อุดมศึกษา อนุสาร
ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๔๓๓ ประจำ�เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๗
เอกสารเผยแพร่ของสำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ISSN 0125-2461
อนุ ส ารอุ ด มศึก ษาออนไลน์ www.mua.go.th/pr_web ���������������10.indd 1
8/13/14 11:29 AM
สารบัญ เรื่องเล่าอุดมศึกษา สกอ. พัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานด้านป้องกันยาเสพติด การเรียนการสอนสำ�หรับการอุดมศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ สกอ. เตรียมพร้อมติดตามคุณภาพสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่เปลี่ยนประเภทแล้ว สกอ. เตรียมพร้อม ‘เด็กทุนใต้’ สกอ. ปฐมนิเทศครูอาสาสมัครชาวจีน เครือข่ายความร่วมมือ ASEA-UNINET ครั้งที่ ๑๔ ASEA-UNINET 14th Plenary Meeting สกอ. ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัย
ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๔๓๓ ประจำ�เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๗
๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘
๑๐
๙
๑๙
เรื่องเล่าอาเซียน
ความร่วมมือ ไทย – ลาว
๑๐
เรื่องพิเศษ
สานสัมพันธ์ ไทย - ออสเตรเลีย – นิวซีแลนด์
๑๒
๖
พูดคุยเรือ่ งมาตรฐาน
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ครบรอบ ๕ ปี
๑๗
เหตุการณ์เล่าเรื่อง
29th WANCA
๑๙
เล่าเรื่องด้วยภาพ
๒๒
คณะผู้จัดทำ�
อนุสารอุดมศึกษา
สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๒๖ เว็บไซต์ http://www.mua.go.th อีเมล pr_mua@mua.go.th เฟสบุ๊ค www.facebook.com/ohecthailand ทวิตเตอร์ www.twitter.com/ohec_th ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำ จร ตติยกวี รองศาสตราจารย์พนิ ติ ิ รตะนานุกลู นางวราภรณ์ สีหนาท นายสุภัทร จำ�ปาทอง นายศิระวิทย์ คลี่สุวรรณ บรรณาธิการ นายกฤษณ์กร วงศ์ไทย กองบรรณาธิการ นางสาวปิยาณี วิริยานนท์ นางชุลีกร กิตติก้อง นายเจษฎา วณิชชากร นางปราณี ชื่นอารมณ์ นายพรชัย สิทธินันทน์ นายจรัส เล็กเกาะทวด พิมพ์ที่ บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำ�กัด โทรศัพท์ ๐ ๒๙๐๓ ๘๒๕๗ - ๙
���������������10.indd 2
8/13/14 11:29 AM
เรื่องเล่าอุดมศึกษา
สกอ. พัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานด้านป้องกันยาเสพติด ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๗ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดโครงการ พั ฒ นาศั ก ยภาพเจ้ า หน้ า ที่ ผู ้ ป ฏิ บั ติ ง านด้ า นการป้ อ งกั น และแก้ ไขปั ญ หายาเสพติ ด ในสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มสถาบันแม่ข่าย ณ โรงแรมเกรทเธอร์ แม่โขงลอด์จ อ�ำเภอ เชียงแสน จังหวัดเชียงราย โดยได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิด รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ก�ำจร ตติ ย กวี เลขาธิ ก ารคณะกรรมการการ อุดมศึกษา กล่าวว่า โครงการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและ แก้ไขปัญหายาเสพติดในสถาบันอุดมศึกษา เป็นโครงการที่ สกอ. ตระหนักถึงความส�ำคัญ ของผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นผู้ที่จะน�ำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ เป็นผู้ขับเคลื่อนงานที่แท้จริงใน สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่ง ในสถานการณ์ที่การแพร่ระบาดของยาเสพติดในประเทศได้ทวี ความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีการผลิตทั้งภายในประเทศและมีการลักลอบน�ำเข้า มาจากต่างประเทศ การสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดให้แก่นิสิตนักศึกษาทุกคน ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดจึงเป็นงานที่ท้าทายในการท�ำให้ส�ำเร็จ เพราะต้องอาศัย ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคม ทั้งจากชุมชนและบุคลากรทุกกลุ่มในสถาบันอุดมศึกษา ทั้งกลุ่มเพื่อน อาจารย์ ร้านค้า หอพัก ผู้ปฏิบัติงานจึงต้องมีความสามารถในการประสานงานที่ดี นอกจากนี้อาจต้องค�ำนึงถึงความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ซึ่งบางพื้นที่ถูกขู่คุกคามจากกลุ่มผู้ค้ายาเสพติด แต่สถาบันอุดมศึกษาต้องด�ำเนินการป้องกันนิสิตนักศึกษาต่อไป การจะท�ำงานสร้าง ภูมิคุ้มกันในกลุ่มนิสิตนักศึกษาให้บังเกิดผลต้องให้นิสิตนักศึกษาได้เป็นผู้ร่วมคิดร่วมท�ำ ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการดูแลกันเอง ในกลุ่มเพื่อน จึงจะบังเกิดผลที่ยั่งยืน “การด�ำเนินงานสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดเป็น ๑ ใน ๖ มาตรการ ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้มี ค�ำสั่งที่ ๔๑/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เพื่อให้การปราบปรามและหยุดยั้งการแพร่ระบาดของยาเสพติดเป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพ ลดผลกระทบที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนและสังคมโดยรวม แนวทางการด�ำเนินงานส�ำคัญ คือ สนับสนุนองค์กรที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นแนวทางในการด�ำเนินงาน ที่สถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่ได้ด�ำเนินการแล้ว ทั้งนี้ สกอ. จะคงมุ่งมั่นในการเสริมสร้างประสิทธิภาพและเพิ่มพูนวิสัยทัศน์ในการ ด�ำเนินงานให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษาอย่างต่อเนื่องต่อไป” เลขาธิการ กกอ. กล่าว อนุสารอุดมศึกษา ���������������10.indd 3
3
8/13/14 11:29 AM
เรื่องเล่าอุดมศึกษา
การเรียนการสอนส�ำหรับการอุดมศึกษา ในศตวรรษที่ ๒๑ ๑๗ - ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๗ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมกับสมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์ และองค์กรระดับอุดมศึกษา จัดการประชุมวิชาการ เรื่อง การเรียนการสอนส�ำหรับการอุดมศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ (Teaching and Learning towards 21st Century Higher Education) ณ โรงแรมเอเชีย โดยได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิด รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า สถาบันอุดมศึกษาถือเป็น แหล่งรวบรวมองค์ความรู้และเป็นแหล่งส�ำคัญในการการผลิตบัณฑิตที่ดีและมีคุณภาพเพื่อน�ำไปสู่การพัฒนาประเทศ กลไกส�ำคัญ ที่เป็นเครื่องมือในการผลิตบัณฑิต คือ การจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพรองรับกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑ โดยมี อาจารย์ผู้สอนเป็นองค์ประกอบส�ำคัญที่มีส่วนท�ำให้การจัดกระบวนการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ กรอบแนวคิดเชิงมโนทัศน์ส�ำหรับทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในการสร้างทักษะการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ ๒๑ เนื่องด้วยเป็นกรอบแนวคิดที่เน้นผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียน ทั้งในด้านความรู้สาระวิชาหลัก และทักษะแห่งศตวรรษ ที่ ๒๑ ที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เตรียมความพร้อมในหลากหลายด้าน รวมทั้งระบบสนับสนุนการเรียนรู้ ได้แก่ มาตรฐานและการ ประเมิน หลักสูตรและการเรียนการสอน การพัฒนาอาจารย์และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนในศตวรรษที่ ๒๑ เนื่องจาก การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ นั้น อาจารย์ผู้สอนจะต้องเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง นับเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการ เรียนการสอนเพื่อมุ่งไปสู่ผลลัพธ์ที่สามารถดึงศักยภาพในตัวผู้เรียนออกมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป “ท่ามกลางสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศ และต่างประเทศ มีการวิเคราะห์วิจารณ์ พิจารณา องค์ประกอบและปัจจัยต่างๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ และหลายฝ่ายลงความเห็นว่า ปัจจัยที่ส�ำคัญมาก คือ ‘คุณภาพทางการศึกษา’ ของไทย ที่ยังจ�ำเป็นต้องมีการพัฒนาให้สามารถรองรับการสร้างคนให้มีทักษะทางความคิด ความเข้าใจ มีความสามารถในการอยู่ร่วมกับสังคมอย่างมีความสุข และความรู้ ความสามารถที่จะพัฒนาประเทศให้คงอยู่และมีความเข้มแข็ง เพียงพอที่จะแข่งขันกับนานาประเทศได้” เลขาธิการ กกอ. กล่าว
