Power Mag Issue 113

Page 1


POWER Magazine • VOLUME 14 • NUMBER 113

his majesty’s biography

His Majesty’s royal duties

Biography 12

The Nation’s Beloved King The Royal Chitralada Projects Doi Kham, Agriculture for Communities Pursuing His Majesty’s Initiatives Environmental Royal Development Projects The Well-rounded Monarch Agricultural Royal Development Projects His Majesty’s Magnanimity from the Sky Educational Royal Development Projects Forever in Our Hearts

His Majesty’s INTELLIGENCE The Greatest King His Majesty, the Most Wonderful Teacher The Musician King The Artist King The Sportsman Monarch The Royal Pillar of Thailand’s Badminton Philosophy of the King

2

32 44 48 52 58 62 66

76 88 92 96 100 102 108 110 114 116

POWER MAGAZINE


EDITOR’s LETTER

13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 วันเสด็จสวรรคตของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นับเป็นวันแห่งความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของปวงชน ชาวไทย นำ�มาซึ่งความโศกเศร้าเสียใจอันมิอาจหา ถ้อยคำ�ใดบรรยายได้ แม้จวบจนบัดนี้ความอาลัย ยังคงอยู่ในหัวใจของคนไทยไม่เสื่อมคลาย คิง เพาเวอร์ เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่ได้แสดง ความจงรักภักดีร่วมกับพสกนิกรชาวไทยผ่าน หลายโครงการในหลายวาระ เช่น โครงการสายข้อมือ “เรารักพระเจ้าอยู่หัว”, โครงการจัดทำ�นาฬิกา เฉลิมพระเกียรติ ตลอดจนโครงการจัดสร้างพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช “ทรงงาน” (จำ�ลอง) ขอน้อมรำ�ลึกในพระมหากรุณาธิคุณ หาที่สุดมิได้ของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงงานหนัก เพื่อประชาชนมาตลอด 70 ปีแห่งการครองราชย์ ผ่านนิตยสาร Power ฉบับพิเศษนี้ โดยเนื้อหาทุกหน้า ในเล่มเป็นเรื่องราวของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช รวบรวมตั้งแต่พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ พระอัจฉริยภาพในด้านต่างๆ ตลอดจนบทสัมภาษณ์ผู้ที่เคยถวายงานและ ติดตามการทรงงานอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ผู้อ่าน ได้เรียนรู้เรื่องราวการทรงงานในถิ่นทุรกันดาร บนพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ได้ทราบถึงแนวพระราชดำ�ริ ที่ทรงคิดแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ และสอดคล้องกับภูมิสังคม ทั้งนี้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของเหล่าพสกนิกรใต้ร่มพระบารมี ให้ดียิ่งขึ้น 6 3

ดิฉันและกองบรรณาธิการหวังเป็นอย่างยิ่งว่า นิตยสาร Power ฉบับนี้จะเป็นโอกาสให้ผู้ที่สนใจ ได้เก็บรักษาความทรงจำ�อันงดงามเกี่ยวกับพระองค์ท่าน รวมทั้งได้ร่วมรำ�ลึกถึงช่วงเวลาและเหตุการณ์สำ�คัญ ต่างๆ ตลอดพระชนม์ชีพของพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณสูงสุดต่อพสกนิกรชาวไทย แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชเสด็จสู่สวรรคาลัยแล้ว แต่ดิฉันเชื่อเหลือเกินว่า น้ำ�พระราชหฤทัยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตาจะยังคง ประทับอยู่ในห้วงความทรงจำ�ของประชาชนทุกหมู่เหล่า บนผืนแผ่นดินนี้ ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปเนิ่นนานสักเพียงใด พระองค์จะยังสถิตอยู่ในใจของพวกเราชาวไทยทุกคน ตลอดไป October 13, 2016 was the day of the greatest

stories in this issue of Power magazine. Every page of this issue is dedicated to His Majesty, including his biography, royal duties, intelligence in various fields as well as interviews with those who had served His Majesty throughout his reign. You can learn about the work he had done in most rural areas of the country, his genius methods in solving problems in a way that corresponded to the areas and social landscape. His objectives were to improve the people’s quality of life and well-being. The editorial team and I hope that this issue of Power will be a keepsake for you to remember the wonderful things His Majesty had done. We would like to invite you to join us on a journey back in time

loss of Thailand as His Majesty King Bhumibol

to learn about significant moments and events in

Adulyadej passed away, much to the grief of the

the reign of our Great King.

Thai people. Today, the memories of His Majesty still remain in the hearts of the Thai people. King Power, as an organisation which has worked closely with the Thai people to show loyalty

Although His Majesty King Bhumibol Adulyadej has passed away, I am confident that His Majesty’s kindness will always be cherished by the people in this country, until the end of time.

to His Majesty through various activities, such as the “We love the King” wristband project, watch project to honour His Majesty, and the construction of the replicas of His Majesty in “Song Ngaan” posture, we would like to take this opportunity to pay tribute to His Majesty who had worked hard for the people over the past 70 years through the

วรมาศ ศรีวัฒนประภา Voramas Srivaddhanaprabha voramas_s@kingpower.com POWER MAGAZINE



december 2016 - january 2017

EDITOR-IN-CHIEF

EXECUTIVE ADVISOR

COLOuR SEPaRATION

Voramas Srivaddhanaprabha

Kullawit Laosuksri

71 Inter Scan Co., Ltd.

deputy EDITOR

feature writers

Chatsarun Pinitchai

Nattaporn Napalai

วรมาศ ศรีวฒ ั นประภา

ชัชสรัล พินจิ ไชย

CONTENT EDITORS Issaraporn Dejvichienkamkerng

อิสราภรณ์ เดชวิเชียรกำ�เกิง

Khwannate Gatesuesaat

ขวัญเนตร เกตุซอ่ื สัตย์ Vallop Adunphichet

กุลวิทย์ เลาสุขศรี

ณัฐพร นภาลัย

Piyalak Nakayodhin

ปิยะลักษณ์ นาคะโยธิน Kanyanat kaewkarnj

กัญญาณัฐ แก้วกาญจน์

INFORMATION INQUIRIES

สันติพงษ์ จูเจริญ

Advertising Wimonwan Kularb

วิมลวรรณ กุหลาบ

Philaipun Chanyutthana

พิไลพรรณ ชาญยุทธนา Thassanee Chantee

ทัศนีย์ จันที โทร. 0 2204 2370-89 ต่อ 109 หรือ 089 229 3998

www.kingpower.com

8 5

Comform Co., Ltd.

8 คิง เพาเวอร์ คอมเพล็กซ์ ถนนรางน้ำ� แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร. 0 2677 8888 โทรสาร. 0 2677 8877

บริษทั คอมฟอร์ม จำ�กัด โทร. 0 2368 2942-7, 0 2368 3840-4

King Power Contact Centre Tel: 1631

www.kingpower.com

www.kingpower.com

ชาลิสา วีรวรรณ

PHOTOGRAPHERs

บริษทั มีเดีย ทรานส์เอเซีย ไทยแลนด์ จำ�กัด โทร. 0 2204 2370-89 โทรสาร 0 2204 2390-1

PRINTING

Chalisa Viravan

วัลลภ อดุลยพิเชฏฐ์

Media Transasia Thailand Limited

บริษัท 71 อินเตอร์สแกน จำ�กัด โทร. 0 2234 4457, 0 2233 7398

Publicity

www.kingpower.com www.facebook.com/ KingPowerOfficial

Santipong Choocharoen Napat Raveewat

ณภัทร ระวีวฒ ั น์

ART DIRECTOR Manop Rattanaseangkumjorn

มานพ รัตนแสงกำ�จร DIGITAL IMAGE

Decha Ngamlertnapaporn

เดชา งามเลิศนภาภรณ์ Nicha Tantisak

นิชา ตันติศกั ดิ์

PRINTING COORDINATOR Natchanan Kaewsasaen

ณัฏฐ์ชานันท์ แก้วสะแสน

www.kingpower.com

POWER MAGAZINE


เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม

I will reign with righteousness for the happiness and benefits of the Siamese people.



his majesty’s biography

พ.ศ. 2470 ประสูติ

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช ประสูติเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ณ โรงพยาบาล เมาต์ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ทรงเป็นพระโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้า มหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ และหม่อมสังวาลย์ สงขลา ทรงมีพระเชษฐภคินี และพระเชษฐาธิราช 2 พระองค์ คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยาณิวัฒนา และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล

พ.ศ. 2472

ความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่

วันที่ 24 กันยายน สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ เสด็จสวรรคต ด้วยพระโรคพระยกนะ (ตับ) อักเสบ ขณะที่ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช มีพระชนมายุไม่ถึง 2 พรรษา

1927

Birth Prince Bhumibol is born at Mt. Auburn Hospital in Cambridge, Massachusetts, USA, on December 5. He is the youngest son of Prince Mahidol Adulyadej, the Prince of Songkla, and Mrs. Sangwan Songkla. He has an elder sister, Princess Galyani Vadhana, and an elder brother, Prince Ananda Mahidol.

1929

A great loss On September 24, Prince Mahidol Adulyadej passes away when Prince Bhumibol is less than two years old.

8

POWER MAGAZINE


พ.ศ. 2476 เสด็จโลซานน์

หลังเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน ประเทศไทย พระชนนีทรงตัดสินพระทัยพา พระธิดาและพระโอรสทั้งสามพระองค์ เสด็จไปประทับ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ โดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ภูมิพลอดุลยเดช ทรงเข้าศึกษาต่อ ชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนเมียร์มองต์

พ.ศ. 2477

พ.ศ. 2478

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 มีนาคม รัฐบาลในสมัยนัน้ จึงกราบบังคมทูลเชิญ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล พระเชษฐาธิราช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็น พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี

สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพล อดุลยเดช ทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียน École Nouvelle de la Suisse Romande และทรงเริ่มสนพระทัยการถ่ายภาพเมื่อได้รับ พระราชทานกล้อง Coronet Midget ซึ่งเป็น กล้องถ่ายภาพเล็กๆ จากพระราชมารดา เป็นกล้องแรก โดยทรงศึกษาการถ่ายภาพ ด้วยพระองค์เอง

ความเปลี่ยนแปลง ที่เหนือการคาดฝัน

ทรงเจริญวัย

พ.ศ. 2470-2478 • ค.ศ. 1927-1935

1933

1935

Moving to Lausanne Political changes in Thailand prompt the Princess Mother to take her three children to live in Lausanne, Switzerland. The young Prince Bhumibol attends the Ecole Miremont.

Young adulthood During his schooling at École Nouvelle de la Suisse Romande, Prince Bhumibol becomes interested in photography after receiving the first camera, the Coronet Midget, from his mother. He begins learning photography on his own.

1934

An unexpected change When King Rama VII abdicates on March 2, Prince Ananda Mahidol ascends the throne as King Rama VIII of the Chakri Dynasty.

december 2016 - january 2017

9


his majesty’s biography

พ.ศ. 2481

เสด็จนิวัติพระนคร

เดือนพฤศจิกายน สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ได้โดยเสด็จ พระราชดำ�เนินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล เสด็จนิวัติประเทศไทยเป็นเวลา 2 เดือน โดยประทับที่พระตำ�หนักจิตรลดา รโหฐาน พระราชวังดุสิต จากนั้นเสด็จกลับไป ศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์จนถึงพ.ศ. 2488

พ.ศ. 2485

ทรงศึกษาดนตรีอย่างจริงจัง

หลังจากที่ทรงฝึกฝนการเล่นคลาริเน็ต ด้วยพระองค์เองมาระยะหนึ่ง สมเด็จพระเจ้า น้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ทรงตัดสิน พระทัยที่จะเริ่มศึกษาดนตรีอย่างจริงจัง โดยทรงซื้อแซกโซโฟนและทรงศึกษาทั้งเทคนิค วิธีการเล่นดนตรี การเขียนโน้ต สเกล และ ทฤษฎีดนตรี จากนักดนตรีชาวอัลซาสชื่อ เวย์เบรชท์

1942

Sharpening music skills Having learned clarinet by himself, Prince Bhumibol decides to seriously take music lessons. He buys a saxophone and learns music composition, note writing and music theory from an Alsace musician by the name of Weybrecht.

1938

Returning to Siam In November, His Majesty King Rama VIII and his younger brother, Prince Bhumibol, return to Thailand for two months. They reside at Chitralada Villa, Dusit Palace. After their return to Switzerland, they had stayed in the European country until 1945.

10

POWER MAGAZINE


พ.ศ. 2488

พ.ศ. 2491

สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมพิ ลอดุลยเดช ทรงเข้าศึกษาต่อทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยโลซานน์ และได้โดยเสด็จฯ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จนิวัติ พระนคร โดยประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง ทั้งสองพระองค์เสด็จฯ ไปเยี่ยมราษฎร ณ ที่ต่างๆ สร้างความปลาบปลื้ม ให้กับปวงชนชาวไทยที่ได้ชื่นชมพระบารมี เป็นอย่างมาก

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช เสด็จฯ ไปยังกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และทรงพบกับม.ร.ว.สิรกิ ติ ์ิ กิตยิ ากร เป็นครัง้ แรก ต่อมาวันที่ 4 ตุลาคม ทรงประสบอุบัติเหตุทาง รถยนต์นอกเมืองโลซานน์ ระหว่างประทับรักษา พระองค์ ได้มีพระราชกระแสรับสั่งให้ม.ร.ว.สิริกิติ์ เข้าเฝ้าถวายการพยาบาล ทำ�ให้ทั้งสองพระองค์ มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมากขึ้น

สองทูลกระหม่อมแก้วของชาวไทย

คู่พระบารมี

พ.ศ. 2489

เสด็จขึ้นครองราชย์

วันที่ 9 มิถุนายน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 เสด็จสวรรคต อย่างกะทันหัน ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ภายใน พระบรมมหาราชวัง ในวันเดียวกัน รัฐสภาลงมติ เป็นเอกฉันท์กราบทูลเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชย์ สืบราชสันตติวงศ์ตอ่ ไป แต่เนือ่ งจากยังมีพระราชกิจ ด้านการศึกษา จึงเสด็จฯ ไปศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยแห่งเดิม แต่เปลี่ยนสาขาจาก วิทยาศาสตร์ ไปเป็นสาขาสังคมศาสตร์ นิตศิ าสตร์ และรัฐศาสตร์

พ.ศ. 2481-2491 • ค.ศ. 1938-1948

1945

The hearts of Thailand Prince Bhumibol enrols at the University of Lausanne to study engineering. He later returned to Thailand with His Majesty King Rama VIII and resided at the Barom Phiman Palace. The two royal siblings visited the people in various regions in Thailand, bringing them utmost joy.

1946

Accession to the throne On June 9, His Majesty King Rama VIII passes away unexpectedly at the Barom Phiman Hall, the Grand Palace. On the same day, Prince Bhumibol becomes the next king. Due to his educational engagement, he returns to Switzerland to study, but decides to switch from engineering to law and political science.

1948

The royal couple His Majesty King Bhumibol visits Paris and meets M.R. Sirikit Kitiyakara for the first time. On October 4, His Majesty suffers from a car accident outside Lausanne. During hospitalisation, he asks for M.R. Sirikit to take care of him. The two develop a close relationship from then on.

december 2016 - january 2017

11


his majesty’s biography

พ.ศ. 2493

พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช เสด็จฯ กลับประเทศไทย และในวันที่ 28 เมษายน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงาน พระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร ต่อมาวันที่ 5 พฤษภาคม ทรงประกอบ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณ ขัตติยราชประเพณี จากนั้นเสด็จฯ กลับไป ประทับ ณ เมืองโลซานน์

พ.ศ. 2492 ทรงหมั้น

วันที่ 19 กรกฎาคม ทรงหมั้นหมายม.ร.ว.สิริกิติ์ กิตยิ ากร ในพระราชพิธซี ง่ึ จัดขึน้ เป็นการภายใน ก่อนจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศ ข่าวทรงหมัน้ ให้คนไทยทราบในวันที่ 12 สิงหาคม ในงานเลี้ยงอันเรียบง่ายซึ่งจัดขึ้นที่ สถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

1949

Royal engagement On July 19, a private engagement ceremony between His Majesty King Bhumibol and M.R. Sirikit Kitiyakara takes place. An official announcement is made on August 12. A simple reception is held at the Thai Embassy in London, UK.

12

1950

Royal wedding His Majesty King Bhumibol returns to Thailand. He is married to M.R. Sirikit Kitiyakara. A formal wedding is held on April 28. On May 5, His Majesty King Bhumibol makes an order to organise the Coronation Ceremony according to the ancient custom. After the Coronation Ceremony, they return to Lausanne.

POWER MAGAZINE


พ.ศ. 2495

พ.ศ. 2498

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช ทรงตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. และทรงจัดตั้ง “ทุนโปลิโอ สงเคราะห์” เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคโปลิโอ ต่อมา ในวันที่ 28 กรกฎาคม สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี มีพระประสูติกาลสมเด็จ พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรในถิ่นทุรกันดาร รวมทั้ง พระราชทาน “เรือเวชพาหน์” ออกให้บริการ ทางการแพทย์แก่ประชาชนที่อยู่ตามลำ�น้ำ� ในวันที่ 2 เมษายน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี มีพระประสูติกาลสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

พระราชโอรสพระองค์น้อย

เสด็จพระราชดำ�เนินเยี่ยมราษฎร

พ.ศ. 2494

เสด็จนิวัติพระนครเป็นการถาวร

วันที่ 5 เมษายน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี มีพระประสูติกาลสมเด็จ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ต่อมาวันที่ 2 ธันวาคม พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และพระราชธิดา ได้เสด็จนิวัติพระนคร เป็นการถาวร

พ.ศ. 2492-2498 • ค.ศ. 1949-1955

1951

Permanent return to Thailand On April 5, Her Majesty Queen Sirikit gives birth to a baby girl, Princess Ubolratana Rajakanya. Their Majesties the King and Queen and their daughter return to Thailand permanently on December 2.

1952

the little prince His Majesty King Bhumibol sets up “Au Saw Radio Station” and “Polio Funds” to help polio patients. On July 28, Her Majesty Queen Sirikit gives birth to Prince Vajiralongkorn.

1955

Visiting the rural His Majesty King Bhumibol, accompanied by Her Majesty Queen Sirikit, visits people in rural areas and grants a medical boat, “Rua Vejjapaha”, to offer medical treatment to the people. On April 2, Her Majesty the Queen gives birth to Princess Sirindhorn.

december 2016 - january 2017

13


his majesty’s biography

พ.ศ. 2499

พ.ศ. 2502

ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม–5 พฤศจิกายน พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงออกผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และประทับ จำ�พรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ระหว่างที่ ทรงผนวชนั้น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ เป็นผู้สำ�เร็จราชการแทนพระองค์ได้เป็นที่ พอพระราชหฤทัย จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิม พระนามาภิไธยเป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

ปีเริ่มต้นของการเสด็จฯ เยือนต่างประเทศเพื่อ เจริญสัมพันธไมตรี โดยเริม่ ทีป่ ระเทศเวียดนามใต้ เป็นประเทศแรก ในระหว่างวันที่ 18-21 ธันวาคม และปีเดียวกันนี้ทรงเริ่มวาดภาพจิตรกรรม ฝีพระหัตถ์อย่างต่อเนือ่ งอีกครัง้ โดยภาพจิตรกรรม ที่ทรงวาดส่วนใหญ่เป็นจิตรกรรมสีน้ำ�มัน บนผ้าใบ

ทรงผนวช

พระราชกรณียกิจอันยิ่งใหญ่

พ.ศ. 2500

พระนามนี้มีที่มา

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระประสูติกาลสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า จุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ในวันที่ 4 กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ พระราชทานปริญญาบัตร ณ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ดังนั้นจึงมีพระราชประสงค์จะ พระราชทานนามให้มคี �ำ ว่า “จุฬา” อยูใ่ น พระนามด้วย ซึ่งเป็นที่มาของพระนาม “จุฬาภรณ์”

1957

1956

A meaningful name Her Majesty the Queen gives birth to Princess Chulabhorn Walailak on July 4. On the same day, His Majesty the King attends a commencement at Chulalongkorn University. Thus, it was His Majesty’s intention to put the word “chula” in his daughter’s name.

1959

A great task His Majesty makes the first overseas trip to enhance international relations, starting with visiting Vietnam during December 18-21. In the same year, His Majesty returns to painting on a regularly basis, concentrating on oil painting on canvas.

Monkhood His Majesty King Bhumibol is ordained into the monkhood at the Temple of the Emerald Buddha and resides at Wat Bawon Niwet Wiharn. He has been in the monkhood from October 22-November 5, during which Her Majesty Queen Sirikit is appointed his regent. As she faithfully carries out the royal duties in the interest of the nation, she is appointed the Queen Regent (Somdej Phra Boromrajininat) in recognition of this.

14

POWER MAGAZINE


พ.ศ. 2505

นานาชาติประจักษ์ ในพระปรีชาสามารถ

เสด็จฯ เยือนประเทศปากีสถาน สหพันธรัฐมาลายา นิวซีแลนด์ และเครือรัฐออสเตรเลีย ระหว่างการ เสด็จฯ เยือนเครือรัฐออสเตรเลีย อธิการบดี มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายปริญญาบัตรนิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ ณ มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น

พ.ศ. 2503

ทรงเจริญสัมพันธไมตรี กับมิตรประเทศ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ เสด็จฯ เยือนประเทศต่างๆ รวม 16 ประเทศ โดยระหว่างการเสด็จฯ เยือนนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ได้ทรงดนตรีร่วมกับ เบนนี่ กู๊ดแมน นักดนตรีแจซระดับโลก

พ.ศ. 2499-2505 • ค.ศ. 1956-1962

1962 1960

International relations Their Majesties the King and Queen have visited 16 countries. During their visit to New York, USA, His Majesty plays music with world-renowned jazz artist Benny Goodman.

december 2016 - january 2017

Displaying his talents to the international community His Majesty the King visits Pakistan, Malaya, New Zealand and Australia. In Australia, he is conferred the Degree of Doctor of Laws, Honoris Causa, by the University of Melbourne.

15


his majesty’s biography

พ.ศ. 2507

พระเกียรติคุณขจรไกล

เสด็จฯ เยือนสาธารณรัฐออสเตรีย การนี้ สถาบันการดนตรีและศิลปะแห่งกรุงเวียนนาได้ กราบบังคมทูลเชิญให้ทรงดำ�รงตำ�แหน่งสมาชิก กิตติมศักดิ์ลำ�ดับที่ 23 และทูลเกล้าฯ ถวาย ประกาศนียบัตรเกียรติคุณชั้นสูง

พ.ศ. 2520

แรงบันดาลพระราชหฤทัย

ในปีที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมพรรษา 50 พรรษานัน้ ได้ทรงสดับพระธรรมเทศนาของสมเด็จ พระมหาวีรวงศ์ วัดราชผาติการาม เรื่อง “พระมหาชนก” ซึ่งได้กลายเป็นแรงบันดาล พระราชหฤทัยให้ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรม พุทธศาสนาเรื่อง “พระมหาชนก” ในเวลาต่อมา

พ.ศ. 2506

เสด็จประพาสแถบเอเชีย

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยือนประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และฟิลิปปินส์

1963

Visiting Asian countries Their Majesties the King and Queen visit Japan, Taiwan and the Philippines.

1964

International recognition His Majesty King Bhumibol visits Austria. He is conferred an honorary membership of the University of Music and Performing Arts of Vienna, the 23rd person to be so honoured.

1977

Inspiration As His Majesty King Bhumibol turns 50, he has the chance to listen to a preaching of Somdet Phra Maha Virawong of Wat Rajpatikaram about Phra Mahachanok. The story inspired him to write a Buddhist literature Phra Mahachanok.

16

POWER MAGAZINE


พ.ศ. 2535-2536 นานาชาติแซ่ซ้อง

ปีพ.ศ. 2535 ผู้อำ�นวยการใหญ่โครงการสิ่งแวดล้อม แห่งสหประชาชาติ (UNEP) ทูลเกล้าฯ ถวาย “เหรียญทองประกาศพระเกียรติคณ ุ ด้านสิง่ แวดล้อม” และผู้อำ�นวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก (WHO) ทูลเกล้าฯ ถวาย “เหรียญทองสาธารณสุขเพื่อ มวลชน” ปีถัดมา คณะกรรมการสมาคมนิเวศวิทยา เชิงเคมีสากล (ISCE) ทูลเกล้าฯ ถวาย “เหรียญรางวัล เทิดพระเกียรติในการสงวนรักษาความหลากหลาย ทางชีวภาพ” และสมาคมควบคุมการกัดเซาะ ผิวดินนานาชาติ (IECA) ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล เกียรติคณ ุ ในฐานะทีท่ รงเป็นแบบอย่างในการนำ� หญ้าแฝกมาใช้ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ� อย่างได้ผล นอกจากนี้ยังทรงได้รับสิทธิบัตร การประดิษฐ์ “กังหันน้ำ�ชัยพัฒนา” เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2536 นับเป็นสิทธิบัตรใน พระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริยพ์ ระองค์แรก ของไทย และครั้งแรกของโลก

พ.ศ. 2538

ทรงสูญเสียพระราชมารดา

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จสวรรคตในวันที่ 18 กรกฎาคม ณ โรงพยาบาลศิริราช สิริพระชนมายุ 94 พรรษา

พ.ศ. 2506-2538 • ค.ศ. 1963-1995 Association presented him with an International Merit Award for his use of vetiver grass. On 2 February 1993 he received a patent for the Chaipattana Low Speed Aerator, the first patent under His Majesty’s name. His Majesty became the first King in the world to invent such a valuable machine that has greatly benefited the people.

1995

the departure of the princess mother The Princess Mother passes away at Siriraj Hospital on July 18 at the age of 94.

1992-1993

International acclaim In 1992, His Majesty was presented with a Gold Medal of Distinction presented by the UN Environment Programme, and Healthfor-All Gold Medal by the World Health Organization. In the following year, the International Society of Chemical Ecology presented him with a Natura Pro Futura Medal for the conservation of biodiversity, while the International Erosion Control

december 2016 - january 2017

17


his majesty’s biography

พ.ศ. 2539

พ.ศ. 2542

ในโอกาสเฉลิมฉลองกาญจนาภิเษกแห่งรัชกาล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์ พระราชนิพนธ์เรือ่ ง “พระมหาชนก” ออกจำ�หน่าย ซึ่งพระราชนิพนธ์เรื่องนี้ทรงสืบค้นเรื่องราวจาก พระไตรปิฎก และทรงแปลเป็นภาษาอังกฤษ ตรงจากมหาชนกชาดก ตั้งแต่ต้นเรื่อง โดยทรงดัดแปลงเล็กๆ น้อยๆ เพือ่ ให้เข้าใจง่ายขึน้ นอกจากนีย้ งั ทรงพระราชนิพนธ์เป็นภาษาไทย ประกอบอีกหนึ่งภาษาด้วย

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จดั พิมพ์ “พระมหาชนก” ฉบับการ์ตูน เพื่อสะดวก แก่การศึกษาทำ�ความเข้าใจของเด็กและเยาวชน อีกทั้งยังมีการจัดพิมพ์เป็นฉบับอักษรเบรลล์ เพื่อเผยแพร่แก่ผู้พิการทางสายตาอีกด้วย

พระราชนิพนธ์เรื่อง “พระมหาชนก”

“พระมหาชนก” ฉบับการ์ตูน

พ.ศ. 2541

คุณทองแดง สุนัขทรงเลี้ยง

ทรงพระกรุณารับ “ทองแดง” ลูกสุนัข พันธุ์ไทยซูเปอร์บาเซนจิเพศเมียอายุ 5 สัปดาห์ ไว้เป็นสุนัขทรงเลี้ยง ณ พระตำ�หนักจิตรลดา รโหฐาน พระราชวังดุสิต คุณทองแดงได้ชื่อว่า เป็นสุนัขที่กตัญญูรู้คุณ ซื่อสัตย์ ฉลาดแสนรู้ และได้รับการขนานนามว่าเป็น “สุนัขประจำ� รัชกาลที่ 9”

พ.ศ. 2539-2542 • ค.ศ. 1996-1999

1999

CARTOON VERSION OF THE STORY OF MAHAJANAKA His Majesty orders the making of a cartoon version of Phra Mahachanok to make it easier to understand for children. It was also printed in Braille for the blind.

1996

THE STORY OF MAHAJANAKA On the Golden Jubilee of his reign, His Majesty signifies the publication of his own composition, The Story of Mahajanaka. He had been inspired by the story of King Mahajanaka, a pre-incarnation of the Buddha, so much that he decided to author the book about this story. In preparation for the writing, he translated the Pali canon of Tipitaka scriptures into English and wrote a book based on that translation in Thai and English.

18

1998

Thong Daeng, the royal pet His Majesty adopts Thong Daeng, a five-week-old Super Basenji Thai breed dog as his pet at Chitralada Villa, Dusit Palace. Thong Daeng was loyal, honest and smart. She was dubbed “the pet dog of King Rama IX”.

