อนุสารอุดมศึกษา issue 442

Page 1

อุดมศึกษา อนุสาร

LOGO

ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๔๔๒ ประจำ�เดือนเมษายน ๒๕๕๘

เอกสารเผยแพร่ของสำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ISSN 0125-2461

อนุสารอุดมศึกษาออนไลน์ www.mua.go.th/pr_web


สารบัญ

CONTENT

ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๔๔๒ ประจำ�เดือนเมษายน ๒๕๕๘

เรื่องเล่าอุดมศึกษา สกอ. ร่วมมือ เอไอที ดำ�เนินกิจกรรมทางด้านการศึกษาวิจัย สกอ. เตรียมพร้อมสถาบันอุดมศึกษารับนักศึกษา New Colombo Plan ‘My Chinese Dream’ ประกวดสุนทรพจน์ภาษาจีนระดับอุดมศึกษา ประจำ�ปีการศึกษา ๒๕๕๘

สกอ. ติดตามนักเรียนทุนเรียนดีมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สกอ. ร่วม ๖ สถาบันอุดมศึกษา จัดนิทรรศการ ‘Thailand: Your Study Destination’

เรื่องพิเศษ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

๒๒

เรื่องแนะนำ� ขอแสดงความยินดี รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา APAIE Conference and Exhibition 2015

เล่าเรื่องด้วยภาพ

๑๗ ๒๒

๑๗

คณะผู้จัดทำ�

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๒๖ http://www.mua.go.th pr_mua@mua.go.th www.facebook.com/ohecthailand www.twitter.com/ohec_th ที่ปรึกษา

รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ นายสุภัทร จำ�ปาทอง นายขจร จิตสุขุมมงคล นายศิระวิทย์ คลี่สุวรรณ บรรณาธิการ นายกฤษณ์กร วงศ์ไทย กองบรรณาธิการ นางสาวปิยาณี วิริยานนท์ นางชุลีกร กิตติก้อง นายเจษฎา วณิชชากร นางปราณี ชื่นอารมณ์ นายจรัส เล็กเกาะทวด พิมพ์ที่ บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำ�กัด (มหาชน) โทรศัพท์ ๐ ๒๔๒๒ ๙๐๐๐ โทรสาร ๐ ๒๔๓๓ ๒๗๔๒


เรื่องเล่า

อุดมศึกษา

สกอ. ร่วมมือ เอไอที ดำ�เนินกิจกรรมทางด้านการศึกษาวิจัย

๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา จัดพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือวิชาการ โครงการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาวิจัย ระหว่าง ส�ำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษากั บ สถาบั น เทคโนโลยี แห่งเอเชีย เพื่อใช้ประโยชน์ทรัพยากรเครือข่ายด้านการศึกษาวิจัย ร่วมกัน โดยได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และศาสตราจารย์ วรศั ก ดิ์ กนกนุ กุ ล ชั ย อธิ ก ารบดี ส ถาบั น เทคโนโลยี แ ห่ ง เอเชี ย ร่วมกันลงนาม ณ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการ คณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา เปิ ด เผยภายหลั ง การลงนามว่ า ปัจจุบันส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้พัฒนาและ วางโครงสร้างเครือข่ายเพื่อการศึกษาวิจัยไว้ครอบคลุมการศึกษา ทั้งระบบผ่านบนเครือข่าย UniNet โดยขณะนี้สามารถเชื่อมโยง เครือข่ายของสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา อาชีวศึกษา และโรงเรียน รวมถึงหน่วยงานเพื่อการศึกษาวิจัย จ�ำนวนกว่า ๑๐,๐๐๐ แห่ ง ซึ่ ง หนึ่ ง ในจ�ำนวนดั ง กล่ า วนี้ ไ ด้ ร วมถึ ง สถาบั น เทคโนโลยี แ ห่ ง เอเชี ย ที่ ไ ด้ รั บ บริ ก ารเครื อ ข่ า ยความเร็ ว สู ง เพื่ อ สนับสนุนกิจกรรมด้านการศึกษาวิจัยมาอย่างต่อเนื่อง เลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า องค์ประกอบส�ำคัญที่ใช้ ในการเชื่อมโยงระบบสื่อสารความเร็วสูง คือ หมายเลขที่อยู่บน

อินเทอร์เน็ต (IP Address) ซึ่งปัจจุบัน IP Version 4 มีเหลือเพียง หน่วยงานที่ได้รับจัดสรรเป็นเจ้าของถือครองไว้ก่อนหน้าเท่านั้น ซึง่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียเป็นหน่วยงานหนึง่ ซึง่ เป็นเจ้าของถือ ครองหมายเลขอินเทอร์เน็ต ได้เล็งเห็นประโยชน์ในการสนับสนุน พัฒนาระบบการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร จึงได้มอบชุดหมายเลขที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตให้กับส�ำนักงานคณะ กรรมการการอุดมศึกษา โดยส�ำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ เพือ่ พัฒนาการศึกษา ท�ำหน้าทีบ่ ริหารจัดการเพือ่ ประโยชน์ในด้าน การศึกษาวิจัย และช่วยให้การพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไปสู่ โรงเรียนและชุมชนห่างไกลเป็นไปได้อย่างไม่ติดขัด “โครงการความร่วมมือทางวิชาการครั้งนี้ สถาบัน เทคโนโลยี แ ห่ ง เอเชี ย จึ ง ได้ ต กลงที่ จ ะสนั บ สนุ น หมายเลข อินเทอร์เน็ต จ�ำนวน 128 Class C หรือ ๓๒,๗๖๘ หมายเลข ให้กับ สกอ. ใช้งานในเครือข่าย UniNet ส�ำหรับบริการเชื่อมต่อ เครื อ ข่ า ยกั บ สถาบั น การศึ ก ษาเพื่ อ ด�ำเนิ น กิ จ กรรมทางด้ า น การศึกษาวิจัย โดยที่ สกอ. จะสนับสนุนสื่อใยแก้วน�ำแสงเชื่อมต่อ ให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงระหว่างเครือข่าย UniNet กับ AIT ที่ขนาดความเร็ว ๑ กิกะบิตต่อวินาที นอกจากนี้ยังได้ พัฒนาความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากรร่วมกัน ภายใต้กรอบ วัตถุประสงค์ของการส่งเสริมกิจกรรมความร่วมมือเพื่อการศึกษา วิจัยที่มีคุณภาพร่วมกันต่อไป” เลขาธิการ กกอ. กล่าว

3

อนุสารอุดมศึกษา


สกอ. เตรียมพร้อมสถาบันอุดมศึกษา รับนักศึกษา New Colombo Plan

4

๒ เมษายน ๒๕๕๘ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาจัดการประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับนักศึกษา จากออสเตรเลียภายใต้โครงการ New Colombo Plan ณ ห้องประชุม ศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ New Colombo Plan และเตรี ย มความพร้ อ มให้ กั บ สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาไทยในการรั บ นั ก ศึ ก ษาออสเตรเลี ย ภายใต้ โ ครงการ New Colombo Plan ประจ�ำปี พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยได้รับเกียรติจาก นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานเปิดการประชุม นอกจากนี้ ฯพณฯ พอล โรบิลลิอาร์ด เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจ�ำประเทศไทย ได้ให้เกียรติมา บรรยายให้ขอ้ มูลเกีย่ วกับโครงการ New Colombo Plan และผูแ้ ทน จากมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และนางสาวอภิรดี บุณยเลขา กรรมการบริหาร บริษัท เอเชียเนีย อินเตอร์เนชั่นแนล คอนซัลทิง จ�ำกัด มาบรรยาย แนวทางในการดึ ง ดู ด ให้ ส ถาบั น อุ ด มศึ ก ษาออสเตรเลี ย สนใจ ส่งนักศึกษามาเข้าร่วมโครงการ ณ สถาบันอุดมศึกษาไทย นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา กล่าวในการเปิดการประชุมว่า การแลกเปลี่ยน นักศึกษาภายใต้โครงการ New Colombo Plan จะช่วยส่งเสริม ความสัมพันธ์ทงั้ ระดับบุคคลและสถาบันระหว่างไทยและออสเตรเลีย เกิดการสร้างเครือข่ายด้านการศึกษา ส่งเสริมการพัฒนาสถาบัน อุดมศึกษาทั้งระบบ รวมทั้งส่งเสริมชื่อเสียงด้านความเป็นสากลของ อุดมศึกษาไทย ด้ า น ฯพณฯ พอล โรบิ ล ลิ อ าร์ ด เอกอั ค รราชทู ต ออสเตรเลี ย ประจ�ำประเทศไทย ได้ ใ ห้ ข ้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ โครงการ

อนุสารอุดมศึกษา

New Colombo Plan ว่าเป็นความคิดริเริ่มของนางจูลี่ บิชอป รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลีย เพื่อเพิ่ม จ�ำนวนนักศึกษาออสเตรเลียระดับปริญญาตรีที่ไปศึกษาหรือ ฝึกงานในต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศแถบอินโด-แปซิฟิก โครงการ New Colombo Plan ได้รับความสนใจจากนักศึกษา ออสเตรเลียมาก และจากการติดตามผลการด�ำเนินโครงการน�ำร่อง ในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ นักศึกษาออสเตรเลียที่เข้าร่วมโครงการร้อยละ ๙๗.๕ แนะน�ำให้เพื่อนนักศึกษาด้วยกันเข้าร่วมโครงการ New Colombo Plan และในการด�ำเนินโครงการในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ และ ๒๕๕๙ ได้มกี ารขยายประเทศเจ้าภาพในแถบอินโด - แปซิฟกิ ซึ่งครอบคลุมประเทศไทยด้วย และมีการสนับสนุนนักศึกษาให้ เข้าร่วมโครงการมากยิ่งขึ้น จึงเห็นว่าเป็นโอกาสของไทยในการ เพิม่ จ�ำนวนนักศึกษาออสเตรเลียในสถาบันอุดมศึกษาไทย แต่ขณะ เดียวกันก็มีการแข่งขันสูง ดังนั้นจึงแนะน�ำว่า สถาบันอุดมศึกษา ไทยควรติดต่อกับสถาบันอุดมศึกษาออสเตรเลีย และท�ำให้สถาบัน อุดมศึกษาออสเตรเลียรูจ้ กั สถาบันอุดมศึกษาไทยมากยิง่ ขึน้ เพือ่ ให้ มีโอกาสในการรับนักศึกษาออสเตรเลียจ�ำนวนมากยิ่งขึ้น ส�ำหรับวิทยากรท่านอื่นได้แนะน�ำแนวทางในการ ดึงดูดให้สถาบันอุดมศึกษาออสเตรเลียส่งนักศึกษามาเข้าร่วม โครงการ New Colombo Plan ในประเทศไทย การสร้าง พันธมิตรกับสถาบันอุดมศึกษาออสเตรเลีย ข้อมูลเกณฑ์ในการ คัดเลือกนักศึกษา/โครงการเพือ่ เข้าร่วมโครงการ New Colombo Plan ประโยชน์ของโครงการ New Colombo Plan ในการสร้าง ความมัน่ ใจในคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาไทย และสร้างโอกาส ให้กับสถาบันอุดมศึกษาในเวทีนานาชาติ


