อุดมศึกษา อนุสาร
LOGO
ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๔๔๐ ประจำ�เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
เอกสารเผยแพร่ของสำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ISSN 0125-2461
อนุสารอุดมศึกษาออนไลน์ www.mua.go.th/pr_web
สารบัญ
CONTENT
๓
ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๔๔๐ ประจำ�เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
๓
เรื่องเล่าอุดมศึกษา
สกอ. จัดสรรงบ ๓๐ ล้านบาท ร่วมกองทัพบก พัฒนานักวิจัยด้านยุทโธปกรณ์ แถลงข่าวร่วม สจล. - ไทยพาณิชย์ 1st Expert Meeting of the ASEM Work Placement Pilot Programme
เรื่องเล่าอาเซียน อาเซียน...แตกต่างอย่างกลมกลืน
๗
เรื่องพิเศษ การปฏิรูประบบการผลิตและพัฒนาครูในอนาคต : ปัญหาและการแสวงหาแนวทางแก้ไข
พูดคุยเรื่องมาตรฐาน
๗ ๑๑ ๑๔
TQF and The Development of Professional Standards Framework
๑๙
๒๒
เรื่องแนะนำ�
๑๖
แผนยุทธศาสตร์สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๑
เหตุการณ์เล่าเรื่อง
๑๙
ปัจฉิม ‘เด็กทุนใต้’ เตรียมพร้อมเข้าสู่อาชีพในพื้นที่
เล่าเรื่องด้วยภาพ
๒๒
คณะผู้จัดทำ�
ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๒๖ http://www.mua.go.th pr_mua@mua.go.th www.facebook.com/ohecthailand www.twitter.com/ohec_th รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำ�จร ตติยกวี นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ นายสุภัทร จำ�ปาทอง นายศิระวิทย์ คลี่สุวรรณ ที่ปรึกษา บรรณาธิการ นายกฤษณ์กร วงศ์ไทย กองบรรณาธิการ นางสาวปิยาณี วิริยานนท์ นางชุลีกร กิตติก้อง นายเจษฎา วณิชชากร นางปราณี ชื่นอารมณ์ นายจรัส เล็กเกาะทวด พิมพ์ที่ บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำ�กัด (มหาชน) โทรศัพท์ ๐ ๒๔๒๒ ๙๐๐๐ โทรสาร ๐ ๒๔๓๓ ๒๗๔๒
เรื่องเล่า
อุดมศึกษา
สกอ.
จัดสรรงบ ๓๐ ล้านบาท ร่วมกองทัพบก พัฒนานักวิจัยด้านยุทโธปกรณ์ ๔ กุ ม ภาพั น ธ์ ๒๕๕๘ - ส�ำนั ก งานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง ว่าด้วยความร่วมมือใน การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนานักวิจยั ด้านยุทโธปกรณ์ ระหว่าง ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กับกองทัพบก ณ ห้อง ๒๒๑ อาคาร (๒) กองบัญชาการกองทัพบก โดยได้รับเกียรติจากพลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ผูช้ ว่ ยผูบ้ ญ ั ชาการทหารบก และรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็ น สั ก ขี พ ยานในพิ ธี ล งนามบั น ทึ ก ข้ อ ตกลง และมี น ายขจร จิ ต สุ ขุ ม มงคล รั ก ษาการในต�ำแหน่ ง ที่ ป รึ ก ษาด้ า นระบบบริ ห าร ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และพลตรี ชูชาติ บัวขาว ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหาร กองทัพบก เป็นผูล้ งนาม รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า จากที่กองทัพบก ต้องพึ่งพา การน�ำเข้าเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการป้องกันประเทศจากต่าง ประเทศ ซึ่งต้องใช้งบประมาณแต่ละปีในการจัดท�ำและซ่อมบ�ำรุงสูง ดั ง นั้ น จึ ง ได้ มี ค วามพยายามร่ ว มกั บ สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาในสั ง กั ด ส�ำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาเพื่ อ ที่ จ ะพั ฒ นางานวิ จั ย เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการป้องกัน ประเทศเพื่ อ ทดแทนและลดการพึ่ ง พาเทคโนโลยี แ ละนวั ต กรรม
จากต่างประเทศ ซึ่งส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทส�ำคัญในการส่งเสริมและ พัฒนานักวิจัยของประเทศ ได้ให้ความส�ำคัญในการให้ความ ร่วมมือในด้านการวิจัยและพัฒนาโดยมุ่งหมายที่จะส่งเสริมและ สนับสนุนการวิจัยและพัฒนายุทโธปกรณ์ในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาการวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาและ เป็นประโยชน์ต่อกองทัพ ในฐานะผู้น�ำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ในการพัฒนาศักยภาพของกองทัพและการป้องกันประเทศโดยตรง “ในปี ๒๕๕๗ สกอ. ได้จัดสรรงบประมาณจ�ำนวน ประมาณ ๓๐ ล้านบาท เพื่อสนับสนุนงานวิจัยด้านยุทโธปกรณ์ จ�ำนวน ๑๔ โครงการ จากสถาบันอุดมศึกษา ๘ แห่ง ซึง่ เป็นความ ร่วมมือระหว่าง สกอ. กับ กองทัพบก ในการคัดเลือกงานวิจัย จากสถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามความต้องการในการวิจัย และพัฒนายุทโธปกรณ์ของกองทัพบก ทั้งนี้ สกอ. ได้ท�ำค�ำขอ งบประมาณส�ำหรับสนับสนุนงานวิจัยด้านยุทโธปกรณ์ ปี ๒๕๕๙ อีก ๕๐ ล้านบาท ผ่านคณะกรรมการพิจารณาจัดท�ำงบประมาณ ในลักษณะบูรณาการ เรือ่ ง การส่งเสริมวิจยั และพัฒนา แล้ว นอกจาก นี้ สกอ. ยังมีแผนที่จะเสนอของบประมาณเป็นแผนระยะยาว ๑๐ ปี ระหว่างปี ๒๕๖๐ - ๒๕๖๙ ปีละหนึง่ ร้อยล้านบาท รวมเป็น งบประมาณหนึง่ พันล้านบาท” เลขาธิการ กกอ. กล่าว
3
อนุสารอุดมศึกษา
4
เลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า สกอ. และกองทัพบก จะ ร่วมกันก�ำกับดูแล ติดตามความก้าวหน้า และประเมินการด�ำเนินการ โครงการวิจยั และพัฒนายุทโธปกรณ์ ทัง้ นี้ กองทัพบกจะสนับสนุน การทดสอบผลงานวิ จั ย และพั ฒ นายุ ท โธปกรณ์ ต ามมาตรฐาน ของกองทัพบก และก�ำกับดูแลยุทโธปกรณ์ที่เกิดจากงานวิจัยให้ เป็นไปตามพระราชบัญญัตคิ วบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ.๒๕๓๐ โดยความ ร่วมมือจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเสมอภาค และการประสาน ประโยชน์ร่วมกัน ให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของแต่ละ ฝ่ายอย่างเต็มประสิทธิภาพและก่อให้เกิดประโยชน์สงู สุด ซึง่ ข้อมูล ที่ได้จากการด�ำเนินงาน ไม่ว่าจะในรูปแบบของเอกสาร เครื่องมือ อิเล็กทรอนิกส์ หรือรูปแบบอืน่ ใด จะเก็บรักษาไว้เป็นความลับ โดย ไม่น�ำออกไปเผยแพร่แก่บคุ คลภายนอกได้รบั ทราบ เว้นแต่จะได้รบั ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อกั ษรร่วมกันทัง้ สองฝ่าย ซึง่ ทรัพย์สนิ ทางปัญญาทีเ่ กิดขึน้ ให้กรรมสิทธิใ์ นทรัพย์สนิ ทางปัญญานัน้ เป็นของ ทั้งสองฝ่ายร่วมกัน หรือเป็นไปตามข้อตกลงเบื้องต้นก่อนการวิจัย หรือเป็นไปตามระเบียบกฎเกณฑ์ทจี่ ะมีขนึ้ ในอนาคต และการน�ำผล งานวิจยั ไปใช้ประโยชน์ ต้องได้รบั ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อกั ษร ร่วมกันทัง้ สองฝ่าย และผลประโยชน์จากผลงานวิจยั ให้จดั สรรเป็นไป ตามระเบียบของ สกอ. หรือตามทีไ่ ด้ตกลงกัน
อนุสารอุดมศึกษา
แถลงข่าวร่วม
สจล. - ไทยพาณิชย์
๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ - ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา จัดการแถลงข่าวกรณีการทุจริตบัญชีเงินฝากของ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ระหว่าง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ ธนาคารไทยพาณิชย์ โดยมีรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานใน การแถลงข่าว และมีศาสตราจารย์โมไนย ไกรฤกษ์ รักษาการแทน อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง รองศาสตราจารย์จ�ำรูญ เล้าสินวัฒนา รักษาการแทนรองอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง นายวิชติ สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ และ นางวัลลยา แก้วรุ่งเรือง รองผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานกฎหมาย ธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมแถลงข่าวชี้แจงเพื่อแสดงจุดยืนของ แต่ละสถาบัน ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์วจิ ติ ร ศรีสอ้าน ส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า จากกรณีปญ ั หาการทุจริต เงินของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ทีผ่ า่ นมากระบวนการการหาข้อเท็จจริงมีหลายประเด็นทีเ่ กิดความ เข้าใจที่ไม่ตรงกัน ในเรื่องของการขอความร่วมมือ การแถลงข่าว วันนีเ้ พือ่ ให้เกิดความคลีค่ ลาย และเข้าใจตรงกัน รวมถึงแสดงให้เห็น ถึงความร่วมมือระหว่าง ๒ สถาบันในการตรวจสอบข้อเท็จจริงให้มี ความชัดเจนมากขึน้ “จากนี้ ไ ป สกอ. จะถอดบทเรี ย น กรณี ส ถาบั น เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังให้มหาวิทยาลัย อืน่ ได้รบั ทราบ ทัง้ จะขอให้ผแู้ ทนธนาคารไทยพาณิชย์มาให้ขอ้ มูล ด้วย เพือ่ ไม่ให้เกิดปัญหานีก้ บั มหาวิทยาลัยอืน่ ๆ อีก นอกจากนีย้ งั ได้ หารือกับกรมบัญชีกลาง ส�ำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน กระทรวง การคลัง ซึง่ เห็นร่วมกันว่าต้องหามาตรการภาครัฐมาดูแลเงินของ มหาวิทยาลัย เพราะเงินทีห่ ายไปคือเงินภาษีของประชาชน และ ทีผ่ า่ นมา พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความ สนใจและให้รายงานความคืบหน้าให้ทราบด้วย ทัง้ นี้ สกอ. จะจัด ประชุมอธิการบดี และรองอธิการบดีด้านการเงินการคลังจาก มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ในวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ถึงแนวทาง การป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตซ�ำ้ รอยเหมือนกับสถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง” เลขาธิการ กกอ. กล่าว
5
อนุสารอุดมศึกษา
1st Expert Meeting of the ASEM Work Placement Pilot Programme 6
๒๙ - ๓๐ มกราคม ๒๕๕๘ - ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม 1st Expert Meeting of the ASEM Work Placement Pilot Programme ณ โรงแรม สุโกศล กรุงเทพฯ ซึ่งมีผู้แทนประเทศไทย เยอรมนี บรูไนดารุส ซาลาม เบลเยียม และ Director of ASEM Education Secretariat ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เข้าร่วมการประชุมฯ โดยได้ รับเกียรติจากนางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา กล่าวต้อนรับ นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา กล่าวว่า โครงการดังกล่าวเป็นข้อริเริม่ จากทีป่ ระชุม รัฐมนตรีศึกษาเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ ๔ เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๖ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในครัง้ นี้ เพือ่ มุง่ หวังให้เป็นจุด เริม่ ต้นส�ำคัญทีจ่ ะน�ำไปสูก่ ารก�ำหนดแนวทางการด�ำเนินโครงการ แลกเปลี่ยนนักศึกษาฝึกงาน รวมทั้งสร้างเสริมประสบการณ์และ ความเข้าใจในความแตกต่างทางวัฒนธรรมระหว่างภูมภิ าคเอเชีย และยุโรป ปัจจุบนั มี ๔ ประเทศ ได้แก่ ไทย เยอรมนี บรูไนดารุส ซาลาม และเบลเยียม เข้าร่วมโครงการในระยะน�ำร่อง ทัง้ นี้ คาดหวัง ว่าจะมีประเทศสมาชิกเอเชีย-ยุโรปเข้าร่วมโครงการเพิ่มมากขึ้น
อนุสารอุดมศึกษา
ในอนาคต โดยในการประชุมดังกล่าวได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล นโยบายการด�ำเนินงาน เพื่อส่งเสริมการบรูณาการการเรียนรู้ กับการท�ำงานระหว่าง ๔ ประเทศที่เข้าร่วมโครงการ ส�ำหรับ ประเทศไทย ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน นายกสมาคมสหกิจ ศึ ก ษาไทย ได้ น�ำเสนอนโยบายและการด�ำเนิ น งานของไทย เพือ่ ส่งเสริมการบูรณาการการเรียนรูก้ บั การท�ำงาน รวมถึงโครงการ สหกิจศึกษาและสหกิจศึกษานานาชาติที่ด�ำเนินงานโดยสมาคมฯ และสถาบันอุดมศึกษา “นอกจากนี้ ทีป่ ระชุมได้เห็นชอบร่วมกันในการด�ำเนิน โครงการน�ำร่องอย่างเป็นรูปธรรมภายในปี ๒๕๕๘ - ๒๕๕๙ และ ยั ง ได้ ห ารื อ การริ เริ่ มแนวทางการแลกเปลี่ ย นนั ก ศึ กษาฝึกงาน ในระยะน�ำร่องโดยตกลงที่จะให้มีการแลกเปลี่ยนนักศึกษาฝึกงาน เป็นเวลา ๒ - ๖ เดือน แต่ละประเทศที่เข้าร่วมโครงการจะส่ง นักศึกษาระดับปริญญาตรี-โท ไม่จ�ำกัดสาขาวิชา จ�ำนวน ๕ - ๑๐ คน ไปแลกเปลีย่ นในประเทศทีเ่ ข้าร่วมโครงการน�ำร่องระหว่างภูมภิ าค และจะจั ด ท�ำเอกสารข้ อ ตกลงการแลกเปลี่ ย นการฝึ ก งาน ของนักศึกษาเพื่อให้ทุกประเทศที่เข้าร่วมโครงการใช้เป็นหลักการ ด�ำเนินงานในแนวทางเดียวกัน” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว
เรื่องเล่า
อาเซียน
อาเซียน...
แตกต่างอย่างกลมกลืน สังคมไทยก�ำลังตืน่ ตัวกับการก้าวเข้าสูป่ ระชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ นอกเหนือจากผลกระทบทางเศรษฐกิจทีเ่ กิดจาก การเปิดเสรีการค้าบริการภายใต้กรอบอาเซียนแล้ว ผลกระทบทาง สังคมทีจ่ ะเกิดขึน้ ก็เป็นสิง่ ส�ำคัญทีจ่ ะต้องให้ความส�ำคัญเช่นเดียวกัน ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้เล็งเห็นถึงความส�ำคัญ ของการเรียนรู้การอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมอาเซียน และได้ก�ำหนดนโยบายรองรับการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนไว้ หลายประการ เพือ่ ให้เกิดความตืน่ ตัวเตรียมความพร้อมรองรับการ เปลีย่ นแปลงดังกล่าว ‘อนุสารอุดมศึกษา’ ฉบับทีแ่ ล้ว ได้น�ำเรือ่ งราว การเตรียมการของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ทัง้ การเปิดและการปิดภาคเรียน และการปรับปรุงหลักสูตรการเรียน การสอน ให้สอดคล้องกับประเทศในกลุม่ อาเซียน ให้ผอู้ า่ นทราบแล้ว ‘อนุสารอุดมศึกษา’ ฉบับนี้ ขอเล่าถึงเรือ่ งราวกิจกรรม สร้างสรรค์ โครงการประกวด การผลิตและเผยแพร่สอื่ ประชาสัมพันธ์ เรือ่ ง ‘อาเซียน ... แตกต่างอย่างกลมกลืน’ ทีส่ �ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาจัดเพือ่ รณรงค์ให้นกั เรียน นักศึกษาและเยาวชนไทย เกิดการตระหนักในความเป็นอาเซียน และเรียนรูถ้ งึ ความแตกต่าง
7
ทางวัฒนธรรมและประเพณีของประเทศสมาชิกอาเซียนทีส่ ามารถ อยูร่ ว่ มกันได้อย่างกลมกลืน และเป็นการเปิดโอกาสให้นกั ศึกษา ได้สร้างสรรค์ผลงานสื่อทางเลือกที่จะสามารถเข้าถึงเป้าหมาย ที่เป็นเยาวชน โดยผลงานที่ได้รับรางวัลจะได้รับการเผยแพร่ไป ยังสื่อต่างๆ และกระจายไปยังโรงเรียนและสถาบันอุดมศึกษา ทุกแห่ง เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนตื่นตัว เห็นความส�ำคัญถึงการ อยูร่ ว่ มกันภายใต้สงั คมพหุวฒ ั นธรรมอาเซียน โครงการนี้ได้รับความร่วมมือจากผู้ทรงคุณวุฒิและ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาพยนตร์สั้นและแอนิเมชั่น โดยเปิดโอกาส ให้นกั ศึกษาส่งผลงานเป็นทีมในนามสถาบันอุดมศึกษา ไม่จ�ำกัด จ�ำนวนทีม ทีมละไม่เกิน ๕ คน สมาชิกในทีมต้องศึกษาอยูใ่ นระดับ ปริญญาตรี ไม่จ�ำกัดสาขา ส่งงผลงานภาพยนตร์สั้น ความยาว ๕ - ๑๕ นาที หรือสื่อแอนิเมชั่น ความยาวไม่ต�่ำกว่า ๒ นาที แต่ไม่เกิน ๕ นาที เข้าประกวด ไม่จ�ำกัดรูปแบบ สไตล์ เทคนิค ใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างเสรี ซึ่งคณะกรรมการจะใช้เกณฑ์ การตัดสินจากเนื้อหา การผลิต ความสวยงาม และความคิด สร้างสรรค์ อนุสารอุดมศึกษา
8