4
อนุสารอุดมศึกษา
���������������10.indd 4
8/13/14 11:29 AM
เรื่องเล่าอุดมศึกษา
สกอ. เตรียมพร้อมติดตามคุณภาพสถาบันอุดมศึกษาเอกชนทีเ่ ปลีย่ นประเภทแล้ว ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๗ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดการประชุมสัมมนา เรื่อง แนวทางและวิธีการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่เปลี่ยนประเภทแล้ว ณ ห้องประชุมคริสตัล โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค โดยได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิด และนางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เข้าร่วมการประชุม รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า การติดตามตรวจสอบด้านคุณภาพ มาตรฐานการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่เปลี่ยนประเภทแล้ว นับว่าเป็นงานใหญ่ที่ส�ำคัญและน่าสนใจยิ่ง ซึ่งสอดคล้อง กับนโยบายของ สกอ. ในการส่งเสริม สนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชนได้มสี ว่ นร่วมในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา เพือ่ ตอบสนอง ต่อความจ�ำเป็นและความต้องการของประเทศ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนเป็นสถานศึกษาและวิจัย มีวัตถุประสงค์ในการให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ท�ำการสอน ท�ำการวิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และท�ำนุบ�ำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ ปั จ จุ บั น สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาเอกชน มี จ�ำนวนรวม ๗๓ แห่ ง ซึ่ ง มี ส ถาบั น อุ ด มศึ ก ษาเอกชน ประเภทวิ ท ยาลั ย ได้ เ ปลี่ ย นประเภท เป็นมหาวิทยาลัยและสถาบัน จ�ำนวนรวมทั้งสิ้น ๓๖ แห่ง ซึ่ง สกอ. ยังมิได้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานการจัดการศึกษา ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ได้เปลี่ยนประเภทแล้ว ว่าได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อก�ำหนดที่สถาบันได้เสนอมาหรือไม่ “สกอ. จ�ำเป็นต้องมีการไปติดตามตรวจสอบด้านคุณภาพมาตรฐานการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่เปลี่ยน ประเภทแล้ว โดยใช้รูปแบบคณะกรรมการติดตามตรวจสอบ จ�ำนวนอย่างน้อย ๕ คน เข้าไปติดตามตรวจสอบในลักษณะพิชญพิจารณ์ (Peer Review) ซึ่งต้องอาศัยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญด้านการติดตามประเมินผล เพื่อท�ำหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะในการ ปรับปรุงและพัฒนาแก่สถาบัน โดยในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๗ จะมีการไปติดตามตรวจสอบสถาบันอุดมศึกษาเอกชนเปลี่ยนประเภท แล้ว ระยะแรก จ�ำนวน ๑๖ แห่ง ซึ่งแต่ละสถาบัน จะใช้เวลาประมาณ ๑ - ๓ วัน ขึ้นอยู่กับขนาดและจ�ำนวนหลักสูตรของสถาบัน ดังนั้น สกอ. จึงจัดประชุมในวันนี้เพื่อเตรียมความพร้อมและสร้างความเข้าใจแก่ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งจะเป็นคณะกรรมการติดตามตรวจสอบ ได้รับทราบถึงแนวทางและวิธีการติดตามตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่เปลี่ยนประเภทแล้ว รวมทัง้ เพือ่ รับทราบข้อเสนอแนะและประเด็นทีเ่ ป็นประโยชน์ส�ำหรับคณะกรรมการติดตามตรวจสอบได้น�ำไปใช้ในการไปติดตามตรวจสอบ ต่อไป” เลขาธิการ กกอ. กล่าว อนุสารอุดมศึกษา ���������������10.indd 5
5
8/13/14 11:29 AM
เรื่องเล่าอุดมศึกษา
สกอ. เตรียมพร้อม
‘เด็กทุนใต้’ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๗ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจัดการปฐมนิเทศและประชุมเตรียมความพร้อมในการศึกษาต่อ ระดับอุดมศึกษาโครงการทุนอุดมศึกษาเพือ่ การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีการศึกษา ๒๕๕๗ ณ หอประชุม ๑ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จังหวัดสงขลา โดยได้รบั เกียรติจากรองศาสตราจารย์พนิ ติ ิ รตะนานุกลู รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานเปิดงาน รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า โครงการทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนา จังหวัดชายแดนภาคใต้ ระยะที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๗ มีสถาบันอุดมศึกษา ๖๙ แห่ง ได้ให้การสนับสนุนทีน่ งั่ การศึกษาเป็นกรณีพเิ ศษ พร้อมให้ ทุนค่าเล่าเรียนในคณะ/สาขาวิชาต่างๆ ตลอดหลักสูตรจนส�ำเร็จการศึกษา จ�ำนวน ๑,๑๐๘ ทีน่ งั่ และส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สนับสนุนค่าครองชีพให้แก่นกั ศึกษาตามระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร จ�ำนวน ๑๒๕ ทุน เป็นเงินคนละ ๔๐,๐๐๐ บาทต่อปีการศึกษา ซึง่ มีผทู้ ผี่ า่ นการคัดเลือกให้มสี ทิ ธิส์ อบสัมภาษณ์ จ�ำนวนทัง้ สิน้ ๔๘๐ คน ทัง้ นี้ สกอ. จะประกาศรายชือ่ ผูม้ สี ทิ ธิไ์ ด้รบั ทุนค่าเล่าเรียนจากสถาบัน อุดมศึกษา และผูท้ ไี่ ด้รบั ทุนค่าครองชีพจาก สกอ. ภายในเดือนสิงหาคม ศกนี้ รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวว่า สกอ. ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้จดั ให้มกี ารปฐมนิเทศและเตรียมความ พร้อมให้แก่ผทู้ ผี่ า่ นการคัดเลือกให้ได้รบั ทุนก่อนการเข้ารับการสอบสัมภาษณ์ และเตรียมความพร้อมในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา เพือ่ ให้ นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถปรับตัวเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ได้อย่างมีความสุข และประสบความส�ำเร็จในการศึกษา ได้ตามทีต่ งั้ ความหวังไว้ “ขอให้ผู้รับทุนเห็นคุณค่าของทุนการศึกษาที่มุ่งหมายให้ผู้รับทุนมีโอกาสศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา เพื่อน�ำวิชาความรู้ไป พัฒนาถิน่ ฐานบ้านเกิด ช่วยเหลือท้องถิน่ และภูมลิ �ำเนาให้เจริญก้าวหน้า มีสนั ติสขุ ทุกชุมชุน และเมือ่ ทุกคนได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย แล้ว ขอให้ประพฤติปฏิบัติตนในทางที่ถูกที่ควร มีความเสียสละ มีจิตอาสาในการช่วยเหลือสังคมและส่วนรวม รู้จักปรับตัวกับสภาพ แวดล้อมใหม่ ประสบความส�ำเร็จในการศึกษาตามทีม่ งุ่ หวังไว้ และมีแรงบันดาลใจในการน�ำความรูไ้ ปพัฒนาท้องถิน่ และภูมลิ �ำเนาต่อไป เพราะการศึกษาเป็นพืน้ ฐานทีส่ �ำคัญอย่างยิง่ ในการพัฒนาตนเอง ท้องถิน่ ภูมลิ �ำเนา สังคม และประเทศต่อไปในอนาคต” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวในตอนท้ายว่า สกอ. มุง่ เน้นการผลิตบัณฑิตทีม่ คี ณ ุ ภาพ ตอบแทนสังคมและประเทศชาติ ด้วยการเล็งเห็น ว่าการลงทุนด้านการศึกษาเป็นการลงทุนที่ให้ผลประโยชน์ระยะยาว และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ทัดเทียมกับ อารยประเทศ ดังนัน้ จึงเห็นความจ�ำเป็นในการสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่นสิ ติ นักศึกษา ซึง่ เป็นปัจจัยส�ำคัญทีจ่ ะสร้างโอกาสทางการศึกษา ให้กบั เยาวชนให้สามารถพัฒนาความรู้ เพือ่ การประกอบอาชีพภายหลังส�ำเร็จการศึกษา สามารถพัฒนาตนเองให้มคี ณ ุ ภาพชีวติ ทีด่ ไี ด้ ทัง้ นี้ ความส�ำเร็จของโครงการทุนอุดมศึกษาเพือ่ การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือร่วมใจและบูรณาการการท�ำงานร่วมกัน ของทุกภาคส่วน เพือ่ การพัฒนาการศึกษาของเยาวชนในพืน้ ทีจ่ งั หวัดชายแดนภาคใต้อย่างยัง่ ยืนสืบไป
