อนุสารอุดมศึกษา issue 435

Page 1

อุดมศึกษา อนุ¹ØÊสÒà าร ͹ ͹Ø

ปีêŒ ทæี่Ąē ๔๐ ฉบั êæ ğě Øééæ ğĞĠ êòÿ×āċãüèÐèñāñè ĝĠĠĢ ğě ğě ØéĀ ØéĀบéทีæĄ่ ē ๔๓๕ ğĞĠ êòÿ×Ę ğĞĠ ประจำ êòÿ×Ę�āเดื ċãĆอüนกั èÐĀนèยายน ñāñè ĝĠĠĢ ñāñè ๒๕๕๗ ĝĠĠĢ

เอกสารเผยแพร่ ISSN 0125-2461 ċüÐùāòċëñČíòŚขÑองสำ üÖùĘ�āĘ นั èĀกÐงานคณะกรรมการการอุ ÖāèÓâÿÐòòðÐāòÐāòüćดãมศึ ð÷ąกÐą ษา øā *44/

Í¹Ø Ê ÒÃÍØ ´ ÁÈÖ¡ ÉÒÍ͹äŹì www.mua.go.th/pr_web


สารบัญ

ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๔๓๕ ประจำ�เดือนกันยายน ๒๕๕๗

เรื่องเล่าอุดมศึกษา Education Internationalization Forum (EdIF) ประเมินประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคารของสถาบันอุดมศึกษา สกอ. มุ่งสร้างบัณฑิต เพื่ออนาคตประเทศไทย สกอ. ร่วมจัดท�ำและพัฒนาข้อมูลสารสนเทศบุคลากรภาครัฐ สกอ. น�ำ Diploma Supplement ช่วยพัฒนาการอุดมศึกษา สกอ. ติดตามการจัดการศึกษาปริญญาเอก สกอ. จัดการความรู้หน่วย TLO สกอ. สนับสนุนสหกิจศึกษานานาชาติ ปัจฉิมนิเทศนักศึกษาทุนการศึกษาเฉลิมราชกุมารี การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเวทีความร่วมมือระหว่าง

๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒

๓ ๕

เอเชียตะวันออกกับลาตินอเมริกา ครั้งที่ ๑๕ สกอ. สนับสนุนโครงการ New Colombo Plan

๑๓

เรื่องพิเศษ นโยบายด้านการศึกษา

๑๔

๑๗

พูดคุยเรื่องมาตรฐาน จัดการศึกษาสร้างความเป็นพลเมือง

๒๐

เรือ่ งแนะน�ำ การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน

๒๒

เล่าเรื่องด้วยภาพ

๒๓

คณะผู้จัดทำ� สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

อนุสารอุดมศึกษา

เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๒๖ เว็บไซต์ http://www.mua.go.th อีเมล pr_mua@mua.go.th เฟสบุ๊ค www.facebook.com/ohecthailand ทวิตเตอร์ www.twitter.com/ohec_th ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำ จร ตติยกวี รองศาสตราจารย์พนิ ติ ิ รตะนานุกลู นางวราภรณ์ สีหนาท นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ นายสุภัทร จำ�ปาทอง นายศิระวิทย์ คลี่สุวรรณ บรรณาธิการ นายกฤษณ์กร วงศ์ไทย กองบรรณาธิการ นางสาวปิยาณี วิริยานนท์ นางชุลีกร กิตติก้อง นายเจษฎา วณิชชากร นางปราณี ชื่นอารมณ์ นายพรชัย สิทธินันทน์ นายจรัส เล็กเกาะทวด พิมพ์ที่ บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำ�กัด โทรศัพท์ ๐ ๒๙๐๓ ๘๒๕๗ - ๙


เรื่องเล่าอุดมศึกษา

Education Internationalization Forum (EdIF) ๑๘ กันยายน ๒๕๕๗ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาร่วมกับมูลนิธิการศึกษาไทย-อเมริกัน (ฟุลไบรท์) และ สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจ�ำประเทศไทย จัดการประชุม Education Internationalization Forum (EdIF) ณ โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักในการส่งเสริมความเป็นสากลของอุดมศึกษาไทย และ ก�ำหนดทิศทางและกรอบการขับเคลื่อนความเป็นสากลของอุดมศึกษาไทย ผู้เข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย ผู้บริหาร ระดั บ สู ง ของสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาไทยและหน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ ง ทั้ ง นี้ ได้ รั บ เกี ย รติ จ าก Ambassador Kristie Kenney เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจ�ำประเทศไทย เป็นประธานเปิดการประชุมร่วมกับ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กิจกรรมการประชุม ประกอบด้วย การบรรยายพิเศษในหัวข้อ International Education Leadership โดย Prof. Susan Sutton, Senior Advisor for International Initiative, Bryn Mawr College สหรัฐอเมริกา และการเสวนา ในหัวข้อ Mapping and Measuring Thailand’s Education Internationalization: Views from Different Angles ได้ รับเกียรติจากนางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวในมุมมองของนักบริหารนโยบาย นางสาวพรทิพย์ กาญจนนิยต ผู้อ�ำนวยการบริหารมูลนิธิการศึกษาไทย-อเมริกัน ในมุมมองของผู้ปฏิบัติในเครือข่ายระหว่าง ประเทศ และรองศาสตราจารย์ พู น พิ ภ พ เกษมทรั พ ย์ รองอธิ ก ารบดี ม หาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ ในมุ ม มองของสถาบั น อุดมศึกษา นอกจากนี้ ยังมีการประชุมเฉพาะกลุ่มในหัวข้อ Strategic Planning for Comprehensive Institutional Internationalization โดยมีผู้อ�ำนวยการบริหารมูลนิธิการศึกษาไทย-อเมริกัน เป็นผู้ด�ำเนินการหารือ และ Prof. Susan Sutton ได้ร่วมให้ข้อเสนอแนะตลอดการประชุม โดยมีประเด็นที่ถูกยกขึ้นหารือเพื่อวางแผนการท�ำงานร่วมกันต่อไปในอนาคต ได้แก่ Finding strategic indicators, Enhancing English proficiency and cross-culture, Encouraging higher education collaboration for mutual benefits, Benchmarking เป็นต้น ทั้งนี้ในการมาประเทศไทยของ Prof. Susan Sutton ได้ไปบรรยายพิเศษเพื่อแบ่งปันประสบการณ์การท�ำงาน ในเรื่องการพัฒนาความเป็นสากลให้แก่สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ด้วย ได้แก่ การบรรยายหัวข้อ Strategic Planning for Comprehensive Institutional Internationalization ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และหัวข้อ Measuring Internationalization ณ มหาวิทยาลัยมหิดล เอกสารการบรรยายสามารถดูได้ที่ www.inter.mua.go.th หัวข้อย่อย News & Events อนุสารอุดมศึกษา

3


เรื่องเล่าอุดมศึกษา

ประเมินประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคารของสถาบันอุดมศึกษา

๑๒ กันยายน ๒๕๕๗ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดการประชุมสัมมนา เรือ่ ง ‘แนวทางการจัดท�ำรายงานการประเมิน ประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคารของสถาบันอุดมศึกษา’ ณ ห้องกรกมล โรงแรม เดอะ สุโกศล โดยได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานเปิดการประชุม รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า เรื่องของการประเมินประสิทธิภาพ การใช้ประโยชน์อาคาร เกิดขึน้ มาโดยแนวคิดหลายประการ ประการหนึง่ คือ มหาวิทยาลัยควรมีขอ้ มูลว่าอาคารของมหาวิทยาลัยมีการใช้งาน อย่างเต็มประสิทธิภาพเพียงใด เพือ่ ประโยชน์ในการพิจารณาการจัดสรรงบประมาณให้กบั มหาวิทยาลัยเพือ่ จัดสร้างอาคาร โดยเฉพาะอาคารใช้สอย ใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน อาคารทีใ่ ช้เป็นห้องปฏิบตั กิ าร รวมทัง้ อาคารอืน่ ๆ ทัง้ นี้ การพิจารณาหาเกณฑ์กลางๆ ทีม่ องถึงความจ�ำเป็น ในการใช้อาคาร จะเป็นเหตุผลทีต่ รงไปตรงมาว่า ถ้ามหาวิทยาลัยมีความจ�ำเป็นในการใช้อาคาร ก็นา่ จะให้การสนับสนุนงบประมาณแผ่นดินอย่าง เต็มที่ แต่ถา้ มีความจ�ำเป็นน้อย มหาวิทยาลัยควรจะสนับสนุนงบประมาณเอง โดยทีส่ �ำนักงบประมาณจะสนับสนุนให้บางส่วนเท่านัน้ จึงเป็นทีม่ า ของการพิจารณาว่าท�ำไมถึงต้องมาพิจารณาประสิทธิภาพในการใช้งานของอาคาร เลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อไปว่า สกอ. พยายามหารูปแบบ ต้นแบบทีจ่ ะมาปรึกษาหารือว่าจะท�ำอย่างไร ซึง่ ได้สตู รต่างๆ และมีการ ด�ำเนินการพิจารณาออกมาเป็นเกณฑ์กลาง ได้ลองด�ำเนินการ และจะมีการติดตามว่าได้ด�ำเนินการอย่างไรบ้าง มีขอ้ จ�ำกัดอะไรบ้าง โดยรูปแบบ ทีจ่ ะด�ำเนินการ จะใช้ภารกิจมหาวิทยาลัยเป็นตัวตัง้ เช่น ภารกิจเรือ่ งการเรียนการสอน ภารกิจเรือ่ งการวิจยั ภารกิจเรือ่ งของการใช้หอ้ งปฏิบตั กิ าร แล้วมาก�ำหนดว่าห้องปฏิบตั กิ ารใช้เนือ้ ทีเ่ ท่าไร ต่อคนกีค่ น เมือ่ มีความจ�ำเป็นทีจ่ ะต้องสร้างอาคารใหม่ จะต้องมาดูวา่ ต้องสร้างอาคารใหม่เพือ่ ทีจ่ ะ มารองรับอะไร เช่น ทดแทนอาคารเก่า มีหลักสูตรใหม่ มีนกั ศึกษาเพิม่ ขึน้ จ�ำนวนเท่าไหร่ มีการใช้งานอย่างไร ซึง่ จะท�ำให้ส�ำนักงบประมาณมีขอ้ มูล เพียงพอที่จะพิจารณาว่า มีความจ�ำเป็นจริงๆ นอกจากนี้ ข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยในการวางแผน โดยเฉพาะด้านการ พัฒนาทางกายภาพของมหาวิทยาลัย “ในการประชุมครัง้ นี้ จะได้รบั ทราบแนวทางการประเมินประสิทธิภาพการใช้งานอาคารสถานที่ แล้วสามารถจัดท�ำรายงานการประเมิน ประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคารของสถาบันอุดมศึกษาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ได้อย่างเหมาะสม อันจะท�ำให้การจัดระเบียบ การใช้อาคารสถานทีใ่ ห้มปี ระสิทธิภาพ มีความคุม้ ค่า และเกิดประโยชน์สงู สุดกับทางราชการ” เลขาธิการ กกอ. กล่าวในตอนท้าย

