อนุสารอุดมศึกษา issue 445

Page 1

อุดมศึกษา อนุสาร

LOGO

ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๔๔๕ ประจำ�เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๘

เอกสารเผยแพร่ของสำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ISSN 0125-2461

อนุสารอุดมศึกษาออนไลน์ www.mua.go.th/pr_web


สารบัญ

CONTENT

๑๘

ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๔๔๕ ประจำ�เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๘

สกอ. สานต่อความร่วมมือกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พัฒนาทักษะภาษาผู้นำ�หน่วยงานในประเทศลุ่มแม่น้ำ�โขงตอนล่าง สกอ. สนับสนุนกิจกรรมสร้างความรัก-สร้างระเบียบวินัย ในการรับน้องใหม่ ศูนย์ความเป็นเลิศ ระยะที่ ๓ เพิ่ม ๙ ศูนย์ ตั้งเป้าผลิตนักวิจัยเพิ่มกว่า ๔ พันคน สนับสนุนเครือข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ตอนล่างทำ�วิจัยช่วยแก้ปัญหาภาคใต้ ก.ก.ม.ท. ร่างข้อบังคับใหม่ เพื่อพัฒนากีฬามหาวิทยาลัยไทย ก.พ.อ. คลอดเกณฑ์ส่งเสริมอาจารย์ ทำ�งานวิจัยร่วมกับภาคอุตสาหกรรม พัฒนาเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพของคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา พัฒนานักบริหารมหาวิทยาลัยสายวิชาการระดับสูง เตรียมพร้อมทักษะภาษานักศึกษา ๑ อำ�เภอ ๑ ทุน รับประชาคมอาเซียน ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถาบันอุดมศึกษา เตรียมเก็บข้อมูลรายบุคคล ‘เด็กสาธิต’ หนึ่งทศวรรษความร่วมมือ ไทย-ฝรั่งเศส เปิดตัวโครงการ Gen A 2015 รวมพลคนรุ่นใหม่หัวใจอาสา

เรื่องเล่าอาเซียน การเคลื่อนย้ายและการประกันคุณภาพการอุดมศึกษา ในประเทศอาเซียนบวกสาม

2

๒๑

เรื่องเล่าอุดมศึกษา

เรื่องพิเศษ สร้างบัณฑิตไทย สู่ประชาคมโลก

เหตุการณ์เล่าเรื่อง Gwangju 2015

เล่าเรื่องด้วยภาพ

๑๘ ๑๙ ๒๑ ๒๓

คณะผู้จัดทำ�

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๒๖ http://www.mua.go.th pr_mua@mua.go.th www.facebook.com/ohecthailand www.twitter.com/ohec_th ที่ปรึกษา

รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ นายสุภัทร จำ�ปาทอง รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม นายขจร จิตสุขุมมงคล นายศิระวิทย์ คลี่สุวรรณ บรรณาธิการ นายกฤษณ์กร วงศ์ไทย กองบรรณาธิการ นางสาวปิยาณี วิริยานนท์ นางชุลีกร กิตติก้อง นายเจษฎา วณิชชากร นางปราณี ชื่นอารมณ์ นายจรัส เล็กเกาะทวด พิมพ์ที่ บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำ�กัด (มหาชน) โทรศัพท์ ๐ ๒๔๒๒ ๙๐๐๐ โทรสาร ๐ ๒๔๓๓ ๒๗๔๒


เรื่องเล่า

อุดมศึกษา

สกอ. สานต่อความร่วมมือ

กับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘ - รองศาสตราจารย์พนิ ติ ิ รตะนานุกลู เลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา เข้ า ร่ ว มการประชุ ม Directors General/Secretary General/Commissioner of Higher Education in Southeast Asia ครัง้ ที่ ๙ ณ นครเวียงจันทน์ สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งจัดโดยศูนย์ภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ว่าด้วยการอุดมศึกษาและการพัฒนา (SEAMEO Regional Centre for Higher Education and Development: RIHED) ร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา สปป.ลาว โดยมีอธิบดี เลขาธิการ และกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาจากกั ม พู ช า อิ น โดนี เซี ย สปป.ลาว เมียนมา มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย เข้าร่วม การประชุม การประชุมครั้งนี้ได้รับเกียรติจากรัฐมนตรีช่วยว่าการ

กระทรวงศึกษาธิการและกีฬาของ สปป.ลาว H.E. Mme Sengdeuane LACHANTHABOUNE กล่ า วเปิ ด การประชุ ม และผู ้ อ�ำนวยการ ส�ำนั ก งานเลขาธิ ก ารรั ฐ มนตรี ศึ ก ษาแห่ ง เอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ Dr. Gatot Hari Priowirjanto กล่ า วแสดงความเห็ น ในพิ ธี เปิดการประชุม รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการคณะ กรรมการการอุดมศึกษา เปิดเผยว่า ประเทศไทยโดยส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษาได้รายงานความก้าวหน้าในการด�ำเนิน โครงการพัฒนาฐานข้อมูลดัชนีการอ้างอิงวารสารในกลุ่มประเทศ อาเซียน (ASEAN Citation Index: ACI) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ ยกระดั บ คุ ณ ภาพของวารสารทางวิ ช าการของประเทศอาเซี ย น ให้ได้รับการเผยแพร่และยอมรับในระดับนานาชาติ โดยส่งเสริมให้มี การบรรจุรายชื่อวารสารทางวิชาการที่มีคุณภาพของประเทศอาเซียน ในฐานข้อมูล ACI ทั้งนี้ สกอ. จะร่วมกับศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสาร ไทย (Thai-Journal Citation Index Centre) มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะ กรรมการบริหารโครงการในวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๘ ที่กรุงเทพฯ และในการประชุมครั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการหารือเรื่องการเปิด - ปิด ภาคการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ เนื่องจากเป็นประเด็นส�ำคัญในการส่งเสริมการแลกเปลี่ยน

3

อนุสารอุดมศึกษา


4

นักศึกษาระหว่างกัน โดยขณะนี้เกือบทุกประเทศในภูมิภาคเอเชีย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ ไ ด้ ป รั บ ก�ำหนดเวลาการเปิ ด ภาคการศึ ก ษาแรก เป็นช่วงปลายเดือนกันยายน/สิงหาคม ซึ่งเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ทั่วโลกและจะช่วยอ�ำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษาแลกเปลี่ยน นอกจากนี้ ทีป่ ระชุมได้รบั ทราบความก้าวหน้าในการด�ำเนิน กิจกรรมและโครงการของศูนย์ SEAMEO RIHED และให้ความเห็น ข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนความร่วมมือให้มีความก้าวหน้าและมี การด�ำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ โครงการส�ำคัญ ได้แก่ The ASEAN International Mobility for Students (AIMS) Programme ซึ่งเป็นโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ภายใต้เงื่อนไขการถ่ายโอนหน่วยกิต ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วม โครงการ จ�ำนวน ๖๑ แห่ง ใน ๗ ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม และญี่ปุ่น นับตั้งแต่ เริ่มโครงการในปี ๒๕๕๓ ถึงปี ๒๕๕๗ มีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ กว่า ๑,๒๐๐ คน โครงการ ASEAN-China Network of Engineering and Technology Universities (ACNET-EngTech) มุ่งสร้าง ความเข้มแข็งด้านวิศวกรรมศาสตร์ระหว่างเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จ�ำนวน ๘ แห่ง และสถาบัน อุดมศึกษาของจีนที่มีชื่อเสียงด้านวิศวกรรมศาสตร์ จ�ำนวน ๙ แห่ง ทีป่ ระชุมได้รบั ทราบการริเริม่ โครงการความร่วมมือระหว่าง ศูนย์ SEAMEO RIHED กับธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) เพื่ อ พั ฒ นาอุ ด มศึ ก ษาในกลุ ่ ม ประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น�้ำโขง ได้แก่ โครงการ Greater Mekong

อนุสารอุดมศึกษา

Subregion University Consortium (GMS-UC) ซึ่ ง มุ ่ ง ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายระหว่างสถาบันอุดมศึกษาในกลุ่มประเทศ อนุภูมิภาคลุ่มแม่น�้ำโขงผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การพัฒนาการประกัน คุณภาพการศึกษาโดยใช้กลไกที่มีอยู่แล้ว ได้แก่ ASEAN Quality Assurance Network (AQAN) และ ASEAN University NetworkQuality Assurance (AUN-QA) และ โครงการ Academic Credit Transfer Framework for Asia (ACTFA) ที่มุ่งพัฒนากรอบการ ถ่ า ยโอนหน่ ว ยกิ ต ระหว่ า งสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาในเอเชี ย เพื่ อ อ�ำนวย ความสะดวกในการแลกเปลี่ ย นนั ก ศึ ก ษาระหว่ า งกั น โดยน�ำร่ อ ง การถ่ายโอนหน่วยกิตระหว่างสถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ GMS-UC จ�ำนวน ๒๒ แห่ง ในการประชุม Directors General/Secretary General/ Commissioner of Higher Education in Southeast Asia ครัง้ ต่อไป เมียนมาจะรับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในช่วงเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๙ ต่อเนื่องจากการประชุมดังกล่าว มีการประชุม Kick-Off Meetings of the GMS University Consortium and Academic Credit Transfer Framework for Asia ระหว่างวันที่ ๘ - ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ซึ่ ง ผู ้ อ�ำนวยการส�ำนั ก ยุ ท ธศาสตร์ อุ ด มศึ ก ษาต่ า งประเทศ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นผู้แทนประเทศไทยร่วม อภิปรายกับอธิบดี เลขาธิการและกรรมการการอุดมศึกษาของประเทศ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในหัวข้อ Government Roles in GMS-UC and the Development of ACTFA รายละเอียดผลการประชุม ดูเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.rihed.seameo.org


พัฒนาทักษะภาษาผู้นำ�หน่วยงาน ในประเทศลุ่มแม่น้ำ�โขงตอนล่าง

๒๕ - ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๘ - ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจ�ำ ประเทศไทย และสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดงาน โครงการประชุมสัมมนา Lower Mekong Initiative Symposium ‘A Way Forward in Lower Mekong Professional English’ ภายใต้กรอบโครงการพัฒนาทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษในการ ประชุมนานาชาติ ส�ำหรับผูน้ �ำหน่วยงานในประเทศลุม่ แม่นำ�้ โขงตอนล่าง ปีที่ ๓ (๒๕๕๗ - ๒๕๕๘) ณ โรงแรมแกรนด์ เซ็นเตอร์พอยต์ เพลินจิต โดยได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์กุลพร หิรัญบูรณะ ผูอ้ �ำนวยการสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Miss Joelle Uzarski, Regional English Language Officer และ Mr. David Hodge, Public Affairs Officer สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจ�ำประเทศไทย ร่วมเป็นประธานพิธเี ปิดโครงการฯ ทัง้ นี้ ผูเ้ ข้าร่วมโครงการฯ ประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานด้านการศึกษาจากประเทศอาเซียน ๑๐ ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย สปป.ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลปิ ปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย โดยโครงการพัฒนาทักษะในการสื่อสาร ภาษาอังกฤษในการประชุมนานาชาติ ส�ำหรับผูน้ �ำหน่วยงานในประเทศ

