อนุสารอุดมศึกษา issue 446

Page 1

อุดมศึกษา อนุสาร

LOGO

ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๔๔๖ ประจำ�เดือนสิงหาคม ๒๕๕๘

เอกสารเผยแพร่ของสำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ISSN 0125-2461

อนุสารอุดมศึกษาออนไลน์ www.mua.go.th/pr_web


สารบัญ

CONTENT

๑๘

ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๔๔๖ ประจำ�เดือนสิงหาคม ๒๕๕๘

ต่อยอดพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศเพื่อการศึกษา เฟส ๓ 1st APEC High-Level Policy Dialogue on Science and Technology in Higher Education ปฐมนิเทศครูอาสาสมัครชาวจีน การรับรองมาตรฐาน จาก ABET และ AACSB ปัจฉิมนิเทศโครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ นักศึกษา ๑ อำ�เภอ ๑ ทุน สร้างพลังปัญญาเพื่ออุดมศึกษาไทย ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรสหกิจศึกษา มาตรฐานข้อมูลอุดมศึกษา ปฐมนิเทศทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๒๕๕๘ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา บัญชีจ่ายที่สอง

เรื่องเล่าอาเซียน 31st AUN BOT Meeting

2

๑๔

เรื่องเล่าอุดมศึกษา

เรื่องพิเศษ Bike for mom

เหตุการณ์เล่าเรื่อง ครุศึกษาสำ�หรับครูในอนาคต

๑๔ ๑๘ ๒๒

คณะผู้จัดทำ�

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๒๖ http://www.mua.go.th pr_mua@mua.go.th www.facebook.com/ohecthailand www.twitter.com/ohec_th ที่ปรึกษา

รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ นายสุภัทร จำ�ปาทอง รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม นายขจร จิตสุขุมมงคล นางสาวสุมัณฑนา จันทโรจวงศ์ บรรณาธิการ นายกฤษณ์กร วงศ์ไทย กองบรรณาธิการ นางสาวปิยาณี วิริยานนท์ นางชุลีกร กิตติก้อง นายเจษฎา วณิชชากร นางปราณี ชื่นอารมณ์ นายจรัส เล็กเกาะทวด พิมพ์ที่ บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำ�กัด (มหาชน) โทรศัพท์ ๐ ๒๔๒๒ ๙๐๐๐ โทรสาร ๐ ๒๔๓๓ ๒๗๔๒


เรื่องเล่า

อุดมศึกษา

ต่อยอดพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศ เพื่อการศึกษา เฟส ๓ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๘ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา ร่วมกับบริษัท กสท โทรคมนาคม จ�ำกัด (มหาชน) จัดพิธี ลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) สนับสนุนและพัฒนาเครือข่าย เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาและวิจัย UniNet มีวัตถุประสงค์ ร่วมกันในการพัฒนาระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา UniNet ต่อเนื่องในระยะที่ ๓ ซึ่งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการ พัฒนาเครือข่ายเพื่อการศึกษาวิจัยของประเทศ โดยมุ่งเน้นความ ส�ำคัญด้านคุณภาพและเสถียรภาพของเครือข่ายในการให้บริการ กับสมาชิกจ�ำนวนมากอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการคณะกรรมการการ อุดมศึกษา และนายชัยยุทธ สันทนานุการ ที่ปรึกษาอาวุโส รักษาการ รองกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ สายงานการตลาดและการขาย บริษทั กสท โทรคมนาคม จ�ำกัด (มหาชน) ร่วมลงนาม รองศาสตราจารย์ พิ นิ ติ รตะนานุ กู ล เลขาธิ ก าร คณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ในฐานะหน่วยงานพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศเพื่อ

3

พัฒนาการศึกษาของประเทศ ได้วางระบบเครือข่ายเชื่อมโยงสถาบัน การศึกษาทัง้ ระบบ ประกอบด้วยสถาบันอุดมศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษา โรงเรียน ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ห้องสมุดประชาชน ตลอดจน หน่วยงานการศึกษาและหน่วยงานวิจัยสังกัดอื่น รวมจ�ำนวนกว่า ๑๐,๘๐๐ แห่ง ท�ำให้สถาบันการศึกษาทัง้ ระบบสามารถด�ำเนินกิจกรรม เพื่อการศึกษาวิจัยร่วมกัน สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและเข้าถึง แหล่งความรู้ภายในระหว่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านเครือข่าย UniNet ซึ่งในการพัฒนาตลอดระยะเวลากว่า ๑๙ ปี สกอ. ได้ร่วมมือ กับหน่วยงานโทรคมนาคมของประเทศที่ส�ำคัญ คือ บริษัท กสท โทรคมนาคม จ�ำกัด (มหาชน) หรือ CAT ในระยะต้นโครงข่ายการ ศึกษาและวิจัยนี้เกิดขึ้นโดยการเช่าวงจรสื่อสัญญาณของผู้ให้บริการ ต่างๆ รวมถึง CAT เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายของสถาบันอุดมศึกษา เข้ากับเครือข่าย UniNet พร้อมทั้งเช่าวงจรสื่อสารต่างประเทศ เพิ่มเติม ปัจจุบันเครือข่าย UniNet ได้ด�ำเนินการสร้างสื่อสัญญาณ ด้วยใยแก้วน�ำแสงที่มีระยะทางกว่า ๖๐,๐๐๐ กิโลเมตร โดยที่ยังคง ใช้บริการสื่อสารระหว่างประเทศกับ CAT

อนุสารอุดมศึกษา


4

“ทัง้ นี้ เพือ่ ใช้ประโยชน์ในการให้บริการเครือข่ายภายนอก พร้ อ มทั้ ง เชื่ อ มโยงใช้ ป ระโยชน์ ร ่ ว มกั บ เครื อ ข่ า ยการศึ ก ษาวิ จั ย ของประเทศ ซึ่งมีเป้าหมายในการน�ำเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสารเข้ามาขับเคลื่อนและพัฒนาการศึกษาของประเทศ แต่ถึง อย่างไรความร่วมมือระหว่าง สกอ. และ CAT ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง และนับเป็นโอกาสที่ดียิ่งที่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จ�ำกัด (มหาชน) ได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะให้การสนับสนุนและร่วมพัฒนาเครือข่าย สารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษากับ สกอ. สนับสนุนวงจรที่มีคุณภาพ และเพียงพอส�ำหรับการจัดการศึกษาวิจัย โดยมีเป้าหมายร่วมกันเพื่อ ให้เป็นเครือข่ายเพื่อการศึกษาวิจัยของประเทศที่เข้มแข็งและยั่งยืน” เลขาธิการ กกอ. กล่าว ความร่ ว มมื อ ระหว่ า งส�ำนั ก งานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาและบริษัท กสท โทรคมนาคม จ�ำกัด (มหาชน) จะร่วมกัน สนั บ สนุ น และพั ฒ นาเครื อ ข่ า ยสารสนเทศเพื่ อ การศึ ก ษาและวิ จั ย รวมทั้งพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกัน เพื่อให้เครือข่ายมีความพร้อมและเหมาะสมส�ำหรับด�ำเนิน กิจกรรมเพื่อการศึกษาและวิจัยของประเทศ โดย กสท จะสนับสนุน และให้บริการระบบโทรคมนาคมที่มีคุณภาพ เพื่อสนับสนุนเครือข่าย

อนุสารอุดมศึกษา

สารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษาและวิจัย (UniNet) เป็นกรณีพิเศษ ด้วยการบริการเชือ่ มโยงวงจรสือ่ สารข้อมูล (อินเทอร์เน็ต) ความเร็วสูง ออกสูภ่ ายนอกทีพ่ ร้อมส�ำหรับการขยายไปยังสมาชิกสถาบันการศึกษา ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ โดยที่ สกอ. จะสามารถบริหารจัดการ และใช้บริการระบบโทรคมนาคมดังกล่าว เพื่อให้บริการแก่สมาชิก เครือข่ายในการด�ำเนินกิจกรรมเพือ่ การศึกษาและวิจยั ได้อย่างต่อเนือ่ ง สามารถรองรับแผนการขยายและพัฒนา UniNet ตลอดระยะเวลา ๓ ปี (๒๕๕๙ - ๒๕๖๑) นอกจากนี้ สกอ. และ กสท จะร่วมมือกันศึกษาวิจัยและ พัฒนาระบบการบริการโทรคมนาคม ระบบรักษาความปลอดภัย เทคโนโลยีสารสนเทศ และองค์ความรูใ้ หม่ส�ำหรับการพัฒนาเครือข่าย ร่วมกัน พร้อมทัง้ ร่วมมือกันพัฒนาเผยแพร่ขอ้ มูลข่าวสารด้านการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ด้านการศึกษา ผ่านโครงข่ายสื่อสารผ่านดาวเทียม CAT Channel และสื่อเว็บไซต์ของทั้งสองหน่วยงาน ตลอดจนร่วมกันสนับสนุน การให้ความรู้พัฒนาและฝึกอบรมบุคลากร และร่วมใช้ทรัพยากร ทั้งสองฝ่าย ที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป


1st APEC High-Level Policy Dialogue on Science and Technology in Higher Education ๑๒ - ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๘ - รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เข้าร่วมประชุม 1st APEC High-Level Policy Dialogue on Science and Technology in Higher Education ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐ ฟิลิปปินส์ ซึ่ง Commission on Higher Education (CHED) และ Department of Science and Technology (DOST) สาธารณรัฐ ฟิลปิ ปินส์ เป็นเจ้าภาพจัดขึน้ เพีอ่ แลกเปลีย่ นความรูแ้ ละประสบการณ์ ด้ า นวิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี ใ นระดั บ อุ ด มศึ ก ษาระหว่ า ง เขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปค พร้อมทั้งชูบทบาทด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในการส่งเสริมให้เกิดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ในภูมิภาคอย่างเท่าเทียมกัน แสวงหากลไก รูปแบบ และยุทธศาสตร์

