ำนวน ๕ แห่ง คือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยได้จัดสรรเงินทุนการศึกษาให้แก่นิสิต นักศึกษา ในระดับปริญญาตรี จ�ำนวน ๒๐ ทุน จ�ำนวนทุนละ ๔๐,๐๐๐.-บาท/ปีการศึกษา เป็นระยะเวลา ๔ ปีการศึกษา และจัดสรรเงินทุนการศึกษาระดับปริญญาโท จ�ำนวน ๕ ทุน จ�ำนวนทุนละ ๕๐,๐๐๐-บาท/ปีการศึกษา เป็นระยะเวลา ๒ ปีการศึกษา จากการสนับสนุนทุนการศึกษาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๔๓ จนถึงปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่า หอการค้าญี่ปุ่น กรุงเทพฯ มีความมุ่งมั่น เล็งเห็นความส�ำคัญ และประโยชน์ของการ ศึกษาในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเป็นกลไกในการพัฒนาประเทศ ซึ่งในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ทุนการศึกษาถือเป็นปัจจัย ส�ำคัญอย่างยิ่ง ที่จะเอื้ออ�ำนวยให้นิสิตนักศึกษามีขวัญ และก�ำลังใจ เกิดความอุตสาหะ และเพียรพยายามที่จะศึกษาเล่าเรียน จนประสบความส�ำเร็จเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพต่อไป รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สถาบันอุดมศึกษา และนิสิต นักศึกษาที่ได้รับทุน ขอขอบคุณ หอการค้าญี่ปุ่น กรุงเทพฯ ที่ได้สนับสนุนทุนการศึกษาอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ซึ่งเป็นการอ�ำนวยประโยชน์อย่างยิ่ง แก่นิสิตนักศึกษาที่ได้รับทุน ให้ได้มีโอกาสศึกษาในระดับอุดมศึกษา ในโอกาสเดียวกันนี้ ขอแสดงความยินดีต่อนิสิต นักศึกษาทุกคน ที่ได้รับทุนการศึกษาในวันนี้ พร้อมทั้งฝากความมุ่งหวังไว้ให้นิสิต นักศึกษาทุกคนจงภูมิใจที่ได้รับการคัดเลือกให้รับทุนการศึกษา หอการค้าญี่ปุ่น กรุงเทพฯ และขอให้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ทั้งด้านวิชาการ การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย รวมทั้งประพฤติปฏิบัติตน ในทางที่ถูกที่ควร รู้จักใช้จ่ายทุนการศึกษาอย่างประหยัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการศึกษา และขอให้ใช้ความรู้ความสามารถ ที่มีให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและท�ำประโยชน์คืนสู่สังคมในอนาคตต่อไป อนุสารอุดมศึกษา
9
เรื่องเล่าอุดมศึกษา
๒๔ มีนาคม ๒๕๕๗ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดการประชุมส่งเสริมการจัดการความรู้ ตัวอย่างความส�ำเร็จ ‘วิธีถ่ายทอดและการแบ่งปันความรู้ จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ’ ของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ มีวตั ถุประสงค์เพือ่ ส่งเสริมให้ขา้ ราชการและเจ้าหน้าทีข่ อง สกอ. ได้รบั การพัฒนาความรู้ ความเข้าใจเรือ่ งการจัดการความรู้ หรือ Knowledge Management และองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) พร้อมทัง้ ถ่ายทอดบทเรียนและประสบการณ์ การท�ำงานสูก่ ารปฏิบตั ิ ด�ำเนินการจัดการความรูข้ องส�ำนัก/หน่วยงานต่างๆ ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรูเ้ พือ่ การพัฒนา สกอ. ตลอดจน เสริมสร้างและพัฒนาการมีสว่ นรวมของข้าราชการและเจ้าหน้าทีข่ องรัฐในการน�ำความรูแ้ ละประสบการณ์ทไี่ ด้รบั มาประยุกต์ใช้เพือ่ การ ยกระดับการจัดการความรูใ้ นการปฏิบตั ริ าชการให้เกิดผลสัมฤทธิอ์ ย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ณ โรงแรมอีสติน มักกะสัน โดยได้ รับเกียรติจาก ดร.สุภทั ร จ�ำปาทอง ผูช้ ว่ ยเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานในพิธเี ปิด ดร.สุภทั ร จ�ำปาทอง ผูช้ ว่ ยเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า การจัดประชุมครัง้ นีเ้ ป็นการน�ำประสบการณ์ในการ ปฏิบตั งิ านจริงด้านการจัดการความรูข้ องหน่วยงานต้นแบบจาก บริษทั ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) รวมถึงหลักการจัดการความรูแ้ ละเครือ่ งมือ การจัดการความรู้ต่างๆ เพื่อน�ำไปสู่การปฏิบัติ จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาระบบราชการ รับผิดชอบการพัฒนาส่วนราชการ ให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ มาถ่ายทอดให้กับบุคลากรของ สกอ. ได้รับความรู้ สามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเองและ พัฒนางานให้มปี ระสิทธิผลทีด่ ยี งิ่ ขึน้ “ปัจจุบันโลกเราอยู่ในยุคสังคมแห่งความรู้ ยุคโลกาภิวัฒน์ และยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น หน่วยราชการต้องปรับตัว ปรับเปลีย่ นกระบวนทัศน์ใหม่ เปลีย่ นวิธที �ำงานใหม่ เพือ่ ให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ทีเ่ พียงพอแก่การปฏิบตั งิ านให้สอดคล้องกับสภาพ สังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งองค์ประกอบส�ำคัญของการจัดการความรู้ คือ คน เทคโนโลยี และกระบวนการความรู้ (Knowledge Process) โดย ‘คน’ ถือว่าเป็นองค์ประกอบทีส่ �ำคัญทีส่ ดุ เพราะเป็นแหล่งความรู้ และเป็นผูน้ �ำความรูไ้ ปใช้ให้เกิดประโยชน์ ‘เทคโนโลยี’ เป็นเครือ่ งมือเพือ่ ให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลีย่ น รวมทัง้ น�ำความรูไ้ ปใช้ได้อย่างง่ายและรวดเร็วขึน้ ส�ำหรับ ‘กระบวนการ ความรู’้ เป็นการบริหารจัดการเพือ่ น�ำความรูจ้ ากแหล่งความรูไ้ ปให้ผใู้ ช้ เพือ่ ท�ำให้เกิดการปรับปรุงและนวัตกรรม องค์ประกอบทัง้ ๓ ส่วน ต้องเชื่อมโยงและบูรณาการอย่างสมดุล จึงน�ำมาสู่การปรับเปลี่ยนวิธีคิด ค้นหาสิ่งใหม่ ๆ เพื่อน�ำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเอง และก่อให้เกิดผลดีตอ่ สกอ. โดยรวม ทัง้ ยังสอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธกี ารบริหารจัดการบ้านเมืองทีด่ ี พ.ศ. ๒๕๔๖ และเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ : PMQA ของ สกอ. ในหมวด ๔ การวัด วิเคราะห์ และการจัดการ และตาม ค�ำรับรองการปฏิบตั ริ าชการ ประจ�ำปี ๒๕๕๗” ผูช้ ว่ ยเลขาธิการ กกอ. กล่าว
