อนุสารอุดมศึกษา issue 436

Page 1

อุดมศึกษา อนุสาร

LOGO

ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๔๓๖ ประจำ�เดือนตุลาคม ๒๕๕๗

เอกสารเผยแพร่ของสำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ISSN 0125-2461

สรรค์สร้าง ‘ กิจกรรม ’ สู่ ‘ รับน้องสร้างสรรค์ ’ เกื้อกูลกันฉันท์น้องพี่

อนุสารอุดมศึกษาออนไลน์ www.mua.go.th/pr_web


สารบัญ

CONTENT

ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๔๓๖ ประจำ�เดือนตุลาคม ๒๕๕๗

เรื่องเล่าอุดมศึกษา สกอ. ร่วม สบร. และ ทม.มส. พัฒนาแหล่งเรียนรู้ บรรเทาปัญหารุนแรง ‘อุเทน - ปทุมวัน’ สกอ. หารือปรับรูปแบบครูอาสาชาวจีน สกอ. เตรียมพร้อมพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษบุคลากรอุดมศึกษา

เรื่องเล่าอาเซียน อาเซียน...แตกต่างอย่างกลมกลืน

๑๖

๑๐

เรื่องพิเศษ ข้อตกลงร่วม ‘รับน้องใหม่และประชุมเชียร์’

๑๖

พูดคุยเรื่องมาตรฐาน การส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาจัดทำ� Diploma Supplement

๒๐

เรื่องแนะนำ� ตลาดนัดหลักสูตรอุดมศึกษา ครั้งที่ ๑๙

๒๐

๒๒

๒๒

เล่าเรื่องด้วยภาพ LOGO

อุดมศึกษา อนุสาร

ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๔๓๖ เอกสารเผยแพร่ของสำ �นักงานคณะกรรมการ ประจำ�เดือนตุลาคม ๒๕๕๗ การอุดมศึกษา ISSN 0125-2461

สรรค์สร้าง ‘ กิจกรรม ’ สู่ ‘ รับน้องสร้างสรรค์ ’ เกื้อกูลกันฉันท์น้องพี ่

ภาพปก : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อนุสารอุดมศึกษาออ นไลน์ www.mua.go.th/pr_w eb

คณะผู้จัดทำ�

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

www.m ua.go.th อนุสารอุดมศ /pr_web ึกษาออนไ ลน์

เกื เกื้อ ้อกู กูล ลกั กัน นฉั ฉัน นท์ ท์น น้อ ้องพี สู สู่ ่ “รั งพี่ ่ “รับ บน้ น้อ องสร้า งสร้างสรร งสรรค์ สร้ สร้า างสรร ค์” งสรรค์ ” ค์ “กิ “กิจ จกรรม กรรม” ”

อุดมศึก ษา เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๒๖ http://www.mua.go.th pr_mua@mua.go.th www.facebook.com/ohecthailand www.twitter.com/ohec_th LOGO

เอกสารเผยแ

พร่ของสำ�นักงานค

ปีที่ ๔๐ ณะกรรมการ ฉบั บที่ ๔๓๖ การอุดมศึกษ ประจำ�เดือน า ISSN 0125-2461 ตุลาคม ๒๕๕๗

อนุสาร

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำ�จร ตติยกวี นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ นายสุภัทร จำ�ปาทอง นายศิระวิทย์ คลี่สุวรรณ ที่ปรึกษา บรรณาธิการ นายกฤษณ์กร วงศ์ไทย กองบรรณาธิการ นางสาวปิยาณี วิริยานนท์ นางชุลีกร กิตติก้อง นายเจษฎา วณิชชากร นางปราณี ชื่นอารมณ์ นายจรัส เล็กเกาะทวด พิมพ์ที่ บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำ�กัด (มหาชน) โทรศัพท์ ๐ ๒๔๒๒ ๙๐๐๐ โทรสาร ๐ ๒๔๓๓ ๒๗๔๒


เรื่องเล่า

อุดมศึกษา

สกอ. ร่วม สบร. และ ทม.มส. พัฒนาแหล่งเรียนรู้

3

๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๗ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดพิธลี งนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือพัฒนาแหล่งเรียนรูข้ องวิทยาลัย ชุมชนน่านให้เป็น ‘อุทยานความรู้กินได้น่าน’ และบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือพัฒนาแหล่งเรียนรู้ของวิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอนให้เป็น ‘อุทยานการเรียนรู้กินได้แม่ฮ่องสอน’ ระหว่างส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ส�ำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) และเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน โดยได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ก�ำจร ตติ ย กวี เลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา นายราเมศ พรหมเย็น รองผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานบริหารและพัฒนา องค์ ค วามรู ้ และผู ้ อ�ำนวยการสถาบั น พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ก ารเรี ย นรู ้ แห่ ง ชาติ ปฏิบัติหน้าที่ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ และ นายปกรณ์ จีนาค�ำ นายกเทศมนตรีเมืองแม่ฮ่องสอน เป็นผู้ลงนาม ณ ห้องประชุมพันเอกอาทร ชนเห็นชอบ

อนุสารอุดมศึกษา


4

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา (สกอ.) และส�ำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) (สบร.) รวมถึงเทศบาลเมืองแม่ฮอ่ งสอน (ทม.มส.) มีความประสงค์ที่จะร่วมมือกันพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในสังกัด สกอ. ให้ เ ป็ น แหล่ ง เรี ย นรู ้ ใ นรู ป แบบ ‘อุ ท ยานความรู ้ กิ น ได้ น ่ า น’ และ ‘อุทยานการเรียนรู้กินได้แม่ฮ่องสอน’ เพื่อให้เป็นศูนย์ข้อมูล ในการพัฒนาอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน และผู้ให้ บริการธุรกิจอุตสาหกรรม ให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถ ในการประกอบการที่เป็นเลิศ ในรูปแบบใหม่บนแนวคิดเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ โดยการเชือ่ มโยงทรัพยากรธรรมชาติ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และเทคโนโลยี เข้ า กั บ ภู มิ ป ั ญ ญาและทั ก ษะเฉพาะของแต่ ล ะ ท้องถิ่น และส่งเสริมการท�ำมาหากิน การเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ เลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า ในความร่วมมือครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ของวิทยาลัยชุมชนน่านและ เทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน ให้เป็นศูนย์ข้อมูลรูปแบบใหม่บนแนวคิด เศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยมีการเชือ่ มโยงองค์ความรูแ้ บบสหวิทยาการ พร้ อ มทั้ ง พั ฒ นาบุ ค ลากรของวิ ท ยาลั ย ชุ ม ชนน่ า นและวิ ท ยาลั ย ชุมชนแม่ฮ่องสอน ให้เป็นนักจัดการความรู้ยุคใหม่ มีความรู้ความ เชี่ยวชาญในการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ และเพื่อให้ประชาชน ผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน ผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม ในพื้นที่ได้เข้าถึงแหล่งความรู้และน�ำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ในการต่ อ ยอดกระบวนการคิ ด เพื่ อ ประโยชน์ ใ นการส่ ง เสริ ม การท�ำมาหากินการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ตลอดจนศึกษาวิจัย

อนุสารอุดมศึกษา

และพั ฒ นารู ป แบบแหล่ ง เรี ย นรู ้ ข องวิ ท ยาลั ย ชุ ม ชนน่ า นและ วิ ท ยาลั ย ชุ ม ชนแม่ ฮ ่ อ งสอน เพื่ อ ให้ มี ก ารสร้ า งมู ล ค่ า เพิ่ ม จาก สินทรัพย์ท้องถิ่นในจังหวัดน่าน และในจังหวัดแม่ฮ่องสอนต่อไป “ทั้งนี้ สกอ. จะส่งเสริมสนับสนุนการจัดบุคลากร เข้ารับการอบรม โดย สบร. เพื่อพัฒนาศักยภาพนักจัดการความรู้ ของแหล่งเรียนรู้ พร้อมทัง้ ให้การส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณ การพั ฒ นาด้ า นกายภาพและสร้ า งบรรยากาศการเรี ย นรู ้ ข อง แหล่งเรียนรู้ สกอ.” เลขาธิการ กกอ. กล่าว ด้านนายราเมศ พรหมเย็น รองผู้อ�ำนวยการส�ำนักงาน บริหารและพัฒนาองค์ความรู้ และผู้อ�ำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์ การเรียนรูแ้ ห่งชาติ ปฏิบตั หิ น้าทีผ่ อู้ �ำนวยการส�ำนักงานบริหารและ พัฒนาองค์ความรู้ กล่าวว่า สบร. จะให้ค�ำแนะน�ำด้านการวางระบบ แหล่งเรียนรูข้ องวิทยาลัยชุมชนน่านและเทศบาลเมืองแม่ฮอ่ งสอน ในการจัดการทางกายภาพ เนือ้ หา สือ่ องค์ความรู้ ระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ และรู ปแบบกิ จ กรรมในรูปแบบ ‘อุ ท ยานความรู้ กินได้นา่ น’ และ ‘ศูนย์ความรูก้ นิ ได้’ ของเทศบาลเมืองแม่ฮอ่ งสอน พร้อมทัง้ ให้ค�ำปรึกษาในการจัดท�ำชุดประมวลความรู้ ซึง่ พัฒนาขึน้ โดยบุคลากรของวิทยาลัยชุมชนน่าน วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน และเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงองค์ความ รู้แบบสหวิทยาการ ตลอดจนถ่ายทอดองค์ความรู้และการบริหาร จัดการห้องสมุดแหล่งการเรียนรู้ชุมชนด้วยแนวความคิดห้องสมุด มีชีวิต สนับสนุนข้อมูลและสื่อการเรียนรู้ เช่น หนังสือ หนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) สือ่ มัลติมเี ดีย (Multimedia) เกม (Game) เพื่อการศึกษา เป็นต้น ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของ สอร.