6
อนุสารอุดมศึกษา
���������������10.indd 6
8/13/14 11:29 AM
เรื่องเล่าอุดมศึกษา
สกอ. ปฐมนิเทศครูอาสาสมัครชาวจีน ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๗ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดงานปฐมนิเทศครูอาสาสมัครชาวจีน ประจ�ำปี การศึกษา ๒๕๕๗ (กลุ่มที่ ๒) ณ โรงแรมรัชดาซิตี้ ห้วยขวาง กรุงเทพฯ โดยได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานเปิดงาน และคุณโจว เกาหวี่ (Mr. Zhou Gaoyu) เลขานุการเอกฝ่าย การศึกษา สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจ�ำประเทศไทย คุณเฉิน หย่งซัน (Mr. Chen Yongshan) ผู้แทน ส�ำนักงานส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติประจ�ำประเทศไทย (ฮั่นปั้น) และคุณเฉียน หรง (Ms. Qian Rong) เลขานุการโทฝ่ายกงสุล สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจ�ำประเทศไทย เข้าร่วมงาน รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า เนื่องจากในปีการศึกษา ๒๕๕๗ มีการปรับตัวเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ท�ำให้สถาบันอุดมศึกษาไทยหลายแห่งมีการปรับ เวลาการเปิดภาคเรียนให้สอดคล้องกับสากลและประชาคมอาเซียน จากเดิมที่เริ่มเปิดเดือนมิถุนายน เลื่อนมาเป็นเดือนสิงหาคม แต่ยังมีมหาวิทยาลัยบางส่วนที่ยังคงใช้ปฏิทินการศึกษาเดิม จึงท�ำให้ครูอาสาสมัครต้องเดินทางมาปฏิบัติหน้าที่เป็นสองช่วงเวลา โดยครูกลุ่มที่หนึ่งได้เดินทางมาแล้วเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาและเริ่มปฏิบัติงานแล้ว และครูกลุ่มที่สองที่เพิ่งเดินทาง มาถึง ทั้งนี้ครูอาสาสมัครชาวจีนทั้งสองกลุ่มต่างมีภารกิจในประเทศไทยเป็นระยะเวลาประมาณสิบเดือนเท่ากัน รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า ส�ำหรับปีการศึกษา ๒๕๕๘ เป็นต้นไป คาดว่าสถาบันอุดมศึกษาไทยทั้งหมดจะปรับ เปลี่ยนปฏิทินการศึกษาให้ตรงกัน ครูอาสาสมัครชาวจีนในสังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาทั้งหมดจะเริ่มปฏิบัติ หน้าที่ตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นไป ซึ่งจะแตกต่างจากครูอาสาสมัครที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถาบันการศึกษาที่สังกัดส�ำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและส�ำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาที่ยังคงเริ่มปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายนเช่นเดิม “ขอบคุ ณ ครู อ าสาสมั ค รทุ ก ท่ า นที่ มี ค วามมุ ่ ง มั่ น ตั้ ง ใจในการมาสอนภาษาและวั ฒ นธรรมจี น ให้ แ ก่ นั ก ศึ ก ษาไทย เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในสถาบันการศึกษาไทยให้มีคุณภาพและมาตรฐาน ขอให้ครูอาสาสมัครทุกท่านปฏิบัติหน้าที่ ลุล่วงไปด้วยดี และใช้โอกาสที่พ�ำนักอยู่ในประเทศไทยเรียนรู้ประวัติศาสตร์และขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยเพื่อเสริมสร้าง ความเข้าใจอันดีระหว่างสองประเทศ และขอให้ครูอาสาสมัครทุกท่านมีความสุขตลอดระยะเวลาที่พ�ำนักอยู่ในประเทศไทย” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว อนุสารอุดมศึกษา ���������������10.indd 7
7
8/13/14 11:29 AM
เรื่องเล่าอุดมศึกษา
เครือข่ายความร่วมมือ ASEA-UNINET ครั้งที่ ๑๔
ASEA-UNINET 14th Plenary Meeting
๑๔ - ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๗ - มหาวิทยาลัยอินสบรุกค์ สาธารณรัฐออสเตรีย เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Plenary meeting of ASEAUNINET ครัง้ ที่ ๑๔ (ASEA-UNINET 14th Plenary Meeting) มีวตั ถุประสงค์ในการสร้างเครือข่ายการด�ำเนินกิจกรรมความร่วมมือทางวิชาการ เทคโนโลยีและศิลปะร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยในกลุ่มประเทศสมาชิก ซึ่งรัฐบาลออสเตรียได้ก�ำหนดจัดงานฉลองครบรอบ ๓๐ ปีของความ ร่วมมือทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ระหว่างไทยกับออสเตรีย และฉลองครบรอบ ๒๐ ปีของเครือข่าย ASEA-UNINET รวมทัง้ การจัดงานเลีย้ งอ�ำลา ให้แก่ Prof. Dr. h.c. mult. Bernd Michael Rode ศาสตราจารย์ประจ�ำสถาบันเคมีอนินทรียแ์ ละเคมีวเิ คราะห์ มหาวิทยาลัยอินสบรุกค์ สาธารณรัฐ ออสเตรีย ผูซ้ งึ่ ริเริม่ การส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยและออสเตรีย ตัง้ แต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ จนถึงปัจจุบนั เนือ่ งใน โอกาสหมดวาระการด�ำรงต�ำแหน่งประธานเครือข่าย ASEA-UNINET โดยในพิธเี ปิดงานได้รบั เกียรติจากนายกเทศมนตรีเมืองอินสบรุกค์ สมาชิก สภารัฐ Tyrol และผูแ้ ทนรัฐมนตรีชว่ ยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และการวิจยั ของสาธารณรัฐออสเตรียเข้าร่วมพิธเี ปิดในครัง้ นีด้ ว้ ย รองศาสตราจารย์พนิ ติ ิ รตะนานุกลู รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา พร้อมด้วยผูบ้ ริหารของมหาวิทยาลัยไทยทีเ่ ป็นสมาชิก เครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัยในทวีปยุโรปและมหาวิทยาลัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN European Academic University Partnership Network: ASEA-UNINET) จ�ำนวน ๑๕ แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้เข้าร่วมการประชุมครัง้ นีด้ ว้ ย โดยมีมหาวิทยาลัย สมาชิกจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และยุโรปเข้าร่วมการประชุมจ�ำนวน ๗๕ คน จาก ๑๐ ประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย เยอรมนี อิตาลี สโลวาเกีย ปากีสถาน มาเลเซีย เวียดนาม ฟิลปิ ปินส์ อินโดนีเซีย และไทย รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า ในการประชุมครั้งนี้ ได้มีการรายงานผล การด�ำเนินกิจกรรมในระดับภูมิภาคและระดับประเทศจากยุโรปและเอเชียในปี ๒๕๕๖ โดยประเทศไทยน�ำเสนอโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์พิชาญ สว่างวงศ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา ในฐานะผูป้ ระสานงานระดับชาติ และการประชุมกลุม่ ย่อยในสาขาวิชาทีม่ คี วามสนใจร่วมกันเพือ่ ริเริม่ กิจกรรม/โครงการทีจ่ ะด�ำเนินการร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยสมาชิกเครือข่าย ได้แก่ สาขา Science and Technology สาขา Economics, Social Sciences, Humanities, Culture and Music และสาขา Health, Pharmacy and Medicine นอกจากนีย้ งั ได้มกี ารรับมหาวิทยาลัย ๒ แห่ง เป็นสมาชิกใหม่ของเครือข่าย ASEA-UNINET ได้แก่ University of Sumatera Utara และ Airlangga University ประเทศอินโดนีเซีย ส�ำหรับในการประชุมครัง้ ต่อไป ประเทศอินโดนีเซีย รับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม รายชือ่ ประธาน ผูป้ ระสานงานเครือข่ายระดับภูมภิ าคและระดับประเทศคนใหม่ มีดงั นี้ Chairman ASEA-UNINET: Prof. Dr. dr. Ketut Suastika, Indonesia Regional Coordinator: Asia: Assoc. Prof. Dr. Ngo Chi Trung, Vietnam Europe: Prof. Carla Locatelli, Italy National Coordinator ของประเทศไทย: ผศ.นิธนิ นั ท์ วิศเวศวร รองอธิการบดีฝา่ ยวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
8
อนุสารอุดมศึกษา
���������������10.indd 8
8/13/14 11:29 AM
เรื่องเล่าอุดมศึกษา