ลุ่มแม่น�้ำโขงตอนล่าง ประกอบด้วย ๖ เสาหลัก/สาขาวิชา ได้แก่ สาขาความเชื่อมโยงคมนาคม สาขาการศึกษา สาขาสาธารณสุข สาขา สิ่งแวดล้อมและน�้ำ สาขาเกษตรและความมั่นคงด้านอาหาร และสาขา ความมั่นคงด้านพลังงาน รองศาสตราจารย์ พิ นิ ติ รตะนานุ กู ล เลขาธิ ก ารคณะ กรรมการการอุดมศึกษา กล่าวในพิธีเปิดโครงการฯ ว่า การพัฒนา ทักษะภาษาอังกฤษเป็นสิ่งที่ส�ำคัญในการเตรียมความพร้อมสู่การ รวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน เพือ่ ใช้สอื่ สารระหว่างกันในกลุม่ ประเทศ สมาชิกอาเซียน รวมทัง้ ประเทศอืน่ ๆ ในขณะทีร่ ฐั บาลของแต่ละประเทศ เร่งพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนเพื่อ พัฒนาแรงงานในอนาคต การพัฒนาภาษาอังกฤษส�ำหรับนักวิชาชีพ ในปัจจุบันก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม การสอนภาษาอังกฤษส�ำหรับ นักวิชาชีพเพื่อให้สามารถท�ำงาน แบ่งปันข้อมูลและประสบการณ์ ร่วมกับนักวิชาชีพเดียวกันในภูมิภาคจึงเป็นสิ่งส�ำคัญ การอบรมครู หรือการพัฒนาวิชาชีพจะช่วยสร้างความยั่งยืน ภายใต้โครงการพัฒนา ทักษะในการสือ่ สารภาษาอังกฤษในการประชุมนานาชาติ ส�ำหรับผูน้ �ำ หน่วยงานในประเทศลุ่มแม่น�้ำโขงตอนล่างถือว่าเป็นตัวอย่างหนึ่งของ การพัฒนาภาษาอังกฤษอย่างยั่งยืนในภูมิภาค

5

อนุสารอุดมศึกษา


สกอ. สนับสนุนกิจกรรม สร้างความรัก-สร้างระเบียบวินัย ในการรับน้องใหม่ ๒๓ มิ ถุ น ายน ๒๕๕๘ - ส�ำนั ก งานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา จัดการประชุมชี้แจงนโยบาย เรื่อง การจัดกิจกรรม ต้อนรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ในสถาบันอุดมศึกษา ณ โรงแรมเอเชีย เพื่ อ เปิ ด โอกาสให้ มี ก ารพบปะแลกเปลี่ ย นความคิ ด เห็ น ระหว่ า ง ผูบ้ ริหาร บุคลากรทีเ่ กีย่ วข้องและนิสติ นักศึกษา ในการแก้ปญ ั หาการ จัดกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่และการประชุมเชียร์ในสถาบันอุดมศึกษา โดยได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานเปิดการประชุมและมอบ นโยบาย เรื่อง การจัดกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ ในสถาบันอุดมศึกษา รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการคณะ 6 กรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือร่วม กับรองอธิการบดีของมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อจัดท�ำหลักสูตรการจัด กิจกรรมเตรียมความพร้อมส�ำหรับนักศึกษา ชั้นปีที่ ๑ ในช่วงก่อน เปิดภาคเรียนที่ ๑ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มใช้ในปีการศึกษา ๒๕๕๙ ทั้งนี้ หลักสูตรดังกล่าวจะแบ่งเป็นหลักสูตรแกนกลาง ทีจ่ ะก�ำหนดกิจกรรม หลักๆ ในการสร้างสมรรถนะให้แก่เด็กรุ่นใหม่ เพื่อให้มหาวิทยาลัย ด�ำเนินการ และอีกส่วนจะเปิดให้มหาวิทยาลัยจัดกิจกรรมทีส่ อดคล้อง กับบริบทของมหาวิทยาลัย โดยมุง่ เน้นสมรรถนะในด้านต่างๆ ได้แก่ (๑) สมรรถนะทางด้านภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ภาษาเพือ่ นบ้าน และภาษาไทย (๒) สมรรถนะด้านการปรับตัวให้เข้ากับสังคมใหม่ และ (๓) สมรรถนะด้านความเป็นผู้น�ำ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ซึง่ เรือ่ งเหล่านีจ้ ะถูกบรรจุอยูใ่ นหลักสูตรที่ สกอ.จะจัดท�ำขึน้ แต่ในปีนี้ อยากให้น�ำสมรรถนะต่างๆ เหล่านี้มาหลอมรวมในกิจกรรมต้อนรับ น้องใหม่ และประชุมเชียร์ดว้ ยในลักษณะของกิจกรรมทีป่ ฏิบตั ิ ไม่ใช่ การเชิญวิทยากรมาพูดให้เด็กฟัง เลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ศึกษาธิการ มีความเป็นห่วงในเรือ่ งนีม้ าก ได้สงั่ ให้เร่งทบทวนมาตรการ การจัดกิจกรรมรับน้องและนักเรียนนักศึกษาในสถาบันการศึกษา ต่างๆ และมาตรการติดตาม ควบคุม การลักลอบการจัดกิจกรรม รับน้องทัง้ ภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา ให้เป็นไปในแนวทาง ทีส่ ร้างสรรค์ ปลอดภัย ปราศจากการใช้ความรุนแรง การละเมิดและ คุกคามทางเพศ รวมทัง้ ไม่ขดั ต่อหลักศีลธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี อนุสารอุดมศึกษา

อันดีงาม และเป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชน โดยให้มผี ลบังคับใช้ ให้ทกุ สถาบันการศึกษายึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติอย่างเคร่งครัด โดยในปีนี้ สกอ. ได้ก�ำหนดนโยบาย '๔ ต้อง' และมาตรการในการจัดกิจกรรม ต้อนรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้ สถาบันอุดมศึกษาใช้เป็นแนวทางในการควบคุมดูแลการจัดกิจกรรมใน สถาบันอุดมศึกษา คือ (๑) ต้องมุ่งเสริมสร้างกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ และก่อให้เกิดภาพลักษณ์เชิงบวกแก่สาธารณชน (๒) ต้องเคารพ สิทธิ เสรีภาพและหลักความเสมอภาค ไม่มีความรุนแรงและห้าม ล่วงละเมิดสิทธิสว่ นบุคคลทัง้ ทางร่างกายและหรือจิตใจ ไม่ดมื่ สุราและ เสพสิ่งมึนเมาทุกชนิด (๓) ต้องไม่กระทบต่อการเรียนการสอน และ (๔) ต้องอยู่ในความรับผิดชอบ ก�ำกับ ดูแลของผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรทุกคณะ/ภาควิชา และนิสิตนักศึกษารุ่นพี่ รวมถึงต้องให้ ค�ำปรึกษาในการจัดกิจกรรมให้มลี กั ษณะสร้างสรรค์ ไม่ขดั ต่อระเบียบ สถาบัน กฎหมาย วัฒนธรรม ประเพณีและมารยาททางสังคมทีด่ งี าม “นอกจากนี้ยังได้ก�ำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาเปิดเผย รูปแบบกิจกรรม เพื่อสร้างความเข้าใจกับนิสิตนักศึกษา บุคลากร ผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไป โดยให้นิสิตนักศึกษาใหม่เข้าร่วม กิจกรรมด้วยความสมัครใจ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองเข้ามา สังเกตการณ์การจัดกิจกรรมได้ ทั้งนี้ กิจกรรมการรับน้องที่ สกอ. แนะน�ำและสนับสนุนให้เกิดขึ้น อาทิ กิจกรรมเสริมสร้างความรัก ความสามัคคี หล่อหลอมความภาคภูมิใจ กิจกรรมสร้างระเบียบ วินัย กิจกรรมช่วยเหลือแนะน�ำการเรียนและการใช้ชีวิต ทั้งนี้ ให้ สถาบันอุดมศึกษามีบทลงโทษทางวินยั อย่างเข้มงวดกับนิสติ นักศึกษา รวมถึงผู้รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรมที่ขัดต่อหลัก สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน หลักความเสมอภาค และกฎ ระเบียบ ข้ อ บั ง คั บ ของสถาบั น โดยให้ อ อกกฎ ระเบี ย บ ข้ อ บั ง คั บ หรื อ หลั ก เกณฑ์ แ ละมาตรการในการจั ด กิ จ กรรมให้ ส อดคล้ อ งกั บ แนวนโยบายของ สกอ. ตลอดจนจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังผ่านสื่อต่างๆ เพือ่ ติดตาม แลกเปลีย่ นเรียนรู้ แก้ไขปัญหา และประสานกับสือ่ มวลชน และผู้ปกครอง และขอให้ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาแต่ละสถาบัน ถือเป็นหน้าทีแ่ ละความรับผิดชอบในการด�ำเนินการตามนโยบายและ มาตรการข้างต้นอย่างเคร่งครัด” เลขาธิการ กกอ. กล่าวในตอนท้าย


ศูนย์ความเป็นเลิศ ระยะที่ ๓ เพิ่ม ๙ ศูนย์ ตั้งเป้าผลิตนักวิจัยเพิ่มกว่า ๔ พันคน รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการคณะ กรรมการการอุ ด มศึ ก ษา เปิ ด เผยถึ ง แผนการพั ฒ นานั ก วิ จั ย ของ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ว่า ขณะนีส้ �ำนักพัฒนาบัณฑิต ศึกษาและวิจยั ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ สบว. ซึง่ บริหาร จัดการศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการพัฒนา ประเทศ (Centre of Excellence, CoE) ในด้านต่างๆ ๑๑ ศูนย์ คือ ด้านนวัตกรรมทางเคมี ด้านอนามัยสิง่ แวดล้อมและพิษวิทยา ด้านการ จัดการสารและของเสียอันตราย ด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ด้านเทคโนโลยีพลังงานและสิง่ แวดล้อม ด้านเทคโนโลยีชวี ภาพเกษตร ด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ด้านคณิตศาสตร์ ด้าน ฟิสกิ ส์ ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และด้านเทคโนโลยีชวี ภาพ ทางการแพทย์ ด�ำเนินงานในรูปแบบ 'ภาคีสถาบันอุดมศึกษา/วิจยั เพือ่ การวิจยั ' ในปัจจุบนั มีสถาบันอุดมศึกษา/วิจยั เข้าร่วมด�ำเนินการกับ ศูนย์ความเป็นเลิศทัง้ ๑๑ ศูนย์ จ�ำนวน ๒๓ สถาบัน ประกอบด้วย ๕๑ หน่วยปฏิบัติการวิจัยหลัก (Core Research Unit: CRU) มีคณาจารย์/นักวิจยั จากสถาบัน อุดมศึกษา/วิจยั เข้าร่วมด�ำเนินการ ๑,๐๘๖ คน มีจ�ำนวนห้องปฏิบตั กิ ารวิจยั (Research Lab) รวม ๑๖๓ ห้องปฏิบตั กิ าร “ทัง้ นี้ เมือ่ วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๗ คณะรัฐมนตรีได้เห็น ชอบแผนพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระยะที่ ๓ (๒๕๕๙ - ๒๕๖๓) ของศูนย์ความเป็นเลิศ ๑๑ ศูนย์ พร้อม ทั้งยังมีการเตรียมการจัดตั้งศูนย์วิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพิ่มขึ้นอีกจ�ำนวน ๙ ศูนย์ ในด้านต่างๆ คือ ด้านการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมอิ ากาศ ด้านพิบตั ภิ ยั ด้านการพัฒนาและการบริหารจัดการ ทรัพยากรทางน�ำ้ ด้านเทคโนโลยีทางอาหาร ด้านเทคโนโลยีออโตเมชัน่ และหุน่ ยนต์ ด้านเทคโนโลยีการผลิตทางอุตสาหกรรม ด้านเทคโนโลยี ระบบราง ด้านเทคโนโลยียานยนต์ใหม่ และด้านเทคโนโลยีน�ำกลับมา ใช้ โดยการด�ำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศทัง้ หมด อยูภ่ ายใต้กรอบ ยุทธศาสตร์หลักในการสร้างชาติ ๔ ด้าน คือ ด้านความมัน่ คงของมนุษย์