บรรเทาปัญหารุนแรง

‘อุเทน - ปทุมวัน’

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา เปิดเผยถึงกรณีเหตุการณ์ทะเลาะ วิวาทของนิสิตนักศึกษาในสถาบัน อุดมศึกษาที่เป็นปัญหาอย่าง ต่อเนื่องว่า เนื่องจากนายกรัฐมนตรีมีนโยบายที่จะลดปัญหาความ รุนแรงการก่อเหตุทะเลาะวิวาทของนิสิตนักศึกษาในสถานศึกษา ต่างๆ โดยเฉพาะหากนิสิตนักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาแห่งใด ร่วมก่อเหตุในลักษณะดังกล่าว ก็จะเป็นเหตุที่จะสั่งปิดการเรียน การสอนจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น ซึ่งในปัจจุบัน การทะเลาะวิวาท ของนิ สิ ต นั ก ศึ ก ษามหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี ร าชมงคลตะวั น ออก วิ ท ยาเขตอุ เ ทนถวาย กั บ สถาบั น เทคโนโลยี ป ทุ ม วั น มี ป ั ญ หา มาอย่างต่อเนื่อง โดยระยะที่ผ่านมาผู้บริหารทั้งสองสถาบันดังกล่าว ได้พยายามวางมาตรการที่หลากหลายเพื่อแก้ปัญหาเยียวยา แต่ก็ ไม่สามารถขจัดปัญหาให้หมดไปได้ ในทางตรงกันข้าม ความรุนแรง กลับมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น “ล่าสุดเมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๗ เกิดเหตุทะเลาะ วิวาทระหว่างนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิ ท ยาเขตอุ เ ทนถวาย กั บ นั ก ศึ ก ษาสถาบั น เทคโนโลยี ป ทุ ม วั น จนมีผู้ได้รับบาดเจ็บทั้งสองฝ่าย และถูกด�ำเนินคดีตามกฎหมาย

5

ดั ง นั้ น เพื่ อ ป้ อ งกั น ปั ญ หาความรุ น แรงที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น ส�ำนั ก งาน คณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงเรียกให้ผู้บริหารของทั้ง ๒ สถาบัน มาหารือเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๗ และมีมาตรการร่วมกันทีจ่ ะให้ มหาวิทยาลัยทัง้ สองแห่งปิดการเรียนการสอนในสาขาวิชาทีน่ กั ศึกษา ก่อเหตุทะเลาะวิวาท ซึ่งสถาบันเทคโนโลยีปทุมวันให้ปิดการเรียน การสอนสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จ�ำนวน ๓ วัน และมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย ให้ปิดสาขา วิศวกรรมโยธา และสาขาการจัดการโลจิสติกส์ จ�ำนวน ๙ วัน โดยจะ เป็นวันไหนนัน้ ให้แต่ละสถาบันไปพิจารณา” เลขาธิการ กกอ. กล่าว เลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อไปว่า มาตรการดังกล่าวใช้ หลักคิดจ�ำนวนวันที่ปิดจากจ�ำนวนนักศึกษาที่ก่อเหตุทะเลาะวิวาท เพราะฉะนั้นถ้าจ�ำนวนนักศึกษาที่ก่อเหตุจากสถาบันใดมีมากก็จะ ท�ำให้จ�ำนวนวันที่ปิดมากขึ้น และถ้าไม่รู้ว่าเด็กที่ก่อเหตุเรียนอยู่ สาขาใด ก็ตอ้ งสัง่ ปิดทัง้ สถาบัน เพือ่ เป็นการบรรเทาเรือ่ งการรวมกลุม่ ยกพวกก่ อ เหตุ ท ะเลาะวิ ว าท อย่ า งไรก็ ต าม จะใช้ ห ลั ก การนี้ เป็นมาตรการเบื้องต้น เพื่อไม่ให้กระทบกับนักศึกษาที่ตั้งใจเรียน ทัง้ นี้ ขอให้นกั ศึกษาและคณาจารย์ชว่ ยกันสอดส่องดูแล อย่าให้มกี าร รวมกลุ่มกันภายในสถาบัน เพื่อจะไปก่อเหตุทะเลาะวิวาทกันอีก อนุสารอุดมศึกษา


สกอ. หารือปรับรูปแบบ ครูอาสาชาวจีน

6

๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ ส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา จัดการประชุมหารือโครงการครูอาสาสมัครชาวจีน ในสังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ณ ห้องเมย์แฟร์ เอ โรงแรม เดอะ เบอร์เคลีย์ โดยได้รับเกียรติจากนางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธาน ในพิธเี ปิด และคุณโจว เกาหวี่ (Mr. Zhou Gaoyu) เลขานุการเอก ฝ่ายการศึกษา สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจ�ำประเทศไทย คุณเฉิน หย่งซัน (Mr. Chen Yongshan) ผูแ้ ทนส�ำนักงานส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติประจ�ำ ประเทศไทย ผู้บริหารและคณาจารย์จากสถาบันอุดมศึกษาไทย เข้าร่วมการประชุม นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา กล่าวว่า การประชุมวันนีน้ บั เป็นโอกาสดีทที่ กุ ฝ่าย ที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ ได้มาหารือร่วมกันเพื่อปรับปรุงรูปแบบ การจัดโครงการครูอาสาสมัครชาวจีนให้เหมาะสมกับบริบทของ สถาบันอุดมศึกษาไทยในปัจจุบัน โครงการครูอาสาสมัครชาวจีน ในสังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ด�ำเนินการมา เป็นเวลาสิบปีแล้ว ควรจะต้องมีการประเมินผลการด�ำเนินงานว่าการ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผ่านมาเกิดประสิทธิผลมากน้อย เพียงใด และสามารถตอบโจทย์ความต้องการของสถาบันอุดมศึกษา ไทยและประเทศไทยในการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนให้มี คุณภาพทัดเทียมกับการจัดการเรียนการสอนในประเทศจีนหรือไม่ รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า จากข้อมูลโครงการฯ ทราบว่าครูอาสาสมัครชาวจีนที่มาปฏิบัติงานในประเทศไทยมี จ�ำนวนมากเป็นอันดับหนึง่ ของทุกประเทศทัว่ โลก และในปีการศึกษา ๒๕๕๗ มีครูอาสาสมัครชาวจีนเดินทางมาปฏิบัติงานในหน่วยงาน ของกระทรวงศึกษาธิการไทยกว่า ๑,๗๐๐ คน โดยปฏิบตั งิ านในส่วน ของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จ�ำนวน ๒๗๕ คน ซึง่ คุณสมบัตขิ องครูอาสาสมัครทีป่ ฏิบตั งิ านในสถาบันอุดมศึกษาไทย