‘My Chinese Dream’ ประกวดสุนทรพจน์ภาษาจีน ระดับอุดมศึกษาประจำ�ปีการศึกษา ๒๕๕๘ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่ ว มกั บ ส�ำนั ก งานส่ ง เสริ ม การเรี ย นการสอนภาษาจี น นานาชาติ ป ระจ�ำ ประเทศไทย และสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน จัดงาน ประกวดสุนทรพจน์ภาษาจีนระดับอุดมศึกษา ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๕๘ ในหัวข้อ ‘My Chinese Dream’ โดยได้รับเกียรติจากนางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานในพิธเี ปิด และมาดามซุนหลิง (Sun Ling) ผู้แทนส�ำนักงานส่งเสริมการเรียนการสอน ภาษาจีนนานาชาติประจ�ำประเทศไทย ร่วมงาน ณ โรงแรมรัชดาซิตี้ นางสาวอาภรณ์ แก่ น วงศ์ รองเลขาธิ ก ารคณะกรรมการ การอุดมศึกษา กล่าวว่า การแข่งขันประกวดสุนทรพจน์ภ าษาจีนระดับ อุ ด มศึ ก ษาเพื่ อ คั ด เลื อ กนั ก ศึ ก ษาไทยเป็ น ผู ้ แ ทนเข้ า ร่ ว มการประกวด ระดับนานาชาติที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ด�ำเนินการต่อเนื่องทุกปี ส�ำหรับการประกวดในปีนี้ ประเทศไทยจัดเร็วขึ้นเนื่องจากการปรับเปลี่ยน ระยะเวลาการเปิ ด -ปิ ด ภาคการศึ ก ษาของสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาไทยให้ สอดคล้องกับประชาคมอุดมศึกษานานาชาติ และได้ก�ำหนดจัดงานในวันนี้ ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และปีนี้เป็นโอกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุ ครบ ๕ รอบ พระองค์ทรงได้รับสมัญญาว่าเป็น ‘ทูตสันถวไมตรีไทย-จีน’ เนื่ อ งด้ ว ยทรงเป็ น ผู ้ ก ระชั บ ความสั ม พั น ธ์ แ ละส่ ง เสริ ม การแลกเปลี่ ย น วัฒนธรรมไทย-จีน มาเป็นระยะเวลายาวนาน นับแต่ทรงเยือนจีนครั้งแรก ในปี ๒๕๒๔ รวมทั้งกระทรวงศึกษาธิการของจีนได้ทูลเกล้าฯ ถวาย ‘รางวัล มิตรภาพภาษาและวัฒนธรรมจีน’ แด่พระองค์ เมือ่ วันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๔๓ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าทรงเป็นแบบอย่างของผู้เรียนภาษาที่สามารถใช้ภาษา ได้อย่างแตกฉาน ไม่เพียงเฉพาะภาษาจีนเท่านั้น แต่ยังทรงศึกษาภาษา ต่างประเทศ อาทิ อังกฤษ ฝรั่งเศส ละติน บาลี-สันสกฤต ได้อย่างดียิ่งด้วย

5

อนุสารอุดมศึกษา


6

“การแข่งขันระดับประเทศในวันนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้น ทีต่ วั แทนนักศึกษาไทยจะได้กา้ วออกไปเพือ่ แข่งขันกับตัวแทนระดับ ประเทศจากหลากหลายชาติทั่วโลกที่จะไปเข้าร่วมการประกวด สุนทรพจน์ระดับนานาชาติที่สาธารณรัฐประชาชนจีนในเดือน กรกฎาคมที่จะถึงนี้ ทั้งนี้ ขอเป็นก�ำลังใจให้นักศึกษาทุกคนตั้งใจ ท�ำภารกิจนี้อย่างดีที่สุด อย่างเต็มก�ำลังความสามารถของตนเอง เพื่อที่จะได้ก้าวไปข้างหน้าอย่างเชื่อมั่น และสามารถสร้างชื่อเสียง ให้แก่ตนเอง ให้แก่สถาบัน และให้แก่ประเทศชาติ” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า ประเทศไทยถือเป็น ประเทศทีม่ นี กั เรียน นักศึกษาเรียนภาษาจีนเป็นล�ำดับต้นๆ ของโลก เราต้องแสดงให้เห็นว่าเราไม่ได้มเี พียงจ�ำนวนผูเ้ รียนทีม่ าก แต่ผเู้ รียน ของเรายังมีคุณภาพไม่ด้อยไปกว่าที่อื่น หากต้องการที่จะประสบ ความส�ำเร็จในการแข่งขัน นักศึกษาจะต้องมีความมุ่งมั่น ทุ่มเท และอุตสาหะ ต้องพยายามท�ำให้ความเอาใจใส่ในการสอนของ ครูบาอาจารย์เกิดผลอันน่าชื่นใจ ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นการตอบแทนท่าน ได้อย่างดีที่สุด และจะท�ำให้การประกวดในวันนี้เป็นประสบการณ์ ที่มีค่าและเป็นประโยชน์ส�ำหรับนักศึกษาอย่างแท้จริง รวมทั้ง นักศึกษาคนอื่นๆ ที่มาร่วมชมการประกวดและให้ก�ำลังใจเพื่อน น่าจะเกิดแรงบันดาลใจในการกลับไปพัฒนาตนเองให้สามารถ มี โ อกาสก้ า วขึ้ น มาบนเวที แ ห่ ง นี้ ในฐานะตั ว แทนของสถาบั น เฉกเช่นเดียวกับผู้เข้าประกวดในวันนี้

อนุสารอุดมศึกษา

ส�ำหรั บ ผู ้ ช นะ ๒ คนแรก ที่ ไ ด้ ทุ น การศึ ก ษา จากสถาบั น ขงจื่ อ เพื่ อ ศึ ก ษาต่ อ ระดั บ ปริ ญ ญาโทและ เป็นตัวแทนไปแข่งระดับนานาชาติทจี่ นี ในเดือนกรกฎาคม คือ นางสาวอาทิตยา กิตวงค์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ นางสาวนิพร ปรางค์แสงวิไล มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง


สกอ. ติดตามนักเรียนทุนเรียนดี มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาจัดการประชุมสัมมนาเพื่อติดตามนักเรียนทุนโครงการ พัฒนาก�ำลังคนด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ทุนเรียนดี มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย) เพือ่ ติดตามความ ก้าวหน้าด้านการศึกษาและการด�ำเนินชีวติ ของนักเรียนทุน พร้อมทัง้ สร้างขวัญ ให้ก�ำลังใจ และสร้างความเข้าใจทีถ่ กู ต้องแก่นกั เรียนทุน ตลอดจนแลกเปลีย่ นข้อคิดเห็นเกีย่ วกับโครงการฯ รับทราบปัญหา และอุ ป สรรคของนั ก เรี ย นทุ น และหน่ ว ยงานที่ ร ่ ว มโครงการฯ ที่ดูแลนักเรียนทุน และให้ค�ำปรึกษา ค�ำแนะน�ำ แก่นักเรียนทุน ณ โรงแรมเดอะทวิน ทาวเวอร์ โดยได้รบั เกียรติจากนางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธาน เปิดการประชุม นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา กล่าวว่า จากการด�ำเนินโครงการพัฒนาก�ำลังคน ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ทุนเรียนดีมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย) ตลอดระยะเวลา ๗ ปี การประชุม วันนีจ้ ะเป็นประโยชน์ทที่ กุ ภาคส่วนทีเ่ กีย่ วข้องกับโครงการได้ทราบ ถึงประเด็นของปัญหาและอุปสรรค ทั้งในส่วนของนักเรียนทุน สถาบันฝ่ายผลิต และสถาบันต้นสังกัด การได้รบั ทราบความก้าวหน้า ด้ า นการศึ ก ษาและการด�ำเนิ น ชี วิ ต ของนั ก เรี ย นทุ น จะเป็ น ประโยชน์ในการให้ค�ำแนะน�ำ ค�ำปรึกษา การช่วยแก้ปัญหาให้กับ นั ก เรี ย นทุ น ซึ่ ง จะส่ ง ผลให้ ส ามารถส�ำเร็ จ การศึ ก ษาเพื่ อ ไป ปฏิบัติงานชดใช้ทุนได้ตามสัญญา รวมทั้งจะเป็นโอกาสอันดีที่ จะได้ร่วมพบปะพูดคุยกับสถาบันฝ่ายผลิต และสถาบันต้นสังกัด ซึง่ จะส่งผลให้การบริหารโครงการเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพิ่มมากขึ้น

โครงการพั ฒ นาก�ำลั ง คนด้ า นมนุ ษ ยศาสตร์ แ ละ สั ง คมศาสตร์ (ทุ น เรี ย นดี ม นุ ษ ยศาสตร์ แ ละสั ง คมศาสตร์ แ ห่ ง ประเทศไทย) ด�ำเนินโครงการ ๗ ปี มีนักเรียนทุนรวม ๕๖๒ คน แบ่งเป็นทุนในประเทศ ๑๕๔ ทุน และทุนต่างประเทศ ๔๐๘ ทุน จ�ำแนกเป็น การรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อรับทุน รวม ๔ ครั้ง มีผู้ สอบผ่านเป็นนักเรียนทุน รวม ๒๗๑ คน แบ่งเป็นทุนในประเทศ ๕๕ ทุน และทุนต่างประเทศ ๒๑๖ ทุน และการคัดเลือกผูร้ บั ทุน ๔ ครัง้ มีนักเรียนทุน รวม ๒๙๑ คน แบ่งเป็น ทุนในประเทศ ๙๙ ทุน และ ทุนต่างประเทศ ๑๙๒ ทุน ซึ่งการด�ำเนินการที่ผ่านมา ส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษาให้ความส�ำคัญในการจัดสรรทุน ในสาขาวิชาด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยได้รับความ ร่วมมือและการอนุเคราะห์จากหน่วยงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

7

อนุสารอุดมศึกษา


สกอ. ร่วม ๖ สถาบันอุดมศึกษา จัดนิทรรศการ ‘Thailand: Your Study Destination’

8

๒๓ - ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๘ - ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุ ด มศึ ก ษา และสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาไทย ๖ แห่ ง ได้ แ ก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหิดล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยรามค�ำแหง ได้ร่วมจัดนิทรรศการ การศึกษา ในลักษณะ Exhibition Pavilion ประเทศไทย ในชื่อ ‘Thailand: Your Study Destination’ ในงานประชุมวิชาการ และนิทรรศการการศึกษา APAIE Conference and Exhibition 2015 ซึ่งเป็นการจัดประชุมและงานนิทรรศการ ครั้งที่ ๑๐ ของ Asia-Pacific Association for International Education (APAIE) โดยมหาวิทยาลัยปักกิ่งเป็นเจ้าภาพ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๓ - ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๘ ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติปกั กิง่ (Beijing International Convention Center: BICC) กรุงปักกิง่ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีกิจกรรม การประชุมวิชาการ ในหัวข้อ The New Paradigm of Engaging Asia Pacific Universities for Exchange and Cooperation in a Global Context: Challenges, Opportunities and Solutions และการจั ด นิ ท รรศการ การศึกษา ผู้จัดงานได้จัดพื้นที่ส�ำหรับจัดนิทรรศการจ�ำนวนกว่า ๑๐๐ คูหา และเชิญชวนให้สถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานด้าน การศึกษาจากประเทศต่างๆ มาร่วมจัดนิทรรศการเพื่อเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาหรือหน่วยงาน ของตนให้แก่ผู้เข้าร่วมงาน ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้น�ำเอกสาร ประชาสัมพันธ์เกีย่ วกับอุดมศึกษาไทยในภาพรวม ได้แก่ การจัดการ ศึกษาในระดับอุดมศึกษา รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดและ ในก�ำกับ หลักสูตรนานาชาติในสถาบันอุดมศึกษา และข้อมูลทีค่ วรรู้ ในการเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาไทย รวมทั้งเอกสารเผยแพร่