เพือ่ ให้กจิ กรรมโครงการประกวด การผลิตและเผยแพร่ สื่อประชาสัมพันธ์ เรื่อง ‘อาเซียน ... แตกต่างอย่างกลมกลืน’ มีคุณค่า คุณประโยชน์ และมีอรรถรสเพิ่มมากขึ้น ส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาจึ ง จั ด ประชุ ม เชิ ง ปฏิ บั ติ ก าร (workshop) เพื่ อ เสริ ม สร้ า งความรู ้ แ ละแนะน�ำแนวทาง การจัดท�ำผลงานส่งเข้าประกวด เมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๗ ณ โรงแรมวังสวนสุนันทา กรุงเทพฯ โดยคณะกรรมการตัดสิน ผลงานประเภทภาพยนตร์ สั้ น และสื่ อ แอนิ เ มชั่ น ได้ พิ จ ารณา ทีมที่ผ่านการคัดเลือกในเบื้องต้นจากเค้าโครงผลงานที่ส่งเข้า มา จ�ำนวน ๒๔ ทีม แบ่งเป็นภาพยนตร์สนั้ จ�ำนวน ๘ ทีม และ แอนิเมชัน่ จ�ำนวน ๑๖ ทีม รวมจ�ำนวนนักศึกษาทัง้ หมดประมาณ ๘๐ คน จากสถาบันอุดมศึกษา ๖ แห่ง เข้าร่วมประชุม ซึง่ มีการ ให้ความรู้เกี่ยวกับอาเซียนและความหลากหลายทางวัฒนธรรม ในอาเซี ย น การชี้ แ นะกรอบเนื้ อ หาของผลงานที่ ส�ำนั ก งาน คณะกรรมการการอุดมศึกษาคาดหวังให้นักศึกษาสร้างสรรค์และ สื่อสารออกมาอย่างตรงประเด็นและมีประสิทธิภาพ ตลอดจน การจัดให้ผู้เข้าแข่งขันเข้าพบกรรมการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เป็นรายทีมเพื่อให้กรรมการวิพากษ์และให้ข้อคิดเห็นต่อผลงาน ของแต่ละทีมได้อย่างเป็นรูปธรรมและทัว่ ถึง หลังจากนัน้ นักศึกษา กลั บ ไปผลิ ต ผลงานเพื่ อ ส่ ง ประกวด ซึ่ ง คณะกรรมการตั ด สิ น ได้พจิ ารณาผลงานแล้วมีทมี ทีไ่ ด้รบั รางวัล ดังนี้
อนุสารอุดมศึกษา
ประเภทภาพยนตร์สั้น รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ผลงานเรือ่ ง ‘จ�ำปา’ จากทีม Film 7 คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ‘ถ้าเราทุกคนมองแต่ความแตกต่าง มองไปที่ปัญหาอย่างเดียว มันคงแก้ปญ ั หาไม่ได้ เพราะทุกอย่างเป็นปัญหาหมด ทุกประเทศ ทุกเชือ้ ชาติ ทุกอารยธรรม มีความแตกต่างของมันอยู่ ไม่มที างทีจ่ ะ เหมือนกันทุกอย่าง ถ้าเราจะสร้างอนาคตร่วมกัน ต้องลืมบางอย่าง ต้องทิง้ บาดแผลบางอย่างในอดีตให้หมด อยูก่ บั ปัจจุบนั ’ บทสรุปจากภาพยนตร์สนั้ เรือ่ งจ�ำปา
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ผลงานเรือ่ ง ‘รอยต่อทีแ่ ตกต่าง’ จากทีมสายไหม คณะ เทคโนโลยีสอื่ สารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ‘จิก๊ ซอว์ทตี่ อ่ กันได้ มักไม่ใช่อนั ทีเ่ หมือนกัน นีแ่ หละความแตกต่าง อย่างกลมกลืน’ บทสรุปจากภาพยนตร์สนั้ เรือ่ งรอยต่อทีแ่ ตกต่าง
ประเภทแอนิเมชั่น รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ผลงานเรือ่ ง ‘UNION’ จากทีมล�ำกุย คณะดิจทิ ลั อาร์ต มหาวิทยาลัยรังสิต
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ผลงานเรือ่ ง ‘อาหารกลางวัน’ จากทีม แง แง แง คณะดิจทิ ลั อาร์ต มหาวิทยาลัยรังสิต
9
รางวัลชมเชย ผลงาน เรื่อง ‘Warrior of ASEAN’ จากทีม ZERO คณะเทคโนโลยีสอื่ สารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดงานน�ำเสนอผลงาน ประกาศผลและมอบรางวัลโครงการประกวด ผลิตและเผยแพร่สื่อ ประชาสัมพันธ์ดา้ นอาเซียน เรือ่ ง ‘อาเซียน ... แตกต่างอย่างกลมกลืน’ เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๘ ซึ่งได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ก�ำจร ตติ ย กวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา และนางสาวอาภรณ์ แก่ น วงศ์ รองเลขาธิ ก ารคณะกรรมการ การอุดมศึกษา มอบรางวัลให้กบั ผูไ้ ด้รบั รางวัลจากการประกวด ทัง้ ประเภท ภาพยนตร์สนั้ และประเภทแอนิเมชัน่ โดยมีนกั ศึกษา และผูส้ นใจเข้าร่วม ชมผลงาน ณ ห้องประชุมออดิทอเรียม ชั้น ๕ หอศิลปวัฒนธรรม แห่งกรุงเทพมหานคร
นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการ กกอ. ทิ้งท้ายว่า ผลงานโดยเยาวชนเพื่อเยาวชนและคนไทยทุกคน ในวันนี้ สกอ. หวังว่า จะเป็นจุดเริ่มต้นจากวงเล็กๆ และค่อยๆ แผ่ขยายออกไปสู่วงกว้าง เพราะการสร้างเสริมความตระหนักรู้ เป็นกระบวนการที่อาศัยเวลา หากเราร่วมกันท�ำความเข้าใจ ยอมรับ และสนับสนุนการอยู่ร่วมกันในบ้านหลังใหญ่ที่ชื่อว่า อาเซียน เชื่อว่าแม้มีความแตกต่างเราก็จะอยู่ร่วมกันได้อย่าง กลมกลืน อนุสารอุดมศึกษา
นายสราวุ ฒิ ชมเพลิ น ใจ นั ก ศึ ก ษาชั้ น ปี ที่ ๒ คณะ เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ทีมสายไหม เจ้าของผลงานรอยต่อทีแ่ ตกต่าง รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ประเภทภาพยนตร์สนั้ เล่าถึงเรือ่ งรอยต่อทีแ่ ตกต่างว่า เป็นหนังสัน้ เชิงสารคดีทตี่ อ้ งการให้ผชู้ มได้รแู้ ละรับฟังความคิด ความต่าง จากคน ในประเทศอาเซียนทีต่ อ้ งมาท�ำงานหรือศึกษาในประเทศไทย ทีจ่ ะต้อง เจอความแตกต่างในสังคม และการใช้ชวี ติ ในวัฒนธรรมของประเทศไทย ‘สราวุฒิ’ เห็นว่าการเกิดประชาคมอาเซียนจะเป็นผลดี ท�ำให้ประชาชนในอาเซียนได้มสี ว่ นร่วมกันมากยิง่ ขึน้ ทัง้ การแสดงความ คิดเห็น การร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆ และยังช่วยกันลดปัญหาการต่อรอง อ�ำนาจทางเศรษฐกิจกับเวทีโลกได้มากขึ้น ทั้งนี้เราต้องมีการเตรียม ความพร้อมด้านภาษา การปรับตัว และการยอมรับด้านวัฒนธรรม
นายสุปวีร์ แก้วมะไฟ นักศึกษาชัน้ ปีที่ ๓ คณะดิจทิ ลั อาร์ต มหาวิทยาลัยรังสิต ทีมล�ำกุย เจ้าของผลงานเรือ่ ง UNION รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ประเภทแอนิเมชัน่ เล่าแนวคิดของ แอนิเมชัน่ เรือ่ งนีว้ า่ เป็นเรือ่ งของตัวประหลาดทีไ่ ด้พบเพือ่ นพ้อง สหายตัวประหลาดด้วยกัน จึงรวมตัวกันออกเดินทางผจญภัยไป ด้วยกัน และฝ่าอุปสรรคไปร่วมกัน ‘สุ ป วี ร ์ ’ มองว่ า การเข้ า สู ่ ป ระชาคมอาเซี ย นของ ประเทศไทย จะส่งผลดีทางเศรษฐกิจให้กบั ประเทศไทย พร้อมทัง้ เป็นการเปิดโอกาสในการเคลื่อนย้ายแรงงานในกลุ่มประเทศ อาเซียนด้วยกันเอง ทัง้ นี้ เราต้องมีการเตรียมความพร้อมในการ ฝึกภาษา และการศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ ในอาเซียนด้วย
ขีดเส้นใต้
10
ขอขอบคุณคณะกรรมการตัดสิน และ ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านภาพยนตร์สนั้ และแอนิเมชัน่ นางสาวฐิตยิ า พจนาพิทกั ษ์ อาจารย์คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร มหาวิทยาลัยศิลปากร ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์เขมพัทธ์ พัชรวิชญ์ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง นายเอก เอีย่ มชืน่ นักวิชาชีพอิสระด้านการออกแบบงานสร้าง นายวิทยา ทองอยูย่ ง ผูก้ �ำกับภาพยนตร์ ค่าย GTH นายประวิทย์ แต่งอักษร นักวิจารณ์ภาพยนตร์และอาจารย์พเิ ศษ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ธรรมศักดิ์ เอือ้ รักสกุล หัวหน้าสาขาวิชาคอมพิวเตอร์อาร์ต คณะดิจทิ ลั อาร์ต มหาวิทยาลัยรังสิต นางสาววรากร ใช้เทียมวงศ์ หัวหน้าสาขาวิชาคอมพิวเตอร์แอนิเมชัน่ คณะดิจทิ ลั มีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม นายจักเรศ วงศ์สวุ รรณ ผูอ้ �ำนวยการฝ่ายออกแบบ บริษทั USB Best Service Co., Ltd. นายสนทรรศน์ ศรีดารณพ Head of Creative and Strategy บริษทั Infinitia Co., Ltd. นายพจน์ หาญพล ผูอ้ �ำนวยการกองสังคมและวัฒนธรรม กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ รองศาสตราจารย์ปกรณ์ พรหมวิทกั ษ์ อาจารย์คณะดิจทิ ลั อาร์ต มหาวิทยาลัยรังสิต นายคมกฤษ ตรีวมิ ล ผูก้ �ำกับภาพยนตร์ ค่าย GTH นายโกมุท คงเทศ นักจัดรายการวิทยุ นายนิกร แซ่ตงั้ ศิลปินสาขาการแสดง นายชวลิต แก้วมณี ผูก้ �ำกับภาพยนตร์แอนิเมชัน่ นายวรุฒม์ ปันยารชุน ผูอ้ �ำนวยการฝ่ายศิลป์ นายวรวุฒ ลีว้ ฒ ั นะ ผูอ้ �ำนวยการฝ่ายออกแบบ รองศาสตราจารย์ปกรณ์ พรหมวิทกั ษ์ อาจารย์คณะดิจทิ ลั อาร์ต มหาวิทยาลัยรังสิต
อนุสารอุดมศึกษา
เรื่อง
พิเศษ