4

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องเล่าอุดมศึกษา

สกอ. มุ่งสร้างบัณฑิต เพื่ออนาคตประเทศไทย ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๗ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดการสัมมนาวิชาการด้านพัฒนานักศึกษาระดับชาติ ครัง้ ที่ ๔ ‘สร้างบัณฑิต เพื่ออนาคตประเทศไทย’ The 4th National Conference on Thailand Student Development ‘Enhance Graduate Capabilities for the Future of Thailand’ ณ โรงแรมรามาการ์เด้น โดยได้รบั เกียรติจากรองศาสตราจารย์พนิ ติ ิ รตะนานุกลู รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานเปิดการประชุม รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า การจะพัฒนานิสิตนักศึกษาให้มี คุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีคุณภาพและศักยภาพในการพัฒนาเพื่อการแข่งขันทั้งในระดับชาติและระดับสากล รวมทั้งตอบสนองความ ต้องการของชุมชนและสังคมได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งในการเตรียมปัจจัยต่างๆ ให้มีความพร้อม ทั้งการ พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ การพัฒนากระบวนการเสริมสร้างทักษะและคุณลักษณะที่จ�ำเป็นให้แก่นิสิตนักศึกษา ผ่านกิจกรรมเสริมหลักสูตรต่างๆ โดยปัจจัยส�ำคัญในการพัฒนานักศึกษาที่จะต้องพัฒนาควบคู่ไปกับงานด้านวิชาการ คือ งานด้านกิจการ นักศึกษา ซึง่ เป็นงานทีจ่ ะต้องเตรียมการรองรับความเปลีย่ นแปลงของสังคมยุคใหม่ ทัง้ ด้านนโยบาย การวางแผนงานโครงการ การสนับสนุน งบประมาณ โดยเฉพาะการพัฒนาบุคลากรด้านกิจการนิสติ นักศึกษาให้เอือ้ ต่อการพัฒนานักศึกษาอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ “ความมุ่งหวังที่จะพัฒนานิสิตนักศึกษาให้เป็นคนที่สมบูรณ์ มีคุณภาพ และกระท�ำตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม เป็นบัณฑิตอันพึงประสงค์ของสถาบัน ย่อมเกีย่ วข้องกับปัจจัยในการพัฒนานิสติ นักศึกษาทีส่ �ำคัญหลายประการ ปัจจัยด้านบุคลากรกิจการ นิสติ นักศึกษา เป็นปัจจัยหนึง่ ทีจ่ ะช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาตนเองของนิสติ นักศึกษา โดยการจัดประสบการณ์/กิจกรรมให้นสิ ติ นักศึกษา ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ น�ำเอาหลักวิชาการที่ได้ศึกษามาประยุกต์และทดลองใช้ในการจัดกิจกรรม เกิดการเพิ่มพูนประสบการณ์ทางด้าน วิชาการและทางด้านสังคมขึ้นในตัวนิสิตนักศึกษา ซึ่งบุคลากรผู้รับผิดชอบ และผู้ปฏิบัติงานด้านกิจการนิสิตนักศึกษา มีความส�ำคัญและ จ�ำเป็นอย่างยิง่ ต่อการพัฒนานิสติ นักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา สมควรทีจ่ ะมีโอกาสได้รบั ข้อมูลข่าวสารและความรูใ้ หม่ในการพัฒนานิสติ นักศึกษาอยูเ่ สมอ” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว

อนุสารอุดมศึกษา

5


เรื่องเล่าอุดมศึกษา

สกอ. ร่วมจัดท�ำและพัฒนาข้อมูลสารสนเทศบุคลากรภาครัฐ ๒ กันยายน ๒๕๕๗ - รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล รองเลชาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมลงนามในบันทึก ข้อตกลงความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการจัดท�ำและพัฒนาข้อมูลสารสนเทศบุคลากรภาครัฐ ซึ่งส�ำนักงาน ก.พ. จัดพิธีลงนาม ณ ห้องประชุม ๑ ชัน้ ๙ ส�ำนักงาน ก.พ. นนทบุรี โดยมีหน่วยงานทีเ่ ข้าร่วมการลงนามฯ ๑๖ หน่วยงาน คือ (๑) กรมส่งเสริมการปกครอง ท้องถิน่ (๒) กรุงเทพมหานคร (๓) สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (๔) ส�ำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (๕) ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขัน้ พืน้ ฐาน (๖) ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (๗) สาํ นักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (๘) สาํ นักงาน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (๙) ส�ำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (๑๐) ส�ำนักงานปลัด กระทรวงศึกษาธิการ (๑๑) ส�ำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา (๑๒) ส�ำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (๑๓) ส�ำนักงานศาลยุติธรรม (๑๔) ส�ำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (๑๕) ส�ำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ (๑๖) ส�ำนักงานอัยการสูงสุด ในการลงนามครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ความร่วมมือ เพื่อให้หน่วยงานที่ได้ตกลงตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ ได้มีสารสนเทศ บุคลากรภาครัฐระดับหน่วยงานและระดับประเทศส�ำหรับใช้ประโยชน์ในการบริหารทรัพยากรบุคคล เพือ่ พัฒนาคุณภาพข้อมูลสารสนเทศ บุคลากรภาครัฐให้มีความครบถ้วน ถูกต้อง ทันเวลาต่อการใช้งาน และเพื่อประสานความร่วมมือในการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ บุคลากรภาครัฐของประเทศ ส�ำนักงาน ก.พ. เป็นศูนย์กลางข้อมูลทรัพยากรบุคคลภาครัฐ โดยมติคณะรัฐมนตรีทเี่ กีย่ วข้อง คือ - มติคณะรัฐมนตรี เมือ่ วันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ รับทราบการบูรณาการยุทธศาสตร์ประเทศ (Country Strategy) เพือ่ เป็น กรอบในการจัดสรรงบประมาณปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ตามทีส่ �ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ซึง่ ส�ำนักงาน ก.พ. ได้รบั มอบหมายให้ด�ำเนินการในเรือ่ งการบริหารราชการแผ่นดิน (Internal Process) - มติคณะรัฐมนตรี เมือ่ วันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๖ เห็นชอบตามมติคณะกรรมการก�ำหนดเป้าหมายและนโยบายก�ำลังคนภาครัฐ ในการประชุมครัง้ ที่ ๑/๒๕๕๖ เมือ่ วันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๖ ในมาตรการบริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์ โดยก�ำหนดให้มกี ารพัฒนาฐาน ข้อมูลก�ำลังคนทุกประเภทให้สมบูรณ์ ถูกต้อง และเป็นปัจจุบนั

6

อนุสารอุดมศึกษา


รื่องเล่าอุดมศึกษา

เรื่องเล่าอุดมศึกษา

สกอ. นา Diploma Supplement

ช่วยพัฒนาการอุดมศึกษา

๑๒ กันยายน ๒๕๕๗ - สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “Thai-Australian ๑๒ กันยายน - ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุ ดมศึกษา จัณ ดการประชุ เชิงปฏิ ัติการ เรื่อนงจูร“Thai-Australian orkshop on APEC Higher๒๕๕๗ Education Diploma Supplement” แกรนด์บมอลรู ม บโรงแรมเซ็ ี่ พาร์ค มี on APEC Higher Education Diploma Supplement” ณ แกรนด์ บอลรูม โรงแรมเซ็ นจูรี่ พาร์ค กมีต์วตัใช้ถุใปห้ระสงค์เพือ่ ตถุประสงค์Workshop เพื่อสร้างความรู ้ ความเข้ าใจ แนวทางในการด าเนินการเกี ่ยวกับ Diploma Supplement และการประยุ ้ ความเข้ดามศึ ใจ กแนวทางในการด�ำเนิ Diploma Supplement ต์ใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของการ อดคล้องกับสร้บริางความรู บทของการอุ ษาของไทย โดยได้นการเกี รับเกีย่ ยวกั รติบจากนางวราภรณ์ สีหนาทและการประยุ รองเลขาธิกการคณะกรรมการการ กษาของไทย โดยได้รับเกียรติจากนางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานเปิดการประชุม ดมศึกษา เป็อุนดมศึ ประธานเปิ ดการประชุม และมี His Ecellency, Mr. Jame Wise เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจาประเทศไทย และมี H.E. Mr. Jame Wise เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจ�ำประเทศไทย และ Ms.Eunsun Lee ผู้แทน UNESCO BANGKOK ละ Ms.Eunsun เข้าร่วมLee ผู้แทน UNESCO BANGKOK เข้าร่วม นางวราภรณ์นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิ การคณะกรรมการการอุ ดมศึกดษามศึกล่ งานคณะกรรมการการอุ สีหนาท รองเลขาธิ การคณะกรรมการการอุ กษาาวว่กล่าาสวว่านั า กส�ำนั กงานคณะกรรมการการอุดดมศึ มศึกกษา ษาได้รับการ รับการสนับสนัสนุบสนุ นและความร่ วมมื นาคุณณภาพและมาตรฐานการอุ ภาพและมาตรฐานการอุ ดมศึ กษาของไทยางต่อเนื่อง นและความร่ วมมืออย่ ออย่างดี างดีจจากประเทศออสเตรเลี ากประเทศออสเตรเลียย ในการพั ในการพัฒฒนาคุ ดมศึ กษาของไทยอย่ Supplement เป็นอีกเป็เครื อหนึ ่งทีอ่มีคหนึ วามส�ำคั ในการด�ำเนิ นการเพืาเนิ ่อวัตนถุการเพื ประสงค์่อวันตั้นถุแต่ อย่างไรก็ ย่างต่อเนื่อและ ง และDiploma Diploma Supplement นอี่อกงมืเครื ่องมื ่งที่มีคญวามส าคัญในการด ประสงค์ นั้นตามแต่Diploma เป็นเรื่องใหม่ในแวดวงอุ มศึกษาของไทย นั้นกษาของไทย จึงมีความจ�ำเป็ดันงนัที้น่สถาบั ดมศึกษาของไทยควรสร้ ย่างไรก็ตามSupplement Diploma Supplement เป็นเรื่อดงใหม่ ในแวดวงอุดดังมศึ จึงมีนคอุวามจ าเป็นที่สถาบันอุดางโอกาสที มศึกษา ่จะเรียนรู้ ในเรืางโอกาสที อ่ งนี้ โดยเฉพาะเรี ยนรู้ในเรื ร้ ปู แบบ มกี ้รารพั ฒนาและปรั บให้ทนั สมั่ได้ยมส�ำหรั นกลุม่ ประเทศเอเชี แปซิยสฟาหรั กิ ทัง้ บนี้ เพือ่ เป็น องไทยควรสร้ ่จะเรียนรู ่องนี้ กระบวนการที โดยเฉพาะเรียไ่ ด้นรู ูปแบบ กระบวนการที ีการพับใช้ฒในาและปรั บให้ทันยสมั เครือ่ งมือส�ำคั ญในการรั ณวุญฒในการรั ิ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุ กและเล็งเห็นความส�ำคัญ ในกลุ่มประเทศเอเชี ยแปซิ ฟิก ทับ้งรองและการเที นี้ เพื่อเป็นเครืย่อบเคี งมืยองคุสาคั บรองและการเทียบเคีดมศึ ยงคุกษาได้ ณวุฒมิ คี สวามตระหนั านักงานคณะกรรมการ ของ Diploma Supplement ทีจ่ ะช่วยพัฒนาการอุดมศึกษาได้อย่างดี ารอุดมศึกษาได้มีความตระหนั กและเล็งเห็นความสาคัญของ Diploma Supplement ที่จะช่วยพัฒนาการอุดมศึกษาได้อย่างดี “การประชุมเชิงปฏิบัติการในวันนี้จึงนับว่าเป็นโอกาสที่ดี ที่ผู้เข้าร่วมซึ่งเป็นผู้แทนจากสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งได้มาร่วมฟัง “การประชุ มเชิงปฏิบัตดิกเห็ารในวั ึงนับว่าเป็วินธีกโอกาสที ่ดี ที่ผู้เข้กต์าร่ใช้วมซึ ่งเป็นผู้แSupplement ทนจากสถาบันในบริ อุดมศึ กษาทุกดแห่ ได้ จาก แนวคิด แสดงความคิ นเกี่ยนวกันีบ้จแนวทาง ารในการประยุ Diploma บทของอุ มศึกงษาไทย าร่วมฟังแนวคิ แสดงความคิ เห็นNigel เกี่ยวกัPalmer บแนวทาง วิธีกAndrea ารในการประยุ Supplement ผูเ้ ชีย่ ดวชาญ ๒ ท่าน คือดMr. และ Ms. Batemanกต์ซึใง่ ช้สิง่ ทีไ่ Diploma ด้รบั จากการประชุ มเชิงปฏิบตั กิ ในบริ ารในครับง้ทของ นีจ้ ะช่วยพัฒนา ดมศึกษาไทย ้เชี่ยวชาญ ๒ ท่าดนมศึคืกอษาของไทยในอนาคตได้ Mr. Nigel Palmer ”and Ms. Andrea ซึ่งสิ่งที่ได้รับจากการประชุมเชิง คุณจากผู ภาพและมาตรฐานการอุ รองเลขาธิ การ กกอ.Bateman กล่าว ฏิบัติการในครั้งนี้จะช่วยพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการอุดมศึกษาของไทยในอนาคตได้” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว อนุสารอุดมศึกษา

