อนุสารอุดมศึกษา issue 448

Page 1

ขอแสดงความยินดี นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการ กกอ. คนใหม่


สารบัญ

CONTENT

๓ ๙

๓ เรื่องเล่าอุดมศึกษา

- ส่งเสริมบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ - สกอ. ร่วมมือจุฬาฯ พัฒนาระบบบริหารจัดการวิทยานิพนธ์ - ปรับลดรายละเอียด การจัดทำ�ทีคิวเอฟ - ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางวิชาการระดับอุดมศึกษา ระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน - ทุนพัฒนาศักยภาพนักวิจัยด้านยุทโธปกรณ์ ปี ๒๕๕๙

๙ เรื่องเล่าอาเซียน ๑๒ เรื่องพิเศษ ๑๘ พูดคุยเรื่องมาตรฐาน ๒๐ เรื่องแนะนำ� ๒๑ เหตุการณ์เล่าเรื่อง ๒๓ เล่าเรื่องด้วยภาพ - ความร่วมมือ ไทย-สิงคโปร์

- นโยบายและแนวทางการดำ�เนินงานการพัฒนาอุดมศึกษา

๒๑

- การจัดทำ�แนวทางการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาหลักสูตร ในระบบการศึกษาทางไกล

- นิทรรศการตลาดนัดหลักสูตรอุดมศึกษา ครั้งที่ ๒๐

The 9th Review Meeting of AIMS Programme

คณะผู้จัดทำ�

สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

เลขที่ ๓๒๘ ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๑๐ ๕๒๐๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๔ ๕๕๒๔-๒๖ http://www.mua.go.th pr_mua@mua.go.th www.facebook.com/ohecthailand www.twitter.com/ohec_th ที่ปรึกษา นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม นายขจร จิตสุขุมมงคล นางสาวสุมัณฑนา จันทโรจวงศ์ บรรณาธิการ นายกฤษณ์กร วงศ์ไทย กองบรรณาธิการ นางสาวปิยาณี วิริยานนท์ นางชุลีกร กิตติก้อง นายเจษฎา วณิชชากร นางปราณี ชื่นอารมณ์ นายจรัส เล็กเกาะทวด พิมพ์ท ี่ บริษัท เอกพิมพ์ไท จำ�กัด โทรศัพท์ : ๐ ๒๘๘๘ ๘๑๕๒ , ๐ ๒๘๘๘ ๘๑๒๑ , ๐ ๒๘๘๘ ๘๔๘๖ โทรสาร : ๐ ๒๘๘๘ ๘๑๒๐


เรื่องเล่า

อุดมศึกษา

ส่งเสริมบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์

๘ ตุลาคม ๒๕๕๘ - ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดการประชุมชี้แจงแนวทางการด�ำเนินการตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง มาตรฐานภาระงานทางวิชาการของผู้ด�ำรงต�ำแหน่งอาจารย์ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ.๒๕๕๘ โดยได้ รั บ เกี ย รติ จ ากนางสาวอาภรณ์ แก่ น วงศ์ เลขาธิ ก ารคณะ กรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานเปิดการประชุม ณ โรงแรม แมนดาริน นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการ อุดมศึกษา กล่าวว่า คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบัน อุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ได้ออกประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง มาตรฐานภาระงาน ทางวิ ช าการของผู ้ ด�ำรงต�ำแหน่ ง อาจารย์ ผู ้ ช ่ ว ยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ.๒๕๕๘ เพื่อสนับสนุน การปฏิ บั ติ ง านของผู ้ ด�ำรงต�ำแหน่ ง วิ ช าการให้ ส อดคล้ อ งกั บ นโยบายการผลั ก ดั น ด้ า นการวิ จั ย และการส่ ง เสริ ม บุ ค ลากรด้ า น วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม จากสถาบันอุดมศึกษาและ สถาบันวิจัยของภาครัฐ ไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการ แข่งขันในภาคเอกชน (Talent Mobility) ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ที่เห็นชอบนโยบายส่งเสริมบุคลากร ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากมหาวิทยาลัยและ สถาบันวิจัยของภาครัฐไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการ แข่งขันในภาคเอกชน ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โดยส�ำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ นวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) เสนอและเห็นชอบให้บุคลากรจาก มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจยั ของภาครัฐทีเ่ ข้าร่วมโครงการฯ สามารถ ใช้ผลการปฏิบัติงานในภาคเอกชนในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นผลงานใน การขอต�ำแหน่งทางวิชาการหรือต�ำแหน่งงานอื่นๆ รวมทั้งการขึ้น เงินเดือน โดยให้มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจยั ของภาครัฐจัดท�ำเกณฑ์ การเลือ่ นต�ำแหน่ง การเข้าสูต่ �ำแหน่งทางวิชาการและการขึน้ เงินเดือน ที่ชัดเจนต่อไปนั้น “ประกาศ ก.พ.อ. ฉบับใหม่ จะเป็นประโยชน์ต่อการ พัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรและเพิ่มความสามารถในการ แข่งขันของประเทศ ตลอดจนใช้ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ที่ได้รับน�ำมาถ่ายทอดให้แก่นิสิตนักศึกษา เพื่อผลิตนิสิตนักศึกษา ที่มีคุณภาพในการรองรับต่อการพัฒนาประเทศต่อไป การประชุม ชี้ แ จงในครั้ ง นี้ จ ะเป็ น ส่ ว นส�ำคั ญ ในการสนั บ สนุ น การปฏิ บั ติ ง าน ของผู้ด�ำรงต�ำแหน่งทางวิชาการให้เป็นไปตามพันธกิจและเป้าหมาย ของแต่ ล ะสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา และส่ ง เสริ ม ให้ ผู ้ ด�ำรงต�ำแหน่ ง ทางวิชาการได้เพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และประสบการณ์จากการ ไปปฏิบตั งิ านร่วมกับภาคอุตสาหกรรม อันเป็นประโยชน์ตอ่ การพัฒนา ขีดความสามารถของบุคลากรและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ของประเทศต่อไป” เลขาธิการ กกอ. กล่าว

3


ปั จ จุ บั น มี บุ ค ลากรวิ จั ย ในสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาที่ มี ค วามรู ้ ความสามารถในสังกัดเป็นจ�ำนวนมาก ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุ ด มศึ ก ษาจึ ง ส่ ง เสริ ม ให้ บุ ค ลากรวิ จั ย ในสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา ไปปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาและเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต ให้ กั บ ภาคอุ ต สาหกรรม (Talent Mobility) โดยเปิ ด โอกาส และสนั บ สนุ น ให้ ค ณาจารย์ ไ ด้ ท�ำงานร่ ว มกั บ ภาคเอกชนมากขึ้ น เพื่ อ สอดรั บ กั บ นโยบายของรั ฐ บาลที่ ต ้ อ งการบู ร ณาการด้ า น วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพือ่ ยกระดับคุณภาพเยาวชน และบุคลากร โดยการส่งเสริมให้นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยจาก ภาครัฐไปปฏิบตั งิ านกับภาคเอกชนเพือ่ เพิม่ ศักยภาพของบุคลากรวิจยั ในสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา ควบคู ่ ไ ปกั บ การเพิ่ ม ขี ด ความสามารถใน การแข่งขันของสถานประกอบการภาคเอกชน (Talent Mobility) ในปี ง บประมาณ ๒๕๕๙ ส�ำนั ก งานคณะกรรมการ การอุ ด มศึ ก ษาได้ รั บ การจั ด สรรงบประมาณโครงการส่ ง เสริ ม ให้บุคลากรวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาไปปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหา และเพิ่ ม ขี ด ความสามารถในการผลิ ต ให้ กั บ ภาคอุ ต สาหกรรม (Talent Mobility) จ�ำนวน ๕๐ ล้านบาท มีวตั ถุประสงค์ของโครงการ เพื่อให้บุคลากรวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาไปปฏิบัติงานแก้ไขปัญหา และเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตให้กับภาคอุตสาหกรรม พัฒนา ศักยภาพด้านการวิจยั ของบุคลากรเพือ่ พัฒนางานวิจยั ในระดับทีส่ งู ขึน้ ในฐานะนักวิจัยอาชีพและสามารถน�ำองค์ความรู้ใหม่จากการท�ำงาน มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในสถาบันอุดมศึกษา โดยจะด�ำเนิน สนับสนุนกิจกรรมหลัก ๓ กิจกรรม ได้แก่ (๑) การสนับสนุนทุนการ วิจยั (๒) การสนับสนุนการด�ำเนินงานโครงการ Talent Mobility และ