อนุสารอุดมศึกษา

ยังคงไม่เป็นไปตามความประสงค์ของสถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่ ทีต่ อ้ งการผูท้ สี่ �ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านการสอนภาษาจีน ในฐานะภาษาต่างประเทศโดยตรง ทัง้ นีค้ วามต้องการครูอาสาสมัคร ชาวจีนที่มีจ�ำนวนเพิ่มสูงขึ้นทุกปีท�ำให้เกิดปัญหาในการคัดเลือก ครูอาสาสมัครทีม่ คี ณ ุ สมบัตติ ามข้อก�ำหนดของฝ่ายไทยได้ในจ�ำนวน ทีไ่ ม่เพียงพอ อีกทัง้ การปฏิบตั งิ านของครูอาสาสมัครเป็นไปในระยะ เวลาสัน้ ๆ โดยครูอาสาสมัครบางคนมาปฏิบตั งิ านในช่วงระยะเวลา เพียง ๑๐ เดือน รวมทัง้ เงินเดือนและสวัสดิการทีไ่ ด้รบั อาจไม่จงู ใจ พอทีค่ รูอาสาสมัครจะต่ออายุสญ ั ญาการท�ำงาน จึงมีการเคลือ่ นย้าย ไปปฏิบัติงานในประเทศที่ได้รับค่าตอบแทนสูงกว่า ซึ่งอาจเป็น สาเหตุหนึ่งที่ท�ำให้การจัดการเรียนการสอนภาษาจีนไม่สามารถ พัฒนาได้ตามแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีน ในประเทศไทย ทีส่ �ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ก�ำหนด วิสัยทัศน์ไว้ว่า ‘มุ่งพัฒนาการศึกษาภาษาจีนของอุดมศึกษาไทย ให้ได้คุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตบัณฑิตให้มีศักยภาพในการ ใช้ภาษาจีนในเวทีสากล ภายในปี พ.ศ. ๒๕๕๘’ “สกอ. ในฐานะหน่ ว ยงานที่ ดู แ ลรั บ ผิ ด ชอบการ อุ ด มศึ ก ษาของประเทศจึ ง จั ด การประชุ ม หารื อ กั บ ผู ้ เ กี่ ย วข้ อ ง ทุกฝ่ายเพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน ทั้งเรื่องภาระหน้าที่และ ความรับผิดชอบของครูอาสาสมัครและสถาบันผูร้ บั รวมทัง้ การหารือ เรื่องคุณสมบัติของครูอาสาสมัครชาวจีนที่สถาบันอุดมศึกษาไทย ต้องการ โดยอาจก�ำหนดเป็นข้อตกลงร่วมกันเฉพาะครูอาสาสมัคร ของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และเสนอข้อตกลง ที่ ไ ด้ รั บ จากการประชุ ม ในวั น นี้ ผ ่ า นฝ่ า ยการศึ ก ษาของสถาน เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจ�ำประเทศไทยและ ผู ้ แ ทนส�ำนั ก งานฮั่ น ปั ้ น เพื่ อ ชี้ แจงให้ ก ระทรวงการศึ ก ษาจี น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับฟังและช่วยแก้ไขปัญหาต่อไป อย่ า งไรก็ ต ามขอขอบคุ ณ สถานเอกอั ค รราชทู ต สาธารณรั ฐ ประชาชนจี น ประจ�ำประเทศไทยและส�ำนั ก งานฮั่ น ปั ้ น ที่ ไ ด้ ให้การสนับสนุนโครงการครูอาสาสมัครชาวจีนในประเทศไทยอย่าง ดียิ่งมาโดยตลอด และขอขอบคุณคณาจารย์และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทุกท่านที่ช่วยประสานดูแลครูอาสาสมัครชาวจีนที่มาปฏิบัติงาน ในประเทศไทย” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวในตอนท้าย


สกอ. เตรียมพร้อมพัฒนาทักษะ

ภาษาอังกฤษบุคลากรอุดมศึกษา

๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๗ นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ให้การต้อนรับ Ms. Stephanie Olson, Director, English Language Studies and International Programs/Continuing Education และ Ms. Helen Sophia Chua Balderama, International Programs Coordinator, English Language Studies and International Programs จาก University of Manitoba ประเทศแคนาดา ณ ห้องประชุมบริหาร ชั้น ๓ ในโอกาสที่เดินทางมาเยือนประเทศไทยเพื่อหารือความร่วม มือด้านการศึกษา

7

ในการหารื อ ครั้ ง นี้ คณะผู ้ แ ทนจาก University of Manitoba ได้น�ำเสนอข้อมูลภาพรวมมหาวิทยาลัยและ หลั ก สู ต รเฉพาะทางเพื่ อ พั ฒ นาศั ก ยภาพด้ า นการศึ ก ษาและ วิชาชีพส�ำหรับนักศึกษาและนักวิชาการต่างชาติ โดยนักศึกษา ต่างชาติสามารถศึกษาหลักสูตรผ่านทางออนไลน์ได้ และเพื่อ รองรับการเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ ส�ำนักงานคณะ กรรมการการอุดมศึกษาได้ให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาทักษะ ด้านภาษาอังกฤษของบุคลากรในระบบอุดมศึกษา ทั้งในส่วน ของนั ก ศึ ก ษา คณาจารย์ และบุ ค ลากรของส�ำนั ก งานคณะ กรรมการการอุดมศึกษา ซึ่ง University of Manitoba สามารถ จัดหลักสูตรเฉพาะทางเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านภาษาอังกฤษให้ กับสถาบันอุดมศึกษาและส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้พร้อมกันนี้คณะผู้แทนจาก University of Manitoba ได้ แสดงความสนใจที่จะมีความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาไทย ในสาขาต่างๆ ที่เป็นความสนใจและความต้องการร่วมกัน ข้อมูล เพิ่มเติมสามารถสืบค้นได้ที่ www.umanitoba.ca/extended อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องเล่า

อาเซียน

อาเซียน...แตกต่าง อย่างกลมกลืน

8

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดโครงการ ประกวดผลิตและเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ด้านอาเซียน เรื่อง ‘อาเซียน...แตกต่างอย่างกลมกลืน’ เพื่อตอบสนองนโยบาย การเตรี ย มความพร้ อ มสู ่ ป ระชาคมอาเซี ย นของรั ฐ บาลและ เตรียมความพร้อมให้แก่เยาวชนไทยในมิติเรื่องการอยู่ร่วมกัน อย่างกลมกลืนภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม ซึ่งกิจกรรมภายใต้ โครงการฯ ประกอบด้วย การประกวดภาพยนตร์สั้นและสื่อ แอนิเมชั่น เกี่ยวกับการเพิ่มพูนรักษาวัฒนธรรมและค่านิยมร่วม ของประเทศสมาชิกอาเซียน การรักษาเอกลักษณ์ความเป็นไทย ภายใต้ สั ง คมพหุ วั ฒ นธรรมอาเซี ย น และการยอมรั บ ความ แตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกอาเซียน

อนุสารอุดมศึกษา

เพือ่ ให้ความรูแ้ ละค�ำแนะน�ำเกีย่ วกับเทคนิคและแนวทางการ ผลิตผลงาน ส�ำหรับนักศึกษาทีเ่ ข้าร่วมประกวด ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ส�ำหรับทีม นักศึกษาทีไ่ ด้รบั การคัดเลือกผลงานในรอบแรก ภายใต้โครงการประกวด ผลิตและเผยแพร่สอื่ ประชาสัมพันธ์ดา้ นอาเซียน เรือ่ ง ‘อาเซียน...แตกต่าง อย่างกลมกลืน’ เมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๗ ณ โรงแรมวังสวนสุนันทา กรุ ง เทพฯ โดยมี วิ ท ยากรผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ และผู ้ เชี่ ย วชาญด้ านอาเซียน ผู ้ เชี่ ย วชาญและผู ้ มี ป ระสบการณ์ ใ นการผลิ ต ภาพยนตร์ สั้ น และสื่ อ แอนิเมชั่น มาให้ความรู้ เพื่อให้ผลงานในขั้นสุดท้ายมีคุณภาพและ สามารถน�ำไปเผยแพร่ ไ ด้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ผ ลตามวั ต ถุ ป ระสงค์ ข อง โครงการฯ


ªÔ§à§Ô¹ÃÒ§ÇÑÅ

ÁÙŤ‹ÒÃÇÁ¡Ç‹Ò 270,000 ºÒ· ¾ÃŒÍÁâÅ‹ÃÒ§ÇÑÅáÅлÃСÒȹÕºѵÃ

ÅÒ Ç à Â Ò ¢Â

Ê¡Í.¢ÍàªÔުǹ¹ÔÊÔµ ¹Ñ¡ÈÖ¡ÉÒ Ê觼ŧҹ˹ѧÊÑé¹ áÅÐ Animation à¢éÒ»ÃСǴã¹â¤Ã§¡ÒûÃСǴÊ×èÍ´éÒ¹ÍÒà«Õ¹ “ÍÒà«Õ¹...ᵡµèèÒ§ÍÂèÒ§¡ÅÁ¡Å×¹”

ÃѺãºÊÁѤÃáÅÐऌÒâ¤Ã§¼Å§Ò¹¨¹¶Ö§Çѹ·Õè 22 ¡Ñ¹ÂÒ¹ 2557 »ÃСÒȼšÒäѴàÅ×͡ऌÒâ¤Ã§¼Å§Ò¹ 3 µØÅÒ¤Á 2557

·ÕÁ·Õè¼èÒ¹¡ÒäѴàÅ×Í¡à¤éÒâ¤Ã§¼Å§Ò¹¨Ðä´éÃèÇÁ Workshop ¡Ñº¼Ùé¡Ó¡ÑºáÅмÙéàªÕèÂǪÒÞ´éÒ¹¡ÒüÅÔµÊ×èͪÑé¹¹Ó

»ÃСÒȼÅáÅЩÒ¼ŧҹ 27 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2557 ³ ËÍÈÔÅ»ÇѲ¹¸ÃÃÁáË觡Ãا෾ÁËÒ¹¤Ã