POWER MAGAZINE


his majesty’s biography

พ.ศ. 2544

โลกสรรเสริญพระอัจฉริยภาพ

คณะกรรมการจัดงานบรัสเซลส์ ยูเรก้า โดย The Belgian Chamber of Inventors ซึ่งเป็นสมาคมส่งเสริมและคุ้มครองนักประดิษฐ์ ของราชอาณาจักรเบลเยียม ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด ในยุโรป ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลถึง 5 รางวัล ให้กบั ผลงานโครงการอันเนือ่ งมาจากพระราชดำ�ริ 3 โครงการ คือ ผลงานเรื่องทฤษฎีใหม่ ผลงาน เรื่องน้ำ�มันไบโอดีเซล สูตรสกัดจากน้ำ�มันปาล์ม และผลงานเรื่องฝนหลวง

พ.ศ. 2543

พระปรีชาสามารถที่โลกกีฬาประจักษ์

คณะกรรมการโอลิมปิกสากลทูลเกล้าฯ ถวาย รางวัล “ลาลาลูนสี คัพ” ซึง่ ริเริม่ ขึน้ เมือ่ ปีพ.ศ. 2539 เพื่อเป็นสัญลักษณ์สูงสุดของคณะกรรมการ โอลิมปิกสากลในการเชิดชูและประกาศเกียรติคณ ุ แก่บุคคลที่เคยเป็นนักกีฬาดีเด่น และเป็น แบบอย่างที่ดีต่อสังคมโลก

พ.ศ. 2543-2544 • ค.ศ. 2000-2001

2000

The talented sportsman His Majesty is presented Lalaounis Cup by the International Olympic Committee in recognition of his outstanding merit in the course of athleticism and setting a good example for the world community.

29 1 0

2001

The inventor The committee of Brussels Eureka, organised by the Belgian Chamber of Inventors, one of the oldest organisations in Europe, presents five awards to His Majesty’s projects namely The New Theory, Palm Oil Formula and Royal Rain Making.

POWER MAGAZINE


his majesty’s biography

พ.ศ. 2549

องค์ราชันแห่งราชา

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มกี ารจัดพระราชพิธี ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีอย่างยิ่งใหญ่ โดยมีพระประมุขและพระราชวงศ์จากทั่วโลก เสด็จฯ มาร่วมถวายพระพร นอกจากนั้นนายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ ยังได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล ”ความสำ�เร็จสูงสุดด้านการพัฒนา มนุษย์” ของโครงการพัฒนาแห่งองค์การ สหประชาชาติ แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม

พ.ศ. 2545

พระราชนิพนธ์เรื่อง “ทองแดง”

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์ พระราชนิพนธ์เรื่อง “ทองแดง” เรื่องราวของ สุนัขทรงเลี้ยง ที่มีพระราชประสงค์จะสื่อถึงความ กตัญญูรู้คุณ โดยพระราชนิพนธ์ดังกล่าวยังสร้าง ปรากฏการณ์ใหม่ให้วงการหนังสือด้วย ยอดจำ�หน่ายสูงสุดแห่งปี

พ.ศ. 2545-2549 • ค.ศ. 2002-2006

2006

King of Kings His Majesty grants permission on the royal ceremonies on the 60th anniversary of his accession to the throne, attended

by heads of states and monarchs around the world. Secretary-General of the United Nations Kofi Annan presents His Majesty with the UNDP Human Development Lifetime Achievement Award in recognition of the global relevance of his call for a sufficiency approach to development, which was announced by the United Nations Development Programme on May 26.

2002

Thong Daeng royal literature His Majesty signifies the publication of Thong Daeng, a story about his pet dog, with an aim at teaching loyalty. It was a bestselling book of the year.

20 2

POWER MAGAZINE


his majesty’s biography

พ.ศ. 2551

พ.ศ. 2559

วันที่ 2 มกราคม สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส ราชนครินทร์ สมเด็จพระเชษฐภคินีใน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช สิ้นพระชนม์ ณ โรงพยาบาลศิริราช

เวลา 15.52 น. ของวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม ความเศร้าหมอง หยาดน้ำ�ตา และเสียงสะอื้นไห้ ปกคลุมไปทั่วประเทศไทย เมื่อพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จสวรรคต ณ โรงพยาบาลศิริราช ไม่เพียงชาวไทยที่ต้อง สูญเสียพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเปี่ยมด้วย พระมหากรุณาธิคุณและเป็นที่เคารพรักเทิดทูน เท่านั้น โลกยังได้สูญเสียพระมหากษัตริย์ ผู้ยิ่งใหญ่ไปตลอดกาล

ทรงสูญเสียพระเชษฐภคินี

ธ เสด็จสู่สวรรคาลัย

พ.ศ. 2555

วันดินโลก เทิดพระเกียรติมหาราชา

สหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ (IUSS) และองค์การอาหารและการเกษตรแห่ง สหประชาชาติ (FAO) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้าย วันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช เป็นวันดินโลก เพื่อถวายพระเกียรติในฐานะที่พระองค์ทรง ปฏิบัติพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการพัฒนาดิน มาอย่างต่อเนื่อง

พ.ศ. 2551-2559 • ค.ศ. 2008-2016

2008

2016

the departure of Princess Galyani Vadhana On January 2, Princess Galyani Vadhana, His Majesty’s elder sister, passes away at Siriraj Hospital.

The last farewell At 3:52pm on October 13, the greatest sorrow sweeps through the country. Tears cover every square inch of Thailand as His Majesty King Bhumibol passes away at Siriraj Hospital. Thailand and the world have lost the greatest and most beloved king.

2012

World Soil Day The International Union of Soil Sciences (IUSS) and Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO) resolve that World Soil Day coincides with His Majesty’s birthday to commemorate his continuous contributions on soil development.

21 4

POWER MAGAZINE


…ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของข้าพเจ้า จะเป็นแจซหรือไม่แจซก็ตาม ดนตรีล้วนอยู่ ในตัวคนทุกคน เป็นส่วนที่ยิ่งใหญ่ ในชีวิตคนเรา สำ�หรับข้าพเจ้า ดนตรีคือสิ่งประณีตงดงาม และทุกคนควรนิยม ในคุณค่าของดนตรีทุกประเภท เพราะว่าดนตรีแต่ละประเภท ต่างก็มีความเหมาะสมตามแต่โอกาส และอารมณ์ที่แตกต่างกันไป... Whether jazz or otherwise, music is a part of me. It is a part of everyone, an essential part of us all. To me, music is beautifully sophisticated. We should all recognise the value of music in all its forms, since all types of music have their places and time and respond to different emotions.



His Majesty’s intelligence

ทุกครั้งที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำ�เนินไปเยี่ยมเยียนราษฎร ในท้องถิ่นทุรกันดาร พระองค์มิได้ทรงคำ�นึงถึงเส้นทางที่จะเสด็จฯ ไป แม้บางครั้งต้องทรงพระดำ�เนินเป็นระยะทาง หลายกิโลเมตรตามเส้นทางที่ขรุขระ หรือบางครั้งต้องทรงพระดำ�เนินขึ้นเขาสูงชัน ฝ่าป่าทึบ ด้วยไม่มีเส้นทางถนนที่จะเข้าไปถึง ก็มิได้ทรงย่อท้อหรือเหนื่อยหน่ายพระราชหฤทัย

When His Majesty visited his subjects in remote areas, he did not take into consideration the condition of roads leading to their villages. He sometimes travelled on rough roads, went uphill or waded through forests without a road. He would not give up or change his mind.

24

POWER MAGAZINE



His Majesty’s intelligence

ภาพที่คนไทยทั่วประเทศได้เห็นจนชินตา ตลอดระยะเวลา 70 ปีที่ผ่านมา คือ พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชโอรส และพระราชธิดา ประทับท่ามกลาง เหล่าพสกนิกร มีพระราชดำ�รัสซักถามถึงปัญหา ความเดือดร้อนของราษฎรด้วยความสนพระราชหฤทัย และเปี่ยมด้วยพระเมตตา

นักดนตรีส่วนมากจะถนัดเล่น เพียงไม่กี่ประเภท แต่ว่าพระองค์ท่าน ทรงดนตรี ได้เกือบทุกประเภท ด้วยความชำ�นาญ while most musicians could play certain genre, or a few at most, His Majesty could play almost every genre.

26

หนึ่งในผู้ที่มีโอกาสถวายงานรับใช้ใต้เบื้อง พระยุคลบาทอย่างใกล้ชิดมาหลายทศวรรษ คือ “ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล” เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ดร.สุเมธได้เขียนเล่าไว้ในหนังสือ “ตามรอย พระยุคลบาท...ครูแห่งแผ่นดิน” ว่า “หากถามผมว่า ผมได้รับความประทับใจ อะไรบ้างในการถวายงาน ในฐานะส่วนตัว ผมซาบซึง้ ในพระมหากรุณาธิคณ ุ ทีท่ รงมีตอ่ ตัวผม

และในฐานะเป็นประชาชนคนไทยคนหนึง่ ผมซาบซึง้ ในพระมหากรุณาธิคณ ุ ทีท่ รงมีตอ่ ประชาชนชาวไทย และประเทศชาติ ตั้งแต่ผมถวายงานและตามเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์เสด็จ พระราชดำ�เนินไปทั่วทุกสารทิศ แม้ว่าพระองค์ ทรงเป็นประมุขของประเทศ แต่ผมสังเกตเห็น ความยากลำ�บากที่ทรงตรากตรำ�พระวรกาย ทรงเหน็ดเหนื่อย พระองค์ทรงลุยบุกป่าฝ่าดง ถ้าตรงจุดใดในทั่วราชอาณาจักรไทยมีปัญหา พระองค์ทรงพร้อมที่จะเสด็จฯ ไปแก้ไขด้วย พระองค์เอง ทั้งนี้ไม่ว่าพระองค์จะทรงย่างพระบาท ไปในพืน้ ทีใ่ ดบนผืนแผ่นดินไทย ทุกแห่งคือผืนแผ่นดิน ของพระองค์ และพระองค์คือพระเจ้าแผ่นดินของ ประชาชน และประชาชนทุกหมู่เหล่าไม่ว่าพื้นที่ใด บนแผ่นดินนี้ คือพสกนิกรของพระองค์” สิ่งหนึ่งที่ดร.สุเมธประจักษ์เสมอมา คือ พระอัจฉริยภาพในหลากหลายด้านของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ดร.สุเมธได้ถ่ายทอดไว้อย่างน่าสนใจในหนังสือ เล่มเดียวกันนี้ เกี่ยวกับพระอัจฉริยภาพด้านดนตรี ของพระองค์ว่า นักดนตรีส่วนมากจะถนัดเล่น เพียงไม่กี่ประเภท แต่ว่าพระองค์ท่านทรงดนตรี ได้เกือบทุกประเภทด้วยความชำ�นาญ ทรงได้รับ การประกาศจารึกพระนามไว้ที่สถาบันการดนตรี และศิลปะที่กรุงเวียนนา นับเป็นบุคคลที่ 23 ของโลก POWER MAGAZINE


ที่ได้รับการจารึกชื่อ ณ ที่นั้น อีกทั้งได้ทรงประพันธ์ บทเพลงไว้มากทีเดียว “จะเห็นได้ว่าในยามที่บ้านเมืองเกิดวิกฤตนั้น พระองค์ทรงใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือประกอบการ ปลุกเร้าใจให้เกิดความรักแผ่นดินขึ้นมา เช่น เพลง “เราสู้” ก็ดี “ความฝันอันสูงสุด” ก็ดี เกิดขึ้นในช่วงที่ แผ่นดินของเรานั้นเกิดวิกฤต แม้กระทั่งเพลงรัก ก็ทรงประพันธ์ขึ้นมาเพื่อเตือนสติคนไทยให้กลับมา สนใจเรื่องน้ำ� สภาพแวดล้อม ทะเล ซึ่งนับวันจะมีแต่ มลพิษเผยแพร่ออกไป เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าทุกสิ่ง ทุกอย่างที่ได้ทรงทำ�เกี่ยวกับดนตรี ดูผิวเผินเป็นเรื่อง ของความสนุกสนานรื่นเริง แต่แท้ที่จริงทรงใช้ ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมอยู่ตลอด เวลา ซึ่งเป็นเรื่องที่ประทับใจผมที่สุด คือ พระองค์ ทรงทุ่มเททุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งพระวรกาย พระสติปัญญา พระราชทานพระราชดำ�ริเพื่อ

december 2016 - january 2017

ส่วนรวม เพื่อประเทศชาติ และเพื่อพสกนิกรชาวไทย อยู่ตลอดเวลา แม้กระทั่งเวลาทรงพระเกษมสำ�ราญ ก็ยังทรงนึกถึงประชาชน” ในส่วนของพระอัจฉริยภาพด้านจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพถ่าย ดร.สุเมธกล่าวไว้ว่า “จะเห็นว่าเวลาเสด็จไปที่ไหน ภาพที่เราเห็นอยู่ตลอด เวลา คือ พระองค์ทรงคล้องกล้องถ่ายรูปที่พระศอ อยู่ตลอดเวลา พระองค์รับสั่งว่าไปไหนก็ถ่ายรูป ไว้หมด จะได้เตือนความจำ� เวลานึกถึงภูมิประเทศ ที่ไหน หรือนึกถึงหน้าคนที่ไหนที่เกี่ยวข้องกับงาน พัฒนานั้น ก็สามารถหยิบรูปต่างๆ มาดูได้ เพราะ ฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างที่ทรงทำ� แม้กระทั่งทรงถ่ายรูป เล่นๆ ก็เป็นประโยชน์ในเรื่องการพัฒนาด้วยเช่นกัน นอกจากนั้นพระองค์ทรงถ่ายรูปในเชิงศิลป์ด้วย สมัยก่อนนี้พระองค์จะทรงถ่ายรูปเอง ทรงล้างรูปเอง ทรงอัดเอง ทรงทำ�เป็นหมดทุกอย่าง

ในยามที่บ้านเมืองเกิดวิกฤตนั้น พระองค์ทรงใช้ดนตรี เป็นเครื่องมือประกอบการปลุกเร้าใจ ให้เกิดความรักแผ่นดินขึ้นมา When Thailand was in a crisis, His Majesty employed music to stimulate Thai people’s strength and patriotism

27


His Majesty’s intelligence

ที่สอดคล้องสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่นอย่างมาก พระองค์ทรงนิยมเล่นเรือใบเพื่อได้เรียนรู้ธรรมชาติ เพื่อนำ�มาเป็นประโยชน์ในการพัฒนาชาติบ้านเมือง คิดดูสิครับ แม้กระทั่งทรงเล่นกีฬาก็ทรงนึกถึง ประโยชน์ที่จะได้รับ “พระอัจฉริยภาพอีกด้านหนึ่งที่ปรากฏให้เห็น เป็นที่ประจักษ์ของชาวโลก คือ พระอัจฉริยภาพ ในฐานะนักประดิษฐ์ พระองค์ทรงประดิษฐ์ กังหันน้ำ�ชัยพัฒนาที่นำ�ไปแสดงในงาน “สำ�หรับเรื่องจิตรกรรมนั้น ได้ทรงวาดภาพถึง คุยกับนักแปลหลายคน เขาบอกว่าเมื่อได้อ่านที่ วันนักประดิษฐ์ของโลกที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศ 47 ภาพ ด้านประติมากรรมนั้น ทรงปั้นรูปสมเด็จ พระองค์ได้ทรงแปลแล้ว เห็นว่าแปลอย่างดีเยี่ยม พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และรูปปั้นผู้หญิง ที่สุด แปลอย่างถูกต้อง สไตล์การแปลก็เป็นลักษณะ เบลเยียม ได้รับรางวัลมา 5 รางวัลด้วยกัน นอกจากนั้นยังได้มีการขอพระราชทานกังหันน้ำ� คุกเข่าด้วยดินน้ำ�มัน ซึ่งได้มีการนำ�มาแสดงให้ชม ประจำ�พระองค์ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง “นายอินทร์ ชัยพัฒนาไปตัง้ อยูท่ ส่ี วนสาธารณะโวลูเวแซงค์ ปิแอร์ หลายครั้งหลายหนแล้ว เพราะฉะนั้นไม่ว่าเรื่องอะไร ผู้ปิดทองหลังพระ” หรือเรื่อง “ติโต” ก็ตาม นับเป็น กลางกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม เพื่อบำ�บัด ที่ทรงรู้ ต้องทรงรู้อย่างลึกซึ้ง ทรงรู้อย่างทะลุปรุโปร่ง เรื่องที่ให้ความรู้เป็นอย่างมากจากบทเรียน น้ำ�เสีย ฝรั่งยังให้ความเคารพนับถือพระเกียรติคุณ นั่นคือพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จ แต่ละเรื่องที่ได้ทรงพระราชนิพนธ์ และถ้ามาหา ของพระองค์ ใครผ่านมาก็สนใจ และเขางงเมื่อผม พระเจ้าอยู่หัว เหตุผลว่าทำ�ไมถึงทรงเลือกที่จะทรงพระราชนิพนธ์ บอกว่า สิ่งนี้เป็นสิ่งประดิษฐ์ของพระเจ้าแผ่นดินไทย “อีกด้านหนึ่งที่น่าทึ่งมาก คือ พระอัจฉริยภาพ เรื่อง “นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ” หรือ “ติโต” ด้านภาษาและวรรณศิลป์ ซึ่งยังประโยชน์ให้เกิดขึ้น หรือ “พระมหาชนก” ก็เพราะต่างมีความหมายทั้งสิ้น เขาถามผมว่า “พระเจ้าแผ่นดินมีเวลาคิดหรือ” ผมบอกว่า “มีครับ” เพราะว่าต้องทรงใช้ทุกเวลา กับพสกนิกร ให้เกิดจิตสำ�นึกของความรัก ที่ทรงเลือกเรื่องเหล่านี้เพราะต้องการสื่อบทเรียนสู่ เพื่อบรรเทาทุกข์ของประชาชน” ความหวงแหนภาษาไทย โดยทรงพระราชนิพนธ์ พสกนิกรของพระองค์ทั้งสิ้น” นอกจากนี้ ดร.สุเมธยังยกย่องว่า พระบาท อยู่หลายเรื่องด้วยกัน เช่น พระราชนิพนธ์เรื่อง ดร.สุเมธยังถ่ายทอดถึงพระอัจฉริยภาพด้านกีฬา สมเด็ จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็น “เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิตเซอร์แลนด์” ว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช ปราชญ์ในเรื่องดิน น้ำ� ลม ไฟ พระองค์ทรงมีความรู้ ในเนื้อหาของพระราชนิพนธ์เรื่องนี้มีเรื่องราวต่างๆ ทรงกีฬาหลายประเภท อาทิ เรือใบ แบดมินตัน เรื่องดินทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นดินเปรี้ยว ดินเค็ม แสดงถึงพระราชหฤทัยที่เปี่ยมล้นด้วยความผูกพัน เทนนิส จ็อกกิ้ง ว่ายน้ำ� กอล์ฟ และยิงปืน ดินพังทลาย ดังนั้นจึงได้มีทฤษฎีวิธีการแนวทาง และความห่วงใยที่ทรงมีต่อพสกนิกรของพระองค์ “หลายท่านอาจจะแปลกใจว่าทำ�ไมพระองค์ แก้ปัญหาจากพระองค์ทั้งสิ้น การแก้ไขของ บทพระราชนิพนธ์เรื่อง “พระมหาชนก” สอนเรื่อง ทรงสนพระราชหฤทัยกีฬาเรือใบ ผมเองก็แปลกใจ พระองค์นั้นจะทรงใช้ธรรมะหรือธรรมชาติ ไม่ว่าจะ ความเพียรความอดทน เรื่อง “ทองแดง” สอนเรื่อง เคยกราบบังคมทูลถามว่า ทำ�ไมพระองค์ท่าน ความกตัญญู และทรงมีบทพระราชนิพนธ์ที่ทรงแปล ทรงสนพระราชหฤทัยกีฬาเรือใบ ความจริงนั้นเรือใบ เผชิญปัญหาน้ำ�เสีย ดินพังทลาย หรือเผชิญปัญหา อะไรก็ตาม จะทรงใช้ธรรมะที่ทรงประกาศไว้เมื่อ เรื่องจากภาษาต่างประเทศด้วย ซึ่งไม่ได้แปลแบบ เป็นศิลปะชั้นสูง ร่างกายต้องแข็งแรงอย่างมาก 70 ปีที่แล้ว โดยธรรมะคำ�นั้นยังมีความหมาย นักแปลธรรมดานะครับ แต่ทรงมีสไตล์การแปลที่ ต้องมีความว่องไว เพราะกระแสลมต่างๆ นั้น อีกประการหนึ่ง คือ ธรรมชาติ ทรงนำ�ธรรมชาติ สอดคล้องกับภาษาดั้งเดิมอย่างน่าทึ่งที่สุด ผมเคย พลิกผัน มนุษย์กับธรรมชาตินั้นต้องอยู่ในลักษณะ 28

POWER MAGAZINE


december 2016 - january 2017

29


His Majesty’s intelligence

เข้ามาแก้ไขปัญหาธรรมชาติ ทรงแก้ไขโดยใช้ สิ่งที่มีอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าสามารถใช้สติปัญญาของ มนุษย์นำ�สิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาตินั้นมาดัดแปลงแก้ไข โดยมีระบบบริหารและจัดการ “ผมคิดว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยิ่งใหญ่สมกับที่ต่างประเทศถวายพระราช สมัญญาพระองค์ท่านว่า “Working Monarch-พระเจ้าแผ่นดินที่ทรงงาน” เป็นคำ�ที่ผมคิดว่าไม่มี พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใดในโลกได้รับการถวาย พระราชสมัญญาเช่นนี้เลย มีพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวของเราพระองค์เดียวที่ต่างชาติ ถวายพระราชสมัญญาว่า “Working Monarch” สอดคล้องกับที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยิ่งใหญ่สมกับที่ต่างประเทศ ถวายพระราชสมัญญา พระองค์ท่านว่า “Working Monarch” His Majesty is truly great, befitting the title of a ‘Working Monarch.’

30

ทรงแสดงพระราชอัจริยภาพในเรื่องการบริหาร หลายอย่าง” อย่างไรก็ตาม ดร.สุเมธได้บรรยายทิ้งท้ายว่า การอัญเชิญพระอัจฉริยภาพเรื่องต่างๆ ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาให้ทุกคนรับทราบนั้นยังไม่ครบถ้วน เพราะว่า ยังมีอีกมากเหลือเกินที่ไม่อาจบรรยายได้หมด พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงรักประชาชน ทรงทำ�ทุกอย่างให้แผ่นดินไทย ให้ประชาชนชาวไทย ขณะทีเ่ สด็จฯ แปรพระราชฐาน ได้ทอดพระเนตรเห็นความทุกข์ของประชาชน ประชาชนเมื่อมาเฝ้าฯ รับเสด็จก็จะกราบบังคมทูล ถึงปัญหาต่างๆ ซึ่งพระองค์ทรงรับฟังปัญหาจาก ปากคำ�ของพสกนิกรด้วยพระองค์เอง ทรงเป็น พระเจ้าแผ่นดินที่ทรงรับฟังปัญหา และทรงเข้าไป แก้ไข ไม่ทรงวางเฉย นับตั้งแต่เสด็จขึ้นครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงช่วยเหลือประชาชนไทยมากมายสุดที่จะ พรรณนา ในทุกๆ ด้านที่ประชาชนและประเทศ ประสบปัญหา แม้ขณะประทับอยู่ที่โรงพยาบาล ศิริราช ยังทรงติดตามงานในทุกเรื่องและทุกด้าน ตลอดเวลาทุกวัน Over the past 70 years, Thai people had been familiar with the sight of Their Majesties the King and Queen and their children visiting people and enquiring about their plight with great interest and kindness.

A person who had worked closely with His Majesty throughout those years was Dr Sumet Tantivejkul, Secretary General of Chaipattana Foundation. Here are excerpts of his book Follow the Footsteps of His Majesty, the Country’s Teacher. “I am touched by His Majesty’s kindness to me. I am immensely gratified by his dedication to Thai people and the country. I have followed His Majesty throughout the kingdom. He works very hard and tirelessly ventures out to remote areas. His Majesty reaches troubled areas and solves people’s problems. Every square inch of the country is his home; all of us are his subjects, wherever we live on this soil.” Dr Sumet has always been in awe of His Majesty’s talents in many areas. On His Majesty’s music talent, Dr Sumet wrote in his book that while most musicians could play certain genre, or a few at most, His Majesty could play almost every genre. The world-renowned Institute of Music and Arts of Vienna presented its 23rd honorary membership to His Majesty King Bhumibol. He was the first Asian composer to receive the honour. The royal cypher was inscribed on the marble plaque at the academy. Meanwhile, His Majesty had also composed several songs. “When Thailand was in a crisis, His Majesty employed music to stimulate Thai people’s strength and patriotism. He composed songs such as Rao Su (We Fight) and Kwam Fan An Soong Sood (The Impossible Dream). Even His Majesty’s love songs were written with the objective of creating more awareness on water, environment, sea and pollution among

POWER MAGAZINE


december 2016 - january 2017

31


His Majesty’s intelligence

Thai people. Superficially, His Majesty’s musical pursue was an entertainment, but in fact, it was a tool to improve the country. I am most impressed with how His Majesty’s uninterrupted effort and dedication for the well-being of the Thai people, even in his private time.” His Majesty was also skilled in painting, sculpture and photography. Dr Sumet wrote, “When His Majesty travels, he always has a camera with him. He takes photos of every place he visits so that he can use them as a reminder of the places and people involved. Even the photos he takes leisurely are useful for work on development. His Majesty also takes artistic photos. He takes photos and develops them by himself. “He has painted 47 pictures. For sculptures, His Majesty made a sculpture of Her Majesty the Queen and one of a woman on her knees. His clay sculptures had been exhibited several times. In whatever he does, he is great at it.

32

“Another remarkable aspect is His Majesty’s skills in language and literature. He adopts the skills to instil appreciation of Thai language among Thai people. He wrote several books including From Siam to Switzerland about his experience and love for the people, Phra Mahachanok, which teaches the value of perseverance and Thong Daeng about gratitude; and translated several books. An extraordinary translator, His Majesty has remarkably displayed his own

style while retaining the original essence and meaning. I have spoken to many translators and they all agreed that His Majesty was an excellent translator with a unique style. The examples are Nai In Phu Pid Thong Lang Phra (translated from A Man Called Intrepid) and Tito. We learn a lot from His Majesty’s literary work. His Majesty chose to translate those two books because of the lessons behind the stories. He wanted Thai people to learn about them.”

POWER MAGAZINE


His Majesty’s intelligence

His Majesty would patiently listen to the people’s problems and try to solve them

On sport, Dr Sumet said His Majesty played a lot of sports, such as sailing, badminton, tennis, jogging, swimming, golf and shooting. “You may wonder why His Majesty took up sailing. I was surprised too and I did ask him about it. Sailing is an art form. To sail, you have to be physically fit and fast. It is a sport that requires man and nature to work together as one. His Majesty likes sailing because he wants to learn about nature and uses what he learns for the good of the country. Even in a game, he keeps in mind its benefits for the country.

33 4

Dr Sumet Tantivejkul

พระองค์ทรงรับฟังปัญหาจากปากคำ� ของพสกนิกรด้วยพระองค์เอง ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ทรงรับฟังปัญหา และทรงเข้าไปแก้ ไข ไม่ทรงวางเฉย

“As an avid inventor, His Majesty invented the Chaipattana low speed surface aerator which was on display at the Eureka Exhibition in Brussels, Belgium. The invention received five awards from the Belgian Chamber of Inventors. The aerator was duly installed at Woluve Sainte-Pierre Park in Brussels. Foreigners were surprised to learn that the Thai monarch invented it. They asked me, ‘Did he have time to invent it?’ I said, ‘Yes.’ His Majesty is obsessed with alleviating the people’s hardship.” Dr Sumet described His Majesty as a philosopher on the matters of earth, water,

wind and fire, having a deep understanding about soil – whether acid soil, alkaline soil or soil erosion. His Majesty proposed guidelines to solve those problems, using nature and dhamma approaches. Having declared 70 years ago that he would rule the country with righteousness, His Majesty had kept his words, according to Dr Sumet who added that His Majesty had found clever methods to make use of nature in a systematic way. “His Majesty is truly great, befitting the title of a ‘Working Monarch.’ I don’t think any other king has been given the title by the international community. He has worked hard and shown his capability in management.” Dr Sumet admitted that His Majesty King Bhumibol’s scopes of work for the nation were too excessive for him to know them all. He said His Majesty would patiently listen to the people’s problems and try to solve them, adding that since his accession to the throne, he had done countless things for the country in every aspect. Even when he was hospitalised at Siriraj Hospital, he did not stop working to solve the people’s problems.