4

(๓) การจัดหลักสูตรเพื่อเตรียมความพร้อมและการพัฒนาบุคลากร วิจัยก่อนไปปฏิบัติร่วมกับภาคเอกชน เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๘ ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อก�ำหนดแนวทาง การเปิ ด รั บ ข้ อ เสนอโครงการส่ ง เสริ ม ให้ บุ ค ลากรวิ จั ย ในสถาบั น อุดมศึกษาไปปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาและเพิ่มขีดความสามารถใน การผลิตให้กับภาคอุตสาหกรรม (Talent Mobility) ณ โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท เนือ่ งจาก ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะเปิด รับข้อเสนอโครงการฯ ประจ�ำปีงบประมาณ ๒๕๕๙ โดยลักษณะของ โครงการที่จะเข้าร่วมในโครงการ Talent Mobility จะเป็นโครงการ ที่ ก ่ อ ให้ เ กิ ด การพั ฒ นาด้ า นผลิ ต ภั ณ ฑ์ โ ครงสร้ า งองค์ ก รด้ า น กระบวนการ ด้านการตลาด หรือก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียน การสอนในระดับอุดมศึกษา หรือก่อให้เกิดการตอบแทนจากการลงทุน (Return on investment) หรือก่อให้เกิดความยัง่ ยืนในการแก้ปญ ั หา ต่อการปฏิบัติงานนอกจากนี้ยังจะเปิดรับข้อเสนอส�ำหรับสถาบัน อุดมศึกษาที่สนใจเป็นหน่วยจัดการฝึกอบรมหลักสูตรการเตรียม ความพร้ อ มและการพั ฒ นาบุ ค ลากร เพื่ อ รองรั บ การด�ำเนิ น การ โครงการ Talent Mobility ด้วย ทั้งนี้ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะร่วมกับ ส�ำนั ก งานคณะกรรมการนโยบายวิ ท ยาศาสตร์ เทคโนโลยี แ ละ นวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) จัดให้มีการแถลงข่าวความร่วมมือ โครงการ Talent Mobility และก�ำหนดแนวทางการสนับสนุนการ ด�ำเนินงานของศูนย์อ�ำนวยความสะดวก (TM Clearing House) และ (TM Supporting Task) ในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๘

อนุสาร


เรื่องเล่า

อุดมศึกษา

สกอ. ร่วมมือจุฬาฯ

พัฒนาระบบบริหารจัดการ วิทยานิพนธ์

๒๕ กันยายน ๒๕๕๘ - รองศาตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เปิดเผยภายหลังจากการ ลงนามในบั น ทึ ก ข้ อ ตกลงความร่ ว มมื อ ทางวิ ช าการระหว่ า ง ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่ า ส�ำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา และจุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ตระหนักถึงความส�ำคัญของความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อร่วมกันส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานของผลงานวิชาการ ของไทย โดยสนับสนุนด�ำเนินโครงการพัฒนาระบบเพือ่ ก�ำกับคุณภาพ มาตรฐานการจัดท�ำและบริหารจัดการวิทยานิพนธ์ส�ำหรับสถาบัน อุ ด มศึ ก ษา พร้ อ มเชื่ อ มโยงระบบตรวจสอบการลอกเลี ย นงาน วรรณกรรมของวิทยานิพนธ์ กับฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์กลางของ ประเทศ โครงการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย (ThaiLIS) โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ พัฒนาระบบก�ำกับคุณภาพมาตรฐานการจัดท�ำ และบริหารจัดการวิทยานิพนธ์ส�ำหรับสถาบันอุดมศึกษา พร้อมทั้ง พั ฒ นาคุ ณ ภาพของผลงานวิ ช าการของสถาบั น การศึ ก ษา และ บูรณาการข้อมูลทางด้านบัณฑิตศึกษา และพัฒนาเป็นเครื่องมือ วิเคราะห์และบริหารการจัดการศึกษาของประเทศ ตลอดจนป้องปราม มิให้นิสิตนักศึกษามีการกระท�ำอันเป็นการลอกเลียนงานวรรณกรรม ของบุคคลอื่น และเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการจัดหาเครื่องมือตรวจ สอบการลักลอกวรรณกรรมจากต่างประเทศ เลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า การก�ำกับดูแลการจัดการศึกษา ระดั บ บั ณ ฑิ ต ศึ ก ษาของสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาให้ มี คุ ณ ภาพ ยั ง คงมี ปัญหาอยู่ และหนึ่งในปัญหาเหล่านั้น คือ การคัดลอกวิทยานิพนธ์ ส่งผลสะท้อนถึงการผลิตบัณฑิตที่ไม่มีคุณภาพของประเทศโดยรวม ในหลายประเทศรวมถึ ง ประเทศไทยได้ มี ก ารหาเครื่ อ งมื อ ช่ ว ย ในการตรวจสอบการคัดลอกวิทยานิพนธ์ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง แต่อาจไม่ตรงบริบท โดยเฉพาะวิทยานิพนธ์ภาษาไทย เพราะระบบ ของต่างประเทศไม่มีข้อมูลวิทยานิพนธ์ของไทยมากพอมาใช้เป็นฐาน ในการตรวจสอบท�ำให้เมื่อมีการตรวจสอบผ่านระบบดังกล่าวแล้ว จะไม่พบว่ามีการคัดลอกเกิดขึ้น

“ดังนัน้ สกอ. จึงให้การสนับสนุนงบประมาณกับจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยในการพัฒนาระบบ เพื่อก�ำกับคุณภาพมาตรฐานการ จั ด ท�ำและบริ ห ารจั ด การวิ ท ยานิ พ นธ์ ส�ำหรั บ สถาบั น อุ ด มศึ ก ษา ให้มีความต่อเนื่อง โดยที่จุฬาฯ จะให้ความร่วมมือในการเชื่อมโยง ระบบตรวจสอบการลอกเลี ย นงานวรรณกรรม ซึ่ ง ใช้ โ ปรแกรม ‘อักขราวิสุทธิ์’ เข้ากับฐานข้อมูลกลางของสกอ. ให้มีความต่อเนื่อง เช่นกัน โดยการเชื่อมโยงเข้ากับฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์กลางของ ประเทศในโครงการจัดเก็บเอกสารฉบับเต็มในรูปอิเล็กทรอนิกส์ (Thai Digital Collection) ภายใต้การพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดใน ประเทศไทย (ThaiLIS) ซึ่ง สกอ. ได้ด�ำเนินโครงการความร่วมมือนี้กับ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาทัง้ รัฐและเอกชน ด�ำเนินการจัดเก็บเอกสาร ของวิทยานิพนธ์และงานวิจัยฉบับเต็มเล่มไว้ในระบบที่ สกอ. ดูแล จ�ำนวนกว่า ๓๘๘,๐๐๐ เล่ม ทั้งนี้ สกอ. อนุญาตให้ จุฬาฯ เชื่อมโยง มีสิทธิใช้ และเข้าถึงฐานข้อมูลโครงการจัดเก็บเอกสารฉบับเต็ม ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ (Thai Digital Collection) โครงการพัฒนา เครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย (ThaiLIS) ซึ่งเป็นฐานข้อมูล จั ด เก็ บ เอกสารฉบั บ เต็ ม ของวิ ท ยานิ พ นธ์ ใ นระดั บ บั ณ ฑิ ต ศึ ก ษา งานวิจัย บทความวิชาการ ของสถาบันการศึกษา เพื่อการตรวจสอบ การลอกเลียนวรรณกรรมเท่านั้น” เลขาธิการ กกอ. กล่าว เลขาธิการ กกอ. กล่าวในตอนท้ายว่า การพัฒนาระบบ เพือ่ ก�ำกับคุณภาพมาตรฐานการจัดท�ำและบริหารจัดการวิทยานิพนธ์ ส�ำหรั บสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาในครั้ ง นี้ ถื อ เป็ น การใช้ ท รั พยากรและ พัฒนาฐานข้อมูลร่วมกัน เนื่องจากจะอนุญาตให้สถาบันการศึกษา สามารถใช้งานภายใต้ข้อก�ำหนดที่ สกอ. และจุฬาฯ ได้จัดท�ำขึ้น ร่ ว มกั น นอกจากนี้ ยั ง อาจส่ ง ผลโดยอ้ อ มในการก�ำกั บ ดู แ ลและ ป้องกันการจ้างท�ำวิทยานิพนธ์ รวมถึงลดจ�ำนวนการคัดลอกผลงาน ทางวิชาการได้ สุดท้ายจะน�ำไปสูก่ ารพัฒนาเกณฑ์ในการจัดการศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา จะมีคุณภาพมากขึ้นต่อไป

5


ปรับลดรายละเอียด การจัดท�ำทีคิวเอฟ

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา เปิดเผยว่า จากการประชุมคณกรรมการ การอุดมศึกษา ครั้งที่ ๑๑/๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๘ ทีป่ ระชุมได้เห็นชอบให้ปรับปรุงการจัดท�ำกรอบมาตรฐานคุณวุฒริ ะดับ อุดมศึกษา (TQF) ในส่วนของ มคอ.๓-๗ คือ รายละเอียดของ รายวิชา (มคอ.๓) รายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (มคอ.๔) รายงานผลการด�ำเนินการของรายวิชา (มคอ.๕) รายงานผลการ ด�ำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (มคอ.๖) และรายงานผลการ ด�ำเนินการของหลักสูตรในลักษณะอืน่ (มคอ.๗) โดยปรับลดหัวข้อและ รายละเอียด (Format) ที่ก�ำหนดใน มคอ.๓-๗ ให้คงไว้แต่ความหมาย และเจตนารมณ์ในการจัดท�ำ มคอ.๓-๗ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษา สามารถจัดท�ำ มคอ. ต่างๆ ได้อย่างอิสระ แต่ยังคงให้สอดคล้องตาม เจตนารมณ์ของการท�ำ มคอ.๓-๗ รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า จากการน�ำกรอบมาตรฐาน คุณวุฒริ ะดับอุดมศึกษา (TQF) ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนตัง้ แต่ พ.ศ.๒๕๕๒ จนถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลา ๖ ปี สกอ. ได้รับข้อมูล สะท้อนกลับว่า หัวข้อและรายละเอียดของ มคอ. ต่างๆ มีรายละเอียด หัวข้อจ�ำนวนมาก หลายหัวข้อมีความซ�้ำซ้อนกัน ท�ำให้เกิดภาระงาน จึงได้มีการพิจารณาทบทวนการก�ำหนดหัวข้อและรายละเอียดของ มคอ.๓-๗ โดยให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถด�ำเนินการจัดท�ำระบบ เก็บข้อมูลรายละเอียดเอกสาร มคอ.๓-๗ ได้ตามบริบทของสถาบัน อุดมศึกษา โดยสอดคล้องตามความหมายและเจตนารมณ์ของการ จัดท�ำ มคอ.๓-๗ ที่สามารถอ้างอิงและตรวจสอบได้ตามความจ�ำเป็น “ทั้งนี้ เพื่อเป็นประโยชน์ในการประกันคุณภาพภายใน ระดับหลักสูตร และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ตรงตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร อย่ า งไรก็ ต าม กรอบมาตรฐานคุ ณ วุ ฒิ ร ะดั บ อุ ด มศึ ก ษาแห่ ง ชาติ เป็นสิ่งจ�ำเป็นส�ำหรับประเทศไทยเพื่อเป็นเครื่องมือในการเทียบเคียง คุณวุฒิกับสากล และเป็นหลักประกันว่าเมื่อสถาบันอุดมศึกษาจัด การเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯ บัณฑิตจะมีผลการ เรียนรู้ไม่น้อยกว่า ๕ ด้าน” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมยัง ได้เห็นชอบยกเลิกตัวบ่งชีผ้ ลการด�ำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ จ�ำนวน ๑๒ ตัวบ่งชี้ ซึ่ง สกอ. เคยก�ำหนดไว้ในเอกสารแนบท้าย ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตาม

6

กรอบมาตรฐานคุ ณ วุ ฒิ ร ะดั บ อุ ด มศึ ก ษาแห่ ง ชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ ลงวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๒ โดยขอให้แต่ละหลักสูตรมีอสิ ระในการ ก�ำหนดตัวบ่งชี้ ผลการด�ำเนินงานที่ใช้ในการติดตาม ประเมินและ รายงานคุณภาพของหลักสูตร ตามบริบทและวัตถุประสงค์การผลิต บัณฑิตของแต่ละหลักสูตร ทั้งนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบหรืออนุมัติ จากสภาสถาบันอุดมศึกษา ในระหว่างที่สถาบันอุดมศึกษายังไม่ สามารถเสนอขอปรับตัวบ่งชี้ใหม่ได้แล้วเสร็จ ให้ใช้ตัวบ่งชี้เดิมก่อนได้ หรือหากหลักสูตรใดมีความประสงค์ก�ำหนดตัวบ่งชีแ้ บบเดิมก็สามารถ ท�ำได้ กรณีหลักสูตรมีการปรับตัวบ่งชี้ใหม่ ให้น�ำเสนอ สกอ. รับทราบ ในการปรับปรุงหลักสูตรครั้งต่อไป ซึ่งควรให้มีการทบทวนตัวบ่งชี้ ผลการด�ำเนินการที่ก�ำหนดไว้ในมาตรฐาน คุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา (มคอ.๑) ที่ ไ ด้ มี ก ารจั ด ท�ำเป็ น ประกาศกระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร เรียบร้อยแล้ว “อย่างไรก็ตาม สกอ. จะเร่งจัดท�ำประกาศคณะกรรมการ การอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. .... และปรับเอกสาร แนบท้ายประกาศ โดยก�ำหนดความหมายและเจตนารมณ์ในการ จัดท�ำ มคอ. ๓-๗ เพื่อสื่อสารให้สถาบันอุดมศึกษาเข้าใจเจตนารมณ์ ของการปรับแก้ไขได้อย่างถูกต้อง และให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถ น�ำไปพัฒนาได้อย่างอิสระ” รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว อนุสาร


เรื่องเล่า

อุดมศึกษา

ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางวิชาการระดับอุดมศึกษา ระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ๒๑ ตุ ล าคม ๒๕๕๘ - ส�ำนั ก งานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาจัดการประชุมชี้แจงแผนปฏิบัติการตามยุทธศาสตร์ ความร่ ว มมื อ ทางวิ ช าการระดั บ อุ ด มศึ ก ษาระหว่ า งประเทศไทย กับประเทศเพื่อนบ้าน (กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม) ณ โรงแรม อมารี วอเตอร์เกท กรุงเทพฯ เพื่อชี้แจงและหารือแนวทางในการ ถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์ฯ ไปสู่การปฏิบัติทั้งในระดับนโยบายและ ระดับสถาบันอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งยังเป็นเวทีในการสร้างความรู้ ความเข้ า ใจในการด�ำเนิ น ความร่ ว มมื อ เชิ ง ยุ ท ธศาสตร์ ร ะหว่ า ง ประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน (กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม) ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้บริหารของสถาบันอุดมศึกษา ที่ก�ำกับดูแลงานด้านต่างประเทศและด้านนโยบายและแผน และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จ�ำนวน ๑๘๗ คน ในการบรรยายพิ เ ศษเรื่ อ ง ‘ทิ ศ ทางอุ ด มศึ ก ษาไทยกั บ ประเทศเพื่อนบ้าน: จากแผนสู่การปฏิบัติ’ โดย นายสุเมธ แย้มนุ่น อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้กล่าวถึงเจตนารมย์ ในการจัดท�ำร่างยุทธศาสตร์ฯ ฉบับนี้ที่ให้ความส�ำคัญกับการด�ำเนิน ความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน อย่างเท่าเทียม เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืนร่วมกัน และเน้ น ย�้ ำ ถึ ง การเชื่ อ มโยงนโยบายของสถาบั น อุ ด มศึ ก ษากั บ แผนยุทธศาสตร์ฯ เพื่อให้สามารถด�ำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม มากขึ้น นอกจากนี้ ยังได้ให้แนวคิดส�ำหรับสถาบันอุดมศึกษาในการ ส่งเสริมและพัฒนายุทธศาสตร์ฯ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านตามอัตลักษณ์และจุดเน้นของ แต่ละสถาบันต่อไป

ในการเสวนาเรือ่ ง ‘ความร่วมมืออุดมศึกษาไทยกับประเทศ เพื่อนบ้าน: ก้าวอย่างไรให้ยั่งยืน’ โดยผู้แทนจากส�ำนักงานคณะ กรรมการการอุดมศึกษา สถาบันอุดมศึกษา กระทรวงการต่างประเทศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมเสวนา และด�ำเนินรายการโดย ดร. ร่มเย็น โกไศยกานนท์ ซึง่ ผูเ้ ข้าร่วมการเสวนาได้เน้นถึงความส�ำคัญ ของการร่ ว มมื อ ที่ เ ท่ า เที ย มกั น ระหว่ า งประเทศไทยกั บ ประเทศ เพื่อนบ้านในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน เพื่อเป็นการผลักดันให้มีการน�ำแผนไปสู่การปฏิบัติอย่าง เป็นรูปธรรม ที่ประชุมกลุ่มย่อยได้เห็นพ้องกันว่าในช่วงต้นของการ ด�ำเนินการตามยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางวิชาการะดับอุดมศึกษา ระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน (กัมพูชา ลาว เมียนมา เวี ย ดนาม) นั้ น จะคั ด เลื อ กโครงการตามที่ น�ำเสนอตามแผน ยุทธศาสตร์ฯ จ�ำนวน ๕ โครงการ เพื่อด�ำเนินการร่วมกันระหว่าง ส�ำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาและสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา ในลักษณะ Consortium

7


ทุนพัฒนาศักยภาพ นักวิจัยด้านยุทโธปกรณ์ ปี ๒๕๕๙ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาประกาศการรับ ข้ อ เสนอโครงการทุ น พั ฒ นาศั ก ยภาพนั ก วิ จั ย ด้ า นยุ ท โธปกรณ์ เพื่ อ เพิ่ ม ศั ก ยภาพของกองทั พ และการป้ อ งกั น ประเทศ ประจ�ำ ปีงบประมาณ ๒๕๕๙ มีวตั ถุประสงค์เพือ่ ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ นักวิจัยด้านยุทโธปกรณ์เพื่อเพิ่มศักยภาพของกองทัพ และลดการ น�ำเข้าของกองทัพ โดยอาศัยความเชี่ยวชาญของบุคลากรในสถาบัน อุดมศึกษาและโจทย์ความต้องการ เพือ่ น�ำไปใช้ประโยชน์ของกองทัพ และน�ำไปสูก่ ารพัฒนาบุคลากรวิจยั ด้านยุทโธปกรณ์ รวมถึงเทคโนโลยี และนวัตกรรมในการรักษาความมั่นคงของกองทัพในอนาคต บัดนี้ มีสถาบันอุดมศึกษาจ�ำนวน ๒๖ แห่ง ยื่นข้อเสนอ โครงการทุนพัฒนาศักยภาพนักวิจยั ด้านยุทโธปกรณ์เพือ่ เพิม่ ศักยภาพ

8

ของกองทัพและการป้องกันประเทศ ประจ�ำปีงบประมาณ ๒๕๕๙ เพื่ อ ขอรั บ การจั ด สรรงบประมาณ รวม ๗๗ โครงการ คิ ด เป็ น งบประมาณที่เสนอขอทั้งสิ้น ๓๓๖,๑๘๗,๗๙๙ บาท ขณะนี้ การด�ำเนินการดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา คัดเลือกโครงการฯ ทีม่ คี วามเหมาะสมและสอดคล้องกับกรอบการวิจยั ทางด้านยุทโธปกรณ์เพื่อพัฒนาศักยภาพของกองทัพและการป้องกัน ประเทศตามความจ�ำเป็นและความต้องการของกองทัพบก โดยมี คณะกรรมการพิจารณาโครงการวิจัยทางด้านยุทโธปกรณ์เพื่อพัฒนา ศักยภาพของกองทัพและการป้องกันประเทศ ประจ�ำปีงบประมาณ ๒๕๕๙ ในส่วนของผูแ้ ทนกองทัพบก ผูแ้ ทนกรมยุทธการทหารบก และ ผู้แทนกรมส่งก�ำลังบ�ำรุงทหารบก อนุสาร