7


เรื่องเล่าอุดมศึกษา

สกอ. ติดตามการจัดการศึกษาปริญญาเอก ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๗ - สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดการประชุมสัมมนา เรื่อง ‘การติดตามการจัดการศึกษา ระดับปริญญาเอกของสถาบันอุดมศึกษา โดยกลไกการตรวจเยี่ยม ปีงบประมาณ ๒๕๕๗’ ณ ห้องแกรนด์ บอลรูม โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมและสร้างความเข้าใจแก่คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องและผู้ทรงคุณวุฒิ และชี้แจง ผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาเอก ให้ทราบแนวทางและวิธีการติดตามการจัดการศึกษาระดับปริญญาเอกของ สถาบันอุดมศึกษา โดยกลไกการตรวจเยี่ยม รวมทั้งเพื่อรับทราบข้อเสนอแนะและประเด็นที่เป็นประโยชน์สำ�หรับคณะกรรมการติดตาม ได้นำ�ไปใช้ในการไปติดตามต่อไป ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากนางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธาน ในการเปิดการประชุม นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า นโยบายของ กกอ. และเลขาธิการ กกอ. เน้น เรื่องการยกระดับคุณภาพอุดมศึกษาของไทย ซึ่งจำ�เป็นต้องได้รับความร่วมมือสนับสนุนและผลักดันจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน อาทิ สถาบันอุดมศึกษา ผู้บริหาร อาจารย์ นิสิตนักศึกษา ภาคอุตสาหกรรม ภาคเอกชน องค์กรวิชาชีพ และองค์กรส่วนท้องถิ่น โดยใน ส่วนของสำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ดำ�เนินการอย่างต่อเนื่องตลอดมา ที่ผ่านมาส่วนมากจะเน้นการดำ�เนินการในลักษณะ Pre-audit มากกว่า Post-audit ซึ่งต่อจากนี้ไปจะเน้น Post-audit มากขึ้น เช่น การประเมินการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง การตรวจ เยี่ยมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่เปลี่ยนประเภทแล้ว การประกันคุณภาพภายในระดับหลักสูตร และการติดตามการจัดการศึกษาระดับ ปริญญาเอกของสถาบันอุดมศึกษา โดยกลไกการตรวจเยี่ยม เป็นต้น รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อไปว่า สกอ. ได้จัดทำ�โครงการติดตามการจัดการศึกษาระดับปริญญาเอกของสถาบันอุดมศึกษา โดยกลไกการตรวจเยี่ยม ใช้รูปแบบคณะกรรมการติดตามตรวจสอบแบบพิชญพิจารณ์ (Peer Review) จำ�นวนอย่างน้อย ๕ ท่าน เพื่อทำ�หน้าที่ให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปริญญาเอก โดยจะดำ�เนินการในสาขาวิชาบริหารการศึกษา และสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ เป็นการนำ�ร่องก่อน ขณะเดียวกัน เป็นการค้นหาแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) สำ�หรับสถาบัน ที่จัดการศึกษาได้อย่างมีมาตรฐานและคุณภาพ เพื่อเป็นแบบอย่างแก่สถาบันอื่นๆ ต่อไป “สกอ. จะพยายามใช้เอกสารข้อมูลร่วมกัน สำ�หรับหลักสูตรระดับปริญญาเอกใดที่ผ่านการติดตามตรวจเยี่ยมจากคณะกรรมการ ติดตามตรวจสอบแบบพิชญพิจารณ์ (Peer Review) แล้ว ไม่ต้องรับการตรวจประเมินการประกันคุณภาพภายในระดับหลักสูตรอีก เพื่อ จะไม่สร้างภาระเพิ่มขึ้นให้สถาบันอุดมศึกษา” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว

8

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องเล่าอุดมศึกษา

เรื่องเล่าอุดมศึกษา

สกอ. จัดการความรู้หน่วย TLO ๒๓ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๗ - ส-านัส�ำนั กงานคณะกรรมการการอุ โครงการจัดดการความรู การความรู้ เรื้ เรือ่ ง่องการบริ การบริ หารจั ดการ กันยายน ๒๕๕๗ กงานคณะกรรมการการอุดดมศึ มศึกกษา ษา จัจัดดการประชุ การประชุมมโครงการจั หารจั ดการ ทรัทรั พย์พสย์ินสทางปั ญญาและถ่ ายทอดเทคโนโลยี ในสถาบั นอุดนมศึอุดกมศึ ษา กณษาห้อณงประชุ มจามจุมรจามจุ ี บอลรู เอ โรงแรมปทุ มวัน ปริม๊นวัเซส ินทางปั ญญาและถ่ ายทอดเทคโนโลยี ในสถาบั ห้องประชุ รี มบอลรู ม เอ โรงแรมปทุ น ปริโดยได้ ๊นเซสรับ เกียโดยได้ รติจากนางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิ ารคณะกรรมการการอุ ดมศึกษา เป็ นประธานในพิ ธีเปิด ธเี ปิด รบั เกียรติจากนางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์กรองเลขาธิ การคณะกรรมการการอุ ดมศึ กษา เป็นประธานในพิ นางสาวอาภรณ์ แก่นแก่วงศ์ การคณะกรรมการการอุ านักกงานคณะกรรมการการอุ งานคณะกรรมการการอุดมศึ ดมศึ กษาในฐานะ ในฐานะ นางสาวอาภรณ์ นวงศ์รองเลขาธิ รองเลขาธิ การคณะกรรมการการอุดดมศึ มศึกกษา ษา กล่ กล่าาวว่ วว่าา สส�ำนั กษา องค์องค์ กรหลั กในการส่ งเสริ โครงการหน่ววยจั ยจัดดการทรั การทรัพพย์ย์สสินินทางปั ทางปัญญญาและถ่ ญาและถ่ ายทอด กรหลั กในการส่ งเสริมสนั มสนับบสนุสนุนนสถาบั สถาบันนอุอุดดมศึ มศึกกษาตระหนั ษาตระหนักว่า การสนับสนุนโครงการหน่ ายทอด เทคโนโลยี ในสถาบั นอุนดอุมศึ ของสถาบันนอุอุดดมศึ มศึกกษาที ษาทีม่ ่มปี ีประสิ ระสิททธิภธิาพวิ ภาพวิ ่ง และสามารถ เทคโนโลยี ในสถาบั ดมศึกษา กษาหรืหรืออTLO TLOเป็เป็นนจุจุดดเริเริ่มม่ ต้ต้นนของการพั ของการพัฒนางานวิจยั ของสถาบั ธหี ธนึีหง่ นึและสามารถ ขยายผลออกไปสู ่ประชาคมสถาบั นอุนดอุมศึ กษาทั ่วประเทศได้ สิ่งสิ่งาคัส�ำคั ญคืญอคือการเตรี ยมความพร้ างานในหน่ววยย TLO ขยายผลออกไปสู ่ประชาคมสถาบั ดมศึ กษาทั ่วประเทศได้แต่แต่ การเตรี ยมความพร้อมด้ อมด้านบุ านบุคคลากรที ลากรที่จ่จะท ะท�ำงานในหน่ TLO ซึ่ง ซึ่งนจ�ำเป็ งมีกฒารพั ฒนาและเตรี ยมความพร้ ้บริหาร ฏิบัต้ปิงานของหน่ วย TLOวยอย่ างเป็อย่นระบบ สกอ. จึสกอ. งก�ำหนดให้ มีการ มี จาเป็ ต้องมีนต้กอารพั นาและเตรี ยมความพร้ อม ทัอ้งผูม้บทัริ้งหผูารหน่ วย และผู TLO ้ปและผู ฏิบัติงานของหน่ TLO างเป็นระบบ จึงกาหนดให้ ด�ำเนิ แล้วว ได้ได้แแก่ก่การจั การจัดดทท�ำยุ ธศาสตร์แและแนวทางการพั ละแนวทางการพัฒฒนาหน่ นาหน่ววยย TLO TLO ใน การด าเนินนกิกิจจกรรมต่ กรรมต่าางงๆๆ เพื เพื่อ่อส่ส่งงเสริ เสริมมการพัฒนางานของหน่วย TLO แล้ ายุททธศาสตร์ ในสถาบั นอุกดษา มศึกโดยคณะท ษา โดยคณะท�ำงานวิ ชาการเพื ศึกษาผลการด�ำเนิ นงานโครงการหน่ ดการทรัพย์พสย์ินสนิทางปั ทางปัญญญาและถ่ ญาและถ่าายทอดเทคโนโลยี ยทอดเทคโนโลยีใน สถาบั นอุดมศึ างานวิชาการเพื ่อศึกอ่ ษาผลการด าเนินงานโครงการหน่ วยจัวยจั ดการทรั ในสถาบั นอุกดษา มศึกซึษา ซึ่งประกอบด้ ยผู้ทณรงคุ วุฒิ และผู ้บริหารหน่ วย TLO พิจารณาก�ำหนดยุ ทธศาสตร์ และแนวทางการ สถาบั นอุดมศึ ่งประกอบด้ วยผู้ทวรงคุ วุฒณิ และผู ้แทนผู้แ้บทนผู ริหารหน่ วย TLO ร่วมกัร่นวพิมกัจนารณาก าหนดยุทธศาสตร์ และแนวทางการพั ฒนา พั ฒ นางานด้ า นการจั ด การทรั พ ย์ ส ิ น ทางปั ญ ญาและถ่ า ยทอดเทคโนโลยี ใ นสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา มี ก ารจั ด เวที ใ ห้ ม ี ก ารพบกั น ระหว่ า งสถาบั นบ งานด้านการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยีในสถาบันอุดมศึกษา มีการจัดเวทีให้มีการพบกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษากั อุดมศึ กษากับภาคอุ เพือ่ ฒท�ำให้ เกิดการพั นาระบบวินจอุยั ดของสถาบั นอุดมศึทกี่ใษาแนวใหม่ ใี่ ช้กดารบริ หารจั สนิ ทางปัญายทอด ญา ภาคอุ ตสาหกรรม เพื่อตทสาหกรรม าให้เกิดการพั นาระบบวิ จัยฒของสถาบั มศึกษาแนวใหม่ ช้การบริหทารจั การทรั พย์สดินการทรั ทางปัพญย์ญาและถ่ และถ่ายทอดเทคโนโลยี เป็นเครืบอ่ เคลื งมื่ออนงานวิ ในการขัจบัยเคลื อ่ นงานวิ า้ ง’ทอย่ งมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยี เป็นเครื่องมือในการขั ‘จากหิ ้งสู่หจ้ายั ง’‘จากหิ อย่างมีง้ สูปห่ ระสิ ธิภาาพ “การด�ำเนิ นงานของหน่ ดการทรัพย์พสย์ินสินทางปั ทางปัญญญาและถ่ ญาและถ่าายทอดเทคโนโลยี ยทอดเทคโนโลยีใในช่ อมูอลมูจาก “การด าเนินงานของหน่ วยจัวยจั ดการทรั นช่ววงระยะเวลาประมาณ งระยะเวลาประมาณ๗ ๗ปี ปีปรากฏข้ ปรากฏข้ ลจาก รายงานผลการด�ำเนิ น งานของหน่ ว ย TLO พบว่ า ประสบความส�ำเร็ จ ในการส่ ง เสริ ม การพั ฒ นางานวิ จ ย ั ของอาจารย์ นั ก วิ จ ย ั นิ ส ต ิ นั ก ศึ ก ษา ใน รายงานผลการดาเนินงานของหน่วย TLO พบว่าประสบความสาเร็จในการส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยของอาจารย์ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษาไปสู่การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในประเภทต่าง ๆ ได้แก่ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ สิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์ สถาบันอุดมศึกษาไปสู่การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในประเภทต่าง ๆ ได้แก่ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ สิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์ อนุ อนุสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า ความลับทางการค้า และเกิดรายได้จากการถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์อย่างต่อเนื่อง สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า ความลับทางการค้า และเกิดรายได้จากการถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์ อย่างต่อเนื่อง และเกิดก าร และเกิดการพัฒนาความรูป้ ระสบการณ์ในการท�ำงานบุคลากรของหน่วย TLO เพือ่ ท�ำหน้าทีพ่ ฒ ั นางานวิจยั ในสถาบันอุดมศึกษาสูก่ ารใช้ประโยชน์ พัฒนาความรู้ประสบการณ์ในการทางานบุคลากรของหน่วย TLO เพื่อทาหน้าที่พัฒนางานวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาสู่การใช้ประโยชน์ด้วยการ ด้วยการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา หรือ ‘การน�ำผลงานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง’ นับได้ว่าการลงทุนในการจัดตั้งหน่วย TLO กลุ่มแรก บริจ�ำนวน หารจัดการทรั ญา าหรืบรรลุ อ ‘การน าผลงานวิ ัยจากหิ ้งสู่ห้ายง’วกันันบก็ได้ ในการจัดตั้งหน่วย TLO านวน ๑๐ แห่พงย์สมีินคทางปั วามก้ญาวหน้ ตามเป้ าหมาย จแต่ ในขณะเดี ยังวมี่าปการลงทุ ัญหา อุปนสรรคหลายประการที ่ต้องร่กลุ วมกั่มแรก นแก้ไจขต่ อไป”๑๐ แห่รองเลขาธิ ง มีความก้กาารวหน้ า บรรลุ กกอ. กล่าวตามเป้าหมาย แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีปัญหา อุปสรรคหลายประการที่ต้องร่วมกันแก้ไขต่อไป” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว อนุสารอุดมศึกษา

