buengkan LOCAL STYLE
อาหาร กลุ ่ มชาติพัน ธุ ์ จั ง หวัด บึง กาฬ
LIFE COMMUNITY MUSEUM BUENGKAN
ส� ำนั ก งำน วั ฒ นธรรม จั ง หวั ดบึ ง กำฬ
ZAAB ELI
SUSTAINABLE
LOCAL FOOD
BUENGKAN LOCAL FOOD
LIFE COMMUNITY MUSEUM
at SO PHISAI
MAN in
n STYLE
โครงกำรยกระดับอำหำรพื้นถิ่น เสริมทัพรับท่องเที่ยว ภายใต้โครงการพัฒนา และบริหารจัดการองค์ความรู้ สนับสนุนการท่องเที่ยว กิจกรรมส่งเสริม สนับสนุน อนุรักษ์ ฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดบึงกาฬ
11
TASTE ชื่อโครงการ : โครงการยกระดับอาหารพื้นถิ่น เสริมทัพรับท่องเที่ยว ภายใต้โครงการพัฒนา และบริหารจัดการองค์ความรู้ สนับสนุนการท่องเที่ยว กิจกรรมส่งเสริม สนับสนุน อนุรักษ์ ฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดบึงกาฬ
12
E
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์กระทรวงวัฒนธรรม ยุทธศาสตร์ที่ ๒ ส่งเสริมอุตสาหกรรม วัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์เพื่อสร้าง มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ข้อ ๓ การท�านุบ�ารุงศาสนาและวัฒนธรรม
ความสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัดบึงกาฬ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตยางพาราครบวงจร และพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ ๒ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันด้านการค้าและการลงทุน ยุทธศาสตร์ที่ ๓ ส่งเสริมพัฒนาการท่องเที่ยวและ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและพลังงานอย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การพัฒนาคน สังคม และความมั่นคงสู่สังคมสงบสุข ยุทธศาสตร์ที่ ๕ พัฒนาและยกระดับการบริหารจัดการภาครัฐ 15
BUENG KAN
ผลผลิต : โครงการ การพัฒนาศักยภาพการค้า การลงทุน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาศักยภาพด้านการเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร การส่งเสริมการท่องเที่ยวและบริการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การยกระดับคุณภาพชีวิตเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้สังคม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน การเสริมสร้างความมั่นคง ความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน
หน่วยด�าเนินการ : ส�านักงานวัฒนธรรมจังหวัดบึงกาฬ
๑. หลักการและเหตุผล วัฒนธรรมประเพณีเป็นสิ่งที่สะท้อน ให้เห็นถึงคุณค่า วิถีชีวิต และบ่งบอกถึง เอกลักษณ์ของชุมชนและท้องถิ่นนั้น โดย แสดงออกในรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย ทั้งในรูปแบบของวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณี ภูมิปัญญา ศิลปะการแสดง ฯลฯ การปลูกจิตส�านึกและกระตุ้นให้คนในชุมชน ท้องถิ่นเกิดความรักสามัคคี มีความตื่นตัว ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ดนตรี และ เข้ามามีส่วนร่วมในการฟื้นฟู เผยแพร่และ สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น และคุณค่าความ หลากหลายของศิลปะและวัฒนธรรมไทย ทั้งที่เป็นวิถีชีวิต ค่านิยมที่ดีงามและความ เป็นไทย ตระหนักถึงคุณธรรม จริยธรรม แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม เป็นพลเมืองที่ดี
20
ของชาติ ในอนาคต มีความ จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ และ น้อมน�ำหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงตาม แนวทางพระราชด�ำริของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช
มาเป็นแนวทางปฏิบัติ ในการด�าเนินชีวิต ส่งผลให้เกิดสังคมที่ดี มีคุณภาพ มีจิตส�านึกที่ดีงาม รัฐบาลได้ก�าหนดยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี โดยมีวิสัยทัศน์ ขับเคลื่อนพัฒนาประเทศไทย ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้ประเทศมีความ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” มีความ สามารถในการแข่งขันมีรายได้สูงอยู่ ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว คนไทยมีความสุขอยู่ดี กินดี สังคมมีความมั่นคง เสมอภาคและเป็นธรรม 23
การท่องเที่ยวเชิงอาหาร การส่งผ่านวัฒนธรรมการกิน ถือเป็น เครื่องมือของการพัฒนาระบบอาหารท้องถิ่นของภูมิภาคและโลกอย่าง ยั่งยืน ซึ่งมีความส�าคัญต่ออนาคต ของมนุษยชาติ เพราะ ปฏิบัติการทางอาหารจะน�าไป สู่การแสวงหา
ทางออกใหม่ ให้กับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยท�าให้เกิดการจ้างงานในท้องถิ่น และยังเป็น การอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณี อาหารไม่ได้ เป็นเพียงสิ่งที่บริโภคเพื่อความอยู่รอดเท่านั้น แต่ยัง เกี่ยวข้องกับการแสดงออกถึงอัตลักษณ์ วัฒนธรรม กรรมวิธีการผลิต ขั้นตอนการบริโภค รวมถึงการ ผสมผสานของธรรมชาติ ในพื้นที่ วัฒนธรรมการ บริการ สิ่งอ�านวยความสะดวก การเข้าถึงการ เป็นเจ้าบ้านที่ดีและเอกลักษณ์เฉพาะพื้นที่
อาหารพื้นบ้านอีสาน เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ โดยการใช้ภูมิปัญญาของคนในสมัยก่อน ในการปรับตัวให้เข้าสิ่งแวดล้อมและฤดูกาล ซึ่งจะบริโภคพืชผักตามฤดูกาล เนื่องจาก พื้นที่บางแห่งแห้งแล้ง วัตถุดิบที่นํามาประกอบอาหารซึ่งหาได้ตามธรรมชาติ ได้แก่ ปลา แมลงบางชนิด พืชผักต่างๆ การนําวิธีการถนอมอาหารมาใช้เพื่อรักษาอาหารไว้กินนาน
THAMMA
จึงเป็นส่วนส�ำคัญในการดํารงชีพของคนอีสาน ชาวอีสานจะมีข้าวเหนียวนึ่งเป็นอาหารหลักเช่นเดียวกับภาคเหนือ เนื้อสัตว์ที่นํามาปรุงอาหาร ได้แก่ สัตว์ที่หามาได้ เช่น กบ เขียด แย้ แมลงต่างๆ ที่มาของรสชาติอาหารอีสาน เช่น รสเค็มได้จากปลาร้า รสเผ็ดได้ จากพริกสดและพริกแห้ง รสเปรี้ยวได้จากมะกอก ส้มมะขาม และมดแดง
ในอดีตคนอีสานนิยม หมักปลาร้าไว้กินเอง เพราะมีปลาอุดมสมบูรณ์ ในปัจจุบันอาหารพื้นบ้าน อีสานที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ตํามะละกอ ตําแตงร้าน ตําถั่วฝักยาว ใส่มะกอก เพิ่มรสเปรี้ยว ใส่ปลาร้า เพิ่มรสเค็ม เพิ่มรสเผ็ด ด้วยพริก มีผักสดหรือ ผักลวกเป็นเครื่องเคียง
ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นเครื่องบ่งชี้ที่แสดงให้เห็นถึงคุณค่าของชุมชนในท้องถิ่นที่ ได้รับการส่งต่อสืบสานกันมาจนเป็นวัฒนธรรมประจ�าในแต่ละท้องถิ่นเป็นมรดกตกทอด จากคนรุ่นปู่ย่า ตายายมาสู่รุ่นลูกหลาน ในปัจจุบันภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นมีหลากหลาย ประเภทซึ่งเกิดจากการเรียนรู้สั่งสมของบรรพบุรุษ ตั้งแต่ครั้งอดีตถ่ายทอดมาจนถึง ปัจจุบัน ภูมิปัญญามีทั้งที่เป็นค�าสอนที่ดีงามในการประพฤติปฏิบัติทั้งที่เป็นการประกอบ สัมมาอาชีพ เป็นอาหารการกิน ที่อยู่อาศัย เครื่องใช้สอยในการด�ารงชีวิตประจ�าวัน ภูมิปัญญาด้านการรักษาพยาบาล ศิลปะบันเทิงการแสดงทั้งหลาย รวมถึงสิ่งของที่ ใช้ ในการประดับตกแต่งบ้านเรือนให้สวยงาม ในแต่ละท้องถิ่นจะมีสิ่งที่แสดงถึงภูมิปัญญา ที่เป็นลักษณะเฉพาะของตนเองแตกต่างกันไป ภูมิปัญญาบางอย่างอาจมี ให้เห็นได้ทั่วไป ในหลายพื้นที่แต่ภูมิปัญญาบางอย่างจะมี ให้เห็นได้เพียงเฉพาะในบางพื้นที่เท่านั้น 29