เรื่องเล่า

อาเซียน

ความร่วมมือ

ไทย-สิงคโปร์

นางสาวอาภรณ์ แก่ น วงศ์ เลขาธิ ก ารคณะกรรมการ การอุ ด มศึ ก ษา พร้ อ มด้ ว ยรองศาสตราจารย์ บั ณ ฑิ ต ทิ พ ากร รองอธิ ก ารบดี ฝ ่ า ยพั ฒ นาการศึ ก ษา มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี พระจอมเกล้ า ธนบุ รี และข้ า ราชการส�ำนั ก งานคณะกรรมการ การอุ ด มศึ ก ษา เข้ า ร่ ว มการประชุ ม อย่ า งไม่ เ ป็ น ทางการ กับผู้บริหารระดับสูงของกรมอุดมศึกษา กระทรวงการศึกษาสิงคโปร์ และการประชุมนานาชาติ Higher Education Futures ซึ่งกระทรวง การศึกษาสิงคโปร์ เป็นเจ้าภาพร่วมกับองค์การเพื่อความร่วมมือ

และพัฒนาเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Co-operation and Development: OECD) ณ ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ ๑๓-๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๘ สาระส�ำคัญของการประชุมนานาชาติ Higher Education Futures ประกอบด้วย ความจ�ำเป็นในการพัฒนาทักษะให้แก่บัณฑิต และแรงงานในระบบให้สามารถปฏิบัติงานได้จริง โดยเน้นการน�ำ มาตรฐานผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) มาใช้ในการจัดการ ศึกษาเพื่อให้บัณฑิตมีความสามารถในท�ำงานได้จริง และบทบาท ที่เพิ่มขึ้นของภาคอุดมศึกษาของประเทศในทวีปเอเชีย ทั้งในด้าน คุณภาพและจ�ำนวนนักศึกษาในระบบอุดมศึกษา ส�ำหรับการประชุมอย่างไม่เป็นทางการกับผูบ้ ริหารระดับสูง ของกรมอุ ด มศึ ก ษา กระทรวงการศึ ก ษาสิ ง คโปร์ ซึ่ ง น�ำโดย Mr. John Lim, Divisional Director, Higher Education Policy, Ministry of Education ณ Institute of Technical Education เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๘ มีสาระส�ำคัญของการประชุม ดังนี้

9


เรื่องเล่าอาเซียน ๑. ส�ำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาและ กรมอุดมศึกษา กระทรวงการศึกษาสิงคโปร์ ได้แลกเปลี่ยนข้อมูล นโยบายด้านการอุดมศึกษา โดยนโยบายที่ส�ำคัญของฝ่ายสิงคโปร์ ได้แก่ SkillsFuture ซึง่ เป็นนโยบายส่งเสริมการเรียนรูต้ ลอดชีวติ ทีเ่ น้น การพัฒนาทักษะในการท�ำงานของบัณฑิตและแรงงานในระบบอย่าง ต่อเนื่อง โดยนโยบายนี้กระทรวงการศึกษาสิงคโปร์ เน้นการศึกษาใน ระดับอาชีวศึกษา การเพิม่ บทบาทของผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสียในการจัดการ ศึกษาและการก�ำหนดมาตรฐานผลการเรียนรู้และการเปิดโอกาสให้ ผู้เรียนสามารถเลือกและพัฒนาทักษะที่จ�ำเป็นต่อการปฏิบัติงาน ของตนเอง

10

๒. นโยบายดั ง กล่ า วเน้ น การพั ฒ นาใน ๕ อุ ต สาหกรรม ประกอบด้วย การผลิตและการจัดการโรงงาน วิทยาศาสตร์สุขภาพ การพัฒนาอย่างยัง่ ยืน โลจิสติกส์และการบิน และการบริการทางการเงิน โดยในการน�ำนโยบายไปปฏิ บั ติ กระทรวงการศึ ก ษาสิ ง คโปร์ ได้ จั ด งบประมาณเพื่ อ จู ง ใจให้ นั ก ศึ ก ษาและสถานประกอบการ เข้ า ร่ ว มโครงการในลั ก ษณะ Work-Study Programme โดย ให้นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการจ�ำนวน ๕,๐๐๐ เหรียญสิงคโปร์ และให้ สถานประกอบการ จ�ำนวน ๑๕,๐๐๐ เหรียญสิงคโปร์ ต่อการรับนักศึกษา ที่เข้าร่วมโครงการ จ�ำนวน ๑ คน ๓. กระทรวงการศึกษาสิงคโปร์ จูงใจให้แรงงานในระบบเข้า ร่วมโครงการโดยจัดสรรทุนเบื้องต้นให้จ�ำนวน ๕๐๐ เหรียญสิงคโปร์ต่อ คน เพือ่ ให้แรงงานใช้ในการศึกษาและพัฒนาทักษะในสถาบันอาชีวศึกษา ที่เข้าร่วมโครงการ นอกจากนี้ กระทรวงการศึกษาสิงคโปร์ ร่วมกับ สถานศึ ก ษาในการจั ด หลั ก สู ต รฝึ ก อบรมให้ แ ก่ แ รงงานในระบบ โดยกระทรวงการศึกษาสิงคโปร์ ได้จัดสรรงบประมาณในการสนับสนุน การด�ำเนินหลักสูตรฝึกอบรมดังกล่าวด้วย ๔. ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้น�ำเสนอข้อมูล เกี่ยวกับนโยบายด้านการศึกษาและการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเน้นประเด็นด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการส่งเสริมการเรียน รู้ตลอดชีวิตภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย ซึ่งฝ่ายสิงคโปร์ได้ ให้ความสนใจโดยเฉพาะประเด็นการสะสมหน่วยกิตของผูเ้ รียนในระบบ Credit Bank ๕. ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้เสนอประเด็น ความร่วมมือ ๓ โครงการ ได้แก่ โครงการ Singapore-Thailand Work Placement Programme ความร่วมมือในการจัดการศึกษา ผ่านทางไกลผ่านเครือข่ายของโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทยและการ ด�ำเนินโครงการ ASEAN Research Cluster (ARC) โดยฝ่ายสิงคโปร์ ขอให้ฝ่ายไทยส่งรายละเอียดของประเด็นการจัดการศึกษาทางไกล และโครงการ ARC เพื่ อ จะได้ น�ำไปหารื อ กั บ สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาถึ ง ความเป็นไปได้ในการด�ำเนินความร่วมมือต่อไป อนุสาร


เรื่องเล่า

อาเซียน

กระทรวงการศึกษาสิงคโปร์ แจ้งว่ากฎระเบียบในการเข้า เมืองและการอนุญาตให้ท�ำงานของสิงคโปร์จะเป็นอุปสรรคในการ ด�ำเนินความร่วมมือภายใต้โครงการ Singapore-Thailand Work Placement Programme ซึ่งเป็นโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและสถานประกอบการ เนื่องจากสิงคโปร์ ไม่อนุญาตให้นักศึกษาต่างชาติท�ำงานในระหว่างที่ศึกษา นอกจากนี้ สถานประกอบการโดยส่วนใหญ่ไม่ตอ้ งการรับภาระในการจ่ายค่าจ้าง ให้แก่นักศึกษาฝึกงานในอัตราค่าจ้างตามที่กฎหมายก�ำหนด อย่างไร ก็ตามกระทรวงการศึกษาสิงคโปร์ ได้ให้ความเห็นว่าหากมีการด�ำเนิน ความร่วมมือในลักษณะนี้ นักศึกษาจะมีโอกาสในการศึกษาดูงาน การปฏิบัติงานในสถานประกอบการแต่จะไม่มีโอกาสในการลงมือ ปฏิบัติงานจริง นอกเหนื อ จากการประชุ ม ข้ า งต้ น แล้ ว เลขาธิ ก ารคณะ กรรมการการอุ ด มศึ ก ษาได้ ห ารื อ Dr. Patricia B. Licuanan, Chairperson,Commission on Higher Education (CHED) ประเทศ ฟิลิปปินส์ ถึงการด�ำเนินโครงการ ASEAN International Mobility for Students (AIMS) และโครงการการจัดท�ำดัชนีอ้างอิงวารสารใน กลุ ่ ม อาเซี ย น (ASEAN Citation Index: ACI) ที่ ทั้ ง สองฝ่ า ย

ได้ตกลงกันไว้ในการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ (Retreat) ระหว่าง ผู ้ บ ริ ห ารส�ำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาและ CHED ณ ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อปี ๒๕๕๕ และได้หารือถึงก�ำหนดการจัด ประชุมอย่างไม่เป็นทางการของทั้งสองหน่วยงานในครั้งต่อไป