9


เรื่องเล่าอุดมศึกษา

สกอ. สนับสนุนสหกิจศึกษานานาชาติ

๑๖ กันยายน ๒๕๕๗ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดการประชุมการจัดท�ำแนวปฏิบตั ทิ ดี่ ใี นการด�ำเนินการ จัดสหกิจศึกษานานาชาติ และพิธมี อบรางวัลเกียรติยศต่อสถาบันและบุคคลดีเด่นด้านสหกิจศึกษา ประจ�ำปี ๒๕๕๗ ณ โรงแรม ใบหยกสกาย กรุงเทพฯ โดยได้รบั เกียรติจากนางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานในพิธเี ปิด นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า สหกิจศึกษานานาชาติ เป็นหลักสูตรการศึกษา ที่เปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาได้เรียนรู้ในชั้นเรียนควบคู่กับการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการต่างประเทศ และเปิดโอกาสให้ นักศึกษาต่างประเทศเข้ามาปฏิบตั งิ านในประเทศไทย ซึง่ จะช่วยเสริมสร้างสมรรถนะการท�ำงานข้ามวัฒนธรรมของบัณฑิต และเป็น กลไกส�ำคัญในการเตรียมคนพร้อมการเคลือ่ นย้ายแรงงานในภูมภิ าคอาเซียน รวมทัง้ ระดับโลกด้วย การได้มโี อกาสท�ำงานข้ามประเทศ จะท�ำให้บณ ั ฑิตไทยได้เปิดโลกทัศน์ มีประสบการณ์ และเรียนรูม้ าตรฐานการท�ำงานในระบบสากลมากขึน้ จึงถือว่าเป็นแนวทางการ ยกระดับคุณภาพบัณฑิตสูค่ วามเป็นสากลอีกทางหนึง่ “ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ให้การสนับสนุนการด�ำเนินการสหกิจศึกษานานาชาติมาเป็นล�ำดับ การจัดให้มี เวทีแลกเปลีย่ นเรียนรูแ้ นวทางในการด�ำเนินการจัดสหกิจศึกษานานาชาติรว่ มกัน จะท�ำให้ผปู้ ฏิบตั งิ านได้รบั ทราบและเตรียมความพร้อม ในการด�ำเนินการจัดสหกิจศึกษานานาชาติ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวตั ถุประสงค์ทตี่ งั้ ไว้ ส�ำหรับสถานศึกษา สถานประกอบการ และผูป้ ฏิบตั งิ านทีไ่ ด้รบั รางวัลสหกิจศึกษาดีเด่นระดับชาติ ประจ�ำปี ๒๕๕๗ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะน�ำผลงานเหล่านี้ เผยแพร่สสู่ าธารณะต่อไป” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว

รางวัลสหกิจศึกษาดีเด่น ระดับชาติ ประจ�ำปี ๒๕๕๗

รางวัลประเภท สถานศึกษาด�ำเนินการสหกิจศึกษาดีเด่น : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี รางวัลประเภท สถานศึกษาด�ำเนินการสหกิจศึกษาดาวรุง่ : มหาวิทยาลัยแม่ฟา้ หลวง รางวัลประเภท สถานศึกษาด�ำเนินการสหกิจศึกษานานาชาติดเี ด่น : มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รางวัลประเภท ผูป้ ฏิบตั งิ านสหกิจศึกษาดีเด่นในสถานศึกษา : ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ผดุงศักดิ์ สุขสอาด ผูอ้ �ำนวยการศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รางวัลประเภท ผูป้ ฏิบตั งิ านสหกิจศึกษาดีเด่นในสถานประกอบการ : คุณอิสญ ิ า สังข์ศริ ิ ผูจ้ ดั การฝ่ายอาชีวอนามัยและความปลอดภัย บริษทั สยามเซมเพอร์เมด จ�ำกัด กลุม่ บริษทั ศรีตรัง รางวัลประเภท สถานประกอบการขนาดใหญ่ ด�ำเนินการสหกิจศึกษาดีเด่น : โรงแรม เลอเมอริเดียน ภูเก็ต บีชรีสอร์ท รางวัลประเภท สถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ด�ำเนินการสหกิจศึกษาดีเด่น : บริษทั ไร่นายจุล คุน้ วงศ์ จ�ำกัด

10

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องเล่าอุดมศึกษา

ปัจฉิมนิเทศนักศึกษา ทุนการศึกษาเฉลิมราชกุมารี ๑๔ กันยายน ๒๕๕๗ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดโครงการปัจฉิมนิเทศเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ อาชีพและสร้างเครือข่ายนักศึกษาทุนการศึกษาเฉลิมราชกุมารี ระหว่างวันที่ ๑๒ - ๑๔ กันยายน ๒๕๕๗ ณ โรงแรมสีดา รีสอร์ท อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เพือ่ เปิดโอกาสให้มกี ารแลกเปลีย่ นความรูแ้ ละประสบการณ์รว่ มกัน ช่วยเสริมสร้างความรู้ รวมทัง้ การ ชี้น�ำแนวทางการวางแผนในการประกอบอาชีพให้ประสบความส�ำเร็จในอนาคตต่อไป ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากนางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานในพิธปี ดิ การสัมมนา นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า การสัมมนาในครัง้ นี้ นับว่าเป็นประโยชน์ อย่างยิ่งต่อนิสิต นักศึกษา ที่จะได้น�ำความรู้และประสบการณ์จากการชี้แนะแนวทางในการประกอบอาชีพ วิธีการสมัครงาน การ สัมภาษณ์งาน การท�ำงานอย่างไรให้ประสบความส�ำเร็จ การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน รวมทั้งทุกคนได้มีโอกาส รูจ้ ักและแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นในการท�ำกิจกรรมร่วมกัน และสร้างเครือข่ายการเป็นนักศึกษาทุนการศึกษาเฉลิมราชกุมารี ตลอดจนการปลูกจิตส�ำนึก และความภาคภูมใิ จในการเป็นนักศึกษาทุนเฉลิมราชกุมารี ด้วยส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคณ ุ ของสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี “สกอ. เชือ่ มัน่ ว่านิสติ นักศึกษาทุนการศึกษาเฉลิมราชกุมารี รุน่ ที่ ๕ ทุกคน จะได้น�ำความรูแ้ ละประโยชน์ทไี่ ด้รบั จากการ สัมมนาครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้ในอนาคต และมุ่งหวังให้นิสิต นักศึกษาทุกคนขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียน มีความเสียสละ มีจิตอาสาในการช่วยเหลือสังคมและส่วนรวม โดยการน�ำความรู้ความสามารถที่มีไปท�ำประโยชน์คืนสู่สังคม ตลอดจนไปพัฒนา ท้องถิน่ และภูมลิ �ำเนาในอนาคต และเป็นต้นแบบของคนดี พัฒนาชุมชน สังคมให้มนั่ คงและยัง่ ยืนสืบไป” รองเลขาธิการ กกอ.กล่าว

อนุสารอุดมศึกษา

11


เรื่องเล่าอุดมศึกษา

การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเวทีความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกกับลาตินอเมริกา ครั้งที่ ๑๕ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๗ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นเจ้าภาพหลักในการจัด ประชุมวิชาการหัวข้อ The First FEALAC Academic, Universities and Science, Technology and Innovation (STI) Roundtable ภายใต้การประชุมเจ้าหน้าที่ อาวุโสเวทีความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกกับลาตินอเมริกา ครั้งที่ ๑๕ (Forum for East Asia-Latin America Cooperation 15th Senior Officials Meeting: FEALAC 15th SOM) ซึ่งประเทศไทยโดยกระทรวงการต่างประเทศเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ระหว่างวันที่ ๑๙ - ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๗ ณ บางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ โดยมีกจิ กรรมคูข่ นาน คือ การจัดประชุมวิชาการ การจัดประชุม ด้านการท่องเทีย่ ว และการจัดประชุมด้านธุรกิจ นอกจากนีย้ งั มีการแสดงนิทรรศการ FEALAC Showcase ณ บริเวณศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุม กว่า ๑๓๐ คน ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงจากสถาบันอุดมศึกษา เครือข่ายการศึกษาและการวิจัย หน่วยงานด้านการวิจัย และสถานเอกอัครราชทูต ประเทศต่างๆ ในกลุ่มเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกา และรองศาสตราจารย์สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ผู้แทนไทยในคณะท�ำงาน FEALAC Vision Group และ Professor Marco Aurelio Krieger นักวิจัยจาก Oswaldo Cruz Foundation จากประเทศบราซิล ให้เกียรติ บรรยายในหัวข้อ Overview of Needs and HRD Strategies for Academic and STI Cooperation จากนัน้ เป็นการอภิปรายใน ๓ หัวข้อหลัก ได้แก่ Exchange of STI Policy Dialogue, Best Practices on Establishing Academic/Research Network และ Possibility for Regional Cooperation โดยมีนกั วิจยั และนักวิชาการของญีป่ นุ่ เม็กซิโก บราซิล เปรู และอาร์เจนตินา ให้เกียรติเป็นวิทยากรร่วมการอภิปราย กับวิทยากรฝ่ายไทยจากส�ำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลการจัดการประชุม ข้อเสนอโครงการด้านการส่งเสริมการเรียนการสอนด้านเอเชียตะวันออกศึกษาและลาตินอเมริกาศึกษา และ ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ได้ถกู น�ำเสนอใน Working Group on Science and Technology, Innovation and Education และในการประชุมเจ้าหน้าทีอ่ าวุโสเวทีความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกกับลาตินอเมริกา ครัง้ ที่ ๑๕ ในวันที่ ๒๑ และ ๒๒ สิงหาคม ๑๕๕๗ เอกสารการประชุมสามารถดูได้ทเี่ ว็บไซต์ www.inter.mua.go.th ต่อไป