10
อนุสารอุดมศึกษา
เรื่องเล่าอาเซียน
ภายใต้ข้อตกลงของอาเซียนที่ก�ำหนดเป้าหมายการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ ซึ่งจะส่งผลให้ เกิดการเปิดเสรีทางการค้า ตลาดแรงงานและการศึกษา โดยกระทรวงศึกษาธิการเล็งเห็นว่า การเปิดเสรีการค้าบริการ ด้านการศึกษา ส่งผลให้เกิดการเคลือ่ นย้ายองค์ความรู้ ก�ำลังคน นักเรียน นักศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาได้สะดวกขึน้ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้มีการก�ำหนดนโยบายรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนไว้หลายประการ อาทิ การเผยแพร่ ข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียน การเตรียมความพร้อมด้านภาษาของนักเรียน นักศึกษา และบุคลากร การส่งเสริมการแลกเปลี่ยน นักเรียน นักศึกษา และบุคลากร อีกส่วนหนึ่งที่ส�ำคัญและสอดคล้องกับการเปิดเสรีการค้าบริการด้านการศึกษา คือ การพิจารณาปรับเวลาเปิดและปิดภาคเรียนเพื่อให้สอดคล้องกันทั้งภายในอาเซียนและสากล การปรับเวลาเปิด-ปิดภาคการศึกษาของการศึกษาระดับต�่ำกว่าอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการได้มีการจัดประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนเพื่อศึกษาและ พิจารณาข้อดี ข้อเสียและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการปรับเวลาเปิด-ปิดภาคการศึกษา ทั้งในส่วนของการศึกษา ขั้นพื้นฐาน และการศึกษาในระดับอาชีวศึกษา โดยเมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๕๖ ที่ประชุมกระทรวงศึกษาธิการได้มีมติให้ คงการเปิด-ปิดภาคการศึกษาของการศึกษาขั้นพื้นฐานและอาชีวศึกษาไว้ตามเดิม คือ ภาคเรียนที่ ๑ เปิดภาคเรียน วันที่ ๑๖ พฤษภาคม และปิดภาคเรียน วันที่ ๑๑ ตุลาคม ภาคเรียนที่ ๒ เปิดภาคเรียน วันที่ ๑ พฤศจิกายน และปิดภาคเรียน วันที่ ๑ เมษายน โดยมีเหตุผล ดังนี้ ❄ เมื่อพิจารณาตามความเกี่ยวข้องหรือความเชื่อมโยงกับการเปิด-ปิดภาคการศึกษาของประเทศในกลุ่ม อาเซียน พบว่า ก�ำหนดเวลาเปิด-ปิดภาคการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทยไม่ขัดแย้งกับประเทศ ในกลุม่ อาเซียน เนือ่ งจากประเทศในกลุม่ อาเซียนมีก�ำหนดเวลาการเปิด-ปิดภาคการศึกษาของสถานศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน ดังนี้ - กลุ่มที่เปิดในช่วงเดือนมกราคม มี ๓ ประเทศ คือ บรูไนดารุสซาลาม มาเลเซีย และสิงคโปร์ - กลุ่มที่เปิดในช่วงเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม มี ๓ ประเทศ คือ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย - กลุ่มที่เปิดในช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม มี ๔ ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม ❄ สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศ การใช้พลังงาน ประเพณี และไม่กระทบกับการขอรับเงินอุดหนุนรายหัว ที่จะต้องใช้ข้อมูลจ�ำนวนนักเรียนประกอบการพิจารณา ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน ❄ การคั ด เลื อ กเข้ า ศึ ก ษาต่ อ ในระดั บ อุ ด มศึ ก ษาผ่ า นระบบแอดมิ ด ชั่ น ไม่ มี ผ ลกระทบ เนื่ อ งจากสถาบั น อุดมศึกษาได้มีการปรับปฏิทินการรับนักศึกษาแล้ว โดยในปี พ.ศ.๒๕๕๗ จะมีการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับ อุดมศึกษาผ่านระบบแอดมิดชั่น ในช่วงเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม ❄ การสอบ GAT/PAT ไม่มีผลกระทบ เพราะจัดสอบในช่วงเวลาเรียน ❄ นักเรียนที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จะมีเวลาประมาณ ๔ เดือนครึ่ง ก่อนที่สถาบันอุดมศึกษา จะเปิดภาคเรียนในช่วงกลางเดือนสิงหาคม จึงเป็นโอกาสที่นักเรียนจะได้เตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษาในสถาบัน อุดมศึกษา และสถาบันอุดมศึกษาได้มีการเลื่อนสอบรับตรงให้อยู่ในช่วงที่นักเรียนจบการศึกษาแล้ว ❄ ในส่วนของผู้ส�ำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานได้ทันความต้องการของตลาดแรงงาน โดยตลาดแรงงาน เช่น ภาคการท่องเที่ยว การโรงแรม การเกษตร การโยธาหรือโลจิสติกส์ จะมีความต้องการแรงงานสูงในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม
อนุสารอุดมศึกษา
11
เรื่องเล่าอาเซียน
การปรับเวลาเปิด-ปิดภาคการศึกษาระดับอุดมศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้หารือเชิงนโยบายกับผู้แทนกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาในสังกัด ๔ กลุ่ม คือ มหาวิทยาลัยรัฐ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยสถาบัน อุดมศึกษามีความเห็นพ้องกันว่า จะปรับปฏิทินการเปิดภาคการศึกษาพร้อมกันทั้งหมดในปีการศึกษา ๒๕๕๗ จากเดิม ช่วงเดือนมิถุนายน เป็นช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน เพื่อให้สอดคล้องกับอาเซียนและสากล ภาคเรียน
เดิม
ใหม่
ภาคเรียนที่ ๑