11


เรื่องพิเศษ

ขอแสดงความยินดี

เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาคนใหม่

อนุสารอุดมศึกษาฉบับนี้ ขอแสดงความยินดีกับนางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาคนใหม่ ที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ด�ำรงต�ำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๘ และ นายขจร จิ ต สุ ขุ ม มงคล รองเลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาคนใหม่ ซึ่ ง ที่ ป ระชุ ม คณะรั ฐ มนตรี เมื่ อ วั น อั ง คาร ที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๘ มีมติอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้งให้นายขจร จิตสุขุมมงคล ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ด�ำรงต�ำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทน ต�ำแหน่งที่ว่าง อนุ ส ารอุ ด มศึก ษาฉบับ นี้ ขอน�ำประวัติข องนางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึ ก ษา และ นายขจร จิตสุขุมมงคล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา มาลงแนะน�ำให้ผู้อ่านทราบ ดังนี้

12

อนุสาร


เรื่อง

พิเศษ

นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์

เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา aporn_k@mua.go.th การศึกษา พาณิชยศาสตรบัณฑิต (การเงินการธนาคาร) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต (อุดมศึกษา) คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การฝึกอบรม - Intensive English Course ประเทศออสเตรเลีย - In-Service Training for Teachers (Educational Administration) ประเทศญี่ปุ่น Thai University Administrators Shadowing สหราชอาณาจักร อบรม Strategic Planning จัดโดย TASEAP ประเทศออสเตรเลีย อบรม Strategic Management จั ด โดย TASEAP ประเทศออสเตรเลีย อบรมการเป็ น เลขานุ ก ารคณะกรรมการตรวจสอบ คุณภาพการศึกษา กฎหมายมหาชน จัดโดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อบรมหลั ก สู ต รนั ก บริ ห ารระดั บ สู ง : ผู ้ น�ำมี วิ สั ย ทั ศ น์ รุ่นที่ ๔๗ ของส�ำนักงานก.พ. Change Management , RIPA, สหราชอาณาจักร ศึ ก ษาหลั ก สู ต รป้ อ งกั น ราชอาณาจั ก รรั ฐ ร่ ว มเอกชน (ปรอ.๒๒) วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร - โครงการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ส�ำหรับผู้บริหารระดับสูง ประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๘ จัดโดยส�ำนักงานก.พ. ประวัติการท�ำงาน ผู้อ�ำนวยการกองวิเทศสัมพันธ์ ทบวงมหาวิทยาลัย ผู้อ�ำนวยการส�ำนักยุทธศาสตร์อุดมศึกษาต่างประเทศ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา รางวัล รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นจากโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย

นายขจร จิตสุขุมมงคล

รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา kajorn@mua.go.th การศึกษา - หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร - นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง - นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง ประวัติการทำ�งาน - ๑๘ กันยายน ๒๕๕๘ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำ�รงตำ�แหน่งผู้ตรวจราชการ กระทรวงศึกษาธิการ - ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๘ ได้ รั บ การแต่ ง ตั้ ง ให้ ดำ � รงตำ � แหน่ ง ผู้ ช่ ว ยเลขาธิ ก าร คณะกรรมการการอุดมศึกษา - ตุลาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๘ ผู้อำ�นวยการสำ�นักส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะบุคลากร สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

- ตุลาคม ๒๕๕๒ - ตุลาคม ๒๕๕๓ ผู้อำ�นวยการสำ�นักอำ�นวยการสำ�นักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา - พฤศจิกายน ๒๕๕๑ - ตุลาคม ๒๕๕๒ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนิติการ สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษา กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

13


เรื่องพิเศษ นโยบายและแนวทาง

การด�ำเนินงาน

การพัฒนาอุดมศึกษา

นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา บริบทของการอุดมศึกษา ๑. ความเชื่อมโยงระหว่างภาคอุดมศึกษาและภาคการผลิต ๒. ความเชื่อมโยงระหว่างภาคอุดมศึกษาและภาคสังคม ๓. ความเชื่อมโยงระหว่างภาคอุดมศึกษาและการศึกษา ขั้นพื้นฐานและการอาชีวศึกษา ๔. ความเชื่ อ มโยงระหว่ า งภาคอุ ด มศึ ก ษาไทย และ การอุดมศึกษานานาชาติ ข้อมูลอุดมศึกษาในสังกัด/ก�ำกับ สกอ.

นโยบายรัฐบาล นโยบายด้านที่เกี่ยวกับอุดมศึกษาโดยตรง ๑. ด้านการศึกษาและเรียนรู้ การทะนุบํารุงศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม - จัดให้มีการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ โดยให้ ความส�ำคัญทัง้ การศึกษาในระบบและการศึกษาทางเลือกไปพร้อมกัน - พัฒนาคนทุกช่วงวัย โดยส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้สามารถมีความรู้และทักษะใหม่ที่สามารถประกอบอาชีพได้ หลากหลายตามแนวโน้มการจ้างงานในอนาคต ปรับกระบวนการเรียน รู้และหลักสูตรให้เชื่อมโยงกับภูมิสังคม - ส่งเสริมอาชีวศึกษาและการศึกษาระดับวิทยาลัยชุมชน เพื่อสร้างแรงงานที่มีทักษะ โดยเฉพาะในท้องถิ่นที่มีความต้องการ แรงงาน และพั ฒ นาคุ ณ ภาพมาตรฐานการศึ ก ษาให้ เ ชื่อมโยงกับ มาตรฐานวิชาชีพ - พัฒนาระบบการผลิตและพัฒนาครูที่มีคุณภาพและมี จิตวิญญาณของความเป็นครู เน้นครูผู้สอนให้มีวุฒิตรงตามวิชาที่สอน ๒. ด้ า นการพั ฒ นาและส่ ง เสริ ม การใช้ ป ระโยชน์ จ าก วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม - เร่งเสริมสร้างสังคมนวัตกรรม โดยส่งเสริมระบบการ เรี ย นการสอนที่ เ ชื่ อ มโยงระหว่ า งวิ ท ยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิ ศ วกรรมศาสตร์ และคณิ ต ศาสตร์ การผลิ ต ก�ำลั ง คนในสาขาที่ ขาดแคลน การเชื่อมโยงระหว่างการเรียนรู้กับการท�ำงาน การให้ บุคลากรด้านการวิจยั ของภาครัฐสามารถไปท�ำงานในภาคเอกชน และ การให้อตุ สาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมมีชอ่ งทางได้เทคโนโลยี โดยความร่วมมือจากหน่วยงานและสถานศึกษาภาครัฐ - ส่งเสริมให้โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของประเทศ เช่น ด้านพลังงานสะอาด ระบบราง ยานยนต์ ไฟฟ้า การจัดการนำ�้ และขยะ ใช้ประโยชน์จากผลการศึกษาวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรมของไทย ตามความเหมาะสม

ปัจจุบัน สกอ. มีสถาบันอุดมศึกษาในสังกัด/ก�ำกับ จ�ำนวน ๑๕๖ สถาบัน ได้แก่ ระดับปริญญา จ�ำนวน ๑๕๕ สถาบัน แบ่งออกเป็น ๑. สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ๘๐ แห่ง ๑) สถาบันอุดมศึกษาในก�ำกับ จ�ำนวน ๑๙ สถาบัน ๒) มหาวิทยาลัยรัฐ (เดิม) จ�ำนวน ๑๔ สถาบัน ๓) มหาวิทยาลัยราชภัฏ จ�ำนวน ๓๘ สถาบัน ๔) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จ�ำนวน ๙ สถาบัน ๒. สถาบันอุดมศึกษาเอกชน จ�ำนวน ๗๕ แห่ง แบ่งเป็น ๓ ประเภท ๑) มหาวิทยาลัย จ�ำนวน ๔๓ สถาบัน ๒) สถาบัน จ�ำนวน ๑๒ สถาบัน ด้านอื่นๆ ที่อุดมศึกษาต้องบูรณาการร่วมกันหน่วยงานอื่นๆ เช่น ๓) วิทยาลัย จ�ำนวน ๒๐ สถาบัน การยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุข และสุขภาพ ระดับอนุปริญญาจ�ำนวน ๑ แห่ง ได้แก่ สถาบันวิทยาลัยชุมชน ของประชาชน การเพิม่ ศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ การรักษา โดยมีวิทยาลัยชุมชน ๒๐ แห่ง ความมัน่ คงของฐานทรัพยากร และการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรกั ษ์ กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ฯลฯ

14

อนุสาร


เรื่อง

พิเศษ

ประเด็นกรอบนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ภาพรวมทุกองค์กรหลัก ๑. การแปลงกระแสพระราชด�ำรัสของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาไปเป็นแผนงาน/โครงการ ๒. ยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในทุกหลักสูตร ๓. การน�ำ ICT มาใช้ในกระทรวงศึกษาธิการ อย่างกว้างขวาง ๔. การแก้ไขปัญหาการจัดการการศึกษาจังหวัดชายแดน ภาคใต้ ๕. การแก้ไขปัญหาการทุจริต ๖. ความร่วมมือกับสถานประกอบการ และสถานศึกษาใน การฝึกภาคปฏิบัติ เมื่อจบแล้วสามารถประกอบอาชีพได้ทันที ๗. การลดเรือ่ งการทะเลาะวิวาท โดยให้โอกาสนักศึกษาเข้า ฝึกงานในสถานประกอบการ ๘. ส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาคนทุกช่วงวัย โดยส่งเสริม “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” โดยปรับกระบวนการเรียนรู้และหลักสูตรให้ หลากหลายตามแนวโน้มของการจ้างงานในอนาคต และเชื่อมโยงกับ ภูมิสังคม ๙. การอ�ำนวยการเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน ๑๐. การลดความเหลื่อมล�้ำทางการศึกษา ๑๑. การปฏิรูปการศึกษา ๑๒. การจั ด การเรี ย นการสอนโดยเน้ น แนวทางการให้ ข้อเท็จจริง (Fact)