อนุสารอุดมศึกษา

เกี่ยวกับประเทศไทยจากส�ำนักงานการท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทย ส�ำนักงานกรุงปักกิง่ และนิทรรศการประชาสัมพันธ์ดา้ นวัฒนธรรมไทย จากส�ำนั ก งานที่ ปรึ ก ษาฝ่ า ยพาณิ ช ย์ ณ กรุ ง ปั ก กิ่ ง ซึ่งประจ�ำ อยู ่ ส ถานเอกอั ค รราชทู ต ณ กรุ ง ปั ก กิ่ ง มาร่ ว มจั ด แสดงด้ ว ย โดยในระหว่างการจัดงานมีผู้สนใจมาสอบถามข้อมูลในประเด็น ต่ า งๆ ได้ แ ก่ หลั ก สู ต รนานาชาติ การแลกเปลี่ ย นนั ก ศึ ก ษา ทุนการศึกษา ในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ การท่องเทีย่ ว และอื่นๆ เป็นต้น และแนวทางการสร้างความร่วมมือกับสถาบัน อุ ด มศึ ก ษาไทย นอกจากนี้ ได้ มีตั ว แทนในการจั ด หานักศึกษา ต่างชาติและการจัดงานนิทรรศการการศึกษามาติดต่อให้ข้อมูล เพื่อประชาสัมพันธ์และเชิญชวนเข้าร่วมจัดงาน ส�ำหรั บ สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาไทย ๖ แห่ ง ที่ ร ่ ว มจั ด นิทรรศการได้มีการนัดหมายคู่เจรจาของสถาบันอุดมศึกษาไทยซึ่ง เป็นผู้ที่ท�ำงานร่วมกันอยู่แล้วเพื่อพบปะหารือกัน และหากมีปัญหา ที่ต้องการการแก้ไขก็สามารถพูดคุยร่วมกันเพื่อแสวงหาแนวทาง ในการแก้ไขปัญหา เนื่องจากมีตัวแทนระดับผู้บริหารของสถาบัน มาร่วมเจรจาด้วย เพื่อให้การท�ำงานร่วมกันในอนาคตเป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปชมนิทรรศการ อื่นๆ และเข้าร่วมการประชุมวิชาการที่จัดคู่ขนานกันภายในงาน การร่วมงานดังกล่าวนับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าส�ำหรับ สถาบันอุดมศึกษาไทย เนื่องจากสามารถพบปะหารือความร่วมมือ กับสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานต่างประเทศจากหลากหลาย ประเทศในเวทีเดียว นอกจากนี้ ตั ว แทนของสถาบั น อุ ด มศึ ก ษายั ง ได้ มี โอกาสไปเยี่ยมชมสถาบันอุดมศึกษาจีนที่ทางผู้จัดงานได้ประสาน ให้ลงทะเบียนล่วงหน้าส�ำหรับการเข้าร่วมกิจกรรมนี้ โดยไม่มี ค่าใช้จ่าย แต่จ�ำกัดจ�ำนวนผู้เยี่ยมชมแต่ละสถาบัน


เรื่อง

พิเศษ

9

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระประสูติกาล เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรนิ ธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ด�ำรงพระอิสริยศักดิ์เป็น “สมเด็จพระเทพ รั ต นราชสุ ด า เจ้ า ฟ้ า มหาจั ก รี สิ ริ น ธร รั ฐ สี ม าคุ ณ ากรปิ ย ชาติ สยามบรมราชกุมารี” ด้วยเหตุที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์นี้ ทรงบ�ำเพ็ญพระราชกิจนานัปการ อันเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หรือพระนามไม่เป็นทางการทีใ่ ช้ในหม่คู นไทยว่า “สมเด็จพระเทพ” หรือ “พระเทพ” ทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์ที่ ๓

ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันเสาร์ที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๘ ณ พระทีน่ งั่ อัมพรสถาน พระราชวัง ดุสิต เมื่อประสูติทรงมีพระนํ้าหนักเพียง ๒,๕๕๐ กรัม จึงทรงมี พระพลานามั ย ไม่ ส ู้ จ ะแข็ ง แรง พระนาภี มั ก ไม่ ค ่ อ ยปกติ แ ละ ทรงแพ้พระกระยาหารหลายอย่าง ต่อมาเมื่อเจริญพระชนมายุ พระอาการเหล่านี้จึงหายไปโดยล�ำดับ และทรงมีพระพลานามัย สมบูรณ์แข็งแรง ทรงได้รับการปลูกฝังพัฒนาทั้งในด้านความใฝ่รู้ คุณธรรม การทรงงานเพื่อส่วนรวมและเพื่อมนุษย์แห่งโลกหล้า พระองค์ทรงด�ำรงในความดีงามเหล่านี้ด้วยความมุ่งมั่นแน่วแน่

อนุสารอุดมศึกษา


10 การศึกษา ใน พ.ศ. ๒๕๐๑ พระองค์ทรงเข้าศึกษาชั้นอนุบาล ที่ โรงเรี ย นจิ ต รลดา ซึ่ ง ตั้ ง อยู่ ใ นพื้ น ที่ พ ระต�ำหนั ก จิ ต รลดา รโหฐาน พระราชวังดุสิต ทรงศึกษาในระดับอนุบาล ๓ ปี มากกว่า หลักสูตรในขณะนัน้ ๑ ปี ด้วยยังทรงพระเยาว์เกินกว่าจะทรงเรียน ชั้นประถมศึกษา ตั้งแต่อยู่ชั้นอนุบาล ๒ ก็ทรงฝึกหัดการอ่านได้ดี และพั ฒ นาต่ อ เนื่ อ งมาด้ ว ยเพ็ ญ พิ ริ ย ะ ทรงใฝ่ ร ู้ รั ก การอ่ า น จึงทรงเรียนดีได้เป็นที่หนึ่งของชั้น ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย ในปีการศึกษา ๒๕๑๐ (พ.ศ. ๒๕๑๐ - ๒๕๑๑) ทรงสอบ ชัน้ ประถมศึกษาตอนปลาย (คือชัน้ ป.๗ ในขณะนัน้ ) ตามหลักสูตร ของกระทรวงศึกษาธิการได้เป็นทีห่ นึง่ ของประเทศ ทรงได้คะแนน รวม ๙๖.๖ เปอร์เซ็นต์ จึงทรงได้รบั พระราชทานรางวัลเรียนดีส�ำหรับ นักเรียนเรียนดีทั่วประเทศจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ กรีฑาสถานแห่งชาติ และทรงได้รับทูลเกล้าฯ ถวายเข็มเรียนดี จากโรงเรียนจิตรลดาเป็นประวัติการณ์พระองค์แรกด้วย ต่ อ มาใน พ.ศ. ๒๕๑๖ (ปี ก ารศึ ก ษา ๒๕๑๕) ทรงส�ำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สายศิลป์ ใน ขณะนัน้ นักเรียนทุกคนต้องสอบไล่ดว้ ยข้อสอบเดียวกันทัว่ ประเทศ

อนุสารอุดมศึกษา

ทรงสอบไล่ได้เป็นที่หนึ่งของประเทศในสายศิลป์ จากนั้นทรง สอบเอนทรานซ์เข้าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่ ง ทรงเลื อ กเป็ น อั น ดั บที่ ห นึ่ ง และอี ก ๔ ปี ต ่ อ มาทรงส�ำเร็จ การศึกษาระดับปริญญาตรี ได้รับปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง คะแนนสะสมเฉลี่ย ๓.๙๘ เป็นที่หนึ่ง ของชั้น และได้รับพระราชทานเหรียญทองในฐานะที่ทรงสอบ ได้คะแนนสูงสุดในกลุ่มบัณฑิตวิชาเอก สาขาประวัติศาสตร์ ผู้ที่ จะได้รับพระราชทานเหรียญทองนั้น จะต้องได้รับทุนเรียนดี ทุกปีการศึกษา สอบได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง และเป็นที่หนึ่งใน วิชาเอกนั้นๆ ในระหว่างที่เรียนปริญญาตรีนั้นด้วย หลังจากนั้นได้ทรงศึกษาต่อปริญญาโท ๒ สาขาวิชา ได้รบั พระราชทานปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึก ภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒ และ ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบาลีและสันสกฤต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๔ ทรงส�ำเร็จการศึกษาดุษฎีบณ ั ฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๙