ในการประชุ ม เชิ ง ปฏิ บั ติ ก ารดั ง กล่ า ว มี ที ม นั ก ศึ ก ษา เข้าร่วม จ�ำนวน ๒๔ ทีม แบ่งเป็น ภาพยนตร์สั้น จ�ำนวน ๘ ทีม และแอนิเมชั่น จ�ำนวน ๑๖ ทีม รวมจ�ำนวนนักศึกษากว่า ๘๐ คน เข้าร่วมการประชุม โดยมี นางสาวอรณัส วัฒยานนท์ นักการทูต ช�ำนาญการกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ บรรยายให้ความรู้ เกีย่ วกับอาเซียนและความหลากหลายทางวัฒนธรรมในอาเซียน และ นางสาวฐิติยา พจนาพิทักษ์ อาจารย์คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับ การผลิตภาพยนตร์ พร้อมกันนี้ ยังมีผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์ ด้านภาพยนตร์และแอนิเมชั่น จ�ำนวน ๙ ท่าน มาให้ความรู้และ ค�ำแนะน�ำเกีย่ วกับเทคนิคและแนวทางการผลิตผลงานแก่ทมี นักศึกษา ได้แก่ นายเอก เอี่ยมชื่น นักวิชาชีพอิสระด้านการออกแบบงานสร้าง (production designer) นายวิทยา ทองอยู่ยง ผู้ก�ำกับภาพยนตร์ นายคมกฤษ ตรีวิมล ผู้ก�ำกับภาพยนตร์ รองศาสตราจารย์ปกรณ์ พรหมวิทักษ์ อาจารย์คณะดิจิทัลอาร์ต มหาวิทยาลัยรังสิต นายนิกร แซ่ตั้ง ศิลปินสาขาการแสดง นายชวลิต แก้วมณี ผู้ก�ำกับภาพยนตร์ แอนิเมชั่น นายวรุฒม์ ปันยารชุน ผู้อ�ำนวยการฝ่ายศิลป์ นายโกมุท คงเทศ นักจัดรายการวิทยุ และนายวรวุฒิ ลี้วัฒนะ ผู้อ�ำนวยการ ฝ่ายออกแบบ ผลงานของนักศึกษาทั้งหมดจะได้รับการพัฒนาและผลิต เป็นผลงานชิ้นสมบูรณ์ และส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีก�ำหนดจัดงานน�ำเสนอผลงาน ประกาศผล และมอบรางวัล ในเดือน ธันวาคม ๒๕๕๗

9

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่อง

พิเศษ

10

ข้อตกลงร่วม

‘รับน้องใหม่

และประชุมเชียร์’ จาก ฉบั บ ที่ แ ล ้ ว ‘ อ นุ ส า ร อุดมศึกษา’ น�ำเสนอนโยบายด้านการศึกษา ให้ผู้อ่านรับทราบในภาพรวม ทั้งค�ำแถลง นโยบายของคณะรัฐมนตรี ข้อที่ ๔ การศึกษา และเรียนรู้ การทะนุบ�ำรุงศาสนา ศิลปะและ วัฒนธรรม และ ๕ นโยบายทัว่ ไป ๗ นโยบาย เฉพาะ ด�ำเนินการให้เห็นผลใน ๑ ปี และ ๑๐ นโยบายเร่งด่วน ด�ำเนินการให้เห็นผล ใน ๓ เดือน ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ศึกษาธิการ ประจ�ำปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ไปแล้ว ดังนั้น ในฉบับนี้ ‘อนุสารอุดมศึกษา’ ขอลงรายละเอียดในนโยบายเร่งด่วน ๑๐ ข้อ ซึ่งพลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ก�ำหนดให้ อนุสารอุดมศึกษา

ด�ำเนินการให้เห็นผลใน ๓ เดือน เฉพาะ นโยบาย ข้อ (๘) เร่งทบทวนมาตรการการ จัดกิจกรรมรับน้องของนักเรียนนักศึกษา ในสถาบันการศึกษาต่างๆ และมาตรการ ติดตาม ควบคุม การลักลอบการจัดกิจกรรม รับน้องทั้งภายในและภายนอกสถาบันการ ศึกษา ให้เป็นไปในแนวทางที่สร้างสรรค์ ปลอดภัย ปราศจากการใช้ความรุนแรง การ ละเมิดและคุกคามทางเพศ รวมทั้งไม่ขดั ต่อ หลักศีลธรรมขนบประเพณีอันดีงาม และ เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชน และ ข้อ (๙) เร่งทบทวนมาตรการความปลอดภัยส�ำหรับ สถาบัน การศึ ก ษาต่ า งๆ เกี่ ย วกั บการจั ด กิจกรรมทัศนศึกษานอกสถานศึกษา และ

มาตรการความปลอดภัยในการเดินทางและ การขนส่งเป็นหมูค่ ณะของนักเรียน นักศึกษา ครู อ าจารย์ และบุ ค ลากรทางการศึ ก ษา โดยให้มีผลบังคับใช้ให้ทุกสถาบันการศึกษา ยึ ด ถื อ เป็ น แนวทางปฏิ บั ติ อ ย่ า งเคร่ ง ครั ด ซึ่งมีเป้าหมายในการด�ำเนินนโยบาย ให้มี กระบวนการพิจารณาอย่างรอบคอบและ สามารถเสนอขออนุ มั ติ / เห็ น ชอบได้ ต าม ขั้ น ตอนตามกฎหมายและกฎระเบี ย บที่ ก�ำหนด รวมทั้งให้มีมาตรการและแนวทาง ทีช่ ดั เจนและมีผลบังคับใช้ในทางปฏิบตั อิ ย่าง เป็นรูปธรรม ส�ำนั ก งานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาตระหนักถึงความส�ำคัญในเรื่อง ดังกล่าว จึงด�ำเนินการตามแนวนโยบาย โดยก�ำหนดนโยบายและมาตรการในการจัด กิจกรรมต้อนรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ ของสถาบันอุดมศึกษา พร้อมทั้งก�ำกับ ดูแล และติดตาม ให้สถาบันอุดมศึกษาใช้เป็น แนวทางในการควบคุมดูแลการจัดกิจกรรม


ในสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา ตามประกาศส�ำนั ก งานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา เรื่องการจัดกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ ในสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา ประกาศ ณ วั น ที่ ๑๗ มิ ถุ น ายน ๒๕๕๗ ซึ่ ง นโยบายตามประกาศฯ ก�ำหนดว่ า การจั ด กิ จ กรรมรั บ น้ อ งใหม่ และประชุมเชียร์ควรเคารพสิทธิ เสรีภาพ และหลักความเสมอภาค ไม่มีความรุนแรง และห้ามล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ไม่ดื่มสุราและเสพสิ่งมึนเมาทุกชนิด และไม่ส่งผลกระทบต่อ การเรียนการสอน ไม่ขดั ต่อระเบียบสถาบัน กฎหมาย วัฒนธรรม ประเพณี และมารยาททางสังคมที่ดีงาม และไม่ควรจัดกิจกรรมนอกสถานที่ ทัง้ นี้ สถาบันอุดมศึกษาจะต้องออกระเบียบ/ข้อบังคับในการจัดกิจกรรม ให้สอดคล้องกับนโยบายของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และก�ำกับดูแลให้ค�ำปรึกษาในการจัดกิจกรรม รวมทั้งมีบทลงโทษ ทางวิ นั ย กั บ นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา ผู ้ รั บ ผิ ด ชอบ และผู ้ เ กี่ ย วข้ อ งในการจั ด กิ จ กรรมที่ ขั ด ต่ อ ระเบี ย บ โดยถื อ เป็ น หน้ า ที่ แ ละความรั บ ผิ ด ชอบ ของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา นอกจากนี้ ยั ง ได้ จั ด การประชุ ม หารื อ และมอบนโยบาย ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาและผู้น�ำนักศึกษาในการด�ำเนินการแก้ไข ปัญหาการจัดกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ของสถาบัน อุดมศึกษา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๕๗ ณ ห้องกิ่งเพชร โรงแรม เอเชีย มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนและหาข้อสรุปในเรื่องการแก้ปัญหา การจัดกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ของสถาบันอุดมศึกษา พร้อมทั้งก�ำหนดประเด็นปัญหา มาตรการ และแนวทางที่ชัดเจนในการ แก้ปัญหาดังกล่าวร่วมกัน ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้มอบนโยบายเรื่อง การจัดกิจกรรมรับน้องและกิจกรรมอื่นๆ ของนักศึกษา ๒ ข้อ คือ (๑) ต้องไม่มีการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล โดยรุ่นน้องมีสิทธิ์ปฏิเสธการ เข้ า ร่ ว มกิ จ กรรมรั บ น้ องได้ และ (๒) การจัด กิจกรรมนัก ศึ ก ษาทุ ก กิจกรรม ต้องมีการรับรูจ้ ากฝ่ายบริหาร เพือ่ ให้ฝา่ ยบริหารร่วมรับผิดชอบ หากท�ำกิจกรรมแล้วไม่แจ้งต้องมีโทษทางวินัย โดยกิจกรรมทุกอย่าง ต้องปราศจากแอลกอฮอล์และสารเสพติดโดยเด็ดขาด ส�ำหรับการประชุมในวันนี้ ขอให้สถาบันอุดมศึกษาทีเ่ ข้าร่วม ได้ก�ำหนดกติกากลางร่วมกันในเรื่องการจัดกิจกรรมรับน้อง รวมถึง มาตรการลงโทษ ทัง้ นักศึกษา คณาจารย์ และผูบ้ ริหารทีเ่ กีย่ วข้อง เมือ่ ได้ ข้อสรุปแล้ว ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะน�ำกติกาดังกล่าว เวียนแจ้งให้สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งรับทราบและถือปฏิบัติต่อไป