อุดมศึกษา ๑. ก�ำหนดบทบาทการผลิตนักศึกษาให้ชัดเจน ตามความ ถนัดและความเป็นเลิศของแต่ละสถาบันเพื่อลดความซ�้ำซ้อน๑ ๒. Outcome ที่สถาบันอุดมศึกษาควรมี เช่น การวิจัย พัฒนาจนเกิดเป็นนวัตกรรมทีเ่ กิดจากทรัพยากรท้องถิน่ เพิม่ มูลค่าการ ส่งออกของประเทศ๒ ๓. สถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ท�ำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้แก่ โรงเรียนในการพัฒนาท้องถิ่น๓ การส่งเสริมสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาของ สกอ. ด้านคุณภาพมาตรฐานหลักสูตร ๑. ส่งเสริมสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาพัฒนาระบบและ กลไกการประกั น คุ ณ ภาพการศึ ก ษาภายในที่ เ ข้ ม แข็ ง และ มีประสิทธิภาพ เพื่อใช้เป็นกลไกก�ำกับคุณภาพมาตรฐานการจัดการ ศึกษาระดับอุดมศึกษา ๒. จัดท�ำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) เป็นเครือ่ งมือให้สถาบันอุดมศึกษาใช้เป็นแนวทางในการจัดการ ศึ ก ษาให้ มี คุ ณ ภาพสามารถใช้ เ ป็ น กลไกในการรั บ รองคุ ณ วุ ฒิ กั บ นานาชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบนั ได้ประกาศมาตรฐานคุณวุฒิ ในรายสาขาแล้ว จ�ำนวน ๑๒ สาขา ๓. คณะกรรมการการอุดมศึกษาอยู่ระหว่างปรับเกณฑ์ มาตรฐานหลักสูตรในระดับต่างๆ (ปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา) ให้มีความยืดหยุ่น สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงและคงไว้ซึ่ง คุณภาพมาตรฐานการศึกษา

คณะกรรมการการอุดมศึกษา เมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๘ เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการปรับยุทธศาสตร์ (Re-profiling) มหาวิทยาลัยกลุ่มใหม่ เพือ่ ให้มหาวิทยาลัยกลุม่ ใหม่ ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มีทศิ ทางและเป้าหมายทีช่ ดั เจน สามารถตอบสนอง ต่อการเปลี่ยนแปลงของบริบททางสังคมและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ๒ โครงการสนับสนุนส่งเสริมการวิจัยที่สอดรับนโยบายดังกล่าว ตามหัวข้อ ๕.๔ ๓ คณะกรรมการการอุดมศึกษา เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๘ เห็นชอบข้อเสนอเชิงนโยบาย เรื่อง การจัดตั้งเครือข่ายความร่วมมือทั้งภาครัฐและ ภาคเอกชน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศอย่างเป็นระบบ โดยมีเครือข่ายอุดมศึกษา ๙ เครือข่าย เป็นกลไลในการช่วยเหลือและยกระดับ การศึกษาขึ้นพื้นฐาน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเรื่องคุณภาพการศึกษาอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว

15


เรื่องพิเศษ ด้านคุณภาพนักศึกษา ๑. ส่งเสริมการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนที่บูรณาการ กับการท�ำงาน (Work-Integrated Learning: WIL) อาทิ หลักสูตรสห กิจศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมนักศึกษาสู่โลกแห่งการท�ำงานจริงใน สถานประกอบการ ปัจจุบันสถาบันอุดมศึกษาก้าวสู่การจัดหลักสูตร สหกิจศึกษานานาชาติเพิม่ มากขึน้ ส่งผลให้ผใู้ ช้บณ ั ฑิตมีความพึงพอใจ และบัณฑิตได้งานท�ำเร็วขึ้น ๒. ส่ ง เสริ ม กิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษา เพื่ อ เสริ ม สร้ า งคุ ณ ธรรม จริยธรรม และค่านิยม ๑๒ ประการผ่านเครือข่ายพัฒนานิสติ นักศึกษา ๓. ส่งเสริมให้บณ ั ฑิตเป็นผูป้ ระกอบการผ่านหน่วยบ่มเพาะ วิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (University Business Incubator : UBI) ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า ๖๐ แห่งทั่วประเทศ เกิดการถ่ายทอด เทคโนโลยีสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์

16

ด้านการพัฒนาอาจารย์ สกอ. ได้ด�ำเนินการโครงการผลิตและพัฒนาอาจารย์ใน สถาบันอุดมศึกษามาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีการสนับสนุนทุน เรียนดีมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นทุน ส�ำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีผลการเรียนดี และ สนใจด้ า นมนุ ษ ยศาสตร์ แ ละสั ง คมศาสตร์ เ ข้ า ศึ ก ษาต่ อ ในระดั บ ปริ ญ ญาตรี ในคณะด้ า นมนุ ษ ยศาสตร์ แ ละสั ง คมศาสตร์ ที่ ร ่ ว ม โครงการฯ รวมทั้งการศึกษาระดับปริญญาโท-เอก ทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ โดยต้องผูกพันชดใช้ทุนในสถาบันอุดมศึกษา ส�ำหรั บ การด�ำเนิ น การในระยะต่ อ ไป สกอ.ได้ จั ด ให้ มี โครงการลงทุนทางวิชาการของประเทศ ได้แก่ โครงการพัฒนา ศั ก ยภาพของทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ใ นอุ ด มศึ ก ษาเพื่ อ รองรั บ การ เปลีย่ นแปลงของบริบทโลก ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๙-๒๕๗๘) จ�ำนวน ๑๖,๐๐๐ ทุน เพื่อพัฒนาคณาจารย์ควบคู่กับการวิจัย โดยมีเป้าหมาย หลักเพิ่มคุณวุฒิอาจารย์ และบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาในสาขาทีต่ อบสนองความ ต้องการในการพัฒนาประเทศ

อนุสาร


เรื่อง

พิเศษ

ด้านการวิจัย ๑. สนับสนุนการถ่ายทอดงานวิจยั สูก่ ารใช้ประโยชน์ทั้งเชิง สาธารณะและเชิงพาณิชย์ภายใต้โครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อ ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานรากและโครงการสนับสนุนการวิจัย และพัฒนาภาครัฐร่วมเอกชนเชิงพาณิชย์ ๒. พัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทาง ๑๑ ศูนย์ โดยมีการ ท�ำงานลักษณะ consortium มีมหาวิทยาลัยแกนน�ำ เช่น ศูนย์ความ เป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี (มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นแกนน�ำ) ศู น ย์ ค วามเป็ น เลิ ศ ด้ า นการจั ด การสารและของเสี ย อั น ตราย (จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย เป็ น แกนน�ำ) ศู น ย์ ค วามเป็ น เลิ ศ ด้ า น เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นแกนน�ำ) ฯลฯ การด�ำเนินงานศูนย์ความเป็นเลิศ ๑๑ ศูนย์ ระยะ ๕ ปีต่อไป (ระยะที่ ๓) ได้ก�ำหนดแนวทางในการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ นวัตกรรมในการพัฒนาประเทศ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและเพิ่ม มูลค่าการส่งออกของประเทศ รวมทัง้ แก้ไขปัญหาของสังคมและพืน้ ที่ เครือข่าย เป็นกลไกในการช่วยเหลือและยกระดับการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน ให้เกิดการเปลีย่ นแปลงเรือ่ งคุณภาพการศึกษาอย่างทัว่ ถึงและรวดเร็ว ๓. โครงการพั ฒ นามหาวิ ท ยาลั ย วิ จั ย แห่ ง ชาติ โดยได้ พิจารณาคัดเลือกมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ จ�ำนวน ๙ แห่ง และได้ จั ด สรรเงิ น สนั บ สนุ น ต่ อ ยอดโครงการวิ จั ย ที่ มี คุ ณ ภาพสู ง ของ มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ๙ แห่ง และมหาวิทยาลัยภายใต้โครงการ ส่งเสริมการวิจยั ในอุดมศึกษาอีก ๗๐ แห่ง สามารถสร้างบุคลากรและ ทรัพยากรมนุษย์ระดับสูงให้กบั ประเทศ โดยในระยะต่อไปจะยกระดับ เป็นโครงการขับเคลือ่ นมหาวิทยาลัยไทยสูม่ หาวิทยาลัยระดับโลก เพือ่ ตอบสนองต่ อ การพั ฒ นาประเทศและผลั ก ดั น ให้ ป ระเทศไทยมี ศักยภาพและขีดความสามารถการแข่งขันระดับโลก ๔. การส่งเสริมการวิจยั ของประเทศทีบ่ รู ณาการการท�ำงาน ร่วมกับหน่วยงานอื่น เช่น โครงการทุนพัฒนาศักยภาพในการท�ำงาน วิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ อาจารย์รุ่นกลาง วุฒิเมธีวิจัย เมธีวิจัยอาวุโส และศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น (ร่วมกับ สกว.) โครงการทุนพัฒนา ศักยภาพนักวิจัยด้านยุทโธปกรณ์เพื่อเพิ่มศักยภาพของกองทัพและ การป้องกันประเทศ (ร่วมกับกองทัพบก) และโครงการส่งเสริมให้ บุ ค ลากรวิ จัย ในสถาบั น อุด มศึก ษาไปปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปั ญหา และเพิ่ ม ขี ด ความสามารถในการผลิ ต ให้ กั บ ภาคอุ ต สาหกรรม (Talent Mobility) (ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ)