12

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องเล่าอุดมศึกษา

สกอ. สนับสนุนโครงการ New Colombo Plan ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๗ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดการประชุม New Colombo Plan: What it is and how Thai universities prepare and get benefits from it ณ ห้องวอเตอร์เกท บอลรูม โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท เพือ่ ให้ขอ้ มูลโครงการ New Colombo Plan และเตรียมความพร้อมในการรับนักศึกษาจากออสเตรเลียภายใต้โครงการดังกล่าวให้แก่สถาบันอุดมศึกษาไทย โดยได้รบั เกียรติจากนางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานในพิธเี ปิด และ H.E. Mr. James Wise เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจ�ำประเทศไทย บรรยายให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ New Colombo Plan และผู้แทนจากจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่ได้ไปเจรจากับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศออสเตรเลียเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๗ เพื่อขอให้ส่งนักศึกษามาประเทศไทย ภายใต้โครงการ New Colombo Plan มาร่วมเป็นวิทยากรแบ่งปันประสบการณ์จากการเดินทางในการประชุมดังกล่าว นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวในการเปิดการประชุมว่า โครงการ New Colombo Plan แสดงถึงการทีป่ ระเทศออสเตรเลียยอมรับในความส�ำคัญของประเทศไทยและคุณภาพของการอุดมศึกษาไทย การเข้าร่วมโครงการ New Colombo Plan จะช่วยยกระดับ ‘Profile’ ของสถาบันอุดมศึกษาไทยในเวทีนานาชาติ นอกจากนีย้ งั ช่วยส่งเสริมการสร้างเครือข่ายระหว่าง สถาบันอุดมศึกษา สถาบันอุดมศึกษาไทยมีความพร้อมทั้งด้านหลักสูตรนานาชาติ ระบบการฝึกงาน การจัดท�ำหลักสูตรร่วมและการท�ำ วิจัยร่วม รวมทั้งข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันอุดมศึกษาในออสเตรเลีย นอกจากนี้ยังมีระบบการประกันคุณภาพทั้งภายใน และภายนอก และกรอบมาตรฐานคุณวุฒริ ะดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ซึง่ เป็นการประกันคุณภาพการอุดมศึกษาไทย ทัง้ นี้ ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษายินดีทจี่ ะเป็นหน่วยประสานงานระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลียภายใต้โครงการ New Colombo Plan H.E. Mr. James Wise เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจ�ำประเทศไทย ได้ให้ขอ้ มูลเกีย่ วกับโครงการ New Colombo Plan รวมทัง้ จุดแข็งของสถาบันอุดมศึกษาไทย ซึ่งมีสถาบันอุดมศึกษาไทยหลายแห่งที่ได้รับการจัดอันดับในมหาวิทยาลัยโลก และให้ข้อแนะน�ำในการ เข้าร่วมโครงการ New Colombo Plan ทีต่ อ้ งเน้นเรือ่ งคุณภาพเป็นส�ำคัญ เนือ่ งจากก�ำหนดให้นกั ศึกษาออสเตรเลียต้องถ่ายโอนหน่วยกิตกลับ ไปยังสถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัดในประเทศออสเตรเลีย โดยสถาบันอุดมศึกษาไทยควรติดต่อกับสถาบันอุดมศึกษาออสเตรเลียทีม่ คี วามร่วมมือ อยูแ่ ล้วหรืออาจหาความร่วมมือใหม่กบั สถาบันอุดมศึกษาในออสเตรเลีย ผูแ้ ทนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ทีไ่ ด้ไปเจรจากับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศออสเตรเลียเมือ่ ปลายเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๗ ได้เล่าประสบการณ์ จากการเดินทางไปเจรจากับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศออสเตรเลีย ๑๑ แห่ง ว่า สถาบันอุดมศึกษาออสเตรเลียในขณะนีใ้ ห้ความสนใจกับ ‘Future’ ซึง่ หมายถึง Creative, Innovative, Contribute to society และ ‘Change’ ซึง่ เน้น Problem-based learning และเน้นหัวข้อ ที่เป็นประเด็นระดับโลกแต่ก็ตอบโจทย์สังคมด้วย งานวิจัยจะเน้น Research cluster นอกจากนี้ได้ให้ข้อแนะน�ำว่าสถาบันอุดมศึกษาไทย ควรใช้ประโยชน์จากข้อมูลความร่วมมือที่มีอยู่กับสถาบันอุดมศึกษาออสเตรเลีย รวมทั้งข้อมูลบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นศิษย์เก่า ของสถาบันอุดมศึกษาออสเตรเลีย จากนั้นควรศึกษาจุดแข็งของสถาบันอุดมศึกษาของตนและประสานกับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศ ออสเตรเลียทีม่ คี วามสนใจสอดคล้องกัน จัดท�ำโครงการระยะสัน้ ซึง่ อาจผสมระหว่างวิชาการและวัฒนธรรม สร้างหลักสูตรทีส่ ร้างทักษะความ เป็นผูน้ �ำและความสัมพันธ์ระดับประชาชน เตรียมความพร้อมเรือ่ งข้อมูลการฝึกงานและการมีเครือข่ายกับภาคธุรกิจ อนุสารอุดมศึกษา

13


เรื่องพิเศษ

นโยบายด้านการศึกษา ‘อนุสารอุดมศึกษา’ ฉบับนีข้ อน�ำรายละเอียดค�ำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี โดยเฉพาะนโยบายข้อที่ ๔ การศึกษาและ เรียนรู้ การทะนุบ�ำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ซึง่ พลเอก ประยุทธ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี แถลงต่อสภานิตบิ ญ ั ญัตแิ ห่งชาติ เมือ่ วันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๗ พร้อมทัง้ นโยบายรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงศึกษาธิการ ประจ�ำปีงบประมาณ ๒๕๕๘ มาน�ำเสนอ

ค�ำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี

๔. การศึกษาและเรียนรู้ การทะนุบ�ำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม

รัฐบาลจะน�ำการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ความภาคภูมใิ จในประวัตศิ าสตร์ และความเป็นไทยมาใช้สร้างสังคมให้เข้มแข็ง อย่างมีคณ ุ ภาพและคุณธรรมควบคูก่ นั ดังนี้ ๔.๑ จัดให้มีการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ โดยให้ความส�ำคัญทั้งการศึกษาในระบบและการศึกษาทางเลือกไปพร้อมกัน เพื่อสร้างคุณภาพของคนไทยให้สามารถเรียนรู้ พัฒนาตนได้เต็มตามศักยภาพ ประกอบอาชีพและด�ำรงชีวิตได้โดยมีความใฝ่รู้และ ทักษะทีเ่ หมาะสม เป็นคนดีมคี ณ ุ ธรรม สร้างเสริมคุณภาพการเรียนรู้ โดยเน้นการเรียนรูเ้ พือ่ สร้างสัมมาชีพในพืน้ ที่ ลดความเหลือ่ มลำ�้ และพัฒนาก�ำลังคนให้เป็นทีต่ อ้ งการเหมาะสมกับพืน้ ที่ ทัง้ ในด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และธุรกิจบริการ ๔.๒ ในระยะเฉพาะหน้า จะปรับเปลีย่ นการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการศึกษาให้สอดคล้องกับความจ�ำเป็นของผูเ้ รียนและ ลักษณะพื้นที่ของสถานศึกษา และปรับปรุงและบูรณาการระบบการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาให้มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มโอกาสแก่ ผูย้ ากจนหรือด้อยโอกาส จัดระบบการสนับสนุนให้เยาวชนและประชาชนทัว่ ไปมีสทิ ธิเลือกรับบริการการศึกษาทัง้ ในระบบโรงเรียน และนอกโรงเรียน โดยจะพิจารณาจัดให้มคี ปู องการศึกษาเป็นแนวทางหนึง่ ๔.๓ ให้องค์กรภาคประชาสังคม ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนทั่วไปมีโอกาสร่วมจัดการศึกษา ทีม่ คี ณ ุ ภาพและทัว่ ถึง และร่วมในการปฏิรปู การศึกษาและการเรียนรู้ กระจายอ�ำนาจการบริหารจัดการศึกษาสูส่ ถานศึกษา เขตพืน้ ที่ การศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ตามศักยภาพและความพร้อม โดยให้สถานศึกษาสามารถเป็นนิตบิ คุ คล และบริหารจัดการ ได้อย่างอิสระและคล่องตัวขึน้ ๔.๔ พัฒนาคนทุกช่วงวัยโดยส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้สามารถมีความรู้และทักษะใหม่ที่สามารถประกอบอาชีพได้ หลากหลายตามแนวโน้มการจ้างงานในอนาคต ปรับกระบวนการเรียนรูแ้ ละหลักสูตรให้เชือ่ มโยงกับภูมสิ งั คม โดยบูรณาการความรู้ และคุณธรรมเข้าด้วยกันเพือ่ ให้เอือ้ ต่อการพัฒนาผูเ้ รียนทัง้ ในด้านความรู้ ทักษะ การใฝ่เรียนรู้ การแก้ปญ ั หา การรับฟังความเห็นผูอ้ นื่ การมีคณ ุ ธรรม จริยธรรม และความเป็นพลเมืองดี โดยเน้นความร่วมมือระหว่างผูเ้ กีย่ วข้องทัง้ ในและนอกโรงเรียน ๔.๕ ส่งเสริมอาชีวศึกษาและการศึกษาระดับวิทยาลัยชุมชน เพื่อสร้างแรงงานที่มีทักษะโดยเฉพาะในท้องถิ่นที่มีความต้องการ แรงงาน และพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาให้เชือ่ มโยงกับมาตรฐานวิชาชีพ ๔.๖ พัฒนาระบบการผลิตและพัฒนาครูทมี่ คี ณ ุ ภาพและมีจติ วิญญาณของความเป็นครู เน้นครูผสู้ อนให้มวี ฒ ุ ติ รงตามวิชาทีส่ อน น�ำเทคโนโลยีสารสนเทศและเครื่องมือที่เหมาะสมมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยครูหรือเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น การเรียนทางไกล การเรียนโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น รวมทัง้ ปรับระบบการประเมินสมรรถนะทีส่ ะท้อนประสิทธิภาพการ จัดการเรียนการสอนและการพัฒนาคุณภาพผูเ้ รียนเป็นส�ำคัญ ๔.๗ ทะนุบ�ำรุงและอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ๆ สนับสนุนให้องค์กรทางศาสนามีบทบาทส�ำคัญในการปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวติ สร้างสันติสขุ และความปรองดองสมานฉันท์ในสังคมไทยอย่างยัง่ ยืน และมีสว่ นร่วม ในการพัฒนาสังคมตามความพร้อม ๔.๘ อนุรกั ษ์ ฟืน้ ฟู และเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรม ภาษาไทยและภาษาถิน่ ภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ รวมทัง้ ความหลากหลายของศิลป วัฒนธรรมไทย เพือ่ การเรียนรู้ สร้างความภาคภูมใิ จในประวัตศิ าสตร์และความเป็นไทย น�ำไปสูก่ ารสร้างความสัมพันธ์อนั ดีในระดับ ประชาชน ระดับชาติ ระดับภูมภิ าค และระดับนานาชาติ ตลอดจนเพิม่ มูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ ๔.๙ สนับสนุนการเรียนรูภ้ าษาต่างประเทศ วัฒนธรรมของประเทศเพือ่ นบ้าน และวัฒนธรรมสากล และการสร้างสรรค์งานศิลปะ และวัฒนธรรมทีเ่ ป็นสากล เพือ่ เตรียมเข้าสูเ่ สาหลักวัฒนธรรมของประชาคมอาเซียนและเพือ่ การเป็นส่วนหนึง่ ของประชาคมโลก ๔.๑๐ ปลูกฝังค่านิยมและจิตส�ำนึกทีด่ ี รวมทัง้ สนับสนุนการผลิตสือ่ คุณภาพเพือ่ เปิดพืน้ ทีส่ าธารณะให้เยาวชนและประชาชนได้มี โอกาสแสดงออกอย่างสร้างสรรค์

14

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องพิเศษ

นโยบายรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงศึกษาธิการ ประจ�ำปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ๕ นโยบายทัว่ ไป

๑. การพัฒนาและปฏิรปู การศึกษา จะต้องยึดหลักการมีสว่ นร่วม การกระจายอ�ำนาจ และความต้องการของทุกภาคส่วนใน สังคม มีความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาและเพิม่ ศักยภาพการแข่งขันของประเทศ รวมทัง้ เป็นไปตามกระบวนการของสภาปฏิรปู แห่งชาติและสภานิตบิ ญ ั ญัตแิ ห่งชาติ และแนวนโยบายของคณะรัฐมนตรี เพือ่ ให้การด�ำเนินงานเป็นทีย่ อมรับและเกิดความมัน่ คงยัง่ ยืน ในระบบการศึกษาของไทย ๒. การสร้างโอกาสทางการศึกษาในสังคมไทย จะต้องให้ความส�ำคัญกับการสร้างความเท่าเทียมและเป็นธรรม โดยการน้อมน�ำ แนวทางการพัฒนาระบบการจัดการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั และเทคโนโลยีสารสนเทศเพือ่ การศึกษาสมัยใหม่เข้ามา ประยุกต์ใช้ เพือ่ เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุม่ ได้มโี อกาสเข้าถึงองค์ความรูไ้ ด้โดยสะดวก และสามารถพัฒนาและประยุกต์ใช้องค์ ความรูใ้ นการด�ำเนินชีวติ ได้อย่างต่อเนือ่ ง รวมทัง้ เป็นการยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างเท่าเทียม ๓. การพัฒนาระบบการจัดการศึกษาและการพัฒนาหลักสูตรทางการศึกษา จะต้องให้ความส�ำคัญกับการยกระดับความรูใ้ ห้ มีคณ ุ ภาพและได้มาตรฐานสากล ควบคูไ่ ปกับการส่งเสริมการเรียนรูภ้ มู ปิ ญ ั ญาท้องถิน่ และปลูกฝังคุณธรรม การสร้างวินยั ปลูกฝัง อุดมการณ์ความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ การมีจิตสาธารณะ การตระหนักถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม มากกว่าส่วนตน และเสริมสร้างความรูค้ วามเข้าใจทีถ่ กู ต้องในหลักการประชาธิปไตย เคารพความคิดเห็นของผูอ้ นื่ ยอมรับความแตกต่าง หลากหลายทางความคิด อุดมการณ์ และความเชือ่ รวมทัง้ รูค้ ณ ุ ค่าและสืบสานวัฒนธรรมและขนบประเพณีอนั ดีงามของไทย ๔. การส่งเสริมและยกสถานะของครูซงึ่ เป็นบุคลากรหลักในระบบการศึกษา จะต้องให้ความส�ำคัญกับการสร้างเสริมให้วชิ าชีพครู เป็นวิชาชีพชัน้ สูงในสังคม เป็นบุคลากรทีไ่ ด้รบั การยกย่องว่าเป็นแบบอย่างทีด่ ใี นเรือ่ งคุณธรรมและจริยธรรม มีภมู คิ วามรูแ้ ละทักษะ ในการสื่อสารถ่ายทอดความรู้ที่เหมาะสม มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพครู ตลอดจนมีฐานะและคุณภาพชีวิตที่ดีสอดคล้องกับสภาพทาง เศรษฐกิจและสังคมไทยในปัจจุบนั ๕. การบริหารและการปฏิบตั ริ าชการกระทรวงในทุกระดับ จะต้องให้ความส�ำคัญกับการบูรณาการการปฏิบตั ขิ องทุกหน่วยงาน ในสังกัดให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและประสานสอดคล้องกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนทีเ่ กีย่ วข้อง รวมทัง้ เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล ปราศจากการทุจริตคอรัปชัน่ ตลอดจนให้ความส�ำคัญกับการเผยแพร่ขอ้ มูลข่าวสารเกีย่ วกับงานด้านการ ศึกษาทีถ่ กู ต้อง รวดเร็ว และตรงกับความต้องการของสังคม