นักการศึกษาผู้เปี่ยมอัจฉริยญาณ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เคยรั บ สั่ ง กั บ พระสหายใกล้ ชิ ด ว่ า โปรดอาชี พ สองอย่ า งคื อ นักเขียนและครู แต่ถ้าหากต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งก็ทรงเลือก ที่จะเป็นครู ด้วยพระราชหฤทัยที่เปี่ยมด้วยความรัก ความเมตตา ต่อเยาวชน และด้วยพระราชปรัชญาที่ว่า นอกจากการมีอาหาร บริโภคตามพื้นฐานในการด�ำรงชีวิตแล้ว การศึกษาเป็นสิทธิขั้น พื้นฐานของเด็กทุกคน โดยไม่เลือกเชื้อชาติ ชั้นวรรณะ เผ่าพันธ์ุ หรื อ ศาสนา ดั ง นั้ น โครงการแรกที่ ท รงริ เริ่ ม ใน พ.ศ. ๒๕๒๓ หลั ง จากส�ำเร็ จ การศึ ก ษาจึ ง เป็ น โครงการที่ ท รงท�ำในโรงเรี ย น ทรงเริ่มต้นด้วยโครงการอาหารกลางวัน ผักสวนครัว ที่โรงเรียน ต�ำรวจตระเวนชายแดน ๓ แห่ ง เป็ น การสอนให้ นั ก เรี ย นท�ำ การเกษตรเพื่อน�ำมาประกอบเป็นอาหารกลางวัน มีพระราชด�ำริว่า ถ้านักเรียนรู้จักวิธีผลิตอาหารเอง จะท�ำให้พวกเขามีอาหารกิน ไปตลอดชีวิต จะดีกว่าการน�ำอาหารไปแจก ต่อมาโครงการนี้ได้ขยายเป็นโครงการพัฒนาเด็กและ เยาวชนในถิ่ น ทุ ร กั น ดาร ครอบคลุม กว่า ๗๐๐ โรงเรียนในถิ่ น กันดารห่างไกลทั่วประเทศ และมีขอบข่ายการพัฒนาครบทุกด้าน ทั้ ง การศึ ก ษา สุ ข ภาพอนามั ย สาธารณสุ ข วั ฒ นธรรมและ ภูมิปัญญาท้องถิ่น สิ่งแวดล้อม และงานอาชีพ โรงเรียนเป็นของ ชุ ม ชนและเป็ น ศู น ย์ ก ลางของชุ ม ชนในการท�ำกิ จ กรรมต่ า งๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น กล่าวได้ว่า ทรงพระปรีชายิ่งด้านการศึกษา ทรงริเริ่ม การทรงงานในโครงการต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม และทรงดูแล ติ ด ตามอย่ า งใกล้ ชิ ด จนแนวพระราชด�ำริ ต ่ า งๆ เป็ น ที่ ย อมรั บ ของนักการศึกษาทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ทรงได้รับการ ยกย่องเฉลิมพระเกียรติคุณจากหลายองค์การในระดับนานาชาติว่า ทรงเป็นผู้น�ำและผู้รู้จริงจากการปฏิบัติในการพัฒนาการศึกษา ให้ถ้วนทั่วแก่ทุกกลุ่มชนในถิ่นกันดารห่างไกลและผู้ด้อยโอกาส ทุกกลุ่ม ที่ด�ำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ ตรงตามเป้าหมาย ของยูเนสโก เรื่อง การศึกษาเพื่อทุกคน หรือ Education for All พระราชกรณียกิจนานาในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้านการศึกษา เป็นแบบอย่างของการพัฒนา การศึกษาแก่ผดู้ อ้ ยโอกาส ไม่วา่ จะเป็นผ้ทู อี่ ย่ใู นถิน่ ทุรกันดาร ผ้พู กิ าร ผู้ลี้ภัย ผู้ต้องโทษคุมขัง เด็กที่เจ็บป่วยเรื้อรัง เป็นต้น รวมทั้งทรง ห่วงใยพัฒนาการของเด็กตั้งแต่ยังเป็นทารกในครรภ์มารดาอีกด้วย เมื่ อมี ผ ู้ ก ราบบังคมทูลถามเกี่ยวกับ หลัก การศึ ก ษาที่ ทรงใช้ มักจะทรงอ้างถึงหลักที่ใช้กันในสังคมไทยสมัยก่อนที่ว่า การศึกษาต้องประกอบด้วย ๔ อย่าง คือ พุทธิศึกษา การศึกษา วิชาความรู้ หัตถศึกษา การศึกษาภาคปฏิบัติ พลศึกษา การพัฒนา สุขภาพกายและใจ และจริยศึกษา การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม เกี่ยวกับวิธีการศึกษา ก็ทรงใช้หลักการที่ใช้กันสมัยก่อนเช่นกัน คือ สุ จิ ปุ ลิ ที่ยังคงคุณภาพเคียงคู่กับกาลเวลา ดังจะได้อธิบาย ในหัวข้อต่อไป

ในด้านความเป็นครูที่เปี่ยมจริยะนั้น ผลงานการสอน การปลูกฝังอบรมในภาระหน้าที่ของ “ทูลกระหม่อมอาจารย์” ทีโ่ รงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า สถิตในความทรงจ�ำความร�ำลึก ของเหล่านักเรียนนายร้อย และประจักษ์ชัดแจ้งแก่มหาชน

ทรงยกระดับการศึกษาของผู้พิการ สืบเนือ่ งจากทีส่ มเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี ได้มพี ระราชด�ำริวา่ ผ้พู กิ ารทัง้ ทีห่ หู นวก ตาบอด และแขน ขาพิการ ที่มีอยู่เป็นจ�ำนวนกว่า ๕๐๐,๐๐๐ คนในประเทศไทยนั้น แม้จะมีความบกพร่องในทางร่างกาย แต่พวกเขาก็มีความสามารถ และสติปัญญาดีไม่แพ้คนปกติธรรมดาเลย ซึ่งหากผู้พิการเหล่านั้น ได้ รั บ การสนั บ สนุ น ให้ มี โ อกาสศึ ก ษาเล่ า เรี ย นทั ด เที ย มกั บ คน ปกติ ทั่ ว ไปแล้ ว ต่ อ ไปในภายภาคหน้ า พวกเขาก็ จ ะสามารถ ด�ำรงชีวิตอยู่ได้โดยปราศจากความรู้สึกที่เป็นปมด้อยว่าเป็นบุคคล ที่ไร้ค่า และต้องเป็นภาระแก่ผู้อื่น พระองค์จงึ ทรงริเริม่ ทีจ่ ะช่วยยกระดับทางการศึกษาแก่ ผ้พู กิ าร ด้วยการพระราชทานพระราโชบายให้โรงเรียนระดับประถม ศึกษาและมัธยมศึกษาของรัฐบาลที่มีความพร้อมเปิดรับนักเรียน และเยาวชนที่พิการเข้าศึกษาเล่าเรียนร่วมกับนักเรียนปกติ ซึ่งผล จากการริเริ่มนี้ปรากฏว่า นักเรียนที่พิการเหล่านั้นนอกจากจะมี ผลการเรียนดีไม่แพ้นกั เรียนปกติแล้ว พวกเขายังสามารถช่วยเหลือ ตนเองได้เป็นอย่างดี และมีความเชื่อมั่นในตนเองสูงมากขึ้นด้วย และเพื่ อ ให้ ก ารศึ ก ษาของผู้ พิ ก ารเป็ น ไปอย่ า งต่ อ เนื่องจนถึงระดับอุดมศึกษา พระองค์จึงมีพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ ให้มหาวิทยาลัยมหิดลจัดตั้งวิทยาลัยราชสุดาขึ้น เมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ วิทยาลัยแห่งนี้จะเปิดรับนักศึกษาทั้งที่เป็นคนปกติ และคนพิ ก าร โดยนั ก ศึ ก ษาทั้ ง ๒ ประเภทนี้ จ ะเรี ย นรวมกั น ในบางวิชา และแยกเรียนด้วยสื่อพิเศษเฉพาะวิชาบางวิชา ส่วน กิจกรรมอื่นๆ ก็จะร่วมกันท�ำเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้พิการ เกิดความคุ้นเคยที่จะช่วยเหลือตัวเองในการด�ำรงชีวิตร่วมกับ คนปกติตามสภาพความเป็นจริงในสังคม และให้คนปกติเกิดความ เอื้ออาทร ให้ความเกื้อกูลแก่คนพิการตามสมควร ในด้านสื่อการเรียนพิเศษ ที่วิทยาลัยราชสุดาได้จัด ให้แก่นักศึกษาที่พิการ เช่น สื่อทางโทรทัศน์ที่มีการบรรยายเป็น ภาษามือส�ำหรับคนหูหนวก มีระบบคอมพิวเตอร์พิเศษส�ำหรับ ช่วยให้คนตาบอดอ่านและเรียนหนังสือได้อย่างรวดเร็ว กับทั้งมี บริการห้องสมุดที่มีหนังสือและบทเรียนที่มีผู้อ่านบันทึกเสียงไว้ให้ คนตาบอดได้ฟังโดยไม่ต้องอ่านเอง นอกจากนั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี ยังได้พระราชทานเงินให้เป็นทุนการศึกษาแก่ครูอาจารย์ ไปศึกษาต่อและฝึกงานทีต่ า่ งประเทศ เพือ่ กลับมาสอนและผลิตสือ่ ดังกล่าวให้แก่นักศึกษาที่พิการที่ิวิทยาลัยแห่งนี้ต่อไป

11

อนุสารอุดมศึกษา


ครั้งหนึ่งในรั้วอักษรศาสตร์

12

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สืบแสง พรหมบุญ เป็นอดีต อาจารย์ ป ระจ�ำคณะอัก ษรศาสตร์ จุฬ าลงกรณ์ม หาวิ ท ยาลั ย ช่วง พ.ศ. ๒๕๐๕-๒๕๒๑ และเป็นรองอธิการบดีฝ่ายวางแผน และพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต ได้เคยถวายพระอักษรสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระหว่างปีการศึกษา ๒๕๑๖-๒๕๑๙ ในวิชาประวัติศาสตร์ไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสั ม พั น ธ์ กั บ ประเทศจี น และญี่ ป ุ่ น และวิ ช าอารยธรรม ตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิง่ อารยธรรมจีน ญีป่ นุ่ และเกาหลี ฯลฯ อาจารย์เล่าว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี ทรงเป็นกันเองกับพระสหายร่วมชั้นและนิสิตจุฬาฯ โดยทรงปฏิบตั พิ ระองค์เหมือนเป็นนิสติ ธรรมดา ไม่ทรงถือพระองค์ ทรงร่วมกิจกรรมทั้งในคณะและนอกคณะเกือบทุกประเภท เช่น การรับน้องใหม่ การซ้อมเชียร์กีฬา ฯลฯ ทรงเป็นสมาชิกชมรม ดนตรีไทย ชมรมวรรณศิลป์ ชุมนุมภาษาไทย เป็นกองบรรณาธิการ วารสาร “อั ก ษรศาสตรพิ จ ารณ์ ” และคณะผู้ จั ด ท�ำหนั ง สื อ “สะพาน” รวมบทความทางประวัติศาสตร์ ในช่ ว งที่ เรี ย นอยู่ ใ นคณะอั ก ษรศาสตร์ ทรงแสดง ให้เห็นถึงความตั้งพระราชหฤทัยอย่างจริงจังในการเรียนและการ ค้นคว้าความรู้เพิ่มเติม ไม่ทรงเชื่ออะไรง่ายๆ ทรงมีความคิด ในแง่มุมต่างๆ ที่สร้างสรรค์และการวิเคราะห์ที่รอบคอบ ลุ่มลึก ทั้ ง ยั ง ทรงแสดงให้ เ ห็ น ความอุ ต สาหะในการเรี ย น กล่ า วคื อ พระองค์ต้องตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ ไปทรงเยีย่ มราษฎรในต่างจังหวัด อยู่ เ สมอ จึ ง ต้ อ งทรงติ ด ตามการเรี ย นจากเทปเป็ น ส่ ว นใหญ่ (ทรงเรียกการเรียนวิธีนี้ว่า เรียนจาก “เทปาจารย์”) ซึ่งปกติ การฟังการสอนจากเทปไม่ใช่เรื่องสนุกเลย แต่ก็ทรงฟังโดยตลอด และถี่ถ้วน สังเกตได้จากการที่ในบางครั้งทรงถามค�ำถามกลับมา เป็นเทปค�ำถามหรือข้อสงสัย แม้จะไม่ยาวนัก ก็แสดงให้เห็นว่า ทรงศึกษาจากเทปอย่างละเอียดด้วยพระองค์เอง ในเวลาสอบ ก็ทรงแสดงให้เห็นถึงความใฝ่รู้เพราะทรงตอบค�ำถามโดยมีข้อมูล ประกอบจากการศึกษาเพิ่มเติมด้วยพระองค์เอง ทรงให้ความเคารพและมีพระราชจริยวัตรอ่อนน้อม ต่ อ ครู อ าจารย์ อ ย่ า งสมํ่ า เสมอ ยั ง จ�ำได้ ดี เ มื่ อ ครั้ ง ที่ ไ ด้ รั บ เชิ ญ ไปบรรยายพิ เ ศษที่ ม หาวิ ท ยาลั ย เชี ย งใหม่ ร าวๆ ปลายปี