มิถุนายน - ตุลาคม
สิงหาคม - ธันวาคม
ปิดเทอม
ตุลาคม - พฤศจิกายน
ธันวาคม - มกราคม
ภาคเรียนที่ ๒
พฤศจิกายน - มีนาคม
มกราคม - พฤษภาคม
ปิดเทอม
มีนาคม - พฤษภาคม
พฤษภาคม - กรกฎาคม
* ภาคเรียนละประมาณ ๔ - ๕ เดือน (๒๐ สัปดาห์) โดยส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ศึกษาผลกระทบของการปรับเปลี่ยนเวลาการเปิด-ปิดภาค การศึกษา ซึ่งมีความห่างของระยะเวลาในการเปิด-ปิดภาคการศึกษาระหว่างการศึกษาขึ้นพื้นฐานและอุดมศึกษา แต่จะเป็นผลดีต่อนักเรียน นักศึกษา ดังนี้ ❄ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ สามารถใช้เวลาในห้องเรียนได้เต็มที่มากยิ่งขึ้น ไม่ต้องเร่งเตรียมตัว เพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัย ❄ สถาบันอุดมศึกษาสามารถใช้ช่วงเวลาดังกล่าวในการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาในการเข้าสู่ระบบ อุดมศึกษา พัฒนาทักษะด้านภาษาหรือพัฒนาทักษะด้านอื่นๆ เพิ่มเติมให้แก่นักศึกษา
12
อนุสารอุดมศึกษา
เรื่องพิเศษ
า ษ ก ึ ศ ร า ก ก ั น า ้ ฟ า ้ จ เ จ ็ ด เ ม ส
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นสมเด็จ พระเจ้าลูกเธอพระองค์ที่ ๓ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันเสาร์ที่ ๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๘ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ได้รับพระราชทานพระนามว่า สมเด็จ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ด้ ว ยเหตุ ที่ ท รงบ�ำเพ็ ญ พระราชกิ จ จานุ กิ จ นานั ป การอั น เป็ น ประโยชน์ แ ก่ แ ผ่ น ดิ น และราษฎร พระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัว จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สถาปนาพระราชอิสริยยศ และพระราชอิสริยศักดิ์ เป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ในการพระราชพิธีเฉลิม พระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๐ และจากพระวิริยะอุตสาหะในการทรงศึกษาหาความรู้และบ�ำเพ็ญพระราชกิจ นานัปการ พระเกียรติคุณ เป็นที่ประจักษ์ชัดแจ้ง ทั้งในราชอาณาจักร และนานาชาติ จึงทรงรับพระราชทานเครื่องราช อิสริยาภรณ์ แห่งราชอาณาจักรไทย และทรงรับการทูลเกล้าฯ ถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
อนุสารอุดมศึกษา
13
เรื่องพิเศษ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเริม่ ต้นการศึกษาระดับ อนุบาล เมือ่ พุทธศักราช ๒๕๐๑ ณ โรงเรียนจิตรลดา ในเขตพระราชฐาน พระต�ำหนัก จิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต โดยทรงศึกษาต่อเนื่องไปจนถึงระดับมัธยมศึกษา ตลอดระยะเวลาทีท่ รงศึกษา ทรงเอาพระทัยใส่ในการเรียน โปรดการอ่าน และการศึกษา วรรณคดี ทัง้ ของไทยและต่างประเทศ ทรงเริม่ แต่งค�ำประพันธ์ตา่ ง ๆ ทัง้ ร้อยแก้ว และ ร้อยกรอง ตัง้ แต่ยงั ทรงศึกษาในชัน้ ประถมศึกษา โปรดการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของ โรงเรียน ทัง้ ด้านกีฬา ดนตรี บันเทิง และกิจกรรมเพือ่ สาธารณประโยชน์ หลังจากทรงส�ำเร็จการศึกษา ประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย ในแผนกศิลปะ จากโรงเรียนจิตรลดา เมือ่ พุทธศักราช ๒๕๑๖ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรม ราชกุมารี ทรงสอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย แม้จะมีพระราชภารกิจ โดยเสด็จพระราชด�ำเนิน พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ วั และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินนี าถ ไปเยีย่ มราษฎรในภูมภิ าค ต่าง ๆ แต่ก็ทรงมีพระวิริยะอุตสาหะในการเรียนอย่างยิ่ง และยังทรงร่วมกิจกรรมของ คณะ และของมหาวิทยาลัย เช่นเดียวกับนิสติ ทัว่ ไป ในปีการศึกษา ๒๕๑๙ ทรงส�ำเร็จการ ศึกษา และทรงเข้ารับพระราชทานปริญญา อักษรศาสตรบัณฑิต เกียรตินยิ มอันดับหนึง่ เหรียญทอง สาขาวิชาประวัตศิ าสตร์ ในพุทธศักราช ๒๕๒๐ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสมัครเข้าศึกษาต่อระดับมหาบัณฑิต ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร และจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย พร้อมกันทั้งสองแห่ง ทรงส�ำเร็จการศึกษาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขา วิชาจารึกภาษาตะวันออก จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ในปีการศึกษา ๒๕๒๒ หลังจากนัน้ ทรงส�ำเร็จการศึกษา อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลี - สันสกฤต จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปีการศึกษา ๒๕๒๔ ต่อมา ด้วยความสนพระทัยงานด้าน การพัฒนา โดยอาศัยหลักวิชาการศึกษา หรือการเรียนรูเ้ ป็นแกน จึงทรงสมัครเข้าศึกษาต่อ ในระดับดุษฎีบัณฑิต ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ทรงส�ำเร็จการศึกษา และรับ พระราชทานปริญญา การศึกษาดุษฎีบณ ั ฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษาศาสตร์ในปีการศึกษา ๒๕๒๙ หลักคิดในการใช้การศึกษาเป็นปัจจัยหลักในการสร้าง และพัฒนาความรู้ ความคิด ของประชาชน และเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชน และสังคม ที่ทรงได้รับจากการ ศึกษา ในระดับดุษฎีบัณฑิต ผนวกกับประสบการณ์ที่ทรงเรียนรู้ จากการโดยเสด็จ พระราชด�ำเนิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั จึงเป็นพืน้ ฐานความรูท้ แี่ ข็งแกร่ง ในการ ทรงงานพัฒนาของพระองค์เอง ในเวลาต่อมา จวบจนปัจจุบนั นอกเหนือจากการศึกษาในระบบ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรม ราชกุมารี ยังสนพระทัยศึกษาเพิม่ เติม ดูงาน ประชุมสัมมนา และฝึกอบรมเชิงปฏิบตั กิ าร เพือ่ เพิม่ พูนทักษะ ความรู้ ในวิชาการด้านอืน่ ๆ อีกหลายด้าน เช่น ภูมศิ าสตร์กายภาพ อุทกศาสตร์ พฤกษศาสตร์ การจัดการทรัพยากรดินและน�้ำ รีโมตเซนซิ่ง ระบบภูมิ สารสนเทศ แผนที่ โภชนาการ เป็นต้น ด้วยมีพระราชประสงค์ ทีจ่ ะน�ำความรูท้ ไี่ ด้จาก วิชาการเหล่านี้ ไปประยุกต์ใช้ในการทรงงานพัฒนาชุมชน และยกระดับชีวติ ความเป็นอยู่ ของราษฎร