POWER MAGAZINE


H i s M a j e s t y ’ s I N TE L L I G E N C E

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีความสนพระราชหฤทัยในดนตรีตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ โดยทรงศึกษาทั้งการเป่าแซกโซโฟน วิชาการดนตรี การเขียนโน้ต และการบรรเลงดนตรี ในแนวทางคลาสสิก

His Majesty King Bhumibol Adulyadej had been interested in music since he was young. He could play saxophone, compose music and play classical music. 34

POWER MAGAZINE


ต่อมาจึงทรงเริ่มฝึกดนตรีแจซ โดยทรงหัดเป่า แซกโซโฟนสอดแทรกกับแผ่นเสียงของนักดนตรีที่ มีชื่อเสียง เช่น จอห์นนี ฮอดจิส และซิดนีย์ เบเชต์ ด้วยพระองค์เอง จนทรงมีความชำ�นาญ นอกจากนี้ ในภายหลังยังทรงฝึกเปียโนและกีตาร์ เพื่อประกอบ การพระราชนิพนธ์บทเพลง และเพื่อทรงดนตรี ร่วมกับวงดนตรีส่วนพระองค์ด้วย ในส่วนของการพระราชนิพนธ์บทเพลงนั้น พระองค์ทรงเริ่มอย่างจริงจังในขณะที่ยังดำ�รง พระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช โดยเพลง พระราชนิพนธ์ในพระองค์ มีทั้งที่ทรงพระราชนิพนธ์ ทำ�นองแล้วจึงโปรดเกล้าฯ ให้แต่งคำ�ร้องในภายหลัง บทเพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ทำ�นองใส่คำ�ร้อง ที่มีผู้แต่งไว้แล้ว และบทเพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ ทำ�นองและใส่คำ�ร้องภาษาอังกฤษด้วยพระองค์เอง โดยรวมมีบทเพลงพระราชนิพนธ์ทั้งสิ้น 48 บทเพลง ทุกเพลงล้วนมีท่วงทำ�นองอันไพเราะ มีเอกลักษณ์ มีเนื้อร้องที่มีคติสอนใจ และมีส่วนสำ�คัญในการ ปลุกปลอบสร้างขวัญกำ�ลังใจให้กับคนไทยได้ ในทุกยุคทุกสมัย หนึ่งในผู้ที่มีโอกาสถวายงานด้านดนตรี และได้รับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทมาอย่างยาวนาน คือ “พลเรือเอก หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช” ทั้งใน

december 2016 - january 2017

ฐานะเป็นองคมนตรี ผู้จัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ และนักดนตรีในวงดนตรี อ.ส. วันศุกร์ ซึ่งเป็น วงดนตรีส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พลเรือเอก หม่อมหลวงอัศนี ได้ถ่ายทอดถึง พระอัจฉริยภาพทางดนตรีของพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชไว้อย่างลึกซึ้ง ในหนังสือ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับ คณะองคมนตรี” ว่า “เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่า พระองค์ท่านทรงเป็น อัครศิลปิน และตามที่ผมเคยได้ฟังพระองค์ท่าน ทรงดนตรีกับนักดนตรีแจซระดับโลก ผมยืนยันได้ว่า ฝีพระหัตถ์ทัดเทียมไม่แพ้พวกเขา มีครั้งหนึ่งทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายเบนนี่ โกลสัน เข้าเฝ้าฯ เล่นดนตรีถวาย ผมเป็นหนึ่งในผู้ที่นั่งฟังอยู่ ตอนหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงแซกโซโฟน สลับกับนายเบนนี่ โกลสัน ผมหลับตาฟังและก็ฟัง ไม่ออกว่า ตอนนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงแซกโซโฟน หรือนายเบนนี่ โกลสันเล่นอยู่ “ก่อนที่ผมจะเข้าเฝ้าฯ เล่นดนตรีถวาย ผมไม่มี ความรู้เกี่ยวกับดนตรีแจซ ซึ่งเป็นดนตรีที่มีชีวิตชีวา และท้าทายสำ�หรับผู้เล่น แต่ที่ผมพอจะเล่นเป็น ในขณะนี้ ก็เนื่องจากฟังและเรียนรู้วิธีเล่นจาก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ได้ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผมเรียบเรียงเสียงประสาน เพลงพระราชนิพนธ์หลายต่อหลายบท ผู้เรียบเรียง เสียงประสานนั้น มีหน้าที่ต้องพยายามเข้าใจเจตนา ของเจ้าของเพลง สำ�หรับเพลงพระราชนิพนธ์นั้น ไม่ใช่ของง่าย เพราะการวางเสียงประสานของ พระองค์ท่าน มีความลึกซึ้งเป็นอย่างยิ่ง การที่ผมทำ� หน้าทีผ่ เู้ รียบเรียงเสียงประสานเพลงพระราชนิพนธ์นน้ั ทำ�ให้ผมมีความรู้ทางดนตรีเพิ่มขึ้นอีกมากมาย” ตลอดเวลาที่ได้มีโอกาสถวายงาน พลเรือเอก หม่อมหลวงอัศนี ยิ่งได้ประจักษ์ในพระอัจฉริยภาพ ของพระองค์ ซึ่งไม่จำ�เพาะในประเทศไทย แต่ยังแผ่ไพศาลไปทั่วโลก “ในช่วงที่คนไทยเฉลิมฉลองการเสด็จขึ้นครอง สิริราชสมบัติครบ 60 ปี กระทรวงวัฒนธรรมและ กระทรวงการต่างประเทศ ได้จัดให้ผมนำ�คณะ นักดนตรีไปแสดงเพลงพระราชนิพนธ์ในต่างประเทศ หลายประเทศ รวมทั้งประเทศในสมาคมอาเซียน ประเทศญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี ทุกแห่งที่เรา ไปแสดง ผู้ที่เข้าชมการแสดงประทับใจในความ ไพเราะเพราะพริ้งของบทเพลงพระราชนิพนธ์ สรุปได้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา ทรงเป็นคีตกวีระดับโลก”

35


Admiral M.L. Usni Pramoj

H i s M a j e s t y ’ s I N TE L L I G E N C E

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช ทรงได้รับการถวายพระเกียรติสูงสุด เมื่อสถาบันการดนตรีและศิลปะแห่งกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ได้ทลู เกล้าฯ ถวายประกาศนียบัตร ชั้นสูง พร้อมถวายพระเกียรติให้ทรงดำ�รงตำ�แหน่ง สมาชิกกิตติมศักดิ์ หมายเลข 23 พร้อมทั้งได้จารึก พระปรมาภิไธยบนแผ่นจำ�หลักหินอ่อนของอาคาร สถาบันเก่าแก่ของยุโรปแห่งนี้ เพื่อแสดงว่าทรงเป็น พระมหากษัตริย์ผู้เปี่ยมด้วยพระอัจฉริยภาพทาง ดนตรีอย่างยิ่ง พระองค์ท่านทรงเป็นชาวเอเชีย พระองค์แรกที่เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสถาบัน ดนตรีที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกแห่งนี้ โดยขณะนั้น มีพระชนมายุเพียง 37 พรรษา พลเรือเอก หม่อมหลวงอัศนี ได้บันทึกทิ้งท้าย ไว้ในหนังสือ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับ คณะองคมนตรี” ว่า “ผมได้รับบทเรียนทางชีวิตจาก พระองค์ท่านอีกมากมายจนเหลือที่จะพรรณนา ถ้าคนไทยทุกคนยึดพระองค์ท่านเป็นแบบอย่าง และศึกษาพระราชดำ�รัสที่พระราชทานในโอกาส ต่างๆ พวกเราก็มีโอกาสเป็นคนที่ดีขึ้น และสังคมไทย ก็มีโอกาสที่จะเป็นสังคมที่ดีน่าอยู่มากขึ้น” 36

Later, His Majesty took up jazz music, starting by playing saxophone along with music on records by top musicians such as Johnny Hodges and Sidney Bechet until he mastered it. He also learned piano and guitar in order to compose songs and play with his personal band. His Majesty began composing songs when his brother was the King of Thailand. Among his royal compositions, there are songs which he composed melodies and had the lyrics written by someone else, songs which he composed melodies to go with available lyrics, and songs which he both composed melodies and wrote lyrics in English. There are 48 royal compositions in total, each of them beautiful, unique, meaningful and uplifting for Thais in any age and time. One of the people who had served His Majesty in terms of music was Admiral M.L. Usni Pramoj, Privy Councillor, Crown Property Manager, and a musician of Aw Saw Wan Sook – His Majesty’s personal band. Admiral M.L. Usni wrote about His Majesty’s talent in music in his book His Majesty and Privy Council. “It is widely acknowledged that His Majesty is a great artist. I have witnessed His Majesty play music with globally renowned jazz musicians. I can confirm that His Majesty played as well as they did. Benny Golson once performed music in His Majesty’s presence and I was among the audience. At one point, His Majesty played saxophone

alternately with Golson. When I closed my eyes, I could not tell which part was played by whom. “Before I played music with His Majesty, I had no knowledge in jazz. Jazz music is vibrant and challenging. I can play jazz music now because I learned from His Majesty. I was honoured to assist His Majesty in many royal compositions as an arranger. As an arranger, I had to understand the meaning of a song as intended by the composer. Royal compositions are not easy to understand – His Majesty’s melodies are very complex. As an arranger for his songs, I gained a lot of musical knowledge.” Throughout the years he had served His Majesty, Admiral M.L. Usni realised His Majesty’s musical talents, which had been widely known not only in Thailand but also around the world. “When Thailand celebrated the auspicious occasion of the 60th anniversary of His Majesty’s accession to the throne, the Ministry of Culture and Ministry of Foreign Affairs asked me to take a group of musicians to perform His Majesty’s royal compositions in various countries – ASEAN countries, Japan and Korea. Wherever we went, the audience was impressed by the beauty of His Majesty’s songs. His Majesty was truly a global musical poet.” His Majesty King Bhumibol received a great honour when the Hochschule für Musik und Darstellende Künst (Academy for Music and Performing Arts) in Vienna, Austria presented him with the Certificate of Bestowal of Honorary Membership. In commemoration of His Majesty’s honorary membership in the institute, the 23rd person so honoured, the royal cypher was inscribed on the stone plaque at the institute along with other renowned honorary members, making him the first Asian ever to receive such an honour. His Majesty was only 37 years old at the time. Admiral M.L. Usni noted in his book, “I had learned so many lessons from His Majesty, beyond explanation. If Thai people could follow His Majesty’s footsteps and understand His Majesty’s royal speeches, we can be better people and the Thai society will be a better place.”

POWER MAGAZINE



H i s M a j e s t y ’ s I N TE L L I G E N C E

38

POWER MAGAZINE


หลังจากจบการแสดงแล้ว ผู้ชมทั้งฮอลล์ ลุกขึ้นยืนปรบมืออย่างกึกก้องและยาวนาน รวมทั้ง ได้รับเสียงตอบรับชื่นชมจากสื่อทั่วประเทศ ในวันที่ 5 ตุลาคม ปีเดียวกันนั้นเอง สถาบัน การดนตรีและศิลปะแห่งกรุงเวียนนา ได้ทูลเกล้าฯ ถวายประกาศนียบัตรและสมาชิกกิตติมศักดิ์ ลำ�ดับที่ 23 แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 นับว่าทรงเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ ที่มีอายุน้อยที่สุด และเป็นชาวเอเชียเพียงผู้เดียว ที่ได้รับเกียรติอันสูงสุดนี้ ครัง้ ทีพ่ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 9 เสด็จนิวัติประเทศไทยในปีพ.ศ. 2494 พระองค์ ประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดตั้ง วงดนตรีส่วนพระองค์ขึ้นเป็นครั้งแรก พระราชทาน ชื่อว่า “วงลายคราม” ประกอบด้วยนักดนตรี สมัครเล่นซึ่งล้วนเป็นพระราชวงศ์ผู้ใหญ่ที่พระองค์ ทรงคุ้นเคยมาแต่ทรงพระเยาว์ ในปีพ.ศ. 2495 กรมประชาสัมพันธ์น้อมเกล้าฯ ถวายเครือ่ งส่งวิทยุก�ำ ลังส่ง 100 วัตต์ ซึง่ มีทง้ั คลืน่ สัน้ และคลื่นยาว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง สถานีวิทยุ อ.ส. (อัมพรสถาน) เพื่อเป็นสื่อกลางให้ ความบันเทิงและสาระประโยชน์แก่ประชาชน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้วงลายคราม ออกอากาศกระจายเสียงร่วมกับวงดนตรีต่างๆ ด้วย ต่อมาทรงเห็นว่า วงลายครามมีนักดนตรีซึ่งเป็น พระราชวงศ์ผู้ใหญ่สูงอายุมากยิ่งขึ้น บางครั้ง พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โครงการสารานุกรมไทยสำ�หรับเยาวชน นอกจากเสด็จฯ ไปทอดพระเนตรสถานที่สำ�คัญของ เล่นดนตรีประเภทเครื่องเป่าไม่ค่อยถนัดแล้ว โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั กรุงเวียนนา ยังทอดพระเนตรโอเปร่า Le Nozze di จึงโปรดเกล้าฯ ให้นักดนตรีหนุ่มๆ มาผสมวง รัชกาลที่ 9 จัดทำ�สารานุกรมไทยสำ�หรับเยาวชนฯ Figaro ของโมสาร์ต ณ โรงอุปรากรแห่งชาติ และใน เล่นร่วมกับวงลายคราม จึงเกิดเป็นวงดนตรี ฉบับกาญจนาภิเษก (พิมพ์ปีพ.ศ. 2542) อ.ส. วันศุกร์ ขึ้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในหมวดที่ 1 พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2507 เมืองหลวงแห่ง รัชกาลที่ 9 ทรงดนตรีรว่ มกับสมาชิกวง อ.ส. วันศุกร์ สำ�คัญ มีใจความด้านดนตรีตอนหนึ่งว่า “มีเรื่องเล่า การดนตรีกไ็ ด้ประจักษ์ถงึ พระอัจฉริยภาพทางดนตรี เพื่อออกอากาศกระจายเสียงทางสถานีวิทยุ อ.ส. ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 กันมาว่า นักดนตรีเอกของโลกได้กล่าวถึง เป็นประจำ�ทุกวันศุกร์ นอกจากนีย้ งั ทรงจัดรายการเพลง ด้วยคอนเสิร์ต “Musikalische Matinee zu Ehren พระปรีชาสามารถในการทรงดนตรีว่า ทรงเลือกแผ่นเสียงเองในระยะแรก และบางครั้ง seiner Majestät des Königs von Thailand” หากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงเป็น ภายในโกลเด้นฮอลล์ของโรงคอนเสิร์ตแห่งเวียนนา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผฟู้ งั โทรศัพท์มาขอเพลง พระมหากษัตริย์ ก็จะต้องทรงเป็นราชานักดนตรี จากวงดนตรีที่กำ�ลังบรรเลงได้ด้วย ของโลก แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ก็ทรงเป็นทัง้ เมื่อวงดนตรีออร์เคสตรา Tonkünstler-Orchester อนิรุทธิ์ ทินกร ณ อยุธยา หนึ่งในสมาชิกวงดนตรี พระมหากษัตริย์ และทรงเป็นนักดนตรีได้พร้อมๆ กัน” Niederösterreich ภายใต้การนำ�ของวาทยกร อ.ส. วันศุกร์ เล่าย้อนถึงวันแรกที่มีโอกาสเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช Heinz Wallberg เริ่มบรรเลงบทเพลงของโยฮันน์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ในปีพ.ศ. มิเพียงทรงดนตรีได้ดหี ลายชนิด ยังทรงพระราชนิพนธ์ สเตราส์ จูเนียร์ คือ Overture from the operetta 2515 ให้ฟังว่า “คุณพ่อ (อุทิตต์ ทินกร ณ อยุธยา) Der Zigeunerbaron, Kaiser Waltz, Pizzicato บทเพลง ทรงเป็นครูสอนดนตรีแก่ข้าราชบริพาร กับพี่ชาย (ธรรมรักษ์ ทินกร ณ อยุธยา) เป็นสมาชิก Polka และ Overture from the operetta Die ใกล้ชิด ทรงซ่อมเครื่องดนตรี อีกทั้งทรงใช้ดนตรี วง อ.ส. วันศุกร์ อยู่ก่อนแล้ว ตอนนั้นนักดนตรีที่เป็น Fledermaus ซึ่งเคยจัดแสดงถวายครั้ง ให้เป็นประโยชน์ทางอ้อมในหลายด้าน อาทิ มือกีตาร์ของวงได้กราบถวายบังคมลาไปเรียนต่อที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสื่อผูกพันสถาบันพระมหากษัตริย์กับนิสิต ต่างประเทศ ผมในตอนนั้นพอเล่นกีตาร์ได้ คุณพ่อ นักศึกษา โดยเสด็จทรงดนตรีเป็นการส่วนพระองค์ เสด็จประพาสเวียนนาเมื่อปีพ.ศ. 2440 จากนั้น เลยพาไปเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มหาวิทยาลัยหลักๆ ของประเทศอยู่นานกว่าสิบปี ได้เล่นบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ คุณพ่อกราบบังคมทูลว่า พาลูกชายมาเล่นกีตาร์เป็น พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 คือ มโนราห์, สายฝน, ครั้นเสด็จพระราชดำ�เนินเยือนต่างประเทศ ยามเย็น มาร์ชราชนาวิกโยธิน และมาร์ชราชวัลลภ ตัวสำ�รอง พระองค์ท่านแย้มพระสรวลและรับสั่งว่า ก็ทรงใช้ดนตรีเป็นสื่อกระชับสัมพันธไมตรีกับ ก็เป็นตัวจริงเลย ผมจำ�ได้วา่ วันนัน้ ผมรูส้ กึ มีความปีติ โดยมีนักร้องเสียงโซปราโน Emmy Loose ขับร้อง นานาประเทศได้อย่างแน่นแฟ้น ดังเช่นครั้งที่ เสด็จประพาสสาธารณรัฐออสเตรียอย่างเป็นทางการ เพลงสายฝน และนักร้องเสียงแบริโทน Otto Wiener เป็นอย่างยิ่ง เพราะเพิ่งเคยได้ยินพระสุรเสียงของ พระองค์เป็นครั้งแรกในชีวิต ขับร้องเพลงยามเย็นในภาษาอังกฤษ ระหว่างวันที่ 29 กันยายน - 6 ตุลาคม พ.ศ. 2507 december 2016 - january 2017

39


H i s M a j e s t y ’ s I N TE L L I G E N C E

“ก่อนหน้าที่คุณพ่อจะพาไปเข้าเฝ้าฯ ผมเล่น ดนตรีแนวร็อกมาตลอด อย่างเพลงของเดอะ บีเทิลส์ และเดอะ ชาโดว์ส แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงดนตรีแนวแจซ บลูส์ ซึ่งคนละทางกับที่ผมเล่น แล้วเวลาผมเล่นก็ใช้หูฟังแกะแทร็คเอา พอมาเล่น วงบิ๊กแบนด์ ต้องเล่นเป็นจังหวะ เล่นโน้ต ครั้งแรกที่ ถวายงาน ผมมือสั่นไปหมด เพราะไม่รู้ว่าตัวเอง เล่นดังเกินไปไหม ปกติเพลงร็อกที่ผมเล่นจะค่อนข้าง เสียงดัง ผมเลยไม่มั่นใจว่าตัวเองเล่นดังเกินไปไหม ยิ่งพอวางโน้ตแล้วยิ่งตกใจ เพราะผมไม่เป็นโน้ต ผมกลับไปต้องรีบซื้อหนังสือมาฝึกเล่นโน้ต เรียนรู้ด้วยตัวเอง แต่พระองค์ก็ทรงพระเมตตา พระราชทานคำ�แนะนำ�ให้ผมมาโดยตลอด อย่างผม เล่นกีตาร์ พระองค์รับสั่งว่า การใช้คอร์ดพวกเพลง จังหวะดิก๊ ซี่ จังหวะต้องแม่น ต้องกระชับ เป็นจังหวะๆ เครื่องเป่าจะแอดลิบ (Ad-lib หรือ Improvise คือ เล่นสดโดยไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน) ได้ง่าย เพราะคนที่จะเป่าแอดลิบ จะต้องฟังจังหวะ นี่แสดงให้เห็นว่าพระองค์มีพระปรีชาสามารถและ ทรงละเอียดอ่อนมากในเรื่องดนตรี บางครั้ง ผมเล่นผิด แต่พระเจ้าอยู่หัวไม่เคยกริ้วเลย พระองค์ ทรงให้กำ�ลังใจ เมื่อเล่นเสร็จแล้วจะรับสั่งว่าวิธีการ ควรเป็นอย่างไร เสียงควรจะเป็นแบบไหน ซึ่งทำ�ให้ ผมมีความมั่นใจขึ้น” วงดนตรี อ.ส. วันศุกร์บรรเลงสดออกอากาศ ทางสถานีวทิ ยุ อ.ส. ทุกวันศุกร์ เวลา 18.00-20.00 น. ในระยะหลังที่ไม่ได้บรรเลงสดออกอากาศ คณะนักดนตรียังเข้าเฝ้าฯ ถวายงานเป็นประจำ� ในแต่ละครัง้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 9 จะทรงดนตรีกับวง อ.ส. วันศุกร์ ประมาณ 2 ชั่วโมง “บางครั้งพระองค์เสด็จฯ กลับจากไปเยี่ยม ราษฎรตามต่างจังหวัด ทรงถือแผนที่กับกระเป๋า เข้ามา หลังจากนั้นประทับพักผ่อนสักครู่ ทรงค่อยนำ�เครื่องดนตรีออกมาประกอบเอง ทรงดนตรีทั้งๆ ที่พระองค์ก็คงจะเหนื่อย แต่เวลาที่ พระองค์ทรงดนตรี พระพักตร์จะสดชื่นมีความสุข เพราะว่าเสียงดนตรีเป็นเหมือนพระโอสถที่ทำ�ให้ พระองค์ทรงแช่มชื่น “นอกจากนั้น พอเวลาที่ทรงดนตรีเสร็จแล้ว ระหว่างเสวย พระองค์จะรับสั่งเรื่องเกี่ยวกับงาน วันนั้น เช่น เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรระดับน้ำ� ในเขื่อน ประชาชนที่บ้านเรือนถูกน้ำ�ท่วมเสียหาย เป็นอย่างไร จะทรงหาวิธีแก้อย่างไร แก้มลิง ทำ�อย่างไร กั้นอย่างไร ปิดอย่างไร ช่วงที่ไม่มี ปัญหาอะไรในบ้านเมือง พระองค์จะทรงเปิดเทป ธรรมะของพระอาจารย์ทางสายอีสานอย่าง อาจารย์วัน (หลวงปู่วัน อุตฺตโม) อาจารย์ชา (หลวงปู่ชา สุภทฺโท) อาจารย์สิงห์ทอง (หลวงปู่ สิงห์ทอง ธมฺมวโร) อาจารย์ฝั้น (หลวงปู่ฝั้น อาจาโร) ให้สมาชิกในวงฟัง ทำ�ให้เรารู้สึกประทับใจ ที่พระองค์ทรงไม่ปล่อยเวลาให้หายไปเฉยๆ พระองค์ทรงทำ�ทุกอย่างสม่ำ�เสมอ เอาจริงเอาจัง 40

งานที่ออกมาจึงประสบผลสำ�เร็จ สิ่งที่พระองค์ ทรงปฏิบัติ ทรงมีตารางเวลา เป็นระเบียบ สังเกต ดินสอ แผนที่ และเครื่องใช้ต่างๆ ทุกอย่างเป็น ระเบียบ เวลาพระองค์ทรงดนตรีเสร็จ จะทรงเช็ด เครื่องดนตรีเองทุกซอกทุกมุมก่อนจะวางเก็บ พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีมากในเรื่องการใช้ชีวิต ที่เป็นระเบียบ เรื่องความเรียบร้อย “สิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ผมถือคติ 3 ข้อ 1. ใฝ่รู้ คือพระองค์ ทรงงานมาตลอด ทรงใฝ่รู้ทุกเรื่อง แล้วก็รู้ลึก รู้จริง เรียนรู้ ทั้งเรื่องการเกษตร วิศวกรรม ศาสนา ทรงนำ�มาประยุกต์ใช้ และทรงสอนให้พสกนิกรทำ� ทรงปฏิบัติเป็นแบบอย่าง 2. พอเพียง พระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้แบบพอเพียง ธรรมดา ทรงไม่ประสงค์ สิ่งแปลกใหม่หรือราคาแพง อันไหนซ่อมได้ก็ซ่อม 3. ความกตัญญู พระองค์ทรงกตัญญูต่อสมเด็จย่า ทรงเฝ้าตลอด เสด็จฯ ตอนกลางคืนเพื่อไม่ให้ เป็นการเดือดร้อน ไม่ให้รถติด ความกตัญญูของ พระองค์เป็นตัวอย่างให้พสกนิกรได้เป็นอย่างดี “ที่ผมพูดมานี้เป็นเพียงส่วนปลีกย่อยเท่านั้น จริงๆ พระองค์ทรงงานเพื่อประโยชน์สุขของ ประชาชนทั้งแผ่นดินมากมายเหลือเกิน เราโชคดี ที่มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นเหมือน พ่อผู้ยิ่งใหญ่ของแผ่นดิน และที่พระองค์รับสั่งบ่อยๆ เรื่องการทำ�ความดี สำ�หรับพวกเราและคนรุ่นหลัง ก็ต้องถือเป็นการสืบสานพระราชปณิธานของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่อยากให้ทุกคน เป็นคนดีในสังคม” The Thai Encyclopedia for Youth Project at His Majesty King Bhumibol Adulyadej’s initiatives produced the Golden Jubilee edition of encyclopedia for children (printed in 1999) on the topic of His Majesty’s biography and royal duties. On music, the book says, “A great musician once said His Majesty could have been the king of

music if he was not the king (of Thailand). However, His Majesty has been a king as well as a musician.” His Majesty King Bhumibol played several musical instruments and composed songs, taught music to court officials, fixed musical instruments and indirectly employed music as a tool for various activities, such as enhancing the relationship between students and the monarch. His Majesty had performed music at leading universities for more than a decade. On his overseas trips, His Majesty adopted music as a tool to strengthen relationship with various countries. During his state visit to the Republic of Austria on September 29-October 6, 1964, His Majesty the King, accompanied by Her Majesty Queen Sirikit, attended a performance of Wolfgang Amadeus Mozart’s “Le Nozze di Figaro” at the Vienna State Opera. At the “Musikalische Matinee zu Ehren seiner Majestät des Königs von Thailand” concert, held in the Golden Hall of the Musikverein in Vienna on October 3, the TonkünstlerOrchester Niederösterreich under the baton of Heinz Wallberg honoured His Majesty by playing several of his compositions. The programme started with compositions by Johann Strauss Jr: Overture from the operetta Der Zigeunerbaron, Kaiser Waltz, Pizzicato Polka and Overture from the operetta Die Fledermaus which had been performed for King Chulalongkorn (Rama V) during his state visit to Vienna in 1897. The second part of the programme included

POWER MAGAZINE


พระองค์มีพระปรีชาสามารถ และทรงละเอียดอ่อนมากในเรื่องดนตรี บางครั้งผมเล่นผิด แต่พระเจ้าอยู่หัวไม่เคยกริ้วเลย He was talented and detailed about music. He was never frustrated when I made mistakes

december 2016 - january 2017

join the group which was later evolved to a new band – Aw Saw Wan Suk (Friday). His Majesty performed music with the band on the radio every Friday. He also hosted his own music programme, choosing his own songs and sometimes inviting listeners to call in to ask for their favourites. Recalling his first audience with His Majesty in 1972, Aniruth Tinnakorn Na Ayutthaya, an Aw Saw Wan Suk member, said, “My father (Utit Tinnakorn Na Ayutthaya) and brother (Thammarak Tinnakorn Na Ayutthaya) were members of the band. At the time, the guitarist of the band left to study abroad. I could play guitar; so my father took me to an audience with His Majesty. My father told His Majesty that I would be a part-time guitarist for the band. His Majesty smiled and said I could be the band’s full-time guitarist. I was elated. It was the first time I heard His Majesty’s voice.” “Earlier, I played rock and roll music, such as songs by The Beatles and The Shadows. His Majesty was more interested in jazz and blues. When I played on my own, I would

Aniruth Tinnakorn Na Ayutthaya

the Manohra Ballet (excerpt), Falling Rain (Sai Fon), Love at Sundown (Yam Yen), Royal Marine March (March Raja Nawikayothin) and Royal Guards March (March Raja Wanlop). Emmy Loose, an Austrian operatic soprano of Czech origin, sang Falling Rain followed by the Austrian Baritone Otto Wiener who sang Love at Sundown in English. The performance was given a long standing ovation and compliments from the media there. On October 5, 1964, the Akademie für Musik und darstellende Kunst Wien presented His Majesty with the Certificate of Bestowal of Honorary Membership. The 23rd person to be presented the honorary membership, His Majesty was the youngest honorary member and the first Asian to receive the honour. Upon his return to Thailand in 1951, His Majesty resided at the Amphorn Sathan Residential Hall in Dusit Palace and formed a musical band under the name Lai Kram, the members of whom were His Majesty’s close relatives from childhood. In 1952, the Department of Public Relations provided two units of 100 watt, small-sized radio broadcast, both long wave and short wave, to His Majesty King Bhumibol. He launched the Aw Saw (Amphorn Sathan) radio station to provide entertainment and useful information to the Thai people. He allowed Lai Kram band to perform for radio broadcast with other musical bands. Realising that some Lai Kram musicians were later too old to play brass instruments, he invited younger members to

simply guess the chords with my hearing instinct. In a big band, I had to learn the rhythms and notes. The first time I played with His Majesty, I was very nervous. I didn’t know if I was too loud since rock music was loud. I was not very good at reading notes. I had to practice and learn on my own but His Majesty kindly gave me advice. His Majesty explained that Dixie rhythms were precise and fast, whereas brass instrument players would improvise while listening to the rhythm. He was talented and detailed about music. He was never frustrated when I made mistakes but would rather encourage or advise me. It boosted my confidence.” Aw Saw Wan Suk played live on the radio at 6-8pm every Friday. Though the live performance was later suspended, His Majesty regularly played with the band, about two hours in each session. “His Majesty sometimes played music with us after visiting people in rural areas. He carried maps and bags with him. He took a brief rest and polished his instruments before playing. He could be tired but he looked happy when he played music.” “During his meal after the music session, he would talk about his days such as his visit to reservoirs, flood-hit people, or finding solutions to the people’s problems. He also talked about the construction of reservoirs fondly called ‘monkey cheeks.’ Sometimes he would listen to dhamma preachings by monks in the Northeast such as Ajarn Wan (Wan Uttamo), Ajarn Cha (Cha Supatto), Ajarn Singthong (Singthong Thammavaro) and Ajarn Fan (Fan Ajaro) with the band members. He did not let time pass idly. He always had pencils, maps and other tools orderly sorted. After he finished playing music, he would carefully clean the instrument before keeping it. He was the perfect example for discipline and order. “I learned three things from His Majesty – eagerness to learn as he was always learning and interested in everything, from agriculture and engineering to religion; sufficiency as he led a simple life; and gratitude as he showed great gratitude towards the Princess Mother. “These are just some of what His Majesty had done for the country. We are blessed to have had him as the father of our country.”

41


His Majesty’s intelligence

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีบทบาทด้านงานศิลปะในฐานะอัครศิลปิน ด้วยผลงานศิลปะ อันทรงคุณค่ามาอย่างต่อเนื่องและหลากหลายสาขา ทั้งในด้านทัศนศิลป์ ดุริยางคศิลป์ วรรณศิลป์ และนฤมิตศิลป์ His Majesty King Bhumibol Adulyadej was an artist who had created many pieces of art in various fields -- fine art, music, literature and creative art.

พระองค์ทรงศึกษาค้นคว้าและสร้างสรรค์ผลงานด้วยพระองค์เองมาตั้งแต่ ยังทรงพระเยาว์ และเริ่มมีผลงานศิลปกรรมฝีพระหัตถ์เผยแพร่สู่สาธารณชน ตัง้ แต่พ.ศ. 2489 ด้วยบทเพลงพระราชนิพนธ์ และภาพถ่ายฝีพระหัตถ์จ�ำ นวนมาก ต่อมาได้ทรงงานจิตรกรรมฝีพระหัตถ์รวมกว่า 100 องค์ เรือใบฝีพระหัตถ์ อีกหลายลำ� และพระราชนิพนธ์อีกหลายเรื่อง นอกจากนี้พระองค์ยังทรง สนพระราชหฤทัยงานด้านคอมพิวเตอร์ และทรงนำ�มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ และสร้างงานในโครงการต่างๆ รวมไปถึงได้พระราชทานแนวพระราชดำ�ริ ในการสร้างสรรค์ศิลปกรรมผ่านศิลปินไทยที่ประสานความเป็นไทยร่วมกับ ความร่วมสมัยได้อย่างกลมกลืน เช่น ภาพประกอบพระราชนิพนธ์เรื่อง “พระมหาชนก” และภาพจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถาน เป็นต้น 42

1 ใน 8 ศิลปินที่มีโอกาสถวายงานวาดภาพประกอบพระราชนิพนธ์เรื่อง “พระมหาชนก” คือ “ศาสตราจารย์ปรีชา เถาทอง” ศิลปินแห่งชาติ สาขา ทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ในครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช มีพระราชประสงค์ให้ผลงานพระราชนิพนธ์เกิดประโยชน์สมบูรณ์ ทั้งด้านเนื้อหาและศิลปะอย่างแท้จริง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศิลปิน 8 คนร่วมสร้างสรรค์งานศิลปะอันทรงคุณค่าประกอบในหนังสือ “ผมเองรับหน้าที่วาดใน 5 บทสุดท้าย ตั้งแต่บทที่ 33-37 ซึ่งเป็นบทที่ พระองค์ท่านทรงสอดแทรกแนวพระราชดำ�ริเกี่ยวกับเรื่องการเมือง สิ่งแวดล้อม ปัญหาสังคม ไว้ในพระราชนิพนธ์ค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ ไม่เคยปรากฏ ในชาดก เพราะฉะนัน้ การตีความจึงเป็นเรือ่ งค่อนข้างยาก และด้วยความยากนีเ้ อง POWER MAGAZINE


ทำ�ให้ผมเป็นศิลปินที่ถูกแก้ไขงานมากที่สุด แก้อยู่หลายครั้งจึงต้อง พระราชประสงค์ ซึ่งมีข้อดีคือ ทำ�ให้ผมได้มีโอกาสเข้าเฝ้าฯ พระองค์ท่าน หลายครั้ง และได้ประจักษ์ในพระอัจฉริยภาพของพระองค์ ไม่จำ�เพาะด้านศิลปะ แต่ยังทรงเป็นต้นแบบของการเป็นครูผู้ยิ่งใหญ่ “ความท้าทายในการทำ�งานของผมในเวลานั้น คือ จะตีความอย่างไรให้ เป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระองค์ท่าน ซึ่งทรงเป็นเจ้าของบทประพันธ์ ทรงใส่สัญลักษณ์และนัยต่างๆ สอดแทรกเข้าไป บางครั้งอาจจะแค่ประโยค สองประโยค คำ�สองคำ� แต่ก็มีความหมายลึกซึ้ง ยกตัวอย่าง กรุงมิถิลา เราอาจ ตีความได้ว่านี่หมายถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ตัวละครอย่างคนเลี้ยงช้าง เลี้ยงม้า จนถึงอุปราช อาจตีความได้ว่าหมายถึงชาวไร่ ชาวนา คนทุกระดับชั้น ไปจนถึง รัฐมนตรี ที่เต็มไปด้วยอวิชชา (ความไม่รู้) และโมหะภูมิ” การมีโอกาสถวายงานอย่างใกล้ชิด ทำ�ให้ศาสตราจารย์ปรีชาประจักษ์ว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีความเป็นครูที่ ประเสริฐ ทรงพระเมตตาเป็นล้นพ้น พระองค์ใส่พระราชหฤทัยว่าจะรับสั่ง อย่างไรเพื่อไม่ให้เหล่าศิลปินเกิดความรู้สึกเสียหน้าหรือเสียความรู้สึก ในการแก้แบบ “พระองค์ท่านจะไม่ทรงติ แต่ทรงตั้งข้อสังเกตว่า ระหว่างสองแบบนี้ สิ่งไหน จะดีกว่ากัน รับสั่งว่างานศิลปะเป็นการสะท้อนความรู้สึกจากจินตนาการ ความจริงใจ ความบริสุทธิ์ แต่ต้นร่างที่เป็นแรงบันดาลใจยังต้องชัดเจน หลายครั้งที่งานตีความออกมาผิดพลาด จะรับสั่งว่าเป็นเพราะความไม่รู้ อย่างตอนที่ศิลปินทั้งแปดต้องเขียนภาพปู ซึ่งเป็นฐานประทับของพระมหาชนก อันเป็นสัญลักษณ์สะท้อนถึงความเพียรที่บริสุทธิ์ เหล่าศิลปินถ่ายทอดออกมา โดยไม่รธู้ รรมชาติของปูทแ่ี ท้จริง พระองค์ทา่ นก็ทรงเมตตา ทรงเย้าศิลปินทุกคนว่า แสดงว่าเคยเห็นแต่ปูอบวุ้นเส้น ไม่เคยเห็นปูในธรรมชาติจริงๆ รับสั่งถามว่า december 2016 - january 2017

เคยได้ยินคำ�พูดที่ว่า “ปูวางก้ามหรือไม่” ความจริงแล้วมาจากธรรมชาติของปู ที่ตาสู้แสงไม่ได้ เวลาเดินจึงต้องยกก้ามบังแสงไว้ สิ่งเหล่านี้ล้วนสะท้อนถึง ความละเอียดของพระองค์ท่าน ทรงรอบคอบ” นอกจากจะได้มีโอกาสเป็นหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ในฐานะศิลปิน ผู้วาดภาพประกอบพระราชนิพนธ์ถวาย ศาสตราจารย์ปรีชายังถ่ายทอดถึง อีกครั้งของความภาคภูมิใจ ที่ได้มีโอกาสถวายงานในฐานะที่ปรึกษาในโครงการ สร้างสรรค์จิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถาน ตามแนวพระราชดำ�ริ ในรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นอีกครั้งที่เขาได้ประจักษ์ในพระอัจฉริยภาพด้านศิลปะของ พระองค์ ที่ไม่เพียงพระราชทานแนวทางให้กรมศิลปากรดำ�เนินการเขียนภาพ จิตรกรรม แต่ยังทรงอุปถัมภ์บำ�รุงและรักษาภูมิปัญญาศิลปะอันเป็นมรดก ของชาติมิให้สูญหาย เพื่อชาวไทยรุ่นหลังได้ภาคภูมิใจ “ในครั้งนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมศิลปากรเขียนจิตรกรรมฝาผนัง ณ พระพุทธรัตนสถาน บริเวณพื้นที่ระหว่างช่องพระบัญชรจำ�นวน 8 ช่อง โดยผสานศิลปกรรมที่อนุรักษ์กรรมวิธีดั้งเดิม สอดประสานกับวิวัฒนาการตาม ยุคสมัย ด้วยทรงเห็นว่าภาพจิตรกรรมที่มีอยู่เดิมในพระอุโบสถไม่สอดคล้องกับ ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ปรากฏอยู่ด้านบนซึ่งเขียนไว้ในสมัยรัชกาลที่ 4 จึงโปรดให้นำ�ภาพจิตรกรรมฝาผนังของเดิมไปเก็บที่พิพิธภัณฑ์ และโปรดเกล้าฯ ให้วาดขึ้นใหม่ 8 ภาพ “เมื่อมีโอกาสเข้าเฝ้าฯ พระองค์ท่านพระราชทานแนวพระราชดำ�ริในการ วาดภาพจิตรกรรมฝาผนัง ผมฟังไปก็สเก็ตช์ภาพแบบเร็วๆ ไปตามที่ พระองค์ท่านรับสั่ง ปรากฏว่าผู้ใหญ่ที่เข้าเฝ้าฯ ด้วยเห็นว่าผมสเก็ตช์ภาพตาม จึงนำ�ไปถวายพระองค์ทา่ น เมือ่ ทอดพระเนตร ปรากฏว่าพระองค์พอพระราชหฤทัย เป็นอย่างมาก รับสั่งว่าผมเข้าใจในพระราชประสงค์ทั้งหมด ซึ่งสำ�หรับผม นั่นคือ ความภาคภูมิใจที่ไม่รู้ลืมในชีวิต” 43


His Majesty’s intelligence

ตราบจนวันนี้ ศาสตราจารย์ปรีชาไม่ต่างจากคนไทยทั้งประเทศที่ซาบซึ้ง ในพระมหากรุณาธิคุณของพ่อหลวงของปวงชนชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้ เขาย้อนไปถึงความประทับใจเมื่อครั้งพระองค์ท่านเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ และได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” นับแต่วันนั้นพระองค์ได้สืบสาน พระราชปณิธาน เสด็จพระราชดำ�เนินไปเยี่ยมเยียนพสกนิกรทั่วทุกแห่งหน เพื่อค้นหาต้นเหตุแห่งความทุกข์ของราษฎร และช่วยขจัดความทุกข์ สร้างความสุขให้มหาชนชาวสยาม “ทรงค้นพบว่า ต้นตอของความทุกข์ คือ ความซ่อนเร้น ความยากไร้ และ ความไม่รู้ ตลอดรัชสมัยของพระองค์ ทรงทุ่มเทพระวรกายเพื่อช่วยเหลือพสกนิกร ผ่านโครงการตามแนวพระราชดำ�ริมากมาย รวมทั้งพระราชทานคำ�สอนและ แนวพระราชดำ�ริต่างๆ ผ่านผลงานด้านศิลปวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพ ชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้น สำ�หรับผม การเสด็จสวรรคตของพระองค์ท่านถือเป็น เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ผมหวังว่า จากนี้พสกนิกรไทยจะเริ่มตระหนักเสียทีว่า ถึงเวลาแล้วที่เราน่าจะทำ�สิ่งใดที่เป็นการสานต่อเจตนารมณ์ของพระองค์ท่าน ที่ทรงสั่งสอนพวกเรา ทรงเป็นแบบอย่างไว้มากมายหลายเรื่อง จนทั่วโลกต่าง ยอมรับและประจักษ์ในพระปรีชาสามารถ” ศาสตราจารย์ปรีชากล่าวทิ้งท้าย

44

His Majesty researched and created his own works ever since he was young. His works were exhibited in 1946, starting with his royal compositions and photographs, and followed by more than 100 paintings, sailboats and literature. His Majesty was also interested in computer and used it to develop various arts and in his projects. His Majesty had offered guidelines on creating art, combining traditional Thai art with contemporary art. An example

1

2

3

4

5

6

7

8

จิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถาน ตามแนวพระราชดำ�ริ 1. ภาพร่างสีต้นแบบ ช่องที่ 1 รัชกาลที่ 4 2. ภาพร่างสีต้นแบบ ช่องที่ 2 รัชกาลที่ 4 3. ภาพร่างสีต้นแบบ ช่องที่ 3 รัชกาลที่ 5 4. ภาพร่างสีต้นแบบ ช่องที่ 4 รัชกาลที่ 6 5. ภาพร่างสีต้นแบบ ช่องที่ 5 รัชกาลที่ 7 6. ภาพร่างสีต้นแบบ ช่องที่ 6 รัชกาลที่ 8 7. ภาพร่างสีต้นแบบ ช่องที่ 7 รัชกาลที่ 9 8. ภาพร่างสีต้นแบบ ช่องที่ 8 รัชกาลที่ 9

POWER MAGAZINE


would be the illustration of Phra Mahachanok and the mural paintings of Phra Phuttarattanasathan. One of the eight artists who worked on illustration for Phra Mahachanok was Professor Preecha Thaothong, Thailand’s National Artist in Visual Art. His Majesty wanted the story to achieve its goals in terms of content and presentation, so he asked the eight artists to draw for the book. “I was responsible for the last five chapters, Chapter 33-37, in which His Majesty added lessons on politics, environment and social issues. Such lessons had never been included in stories about the Buddha’s lives, and they were quite difficult to interpret. As a result, my illustrations had to be fixed again and again. It was good because I had a chance to meet His Majesty several times and experienced his brilliance in art and his greatness as a teacher.” “The challenge at the time was to interpret the story in the way His Majesty intended. He had added symbolism and hidden meaning. A small word could have a great meaning. For instance, when he talked about the city of Mithila, I could interpret it as Rattanakosin. The various characters – elephant keepers, horse keepers and viceroys – were interpreted as the general people from farmers to ministers, all of whom lived in ignorance and emotions.” Having worked closely with His Majesty, Preecha learned that the King was a great teacher who was kind and considerate. He knew how to choose his words so as not to hurt the artists’ feelings. “His Majesty would not criticise – he would compare two things and said which one was better. He said that art was a reflection of

december 2016 - january 2017

45


His Majesty’s intelligence

Preecha is deeply touched by His Majesty’s kindness shown to the Thai people. He recalled His Majesty’s impressive speech as he ascended to the throne, saying “I shall reign with righteousness for the benefit and happiness of the Siamese people.” Since that day, His Majesty had visited people all over the country to find the roots of their problems and solve them, remaining true to his promise, according to Preecha. “His Majesty discovered that the roots of all problems were inaccessibility, poverty and ignorance. Throughout his reign, he had worked hard to help his people and taught us through art and culture, to improve our quality of life. For me, His Majesty’s passing was a historic moment. I hope that the Thai people will carry on His Majesty’s legacy and practice what he had preached and set an example for.”

Professor Preecha Thaothong

imagination, sincerity and purity. However, the concept must be clear. Sometimes the interpretation was wrong, and His Majesty said it was because of a misunderstanding. Eight of us had to draw a crab, the foundation of Phra Mahachanok’s residence and a symbol of perseverance. The artists did not understand the nature of real crabs. His Majesty joked that perhaps we’d only seen crabs cooked in vermicelli, not alive ones in nature. He said that crab’s eyes could not see well in bright light, so it has to use its claws as shields. This showed his attention to details.” In addition to drawing for the special book for His Majesty, Preecha was also honoured to draw the murals of Phra Phuttarattanasathan. Once again, he had a chance to witness His Majesty’s remarkable intellect. He not only guided the Department of Fine Arts to work on the murals, but he also helped conserve our country’s art for the future generations. “His Majesty ordered the Department of Fine Arts to create mural paintings at Phra Phuttarattanasathan on eight windows, using traditional Thai art and contemporary art. His Majesty felt that the existing murals did not go well with the ones drawn during the reign of King Rama IV. He asked the old ones to be stored at a museum and eight new ones be painted in their places. “When I had an audience with His Majesty to listen to his guidelines on these paintings, I did a quick sketch based on what he had said. The officials presented my sketch to His Majesty, and he liked it. His Majesty said I fully understood what he wanted. For me, that’s the proudest moment in my life.”

46

POWER MAGAZINE




His Majesty’s intelligence

ท้องฟ้าเหนืออ่าวพัทยาห่มคลุมไปด้วย เมฆขาวโพลนจนแทบเป็นผืนเดียวกับท้องทะเล พยากรณ์อากาศวันนั้นแจ้งว่า มีลมแปรปรวน ทะเลเรียบถึงมีคลื่นเล็กน้อย มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ไม่ใช่ทศั นวิสยั ทีด่ นี กั ต่อการออกเรือใบ หากบรรยากาศ ภายในห้องอาหารหน้าสโมสรเรือใบราชวรุณ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่เปิดโล่งสู่อ่าวอันเงียบสงบ ในผืนทะเล กำ�ลังเย็นสบายเป็นใจต่อการนั่งสนทนา เรื่องเรือใบ ย้อนไปอ่าวพัทยาเมื่อ 49 ปีที่แล้ว ประเทศไทย เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาแหลมทอง (ปัจจุบัน คือกีฬาซีเกมส์) ครัง้ ที่ 4 ระหว่างวันที่ 9-16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ประวัติศาสตร์กีฬาโลกบันทึกว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี (พระอิสริยยศในขณะนั้น) ทรงสมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นนักกีฬาทีมชาติไทย ในกีฬาเรือใบอย่างถูกต้องตามขั้นตอนเช่นเดียวกับ นักกีฬาคนอื่น ด้วยพระปรีชาสามารถทรงได้รับการ คัดเลือกเป็นนักกีฬาเรือใบทีมชาติไทย ทรงแข่งขัน เรือใบประเภทโอเค เป็นเวลา 3 วันที่อ่าวพัทยา วันแรกมีกระแสลมแรงกว่าปกติ วันที่สองมีพายุจัด december 2016 - january 2017

เรือของผู้เข้าแข่งขันหลายลำ�ถูกลมพัดจนล่ม เรือพระที่นั่งล่มอยู่หลายครั้ง แต่ทรงอุตสาหะกู้เรือ ขึ้นมาแข่งขันต่อจนเข้าเส้นชัยเป็นที่ 1 โดยมี พระราชดำ�รัสว่า ได้รับความหนาวเหน็บทรมานกาย ที่สุด แต่ก็อยากทำ�ตัวเป็นนักกีฬาที่ดี และอดทน เหมือนคนอื่นๆ ซึ่งเมื่อผลคะแนนรวมออกมา ปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มีคะแนนเท่ากันกับสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า อุบลรัตนราชกัญญาฯ คณะกรรมการจัดการแข่งขัน จึงถวายชัยชนะอันดับที่ 1 แด่ทั้งสองพระองค์ และทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญทอง จากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวันพิธีปิดการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 เมือ่ วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ณ สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ ภายหลังคณะรัฐมนตรี มีมติให้กำ�หนดเอาวันที่ 16 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันกีฬาแห่งชาติ นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นนักกีฬา อย่างแท้จริง ทรงสนับสนุนกีฬาอย่างมาก และทรง เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลกที่ทรง ได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญดุษฎีกิตติมศักดิ์ โอลิมปิกสากล “อิสริยาภรณ์โอลิมปิกชัน้ สูงสุด” (ทอง)

ในวาระการประชุมใหญ่คณะกรรมการโอลิมปิก สากล ครั้งที่ 92 ที่เมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกี ในปีพ.ศ. 2530 โดยมีนายฮวน อันโตนีโอ ซามารานซ์ ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล เป็นประธาน มีสมาชิกเข้าร่วมการประชุม 87 ประเทศ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชทรงสนพระราชหฤทัยและโปรดทรงกีฬา หลายประเภทตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ มิได้โปรดแต่ กีฬาที่ใช้พละกำ�ลังอย่างเดียว โปรดกีฬาที่ต้องอาศัย เทคนิค ไหวพริบ ความละเอียดอ่อน มาประยุกต์กับ ความรู้ ความสามารถรอบตัว และทรงปฏิบัติอย่าง ถูกต้องตามหลักการทางวิทยาศาสตร์การกีฬา ด้วยมีพระราชประสงค์ให้วิทยาศาสตร์การกีฬาซึ่งมี คุณประโยชน์ต่อชีวิตและสุขภาพเป็นที่แพร่หลาย โดยทรงศึกษา ทรงทดลองปฏิบัติด้วยพระองค์เอง ทรงเป็นนักกีฬาอย่างเต็มพระองค์ และทรงประดิษฐ์ อุปกรณ์ทางการกีฬา โดยเฉพาะเรือใบ กีฬาที่ พระองค์โปรดเป็นพิเศษ แต่เป็นกีฬาที่มีอุปกรณ์ ราคาแพง จึงทรงต่อเรือใบด้วยพระองค์เอง ทรงศึกษา แบบแปลนข้อบังคับของเรือแต่ละประเภทจากตำ�รา ต่างๆ จนทรงรู้จริง และทรงประดิษฐ์ด้วยความ ละเอียดอ่อนถี่ถ้วน เรือลำ�แรกเป็นเรือใบประเภท 49


His Majesty’s intelligence

เอนเตอร์ไพรส์ พระราชทานชื่อว่า “ราชปะแตน” จากนั้นทรงต่อเรือใบโอเคลำ�แรก พระราชทานชื่อว่า “นวฤกษ์” ด้วยขณะทรงต่อเรือ ณ อู่ต่อเรือจิตรลดา มีการจุดพลุฉลองปีใหม่ (ขึ้นปีพ.ศ. 2508) และเรือใบโอเคชื่อ “เวคา” (ชื่อดาวฤกษ์) เป็นต้น วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2509 พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงเรือใบเวคาเสด็จฯ ข้ามอ่าวไทยจากวังไกลกังวล อำ�เภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไปขึ้นฝั่งที่หาดเตยงาม ในหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน กองทัพเรือ อำ�เภอ สัตหีบ จังหวัดชลบุรี ระยะทางประมาณ 60 ไมล์ทะเล ทรงใช้เวลาในการแล่นใบถึง 17 ชั่วโมงเต็มด้วย พระองค์เองเพียงพระองค์เดียว และทรงนำ�ธง ราชนาวิกโยธินปักเหนือก้อนหินใหญ่ที่ชายหาดของ อ่าวนาวิกโยธิน ทรงลงพระปรมาภิไธยบนแผ่นศิลา จารึก ต่อมาในปีเดียวกันได้พระราชทานหางเสือ เรือพระที่นั่งเวคาที่ทรงแล่นใบข้ามอ่าวไทย เพื่อเป็น รางวัลนิรันดรแก่ผู้ชนะเลิศการแข่งขันเรือใบ ข้ามอ่าวไทยประจำ�ปีของสมาคมแข่งเรือใบแห่ง ประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์สโมสรเรือใบ 50

ราชวรุณ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่พัทยา ซึ่งปีเตอร์ คัมมินส์ สมาชิกกิตติมศักดิ์ของสโมสรฯ เล่าถึง สมัย 50 ปีที่แล้ว ที่ยังมีการเล่นเรือใบน้อยมาก ในเมืองไทย แต่ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทำ�ให้กีฬา เรือใบแพร่หลาย โดยเฉพาะที่พัทยา และภูเก็ต ซึ่งมีการจัดการแข่งขันชิงถ้วยพระราชทาน ภูเก็ต คิงส์คพั รีกตั ต้า เป็นประจำ� จนถึงปีนเ้ี ป็นครัง้ ที่ 30 แล้ว สุภาพบุรุษวัย 82 ปีชาวออสเตรเลียที่เข้ามาทำ�งาน ในหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติประจำ� ประเทศไทย ก่อนยึดเมืองไทยเป็นบ้านมากว่า ครึ่งชีวิต บอกว่า “ผมร้องไห้...” กับข่าวที่ไม่มีใคร อยากได้ยนิ ไม่ตา่ งจากคนไทยทุกคน แต่ในชัว่ ชีวติ นี้ เขาโชคดีเหลือเกินทีม่ โี อกาสครัง้ หนึง่ ในชีวติ ได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ อย่างใกล้ชิด ปีเตอร์ คัมมินส์เล่าเหตุการณ์ครั้งนั้นด้วยแววตา เป็นประกายสดใส “หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี โทรศัพท์ หาผม บอกว่าในหลวงมีพระราชประสงค์ให้ผม แล่นเรือใบที่วังไกลกังวล ผมตื่นเต้นมาก ถามอีกทีว่า แล่นเรือใบนะ ไม่ใช่ไปทำ�ข่าว เพราะตอนนั้นผมเป็น

นักข่าวกับช่างภาพอิสระให้หนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์ด้วย ท่านบอกว่าในหลวงทรงทราบ ว่าผมแล่นเรือใบเก่ง ผมรีบขึ้นแท็กซี่ไปหัวหินเลย ช่วงกลางวันก็ออกเรือใบแข่งขันกัน มีพระองค์ท่าน หม่อมเจ้าภีศเดช และอีกหลายคน ผมเป็นฝรั่ง คนเดียว การแข่งขันสูสีมาก มีช่วงหนึ่งผมแซงเรือใบ ไปทางด้านข้างของพระองค์ ซึ่งไม่ควรทำ�ในการเล่น หรือแข่งขันนะ แต่ผมคิดว่าผมเก่งไงตอนนั้น แล้วไม่กี่อึดใจก็เจอลมสวนกลับ สุดท้ายพระองค์ ชนะผม พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงดู ทิศทางน้ำ� ทิศทางลม และมีน้ำ�พระราชหฤทัย นักกีฬา พระองค์มพี ระราชดำ�รัสว่าผมจะทำ�ได้ดกี ว่านี้ นั่นเป็นครั้งเดียวที่ผมแล่นเรือใบกับพระองค์ แต่ครั้งเดียวก็เพียงพอกับช่วงเวลายอดเยี่ยมที่สุด “ตอนกลางคืนมีงานเลี้ยง ผมเป็นฝรั่งคนเดียวใน บรรดาคนไทยราว 400 คน แล้วหม่อมเจ้าภีศเดช ก็เรียกผมไป ทั้งสองพระองค์มีพระราชปฏิสันถาร เรื่องเรือใบ เรื่องประเทศออสเตรเลีย พระองค์เคย ประทับที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ผมเคยทำ�งานที่ ฝรั่งเศสอยู่หลายปี ก็พอพูดภาษาฝรั่งเศสได้ รับสั่ง ภาษาฝรั่งเศสถามว่าทำ�ไมผมถึงมาประเทศไทย คือผมเกิดที่แทสมาเนีย เกาะทางใต้ของออสเตรเลีย เป็นที่เล็กๆ ใต้ขอบโลก แล่นเรือใบในน้ำ�เย็นๆ มาตั้งแต่เด็ก แต่ก่อนก็ไม่รู้จักเมืองไทย ไม่เคยมา ทวีปเอเชีย แต่วันนั้นผมอยู่หัวหิน ได้เข้าเฝ้าฯ พระมหากษัตริย์และพระราชินีของไทย ซึ่งไม่ได้ คาดฝันมาก่อนเลย เวลาสั้นๆ ร่วมครึ่งชั่วโมง แต่เป็นเวลาที่ดีที่สุดในชีวิตผม เหมือนเพิ่งเกิดขึ้น เมื่อวาน ยังแจ่มชัด งดงาม เป็นประสบการณ์ที่ อยู่กับผมตลอด ไม่จางหายไปไหน” หากปีเตอร์ คัมมินส์จะต้องกล่าวถึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ให้ ชาวต่างชาติฟัง เขานึกถึงคำ�พูดอยู่ครู่หนึ่ง ก่อนจะบอกด้วยถ้อยคำ�เรียบง่ายว่า อบอุ่น มีน้ำ�พระราชหฤทัย มีพระเมตตา พระองค์ทรงงาน เพื่อพสกนิกรไทยมา 70 ปี ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย และไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ง่ายๆ พวกเราจึงโชคดี เหลือเกินที่ได้อยู่ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช The sky above Pattaya bay was blanketed with white clouds. The weather forecast said it would be a windy day with a chance of rain – not a good day for sailing, in other words. Inside the Royal Varuna Yacht Club, however, the atmosphere was comforting, suitable for a chat about sailing. In Pattaya 49 years back, Thailand hosted the Southeast Asian Peninsular Games or SEAP Games, known today as South-East Asian Games, on December 9-16, 1967. His Majesty King Bhumibol Adulyadej and HRH Princess Ubolratana

POWER MAGAZINE


december 2016 - january 2017

alongside His Majesty, which I was not supposed to do in a competition. I thought I was good at it but the wind blew against me, and His Majesty won. His Majesty was extremely smart. He understood the currents and the winds. He was a great sportsman. That was the only time I sailed with him but once was enough for such a memorable experience. “There was a reception in the evening. I was the only foreigner among around 400 Thais. M.C. Bhisadej invited me to a conversation with Their Majesties the King and Queen on sailing and Australia. His Majesty had spent years in Switzerland and I had worked in France for several years; so we spoke in French. He asked me why I moved to Thailand. I was born in Tasmania, Australia. I had always sailed since I was young. I had never heard of Thailand, nor been to Asia at that time. It was unexpected to suddenly meet the King and Queen of Thailand on that day. The conversation was brief – about 30 minutes – but it was the best moment of my life, and I still remember it vividly as if it happened yesterday. I will always keep the memory in my heart.” When asked how he would describe the Thai King to non-Thais, he pondered the question before saying that His Majesty was warm, kind and compassionate. His Majesty had worked for the Thai people for 70 years and that’s not easy. Thai people have been so blessed to have had His Majesty as the king of the country, he said.