อนุสารอุดมศึกษา

พ.ศ. ๒๕๑๖ ขณะก�ำลังสอนอยู่ มีผู้มาแจ้งให้ทราบว่า สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีก�ำหนดการ เสด็จฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในวันดังกล่าว ดังนั้น เมื่อถึงเวลา เสด็จพระราชด�ำเนิน อาจารย์ก็เลยอนุญาตให้นักศึกษาลงจาก ห้องเรียนไปรับเสด็จด้วย เมือ่ ทอดพระเนตรเห็นอาจารย์ พระองค์ ทรงซักถามว่า “อาจารย์มาท�ำอะไรที่นี่” เมื่อกราบบังคมทูลว่า “มาเป็นอาจารย์พิเศษ พระพุทธเจ้าข้า” ปรากฏว่าเมื่อสอนเสร็จ ในตอนบ่าย มีเจ้าหน้าที่มาแจ้งให้ทราบว่า มีรับสั่งให้ไปเฝ้าฯ ที่ พ ระต�ำหนั ก ภู พิ ง คราชนิ เวศน์ ใ นช่ ว งเย็ น พระองค์ ยั ง ทรง พระเมตตาน�ำอาจารย์ชมพระต�ำหนักภูพิงค์ นับเป็นพระมหา กรุณาธิคุณอย่างสูงสุด พระองค์ ส นพระราชหฤทั ย ที่ จ ะร่ ว มกั บ พระสหาย ร่วมชั้นผลิตวารสารวิชาการ ทั้งๆ ที่ยังทรงเป็นนิสิตชั้นปีที่ ๒ คือ วารสาร “อักษรศาสตรพิจารณ์” โดยทรงเป็นสมาชิกในกอง บรรณาธิการ อาจารย์สืบแสงเป็นหนึ่งในอาจารย์ที่ปรึกษาของ วารสาร “อักษรศาสตรพิจารณ์” ทีป่ ระทับใจในพระปรีชาสามารถ ทางวรรณกรรมของพระองค์ ตลอดจนความทุ่มเทและความ เอาจริงเอาจัง เพื่อคุณภาพทางวิชาการของวารสาร ทรงเมตตาและรักเด็กๆ จ�ำได้ว่าในช่วงหนึ่งที่ทรงเล่น แชร์บอลร่วมกับพระสหายที่สนามหญ้าหน้าตึกเทวาลัย (อักษร ศาสตร์) บุตรคนโตของอาจารย์ อายุ ๕-๖ ขวบ (ซึ่งขณะนั้นเป็น นักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ) คุณพ่อต้องรับกลับมาอยู่ที่คณะ ทุกเย็น ตอนนั้นหนูน้อยนั่งชมการแข่งขันอยู่ด้วย จู่ๆ ก็ลุกขึ้น น�ำถ้วยนํ้าอัดลมซึ่งตัวเองดื่มไปแล้วครึ่งหนึ่งไปถวายในช่วงพัก ครึ่งเวลา พระองค์ก็ทรงรับและทรงดื่มต่อโดยไม่ทรงถือพระองค์ ในบางโอกาสยังได้พระราชทานขนม ผลไม้ และของเล่นฝากไปให้ บุตรทั้ง ๓ คน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม อย่างหาที่สุดมิได้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเห็นแก่ส่วนรวมเสมอ เช่น งานพัฒนาคณะอักษรศาสตร์ ทรงถางหญ้าและปลูกต้นไม้รอบคณะร่วมกับพระสหายอย่าง แข็งขัน ทรงเป็นห่วงการปฏิบตั งิ านของต�ำรวจ ทหาร และพลเรือน ในพื้นที่ห่างไกลและทุรกันดาร ทรงอุทิศพระองค์เพื่อประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่ห่างไกลและในที่ทุรกันดาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง


13 เรื่องการศึกษา สุขอนามัย การประกอบอาชีพ และโภชนาการ มี อยู่ครั้งหนึ่งที่อาจารย์ได้มีโอกาสตามเสด็จฯ เมื่อทรงน�ำนักเรียน นายร้อย จปร. ไปศึกษานอกสถานที่ที่ภาคอีสาน รถขบวนเสด็จฯ ก�ำลังแล่นผ่านเทือกเขาภูพาน หลังอาทิตย์อัสดงไปนานแล้ว และ ฝนตกพร�ำๆ ตลอดเวลา ทรงทราบว่ามีราษฎรจ�ำนวนพอประมาณ รอขบวนเสด็จฯ ผ่านตั้งแต่ช่วงบ่าย แม้ฝนจะตกราษฎรก็ไม่ย่อท้อ แม้เวลาจะล่วงเลยล่าช้าไปพอสมควรแล้วก็ตาม รถน�ำขบวน ไม่อยากหยุดแต่รับสั่งให้หยุดรถขบวนเพื่อรับสิ่งของที่ราษฎร น�ำมาถวายเมื่อเสด็จขึ้นรถพระที่นั่ง รับสั่งว่า “ไม่หยุดรถไม่ได้ ฝนตกๆ ราษฎรยังอดทนรอ” การที่ห้องท�ำงานของอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ อยู่ ใ นบริ เวณใกล้ เ คียงกับ ห้องที่ป ระทับ พระองค์จะเสด็ จ มา ทรงถามหรือปรึกษาในเรื่องวิชาความรู้และเรื่องต่างๆ อยู่เสมอ โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับภาษาและประวัติศาสตร์จีน จีนเป็นจีน อยู่ ไ ด้ เ พราะภาษาและวัฒนธรรมที่สืบทอดต่อๆ กันมาอย่ าง ไม่ขาดสาย ภาษาจีนไม่เพียงแต่มีวิวัฒนาการยาวนานมากเท่านั้น ยั ง เป็ น ภาษาโบราณภาษาเดี ย วที่ ยั ง คงใช้ ก ารอยู่ ใ นปั จ จุ บั น

และเป็นภาษาของประเทศเพือ่ นบ้านทีม่ ปี ระชากรมากทีส่ ดุ ในโลก พระองค์ ส นพระราชหฤทั ย เรื่ อ งประเทศจี น มาก และต่ อ มา ไม่นานนักก็ทรงเริม่ เรียนภาษาจีนใน พ.ศ. ๒๕๒๓ โดยทีใ่ นขณะนัน้ คนไทยยังไม่ค่อยสนใจเรียนภาษาจีนกันสักเท่าใด วันนี้ก็ปรากฏ ชัดแล้วว่าประเทศจีนเป็นประเทศที่มีบทบาทและความส�ำคัญ ทั้งในทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในประชาคมโลก การเรียนภาษาจีนต้องใช้เวลามากเพราะเรียนยาก ดังนั้น การที่ทรงอุตสาหะศึกษาภาษาจีนและศึกษาเรื่องเกี่ยวกับ จีนอย่างต่อเนื่องจนทรงเชี่ยวชาญยิ่งนั้น เป็นแบบอย่างที่ดีที่สุด แก่เด็กและเยาวชนไทย เป็นการศึกษาหาความรู้อย่างจริงจัง ในสิ่งที่สนใจ แม้ว่าการได้มาซึ่งความรู้เหล่านั้นจะมีอุปสรรคและ ยากล�ำบากเพียงใดก็ตาม พระจริยวัตรงดงามในทุกๆ ด้านควรทีเ่ ด็กและเยาวชน ไทยทุกคนจะศึกษาและพยายามปฏิบัติตามอย่างเต็มก�ำลังความ สามารถ เพื่อที่จะเป็นคนดีคนเก่งตามศักยภาพความสามารถ ทีแ่ ต่ละคนมีอยู่ เป็นก�ำลังส�ำคัญของครอบครัว สังคม และประเทศ ชาติต่อไป

อนุสารอุดมศึกษา


ธ สถิตในดวงใจ

14

“ซุป” หรือ รองศาสตราจารย์ศุภรัตน์ เลิศพาณิชย์กุล เคยเป็นอาจารย์ประจ�ำสาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๒๕-๒๕๕๖ เป็นพระสหายของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ช่วงทีท่ รงศึกษา ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๑๖-๒๕๒๔ (ปริญญาตรีและปริญญาโท) ตอนปริญญาโท เรียนต่างสาขาวิชา แต่กม็ โี อกาสได้เข้าเฝ้าฯ พูดคุยกันเรือ่ งวิชาการ ทางประวัติศาสตร์เสมอมาจนถึงทุกวันนี้ เล่าให้ฟังว่า เรื่องที่ประทับใจเกี่ยวกับทูลกระหม่อมนั้นมีมากมาย ไม่รู้จะเล่าอย่างไรถูก ประทับใจตั้งแต่วันแรกเลย ต่างก็เป็น นิสิตใหม่กัน ต่างฝ่ายต่างเปิ่นๆ ผู้ที่เชื่อมทูลกระหม่อมกับพวกเรา คือ ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค ทูลกระหม่อมทรงเรียบง่ าย ไม่ถอื พระองค์ จึงทรงปรับตัวเข้ากับเพือ่ นๆ ได้อย่างรวดเร็ว เพือ่ นๆ เลยสบายใจ ไม่เกร็ง กล้าพูดคุยกับพระองค์ ช่ ว งนั้ น เป็ น ช่ ว งที่ นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษามุ่ ง มั่ น จะท� ำ อะไร เพื่ อ สั ง คม กระแสนี้ ท� ำให้ นิ สิ ต สนใจศึ ก ษาแนวคิ ด สั ง คมนิ ย ม จ� ำ ได้ ว ่ าเปิ ด เรี ย นเพียงอาทิต ย์เดียวก็มีรุ่น พี่ม าชวนว่ า ไม่ ต ้ อ ง เข้าเรียน ให้ไปช่วยกันขายข้าวสารราคาถูก เพราะตอนนัน้ มีปญ ั หา ข้าวสารราคาแพง เหตุการณ์รุนแรงขึ้นๆ จนน�ำไปสู่เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ดังนั้น ช่วงที่ทรงเป็นนิสิต จึงเป็นช่วงที่ บ้านเมืองอย่ใู นหัวเลีย้ วหัวต่อ ทัง้ เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ และ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ แต่ทูลกระหม่อมทรงวางพระองค์ได้ดีมาก ความที่ ท รงมี พ ระทั ย กว้ า ง มี นํ้ า พระทั ย ต่ อ เพื่ อ นทุ ก คน จึ ง ทรงเปิ ด พระทั ย รั บ ความคิ ด เห็ น ที่ แ ตกต่ า งหลากหลายได้ ทรงเข้ากับเพื่อนๆ ได้ดี แม้ต่างใจต่างนามต่างความฝัน จึงวันนี้ “น้องใหม่” เป็นใจเดียว ดอกชงโคแย้มรับกับฟ้าใหม่ เทวาลัยคล้ายคล้ายจะร่ายกลอน โอ้ฟ้าหญิงมิ่งคณะอักษรศาสตร์ ทว่าความภักดีไม่มีคลาย ขอสยามเทวาธิราชรักษ์ พละแกร่งแข็งกล้าดังปราการ