สกอ. ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัย ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๗ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา บริติส เคานซิล ประเทศไทย และทอมสัน รอยเตอร์ส (Thomson Reuters) ร่วมกันจัดงานสัมมนาในหัวข้อ University Rankings 360 Degree: Challenges, Opportunities and Partnerships in ASEAN ณ โรงแรม โฟร์ซซี นั่ กรุงเทพฯ เพือ่ เป็นเวทีในการให้ความรูแ้ ละแลกเปลีย่ นความคิดเห็นเกีย่ วกับประเด็น และผลกระทบต่างๆ ของการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก โดยมีรองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการ อุดมศึกษา ศาสตราจารย์ ม.ร.ว.ชิษณุสรร สวัสดิวฒ ั น์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล นายคริส กิบสัน ผูอ้ �ำนวยการ บริตสิ เคานซิล ประจ�ำ ประเทศไทย นายฟีล เบที บรรณาธิการ Time Higher Education (THE) ประเทศอังกฤษ และ ดร.เว่ย ฟู วอง ทีป่ รึกษาอาวุโส ทอมสัน รอยเตอร์ (Thomson Reuters) ฝ่ายธุรกิจทรัพย์สนิ ทางปัญญาและวิทยาศาสตร์ ภูมภิ าคเอเชีย ร่วมเวทีสมั มนา University Ranking 360 Degree: Benchmarking Performance, Challenges and Opptunities in Asean และมีผบู้ ริหารสถาบันอุดมศึกษาไทย และผูแ้ ทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทีเ่ กีย่ วข้อง เข้าร่วมสัมมนาในครัง้ นี้ รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวในการเปิดว่า การจัดอันดับ มหาวิทยาลัยโลกถือเป็นเครื่องมือส�ำคัญอย่างหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นให้มหาวิทยาลัยทั่วโลกมุ่งพัฒนามหาวิทยาลัยของตนให้มีศักยภาพ มากขึน้ เพือ่ ให้สามารถแข่งกันได้ในเวทีโลก ซึง่ การพัฒนาและยกระดับสถาบันอุดมศึกษาไทยให้เป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก เป็นหนึง่ ในนโยบายหลักของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเพือ่ ส่งเสริมศักยภาพของมหาวิทยาลัยในการขับเคลือ่ นมหาวิทยาลัยไทยสู่ มหาวิทยาลัยโลก “การสัมมนาในวันนี้ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก และชี้ให้เห็นว่า หากมหาวิทยาลัยใดใน ประเทศไทยต้องการทีจ่ ะติดอันดับต้องขึน้ อยูก่ บั ปัจจัยอะไรบ้าง เช่น การท�ำงานวิจยั และการตีพมิ พ์งานวิจยั รวมถึงอัตราการจ้างงาน หลังจบการศึกษา นอกจากนี้ ยังได้รู้ว่าสถานการณ์ของมหาวิทยาลัยไทยเป็นอย่างไร และต้องปรับตัวอย่างไรในสถานการณ์ ทีเ่ ปลีย่ นแปลงไป เพือ่ ให้มหาวิทยาลัยไทยนัน้ มีศกั ยภาพ และก้าวขึน้ สูร่ ะดับสากลได้ ทัง้ นี้ สกอ. มีนโยบายในการผลักดันและยกระดับ มาตรฐานของมหาวิทยาลัยไทยอยูแ่ ล้ว ด้วยการส่งเสริมสถาบันอุดมศึกษาในการท�ำวิจยั เพือ่ ขับเคลือ่ นสูร่ ะดับโลก ผ่านการพัฒนาคน ทีม่ คี ณ ุ ภาพระดับสูง และเปลีย่ นสังคมไทยให้ไปสูส่ งั คมเศรษฐกิจ มีฐานความรู้ และเพิม่ ศักยภาพของทรัพยากร นอกจากนี้ ยังรวมไป ถึงการยกระดับทักษะแรงงาน และประกอบอาชีพธุรกิจใช้ฐานทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ซึง่ จะช่วยให้ประเทศหลุดพ้นจากการ เป็นประเทศรายได้ปานกลาง” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวในตอนท้ายว่า การผลักดันมหาวิทยาลัยสู่ระดับโลกนั้น มีปัจจัยหลายอย่าง ทั้งนักศึกษา ครู บุคลากร เงินทุนวิจยั ของสถาบัน และของรัฐบาล รวมถึงโครงสร้างพืน้ ฐานทีร่ องรับการท�ำงาน ซึง่ มีหลายปัจจัยทีเ่ กีย่ วข้อง ยกตัวอย่าง เช่น National University of Singapore (NUS) รัฐบาลให้เงินหนุนแห่งเดียว ประมาณ ๒๖,๐๐๐ ล้านบาท และดึงบุคลากรต่างชาติ เข้ามาเสริมทัพ พร้อมๆ กับมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักด้วย ท�ำให้กา้ วกระโดดเป็นสากล อนุสารอุดมศึกษา ���������������10.indd 9
9
8/13/14 11:29 AM
เรื่องเล่าอาเซียน
ความร่วมมือ
ไทย - ลาว กรมการศึ ก ษาชั้ น สู ง กระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารและกี ฬ า สาธารณรั ฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ ระหว่างผูบ้ ริหารระดับสูงของคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ราชอาณาจักรไทย กับผู้บริหารระดับสูงของกรมการศึกษาชั้นสูง กระทรวง ศึกษาธิการและกีฬา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ครัง้ ที่ ๔ เมือ่ วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ณ Grand Luang Prabang Hotel and Resort เมืองหลวง พระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมี Mr. Seng Xiongchunou รองอธิบดีกรมการศึกษาชัน้ สูง กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา สปป.ลาว เป็นประธาน การประชุม ส�ำหรับฝ่ายไทยมีรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา นายสุภทั ร จ�ำปาทอง ผูช้ ว่ ยเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา และคณะผู้บริหารจากส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เข้าร่วมประชุม
10
อนุสารอุดมศึกษา
���������������10.indd 10
8/13/14 11:29 AM
เรื่องเล่าอาเซียน
ทัง้ นี้ Mr. Seng Xiongchunou รองอธิบดีกรมการศึกษาชัน้ สูง กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา สปป.ลาว เน้นถึงความส�ำคัญ ของการศึกษาในการพัฒนา สปป.ลาว ให้เป็นประเทศอุตสาหกรรมและทันสมัยตามแนวทางของรัฐบาล ทัง้ นี้ รัฐบาลลาวได้ด�ำเนิน ยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบการศึกษาระยะที่ ๒ ของลาว (๒๕๕๔ - ๒๕๕๘) โดยเน้นการพัฒนาอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา ให้มคี ณ ุ ภาพ ในขณะที่ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้กล่าวถึงความส�ำคัญของ การประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างผูบ้ ริหารทัง้ สองฝ่าย เพือ่ เป็นเวทีในการริเริม่ และสานต่อโครงการและกิจกรรมในการเตรียม ความพร้อมของทัง้ สองประเทศต่อการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน และหวังว่าทัง้ สองฝ่ายจะมีขอ้ ริเริม่ และข้อเสนอโครงการความ ร่วมมือทีเ่ ป็นประโยชน์ตอ่ การพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลของทัง้ สองประเทศต่อไป ในการประชุมอย่างไม่เป็นทางการครัง้ นี้ ทีป่ ระชุมได้เห็นชอบร่วมกัน ดังนี้ ๑. ขอให้เปลีย่ นการประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างผูบ้ ริหารทัง้ สองฝ่ายมาเป็นการประชุมอย่างเป็นทางการ ๒. ตกลงให้สานต่อการด�ำเนินงานตามแผนงานที่ก�ำหนดในการประชุมครั้งที่ ๓ เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ทีก่ รุงเทพฯ ราชอาณาจักรไทย ๓. ฝ่ายไทยได้เสนอให้จดั การประชุมเครือข่ายนักบริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยไทยและลาวใน สปป. ลาว โดยฝ่ายไทย จะเป็นผูส้ นับสนุนค่าใช้จา่ ยในการจัดประชุม ๔. ฝ่ายลาวจะจัดส่งผูเ้ ชีย่ วชาญด้านภาษาลาว จ�ำนวน ๒ คน ไปร่วมจัดท�ำพจนานุกรมภาษาลาว-ไทย-อังกฤษ ๕. ฝ่ายลาวเห็นชอบในการเข้าร่วมโครงการ ASEAN International Mobility for Students ๖. ฝ่ายลาวเสนอขอความช่วยเหลือในการจัดฝึกอบรมด้านการบริหาร การเงิน และการบริการวิชาการให้แก่บคุ ลากรของ กรมการศึกษาชัน้ สูง จ�ำนวน ๘ คน ในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๗ ๗. ฝ่ายลาวจะน�ำคณะผู้แทนจากส�ำนักงานบริหารวิทยาลัยชุมชนไทยที่เดินทางมาหารือ เรื่อง การจัดตั้งวิทยาลัยชุมชน ใน สปป.ลาว ไปดูพนื้ ทีท่ แี่ ขวงอุดมไชย เพือ่ ประกอบการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตัง้ วิทยาลัยชุมชนทีห่ ลวงพระบาง สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว วันจันทร์ที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๗
อนุสารอุดมศึกษา ���������������10.indd 11
11
8/13/14 11:29 AM
เรื่องพิเศษ