ที่ จ�ำเป็ น ในการพั ฒ นาบุ ค ลากรให้ ส ามารถผลิ ต นวั ต กรรมด้ า น วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และร่วมแก้ไขปัญหาความท้าทายที่ ส่งผลกระทบต่อเขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปค พร้อมกันนี้ส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษาในฐานะผู้แทนประเทศไทย ได้เชิญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เพ็ญใจ สมพงษ์ชัยกุล อาจารย์ประจ�ำภาควิชา วิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อ�ำนวยการ Southeast Asia Regional Center จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยไปเข้าร่วมเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ Innovation in Higher Education Delivery Modalities and Strategies Focusing on S&T Programs ภายใต้สาขา Marine Resources/ Systems: Economy, Biodiversity and Conservation ในการประชุมดังกล่าว รองศาสตราจารย์ พิ นิ ติ รตะนานุ กู ล เลขาธิ ก าร คณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า ในการประชุมครั้งนี้ได้มีการ น�ำเสนอแนวคิดและประสบการณ์ใน ๕ สาขาส�ำคัญ ได้แก่ (๑) Food Production and Security (๒) Environment, Disaster Risk Reduction and Response, Climate Change and Energy (๓) Marine Resources/ Systems: Economy, Biodiversity and Conservation (๔) Smart Analytics and Engineering Innovations และ (๕) Health Systems โดยการบรรยายในแต่ละสาขาแบ่งเป็น ๓ หัวข้อหลัก ได้แก่ (๑) Innovation in Higher Education Delivery Modalities and Strategies Focusing on S&T Programs (๒) Ensuring Relevance, Utilization and Contributions of the Products of S&T in Higher Education to Economic Development in APEC Region และ (๓) Future Scientific and Technological Jobs and Careers

5

อนุสารอุดมศึกษา


ปฐมนิเทศครูอาสาสมัครชาวจีน

6

๔ สิ ง หาคม ๒๕๕๘ - ส�ำนั ก งานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาจัดงานปฐมนิเทศครูอาสาสมัครชาวจีน ประจ�ำปี การศึกษา ๒๕๕๘ (กลุ่มที่ ๒) โดยได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็น ประธานเปิดงาน และ ดร.ซุนหลิง (Dr. Sun Ling) ผูอ้ �ำนวยการส�ำนักงาน ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติ (ฮั่นปั้น) ประจ�ำ ประเทศไทย คุณเฉียน หรง (Ms. Qian Rong) เลขานุการโทฝ่ายกงสุล สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจ�ำประเทศไทย เข้าร่วมงาน ณ โรงแรมรัชดาซิตี้ รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการคณะ กรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า ครูอาสาสมัครที่มาปฏิบัติงาน ในสถาบันอุดมศึกษาสังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาใน ปีการศึกษา ๒๕๕๘ ยังคงแบ่งเป็นสองกลุ่มเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา โดยกลุ ่ ม แรกได้ เ ดิ น ทางมาเมื่ อ ปลายเดื อ นพฤษภาคมและจะอยู ่ ปฏิ บั ติ ง านจนถึ ง เดื อ นมี น าคมปี ห น้ า ส�ำหรั บ กลุ ่ ม ที่ ส องที่ เ พิ่ ง เดินทางมาถึงและเข้าร่วมงานปฐมนิเทศฯ ในวันนี้ จะปฏิบตั งิ านตัง้ แต่ เดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤษภาคม เป็นระยะเวลาประมาณสิบเดือน เช่นเดียวกัน ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาขอขอบคุณ

อนุสารอุดมศึกษา

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศจีน โดยเฉพาะส�ำนักงานฮั่นปั้น ประจ�ำประเทศไทยที่ช่วยด�ำเนินการ อ�ำนวยความสะดวกและดูแล การเดินทางให้แก่ครูอาสาสมัครทั้งสองกลุ่มเป็นอย่างดี “ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๙ เป็นต้นไป ส�ำนักงานคณะ กรรมการการอุดมศึกษาได้ขอความร่วมมือสถาบันอุดมศึกษาทีต่ อ้ งการ รับครูอาสาสมัครให้เริ่มรับครูไปปฏิบัติงานพร้อมกันทั้งหมดตั้งแต่เดือน สิงหาคม เพื่อประโยชน์ในการด�ำเนินโครงการ และเมื่อมีการอบรม ครูของฮั่นปั้น ครูอาสาสมัครที่ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษา สังกัด ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะได้เข้ารับการอบรมพร้อมกัน เนื่ อ งจากการเรี ย นการสอนภาษาจี น ในระดั บ อุ ด มศึ ก ษาค่ อ นข้ า ง แตกต่ า งจากระดั บ พื้ น ฐานหรื อ อาชี ว ศึ ก ษา เพราะเป็ น การเรี ย น ในระดับที่มีความเข้มข้นมากขึ้น ดังนั้น ครูผู้สอนอาจต้องมีวิธีการ สอนหรือการเตรียมเนื้อหาที่แตกต่างออกไป ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาหวังว่าส�ำนักงานฮั่นปั้นประจ�ำประเทศไทยจะได้ช่วยจัด เตรียมการอบรมในส่วนนี้ให้ครูอาสาสมัครชาวจีนในสังกัดส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อให้สามารถท�ำการสอนได้อย่างมี ประสิทธิผล” เลขาธิการ กกอ. กล่าว เลขาธิ ก าร กกอ. กล่ า วในตอนท้ า ยว่ า ขอขอบคุ ณ ครู อ าสาสมั ค รที่ มี ค วามมุ ่ ง มั่ น ตั้ ง ใจในการมาสอนภาษาและ วัฒนธรรมจีนให้แก่นักศึกษาไทย อันจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาการ เรียนการสอนภาษาจีนในสถาบันการศึกษาไทยอย่างมีคุณภาพและ มาตรฐาน ขอให้ใช้โอกาสทีพ่ �ำนักอยูใ่ นประเทศไทยเรียนรูว้ ฒ ั นธรรมและ ขนบธรรมเนียมประเพณีของไทย เพือ่ เสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่าง จีนและไทย และขอให้ครูอาสาสมัครทุกท่านมีความสุขตลอดระยะเวลา ที่พ�ำนักอยู่ในประเทศไทย


การรับรองมาตรฐาน จาก ABET และ AACSB ๑๓ สิ ง หาคม ๒๕๕๘ - ส�ำนั ก งานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาจัดการประชุมวิชาการ เรื่อง การเตรียมความพร้อม ของสถาบันอุดมศึกษาไทยเพื่อให้ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก Accreditation Board for Engineering and Technology (ABET) และการรับรองตามมาตรฐานของ Association to Advance Collegiate Schools of Business (AACSB) ณ โรงแรมแกรนด์ เซ็นเตอร์พอยท์ เพลินจิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดความรู้ เกี่ยวกับการรับรองมาตรฐานหลักสูตรสาขาวิศวกรรมศาสตร์ตาม มาตรฐานของ Accreditation Board for Engineering and Technology (ABET) และการรับรองหลักสูตรสาขาบริหารธุรกิจ ตามมาตรฐานของ Association to Advance Collegiate Schools of Business (AACSB) ให้แก่ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาไทยและ หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง ทัง้ นี้ ได้รบั เกียรติจากนางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา เป็ น ประธานเปิ ด การประชุม นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุ ด มศึ ก ษา กล่ า วว่ า จากความท้ า ทายของโลกาภิ วั ต น์ ต ่ อ การอุดมศึกษา ทั้งในประเด็นการบริการการศึกษาข้ามพรมแดน การเคลื่อนย้ายนักศึกษาและบัณฑิต และการประกอบอาชีพของ บัณฑิตในอนาคต กอปรกับการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนจะท�ำให้ เกิดการเคลือ่ นย้ายแรงงานฝีมอื ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ดังนัน้ สถาบันอุดมศึกษาจึงมีความจ�ำเป็นทีจ่ ะต้องสร้างความมัน่ ใจแก่สงั คม ว่ า สามารถพั ฒ นาองค์ ค วามรู ้ แ ละผลิ ต บั ณ ฑิ ต ที่ ต อบสนองต่ อ ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศและเป็นการสร้างขีดความสามารถใน การแข่งขันระดับสากลด้วย ทัง้ นี้ กฎกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธกี ารประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๓ ระบุวา่ ให้สถาบันอุดมศึกษาพัฒนาระบบประกันคุณภาพ โดยยึดหลักเสรีภาพ ทางวิชาการและความมีอสิ ระในการด�ำเนินการของสถานศึกษา เพือ่ ให้ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน การศึกษาของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาอย่างต่อเนือ่ ง และเตรียม ความพร้อมเพือ่ รองรับการประกันคุณภาพภายนอก สถาบันอุดมศึกษา จึงมีอิสระในการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในที่เหมาะสม สอดคล้องกับระดับการพัฒนาของสถาบัน โดยอาจเป็นระบบประกัน คุณภาพที่ใช้กันแพร่หลายในระดับชาติหรือนานาชาติ หรือเป็น

ระบบเฉพาะที่สถาบันพัฒนาขึ้นเอง ทั้งนี้ เพื่อให้การด�ำเนินภารกิจ ของสถาบั น บรรลุ เ ป้ า ประสงค์ แ ละมี พั ฒ นาการอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ขณะเดียวกันก็เป็นหลักประกันแก่สาธารณชนให้มั่นใจว่า สถาบัน อุดมศึกษาสามารถสร้างผลผลิตทางการศึกษาทีม่ คี ณ ุ ภาพ “การรับรองมาตรฐานหลักสูตรสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ตามมาตรฐานของ ABET และการรับรองมาตรฐานคณะบริหารธุรกิจ ตามมาตรฐานของ AACSB เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการพัฒนา คุณภาพมาตรฐานของสถาบันอุดมศึกษาไทยไปสู่ระดับนานาชาติ ซึ่งปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการ รับรองมาตรฐานหลักสูตรสาขาวิศวกรรมศาสตร์ของ ABET ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย และสิงคโปร์ ในขณะที่ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ของประเทศไทยยังไม่มสี ถาบันอุดมศึกษา ใดได้รบั การรับรอง ส่วนการรับรองคณะบริหารธุรกิจ ตามมาตรฐาน ของ AACSB ปัจจุบนั มีสถาบันอุดมศึกษาไทยทีไ่ ด้รบั การรับรองเพียง ๓ แห่ง คือ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และสถาบัน บั ณ ฑิ ต บริ ห ารธุ ร กิ จ ศศิ น ทร์ แ ห่ ง จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย ” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า การจัดการประชุมครัง้ นี้ เป็นความพยายามร่วมกันระหว่าง สกอ. และสมาคมนักวิชาชีพไทย ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ที่จะผลักดันและส่งเสริมให้หลักสูตร วิศวกรรมศาสตร์และคณะบริหารธุรกิจของสถาบันอุดมศึกษาไทย ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ABET และ AASCB ตามล�ำดับ จึงเป็นโอกาสดีที่จะได้รับความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานและ ขั้นตอนการด�ำเนินการเพื่อรับการประเมินโดย ABET และ AACSB รวมถึ ง ประเมิ น ความพร้ อ มของ สถาบั น ในการขอเข้ า รั บ การประเมิ น ดั ง กล่ า ว หากยั ง ไม่ มี ค วามพร้ อ ม จะได้ก�ำหนดแนวทางมาตรการ ในการพัฒนาความเข้มแข็ง ของหลั ก สู ต รเพื่ อ ให้ พร้อมรับการประเมิน ในโอกาสต่อไป