๗ นโยบายเฉพาะ ด�ำเนินการให้เห็นผลใน ๑ ปี

๑. การพัฒนาการศึกษาในพืน้ ทีจ่ งั หวัดชายแดนภาคใต้และสนับสนุนการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป้าหมายในการด�ำเนินนโยบาย : ๑.๑ การพัฒนาการศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษามีความเหมาะสมกับพืน้ ที่ ๑.๒ สามารถยกระดับคุณภาพการศึกษาโดยอาศัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพือ่ การศึกษาสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้ และ แก้ไขปัญหาการอ่านภาษาไทยไม่ออกและเขียนไม่ได้ของนักเรียนในพืน้ ทีอ่ ย่างจริงจัง ๑.๓ สามารถพัฒนาระบบการให้คา่ ตอบแทน สิง่ จูงใจและสวัสดิการ ส�ำหรับบุคลากรทางการศึกษาในพืน้ ทีเ่ สีย่ งภัยได้อย่าง เหมาะสม ๑.๔ มีมาตรการด้านความปลอดภัยทีช่ ดั เจนส�ำหรับนักเรียนนักศึกษา ครูอาจารย์ และสถานศึกษาโดยการบูรณาการแผนและ การปฏิบตั ริ ว่ มกับหน่วยงานความมัน่ คงในพืน้ ที่ ๑.๕ มีกจิ กรรมสนับสนุนการพัฒนาการศึกษาและการจัดการศึกษาโรงเรียนเอกชนในพืน้ ทีเ่ สีย่ งภัย รวมทัง้ กิจกรรมส่งเสริม การเรียนรู้ เพิม่ พูนประสบการณ์ เปิดโลกทัศน์และสร้างความหวัง การยึดมัน่ ในหลักคุณธรรมและสถาบันหลักของชาติ ให้กบั นักเรียน นักศึกษาในพืน้ ทีจ่ งั หวัดชายแดนภาคใต้อย่างต่อเนือ่ ง ๑.๖ สามารถเสริมสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับองค์การระหว่างประเทศโดยเฉพาะองค์การสหประชาชาติและยูเนสโก ประเทศกลุม่ ประชาชาติมสุ ลิม ประเทศเพือ่ นบ้าน และสือ่ มวลชน อย่างต่อเนือ่ ง อนุสารอุดมศึกษา

15


เรื่องพิเศษ

๒. การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.๒๕๕๘ และการด�ำรงความต่อเนื่องภายหลังการก้าวเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน เป้าหมายในการด�ำเนินนโยบาย : ๒.๑ โครงสร้างพื้นฐานทางการศึกษาของภาครัฐและเอกชน นักเรียน นักศึกษา ครูอาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา มีความพร้อมในการก้าวเข้าสูป่ ระชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.๒๕๕๘ ๒.๒ มีกิจกรรมการเรียนรู้ ขยายความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือทางการศึกษา และการแลกเปลี่ยนทางการศึกษา กับประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างต่อเนือ่ ง ๒.๓ สามารถพัฒนาและเสริมทักษะด้านภาษาอังกฤษและภาษาประเทศสมาชิกอาเซียน สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ อาเซียน การยอมรับในความแตกต่างหลากหลายในลักษณะพหุสงั คมวัฒนธรรม และให้ความเคารพในอุดมการณ์ความเชือ่ บนพืน้ ฐาน ของหลักสิทธิมนุษยชนและศักดิศ์ รีของความเป็นมนุษย์ ให้กบั นักเรียน นักศึกษา ครูอาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาทุกระดับ ให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม ๓. การพัฒนาศักยภาพการแข่งขันและสนับสนุนการพัฒนาประเทศอย่างยัง่ ยืน เป้าหมายในการด�ำเนินนโยบาย : ๓.๑ มีแนวทางการส่งเสริมและด�ำเนินการเพือ่ ปรับสัดส่วนผูเ้ รียนอาชีวศึกษาและสามัญศึกษาให้เหมาะสมกับความต้องการ ก�ำลังคนในตลาดแรงงานรองรับการพัฒนาประเทศ ๓.๒ มีแนวทางการพัฒนาหลักสูตร ระบบการจัดการศึกษา และบุคลากรทางศึกษา รองรับทิศทางการพัฒนาประเทศโดยใช้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเป็นฐานการพัฒนา ๓.๓ มีกจิ กรรมทีเ่ ป็นการส่งเสริมการวิจยั พัฒนา และการสร้างนวัตกรรมในสถาบันทางการศึกษา เพือ่ การน�ำไปใช้ประโยชน์ และสร้างมูลค่าสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ๓.๔ มีแผนงานและโครงการเพื่อส่งเสริมการผลิตก�ำลังคนด้านการอาชีวศึกษาตอบสนองต่อภาคการผลิตสินค้าและอาหาร ภาคการท่องเที่ยว ภาคการบริการ ภาคการขนส่ง บุคลากรทางการแพทย์และพยาบาล และอื่น ๆ ในสาขาที่มีความขาดแคลน ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานทัง้ ด้านปริมาณและคุณภาพโดยให้ความส�ำคัญกับการส่งเสริมการมีสว่ นร่วมและการจัดท�ำ ความตกลงร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชนในการสนับสนุนการผลิต การพัฒนาระบบการจัดการ และการพัฒนาก�ำลังคน ทัง้ ระบบ ๓.๕ มีกิจกรรมเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการเผยแพร่ความรู้และการพัฒนาต่อยอดความรู้เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ วิสาหกิจ การประกอบอาชีพและด�ำเนินธุรกิจ ควบคูไ่ ปกับการเผยแพร่องค์ความรูแ้ ละแนวทางการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงมาใช้กบั การด�ำเนินชีวติ ประจ�ำวันในการศึกษาทัง้ ในระบบและนอกระบบอย่างเป็นรูปธรรม ๔. การมุง่ เน้นการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มคี ณ ุ ภาพ เป้าหมายในการด�ำเนินนโยบาย : ๔.๑ มีแนวทางการพัฒนาระบบการผลิตครูให้เพียงพอต่อความต้องการและเหมาะสมกับอัตราก�ำลังข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษา และปรับระบบการรับรองมาตรฐานวิชาชีพครูให้เอื้อต่อการเพิ่มโอกาสให้มีบุคลากรที่มีความรู้และ ประสบการณ์ทเี่ หมาะสมเข้ามาในระบบการศึกษา ๔.๒ ระบบการบริหารงานบุคคล การย้ายบรรจุ และการประเมินวิทยฐานะของครูและบุคลากรทางการศึกษา มีมาตรฐาน ระดับสากล สามารถเพิ่มศักยภาพในการให้การศึกษาและลดภาระงานที่ไม่จ�ำเป็นรวมทั้งไม่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานตาม ภารกิจหลัก ๔.๓ ครูและบุคลากรทางการศึกษามีจติ วิญญาณของความเป็นครู การเป็นครูมอื อาชีพ และยึดมัน่ ในจรรยาบรรณของวิชาชีพ ๔.๔ สามารถก�ำหนดแนวทางการพัฒนาตามเส้นทางวิชาชีพและความก้าวหน้าในหน้าทีก่ ารงานได้อย่างเป็นระบบ มีระบบ สนับสนุนการพัฒนาตนเองและการแลกเปลีย่ นเรียนรูอ้ ย่างต่อเนือ่ ง โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้ในการ ระบบคลังความรู้ การแลกเปลีย่ นเรียนรู้ และการประเมินผล อย่างเป็นรูปธรรม ๔.๕ มีแผนงานและโครงการเพือ่ ยกระดับคุณภาพชีวติ ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา โดยการพัฒนาระบบสวัสดิการ ทีม่ งุ่ การแก้ไขปัญหาและให้การช่วยเหลือทีย่ งั่ ยืน และให้ความส�ำคัญกับการแก้ไขปัญหาหนีส้ นิ อย่างเป็นระบบ

16

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องพิเศษ

๕. การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพือ่ การศึกษาให้ทนั สมัย เป้าหมายในการด�ำเนินนโยบาย : ๕.๑ น้อมน�ำแนวทางการพัฒนาระบบการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นหลักในการด�ำเนินแผนงานและ โครงการในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพือ่ การศึกษา ๕.๒ การด�ำเนินแผนงานและโครงการในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา จะต้องพิจารณาถึงความ พร้อมและความเหมาะสมกับหลักสูตรและระดับการเรียนการสอน ความคุ้มค่า ความจ�ำเป็นในการลดอุปสรรคและเป็นการเพิ่ม ประสิทธิภาพ การยกระดับคุณภาพการศึกษา รวมทัง้ ความเท่าเทียมและครอบคลุมพืน้ ที่ ๕.๓ มีแผนงานและโครงการในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการเรียนการสอนอย่างเต็มรูปแบบ โดยขยาย โรงเรียนน�ำร่องในการจัดท�ำห้องเรียน Smart Classroom ออกสูส่ ว่ นภูมภิ าคมากขึน้ ๕.๔ สามารถใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพือ่ การบริหารจัดการและบูรณาการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครือข่ายต่าง ๆ เชือ่ มโยง กับสถิติข้อมูลทางการศึกษา และประมวลผลข้อมูลที่จ�ำเป็นส�ำหรับใช้ประกอบการตัดสินใจในการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๖. การเพิม่ ประสิทธิภาพการปฏิบตั ริ าชการตามแผนปฏิบตั ริ าชการประจ�ำปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ของกระทรวงศึกษาธิการ เป้าหมายในการด�ำเนินนโยบาย : ๖.๑ สามารถถ่ายทอดนโยบายพื้นฐานและนโยบายเร่งด่วนของคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับด้านการศึกษาลงสู่แผนปฏิบัติ ราชการประจ�ำปี เพื่อให้การน�ำสู่การปฏิบัติสามารถด�ำเนินการได้อย่างชัดเจนและติดตามความก้าวหน้าในการด�ำเนินการได้อย่าง ต่อเนือ่ ง ๖.๒ สามารถสื่อสารถ่ายทอดให้ทุกหน่วยงานและบุคลากรทุกระดับมีความรู้และความเข้าใจในสาระส�ำคัญของแผนปฏิบัติ ราชการประจ�ำปีงบประมาณ ๒๕๕๘ และพัฒนาตัวชีว้ ดั ทีช่ ดั เจนเพือ่ ประสิทธิภาพในการแปลงแผนไปสูก่ ารปฏิบตั ิ ภายในช่วงเดือนแรก ของปีงบประมาณ เพือ่ ให้การปฏิบตั ริ าชการในภาพรวมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ๖.๓ หน่วยงานส่วนกลางสามารถให้การสนับสนุนทรัพยากรอย่างเพียงพอในการปฏิบตั ริ าชการตามแผนปฏิบตั ริ าชการประจ�ำ ปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ของหน่วยปฏิบตั ใิ นระดับพืน้ ที่ ๖.๔ มีระบบการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และการรายงานให้มปี ระสิทธิภาพ เพือ่ ให้การได้ขอ้ มูลสารสนเทศทีถ่ กู ต้อง และรวดเร็ว เพือ่ การทบทวนและปรับปรุงการด�ำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายได้ทนั ต่อเหตุการณ์ ๖.๕ สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการปฏิบตั ริ าชการและผลการเบิกจ่ายงบประมาณเป็นรายไตรมาสได้อย่าง ต่อเนือ่ ง และสามารถก�ำหนดมาตรการเพือ่ ปรับปรุงกระบวนการปฏิบตั งิ านและแก้ไขปัญหาอย่างทันต่อสถานการณ์ มีระบบวิเคราะห์ ประสิทธิภาพการใช้จา่ ยงบประมาณและจัดท�ำแผนเพิม่ ประสิทธิภาพ รวมทัง้ มีระบบการก�ำกับดูแลเพือ่ ให้เกิดความโปร่งใส และเร่งรัด การเบิกจ่ายงบประมาณทีม่ ปี ระสิทธิภาพเพือ่ ให้การเบิกจ่ายงบประมาณเป็นไปตามเป้าหมายทีก่ �ำหนด ๗. การด�ำเนินการตามแผนการศึกษาแห่งชาติและการปฏิรปู การศึกษา เป้าหมายในการด�ำเนินนโยบาย : ๗.๑ มีความก้าวหน้าในการด�ำเนินการตามแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับปรับปรุง ครัง้ ที่ ๒ และเป็นไปตามเป้าหมายเมือ่ สิน้ สุด แผนฯ ปี พ.ศ.๒๕๕๙ และสามารถด�ำเนินการจัดท�ำร่างแผนการศึกษาแห่งชาติในห้วงระยะเวลาต่อไป ๗.๒ มีแผนงานและโครงการในการจัดและส่งเสริมการศึกษา โดยเฉพาะการด�ำเนินการต่อเนื่องของการปฏิรูปการเรียนรู้ ทัง้ ระบบให้เชือ่ มโยงกันทัง้ การปฏิรปู หลักสูตรและการปฏิรปู การเรียนการสอนกับการเรียนรูย้ คุ ใหม่ ปฏิรปู ระบบการผลิตและพัฒนาครู การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สารส�ำหรับการปฏิรปู การเรียนรู้ การยกระดับคุณภาพการศึกษาสูม่ าตรฐานสากล และ การส่งเสริมให้เอกชนมีสว่ นร่วมในการจัดและสนับสนุนการศึกษา ๗.๓ สามารถติดตามรายละเอียดแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของสภาปฏิรูปแห่งชาติ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และแนว นโยบายของคณะรัฐมนตรี ได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถรายงานสรุปความก้าวหน้าเป็นรายไตรมาส รวมทั้งสามารถวางแนวทาง รองรับการเปลีย่ นแปลงทัง้ ในเชิงโครงสร้าง ระบบงาน กฎหมาย ระบบการบริหารจัดการ และอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง ได้อย่างเป็นระบบ อนุสารอุดมศึกษา