รศ.นพ. กำ�จร ตติยกวี

11 “ต่ อ ไปนี้ ไ ม่ อ ยากให้ ใ ช้ ค�ำว่ า ‘รั บ น้ อ ง’ แต่ อ ยากให้ ใ ช้ ค�ำว่ า ‘กิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษา’ เพื่ อ ให้ ค รอบคลุ ม ทุ ก กิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษา ทั้ ง ภ า ย ใ น แ ล ะ ภ า ย น อ ก ที่ นั ก ศึ ก ษ า จั ด ขึ้ น เอง โดยเฉพาะหากเป็ น กิ จ กรรมที่ นักศึกษาร่วมกันท�ำกิจกรรมมากกว่า ๒ คน ขึ้นไป รวมถึงกิจกรรมทัศนศึกษา นักศึกษา จะอ้างว่าเป็นสิทธิสว่ นบุคคลไม่ได้ เพราะขณะที่ ยังเป็นนักศึกษาก็ถือว่ายังอยู่ภายใต้การดูแล ของมหาวิทยาลัย ดังนัน้ ไม่วา่ นักศึกษาจะจัด กิ จ กรรมใดๆ ก็ ต ้ อ งแจ้ ง ให้ ม หาวิ ท ยาลั ย รับทราบ แต่หากพบว่าไม่แจ้งก็จะต้องมี การลงโทษทางวินัย ขณะที่มหาวิทยาลัยเอง ก็ ต ้ อ งมี ส ่ ว นในการรั บ ผิ ด ชอบหากมี เหตุการณ์ความรุนแรง ไม่เหมาะสมเกิดขึ้น” รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา

อนุสารอุดมศึกษา


จากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ สภาพปัญหา แนวปฏิบัติ ในการจัดกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ของสถาบันอุดมศึกษา ดร.จิรวัฒน์ วีรังกร ได้ยกประเด็นเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมรับน้องใหม่ ใน ๒ ประเด็น คือ (๑) ประเด็นการพัฒนาการจัดกิจกรรมรับน้องใหม่ และ (๒) แนวทางการจัดกิจกรรมรับน้อง สรุปสาระส�ำคัญได้ดังนี้ กิจกรรมรับน้องใหม่ เป็นกิจกรรมที่สืบทอดกันมาจนเป็น ประเพณี มีบางกิจกรรมที่ไม่พึงประสงค์จนไม่สามารถแก้ไขได้ สถาบัน อุดมศึกษาจึงจ�ำเป็นต้องปลูกฝังและสร้างค่านิยมที่ดีให้เกิดขึ้นในตัว นักศึกษา ซึง่ มี Road Map ด้านการพัฒนานักศึกษาแบบขัน้ บันไดทีส่ ถาบัน อุดมศึกษาควรด�ำเนินการ ดังนี้

ดร.จิรวัฒน์ วีรังกร

นักศึกษาปี ๔ สร้างวิสัยทัศน์การศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา ทักษะการสมัคร/ ทำ�งาน และการพร้อมเป็นบัณฑิตที่รับผิดชอบต่อสังคม

12 นักศึกษาปี ๓ สร้างทักษะผู้นำ� การคิดเชิงเหตุผล การพัฒนาบุคลิกภาพ

นักศึกษาปี ๒ สร้างทักษะการคิด (ด้านสร้างสรรค์/วิจารณญาณ) ความเป็นผู้นำ�พื้นฐาน (รุ่นพี่/รุ่นน้อง) การทำ�งานเป็นทีม

นักศึกษาปี ๑ ต้องสร้างความพร้อมในการเรียนและการใช้ชวี ติ สร้างความภาคภูมใิ จ ในสถาบันและความเป็นพลเมืองในมหาวิทยาลัย

อนุสารอุดมศึกษา


นั ก ศึ ก ษาปี ๑ เป็ น นั ก ศึ ก ษาที่ ผ ่ า นพ้ น มาจาก ระดั บ ขั้ น พื้ น ฐานจ�ำเป็ น ต้ อ งได้ รั บ การปลู ก ฝั ง เรื่ อ ง ความพร้ อ มในการเรี ย นและการเป็ น พลเมื อ งของสถาบั น การจัดกิจกรรมรับน้องใหม่โดยแทรกค่านิยมดังกล่าว สามารถ กระท�ำได้ เพราะกิจกรรมรับน้องมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง จุ ด เริ่ ม ต้ น ชี วิ ต ใหม่ ใ นสถาบั น ซึ่ ง จะช่ ว ยให้ น ้ อ งใหม่ สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว

กิจกรรมรับน้องใหม่ต้องเป็นกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างรุ่นพี่-รุ่นน้อง เพื่อนร่วมรุ่น และรุ่นน้องกับสถาบัน สร้างทัศนคติความเป็นสมาชิกหรือเป็นส่วนหนึ่งของสถาบัน และสร้างทัศนคติความภาคภูมิใจในสถาบัน ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาต้องก�ำหนดเป็น OUTCOME ให้ชัดเจนว่า ต้องการให้กิจกรรมรับน้องใหม่ช่วยสร้างลักษณะที่พึงประสงค์ใดให้นักศึกษาใหม่บ้าง อาทิ ต้องการให้รักและภูมิใจในสถาบัน ต้องการสร้างบรรยากาศที่ดีในสถาบัน ประเด็นปัญหาการจัดกิจกรรมรับน้องใหม่ ในปัจจุบันมี ๒ ส่วนที่เกี่ยวข้อง คือ

13

ปัญหานักศึกษา

๑. เป้าหมายการจัดกิจกรรมไม่ชดั เจน คือ ไม่รวู้ า่ ท�ำไป เพื่ออะไร ๒. เข้าใจกระบวนทัศน์ที่ผิด อาทิ กิจกรรมรับน้อง ต้องมีการว้าก ถ้าไม่ว้ากก็ไม่ใช่การรับน้อง ๓. ขาดการแสดงบทบาทรุ่นพี่ที่ดี ๔. ขาดทักษะในการน�ำ (Leading) การจูงใจ โน้มน้าว ๕. ขาดการบริหารจัดการที่ดีพอ

ปัญหาสถาบันการศึกษา ๑. ขาดการจัดการภาพรวม ๒. ขาดความร่วมมือร่วมใจของบุคลากร ๓. ระบบการติดตามดูแลของสถาบันไม่ดี

อนุสารอุดมศึกษา


ในศตวรรษที่ ๒๑ สังคมจะให้ความส�ำคัญเรื่อง การเคารพศักดิศ์ รีความเป็นมนุษย์ ดังนัน้ สถาบันอุดมศึกษา ต้องปรับเปลีย่ นรูปแบบการจัดกิจกรรมรับน้องใหม่ให้เป็นไป ในทางที่สร้างสรรค์ ซึ่งมีแนวคิดที่เกี่ยวกับการจัดกิจกรรม รับน้องใหม่ ดังนี้

แนวคิดการพัฒนานิสิตนักศึกษาปี ๑

ข้อตกลงร่วมของสถาบันอุดมศึกษา

๑. กิ จ กรรมรั บ น้ อ งต้ อ งช่ ว ยพั ฒ นาจากนั ก เรี ย น สูค่ วามเป็นนักศึกษา คือ สามารถบริหารเวลาเป็น มีทกั ษะการเรียนรู้ ที่เพียงพอ มีเป้าหมายในการเรียน ๒. ต้องสร้างจุดเริม่ ต้นของความเป็นพลเมืองในสถาบัน คื อ สร้ า งให้ นั ก ศึ ก ษาปี ๑ มี ส ่ ว นร่ ว มในการท�ำความดี เ พื่ อ มหาวิทยาลัย และมีใจที่จะสร้างสรรค์และพัฒนาสถาบัน โดยใช้ วิธีการเชื่อมโยงกิจกรรมปฐมนิเทศกับกิจกรรมรับน้อง เพื่อเป็นการ น�ำทางไปสู่การจัดกิจกรรมรับน้องที่สร้างสรรค์