7

อนุสารอุดมศึกษา


ปัจฉิมนิเทศโครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทักษะ

การใช้ภาษาอังกฤษ นักศึกษา ๑ อำ�เภอ ๑ ทุน

8

๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๘ - ส�ำนั ก งานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา จัดงานปัจฉิมนิเทศโครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคม อาเซียนของผูร้ บั ทุนโครงการ ๑ อ�ำเภอ ๑ ทุน ทีศ่ กึ ษาต่อในประเทศ ณ โรงแรมแม่นำ�้ รามาดา พลาซ่า โดยได้รบั เกียรติจากนางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธาน พิธีเปิดในงานปัจฉิมนิเทศและมอบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้เข้ารับ การอบรม นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา กล่าวว่า ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ตระหนักถึงกระแสการเปลีย่ นแปลงของสังคมโลก และทีใ่ กล้ตวั ทีส่ ดุ คือ การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ซึง่ นับว่าเป็นความท้าทายของ การอุดมศึกษาทีต่ อ้ งผลิตบัณฑิตทีค่ รบถ้วน ทัง้ ความรอบรูท้ างวิชาการ และทั ก ษะความสามารถในการประกอบอาชี พ และการใช้ ชี วิ ต ในสังคมที่ซับซ้อนและมีความหลากหลายมากขึ้น เพื่อให้ได้บัณฑิต ที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีคุณภาพและสมรรถนะในการแข่งขัน ทัง้ ตลาดแรงงานในประเทศและต่างประเทศได้ รวมไปจนถึงการพัฒนา ทักษะที่จ�ำเป็นต่อการด�ำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งนิสิต นักศึกษา ต้องเข้าใจถึงการเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ ในประชาคมโลกทีต่ อ้ งให้ความ ส�ำคัญต่อการพัฒนาทักษะที่จ�ำเป็น ได้แก่ การมีความรู้ขั้นลึกใน สาขาวิชา เพือ่ สร้างองค์ความรูใ้ หม่และพัฒนานวัตกรรมได้ การรูร้ อบ ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ความพร้อมในการปรับเปลี่ยนความคิดเพื่อให้ เข้ากับงานใหม่หรือความรูใ้ หม่ในอนาคต การมีความสนใจพัฒนาตนเอง

อนุสารอุดมศึกษา

และรักความก้าวหน้า การพัฒนาทักษะพืน้ ฐานทีจ่ �ำเป็นต่อการสร้าง ความรูใ้ หม่และการปรับตัวในด้านต่างๆ การมีทกั ษะด้านการบริหาร จัดการและการเป็นผู้น�ำ การมีทักษะด้านภาษาและการสื่อสาร และความสามารถในการรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม รวมทั้ง สามารถเข้าใจและเรียนรูส้ งั คมและวัฒนธรรมของนานาชาติได้ดว้ ย รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อไปว่า ทักษะและความ สามารถเหล่านี้เป็นสิ่งที่จ�ำเป็นและส�ำคัญยิ่งที่จะต้องเสริมสร้าง และพัฒนานิสิต นักศึกษา ให้สามารถแข่งขันในระดับนานาชาติได้ ซึ่งโครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของผู้รับทุนโครงการ ๑ อ�ำเภอ ๑ ทุน ทีศ่ กึ ษาต่อในประเทศ เป็นอีกหนึง่ โครงการที่ สกอ. ได้ ริ เริ่ ม ขึ้ น เพื่ อ ต้ อ งการพั ฒ นาศั ก ยภาพของนิ สิ ต นั ก ศึ ก ษาทุ น ด้ ว ยเล็ ง เห็ น ว่ า ปั จ จุ บั น ทั ก ษะด้ า นการสื่ อ สารภาษาอั ง กฤษ มีความจ�ำเป็นที่จะต้องเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคม อาเซียน โดยการฝึกอบรมดังกล่าว นิสิต นักศึกษาได้มีการพัฒนา ทักษะภาษาอังกฤษ ได้มีการเรียนรู้และฝึกฝนการใช้ภาษาอังกฤษ ในสถานการณ์ตา่ งๆ จากอาจารย์เจ้าของภาษา รวมทัง้ ได้รบั ความรู้ จากวิทยากรและผูท้ รงคุณวุฒทิ มี่ ปี ระสบการณ์ดา้ นประชาคมอาเซียน อีกทั้งยังได้มีโอกาสเดินทางไปทัศนศึกษาและได้ลงพื้นที่เพื่อส�ำรวจ และเปิดโลกทัศน์การเรียนรูส้ งั คมแบบพหุวฒ ั นธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีทแี่ ตกต่างกันของจังหวัดทีเ่ ป็นรอยต่อกับประเทศเพือ่ นบ้าน ของไทย โดยผ่านกิจกรรมการเรียนรูต้ า่ งๆ ทีผ่ เู้ ข้าร่วมโครงการเป็น ศูนย์กลาง ทัง้ ในรูปแบบรายบุคคลและการท�ำงานเป็นกลุม่ เพือ่ เป็น ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองให้เป็นบัณฑิตที่พร้อมจะเข้าสู่ตลาด แรงงานวิชาชีพในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอนาคตต่อไป “ทั้งนี้ ขอให้นิสิต นักศึกษาทุกคนประพฤติปฏิบัติตน เป็นเยาวชนที่มีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาหาความรู้อย่าง สม�่ำเสมอ มีความเสียสละ มีจิตอาสาในการช่วยเหลือสังคมและ ส่วนรวม รูจ้ กั ปรับตัวให้เข้ากับสังคม วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อมใหม่ ประสบความส�ำเร็จในการศึกษาตามทีม่ งุ่ หวังไว้ รวมทัง้ มีแรงบันดาลใจ ในการน�ำความรู้ไปพัฒนาท้องถิ่นและภูมิล�ำเนาต่อไป เพราะเชื่อว่า การศึกษาเป็นพืน้ ฐานทีส่ �ำคัญอย่างยิง่ ในการพัฒนาตนเอง สังคม และ ประเทศต่อไปในอนาคต” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว


สร้างพลังปัญญาเพื่ออุดมศึกษาไทย

๑๖ - ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘ - สมาคมเครือข่ายพัฒนา วิ ช าชี พ อาจารย์ แ ละองค์ ก รระดั บ อุ ด มศึ ก ษาแห่ ง ประเทศไทย (ควอท) จัดการประชุมวิชาการ ประจ�ำปี ๒๕๕๘ ครั้งที่ ๑๐ เรื่อง สร้างพลังปัญญาเพื่ออุดมศึกษาไทย (Enhancing Students’ Intelligences in Higher Education) ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุ ง เทพฯ โดยได้ รั บ เกี ย รติ จ ากนางสาวอาภรณ์ แก่ น วงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิด นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา กล่าวว่า คุณภาพทางการศึกษาของไทยเป็นปัจจัย ทีส่ �ำคัญมากทีจ่ �ำเป็นต้องมีการพัฒนาให้สามารถรองรับการสร้างคน ให้มที กั ษะทางความคิด ความเข้าใจ มีความสามารถในการอยูร่ ว่ มกับ สังคมอย่างมีความสุข รวมทัง้ ให้มคี วามรู้ ความสามารถทีจ่ ะพัฒนา ประเทศให้คงอยู่และมีความเข้มแข็งเพียงพอที่จะแข่งขันกับนานา ประเทศได้ ดังนั้น จึงต้องพิจารณาลักษณะของการเรียนการสอน ในระดับต่างๆ ว่าได้มกี ารพัฒนาให้เหมาะสมเพียงใด การพัฒนาการ ศึ ก ษาทุ ก ระดั บ ต้ อ งท�ำอย่ า งต่ อ เนื่ อ งจึ ง จะได้ ผ ลอย่ า งแท้ จ ริ ง การจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาซึ่งเป็นช่วงสุดท้าย เพื่อเตรียม