และสิ่งแวดล้อม ด้านความมั่นคงทางอาหาร ด้านความมั่นคงทาง พลังงาน และด้านการเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรม ซึ่งกระบวนการวิจัย ของศูนย์ความเป็นเลิศ จะด�ำเนินการอย่างใกล้ชดิ ร่วมกับภาคการผลิต ทั้งอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม และภาคบริการ ทั้งธุรกิจเอกชน และหน่วยงานของรัฐ ในบริบทของหุน้ ส่วนไตรภาคี (Public-Private Partnership, PPP)” เลขาธิการ กกอ. กล่าว เลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า โครงการพัฒนาศูนย์ ความเป็นเลิศ ระยะที่ ๓ ได้ก�ำหนดเป้าหมายทีจ่ ะผลิตนักวิจยั ระดับ ต่าง ๆ ดังนี้ นักวิจยั ระดับอาวุโสและผูน้ �ำการวิจยั จ�ำนวน ๔๐๕ คน นักวิจัยระดับปริญญาเอก จ�ำนวน ๑,๒๙๐ คน และนักวิจัยระดับ ปริญญาโท จ�ำนวน ๒,๖๒๐ คน โดยมีเป้าหมายจ�ำนวนทั้งสิ้น ๒๒๐ โปรแกรมวิจยั ประกอบด้วย ๑,๑๐๐ โครงการวิจยั เพือ่ ผลิต ทรัพย์สนิ ทางปัญญา (Intellectual Property : IP) จ�ำนวน ๑๒๕ ชิ้นงาน ผลิตภัณฑ์ใหม่และเทคโนโลยี (Products/Technology) จ�ำนวน ๑๑๐ ชิน้ งาน และด�ำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีดา้ นกิจการ ต่างๆ (Technology Transfer/Services) ๑,๑๘๕ โครงการและ องค์ความรู้ (Knowledge Creation) จ�ำนวน ๔,๓๐๐ ชิน้ งาน นอกจากนี้ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ ยังมีพันธกิจเพิ่ม ในการพัฒนาครูผู้สอนวิชาฟิสิกส์และคณิตศาสตร์โดยการฝึกอบรม รวมทัง้ สิน้ ๗๕๐ คน ซึง่ เดิมมีจ�ำนวนทีอ่ ยูใ่ นสภาวะวิกฤต “ในการสร้างอนาคตของชาติทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมนั้น การพัฒนานักวิจัยระดับสูงเพื่อไป ผลิตผลงานวิจัยตอบโจทย์ของประเทศเป็นปัจจัยที่มีความส�ำคัญยิ่ง พันธกิจในการสร้าง/ผลิตนักวิจัยที่มีความรู้ความสามารถระดับสูง (Technical Competency) มีทกั ษะด้านการวิจยั (Research Skill) มีความรอบรูเ้ ท่าทันโลก (Global Competency) และมีทกั ษะด้าน ภาษาต่างประเทศนั้น ถือได้ว่าเป็นประเด็นเชิงคุณภาพของนักวิจัย ทีส่ �ำคัญยิง่ พอๆ กับ เรือ่ งจ�ำนวนนักวิจยั ทีค่ วรมีจ�ำนวนมากพอทีจ่ ะ ท�ำให้เกิด Critical Mass ในการปฏิบตั งิ าน” เลขาธิการ กกอ. กล่าว

7

อนุสารอุดมศึกษา


สนับสนุนเครือข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ตอนล่าง ทำ�วิจัยช่วยแก้ปัญหาภาคใต้

8

รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการคณะ กรรมการการอุดมศึกษา เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการการ อุดมศึกษาสัญจร ครัง้ ที่ ๕ ภาคใต้ตอนล่าง ทีผ่ า่ นมา คณะกรรมการ การอุดมศึกษา ผูบ้ ริหารของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และอธิการบดี/ผู้แทนสถาบันสมาชิกเครือข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ ตอนล่าง จ�ำนวน ๑๔ แห่ง ได้มโี อกาสเสวนาเรือ่ ง ‘บทบาทสถาบัน อุดมศึกษากับการพัฒนาภาคใต้’ ร่วมกับศาสตราจารย์วีระศักดิ์ จงสูว่ วิ ฒ ั น์วงศ์ กรรมการผูท้ รงคุณวุฒิ ศาสตราจารย์รตั ติยา สาและ ศาสตราจารย์อ�ำนวย ยัสโยธา ศาสตราจารย์ครองชัย หัตถา และ ศาสตราจารย์อารี วิบลู ย์พงศ์ ซึง่ เป็นนักวิชาการอาวุโสด้านสังคมศาสตร์ ของประเทศ ใน ๒ ประเด็น คือ การพัฒนาก�ำลังคนภาควิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาภาคใต้ และชุดวิจัยทางสังคมศาสตร์ ทีม่ ผี ลกระทบต่อภาคใต้ เลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า การเสวนาทัง้ ๒ ประเด็น เป็นการยกระดับการท�ำงานของเครือข่ายอุดมศึกษาในพื้นที่ให้มี ผลกระทบ (Impact) ต่อการแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่จังหวัด ชายแดนภาคใต้ และส่งผลกระทบทีส่ �ำคัญต่อประเทศ ซึง่ จะสร้างความ ภาคภูมิใจให้กับสถาบันอุดมศึกษา โดยมีนักวิชาการระดับมันสมอง ของประเทศ ทั้งในด้านคติชนวิทยา ด้านภูมิศาสตร์ ด้านภาษาและ วัฒนธรรม ด้านเศรษฐศาสตร์ และด้านวิทยาศาสตร์สขุ ภาพ มาช่วย อนุสารอุดมศึกษา

ก�ำหนดโจทย์วจิ ยั และสร้างเครือข่ายนักวิจยั รุน่ ใหม่มาช่วยท�ำงานเพือ่ ประเทศชาติ โดยมีฐานความคิดว่าการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาภาค ใต้ในปัจจุบนั องค์ความรูเ้ กีย่ วกับสังคมและมนุษย์เป็นสิง่ ส�ำคัญทีส่ ดุ ใน การอยูร่ ว่ มกันของมนุษย์ “ในการเสวนาได้มกี ารน�ำเสนอให้มกี ารสร้างชุดวิจยั เพือ่ น�ำ องค์ความรูไ้ ปแก้ไขปัญหาภาคใต้ ให้เป็นภารกิจทีส่ �ำคัญของอุดมศึกษา เพือ่ ให้รจู้ กั ตัวตนของภาคใต้อย่างแท้จริง ตัวตนทางภูมศิ าสตร์ ตัวตน ทางวัฒนธรรม การอนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การจัดการความขัดแย้ง และการปรับสภาพความคิดในการอยู่ร่วมกัน โดยมีมิติทางด้าน เศรษฐกิจ มิตทิ างด้านสุขภาวะ เข้ามาช่วยให้สงั คมมีความสุข มีความ เป็นอยู่ดี ซึ่งต้องมีการวิจัยและพัฒนาก�ำลังคนทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีเข้ามาช่วยด้วย และอีก ๑ ประเด็นทีน่ า่ สนใจ คือ ได้มกี าร น�ำเสนอประเด็นทีเ่ กีย่ วกับการน�ำภาษา วัฒนธรรม รวมถึงวรรณกรรมที่ มีเรือ่ งราวประวัตศิ าสตร์เกีย่ วกับการอยูร่ ว่ มกันของไทย - มลายู ในอดีต มาเป็นแก่นสร้างสะพาน สมานฉันท์ และความเข้าใจของคนในพื้นที่ ภาคใต้นอกจากนี้ ทีป่ ระชุมยังมีแนวคิดสนับสนุนให้สถาบันทักษิณคดี ศึกษาเป็นศูนย์ความรูแ้ ห่งชาติ เพือ่ สร้างผูร้ แู้ ละองค์ความรู้ เผยแพร่ องค์ความรูต้ า่ งๆ เกีย่ วกับภาคใต้ รวมทัง้ เป็นแหล่งรวมนักคิด นักปราชญ์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่จะมีกิจกรรมร่วมกันเพื่อสร้างสรรค์ งานวิชาการต่างๆ” เลขาธิการ กกอ. กล่าว


ก.ก.ม.ท. ร่างข้อบังคับใหม่ เพื่อพัฒนากีฬามหาวิทยาลัยไทย รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการคณะ กรรมการการอุดมศึกษา เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะกรรมการ อ�ำนวยการกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๓/๒๕๕๘ ว่า ที่ประชุมเห็นชอบร่างข้อบังคับคณะกรรมการกีฬามหาวิทยาลัยแห่ง ประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยมอบหมายให้ส�ำนักนิตกิ าร ส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษาด�ำเนินการปรับปรุงข้อความและรูปแบบ ให้ถกู ต้อง พร้อมทัง้ มอบหมายให้ฝา่ ยเลขานุการด�ำเนินการเวียนแจ้ง คณะกรรมการเพือ่ ทราบต่อไป โดยทีป่ ระชุมได้พจิ ารณาให้มกี ารระบุ หมายเหตุเพื่อแสดงเจตนารมณ์ของการเป็นผู้แทนสถาบันสมาชิกว่า ควรเป็นระดับของผูบ้ ริหารมากกว่าเป็นผูป้ ฏิบตั กิ าร เพือ่ ท�ำให้การขับ เคลือ่ นการพัฒนากีฬาระดับอุดมศึกษาเป็นรูปธรรมมากยิง่ ขึน้ พร้อม ทัง้ เปิดโอกาสให้สถาบันอุดมศึกษาทีผ่ ลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีขนึ้ ไปในสังกัดอื่นๆ นอกเหนือจากในสังกัดหรือในก�ำกับของส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา สามารถสมัครเป็นสมาชิกของ ก.ก.ม.ท. ได้ นอกจากนี้ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการสนับสนุนการพัฒนา กีฬามหาวิทยาลัยอย่างเป็นรูปธรรม กรรมการโดยต�ำแหน่งหรือผูท้ รง คุณวุฒิ ควรจะเน้นในเรือ่ งสิทธิประโยชน์ให้มากขึน้ “เนื่องจากภาระงานของ ก.ก.ม.ท. จะต้องมีการขยาย ตัวอย่างมากในอนาคตเพื่อรองรับสมาชิกที่เพิ่มขึ้น จึงมีการปรับ อนุกรรมการฝ่ายต่างๆ เพื่อให้ครอบคลุมตามภารกิจที่เพิ่มขึ้น ทั้ง การพัฒนากีฬาเพื่อความเป็นเลิศ และกีฬาเพื่อส่งเสริมสุขภาพและ