17


เรื่องพิเศษ

๑๐ นโยบายเร่งด่วน ด�ำเนินการให้เห็นผลใน ๓ เดือน

๑. เร่งส�ำรวจและให้ความช่วยเหลือเยียวยา รวมทัง้ ฟืน้ ฟูโรงเรียน สถานศึกษา นักเรียน นักศึกษา ครูอาจารย์ และบุคลากร ทางการศึกษา ทีไ่ ด้รบั ผลกระทบจากเหตุการณ์อทุ กภัย โดยเร็ว เป้าหมายในการด�ำเนินนโยบาย : โรงเรียน สถานศึกษา นักเรียน นักศึกษา ครูอาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการช่วยเหลือเยียวยาและฟื้นฟู ให้สามารถท�ำการเรียนการสอนได้ตามปกติอย่างรวดเร็ว ๒. เร่งแก้ไขปัญหาความรุนแรงและเหตุทะเลาะวิวาทของนักศึกษาอาชีวะศึกษาอย่างเป็นระบบและต่อเนือ่ ง เป้าหมายในการด�ำเนินนโยบาย : ๒.๑ มีการด�ำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อก�ำหนดมาตรการในการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจนและมีการปฏิบัติ อย่างจริงจัง ๒.๒ ไม่มเี หตุทะเลาะวิวาทของนักศึกษาอาชีวะศึกษาจนส่งผลกระทบต่อชีวติ และทรัพย์สนิ ของประชาชนทัว่ ไป/จ�ำนวนเหตุ ทะเลาะวิวาทของนักศึกษาอาชีวะศึกษาในช่วง ๓ เดือนลดลงอย่างชัดเจน ๓. เร่งสร้างค่านิยมอาชีวศึกษา ปรับภาพลักษณ์ และก�ำหนดมาตรการเพือ่ จูงใจให้นกั เรียนนักศึกษา พ่อแม่และผูป้ กครอง มีความยินดีและส่งเสริมให้บตุ รหลานเข้ารับการศึกษาในสายอาชีพอาชีวศึกษาเพิม่ มากขึน้ โดยเฉพาะวิชาชีพทีข่ าดแคลนและ เป็นความต้องการของตลาดแรงงาน เป้าหมายในการด�ำเนินนโยบาย : ๓.๑ มีกจิ กรรมเสริมสร้างภาพลักษณ์ทดี่ ขี องการศึกษาในสายอาชีพอาชีวศึกษาอย่างต่อเนือ่ ง ๓.๒ มีการก�ำหนดแผนงานหรือมาตรการเพื่อจูงใจในการเข้ารับการศึกษาสายอาชีพอาชีวศึกษา โดยเฉพาะวิชาชีพที่ ขาดแคลน และมีระบบการติดตาม ควบคุม อย่างเป็นระบบและชัดเจน ๔. ทบทวนหลักสูตร การเรียนการสอน เพือ่ ให้ผเู้ รียนพัฒนากระบวนการคิด วิเคราะห์ มีเวลาท�ำกิจกรรมเพือ่ พัฒนาความรู้ ความสามารถ ทักษะ และประสบการณ์ รวมทัง้ ปลูกฝังในเรือ่ งค่านิยมหลัก มีคณ ุ ธรรม จริยธรรม สร้างวินยั จิตส�ำนึกความรับผิดชอบ ต่อสังคม การยึดมัน่ ในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และความภาคภูมใิ จในการเป็นคนไทย เป้าหมายในการด�ำเนินนโยบาย : ๔.๑ มีแนวทางปรับปรุงหลักสูตรให้เด็กและเยาวชนได้พฒ ั นากระบวนการคิด ทักษะ ความสามารถอย่างรอบด้านทัง้ ร่างกาย อารมณ์ สังคมสติปญ ั ญา การปลูกฝังค่านิยม ๑๒ ประการ การเรียนรูป้ ระสบการณ์จากการท�ำกิจกรรม ฝึกปฏิบตั อิ ย่างเหมาะสม แต่ละ ช่วงวัย และการวางพืน้ ฐานเพือ่ การท�ำงาน การศึกษาเพือ่ อาชีพ ๔.๒ น�ำร่องรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาที่ดี และผลักดันกฎหมายที่จะเป็นรากฐานและกลไกการขับเคลื่อนการ ปฏิรปู การศึกษาระยะยาว ๕. เร่งพิจารณาทบทวนการอุดหนุนรายหัวแก่นกั เรียนในระดับการศึกษาขัน้ พืน้ ฐานทัง้ ของภาครัฐและเอกชน การช่วยเหลือ ค่าอุปกรณ์การเรียนของนักเรียนสายอาชีพ อาชีวศึกษา และการช่วยเหลือเด็กยากจน พิการ และด้อยโอกาส เป้าหมายในการด�ำเนินนโยบาย : ๕.๑ มีกระบวนการพิจารณาอย่างรอบคอบและสามารถเสนอขออนุมตั /ิ เห็นชอบได้ตามขัน้ ตอนตามกฎหมายและกฎระเบียบ ทีก่ �ำหนด ๕.๒ สามารถให้การอุดหนุนและการช่วยเหลือมีความเหมาะสมกับสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบนั ๖. เร่งขยายบทบาทของภาคเอกชนในการมีสว่ นร่วมในระบบการศึกษา โดยเฉพาะการจัดท�ำข้อตกลงระหว่างผูป้ ระกอบการ ธุรกิจเอกชนในการให้การสนับสนุนและการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าท�ำงานหลังส�ำเร็จการศึกษา และการสนับสนุนอืน่ ๆ ให้เพิม่ มากขึน้ เป้าหมายในการด�ำเนินนโยบาย : ๖.๑ มีแนวทางและมาตรการจูงใจภาคเอกชนให้เข้ามามีสว่ นร่วมในระบบการศึกษา ๖.๒ มีการจัดท�ำข้อตกลงกับผูป้ ระกอบการธุรกิจเอกชนในการให้การสนับสนุนเพิม่ มากขึน้

18

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องพิเศษ

๗. เร่งปรับระบบการบรรจุครูและการรับรองมาตรฐานวิชาชีพครูให้เอื้อต่อการเพิ่มโอกาสให้มีบุคลากรที่มีความรู้และ ประสบการณ์ที่เหมาะสมเข้ามาในระบบการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูและบุคลากร อาชีวศึกษา และครูสาขาขาดแคลนในระดับการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน เป้าหมายในการด�ำเนินนโยบาย : ๗.๑ มีกระบวนการพิจารณาอย่างรอบคอบและสามารถเสนอขออนุมตั /ิ เห็นชอบได้ตามขัน้ ตอนตามกฎหมายและกฎระเบียบ ทีก่ �ำหนด รวมถึงปรับแก้กฎหมายและระเบียบทีเ่ กีย่ วข้องซึง่ เป็นอุปสรรคต่อการด�ำเนินงานทีม่ ปี ระสิทธิภาพ ๗.๒ สามารถปรับระบบการบรรจุครูและการรับรองมาตรฐานวิชาชีพครูให้เอือ้ ต่อการเพิม่ โอกาสให้มบี คุ ลากรทีม่ คี วามรูแ้ ละ ประสบการณ์เข้ามาในระบบการศึกษาเพิม่ มากขึน้ ๘. เร่งทบทวนมาตรการการจัดกิจกรรมรับน้องของนักเรียนนักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และมาตรการติดตาม ควบคุม การลักลอบการจัดกิจกรรมรับน้องทัง้ ภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา ให้เป็นไปในแนวทางทีส่ ร้างสรรค์ ปลอดภัย ปราศจากการใช้ความรุนแรง การละเมิดและคุกคามทางเพศ รวมทัง้ ไม่ขดั ต่อหลักศีลธรรมขนบประเพณีอนั ดีงาม และเป็นไปตาม หลักสิทธิมนุษยชน โดยให้มผี ลบังคับใช้ให้ทกุ สถาบันการศึกษายึดถือเป็นแนวทางปฏิบตั อิ ย่างเคร่งครัด เป้าหมายในการด�ำเนินนโยบาย : ๘.๑ มีกระบวนการพิจารณาอย่างรอบคอบและสามารถเสนอขออนุมตั /ิ เห็นชอบได้ตามขัน้ ตอนตามกฎหมายและกฎระเบียบ ทีก่ �ำหนด ๘.๒ มีมาตรการและแนวทางทีช่ ดั เจนและมีผลบังคับใช้ในทางปฏิบตั อิ ย่างเป็นรูปธรรม ๙. เร่งทบทวนมาตรการความปลอดภัยส�ำหรับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เกีย่ วกับการจัดกิจกรรมทัศนศึกษานอกสถานศึกษา และมาตรการความปลอดภัยในการเดินทางและการขนส่งเป็นหมู่คณะของนักเรียน นักศึกษา ครูอาจารย์ และบุคลากรทาง การศึกษา โดยให้มผี ลบังคับใช้ให้ทกุ สถาบันการศึกษายึดถือเป็นแนวทางปฏิบตั อิ ย่างเคร่งครัด เป้าหมายในการด�ำเนินนโยบาย : ๙.๑ มีกระบวนการพิจารณาอย่างรอบคอบและสามารถเสนอขออนุมตั /ิ เห็นชอบได้ตามขัน้ ตอนตามกฎหมายและกฎระเบียบ ทีก่ �ำหนด ๙.๒ มีมาตรการและแนวทางทีช่ ดั เจนและมีผลบังคับใช้ในทางปฏิบตั อิ ย่างเป็นรูปธรรม ๑๐. เร่งด�ำเนินการตามนโยบายเร่งด่วนของคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับด้านการศึกษาทั้งที่เป็นหน่วยรับผิดชอบหลักและ หน่วยสนับสนุน ให้เห็นผลในทางปฏิบตั อิ ย่างเป็นรูปธรรม และเป็นไปตามเป้าหมายและกรอบระยะเวลาทีก่ �ำหนด เป้าหมายในการด�ำเนินนโยบาย : ๑๐.๑ มีการก�ำหนดหน่วยงานรับผิดชอบในการด�ำเนินการตามนโยบายเร่งด่วนทีช่ ดั เจน ๑๐.๒ มีการก�ำหนดตัวชีว้ ดั ค่าเป้าหมาย แผนงาน โครงการ และกิจกรรม รองรับอย่างเป็นรูปธรรม ๑๐.๓ มีระบบการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และการรายงานผลทีม่ ปี ระสิทธิภาพ โดยสามารถรายงานความก้าวหน้า ในการด�ำเนินงานได้อย่างต่อเนือ่ ง ๑๐.๔ มีระบบการวิเคราะห์และประมวลผล เพือ่ ก�ำหนดมาตรการในการแก้ไขปัญหาและลดผลกระทบทางลบได้อย่างรวดเร็ว และสามารถด�ำเนินการได้ตามเป้าหมายทีก่ �ำหนด ๑๐.๕ สามารถให้ขอ้ มูลทีถ่ กู ต้องและทันสมัยต่อคณะรัฐมนตรีและสังคมได้อย่างรวดเร็ว

