การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน : กรณีตัวอย่างพื้นที่ตาบลเนินทราย และบ้านแหลมงอบ โดยวิทยาลัยชุมชนตราด การท่องเที่ยวโดยชุมชน เป็นการท่องเที่ยวที่คานึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สังคม และ วัฒนธรรม กาหนดทิศทางโดยชุมชน จัดการโดยชุมชน เพื่อชุมชน และชุมชนมีบทบาทเป็นเจ้าของ มีสิทธิในการจัดการดูแล เพื่อให้เกิดการเรียนรู้แก่ผู้มาเยือน
รูปแบบการให้บริการของการท่องเที่ยวโดยชุมชน ๑.ที่พักแบบท้องถิ่น เรียบง่าย สะอาด ปลอดภัย มีอัธยาศัยไมตรี รวมถึงกิจกรรมในวิถีชีวิต ชุมชนท้องถิ่น สร้างการเรียนรู้และประสบการณ์ตรง ๒.กิจกรรมท่องเที่ยว อยู่บนฐานวัฒนธรรมและทรัพยากรของชุมชน บนความภาคภูมิใจที่ คน ท้องถิ่นต้องการนาเสนอและแบ่งปันให้กับผู้มาเยือน นักท่องเที่ยวสามารถได้รับประสบการณ์ตรงในวิถี ชีวิตที่แท้จริงของชุมชน ๓.มัคคุเทศก์ท้องถิ่น เป็นชาวบ้านในชุมชนเข้ามามีบทบาทในการนาเสนอวิถีชุมชนด้วยตนเอง หลักการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ๑.ชุมชนเป็นเจ้าของ ๒.ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการกาหนดทิศทางและตัดสินใจ ๓.ส่งเสริมความภาคภูมิใจในตนเอง ๔.ยกระดับคุณภาพชีวิต ๕.มีความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม ๖.คงเอกลักษณ์และวัฒนธรรมท้องถิ่น ๗.ก่อให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างคนต่างวัฒนธรรม ๘.เคารพในวัฒนธรรมที่แตกต่างและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ๙.เกิดผลตอบแทนที่เป็นธรรมแก่คนท้องถิ่น ๑๐.มีการกระจายรายได้สู่สาธารณประโยชน์ของชุมชน
ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมชุมชน ๑.คัดเลือกพื้นที่ โดยการศึกษาศักยภาพของชุมชน ศึกษาศักยภาพด้านการตลาด เช่น การเข้าถึ ง หรืออยู่ในเส้นทางท่องเที่ยว นโยบายรัฐหรือหน่วยงานท้องถิ่นสนับสนุน และมีแหล่งทุนหรือหน่วยงาน ท างานอย่ า งต่ อ เนื่ อ งในพื้ น ที่ หลั ง จากนั้ น ศึ ก ษาความเป็ น ไปได้ ร่ ว มกั บ ชุ ม ชน โดยพิ จ ารณาถึ ง ทรั พ ยากรธรรมชาติ / วั ฒ นธรรม/ภู มิ ปั ญ ญา/แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย ว/กิ จ กรรมท่ อ งเที่ ย ว/ความสามาร ถ/ ประสบการณ์ของคนในชุมชน ๒.ค้นหาของดีชุมชน ๓.กาหนดวิสัยทัศน์และวัตถุประสงค์