นันทนาการ โดยให้โครงสร้างทัง้ สองฝ่ายมีการระบุฝา่ ยเทคนิคกีฬา ไว้ในภาระงาน ในส่วนของฝ่ายการแพทย์ ให้เพิม่ ฝ่ายตรวจสารต้อง ห้ามเป็นอนุกรรมการในล�ำดับที่ ๖ เนื่องจากการใช้สารต้องห้าม ในนักกีฬา ถือเป็นความผิดตามกฎหมาย ดังนัน้ ฝ่ายตรวจสารต้อง ห้ามจึงมีหน้าทีส่ �ำคัญในการตรวจสอบการใช้สารต้องห้ามในนักกีฬา ตามกฎหมาย โดยเฉพาะระหว่างการฝึกซ้อมและแข่งขันด้วย” เลขาธิการ กกอ. กล่าว เลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า ส�ำหรับอ�ำนาจในการอนุมตั ิ สัง่ จ่ายของประธานกรรมการบริหารไม่เกินครัง้ ละ ๔๐๐,๐๐๐ บาท นัน้ ทีป่ ระชุมเห็นควรเป็นการอนุมตั สิ งั่ จ่ายได้ในกรณีทโี่ ครงการหรือ กิจกรรมทีไ่ ด้รบั ความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารฯ ตามแผน งานแล้ว หากใช้งบประมาณเกินกว่าแผนงานทีข่ ออนุมตั ไิ ว้ หรือหาก มีกิจกรรมอื่นๆ นอกเหนือจากแผนงานที่ได้รับอนุมัติไว้ ให้เสนอ ทีป่ ระชุมคณะกรรมการกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยพิจารณา “ทั้งนี้ จะได้เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แต่งตั้ งประธานกรรมการบริ หารเข้า มาบริ หารงานไปก่อ นตาม บทเฉพาะกาล โดยให้มีวาระการด�ำรงต�ำแหน่ง ๓ ปี และการโอน ทรัพย์สนิ การเงินของข้อบังคับเดิม ให้มาเป็นทรัพย์สนิ การเงินของ ก.ก.ม.ท. ตามข้อบังคับใหม่นนั้ ต้องจัดท�ำบัญชีโอนทรัพย์สนิ การเงิน ให้ชดั เจนเพือ่ แนบไปพร้อมกับร่างข้อบังคับทีเ่ สนอให้รฐั มนตรีวา่ การ กระทรวงศึกษาธิการลงนาม” เลขาธิการ กกอ. กล่าว

9

อนุสารอุดมศึกษา


ก.พ.อ. คลอดเกณฑ์ส่งเสริมอาจารย์ ทำ�งานวิจัยร่วมกับภาคอุตสาหกรรม

10

รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการคณะ กรรมการการอุ ด มศึ ก ษา กล่ า วว่ า รั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวง ศึกษาธิการได้ลงนามในประกาศคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) เรือ่ ง มาตรฐานภาระงานทางวิชาการ ของผู้ด�ำรงต�ำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ.๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๘ โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของผู้ด�ำรงต�ำแหน่งทาง วิชาการให้สอดคล้องกับนโยบายการผลักดันด้านการวิจัยและการ ส่งเสริมบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมจาก สถาบันอุดมศึกษาและสถาบันวิจัยของภาครัฐ ไปปฏิบัติงานเพื่อ เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในภาคเอกชน (Talent Mobility) ของรัฐบาล อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาขีดความสามารถของ บุคลากรและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ตลอด จนใช้ความรู้ ทักษะและประสบการณ์ที่ได้รับ น�ำมาถ่ายทอดให้

อนุสารอุดมศึกษา

แก่นิสิต นักศึกษา เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ในการรองรับต่อการ พัฒนาประเทศต่อไป “ทั้งนี้ ในประกาศฯ จะมีการก�ำหนดนิยามภาระงาน ของคณาจารย์ประเภทต่างๆ ได้แก่ ภาระงานสอน ภาระงานวิจัย และงานวิชาการอื่นๆ ภาระงานบริการวิชาการ ภาระงานท�ำนุบ�ำรุง ศิ ล ปวั ฒ นธรรม และภาระงานอื่ น ๆ ที่ ส อดคล้ อ งกั บพันธกิจของ สถาบันอุดมศึกษา ให้ครอบคลุมถึงภาระงานต่างๆ อย่างชัดเจนและ มีความยืดหยุ่นมากขึ้น และมอบอ�ำนาจให้สภาสถาบันอุดมศึกษา เป็นผู้ก�ำหนดรายละเอียดต่างๆ รวมถึงก�ำหนดสัดส่วนภาระงานด้าน ใดด้านหนึ่ง หรือหลายด้านให้สอดคล้องกับพันธกิจของแต่ละสถาบัน อุดมศึกษา รวมถึงก�ำหนดผลงานทางวิชาการ โดยค�ำนึงถึงความ เป็นเลิศทางวิชาการ และความเป็นที่ยอมรับในระดับท้องถิ่น ระดับ ชาติ หรือระดับนานาชาติ ให้สอดคล้องกับพันธกิจของแต่ละสถาบัน อุดมศึกษา” เลขาธิการ กกอ. กล่าว


พัฒนาเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ ของคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา

๖ กรกฎาคม ๒๕๕๘ - ส�ำนั ก งานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ร่วมกับสหภาพยุโรป จัดการประชุมเชิงปฏิบัติ การ เรื่อง ‘Professional Competencies & Qualification Frameworks - Policy Guideline for Career Advancement’ โดยได้รับเกียรติจาก นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา เป็ น ประธานเปิดการประชุม และนายปีเตอร์ เดเบรซเซนี ผู้เชี่ยวชาญจากอียู เข้าร่วม ณ โรงแรมปทุมวัน ปริน๊ เซส นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รอง เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า คณาจารย์เป็นทรัพยากรบุคคลที่ มีคณ ุ ค่ายิง่ ของสถาบันอุดมศึกษาและของ ประเทศ เนื่องจากเป็นทั้งผู้ถ่ายทอดความรู้เพื่อผลิตก�ำลังคนระดับ สูง เป็นทัง้ ผูผ้ ลิตองค์ความรูแ้ ละนวัตกรรม ตลอดจนเป็นผูช้ นี้ �ำสังคม ไปสู่วิถีทางแห่งการพัฒนาในระดับที่สูงขึ้น การพัฒนาเส้นทางแห่ง ความก้าวหน้าในอาชีพของคณาจารย์จึงเป็นปัจจัยส�ำคัญที่ช่วยขับ เคลื่อนคณาจารย์ให้ท�ำงานเพื่อสังคมและประเทศชาติได้อย่างเต็ม สติก�ำลังและความสามารถ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสถาบันอุดมศึกษาจึงควรร่วมกันพัฒนาเส้นทางความก้าวหน้า ในวิชาชีพให้คณาจารย์

“ปัจจุบนั เส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพของคณาจารย์ของ ไทย เริม่ ต้นจากต�ำแหน่งอาจารย์ และเข้าสูต่ �ำแหน่งผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ตามล�ำดับ ซึ่งอาจารย์จะต้อง ขอรับการประเมินการสอนและยื่นผลงานทางวิชาการเพื่อเสนอขอ ต�ำแหน่งทางวิชาการ ตามหลักเกณฑ์และวิธกี ารตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้ง บุคคลให้ด�ำรงต�ำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์รอง ศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ และหรือ ข้อ บังคับของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งซึ่งอาจ จะมีความเหมือนหรือแตกต่างกับความก้าวหน้า ในอาชีพของคณาจารย์ในประเทศอื่น ๆ โดย เฉพาะประเทศในสหภาพยุโรป สกอ. จึงเห็นเป็น โอกาสอันดีที่สหภาพยุโรปได้ส่งผู้เชี่ยวชาญที่มี ความรูแ้ ละประสบการณ์ในการพัฒนาเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ ของคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา มาแลกเปลีย่ นความรูแ้ ละถ่ายทอด ประสบการณ์เกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติที่ดีสู่ความเป็นเลิศของการ พัฒนาเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ ระหว่างคณาจารย์ในสถาบัน อุดมศึกษาของประเทศไทยและสหภาพยุโรป รวมถึงจัดท�ำข้อเสนอ เชิงนโยบายในการพัฒนาเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพของคณาจารย์ ในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งจะน�ำไปสู่แนวทางการพัฒนาเส้นทางความ ก้าวหน้าในอาชีพของคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย ในอนาคตต่อไป” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว

11

อนุสารอุดมศึกษา


พัฒนานักบริหารมหาวิทยาลัย สายวิชาการระดับสูง

12

๖ กรกฎาคม ๒๕๕๘ - ส�ำนั ก งานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา จัดการฝึกอบรม ‘หลักสูตรการพัฒนานักบริหาร มหาวิทยาลัย สายวิชาการระดับสูง (นบม.)’ รุ่นที่ ๒๖ ณ โรงแรม ปทุมวัน ปริ๊นเซส มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างวิสัยทัศน์ ความรู้ และทักษะการบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษา ตลอดจนการ พัฒนาเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างผูบ้ ริหารระดับสูงของสถาบัน อุดมศึกษาต่างๆ ทัง้ ในและต่างประเทศ โดยได้รบั เกียรติจากนางสาว อาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานเปิดการฝึกอบรม นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา กล่าวว่า สถาบันอุดมศึกษาเป็นองค์กรที่มีบทบาท และภารกิจที่ส�ำคัญต่อการพัฒนาประเทศ เป็นเสมือนคลังแห่ง ความรู้ คลังแห่งพลังสมอง และคลังแห่งผู้รู้ผู้เล่นในสรรพวิทยาการ ต่างๆ และเป็นส่วนส�ำคัญในการผลิตทรัพยากรบุคคลและองค์ ความรูเ้ พือ่ เป็นปัจจัยสนับสนุนการแข่งขันให้แก่ประเทศในเวทีโลก ในสภาวการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต สถาบันอุดมศึกษา จะต้องเผชิญกับปัจจัยหลายประการที่ส่งผลกระทบต่อการด�ำเนิน ภารกิจ ทัง้ ข้อจ�ำกัดทางด้านงบประมาณ ข้อจ�ำกัดทางด้านก�ำลังคน กระแสการแข่งขันที่รุนแรง กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกและ ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งการขยายตัว ของจ�ำนวนนิสิตนักศึกษาภายในสถาบัน ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ส่งผล

อนุสารอุดมศึกษา

ต่อการด�ำเนินภารกิจของสถาบันอุดมศึกษา ซึง่ เป็นเรือ่ งทีท่ า้ ทายและ ส�ำคัญยิ่งในการบริหารจัดการของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา รองเลขาธิ ก าร กกอ. กล่ า วต่ อ ว่ า ผู ้ บ ริ ห ารสถาบั น อุดมศึกษาจะต้องเผชิญกับโจทย์และปัญหาใหม่ๆ ในการบริหาร สถาบันอุดมศึกษามากขึ้น ต้องเผชิญกับปัญหาเดิมที่สะสมมาแต่ใน อดีต ซึง่ มีขนาดของปัญหาใหญ่มากขึน้ ลักษณะปัญหามีความซับซ้อน มากขึ้น และเกี่ยวข้องกับตัวแปรจ�ำนวนมาก ประกอบกับจะต้องปรับ การด�ำเนินภารกิจให้เข้ากับสังคมฐานความรู้ ดังนัน้ การบริหารสถาบัน อุดมศึกษาในอนาคต จ�ำเป็นต้องได้ผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ มีวิธีคิดและ ทักษะการบริหารจัดการในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อก่อให้เกิดสัมฤทธิผลใน การด�ำเนินภารกิจของสถาบันอุดมศึกษาทีเ่ อือ้ ประโยชน์ตอ่ การพัฒนา ประเทศและเป็นที่พึ่งแก่สังคมได้ สกอ. ให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาประสิทธิภาพการ ด�ำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยเชื่อมั่นว่าจะเป็น ส่วนส�ำคัญในการสนับสนุนการด�ำเนินภารกิจของสถาบันอุดมศึกษา ให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก การจัดการฝึกอบรมหลักสูตรนี้ จะเป็น ประโยชน์ในการบริหารสถาบันอุดมศึกษายุคใหม่ สร้างเครือข่ายความ ร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษา รวมทั้งการพัฒนาผู้บริหารสถาบัน อุดมศึกษาและสร้างความเข้มแข็งแก่สังคมอุดมศึกษาต่อไป รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว


เตรียมพร้อมทักษะภาษา นักศึกษา ๑ อำ�เภอ ๑ ทุน รับประชาคมอาเซียน ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๘ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา จัดการฝึกอบรมโครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคม อาเซียนของผูร้ บั ทุนโครงการ ๑ อ�ำเภอ ๑ ทุน ทีศ่ กึ ษาต่อในประเทศ โดยได้รับเกียรติจากนางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะ กรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานในพิธเี ปิด ณ ห้องราชมณเฑียร แกรนด์ โรงแรมมณเฑียร นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา กล่าวว่า ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ให้ ค วามส�ำคั ญ กั บ การเตรี ย มความพร้ อ มให้ นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา เมื่ อ ส�ำเร็ จ การศึ ก ษาเป็ น บั ณ ฑิ ต แล้ ว มี คุ ณ ภาพมาตรฐานในระดั บ สากล โดยบัณฑิตไทยจะต้องพัฒนาสมรรถนะด้านการใช้ภาษา อังกฤษให้อยู่ในระดับที่ใช้ในการท�ำงานได้ และพัฒนา สมรรถนะด้านการประกอบวิชาชีพและการท�ำงาน ข้ามวัฒนธรรมได้ ดังนัน้ นิสติ นักศึกษาจะต้องมี ความเก่งทั้งเรื่องของทักษะชีวิต และการท�ำงาน ทักษะทางด้าน ภาษาของประเทศเพื่อนบ้าน ในอาเซียน และที่ส�ำคัญที่สุด คื อ การพั ฒ นาทั ก ษะภาษา อังกฤษเพื่อการท�ำงานและการ ติดต่อสือ่ สารกับประเทศสมาชิก ประชาคมอาเซี ย นได้ อ ย่ า ง

ถูกต้อง รวมไปถึงการพัฒนาทักษะความสามารถทางด้านเทคโนโลยี ต้องมีความรู้ความสามารถที่เป็นสากล มีความรู้เกี่ยวกับประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน รวมถึงต้องเรียนรูค้ วามเป็นอัตลักษณ์ วิถชี วี ติ และ วัฒนธรรมของประเทศเราและประเทศเพือ่ นบ้านในอาเซียนด้วย เพือ่ ทีจ่ ะสามารถอยูร่ ว่ มกับประเทศในอาเซียนได้อย่างมีศกั ดิศ์ รี รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า การฝึกอบรมครัง้ นีเ้ ป็น ความร่วมมือในการด�ำเนินโครงการร่วมกันระหว่าง สกอ. กับสถาบัน ภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และส�ำนักงานเลขานุการเครือข่าย มหาวิทยาลัยอาเซียน ซึ่งมีนักเรียนทุนโครงการ ๑ อ�ำเภอ ๑ ทุน เข้าร่วมโครงการจ�ำนวน ๑๖๗ คน มีการด�ำเนินการฝึกอบรมเป็น ๒ โครงการ คือ โครงการค่ายภาษาอังกฤษ (English Camp) ด�ำเนินการ โดยสถาบั น ภาษา จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย และโครงการ ค่ายเยาวชนเปิดโลกทัศน์และเตรียมความพร้อมสูป่ ระชาคมอาเซียน ด�ำเนินการโดยส�ำนักงานเลขานุการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน “สกอ. ขอฝากความหวังให้นิสิตนักศึกษาที่เข้ารับการ ฝึกอบรมในครั้งนี้ จงตั้งใจฝึกฝนทักษะภาษาอังกฤษ และร่วมแลก เปลีย่ นความคิดเห็น ประสบการณ์ เรียนรูส้ งั คมและวัฒนธรรมร่วมกัน ในการร่วมกิจกรรมต่างๆ ทีจ่ ดั ขึน้ ตลอดระยะเวลาของการฝึกอบรม เพื่อจะได้น�ำความรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับไปปรับใช้ในการ ด�ำรงชีวติ และพัฒนาต่อยอดความรูแ้ ละทักษะจนเกิดความเชีย่ วชาญ และช�ำนาญ เพื่อไปพัฒนาตนเองให้เป็นบัณฑิตที่มีความรู้ ความ สามารถมีคุณภาพในระดับสากล เป็นพลเมืองที่ดีในการรับใช้สังคม และท้องถิน่ ภูมลิ �ำเนาต่อไป” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว

13

อนุสารอุดมศึกษา


ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถาบันอุดมศึกษา

14

มิ ถุ น ายน ๒๕๕๘ - ส�ำนั ก งานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา จัดโครงการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้าน การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถาบันอุดมศึกษา ประจ�ำปี ๒๕๕๘ หลั ก สู ต ร ‘พนั ก งานเจ้ า หน้ า ที่ ส ่ ง เสริ ม ความประพฤติ นักเรียนและนักศึกษากระทรวงศึกษาธิการ’ กลุม่ ภาคกลางตอนบน ณ โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ต รังสิต จังหวัดปทุมธานี และกลุ่ม ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ณ บ้านปลาทับทิมแม่กลอง รีสอร์ท จังหวัดสมุทรสงคราม มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถาบัน อุดมศึกษาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความ ประพฤตินกั เรียนและนักศึกษา โดยมีอ�ำนาจหน้าทีใ่ นการด�ำเนินการ ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา ตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ และกฎกระทรวง ก�ำหนดความประพฤติ ของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ พร้อมทั้งสามารถน�ำ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย ข้อกฎหมาย ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนและนักศึกษา ไปบูรณาการกับการท�ำงาน ในสถาบันอุดมศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ตลอดจนเสริมสร้างขวัญก�ำลังใจและสร้างความมั่นใจในการปฏิบัติ งานให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา

อนุสารอุดมศึกษา

ยาเสพติดในสถาบันอุดมศึกษา ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากนางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานใน พิธีเปิดโครงการ นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการ อุดมศึกษา กล่าวว่า ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตระหนัก ถึงความส�ำคัญในบทบาทหน้าทีข่ องเจ้าหน้าทีผ่ รู้ บั ผิดชอบงานด้านการ ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถาบันอุดมศึกษา ว่าเป็นหัวใจ ส�ำคัญในการขับเคลื่อนการสร้างภูมิคุ้มกันและการป้องกันยาเสพติด ดังนัน้ การพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าทีผ่ ปู้ ฏิบตั งิ านด้านการป้องกันและ แก้ไขปัญหายาเสพติดในสถาบันอุดมศึกษา ทั้งการพัฒนาทักษะและ องค์ความรู้ ซึง่ เป็นเครือ่ งมือส�ำคัญทีจ่ ะช่วยให้เจ้าหน้าทีส่ ามารถน�ำไป ประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น “ผู ้ เข้ า รั บ การอบรมจะได้ รั บ การเพิ่ ม พู น ทั ก ษะและ ความรู้ที่จ�ำเป็นส�ำหรับใช้ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษาได้อย่างมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพือ่ ทีจ่ ะได้รว่ มมือกันดูแลนิสติ นักศึกษา ไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด และเป็นพลังส�ำคัญของแผ่นดินใน การแก้ไขปัญหายาเสพติด ช่วยลดการแพร่ระบาดของยาเสพติดใน สังคมไทยให้ลดลง” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว


เตรียมเก็บข้อมูลรายบุคคล ‘เด็กสาธิต’ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๘ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา จัดประชุมเชิงปฏิบตั กิ าร เรือ่ ง ‘การจัดท�ำข้อมูลรายบุคคล โรงเรียนในสังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเพือ่ สนับสนุน ศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงศึกษาธิการ (MOC)’ เพื่อมอบนโยบาย และชี้แจงท�ำความเข้าใจในการด�ำเนินงานจัดเก็บข้อมูลรายบุคคล ของปีการศึกษา ๒๕๕๘ ให้กับโรงเรียนที่จัดการศึกษาในระดับขั้น พื้นฐานของสถาบันอุดมศึกษา สังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาได้รบั ทราบ พร้อมน�ำเสนอระบบการน�ำส่งข้อมูลรายบุคคล ของนักเรียน ครู/อาจารย์ และสถานศึกษา ในสังกัดส�ำนักงานคณะ กรรมการการอุดมศึกษา รายงานผลการจัดส่งข้อมูลของปี ๒๕๕๘ ตลอดจนรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และปัญหาอุปสรรคในการ จัดเก็บข้อมูลจากผูป้ ฏิบตั ิ เพือ่ หาแนวทางในการสนับสนุนเพือ่ ให้เกิด ความร่วมมือในการจัดเก็บข้อมูลรายบุคคลให้มคี วามถูกต้องครบถ้วน สมบูรณ์ ทัง้ นี้ ได้รบั เกียรติจากนายสุภทั ร จ�ำปาทอง รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานในพิธเี ปิด ณ โรงแรมอีสติน นายสุภทั ร จ�ำปาทอง รองเลขาธิการคณะกรรมการการ อุดมศึกษา กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการในฐานะศูนย์ปฏิบัติการ กระทรวง (MOC) ซึง่ เป็นแหล่งข้อมูลด้านการศึกษา มีนโยบายให้ทกุ หน่วยงานในสังกัดจัดเก็บข้อมูลรายบุคคลของนักเรียน ครู/อาจารย์

บุคลากร ข้อมูลสถานศึกษาในทุกระดับการศึกษา เพื่อน�ำข้อมูล สนับสนุนศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรีและใช้ประโยชน์ในการวาง นโยบายทางด้านการศึกษาของประเทศ โดยให้ด�ำเนินการจัดเก็บ ข้อมูลรายบุคคลตามรูปแบบมาตรฐานที่ก�ำหนด จึงถือเป็นภารกิจ ส�ำคัญของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในฐานะศูนย์ ปฏิบตั กิ ารกรม (DOC) ซึง่ เป็นหนึง่ ใน ๕ องค์กรหลักของกระทรวงฯ มีสถาบันอุดมศึกษาที่มีการจัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ โรงเรียนทุกแห่งทีเ่ ปิดด�ำเนินการในระดับปฐมวัย ประถมศึกษา และมัธยมศึกษาในสังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ทุกแห่ง “ข้อมูลรายบุคคลทีจ่ ดั เก็บและรวบรวมนีเ้ พือ่ ใช้ประโยชน์ ในการวางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาของประเทศ การ แก้ไขปัญหา หรือการตัดสินใจที่จะด�ำเนินการในด้านการศึกษาของ ประเทศให้มีประสิทธิภาพ ในฐานะสถานศึกษาที่เป็นเจ้าของข้อมูล และแหล่งของข้อมูลทีม่ คี วามส�ำคัญและจ�ำเป็นอย่างยิง่ จึงควรต้อง จัดเก็บข้อมูลดังกล่าวให้มคี วามถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์ เพือ่ ผูบ้ ริหาร สถานศึกษา ผูบ้ ริหารของประเทศได้น�ำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ ในการวางแผนการพัฒนาการศึกษาของประเทศให้เจริญก้าวหน้า ทัดเทียม และแข่งขันกับนานาประเทศได้” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว

15

อนุสารอุดมศึกษา


หนึ่งทศวรรษความร่วมมือ 16

๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๘ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา จัดการประชุมชีแ้ จงการด�ำเนินโครงการวิจยั ร่วมภายใต้ ความร่วมมือด้านอุดมศึกษาและการวิจัยระหว่างไทย-ฝรั่งเศส เพื่อ ประชาสัมพันธ์และชี้แจงขั้นตอนการด�ำเนินโครงการ และเป็น เวทีในการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเสนอโครงการ และการเข้าร่วมด�ำเนินโครงการวิจัยร่วมภายใต้ความร่วมมือด้าน อุดมศึกษาและการวิจยั ระหว่างไทย-ฝรัง่ เศส เพือ่ มุง่ สานต่อและการ พัฒนาความร่วมมือทีม่ อี ยูข่ ยายให้เกิดความร่วมมือในรูปแบบใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์โดยตรงต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสถาบัน อุดมศึกษาของทั้งสองประเทศให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น โดยการ ประชุมครั้งนี้ได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธาน เปิดการประชุม และบรรยายพิเศษเรือ่ ง ‘ความร่วมมือไทย-ฝรัง่ เศส: หนึง่ ทศวรรษของความร่วมมือ’ มีคณาจารย์ นักวิจยั และเจ้าหน้าที่ ในหน่วยงานวิจัยจากสถาบันอุดมศึกษาไทยเข้าร่วมการประชุม ณ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ส รนิ ต ศิ ล ธรรม รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า ส�ำนักงานคณะ กรรมการการอุดมศึกษาถือเป็นพันธกิจหลักในการสร้างและผลิตนัก วิจัยที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถระดับสูง มีทักษะด้านการ วิจัยที่มีมาตรฐานในระดับนานาชาติ และยังให้ความส�ำคัญต่อการ พัฒนานักวิจัยระดับสูงที่มีสัดส่วนมากเพียงพอที่จะไปผลิตผลงาน วิจัยให้ตอบโจทย์ของประเทศที่ท�ำให้เกิดผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ และเชิงสังคมในวงกว้าง “หากต้องการพัฒนาระบบอุดมศึกษาที่มีคุณภาพและ ประสิทธิภาพในการสนับสนุนสังคมเศรษฐกิจฐานความรูแ้ ละพัฒนา ทุนมนุษย์ให้มีความสามารถปรับตัวพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง

อนุสารอุดมศึกษา

ไทย-ฝรั่งเศส

และความท้าทายของสังคมโลกในอนาคต อุดมศึกษาต้องให้ความ ส�ำคัญกับการพัฒนางานวิจัยมากขึ้นโดยมองไปข้างหน้าในระยะยาว ๕ หรือ ๑๐ ปี และก�ำหนดเป้าหมายที่ต้องการบรรลุและทรัพยากร ที่จะต้องใช้ เพื่อวางรากฐานการวิจัยให้เข้มแข็ง โดยขยายความ ร่วมมือไปยังภาคส่วนอื่นๆ และต่อยอดจากโครงการเดิมที่ประสบ ความส�ำเร็จหรือก�ำลังด�ำเนินการได้ดีอยู่แล้ว ซึ่งการด�ำเนินความร่วม มือด้านการวิจยั ร่วมระหว่างไทย-ฝรัง่ เศส เป็นการพัฒนาศักยภาพและ ขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนาของมหาวิทยาลัยไทยให้มี ความเข้มแข็งมากขึน้ และต่อไปอาจขยายไปสูค่ วามร่วมมือในลักษณะ ไตรภาคี โดยแสวงหาความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึง แหล่งทุนทัง้ ในประเทศและต่างประเทศ ซึง่ ประเด็นทีต่ อ้ งน�ำไปคิดต่อ คื อ ท�ำอย่ า งไรจึ ง จะบริ ห ารจั ด การความร่ ว มมื อ ด้ า นการวิ จั ย ให้ มี ค วามยั่ ง ยื น และผลิ ต งานวิ จั ย ที่ ต อบโจทย์ ข องภาคการผลิ ต สามารถน�ำไปใช้ได้จริงและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว นอกจากนี้ Dr. Stéphane Roy ผู้ช่วยทูตด้านความ ร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และมหาวิทยาลัย จากสถานเอกอัครราชทูต ฝรั่งเศสประจ�ำประเทศไทย ได้บรรยายเกี่ยวกับแนวทางการด�ำเนิน ความร่วมมือระหว่างไทย-ฝรัง่ เศส และความส�ำเร็จในการด�ำเนินความ ร่ ว มมื อ ระหว่ า งกั น และในช่ ว งสุ ด ท้ า ยเป็ น การอภิ ป รายเรื่ อ ง ‘โครงการวิจยั ร่วมไทย-ฝรัง่ เศส: เขียนอย่างไรให้โดนใจและท�ำอย่างไร ให้ยั่งยืน’ ซึ่งได้รับเกียรติจากผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การด�ำเนินโครงการวิจัยร่วมไทย-ฝรั่งเศสมาร่วมให้แนวคิด แนวทาง และแลกเปลี่ ย นประสบการณ์ ก ารเขี ย นข้ อ เสนอโครงการ การ บริหารโครงการ รวมถึงการสนับสนุนการบริหารโครงการเพื่อให้เกิด ความยั่งยืนและสามารถต่อยอดไปยังโครงการความร่วมมืออื่นๆ ต่อไป


เปิดตัวโครงการ Gen A 2015 รวมพลคนรุ่นใหม่หัวใจอาสา

๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๘ - ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการ สร้างเสริมสุขภาพ มูลนิธิธรรมดี ร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่ายภาค รัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เปิดตัวโครงการทูตความดีแห่ง ประเทศไทย ๒๕๕๘ ปี ๔ ภายใต้แนวคิด Gen A ‘รวมพลคนรุน่ ใหม่ หัวใจอาสา’ ณ อาคารศูนย์เรียนรูส้ ขุ ภาวะ ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในโครงการ Active Citizen เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนได้ใช้ทักษะและศักยภาพของตัวเอง สู่การเปลี่ยนแปลงสังคม ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้รบั มอบหมาย จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานงานแถลงข่าว เปิดตัวโครงการ Gen A 2015 รวมพลคนรุ่นใหม่หัวใจอาสา

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ส รนิ ต ศิ ล ธรรม รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวเปิดโครงการ ตอนหนึ่งว่า ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและ ต่ อ เนื่ อ งในยุ ค โลกาภิ วั ต น์ ทั้ ง ในด้ า นความเจริ ญ ทางเศรษฐกิ จ การเมือง เทคโนโลยี และวัฒนธรรม ได้ท�ำให้ความเมตตา ความมีนำ�้ ใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และจิตส�ำนึกที่ค�ำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม ค่อยๆ จางหายไปจากหัวใจของผู้คนในสังคมยุคปัจจุบัน จึงเป็นเรื่องที่ น่ายินดีที่โครงการนี้ได้เปิดพื้นที่ให้เยาวชนที่มีจิตส�ำนึกแห่งการให้ ได้ลงมือปฏิบัติเพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามเพื่อสังคม และเป็นตัวแทน ของคนรุ่นใหม่ที่จะส่งต่อความดีเหล่านี้ให้แผ่ขยายออกไป เพื่อสร้าง เยาวชนสายพันธุ์ใหม่ที่มีหัวใจอาสา

17

การปลูกหน่ออ่อนของหัวใจแห่งการให้นั้น ส�ำคัญที่สุด ต้องเริม่ จากตัวเอง ให้โดยไม่หวังสิง่ ตอบแทน รูจ้ กั แบ่งปันน�ำ้ ใจ คิดถึง ผู้อื่นให้มากขึ้น เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน หากเราทุกคนสามารถท�ำสิ่งเหล่านี้จนกลายเป็นอุปนิสัยเป็นกิจวัตร ประจ�ำวันแล้ว ย่อมท�ำให้เกิดการเปลีย่ นแปลงต่อสังคมและประเทศ ชาติ น�ำพาความสุขมาให้อย่างยั่งยืน รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องเล่า

อาเซียน

18

การเคลื่อนย้ายและการประกันคุณภาพ การอุดมศึกษาในประเทศอาเซียนบวกสาม ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นเจ้าภาพ จัดการประชุมคณะท�ำงานส่งเสริมการเคลื่อนย้ายและการประกัน คุ ณ ภาพการอุ ด มศึ ก ษาในประเทศอาเซี ย นบวกสาม ครั้ ง ที่ ๓ (The 3rd ASEAN Plus Three Working Group Meeting on Mobility of Higher Education and Ensuring Quality Assurance of Higher Education) เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๘ ณ โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพ โดยได้รับการ สนับสนุนงบประมาณจากกองทุนความร่วมมือประเทศสมาชิก อาเซียนบวกสาม (ASEAN Plus Three Cooperation Fund) มี ผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียนและสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ ปุ ่ น และสาธารณรั ฐ เกาหลี รวมทั้ ง ผู ้ แ ทนศู น ย์ ภู มิ ภ าค เอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ ว ่ า ด้ ว ยการอุ ด มศึ ก ษาและการพั ฒ นา (SEAMEO Regional Centre for Higher Education and Development) เข้าร่วมประชุม ทั้งนี้ ผู้แทนจากสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาวท�ำหน้าที่ประธานการประชุม และ ผู้แทนจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ท�ำหน้าที่ประธานร่วม นางสาวอาภรณ์ แก่ น วงศ์ รองเลขาธิ ก ารคณะ กรรมการการอุดมศึกษา กล่าวในการเป็นประธานเปิดการประชุม

อนุสารอุดมศึกษา

คณะท�ำงานฯ ว่า การรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนเป็นปัจจัยผลัก ดันให้ประเทศสมาชิกพัฒนาการผลิตก�ำลังคนของตน เพื่อให้ได้ใช้ ประโยชน์จากการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนที่ก�ำลังจะมาถึง ซึ่ง เป็นโอกาสที่ดีส�ำหรับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนบวกสามที่จะมา ร่วมกันแบ่งปันแนวทางในการพัฒนาระบบประกันคุณภาพ กรอบ มาตรฐานและอื่นๆ เพื่อการรับรองคุณวุฒิร่วมกันระหว่างประเทศใน ภูมิภาคเอเชียอันจะน�ำไปสู่การแลกเปลี่ยนนักศึกษาและการเคลื่อน ย้ายทรัพยากรมนุษย์ในภูมิภาคต่อไป ทั้ ง นี้ ที่ ป ระชุ ม ได้ ร ่ ว มกั น พิ จ ารณาร่ า งแนวทางการ สนับสนุนการแลกเปลี่ยนนักศึกษาในกลุ่มประเทศอาเซียนบวกสาม (Draft of ASEAN Plus Three Guidelines on Student Exchange) ซึ่งกระทรวงการศึกษา วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเทศญี่ปุ่น (Ministry of Education, Culture, Sports, Science and Technology: MEXT) เป็นผู้ยกร่าง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการ ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน บวกสาม และจะน�ำผลการประชุมเสนอต่อที่ประชุมรัฐมนตรีศึกษา อาเซียนบวกสาม (ASEAN Plus Three Education Ministerial Meeting) ที่ก�ำหนดจัดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ต่อไป