ครั้งหนึ่ง “ซุป” เสนอว่า เราควรจะไม่เข้าเรียนเพื่อ ไปประท้วงรัฐบาล ทูลกระหม่อมเพิ่งเสด็จฯ กลับจากต่างจังหวัด เพื่อจะมาเรียน จึงทรงขอให้มีการออกเสียงกัน ถ้าฝ่ายใดชนะก็เอา ตามนั้น ผลการโหวตปรากฏว่าฝ่ายให้เข้าเรียนชนะ ทูลกระหม่อม ทรงปลอบใจฝ่ า ยแพ้ โ หวต ทรงเดิ น มาชวนให้ ไ ปเรี ย นด้วยกัน ด้วยนํ้าใจไมตรีแห่งความเป็นเพื่อน อี ก เรื่ อ งหนึ่ ง คื อ เรื่ อ งการท�ำวารสารอั ก ษรศาสตร พิจารณ์ รุ่นพี่ปี ๔ จะเป็นฝ่ายจัดท�ำและให้รุ่นน้องไปช่วย พอรุ่นพี่ จบไปก็ไม่มีคนท�ำ ตอนนั้นประสิทธิ์ รุ่งเรืองรัตนกุล ซึ่งอยู่ปี ๒ รับเป็นบรรณาธิการ และเราตกลงกันว่าให้ทูลเชิญทูลกระหม่อม เป็นรองบรรณาธิการ เมื่อทรงทราบก็ทรงมีลายพระหัตถ์อธิบาย อย่ า งละเอี ย ดว่ า ขอไม่ ท รงรั บ เนื่ อ งจากต้ อ งตามเสด็ จ บ่ อ ยๆ จะไม่ทรงมีเวลา ถ้าทรงรับก็จะไม่สบายพระราชหฤทัย แต่จะ ทรงช่วยได้โดยไม่ต้องมีต�ำแหน่งอะไร แต่เอาเข้าจริง ทรงช่วยท�ำ อย่างจริงจัง เพื่อนๆ เลยขอให้ทรงอยู่ในกองบรรณาธิการ มีอยู่ครั้่งหนึ่ง ทรงพบว่ามีการพิสูจน์อักษรผิด พิมพ์ค�ำ ภาษาฝรั่งเศสตกหล่นสัญญา accent ไป ๑ ที่ ทรงให้มาช่วยกัน แก้ไขทุกฉบับให้ถูกต้องก่อนเผยแพร่ออกไป ทูลกระหม่อมทรง งานท�ำวารสารอักษรศาสตรพิจารณ์ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๑๖-๒๕๑๘ หลัง ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ วารสารนี้มีอันต้องเลิกไป คงจะเป็น พระองค์เดียวที่ทรงเก็บรวบรวมวารสารนี้ไว้ครบถ้วนทุกเล่ม ความผูกพันของเพือ่ นๆ ทีม่ ตี อ่ พระองค์สะท้อนออกมา ในบทกลอนต่างๆ ทีป่ ระสิทธิ์ ร่งุ เรืองรัตนกุล เป็นผ้เู รียงร้อยในนาม ของเพือ่ นร่วมร่นุ บทกลอนแรกทีย่ งั จ�ำได้ไม่ลมื คือ บทกลอนทีอ่ า่ น ในโอกาสเข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรเมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ก่อนขึ้น ปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๑๗ ก็มีวันรวมแกนให้แน่นเหนียว ด้วยแรงเหนี่ยวมุ่งหมายถวายพระพร แลสดใสในเสน่ห์กลีบเกสร ฝากลมอ่อนมารํ่าค�ำตังวาย ธันวามาสอาจจะเลื่อนและเลือนหาย จะแทรกสายเลือดเนานานเท่านาน ดลพิทักษ์ฟ้าหญิงยิ่งสุขศานต์ ไร้ทุกข์รอนภัยรานเบิกบานเทอญ

(เมฆา พาฝัน “ทูลกระหม่อมกับชงโคน้อย” ใน “ขวัญเรือน” เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๑ หน้า ๖๗) อนุสารอุดมศึกษา


ทูลกระหม่อมทรงมีนํ้าพระราชหฤทัยดีงาม ช่วยเหลือ เพื่อนทุกคน ทรงมีพระปรีชาสามารถมากด้านการเรียนและทรง เก่งมากด้านภาษา แม้จะแบ่งกันไปอ่านต�ำราเรียนแล้วมาติวกัน หรือมาช่วยกันเรียน แต่ทรงอ่านได้มากกว่าคนอื่น แล้วทรงเอา มาสอนเพื่อนๆ อยู่เสมอ เวลาทรงงานเป็นกลุ่มก็ไม่กินแรงเพื่อน เลย เช่น ในการค้นคว้ารายงานเรื่อง “ค�ำศัพท์ภาษาไทยในสมัย รัชกาลที่ ๕” ประกอบการศึกษาวิชาภาษาไทยสมัยต่างๆ (AT ๓๐๒) ตอนเรียนอยู่ชั้นปีที่ ๓ เป็นรายงานกลุ่ม กลุ่มละ ๗-๘ คน ต้อง รวบรวมให้ได้ค�ำศัพท์จ�ำนวนหนึ่ง ศึกษาความหมายของค�ำศัพท์ นั้นๆ พร้อมตัวอย่างประโยคที่ใช้ศัพท์นั้น ค�ำศัพท์ที่ศึกษายังใช้ กันอยู่หรือไม่ในปัจจุบัน ใช้ในความหมายที่เหมือนกันหรือต่างกัน อย่างไรต้องยกตัวอย่างประโยคในการใช้เช่นกัน ทูลกระหม่อมทรงแบ่งจ�ำนวนค�ำศัพท์ให้ทกุ คนในกล่มุ มีส่วนช่วยค้นคว้าเท่าๆ กัน แต่ปรากฏว่าเพื่อนคนหนึ่งมีปัญหา ไม่ช่วยค้นคว้า ก็ทรงเอื้อเฟื้อเพื่อนคนนี้ให้มีชื่ออยู่ในกลุ่มด้วย รายงานของกลุ่ ม เราได้ รั บ ค�ำชมจากอาจารย์ ว ่ า ท�ำได้ ดี ม าก ได้คะแนนดียิ่ง เป็นคะแนนสะสมน�ำไปรวมกับคะแนนสอบไล่ ในเรื่ อ งการเรี ย น ทู ล กระหม่ อ มโปรดการเรี ย น ทุกวิชา เพราะทรงตัง้ พระราชหฤทัยทรงงานเพือ่ แผ่นดิน ตามรอย พระยุ ค ลบาทพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว และสมเด็ จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชนิพนธ์ต่อไปนี้คัดจาก หนังสือ ดั่งดวงแก้ว สะท้อนให้เห็นว่าพระราชกิจเพื่อสนองคุณ แผ่นดินเป็นอันดับหนึ่งในพระราชหฤทัยของสมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้งแต่ทรงเป็นเยาวชน

แผ่นเอ๋ยแผ่นดิน ในแถบถิ่นนี้ไซร้กว้างหนักหนา แลดูไกลสุดลูกหูลูกตา ล้วนไร่นาเขียวขจีพงพีไพร เหมือนมารดาเลี้ยงบุตรให้สุขศรี แผ่นดินนี้นี่แหละข้าอาศัย ข้าตั้งจิตสนองเขตประเทศไทย รักษาให้ยั่งยืนคู่ฟ้าเอย (ทรงพระราชนิพนธ์ เมื่อ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๓) คัดจาก “ดั่งดวงแก้ว” หน้า ๒๕, ๒๕๔๑) ทูลกระหม่อมทรงขยันและมีความพากเพียร แม้งาน อดิเรกก็ตั้งพระราชหฤทัยฝึกฝนอย่างเอาจริงเอาจัง ทรงเรียงร้อย ไว้ใน ค�ำน�ำ พระราชนิพนธ์รวมบทกวีภาษาฝรั่งเศส ความคิด ค�ำนึง ความตอนหนึ่งว่า …นับชั่วโมงเรียนแล้ว ข้าพเจ้าเรียนภาษาฝรั่งเศส มากกว่าวิชาอื่น ที่จริงแล้วข้าพเจ้าเริ่มคิดว่าภาษาฝรั่งเศสยาก ขี้เกียจเรียนแล้ว เตรียมขอพระราชทานเปลี่ยนไปท�ำอย่างอื่น แต่ไม่กล้า และคิดด้วยว่าการท�ำอย่างนั้นเป็นลักษณะคนจับจด ชีวิตในอนาคตคงจะไม่ประสบความส�ำเร็จอะไรเลย จึงเรียนต่อไป และได้ประโยชน์มากมายจากการร้ภู าษาต่างประเทศอีกภาษาหนึง่ ข้อนีม้ คี ติอย่วู า่ เด็ก (อาจจะเป็นบางคนอย่างข้าพเจ้า) ฝันอยากเป็นโน่นเป็นนี่ เช่น อยากเป็นนักดนตรีเอก จิตรกรเอก นักภาษา นักกีฬา ฯลฯ แต่ไม่มีความพากเพียรที่จะศึกษาฝึกซ้อม ก็ไม่มีทางสมหวังได้ เพราะความสามารถมิได้เกิดจากพรสวรรค์ ที่เป็นเองเท่านั้น ต้องตั้งใจฝึกปรือไม่มากก็น้อย (“ความคิดค�ำนึง” ๒๕๔๕ ค�ำน�ำ หน้า ๑-๒)

15

อนุสารอุดมศึกษา


16

เรื่องหนึ่งที่จะเป็นข้อเตือนใจส�ำหรับเด็กและเยาวชน คือ เรื่องความประหยัด สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารี ทรงประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย เมื่อเรียนปริญญาตรีที่ คณะอักษรศาสตร์ ทรงได้เงินเดือนเพียงเดือนละ ๕๐๐ บาท เมื่อ ตอนเรียนภาคที่ ๑ ปีที่ ๔ “ซุป” ต้องเข้าผ่าตัดหมอนรองกระดูก สันหลังที่เคลื่อนไปทับเส้นประสาทขาข้างซ้าย แพทย์ที่รักษาเอา เข้าผ่าตัดทีโ่ รงพยาบาลคามิลเลียนเพราะต้องรีบผ่าตัดก่อนจะเดิน ไม่ได้ ทูลกระหม่อมทรงช่วยเหลือเพือ่ ให้ “ซุป” เรียนทันเพือ่ นๆ ด้วย การจดค�ำบรรยายของอาจารย์ทกุ ท่านมาเผือ่ “ซุป” และทรงขอให้ เพื่อนๆ บางคนช่วยแบ่งกันจดด้วย แทนที่จะใช้วิธีถ่ายเอกสารให้ ก็ใช้วิธีเขียนบนกระดาษที่มีแผ่นคาร์บอนรองรับ หรือที่เรียกกันว่า กระดาษก๊อปปีท้ วี่ างทับอย่บู นสมุดโน้ต เพือ่ ให้มสี �ำเนาส่งให้ “ซุป” ได้อ่านและได้เรียนไปด้วยกันในทุกวิชาเป็นเวลา ๑ ภาคเรียน รั บ สั่ ง ว่ า ใช้ ก ารก๊ อ ปปี ้ จ ะประหยั ด กว่ า มาก ค่ า ถ่ า ยเอกสาร ในสมัยนั้นหน้าละ ๓ บาท ซื้อก๋วยเตี๋ยวได้ ๑ ชาม ตอนหลังทรงขอร้องให้อาจารย์ผู้สอนในบางวิชาแลก ห้องสอนกันเพื่อให้วิชาที่ “ซุป” ลงทะเบียนเรียนมีการสอนใน ห้องบรรยายทีช่ นั้ ล่างของอาคาร “ซุป” จะได้เข้าเรียนได้บา้ ง ไม่ใช่ นัง่ คนเดียวทีห่ อ้ งโถงกลาง ตึกอักษรศาสตร์ ๑ (ปัจจุบนั คือตึกมหา จุฬาลงกรณ์) รอเพื่อนๆ เรียนเสร็จแล้วเอาส�ำเนาวิชาต่างๆ มาให้ เท่านั้น เพราะหลังผ่าตัดยังต้องพักฟื้น ขึ้นลงบันไดไม่ได้ และต้อง ฝึกเดินให้ดีให้มั่นคงราวๆ ๖ เดือน เพราะทรงช่วยเหลือ ซุปจึงได้ จบการศึกษาพร้อมเพื่อนๆ ในรุ่นเดียวกัน