๒. วัตถุประสงค์ ๑) เพื่อเสริมสร้างศิลปะการจัดประดับตกแต่งส�ำรับอาหารพื้นถิ่น ของชาติพันธุ์ ในจังหวัดบึงกาฬ ให้มีความโดดเด่น มีรสนิยม ๒) เพื่อพัฒนาอาหารพื้นถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ ในจังหวัดบึงกาฬ มาสร้างสรรค์ ให้เกิดคุณค่า มีอัตลักษณ์ น่าสนใจ น่าชิมน่าช้อป ๓) เพื่อสร้างรายได้จากการจ�ำหน่ายสินค้าอาหารและบริการ จากการท่องเที่ยวให้จังหวัดบึงกาฬ ๔) เพื่ออนุรักษ์ ส่งเสริม ฟื้นฟู ขนมธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารให้อนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้และสืบทอด ประชาชนในท้องถิ่นได้เรียนรู้วิถีชีวิต คุณค่า ซึ่งจะสร้างความภูมิ ใจ และจิตส�ำนึก ในการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม และภูมิปัญญาสืบไป
๓. เป้าหมาย เชิงปริมาณ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จ�านวน ๕๐ คน เชิงคุณภาพ สร้างรายได้และความมั่งคั่งจากทุนและ ทรัพยากรทางวัฒนธรรมอาหาร สร้างความอยู่ดีมีสุข น�ารายได้ที่ยั่งยืนสู่ครัวเรือน ท้องถิ่น และประเทศชาติ จากการท่องเที่ยว สินค้าและบริการทางวัฒนธรรม อาหารท้องถิ่น
๔. ระยะเวลาด�าเนินการ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔ ๕. สถานที่ด�าเนินการ ณ พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต บ้านขี้เหล็กใหญ่ ต�าบลหนองพันทา อ�าเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ ๖. งบประมาณ งบประมาณตามแผนปฏิบัติราชการประจ�าปี ของจังหวัด ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๔
๗. กิจกรรมที่ด�ำเนินการ ๑) อบรมทักษะการประกอบ อาหารพื้นถิ่นอย่างสร้างสรรค์ ๒) อบรมศิลปะการจัดประดับตกแต่ง ส�ำรับอาหารพื้นบ้าน ๓) อบรมพัฒนาบุคลิกภาพและ การแต่งกายของผู้ให้บริการอาหาร
๘. ผลสัมฤทธิ์ ๑) ประชาชนมีความพึงพอใจในการส่งเสริม สนับสนุน สืบสานวัฒนธรรมอาหารพื้นถิ่น ที่ดีงามของจังหวัดบึงกาฬ ๒) การด�าเนินกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ ส่งเสริม งานวัฒนธรรมของส�านักงานวัฒนธรรมจังหวัด บึงกาฬ สอดคล้องกับนโยบายและแนวทาง การขับเคลื่อนงานของกระทรวงวัฒนธรรม ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๔ ๙. หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ๑) จังหวัดบึงกาฬ ๒) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดบึงกาฬ ๓) สภาวัฒนธรรมทุกระดับในจังหวัดบึงกาฬ ๔) พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต บ้านขี้เหล็กใหญ่ ต�าบลหนองพันทา อ�าเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ ๑๐. การติดตามและประเมินผล ๑) แบบสอบถาม ๒) การสัมภาษณ์ การสังเกต 35
๑๑. ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑) ชุมชนสามารถเสริมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจากวัฒนธรรมด้านอาหารของท้องถิ่น ๒) ประชาชนจังหวัดบึงกาฬ ตระหนักในความส�าคัญ และมีความภาคภูมิ ใจใน ขนบธรรมเนียมที่ดีงามของท้องถิ่น ๓) นักท่องเที่ยวมีความประทับใจในอาหารและการบริการของท้องถิ่น ๑๒. ผู้เสนอ โครงการยกระดับอาหารพื้นถิ่นเสริมทัพรับท่องเที่ยว ภายใต้โครงการพัฒนาและ บริหารจัดการองค์ความรู้สนับสนุนการท่องเที่ยว กิจกรรมส่งเสริม สนับสนุน อนุรักษ์ ฟื้นฟู วัฒนธรรมประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดบึงกาฬ
37
KARB
LOCAL CHEF& FOOD STYLIST
๑๓. ผู้เห็นชอบ โครงการยกระดับอาหารพื้นถิ่นเสริมทัพรับท่องเที่ยว ภายใต้โครงการพัฒนา และบริหารจัดการองค์ความรู้สนับสนุนการท่องเที่ยว กิจกรรมส่งเสริม สนับสนุน อนุรักษ์ ฟื้นฟู วัฒนธรรมประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดบึงกาฬ 40
NAGAS SO PHISAI
BUENGKAN
LIFE&CULTURE
๑๔. ผู้อนุมัติ โครงการยกระดับอาหารพื้นถิ่น เสริมทัพรับท่องเที่ยว ภายใต้โครงการพัฒนาและ บริหารจัดการองค์ความรู้สนับสนุนการท่องเที่ยว กิจกรรมส่งเสริม สนับสนุน อนุรักษ์ ฟื้นฟู วัฒนธรรมประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นของ จังหวัดบึงกาฬ