เรื่อง

พิเศษ สร้างบัณฑิตไทย สู่ประชาคมโลก

การจะพัฒนานักศึกษาให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เน้นความพอเพียงของชีวิต เห็นคุณค่าทางคุณธรรม จริยธรรมและ สามารถด�ำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลีย่ นแปลงของโลก และสามารถแข่งขันทัง้ ในระดับชาติ และระดับสากล สถาบันอุดมศึกษาต้องเตรียมปัจจัยต่างๆ ให้มคี วาม พร้อม ทัง้ การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้มปี ระสิทธิภาพ และ การพัฒนากระบวนการเสริมสร้างทักษะและคุณลักษณะทีจ่ �ำเป็นให้ แก่นสิ ติ นักศึกษาผ่านกิจกรรมเสริมหลักสูตรต่างๆ ปัจจัยส�ำคัญในการพัฒนานักศึกษา ทีจ่ ะต้องพัฒนาควบคู่ ไปกับงานด้านวิชาการ คือ งานด้านกิจการนักศึกษา ซึง่ เป็นงานทีจ่ ะ ต้องปรับตัวและเตรียมการรองรับความเปลีย่ นแปลงของสังคมยุคใหม่ ในการสร้างความตระหนักแก่นกั ศึกษาให้เล็งเห็นถึงความส�ำคัญของ ปัญหา และการใช้ชวี ติ อย่างมีภมู คิ มุ้ กัน บนฐานคิดของหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงทีเ่ หมาะสม โดยการสอดแทรกความรูแ้ ละน้อมน�ำ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการก�ำหนดนโยบาย การวางแผนงานโครงการ การสนับสนุนงบประมาณ โดยเฉพาะด้าน การพัฒนาบุคลากรด้านกิจการนักศึกษาให้เอือ้ ต่อการพัฒนานักศึกษา อย่างเหมาะสม ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตระหนักถึง ความส�ำคัญของการพัฒนานักศึกษา จึงจัดโครงการประชุมสัมมนา วิชาการด้านพัฒนานักศึกษามาอย่างต่อเนือ่ ง เพือ่ ให้ผทู้ รี่ บั ผิดชอบงาน ผูป้ ฏิบตั งิ าน และผูส้ นใจงานด้านกิจการนักศึกษา ได้รบั ข้อมูลข่าวสาร และความรู้ใหม่ในการพัฒนานักศึกษา และสามารถไปปรับใช้ใน

การพัฒนากิจการนักศึกษาในสถาบันให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ ปัจจุบนั ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเป็นเวทีน�ำเสนอแนวปฏิบตั ทิ ดี่ ี (Best Practice) เพือ่ เผยแพร่ผลงานสูส่ าธารณชนและชุมชนวิชาการ เป็นส่วนหนึง่ ในการเผยแพร่ความรูส้ สู่ ว่ นต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง ให้สามารถ ปรับตัวรับมือกับการเปลีย่ นแปลง รวมทัง้ พัฒนาศักยภาพนักศึกษาใน ด้านต่างๆ ให้มภี มู คิ มุ้ กัน และพร้อมต่อการเป็นพลเมืองอาเซียนและ พลเมืองโลกต่อไป ในปีนี้ สกอ. จัดการประชุมสัมมนาวิชาการด้านพัฒนา นักศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ ๕ ‘สร้างบัณฑิตไทย สู่ประชาคมโลก’ ระหว่างวันที่ ๑๓ - ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ณ โรงแรมเซ็นทารา คอนเวนชันเซ็นเตอร์ จังหวัดอุดรธานี และศึกษาดูงาน ณ โครงการ บริหารจัดการน�้ำอย่างยั่งยืนอ่างเก็บน�้ำห้วยคล้าย อันเนื่องมาจาก พระราชด�ำริ โครงการปิดทองหลังพระบ้านโคกล่าม - บ้านแสงอร่าม อ�ำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี โดยได้รบั เกียรติจากศาสตราจารย์ เกียรติคณ ุ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นประธานในพิธี เปิด พร้อมบรรยายพิเศษ เรือ่ ง สร้างบัณฑิตไทยสูป่ ระชาคมโลก รอง ศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา บรรยาย เรื่อง สถาบันอุดมศึกษากับความพร้อมใน การสร้างบัณฑิตไทยสูป่ ระชาคมโลก และนางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา พร้อมด้วย ดร.ชลธิศ ธีระฐิติ รองผู้อ�ำนวยการบริหารส�ำนักงานเลขานุการเครือข่าย มหาวิทยาลัยอาเซียน อภิปราย เรือ่ ง นักศึกษากับการเปิดโลกทัศน์ สูน่ านาชาติ

19

อนุสารอุดมศึกษา


20

ศาสตราจารย์ เ กี ย รติ คุ ณ นายแพทย์ เ กษม วั ฒ นชั ย องคมนตรี กล่าวว่า ระบบการศึกษาเปรียบเสมือนการปลูกต้นไม้ ครู กับอาจารย์เปรียบเสมือนคนสวนของโลกหรือเกษตรกรของโลก นิสติ และนักศึกษาเป็นเมล็ดพันธุ์หรือต้นกล้า มหาวิทยาลัยมีหน้าที่ต้อง เตรียมดินให้ดี เตรียมปุย๋ ให้ดี เตรียมน�ำ้ ให้ดี ให้เพียงพอทีจ่ ะให้เมล็ด พันธุแ์ ละต้นกล้าเติบใหญ่ได้ ต้นกล้าจะต้องมีโอกาสได้หยัง่ รากลึกลง ดิน ขณะเดียวกัน ต้นกล้าจะต้องแผ่ล�ำต้นให้เข้มแข็งชูกงิ่ ใบขึน้ สูฟ่ า้ แล้วออกดอกออกผลได้ โดยนิสติ นักศึกษาของไทยควรได้รบั โอกาส ที่จะหยั่งรากลึกและสร้างรากแก้วให้มั่นคงอยู่บนฐานของความเป็น ไทย เข้าใจลึกซึง้ ในวัฒนธรรมและภาษาของตนเอง ส่วนทีว่ า่ ล�ำต้นต้อง เข้มแข็งและชูกิ่งก้านขึ้นฟ้า เพราะต้องไปอวดหรือไปแข่งหรือไป ประสานกับความเป็นสากลหรือโลกาภิวตั น์ และทีบ่ อกว่าแต่ละต้นจะ ต้องมีดอกมีผลเพราะเชือ่ ว่าเมือ่ ส�ำเร็จการศึกษาเป็นบัณฑิตแล้วเขาจะ ใช้ชวี ติ ทีเ่ ราเรียกกันว่าวิถแี ห่งบัณฑิตให้มดี อกมีผลเป็นประโยชน์ตอ่ ตัว เขาเอง เป็นประโยชน์ตอ่ ครอบครัวของเขา เป็นประโยชน์ตอ่ งานการ ทีเ่ ขาจะไปรับผิดชอบ และทีส่ �ำคัญคือเป็นประโยชน์ตอ่ ส่วนรวมด้วย แนวคิ ด เรื่องการศึก ษาเปรียบเสมือนการปลู ก ต้ น ไม้ ที่ต้องการรากที่เข้มแข็งและต้องการกิ่งใบที่ไปสู้เขาได้ น่าจะเป็น อุทาหรณ์ในการจัดการศึกษาได้ ในระดับปริญญาตรีของอุดมศึกษา โดยเฉพาะเรามีโครงสร้างหลักสูตรทีม่ วี ชิ าเอก มีวชิ าโท บางหลักสูตร ก็ไม่มี แต่เราก็ยงั มีหมวดศึกษาทัว่ ไป มีหมวดวิชาเลือก มีกจิ กรรมใน หลักสูตรและกิจกรรมเสริมหลักสูตร ทัง้ นี้ ไม่วา่ กิจกรรมในหลักสูตร หรือกิจกรรมเสริมหลักสูตร ไม่วา่ จะเป็นโครงสร้างหลักสูตรหรือการ จัดการเรียนการสอน การอยูก่ นิ ต้องเป็นภาพทีค่ รู อาจารย์ และนิสติ นักศึกษา สามารถมาช่วยกันสร้างต้นไม้เหล่านี้ให้เข้มแข็งได้ ความ

อนุสารอุดมศึกษา

สลับซับซ้อนของสังคมไทยและสังคมโลกในปัจจุบันต้องการบัณฑิตที่ เก่งหลายๆ ด้าน เพื่อไปท�ำอาชีพหนึ่งอาชีพ อยากจะฝากอาจารย์ที่ รับผิดชอบเรื่องหลักสูตร และอยากให้ สกอ.ใจกว้างด้วย โครงสร้าง หลักสูตรที่ สกอ.ก�ำหนดมันแคบเกิน ต้องเปิดให้กว้าง ท�ำปริญญา ตรีสักหลักสูตร ที่เด็กเข้าเรียนวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ในเรื่องของ กราฟฟิค เรียนศิลปะกับการออกแบบ และเรียนประชาสัมพันธ์ไปด้วย ในหลักสูตรเดียวกันจบมารับรองได้เงินเดือนมากกว่าอาจารย์ทสี่ อน ทีช่ ี้ ให้เห็นอยากจะชีว้ า่ อาจารย์มเี ครือ่ งมืออยูแ่ ล้วในการก�ำหนดหลักสูตร วิชาโท ต้อง encourage มากๆ นักศึกษาอาจจะเรียน บริหารธุรกิจ วิชาโทภาษาจีน จบแล้วต้องไปท�ำค้าขายกับบริษทั จีนหรือ ประเทศจีน วิชาโทภาษาญีป่ นุ่ ก็ได้ อยากให้การมองพวกนีเ้ ป็นการมอง รวม แล้วกิจกรรมเสริมหลักสูตร เรามีชมรม ชมรมภาษาจีน ชมรมภาษา ญีป่ นุ่ ชมรมอาเซียนในสโมสรนักศึกษา ดังนัน้ จึงอยากให้มกี ารกะเทาะ เปลือกโครงสร้างหลักสูตรและกะเทาะเปลือกโครงสร้างสโมสรนักศึกษา มิฉะนัน้ ทีบ่ อกบัณฑิตจะเข้าสูป่ ระชาคมโลก จะเข้าไม่ได้ “ขอให้อุดมศึกษาเป็นพื้นที่ที่งดงามเป็นการเตรียมดิน เตรียมน�้ำ เพื่อจะสร้างนิสิตนักศึกษารุ่นใหม่ให้เป็นต้นไม้ที่เติบใหญ่ มัน่ ใจ มัน่ คงในตัวเองในความเป็นไทย แล้วก็เก่งทีจ่ ะสูก้ บั คนทัง้ โลกได้ ไปสูป่ ระชาคมโลกได้ ในขณะเดียวกันขอให้มหาวิทยาลัยไปทบทวนดู ว่าโครงสร้างหลักสูตรและการเรียนการสอนทีท่ �ำอยูต่ อนนีจ้ ะเสริมทาง ไหนได้ ขอให้ผนู้ �ำนักศึกษาไปวิเคราะห์ดวู า่ โครงสร้างสโมสรนักศึกษาท�ำ ตามแบบแผนเดิมมันจะท�ำให้รนุ่ น้องเราสามารถจะเติบใหญ่แผ่กงิ่ ก้าน สาขาได้เต็มทีห่ รือไม่ ถ้าได้กไ็ ม่ตอ้ งเปลีย่ นแปลงโครงสร้าง เปลีย่ นแปลง เฉพาะกิจกรรม แต่ถ้าคิดว่าไม่ได้ก็กะเทาะโครงสร้างเพื่อให้กิจกรรม เจริญงอกงาม” องคมนตรี กล่าว