การปฏิรูประบบการผลิตและพัฒนาครูในอนาคต : ปัญหาและการแสวงหาแนวทางแก้ไข รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้แถลงนโยบาย ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ด้านการศึกษาและเรียนรู้ การท�ำนุ บ�ำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ไว้ในข้อที่ ๔.๖ ว่า “พัฒนาระบบการ ผลิตและพัฒนาครูทมี่ คี ณ ุ ภาพและมีจติ วิญญาณของความเป็นครู เน้นครูผสู้ อนให้มคี ณ ุ วุฒติ รงตามทีส่ อน ทัง้ เทคโนโลยีสารสนเทศ และเครื่องมือที่เหมาะสมมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อเป็น เครือ่ งมือช่วยครูหรือเพือ่ การเรียนรูด้ ว้ ยตนเอง ควรปรับระบบการ ประเมินสมรรถนะทีส่ ะท้อนประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอน และเน้นผูเ้ รียนเป็นส�ำคัญ” ในส่ ว นของกระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารได้ มี ก ารด�ำเนิ น การปฏิรูปการศึกษา โดยการจัดท�ำแผนที่น�ำทาง (Road Map) การปฏิรูปการศึกษาโดยมีกรอบแนวทางในการปฏิรูปการศึกษา ในประเด็นปฏิรูปครู อาทิ รื้อระบบครูบริหารบุคคลเพื่อให้ได้ คนดีคนเก่งมาเป็นครู ทบทวนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ก�ำหนด มาตรการให้ครูอยูป่ ระจ�ำห้องเรียนและผูบ้ ริหารอยูป่ ระจ�ำโรงเรียน พัฒนาครูอย่างเป็นระบบ ตลอดจนการกระจายครูที่เหมาะสม จากนโยบายดังกล่าวข้างต้น การผลิตและพัฒนาครูเป็นส่วน ส�ำคัญของการปฏิรูปการศึกษาให้ได้คนดีคนเก่งเข้ามา มีครูที่มี คุณภาพในปริมาณทีเ่ หมาะสม เพือ่ ให้การศึกษาของไทยสามารถ สร้างบุคลากรที่มีคุณภาพและมีขีดความสามารถในการแข่งขัน ของประเทศ
ส�ำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาในฐานะ หน่วยงานทีม่ ภี าระหน้าทีใ่ นการศึกษา วิเคราะห์ วิจยั ปัญหาและ แนวทางการพัฒนาอุดมศึกษาและจัดท�ำข้อเสนอนโยบายและ มาตรฐานการอุดมศึกษา ซึ่งสาขาวิชาชีพครูเป็นสาขาวิชาหนึ่ง ทีม่ คี วามส�ำคัญต่อระบบคุณภาพการศึกษาของประเทศไทย ดังนัน้ เพือ่ ให้การผลิตบุคลากรสาขาวิชาชีพครูซงึ่ เป็นประเด็นส�ำคัญในการ พัฒนาประเทศ มีความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล และแนวทาง การปฏิรูปการศึกษาจึงจัดประชุมสัมมนา เรื่อง การปฏิรูประบบ การผลิตและพัฒนาครูในอนาคต : ปัญหาและการแสวงหาแนวทาง แก้ไขเมือ่ วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ณ โรงแรม เดอะ สุโกศล โดยมี รองศาสตราจารย์ คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ประธานกรรมการ การอุดมศึกษา ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการประชุม และมีผู้เข้า ร่วมประชุมประกอบด้วย ผูท้ รงคุณวุฒิ ผูบ้ ริหารสถาบันการผลิต ครู ผูแ้ ทนหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องกับการผลิตครูและพัฒนาครู ได้แก่ ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ส�ำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ส�ำนักงานเลขาธิการสภา การศึกษา และส�ำนักงานเลขาธิการคุรสุ ภา การประชุ ม ครั้ ง นี้ มีวั ต ถุ ประสงค์ เ พื่ อ ให้ ไ ด้ ข ้ อเสนอ แนวทางการแก้ไขปัญหาการปฏิรูประบบการผลิตและพัฒนาครู เพือ่ ให้การผลิตครูมปี ริมาณและคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการ และส่งเสริมให้วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูงอย่างแท้จริง โดยสรุป ผลการประชุมได้ ดังนี้
11
อนุสารอุดมศึกษา
ประเด็นระบบการผลิตครู
12
๑) ให้ผลิตครูเป็นระบบปิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน สาขาทีข่ าดแคลนและจ�ำเป็น เช่น สาขาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ในลักษณะผูกพันการมีงานท�ำ เมือ่ ส�ำเร็จ การศึกษาให้บรรจุเข้ารับราชการครู โดยผลิตตามความต้องการของ สพฐ. และ สอศ. เป็นหลัก (demand driven) ๒) ในการผลิตครูเป็นระบบปิด ก.ค.ศ. และคุรุสภา ต้องร่วมกันจัดท�ำฐานข้อมูลความต้องการครูให้ชัดเจนในแต่ละ สาขาวิชา อย่างน้อย ๕ ปี เพื่อใช้ในการก�ำหนดปริมาณการผลิต ของสถาบันฝ่ายผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการ ๓) การผลิ ต ครู อ าจจะมี บ างส่ ว นที่ เ ป็ น ระบบเปิ ด เพือ่ รองรับความต้องการครูในสถานศึกษาเอกชน และสถานศึกษา ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หากสถาบันฝ่ายผลิตมีการ ผลิตเกินปริมาณความต้องการ จะต้องแจ้งให้ผู้เรียนทราบถึงความ เสี่ยงที่จะไม่ได้รับการบรรจุ โดยสถาบันฝ่ายผลิตต้องรับผิดชอบ ต่อผลกระทบดังกล่าว ๔) ปรับระบบให้ผมู้ คี วามรูค้ วามสามารถในสาขาเฉพาะ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในสาขาทีข่ าดแคลนและจ�ำเป็น และครูชา่ ง ส�ำหรับสถานศึกษาในสังกัด สอศ. สามารถเข้ามาเป็นครูได้ แต่ทงั้ นี้ ต้องมีการก�ำหนดเกณฑ์มาตรฐานในการคัดเลือกเพื่อให้ได้ครูที่มี ความรู้ ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างแท้จริง ๕) ควรมีการก�ำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ (learning outcomes) ของผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานแต่ละระดับ (ปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น/ตอนปลาย) และระดับ อาชีวศึกษา เพือ่ การปรับหลักสูตรการผลิตครูให้เหมาะสมสอดคล้อง ๖) การขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ควรมี การออกใบอนุญาตทั่วไป (general license) และใบอนุญาต เฉพาะสาขา/ระดับการศึกษา (specific license) เพือ่ ให้มคี ณ ุ ภาพ มาตรฐานและเหมาะสมกั บ การจั ด การเรี ย นการสอนในแต่ ล ะ ช่วงชัน้ และจ�ำเป็นทีจ่ ะต้องมีการสอบเพือ่ ขอรับใบอนุญาตประกอบ วิชาชีพเช่นเดียวกับวิชาชีพชัน้ สูงอืน่ ๆ เพือ่ ให้วชิ าชีพครูเป็นวิชาชีพ ชัน้ สูง และเป็นทีย่ อมรับ
อนุสารอุดมศึกษา
๗) การผลิ ต ครู ค วรมี ก ารแบ่ ง สั ด ส่ ว นการผลิ ต ตามความเชี่ยวชาญของสถาบันฝ่ายผลิต รวมทั้งค�ำนึงถึงพื้นที่ เพื่อเป็นการแบ่งความรับผิดชอบการผลิตครูตามสถานที่ตั้งของ สถาบัน (area-based) โดยรับนักศึกษาตามท้องถิน่ นัน้ ๆ เข้าเรียนครู เพือ่ ให้กลับไปเป็นครูในภูมลิ �ำเนาของตนเอง ลดปัญหาการโยกย้าย ๘) สร้ า งความเข้ ม แข็ ง ให้ กั บ สถาบั น ฝ่ า ยผลิ ต ครู โดยเฉพาะการพัฒนาอาจารย์ในสถาบันฝ่ายผลิตครูทั้งเชิงปริมาณ และคุณภาพ ทีส่ ามารถจัดการเรียนการสอนให้นกั ศึกษาครูมคี วามรู้ ความสามารถ ทักษะการคิด วิเคราะห์ และมีจติ วิญญาณความเป็นครู เพือ่ ให้เป็นครูทสี่ ามารถสอนผูเ้ รียน ให้รจู้ กั คิด วิเคราะห์เป็น
ประเด็นการใช้และการพัฒนาครู ๑) ควรมีการแก้ไขกฎหมายทีเ่ กีย่ วข้อง เพือ่ ให้การเข้า สู่ต�ำแหน่งทางการบริหาร ไม่จ�ำเป็นต้องมีคุณวุฒิด้านการบริหาร การศึกษา แต่ควรใช้การประเมินสมรรถนะ (competency) ที่จ�ำเป็นส�ำหรับการเป็นผู้บริหารแทน ทั้งนี้เพื่อลดปัญหาการทิ้ง ห้องเรียนเพือ่ ไปศึกษาให้ได้คณ ุ วุฒดิ งั กล่าว ๒) ส่งเสริมระบบการคัดเลือกและบรรจุครูโดยระบบ ความรูค้ วามสามารถอย่างแท้จริง ๓) สร้างเครือข่ายการพัฒนาระหว่างสถาบันฝ่ายผลิต กับสถานศึกษา ๓.๑) ให้ ม หาวิ ท ยาลั ย เข้ า ไปเป็ น พี่ เ ลี้ ย งให้ กั บ สถานศึกษาเพือ่ พัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ ทีห่ ลากหลายอย่างเป็นระบบและต่อเนือ่ ง ได้แก่ การฝึกอบรมครู (training) การสอนงาน (coaching) ให้ค�ำปรึกษา (consulting) ๓.๒) ส่งเสริมให้สถาบันฝ่ายผลิตครูมคี วามร่วมมือ อย่างใกล้ชิดกับสถานศึกษา ตั้งแต่การส่งนักศึกษาครูไปเรียนรู้ ในสถานทีจ่ ริงจนถึงการปฏิบตั กิ ารสอน