สานสัมพันธ์ ไทย - ออสเตรเลีย - นิวซีแลนด์ กระทรวงการต่างประเทศมีความประสงค์ที่จะส่งเสริมและผลักดันความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และการศึกษาระหว่างไทย-ออสเตรเลีย และไทย-นิวซีแลนด์ อย่ า งมี ร ะบบผ่ า นการบู ร ณาการความร่วมมือ ของหน่วยงานไทยจาก ๓ ภาคส่วน คือ กระทรวงการ ต่างประเทศ ภาคการศึกษา และภาคเอกชน จึงได้จัด การเดินทางเยือนออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เพื่อ ส่งเสริมความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และการศึกษา ระหว่างวันที่ ๕-๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ณ ประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ โดยมีกระทรวงการ ต่ า งประเทศ หน่ ว ยงานด้ า นวิ ท ยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวั ต กรรม (วทน.) ได้ แ ก่ ส�ำนั ก งาน คณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ศูนย์ความเป็นเลิศด้าน นวัตกรรมทางเคมี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หน่วยงาน ด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ได้แก่ สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ สมาคมดิจิตอล คอนเทนต์บันเทิงไทย และศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หน่วยงานด้านการศึกษา ได้แก่ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ บริษัท น�้ำตาลมิตรผล จ�ำกัด เป็นผู้แทนจากภาคเอกชนเข้าร่วมคณะเดินทาง การเดินทางเยือนออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ครั้งนี้ มีการศึกษาดูงาน ๒ กลุ่ม คือ (๑) กลุ่ม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมและการศึกษา และ (๒) กลุ่มเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยมีนายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงแคนเบอร์รา เป็นหัวหน้าคณะเดินทางเยือนประเทศออสเตรเลีย และนายนภดล เทพพิทักษ์ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเวลลิงตัน เป็นหัวหน้าคณะเดินทางเยือนประเทศ นิ ว ซี แ ลนด์ สำ � หรั บ หน่ ว ยงานด้ า นการศึ ก ษา รองศาสตราจารย์ พิ นิ ติ รตะนานุ กู ล รองเลขาธิ ก าร คณะกรรมการการอุดมศึกษา พร้อมคณะ ได้เข้าพบหน่วยงานด้านการศึกษา ดังนี้
12
อนุสารอุดมศึกษา
���������������10.indd 12
8/13/14 11:29 AM
เรื่องพิเศษ
ออสเตรเลีย การเดินทางเยือนออสเตรเลีย ณ กรุงแคนเบอร์ราและเมืองซิดนีย์ ได้ไปหารือ ความร่วมมือกับ Department of Foreign Affairs and Trade (DFAT), Department of Education, Commonwealth Scientific and Industrial Research Organization (CSIRO), University of Canberra, Australian Renewable Energy Agency (ARENA), Powerhouse Museum และ Australia Technology Park การเดิ น ทางเยื อ นออสเตรเลี ย ครั้ ง นี้ ช่ ว ยสร้ า งเครื อ ข่ า ยให้ กั บ สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาไทยและหน่ ว ยงานที่ เข้ า ร่ ว มการเดิ น ทางในระดั บ สถาบั น โดยสถาน เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงแคนเบอร์รา จะรับหน้าที่สานต่อในเรื่องนี้ และยกระดับ ความร่วมมือให้เป็นระดับรัฐบาลต่อรัฐบาล นอกจากนี้ยังได้ชี้แจงให้หน่วยงาน/สถาบัน อุดมศึกษาในประเทศออสเตรเลียได้เข้าใจถึงความพร้อมของประเทศไทยในการเป็น เจ้ า ภาพรั บ นั ก ศึ ก ษาออสเตรเลี ย ภายใต้ โ ครงการ New Colombo Plan ซึ่งประเทศไทยให้ความสำ�คัญ มากเนื่องจากการเข้าร่วมโครงการ New Colombo Plan จะช่ ว ยยกระดั บ ‘Profile’ ของสถาบั น อุดมศึกษาไทยในเวทีนานาชาติและทำ� ให้ประชาคม โลกเห็ น ว่ า สภาวการณ์ ท างการเมื อ งไม่ มี ผ ลกระทบ ต่อความร่วมมือในอนาคต ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับโครงการ New Colombo Plan รั ฐ บาลออสเตรเลี ย ได้ เริ่ ม ดำ � เนิ น โครงการ New Colombo Plan ในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ เนื่องจาก เห็ น ว่ า มี ศิ ษ ย์ เ ก่ า จากโครงการ Colombo Plan จำ�นวนมากในหลากหลายประเทศ จึงมีความประสงค์ ที่จะใช้ศิษย์เก่าเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์ จึงสานต่อเป็น โครงการ New Colombo Plan และกำ�หนดกรอบการดำ�เนินโครงการเป็นระยะเวลา ๕ ปีก่อน โดยสนับสนุนงบประมาณจำ�นวน หนึ่งร้อยล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาออสเตรเลียระดับปริญญาตรีไปศึกษา ทำ�วิจัย หรือฝึกงานเป็นระยะ เวลาไม่เกิน ๑ ปี ในประเทศแถบอินโด-แปซิฟิก (Indo-Pacific) และถ่ายโอนหน่วยกิต กลับไปยังสถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัด การดำ�เนินโครงการในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ นำ�ร่องกับ ๔ ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และฮ่องกง ผลที่ได้รับ คือ มีนักศึกษาออสเตรเลียให้ความสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการจำ�นวนมาก การดำ�เนินการในปีต่อไปจะเปิดกว้างไปยัง ประเทศอื่นๆ ในแถบอินโด-แปซิฟิก ซึ่งครอบคลุมถึงประเทศไทยด้วย และคาดว่านักศึกษาออสเตรเลียจะให้ความสนใจมากเช่นกัน ทั้งนี้ Department of Foreign Affairs and Trade ได้มีหนังสือเป็นทางการถึงกระทรวงการต่างประเทศของไทย เพื่อขอให้ ประเทศไทยเป็นประเทศเจ้าภาพในการรับนักศึกษาออสเตรเลียมาศึกษา วิจัย หรือฝึกงานภายใต้โครงการ New Colombo Plan เพื่อให้นักศึกษาได้รับทั้งความรู้และประสบการณ์การทำ�งานในประเทศแถบอินโด-แปซิฟิก สถาบันอุดมศึกษาในออสเตรเลียจะเน้นในเรื่องเนื้อหาและคุณภาพของหลักสูตรว่าต้องเท่าเทียมกับออสเตรเลียเนื่องจาก ต้องถ่ายโอนหน่วยกิต การฝึกงานต้องสอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพเพื่อให้เข้าสู่กรอบมาตรฐานคุณวุฒิของออสเตรเลียได้ ออสเตรเลียจะใช้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิเป็นตัวกำ�กับคุณภาพของการถ่ายโอนหน่วยกิตกลับมา รวมทั้งให้ความสำ �คัญกับการ ประเมินผลการเรียนรู้เป็นหลัก
อนุสารอุดมศึกษา ���������������10.indd 13
13
8/13/14 11:29 AM
เรื่องพิเศษ
สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษายินดีท่ีจะเป็นหน่วยประสานในการจัดหาและ ประสานสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาไทยให้ กับ นั ก ศึ ก ษาออสเตรเลี ย ปั จ จุ บัน สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาไทยมี หลักสูตรนานาชาติจำ�นวนมากและมีคุณภาพระดับสากลที่จะรองรับนักศึกษาออสเตรเลีย มีระบบ การประกันคุณภาพการศึกษาระดับภูมิภาคอาเซียน (ASEAN University Network-Quality Assurance: AUN-QA) นอกจากนีย้ งั เสนอให้สถาบันอุดมศึกษาในออสเตรเลียมาเยีย่ มชมและศึกษา ดูงานสถาบันอุดมศึกษาไทย สถาบันอุดมศึกษาไทยมีความพร้อมที่จะรับนักศึกษาออสเตรเลียมาศึกษาภายใต้โครงการ New Colombo Plan เนือ่ งจากได้วางระบบการแลกเปลีย่ นนักศึกษาไว้เพือ่ รองรับโครงการนีแ้ ล้ว ทั้งหลักสูตรนานาชาติ การถ่ายโอนหน่วยกิต การบริการและดูแลนักศึกษาต่างชาติ รวมทั้งระบบ สหกิจศึกษา นอกจากนี้ สถาบันอุดมศึกษาไทยยังพร้อมทีจ่ ะร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาออสเตรเลีย ในรูปแบบอื่นๆ ด้วย โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ประสงค์ท่จี ะทำ�หลักสูตรร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา ในประเทศออสเตรเลีย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีความประสงค์ท่จี ะจัดทำ�หลักสูตรร่วมและ การวิจยั ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศออสเตรเลียในสาขาวิชาทีม่ คี วามสนใจร่วมกัน นอกจากนี้ ปลายเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๗ อธิการบดีของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จะมาศึกษาดูงาน ณ The University of Western Australia และ Flinders University เพือ่ ศึกษารูปแบบการจัดการ ศึกษาแพทย์ชนบท (Rural Medicine) เนือ่ งจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มนี โยบายทีจ่ ะพัฒนา วิทยาเขตตรังให้มีความโดดเด่นในเรื่องแพทย์ชนบทที่ลงถึงพื้นที่กันดารอย่างแท้จริง มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีมีความประสงค์ท่ีจะทำ�ความร่วมมือด้านการวิจัยกับออสเตรเลีย ในด้านวัสดุศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ อุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร สถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ นวัตกรรมการเรียนรู้ ศูนย์ความเป็นเลิศ ด้านนวัตกรรมทางเคมี มีความประสงค์ท่จี ะทำ�ความร่วมมือกับออสเตรเลียภายใต้ International Research Network โดยอาจเป็นการทำ�งานร่วมกันระหว่างนักวิชาการของไทยและออสเตรเลีย ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมของไทยและออสเตรเลีย รวมทั้งมีความประสงค์ท่จี ะสร้างความร่วมมือ ในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในการศึกษา รวมทั้งแนวทางการจัดการศึกษา ที่บูรณาการวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ และสำ�นักงานคณะกรรมการ นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ ประสงค์ทจ่ี ะทำ�ความร่วมมือกับหน่วยงาน ด้านการวิจัยของออสเตรเลียในด้านนโยบายด้านการวิจัย และทำ�งานวิจัยร่วมกับภาคเอกชน ของออสเตรเลีย