เหตุการณ์

เล่าเรื่อง

Gwangju 2015 สาธารณรัฐเกาหลี ได้รับการคัดเลือกจากสหพันธ์กีฬา มหาวิทยาลัยโลก ให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก ฤดูร้อน ครั้งที่ ๒๘ ระหว่างวันที่ ๓ - ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ณ เมืองกวางจู โดยจัดการแข่งขันทั้งสิ้น ๑๘ ชนิดกีฬา คือ ยิมนาสติก ฟุตบอล บาสเกตบอล เทนนิส เทเบิลเทนนิส แบดมินตัน กรีฑา กีฬา ทางน�้ำ (ว่ายน�้ำ-โปโลน�้ำ-กระโดดน�้ำ) ยิงธนู เทควันโด ยิงปืน-เป้าบิน เรือพาย ยูโด แฮนด์บอล วอลเลย์บอล เบสบอล กอล์ฟ และฟันดาบ รวมทั้ ง หมด ๒๗๒ เหรี ย ญทอง มี ป ระเทศที่ ส ่ ง นั ก กี ฬ าเข้ า ร่ ว ม การแข่งขันทั้งสิ้น ๑๔๓ ประเทศ ส�ำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา โดยคณะ กรรมการบริหารกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ก.ก.ม.ท.) ได้สง่ คณะนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ รวม ๑๖๗ คน เข้าร่วมการแข่งขัน ๘ ชนิด กีฬา คือ ว่ายน�้ำ เทนนิส แบดมินตัน กรีฑา เทควันโด วอลเลย์บอล กอล์ฟ และยิงปืน-เป้าบิน โดยมีนายปรีชา ประยูรพัฒน์ เป็นหัวหน้า คณะนักกีฬา รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ส รนิ ต ศิ ล ธรรม รองเลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา เดิ น ทางเข้ า ร่ ว ม สังเกตการณ์การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก ฤดูร้อน ครั้งที่ ๒๘ ระหว่างวันที่ ๒ - ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ณ เมืองกวางจู สาธารณรัฐ เกาหลี โดยในวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๘ รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา พร้อมด้วยนายปรีชา ประยูรพัฒน์ หัวหน้าคณะ นักกีฬาทีมชาติไทย และคณะนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ ได้เข้าร่วมพิธี เชิญธงชาติไทยในหมู่บ้านนักกีฬา

หลังจากนัน้ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้มีโอกาสเข้าชมการ แข่งขันวอลเลย์บอลชาย ระหว่างทีมชาติไทยกับแคนาดา ซึ่งทีม ไทยชนะแคนาดา ๓ : ๐ เซต (๒๕:๒๑, ๒๕:๑๕, ๒๕:๑๕) และการ แข่งขันวอลเลย์บอลหญิง ระหว่างทีมชาติไทยและซิมบับเว ซึ่งทีม ชาติไทยชนะซิมบับเว ๓ : ๐ เซต (๒๕:๑๔, ๒๕:๑๔, ๒๕:๓) พร้อมทั้ง พูดคุยและให้ก�ำลังใจนักกีฬาหลังจบการแข่งขัน ณ Naju Dongsin University Gymnasium เมืองกวางจู สาธารณรัฐเกาหลี ในการนี้ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้เข้าร่วมพิธีเปิดการ แข่งขัน ซึ่งสาธารณรัฐเกาหลี เจ้าภาพจัดการแข่งขัน ได้จัดพิธีเปิด การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก ฤดูร้อน ครั้งที่ ๒๘ ที่สนามกวางจู เวิลด์คัพ สเตเดียม ในวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘ มีนายโคลด หลุยส์ กัลเลียง ประธานสหพันธ์กฬี ามหาวิทยาลัยโลก และนางพัก กึน-ฮเย ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลี เป็นประธาน โดยคณะนักกีฬาไทย มีนายยศพล วัฒนะ นักกีฬาวอลเลย์บอล จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นผู้ถือธงไตรรงค์น�ำคณะนักกีฬาไทยเข้าสู่สนาม ทั้งนี้ รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวถึงสถานการณ์โรคไวรัส ‘เมอร์ส’ ที่เมืองกวางจูในขณะจัดการแข่งขันว่า สถานการณ์ในขณะ จัดการแข่งขันไม่น่าเป็นห่วงอย่างที่คิด เจ้าภาพมีมาตรการดูแลและ ป้องกันอย่างดี มีการจัดตัง้ คลินกิ ไว้ในหมูบ่ า้ นนักกีฬาด้วย ประชาชน เกาหลีใต้ รวมถึงนักกีฬากว่าร้อยประเทศที่มาแข่งขันไม่ได้มีความ วิตกแต่อย่างใด

21

อนุสารอุดมศึกษา


ในการแข่งขันครั้งนี้ ประเทศไทยมีผลงานอยู่ในอันดับที่ ๒๐ ได้ ๒ เหรียญทอง ๗ เหรียญเงิน และ ๙ เหรียญทองแดง Rank

Country

๑ ๒ ๓ ๔ ๕

สาธารณรัฐเกาหลี สหพันธรัฐรัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา

๔๗ ๓๔ ๓๔ ๒๕ ๒๐

๓๒ ๓๙ ๒๒ ๒๕ ๑๕

๒๙ ๔๙ ๑๖ ๓๕ ๑๙

๑๐๘ ๑๒๒ ๗๒ ๘๕ ๕๔

๒๐

ประเทศไทย

๑๘

เหรียญทอง • ปืนยาวท่านอน ๕๐ เมตร หญิง ประเภททีม นางสาวสุนันทา มั จ ฉาชี พ นางสาวรั ช ฎาภรณ์ เปล่ ง แสงทอง และนางสาว ธัญลักษณ์ โชติพิบูลศิลป์ • เทควันโด รุ่น ๔๙ กิโลกรัม หญิง นางสาวชนาธิป ซ้อนข�ำ

22

Total

เหรียญเงิน • แบดมินตัน ประเภทหญิงเดีย่ ว นางสาวพรทิพย์ บูรณะประเสริฐสุข • ปืนสั้นอัดลม ๑๐ เมตร หญิง นางสาวปรินฐ์ชุฎาห์ เมธาวีวงศ์ • ปืนสั้นอัดลม ๑๐ เมตร หญิง ประเภททีม นางสาวปรินฐ์ชุฎาห์ เมธาวีวงศ์ นางสาวธันยพร พฤกษากร และ นางสาวพิมพ์อร คล้ายสุบรรณ • ปืนสั้น ๒๕ เมตร หญิง ประเภททีม นางสาวธันยพร พฤกษากร นางสาวณภั ส วรรณ หย่ า งไพบู ล ย์ และ นางสาวพิ ม พ์ อ ร คล้ายสุบรรณ • เทควันโด รุ่น ๔๖ กิโลกรัม หญิง นางสาววิลาสินี ข�ำศรีบุศ • เทนนิส หญิงเดี่ยว นางสาวลักษิกา ค�ำข�ำ • เทนนิส ประเภททีม หญิง

อนุสารอุดมศึกษา

เหรียญทองแดง • กรีฑา วิง่ ผลัด ๔ x ๑๐๐ เมตร หญิง นางสาวสุภาวรรณ ธิปตั ย์ นางสาวเพ็ญศรี ชัยฤกษ์ นางสาวทัศพร วรรณกิจ และนางสาว ขวัญฤทัย ปากดี • แบดมิ น ตั น ประเภทชายคู ่ นายบดิ น ทร์ อิ ส สระ และ นายนิพิฐพนธ์ พวงพั่วเพชร • แบดมินตัน ประเภททีมผสม • กอล์ฟ ชายเดี่ยว นายเนติพงศ์ ศรีทอง • กอล์ฟ หญิงเดี่ยว นางสาวสิธานาถ สิงหนาท • ปืนยาวท่านอน ๕๐ เมตร หญิง นางสาวสุนันทา มัจฉาชีพ • เทควันโด รุ่น ๕๗ กิโลกรัม หญิง นางสาวรังสิญา นิสัยสม • เทนนิส ประเภทหญิงคู่ นางสาวนพวรรณ เลิศชีวกานต์ และ นางสาววรัชญา วงศ์เทียนชัย • เทนนิส หญิงเดี่ยว นางสาววรัชญา วงศ์เทียนชัย


เล่าเรื่อง

ด้วยภาพ

๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๘ - พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ศึกษาธิการ พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์พนิ ติ ิ รตะนานุกลู เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เยี่ยมชมโครงการจัดตั้งสถาบันสิริวิทยเมธี และโรงเรียนก�ำเนิดวิทย์ (Kamnoetvidya Science Academy : KVIS) ณ ต�ำบลป่ายุบใน อ�ำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๘ - พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ศึ ก ษาธิ ก าร ประธานสภาองค์ ก ารรั ฐ มนตรี ศึ ก ษาแห่ ง เอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ มาเยื อ น ศูนย์ SEAMEO RIHED โดยมีนางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการ อุดมศึกษา กล่าวต้อนรับ ณ ห้องประชุมศูนย์ SEAMEO RIHED อาคารส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘ - รองศาสตราจารย์พนิ ติ ิ รตะนานุกลู เลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา พร้อมคณะผู้บริหารส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มอบแจกันดอกไม้ แสดงความยิ น ดี กั บ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ส รนิ ต ศิ ล ธรรม โอกาสเข้ า รั บ ต�ำแหน่ ง รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในคราวประชุมบริหารส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๘ - รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการคณะ กรรมการการอุดมศึกษา รับมอบเงินบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยประเทศเนปาล จากคณะ ผู้บริหารวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม จ�ำนวน ๑๕๔,๗๐๕ บาท ณ ห้องรับรองเลขาธิการ กกอ.

23

๘ กรกฎาคม ๒๕๕๘ - รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการคณะ กรรมการการอุดมศึกษา รับมอบเงินบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยประเทศเนปาล จาก นางอรพินธุ์ คนึงสุขเกษม ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน และคณะ ณ ห้องรับรองเลขาธิการ กกอ. ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘ - นายสุภัทร จ�ำปาทอง รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา เป็นผู้แทนส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มอบเงินบริจาค จ�ำนวน ๑,๐๘๔,๓๑๕.๒๕ บาท ช่วยผูป้ ระสบภัยประเทศเนปาล ผ่านโครงการหัวใจไทย ส่งไปเนปาล ของ รัฐบาล ซึง่ สถาบันอุดมศึกษา ประชาคมอุดมศึกษา และผูม้ จี ติ ศรัทธาร่วมบริจาคมายัง สกอ. โดย มีหม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจ�ำส�ำนักนายกรัฐมนตรีและปลัดส�ำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับมอบ ณ ห้องรับรองปลัดส�ำนักนายกรัฐมนตรี ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๘ - รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา เดินทางเข้าร่วมสังเกตการณ์การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก ฤดูร้อน ครั้งที่ ๒๘ ณ เมืองกวางจู สาธารณรัฐเกาหลี โดยมีนายโบ กอง คิม ประธานโรตารี่คลับ เขต ๓๗๑๐ เมืองกวางจู ให้การต้อนรับ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๘ - รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ส รนิ ต ศิ ล ธรรม รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานในพิธเี ปิดประชุมวิชาการนานาชาติดา้ น อีเลิร์นนิง ปี ๒๕๕๘ The Sixth TCU International E-learning Conference 2015 "Global Trends in Digital Learning" ณ แกรนด์ฮอล ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา อนุสารอุดมศึกษา


ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

LOGO

เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๒๖ http://www.mua.go.th pr_mua@mua.go.th www.facebook.com/ohecthailand www.twitter.com/ohec_th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.