Peter Cummins

Rajakanya signed up as national competitors for sailing in the same procedure as everyone and represented Thailand in the game. His Majesty took charge in the OK Dinghy sailing competition in Pattaya for three days. It was windy on the first day and stormy on the second. Like other competitors, his boat was swept by the wind several times. However, he moved on and finally won the competition. He said it was terribly cold but he had to be a good sportsman and be patient like others. His Majesty and Princess Ubolratana shared the gold medal. Her Majesty the Queen presented the medal to them at the closing ceremony of the 4th SEAP Games at Supachalasai Stadium on December 16, 1967. The government declared the date as National Sports Day to honour His Majesty the King’s sailing prowess. An avid supporter of sports, His Majesty was the first king in the world to be presented with the most prestigious Insignia of the Olympic Order at the 92nd Session of the International Olympic Committee in Istanbul, Turkey in 1987. Presiding over the meeting was the President of the International Olympic Committee, Mr. Juan Antonio Samaranch. There were participants from 87 countries. His Majesty had been interested in various types of sports since he was young. He was into sports beyond the physical sense – he also liked to use his wit and gave attention to detail. He had studied techniques in sports science and hoped that the science would be practiced at a larger

scale. He learned through his experience and invented some sports tools for his favourite sport – sailing. He built his own dinghies after having studied from books and understood the techniques. His first self-made Enterprise boat was called “Rachaprataen” (Royal Pattern). The second one was an OK class boat named “Nawaroek” as there were New Year fireworks when he was making it (in 1965). The third one was “Vega”. On April 19, 1966, His Majesty sailed “Vega 1” from Klai Kangwon Palace, Hua Hin, 60 nautical miles to Sattahip. The solo journey took him 17 whole hours. Upon his arrival, he hoisted the Royal Thai Marine flag on a big rock near the marine bay, together with his inscription on the rock. His Majesty later conferred the Vega rudder as a lifetime award for the annual sailing competition across the Gulf of Thailand. His Majesty had been the patron of the Royal Varuna Yacht Club. Peter Cummins, an honorary club member, said sailing was a lesser-known sport in Thailand some 50 years back but Thai people were gradually aware of the game particularly in Pattaya and Phuket thanks to His Majesty’s kindness. According to Cummins, Phuket has organised the Phuket King’s Cup Regatta for the last 30 years. The 82-year-old Australian, who started working for a United Nations’ agency in Thailand at the young age, said he was in tears upon learning of the unbearable news of His Majesty’s passing. He said he was blessed to have an audience with Their Majesties the King and Queen. With a reflection of happiness in his eyes, Cummins recalled the day when M.C. Bhisadej Rajani called him to inform him that His Majesty had invited him to go sailing at Klai Kangwon Palace. “I was very excited. I asked to make sure that he invited me to sail, not to take photos, as I was also a freelance photographer of the Bangkok Post. M.C. Bhisadej said His Majesty had heard that I was good at sailing and wanted me to sail at Klai Kangwon Palace. I took a taxi straight to Hua Hin. When I arrived, His Majesty, M.C. Bhisadej, a few other people and I went sailing. I was the only foreigner there. At one point, I sailed

51


His Majesty’s intelligence

นอกจากพระปรีชาสามารถในการทรงเรือใบอันเป็นที่ประจักษ์ ในประวัติศาสตร์วงการกีฬาโลกแล้ว อีกหนึ่งประเภทกีฬาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชโปรด คือ กีฬาแบดมินตัน His Majesty King Bhumibol Adulyadej had been an avid badminton player besides his excellence in sailing, a sport he was globally acclaimed for.

พระองค์ไม่เพียงทรงแบดมินตันด้วยพระองค์เอง แต่ยังมีสายพระเนตร อันกว้างไกล พระราชทานพระบรมราชูปถัมภก จนกีฬาแบดมินตันของไทย เกรียงไกรโด่งดังไปทั่วโลก “ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เจริญ วรรธนะสิน” อดีตนักแบดมินตันระดับโลก ยุคบุกเบิกของทีมชาติไทย และอดีตนายกสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้บันทึกพระมหากรุณาธิคุณของพ่อหลวงของไทย ที่ทรงมีต่อวงการแบดมินตันไทยไว้ในหนังสือ “เส้นทางพิชิตฝัน” อย่างจับใจว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานความช่วยเหลือ แก่วงการแบดมินตันไทยในลักษณะของการปิดทองหลังองค์พระปฏิมา โดยตลอด มิได้ทอดทิ้งวงการแบดมินตันไทยตลอดเวลากว่า 60 ปีอย่างต่อเนื่อง 52

อาจารย์เจริญเล่าให้ฟังว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงสนพระราชหฤทัยในกีฬาหลายชนิด และทรงรู้ถึงกิจกรรมการเคลื่อนไหวของ วงการกีฬาอย่างถ่องแท้ แม้แต่ปัญหาของกีฬาแบดมินตันไทย ก็หาได้รอดพ้น จากพระเนตรพระกรรณของพระองค์ไปไม่ ในเวลานั้นรัฐบาลไทยยังไม่มี งบประมาณในการส่งเสริมกีฬาของประเทศ กีฬาทุกชนิดของไทยจึงดำ�เนินการไป อย่างตามมีตามเกิด กีฬาแบดมินตันจึงเป็นกีฬาชนิดแรกที่ในหลวงทรงเอื้อม พระหัตถ์ฉุดขึ้นมาพบแสงสว่าง พระองค์ท่านรับสั่งในหลายวโรกาส “แบดมินตันเป็นกีฬาที่เหมาะกับ สรีระของคนไทย ไม่เสียเปรียบต่างชาติมากนัก ไหวพริบปฏิภาณและความ คล่องแคล่วของคนไทย หากมีการส่งเสริมให้ดี จะบรรลุไปสู่ระดับสากลได้” POWER MAGAZINE


“พอพวกเราทราบว่า พระองค์ท่านโปรดกีฬาแบดมินตัน และเสด็จ พระราชดำ�เนินมาทอดพระเนตรการแข่งขัน ทุกแมตช์ที่ลงสนามจะเป็น การแข่งขันหน้าพระที่นั่ง เพียงแค่นี้ก็เป็นกำ�ลังใจแก่พวกเราอย่างมหาศาล ยามใดทีพ่ วกเราเหนือ่ ยหรือท้อใจ พอนึกถึงพระองค์ทา่ น ก็ไม่รวู้ า่ กำ�ลังกายกำ�ลังใจ มาจากไหน เสริมสร้างจิตพวกเราให้แกร่ง ขยันฝึกซ้อมมากขึ้นเป็นทวีคูณ” แบดมินตันของไทยพ่ายแพ้อินเดียในการแข่งขันโธมัสคัพมาตลอด แต่ในปีพ.ศ. 2500 ทีมชาติโธมัสคัพไทยสามารถโค่นอินเดียลงได้ ด้วยคะแนน 8-1 ตามติดด้วยการชนะศรีลังกา ปากีสถาน และญี่ปุ่น ยังผลให้ไทยครองแชมเปี้ยนแห่งเอเชียและได้สิทธิ์เข้าไปแข่งขันรอบชนะเลิศ Inter Zone ของโลกเป็นครั้งแรกของกีฬาไทย และทุกแมตช์ที่ทีมชาติไทย ลงสนามแข่งขัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำ�เนิน ทอดพระเนตรมิได้ขาดแม้แต่แมตช์เดียว และในหลายแมตช์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ตามเสด็จทอดพระเนตรด้วย อาจารย์เจริญเล่าว่า “แบดมินตันไทยในยุคบุกเบิก ความสำ�เร็จของ แบดมินตันไทยที่กระโจนเข้าสู่ระดับโลกตอนนั้น และแม้กระทั่งทุกวันนี้ ถ้าไม่มี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เราจะไม่สามารถบรรลุถึงจุดนั้นได้ ผมได้ครอง แชมเปี้ยนชายเดี่ยวและชายคู่ออล-มลายันแชมเปี้ยนชิป และถ้วยทองคำ� ราชาธิบดีสหพันธรัฐมลายู ซึ่งเท่ากับกรังด์ปรีซ์โลกในสมัยนี้ ทำ�ให้แบดมินตัน ได้รับการยอมรับเข้าสู่ระดับโลกอย่างเต็มภาคภูมิ สื่อของสหพันธรัฐมลายูลงข่าว ชัยชนะของไทยอย่างเกรียวกราว นายนอร์แมน ซีเบล นักข่าวอาวุโสของสเตรทไทม์ ถึงกับพาดหัวข่าวทำ�นองว่า แบดมินตันไทยก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว จากโนเนม ขึ้นมาระดับโลก เพราะสยามมีอาวุธลับ และอาวุธลับคือ พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่พระราชทานการสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง december 2016 - january 2017

ของนักแบดมินตันไทย จนทำ�ให้กีฬาแบดมินตันของไทยก้าวไปถึงระดับโลกได้ ภายในเวลาเพียงไม่กี่ปี” อาจารย์เจริญเผยถึงพระอัจฉริยภาพของในหลวงต่อไปว่า “ครั้งหนึ่งที่ เข้าเฝ้าถวายทรงแบดมินตัน พระองค์ท่านรับสั่งถามผมว่า ในการแข่งขัน ระดับโลก มีนักแบดมินตันคนไหนที่ผมหนักใจมากที่สุด ผมกราบบังคมทูลว่า มีอยู่หลายคน และมีเออร์แลนด์ คอปส์ นักแบดฯ เดนมาร์กที่ผมหนักใจที่สุด มีลูกตบที่หนักหน่วงเป็นอาวุธสำ�คัญ และมีพละกำ�ลังเหนือกว่า ยิ่งเล่นก็ยิ่งมี กำ�ลังมาก ผมเองคิดว่าพระองค์ทรงถามไปอย่างนั้นเอง ไม่คาดคิดมาก่อนเลยว่า พระองค์ท่านจะทรงนำ�เรื่องนี้ไปวิเคราะห์ต่อด้วยพระองค์เอง จนกระทั่งมีรับสั่ง ในอีกไม่กี่วันต่อมาว่า ให้ผมแก้ไขเกมเล่นด้วยการดึงคอปส์มาเล่นลูกหยอด หน้าตาข่ายให้มากขึ้น ในขณะเดียวกันเวลาโยนลูกโด่งไปหลัง ต้องโยนไป ในทิศทางที่ขัดๆ ไม่เปิดโอกาสให้เขาใช้ลูกตบได้ถนัด พวกเรารับใส่เกล้า ใส่กระหม่อม นำ�ยุทธศาสตร์พระราชทานนี้ไปใช้ ทำ�ให้ผมชนะคอปส์ใน การป้องกันแชมป์ชายเดี่ยวออล-มลายันที่สิงคโปร์ และชั้นเชิงการเล่นนี้ยังนำ�ไป ใช้กับนักเล่นยุโรปที่มีรูปร่างสูงและตบหนักได้อย่างดีในเวลาต่อมาอีกด้วย” นอกจากจะได้มีโอกาสถวายงานในฐานะนักกีฬาไทยที่ไปสร้างชื่อเสียงให้กับ วงการแบดมินตันไทยแล้ว ในชีวิตของอาจารย์เจริญยังได้รับอีกหนึ่งโอกาส เข้าเฝ้าถวายทรงแบดมินตันเป็นประจำ� “ผมรูส้ กึ ปลาบปลืม้ ในพระมหากรุณาธิคณ ุ ของพระองค์ท่านเป็นล้นพ้น ถ้าพระองค์ท่านทรงว่างเว้นจากพระราชกรณียกิจ ก็จะทรงแบดมินตันสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง มีพระปรีชาสามารถ ทรงตีลูกได้ดี คล่องแคล่วทั้งโฟร์แฮนด์และแบ็กแฮนด์ ทรงตีลูกโอเวอร์เฮดและทรงตบลูก ได้อย่างแรงทีเดียว ทรงพระอุตสาหะฝึกฝนลูกโอเวอร์เฮดจนทรงตีลูกได้ถึง หลังสนาม ในเวลาที่พระองค์ทรงตีลูกเสียหรือผู้เล่นที่อยู่ฝ่ายเดียวกันตีลูกเสีย พระองค์ท่านไม่เคยแสดงออกซึ่งพระอารมณ์กริ้วผู้ร่วมเล่นเลย พระเมตตาธรรม และพระขันติธรรมของพระองค์สูงส่งยิ่งนัก” ในปีพ.ศ. 2545 อาจารย์เจริญได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมแบดมินตัน แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พระองค์ท่านมีรับสั่งโปรดเกล้าฯ ให้ สำ�นักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์สนับสนุนวงการแบดมินตันไทยแบบ ครบวงจร ทำ�ให้แบดมินตันของไทยเจริญก้าวหน้าสุดขีด ได้ครองตำ�แหน่ง แชมเปี้ยนโลกเยาวชน 3 ปีซ้อน และแชมเปี้ยนหญิงเดี่ยวของโลก มีนักแบดมินตันไทยเข้าสู่อันดับโลกหลายสิบคนเป็นครั้งแรก มีอำ�นาจต่อรองกับ บริษัทอุปกรณ์ใหญ่จนได้รับเงินสนับสนุนจากต่างประเทศปีละร่วม 30 ล้านบาท ตลอดเวลากว่า 6 ทศวรรษ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ไม่เคย ทอดทิ้งวงการแบดมินตันไทยเลย และในปีพ.ศ. 2556 สหพันธ์แบดมินตันโลก (BWF) โดยมติเอกฉันท์ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอิสริยาภรณ์สูงสุดของ

53


His Majesty’s intelligence

สหพันธ์ฯ President’s Medal แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์เดียวในโลกที่ได้รับอิสริยาภรณ์สูงสุดจากสหพันธ์ฯ สุดท้ายนี้ ในฐานะหนึ่งในผู้ที่มีโอกาสรับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เจริญได้แสดงความอาลัยอย่างสุดซึ้งต่อการเสด็จสวรรคต ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช “เมื่อระลึกถึงสิ่งที่ พระองค์ท่านมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ไม่เพียงต่อตัวผม แต่หมายถึง คนไทยทั้งประเทศ บางครั้งผมยังแอบน้ำ�ตาซึม พระองค์ท่านทรงเป็น พระมหากษัตริย์ที่พระราชทานศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้กับคนไทย พระองค์ ไม่เคยใช้เงินหว่าน หรือนำ�เงินไปแจก แต่พระราชทานเครื่องมือทำ�มาหากินให้ คนไทยสามารถยืนอยู่บนขาของตัวเองอย่างมีศักดิ์ศรี จากนี้ไป ผมคิดว่า ถึงเวลาแล้วที่คนไทยทุกคนจะต้องแปรเปลี่ยนความเศร้าโศกให้เป็นพลัง ต้องมีความเข้มแข็ง รักใคร่กลมเกลียว นำ�พาชาติไทยไปสู่ความก้าวหน้า ยิ่งเรา รักพระองค์ท่านมากเท่าไหร่ ยิ่งต้องสร้างความสามัคคีและดำ�เนินชีวิตตาม พระยุคลบาท ยึดเอา “คำ�สอน” ของพระองค์ท่านมาเป็นแนวทางชีวิตต่อไป”

His Majesty’s kind support to the racquet sport in Thailand had elevated the level of the country’s badminton players to international recognition. Professor Charoen Wattanasin, a former national badminton player and former director of the Badminton Association of Thailand under the Royal Patronage, wrote about His Majesty’s kind support to Thailand’s badminton in his book “Pursuit of Excellence.” He said His Majesty had been supporting Thailand’s badminton in private and had never neglected it for the last six decades.

54

According to Professor Charoen, His Majesty was interested in various types of sports and was well aware of the sport situation in Thailand, as well as problems faced by Thai badminton players. At the time, the Thai government lacked financial support for sport activities, compelling those involved in all types of game in Thailand to be on their own. Fortunately, badminton was the first kind of sport to receive His Majesty’s support. “Badminton is a sport that suits Thai people’s physical build. Coupled with Thai people’s sharp wit and agility and with the right support, Thai badminton could be internationally acclaimed.” That was His Majesty’s remark on several occasions. Professor Charoen reminisced: “When we learned that His Majesty was fond of badminton and attended badminton matches, we would bear in mind that every match was played in front of him. It greatly boosted our morale. Whenever we thought of His Majesty, we felt a surge of energy, stimulating us to work harder.” India had always defeated Thailand in the Thomas Cup. However in 1957, Thailand beat India with a score of 8-1, followed by its victory over Sri Lanka, Pakistan and Japan. The championship elevated the Thai team to the inter-zone play for the first time. In every match played by the Thai team, His Majesty was there, not missing a single game. Her Majesty Queen Sirikit, the Princess Mother and HRH Princess Galyani Vadhana accompanied His Majesty to the matches.

POWER MAGAZINE


december 2016 - january 2017

Charoen Wattanasin

His Majesty’s kindness. When His Majesty had free time, he would play badminton 3-4 times a week. He was great at it and swift. Both his forehand and backhand were exceptional. His overhead and slam were strong. He could hit an overhead drop shot all the way to the back of the court. When he or his team mate missed, he was never angry. He was a kind and patient player.” In 2002, Professor Charoen was elected the director of the Badminton Association of Thailand Under Royal Patronage of His Majesty the King. He ordered the Crown Property Bureau to fully support Thailand’s badminton, resulting in its significant progress. Thai players won global youth championship three years in a row and won Women’s Singles championship. Several Thai players made it to international competitions. With that level of success, Thai badminton began to gain recognition and received financial support at nearly 30 million baht a year from international organisations.” Over the past six decades, His Majesty had never neglected the badminton industry. In 2013, the Badminton World Federation (BWF) presented His Majesty with the President’s Medal, its highest honour. He was the only king in the world to have received the medal. Having worked closely with His Majesty, Professor Charoen expressed his greatest sorrow at the passing of His Majesty King Bhumibol Adulyadej. “His Majesty had shown great kindness not only to me but also to the Thai people. I am in tears when I think of him. He was a king who gave us dignity. He did not just give out money but he taught us on how to make a living and stand proudly on our own feet. From now on, the people of Thailand need to change their sadness into energy. We have to be harmonious and work together to move our country forward. The more we love His Majesty, the more we have to follow his teachings and practice them in our lives.”

Charoen Wattanasin

Professor Charoen said, “In its early years, the significant surge of Thailand’s badminton to the global arena was due to His Majesty’s support. We wouldn’t be where we are today without him. I was the champion in Men’s Singles and Men’s Doubles of All Malayan Championship and the Federation of Malaya Gold Cup, an equivalent of the World Grand Prix today. Thailand’s badminton had gained global recognition and the media in the Federation of Malaya all wrote about the victory of Thai players. Norman Siebel, a senior journalist of the Straits Times, praised the Thai badminton team for its rapid progress, having jumped from the bottom to the top. He wrote that Thailand had a secret weapon and that weapon was His Majesty King Bhumibol Adulyadej, who had given Thai badminton players support, helping Thai badminton progress so significantly in just a few years.” Admiring His Majesty’s intelligence, Professor Charoen recalled, “I had a chance to play badminton with His Majesty. He asked for the names of international players whom I was most concerned. I said there were many of them particularly Danish badminton player Erland Kops, who was exceptionally precise and strong. I thought His Majesty was just making a conversation but it was unexpected to find that he analysed what we discussed. A few days later, he told me that if I were to play against Kops, I should lure him in to play closer to the net and try to hit the shuttlecock into an unexpected direction to avoid giving him the chance to slam it back. I followed his advice and I won against Kops in the All Malayan Men’s Singles in Singapore. I also used that technique with taller and bigger European players who were very strong.” In addition to his role as a badminton player who helped bring fame to Thailand, Professor Charoen had the honour of playing badminton with His Majesty on a regular basis. “I was deeply touched by

55


H i s M aj e s t y ’ s i n t e l l i g e n c e

“เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำ�ไป” พระราชดำ�รัสของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จากวารสารชัยพัฒนา ประจำ�เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2542

”Sufficiency economy is equivalent to the root of life and a strong foundation of the country – similar to the foundation piles that support a house or a building. A strong structure is possible due to foundation piles but most people don’t see them and ignore them,“ according to a speech of His Majesty King Bhumibol Adulyadej in the Journal of Chaiphattana, August 1999.

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช มีพระราชดำ�รัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา โดยเป็นพระบรมราโชวาทในพิธี พระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ณ หอประชุมมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ในเวลานั้นพสกนิกรชาวไทย อาจยังไม่เข้าใจและตระหนักถึงความสำ�คัญ ของการดำ�เนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง แต่ด้วยทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักพัฒนา จึงทรงมีสายพระเนตรยาวไกล ทรงเล็งเห็นถึง ปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการถาโถมของกระแส ทุนนิยม จึงพระราชทานแนวคิดนี้ไว้ กระทั่งเมื่อประเทศไทยเผชิญวิกฤติเศรษฐกิจ ครั้งใหญ่ในพ.ศ. 2540 พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงตรัสย้ำ�เรื่อง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 อีกครั้งว่า ปรัชญาดังกล่าวคือ แนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้สามารถดำ�รงอยูไ่ ด้อย่าง “มัน่ คง” และ “ยัง่ ยืน” ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงต่างๆ หลายภาคส่วน เริ่มหันมาตระหนักถึงความสำ�คัญของปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง สำ�นักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำ�พระราชดำ�รัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง บรรจุใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) 56

ผา่ นมาร่วม 42 ปี ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ไม่เพียงเป็นที่ประจักษ์แจ้งในหมู่ชาวไทยว่า นี่คือหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน แต่ยังเป็นที่ประจักษ์ ในสายตาชาวโลก โดยองค์การสหประชาชาติ เชิดชูเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ และสนับสนุน ให้ประเทศสมาชิกยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนา แบบยั่งยืน ในฐานะข้าราชการคนหนึ่ง “วิวัฒน์ ศัลยกำ�ธร” หรือที่หลายคนเรียกติดปากว่า “อาจารย์ยักษ์” ไม่เคยคิดเลยว่า วันหนึ่งจะมีโอกาสทำ�งานรับใช้ ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ประมุข ผู้ทรงเป็นที่รักและศูนย์รวมใจของคนไทยทั้งชาติ ตลอด 16 ปีที่ได้มีโอกาสถวายงาน นับเป็นความ ภาคภูมิใจที่สุดในชีวิตที่มิอาจหาสิ่งใดเปรียบ อาจารย์ยักษ์ได้ชื่อว่า เป็นหนึ่งในบุคคลที่มี บทบาทสำ�คัญในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดช ลงสู่การปฏิบัติ โดยมีเป้าหมาย เพื่อการพัฒนามนุษย์ ในขณะเดียวกันภารกิจสำ�คัญ อีกประการ ได้แก่ การขับเคลื่อน “หลักกสิกรรม ธรรมชาติ” ผ่านการบ่มเพาะหลักคิดและหลักปฏิบัติ ผ่านศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง จังหวัดชลบุรี ศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตที่แสดงผลสัมฤทธิ์ของ การนำ�ศาสตร์พระราชาด้านการจัดการดิน น้ำ� ป่า

มาฟื้นฟูระบบนิเวศจนสามารถพลิกฟื้นดินดาน สร้างระบบนิเวศที่สมดุลต่อระบบการผลิต ภาคการเกษตร พัฒนาสู่ชุมชนที่ดำ�เนินวิถีชีวิต ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ขยายผลสู่การสร้าง แบบอย่างใหม่ของการศึกษาวิถีไทยในอนาคต ด้วยการนำ� “บวร--บ้าน วัด โรงเรียน” กลับสู่การ บ่มเพาะเด็กและเยาวชนให้มีคุณธรรมนำ�ความรู้ ในนาม “โรงเรียนปูทะเลย์มหาวิชชาลัย” ต้นแบบ ศูนย์การเรียนรู้ตามกฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิของ บุคคลในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปัจจุบัน อาจารย์ยักษ์ดำ�รงตำ�แหน่งเป็นประธานสถาบัน เศรษฐกิจพอเพียง ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และประธานกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูป ประเทศด้านการศึกษา สภาขับเคลื่อนการปฏิรูป ประเทศ อาจารย์ยักษ์พาย้อนวันวานให้ฟังว่า เดิมเป็น เพียงเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ ของสำ�นักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ไม่เคยมีโอกาสได้เฝ้าฯ รับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เลยสักครั้ง กระทั่งเมื่อพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรี ตั้งสำ�นักงานคณะกรรมการ พิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำ�ริ (สำ�นักงาน กปร.) “ตอนนั้นผมเพิ่งเริ่มทำ�งานได้ไม่นาน ก็ไม่กล้าไปสมัคร แต่พอดีดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ท่านกรุณาให้เลขานุการเขียนใบสมัครให้ ผมแค่ POWER MAGAZINE



H i s M aj e s t y ’ s i n t e l l i g e n c e

คือ โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งในเวลานั้นพื้นที่ดังกล่าวเป็นชุมชน 2 ศาสนา สำ�หรับผม พระองค์ท่านเปรียบเสมือนครู คือ ศาสนาพุทธ กับศาสนาอิสลาม กำ�ลังเผชิญกับ ปัญหาความแห้งแล้งและภัยพิบัติ จึงมีพระราชดำ�ริ เหมือนพ่อที่ ใจดี แต่เข้มงวดสุดๆ ว่าทำ�อย่างไรจึงจะสร้างชุมชนให้อยู่กับป่าให้ได้ ท่านจะรับฟังเรา จากนั้นจะทรง าที่ของอาจารย์ยักษ์ในเวลานั้น คือ นำ�สิ่งที่ ตั้งคำ�ถามกลับ พร้อมชี้แจงเหตุผลให้ฟัง หน้ จดบันทึกมาทำ�การศึกษา และทำ�แผนไปถวาย For me, His Majesty was like เพื่อขอพระบรมราชวินิจฉัย a teacher and a father. “งานนั้นเป็นโครงการแรกของผม ซึ่งดร.สุเมธ He was kind but strict. He would ท่านเมตตาให้โอกาสลูกน้องได้มีโอกาสถวาย listen but also ask questions, รายงานด้วยตัวเอง ผมตื่นเต้นมาก เตรียมตัวอย่างดี as well as provide reasons ใช้เวลา 4 เดือนเต็มทุ่มเททำ�งานอย่างหนัก ปรึกษา ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญจนมั่นใจ จึงนำ�แผนไปถวายพระองค์ ผมคิดว่ารายงานชิ้นนี้จะต้องเป็นที่พอพระราชหฤทัย อย่างแน่นอน แต่เมือ่ ถึงวันทีเ่ ข้าไปถวายรายงานจริงๆ กลับหน้าแตกไม่เป็นท่า” ลงชื่อเท่านั้น จึงได้สมัครเข้ามา และได้มีโอกาส อาจารย์ยักษ์เล่าว่า หลังจากเสนอแผนงานว่า เข้ามาทำ�หน้าที่ตามเสด็จและจดบันทึกเวลาที่ จะให้ชาวบ้านที่เป็นชาวพุทธปลูกสับปะรด พระองค์ท่านเสด็จพระราชดำ�เนินไปเยี่ยมเยียน ซึ่งเหมาะกับดินบริเวณนั้น กอปรกับเป็นพืชที่ ราษฎร แล้วมีพระราชดำ�ริในโครงการต่างๆ ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด สามารถส่งป้อน ซึ่งบางครั้งเสด็จพระราชดำ�เนินเป็นเวลานาน มีรับสั่ง โรงงานเพื่อแปรรูป สร้างรายได้ ขณะที่ชุมชน กับหลายคน จนจำ�ไม่ได้ พวกผมก็มีหน้าที่คัดกรอง ชาวมุสลิมให้ทำ�ปศุสัตว์เลี้ยงวัว เพื่อนำ�น้ำ�นมไปขาย เพื่อจัดทำ�แผนสนองพระราชดำ�ริ พร้อมติดตาม สร้างรายได้เช่นกัน ประเมินและประมวลผลงานสนองพระราชดำ�ริของ พอถวายรายงานไปเช่นนั้น พระองค์ท่านกลับ หน่วยงานต่างๆ เพื่อถวายรายงานต่อไป” รับสั่งถึงความพอเพียงว่า “หากไม่ปลูกข้าว หวังจะ สำ�หรับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ ไปซื้อจากที่อื่น ก็ต้องพึ่งพารถบรรทุก รถน้ำ�มัน โครงการแรกที่อาจารย์ยักษ์มีโอกาสถวายงาน ถ้าฝนตก ถนนขาด ก็ไม่มีข้าวกิน ขาดความมั่นคง

58

ด้วยความเป็นคนหนุ่มรุ่นใหม่ ตอนนั้นผมก็เผลอตัว แย้งพระองค์ท่านไปว่า ข้าพระพุทธเจ้าได้สำ�รวจ ดินในพื้นที่นี้เรียบร้อยแล้วว่าไม่เหมาะจะปลูกข้าว ควรปลูกสับปะรด พระองค์จึงมีรับสั่งต่อว่า ข้าวเป็น หญ้าชนิดหนึง่ แม้ดนิ ไม่เหมาะ แต่แค่มนี � ำ้ ก็ได้กนิ แล้ว พร้อมรับสัง่ ด้วยว่า ข้าวทีป่ ลูกนี้ ให้ชาวบ้านปลูกไว้กนิ โดยให้ชาวบ้านตั้งเครื่องสีข้าวเอง สีแล้วเก็บใส่ยุ้งไว้ ถึงไม่มีเงิน ก็ยังมีข้าวกิน นอกจากนี้ยังทรงมี สายพระเนตรที่ยาวไกลว่า เมื่อตั้งเครื่องสีข้าว ก็จะ มีปลายข้าวเหลือ สามารถนำ�มาใช้เป็นอาหารปลา เลี้ยงเป็ด ไก่ กินไข่เป็นอาหาร อย่างน้อยก็ไม่อด มีชีวิตที่มั่นคง ไม่ต้องพึ่งพาตลาด หรือถึงพึ่งพา ก็ไม่มากเกินไป “ขณะที่ชาวมุสลิม พระองค์ท่านทรงอธิบายว่า หากปล่อยให้ท�ำ ทุง่ หญ้าเลีย้ งสัตว์ นานวันไปป่าก็หมด เมื่อป่าหมด น้ำ�ก็หมด เมื่อน้ำ�หมด ต่อให้มีที่ดิน กี่หมื่นไร่ ก็ใช้ประโยชน์ไม่ได้อยู่ดี ผมเองพอได้ฟัง เช่นนี้ ก็ยอมจำ�นนต่อเหตุผลของพระองค์ท่านจริงๆ ถึงจะหน้าแตกตัง้ แต่แผนแรก แต่สง่ิ ทีพ่ ระองค์รบั สัง่ ล้วนสะท้อนถึงพระอัจฉริยภาพของพระองค์ที่เรา คิดไม่ถึง ลบล้างทฤษฎีที่เราเคยเรียนมาว่า เวลา จะปลูกอะไรต้องศึกษาตลาด ใช้ตลาดเป็นตัวนำ� เพราะนัน่ หมายความว่าเรามองผลกำ�ไรเพียงด้านเดียว แต่ไม่ยั่งยืน โดยไม่ได้สนใจว่าป่าจะหมดไป แต่พระองค์ท่านมีพระราชดำ�ริถึงหมด ทรงละเอียด รอบคอบ” ในความทรงจำ�ของข้าราชการหนุ่มไฟแรงใน เวลานั้น พระองค์ทรงเป็นพระราชาที่ทรงรับฟัง