การพั ฒ นาอุ ด มศึ ก ษาในเขตพั ฒ นาพิ เ ศษเฉพาะกิ จ จังหวัดชายแดนภาคใต้ สกอ. ได้ด�ำเนินการโครงการที่ส�ำคัญ ๓ โครงการอย่าง ต่อเนื่อง ได้แก่ โครงการสนับสนุนทุนการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ในประเทศ (ทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้) โครงการพัฒนาอาจารย์และบุคลากรส�ำหรับสถาบันอุดมศึกษาในเขต พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ และโครงการสนับสนุน บทบาทของวิทยาลัยชุมชนในการจัดการศึกษาและส่งเสริมอาชีพใน เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้านโครงสร้างพื้นฐานการเรียนรู้ สกอ. ได้ริเริ่มโครงการเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet) มาตั้งแต่ปี ๒๕๓๙ เพื่อพัฒนา เครือข่ายสารสนเทศเพือ่ การศึกษาวิจยั ภายในประเทศให้เป็นเครือข่าย ความเร็วสูง เพือ่ เป็นโครงสร้างพืน้ ฐานทางโทรคมนาคมด้านการศึกษา วิจัยของสถาบันการศึกษาทุกแห่งและเชื่อมโยงเครือข่ายด้านการ ศึ ก ษาวิ จั ย กั บ ต่ า งประเทศ ท�ำให้ ส ถาบั น อุ ด มศึ ก ษาสามารถใช้ ประโยชน์ ใ นการแลกเปลี่ ย นข้ อ มู ล ระหว่ า งสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา วิทยาเขตสารสนเทศ วิทยาลัยชุมชน ศูนย์/หน่วยจัดการศึกษาต่างๆ ที่มีอยู่ในประเทศ รวมถึงการเข้าถึงทรัพยากรทางการศึกษา ปัจจุบัน สามารถให้บริการเครือข่ายสารสนเทศเพือ่ พัฒนาการศึกษากับสถาบัน การศึกษา/วิทยาเขต/ศูนย์ทไี่ ด้รบั บริการ มากกว่า ๑๐,๐๐๐ แห่ง (รวม สถานศึกษาในสังกัด สพฐ.) และมีโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (Thailand Cyber University: TCU) เพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษา ทางไกล เป็นแหล่งเรียนรูแ้ ละด้วยตนเอง โดยร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศในการพัฒนารายวิชา หลักสูตรหรือ หลั ก สู ต รระยะสั้ น เผยแพร่ ค วามรู ้ โดยใช้ เ ทคโนโลยี ส ารสนเทศ และการสื่อสาร ส�ำหรับการศึกษาในระบบ (Formal Education) นอกระบบ (Non-formal Education) และการศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) ซึ่งสอดรับกับนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ “นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทุกคน เรียนรู้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ (Anytime Anywhere)”

17


การจัดท�ำแนวทาง

การประเมินคุณภาพ

การจัดการศึกษาหลักสูตรในระบบการศึกษาทางไกล ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาด�ำเนินการ จั ด ท�ำแนวทางการการประเมิ น คุ ณ ภาพการจั ด การศึ ก ษา หลักสูตรในระบบการศึกษาทางไกล เพือ่ ประกอบการพิจารณา ศักยภาพ ความพร้อมของสถาบันอุดมศึกษาในการบริหาร จัดการการจัดการศึกษาในระบบการศึกษาทางไกล ให้ได้ มาตรฐานตามที่ก�ำหนดไว้ในประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การขอเปิดและด�ำเนินการหลักสูตรระดับ ปริญญาในระบบการศึกษาทางไกล พ.ศ. ๒๕๔๘

e=mc html5

18

2

การจัดการศึกษาในระบบการศึกษาทางไกล เป็นการศึกษาที่เป็นความต้องการของสถานศึกษาและ ผู้เรียนที่นับวันจะมีมากขึ้น การด�ำเนินการจึงต้องค�ำนึง ถึงคุณภาพอย่างน้อยต้องเป็นไปตามมาตรฐานขั้นต�่ำ ทีม่ คี วามสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง กั บ การจั ด การศึ ก ษาของส�ำนั ก งานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา รวมทั้งกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ อุดมศึกษาแห่งชาติและเกณฑ์มาตรฐานด้านการศึกษา ของแต่ละองค์กรวิชาชีพ ในเบื้องต้นของการพิจารณา ให้ ค วามเห็ น ชอบหลั ก สู ต รที่ จั ด การเรี ย นการสอน ในระบบการศึกษาทางไกลของส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ถือว่าสถาบันอุดมศึกษาจะต้องจัดการ เรียนการสอนได้ตามมาตรฐานที่ก�ำหนด สามารถ พิสจู น์ศกั ยภาพความพร้อม และประสิทธิภาพของการ จัดการเรียนการสอนในระบบการศึกษาทางไกลได้ดว้ ย ระบบทีเ่ หมาะสมของสถาบันนัน้ ๆ เอง ไม่พงึ่ พาระบบ การจั ด การศึ ก ษาจากแหล่ ง อื่ น จึ ง ถื อ เป็ น ภารกิ จ ที่สถาบันอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้ที่พิสูจน์ให้เห็นได้ โดยปราศจากข้อสงสัยใดๆ

อนุสาร


พูดคุยเรื่อง

มาตรฐาน

ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ก�ำหนด แนวทางการพิ จ ารณาการขอเปิ ด ด�ำเนิ น การหลั ก สู ต รที่ การจัดการศึกษาในระบบการศึกษาทางไกล ๑. เงือ่ นไขเบือ้ งต้นก่อนการพิจารณารับทราบหลักสูตรใน ระบบการศึกษาทางไกล ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จะไม่พิจารณาให้การรับทราบการอนุมัติหรือเห็นชอบหลักสูตรของ สภาสถาบันอุดมศึกษาในกรณีต่อไปนี้ ๑.๑ การเปิดด�ำเนินการหลักสูตรในระบบการศึกษา ทางไกล ไม่เป็นไปตามกฎระเบียบที่ก�ำหนด หรือกฎหมาย ๑.๒ หลักฐานที่เสนอขอการจัดการศึกษาในหลักสูตร ในระบบการศึกษาทางไกลของสถาบันอุดมศึกษา แสดงให้เห็นถึง ความไม่ ตั้ ง ใจจริ ง ในการจั ด การศึ ก ษาที่ มี ม าตรฐานและคุ ณ ภาพ เพียงพอ หรือมีลักษณะเป็นเท็จ ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ๑.๓ สถาบันต้องแสดงงบประมาณทีจ่ ดั สรรเพือ่ การเรียน การสอนในระบบการศึกษาทางไกลที่เพียงพอและเหมาะสม หากพบ ว่าการจัดการเรียนการสอนเพื่อเป็นการหารายได้ของสถาบัน โดยไม่ ค�ำนึงถึงคุณภาพมาตรฐานการศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาจะไม่ให้การรับทราบหลักสูตรนั้น ๑.๔ ไม่ มี ห ลั ก ฐานยื น ยั น ความพร้ อ มด้ า นการเงิ น เพือ่ จัดการเรียนการสอนในระบบการศึกษาทางไกลเหมาะสมเพียงพอ และได้คุณภาพ หรือปรากฏเป็นที่ประจักษ์ว่าเป็นการจัดการเรียน การสอนเพื่อเป็นการหาก�ำไรเป็นหลัก ๒. เงื่ อ นไขส�ำหรั บ หลั ก สู ต รได้ รั บ การรั บ ทราบจาก ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแล้ว หากพบประเด็นเหล่านี้ สถาบันอุดมศึกษาจะต้องงดรับนักศึกษาในภาคการศึกษาหรือปีการ ศึกษาต่อไป และปิดหลักสูตร ๒.๑ ไม่สามารถจัดการศึกษาให้เป็นไปตามกฎระเบียบ ที่ก�ำหนด หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ๒.๒ ไม่มกี ารปรับปรุงการจัดการศึกษาให้มคี วามทันสมัย และเป็นปัจจุบันตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็ว ๒.๓ ไม่ มี ค ณะกรรมการวั ด ผลการศึ ก ษาทุ ก รายวิ ช า ที่ อ าจเรี ย กว่ า คณะกรรมการสอบไล่ ภ ายนอกหรื อ ชื่ อ อื่ น ตาม ความเหมาะสม ท�ำหน้าที่พิจารณาเนื้อหาของข้อสอบที่ตรงหรือ สอดคล้องกับรายวิชาที่สอน และกระบวนการวัดผลและประเมินผล การศึกษา ๒.๔ มีการปรับเปลี่ยนหรือปรับปรุงรายละเอียดใด ๆ ในหลักสูตรที่แตกต่างไปจากที่ได้เสนอให้ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษารับทราบไปแล้ว สถาบันอุดมศึกษาต้องเสนอเรื่อง