ข้อเสนอกลไกในการด�ำเนินงานเรื่องการผลิตและพัฒนาครู ที่ประชุมเห็นควรให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายและ คณะกรรมการบริหารเพือ่ การผลิตและพัฒนาครูระดับชาติ (national body) เพือ่ ด�ำเนินการตามข้อเสนอดังกล่าวข้างต้น ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้น�ำเสนอผลการประชุมดังกล่าวในที่ประชุม กระทรวงศึกษาธิการ ครัง้ ที่ ๒/๒๕๕๘ เมือ่ วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ณ ห้องประชุมราชวัลลภ โดยมีพลเรือเอก ณรงค์ พิพฒ ั นาศัย รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน ซึง่ ทีป่ ระชุม เห็นด้วยในหลักการของข้อเสนอเกี่ยวกับระบบการผลิตและพัฒนาครู ตามที่ สกอ. เสนอ โดยมี ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิม่ เติมดังนี้ (๑) ด้านข้อเสนอการผลิตครูในระบบปิด ซึง่ เน้นการผลิตครูในสาขาขาดแคลนและจ�ำเป็น โดยเฉพาะ ๔ สาขาหลักนัน้ มีขอ้ เสนอจากอาชีวศึกษาให้เพิม่ การผลิตครูสาขาวิชาชีพด้วย พร้อมทัง้ ควรให้ผเู้ ชีย่ วชาญในสายอาชีพเข้ามาเป็นครูและพัฒนาวิชาชีพครูให้เพิม่ เติม ส่วนการเปิดให้มรี ะบบ เปิดเป็นสิง่ ทีจ่ �ำเป็น เพือ่ ให้สามารถตอบสนองความต้องการครูของสถานศึกษาอืน่ ๆ นอกเหนือจาก สพฐ. และ สอศ. รวมทั้งสถานศึกษานอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการด้วย ซึ่งผู้ส�ำเร็จการศึกษา อาจประกอบวิชาชีพบุคลากรทางการศึกษาในต�ำแหน่งอืน่ ได้ ทัง้ นี้ มีขอ้ เสนอให้ปรับเกณฑ์การวิเคราะห์ความต้องการครู ซึง่ เดิมใช้ขอ้ มูลจ�ำนวนห้อง หรือจ�ำนวนนักเรียนมาเป็นการใช้ขอ้ มูลภาระงานของครูแทน เพือ่ ให้มคี วามสอดคล้องกับความเป็น จริงมากขึน้ (๒) ด้ า นข้ อ เสนอการพั ฒ นาครู มี ข ้ อ เสนอแนะให้ ส ถาบั น ฝ่ า ยผลิ ต มี ส ่ ว นร่ ว มใน การติดตาม ดูแล และพัฒนาครูรว่ มกับสถานศึกษา โดยให้สถาบันฝ่ายผลิตช่วยท�ำหน้าทีเ่ ป็นพีเ่ ลีย้ ง และพัฒนาทั้งครูบรรจุใหม่และครูที่อยู่ในระบบเดิม ส่วนการพัฒนาครูอาชีวศึกษาควรด�ำเนินการ ร่วมกับสถานประกอบการ (๓) ด้านข้อเสนอกลไกในการด�ำเนินงาน ที่ประชุมเห็นด้วยในหลักการให้มีการจัดตั้ง คณะกรรมการระดับชาติตามทีเ่ สนอ โดยให้มอี งค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ เข้าร่วมในคณะกรรมการ ชุดดังกล่าวด้วย ในการนี้ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงศึกษาธิการเห็นชอบในหลักการตามที่ สกอ. เสนอ และ มอบหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องรับไปพิจารณาในแต่ละประเด็น โดยเห็นว่าเรือ่ งการผลิตและพัฒนาครูเป็น เรือ่ งส�ำคัญ ควรจัดเวทีรบั ฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานและผูท้ เี่ กีย่ วข้องต่อไป
13
อนุสารอุดมศึกษา
พูดคุยเรื่อง
มาตรฐาน
TQF and The Development
14
of Professional Standards Framework สหภาพยุ โรป ได้ จั ด ท�ำโครงการความร่ ว มมื อ กั บ กระทรวง/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย ภายใต้ชื่อว่า ThailandPolicy Support Dialogue Support Facility (PDSF) ซึ่งจะ ด�ำเนินงานในช่วงปี ๒๕๕๗ - ๒๕๖๐ โดยเน้นความร่วมมือในสาขา การค้าและการลงทุน สาขาธรรมาภิบาล สาขาสิง่ แวดล้อม พลังงาน และการพัฒนาที่ยั่งยืน และสาขาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ส�ำหรับความร่วมมือด้านการอุดมศึกษาภายใต้กรอบ PDSF คณะผูแ้ ทนสหภาพยุโรปประจ�ำประเทศไทยร่วมกับส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา ริเริ่มจัดท�ำข้อก�ำหนดโครงการ ‘Internationalization and Human Resource Development’ โดยสหภาพยุ โรปได้ ส รรหาผู ้ เชี่ ย วชาญเพื่ อ มาร่ ว มด�ำเนิ น งาน โครงการดังกล่าว แบ่งเป็น ๔ ด้าน คือ การส่งเสริมความเป็น สากลของการอุดมศึกษาไทย การพัฒนากรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษา การพัฒนากรอบสมรรถนะวิชาชีพของบุคลากร อุดมศึกษา และการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการการเรียนรู้กับการ ท�ำงาน โดยจะเริม่ ด�ำเนินการตัง้ แต่เดือนมกราคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
อนุสารอุดมศึกษา
ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ก�ำหนดให้ มีโครงการ ‘TQF and the Development of Professional Standards Framework’ เป็นการด�ำเนินการพัฒนากรอบมาตรฐาน คุ ณ วุ ฒิ ร ะดั บ อุ ด มศึ ก ษาภายใต้ โ ครงการดั ง กล่ า ว เพื่อส่งเสริม ความเป็นมืออาชีพของอาจารย์ได้อย่างครบถ้วน ส่งเสริมให้อาจารย์ มี ค วามเชี่ ย วชาญ ทั้ ง ในด้ า นศาสตร์ ใ นสาขา การจั ด การเรี ย น การสอน (กลยุทธ์การเรียน การสอน และการวัดและประเมินผล) และทัศนคติทดี่ งี ามในความเป็นอาจารย์มอื อาชีพ ซึง่ เป็นปัจจัยส�ำคัญ ที่จะท�ำให้สถาบันอุดมศึกษาด�ำเนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ของ ผูเ้ รียนเป็นส�ำคัญ ถือว่า ความเป็นอาจารย์มอื อาชีพเป็นพืน้ ฐานส�ำคัญ ทีก่ �ำหนดเป้าหมายชัดเจนในการผลิตบัณฑิตให้มคี ณ ุ ภาพ เทียบเคียง ได้ในระดับสากล และสอดคล้องกับคุณลักษณะบัณฑิตทีพ่ งึ ประสงค์ ในศตวรรษที่ ๒๑ (21st Century Skills) ดังนั้น การแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญกับคณะอนุกรรมการ ด้านต่างๆ และคณาจารย์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการอุดมศึกษา
จะเป็นประโยชน์สูงสุด ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จึงจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการคณาจารย์น�ำร่องกรอบมาตรฐาน คุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป ส่ ง Mr.Gerard Madill ผู ้ เชี่ ย วชาญ มาเป็ น วิ ท ยากร โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ แนวทางการ จั ด การเรี ย นการสอนตามกรอบมาตรฐานคุ ณ วุ ฒิ การประกั น คุณภาพภายใน การจัดการศึกษาทางไกล และการด�ำเนินการ ระบบการเทียบโอนหน่วยกิต พร้อมทั้งฝึกอบรมคณาจารย์น�ำร่อง ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นอาจารย์มืออาชีพ และ แนวทางการด�ำเนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒริ ะดับอุดมศึกษา
เพื่ อ ให้ เ กิ ด สั ม ฤทธิ ผ ลสู ง สุ ด ตลอดจนการสร้ า งความเข้ า ใจและ ก�ำหนดแนวทางร่วมกันในการเชื่อมโยงกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ อุดมศึกษากับระบบการประกันคุณภาพภายในสถาบันอุดมศึกษา ทั้งนี้ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษามีความรู้และเข้าใจ เกิดความเชื่อมั่นใน แนวปฏิบตั ขิ องกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ซึง่ เป็นค่านิยมพืน้ ฐานทีส่ �ำคัญ ต่อการเป็นอาจารย์มืออาชีพ และการประกันคุณภาพภายใน ซึ่งจะ เชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาการเป็นอาจารย์มืออาชีพ โดยให้คณาจารย์ น�ำร่องสามารถเป็นวิทยากร หรือผูถ้ า่ ยทอดประสบการณ์ และความรู้ ความเข้ า ใจเกี่ ย วกั บ ความเป็ น อาจารย์ มื อ อาชี พ และแนวทาง การด�ำเนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาต่อไปได้
กิจกรรมการประชุมหารือ และจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรม การประชุมหารือระหว่างคณะอนุกรรมการส่งเสริมและ ติดตามการดำ�เนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ อุดมศึกษาแห่งชาติ กับผู้เชี่ยวชาญ การประชุมหารือระหว่างคณะอนุกรรมการพัฒนาการ ประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษากับ ผู้เชี่ยวชาญ การประชุมหารือระหว่างคณะอนุกรรมการพิจารณา และติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาในระบบการ ศึกษาทางไกลและคณะอนุกรรมการพัฒนาและส่งเสริม ระบบธนาคารหน่วยกิต กับผู้เชี่ยวชาญ การประชุ ม เชิ ง ปฏิ บั ติ ก ารคณาจารย์ นำ � ร่ อ งกรอบ มาตรฐานคุณวุฒิ ครั้งที่ ๑ การประชุ ม เชิ ง ปฏิ บั ติ ก ารคณาจารย์ นำ � ร่ อ งกรอบ มาตรฐานคุณวุฒิ ครั้งที่ ๒ การประชุ ม เชิ ง ปฏิ บั ติ ก ารสำ � หรั บ สถาบั น อุ ด มศึ ก ษา พื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก การประชุ ม เชิ ง ปฏิ บั ติ ก ารสำ � หรั บ สถาบั น อุ ด มศึ ก ษา พื้นที่ภาคเหนือ การประชุ ม เชิ ง ปฏิ บั ติ ก ารสำ � หรั บ สถาบั น อุ ด มศึ ก ษา พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การประชุ ม เชิ ง ปฏิ บั ติ ก ารสำ � หรั บ สถาบั น อุ ด มศึ ก ษา พื้นที่ภาคใต้ การประชุ ม สรุ ป ผลการดำ � เนิ น งานระหว่ า งสำ � นั ก มาตรฐานและคุณภาพอุดมศึกษากับผู้เชี่ยวชาญ