14
อนุสารอุดมศึกษา
���������������10.indd 14
8/13/14 11:29 AM
เรื่องพิเศษ
นิวซีแลนด์ การเดินทางเยือนนิวซีแลนด์ ณ กรุงเวลลิง่ ตัน และ เมืองโอ๊คแลนด์ ได้ไปหารือความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษา นิวซีแลนด์ ๓ แห่ง ได้แก่ Victoria University of Wellington (VUW), University of Auckland และ Auckland University of Technology ความร่ ว มมื อ ด้ า นการศึ ก ษาระหว่ า งสถาบั น อุดมศึกษาไทยและนิวซีแลนด์ ได้แก่ การส่งอาจารย์ในคณะ ศึ ก ษาศาสตร์ แ ละครุ ศ าสตร์ ข องสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาไทย ไปอบรมการสอนภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษานิวซีแลนด์ การจัดทำ�หลักสูตรร่วมทั้งระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา การแลกเปลี่ยนนักศึกษา/บุคลากร และสถาบันอุดมศึกษา นิ ว ซี แ ลนด์ เชิ ญ ชวนนั ก ศึ ก ษาไทยไปศึ ก ษาต่ อ ในประเทศ นิวซีแลนด์ โดยเฉพาะนักศึกษาระดับปริญญาเอก เนื่องจาก นักศึกษาต่างชาติท่เี ข้ามาเรียนปริญญาเอกจะเสียค่าเล่าเรียน เท่ากับนักศึกษานิวซีแลนด์ คือ ๕,๐๐๐ ดอลลาร์นวิ ซีแลนด์ตอ่ ปี และคู่สมรสที่เดินทางมาด้วยสามารถทำ�งานในนิวซีแลนด์ รวมทัง้ บุตรสามารถเข้าเรียนในนิวซีแลนด์ได้โดยไม่เสียค่าใช้จา่ ย
สำ�หรับกิจกรรมที่สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะดำ�เนินการต่อ คือ การเชิญเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำ� ประเทศไทย (H.E. Mr. James Joseph Wise) มาบรรยายเกี่ยวกับโครงการ New Colombo Plan ให้สถาบันอุดมศึกษาทราบ เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับนักศึกษาจากออสเตรเลีย ในวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๗ ณ โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท กรุงเทพฯ นอกจากนี้ สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษายินดีที่จะเป็นหน่วยประสานงานสถาบันอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลียภายใต้ โครงการ New Colombo Plan และโครงการอื่นๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อสถาบันอุดมศึกษาไทยต่อไป
อนุสารอุดมศึกษา ���������������10.indd 15
15
8/13/14 11:29 AM
เรื่องพิเศษ
Victoria University of Wellington เป็นอันดับ ๑ ด้านคุณภาพการวิจยั ในนิวซีแลนด์ และได้รบั การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก ของ QS World University Rankings ให้อยูใ่ นระดับ Top ๑๕๐ ใน ๑๒ สาขาวิชา มหาวิทยาลัยได้น�ำเสนอ School of Linguistics and Applied Language Studies ซึง่ มี English Language Institute ที่โดดเด่น มีการออกแบบและพัฒนาหลักสูตรให้ตอบสนองความ ต้องการของผูเ้ รียน นอกจากนีย้ งั มีการสอนหลักสูตร Master of Arts in TESOL ซึง่ มีการจัดการเรียน การสอนและเนื้อหาที่ยืดหยุ่นและมีการสอนทางไกล นอกจากนี้ยังมีการจัดอบรมครู โดยมีทั้งการ จัดการเรียนการสอนที่ Victoria University of Wellington และการสอนทางไกล ด้านการวิจัย มีการท�ำวิจัยร่วมหลายสาขา และนักศึกษาระดับปริญญาเอกจะมีอาจารย์ ทีป่ รึกษาจ�ำนวน ๒ คน โดยเป็นอาจารย์ใน Victoria University of Wellington ๑ คน และอาจารย์ หรือผูเ้ ชีย่ วชาญในสาขาทีเ่ กีย่ วข้องอีก ๑ คน ซึง่ อาจมาจากสถาบันต่างประเทศได้ ดังนัน้ มหาวิทยาลัย อาจท�ำความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาไทยโดยการเป็นอาจารย์ทปี่ รึกษางานวิจยั ร่วมกัน รูปแบบความร่วมมือทีเ่ ป็นไปได้ระหว่าง Victoria University of Wellington และสถาบัน อุดมศึกษาไทย ได้แก่ การท�ำวิจยั ร่วมกันและการจัดอบรมคร ซู งึ่ Victoria University of Wellington มีการจัดให้อาจารย์ของมหาวิทยาลัยไปสอนภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษาในต่างประเทศ ๒ สัปดาห์ University of Auckland มหาวิทยาลัยมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดลในเรือ่ งเทคโนโลยีสขุ ภาพและนวัตกรรม รวมทั้ ง มี ค วามร่ ว มมื อ กั บ ส�ำนั ก งานคณะกรรมการการศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน แต่ ค วามร่ ว มมื อ กั บ ประเทศไทยยังมีไม่มากนักเมือ่ เทียบกับความร่วมมือทีม่ กี บั ประเทศมาเลเซียและจีน มหาวิทยาลัยมี English Language Academy ท�ำหน้าที่อบรมภาษาอังกฤษให้กับ นักศึกษาที่ศึกษาในมหาวิทยาลัย รวมทั้งจัดการอบรมให้กับหน่วยงานต่างประเทศ การอบรมครู โดยมหาวิทยาลัยอบรมครู ๑ ใน ๓ ของประเทศนิวซีแลนด์ ทัง้ นี้ ผูเ้ ข้าอบรมต้องมีผลสอบ IELTS ระดับ ๖.๕ ขึ้นไป แต่หากมีผลสอบ IELTS ระดับ ๕ ก็สามารถเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยได้ แต่ต้องเข้า หลักสูตรเตรียมความพร้อมด้านภาษาอังกฤษก่อน ซึง่ เป็นการเตรียมความพร้อมภาษาอังกฤษทีจ่ �ำเป็น ในการศึกษาและการท�ำวิจยั Auckland University of Technology มหาวิทยาลัยมีการจัดหลักสูตรอบรมการพัฒนาวิชาชีพตามความต้องการของผู้เรียน (Tailor made Programme) โดยจัดอบรมเป็นระยะเวลาตัง้ แต่ ๔ สัปดาห์ถงึ มากกว่า ๑๓ สัปดาห์ มีการจัดการอบรมครูสอนภาษา การจัดการเรียนการสอนทางไกล และการอบรมการสอนภาษาอังกฤษ ส�ำหรับผูพ้ ดู ภาษาอืน่ โดยมีการจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยและนอกประเทศ (Offshore) มหาวิทยาลัยมี Research and Innovation Office ช่วยเหลือในการพัฒนางานวิจยั ของ บุคลากรและบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยรวมทั้งจัดหาและประสานแหล่งงบประมาณการวิจัย นอกจากนีย้ งั มี AUT Enterprises Ltd. อยูภ่ ายใต้มหาวิทยาลัยท�ำหน้าทีใ่ นเชิงพาณิชย์โดยท�ำงานร่วมกับ ภาคอุตสาหกรรมและเครือข่ายด้านการค้าเพือ่ น�ำเทคโนโลยีใหม่ๆ ถ่ายทอดสูภ่ าคอุตสาหกรรม
16
อนุสารอุดมศึกษา
���������������10.indd 16
8/13/14 11:29 AM
พูดคุยเรื่องมาตรฐาน
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ครบรอบ ๕ ปี ในโอกาสที่สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ประกาศใช้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education; TQF: HEd) ครบ ๕ ปี ‘อนุสารอุดมศึกษา’ จึงรวบรวมประกาศ และกิจกรรมต่างๆ ที่สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ดำ�เนินการ ดังนี้ ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ จัดทำ�ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี ๓ สาขา ได้แก่ สาขาคอมพิวเตอร์ สาขาพยาบาลศาสตร์ และสาขาวิชาโลจิสติกส์ มีการจัดอบรมคณาจารย์นำ�ร่องเพื่อซักซ้อมการเป็นวิทยากร ๒ รุ่น และจัดประชุมเชิงปฏิบัติการตาม ภูมิภาคต่างๆ ๕ ครั้ง เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ TQF ให้แก่สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่ง ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ จัดทำ�ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี เพิ่มเติมอีก ๓ สาขา ได้แก่ สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม สาขาวิศวกรรมศาสตร์ และสาขาวิชาการบัญชี มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ‘กรอบ มาตรฐานคุณวุฒิฯ: กรณีศึกษาจากประเทศออสเตรเลีย’ เพื่อเทียบเคียง TQF