การปรับปรุงหลักสูตรไปยังส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อด�ำเนินการรับทราบการเปลี่ยนแปลงหรือการปรับปรุงภายใน ๓๐ วั น หากตรวจพบว่ า ไม่ ไ ด้ แ จ้ ง ให้ ส�ำนั ก งานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาทราบตามที่ก�ำหนดแล้ว จะต้องให้งดรับนักศึกษาใน ภาคการศึกษาหรือปีการศึกษาต่อไป ๒.๕ ต้ อ งมี ก ารรายงานจ�ำนวนและรายชื่ อ นั ก ศึ ก ษา ปัจจุบันและรายชื่อผู้ส�ำเร็จการศึกษาในระบบการศึกษาทางไกล ให้ ส�ำนั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาทราบทุ ก ปี ก ารศึ ก ษา (ให้รายงานข้อมูลผู้เข้าศึกษาและผู้ส�ำเร็จการศึกษา-เลขประจ�ำตัว ประชาชน ชื่อ-สกุล หลักสูตร ปีการศึกษาที่เข้า และส�ำเร็จการศึกษา) ๓. ไม่รบั ทราบการให้ความเห็นชอบ/อนุมตั หิ ลักสูตรระดับ ปริ ญ ญาเอก ที่ จั ด การเรี ย นการสอนในระบบการศึ ก ษาทางไกล เห็นควรไม่ให้การสนับสนุนให้เปิดด�ำเนินการ เนื่องจากการศึกษา ระดับปริญญาเอกเป็นการศึกษาที่มีความส�ำคัญ ผู้เรียนควรได้รับ องค์ ค วามรู ้ ที่ ล�้ ำ ลึ ก และต้ อ งเป็ น การเรี ย นรู ้ เ พื่ อ การสร้ า งองค์ ความรู้ใหม่ เมื่อจบการศึกษาแล้วควรเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ เหมาะกับการเป็นดุษฎีบณ ั ฑิต ซึง่ การจัดการศึกษาในระบบการศึกษา ทางไกลในระดับปริญญาเอกยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าจะตอบสนองปรัชญา ของหลักสูตรได้อย่างสมบูรณ์ กรณีหลักสูตรระดับปริญญาเอกที่สถาบันอุดมศึกษา ได้ยื่นเรื่องขอให้ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับทราบ ก่อนเกณฑ์ใหม่นี้มีผลบังคับใช้ และอยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อ เสนอคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาให้ ด�ำเนิ น การตรวจสอบตาม “ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การขอเปิดและ ด�ำเนิ น การหลั ก สู ต รระดั บ ปริ ญ ญาในระบบการศึ ก ษาทางไกล พ.ศ. ๒๕๔๘” และ “ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แนวปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์การขอเปิดและด�ำเนินการหลักสูตรระดับปริญญา ในระบบการศึกษาทางไกล พ.ศ. ๒๕๔๘” ส�ำหรับหลักสูตรที่จะปรับปรุงตามก�ำหนดเวลาไม่เกิน ๕ ปี กกอ. ไม่สนับสนุนให้จดั การศึกษาระดับปริญญาเอกในระบบการศึกษา ทางไกล รวมทั้งหลักสูตรที่จะขอเปิดด�ำเนินการใหม่ ไม่สนับสนุนให้ จัดการศึกษาระดับปริญญาเอกในระบบการศึกษาทางไกล

19


เรื่อง

แนะนำ�

นิทรรศการ ตลาดนัดหลักสูตรอุดมศึกษา ครั้งที่ ๒๐ สถาบันอุดมศึกษา

ช่วงเวลาจัดงาน

สถานที่

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วันที่ ๑๒ - ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๘

หอประชุม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วันที่ ๑๘ - ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๘

อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มหาวิทยาลัยสยาม

วันที่ ๒๕ - ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๘

ศูนย์กีฬา มหาวิทยาลัยสยาม

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วันที่ ๒๗ - ๒๘ มกราคม ๒๕๕๙

ศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแก่น

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

วันที่ ๑๕ - ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๙

อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

วันที่ ๔ - ๕ สิงหาคม ๒๕๕๙

อาคารสุรพัฒน์ ๒ เทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วันที่ ๑๗ - ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๙

ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติ ครบ ๖๐ ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

20

อนุสาร


เหตุการณ์

เล่าเรื่อง

The 9th Review Meeting of AIMS Programme

กระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ประเทศญี่ปุ่นร่วมกับ University of Tsukuba เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ประเมิ น ผลการด�ำเนิ น โครงการ ASEAN International Mobility for Students Programme (AIMS) ครั้งที่ ๙ (The 9th Review Meeting of AIMS Programme) ระหว่ า งวั น ที่ ๒๒ - ๒๓ ตุ ล าคม ๒๕๕๘ ณ University of Tsukuba ประเทศญี่ปุ่น โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ ผูแ้ ทนกระทรวง/หน่วยงานทีด่ แู ลการอุดมศึกษา และผูแ้ ทนสถาบันอุดมศึกษา สมาชิก AIMS จาก ๗ ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไนดารุสซาลาม ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ญี่ปุ่น และไทย ทั้งนี้ สาธารณรัฐเกาหลีได้ส่งผู้แทนเข้า ร่วมการประชุมเพือ่ เสนอความพร้อมในการเข้าร่วมโครงการ AIMS ซึง่ คาดว่า จะสามารถเริ่มด�ำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการ AIMS ได้ในปี ๒๕๕๙ หากได้ รับการยินยอมจากประเทศสมาชิก AIMS นอกจากนี้ ในการประชุมดังกล่าว ยังมีผแู้ ทนจากพม่า ลาว และกัมพูชา เข้าร่วมการประชุมในฐานะผูส้ งั เกตการณ์ อีกด้วย

21


เหตุการณ์เล่าเรื่อง

ส�ำหรับประเทศไทย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาในฐานะหัวหน้าคณะฝ่ายไทยน�ำ คณะผู้แทนจากสถาบันอุดมศึกษาไทย ๘ แห่งที่เข้าร่วมโครงการ ASEAN International Mobility for Students (AIMS) Programme ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี เข้าร่วมการประชุม ซึ่งประเด็นส�ำคัญที่หารือกันในการประชุม ได้แก่ การแสดงความประสงค์เข้าร่วมโครงการของสาธารณรัฐเกาหลี การจัดท�ำ ประกาศนียบัตรส�ำหรับนักศึกษาทีเ่ ข้าร่วมโครงการ การเลือกตราสัญลักษณ์ โครงการ และการหารือเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคและแนวทางในการพัฒนา โครงการในปีต่อๆ ไป นอกจากนี้ ในที่ประชุมยังเห็นชอบร่วมกันในเรื่องการ ขยายระดับการแลกเปลี่ยนนักศึกษาไปสู่การแลกเปลี่ยนนักศึกษาระดับ บัณฑิตศึกษา การฝึกงาน และการแลกเปลีย่ นบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษา นอกจากนี้ คณะผู ้ เ ข้ า ร่ ว มการประชุ ม ได้ มี โ อกาสเยี่ ย มชม University of Tsukuba ซึ่งเป็นหนึ่งในสถาบันอุดมศึกษาสมาชิกของญี่ปุ่น ที่เข้าร่วมโครงการ AIMS และปัจจุบันรัฐบาลญี่ปุ่นได้ด�ำเนินโครงการ “Re-Inventing Japan Project” ซึ่งเป็นโครงการที่มุ่งพัฒนาทรัพยากร มนุษย์เพือ่ ส่งเสริมบุคลากรให้มคี ณ ุ ภาพและเป็นทีย่ อมรับของประชาคมโลก ด้วยการสนับสนุนงบประมาณด้านการศึกษาเพือ่ เปิดโอกาสให้นกั ศึกษาญีป่ นุ่ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ ส�ำหรับการประชุมฯ ครัง้ ที่ ๑๐ ประเทศมาเลเซียจะรับเป็นเจ้าภาพ จัดการประชุมในปี ๒๕๕๙

22

โครงการ AIMS เป็นโครงการแลกเปลีย่ นนักศึกษาระหว่างประเทศ สมาชิ ก อาเซี ย นภายใต้ เ งื่ อ นไขการถ่ า ยโอนหน่ ว ยกิ ต และการประชุ ม ประเมินผลการด�ำเนินโครงการซึ่งเป็นกลไกในการด�ำเนินงานจัดขึ้นเพื่อเป็น เวทีในการแลกเปลี่ยนข้อมูล การหารือเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคร่วมกัน และ การประเมินผลการด�ำเนินโครงการเพือ่ ประโยชน์ในการพัฒนาประสิทธิภาพ ในการด�ำเนินโครงการ ตลอดจนร่วมกันวางแผนการด�ำเนินโครงการในอนาคต โดยประเทศสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการจะสลับกันเป็นเจ้าภาพ

อนุสาร


เล่าเรื่อง

ด้วยภาพ

๓๐ กันยายน ๒๕๕๘ - รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และนางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ลงนามใน ‘บันทึกการรับส่งงาน ในต�ำแหน่ ง เลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา’ ณ ห้ อ งประชุ ม ศาสตราจารย์ ป ระเสริ ฐ ณ นคร โดยมี ร องเลขาธิ ก ารคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ผูบ้ ริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าทีส่ �ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา เข้าร่วมในพิธี

๑ ตุลาคม ๒๕๕๘ - นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะ กรรมการการอุ ด มศึ ก ษา สั ก การะสิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ป ระจ�ำส�ำนั ก งานคณะ กรรมการการอุดมศึกษา เนื่องในโอกาสเข้ารับต�ำแหน่งเลขาธิการคณะ กรรมการการอุดมศึกษา ณ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

ทั้งนี้ นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา จะด�ำรงต�ำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๘

๗ ตุลาคม ๒๕๕๘ - รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม รองเลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา ร่ ว มประชุ ม เครื อ ข่ า ย มหาวิทยาลัย อีสานตอนบน-อีสานตอนล่าง รวมสถาบันอุดมศึกษา ๒๗ แห่ง ณ โรงแรมเซ็นทารา คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดขอนแก่น

23



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.