วันที่
สถานที่
๑๒ ม.ค. ๕๘
สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
๑๔ ม.ค. ๕๘
สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
๑๖ ม.ค. ๕๘
สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
๒๙ ม.ค. ๕๘
กรุงเทพมหานคร
๕ - ๖ ก.พ. ๕๘
กรุงเทพมหานคร
๒๘ - ๓๐ เม.ย. ๕๘
กรุงเทพมหานคร
จังหวัดเชียงใหม่
๖ - ๘ พ.ค. ๕๘
๑๓ - ๑๕ พ.ค. ๕๘
จังหวัดขอนแก่น
๒๐ - ๒๒ พ.ค. ๕๘
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๒๖ พ.ค. ๕๘
15
สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
เกร็ดความรู้ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ด�ำเนินการความร่วมมือกับสหภาพยุโรป (EU) เพือ่ ส่งเสริมความเป็นสากล ของการอุดมศึกษาไทย ตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ เป็นต้นมา โดยคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจ�ำประเทศไทยได้จัดหาผู้เชี่ยวชาญมาร่วม ด�ำเนินงานกับส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ภายใต้กรอบความร่วมมือ Thailand-EU Cooperation Facility Phase II : Policy Dialogues Support Component (PDSC) ซึ่งกรอบความร่วมมือดังกล่าวมีระยะเวลาด�ำเนินงานตั้งแต่ ปี ๒๕๕๔ และสิ้นสุดในปี ๒๕๕๖ อนุสารอุดมศึกษา
เรื่อง
แนะนำ�
แผนยุทธศาสตร์
สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๑ ‘อนุสารอุดมศึกษา’ ฉบับนี้ มีรายละเอียดของแผน ยุทธศาสตร์ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๘ ๒๕๖๑ ตั้งแต่วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์และตัวชี้วัดหลัก พร้อมทัง้ ยุทธศาสตร์และมาตรการ ให้ผอู้ า่ นทราบ
วิสัยทัศน์
16
‘สกอ. เป็นองค์กรหลักทีช่ นี้ �ำการพัฒนาอุดมศึกษาไทย ให้เป็นพลังสร้างสรรค์สงั คมไทยอย่างยัง่ ยืน’ ค�ำจ�ำกัดความวิสยั ทัศน์ ๑) ‘องค์กรหลัก’ เป็นองค์กรที่มีอ�ำนาจหน้าที่ตาม กฎหมายในการจัดท�ำนโยบาย มาตรฐานและแผนพัฒนาอุดมศึกษา โดยค�ำนึงถึงการมีสว่ นร่วมของหน่วยงานและผูท้ เี่ กีย่ วข้อง ๒) ‘ชี้น�ำการพัฒนาอุดมศึกษาไทย’ เพื่อสนับสนุนให้ สถาบันอุดมศึกษามีความเป็นเลิศทางวิชาการ ผลิตก�ำลังคนที่มี คุณภาพ คุณธรรม พัฒนางานวิจัย สร้างสรรค์องค์ความรู้และให้ บริการวิชาการแก่สงั คมและชุมชน บนอัตลักษณ์ของแต่ละสถาบัน เพือ่ ธ�ำรงไว้ซงึ่ เอกลักษณ์ วัฒนธรรมและภูมปิ ญ ั ญาไทย ๓) ‘พลังสร้างสรรค์สังคมไทยอย่างยั่งยืน’ ส่งเสริม ความร่วมมืออุดมศึกษากับทุกภาคส่วนของสังคม เพื่อให้เกิดพลัง องค์ความรูแ้ ละคนทีม่ คี ณ ุ ภาพ บนพืน้ ฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง การมีธรรมาภิบาล เพือ่ แก้ไขปัญหาสังคม และเพิม่ ขีดความ สามารถในการแข่งขันของประเทศ
พันธกิจ๑ ๑) จัดท�ำข้อเสนอนโยบายและมาตรฐานการอุดมศึกษา และแผนพัฒนาการอุดมศึกษา รวมทัง้ ด�ำเนินงานด้านความสัมพันธ์ ระดับอุดมศึกษากับต่างประเทศ ๑
๒) จั ด ท�ำหลั ก เกณฑ์ แ ละแนวทางการสนั บ สนุ น ทรั พ ยากร การจั ด ตั้ ง และจั ด สรรงบประมาณอุ ด หนุ น สถาบั น อุดมศึกษาและวิทยาลัยชุมชน ๓) ประสานและส่งเสริมการด�ำเนินงานพัฒนาทรัพยากร มนุษย์และศักยภาพนักศึกษา รวมทั้งผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และ ผู้มีความสามารถพิเศษในระบบอุดมศึกษา และประสานส่งเสริม สนับสนุนการวิจยั เพือ่ สร้างองค์ความรูใ้ หม่และสนับสนุนการพัฒนา ประเทศ ๔) เสนอแนะเกีย่ วกับการจัดตัง้ ยุบ รวม ปรับปรุงและ ยกเลิกสถาบันอุดมศึกษาและวิทยาลัยชุมชน ๕) ด�ำเนินการเกีย่ วกับติดตาม ตรวจสอบ และประเมิน ผลการจั ด การอุ ด มศึ ก ษาตามที่ ค ณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา มอบหมาย รวมทั้งการรวบรวมข้อมูลและจัดท�ำสารสนเทศด้าน การอุดมศึกษา
เป้าประสงค์และตัวชี้วัดหลัก เป้าประสงค์ ๑) สกอ. เป็นหน่วยงานหลักด้านอุดมศึกษาทีช่ นี้ �ำและ ขับเคลื่อนอุดมศึกษาเพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาและเพิ่มขีดความ สามารถในการแข่งขันของประเทศ ๒) ส่งเสริม สนับสนุนและก�ำกับให้สถาบันอุดมศึกษา ผลิตบัณฑิต พัฒนาองค์ความรูแ้ ละสร้างผลงานวิจยั ทีเ่ ป็นประโยชน์ตอ่ การเรียนการสอนและสอดคล้องตรงตามความต้องการของประเทศ ๓) บุคลากร สกอ. ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เป็นที่ ยอมรับ สามารถผลักดันนโยบายและแผนอุดมศึกษา และขับเคลือ่ น ภารกิจของ สกอ. โดยมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทีม่ ปี ระสิทธิภาพ
เอกสารงบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ ของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๘
อนุสารอุดมศึกษา
ตัวชีว้ ดั หลัก ผลผลิต (Output) ๑) มี ข ้ อ เสนอนโยบายและแผนการอุ ด มศึ ก ษาที่ สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และชี้น�ำทิศทางการ พัฒนาสถาบันอุดมศึกษาของประเทศ โดยค�ำนึงถึงหลักธรรมาภิบาล ๒) มีเกณฑ์มาตรฐานการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ทีท่ นั สมัยและสอดรับกับบริบทโลก ๓) มียทุ ธศาสตร์/แผน/โครงการทีส่ ง่ เสริมความร่วมมือ กับอุดมศึกษาต่างประเทศ และผลักดันสถาบันอุดมศึกษาไทยให้เป็น สถาบันชัน้ น�ำในระดับอาเซียนและสากล ๔) มีการส่งเสริมการวิจยั ทีส่ ามารถน�ำไปใช้ประโยชน์ได้ ในเชิงสาธารณะและเชิงพาณิชย์ ๕) มี ทุ น พั ฒ นาคุ ณ วุ ฒิ แ ละศั ก ยภาพการวิ จั ย ของ บุคลากรอุดมศึกษา ๖) มีระบบการติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาและ ประเมินศักยภาพการวิจยั ๗) มีแผนและโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร สกอ. ทีส่ อดรับกับภารกิจ ผลลัพธ์ (Outcome) ๑) สถาบันอุดมศึกษาได้รบั การจัดอันดับระดับโลกทัง้ ใน ระดับสถาบันและระดับสาขาวิชาเพิม่ ขึน้ ๒) บัณฑิตมีความรูใ้ นด้านวิชาการ มีคณ ุ ธรรมจริยธรรม มีจิตอาสา มีทักษะในการท�ำงานและด�ำรงชีวิตในสังคม สามารถ พัฒนาความสามารถด้านกีฬาและมีพลานามัยทีส่ มบูรณ์ ๓) บัณฑิตมีงานท�ำหลังจบการศึกษาหรือได้ประกอบ อาชีพอิสระภายในเวลาทีเ่ หมาะสม ๔) สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาผ่ า นมาตรฐานการประเมิ น คุณภาพภายในทุกแห่ง ๕) บุคลากร สกอ. ปฏิบัติงานตามภารกิจได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และมีความภาคภูมใิ จในการเป็นส่วนหนึง่ ขององค์กร