อนุสารอุดมศึกษา

19


พูดคุยเรื่องมาตรฐาน

จัดการศึกษา สร้างความเป็นพลเมือง ๑๙ กันยายน ๒๕๕๗ - สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การศึกษาเพื่อความ เป็นพลเมืองระดับอุดมศึกษา ประจำ�ปี ๒๕๕๗ ณ ห้องแซฟไฟร์ ๑-๒ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ การจัดการ เรียนการสอนความเป็นพลเมืองในรูปแบบต่างๆ และส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีเรื่องการ สร้างความเป็นพลเมืองระหว่างสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ เกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนการสอน การจัดทำ� โครงงาน กิจกรรมต่างๆ ในห้องเรียนและนอกห้องเรียน และการสร้างเครือข่ายการพัฒนาการเรียนการสอนความเป็นพลเมือง ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากนางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิด นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ดำ�เนินงานโครงการเสริมสร้างศักยภาพพลเมือง มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างความเป็นพลเมืองเป็นวิชา หรือ กระบวนการในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษา ได้เรียนรู้และนำ�ไปใช้ในชีวิตประจำ�วัน และสามารถเชื่อมโยงตนเองเป็น ส่วนหนึ่งของสังคม เพื่อให้เกิดจิตสำ�นึกรับผิดชอบต่อสังคม กรอบแนวคิดการพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ ๑๑ มีแนวคิดยึดหลักการปฏิบัติตาม ‘ปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง’ และขับเคลื่อนให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในทุกภาคส่วน ทุกระดับ ยึดแนวคิดการพัฒนาแบบ บูรณาการเป็นองค์รวมที่มี ‘คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา’ มีการเชื่อมโยงทุกมิติของการพัฒนาอย่างบูรณาการ ทั้งมิติตัวคน สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการเมือง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้พร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในระดับปัจเจก ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ โดยกำ�หนดวิสัยทัศน์ ‘สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และมี ภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง’ และพันธกิจในการพัฒนาคุณภาพคนไทยให้มีคุณธรรม เรียนรู้ตลอดชีวิต มีทักษะและการดำ�รงชีวิต อย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย สถาบันทางสังคมและชุมชนท้องถิ่นมีความเข้มแข็งสามารถปรับตัวรู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง

20

อนุสารอุดมศึกษา


พูดคุยเรื่องมาตรฐาน

ยุทธศาสตร์ท่ี ๕ ในยุทธศาสตร์ของอุดมศึกษา (พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙) กำ�หนดให้มกี ารยกระดับคุณภาพบัณฑิตอย่างก้าวกระโดด โดยการเปลี่ยนกระบวนการสอนเป็นกระบวนการเรียนรู้ โดยมีเป้าหมายในการนำ�ความรู้ไปใช้ได้จริง มีทักษะในการดำ�รงชีวิต มีความเป็นผู้นำ� มีจิตอาสา และความรับผิดชอบต่อสังคม มีความสามารถในการสื่อสาร สามารถดำ�รงชีวิตและประกอบอาชีพได้ใน ประชาคมอาเซียน รวมทัง้ เป็นพลเมืองทีม่ คี ณ ุ ค่าของโลก ตลอดจนดำ�รงไว้ซง่ึ เอกลักษณ์วฒ ั นธรรมและภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ไทย ทีส่ อดคล้อง ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีการติดตามประเมินคุณภาพและพัฒนาบัณฑิตหลังเข้าสูต่ ลาดงานเพือ่ ให้สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพงาน ในสังคมอาเซียน มีการกำ�หนดเป้าประสงค์ในการยกระดับคุณภาพบัณฑิตให้มีคุณภาพตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา อย่างน้อย ๕ ด้าน ได้แก่ (๑) คุณธรรมจริยธรรม (๒) ความรู้ (๓) ทักษะทางปัญญา (๔) ทักษะความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลและความ รับผิดชอบ (๕) ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสือ่ สารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงมีทกั ษะตรงกับความต้องการของตลาด งานและการพัฒนาประเทศทุกด้าน โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กอปรกับ ยุทธศาสตร์พฒ ั นาการศึกษาเพือ่ สร้างความเป็นพลเมือง พ.ศ. ๒๕๕๓ - ๒๕๖๑ มีวตั ถุประสงค์ (๑) เพือ่ พัฒนาการ ศึกษาที่สร้างความเป็นพลเมือง (Civic Education) ในรูปกิจกรรมที่เน้นกระบวนการคิด วิเคราะห์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการ ลงมือปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะรอบด้าน เพื่อประโยชน์ของตนเอง สังคมประเทศ ไปจนถึงเพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติ และ (๒) เพื่อเสริมสร้าง/ฝึกฝนคุณลักษณะของความเป็นพลเมืองให้กับกลุ่มเป้าหมาย ต่างๆ โดยเฉพาะในช่วงเปลี่ยนผ่าน ได้แก่ ผู้บริหาร สถานศึกษา ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ผูเ้ รียน ครอบครัว ชุมชน พ่อแม่ ผูป้ กครอง ประชาชนทัว่ ไป และองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิน่ ในการเป็นแบบอย่างทีด่ ี มีพลังในสังคม สำ�หรับทำ�หน้าทีห่ ล่อหลอมปลูกฝังอุปนิสยั ค่านิยมความเป็นพลเมืองให้กบั เด็กและ เยาวชนได้อย่างลึกซึง้ โดยมีเป้าหมายเพือ่ ให้ประเทศไทยก้าวสูค่ วามเป็น ‘สังคมพลเมือง’ (Civil Society) หมายถึง ประเทศทีป่ ระกอบด้วย สมาชิกที่ตระหนักในพลังของตนเอง และร่วมกันสร้าง ‘สังคมที่เข็มแข็ง’ ในมิติต่าง ๆ อาทิ การเมือง สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม เพื่อให้ประเทศไทยมีความมั่นคง ประชาชนแต่ละกลุ่มความคิด ความเชื่อ สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขและปราศจากความรุนแรง ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยเ์ ป็นประมุข และเพือ่ เตรียมความพร้อมทรัพยากรบุคคลของประเทศในการ ก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน และประชาคมโลกอย่างสมศักดิ์ศรี และเป็นพลังสำ�คัญในการสร้างสันติภาพถาวร รวมถึงเป็นส่วนหนึ่ง ในการร่วมแก้ปญ ั หาของโลกและมนุษยชาติ ทัง้ ในฐานะพลเมืองไทยและพลเมืองโลก “สกอ. ตระหนักถึงความสำ�คัญของการสร้างเยาวชนหรือประชากรวัยเรียนให้เป็นผู้ท่มี ีความเป็นพลเมือง จึงทุ่มเททรัพยากร และสรรพกำ�ลังในการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างความเป็นพลเมืองของประชากรของประเทศ โดยการสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษา พัฒนาการจัดการศึกษาด้านการสร้างความเป็นพลเมืองตามบริบทของแต่ละกลุ่มสถาบัน และเหมาะสมกับอัตลักษณ์ของสถาบัน อุดมศึกษาแต่ละแห่ง” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว อนุสารอุดมศึกษา

21


เรื่องแนะน�ำ

กีฬามหาวิทยาลัย

อาเซียน การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน ASEAN University Games (AUG) เกิดขึ้นได้โดยอาศัย ความร่วมมือทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน จนในปี ๒๕๒๓ ได้เกิดองค์กรด้านการกีฬาในกลุ่มนิสิตนักศึกษาของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน โดยใช้ชื่อ ‘สภากีฬา มหาวิทยาลัยอาเซียน’ (The ASEAN University Sports Council (AUSC) และได้เริ่มจัดการแข่งขันกีฬา มหาวิทยาลัยอาเซียนครั้งแรก ในปี ๒๕๒๓ โดยมอบหมายให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน สภากีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน มีสมาชิกทั้งสิ้น ๑๑ ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย บรู ไ นดารุ ส ซาลาม สาธารณรั ฐ สิ ง คโปร์ สาธารณรั ฐ ประชาธิ ป ไตยประชาชนลาว สาธารณรั ฐ ฟิ ลิ ป ปิ น ส์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐ แห่งสหภาพเมียนมาร์ และไทย สภากีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน ได้จัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยอาเซียนมาแล้ว จำ�นวน ๑๖ ครั้ง โดยหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพทุก ๒ ปี สำ�หรับการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน ครั้งที่ ๑๗ สภากีฬามหาวิทยาลัยอาเซียนได้มอบหมายให้เมืองปาเล็มบัง สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เป็นเจ้าภาพจัดขึ้น ระหว่างวันที่ ๑๐ - ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๗ ณ เมืองปาเล็มบัง สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยมีการจัดการ แข่งขันทั้งสิ้น ๒๐ ชนิดกีฬา จำ�นวน ๒๒๕ เหรียญ คณะกรรมการบริหารกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการเตรียมการ และคัดเลือกนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน ครั้งที่ ๑๗ ด�ำเนินการพิจารณาคัดเลือก นิสิต นักศึกษา เพื่อเป็นตัวแทนนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน ครั้งที่ ๑๗ จ�ำนวน ๑๖ ชนิดกีฬา ได้แก่ ฟุตบอล (ชาย) ฟุตซอล (ชาย) ฟุตซอล (หญิง) บาสเกตบอล (ชาย) บาสเกตบอล (หญิง) วอลเลย์บอล (ชาย) วอลเลย์บอล (หญิง) วอลเลย์บอลชายหาด เซปักตะกร้อ แบดมินตัน เปตอง เทเบิลเทนนิส เทนนิส ฟันดาบ ว่ายน�้ำ กรีฑา คาราเต้โด ปันจักสีลัต และเทควันโด โดยมีคณะนักกีฬา และเจ้าหน้าที่ไทย เข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ รวมจ�ำนวน ๔๐๔ คน

22

อนุสารอุดมศึกษา


เล่าเรื่องด้วยภาพ

๑๒ กันยายน ๒๕๕๗ - รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำ�จร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล นางวราภรณ์ สีหนาท และนางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา เข้าร่วมต้อนรับและรับฟังนโยบายรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีช่วยว่าการทรวง ศึกษาธิการ ณ อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๗ - รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำ�จร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เข้าร่วม หารือข้อราชการกับ นายกฤษณพงศ์ กีรติกร รัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รองศาสตราจารย์ คุณหญิง สุมณฑา พรหมบุญ ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ศาสตราจารย์วิชัย ริ้วตระกูล รองประธานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ณ ห้องรับรอง กกอ. ชั้น ๔

๒๕ กันยายน ๒๕๕๗ - รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำ�จร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา รับฟังการ รายงานความคื บ หน้ า การหามาตรการร่ ว มกั น ในการแก้ ปัญหานักศึกษาก่อเหตุทะเลาะวิวาท ระหว่างมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย และ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ณ ห้องประชุมบริหาร ชั้น ๔

๑๙ กันยายน ๒๕๕๗ - รองศาสตราจารย์ คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุ ญ ประธานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา เข้าร่วมรับฟังการบรรยาย และแลกเปลี่ ย นข้ อ คิ ด เห็ น กั บ ผู้ เชี่ ย วชาญชาวเยอรมั น ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน

อนุสารอุดมศึกษา

23



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.