อร่อย แบบง่ายๆ สไตล์ แบบบ้านๆ
คุณ
ต้องลอง
FB : LIFE COMMUNITY MUSEUM BUENGKAN
ภูไท
บ้านท่าเชียงเครือ
ต�ำบลป่งไฮ อ�ำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ
1. ซั่วไก่ 3. ข้าวโหล่งมะอูบ
2. แกงหน่อไม้ภูไท
กลุ่มชาติพันธุ์ ภูไทบ้านท่าเชียงเครือ
ภูไท (บ้ำนท่ำเชียงเครือ) บ้านท่าเชียงเครือ ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ภู ไทที่อพยพมาจาก อ�าเภอ วังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี ตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษกว่า 60 ปีมาแล้ว ในอดีตเมื่อหมู่บ้านหรือชุมชม ใดเกิดการอยู่อาศัยกันอย่างหนาแน่น ทรัพยากรธรรมชาติไม่เพียงพอต่อการด�ารงชีวิต เป็นเหตุผล ที่ผลักดันให้ชาวบ้านเกิดการอพยพหาที่อยู่อาศัย และที่ท�ามาหากินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ชาวภู ไท เองก็เช่นกัน ได้มีการอพยพย้ายถิ่นเดินทางผ่านพื้นที่ต่างๆ จนกระทั่งได้ล่องเรือมาตามล�าน�้าฮี้ ได้ ตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัย และด�ารงชีวิตด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งป่าไม้ แม่น�้าล�าคลอง ที่อุดมไปด้วยกุ้ง หอย ปู ปลา ที่ชาวบ้านใช้เป็นแหล่งท�ามาหากินเลี้ยงชีพตลอดมา นับว่าชนกลุ่มนี้ มีวัฒนธรรมเรื่องการแต่งกายเด่นชัดมาก โดยเฉพาะการทอผ้าซิ่นหมี่ ตีนต่อ เป็นที่นิยมในกลุ่มภู ไท ทอเป็นหมี่สาด หมี่หม้อย้อมคราม จนเป็นสีครามแก่เกือบเป็นสีด�า ชาวบ้านมักเรียก "ผ้าด�า" หรือ "ซิ่นด�า" กลุ่มทอผ้าบ้านท่าเชียงเครือได้น�าเอาวัฒนธรรมการทอผ้าแบบภู ไทมาผสมผสานกับ วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของตนที่มีความสัมพันธ์กับล�าน�้าฮี้ที่อุดมสมบูรณ์ ไปด้วยกุ้ง หอย ปู ปลา จึงได้ ออกแบบลวดลายลงบนพื้นผ้าทออย่างสวยงาม ที่เรียกว่า “ผ้ามัดหมี่ลายสาวภู ไทล่องน�้าฮี้” เป็น การแสดงถึงวัฒนธรรม ประเพณี และวีถีชีวิตที่แท้จริงของชาวภู ไทบ้านท่าเชียงเครือ ตามค�าที่ว่า “ท่าเชียงเครือคือบ้าน ถิ่นฐานแห่งภู ไท นมัสการหลวงพ่อใหญ่ ลมหายใจแห่งน�้าฮี้ ประเพณีเซิ้ง กระโด้ โอ้งามตาผ้าทอมือ” การแต่งกาย ผู้ชาย นิยมนุ่งกางเกงขาก๊วย สีด�า หรือนุ่งโสร่งตาหมากรุก เสื้อใช้ผ้าสีคราม หรือสีด�าชนิดเดียวกับกางเกง สวมเสื้อคอกลมแบบชิดคอหรือคอจีน ตัวเสื้อผ่าอกตลอด ชายเสื้อ ผ่าข้าง จะเป็นแขนยาวหรือสั้นก็ได้ มีผ้าคาดเอว และโพกศีรษะ ส่วนผู้หญิง นิยมนุ่งผ้าซิ่นที่ท�า จากผ้า มีลักษณะเด่น คือ การทอและลวดลาย เช่น ทอเป็นลายนาคเล็กๆ นอกจากนี้ยังมีลายมัด หมี่อื่นๆ เช่น หมี่ปลา หมี่กระจัง หมี่ข้อ หมี่ขอ หมี่คั่นหรือหมี่ลวด ต่อหัวซิ่นและตีนซิ่นทั้งขิดทั้งจก นอกจากนี้ ยังพบผ้ามัดหมี่ฝ้ายสีขาวสลับด�า ย้อมใบครามหรือมะเกลือ เย็บต่อด้วยหัวซิ่น ตีนซิ่น 53
ภูไท
บ้านถ�้ำเจริญ
ต�ำบลถ�้ำเจริญ อ�ำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ
1. ลาบปลาดุก 3. ข้าวโหล่งมะอูบ
2. เม๊าะหน่อไม้
กลุ่มชาติพันธุ์ ภูไทบ้านถ�้ำเจริญ
ภูไท (บ้ำนถ�้ำเจริญ) ชาวภู ไทในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬมีอยู่ไม่มากนัก ส่วนใหญ่อพยพมาจากฝั่งซ้ายของ แม่น�้าโขง ตามนโยบายของรัฐสยาม ในสมัยนั้นได้แต่งตั้งให้พระสุนทรราชาวงศา เจ้าเมือง ยโสธรเป็นข้าหลวงพิเศษไปไกล่เกลี่ยชักชวนหรือกวาดต้อนเข้ามา ชาวภู ไทส่วนใหญ่เข้ามา อาศัยอยู่ ในจังหวัดนครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ มุกดาหาร และจังหวัดใกล้เคียง ในจังหวัด บึงกาฬ ปัจจุบันมีชาวภู ไทอาศัยอยู่ ในเขตอ�าเภอศรีวิไล พรเจริญ เซกา และโซ่พิสัย ภูไทบ้านถ�้าเจริญ อพยพมาจากอ�าเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และอ�าเภอ ส่องดาว จังหวัดสกลนคร ได้มารวมตัวกันตั้งหมู่บ้าน ชื่อเดิมคือบ้านหินโง่น แล้วปัจจุบันได้ เปลี่ยนชื่อมาเป็นหมู่บ้านถ�้าเจริญ ต�าบลถ�้าเจริญ อ�าเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ การแต่งกาย ผู้หญิงนิยมนุ่งผ้าซิ่นหมี่ตีนต่อ ย้อมครามเกือบด�า สวมเสื้อแขนกระบอก สามส่วนสีด�าขลิบแดง ติดกระดุมเงิน นิยมสวมสร้อยคอ เกล้าผมมวย ผูกด้วยผ้าแพรมน ผู้ชายนิยมนุ่งกางเกงขาก๊วยสีด�าหรือโสร่งตาหมากรุก เสื้อตาสีด�าเดียวกับกางเกง คอกลมแคบ ชิดคอ ผ่าอก ตลอดชายเสื้อซ้ายขวาผ่าคล้ายเสื้อกุยเฮง แขนยาวจรดข้อมือหรือสั้นครึ่งแขน มีผ้าคาดเอวและโพกศรีษะ ในอดีตผู้ชายนิยมสักขาลายด้วยหมึกสีด�าแดง ถือเป็นความ สวยงามและเพื่อความคงกระพัน ภาษาภูไท เป็นภาษาในตระกูลขร้า - ไท ชาวภู ไทส่วนใหญ่อยู่ ในจังหวัดภาคอีสาน ได้แก่ กาฬสินธุ์ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร ร้อยเอ็ด นอกจากนี้ยังมีอีกเล็กน้อยใน อ�านาจเจริญ อุดรธานี ยโสธร และบึงกาฬ ตัวอย่างภาษาภู ไท เช่น ภาษาราชการ ภาษาภูไท หัวเข่า โหโค้ย ถ่าน ขี้ก้อมี้ ครก จะเอิง ตาตุ่ม ปอบเผอะ งาม สวย ซัพเพิ้ง หรือ ซัพแต๊ะ ชาวภู ไทมักจะใช้ธรรมชาติที่อยู่รอบตัวมาปรุงเป็นอาหาร เช่น ซั่วไก่ เมาะหน่อไม้ แกงยอดบวบใส่ปลานา ขนมหวานประจ�าเผ่าภู ไท เช่น ข้าวโจ้มะอูป (ข้าวเหนียวมูลฟักทอง) 59
ลาวเวียง บ้านหอค�ำ
ต�ำบลหอค�ำ อ�ำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ
1. ลาบปลาน�้ำโขง 2. ปลาร้าทรงเครื่อง 3. ทอดปลาเนื้ออ่อน 4. บวดฟักทอง
กลุ่มชาติพันธุ์ ลาวเวียงบ้านหอค�ำ
ลำวเวียง (บ้ำนหอค�ำ) ลาวเวียง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ ได้รับการจ�าแนกอยู่ ในกลุ่มชนชาติลาวลุ่ม ซึ่งหมายรวม ถึงกลุ่มลาวอื่นๆ เช่น ลาวครั่ง ลาวพวน และลาวโซ่ง ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ ในพื้นที่ราบต�่า มีรูปแบบ ทางเศรษฐกิจในลักษณะพึ่งพาตนเองด้วยวิถีทางการเกษตร เช่น การเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และ หัตถกรรม โดยแต่ละชาติพันธุ์จะมีอัตลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป โดยค�าเรียก ลาวเวียง เป็น เพราะชาวลาวกลุ่มนี้อพยพมาจากเมืองเวียงจันทน์ สาธารณไรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ลาวเวียงในจังหวัดบึงกาฬ อาศัยอยู่ที่บ้านหอค�าเหนือ (หมู่ 13) และบ้านหอค�า (หมู่ 1) หรือชาวบ้านในชุมชนใช้เรียกกันว่าบ้านเหนือบ้านใต้ มีลักษณะหมู่บ้านทอดยาวตาม ล�าแม่น�้าโขงขนานกับถนนสายหนองคาย - บึงกาฬ มีทิวทัศน์ที่สวยงามที่สุดตลอดล�าน�้าโขง (ภูของลาววิวของเรา) ถนนเส้นกลางบ้านมีลักษณะสวยงาม บ้านเรือนยังคงลักษณะของ บ้านเก่าอัตลักษณ์มาจากทางนครหลวงเวียงจันทน์ บ้านหอค�ายังมี วิถีวัฒนธรรมของชนเผ่า ลาวเวียงที่เป็นชาติก�าเนิดมาจากเชื้อกษัตริย์ทางนครหลวงเวียงจันทร์ มีภาษาพูดลาวเวียงที่ เป็นเอกลักษณ์ ภาษาลาวเวียง ที่ยังคงใช้ในปัจจุบันนี้ เช่น ตาเว็น (ดวงอาทิตย์) โซ่น (ตา,ยาย) แข้ว (ฟัน) โถงยาง (ถุงพลาสติก) ผ้าโต่ง (ผ้าถุง) เกิบ (รองเท้า) โส่ง (กางเกง) หางกะเตี่ยว (โจงกระเบน) บักเขียบ (น้อยหน่า) บักสีดา (ฝรั่ง) เข่าแลง (ข้าวเย็น) มื้อสวย (มื้อกลางวัน) ตาหล่าง (ใต้ถุนบ้าน) เบิ่ง (มอง,ดู) เว่า (พูด) เว่าขวน (นินทา) ขี้ดัง (ขี้มูก) ขี้แล่ (รักแร้) แอว (เอว) เหี่ย (เหงื่อ) ขี้หมิ่นหม้อ (ดินหม้อ) กะแหล่ง (ถังตักน�้า) ฟอย (ไม้กวาด) อู่ (เปล) จี่เจี้ยม (จิ้งจก) มื้อนี้ (วันนี้) มื้ออื่น (วันพรุ่ง) มือฮือ (วันมะรืน) จั่งว่า (เอ ยังไงไม่รู้สินะ) สิไปไส (จะไปไหน) เซาเหนื่อยหรือเซามีแฮง (หยุดพักให้หายเหนื่อย) บ่แม่น (ไม่ ใช่) บั้นนึง (เมื่อกี้) เฮ็ดหยัง (ท�าอะไร) บักหุ่ง (มะละกอ) บักลอย (บวบ) บักบั้งน�้า (น�้าเต้า) อีตู่ไทย (ใบกะเพรา) อีตู่ลาว (ใบแมงลัก) สาด (เสื่อ) ขี่สีก (น�้าคล�า) เสี่ย (เสื้อ) ก้องแขน (ก�าไล) กา (ตรา,ยี่ห้อ) นัว (รสชาติดีพอ) แซ่บ (อร่อย) เส้นแกงร่อน (วุ้นเส้น) หนหวย (ร�าคาญ) งัว (วัว) ผักขา (ชะอม) ฯลฯ 65