ยุทธศาสตร์และมาตรการ เพื่อให้การด�ำเนินงานบรรลุวิสัยทัศน์ เป้าประสงค์และ ตัวชีว้ ดั หลักทีก่ �ำหนดไว้ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงได้ ก�ำหนดยุทธศาสตร์การด�ำเนินงานเป็น ๕ ยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การส่งเสริมและพัฒนาการอุดมศึกษา เป้าประสงค์ สกอ. เป็นองค์กรหลักด้านอุดมศึกษา เสนอนโยบายและ แผนการอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และก�ำหนดทิศทางการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา ส่งเสริมการจัดการ ศึกษาระดับอุดมศึกษาให้มคี ณ ุ ภาพ ด�ำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เน้นหลักธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการทีด่ ี รวมทัง้ ส่งเสริมความร่วมมือกับอุดมศึกษาต่างประเทศ มาตรการ/แนวทาง ๑. เสนอนโยบายและแผนการอุดมศึกษาที่สอดคล้อง กับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ๒. จัดท�ำมาตรฐานการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ ทันสมัยและสอดรับกับบริบทโลก ๓. ส่งเสริมความร่วมมือกับอุดมศึกษาต่างประเทศ ทัง้ ใน ระดับภูมภิ าคและระดับโลก ๔. ส่ ง เสริ ม ระบบบริ ห ารจั ด การอุ ด มศึ ก ษาตามหลั ก ธรรมาภิบาล ๕. เผยแพร่ข้อมูลอุดมศึกษาต่อสาธารณะเพื่อส่งเสริม การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานอุดมศึกษาและการคุม้ ครองผูบ้ ริโภค ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การส่งเสริมการผลิตและพัฒนาก�ำลังคน เป้าประสงค์ มีการวางแผนและส่งเสริมการผลิตและพัฒนาก�ำลังคน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และก�ำหนด นโยบายและแผนในการผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับทิศทางในการ พัฒนาประเทศทัง้ เชิงปริมาณและคุณภาพ รวมทัง้ ส่งเสริมการพัฒนา ก�ำลังคนในวัยท�ำงาน โดยมีฐานข้อมูลการผลิตบัณฑิตรายสาขาวิชา
17
อนุสารอุดมศึกษา
18
มาตรการ/แนวทาง ๑. วางแผนและสนับสนุนการผลิตและพัฒนาก�ำลังคน ร่วมกับผูผ้ ลิตและผูใ้ ช้บณ ั ฑิต ๒. จัดสรรทุนเพื่อสร้างก�ำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ๓. ส่งเสริมการผลิตบัณฑิตในสาขาที่จ�ำเป็นต่อการ พัฒนาประเทศ ๔. จัดท�ำฐานข้อมูลการผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาต่างๆ ๕. ส่งเสริมการพัฒนาเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะ ของก�ำลังคนในวัยท�ำงาน ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การส่งเสริมงานวิจยั เพือ่ พัฒนาประเทศ เป้าประสงค์ ส่งเสริมงานวิจัยและนวัตกรรมในสถาบันอุดมศึกษา เพือ่ การถ่ายทอดสูก่ ารใช้ประโยชน์ในเชิงสาธารณะและเชิงพาณิชย์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้ง ส่งเสริมการลงทุนและเพิ่มศักยภาพของโครงสร้างพื้นฐานเพื่อ การศึกษาและการวิจยั มาตรการ/แนวทาง ๑. ส่งเสริมและสนับสนุนทุนพัฒนาศักยภาพในการ ท�ำวิจยั ของอาจารย์และนักวิจยั ในสถาบันอุดมศึกษา ๒. ส่ ง เสริ ม การผลิ ต และเผยแพร่ ง านวิ จั ย เพื่อแก้ปัญหาสังคม และงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อยกระดับขีด ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ๓. พั ฒ นาระบบการประเมิ น ศั ก ยภาพการวิ จั ย เพือ่ การจัดสรรทรัพยากรด้านการวิจยั ๔. ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการทรัพย์สนิ ทางปัญญา ในสถาบันอุดมศึกษา
อนุสารอุดมศึกษา
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การพัฒนาบุคลากรส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา เป้าประสงค์ พั ฒ นาบุ ค ลากรของส�ำนั ก งานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานเต็มตาม ศักยภาพ เพื่อให้บรรลุผลส�ำเร็จตามภารกิจหลักและภารกิจใหม่ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นขององค์กร ตลอดจนเป็นที่ยอมรับในประชาคม อุดมศึกษาทัง้ ในประเทศและต่างประเทศ มาตรการ/แนวทาง ๑. พัฒนาบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานตามภารกิจ ขององค์กร และมีความภาคภูมิใจในการเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ในรูปแบบต่างๆ อาทิเช่น ฝึกอบรม ดูงาน ฝึกปฏิบตั งิ านในสถาบัน อุดมศึกษาทัง้ ในและต่างประเทศ ๒. จัดท�ำเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพของบุคลากร ยุทธศาสตร์ที่ ๕ การพัฒนาฐานข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการ บริหารอุดมศึกษา เป้าประสงค์ มีฐานข้อมูลอุดมศึกษาที่ถูกต้องสมบูรณ์ น่าเชื่อถือ ทันสมัย และสะดวกในการสืบค้นผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถเชื่อมโยงฐานข้อมูลที่มีอยู่ทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพือ่ ใช้ในการบริหารจัดการอุดมศึกษา และสถาบันอุดมศึกษาสามารถ ใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลเพือ่ การวางแผนของสถาบันได้ มาตรการ/แนวทาง ๑. พัฒนาฐานข้อมูลทีจ่ �ำเป็นต่อการก�ำหนดนโยบายและ การติดตามประเมินผลอุดมศึกษา ๒. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเชื่อมโยง ระหว่างฐานข้อมูลทีม่ อี ยูท่ งั้ ภายใน สกอ. และหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง
เหตุการณ์
เล่าเรื่อง
ปัจฉิม
‘เด็กทุนใต้’
เตรียมพร้อมเข้าสู่อาชีพในพื้นที่
19
ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้เล็งเห็นความส�ำคัญ ในด้านการประกอบอาชีพหลังจากที่นักศึกษาส�ำเร็จการศึกษา รวมทั้งความ ส�ำเร็จในชีวิตการท�ำงานของนักศึกษาทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัด ชายแดนภาคใต้ จึงจัดโครงการปัจฉิมนิเทศเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ อาชีพในพื้นที่ และสร้างเครือข่ายผู้รับทุนโครงการทุนอุดมศึกษาเพื่อการ พัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีการศึกษา ๒๕๕๗ ส�ำหรับนักศึกษาทุนฯ รุ่นที่ ๓ รุ่นที่ ๔ และรุ่นที่ ๕ ที่จะส�ำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา ๒๕๕๗ โดย เป็นผู้ที่ก�ำลังศึกษาอยู่ชั้นปีสุดท้ายของหลักสูตรในสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ จ�ำนวน ๘๓ แห่ง ทั่วประเทศ เพื่อพัฒนานักศึกษาทุนฯ โดยมีกิจกรรมการ ประชุมสัมมนาเครือข่ายศึกษาทุนฯ ในการท�ำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ เพื่ อ แลกเปลี่ ย นเรี ย นรู ้ ป ระสบการณ์ ซึ่ ง กั น และกั น และรั บ ทราบปั ญ หา อุปสรรคต่างๆ รวมทั้งการแนะน�ำแนวทางการวางแผนการประกอบอาชีพ ให้ประสบความส�ำเร็จเพื่อน�ำไปพัฒนาท้องถิ่นและภูมิล�ำเนาในอนาคตต่อไป
อนุสารอุดมศึกษา
20
โครงการปัจฉิมนิเทศเพือ่ เตรียมความพร้อมเข้าสูอ่ าชีพ ในพืน้ ที่ และสร้างเครือข่ายผูร้ บั ทุนโครงการทุนอุดมศึกษาเพือ่ การ พัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีการศึกษา ๒๕๕๗ จัดขึ้นระหว่าง วันที่ ๓๐ มกราคม - ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ณ โรงแรมสีดา รีสอร์ท จังหวัดนครนายก มีวัตถุประสงค์เพื่อแนะแนวอาชีพ/การศึกษา ต่อ และการท�ำงานให้ประสบความส�ำเร็จ รวมทั้งพัฒนาศักยภาพ การสร้างภาวะผูน้ �ำ และสร้างเครือข่ายของนักศึกษาทุนฯ ในแต่ละ รุ่น โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาทุนฯ ได้แลกเปลี่ยนความรู้ และ ประสบการณ์ รวมทั้งเข้าร่วมกิจกรรม จิตอาสา และการพัฒนา ภาวะความเป็นผู้น�ำ ตลอดจนการสร้างจิตส�ำนึกในการตอบแทน ท้องถิน่ พร้อมทัง้ รวบรวมปัญหาและข้อเสนอแนะทีไ่ ด้จากผูร้ บั ทุน น�ำไปพัฒนาการด�ำเนินงานโครงการทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนา จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีประสิทธิภาพต่อไป การปัจฉิมนิเทศนักศึกษาทุนอุดมศึกษาเพือ่ การพัฒนา จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษา เนื่องจากจะ ได้รับฟังความรู้และประสบการณ์จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งใน เรื่องของการชี้แนะแนวทางการประกอบอาชีพ วิธีการสมัครงาน การสัมภาษณ์งาน การท�ำงานอย่างไรให้ประสบความส�ำเร็จ รวมถึง กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างเครือข่ายนักศึกษาทุน อุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งนักศึกษา จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ซึ่งกันและกันเพื่อเป็น เครือข่ายต่อกันในภายหน้า นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา กล่าวในตอนหนึ่งของพิธีปิดโครงการปัจฉิมนิเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่อาชีพในพื้นที่และสร้างเครือข่าย