ของไทยกับต่างประเทศ ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ จัดทำ�ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี เพิ่มเติมอีก ๔ สาขา ได้แก่ สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย สาขาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และสาขาวิชาการแพทย์แผนไทย ประยุกต์ มีการจัดทำ�ประกาศฯ มาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ สำ�หรับกิจกรรม ส่งเสริมการดำ�เนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒนิ น้ั ได้รว่ มมือกับรัฐบาลออสเตรเลียเชิญผูเ้ ชีย่ วชาญมาร่วมเป็นวิทยากรแลกเปลีย่ น เรียนรู้กับสถาบันอุดมศึกษาของไทย โดยได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ‘กรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯ: การเขียนและการประเมิน มาตรฐานผลการเรียนรู้ที่ดี’ ให้แก่สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งใน ๔ ภูมิภาค และจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ‘กรอบมาตรฐาน คุณวุฒิ: กลยุทธ์การสอนเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้’ ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ จัดทำ�ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาพยาบาลศาสตร์ และร่วมมือกับประเทศออสเตรเลียจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ‘การเชื่อมโยงผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอน การวัดและประเมิน ผลอย่างมีประสิทธิภาพ’ ให้แก่สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งใน ๔ ภูมิภาค ในปีนี้ ได้มีการขยายการเทียบเคียงกรอบมาตรฐานคุณวุฒิและหลักสูตรสู่สากล ตามโครงการความร่วมมือทางวิชาการ กับสหภาพยุโรป โดยจัดทำ�ข้อเสนอ ‘TQF: Tuning Educational Structures to the Internationalization’ ซึ่งสหภาพยุโรป ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา ๔ คน มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การออกแบบหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอนของทวีปยุโรป และ ทวีปอื่นๆ และได้เทียบเคียงการจัดทำ�มาตรฐานคุณวุฒิสาขา (มคอ.๑) การออกแบบหลักสูตร (มคอ.๒) ตลอดจนแนวทางการ ติดตามและประเมินผล โดยมีมหาวิทยาลัยของไทยร่วมให้ข้อมูลและร่วมหารือในประเด็นต่างๆ อย่างละเอียด ได้แก่ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (สาขาวิศวกรรมศาสตร์ และสาขาคอมพิวเตอร์) จากนั้น สหภาพยุโรปได้เชิญ ประเทศไทยเข้าร่วมประชุมนานาชาติ เรื่อง ‘Tuning in the World: New Degree Profiles for New Societies’ เมื่อวันที่ ๒๑ - ๒๒ พฤศจิกายน ค.ศ. ๒๐๑๒ ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยีย่ ม ในการประชุมดังกล่าวทีป่ ระชุมได้รบั ทราบถึงการเทียบเคียง มาตรฐานกับประเทศไทยในการออกแบบหลักสูตร รายวิชา และกระบวนการเรียน การสอนที่มุ่งเน้นผลการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วย (Tuning Thailand 2012 - 2013)
อนุสารอุดมศึกษา ���������������10.indd 17
17
8/13/14 11:29 AM
พูดคุยเรื่องมาตรฐาน
ปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ได้จัดทำ�ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเพิ่มเติมอีก ๒ ฉบับ ได้แก่ มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี และ ระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชากายภาพบำ�บัด และจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ‘กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ: การออกแบบหลักสูตร กลยุทธ์การสอนและการประเมินผลในสาขาวิชาการท่องเที่ยว’ โดยได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลออสเตรเลียและสถาบัน William Angliss Institute ส่งผู้เชี่ยวชาญมาเป็นวิทยากร สำ�หรับความร่วมมือกับสหภาพยุโรป ได้จัดประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่อง ‘Internationalization of Education Reform and the TQF’ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บริหารและคณาจารย์ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญจากสหภาพยุโรป เกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาในทวีปยุโรปและภูมิภาคอื่นๆ ตลอดจนปัญหาอุปสรรค แนวทางการแก้ไข และฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิด แนวคิดในการประเมินผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) และสมรรถนะ (Competency) ของผู้เรียน ต่อมาในช่วงเดือน ตุลาคม ๒๕๕๖ ผู้เชี่ยวชาญสหภาพยุโรปได้ลงพื้นที่สังเกตกระบวนการเรียนการสอนในห้องเรียน ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี มีการประชุมหารือและสัมภาษณ์ผู้บริหาร คณาจารย์ และนักศึกษา การสังเกตและทดลองสอนในห้องเรียน ร่วมกับคณาจารย์ผสู้ อน โดยใช้เทคโนโลยีในกระบวนการเรียนการสอนทีผ่ เู้ รียนสามารถโต้ตอบหรือมีสว่ นร่วมในการเสนอข้อคิดเห็น ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการลงมือทำ�หรือการปฏิบัติ (Active Learning) และสามารถ สะท้อนการปลูกฝังกลุ่มมาตรฐานผลการเรียนรู้ ๕ ด้านของ TQF ได้ครบถ้วน จากนั้นได้จัดประชุมวิชาการ เรื่อง ‘กรอบมาตรฐาน คุณวุฒิและการปฏิรูปการเรียนการสอนในสถาบันอุดมศึกษา’ เพื่อนำ�เสนอกิจกรรมที่ได้ดำ�เนินการ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงวิธีการ สอนแบบต่างๆ ของสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำ�ในต่างประเทศ ซึ่งคณาจารย์ของไทยสามารถนำ�ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผู้เรียน ให้เกิดผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) ที่มุ่งหวังได้ ในการนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญไปแลกเปลี่ยน ประสบการณ์กับคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยด้วย ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ติดตามการจัดทำ�มาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชาต่างๆ ที่อยู่ระหว่างดำ�เนินการ ประสานแนวทางการเผยแพร่ หลักสูตรที่ผ่านการดำ�เนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ และประสานความร่วมมือในการประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และ ความรูก้ บั ประเทศออสเตรเลียและสหภาพยุโรปในครัง้ ต่อไป เพือ่ ส่งเสริมสถาบันอุดมศึกษาให้ได้รบั ข้อมูลทีท่ นั สมัย อาทิ การจัดทำ� Diploma Supplement ปัจจัยสู่ความสำ�เร็จของ TQF ที่จะช่วยพัฒนาคณาจารย์เกี่ยวกับกระบวนการเรียนการสอนที่มุ่งเน้น ผลการเรียนรู้ ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาสามารถนำ�ไปพัฒนากรอบมาตรฐานความเป็นอาจารย์มืออาชีพ (Professional Standards Framework) ได้ นอกจากการด�ำเนินการดังกล่าวแล้ว กิจกรรมที่ได้ด�ำเนินการอย่างสม�่ำเสมอ ได้แก่ การประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริม และติดตามการด�ำเนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ การประชุมเชิงปฏิบัติการคณาจารย์น�ำร่อง TQF เพื่อรวบรวมเสียง สะท้อนจากสถาบันอุดมศึกษาเกี่ยวกับอุปสรรคปัญหา และข้อซักถามต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการประชุมหารือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้พิจารณาหาค�ำตอบและแนวทางในการด�ำเนินการให้ชัดเจนต่อไป ติดตามข้อมูล TQF ได้ที่เว็บไซต์ www.mua.go.th
18
อนุสารอุดมศึกษา
���������������10.indd 18
8/13/14 11:29 AM
Draft ตัวหนังสือให้ ใหม่ด้วยนะคะ
เหตุการณ์เล่าเรื่อง
เหตุการณ์เล่าเรื่ อง
สิ่งสำคัญ คือ ต้องช่วยกัน หำคำตอบว่ำจะนำสิ่งเหล่ำนั้น มำใช้ขับเคลื่อนอย่ำงไร ให้เกิดประสิทธิภำพสูงสุด เกิดกำรบูรณำกำรและ ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ลดควำมซ้ำซ้อน และ ประหยัดงบประมำณ สิ่งเหล่ำนี้จำเป็นต้องได้รับ ควำมร่วมมือจำก สถำบันอุดมศึกษำ เพื่อร่วมกันคิดและพัฒนำ นำเป้ำหมำยเพื่อกำรปฏิรูป กำรศึกษำของประเทศมำเป็น ส่วนหนึ่งในกำรวำงแผน พัฒนำกำรศึกษำและ ส่งต่อกำรทำงำนร่วมกัน อย่ำงเป็นระบบ อันจะนำไปสู่กำร พัฒนำประเทศต่อไป