๑. สถาบันต้องวางมาตรการในการก�ำกับดูแลกิจกรรม ให้ครบ ทั้งมาตรการด้านการป้องกัน ด้านการส่งเสริมและพัฒนา ตลอดจนด้านการสร้างแรงจูงใจ ๒. ผลักดันให้นักศึกษาน�ำวงจรการด�ำเนินงานที่มี คุณภาพ (PDCA) ไปใช้ในกิจกรรมประชุมเชียร์และรับน้องใหม่ ๓. วางแนวทางทีช่ ดั เจนในการป้องกันการจัดกิจกรรม รับน้องใหม่นอกสถานที่ ๔. สร้างโอกาสการมีส่วนร่วมของนักศึกษารุ่นพี่ที่ ด�ำเนินกิจกรรมและนักศึกษาใหม่ ในการร่วมก�ำหนดกติกาของ สถาบัน ทั้งในด้านการวางกรอบกฎเกณฑ์และการร่วมก�ำกับ ติดตามดูแล ๕. สร้างช่องทางการให้ขอ้ มูลโดยตรงเพือ่ การรับรูข้ อง ผู้ปกครอง ๖. สร้ า งช่ อ งทางการร้ อ งเรี ย นของนั ก ศึ ก ษาและ ผู้ปกครองที่ส่งตรงสู่ผู้บริหาร ๗. สถาบันต้องก�ำหนดอาจารย์ที่ปรึกษาหรือบุคคล รับผิดชอบสถานที่ที่นักศึกษาด�ำเนินกิจกรรมทุกจุด ๘. ควรมี ก ารก�ำหนดสิ ท ธิ์ นั ก ศึ ก ษาใหม่ ใ ห้ ชั ด เจน และแจ้งให้นักศึกษาทราบ ๙. ก�ำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการอนุญาตให้องค์กร นักศึกษาจัดกิจกรรมประชุมเชียร์และรับน้องใหม่ (๑) องค์กรใดที่อนุญาตให้จัดกิจกรรมได้ (๒) ก�ำหนดระยะเวลาที่สามารถด�ำเนินกิจกรรมได้ (๓) ก�ำหนดให้ชดั เจนว่า กิจกรรมใดท�ำได้ กิจกรรมใด ท�ำไม่ได้ เพื่อความเข้าใจตรงกัน (๔) ก�ำหนดบทลงโทษทีช่ ดั เจน ในลักษณะความผิด ที่เกิดขึ้น (๕) ก�ำหนดให้ มี ก ารประเมิ น ความคิ ด เห็ น ของ นักศึกษาใหม่ที่เข้าร่วมในกิจกรรม เพื่อให้เห็นว่ากิจกรรมที่จัดขึ้น เกิดประโยชน์ต่อนักศึกษาใหม่เพียงใด

แนวคิดกิจกรรมรับน้องใหม่เพื่อสร้างความเป็น พลเมืองในสถาบัน (Student Citizenship)

14

สถาบันอุดมศึกษาต้องจัดรูปแบบกิจกรรมให้เป็นไป ในลักษณะของการสร้างทัศนคติที่ดี โดยมีเป้าหมายส�ำคัญ คือ ให้นักศึกษารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสถาบัน ซึ่งรูปแบบกิจกรรมที่ควร ด�ำเนินการ อาทิ ร้องเพลงสถาบัน การเรียนรู้ปรัชญาของสถาบัน กิจกรรมจิตอาสา การเรียนรู้วินัย การเสริมสร้างความสามัคคี และการเสริมสร้างแนวคิดการปรับตัว ในการประชุ ม ได้ มี ก ารแบ่ ง กลุ ่ ม เพื่ อ แลกเปลี่ ย น ประสบการณ์การท�ำงาน สภาพปัญหา แนวปฏิบัติส�ำหรับการจัด กิจกรรมต้อนรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ของสถาบันอุดมศึกษา โดยแบ่งเป็น กลุ่มผู้บริหาร (ระดับอธิการบดีและรองอธิการบดี) กลุ ่ ม ผู ้ อ�ำนวยการกองที่ รั บ ผิ ด ชอบงานกิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษา กลุ่มเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และกลุ่มผู้น�ำนักศึกษา ซึ่งสรุปได้ ข้อตกลงร่วมของสถาบันอุดมศึกษาในการวางมาตรการการก�ำกับ ดูแลกิจกรรมรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ มีรายละเอียดดังนี้

เป้าหมาย

๑. เพื่อให้การด�ำเนินกิจกรรมรับน้องใหม่ในภาพรวม ของสถาบันอุดมศึกษา เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ๒. เพื่อให้กิจกรรมประชุมเชียร์และรับน้องใหม่ ในสถาบันอุดมศึกษา เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อสาธารณชน ๓. เพื่อให้เกิดการก�ำกับดูแลกิจกรรมรับน้องใหม่อย่าง จริงจังของสถาบันอุดมศึกษา อนุสารอุดมศึกษา


ข้อเสนอต่อสำ�นักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาในการสนับสนุนการดำ�เนินงาน ของสถาบันอุดมศึกษา ๑. เสนอให้ก�ำหนดนโยบายที่ลงถึงตัวผู้บริหารในการ วางนโยบายและก�ำกับดูแล ๒. จัดสัมมนาผู้บริหารและบุคลากร เพื่อชี้แจงท�ำความ เข้าใจร่วมกัน ตลอดจนสร้างโอกาสแลกเปลีย่ นเรียนรูร้ ว่ มกันระหว่าง สถาบัน ๓. ควรนิยามค�ำว่า ‘รุนแรง’ ‘การละเมิดสิทธิ์’ หรือ ค�ำเฉพาะอื่นๆ ที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน ๔. ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาควรก�ำหนด ดัชนีการด�ำเนินงานที่ทุกสถาบันต้องด�ำเนินการให้ได้ (KPI) เพื่อเป็น กรอบและแนวทางแก่สถาบันอุดมศึกษา ๕. สนับสนุนงบประมาณให้แก่เครือข่ายบัณฑิตอุดมคติ ในการจัดสัมมนาแกนน�ำนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในแต่ละ ภูมิภาค เพื่อการเรียนรู้ร่วมกันและขยายผลสู่สถาบันอุดมศึกษา ๖. เป็นแกนกลางในการประสานกับกระทรวงทีเ่ กีย่ วข้อง ในการร่วมป้องกันความรุนแรงหรือวิธีการที่ไม่เหมาะสม ๗. ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ควรจัดกลุ่ม สถาบันที่พบปัญหาในการด�ำเนินกิจกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาแบบ Focus Group การจัดประชุมดังกล่าวเป็นการด�ำเนินการตามนโยบาย เร่งด่วนให้เห็นผลใน ๓ เดือน โดยส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาได้จัดประชุมเพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัด กิจกรรมรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ ทั้งผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา ผู ้ อ�ำนวยการกองที่ รั บ ผิ ด ชอบงานกิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษา เจ้ า หน้ า ที่ ผู้ปฏิบัติงาน และผู้น�ำนักศึกษา มาประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

และร่วมทบทวนมาตรการการจัดกิจกรรมรับน้องของนักศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ และมาตรการติดตามควบคุมการจัด กิจกรรม โดยให้มผี ลบังคับใช้ให้ทกุ สถาบันอุดมศึกษายึดถือเป็น แนวทางปฏิบตั อิ ย่างเคร่งครัด เพือ่ ให้ประเพณีการรับน้องใหม่ และประชุมเชียร์ในสถาบันอุดมศึกษาเป็นประเพณีทสี่ บื ทอด กันต่อไป ตามเจตนารมณ์ทดี่ งี าม เพือ่ เชือ่ มความสัมพันธ์ของ นิสิตนักศึกษากันระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้อง เพื่อให้เกิดความรัก ความสามัคคี การมีระเบียบวินัย ความภาคภูมิใจในสถาบัน การช่วยเหลือเกื้อกูลฉันท์พี่น้อง โดยจัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์ ปราศจากแอลกอฮอล์ และสิง่ เสพติด ไม่มคี วามรุนแรง ไม่ละเมิด และคุกคามทางเพศ ตลอดจนไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

15

…ซึ่ ง ต้ อ งอาศั ย ความร่ ว มมื อ จาก ทุกฝ่ายไม่ใช่ภาระของคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใด กลุ่มหนึ่ง แต่เราต้องช่วยกัน

อนุสารอุดมศึกษา


พูดคุยเรื่อง

มาตรฐาน

16

การส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษา จัดทำ� Diploma Supplement ‘อนุ ส ารอุ ด มศึ ก ษา’ ฉบั บ นี้ ขอน�ำสาระความรู ้ เกี่ยวกับการจัดท�ำ Diploma Supplement มาน�ำเสนอให้ ท่ า นผู ้ อ ่ า นทราบถึ ง ความหมาย พั ฒ นาการ และประโยชน์ ของ Diploma Supplement ตลอดจนการด�ำเนิ น การใน ประเทศไทย และทิศทางในการด�ำเนินการส่งเสริมให้สถาบัน อุดมศึกษาจัดท�ำ Diploma Supplement ดังรายละเอียดต่อไปนี้

อนุสารอุดมศึกษา


• ข้อมูลเฉพาะเกี่ยวกับผู้ส�ำเร็จการศึกษา • ข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษาทีผ่ เู้ รียนได้เรียนจนส�ำเร็จ การศึกษา • ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อปริญญา ธรรมชาติ/ลักษณะของ หลักสูตร เนื้อหาสาระ ระดับคุณวุฒิตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระยะเวลาในการศึกษา ภาษาที่ใช้ในการเรียนการสอน • ข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาและการรั บ รอง วิทยฐานะ • ข้อมูลเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของผู้ส�ำเร็จการศึกษา • ข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ ระบบอุ ด มศึ ก ษาของประเทศนั้ น ๆ เช่น การประกันคุณภาพ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ตลอดจนบริบท หรือสภาพแวดล้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง • ข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ ลั ก ษณะตราที่ ใช้ ป ระทั บ และการ ลงลายมือชื่อของผู้มีอ�ำนาจหน้าที่