อนุสารอุดมศึกษา
ผู้รับทุนโครงการทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดน ภาคใต้ เมือ่ วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ณ โรงแรมสีดา รีสอร์ท จังหวัด นครนายก ว่า ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในฐานะที่ เป็นหน่วยงานกลางที่มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ตอบแทน สังคมและประเทศชาติ ด้วยการเล็งเห็นว่าการลงทุนด้านการศึกษา เป็นการลงทุนที่ให้ผลประโยชน์ระยะยาวและเป็นประโยชน์ต่อ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่ นักศึกษาให้มโี อกาสศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีจนส�ำเร็จการศึกษา เพือ่ พัฒนาคุณภาพของบัณฑิตทีศ่ กึ ษาในสาขาวิชาต่างๆ ทีเ่ ป็นความ ต้องการและจ�ำเป็นในการพัฒนาประเทศต่อไป “สกอ. คาดหวังว่านักศึกษาทุกคนที่ส�ำเร็จการศึกษาไป แล้วจะได้สร้างเครือข่ายร่วมกัน ช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกัน รวมทั้ง มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อจัดกิจกรรมสาธารณะและ บ�ำเพ็ญประโยชน์เพื่อท้องถิ่นและภูมิล�ำเนาต่อไป พร้อมทั้งเชื่อว่า นักศึกษาทุกคนจะได้น�ำความรูแ้ ละประโยชน์ทไี่ ด้รบั จากการสัมมนา ในครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้ในอนาคต ขอให้นักศึกษาทุกคน จงขยัน หมั่นเพียรในการศึกษาหาความรู้อย่างสม�่ำเสมอ มีความเสียสละ มีจิตอาสาในการช่วยเหลือสังคมและส่วนรวม มีแรงบันดาลใจที่จะ น�ำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับ ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ต่อตนเองและท�ำประโยชน์คืนสู่สังคม รวมทั้งน�ำความรู้ไปพัฒนา ท้องถิ่นและภูมิล�ำเนาในอนาคต ต่ อ ไป” รองเลขาธิ ก าร กกอ. กล่าว
เกร็ดความรู้ โครงการทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นหนึ่งโครงการที่ใช้การศึกษาเป็นกลไกหลักที่ส�ำคัญ ในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการปฏิบัติงานอย่างบูรณาการ โดยให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม ในการด�ำเนินการขจัดหรือลดปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้เกิดความสงบสุข การสร้างความเข้าใจ การพัฒนาการศึกษา ในพืน้ ทีจ่ งั หวัดชายแดนภาคใต้ ให้สอดรับกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และความต้องการของผูเ้ รียน โดยให้นกั เรียน และเยาวชน ได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง เนื่องจากเหตุการณ์ไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ส่งผลกระทบให้การจัดการศึกษาและผลการศึกษาของเยาวชน ในพื้นที่ คือ ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-Net) อยู่ในระดับต�่ำ เยาวชนในพื้นที่ที่ส�ำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ ๖ หรือเทียบเท่า ต้องสอบแข่งขันเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษากับเยาวชนในภูมิภาคอื่นๆ ที่มีความพร้อมมากกว่า จึงไม่สามารถ สอบเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาได้ ซึ่งหากเยาวชนในพื้นที่เหล่านี้ไม่ได้รับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นอาจถูกชักจูงไปในทาง ที่ไม่เหมาะสมได้ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ตระหนักถึงความจ�ำเป็นที่จะใช้การศึกษาเป็นกลไกหลักที่ส�ำคัญในการ ยกระดับคุณภาพการศึกษา ของเยาวชนในพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ได้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในสถาบัน อุดมศึกษาทั่วประเทศ จึงร่วมกับศูนย์อ�ำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ทั่วประเทศ ด�ำเนินงาน โครงการทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้เยาวชนในพื้นที่เขตพัฒนา พิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ส�ำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ หรือเทียบเท่าและยังไม่มีที่เรียนได้เข้าศึกษาต่อ ระดับอุดมศึกษา เป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาส�ำหรับเยาวชนเหล่านี้ โดยขอความอนุเคราะห์สถาบันอุดมศึกษา ในสังกัดที่เข้าร่วมโครงการ ให้การสนับสนุนที่นั่งในการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีเป็นกรณีพิเศษ พร้อมให้ทุนค่าเล่าเรียนตลอด ระยะเวลาของหลักสูตร และส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาสนับสนุนทุนค่าครองชีพให้แก่นักศึกษา จนส�ำเร็จการศึกษาตาม หลักสูตร จ�ำนวนเงินคนละ ๔๐,๐๐๐-บาทต่อปีการศึกษา โดยเริ่มด�ำเนินโครงการตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๐ เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน มีผู้รับทุนจ�ำนวนทั้งสิ้น ๓,๒๘๕ คน ทั้งนี้ โครงการแบ่งเป็น ๒ ระยะ คือ ระยะที่ ๑ เริ่มด�ำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๐ สิ้นสุดโครงการเมื่อปีการศึกษา ๒๕๕๔ และระยะที่ ๒ เริ่มด�ำเนินการในการศึกษา ๒๕๕๕ สิ้นสุดโครงการในปีการศึกษา ๒๕๕๘ และในขณะนี้ สกอ. อยู่ระหว่าง การเสนอโครงการระยะที่ ๓ ซึ่งจะเริ่มด�ำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๙ สิ้นสุดโครงการในปีการศึกษา ๒๕๖๓
21
อนุสารอุดมศึกษา
เล่าเรื่อง
ด้วยภาพ
๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ - นายกฤษณพงศ์ กีรติกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ครั้งที่ ๒/๒๕๕๘ โดยมีรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน
22
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ - รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธาน เปิดการประชุมโครงการบทบาทของวิชาการศึกษาทั่วไปกับการสร้างคนไทยในยุคใหม่และบรรยายพิเศษ หัวข้อ ‘วิชาการศึกษาทั่วไป กับการพัฒนาอุดมศึกษา’ ณ ห้องประชุมราชนครินทร์ อาคาร ๑๐๐ ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวลัยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
อนุสารอุดมศึกษา
๑ ๓ กุ ม ภ า พั น ธ ์ ๒ ๕ ๕ ๘ นายสุภัทร จ�ำปาทอง รองเลขาธิการคณะ กรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานเปิด จั ด การประชุ ม วิ ช าการพิ บู ล สงครามวิ จั ย ประจ�ำปี ๒๕๕๘ ‘สองทศวรรษราชภั ฏ พิบูลสงคราม จากท้องถิ่นสู่อาเซียน’ พร้อม บรรยายพิเศษ เรื่อง ‘ทิศทางอุดมศึกษาไทย สู ่ อ าเซี ย น’ ณ ศู น ย์ วั ฒ นธรรมภาคเหนื อ ตอนล่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ส่วนวังจันทน์
23
๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ - นายสุภัทร จ�ำปาทอง รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานปิด การประชุมเชิงปฏิบตั กิ ารคณาจารย์น�ำร่องกรอบมาตรฐานคุณวุฒริ ะดับอุดมศึกษา ปี ๒๕๕๘ ครัง้ ที่ ๒ ณ โรงแรมเซ็นจูรี่
อนุสารอุดมศึกษา
ค่านิยม
๑๒ ประการ
หนึ่งรักชาติศาสนาพระมหากษัตริย์ สองซื่อสัตย์เสียสละอดทนได้ สามกตัญญูพ่อแม่สุดหัวใจ สี่มุ่งใฝ่เล่าเรียนเพียรวิชา ห้ารักษาวัฒนธรรมประจ�ำชาติ หกไม่ขาดศีลธรรมศาสนา เจ็ดเรียนรู้อธิปไตยของประชา แปดรักษาวินัยกฎหมายไทย เก้าปฏิบัติตามพระราชด�ำรัส สิบไม่ขาดพอเพียงเลี้ยงชีพได้ สิบเอ็ดต้องเข้มแข็งทั้งกายใจ สิบสองไซร้คิดอะไรให้ส่วนรวม
ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
LOGO
เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๒๖ http://www.mua.go.th pr_mua@mua.go.th www.facebook.com/ohecthailand www.twitter.com/ohec_th