ไทโส้
บ้านโพธิ์
ต�ำบลศรีชมภู อ�ำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ
1. ซั่วไก่ 2. แกงหน่อไม้
3. แกงขี้เหล็กใส่หนังวัว
กลุ่มชาติพันธุ์ ไทโส้บ้านโพธิ์
ไทโส้ (บ้ำนโพธิ์) กลุ่มชาติพันธุ์ ไทโส้ (บึงกาฬ) อาศัยอยู่บ้านโพธิ์ หมู่ 2 ต�าบลศรีชมภู อ�าเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ เริ่มก่อตั้งเมื่อประมาณปี 2400 โดยมีนายหมี บุตรนนท์ พร้อมพวกชนเผ่า ไทโส้อพยพมาจากแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มาตั้งถิ่นฐาน อยู่ที่บ้านโพธิ์ดงสีชมพู เหตุที่ชาวบ้านตั้งชื่อว่าบ้านโพธิ์ เนื่องจากที่ตั้งของหมู่บ้านมีต้นโพธิ์ ขนาดใหญ่ตั้งอยู่ จึงได้พร้อมเพรียงกันตั้งชื่อว่าบ้านโพธิ์ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ในอดีตบ้านโพธิ์อยู่ ในการปกครองของอ�าเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ต่อมาเมื่อ ประมาณ พ.ศ. 2510 จึงได้มีการคัดเลือกผู้ใหญ่บ้านขึ้นเป็นครั้งแรกนับจนถึงปัจจุบัน มีผู้น�า รวม 11 คน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีวัดประจ�าหมู่บ้าน คือ วัดมหาวัน บ้านโพธิ์ ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา มีการอนุรักษ์ วัฒนธรรมประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน เช่น ประเพณีบายศรี สู่ขวัญผู้สูงอายุ และ มีการแสดงฟ้อนร�าชนเผ่าไทยโส้ ซึ่งจะจัดขึ้นในวันขึ้น 3 ค�่าเดือน 3 ของทุกปี และมีเครื่อง ดนตรีที่ถือเป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้านโพธิ์ คือ การเป่าสะไน ซึ่งมีความไพเราะประดิษฐ์มาจาก เขาสัตว์ปัจจุบันมาจากเขาของกระบือ นับว่าเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านที่ควรอนุรักษ์ ให้คงอยู่ สืบทอดตลอดไป การแต่งกาย ผู้หญิงนิยมใส่เสื้อแขนกระบอกสีด�าขลิบแดงผ่าอก ติดกระดุมเงินกลม ชายเสื้อด้านข้างแหวกชายทั้งสองข้าง ใช้ผ้าแดงด�าแต่งขอบ นุ่งผ้ามัดหมี่ฝ้ายหรือไหม ห่มสไบทับ ผู้ชาย เดิมนิยมนุ่งผ้าเตี่ยว สักขาลายจากเหนือเข่าขึ้นไป ตัวอย่างภาษาไทโส้ เช่น ภาษาราชการ ภาษาไทโส้ ภาษาราชการ ภาษาไทโส้ ตัวเลขไทโส้ ไปไหน เปอะจุแล้ะ อร่อยจัง แอมอะเลอ ๑ (มุย) ๖ (ตะเพ็ด) ทานข้าว จาโดย หนาวจัง สะแงดอะเลอ ๒ (บราน) ๗ (ตะปรูน) ดื่มน�้า งวยเด้อะ ร้อนจัง กะเตาอะเลอ ๓ (ไปร) ๘ (ตะกรอ) ปลา เสี๊ยะ ใหญ่มาก ปุ้ดอะเลอ ๔ (โปน) ๙ (ตะเก๊ะ) หมู อะหริก เล็กมาก เก้ออะเลอ ๕ (เซิง) ๑๐ (มะจิ๊ด) หมา อะจอ สวยจัง มั่ยอะเลอ 71
ไทญ้อ
บ้านบุ่งคล้า
ต�ำบลบุ่งคล้า อ�ำเภอบุ่งคล้า จังหวัดบึงกาฬ
1. แกงปลาใส่ผักหวาน 3. ซุปซาว
2. ส้มหยวก 4. แหนบสะรี
กลุ่มชาติพันธุ์ ไทญ้อบ้านบุ่งคล้า
ไทญ้อ (บ้ำนบุ่งคล้ำ) ไทญ้อเป็นชาวไทยในภาคอีสานอีกกลุ่มหนึ่ง มีถิ่นอาศัยในจังหวัดต่างๆ เช่น ไทญ้อ ในจังหวัดสกลนคร, ไทญ้อในต�าบลท่าขอนยาง จังหวัดมหาสารคาม ไทญ้อในอ�าเภอบุ่งคล้า อ�าเภอบึงโขงหลง อ�าเภอเซกา อ�าเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ ไทญ้อในจังหวัดบึงกาฬ สันนิษฐานว่าเป็นกลุ่มเดียวกับที่อพยพมาจากเมืองหงสา แขวงไชยบุรีของลาวในสมัยพระเจ้าอนุวงศ์ มาตั้งรกรากอยู่ที่ปากแม่น�้าสงครามตั้งเป็นเมือง ชื่อ “ไชยะสุทธิ์อุตมะบุรี” แต่ได้อพยพไปอยู่ที่เมืองหลวงโปงเลงท่าติดชายแดนญวณในคราว หนึ่งแล้วจึงย้ายกลับมาอยู่ท่าอุเทน อีกกลุ่มหนึ่งค้าขายเกลือขึ้นมาตามล�าแม่น�้าโขง