พัฒนาการของ Diploma Supplement

ความหมายของ Diploma Supplement หมายถึ ง เอกสารเป็ น ภาษาอั ง กฤษที่ ส ถาบั น อุดมศึกษาออกให้แก่ผู้ส�ำเร็จการศึกษาร่วมกับใบปริญญาบัตร และใบแสดงผลการศึ ก ษา (Transcript) เพื่ อ รั บ รองคุ ณ วุ ฒิ ทางวิชาการและวิชาชีพ ข้อมูลใน Diploma Supplement ประกอบด้ ว ยรายละเอี ย ดต่ า งๆ ที่ จ ะช่ ว ยให้ ส ามารถเข้ า ใจ ระบบการจัดการศึกษาและหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการวั ด และประเมิ น ผลที่ จ ะช่ ว ยให้ เ กิ ด ความชั ด เจน โปร่งใสในการเทียบคุณวุฒิได้ ส่วนประกอบที่ส�ำคัญใน Diploma Supplement ได้แก่

ภูมภิ าค/ประเทศต่างๆ มีความสนใจพัฒนารูปแบบต่างๆ ของ Diploma Supplement โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออ�ำนวยความ สะดวกในการเรียนต่อและการเคลื่อนย้ายนักศึกษา แต่ก็มีความ คล้ายคลึงกัน รูปแบบและการเรียกชือ่ ของ Diploma Supplement มีต่างๆ กันไป ดังนี้ ๑. European Diploma Supplement Model ๒. Australian Higher Education Graduation Statement ๓. New Zealand Tertiary Education Qualification Statement ๔. APEC Diploma Supplement Model เป็นรูปแบบ ทีพ่ ฒ ั นาขึน้ ส�ำหรับประเทศในกลุม่ เอเชีย - แปซิฟกิ ซึง่ เป็นการพัฒนา ในระดับภูมภิ าคเช่นเดียวกับของยุโรป โดยได้มกี ารประชุมและพัฒนา รูปแบบของ APEC Diploma Supplement Model ระหว่างกลุ่ม ประเทศสมาชิกในภูมภิ าคเอเชีย - แปซิฟกิ ประเทศออสเตรเลียให้การ สนับสนุนการด�ำเนินการอย่างต่อเนือ่ งตัง้ แต่ปี ค.ศ. ๒๐๑๐ เป็นต้นมา และเชื่อมโยงกับอนุสัญญา Asia - Pacific Regional Convention on the Recognition of Qualifications in Higher Education (ค.ศ. ๒๐๑๑) ซึ่ ง ต้ อ งการให้ เ กิ ด การรั บ รองคุ ณ วุ ฒิ ก ารศึ ก ษา ของประเทศสมาชิกอย่างเป็นธรรม ชัดเจน โปร่งใส และเป็นระบบ โดยอาศัยการพิจารณาข้อมูลใน Diploma Supplement

17

อนุสารอุดมศึกษา


ประโยชน์ของ Diploma Supplement

18

๑. ผู้ส�ำเร็จการศึกษาจะมีข้อมูลที่ชัดเจน โปร่งใส ในรายละเอียดของคุณวุฒหิ รือปริญญาบัตรทีไ่ ด้รบั เป็นประโยชน์ ต่อการเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ ทั้งในและต่าง ประเทศ และเป็นประโยชน์ต่อการเทียบคุณวุฒิกับต่างประเทศ รวมทัง้ เป็นข้อมูลแก่ผจู้ า้ งงานในการคัดเลือกบุคคลเข้าท�ำงานด้วย ๒. ช่ ว ยเอื้ อ ความสะดวกต่ อ การเคลื่ อ นย้ า ยและ แลกเปลี่ยนนักศึกษา การเทียบโอนหน่วยกิต การเชื่อมโยงและ เทียบเคียงการจัดการศึกษาระหว่างสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและ ต่างประเทศ และการเทียบเคียงมาตรฐานผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) รวมทั้งการพัฒนาหลักสูตรสู่สากล และยังส่งผล ให้คุณวุฒิของสถาบันอุดมศึกษาไทยเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ๓. การออก Diploma Supplement ให้แก่ผู้เรียน จะช่ ว ยผลั ก ดั น ให้ ส ถาบั น อุ ด มศึ ก ษามี ก ารพั ฒ นาศั ก ยภาพ การจัดการศึกษาได้อย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ ชัดเจน และ โปร่งใสขึ้น ๔. ช่วยส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาเห็นประโยชน์ ของการด�ำเนินการตามหลักการของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะจะช่วยให้สถาบันอุดมศึกษาจัดท�ำ Diploma Supplement ได้งา่ ยขึน้ และท�ำให้สถาบันอุดมศึกษา มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น เมื่อมีการประกันคุณภาพในระดับหลักสูตรและสาขาวิชา ซึ่งจะ เป็นฐานส�ำคัญที่จะน�ำไปสู่การรับรองวิทยฐานะหลักสูตร และ วิทยฐานะสถาบันที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

การด�ำเนินการของประเทศไทย สกอ. ได้ จั ด ประชุ ม เชิ ง ปฏิ บั ติ ก าร เรื่ อ ง APEC Diploma Supplement Workshop เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๗ โดยได้เชิญสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งเข้าร่วมรับทราบ การด�ำเนินการของประเทศต่างๆ ทั่วโลกเกี่ยวกับการจัดท�ำ Diploma Supplement และร่วมกันก�ำหนดรูปแบบ Diploma Supplement โดยใช้ APEC Diploma Supplement Model มาเป็ น ต้ น แบบในการพิ จ ารณาก�ำหนดรายละเอี ย ดข้ อ มู ล ทั้งในส่วนที่เป็นข้อมูลที่จ�ำเป็นต้องปรากฏอยู่ในเอกสารดังกล่าว และข้อมูลที่อาจเป็นการเพิ่มเติมของแต่ละสถาบัน และร่วมกัน ตั้ ง ชื่ อ Diploma Supplement ของประเทศไทยว่ า Thai Graduation Statement (TGS) ซึ่งสื่อความหมาย ได้เข้าใจชัดเจนกว่า Diploma Supplement อนุสารอุดมศึกษา

ทิศทางในการด�ำเนินการส่งเสริมให้ สถาบันอุดมศึกษาจัดท�ำ Diploma Supplement การจัดท�ำ Diploma Supplement เป็นแนวโน้มที่มี การด�ำเนินการในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ควรก�ำหนดทิศทางในการ วางแผนการด�ำเนินการ ดังนี้ ๑. จัดประชุมสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้บริหารและ บุ ค ลากรที่ มี ห น้ า ที่ จั ด ท�ำและรั บ ผิ ด ชอบของสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา เพื่อให้เห็นความส�ำคัญและประโยชน์ของการจัดท�ำ Diploma Supplement ซึ่งสถาบันจะต้องเป็นผู้ด�ำเนินการออกใบดังกล่าว ให้แก่ผู้ส�ำเร็จการศึกษาแต่ละคน จะท�ำให้ประเทศไทยได้ประโยชน์ ในการส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาไทยด�ำเนินการตามจุดเน้นของ อนุสัญญาในกลุ่มประเทศเอเชีย - แปซิฟิก ว่าด้วยการรับรองคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษา และอนุสัญญาว่าด้วยการรับรองคุณวุฒิในกลุ่ม ประเทศเอเชีย - ยุโรป ซึ่งก�ำหนดให้สถาบันอุดมศึกษามีการจัดท�ำ Diploma Supplement ด้วย ๒. การที่ ส ถาบั น อุ ด มศึ ก ษาของไทยได้ จั ด หลั ก สู ต ร การเรี ย นการสอนตามกรอบมาตรฐานคุ ณ วุ ฒิ ร ะดั บ อุ ด มศึ ก ษา อยูแ่ ล้ว จะช่วยให้สถาบันอุดมศึกษาจัดท�ำ Diploma Supplement ได้งา่ ยขึน้ ดังนัน้ สกอ. อาจส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาทีม่ โี ครงการ แลกเปลี่ยนนักศึกษาเข้าเรียนในหลักสูตรของกลุ่มประเทศอาเซียน หรือประเทศอืน่ ๆ เข้าริเริม่ โครงการจัดท�ำ Diploma Supplement เนื่องจากสถาบันเหล่านั้นจะเห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับสถาบัน และนักศึกษาของตนได้โดยตรง