ความประทับใจที่เป็นสิ่งสอนใจมีมากมาย ทรงเป็น เจ้าฟ้า แต่ทรงวางพระองค์เรียบง่ายและประหยัด ของชิน้ เล็กๆ เช่น เข็มกลัดทีเ่ ป็นลูกแก้ว รูปสัตว์อนั เล็กๆ ราคาอันละ ๕ บาท แม้โปรด มากแต่ก็ทรงซื้อเพียง ๑ อัน เคยพระราชทานของเป็นพวงกุญแจ แมวตัวเล็กๆ ที่ท�ำด้วยไม้ แม้ราคาไม่มากแต่เทียบกับนํ้าพระราช หฤทัยที่ทรงคิดถึงผู้อื่นอยู่เสมอ สิ่งของทุกชิ้นที่พระราชทาน จึงเป็นของที่มีค่าสูงยิ่ง และทุกอย่างได้รับการเก็บรักษาไว้อย่างดี เพื่อร�ำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ตราบชั่วชีวิต ไม่ว่าทูลกระหม่อมจะทรงงานเรื่องใด ก็ทรงท�ำอย่าง เอาจริงเอาจังด้วยความรับผิดชอบ เช่น เมื่อจะทรงสอนก็จะทรง เตรียมสอนโดยค้นคว้าข้อมูลอย่างเอาพระราชหฤทัยใส่ เพื่อทรง พระราชนิ พ นธ์ เ อกสารประกอบการสอนและทรงเตรี ย มสื่ อ การสอน แม้วา่ ต่อมาทรงสอนเรือ่ งเดียวกันก็จะทรงเตรียมใหม่เสมอ ไม่ให้ซาํ้ ของเดิม รวมทัง้ ทรงพานักเรียนนายร้อย จปร. ไปทัศนศึกษา ให้เห็นของจริงด้วย ได้รรู้ อบในเรือ่ งต่างๆ แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าจะ ทรงรับงานใดหรือริเริ่มโครงการใด ก็จะทรงประเมินศักยภาพ ในพระองค์ จะทรงเริ่มจากโครงการเล็กๆ ก่อนเสมอ เมื่อทรง ทดลองแล้วและมีประสบการณ์จึงค่อยขยายพัฒนาต่อไป ในการทรงงานต่างๆ นั้นโปรดที่จะหาความรู้จากผู้รู้ หรือผู้เชี่ยวชาญ ทรงถ่อมพระองค์อย่างยิ่ง และทรงพร้อมที่จะ เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ อยู่เสมอ ทรงมุ่งเน้นให้ความส�ำคัญกับพระราช ภารกิจเพื่อส่วนรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการช่วยเหลือผู้ด้อย โอกาสต่างๆ จึงทรงศึกษาค้นคว้าด้านโภชนาการ การศึกษา และ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในถิ่นกันดารห่างไกล โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเยาวชน ทูลกระหม่อมทรงบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ได้ดี เพราะ ทรงรอบร้หู ลายศาสตร์ อาจจะทรงได้รบั การบ่มเพาะจากพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีแนวพระราชด�ำริว่าทุกอย่างต้อง พึ่งพากัน อีกประการหนึ่ง อาจจะเป็นเพราะทูลกระหม่อมทรง เป็นนักปฏิบตั ิ ทรงลงมือปฏิบตั ดิ ว้ ยพระองค์เอง ท�ำให้ทรงมีทกั ษะ ภาคปฏิบัติทุกศาสตร์ ครั้นจะบูรณาการเรื่องใด เช่น วิทยาศาสตร์ กับภาษาไทย กีฬา หรือดนตรี ก็ล้วนสามารถท�ำได้อย่างดี สรุ ป ว่ า ทู ล กระหม่ อ มทรงเป็ น คนดี ม าก คิ ด ถึ ง ประโยชน์ของส่วนรวมเสมอ ทรงขยันมาก และไม่ทรงโอ้อวด พระองค์ มีนํ้าพระราชหฤทัยนักกีฬา คือ รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ทรงใฝ่รู้ มีสมาธิในการศึกษาค้นคว้าเรื่องต่างๆ และทรงสามารถ จับแก่นความรู้ของเรื่องที่ศึกษาได้ดียิ่ง ทรงเป็นแบบอย่างทีด่ แี ก่เยาวชน ซึง่ เป็นทุนทางสังคม ที่จะเป็นก�ำลังส�ำคัญในการพัฒนาประเทศของเรา คัดจากหนังสือ ดั่งดวงแก้ว ส่องสว่าง ทางสายงาม

อนุสารอุดมศึกษา


เรื่อง

แนะนำ� เนื่องจากได้มีค�ำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบ แห่ ง ชาติ ที่ ๖/๒๕๕๘ ลงวั น ที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๘ แต่งตั้งให้รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล ด�ำรงต�ำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตั้งแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา (วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๘) เป็นต้นไป อนุ ส ารอุ ด มศึ ก ษาฉบั บ นี้ ขอน�ำประวั ติ ข อง รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา มาลงในคอลัมน์เรื่องแนะน�ำ ดังนี้

ขอแสดงความยินดี

รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา

17

รองศาสตราจารย์พนิ ติ ิ รตะนานุกลู

เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประวัติการศึกษา

พ.ศ. ๒๕๒๐

วิทยาศาสตรบัณฑิต (เคมี)

มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. ๒๕๒๒

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เคมีอนิ ทรีย)์ มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. ๒๕๒๖

Ph.D. (Organic Chemistry)

The National University of Ireland, University College Cork, Ireland

พ.ศ. ๒๕๓๐

Research Fellow

The Queen’s University of Belfast, Northern Ireland, U.K.

อนุสารอุดมศึกษา


ประวัติการฝึกอบรมอื่นๆ ๒๔ กันยายน - ๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๔ ฝึกอบรมหลักสูตร การพัฒนาผูบ้ ริหารระดับสูงมหาวิทยาลัย รุน่ ที่ ๗ ทบวงมหาวิทยาลัย

18

๑๕ - ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๕

ฝึกอบรมด้านการบริหารมหาวิทยาลัยตามโครงการ University Partners for Academic Leadership (UPAL): A Cross-national Partnership Linking WSU and Thailand’s Public and Private Universities ณ Washington State University สหรัฐอเมริกา

๒๔ มีนาคม - ๙ เมษายน ๒๕๔๖

ดูงานและฝึกปฏิบัติการด้านการบริหารมหาวิทยาลัย ตามโครงการ Thai University Administrators Shadowing (TUAS) program ณ The University of Newcastle และ Victoria University ประเทศออสเตรเลีย

๑ มิถนุ ายน ๒๕๕๒ - ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓

ศึกษาหลักสูตรการเมืองการปกครองสำ�หรับผูบ้ ริหารระดับสูง รุน่ ที่ ๑๓ (ปปร. ๑๓) สถาบันพระปกเกล้า

๔ - ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๒

ฝึกอบรมหลักสูตร Senior Executive Program ณ Columbia Business School, Columbia University สหรัฐอเมริกา ทุนรัฐบาลไทย

๑ มีนาคม ๒๕๕๕ - ๒๐ กันยายน ๒๕๕๕

ศึกษาหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร ภาครัฐ เอกชน และการเมือง รุน่ ที่ ๕ (วปม ๕) วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ๒๕๕๔ (วปอ ๒๕๕๔) สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ

๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๕ - ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

ฝึกอบรมหลักสูตรผูต้ รวจราชการกระทรวง ประจำ�ปีงบประมาณ ๒๕๕๕ สำ�นักนายก รัฐมนตรี

ประวัตกิ ารรับราชการ พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๓๐ พ.ศ. ๒๕๓๙ พ.ศ. ๒๕๔๔ พ.ศ. ๒๕๕๑ พ.ศ. ๒๕๕๕ พ.ศ. ๒๕๕๖ พ.ศ. ๒๕๕๗ พ.ศ. ๒๕๕๘

อาจารย์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ รองศาสตราจารย์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผูต้ รวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการสภาการศึกษา ส�ำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

กรรมการสภามหาวิทยาลัย/สถาบัน (ปัจจุบนั ) กรรมการสภามหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ กรรมการสภามหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษาเอกชน สถาบันบัณฑิตจุฬาภรณ์ อนุสารอุดมศึกษา


ประสบการณ์ (ปัจจุบนั )

คณะกรรมการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา ส�ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา

ประธานคณะกรรมการความร่วมมือด้านวิชาการเอเชียตะวันออก (East Asia Academic Cooperation Council, EACC) กระทรวง การต่างประเทศ กรรมการสภาวิจยั แห่งชาติและกรรมการสาขาการศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการวิจยั แห่งชาติ อนุกรรมการพิจารณาและติดตามความพร้อมด้านการศึกษาสูป่ ระชาคมอาเซียนในคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒสิ ภา คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดทิ ศั น์ คณะที่ ๔ กระทรวงวัฒนธรรม คณะกรรมการการศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๕๕ - ๒๕๕๖ ประธานอนุกรรมการวิชาเคมี มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนา มาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จ พระเจ้าพีน่ างเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวฒ ั นา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) กรรมการด�ำเนินการ ฝ่ายพัฒนาต�ำราเรียนตามหลักสูตรโอลิมปิกวิชาการ มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐาน วิทยาศาสตร์ศกึ ษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพีน่ างเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวฒ ั นา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.)