POWER MAGAZINE


จวบจนวันนี้แม้อายุจะย่างเข้า 63 ปีแล้ว อาจารย์ยักษ์ยังตั้งมั่นที่จะขอเดินตามรอยพระบาท สานต่อปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป “ผมจะมีชีวิตอยู่ให้นานที่สุด เพื่อที่จะได้ทำ�สิ่งที่ พระองค์ท่านทรงให้แนวทางต่อไปไม่เลิกรา และจะ มุ่งมั่นผลักดันให้เศรษฐกิจพอเพียงเกิดขึ้นในวงกว้าง ให้ได้ ทุกวันนี้หลายคนเริ่มพูดถึงเศรษฐกิจพอเพียง แต่ยังมีน้อยคนที่เข้าใจ และแม้จะมีคนหันมาสนใจ มากขึ้น แต่ก็ยังมีน้อยคนที่ทำ�ตาม ผมปรารถนา ให้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ได้รับการบรรจุเข้าสู่ ระบบการศึกษาไทยเพื่อปลูกฝังตั้งแต่ระดับเยาวชน ตัวผมเองจากนีจ้ ะใช้ทกุ ช่องทางเพือ่ เผยแพร่ปรัชญานี้ ออกไปให้มากที่สุด เพราะนี่คือปรัชญาที่เป็นสากล สามารถใช้ได้ทุกคนทุกอาชีพ” ทั้งนี้อาจารย์ยักษ์ได้กล่าวทิ้งท้ายอย่าง น่าตราตรึงใจว่า คนไทยเราโชคดีเหลือเกินที่มี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นประมุข ซึ่งเชื่อว่าคนทั้งโลกต้องอิจฉาคนไทย พระองค์ท่านมีพระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกร ชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้ และยังทรงเป็นแบบอย่าง เหตุผลอย่างมาก แม้จะเป็นข้าราชการที่ยังอายุงาน พอมีเวลาวันหยุด ผมก็ไปทำ� เชื่อไหมว่าทำ�อยู่ 11 ปี การใช้ชีวิตอย่างพอเพียงได้ดีที่สุด “ถ้าให้ผมจำ�กัดความหลักเศรษฐกิจพอเพียง ไม่มาก พระองค์ท่านก็ยังทรงรับฟังและพระราชทาน ก็ไม่สำ�เร็จ จนวันหนึ่งผมยอมลาออกจากราชการ คงหมายถึง ปรัชญาแห่งความพอ และปรัชญาแห่ง โอกาสให้ได้อธิบายถึงสิ่งที่คิดและวางแผน จากนั้น เมื่อปีพ.ศ. 2539 ซึ่งตอนนั้นผมเป็นผู้อำ�นวยการ กองประเมินผลงาน สำ�นักงาน กปร. เพื่อมาทำ�งาน การให้ การจะเป็นผู้ให้ได้ ต้องเริ่มจากความพอ จึงพระราชทานข้อวินิจฉัย ทรงอธิบายให้ฟังอย่าง ต้องขยันทำ�ให้พอ ไม่ใช่ขี้เกียจแล้วบอกว่าพอแล้ว มีเหตุผล จนทำ�ให้ยอมจำ�นนและเชื่ออย่างสุดใจว่า ตรงนี้จริงจัง เพราะคิดว่างานของพระราชา สิ่งที่พระองค์ท่านได้พระราชทานคำ�ชี้แนะนั้นถูกต้อง ไม่ได้อยู่ในศูนย์ศึกษาเท่านั้น แต่ต้องไปถึงประชาชน จะเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช ทรงเป็นแบบอย่างในเรื่องการพอเพียง ไม่น่าเชื่อว่าสิ่งที่ผมทำ�มาตลอด 11 ปีไม่สำ�เร็จ และสามารถช่วยเหลือชาวบ้านได้อย่างแท้จริง อย่างดี พระองค์ท่านทรงขยันสุดๆ ทรงสร้างสรรค์ พอออกจากงานมาทำ�จริงจัง 1 ปีสำ�เร็จเลย” “สำ�หรับผม พระองค์ท่านเปรียบเสมือนครู เหมือนพ่อที่ใจดี แต่เข้มงวดสุดๆ ท่านจะรับฟังเรา จากนัน้ จะทรงตัง้ คำ�ถามกลับ พร้อมชีแ้ จงเหตุผลให้ฟงั อย่างไรก็ตาม หลักการพอเพียงของพระองค์ท่าน ไม่ได้หมายความว่า ห้ามซือ้ ของอืน่ เลย พระองค์ทา่ น รับสั่งว่า ถ้าชอบกินอย่างอื่นก็สามารถหาซื้อมาได้ เช่น ชอบกินปลาทู คงไม่ต้องถึงขั้นต่อเรือออกทะเล ไปจับ สามารถซือ้ หาบ้างได้ แต่สง่ิ พืน้ ฐานทีป่ ลูกเองได้ ก็ไม่ควรซื้อกิน ไม่เช่นนั้นชีวิตก็ต้องไปพึ่งกับรายได้ ตลอดไป” นับเป็นเวลา 16 ปีเต็มที่อาจารย์ยักษ์ได้ มีโอกาสถวายงานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดช ก่อนจะตัดสินใจลาออกจาก ราชการเพื่อมาขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อย่างเต็มตัว “ผมเองเขียนแผนงานมาทั้งชีวิต น่าจะเป็น พันๆ แผนแล้ว แต่เขียนไปก็ไม่มคี นอ่าน หรือบางครัง้ อ่านแล้วชื่นชม แต่ไม่ทำ�ตาม เมื่อครั้งที่ผมรับใช้ ใต้เบื้องพระยุคลบาท เวลาผมไปบรรยายให้ เกษตรกรฟังเกีย่ วกับการทำ�เกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ เศรษฐกิจพอเพียง ก็ไม่มใี ครเชือ่ หาว่าผมมีเงินเดือนกิน ก็พูดได้ ผมเลยคิดว่าจะลองทำ�ให้ดู โดยใช้พื้นที่ร้าง ของพี่ชาย 40 ไร่ ที่มาบเอื้อง จังหวัดชลบุรี ซึ่งที่ตรงนั้นปลูกอะไรไม่ขึ้น ผมลองใช้ทุนเท่าที่มีอยู่ ลงมือพัฒนาเรื่อยๆ ลองปลูกป่า ทำ�นา เลี้ยงปลา december 2016 - january 2017

59


H i s M aj e s t y ’ s i n t e l l i g e n c e

สิ่งต่างๆ จนพอ แล้วก็แบ่งปันแจกจ่าย ซึ่งนี่คือหัวใจ ของปรัชญาอย่างแท้จริง เพราะฉะนั้นผมขอสรุป สั้นๆ ว่า หลักการของปรัชญาพอเพียง คือ our loss is our gain หรือยิ่งให้ยิ่งกำ�ไรนั่นเอง” His Majesty had introduced the philosophy of “sufficiency economy” since 1974. It was first mentioned in his speech in a commencement at Kasetsart University. At the time, Thai people did not fully understand the concept or the value of sufficiency economy. A development pioneer and a visionary king, His Majesty anticipated the threat of capitalism and introduced the concept.

When Thailand encountered a major economic crisis in 1997, His Majesty King Bhumibol reintroduced the sufficiency economy theory on December 4, 1997, stressing that the philosophy would solve the country’s economic problems, leading to “stability” and “sustainability” amidst changes. Many sectors became aware of the significance of His Majesty’s philosophy. The National Economics and Social Development Board (NESDB) finally included the sufficiency economy principle in the 9th National Development Plan (2002-2006).

For the last 42 years, His Majesty’s philosophy of sufficiency economy had received domestic and global recognitions for its sustainability. The United Nations highly complimented the philosophy for its great benefits to Thailand and other countries. It encouraged member countries to adopt the philosophy as a guideline for sustainable development. As a young government officer, Wiwat Salyakamthorn would never dream of an opportunity to get close to His Majesty King Bhumibol Adulyadej. He described as the “proudest experience” in his life having worked for His Majesty for 16 years. Wiwat had played an important role in visualising and materialising the sufficiency economy philosophy with a focus on human development. Another important mission was to drive the “Agri-Nature” principle through conceptualising and field work at Mab-Ueang Agri-Nature Centre, Chonburi province. It was a lifelong learning centre that had adopted His Majesty’s philosophies on soil, water and forest management to create an ecosystem that was balanced and sustainable for the agricultural sector. The project, which enabled communities to follow the sufficiency economy philosophy, was expanded into a study on future education, using homes, temples

60

POWER MAGAZINE


and schools to give children education and morality. The result was Pootalay School, the blueprint of many following learning centres to ensure people’s equal access to basic education. It was officially endorsed in the government’s ministerial regulations. Wiwat currently serves as president of the Sufficiency Economy Institute and the Agri-Nature Foundation, and chairman of the committee on education reform under the National Reform Steering Assembly. Having worked briefly as an NESDB policy and strategy analyst, Wiwat said he had never met His Majesty until former Prime Minister Prem Tinsulanonda set up a special

december 2016 - january 2017

committee to coordinate with the Office of Royal Development Projects Boards (RDPB). “I just started working and did not feel I would be a good fit. Dr Sumet Tantivejkul kindly asked his secretary to fill out an application for me and I only had to sign. In the position, I had a chance to follow His Majesty and took notes on his visits. Sometimes the visits were long and there were many ideas and conversations with a lot of people. My job was to process the information and work on a plan, as well as monitor and assess on how various organisations responded to His Majesty’s initiatives, and present reports to His Majesty accordingly.”

Wiwat was first assigned to the Huai Sai Royal Development Study Centre in Phetchaburi province. At the time, the community, which had a mixture of Buddhists and Muslims, was encountering the problems of severe drought and natural disasters. According to His Majesty, there should be ways for the community to live in coexistence with the forest. Wiwat was assigned to study from the available information and submit a development plan to His Majesty. “That was my first project. Dr Sumet was kind enough to allow me to report directly to His Majesty. I was very nervous and excited – it took me four whole months of hard work and discussions with experts until I was confident enough to present my report to His Majesty. I was certain that His Majesty would appreciate my report but it didn’t turn out that way.” Wiwat said he presented a plan for the Buddhist people to grow pineapples, which could be suitable for the soil condition in the area and could be sold to factories for profit. Meanwhile, the Muslim people would be encouraged to raise cows to produce milk. His Majesty reportedly remarked, “If they do not grow rice and rely on other sources for rice, they need to have trucks, oil and roads. If there’s a storm and roads are disconnected,

61


Wiwat Salyakamthorn

they will not have rice to eat. There’s no stability. As a young man, I argued that a preliminary research showed that the soil in the area was unsuitable for rice farming. I insisted that pineapple was the right choice. His Majesty replied that rice was a type of grass which could be grown in any kind of soil as it only needed water. He also said that the people could grow rice for consumption. If they had a rice milling machine, they could keep the rice for rainy days. When they had no money, they would still have rice to eat. If they could use broken rice from milling to feed their fish, ducks and chickens, they would always have food to eat and did not have to heavily rely on the market, according to His Majesty. “His Majesty explained that forest areas would be severely depleted if Muslim residents raised cattle in the forest and it could lead to water shortage. Without water, the soil would be meaningless. I agreed with his reasons. What he said reflected his incredible intelligence. I’d been taught that before you grow something, you have to learn about market demand and follow that. But that would mean focusing on profits; it’s not sustainable and it does not protect the forest. His Majesty’s approach was well-rounded.” Describing His Majesty as responsive, Wiwat said His Majesty would listen to him with an open mind despite the fact that

62

Wiwat Salyakamthorn

H i s M aj e s t y ’ s i n t e l l i g e n c e

he was a young man. He said the King would offer logical reasons, and His Majesty’s suggestions were practical and helpful to people. “For me, His Majesty was like a teacher and a father. He was kind but strict. He would listen but also ask questions, as well as provide reasons. Sufficiency economy does not mean that you refrain from buying anything. His Majesty explained that you could buy if you wanted to. For instance, if you like mackerel, it doesn’t mean you have to build a boat and sail out to catch them. However, if you could grow basic things, you would not have to buy them, or you would be too dependent on money.” After working under His Majesty for 16 years, Wiwat resigned from the civil service to personally implement the sufficiency economy philosophy. “I’d made thousands of work plans but no one read or followed them. When I worked for His Majesty, I talked to farmers about sufficiency economy, but no one believed me. They said I could say those things because I had a steady salary. So I had to prove it to them. I used my brother’s unused land, about 40 rai, in Mab Eung, Chonburi. The soil was infertile – nothing could grow on that soil. I spent the money I had to grow plants and rice, and raise fish. I did it in my spare time. I did not succeed after 11 years. In 1996,

I left the job as assessment director of RDPB and became fully involved in farming. I felt that His Majesty’s work was not only in the learning centre, but it had to reach out to people. I failed to achieve after 11 years but I finally made it in just a year when I took it seriously.” Wiwat, 63, vowed to follow His Majesty’s footsteps and continue sufficiency economy. “I want to live as long as I can to carry on His Majesty’s initiatives. I want to promote sufficiency economy. Today, many people talk about it but few understand it. The philosophy has received a lot of interests but little practice. I wish sufficiency economy could be included in education for Thai children at a young age. I will try my best to promote the philosophy because it is universal and applicable to everyone.” Wiwat concluded that Thai people were fortunate to have His Majesty King Bhumibol as the leader while people around the world did not have the same privilege. His Majesty’s kindness was unfathomable and he had set a good example for a self-sufficient lifestyle. “I would define sufficiency economy as a philosophy of contentment and giving. To give, one has to be content with what one has, not being too lazy to do more. His Majesty was the perfect example – he had worked very hard and shared good things with people. That’s the core of the philosophy. To sum up, the more you give, the more you receive.”

POWER MAGAZINE



...เมื่อจะเริ่มงานสิ่งใด ให้พยายามคิด พิจารณา ให้เห็นจุดหมาย เห็นสาระและประโยชน์ ที่แท้จริงของงานนั้น อย่างแจ่มแจ้ง แล้วจึงลงมือทำ�ด้วยความตั้งใจ มั่นใจ ด้วยความรับผิดชอบอย่างสูง ให้ดำ�เนินลุล่วงตลอดไป อย่างต่อเนื่องโดยมิ ให้บกพร่องเสียหาย...

…Before you do something, ponder over it to envision its goal, essence and benefits. Do it with determination, confidence and full responsibility to see it through without mistakes…




H i s M a j e s ty ’ s roya l d u tie s

P H OTO GRAPHY TH EW I N C H A N YAW ONG

นอกจากเหล่าข้าราชบริพารที่ถวายงานรับใช้ ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท จะมีโอกาสได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ไปเยี่ยมเยียนราษฎรตามท้องที่ต่างๆ แล้ว บุคคลอีกกลุ่มหนึ่งที่ ได้รับ โอกาสอันสำ�คัญนี้ คือ ช่างภาพสื่อมวลชน ซึ่งตามเสด็จไปฉายพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ขณะทรงประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆ When His Majesty King Bhumibol Adulyadej made his visits to rural areas throughout Thailand, he was accompanied by officials from the palace and related government agencies. Photo journalists were regularly included in most royal trips.

หนึ่งในช่างภาพไม่กี่คนของเมืองไทยที่ได้รับ โอกาสสูงสุดแห่งชีวิตการเป็นช่างภาพ คือ “เทวินทร์ จรรยาวงษ์” อดีตบรรณาธิการภาพหนังสือพิมพ์ เดอะ เนชั่น ที่ได้มีโอกาสตามเสด็จยาวนานเกือบ 40 ปี แม้จะอยู่ในวัยเกษียณจากการทำ�หน้าที่มา หลายปี ความทรงจำ�หลายอย่างในชีวิตเริ่มพร่ามัว แต่ภาพความประทับใจเมื่อครั้งได้ตามเสด็จ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ยังกระจ่างในความทรงจำ�ไม่รู้ลืม เทวินทร์ฉายภาพ ในอดีตเมือ่ ครัง้ ได้ตามเสด็จให้ฟงั ว่า พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงคิดถึง ประชาชนก่อนเสมอ และทรงมีความละเอียดอ่อน ในทุกเรื่อง “ประชาชนทัว่ ไปอาจสงสัยว่า ทำ�ไมพระองค์ทา่ น ถึงทรงพระดำ�เนินเป็นระยะทางหลายกิโลเมตร เพื่อไปทรงงานในหมู่บ้านชาวเขาที่ห่างไกล กระทั่ง ผมได้ตามเสด็จไปดอยอ่างขางอันเป็นที่ตั้งของ โครงการหลวงในปัจจุบนั ถึงได้ทราบเหตุผล พระองค์ จะทรงกำ�ชับเจ้าหน้าที่ให้ลงจอดเฮลิคอปเตอร์ ส่วนพระองค์ห่างจากชุมชนเสมอ โปรดให้สร้าง ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ให้ห่างจากหมู่บ้านของ ประชาชน แล้วทรงพระดำ�เนิน 4-5 กิโลเมตร ฝ่าป่าทึบ เพราะไม่ต้องการให้แรงลมจากเฮลิคอปเตอร์ หลายลำ�พัดทำ�ลายบ้านเรือนประชาชนที่สร้างจาก ไม้ไผ่ หลังคามุงจาก ได้รับความเสียหาย ขณะที่ ทรงพระดำ�เนินก็จะทอดพระเนตรแหล่งน้ำ� ต้นไม้ ภูเขา ว่าจะนำ�มาพัฒนาได้อย่างไร” december 2016 - january 2017

เทวินทร์ยังถ่ายทอดภาพความทรงจำ�ที่ยังคง ตราตรึงในหัวใจตราบจนวันนี้ว่า “เวลาที่เสด็จ พระราชดำ�เนินไปทรงเยี่ยมราษฎร พระเจ้าอยู่หัว จะสวมฉลองพระบาทเป็นบู๊ตครึ่งเข่า ช่วงแรกๆ ที่ผมตามเสด็จ ผมเคยเห็นนายตำ�รวจชั้นผู้ใหญ่ใน ท้องที่บางคนที่ไม่แข็งแรงพอ ถึงขั้นเหนื่อย หายใจ ไม่ออก ลงไปนอนที่พื้นฝุ่น และอาเจียนออกมาเลย ก็มี ขณะที่พระองค์ท่านทรงพระดำ�เนินไม่หยุด

ราวกับไม่ทรงเหน็ดเหนื่อย เราเองยังไม่แข็งแรงเท่า พระองค์ท่าน พอไปถึงที่หมาย จะทรงเยี่ยมเยียน ชาวบ้าน ประทับคุยกับผู้ใหญ่บ้านอย่างเป็นกันเอง หรือเวลาที่เสด็จฯ แล้วมีประชาชนนำ�ของมาถวาย พระองค์ท่านจะรับสั่งถามว่าปลูกอย่างไร ได้มา อย่างไร ต้องทำ�อย่างไรถึงจะมีผลผลิตดีขึ้น อร่อยขึ้น ทั้งหมดนี้เป็นการสะท้อนว่าพระองค์ท่านทรงเป็น นักพัฒนาอย่างแท้จริง”

67


H i s M a j e s ty ’ s roya l d u tie s

พระองค์ท่านทรงหยุด และแย้ม พระโอษฐ์ พร้อมรับสั่งว่า ขอบใจนะ ที่มาช่วยถ่ายรูปงานให้ ผมดี ใจซาบซึ้งมาก พูดได้คำ�เดียวว่า พระพุทธเจ้าข้า

He stopped, smiled, and thanked us for taking photos of the competition. I was deeply touched beyond words. I could only mumble, ‘Yes, Your Majesty’

ระหว่างที่พาย้อนวันวานเพื่อถ่ายทอดเรื่องราว อันเป็นที่สุดของชีวิต เทวินทร์ถือโอกาสเปิดคลัง พระบรมฉายาลักษณ์ให้ชมเพื่อรำ�ลึกถึงวันวาน โดยหนึ่งในภาพประวัติศาสตร์ที่เจ้าตัวไม่เคย ลืมเลือน นั่นคือ พระบรมฉายาลักษณ์ขณะ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ประทับเรือของชาวบ้าน ณ หนองบัวบากง อำ�เภอ รือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เทวินทร์บอกเล่าด้วย แววตาเป็นประกายว่า หนองบัวบากงเป็นบึงน้ำ� ขนาดใหญ่ เป็นแหล่งน้ำ�ที่หล่อเลี้ยงคนในพื้นที่ ด้วยเหตุนี้เพื่อทรงศึกษาให้ลึกซึ้งว่า จะสามารถนำ� ประโยชน์อะไรจากบึงน้ำ�แห่งนี้มาใช้ได้อีก พระองค์ทา่ นจึงประทับเรือเพือ่ ศึกษาด้วยพระองค์เอง “ตอนที่เห็นพระองค์ท่านประทับเรือ ผมกับ หัวหน้าช่างภาพหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ก็รีบวิ่ง ไปหาเรือ วิ่งไปเจอเรือลำ�สุดท้าย เป็นของนายอำ�เภอ รือเสาะ ผมยกมือไหว้ขอร้องท่านอยู่สักพัก ท่านจึง กรุณาให้เรือผม ผมลงเรือด้วยความดีใจ ขอให้ คนพายเรือพายให้เร็วเพื่อตามเรือของพระองค์ท่าน ให้ทนั คนพายเรือก็พายอย่างเร็ว ด้วยความทีต่ อนนัน้ เป็นเวลาใกล้ค่ำ�แล้ว ประกอบกับในบึงนั้นมีเรือ หลายลำ� เราไม่รู้เลยว่าเรือของเรากำ�ลังมุ่งเข้าไปหา เรือของพระองค์ท่าน มารู้ตัวอีกที ผมซึ่งนั่งหน้าสุด เห็นเรือของพระองค์ท่านห่างไปไม่ถึง 3 เมตร ผมรีบยกมือไหว้พระองค์ท่าน โชคดีมากที่เรือ ชะลอตัวลงได้ และเคลื่อนขนานกับเรือของพระองค์ ในเวลานั้นสัญชาตญาณช่างภาพบอกว่า นี่คือ ภาพที่สวยมาก สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม 68

ราชินีนาถ ทรงฉลองพระองค์สีชมพูตัดกับท้องน้ำ� สวยมาก พอได้จังหวะ ผมยกกล้องขึ้นฉายพระบรม ฉายาลักษณ์ กดชัตเตอร์ยกม้วน 36 รูป คือ หมดม้วนเลยกว่าจะได้พระบรมฉายาลักษณ์นี้มา” อีกหนึ่งเหตุการณ์ประทับใจที่ตราบจนวันนี้ ยังชัดเจนในความทรงจำ�ราวกับเพิ่งเกิดขึ้น คือ เมื่อครั้งได้มีโอกาสตามเสด็จไปในการแข่งขันเรือใบ ที่พระตำ�หนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ เทวินทร์เล่าว่า ในวันนั้นเป็น

วันสุดท้ายของการแข่งขัน เมื่อเสร็จจากพิธีมอบ ถ้วยรางวัล เขาและช่างภาพรุ่นน้องเดินออกจาก เต็นท์ไปทางพระตำ�หนักเปี่ยมสุข โดยไม่คิดฝันว่า จะได้มีโอกาสชื่นชมพระบารมีพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชอย่างใกล้ชิด “ผมเห็นพระองค์ท่านทรงพระดำ�เนินตรงมา ทางเราโดยไม่มีผู้ติดตาม พอทรงพระดำ�เนินมาตรง หน้าเรา ผมรีบโค้งคำ�นับ พระองค์ท่านทรงหยุด และ แย้มพระโอษฐ์ พร้อมรับสั่งว่า ขอบใจนะที่มาช่วย ถ่ายรูปงานให้ ผมดีใจซาบซึ้งมาก พูดได้คำ�เดียวว่า พระพุทธเจ้าข้า แล้วก้มลงไปโค้งคำ�นับพระองค์ท่าน ความจริงผมอยากจะพูดมากกว่านี ้ แต่เหมือนมีอะไร มาจุกที่คอ พอเงยหน้าขึ้นมา พระองค์ท่านก็แย้ม พระโอษฐ์ แล้วทรงพระดำ�เนินขึ้นพระตำ�หนัก เปี่ยมสุขไป ผมยังจดจำ�พระสุรเสียงอันนุ่มนวลของ พระองค์ท่านได้ไม่ลืมเลือน”

POWER MAGAZINE


นอกจากจะได้ตามเสด็จแล้ว เทวินทร์ยังเป็น หนึ่งในช่างภาพไม่กี่คนที่ได้มีโอกาสฉายพระบรม ฉายาลักษณ์ในงานพระราชพิธีสำ�คัญ หนึ่งใน พระบรมฉายาลักษณ์ที่ประทับใจและไม่ค่อยได้นำ� มาบอกเล่า คือ พระบรมฉายาลักษณ์เมื่อครั้ง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำ�เนินถวายผ้าพระกฐิน โดยกระบวน พยุหยาตราชลมารค ณ วัดอรุณราชวราราม เทวินทร์บอกว่า นับตั้งแต่เกิดมา สิ่งที่ประจักษ์ใจ เสมอ คือ พระเจ้าแผ่นดินทรงห่วงใยพสกนิกร ของพระองค์ แต่ในวันนั้นเขากลับได้เห็นอีกมุมหนึ่ง ของความจงรักภักดีที่คนไทยมีต่อพระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่ง “วันนั้นผมรอถ่ายภาพพระราชพิธีที่วัดอรุณฯ ขณะที่เรือพระที่นั่งอยู่กลางแม่น้ำ� ปรากฏว่ามี พายุฝนลมแรงมาก ประชาชนที่รออยู่บนฝั่ง มองแทบไม่เห็นเรือพระที่นั่งเลย ในเวลานั้น ผมสัมผัสได้ถึงความห่วงใยที่พสกนิกรมีต่อพระองค์ ทุกคนพนมมือไหว้ขอพรให้พระองค์ท่านทรง ปลอดภัย หลังจาก 15 นาทีผ่านไป บรรยากาศ โดยรอบคลี่คลาย เรือพระที่นั่งปรากฏให้เห็น พสกนิกรที่อยู่บริเวณนั้นต่างพากันพนมมือด้วย ใบหน้าที่เปี่ยมไปด้วยรอยยิ้มและความโล่งใจ”

december 2016 - january 2017

69



H i s M a j e s ty ’ s roya l d u tie s

ทง้ั หมดนี ้ เทวินทร์บอกว่า เป็นเพียงส่วนหนึง่ ของ ความประทับใจทีม่ ตี อ่ พระองค์ทา่ น ตลอดเกือบ 40 ปี ที่ผ่านมา เขาไม่เพียงซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย แต่ยังน้อมนำ�พระราช จริยวัตรอันงดงามของพระองค์ท่านมาเป็นแบบอย่าง ในการดำ�เนินชีวิต โดยเฉพาะเรื่องความเรียบง่าย และมัธยัสถ์ “พระบรมฉายาลักษณ์ที่หลายคนคุ้นตา คือ พระบรมฉายาลักษณ์ที่พระองค์ทรงมีกล้องถ่ายรูป คล้องพระศอ กล้องถ่ายรูปทีพ่ ระองค์ทรงเลือกอาจไม่ได้ มีราคาค่างวดที่สูงมาก หรือแม้แต่กล้องถ่ายรูปใต้น้ำ� สีเหลืองที่คล้องพระศอไว้ตลอดขณะทรงเรือใบ กล้องตัวนี้ราคาเพียงไม่กี่พันบาท เมื่อเทียบกับกล้อง ถ่ายรูปใต้น�ำ้ ในสมัยนัน้ บางยีห่ อ้ มีราคาสูงถึงแสนบาท แต่พระองค์ทรงเลือกที่จะใช้กล้องพอเพียงตัวนี้ เพราะทรงเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องความเรียบง่าย และความมัธยัสถ์ให้กับพสกนิกร” เทวินทร์กล่าวทิ้งท้ายด้วยแววตาเศร้าโศกว่า หลังจากทราบข่าวร้ายจากแถลงการณ์ของสำ�นัก พระราชวัง ความรู้สึกในเวลานั้นคงไม่ต่างจาก คนไทยทั้งประเทศที่ได้สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักยิ่ง ไปอย่างไม่มีวันกลับ นับเป็นความสูญเสียอัน ใหญ่หลวงเหลือเกิน แต่สิ่งที่เขาคิดว่าตัวเองและ december 2016 - january 2017

คนไทยทุกคนพอจะทำ�ได้จากนี้ คือ การน้อมนำ� พระราชจริยวัตรที่งดงามของพระองค์ท่านมาเป็น แบบอย่างในการดำ�เนินชีวิต และสานต่อสิ่งดีๆ ที่ พระองค์ท่านทรงปูรากฐานไว้ให้ต่อไป

One of few photographers in Thailand who received such an honour was Thewin Chanyawong, former photo editor of The Nation, who spent about 40 years following His Majesty King Bhumibol Adulyadej. Although he has retired many years ago, and some of his memories have faded, but he can still vividly remember the days he followed His Majesty King Bhumibol Adulyadej. Speaking from his cherished memories, he said that His Majesty King Bhumibol Adulyadej always put the people first and foremost, and paid attention to every little detail. “People might not understand why His Majesty travelled great distances to remote hilltribe villages. I had a chance to follow His Majesty on a trip to Doi Ang Khang, where one of the Royal Projects is located, and learned the reason why.