๓. ในกรณี ที่ ส ถาบั น อุ ด มศึ ก ษาไม่ ต ้ อ งการจั ด ท�ำ Diploma Supplement ซึ่งอาจเป็นเพราะสถาบันยังไม่มีความ พร้อม สกอ. อาจส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาพัฒนาฐานข้อมูล อุดมศึกษาของสถาบันให้เป็นระบบซึง่ เป็นความจ�ำเป็นทีท่ กุ สถาบัน ต้องด�ำเนินการ ก็จะช่วยให้เกิดการเตรียมความพร้อมในการจัดท�ำ Diploma Supplement ในอนาคตต่อไปได้โดยง่าย ๔. สกอ. สามารถใช้ Diploma Supplement เป็น เครื่ อ งมื อ ในการก�ำกั บ และติ ด ตามการจั ด หลั ก สู ต รการเรี ย น การสอนของสถาบันอุดมศึกษาให้มคี ณ ุ ภาพและเป็นไปตามเกณฑ์ มาตรฐานที่ก�ำหนดได้ตามบริบทของอุดมศึกษาไทย โดยการ ออกแบบ Diploma Supplement ทีม่ กี ารระบุขอ้ มูลและสถานที่ ในการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนของสถาบันอย่างถูกต้อง ชัดเจน โปร่งใส เพื่อประโยชน์ต่อประชาชนและสาธารณะ เช่น ผู้ส�ำเร็จการศึกษาที่ถือ Diploma Supplement ฉบับนี้ส�ำเร็จ การศึกษาจากที่ตั้งหลักหรือนอกที่ตั้ง กกอ. รับทราบหลักสูตร นอกที่ ตั้ ง นี้ เ มื่ อ ไร หลั ก สู ต รนี้ เ ป็ น หลั ก สู ต รปกติ ห รื อ ทางไกล การรั บ รองหลั ก สู ต รขององค์ ก รวิ ช าชี พ ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง เป็ น ต้ น ดังนั้น สกอ. ต้องเตรียมความพร้อมในการยกร่างข้อมูลที่จ�ำเป็น จะต้องมีไว้ใน Diploma Supplement โดยขอความเห็นจาก ผู้ใช้บัณฑิต และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ สมศ. ส�ำนักงาน ก.พ. องค์กรวิชาชีพ

๕. ในส่วนที่ สกอ. ต้องเตรียมความพร้อม ได้แก่ การจั ด ท�ำข้ อ มู ล ภาษาอั ง กฤษเกี่ ย วกั บระบบการจั ด การศึกษา แผนภู มิ แ สดงระดั บ คุ ณ วุ ฒิ ต ามกรอบมาตรฐานคุ ณ วุ ฒิ ร ะดั บ อุดมศึกษา การประกันคุณภาพ ระบบการจัดการอุดมศึกษาของ ประเทศไทย เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งน�ำไปใช้ได้เหมือน กันทุกสถาบัน ส่วนข้อมูลในระดับสถาบันนั้น สถาบันอุดมศึกษา แต่ ล ะแห่ ง จะเป็ น ผู ้ จั ด ท�ำข้ อ มู ล ดั ง กล่ า วเพิ่ ม เติ ม ทั้ ง นี้ สกอ. อาจจั ด ท�ำต้ น แบบ Diploma Supplement โดยใช้ ร ะบบ สารสนเทศ ที่มีข้อมูลส�ำคัญๆ ที่ตกลงร่วมกันว่าทุกแห่งจะต้องมี โดยเปิ ด โอกาสให้ ส ถาบั น อุ ด มศึ ก ษาเพิ่ มเติ มรายละเอี ย ดอื่นๆ ได้ตามความต้องการ และจะต้องร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาใน การวางระบบการตรวจสอบข้อมูลใน Diploma Supplement ว่าเป็นข้อเท็จจริงด้วย อาจกล่ า วได้ ว ่ า สกอ. เพิ่ ง อยู ่ ใ นระยะเริ่ ม ต้ น ของ การพั ฒ นา Diploma Supplement (Thai Graduation Statement - TGS) ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา หากได้เสนอให้ กกอ. รับทราบและพิจารณาเป็นนโยบายในการด�ำเนินการให้ ทุกสถาบันท�ำ TGS ทั้งฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จะเป็น ประโยชน์ ต ่ อ ทั้ ง ผู ้ ส�ำเร็ จ การศึ ก ษาและผู ้ ใช้ บั ณ ฑิ ต ตลอดจน เป็นการสร้างความเข้าใจและเผยแพร่ระบบการจัดการศึกษา ระดับอุดมศึกษาในระดับสากลด้วย

19

อ้างอิงจาก หนังสือชีวิตราชการ ชีวิตมาตรฐาน ดร.วราภรณ์ สีหนาท เนื่องในโอกาสเกษียณอายุราชการ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๗

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่อง

แนะนำ� ตลาดนัดหลักสูตรอุดมศึกษา ครั้งที่ ๑๙ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดโครงการ ‘ตลาดนัดหลักสูตรอุดมศึกษา’ ครั้งที่ ๑๙ เพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ ข้อมูลหลักสูตรระดับอุดมศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา เป็นการกระจายโอกาสให้กับนักเรียน นักศึกษา ครู ผู้ปกครอง หน่วยงาน และผู้สนใจ ทั่วไป ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้เข้าถึงข้อมูลหลักสูตรและข้อมูลทางการศึกษาอื่นๆ โดยทัดเทียมกัน ตลอดจนเป็นศูนย์กลาง แลกเปลีย่ นความคิดเห็นและข้อมูลในการศึกษาต่อระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับกลุม่ เป้าหมาย และระหว่างสถาบันอุดมศึกษา รวมทัง้ ส่งเสริม ให้มีการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยได้มีโอกาสรับรู้ข้อมูลหลักสูตร ระบบการศึกษาและวิธีการรับเข้าศึกษาโดยตรง ส�ำหรับก�ำหนดการจัด โครงการ ‘ตลาดนัดหลักสูตรอุดมศึกษา’ ครั้งที่ ๑๙ มีรายละเอียดดังนี้

20

ล�ำดับที่ สถาบันอุดมศึกษา ช่วงเวลาจัดงาน สถานที่ ๑ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ๑๐ - ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

๒ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

๑๓ - ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๗

หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

๓ มหาวิทยาลัยสยาม

๒๖ - ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๗

ศูนย์กีฬามหาวิทยาลัยสยาม

๔ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ๒๙ - ๓๐ มกราคม ๒๕๕๘ ศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแก่น ๕ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ๑๗ - ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๘ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ๖ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ๑๗ - ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๘

ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติ ครบ ๖๐ ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

๗ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ๓ - ๔ กันยายน ๒๕๕๘

อาคารกีฬาเฉลิมพระเกียรติ ๗๒ พรรษา บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

๘ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ๑๐ - ๑๑ กันยายน ๒๕๕๘

อาคารสุรพัฒน์ ๒ เทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ขอเชิญผูส้ นใจเข้าร่วมงาน ‘ตลาดนัดหลักสูตรอุดมศึกษา’ ครัง้ ที่ ๑๙ ได้ ตามวัน เวลา และสถานทีด่ งั กล่าว เพื่อรับทราบข้อมูลหลักสูตรระดับอุดมศึกษา ที่ทันสมัย

อนุสารอุดมศึกษา


เล่าเรื่อง

ด้วยภาพ

๘ ตุ ล าคม ๒๕๕๗ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ก�ำจร ตติ ย กวี เลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา พร้ อ มด้ ว ยผู ้ บ ริ ห ารระดั บ สู ง ของกระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร ร่ ว มลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ที่ เ สด็ จ ฯ มาประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช ในโอกาสนี้ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้เข้าสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ณ โรงพยาบาลศิริราช

21

๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๗ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา เข้าเฝ้าฯ รับเสด็จฯ และร่วมงานพิธี พระราชทานปริญญาบัตรแก่ผสู้ �ำเร็จการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคเหนือ ประจ�ำปี ๒๕๕๗ ณ หอประชุมทีปังกรรัศมีโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

อนุสารอุดมศึกษา


๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๗ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ประชุมหารือเพื่อแลกเปลี่ยนความ คิดเห็นร่วมกันเกีย่ วกับประเด็นด้านการศึกษาในการ ประชุมสามัญที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ณ ห้องประชุม ชัน้ ๒๒ อาคารนวัตกรรม : ศ. ดร.สาโรช บัวศรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

22

๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๗ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา เป็นวิทยากรในการประชุมประจ�ำปี ‘นั ก วิ จั ย รุ ่ น ใหม่ พ บเมธี วิ จั ย อาวุ โ ส สกว.’ เรื่ อ ง ‘งานวิจัยของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย : ผลกระทบ ต่อการพัฒนาประเทศ’ ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน จังหวัดชลบุรี

อนุสารอุดมศึกษา


๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ประธานการประชุมปรึกษาหารือ เรื่อง แนวทางการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศภายใต้ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ณ ห้องประชุม บริหาร ชั้น ๔

23 ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๗ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ก�ำจร ตติ ย กวี เลขาธิ ก ารคณะกรรมการ การอุดมศึกษา รับกระเช้าดอกไม้แสดงความยินดี และร่วมหารือภาระงานกับคณะกรรมการบริหารที่ประชุม ประธานสภาข้าราชการและลูกจ้างมหาวิทยาลัย แห่งประเทศไทย (ปขมท.) ณ ห้องประชุมบริหาร ชั้น ๔

๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๗ นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานการประชุมพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ โครงการวิจัยร่วมภายใต้ความร่วมมือด้านอุดมศึกษา และวิ ช าการระหว่ า งไทย - ฝรั่ ง เศส ครั้ ง ที่ ๒ ณ ห้องประชุมพันเอกอาทร ชนเห็นชอบ

อนุสารอุดมศึกษา



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.