ความพร้อมเข้าสู่การประกอบอาชีพและเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ จึงเป็นสิง่ ส�ำคัญและมีคณ ุ ค่าอย่างยิง่ “สถาบั น การศึ ก ษาและคณาจารย์ ผู ้ ท�ำหน้ า ที่ ใ นการ จัดการเรียนการสอนเป็นส่วนส�ำคัญที่สุดในการออกแบบและสร้าง บั ณ ฑิ ต ที่ มี คุ ณ ลั ก ษณะพึ ง ประสงค์ ต ามกรอบมาตรฐานคุ ณ วุ ฒิ ทั้ ง ๕ ด้ า น ได้ แ ก่ ด้ า นคุ ณ ธรรม จริ ย ธรรม ด้ า นความรู ้ ค วาม สามารถ ด้านทักษะการคิดทีเ่ ป็นเหตุเป็นผล ด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ และอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุขและมีความเข้าใจ รวมทั้ง ด้ า นความสามารถในการสื่ อ สารทั้ ง ภาษาไทยและภาษาสากล เพื่ อ รองรั บ การเปลี่ ย นแปลงในศตวรรษที่ ๒๑ และการเข้ า สู ่ ประชาคมอาเซียน” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า การจัดการศึกษาเพือ่ ให้ ได้ บั ณ ฑิ ต ที่ มี คุ ณ ลั ก ษณะที่ พึ ง ประสงค์ ต้ อ งมี ก ารออกแบบและ วางแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมและเอื้ออ�ำนวย ต่อการสร้างคุณสมบัติดังกล่าว จะเห็นว่าผลผลิตทางการศึกษาที่ เกิดขึน้ ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของภาคผูใ้ ช้บณ ั ฑิตเท่าที่ ควรจะเป็น การพัฒนาอาจารย์จงึ เป็นสิง่ ทีส่ �ำคัญ อันส่งผลต่อการเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพของนักศึกษา อาจารย์ผู้สอนจะต้องเน้นให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง นับเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการเรียน การสอนเพื่อมุ่งไปสู่ผลลัพธ์ที่สามารถดึงศักยภาพในตัวผู้เรียนออกมา ใช้ ไ ด้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพต่ อ ไป อาจารย์ เ ป็ น ปั จ จั ย แห่ ง ความ ส�ำเร็จของผลลัพธ์ในการปฏิรูปการศึกษาที่จะเกิดขึ้น ซึ่งกระทรวง ศึกษาธิการถือว่าเป็นนโยบายทีจ่ ะต้องด�ำเนินการพัฒนาอาจารย์อย่าง ต่อเนื่องและจะน�ำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ของอุดมศึกษาไทยต่อไป

9

อนุสารอุดมศึกษา


ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรสหกิจศึกษา

10

๙ กรกฎาคม ๒๕๕๘ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา จัดการประชุมเชิงปฏิบตั กิ าร (Workshop) ตามโครงการ ความร่วมมือกับสหภาพยุโรปภายใต้กรอบ PDSF (Thailand – EU Policy Dialogue Support Facility) ณ ห้องแซฟไฟร์รมู โรงแรม เซ็นจูรี่ พาร์ค เพื่อพัฒนาหลักสูตรสหกิจศึกษาให้สอดคล้องกับ ลักษณะวิชาชีพและความต้องการของสถานประกอบการ โดยสถาน ประกอบการเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรและส่งเสริม การพั ฒ นาหลั ก สู ต รสหกิ จ ศึ ก ษาให้ ไ ด้ ม าตรฐานในระดั บ สากล ตลอดจนสามารถแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างกันได้อย่างมีคุณภาพ ในอนาคต โดยได้รบั เกียรติจากนายสุภทั ร จ�ำปาทอง รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานในพิธเี ปิด นายสุภัทร จ�ำปาทอง รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา กล่าวว่า ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเห็นว่า การแก้ ป ั ญ หาคุ ณ ภาพบั ณ ฑิ ต ที่ ยั ง ไม่ ส อดคล้ อ งกั บ สภาพตลาด แรงงานในปัจจุบัน สถาบันอุดมศึกษาควรมีบทบาทในการจัดการ ศึกษาโดยมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพให้กับตัวนักศึกษาเพื่อเตรียม ความพร้อมอย่างจริงจัง สกอ. ได้ด�ำเนินโครงการส่งเสริมและสนับสนุน การจัดหลักสูตรสหกิจศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ซึง่ เป็นรูปแบบหนึง่ ของการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการการเรียนรู้กับการท�ำงาน (WIL) มาตัง้ แต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ เพือ่ เป็นการขยายการส่งเสริมและสนับสนุน ให้สถาบันอุดมศึกษาผลิตบัณฑิตทีม่ คี ณ ุ ภาพและสมรรถนะสอดคล้อง กับความต้องการของตลาดแรงงาน สามารถแข่งขันในระดับสากลได้ “ปัจจุบัน การจัดการศึกษาเชิงบูรณาการการเรียนรู้ กับการท�ำงาน (Work Intergrated Learning) มีบทบาทส�ำคัญในการ ส่งเสริมให้นักศึกษาประยุกต์ใช้ความรู้ ความสามารถในการท�ำงาน โดยเฉพาะทักษะส�ำคัญทีส่ มั พันธ์กบั วิชาชีพ อีกทัง้ เพือ่ ให้ได้รจู้ กั ชีวติ การท�ำงานทีแ่ ท้จริงก่อนส�ำเร็จการศึกษา สถาบันการศึกษาจ�ำเป็นต้อง เชื่อมโยงแนวทางการจัดการศึกษาร่วมกันระหว่างภาคการศึกษากับ ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาบัณฑิตให้เป็นทรัพยากรบุคคล ที่มีสมรรถนะสูงและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน

อนุสารอุดมศึกษา

ปัจจุบัน ตลอดจนสามารถแข่งขันในระดับนานาชาติได้อย่างเป็น รูปธรรม” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า การประชุมครั้งนี้ จัดเป็นโครงการน�ำร่องที่เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้ระดมความคิดเห็น ตลอดจนแลกเปลี่ ย นเรี ย นรู ้ แ นวทางในการบู ร ณาการและ พั ฒ นาหลั ก สู ต รสหกิ จ ศึ ก ษาระหว่ า งประเทศไทยกั บ สหพั น ธ์ สาธารณรั ฐ เยอรมนี โดยเฉพาะใน ๓ สาขาวิ ช า ได้ แ ก่ สาขา วิศวกรรมศาสตร์ สาขาการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม สาขาอุตสาหกรรมการเกษตร ทั้งนี้ เพื่อน�ำไปสู่เป้าหมายส�ำคัญ ในการเปรี ย บเที ย บและพั ฒ นาหลั ก สู ต รสหกิ จ ศึ ก ษาร่ ว มกั น การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษาไทยและสหภาพ ยุโรป รวมทั้งการสร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนแนวคิดเพื่อพัฒนา หลักสูตรและวิธีการจัดการเรียนการสอนสหกิจศึกษาที่มีมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งเกิดจากผลสัมฤทธิ์ในการร่วมมือกัน ระหว่ า งสถาบั น การศึ ก ษากั บสถานประกอบการให้ เ กิดคุณ ภาพ ได้อย่างแท้จริง “ผู ้ เข้ า ร่ ว มประชุ ม จะได้ รั บ องค์ ค วามรู ้ แ ละมุ ม มอง ที่ส�ำคัญ โดยเฉพาะแนวทางในการบูรณาการเพื่อพัฒนาหลักสูตร สหกิจศึกษา และจัดสหกิจศึกษาให้เข้าไปมีบทบาทส�ำคัญในฐานะ กลไกที่จะน�ำพาประเทศให้ขับเคลื่อนและยกระดับขีดความสามารถ ด้านการแข่งขันของบัณฑิตไทยให้เข้าไปสู่ความภาคภูมิใจในเวทีโลก และมี ม าตรฐานในระดั บ นานาชาติ ไ ด้ อ ย่ า งเป็ น รู ป ธรรมต่ อ ไป” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว


มาตรฐานข้อมูลอุดมศึกษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๘ - ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาจัดการประชุมชี้แจง เรื่อง ‘การจัดท�ำข้อมูลตาม มาตรฐานข้ อ มู ล อุ ด มศึ ก ษา ปี ก ารศึ ก ษา ๒๕๕๘’ ณ โรงแรม เซ็นจูรี่ พาร์ค เพื่อส่งมอบนโยบายในการด�ำเนินการจัดเก็บข้อมูล รายบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงศึกษาธิการ และชี้แจง ท�ำความเข้าใจในการด�ำเนินงานจัดเก็บข้อมูลรายบุคคล รายการ ข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษาที่ต้องจัดเก็บในปีการศึกษา ๒๕๕๘ ให้กบั มหาวิทยาลัย/สถาบันในสังกัดทุกแห่งได้รบั ทราบ ทัง้ นี้ ก�ำหนด การจัดประชุมชี้แจงฯ แบ่งเป็น ๔ ครั้งตามภูมิภาค ประกอบด้วย ภาคกลาง ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ ณ จังหวัดมหาสารคาม ภาคเหนือ วันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๘ ณ จังหวัดนครสวรรค์ และภาคใต้ ในวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๘ ณ จังหวัดสงขลา โดยในวันนี้ได้รับเกียรติจาก นายสุภัทร จ�ำปาทอง รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานเปิดการประชุม นายสุภัทร จ�ำปาทอง รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายให้ทุก หน่วยงานในสังกัดจัดท�ำข้อมูลรายบุคคลในทุกระดับการศึกษา ตามรูปแบบของกระทรวง และจัดส่งให้ตามระยะเวลาที่ก�ำหนดไว้ เพือ่ กระทรวงศึกษาธิการจะได้น�ำข้อมูลทีไ่ ด้มาใช้ในการวางนโยบาย ทางด้านการศึกษาของประเทศต่อไป ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ในฐานะเป็นหน่วยงานหนึ่งใน ๕ องค์กรหลัก ของกระทรวงศึกษาธิการ ได้รับมอบหมายให้จัดเก็บและรวบรวม ข้ อ มู ล ในระดั บ อุ ด มศึ ก ษา ได้ แ ก่ สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาในสั ง กั ด