ประสบการณ์ระหว่างประเทศ (ปัจจุบนั )

Editorial Board, Chemical Education Journal (Asian Edition) Chairman, Advisory Board, ASEM Lifelong Learning Hub

ผลงานเขียนและแปลตำ�รา

19

สเตอริโอเคมีในเคมีอนิ ทรีย์ ภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยศิลปากร ๒๕๒๙ (จ�ำนวน ๙๒ หน้า)

เฉลยและวิเคราะห์ขอ้ สอบเคมีโอลิมปิกระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๓ - ๒๕๔๒ องค์การค้าของคุรสุ ภา ๒๕๔๔ (จ�ำนวน ๑๘๒ หน้า)

สิง่ แวดล้อมทางกายภาพ ส�ำนักพิมพ์พฒ ั นาคุณภาพวิชาการ ๒๕๔๔ (จ�ำนวน ๑๒๐ หน้า)

เคมี (เคมีค�ำนวณ อะตอม ตารางธาตุ พันธะเคมี) โครงการต�ำราวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มูลนิธิ สอวน. ๒๕๔๗ (จ�ำนวน ๒๒๒ หน้า)

เคมี ๒ (ธาตุเรพรีเซนเททีฟ กลุม่ S ธาตุเรพรีเซนเททีฟ กลุม่ P ธาตุทรานซิชนั แลนทาไนด์ ของแข็ง) โครงการต�ำราวิทยาศาสตร์และ คณิตศาสตร์ มูลนิธิ สอวน. ๒๕๔๙ (จ�ำนวน ๒๐๗ หน้า) เคมี ๓ (แก๊ส เทอร์โมไดนามิกส์ สมดุลเคมี จลนพลศาสตร์) โครงการต�ำราวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มูลนิธิ สอวน. ๒๕๕๐ (จ�ำนวน ๔๑๖ หน้า)

เคมี (มัธยมศึกษาตอนต้น) โครงการต�ำราวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มูลนิธิ สอวน. ๒๕๕๑ (จ�ำนวน ๑๓๖ หน้า)

เคมี ๔ (เคมีอนิ ทรีย์ ชีวโมเลกุล สเปกโทรสโกปี) โครงการต�ำราวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มูลนิธิ สอวน. ๒๕๕๔ (จ�ำนวน ๖๘๖ หน้า)

ผลงานสิง่ ประดิษฐ์

อนุสทิ ธิบตั รเรือ่ ง แซนโทนทีแ่ สดงฤทธิต์ า้ นเชือ้ วัณโรค เลขทีค่ �ำขอ ๐๗๐๑๐๐๓๖๒๐ วันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๐

อนุสทิ ธิบตั รเรือ่ ง สารอนาล็อกของแซนโทนทีแ่ สดงฤทธิต์ า้ นเชือ้ เริม เลขทีค่ �ำขอ ๐๙๐๓๐๐๑๒๓๓ วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๒

อนุสทิ ธิบตั รเรือ่ ง แซนโทนทีแ่ สดงฤทธิต์ า้ นเชือ้ เริม เลขทีค่ �ำขอ ๐๙๐๑๐๐๔๖๕๐ วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๒

อนุสทิ ธิบตั รเรือ่ ง กรรมวิธกี ารเตรียมสารสกัดมังคุดทีม่ ปี ริมาณแซนโทนสูง เลขที่ ๑๑๐๓๐๐๑๑๒๘ วันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ อนุสารอุดมศึกษา


Conference and Exhibition 2015

20

อนุสารอุดมศึกษา

Asia-Pacific Association for International Education (APAIE) เป็นสมาคมระหว่างประเทศที่ไม่แสวงหาก�ำไรและมีที่ตั้งส�ำนักงาน เลขานุการสมาคมที่สาธารณรัฐเกาหลี มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความ เป็นสากลของอุดมศึกษาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและทั่วโลก และส่งเสริม ให้บุคลากรที่ท�ำงานด้านการศึกษาระหว่างประเทศได้พัฒนาความเป็น มืออาชีพ มีสมาชิกกว่า ๑,๐๐๐ คน ประกอบด้วย อธิการบดี ผูบ้ ริหาร อาจารย์ และนักวิชาการ ทีม่ าร่วมมือด้านการแลกเปลีย่ นทางวิชาการระดับนานาชาติ โดยมีพันธกิจที่ส�ำคัญคือ การสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ที่รับผิดชอบงาน ด้านการศึกษาระหว่างประเทศและความเป็นสากลของสถาบันอุดมศึกษา ในภูมภิ าคเอเชียแปซิฟกิ การส่งเสริมคุณภาพของหลักสูตรนานาชาติ กิจกรรม และการแลกเปลี่ยนเพื่อสร้างความกลมกลืนและความก้าวหน้าของภูมิภาค เอเชียแปซิฟิก มหาวิทยาลัยปักกิ่งเป็นเจ้าภาพจัดงาน APAIE Conference and Exhibition 2015 ขึ้นระหว่างวันที่ ๒๓ - ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๘ ณ ศูนย์ ประชุมนานาชาติปกั กิง่ (Beijing International Convention Center: BICC) กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีกิจกรรม การประชุมวิชาการ ในหัวข้อ The New Paradigm of Engaging Asia Pacific Universities for Exchange and Cooperation in a Global Context: Challenges, Opportunities and Solutions และการจั ด นิ ท รรศการการศึ ก ษา ผูจ้ ดั งานได้จดั พืน้ ทีส่ �ำหรับจัดนิทรรศการจ�ำนวนกว่า ๑๐๐ คูหา และเชิญชวน ให้สถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานด้านการศึกษาจากประเทศต่างๆ มาร่วม จัดนิทรรศการเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษา หรือหน่วยงานของตนให้แก่ผู้เข้าร่วมงาน


ภาพรวมการจัดนิทรรศการการศึกษาในงาน APAIE Conference and Exhibition 2015 • นิ ท รรศการการศึ ก ษาจั ด ขึ้ น ที่ บ ริ เวณชั้ น ๑ ของ ศูนย์ประชุมนานาชาติปักกิ่ง ผู้จัดนิทรรศการประกอบด้วยสถาบัน อุดมศึกษา หน่วยงานระหว่างประเทศ และองค์กรทางการศึกษา จากประเทศ/เขตเศรษฐกิจต่างๆ ได้แก่ จีน ไต้หวัน ฮ่องกง มาเก๊า มาเลเซีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ฝรั่งเศส เยอรมนี ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ แคนาดา แอฟริกาใต้ และออสเตรีย โดยแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็น 'Exhibition Pavilion' ประกอบด้วย ๑๑ พาวิลเลี่ยน ส่วนที่ ๒ เป็น 'Individual Booth' จ�ำนวน ๖๐ แห่ง • การเข้ า ชมนิ ท รรศการการศึ ก ษาเปิ ด ให้ เ ฉพาะผู ้ ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน APAIE Conference and Exhibition 2015 เท่านั้น และผู้จัดนิทรรศการจากประเทศต่างๆ ใช้พื้นที่บริเวณ

คูหานิทรรศการของตนเองเป็นสถานที่เจรจาหารือความร่วมมือ กับสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานเพื่อสร้างเครือข่ายความ ร่ ว มมื อ ระหว่ า งกั น โดยแต่ ล ะสถาบั น /หน่ ว ยงานได้ ท�ำการ นัดหมายเพื่อพบปะหารือกันไว้ล่วงหน้าแล้ว ประเด็นการหารือ เน้นการริเริม่ สร้างความร่วมมือและการพัฒนาความร่วมมือทีม่ อี ยู่ แล้วให้ขยายขอบเขตมากยิ่งขึ้น รวมถึงการแก้ไขปัญหาอุปสรรค ในการด�ำเนินการร่วมกัน นอกจากนี้ ผู้แทนจากบางประเทศ ได้ใช้โอกาสนีใ้ นการแสวงหาความร่วมมือกับประเทศต่างๆ รวมถึง การประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้เข้าร่วมในกิจกรรม/โครงการของ ตนเองด้วยอีกทางหนึ่ง • ผู ้ จั ด นิ ท รรศการบางประเทศ/หน่ ว ยงานมี ก าร จัด reception ในระหว่างเวลาทีม่ กี ารจัดนิทรรศการ โดยเชิญชวน ประเทศที่ ม าร่ ว มงานและผู ้ แ ทนหน่ ว ยงานที่ ส นใจจะมี ความร่วมมือด้วยเข้ามาท�ำความรู้จักและพบปะพูดคุยเพื่อสร้าง ความสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และประชาสัมพันธ์ข้อมูล

21

อนุสารอุดมศึกษา


เล่าเรื่อง

ด้วยภาพ

๑๔ มีนาคม ๒๕๕๘ - รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมเดินเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ ณ ท่าราชวรดิฐ

๑ เมษายน ๒๕๕๘ - รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา พร้อมด้วยนางสาว อาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา นายสุภทั ร จ�ำปาทอง รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และข้าราชการ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมพิธีท�ำบุญตักบาตรพระสงฆ์ จ�ำนวน ๖๑ รูป เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงศึกษาธิการ ครบรอบ ๑๒๓ ปี ณ กระทรวงศึกษาธิการ

22

๙ เมษายน ๒๕๕๘ - รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ก�ำจร ตติ ย กวี เลขาธิ ก ารคณะกรรมการ การอุ ด มศึ ก ษา เป็ น ประธานงานประเพณี วั น สงกรานต์ ส�ำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา ประจ�ำปี ๒๕๕๘ โดยมี น างสาวอาภรณ์ แก่ น วงศ์ รองเลขาธิ ก าร คณะกรรมการการอุดมศึกษา และนายสุภัทร จ�ำปาทอง รองเลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา พร้ อ มด้ ว ย ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา เข้าร่วมงาน ณ ห้องโถง ส�ำนักงานคณะ กรรมการการอุดมศึกษา ทั้งนี้ ได้รบั เกียรติจาก ศาสตราจารย์ ประเสริฐ ณ นคร และศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน อดีตปลัด ทบวงมหาวิทยาลัย และอดีตผู้บริหาร เข้าร่วมงาน อนุสารอุดมศึกษา


๑ เมษายน ๒๕๕๘ - รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ก�ำจร ตติ ย กวี เลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา พร้อมด้วยนางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะ กรรมการการอุดมศึกษา ให้การต้อนรับและหารือความ ร่วมมือด้านอุดมศึกษาระหว่างไทยและอิสราเอล ร่วมกับ H.E. Simon Roded เอกอั ค รราชทู ต อิ ส ราเอลประจ�ำ ประเทศไทยและกัมพูชา ณ ห้องประชุมบริหาร ชั้น ๔ โดยทั้งสองฝ่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยไทยและอิสราเอล การด�ำเนินความร่วมมือ ด้านแลกเปลี่ยนนักศึกษา การให้ทุนการศึกษา การท�ำวิจัย และการฝึกงาน โดยเฉพาะโครงการ University Business Incubator (UBI) ฝ่ายไทยแจ้งจ�ำนวนนักศึกษาอิสราเอล ที่มาศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาไทย โดยฝ่ายอิสราเอลจะส่ง ข้อมูลด้านการศึกษาให้อกี ครัง้ และฝ่ายอิสราเอลติดตามเรือ่ ง การจัด JOINT WORKING GROUP ความร่วมมือด้านอุดมศึกษา ระหว่างไทย-อิสราเอล ครั้งที่ ๒ ที่อิสราเอลจะเป็นเจ้าภาพ โดยเจ้ า หน้ า ที่ จ ะประสานงานเรื่ อ งการนั ด หมายเวลา ที่เหมาะสมต่อไป

23

๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ - รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก�ำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธาน มอบวุฒิบัตรแก่ผู้ผ่านการฝึกอบรมข้าราชการใหม่ ‘หลักสูตรการเป็นข้าราชการที่ดี’ ตามกรอบหลักสูตรของ ก.พ. พร้อมบรรยาย หัวข้อ ‘ทิศทางและแนวโน้มการบริหารงานขององค์กร’ ณ โรงแรมเดอะทวิน ทาวเวอร์

อนุสารอุดมศึกษา


ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

LOGO

เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๒๖ http://www.mua.go.th pr_mua@mua.go.th www.facebook.com/ohecthailand www.twitter.com/ohec_th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.