14
อนุสารอุดมศึกษา
เรื่องพิเศษ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นนักการศึกษา โปรดที่จะศึกษาหาความรู้ต่าง ๆ และ ทรงมุ่งมั่นอุตสาหะในการศึกษาสิ่งที่สนพระทัยอย่างจริงจัง ความใฝ่พระทัยในการศึกษามีมาตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ ดังจะ เห็นได้จากพระราชนิพนธ์ข้อสอบวิชาเรียงความ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เรื่อง ‘ประเทศทั้งหลายย่อมเจริญได้ด้วยการศึกษา’ ความตอนหนึ่งว่า “... กล่าวกันว่า “การศึกษาทำ�คนให้เป็นคน” เนื่องจากการศึกษานี้ไม่ได้หมายความเพียงแค่ท่องจำ�สิ่งต่าง ๆ ที่ทางโรงเรียนและกระทรวงศึกษาธิการกำ�หนดให้เรียน แต่มีความหมายกว้างออกไปถึงการค้นคว้าด้วยตนเอง ใช้สมองคิด วิเคราะห์แยกแยะถึงเหตุผลของสิ่งต่าง ๆ ในโลกด้วย ยิ่งบุคคลเรียนรู้เข้าใจสิ่งต่าง ๆ มากขึ้นเท่าไร บุคคลนั้นยิ่งเป็นคนที่ เชี่ยวชาญเฉลียวฉลาดทั้งในทางโลกและทางธรรม เป็นกำ�ลังของบ้านเมือง ทำ�ให้บ้านเมืองเป็นปรกติสุข ประเทศอื่น ๆ ไม่อาจ จะเอารัดเอาเปรียบได้ ...” ทรงเห็นความสำ�คัญของครอบครัวที่เป็นจุดเริ่มแรกของการเรียนรู้ และหล่อหลอมจิตสำ�นึกของคนตั้งแต่วัยเยาว์ พระราชดำ�ริดังกล่าวอยู่ในปาฐกถาเรื่อง “การศึกษาของผู้ด้อยโอกาส” ที่ทรงบรรยายเมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ ความตอนหนึ่งว่า “... การศึกษาเบื้องต้นที่เราพูดถึงคือ การศึกษาในครอบครัว ซึ่งเป็นช่วงสร้างบุคลิกสร้างชีวิต โดยหลัก ๆ แล้ว เป็นการเรียนรูก้ ารปฏิบตั ติ นในชีวติ ประจำ�วันและพัฒนาการต่าง ๆ เช่น การพูด การกิน การเดิน การแต่งตัว กิจกรรมในครัวเรือน เช่น การถูพื้นในบ้านต้องทำ�เป็น การเย็บผ้า การแก้เครื่องใช้อะไรนิด ๆ หน่อย ๆ และมีการเรียนความรู้ที่จะประกอบอาชีพ ตามอาชีพพ่อแม่ เช่น ชาวนาก็เอาลูกไปทำ�นา ชาวประมง ช่างฝีมือต่าง ๆ หรือว่าเห็นว่าพ่อแม่ทำ�อย่างนั้นอยู่ในบรรยากาศ อย่างนั้นก็ทำ�ตามไป ... ... นอกจากนั้นครอบครัวยังให้การศึกษาด้านจริยศาสตร์และค่านิยมทางสังคมด้วย หรือว่าความเคยชิน เช่น ข้าพเจ้าเกิดในครอบครัวที่พ่อแม่ชอบอ่านหนังสือ ชอบศึกษาเล่าเรียน ก็จะได้ความเคยชินเรื่องการอ่านหนังสือและการ เล่าเรียนมาด้วย ...”
อนุสารอุดมศึกษา
15
เรื่องพิเศษ
จากพื้ น ฐานความเป็ น นั ก อ่ า น ความใฝ่ เรี ย นรู ้ อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ ง เมื่ อ เจริ ญ พระชันษาขึน้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จึงทรงเป็นนักการศึกษา ที่สนพระทัยศาสตร์ต่าง ๆ หลายแขนง โปรดการศึกษาค้นคว้าที่กว้างขวางรอบด้าน มิใช่เฉพาะสิ่งที่ก�ำหนดไว้ในหลักสูตรเท่านั้น ทรงส�ำเร็จการศึกษาทางด้านอักษรศาสตร์ ในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท (สาขาวิชาประวัติศาสตร์ สาขาวิชาจารึกภาษา ตะวันออกและสาขาวิชาภาษาบาลี - สันสกฤต ตามล�ำดับ) จากนั้น ทรงศึกษาต่อระดับ ปริญญาเอกในสาขาวิชาพัฒนศึกษาศาสตร์ อันเป็นวิชาการที่ว่าด้วยการพัฒนาโดยใช้ การศึกษาการเรียนรู้เป็นแกน และยังทรงเข้ารับการฝึกอบรมและศึกษาหาความรู้ เกี่ยวกับวิทยาการแขนงอื่น ๆ ที่สนพระทัยและทรงเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อการทรงงาน อย่างต่อเนื่อง นอกจากจะสนพระทัยในศาสตร์ที่เป็นพื้นฐาน ยังทรงมีทักษะทางด้านภาษา ต่างประเทศหลายภาษา อาทิ บาลี-สันสกฤต จีน เขมร อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ละติน ท�ำให้ทรงสามารถศึกษาค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่างประเทศได้อย่างกว้างขวาง ทรงเน้น ความส�ำคัญของความรู้ภาษาและการใช้ภาษา ทั้งเพื่อการศึกษาค้นคว้าและการติดต่อ สื่อสาร ที่ส�ำคัญคือภาษาไทย ทรงเน้นว่าต้องอ่านจับความให้ได้ พูดและเขียนให้ชัดเจน ถูกกาลเทศะ การมีความรู้ภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาอังกฤษมีความ ส�ำคัญมากเช่นกัน ในด้านการค้นคว้าหาความรู้ เนื่องจากข้อเขียนต่าง ๆ ในด้านวิชาการ มีที่เป็นภาษาอังกฤษมากที่สุด ถ้าใช้ได้แต่ข้อมูลที่เป็นภาษาไทย ความรู้จะแคบ เพราะว่า อ่านได้แต่สิ่งที่คนไทยเขียน การแปลข้อความมาจากต่างประเทศอาจจะคลาดเคลื่อนได้ การมี ความรู ้ ภ าษาส�ำคั ญ ที่ ใช้ ติ ด ต่ อสื่ อ สารกั น เป็ น สิ่ ง จ�ำเป็ น ทั้ ง ด้ า นเอกสาร และ การสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์ระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อติดต่อกับนักวิชาการหรือนักธุรกิจ ได้ทั่วโลก สามารถเข้าถึงฐานข้อมูลต่าง ๆ มากมาย เสนองานวิจัยให้ผู้อื่นวิจารณ์ ขอ ความรู้หรือพูดคุยกับผู้สนใจเรื่องเดียวกันได้ทั่วโลก รวมทั้งการรับ-ส่งข้อมูลในลักษณะ มัลติมีเดีย (Multimedia) นอกจากภาษาอังกฤษซึ่งจะเป็นภาษาสากลแล้ว