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาทุกแห่ง ทั้งรัฐและเอกชน และเพื่ อ เป็ น การอ�ำนวยความสะดวกในการจั ด เก็ บ ข้ อ มู ล ราย บุคคลให้กับสถาบันอุดมศึกษา สกอ. จึงได้พัฒนาระบบน�ำส่งข้อมูล รายบุคคลเข้าสู่คลังข้อมูลอุดมศึกษา ประกอบด้วยข้อมูลรายบุคคล นั ก ศึ ก ษา ข้ อ มู ล รายบุ ค คลบุ ค ลากร ข้ อ มู ล รายบุ ค คลผู ้ ส�ำเร็ จ การศึ ก ษา ข้ อ มู ล การมี ง านท�ำของบั ณ ฑิ ต และข้ อ มู ล หลั ก สู ต ร ซึ่งระบบฯ ดังกล่าวสามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ สถาบันอุดมศึกษาจัดส่งเข้ามาในระบบได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการน�ำส่งข้อมูลให้มีความถูกต้อง ตรวจสอบได้ “ในฐานะผู ้ น�ำนโยบายเรื่ อ งข้ อ มู ล สู ่ ท ่ า นทั้ ง หลาย เพื่ อ ให้ มี ค วามเข้ า ใจถึ ง ความส�ำคั ญ ของข้ อ มู ล ความเชื่ อ มโยง ของข้อมูลกับระบบต่างๆ ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน เข้าใจในรายการ ข้ อ มู ล ที่ มี ก ารปรั บ ปรุ ง ในปี ๒๕๕๘ นี้ และเพื่ อ ให้ ข ้ อ มู ล มี ค วามสมบู ร ณ์ ถู ก ต้ อ งตามรู ป แบบมาตรฐานรายการข้ อ มู ล และระยะเวลาที่ ก�ำหนดในการจั ด ส่ ง ข้ อ มู ล รวมถึ ง รั บ ทราบ ขั้ น ตอนการน�ำส่ ง ข้ อ มู ล เข้ า ระบบคลั ง ข้ อ มู ล อุ ด มศึ ก ษาที่ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้พัฒนาขึ้นเพื่ออ�ำนวย ความสะดวกให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถตรวจสอบความถูกต้อง ของข้ อ มู ล ก่ อ นน�ำข้ อ มู ล เข้ า ระบบ หากได้ ท ราบแล้ ว เข้ า ใจ ถึ ง ความส�ำคั ญ ของข้ อ มู ล ดั ง กล่ า วว่ า น�ำไปใช้ ป ระโยชน์ ใ นการ พั ฒ นาการศึ ก ษาของประเทศอย่ า งไรแล้ ว จะส่ ง ผลให้ ไ ด้ ข้ อ มู ล อุ ด มศึ ก ษาในภาพรวมของประเทศเพื่ อ น�ำไปใช้ ใ นการ วางแผนการพั ฒ นาการศึ ก ษาของประเทศให้ ส มบู ร ณ์ ต ่ อ ไป” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว

11

อนุสารอุดมศึกษา


ปฐมนิเทศทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนา

จังหวัดชายแดนภาคใต้ ๒๕๕๘

12

๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๘ - ส�ำนั ก งานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาจัดการปฐมนิเทศและเตรียมความพร้อมก่อนเข้ารับ การสอบสัมภาษณ์ โครงการทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัด ชายแดนภาคใต้ ระยะที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๘ ณ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จังหวัดปัตตานี ทัง้ นี้ ได้รบั เกียรติ จากรองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานในพิธเี ปิดและมอบนโยบาย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวแสดงความยินดีกับนักเรียน ที่ผ่านการคัดเลือกให้เป็นผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ หรือว่าที่นักศึกษา โครงการทุนอุดมศึกษาเพือ่ การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจ�ำ ปีการศึกษา ๒๕๕๘ ว่า ขอให้ผู้รับทุนตระหนักและเห็นคุณค่า ของเงินทุนการศึกษา ที่มุ่งหมายให้ผู้รับทุนได้มีโอกาสศึกษาต่อ ในระดับปริญญาตรี เพื่อน�ำวิชาความรู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนกลับไป พัฒนาถิ่นฐานบ้านเกิด ช่วยเหลือท้องถิ่นและภูมิล�ำเนาให้เจริญ ก้ าวหน้ า มี สั น ติ สุ ข ทุก ชุม ชน ขอให้ทุก คนตั้งใจรับ ฟังการชี้ แจง การเตรียมความพร้อมในการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา รวมทัง้ การปรับตัวในการใช้ชีวิตระหว่างศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย และเมื่อ นักเรียนทุกคนได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยแล้ว ขอให้ประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นนิสิตนักศึกษาที่มีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษา หาความรูอ้ ย่างสม�ำ่ เสมอ มีความเสียสละ มีจติ อาสาในการช่วยเหลือ สังคมและส่วนรวม รู้จักปรับตัวให้เข้ากับสังคม วัฒนธรรม และ สภาพแวดล้อมใหม่ ประสบความส�ำเร็จในการศึกษาตามที่มุ่งหวังไว้ รวมทัง้ มีแรงบันดาลใจในการน�ำความรูไ้ ปพัฒนาท้องถิน่ และภูมลิ �ำเนา ต่อไป เพราะเชือ่ ว่าการศึกษาเป็นพืน้ ฐานทีส่ �ำคัญอย่างยิง่ ในการพัฒนา ตนเอง สังคม และประเทศต่อไปในอนาคต “สกอ. เห็นถึงความจ�ำเป็นในการสนับสนุนทุนการศึกษา ให้แก่นิสิต นักศึกษา ซึ่งเป็นปัจจัยส�ำคัญที่จะสร้างโอกาสทางการ ศึกษาให้กบั เยาวชนให้สามารถพัฒนาความรู้ เพือ่ การประกอบอาชีพ ภายหลังส�ำเร็จการศึกษา สามารถพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพชีวิต ที่ ดี ไ ด้ ทุ น การศึ ก ษาท�ำให้ เ ยาวชนที่ ข าดโอกาสได้ รั บ การศึ ก ษา

อนุสารอุดมศึกษา

อย่ า งเท่ า เที ย มกั น มี ข วั ญ และก�ำลั ง ใจในการศึ ก ษาเล่ า เรี ย น ช่ ว ยลดความกั ง วลในเรื่ อ งค่ า ใช้ จ ่ า ยในการเรี ย น อย่ า งไรก็ ต าม สกอ. ขอขอบคุ ณ สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาทั้ ง ๘๔ แห่ ง ทั่ ว ประเทศ ที่ให้ความอนุเคราะห์ที่นั่งการศึกษา พร้อมทั้งมอบทุนค่าเล่าเรียน ให้แก่เยาวชนใน ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้ได้ศึกษาต่อ ในระดั บ ปริ ญ ญาตรี ต ามระยะเวลาการศึ ก ษาของหลั ก สู ต ร” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว โครงการทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดน ภาคใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของเยาวชน จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลในการใช้ การศึกษาเป็นกลไกส�ำคัญในการขับเคลือ่ นปัญหาความไม่สงบในพืน้ ที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยหนึ่งในเป้าหมายการด�ำเนินงานที่ส�ำคัญ คือ การสร้างและขยายโอกาสทางการศึกษา รวมทั้งการบูรณาการ หน่วยงานทุกภาคส่วน เพื่อสนับสนุนทุนการศึกษาให้นักเรียนและ เยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่าง ต่อเนื่องและทั่วถึง ส�ำหรับโครงการทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนา จังหวัดชายแดนภาคใต้ ระยะที่ ๒ ในปีการศึกษา ๒๕๕๘ มีสถาบัน อุดมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการจ�ำนวน ๘๔ แห่ง ได้ให้การสนับสนุน ที่ นั่ ง การศึ ก ษาเป็ น กรณี พิ เ ศษ พร้ อ มให้ ทุ น การศึ ก ษาเพื่ อ เป็ น ค่ า เล่ า เรี ย นในคณะ/สาขาวิ ช าต่ า งๆ ตลอดหลั ก สู ต รจนส�ำเร็ จ การศึกษาตามระยะเวลาของหลักสูตร จ�ำนวน ๒,๓๒๓ ที่นั่ง และ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาสนับสนุนเงินทุนค่าครองชีพ ให้แก่นักศึกษาตามระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร จ�ำนวน ๑๒๕ ทุน เป็นเงินทุนคนละ ๔๐,๐๐๐ บาทต่อปีการศึกษา โครงการทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดน ภาคใต้ ได้ด�ำเนินการรับสมัครระหว่างวันที่ ๒๗ - ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๘ ณ มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ วิ ท ยาเขตปั ต ตานี ซึ่งส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์ สอบสัมภาษณ์ เมือ่ วันที่ ๑๗ กรกฎาคม ทีผ่ า่ นมา โดยมีจ�ำนวนผูส้ มัคร ทัง้ สิน้ ๑,๓๔๐ คน และมีผทู้ ผี่ า่ นการคัดเลือกให้มสี ทิ ธิส์ อบสัมภาษณ์ จ�ำนวนทัง้ สิน้ ๕๑๗ คน


กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

บัญชีจ่ายที่สอง

๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๘ - ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา จัดการประชุมชีแ้ จงผูบ้ ริหารและผูป้ ฏิบตั งิ านกองทุน เงินให้กยู้ มื เพือ่ การศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในความรับผิดชอบ ของคณะอนุ ก รรมการบั ญ ชี จ ่ า ยที่ ส อง ประจ�ำปี ง บประมาณ พ.ศ.๒๕๕๘ ณ โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ท ปทุมธานี เพื่อชี้แจง ให้ความรู้ความเข้าใจหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดสรรวงเงิน ส�ำหรับผู้กู้ยืมรายใหม่ ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๕๘ และชี้แจง หลั ก เกณฑ์ ก ารคั ด เลื อ กผู ้ กู ้ ยื ม และหลั ก เกณฑ์ ก ารคั ด กรอง สถานศึ ก ษา ที่ จ ะน�ำมาใช้ ใ นปี ก ารศึ ก ษา ๒๕๕๙ พร้ อ มทั้ ง สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสถาบันและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสามารถให้ข้อมูลที่ถูกต้องตามระเบียบกองทุนฯ ตลอดจน ระดมความคิดเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้และรับฟังปัญหา/อุปสรรค ในการด�ำเนินงานกองทุนฯ ของสถานศึกษา โดยได้รับเกียรติ จากนายขจร จิ ต สุ ขุ ม มงคล ผู ้ ช ่ ว ยเลขาธิ ก ารคณะกรรมการ การอุดมศึกษาเป็นประธานเปิดการประชุม นายขจร จิตสุขุมมงคล ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา กล่าวว่า ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ทราบถึงข้อจ�ำกัดและอัตลักษณ์ของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่ง ในการจัดสรรวงเงินให้สถาบันอุดมศึกษา นอกจากจะมีการก�ำหนด จ�ำนวนรายและจ�ำนวนเงินในแต่ละระดับการศึกษาแล้ว ยังได้ ก�ำหนดให้ผู้กู้ยืมได้รับค่าครองชีพเต็มตามจ�ำนวนที่ก�ำหนดไว้ใน ขอบเขตของแต่ละระดับการศึกษา คุณภาพ มาตรฐานในการจัดการ ศึกษาและคุณภาพชีวติ ของนิสติ นักศึกษาเป็นเงือ่ นไขให้สถานศึกษา ต้องด�ำเนินการ เช่น สาขาที่ได้รับอนุมัติให้กู้ยืมจะต้องผ่านการ รับทราบหรือรับรองตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา รวมถึงการสนับสนุนให้นสิ ติ นักศึกษา ศึกษาในสาขาที่เป็นความต้องการหลักและมีความชัดเจนของการ ผลิตก�ำลังคน “ในด้ า นการบริ ห ารงานกองทุ น เงิ น ให้ กู ้ ยื ม เพื่ อ การศึกษา ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาควรตระหนักว่าเป็นหน้าที่ ของสถาบันที่ต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของกองทุนเงิน ให้กยู้ มื เพือ่ การศึกษาและรับผิดชอบด�ำเนินการ ดังนี้ (๑) ด�ำเนินการ

ตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ และถือปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และ ข้อบังคับของกองทุนฯ อย่างเคร่งครัด พร้อมรับการตรวจสอบจาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตลอดเวลา (๒) สถานศึกษาต้องมีจริยธรรม ในการด�ำเนินงานกองทุน เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับนิสิตนักศึกษา ได้แก่ ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ และจิตอาสา เป็นต้น (๓) คัดกรอง ผู้กู้ว่ามีคุณสมบัติและความเหมาะสมจะได้รับเงินกู้เพื่อพิจารณา ติดตามผลการศึกษา การมีงานท�ำ ความรับผิดชอบในการใช้หนี้เงินกู้ ตามนโยบาย และ (๔) ปลูกฝังศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรม แก่ผู้กู้ให้มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม รวมทั้งมีจิตส�ำนึก ในการช�ำระหนี้ เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่ผู้อื่นต่อไป” ผู้ช่วยเลขาธิการ กกอ. กล่าว ผู ้ ช ่ ว ยเลขาธิ ก าร กกอ. กล่ า วต่ อ ว่ า ในปั จ จุ บั น หาก สถานศึ ก ษาไม่ ไ ด้ ถื อ ปฏิ บั ติ ใ ห้ เ ป็ น ไปตามกฎระเบี ย บที่ ก องทุ น ก�ำหนดไว้และไม่ด�ำเนินการในระบบ e-Audit และ/หรือด�ำเนินการ ไม่ครบถ้วน กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาได้ด�ำเนินการระงับ การโอนเงิ น ค่ า เล่ า เรี ย นและค่ า ใช้ จ ่ า ยที่ เ กี่ ย วเนื่ อ งกั บ การศึ ก ษา แล้ ว แต่ ก รณี และเมื่ อ สถานศึ ก ษาได้ ด�ำเนิ น การให้ กู ้ ยื ม ไป เรียบร้อยแล้ว สถานศึกษายังคงมีภาระที่จะต้องด�ำเนินการอย่าง ต่อเนื่อง คือ การสร้างจิตส�ำนึกให้นักศึกษาสามารถส�ำเร็จการศึกษา ตามระยะเวลาที่ก�ำหนดในหลักสูตร รวมทั้งสร้างจิตส�ำนึกให้กับ ผู้กู้ยืมในขณะที่ศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งส�ำคัญที่สุดที่สถานศึกษาจะต้อง ติดตามผู้กู้ให้มีส�ำนึกที่ดีหลังจากที่ส�ำเร็จการศึกษาจากสถานศึกษา ไปแล้ ว นั ก ศึ ก ษาต้ อ งมี ค วามรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คม มี ห น้ า ที่ ต ้ อ ง ช�ำระหนี้คืนกองทุนฯ เพื่อที่จะได้น�ำเงินที่ได้รับช�ำระคืนมาหมุนเวียน ให้นักศึกษารุ่นใหม่ได้กู้ต่อไป ส�ำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ กองทุนเงินให้กู้ยืม เพื่อการศึกษา (กยศ.) ได้มีการปรับกฎเกณฑ์และเงื่อนไขต่างๆ ได้แก่ เกณฑ์การคัดเลือกผูก้ แู้ ละเกณฑ์การคัดกรองสถานศึกษา เพือ่ ให้สถาน ศึกษาเตรียมความพร้อมและสามารถน�ำมาใช้ได้ในปีการศึกษา ๒๕๕๙ รวมถึงสัดส่วนน�ำ้ หนักเกณฑ์การจัดสรรวงเงินส�ำหรับผูก้ ยู้ มื รายใหม่ ที่ เริ่มใช้ในปี ๒๕๕๘ พร้อมทั้งให้แบ่งสัดส่วนระหว่างกลุ่มสังคมศาสตร์ : กลุ่มวิทยาศาสตร์ เป็น ๕๐ : ๕๐ เป็นต้น

13

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่องเล่า

อาเซียน

31st AUN BOT Meeting 14

ASEAN University Network Board of Trustees Meeting หรือการประชุม AUN BOT เป็นการประชุมประจ�ำปีของ คณะกรรมการบริหารเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน เพื่อก�ำหนด นโยบายให้ความเห็นชอบและให้ขอ้ เสนอแนะต่อการด�ำเนินกิจกรรม ของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน คณะกรรมการบริหารเครือข่าย มหาวิ ท ยาลั ย อาเซี ย น ประกอบด้ ว ย เลขาธิ ก ารคณะกรรมการ การอุดมศึกษาเป็นประธาน กรรมการ ประกอบด้วย ประธาน ทีป่ ระชุมเจ้าหน้าทีอ่ าวุโสด้านการศึกษาของอาเซียน ผูแ้ ทนอธิการบดี ของมหาวิทยาลัยสมาชิก ประเทศละ ๑ คน ผู้แทนจากส�ำนักงาน เลขาธิการอาเซียน ผูแ้ ทนจากส�ำนักงานเลขาธิการรัฐมนตรีศกึ ษาแห่ง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และผูอ้ �ำนวยการบริหารส�ำนักงานเลขานุการ เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนท�ำหน้าที่เลขานุการ

อนุสารอุดมศึกษา

ในปีนี้ ระหว่างวันที่ ๒๗ - ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ได้มีการจัดประชุมประจ�ำปีของคณะกรรมการบริหารเครือข่าย มหาวิ ท ยาลั ย อาเซี ย น ครั้ ง ที่ ๓๑ (31st ASEAN University Network Board of Trustees Meeting – AUN BOT) และการ ประชุมที่เกี่ยวข้อง คือ 4th ASEAN-China Rectors Conference และ 7th AUN Rectors Meeting ณ มหาวิทยาลัยแห่งชาติ สิ ง คโปร์ โดยรองศาสตราจารย์ พิ นิ ติ รตะนานุ กู ล เลขาธิ ก าร คณะกรรมการการอุดมศึกษา ในฐานะประธานคณะกรรมการ บริหารเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน ได้เข้าร่วมการประชุมด้วย ทัง้ นี้ ทีป่ ระชุมได้เห็นชอบการปรับปรุงเกณฑ์การประกัน คุ ณ ภาพในระดั บ หลั ก สู ต รของเครื อ ข่ า ยมหาวิ ท ยาลั ย อาเซี ย น จากเดิม ๑๕ เกณฑ์ เหลือ ๑๑ เกณฑ์ ได้แก่ (๑) ผลการเรียนรู้ ที่คาดหวัง (๒) รายละเอียดของหลักสูตร (๓) โครงสร้างและเนื้อหา ของหลักสูตร (๔) วิธีการจัดการเรียนการสอน (๕) การประเมิน ผู้เรียน (๖) คุณภาพอาจารย์ผู้สอน (๗) คุณภาพบุคลากรสาย สนั บ สนุ น (๘) คุ ณ ภาพนั ก ศึ ก ษาและการสนั บ สนุ น นั ก ศึ ก ษา (๙) สิง่ อ�ำนวยความสะดวกและโครงสร้างพืน้ ฐาน (๑๐) การส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพ และ (๑๑) ผลผลิต โดยผู้ประเมินของเครือข่าย มหาวิทยาลัยอาเซียนจะใช้เกณฑ์นี้ในการประเมินอย่างเต็มรูป ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ และได้เห็นชอบในหลักการให้ Universiti Kabangsaan Malaysia จัดตั้ง AUN AEC Thematic Network เพือ่ ส่งเสริมกิจกรรมความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาสมาชิก กับภาคอุตสาหกรรม


ปั จ จุ บั น AUN มี เ ครื อ ข่ า ยย่ อ ยภายใต้ เ ครื อ ข่ า ย มหาวิทยาลัยอาเซียนที่เรียกว่า AUN Thematic Network รวม ๙ เครือข่าย ได้แก่ (๑) AUN/Southeast Asia Engineering Education Development Network: AUN/SEED-Net ส�ำนักงาน เลขานุการตั้งอยู่ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (๒) ASEAN University Network for Business and Economics: AUN-BE ส�ำนักงานเลขานุการตั้งอยู่ที่ Universitas Gadjah Mada (๓) ASEAN University Network Inter-Library Online: AUNILO ส�ำนักงานเลขานุการตัง้ อยูท่ ี่ Universiti Sains Malaysia (๔) ASEAN Credit Transfer System: ACTS ส�ำนักงานเลขานุการตั้งอยู่ที่ Universitas Indonesia (๕) AUN Human Rights Education

Network: AUN-HERN ส�ำนักงานเลขานุการตั้งอยู่ที่สถาบันสิทธิ มนุษยชนและสันติศกึ ษา มหาวิทยาลัยมหิดล (๖) AUN Intellectual Property Network: AUNIP ส�ำนักงานเลขานุการตั้งอยู่ที่สถาบัน ทรัพย์สินทางปัญญา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (๗) AUN University Social Responsibility & Sustainability: AUN-USR&S ส�ำนักงานเลขานุการตั้งอยู่ที่ Universiti Kabangsaan Malaysia (๘) AUN Health Promotion Network (อยูร่ ะหว่างการจัดตัง้ ) และ (๙) AUN AEC Thematic Network (อยู่ระหว่างการจัดตั้ง) AUN Thematic Network เปิ ด โอกาสให้ ส ถาบั น อุดมศึกษาที่ไม่ได้เป็นสมาชิกเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนเข้าร่วม เป็นสมาชิก AUN Thematic Network และร่วมกิจกรรมได้