อนุสารอุดมศึกษา ���������������10.indd 19
19
8/13/14 11:29 AM
เหตุการณ์เล่าเรื่อง
๘ กรกฎาคม ๒๕๕๗ - สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยสำ�นักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา จัดการ ประชุมเชิงปฏิบัติการ ‘การดำ�เนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศ เพื่อพัฒนาการศึกษา ครั้งที่ ๒๙’ ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัด ขอนแก่น โดยได้รบั เกียรติจากรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำ จร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานเปิดการประชุม รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำ�จร ตติยกวี เลขาธิการคณะ กรรมการการอุ ด มศึก ษา กล่าวว่า ปัจจุบัน เทคโนโลยี ส ารสนเทศได้ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการศึกษา ทำ�ให้รูปแบบในการจัดการ เรียนการสอนเปลี่ยนไป การเข้าถึงข้อมูล การแบ่งปันข้อมูล ตลอดจน การเรี ย นรู้ เ กิ ด ขึ้ น ตลอดเวลาและขยายวงสู่ ผู้ อื่ น อย่ า งรวดเร็ ว สกอ. ตระหนักถึงเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างดี โดยที่ผ่านมา สกอ. ได้ส่งเสริมการ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ICT เพื่อจัดการศึกษา ดังจะเห็นว่า สกอ. ได้ตั้งสำ�นักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา หรือ UniNet เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการวางระบบเชื่อมต่อเครือข่าย ระหว่างสถาบันการศึกษามายาวนานกว่า ๑๘ ปี และยังจัดตั้งโครงการ มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย หรือ TCU เพื่อวางระบบการจัดการเรียน การสอนด้วยสื่อ e-Learning นอกจากนี้ยังทำ�หน้าที่จัดสรรทรัพยากร ทางการศึกษาอื่นที่จำ�เป็นต่อการศึกษาวิจัยผ่านความร่วมมือห้องสมุด ThaiLIS และที่สำ�คัญ สกอ. ยังให้ความสำ�คัญในการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารและรวบรวมข้อมูลอุดมศึกษาเพื่อใช้ในการบริหารอุดมศึกษา
20
อนุสารอุดมศึกษา
���������������10.indd 20
8/13/14 11:29 AM
เหตุการณ์เล่าเรื่อง
ซึ่งหากมองภาพโครงสร้างดังกล่าวจะเห็นว่า สกอ. ได้เตรียมความ พร้อมในการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษาไว้ อย่างครบถ้วน ดังนั้น กลไกต่อไป สกอ. ได้จัดทำ� Road Map การปฏิรูป การศึกษา (พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๔) โดยได้กำ�หนดกรอบแนวทางปฏิรูปการ ศึกษาอยู่หลายประเด็น อาทิ การปฏิรูปครู การปฏิรูปการเรียนรู้ การเพิ่มและ กระจายโอกาสและคุณภาพการศึกษาอย่างทั่วถึง เท่าเทียม การผลิตและ พัฒนากำ�ลังคนเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน “ขณะนี้ เรามี ค วามพร้ อ มในหลายด้ า น ไม่ ว ่ า จะเป็ น โครงสร้ า ง พื้นฐาน บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญที่มาจากสถาบันการศึกษา รวมถึงเครื่องมือ สนับสนุนในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านต่างๆ ที่จ�ำเป็นต่อการ จัดการศึกษา แต่สิ่งส�ำคัญ คือ ต้องช่วยกันหาค�ำตอบว่าจะน�ำสิ่งเหล่านั้นมาใช้ ขับเคลื่อนอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เกิดการบูรณาการและใช้ประโยชน์ ร่วมกัน ลดความซ�ำ้ ซ้อน และประหยัดงบประมาณ ซึง่ สิง่ เหล่านีจ้ �ำเป็นต้องได้รบั ความร่วมมือจากสถาบันอุดมศึกษาเพื่อร่วมกันคิดและพัฒนา น�ำเป้าหมายเพื่อ การปฏิรูปการศึกษาของประเทศมาเป็นส่วนหนึ่งในการวางแผนพัฒนาการ ศึกษาและส่งต่อการท�ำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ อันจะน�ำไปสู่การพัฒนา ประเทศต่อไป” เลขาธิการ กกอ. กล่าวในตอนท้าย
อนุสารอุดมศึกษา ���������������10.indd 21
21
8/13/14 11:29 AM
เล่าเรื่องด้วยภาพ
๘ กรกฎาคม ๒๕๕๗ - รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ก�ำจร ตติ ย กวี เลขาธิ ก ารคณะกรรมการ การอุดมศึกษา และผู้บริหารระดับสูงกระทรวงศึกษาธิการ ร่ ว มบั น ทึ ก วี ดิ ทั ศ น์ อ าศิ ร พาทถวายพระพรชั ย มงคล สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาส วั น เฉลิ ม พระชนมพรรษา วั น ที่ ๑๒ สิ ง หาคม ๒๕๕๗ ณ สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์
๓ กรกฎาคม ๒๕๕๗ - รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา รับมอบ แจกั น ดอกไม้ แ สดงความยิ น ดี ใ นโอกาสที่ ไ ด้ รั บ การแต่ ง ตั้ ง ให้ ด�ำรงต�ำแหน่ ง เลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา จาก รองศาสตราจารย์ คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ประธานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ในที่ประชุมคณะกรรมการการอุดมศึกษา ณ ห้อง ประชุมศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน ส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา
22
อนุสารอุดมศึกษา
���������������10.indd 22
8/13/14 11:29 AM
เล่าเรื่องด้วยภาพ
๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๗ - รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการ อุดมศึกษาน�ำคณะผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมท�ำบุญตักบาตร ข้าวสาร อาหารแห้ง แด่พระภิกษุสงฆ์ ๙๙ รูป ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของงาน ‘มหกรรมปรองดองสมานฉันท์ คืนความสุขให้คนในชาติ’ ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก�ำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๒ – ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๗ - รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานพิธปี ดิ และมอบประกาศนียบัตรการอบรมเชิงปฏิบตั กิ าร หลักสูตร ‘ผูป้ ฏิบตั งิ านสหกิจศึกษา’ รุน่ ที่ ๒ ณ โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค กรุงเทพฯ พร้อมทัง้ กล่าวว่า ผู้ปฏิบัติงานสหกิจศึกษาเป็นส่วนส�ำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งและศักยภาพ ของสถาบันอุดมศึกษา ในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน ซึง่ ผูเ้ ข้าร่วมโครงการอบรมจะได้หลักการและแนวคิดทีเ่ อือ้ ประโยชน์ตอ่ การน�ำไปใช้ และมองเห็น แนวทางการประยุกต์ความรู้ไปสู่การพัฒนางานสหกิจศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา โครงการนี้ เป็นส่วนส�ำคัญที่จะจุดประกายการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษา และ อ�ำนวยประโยชน์ต่อการด�ำเนินงานด้านสหกิจศึกษาในอนาคต ทั้งนี้ หลังจากเสร็จการอบรม แล้ว ผู้เข้าร่วมอบรมควรหาแนวทางร่วมกันท�ำให้เครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้เข้ารับ การอบรมเป็ น ไปอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง เพื่ อ เสริ ม ให้ ก ารด�ำเนิ น งานด้ า นสหกิ จ ศึ ก ษาของสถาบั น อุดมศึกษามีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
๔ กรกฎาคม ๒๕๕๗ - รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวให้ โอวาทคณะนักกีฬาและเจ้าหน้าที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาฟุตซอล มหาวิทยาลัยโลก ครั้ง ๑๔ ณ ห้องประชุมบริหาร ชั้น ๔ ส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา
๔ กรกฎาคม ๒๕๕๗ - รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประธาน ในพิธีปิดการอบรม ‘หลักสูตรนักบริหารระดับสูงเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัย (นบม.) รุ่นที่ ๒๕’ พร้อมมอบประกาศนียบัตรและ เข็มเชิดชูเกียรติ ณ โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส อนุสารอุดมศึกษา
���������������10.indd 23
23
8/13/14 11:29 AM
���������������10.indd 24
8/13/14 11:30 AM