ทรงเห็นว่า ภาษาต่างประเทศภาษาที่สองนั้น ถ้ามีความรู้ได้ก็มีประโยชน์ พระราชกรณียกิจสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในด้าน การศึกษา อาจจ�ำแนกได้เป็น ๒ ลักษณะ ได้แก่ พระราชกรณียกิจการทรงรับราชการ และพระราชูปถัมภ์เพื่อการศึกษาและวิจัย สมเด็ จ พระเทพรั ต นราชสุ ด าฯ สยามบรมราชกุ ม ารี ท รงปฏิ บั ติ พ ระราช กรณียกิจในฐานะ ‘ทูลกระหม่อมอาจารย์’ ของนักเรียนนายร้อย โรงเรียนนายร้อย พระจุลจอมเกล้า อย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลากว่า ๒๕ ปี ทรงทุ่มเทเวลาให้กับการ ทรงงานอย่างจริงจัง ด้วยมีพระราชประสงค์ทจี่ ะฝึกให้นกั เรียนนายร้อยรูจ้ กั คิด รูจ้ กั ตัวเอง คือให้รู้ว่าเราเป็นใคร มาจากที่ใด และก�ำลังจะไปทางไหน ดังพระราชด�ำรัสที่ว่า “... การเรียนประวัติศาสตร์ในโรงเรียนนายร้อยมีจุดประสงค์หลักในการให้ นักเรียนฝึกหัดวิธีการทรงประวัติศาสตร์ในการคิดหาเหตุผล มีส�ำนึกทางประวัติศาสตร์ ให้มีความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของบ้านเมือง ในฐานะที่เป็นประชาชนคนไทย ควรรู้รากเหง้าเรื่องราวของตนเอง ความรู้นี้จะเป็นพื้นฐานช่วยเชื่อมโยงให้เข้าใจสังคม ไทยปัจจุบันดีขึ้น ให้รู้เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมโลกในฐานะที่ประเทศไทยเป็น ส่วนหนึ่งของประชาคมโลก ทั้งหมดนี้มีส่วนเอื้อให้การท�ำงานดีขึ้น ...”
ข้อมูล http://www.sirindhorn.net/
16
อนุสารอุดมศึกษา
พูดคุยเรื่องมาตรฐาน
ความก้ า วหน้ า ของมาตรฐานอุ ด มศึ ก ษา ในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ดำ�เนินการโครงการวิจัยเรื่อง National Framework for Higher Education In Thailand (NQF) โดยความร่วมมือระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิของไทยและผู้เชี่ยวชาญจากออสเตรเลีย เพื่อจัดทำ� กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยที่เทียบเคียงได้กับระดับสากลเพื่อเป็นมาตรฐานและแนวทางในการผลิตบัณฑิต และพัฒนากำ�ลังคนที่มีคุณภาพ มีสมรรถนะ และความรู้ ความสามารถ โดยยังคงความต้องการของสังคมไทยเกี่ยวกับคุณลักษณะที่ พึงประสงค์ของบัณฑิต ซึ่งผลจากการวิจัยดังกล่าวสำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จัดทำ�ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ และประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตาม กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ ที่มุ่งเน้นมาตรฐานผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) ที่คาดหวังให้ บัณฑิตมีอย่างน้อย ๕ ด้าน ได้แก่ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หากสาขา/สาขาวิชาใด ที่เน้นทักษะทางปฏิบัติต้องเพิ่มมาตรฐานผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ทั้งนี้ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหรือ ปรับปรุงรายละเอียดของหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ให้สามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ และเพื่อประโยชน์ต่อการรับรองมาตรฐานคุณวุฒิในระดับอุดมศึกษาในระดับนานาชาติ สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษานำ�กรอบมาตรฐานคุณวุฒิไปสู่การปฏิบัติในสถาบัน อุดมศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีความรู้ ความสามารถในการ ประกอบอาชีพที่สามารถแข่งขันกับบัณฑิตในระดับสากล โดยจัดโครงการความร่วมมือทางวิชาการกับต่างประเทศเพื่อส่งเสริมการ จัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ เทียบเคียงกับสากล ดังนี้ โครงการความร่วมมือกับประเทศออสเตรเลียภายใต้กรอบบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding) ด้านความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทยกับกระทรวงการศึกษาวิทยาศาสตร์และฝึกอบรมของประเทศ ออสเตรเลีย เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการอุดมศึกษาที่มุ่งเน้นคุณภาพบัณฑิตด้วยการพัฒนามาตรฐานผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) ที่คาดหวัง รวมทั้งคุณลักษณะอื่นๆ ที่พึงประสงค์เพื่อเป็นเครื่องมือในการนำ�นโยบายตามมาตรฐานการศึกษา ของชาติ รวมทั้งมาตรฐานการอุดมศึกษาไปสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม
อนุสารอุดมศึกษา
17
พูดคุยเรื่องมาตรฐาน
โครงการความร่ ว มมื อ กั บ สหภาพยุ โรป ได้ ด�ำเนิ น การโครงการ ‘Tuning Educational Structures to the Internationalization’ เพื่อศึกษาแนวโน้มและการปฏิรูปอุดมศึกษาของทวีปยุโรปและของประเทศต่างๆ ศึกษาเปรียบเทียบการจัดท�ำ มาตรฐานคุณวุฒิสาขา การออกแบบหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการวัดและประเมินผล ปัจจุบันส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จัดท�ำมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชาต่างๆ เพื่อเป็นมาตรฐานหรือ แนวทางในการพัฒนาหลักสูตรให้มีคุณภาพที่ทัดเทียมกัน เพื่อให้คุณภาพของบัณฑิตที่ผลิตในสาขา/สาขาวิชาของระดับคุณวุฒิเดียวกัน จากสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ มีมาตรฐานทีเ่ ทียบเคียงกันได้ทงั้ ในระดับชาติและระดับสากล โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึง่ มีผลใช้ บังคับแล้ว จ�ำนวน ๑๑ สาขาวิชา คือ สาขาคอมพิวเตอร์ สาขาพยาบาลศาสตร์ (ระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา) สาขาโลจิสติกส์ สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม สาขาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการบัญชี สาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์(๕ ปี) สาขาวิชาภาษา ไทย สาขาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ (ระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา) และสาขาวิชากายภาพ บ�ำบัด (ระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา) นอกจากนี้ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาก�ำลังด�ำเนินการจัดท�ำมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชาต่างๆ เพิ่มเติม ได้แก่ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร สาขาสัตวแพทยศาสตร์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (บัณฑิตศึกษา) สาขาบริหารธุรกิจ สาขาศิลปกรรมศาสตร์ สาขาสิ่งแวดล้อม สาขาทันตแพทยศาสตร์ สาขาเภสัชศาสตร์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ (ระดับปริญญาตรี – โท – เอก) สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ สาขานิเทศศาสตร์และการสื่อสารมวลชน สาขาเทคโนโลยี สาขาวิชาสัตวบาลและสัตวศาสตร์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ (ระดับ ปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา) สาขาเกษตรศาสตร์ เป็นต้น ส�ำหรับภารกิจในการส่งเสริมสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษามีอ�ำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาที่เข้มแข็ง และมีประสิทธิภาพ เพื่อใช้เป็นกลไกก�ำกับคุณภาพมาตรฐานการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ให้สามารถสร้างบัณฑิต งานวิจัย และ การบริการวิชาการที่มีคุณภาพ เพื่อตอบสนองความจ�ำเป็นและความต้องการของสังคม เป็นที่ยอมรับและเทียบเคียงได้ในระดับสากล ตลอดจนเป็นมาตรการส�ำคัญเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และสนองต่อเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๕ มาตรา ๔๗ และ ๔๘ ที่ก�ำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและ มาตรฐานการศึกษาทุกระดับ และให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายใน เพื่อน�ำไปสู่การพัฒนา คุณภาพและมาตรฐานการศึกษา เพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก
18
อนุสารอุดมศึกษา
พูดคุยเรื่องมาตรฐาน
ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้มีการด�ำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการ ประกันคุณภาพการศึกษาภายในอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ ๑. พัฒนาตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาน�ำไปใช้เป็น แนวทางในการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกจากส�ำนักงานรับรอง มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ปัจจุบันอยู่ระหว่างการปรับปรุงตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพ การศึกษาภายในเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ ๒. พัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับอุดมศึกษา (CHE QA ONLINE SYSTEM) เพื่อใช้ เป็นระบบฐานข้อมูลกลางด้านประกันคุณภาพการศึกษาของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ น�ำมาใช้ประโยชน์ในการก�ำหนดนโยบาย แผนงาน และการส่งเสริมการด�ำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของ สถาบันอุดมศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล รวมทั้งอ�ำนวยความสะดวกแก่สถาบันอุดมศึกษาในการจัดเก็บรวบรวม ข้อมูลด้านการประกันคุณภาพ และรายงานประจ�ำปีที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพภายใน ซึ่งส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาได้ส่งเสริมสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งด�ำเนินการจัดท�ำรายงานประจ�ำปีที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพ ภายในผ่านระบบ CHE QA ONLINE ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๑ เป็นต้นมา ๓. พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษาของส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในให้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ จากสาขาวิชาต่างๆ และผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาที่มีความสนใจท�ำหน้าที่ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในทั้งระดับคณะวิชา และสถาบัน อันจะน�ำไปสู่การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งส่งเสริมให้การประกันคุณภาพการ ศึกษาภายในมีความเข้มแข็ง ปัจจุบันมีรายชื่อที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในของส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา จ�ำนวนกว่า ๙,๐๐๐ คน ๔. พัฒนาและสร้างความเข้าใจในกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในทั้งระบบให้ครบวงจร โดยจัดการประชุม สัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในโดยมีข้อเสนอแนะจากการประเมินอภิมานการประเมิน คุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษาส�ำหรับผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในของสานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา รวมทั้งจัดประชุมชี้แจงการใช้งานระบบฐานข้อมูลการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เป็น ประจ�ำทุกปี ๕. ด�ำเนินการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะวิชาและระดับสถาบัน โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิสาขา วิชาต่างๆ ร่วมด�ำเนินการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะวิชาและระดับสถาบัน โดยภายในปีงบประมาณ ๒๕๕๖ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะด�ำเนินการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ระดับคณะวิชา ๒๓๕ คณะวิชา และระดับสถาบัน ๒๖ สถาบัน ๖. ด�ำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ (Education Criteria for Performance Excellence) โดยเริ่มด�ำเนินโครงการน�ำร่องคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ในปี ๒๕๕๓ มีคณะวิชาเข้าร่วมโครงการฯ จ�ำนวน ๖ คณะวิชา และต่อมาในปีงบประมาณ ๒๕๕๕ ได้ด�ำเนินโครงการต่อยอดคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ จ�ำนวน ๓ รุ่น (ระยะเวลาด�ำเนิน โครงการตั้งแต่เดือนธันวาคม ๒๕๕๔ - ธันวาคม ๒๕๕๗) มีสถาบันอุดมศึกษาเข้าร่วมโครงการ รุ่นที่ ๑ จ�ำนวน ๗ คณะวิชา/สถาบัน รุ่นที่ ๒ จ�ำนวน ๖ คณะวิชา/สถาบัน รุ่นที่ ๓ จ�ำนวน ๖ คณะวิชา/สถาบัน นอกจากนี้ ยังได้จัดอบรมผู้ประเมินคุณภาพการศึกษา ด้วยเกณฑ์ EdPEx (QA Assessor) เพื่อท�ำหน้าที่ประเมินองค์กรทางการศึกษาด้วยเกณฑ์ EdPEx ด้วย
อนุสารอุดมศึกษา
19
มหกรรมอุดมศึกษาไทย ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเริ่มทศวรรษที่ ๒ เปิดศักราชใหม่ของอุดมศึกษาด้วยการจัดงานใหญ่แห่งปี Thai Higher Education Expo and Conference 2014 ‘มหกรรมอุดมศึกษาไทย’ ระหว่างวันที่ ๒๓ - ๒๔ เมษายน ๒๕๕๗ ณ อิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี เพื่อเป็นการรวมพลคนอุดมศึกษา เป็นแหล่งรวมข้อมูลสถาบันอุดมศึกษา ทั่วประเทศ ตลอดจนเป็นเวทีแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรม และเป็นเวทีกลางในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อให้ การจัดการอุดมศึกษาไทยมีคุณภาพมาตรฐาน รองรับการเข้าร่วมประชาคมอาเซียน และสามารถแข่งขันในเวทีโลกได้ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เปิดเผยถึงการจัดงานครั้งนี้ ว่า ‘มหกรรมอุดมศึกษาไทย’ จัดขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลและประชาสัมพันธ์หลักสูตรระดับอุดมศึกษา ให้นักเรียน นิสิตนักศึกษา ครู ผู้ปกครอง และผู้สนใจทั่วไป ในการเข้าถึงข้อมูลหลักสูตรและข้อมูลทางการศึกษาอื่นๆ โดยทัดเทียมกัน พร้อมทั้งแนะแนว และให้ค�ำปรึกษาในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ตลอดจนเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการ และแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการศึกษาต่อระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับกลุ่มเป้าหมาย และระหว่างสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งการจัด ‘มหกรรมอุดมศึกษาไทย’ ครั้งนี้ นักเรียน ผู้ปกครอง จะได้ข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษา เพื่อเป็นแนวทาง ในการพิจารณาเข้าศึกษาต่อ ในขณะเดียวกันบุคลากรอุดมศึกษาจะได้รับทราบนโยบายทิศทางการจัดการอุดมศึกษา จากเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาและประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา นอกจากนี้ในงานจะมีนิทรรศการ แสดงผลงานของ สกอ. และสถาบันอุดมศึกษา อาทิ การแนะแนวการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา การแนะน�ำหลักสูตร ต่างๆ จากสถาบันอุดมศึกษาทั้งรัฐและเอกชนทั่วประเทศ การแนะน�ำงานวิจัยและนวัตกรรม แนะน�ำทุนการศึกษา และ การจัดเสวนาวิชาการ ในหัวข้อที่น่าสนใจ อาทิ เลือกอนาคตอย่างไร ไม่ให้พลาดหวัง กลยุทธ์การสอนและประเมินผล ที่บรรลุมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ความท้าทายของมหาวิทยาลัยไทยในการก้าว สู่มหาวิทยาลัยระดับโลก ความท้าทายระดับกลยุทธ์ส�ำหรับสหกิจศึกษานานาชาติ ในศตวรรษที่ ๒๑ แนวโน้มงานวิจัยของ มหาวิทยาลัยไทยในทศวรรษหน้า เรียนภาษาอังกฤษอย่างไรให้สื่อสารได้ การประเมินการจัดการศึกษาในระบบการศึกษา ทางไกล “ในอดีตสมัยทบวงมหาวิทยาลัยได้มีการจัดกิจกรรมแนะแนวหลักสูตรให้กับนักเรียนเพื่อประกอบการตัดสินใจ สมัครสอบเอ็นทรานซ์ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๑ ต่อมามหาวิทยาลัยได้ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดงานตลาดนัดหลักสูตรอุดมศึกษา กระจายตามภูมิภาคต่างๆ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลหลักสูตรระดับอุดมศึกษา และกระจายโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลทางการศึกษา ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียน นิสิตนักศึกษา ครู ผู้ปกครอง หน่วยงาน และผู้สนใจทั่วไป มาจนถึงปัจจุบัน แต่การจัดงาน มหกรรมอุดมศึกษาครั้งนี้ สกอ. จัดขึ้นโดยรวมเอาความหลากหลายของตลาดนัดหลักสูตรอุดมศึกษา งานมหกรรมอุดมศึกษา หรือ University Fair ที่ สกอ. เคยจัดในปี ๒๕๔๘ และ ๒๕๔๙ และงานประชุมวิชาการปีแห่งคุณภาพการอุดมศึกษาไทย เมื่อปี ๒๕๕๒ เพื่อให้งานมหกรรมอุดมศึกษาไทยครั้งนี้เป็นงานใหญ่แห่งปีของคนอุดมศึกษา