15

อนุสารอุดมศึกษา


เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network; AUN) เป็นความร่วมมือของสถาบันอุดมศึกษาระหว่างประเทศ สมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน ก่อตั้งขึ้นเมื่อพฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๙๕ รวม ๑๓ สถาบัน ต่อมาได้ขยาย ความร่วมมือระหว่างอาเซียนเพิ่มมากขึ้น ท�ำให้สมาชิกของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนเพิ่มจ�ำนวนเป็น ๓๐ สถาบัน

ประเทศ กัมพูชา

สถาบันอุดมศึกษา

ที่ตั้ง

• มหาวิทยาลัยภูมินทร์พนมเปญ (Royal University of Phnom Penh) • มหาวิทยาลัยภูมินทร์นิติศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ (Royal University of Law and Economics)

• พนมเปญ

บรูไน

• มหาวิทยาลัยแห่งบรูไนดารุสซาลาม (Universiti Brunei Darussalam)

• บันดาร์เสรีเบกาวัน

ไทย

• จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn University) • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Chiang Mai University) • มหาวิทยาลัยบูรพา (Burapha University) • มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University) • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (Prince of Songkla University)

• กรุงเทพมหานคร • เชียงใหม่ • ชลบุรี • นครปฐม • สงขลา

เมียนมาร์

• มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง (University of Yangon) • มหาวิทยาลัยมัณฑะเลย์ (University of Mandalay) • สถาบันเศรษฐศาสตร์ย่างกุ้ง (Yangon Institute of Economics) • Ateneo de Manila University • มหาวิทยาลัย De La Salle (De La Salle University) • มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ (University of the Philippines)

• ย่างกุ้ง • มัณฑะเลย์ • ย่างกุ้ง

ฟิลิปปินส์

16 มาเลเซีย

• พนมเปญ

• เกซอนซิตี • มะนิลา • เกซอนซิตี

• มหาวิทยาลัยมาลายา (Universiti Malaya) • มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งมาเลเซีย (Universiti Sains Malaysia) • มหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย (Universiti Kebangsaan Malaysia) • มหาวิทยาลัยอุตรา มาเลเซีย (Universiti Utara Malaysia) • มหาวิทยาลัยปุตรา มาเลเซีย (Universiti Putra Malaysia)

• กัวลาลัมเปอร์ • ปีนัง

ลาว

• มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว (National University of Laos)

• เวียงจันทน์

เวียดนาม

• มหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม นครโฮจิมินห์ (Vietnam National University, Ho Chi Minh City) • มหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม ฮานอย (Vietnam National University, Hanoi) • มหาวิทยาลัยเกิ่นเทอ (Can Tho University)

• นครโฮจิมินห์

• มหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์ (Singapore Management University) • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง (Nanyang Technological University) • มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore) • มหาวิทยาลัยแห่งอินโดนีเซีย (Universitas Indonesia) • มหาวิทยาลัยกัดจาห์ มาดา (Universitas Gadjah Mada) • สถาบันเทคโนโลยีบันดุง (Institut Teknologi Bandung) • มหาวิทยาลัยแอร์ลังกา (Universitas Airlangga)

• สิงคโปร์

สิงคโปร์

อินโดนีเซีย

อนุสารอุดมศึกษา

• Bangi, สลังงอร์ • Sintok, Kedah • Serdang, สลังงอร์

• ฮานอย • เกิ่นเทอ • สิงคโปร์ • สิงคโปร์ • จาการ์ตา • ย๊อกจาการ์ตา • บันดุง • ซูราบายา


เรื่อง

พิเศษ


18

Bike for Mom ‘ปั่นเพื่อแม่’ เป็นกิจกรรมปั่นจักรยาน เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องใน โอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๓ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๘ เพื่อให้พสกนิกรในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศไทยได้มีโอกาส ร่วมกิจกรรม กิ จ กรรมปั ่ น เพื่ อ แม่ พ ร้ อ มกั น ทั้ ง ประเทศ ก�ำหนดจั ด ในวั น อาทิ ต ย์ ที่ ๑๖ สิ ง หาคม ๒๕๕๘ ตั้ ง แต่ เวลา ๑๕.๐๐ น. เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดี ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ • เพื่ อ เป็ น การเฉลิ ม พระเกี ย รติ ส มเด็ จ พระนางเจ้ า ฯ พระบรมราชิ นี น าถ เนื่ อ งในโอกาสมหามงคล เฉลิ ม พระชนมพรรษา ๘๓ พรรษา ๑๒ สิ ง หาคม ๒๕๕๘ • เพื่ อ ให้ พ สกนิ ก รทุ ก หมู ่ เ หล่ า ได้ แ สดงออกถึ ง ความจงรักภักดี ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ • เพื่อเป็นการร่วมแสดงออกของประชาชนถึงความรัก ที่มีต่อแม่ และแม่ของแผ่นดิน • เพื่อให้พสกนิกรทุกหมู่เหล่าได้มีโอกาสร่วมกิจกรรม ปัน่ จักรยานเฉลิมพระเกียรติอย่างทัว่ ถึง และเสริมสร้าง ความสามัคคีของคนในชาติ ที่จะร่วมกันจัดกิจกรรม ถวายพระพรแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ • เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในการร่วม ออกก�ำลังกาย ท�ำให้สุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ปลู ก ฝั ง ให้ ป ระชาชนรั ก การออกก�ำลั ง กายและ เสริ ม สร้ า งความมี น�้ำ ใจเป็ น นั ก กี ฬ า อี ก ทั้ ง ได้ น�ำ กิจกรรมดังกล่าวไปต่อยอดขยายผลต่อไป

อนุสารอุดมศึกษา


สมเด็ จ พระบรมโอรสาธิ ร าชฯ สยามมกุ ฎ ราชกุ ม าร ทรงจั ก รยานเสด็ จ ฯ พร้ อ มด้ ว ยพระเจ้ า หลานเธอ พระองค์ เจ้ า พั ช รกิ ติ ย าภา จากพระที่ นั่ ง อั ม พรสถานมายั ง บริ เวณพระลาน พระราชวังดุสิตเพื่อทรงเปิดกิจกรรมปั่นจักรยานเฉลิมพระเกียรติ อย่างเป็นทางการ ภายหลัง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา กราบบังคม ทูลถวายวัตถุประสงค์จบ ได้มีการปล่อยลูกโป่งสีฟ้าพิมพ์ค�ำว่า ‘ไบค์ ฟอร์ มัม ปั่นเพื่อแม่’ จ�ำนวน ๑,๐๐๐ ลูก จากนั้น สมเด็ จ พระบรมโอรสาธิ ร าชฯ สยามมกุ ฎ ราชกุ ม าร ทรงจั ก รยานจากพลั บ พลาพิ ธี ไ ปยั ง จุ ด สตาร์ ท พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงน�ำ จักรยานขบวนบีตามเสด็จ

19

อนุสารอุดมศึกษา


20

ส�ำหรับส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ร่วมกิจกรรม Bike for Mom ‘ปัน่ เพือ่ แม่’ โดยรองศาสตราจารย์พนิ ติ ิ รตะนานุกลู เลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา นายสุภทั ร จ�ำปาทอง รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา พร้อมด้วยข้าราชการและเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมขบวนปัน่ จักรยานใน เส้นทางต่างๆ นอกจากนี้ ยังได้รว่ มมือในการจัดนักศึกษาอาสาสมัครจ�ำนวนกว่า ๑,๐๐๐ คน จากสถาบันอุดมศึกษา ๑๑ แห่ง คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนนั ทา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลพระนคร วิทยาเขตเทเวศร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ ช่วยสนับสนุนกิจกรรมในด้านต่างๆ

อนุสารอุดมศึกษา


เหตุการณ์

เล่าเรื่อง

ครุศึกษาสำ�หรับครูในอนาคต การศึ ก ษาเป็น กลไกที่ส�ำคัญ ในการพัฒนาทรัพ ยากร มนุษย์อันจะส่งผลต่อการพัฒนาสังคมและประเทศชาติโดยตรง และในระบบการศึ ก ษา ‘ครู ’ เป็ น บุ ค ลากรที่ มี บ ทบาทส�ำคั ญ ในกระบวนการจั ด การศึ ก ษา เพราะเป็ น ผู ้ ที่ อ ยู ่ ใ กล้ ชิ ด ผู ้ เรี ย น มากที่ สุ ด ซึ่ ง การจะได้ครูที่ดีมีคุณภาพนั้น สถาบันผลิตครู หรื อ สถาบั น ครุ ศึ ก ษา จะต้ อ งเป็ น สถาบั น หลั ก ในกระบวนการสร้ า ง บ่มเพาะ และพัฒนาว่าที่ครูใหม่ของประเทศ ซึ่งเป็นไปตามบทบาท พื้นฐานของสถาบันครุศึกษาทั่วโลก ได้แก่ การสร้างและบ่มเพาะ บัณฑิตครูสู่สังคม การพัฒนาองค์ความรู้แก่ครูประจ�ำการที่อยู่ใน ระบบการศึกษา การพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการและงานวิจัยที่ เกีย่ วข้องกับการศึกษา และต่อมาได้มกี ารเพิม่ เติมบทบาทของสถาบัน ครุศึกษาอีกบทบาทหนึ่ง ได้แก่ ให้มีองค์ความรู้ที่ทันสมัยเท่าทันโลก ปัจจุบันและโลกอนาคตในศตวรรษที่ ๒๑ ดังนั้น สถาบันครุศึกษา จะต้ อ งเป็ น สถาบั น หลั ก ในการสร้ า งและส่ ง ต่ อ ความรู ้ ท าง การศึกษา เพื่อก�ำหนดแนวทางการพัฒนาการศึกษาของประเทศ ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพแก่ภาครัฐ ในช่วงระยะเวลานี้ เป็นช่วงเวลาของการปฏิรูปประเทศ การศึกษาเป็นเรื่องหนึ่งที่มีการปฏิรูป โดยเฉพาะด้านการผลิต และพัฒนาครู จึงควรแสวงหาองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีที่จะ ช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง ท�ำให้สถาบันครุศึกษาไทยสามารถ ปฏิบตั หิ น้าทีแ่ ละบทบาทได้เต็มประสิทธิภาพ มีความก้าวหน้าเท่าทัน การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกในยุคโลกาภิวัตน์

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จึงจัดการประชุม สัมมนา เรื่อง ‘การเปลี่ยนแปลงการครุศึกษาส�ำหรับครูในอนาคต’ (Transforming Teacher Education for Future Teachers) ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์ เมื่อระหว่างวันที่ ๒๗ - ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๘ โดยได้รับเกียรติจากนายกฤษณพงศ์ กีรติกร รัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการสัมมนาและบรรยาย พิเศษในหัวข้อ ‘นโยบายรัฐบาล : ระบบการผลิตและพัฒนาครู’ มีวทิ ยากรในหน่วยงานหลักของกระทรวงศึกษาธิการและผูท้ รงคุณวุฒิ ได้แก่ ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส�ำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ส�ำนักงานเลขาธิการคุรุสภา สถาบัน ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รองศาสตราจารย์ ประวิต เอราวรรณ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ ผู ้ ช ่ ว ยศาสตราจารย์ ไ มตรี อิ น ทรประสิ ท ธิ์ คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นวิทยากรร่วมกันน�ำเสนอภายใต้หัวข้อ ‘แนวทางใหม่การผลิตและพัฒนาครู’ นอกจากนี้ ส�ำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา ร่วมกับคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และศึกษาฟอรัม่ เรียนเชิญผูเ้ ชีย่ วชาญจากประเทศ ฟินแลนด์ สิงคโปร์ และเนเธอร์แลนด์ ทีป่ ระสบความส�ำเร็จจากแนวคิด ‘สถาบันครุศกึ ษาเป็นหัวจักรส�ำคัญในการขับเคลือ่ นการพัฒนาระบบ การศึกษาของชาติ’ เป็นผู้น�ำการเปลี่ยนแปลงในระดับอุดมศึกษา

21

อนุสารอุดมศึกษา


22

ที่เสนอแนะกลยุทธ์ แนวทาง วิธีการ จากการศึกษาวิจัยอย่างเป็น ระบบ เพื่อน�ำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการศึกษาของประเทศ มาร่ ว มอภิ ป รายโต๊ ะ กลมกั บ ผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ในหั ว ข้ อ ‘The New Frontier : Governance in Teacher Education’ ทัง้ นี้ ได้เชิญผูบ้ ริหารระดับนโยบาย ผูบ้ ริหารและคณาจารย์ ของสถาบันครุศึกษาทั่วประเทศ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ผู้ทรง คุ ณ วุ ฒิ และผู ้ แ ทนหน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ระบบการผลิ ต และ พัฒนาครูทั่วประเทศ จ�ำนวน ๔๐๐ ท่าน มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเข้าใจพัฒนาการทางครุศึกษาของประเทศที่ประสบความส�ำเร็จ ในฐานะครุศึกษาเป็นผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง สามารถสร้าง บ่มเพาะ และพั ฒ นาครู ที่ มี ศั ก ยภาพสู ง เชื่ อ มโยงกั บ การพั ฒ นาการศึ ก ษา ของชาติ รวมทั้ ง ร่ ว มระดมความคิ ด เพื่ อ น�ำเสนอกลยุ ท ธ์ ก าร เปลี่ยนแปลงส�ำหรับการสร้างครูใหม่และการพัฒนาครูประจ�ำการ ของประเทศให้ มี เ อกภาพ มี ป รั ช ญา และมี เ ป้ า ประสงค์ ร ่ ว มกั น โดยมีความหลากหลายในการปฏิบัติ “การจัดประชุมสัมมนาครั้งนี้ถือว่าเป็นการระดมความคิด เพื่ อ การแสวงหากลยุ ท ธ์ แ ละน�ำเสนอกลยุ ท ธ์ ก ารเปลี่ ย นแปลง การครุศึกษาส�ำหรับครูในอนาคต ทั้งการสร้างครูใหม่ที่จะเข้าสู่ระบบ การศึกษา และพัฒนาครูประจ�ำการที่อยู่ในระบบการศึกษา ที่มีการ บูรณาการร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง” รองศาสตราจารย์ พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าว

อนุสารอุดมศึกษา

นายกฤษณพงศ์ กีรติกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง ศึกษาธิการ กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การน�ำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาประเทศ ในด้านการศึกษาและเรียนรู้ ดังจะเห็นได้จากนโยบายของรัฐบาล ข้อที่ ๔.๖ ซึ่งมุ่งพัฒนาระบบการผลิตและพัฒนาครูให้มีคุณภาพ และมีจิตวิญญาณของความเป็นครู เน้นให้ครูผู้สอนมีวุฒิตรงตาม วิชาที่สอน น�ำเทคโนโลยีสารสนเทศและเครื่องมือที่เหมาะสมมาใช้ ในการเรียนการสอน เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยครูหรือเพื่อการเรียนรู้ ด้วยตนเอง เช่น การเรียนทางไกล การเรียนโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็ น ต้ น รวมทั้ ง ปรั บ ระบบการประเมิ น สมรรถนะที่ ส ะท้ อ น ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาคุณภาพ ผู้เรียนเป็นส�ำคัญ “กระทรวงศึกษาธิการในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบ ด้านการศึกษาของประเทศ ได้มุ่งเน้นการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ โดยยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สามารถเสริมสร้างความมั่นคง ของชาติและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้เป็นที่ยอมรับในระดับ สากล พร้อมทั้งได้ให้ความส�ำคัญกับวิชาชีพครู ดังจะเห็นได้จาก นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการข้อที่ ๔ ว่าด้วยการส่งเสริมและ ยกสถานะของครู ซึ่งเป็นบุคลากรหลักในระบบการศึกษา และ ให้ความส�ำคัญกับการสร้างเสริมให้วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง ในสังคม เป็นบุคลากรที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นแบบอย่างที่ดีใน


เรื่องคุณธรรมและจริยธรรม มีภูมิความรู้และทักษะในการสื่อสาร ถ่ายทอดความรู้ที่เหมาะสม มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพครู ตลอดจนมี ฐานะและคุณภาพชีวิตที่ดีสอดคล้องกับสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ไทยในปัจจุบัน” รมช.ศธ. กล่าว รมช.ศธ. กล่าวต่อว่า การมุ่งเน้นการผลิตและพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพ ยังจัดเป็นหนึ่งในนโยบาย เฉพาะทีก่ ระทรวงศึกษาธิการต้องเร่งด�ำเนินการให้เห็นผลภายในหนึง่ ปี โดยการพั ฒ นาระบบการผลิตครูให้ เพี ยงพอต่อความต้องการและ เหมาะสมกั บ อั ต ราก�ำลังข้าราชการครูแ ละบุคลากรทางการศึ ก ษา ปรั บ ระบบการรั บ รองมาตรฐานวิ ช าชี พ ครู ปรั บ ระบบการบริ ห าร งานบุคคล การประเมินวิทยฐานะของครูและบุคลากรทางการศึกษา การท�ำให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามีจิตวิญญาณของความเป็น ครู การเป็นครูมืออาชีพ และยึดมั่นในจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมถึง การมีระบบสนับสนุนการพัฒนาตนเองและแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อ เนือ่ ง โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้ในระบบ คลังความรู้ การแลกเปลีย่ นเรียนรู้ และการประเมินผลอย่างเป็นรูปธรรม กระทรวงศึกษาธิการเป็นองค์กรที่มีโครงสร้างใหญ่มีหน่วย งานที่เกี่ยวข้องกับระบบการผลิตและพัฒนาครูจ�ำนวนมากโดยแต่ละ หน่วยงานก็มแี ผนงาน/โครงการในการด�ำเนินงานในลักษณะต่างคน ต่าง คิด ต่างท�ำ ซึง่ การจัดประชุมสัมมนาในวันนีเ้ ป็นโอกาสอันดีทหี่ น่วยงาน ต่างๆ ที่เกี่ยวกับระบบการผลิตและพัฒนาครูของกระทรวงศึกษาธิการ ได้มารวมกัน เพือ่ เรียนรูค้ วามส�ำเร็จของประเทศจากแนวคิด ‘สถาบันครุ ศึกษาเป็นหัวจักรส�ำคัญในการขับเคลือ่ นการพัฒนาระบบการศึกษาของ ชาติ’ เป็นผู้น�ำการเปลี่ยนแปลงในระดับอุดมศึกษาที่เสนอแนะกลยุทธ์ แนวทางวิธกี ารจากการศึกษาวิจยั อย่างเป็นระบบ เพือ่ น�ำมาประยุกต์ใช้ ในการพัฒนาการศึกษาของประเทศ และน�ำเสนอแผนงาน/โครงการ ที่ก�ำลังด�ำเนินการ รวมทั้งมาร่วมกันระดมความคิดเพื่อเสนอกลยุทธ์ การเปลี่ยนแปลงส�ำหรับการสร้างครูใหม่และการพัฒนาครูประจ�ำการ ของประเทศ

23 การแลกเปลีย่ นเรียนรูก้ ารท�ำงานของกันและกัน และ ได้รวมพลังกันในการสัมมนาครัง้ นี้ เพือ่ เสนอแนวทางการสร้างครู ใหม่และการพัฒนาครูประจ�ำการที่จะสามารถยกระดับคุณภาพ การศึกษา เสริมสร้างความมั่นคงของชาติและเพิ่มศักยภาพใน การแข่งขันให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลได้ รมช.ศธ. กล่าว

อนุสารอุดมศึกษา


ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

LOGO

เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๒๖ http://www.mua.go.th pr_mua@mua.go.th www.facebook.com/ohecthailand www.twitter.com/ohec_th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.