และได้ตั้ง ถิ่นฐานอยู่แถบอ�าเภอบุ่งคล้า มาผสมผสานกับไทกะเลิงที่มาตั้งหลักปักฐานอยู่ก่อนแต่เป็น กลุ่มน้อย ในปัจจุบันชาติพันธุ์ของไทยญ้อหลงเหลือน้อย คนเฒ่าคนแก่รุ่นดั้งเดิมได้เสียชีวิต เกือบหมดแล้ว ยังคงเหลือแต่ชนรุ่นหลัง การแต่งกาย คนญ้อจะมีผิวเหลืองขาว รูปร่างสูงโปร่ง เดิมผู้ชายไว้ผมโหยง (ทรง มหาดไทย) นิยมใส่เสื้อทอด้วยผ้าสีด�าเรียกว่า “เสื้อปีก” คล้ายเสื้อใส่ท�านา นุ่งโจงกระเบน ส่วนผู้หญิงไว้ผมยาวเกล้าตรงกลางศรีษะ นิยมนุ่งซิ่นหมี่ มีเชิงแบบ “ตีนเต๊าะ” แบบชาวภู ไท แต่แถบเล็กกว่า ภาษาไทญ้อ จัดอยู่ ในกลุ่มตระกูลภาษาไท-กระได ชาวญ้อมีภาษาพูดโดยพื้นฐานเสียง แตกต่างไปจากภาษาไทยลาว (ภาษาไทยอีสาน) ตรงที่ฐานเสียงอักษรสูง และเสียงจัตวา จะ เน้นหนักในล�าคอ น�้าเสียงสูง อ่อนหวาน ฐานเสียงสระ เอือ ใอ ในภาษาไทยลาวจะตรงกับฐาน เสียงสระ เอีย และ เออ ตามล�าดับ เช่น เฮือ เป็น เฮีย ให้ เป็น เห้อ ประโยคว่า "อยู่ทางใด" เป็น "อยู่ทางเลอ" "เจ้าสิไปไส" เป็น "เจ้านะไปกะเลอ" เป็นต้น ตัวอย่างภาษาพูดของชาวญ้อ หัวเจอ - หัวใจ, หมากเผ็ด - พริก, กินเข้างาย - กิน ข้าวเช้า, หัวสิเคอ - ตะไค้, ไปกะเลอ, ไปเตอ - ไปไหน ชาวไทญ้อไม่มีภาษาเขียนไม่มีตัวอักษรของตนเอง ในอดีตเคยใช้อักษรธรรมหรืออักษร ไทยน้อย เช่นเดียวกับชาวอีสาน ปัจจุบันใช้อักษรไทยทั้งสิ้น 77
ไทเทิง
บ้านห้วยเล็บมือ
ต�ำบลหนองเดิ่น อ�ำเภอบุ่งคล้า จังหวัดบึงกาฬ
1. ต้มย�ำปลาคัง 3. ซุปซ�ำปะปิ
2. ลาบปลาคัง 4. ข้าวโหล่งฟักทอง
กลุ่มชาติพันธุ์ ไทเทิงบ้านห้วยเล็บมือ
ไทเทิง (บ้ำนห้วยเล็บมือ) ชาวบ้านห้วยเล็บมือ เดิมอพยพมาจากหมู่บ้านพงวิน แขวงค�าม่วน ทางตอนใต้ของ ประเทศลาว เป็นชนเผ่าไทเทิงหรือข่า ล่องแพมาตามล�าน�้าหินปูน พักอยู่ที่ปากแม่น�้าหินปูน ระยะหนึ่งแล้วล่องแพทวนน�้าโขงขึ้นมาจนถึงบ้านห้วยเซือม เห็นว่าไม่เหมาะจึงย้ายลงมาอยู่ ที่ท่าศาลา (ปัจจุบันเป็นป่าช้าพุทธ หมู่บ้านหนองคังคา) และย้ายขึ้นมาอยู่ที่หมู่บ้านภูทอก ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นหมู่บ้านห้วยเล็บมือ มีอาชีพสืบต่อกัน มาคือการท�าไร่ตามภูเขา ดัง ค�าพูดที่ว่า “ภูสูงไว้ให้ข่า นากว้างไว้ให้ลาว” ปัจจุบันชาวบ้านยังยึดอาชีพท�าไร่และท�านาเสริม อีกด้วย หมู่บ้านห้วยเล็บมือเป็นหมู่บ้านคาทอลิกมาตั้งแต่เริ่มแรก ซึ่งความเชื่อถือในอดีตได้ ถ่ายทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน หมู่บ้าน “ห้วยเล็บมือ” เล่าว่ามีชาวบ้านไปหาปลาที่ล�าห้วยทางทิศตะวันออกของ หมู่บ้านและพบวัตถุที่มีลักษณะคล้ายเล็บมือผู้หญิง จึงตั้งชื่อล�าห้วยนั้นว่าห้วยเล็บมือ และ กลายมาเป็นชื่อหมู่บ้าน ทางหมู่บ้านจึงสร้างสัญลักษณ์เป็นรูปมือไว้ริมน�้าโขงบริเวณลาน ด้านหน้าโบสถ์ ชุมชนบ้านห้วยเล็บมือส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ ภายในชุมชนมีวัดแม่พระถวาย พระกุมารในพระวิหารที่เป็นสถานที่ส�าคัญในการประกอบพิธีส�าคัญทางศาสนา และกิจกรรม ต่างๆ ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชน ในชุมชนยังมีทีมงานที่ต้อนรับนักท่องเที่ยว โดยเกิดจาก การจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยภายในกลุ่มจะมีการบริหารจัดการในเรื่องที่พัก อาหาร ของที่ระลึก การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ไว้เพื่อรองรับและบริการนักท่องเที่ยว มีเส้นทาง ท่องเที่ยวชุมชน และกิจกรรมต่างๆ เช่น ช่วงเช้ามาชมวิถีชีวิตลุ่มแม่น�้าโขง และชาวบ้านจะ เข้าร่วมพิธีบูชามิสซาที่ โบสถ์แม่พระถวายพระกุมารในพระวิหาร ฤดูฝนเที่ยวน�้าตกถ�้าฝุ่นที่ หน่วยพิทักษ์ป่าถ�้าฝุ่น แวะชมสวนและเลือกซื้อของฝากได้ที่ไร่มารีย์พิมาน ช่วงเย็นสามารถ ปั่นจักรยานหรือเดินชมพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าที่จุดชมวิวทิวโขงงามภูทอกน้อย หรือบริเวณ ริมแม่น�้าโขงได้ 83