พระองค์ทรงเลือกที่จะใช้ กล้องพอเพียงตัวนี้ เพราะทรงเป็น แบบอย่างที่ดี ในเรื่องความเรียบง่าย และความมัธยัสถ์ ให้กับพสกนิกร He chose to use this one, because it was enough for him. He’s such a perfect example of being economical

His Majesty always made sure that the helicopter he travelled in landed not too near a community and he would walk 4-5 kilometres through the jungle. He chose to do that because he did not want the wind from the helicopter to blow into the people’s fragile houses, as they were made with bamboo and thatched roofs. During his visits,

71


H i s M a j e s ty ’ s roya l d u tie s

he would look at water sources, trees and mountains, while contemplating plans to develop the areas.” Thewin also talked about another fond memory. “When His Majesty visited the people, he would wear high boots. When I first followed His Majesty, I noticed that many senior policemen in those areas were not strong enough, and they would be out of breath, pass out, or throw up from exhaustion. His Majesty, however, would continue walking as if he was not tired at all. I was not half as fit as he was. Once we arrived at the destination, His Majesty would talk to the people and the village head in a friendly manner. When people presented him with local produces, His Majesty would ask them how they were grown, or how to improve the quantity and quality. It shows that he’s a true developer.”

72

While he reminisced those unforgettable days of his life, Thewin also showed us His Majesty’s images to take us back in time. There were images of His Majesty King Bhumibol Adulyadej and Her Majesty Queen Sirikit on a tiny boat in Nong Bua Ba Kong, Rue Soh district, Narathiwat province. With a sparkle in his eyes, Thewin said that Nong Bua Ba Kong was a big swamp that nourished the lives of the people in that area. His Majesty tried to study the swamp to find out how to make the most use out of it. Therefore, he went on a boat to get to know the swamp better. “When I saw Their Majesties on the boat, a Thai Rath photographer and I tried to find a boat as well, and we found the last boat available. It belonged to the chief of Rue Soh district. I begged him for the boat, and he kindly let us have it. I happily

พอไปถึงที่หมาย จะทรงเยี่ยมเยียนชาวบ้าน ประทับ คุยกับผู้ ใหญ่บ้านอย่างเป็นกันเอง

Once we arrived at the destination, His Majesty would talk to the people and the village head in a friendly manner

jumped in and asked the boatman to paddle as fast as possible in order to keep up with Their Majesties. It was starting to get dark, and there were many boats in that swamp, so I was not aware that our boat was approaching Their Majesties’ boat.

POWER MAGAZINE



H i s M a j e s ty ’ s roya l d u tie s

Before I knew it, I saw Their Majesties right in front of me, about three metres away. I abruptly raised both hands to ‘wai’ them. Fortunately, we were able to slow down our boat, and sailed alongside Their Majesties’ boat. My photographer instincts told me that it was the perfect moment. Her Majesty was wearing a beautiful pink outfit which contrasted with the water. I shot 36 images – I used up that roll of film. That’s how I got these images.” Another impressive moment, which he clearly remembers as if it happened yesterday, was when Thewin followed His Majesty to a sailing competition at Piamsuk Pavilion, Klai Kangwon Palace, Prachuap Khiri Khan province. He said that it was the final day of the competition. After the award presentation ceremony, he and another photographer walked from the tent towards Piamsuk Pavilion. They did not expect to see His Majesty King Bhumibol Adulyadej. “I saw His Majesty walking towards us without any followers. When he came closer, I bowed my head to pay respect. He stopped, smiled, and thanked us for taking photos of the competition. I was deeply touched beyond words. I could only mumble, ‘Yes, Your Majesty’ and bowed again. I wanted to say so much more, but there were no words. When I looked up, he was smiling, and he started to continue towards Piamsuk Pavilion. I still remember his soft voice.”

ผมเห็นพระองค์ท่าน ทรงพระดำ�เนินตรงมาทางเรา โดยไม่มีผู้ติดตาม พอทรงพระดำ�เนิน มาตรงหน้าเรา ผมรีบโค้งคำ�นับ I saw His Majesty walking towards us without any followers. When he came closer, I bowed my head to pay respect

74

POWER MAGAZINE


H i s M a j e s ty ’ s roya l d u tie s

Thewin Chanyawong

ผมสัมผัสได้ถึงความห่วงใยที่พสกนิกร มีต่อพระองค์ ทุกคนพนมมือไหว้ ขอพรให้พระองค์ท่านทรงปลอดภัย

75 6

I could feel that the people were worried about His Majesty. They all prayed for His Majesty to be safe

In addition to following His Majesty, Thewin was one of the fortunate few who had a chance to take pictures of His Majesty in important ceremonies. One of his most impressive works, which is lesser known, is an image of His Majesty on a kathin trip in a royal barge procession to Wat Arun Rachawararam. He said he had always known that His Majesty cared deeply about his people, but it was that day that he got to see that the people also highly revered their beloved king. “That day, I was waiting to take pictures at Wat Arun. While the royal barge procession was in the middle of the river, it started to rain heavily, and the people could hardly see the procession. I could feel that the people were worried about His Majesty. They all prayed for His Majesty to be safe. After 15 minutes, the rain started to fade, and the people could see His Majesty once again. They smiled with great relief.” Thewin said these were only a fraction of his memories from having followed His Majesty for four decades. Not only was he deeply touched by His Majesty’s kindness for the people, but he also learned from His Majesty, especially about simplicity and being economical. “We are familiar with seeing images of His Majesty with a camera on his neck. The cameras he used were not expensive. Even his yellow underwater camera was only a few thousand baht, whereas other underwater cameras at the time could cost 100 times more. He chose to use this one, because it was enough for him. He’s such a perfect example of being economical.” Thewin said with sadness that when he learned the news from the Royal Bureau’s announcement, like many other Thai people, he was gravely saddened that Thailand had lost such a beloved king. It was an immeasurably immense loss. However, what he and every Thai could do now is to follow His Majesty’s example in life and to continue the great things His Majesty had done for the country.

POWER MAGAZINE


His Majesty’s royal duties

ตลอดระยะเวลา 70 ปีแห่งการครองสิริราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงงานอย่างหนักเพื่อให้พสกนิกรชาวไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

Throughout his 70-year reign, His Majesty King Bhumibol Adulyadej had worked tirelessly for the well-being of Thai people.

หลังจากเสด็จพระราชดำ�เนินไปทรงเยี่ยมพสกนิกรในพื้นที่ต่างๆ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช ทรงรับทราบถึงความทุกข์ยาก ของราษฎรในทุกพื้นที่ และทรงปรารถนาจะได้เห็นประชาชนอยู่ดีมีสุขตาม สมควรแก่อัตภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม ซึ่งถือว่าเป็นอาชีพหลักของประเทศ จึงมีพระราชดำ�ริให้จัดตั้ง “โครงการ ส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา” อันกลายเป็นปฐมบทแห่งการพัฒนาอย่างแท้จริง ในพ.ศ. 2504 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชดำ�ริให้จัดสรรพื้นที่ในพระตำ�หนักจิตรลดารโหฐาน อันเป็นราชฐาน ที่ประทับ ให้เป็นที่ตั้งของโครงการส่วนพระองค์ เพื่อศึกษา ทดลอง และวิจัย หาวิธีแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับงานทางด้านการเกษตรต่างๆ เช่น การปลูกข้าว

76

การเลี้ยงโคนม การเพาะพันธุ์ปลานิล และอื่นๆ อีกมากมาย ก่อนนำ�ไปใช้จริง เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยน้ำ�พระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช ทำ�ให้พื้นที่ภายในเขตพระราชฐานของพระตำ�หนักจิตรลดารโหฐาน ได้รับการพัฒนาให้กลายเป็นห้องทดลองของพระราชาขึ้นตามพระราชดำ�ริ ห้องทดลองแห่งนี้อาจจะแตกต่างจากห้องทดลองทั่วไป เพราะเป็น ห้องทดลองกลางแจ้งขนาดใหญ่ ที่มุ่งเน้นการดำ�เนินงานโดยยึดแนว “เศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรอย่างยั่งยืน ให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติ

POWER MAGAZINE


ภายในห้องทดลองแห่งนี้เต็มไปด้วยการศึกษา วิจัย ทดลอง เพื่อหาวิธี แก้ปัญหาด้านการเกษตรต่างๆ รวมทั้งการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรภายใน ประเทศ เพื่อลดการนำ�เข้าสินค้าจากต่างประเทศ ตลอดจนการนำ�วัสดุเหลือใช้ ทางการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยกระบวนการผลิตที่ง่าย แต่มีประสิทธิภาพ ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ตามวัตถุประสงค์หลัก ในการดำ�เนินงาน 3 ประการ คือ เป็นโครงการศึกษาทดลอง เป็นโครงการที่ ไม่หวังผลตอบแทนเชิงธุรกิจ และเป็นโครงการตัวอย่างให้ผู้ที่สนใจสามารถ นำ�ความรู้ไปเป็นแบบอย่างหรือแนวทางในการประกอบอาชีพต่อไป หากมีโอกาสมาเยือนโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา จะพบว่าทุกตารางนิว้ เต็มไปด้วยโครงการต่างๆ ซึ่งแบ่งการดำ�เนินงานออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. โครงการที่ไม่ใช่ธุรกิจ หมายถึง โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก หน่วยงานราชการต่างๆ ที่สนองพระราชดำ�ริเกี่ยวกับการพัฒนาด้านการเกษตร ควบคูไ่ ปกับการอนุรกั ษ์ธรรมชาติ ประกอบด้วยโครงการป่าสาธิต, นาข้าวทดลอง, การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลานิล, กังหันลม, บ้านพลังงานแสงอาทิตย์, การเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อ, ระบบผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานลม และโรงกระดาษสา 2. โครงการกึ่งธุรกิจ มีกระบวนการแปรรูปวัตถุดิบทางการเกษตร รวมทั้ง จำ�หน่ายผลิตภัณฑ์ในราคาที่ไม่หวังผลกำ�ไร โดยมุ่งส่งเสริมให้ประชาชนบริโภค สินค้าทีผ่ ลิตได้ภายในประเทศ และนำ�รายได้มาหมุนเวียนบริหารภายในโครงการ ต่อไป โดยแยกเป็นกลุ่มงานต่างๆ อาทิ กลุ่มงานเกี่ยวกับนม ประกอบด้วย december 2016 - january 2017

โรงโคนม สวนจิตรลดา, โรงนมผง สวนดุสิต, ศูนย์รวมนม สวนจิตรลดา, โรงนมเม็ด สวนดุสิต, โรงเนยแข็ง สวนจิตรลดา, โรงน้ำ�ดื่ม สวนจิตรลดา และโรงนมยูเอชที สวนจิตรลดา ถัดมาคือ กลุ่มงานเกี่ยวกับเกษตร ได้แก่ โรงสีข้าวตัวอย่าง สวนจิตรลดา, โรงน้ำ�ผลไม้พาสเจอร์ไรส์, โรงผลิตภัณฑ์ อบแห้ง, โรงหล่อเทียนหลวง สวนจิตรลดา, โรงเพาะเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทอง, โรงเพาะเห็ด, โรงผลิตภัณฑ์น้ำ�ผึ้ง, โรงผลิตภัณฑ์บรรจุกระป๋อง และสุดท้ายคือ กลุ่มพลังงานทดแทน ได้แก่ โรงบดแกลบ, หน่วยทดลองผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิง, โครงการแก๊สโซฮอล์ และโครงการไบโอดีเซล ปัจจุบันมีโครงการมากมายถือกำ�เนิดขึ้นในห้องทดลองส่วนพระองค์แห่งนี้ โครงการที่ชาวไทยคุ้นหูเป็นอย่างดี คือ การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลานิล ซึ่งมีที่มาจาก พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรง ห่วงใยสุขภาพอนามัยของราษฎรที่มีฐานะยากจนและขาดสารอาหารประเภท โปรตีน ครั้นจะหาเนื้อสัตว์ราคาถูกที่พอจะหาบริโภคได้อย่างปลา ก็พบว่าปลา ที่มีอยู่ในธรรมชาติมีจำ�นวนลดน้อยลงเรื่อยๆ ดังนั้นเมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิ แห่งประเทศญี่ปุ่น ขณะดำ�รงพระอิสริยยศเป็นมกุฎราชกุมารเจ้าชายอะกิฮิโตะ น้อมเกล้าฯ ถวายพันธุ์ปลานิลจำ�นวน 50 ตัว พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช จึงโปรดเกล้าฯ ให้นำ�ปลานิลไปเลี้ยงไว้ในบ่อปลา ในบริเวณพระตำ�หนักจิตรลดารโหฐาน และมีพระราชกระแสรับสั่งให้กรมประมง เพาะขยายพันธุ์ รวมทั้งปรับปรุงสายพันธุ์ให้เหมาะกับประเทศไทย จนได้เป็น 77


His Majesty’s royal duties

3 สายพันธุ์ที่รู้จักกันในชื่อ สายพันธุ์จิตรลดา 1, 2, 3 เพื่อแจกจ่ายให้ประชาชน ต่อไป นับตั้งแต่นั้นพสกนิกรชาวไทยในทุกพื้นที่จึงมีแหล่งโปรตีนจากปลา ไว้บริโภคอย่างยั่งยืน อีกหนึ่งในโครงการซึ่งชาวไทยคุ้นเคยกันดี คือ โรงโคนม สวนจิตรลดา โดยในพ.ศ. 2503 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำ�เนินประพาสประเทศเดนมาร์ก และทรงศึกษาเรื่องการทำ� ฟาร์มโคนมเพื่อเป็นอาชีพใหม่ให้แก่เกษตรกรไทย ต่อมาในพ.ศ. 2504 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทานพระราชทรัพย์ ส่วนพระองค์ จำ�นวน 32,886.73 บาท ซึ่งเป็นรายได้จากการจัดพิมพ์และ จำ�หน่ายหนังสือ “หลักวิชาการดนตรี” ที่พระเจนดุริยางค์ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย ลิขสิทธิ์ ในการดำ�เนินการจัดสร้างโรงโคนม เพื่อเลี้ยงโคที่มีผู้น้อมเกล้าฯ ถวาย จนในเวลาต่อมาอาชีพเลี้ยงโคนมกลายเป็นอาชีพที่เกษตรกรยกย่องว่า เป็นอาชีพพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 55 ปีมาแล้วที่โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา อยู่คู่สังคมไทย ด้วยพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นหาที่สุดมิได้ ในพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ผู้เป็นแสงประทีป รวมใจไทยทั้งชาติ ทรงเป็นนักพัฒนาที่เปี่ยมไปด้วยพระวิสัยทัศน์และ พระวิริยะหาใดเปรียบ จึงก่อให้เกิดการวิจัยและการทดลองต่างๆ มากมาย ซึ่งกลายเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการตัวอย่างในโครงการพระราชดำ�ริ กว่า 4,000 โครงการ นำ�ประโยชน์และความผาสุกมาสู่พสกนิกรชาวไทย ตราบจนทุกวันนี้ 78

After visiting the people in various regions, His Majesty King Bhumibol witnessed the hardship of his subjects. He wished to see them live better, particularly farmers who had been the backbone of the country. His Majesty initiated the Royal Chitralada Projects—the beginning of several other projects to follow. In 1961, His Majesty King Bhumibol allocated a plot of land in the Chitralada Villa, the royal residence, for a project to conduct agricultural studies, experiments and researches. The major purpose was to learn ways to solve agricultural problems such as rice farming, dairy farming, Nile tilapia farming and many others to pave the way for sustainable development. With His Majesty’s kindness, the plot of land in the Chitralada Villa was developed into a unique and vast outdoor laboratory, for practicing “sufficiency economy.” The objectives were to improve the lives of Thai farmers so that they were self-reliable and to conserve natural resources at the same time. Inside the lab, researches, studies and experiments were conducted to find agricultural solutions and ways to process local produces in order to reduce reliance on imported goods. Agricultural wastes were turned into useful materials in a simple process that saved both time and money. The three main objectives were to

POWER MAGAZINE


conduct experiments, to serve as models and to operate on a non-profit basis. Every square inch on the project ground had become an experiment. There were two main parts: 1. Non-commercial projects supported by government agencies in accordance with His Majesty’s initiatives on agriculture and nature conservation 2. Partially commercial projects including farm produce processing and non-profit sale of produces so that Thai people could consume locally-grown products and their purchases could support the projects Several projects began in the royal lab including the famous mango fish farming project. His Majesty was worried about the state of malnutrition among Thai people due to poverty and inaccessibility to protein-rich food like fish. Meanwhile, fish in nature had greatly diminished. When the Emperor of Japan, while he was Crown Prince Akihito, presented His Majesty with 50 fingerling of Nile tilapia, His Majesty King Bhumibol put them in a pond at the Chitralada Villa, ordered the Department of Fishery to breed them and adapt the species to suit Thailand’s climate. The results were three species, known as Chitralada 1, 2 and 3

december 2016 - january 2017

which were later distributed to the people. The breeding project had paved the way for sustainable access to protein from fish among Thai people. Another well-known project is the Suan Chitralada Dairy Farm. During His Majesty King Bhumibol’s trip to Denmark in 1960, he paid a visit to a dairy cattle farm and a milk processing plant. The purpose of the trip was to study the possibility of establishing a milk farm and milk industry in Thailand. A year later, His Majesty personally contributed 32,886.73 baht—proceeds from the sale of a book on “Principles of Music,” the right of which was presented to His Majesty by composer Phra Chenduriyang. The money was to build a dairy farm to take care of cows presented to His Majesty. Hence, dairy farming has been widely recognised as a career bestowed by His Majesty King Bhumibol. Fifty-five years later, the Royal Chitralada Projects have become a part of the Thai society, thanks to His Majesty King Bhumibol’s great benevolence. He was the guiding light of the country and a true development pioneer with an unrivalled vision and dedication. His effort has resulted in many researches and experiments which later became model projects—more than 4,000 projects—all of which bring great benefits to the country and the people.

79


His Majesty’s royal duties

เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงทราบว่า การตัดไม้ทำ�ลายป่า เพื่อปลูกฝิ่นกว่า 40 ปีที่ผ่านมานั้น สร้างปัญหาอันใหญ่หลวงตามมามากมาย ทั้งการทำ�ลายป่าต้นน้ำ� ดินเสื่อมสภาพ การโยกย้ายแหล่งทำ�กินของพสกนิกร รวมไปถึงปัญหาเรื่องยาเสพติด ที่ล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อสังคมไทยและสังคมโลก

Over 40 years ago, His Majesty King Bhumibol Adulyadej learned about forest encroachment due to opium cultivation, an activity that led to numerous problems – forest watersheds depletion, soil deterioration, forced evacuation and drug abuse, all of which negatively affected the Thai society and the world at large. 80

POWER MAGAZINE


ด้วยสายพระเนตรทีย่ าวไกลและพระราชวิสยั ทัศน์ของพระองค์ ทรงแก้ปญ ั หา เหล่านีอ้ ย่างบูรณาการ ภายใต้แนวคิด “คิดใหญ่ๆ ทำ�เล็กๆ” โดยเริม่ จากการ ส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกพืชแทนการปลูกฝิน่ และทำ�ไร่เลือ่ นลอยในพืน้ ที่ ภาคเหนือ ซึง่ เป็นต้นกำ�เนิด “โครงการหลวง” โดยทรงมุง่ หวังทีจ่ ะช่วยเหลือ ชาวไทยภูเขาให้มชี วี ติ ทีด่ ขี น้ึ ทัง้ ยังส่งผลให้คนไทยทัง้ ประเทศดำ�รงชีวติ อย่าง สงบสุข สอดคล้องกับพระราชปณิธานอันแน่วแน่ทจ่ี ะ “ช่วยชาวเขา ช่วยชาวเรา ช่วยชาวโลก” นอกจากนีย้ งั ทรงเสนอแนวพระราชดำ�ริให้มคี วามครบวงจร ก่อให้เกิด โรงงานหลวงอาหารสำ�เร็จรูปที่ 1 (ฝาง) จังหวัดเชียงใหม่ เพือ่ แปรรูปผักผลไม้สด ทีเ่ หลือจากการบริโภค ซึง่ ภายหลังได้จดั ตัง้ ขึน้ อีก 2 แห่ง ได้แก่ โรงงานหลวง อาหารสำ�เร็จรูปที่ 2 (แม่จนั ) จังหวัดเชียงราย และโรงงานหลวงอาหารสำ�เร็จรูปที่ 3 (เต่างอย) จังหวัดสกลนคร ทัง้ ยังมีการก่อตัง้ บริษทั ดอยคำ�ผลิตภัณฑ์อาหาร จำ�กัด เพือ่ ดำ�เนินกิจการในรูปแบบของธุรกิจเพือ่ สังคม ภายใต้ตราสัญลักษณ์ “ดอยคำ�” ผูน้ �ำ ธุรกิจอุตสาหกรรมน�ำ้ ผลไม้และอาหารแปรรูปเพือ่ สังคม ตามปรัชญาของ องค์กรทีว่ า่ “ดอยคำ� เป็นธรรมกับทุกฝ่าย” เพราะนอกจากสนับสนุนช่วยเหลือ เกษตรกรและชุมชนแล้ว ยังคืนกำ�ไรสูส่ งั คมเพือ่ การพัฒนาทีย่ ง่ั ยืน Thanks to His Majesty’s vision, he proposed an integral method to solve the problem under the concept “think big, act small”. He encouraged people in the North to grow fruits and vegetables instead of opium and slash and burn farming. The initiatives became the Royal Projects with the objectives of improving the living condition of the hilltribe people as well as Thai people in general, in line with his determination to “help them, help us, help the world.” According to His Majesty, the project should be self-sufficient and sustainable, starting with the First Royal Factory (Fang) in Chiang Mai, which processed leftover vegetables and fruits. Later, the Second

december 2016 - january 2017

Royal Factory was established in Mae Chan, Chiang Rai, and the third in Tao Ngoi, Sakhon Nakhon. Doi Kham Food Products Company Limited was established as a business for the good of the society under the brand “Doi Kham”. It is now a leading manufacturer of fruit juice and processed food, echoing the brand philosophy of “Doi Kham, Fairness for Everyone”. In addition to helping farmers and communities, it also contributes to society through sustainable development.

First Royal Factory (Fang) in Chiang Mai

โรงงานหลวงอาหารสำ�เร็จรูปที่ 1 (ฝาง) หมูบ่ า้ นบ้านยาง ตำ�บลแม่งอน อำ�เภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่น้ี เป็นโรงงานหลวงฯ แห่งแรกทีก่ อ่ ตัง้ ขึน้ ตาม พระราชดำ�ริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช เพือ่ รับซือ้ ผลผลิตจากมูลนิธโิ ครงการหลวง เพือ่ แก้ปญ ั หาความเดือดร้อนและทุกข์ยาก ของราษฎร ตลอดจนการถูกพ่อค้าคนกลางกดราคา โดยสร้างขึน้ จากทุนทรัพย์ ส่วนพระองค์และจากการช่วยเหลือบางส่วนจากองค์การอาหารและการเกษตร แห่งสหประชาชาติ ในระยะแรกเป็นเพียงรถยนต์ดดั แปลงให้เป็นโรงงานเคลือ่ นที่ เพือ่ ออกรับซือ้ ผลผลิตจากเกษตรกร ต่อมาได้ใช้อาคารของโรงเรียนตำ�รวจตระเวน ชายแดนเป็นโรงงานชัว่ คราว จากนัน้ จึงมีการสร้างโรงงานหลวงอาหารสำ�เร็จรูป ที่ 1 (ฝาง) ขึน้ ทีบ่ ริเวณตลาดร่มเกล้าและสหกรณ์แม่งอนเดิม จนแล้วเสร็จ มีพธิ เี ปิดอย่างเป็นทางการในพ.ศ. 2516 กล่าวได้วา่ โรงงานหลวงฯ แห่งแรกนี้ มีการติดตัง้ เครือ่ งจักรผลิตอาหารกระป๋อง อย่างสมบูรณ์แบบ ตัง้ แต่ระบบการเตรียมวัตถุดบิ การฆ่าเชือ้ และระบบไอน�ำ้ โดยดำ�เนินงานเติบโตขึน้ เรือ่ ยๆ ควบคูก่ บั การขยายตัวของโครงการหลวง ในปีตอ่ ๆ มาจึงไม่เพียงแต่รบั ซือ้ ผลผลิตจากเกษตรกรทีร่ ว่ มในโครงการหลวงเท่านัน้ แต่ยงั ส่งเสริมการปลูกพืชผักไปยังเกษตรกรทีอ่ ยูใ่ นพืน้ ทีใ่ กล้เคียงอีกด้วย ปัจจุบนั

81


His Majesty’s royal duties

โรงงานหลวงฯ แห่งนี้ เป็นกำ�ลังหลักสำ�คัญในการผลิตสินค้า “ดอยคำ�” ได้แก่ ผลิตภัณฑ์กระป๋อง ขวดแก้ว สตรอว์เบอร์รอี บแห้ง น�ำ้ ดืม่ และน�ำ้ ผลไม้เข้มข้น นอกจากนี้ หลังจากเหตุการณ์อทุ กภัยและดินโคลนถล่มจนทำ�ให้เกิดความ เสียหายในปีพ.ศ. 2549 ได้มกี ารพลิกฟืน้ โรงงานหลวงอาหารสำ�เร็จรูปที่ 1 (ฝาง) และก่อสร้างพิพธิ ภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง) เพิม่ เติมขึน้ บนพืน้ ทีป่ จั จุบนั เพือ่ ให้ประชาชนทัว่ ไป นักเรียน นักศึกษา รวมถึงนักท่องเทีย่ วทัง้ ชาวไทยและ ชาวต่างประเทศ ได้ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคณ ุ อันยิง่ ใหญ่ขององค์พอ่ หลวง ทีม่ ตี อ่ ปวงชน

The First Royal Factory (Fang) in Chiang Mai is located in Ban Yang village, Mae Ngon sub-district, Fang district, Chiang Mai. It was the first royal project factory following His Majesty King Bhumibol’s initiatives. The factory buys produce from the Royal Projects to alleviate farmers’ problems and hardship and minimise the risk of unfair pricing by middlemen. It was built from His Majesty’s financial contribution and with assistance from the Food and Agriculture Organization (FAO). In the initial stage, vehicles were modified as mobile factories to directly buy produces from farmers. Later, a building of the Border Patrol Police School was used as a temporary factory. A permanent factory was later built at Rom Klao Market and former Mae Ngon Co-op. The first royal project factory (Fang) was completed and officially opened in 1973. The first factory was fully equipped with canning machinery from preparation to sanitisation. The business grew steadily alongside the growth of the Royal Projects. Later on, not only did it purchase produces from farmers under the Royal Projects but also encouraged farmers in neighbouring areas to grow fruits and vegetables. Today, the factory is the major manufacturer of Doi Kham products, such as canned products, bottled products, dried strawberries, beverages

82

and fruit juices. After a major flood and landslide in 2006, the First Royal Factory (Fang) was renovated. The Museum of the First Royal Factory (Fang) was added to the premise for the general public, students and visitors to learn about His Majesty’s great contribution to the country.

Second Royal Factory (Mae Chan) in Chiang Rai

โรงงานหลวงอาหารสำ�เร็จรูปที่ 2 (แม่จนั ) ณ บ้านป่าห้า ตำ�บลป่าซาง อำ�เภอแม่จนั จังหวัดเชียงราย เป็นโรงงานหลวงฯ ลำ�ดับที่ 2 ก่อตัง้ ขึน้ เมือ่ พ.ศ. 2517 ด้วยวัตถุประสงค์เดียวกับแห่งแรก คือ รับซือ้ ผลผลิตจากเกษตรกรทีไ่ ด้รบั การ ส่งเสริมให้มกี ารเพาะปลูกพืชเมืองหนาว ซึง่ แรกเริม่ ได้เปิดทำ�การทดลองผลิต ข้าวโพดฝักอ่อน นมถัว่ เหลืองผง โดยได้รบั พระราชทานทุนทรัพย์สว่ นพระองค์ 100,000 บาท เพือ่ เป็นทุนหมุนเวียน ซึง่ นอกจากเงินทุนส่วนนีแ้ ล้ว ยังมีเงินทุน การสนับสนุนจากประชาชนในพืน้ ที่ บริษทั ต่างประเทศและรัฐบาลต่างประเทศ โดยเสด็จพระราชกุศลถวายเงิน ทีด่ นิ เครือ่ งจักร อุปกรณ์ และสิง่ ปลูกสร้าง ในช่วงแรกของการดำ�เนินการ มีการจัดตัง้ สหกรณ์การเกษตร เพือ่ จำ�หน่ายปุย๋ สารเคมี และเครือ่ งอุปโภคบริโภคทางการเกษตร เพือ่ ให้เกษตรกรได้ใช้สนิ ค้า ราคาถูก โดยโรงงานหลวงฯ ที่ 2 (แม่จนั ) จะรับซือ้ ผลผลิตจากอำ�เภอแม่สาย อำ�เภอแม่จนั อำ�เภอเชียงแสน และอำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงราย มีผลิตภัณฑ์ ทีแ่ ปรรูปจากถัว่ เหลืองเป็นสินค้าสร้างชือ่ เนือ่ งจากมีเครือ่ งจักรผลิตแป้งถัว่ เหลือง ไขมันเต็มรูปแบบเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ปัจจุบนั เป็นโรงงานหลักในการผลิต น�ำ้ ผลไม้พร้อมดืม่ ผลไม้แช่แข็ง และแป้งถัว่ เหลือง The Second Royal Factory (Mae Chan) in Chiang Rai is located at Pa Ha village, Pa Sang sub-district, Mae Chan district, Chiang Rai. It was built in 1974 with the same objective as the first one – to buy farm produces from farmers who were encouraged to

POWER MAGAZINE


grow cool climate fruits and flowers. In the beginning, the factory’s main products were baby corn and powdered soy milk. His Majesty personally donated 100,000 baht as revolving fund. Local people, overseas companies and foreign governments also provided financial contributions, land, machines, tools and buildings to make the factory possible. An agricultural cooperative was set up to sell fertilisers, chemicals and agricultural products at low prices. The Second Royal Factory (Mae Chan) buys produce from Mae Sai, Mae Chan, Chiang Saen and Mueang districts in Chiang Rai. The main products here are made from soy since the factory is the first in Thailand to be equipped with full-fat soy flour manufacturing machines. Today, the factory also produces ready-to-drink fruit juices, frozen fruits and soy flour.