ที่ครบเครื่อง ถูกใจทั้งนักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง และผู้ชมงานทั่วไป ที่เข้ามาช้อปปิ้งเพียงงานเดียวแต่ได้ข้อมูลหลักสูตร และข้อมูลมหาวิทยาลัย ครบ ทุกหลักสูตร ทุกมหาวิทยาลัย ก่อนการตัดสินใจเลือกเรียน ในขณะเดียวกันสถาบันอุดมศึกษาก็มีช่องทางในการน�ำเสนอ หลักสูตรและบริการให้กับผู้สนใจก่อน นอกจากนี้บุคลากรอุดมศึกษาก็จะมีเวทีในการพบปะและแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านต่างๆ เพื่อร่วมกันพัฒนาอุดมศึกษาไทยให้ก้าวหน้า สามารถยกระดับไปสู่มหาวิทยาลัยระดับโลกในอนาคตอันใกล้ได้” เลขาธิการ กกอ. กล่าวในตอนท้าย ผู ้ ส นใจเข้ า ร่ ว มงาน สามารถดู ร ายละเอี ย ดได้ ท างเว็ บ ไซต์ http://www.mua.go.th เฟสบุ ๊ ค http://www.facebook.com/ohecthailand หรือสอบถามได้ที่หมายเลข ๐ ๒๖๑๐ ๕๔๑๖
เรื่องแนะน�ำ
อ่างแก้วเกมส์ การแข่ ง ขั น กี ฬ าบุ ค ลากรส�ำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา เดิ ม ใช้ ชื่ อ ว่ า การแข่ ง ขั น กี ฬ าบุ ค ลากรทบวง มหาวิทยาลัย ได้จัดให้มีการแข่งขันขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ.๒๕๒๕ โดยความริเริ่มของทบวงมหาวิทยาลัย และในปี พ.ศ.๒๕๔๗ เป็นต้นมา ได้เปลี่ยนชื่อเป็น การแข่งขันกีฬาบุคลากรส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีเป้าหมายในการแข่งขันเพื่อ สุขภาพพลานามัย เป็นกีฬาเพื่อความสามัคคี สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลากรของแต่ละสถาบัน โดยสถาบันอุดมศึกษา ในสังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีการหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ในปี ๒๕๕๗ มหาวิ ท ยาลั ย เชี ย งใหม่ ได้ รั บ มอบหมายให้ เ ป็ น เจ้ า ภาพจั ด การแข่ ง ขั น กี ฬ าบุ ค ลากรส�ำนั ก งาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา ครั้งที่ ๓๓ ระหว่างวันที่ ๑ - ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๗ โดยใช้ชื่อเกมส์การแข่งขันว่า ‘อ่างแก้วเกมส์’ จัดการแข่งขันทั้งสิ้น ๑๙ ชนิดกีฬา คือ ฟุตบอล วอลเลย์บอล กรีฑา กอล์ฟ เซปักตะกร้อ ตะกร้อลอดห่วง เทนนิส แบดมินตัน เทเบิลเทนนิส เปตอง ลีลาศ แอโรบิค ครอสเวิร์ด ว่ายน�้ำ โบว์ลิ่ง หมากกระดาน วอลเลย์บอลชายหาด จักรยานเพื่อสุขภาพ และสนุกเกอร์ ชื่อเกมส์และสัญลักษณ์ประจ�ำการแข่งขัน คือ รูปช้าง สือ่ ถึงตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทเี่ ป็นรูปช้าง ชูคบเพลิง แทนงวงช้างด้วยการชูลายเส้นรูปคนออกก�ำลังกายและเล่นกีฬา แสดงออกถึงการแข่งขันกีฬาเพื่อความสัมพันธ์อันดีและความสามัคคีของ บุคลากรระหว่างสถาบันอุดมศึกษา รวมทั้งการแสดงความยินดีในโอกาส ครบรอบ ๕๐ ปี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งแทนด้วยอักษร ‘๕๐ ปี มช.’ รองรับด้วยชื่อเกมส์ ‘อ่างแก้วเกมส์’ การแข่งขันกีฬาบุคลากรส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา ครั้งที่ ๓๓ ระหว่างวันที่ ๑ - ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ค�ำขวัญประจ�ำการแข่งขัน รวมน�้ำใจไมตรี ณ ที่แห่งนี้ ‘อ่างแก้วเกมส์’
อนุสารอุดมศึกษา
21
เรื่องแนะน�ำ
รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาที่หมุนเวียนเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ครั้งที่ ครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ ครั้งที่ ๓ ครั้งที่ ๔ ครั้งที่ ๕ ครั้งที่ ๖ ครั้งที่ ๗ ครั้งที่ ๘ ครั้งที่ ๙ ครั้งที่ ๑๐ ครั้งที่ ๑๑ ครั้งที่ ๑๒ ครั้งที่ ๑๓ ครั้งที่ ๑๔ ครั้งที่ ๑๕ ครั้งที่ ๑๖ ครั้งที่ ๑๗ ครั้งที่ ๑๘ ครั้งที่ ๑๙ ครั้งที่ ๒๐ ครั้งที่ ๒๑ ครั้งที่ ๒๒ ครั้งที่ ๒๓ ครั้งที่ ๒๔ ครั้งที่ ๒๕ ครั้งที่ ๒๖ ครั้งที่ ๒๗ ครั้งที่ ๒๘ ครั้งที่ ๒๙ ครั้งที่ ๓๐ ครั้งที่ ๓๑ ครั้งที่ ๓๒ ครั้งที่ ๓๓
22
ปี พ.ศ.ที่จัดแข่งขัน พ.ศ. ๒๕๒๕ พ.ศ. ๒๕๒๖ พ.ศ. ๒๕๒๗ พ.ศ. ๒๕๒๘ พ.ศ. ๒๕๒๙ พ.ศ. ๒๕๓๐ พ.ศ. ๒๕๓๑ พ.ศ. ๒๕๓๒ พ.ศ. ๒๕๓๓ พ.ศ. ๒๕๓๔ พ.ศ. ๒๕๓๕ พ.ศ. ๒๕๓๖ พ.ศ. ๒๕๓๗ พ.ศ. ๒๕๓๘ พ.ศ. ๒๕๓๙ พ.ศ. ๒๕๔๐ พ.ศ. ๒๕๔๑ พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๓ พ.ศ. ๒๕๔๔ พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๖ พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. ๒๕๔๘ พ.ศ. ๒๕๔๙ พ.ศ. ๒๕๕๐ พ.ศ. ๒๕๕๑ พ.ศ. ๒๕๕๒ พ.ศ. ๒๕๕๓ พ.ศ. ๒๕๕๔ พ.ศ. ๒๕๕๕ พ.ศ. ๒๕๕๖ พ.ศ. ๒๕๕๗
อนุสารอุดมศึกษา
สถาบันเจ้าภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง ทบวงมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อนุสารอุดมศึกษา
23
บกับ
ht p/ :w .mua.go.th รอพบกั บ รอพบกับ รอพบกับ รอพบกับ
มหกรรมอุดมศึกษาไทย
Thai Higher๒๓Education Expo and Conference 2014 ๒๔ เมษายน ๒๕๕๗ รอพบกั บ ๒๓ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๗ เมษายน ๒๕๕๗ ๒๓ - ๒๔ เมษายน ๒๕๕๗ http//:www.mua.go.th ๒๓ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๗ รอพบกั บ http//:www.mua.go.th .mua.go.th
รอพบกั บ ณ ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค ฟอรัม่ http//:www.mua.go.th http//:www.mua.go.th
๒๓นค้า-และการประชุ ๒๔ เมษายน ศูนย์แสดงสิ มอิมแพ็ค๒๕๕๗ เมืองทองธานี ๒๓http//:www.mua.go.th - ๒๔ เมษายน ๒๕๕๗ http//:www.mua.go.th
๒๓ - ๒๔ เมษายน ๒๕๕๗