ไทพวน
บ้านหนองนาแซง
ต�ำบลวิศิษฐ์ อ�ำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ
1. นึ่งปลา 3. สังขยาฟักทอง
2. ปลาร้าทรงเครื่อง
กลุ่มชาติพันธุ์ ไทพวนบ้านหนองนาแซง
ไทพวน (บ้ำนหนองนำแซง) ไทพวนจังหวัดบึงกาฬ เป็นไทพวนที่อพยพมาตั้งแต่สมัยสงครามปราบฮ่อ ในสมัย รัชกาลที่ ๓ บางส่วนอพยพมาเพิ่มเติมในสมัยรัชกาลที่ ๕ บริเวณบ้านอาฮง ต�าบลหอค�า บ้านพันล�า บ้านหนองแวง บ้านดอนเจริญ บ้านแสนเจริญ บ้านนาป่าน บ้านหนองนาแซง ต�าบลวิศิษฐ์ อ�าเภอเมืองบึงกาฬ ตามค�าบอกเล่าของชาวบ้านแถบนี้ ได้อพยพมาจากเมืองเชียงขวางหนีศึกสงคราม ฮ่อล่องแพมาตามล�าน�้าเงียบ โดยมีตาโพ้นหรือญาพ่อผ้าขาว เป็นผู้น�าพาชาวบ้านหลบหนี ภัยสงครามมาอยู่ที่บ้านน�้าเงียบ สปป.ลาว ในตอนแรกๆ ต่อมาได้เกิดการแพร่ระบาดของ อหิวาตกโรค ในบริเวณดังกล่าวท�าให้มีการย้ายที่อยู่มาที่หมู่บ้านพันล�าในปัจจุบัน การแต่งกาย เครื่องแต่งกายจะมีลักษณะเป็นผ้าฝ้าย ย้อมคราม หรือย้อมสีเปลือกไม้ เป็นหลัก สตรีจะนุ่งผ้าถุงทอลวดลายคั่นทั่วไป แต่จะเน้นตีนซิ่นที่การทอผ้าขิดลายสัตว์มงคล เช่น ช้าง ม้า หงส์ หรือลายดอกไม้ เช่น ดอกพิกุล ดอกดาวเรือง และจุดเด่นจะอยู่ที่ผ้าสไบ ที่จะทอลายขิดที่เชิง เป็นลายดอกดาวเรืองผสมลายเรขาคณิต การแต่งกายในรูปแบบเดิม หญิงมักไว้ผมยาวมุ่นเกล้าไว้ด้านหลัง ใช้ผ้าพันรอบอกแทนการสวมเสื้อ นุ่งซิ่นตีนจกหรือสีพื้น แทรกลายขวาง บางถิ่นนิยมนุ่งซิ่นมัดหมี่ ชายมักนุ่งกางเกงขาก๊วยสีด�าและใส่เสื้อสีด�า ภาษาไทพวน เป็นภาษาที่มีวิวัฒนาการนับพันปี ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของภาษาไทน้อย ของอาณาจักรล้านช้าง ใกล้เคียงกับภาษาลาวในยุคปัจจุบัน เช่น ภาษาไทพวน ความหมาย สะแนน เตียงไม้ไผ่ หวิด ห้องน�้า ไม้ยู ไม้กวาด แอบข้าว กระติบข้าว อาหาร “โอดบอน” มีลักษณะคล้ายๆ กับน�้าพริกที่ท�ามาจากใบบอน มีวัตถุดิบส่วนผสม คือ ใบบอน ปลายข้าว พริกสด กระเทียมดอง หอมแดง มะเขือ เนื้อปลา เกลือป่น ใบมะขาม อ่อน น�้าปลา หรือน�้าปลาร้า “โอด” ไทพวนที่บ้านหม้อ อ�าเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย เรียกว่า “แจ่วสุก” 89
LOCAL สู่เลอค่า KARB STUDIO
ขอขอบคุณ
- นางสาวสุจิตรา สาคร นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ - นายกีรดิษฐ์ อุทรัง นักวิชาการวัฒนธรรมช�ำนาญการ รักษาราชการแทนผู้อ�ำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์ และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม
- นายวิสูตร ดวงสิมา วัฒนธรรมจังหวัดบึงกาฬ - นายธนวณิช ชัยชนะ ประธานสภาอุตสาหกรรม จังหวัดบึงกาฬ - นายศุภวัฒน์ เวทย์วัฒนพงษ์ องค์การบริหารส่วนต�ำบลหนองพันทา - กลุ่มชาติพันธุ์จังหวัดบึงกาฬ - พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต จังหวัดบึงกาฬ
พญานาค 4 ตระกูล
FB : พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต จ.บึงกาฬ
“
ความมั่งคั่งทางความคิด ส่งต่องานด้านจิตอาสา ด้วยความมั่นคงด้านอาหารพื้นถิ่น เป้าหมายการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน LOCAL สู่ เลอค่ำ
“
สุทธิพงษ์ สุริยะ ผู้ก่อตั้ง พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต จังหวัดบึงกาฬ
LOCAL CHEF& FOODมองเก่ STYLIST าให้ ใ หม่ จากรุ่นสู่รุ่น
ความแซ่ บ นั ว ของอาหารพื้ น ถิ่ น ที่ นั ก ท่ อ งเที่ ย วไม่ ค วรพลาด เมื่ อ มาเยื อ นจั ง หวั ด บึ ง กาฬ รสชาติ ดั้ ง เดิ ม แบบฝ มื อ คุ ณ ยาย แต่ ดี ไ ซน์ ร ่ ว มสมั ย ในยุ ค โซเชี ย ลมี เ ดี ย ช่ ว ยกั น ถ่ า ย โพสต์ แชร์ FB : KARB STUDIO