Third Royal Factory (Tao Ngoi) in Sakhon Nakhon

โรงงานหลวงอาหารสำ�เร็จรูปที่ 3 (เต่างอย) ตัง้ อยูท่ บ่ี า้ นนางอย ตำ�บลเต่างอย อำ�เภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร ถือกำ�เนิดขึน้ ในพ.ศ. 2523 ระหว่างทีพ่ ระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช ประทับทีพ่ ระตำ�หนักภูพานราชนิเวศน์ และเสด็จไปยังหมูบ่ า้ นนางอยโพนปลาโหล กิง่ อำ�เภอเต่างอย ได้ทอดพระเนตรเห็น ความเป็นอยูท่ แ่ี ร้นแค้นของราษฎร ขาดแคลนน�ำ้ สำ�หรับอุปโภคและบริโภค จึงมีพระราชดำ�ริให้ปรับปรุงสภาพความเป็นอยูใ่ ห้ดขี น้ึ ส่งเสริมให้มรี ายได้และ ให้ชาวบ้านสามารถรักษาสภาพความเป็นอยูแ่ ละพัฒนาต่อไปได้ดว้ ยตนเอง โดยนอกจากหมูบ่ า้ นนางอยโพนปลาโหลแล้ว พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคณ ุ รับหมูบ่ า้ นห้วยหวด หมูบ่ า้ นกวนบุน่ และหมูบ่ า้ นโคกกลาง ทีม่ คี วามยากจน ให้อยูใ่ นโครงการเพิม่ เติมด้วย จากโครงการพระราชดำ�ริดงั กล่าว จึงมีการจัดตัง้ โรงงานหลวงอาหารสำ�เร็จรูป ที่ 3 (เต่างอย) ขึน้ โดยใช้แนวคิดจากการพัฒนาพืน้ ทีข่ องโรงงานหลวงฯ ที่ 1 (ฝาง) december 2016 - january 2017

และโรงงานหลวงฯ ที่ 2 (แม่จนั ) เป็นต้นแบบ ก่อสร้างเสร็จราวพ.ศ. 2525 มีการ พัฒนาอาชีพและเสริมรายได้ของราษฎรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ให้ยง่ั ยืน ด้วยการปลูกมะเขือเทศและส่งเสริมการแปรรูปผลผลิต โรงงานหลวงฯ ดังกล่าวจึงเป็นโรงงานแปรรูปผลผลิตมะเขือเทศแห่งแรกๆ ของภาคอีสาน ทำ�ให้ เกิดโรงงานแปรรูปและการส่งเสริมการปลูกผลผลิตชนิดเดียวกันของภาคเอกชน ตามมามากถึง 23,000 ไร่ในปัจจุบนั จนมีค�ำ กล่าวถึงพืน้ ทีต่ ลอดฝัง่ แม่น�ำ้ โขงว่า “เส้นทางสายมะเขือเทศ” ปัจจุบนั ผลิตภัณฑ์ของโรงงานหลวงฯ แห่งนี้ จึงมีทง้ั การ ผลิตมะเขือเทศเข้มข้น ผลไม้อบแห้ง น�ำ้ ผลไม้บรรจุกระป๋อง และข้าวกล้องบรรจุถงุ

The Third Royal Factory (Tao Ngoi) in Sakhon Nakhon is located at Na Ngoi village, Tao Ngoi sub-district, Tao Ngoi district, Sakhon Nakhon. It was built in 1980. When His Majesty King Bhumibol stayed at Phu Phan Ratchaniwet Palace and visited Na Ngoi Phon Pla Lai village, he witnessed the people’s hardship and insufficient water for consumption. His Majesty wanted to improve their living condition and find ways to ensure that the villagers could have steady income and sustainably maintain a better lifestyle. His Majesty also included Huay Thuad, Kuan Bun, and Khok Klang villages into the project. From His Majesty’s royal initiatives, the Third Royal Factory (Tao Ngoi) was built, employing the concept of the first and second ones. It was completed in 1982, aiming to help people in the upper part of the Northeast so that they had sustainable jobs and income. They were encouraged to grow tomatoes and make processed food. The factory was among the first tomato processing factories in the Northeast. Today, tomatoes are grown on more than 23,000 rai of land and there are more factories by the private sector. The area is dubbed “the Tomato Route”. Today, the factory produces tomato juice concentrate, dried fruits, canned juices and packaged brown rice.

83


His Majesty’s royal duties

84

ด้วยพระมหากรุณาในการแก้ปัญหาความทุกข์ยากของราษฎรชาวไทยภูเขา กลายเป็นจุดกำ�เนิดของ ธุรกิจเพื่อสังคมที่ยั่งยืนอย่าง “ดอยคำ�” ตราบจนวันนี้ พระราชปณิธานที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของพสกนิกร ยังคงได้รับการสานต่ออย่างเต็มกำ�ลัง เพื่อผลักดันให้ก้าวไปสู่ความยั่งยืน

His Majesty King Bhumibol’s determination to alleviate the hardship of hilltribe people has evolved into a sustainable social enterprise – Doi Kham. Today, His Majesty’s wish to improve the people’s quality of life has been fully carried on with sustainability as the goal.

POWER MAGAZINE


december 2016 - january 2017

85


His Majesty’s royal duties

“พิพัฒพงศ์ อิศรเสนา ณ อยุธยา” กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดอยคำ�ผลิตภัณฑ์อาหาร จำ�กัด หนึ่งในผู้สานต่อ แนวพระราชดำ�ริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กล่าวว่า จวบจนวันนี้แนวพระราชดำ�ริที่พระราชทานไว้กับผลิตภัณฑ์ดอยคำ�ตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2537 ยังคงอยู่ “เมื่อปีที่แล้วเป็นปีแรกที่เราส่งน้ำ�มะเขือเทศ 100% และน้ำ�มะม่วง เข้าทดสอบรสชาติในเวทีระดับโลก และน้ำ�มะม่วงของเราได้รับรางวัล 2 ดาว ทองคำ� ส่วนน้ำ�มะเขือเทศ 100% ได้รับ 1 ดาวทองคำ� จากสถาบันรับรองรสชาติ อาหารและเครื่องดื่ม (International Taste & Quality Institute: ITQI) ซึ่งเป็น รางวัลที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก จัดขึ้นที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม นับเป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ว่า รสชาติของผลิตภัณฑ์ดอยคำ�เป็นที่ยอมรับในระดับ สากล ในปีต่อๆ ไป เราตั้งใจว่าจะส่งผลิตภัณฑ์เข้าทดสอบมาตรฐานเพื่อให้เป็น ที่ยอมรับในระดับสากลมากขึ้น นอกจากนี้ตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เราได้ปรับลดราคาสินค้าดอยคำ�ลง ตามราคาน้ำ�มันที่ปรับตัวลดลง เพื่อดำ�เนินรอยตามเจตนารมณ์ของเราที่จะส่งมอบสินค้าคุณภาพในราคา ที่จับต้องได้ให้ผู้บริโภค” นอกจากนี้ดอยคำ�ยังเป็นหนึ่งในตัวอย่างการดำ�เนินธุรกิจอย่างใส่ใจ ต่อสังคม ด้วยการให้ความรู้และความช่วยเหลือเกษตรกร พิพัฒพงศ์ ขยายความว่า สิ่งที่ดอยคำ�ทำ�ไปคู่กับการทำ�ธุรกิจ คือ การให้ความรู้เกษตรกร ก้าวทันโลกที่เปลี่ยนแปลง ด้วยการแนะนำ�ให้หันมาสู่การทำ�เกษตรแบบประณีต แทนที่จะทำ�การเกษตรแบบพื้นบ้านที่ให้ผลผลิตไม่แน่นอน ต้องอาศัยต้นทุนและ พื้นที่เพาะปลูกมากกว่าเมื่อเทียบกับการทำ�เกษตรแบบประณีต “ปกติเราทำ�เกษตรแบบพื้นบ้าน เวลาเพาะเมล็ดก็หว่านๆ ไป บางครั้ง ไก่ก็มาจิกกินเมล็ดไปบ้าง แต่เกษตรแบบประณีตเราต้องใส่ใจในทุกรายละเอียด ตั้งแต่เริ่มต้น ตั้งแต่การเตรียมเมล็ด การเตรียมก้นหลุมด้วยการใช้ไตรโคเดอร์มา เพื่อป้องกันเชื้อรา เราต้องเข้าไปให้คำ�แนะนำ�ในการปลูกพืชเพื่อเพิ่มผลผลิต เช่น จากเดิมหากปลูกมะเขือเทศโดยปล่อยให้เลื้อยกับพื้น จะได้ผลผลิตต่อไร่ 86

ประมาณ 5 ตัน แต่ถ้าเปลี่ยนมาปลูกแบบขึ้นค้าง เก็บโค่นต้นให้โล่ง เพื่อให้ลมผ่าน เพื่อที่เชื้อราจะได้ไม่ขึ้นใบ จะทำ�ให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นเป็น 15 ตัน ข้อดีคือ นอกจากผลผลิตเพิ่มขึ้น ยังช่วยลดการทำ�ลายทรัพยากร ใช้พื้นที่ปลูกลดลง แทนที่จะต้องปลูก 3 ไร่ ก็เหลือ 1 ไร่ แต่ผลผลิตเท่ากัน ลดการใช้น้ำ� กำ�ลังคน ต้นทุนทุกอย่างลดลง” พิพัฒพงศ์กล่าวด้วยแววตาที่เป็นประกายว่า ด้วยสายพระเนตรที่ กว้างไกล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงแบ่ง ความรับผิดชอบระหว่างโครงการหลวง และบริษัท ดอยคำ�ผลิตภัณฑ์อาหาร จำ�กัด อย่างชัดเจน สำ�หรับโครงการหลวง ซึ่งดูแลในส่วนของการวิจัยและ พัฒนาเป็นหลัก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิ ขณะที่ดอยคำ� ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งเป็นนิติบุคคลในรูปแบบ ของบริษัท โดยมีสำ�นักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และมูลนิธิ โครงการหลวงเป็นผู้ถือหุ้น ดำ�เนินกิจการรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรจาก มูลนิธิโครงการหลวงและเกษตรกรในพื้นที่ ด้วยราคาที่เป็นธรรม เพื่อนำ�มา ผลิตเป็นสินค้าคุณภาพและจัดจำ�หน่ายเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปภายใต้ ตราสัญลักษณ์ “ดอยคำ�” “เพื่อให้การทำ�ธุรกิจเป็นไปอย่างเป็นธรรม ไม่ใช่อาศัยอานิสงส์ว่าเป็นสินค้า ของพระองค์ท่าน เลยมีต้นทุนถูกกว่า สามารถขายตัดราคา ทำ�ลายตลาดได้ จึงมี การจัดตั้งเป็นรูปแบบบริษัทเพื่อให้แข่งขันในสนามการค้าได้ นโยบายที่เรายึดถือ มาตลอด คือ เราไม่หาศัตรู ใครมาถามว่าคู่แข่งเราเป็นใคร เราพูดเสมอว่า เราไม่เคยมีคู่แข่ง เรามองว่าผู้เล่นอื่นในตลาดเป็นส่วนหนึ่งในอุตสาหกรรม เดียวกับเรา เพราะฉะนั้นหากเรามีส่วนช่วยเขาพัฒนาไปได้ เรายินดีทำ� เราไม่แทรกแซง เราตั้งราคาสินค้าตามต้นทุน บวกกับค่าดำ�เนินการนิดหน่อย ไม่ได้หวังเอากำ�ไรอะไรมากมาย เพราะพระองค์ท่านรับสั่งตั้งแต่วันแรก ที่ตั้งบริษัทแล้วว่า ไม่ประสงค์เงินปันผลใดๆ แต่ที่เรายังต้องมีกำ�ไร ก็เพื่อจะ เลี้ยงองค์กรให้เกิดการพัฒนาและความยั่งยืน ตามที่พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงตั้งพระราชปณิธานไว้” POWER MAGAZINE


จากการที่ได้มีโอกาสถวายงานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช พิพัฒพงศ์บอกว่า สิ่งที่พระองค์ท่านรับสั่งเสมอ คือ “ก่อนจะตอบว่า ทำ�สิ่งใดได้หรือไม่ได้ ต้องเริ่มจากการลงมือทำ�ก่อน เมื่อใดที่พระองค์ท่านรับสั่ง ถามว่า อันนี้ทำ�ได้หรือไม่ หากมีใครตอบว่า ทำ�ไม่ได้พระเจ้าข้า พระองค์ท่าน จะหันมารับสั่งทันทีว่า ลองทำ�หรือยัง เพราะหากยังไม่ลองทำ� อย่าตอบว่า ทำ�ไม่ได้ ลองทำ�เสียก่อน แล้วดูว่าทำ�ได้หรือไม่ได้ ถ้าได้ ได้เพราะอะไร หรือไม่ได้ ก็ให้รู้ว่าไม่ได้เพราะอะไร หลายครั้งที่เราเห็นว่าพระองค์ท่านทรงทำ�อะไรก็สำ�เร็จ แต่ความจริงแล้วก็มีหลายเรื่องที่ทรงทำ�ไม่ประสบความสำ�เร็จเช่นกัน ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เคยรับสั่งว่า ทูลกระหม่อมพ่อ ไม่ได้ทำ�ทุกอย่างสำ�เร็จ บางอย่างก็สำ�เร็จ บางอย่างก็ไม่สำ�เร็จ แต่เรามักนำ� เรื่องที่สำ�เร็จมาพูด สิ่งที่พระองค์ทรงทำ�เป็นแบบอย่างเสมอ คือ อะไรที่ทำ�สำ�เร็จ ก็ต่อยอด ขยายผล ทำ�ต่อไป อะไรที่ทำ�แล้วไม่สำ�เร็จ ก็ให้รู้ไว้ว่าทำ�ทางนี้แล้ว ไม่สำ�เร็จ ก็หาทางทำ�ทางอื่นต่อไป “ผมคิดว่า แนวพระราชดำ�ริต่างๆ 4,000 กว่าโครงการ ที่พระราชทานไว้ให้ คนไทยได้มีกรอบในการดำ�เนินชีวิต ได้อยู่อย่างมีคุณภาพ จะยังคงอยู่ตลอดไป ถามว่าวันนี้เราเสียอะไร ผมคิดว่า เราเสียแต่เฉพาะสังขารที่เป็นไปตามธรรมชาติ แต่ว่าความดี สิ่งต่างๆ ที่ทรงทำ�ไว้ อย่างไรก็ไม่ไปไหน คนไทยยังยึดเป็นกรอบ แนวทางปฏิบัติตน เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ไม่ว่าจะทำ�การสิ่งใดก็ตาม หากทำ�ตาม ที่ทรงสอนไว้ ก็จะทำ�ให้ประเทศชาติพัฒนาก้าวต่อไปได้ ขออย่างเดียวว่า อย่ายึดติดสิ่งที่พระราชทานไว้ว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้อง ไม่เปลี่ยนแปลง ดั่งที่เคย รับสั่งไว้เสมอว่า หลายอย่างต้องอยู่ที่ภูมิสังคม เงื่อนเวลา หลายอย่างนำ�ไป ปรับใช้ให้ถูกต้องตามควร ไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างที่พระองค์ท่าน พระราชทานไว้เมื่อ 70 ปีที่แล้วจะถูกต้องทั้งหมด บางอย่างอาจนำ�มาปรับใช้กับ ปัจจุบันได้ แต่ถ้านำ�ของเดิมมาทั้งหมด อาจใช้ไม่ได้เลย เพราะล้าสมัยไปแล้ว”

(Left) Pipatpong Israsena Na Ayudhya

Pipatpong Israsena Na Ayudhya, President and CEO of Doi Kham Food Products Company, is among those who have kept alive His Majesty’s initiatives. Doi Kham, the fruit of His Majesty’s initiatives, was launched in 1994. “We submitted Doi Kham 100% tomato juice and mango juice to the International Taste & Quality Institute (iTQi) in Brussels, Belgium for the first time last year. We were awarded two gold stars for the mango juice and a gold star for the 100% tomato juice. iTQi is an internationally recognised organisation. It is a testimonial that Doi Kham products are globally accepted. We will deliver more products to the test in the future. Since June, we have reduced the prices of our products given lower oil price – true to our philosophy of offering high-quality products at affordable prices.” Doi Kham is a good example of a socially conscious business. It educates and supports Thai farmers. According to Pipatpong,

december 2016 - january 2017

Doi Kham runs its business simultaneously with educating farmers so that they keep up with changes in the world. Farmers have been advised to do “intensive farming” instead of traditional farming which had resulted in unpredictable yields, higher cost and excessive space for farming. “Typically, farmers sowed seeds without planning in advance when they grew plants. The seeds were sometimes eaten by chicken. In intensive farming, they have to pay attention to every step, from seed preparations. We give them tips on farming in order to increase their yields. For instance, instead of growing tomatoes on the ground, which yields five tonnes of tomatoes per rai, they can increase it to 15 tonnes per rai by hanging the tomatoes off the ground to let air flow through and to prevent fungus. Not only does it improve crop yields, but it also reduces the space needed from three rai to one rai. It also resulted in less water, less labour and lower cost.” Pipatpong said His Majesty clearly separated the Royal Projects from Doi Kham food products. Registered as a foundation, the Royal Projects have concentrated on research and development. Doi Kham, as a company with the Crown Property Bureau and the Royal Projects Foundation as shareholders, is in charge of purchasing farm produce from the Royal Projects and farmers in neighbouring areas at fair prices. The agricultural produce are processed into food products under Doi Kham brand. “We ensure that our business is fair, not taking advantage of the fact that our products are from His Majesty’s initiatives. We don’t sell cut-price goods to jeopardise the market. As a company, we play fairly in the market. We avoid making enemies. We don’t have any competitors. Other players in the market are a part of the industry. We help them if we can. We sell our products at reasonable prices without making excessive profit. His Majesty had stressed that Doi Kham did not aim at making big profit. However, we have to be profitable in order to ensure development and sustainability, as intended by His Majesty.” Pipatpong said, “His Majesty had always taught us to try doing something before saying if we could do them or not. He insisted that one could not say it was impossible if he did not try. Whether it is possible or otherwise, one should find out the reasons. We tend to believe that His Majesty was successful in everything he did but it was not so. HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn once said that His Majesty did not succeed in everything. He failed sometimes but we always talked about his successes. His Majesty taught us that we should continue doing what we had already accomplished with success while taking lessons from our failure and finding a new way.” Pipatpong concluded, “His Majesty had initiated more than 4,000 projects which will guide Thai people to a sustainably improved quality of life. His Majesty’s passing is the loss of a physical body but his great contributions to the country will remain forever. Thai people should follow his path and teachings so that the nation moves on. His Majesty often said that everything has its own place and time, and what worked in the past might not be applicable now. Sometimes you have to adjust. Sticking to old beliefs may not be practical when things have changed.”

87


His Majesty’s royal duties

ในฐานะ “พ่อหลวงแห่งแผ่นดิน” พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทอดพระเนตร เห็นภาพความทุกข์ยากของราษฎรตามภูมิภาคต่างๆ ตามสภาพความเป็นจริง และเข้าพระราชหฤทัยถึงความเดือดร้อนของราษฎร พระองค์จึงทรงนำ�วิทยาการที่ทรงศึกษามาใช้ในการพัฒนา ประเทศอย่างสร้างสรรค์ สำ�หรับโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำ�ริด้านสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่เน้นทะนุบำ�รุง สภาพแวดล้อมทั่วๆ ไป ได้แก่ ดิน น้ำ� และป่าไม้ ทรงอาศัย ธรรมชาติมาแก้ปัญหาธรรมชาติโดยไม่สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อม สำ�หรับด้านการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรดิน ที่เสื่อมโทรมเมื่อถูกใช้เป็นเวลานาน ทรงเน้นให้ฟื้นฟูสภาพ ของดินโดยใช้ต้นทุนต่ำ� แต่ได้ผลแน่นอนในระยะยาว ยกตัวอย่าง ดินที่มีกรดหรือด่างมาก ตลอดจนดินเสื่อมโทรม ทำ�ให้ผลผลิตต่ำ� ทรงแก้ไขจากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเกษตรกร ทำ�ได้ โดยง่าย ไม่ต้องลงทุนสูง เช่น การปลูกพืชหมุนเวียน, การใช้ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยพืชสดเพื่อทำ�ให้ดินร่วนซุยเหมาะแก่ การเพาะปลูก, ปลูกหญ้าแฝกเพื่อรักษาการกัดเซาะหน้าดิน อันอุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังรวมถึงการแก้ปัญหาดินเปรี้ยว หรือดินเป็นกรด เช่น โครงการแกล้งดิน โดยมีการขังน้ำ�ไว้ ในพื้นที่ กระทั่งเกิดปฏิกิริยาเคมีทำ�ให้ดินเปรี้ยวจัด แล้วจึง ระบายน้ำ�ออก และปรับสภาพฟื้นฟูดินด้วยปูนขาว กระทั่ง ดินมีสภาพหน้าดินดีพอจะใช้ในการเพาะปลูกได้ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ทรงเล็งเห็นว่าหากป่า ถูกทำ�ลายก็เท่ากับแหล่งน้ำ�ถูกทำ�ลายด้วย เมื่อนั้นบ้านเมือง 88

ด้านการอนุรักษ์ ทรัพยากรป่าไม้ ทรงเล็งเห็นว่า หากป่าถูกทำ�ลาย ก็เท่ากับแหล่งน้ำ� ถูกทำ�ลายด้วย เมื่อนั้นบ้านเมืองจะ ประสบปัญหาแห้งแล้ง

จะประสบปัญหาแห้งแล้ง ฝนไม่ตกตามฤดูกาล และเกิด น้ำ�ท่วม จึงมีพระราชปณิธานมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปรับปรุงและ พัฒนาป่าไม้ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ผ่านโครงการตามแนว พระราชดำ�ริ เช่น โครงการหลวง เพื่อบรรเทาการตัดไม้ ทำ�ไร่เลื่อนลอย, การสร้างฝายตามแนวพระราชดำ�ริ เก็บกักน้ำ� บนที่สูงอันเป็นแหล่งต้นน้ำ�ลำ�ธาร, ส่งเสริมการปลูกป่าโดย “ไม่ต้องปลูก” คือ ปล่อยให้ป่าฟื้นฟูสภาพเองโดยไม่ปลูกต้นไม้ ทดแทน รวมทั้งการปลูกป่าชายเลน เป็นแนวพระราชดำ�ริในการ อนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศของพื้นที่ชายฝั่งทะเลและอ่าวไทย เพื่อเป็นแนวป้องกันลมและป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งที่สำ�คัญ และเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ� ช่วยสร้างความสมดุลให้แก่ ธรรมชาติให้กลับคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์ดังเดิม เช่นเดียวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ� พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงให้ความสำ�คัญ ในลักษณะ “น้ำ�คือชีวิต” การพัฒนาแหล่งน้ำ�อันเนื่องมาจาก พระราชดำ�ริมหี ลักการสำ�คัญๆ คือ ต้องเหมาะสมกับรายละเอียด สภาพภูมิประเทศ สภาพแหล่งน้ำ�ธรรมชาติที่มีในแต่ละท้องถิ่น รวมถึงเหมาะสมในด้านเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิน่ ไม่สร้าง ปัญหาความเดือดร้อนให้กับคนกลุ่มหนึ่งโดยสร้างประโยชน์ ให้กับคนอีกกลุ่มหนึ่ง ส่วนหนึ่งของโครงการอันเนื่องมาจาก POWER MAGAZINE


His Majesty King Bhumibol Adulyadej had personally witnessed the hardship of rural people and understood their plight.

พระราชดำ�ริดา้ นน�ำ้ ได้แก่ โครงการแก้มลิง, เขือ่ นป่าสักชลสิทธิ,์ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ เขื่อนขุนด่านปราการชล, โครงการน�ำ้ ดีไล่น�ำ้ เสีย และโครงการอันเนือ่ งมาจากพระราชดำ�ริ คลองลัดโพธิ์

His Majesty studied new techniques and creatively applied them to develop the country, resulting in many environmental development projects on soil, water and forest. He adopted natural methods to solve the problems of nature without harming the environment. To improve the quality of infertile soil, His Majesty insisted on highly-efficient methods with minimal cost. For soil with pH imbalance, for example, His Majesty offered simple and easy methods such as crop rotation, using manure, compost and green manure, and covering soil with vetiver grass to prevent soil erosion. His Majesty proposed an improvement of the quality of acid soil, the so-called Trick the Soil Project, by excessively soaking acid soil with water before removing the water and nourishing the soil with slaked lime.

december 2016 - january 2017

On forest conservation, His Majesty was well aware that deforestation would lead to depleting water resources, drought

On forest conservation, His Majesty was well aware that deforestation would lead to depleting water resources, drought, unseasonal rain and flooding. His Majesty was determined to restore forests in Thailand through many projects to reduce slash and burn farming. He initiated the construction of dykes near water sources, and proposed that forests should be left to heal themselves without having to plant new trees. Mangrove forests were grown on shores of Thailand to protect the wind, prevent shore erosion and restore nature’s balance. Stressing the importance of water to a man’s life, His Majesty initiated several projects relevant to the geographical condition, water sources, and economic and social situation of each community. He always saw to it that the projects did not cause trouble to inhabitants. Among His Majesty’s water conservation projects were Kaem Ling Project, Pa Sak Cholasit Dam, Khun Dan Prakan Chol Dam, Nam Dee Lai Nam Sia Project, and Khlong Lad Pho Project.

89


“…ต้องมีน้ำ�บริโภค น้ำ�ใช้ น้ำ�เพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำ� คนอยู่ ได้ ถ้าไม่มีน้ำ� คนอยู่ ไม่ ได้ ไม่มี ไฟฟ้า คนอยู่ ได้ แต่ถ้ามี ไฟฟ้า ไม่มีน้ำ� คนอยู่ ไม่ ได้…” จากพระราชดำ�รัสในพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชดังกล่าว ข้างต้น แสดงให้เห็นว่า พระองค์ทรงให้ความสำ�คัญ กับการพัฒนาด้านชลประทานเป็นอย่างมาก หนึ่งในข้าราชบริพารที่ได้มีโอกาสตามเสด็จ และถวายคำ�ปรึกษาด้านงานชลประทาน มายาวนานกว่า 30 ปี คือ “นายช่างปราโมทย์” หรือ “ปราโมทย์ ไม้กลัด” อดีตนักเรียนทุนมูลนิธิ อานันทมหิดล ด้านวิศวกรรมชลประทาน และอดีต อธิบดีกรมชลประทาน ที่หากย้อนไปดูภาพเก่าๆ 90

จะพบว่า เขาคือชายหนุ่มผู้สวมแว่นทรงสี่เหลี่ยม รูปร่างสันทัดในชุดข้าราชการ ที่มักปรากฏตัว อยู่ไม่ห่างจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดชแทบจะทุกครั้งที่ทรงงานด้าน ชลประทาน แม้กาลเวลาจะผ่านมาเนิ่นนาน แต่เรื่องราว ความประทับใจเมื่อครั้งได้มีโอกาสถวายงาน รับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท ยังตราตรึงในความ ทรงจำ� ปราโมทย์เริ่มต้นย้อนวันวานว่า ในช่วงแรก ที่เข้ามารับราชการนั้น เขายังไม่มีโอกาสถวายงาน

พระองค์ท่านโดยตรง กระทั่งราวปีพ.ศ. 2519-2520 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงงานในชนบทมากขึ้น เนื่องจากขณะนั้น แม้เขื่อนกักเก็บน้ำ�ขนาดใหญ่อย่างเขื่อนภูมิพลและ เขื่อนสิริกิติ์จะสร้างเสร็จแล้ว แต่ในส่วนภูมิภาคอื่นๆ ยังไม่มีที่เก็บน้ำ�ได้อย่างพอเพียง ผู้บังคับบัญชาจาก กรมชลประทานจึงมอบหมายให้เขาเข้าไปร่วมใน ทีมงานด้านเทคนิค ตามเสด็จไปทุกภาค เพื่อรับฟัง เรื่องราวที่พระองค์ท่านรับสั่ง แล้วดำ�เนินงานสนอง พระราชดำ�ริและถวายรายงาน POWER MAGAZINE


“We need water for consumption, regular use and agriculture. That’s where life is. With water, we can live. Without water, we cannot live. Without electricity, we can live. With electricity but without water, we cannot live.”

“ตลอดหลายสิบปีที่ผมได้มีโอกาสถวายงาน พระองค์ท่าน ผมประจักษ์ในพระอัจฉริยภาพ ด้านต่างๆ ของพระองค์ เมื่อทรงรับรู้ถึงปัญหา ของเกษตรกรชนบทห่างไกล ผ่านสายพระเนตร พระกรรรณของพระองค์เอง จากการเสด็จฯ เยี่ยมเยียนราษฎรก็ดี จากฎีกาของประชาชนก็ดี พระองค์ท่านจะไม่ทรงนิ่งเฉย แต่ทรงกำ�หนด วางแผนเพื่อพระราชทานแนวพระราชดำ�ริโครงการ ต่างๆ เพื่อแก้ปัญหา พวกผมก็มีหน้าที่ถวายข้อมูล เพิ่มเติมถึงความเป็นไปได้หรืออุปสรรค สิ่งที่ผมได้ december 2016 - january 2017

เรียนรู้จากการถวายงานพระองค์ท่าน คือ พระองค์ ใส่พระราชหฤทัยในความทุกข์ร้อนของประชาชน เป็นอย่างมาก” ปราโมทย์คอ่ ยๆ ถ่ายทอดความทรงจำ�กลัน่ กรอง ออกมาเป็นคำ�พูดว่า ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ นักคิด นักเทคนิค และนักวิชาการ ทรงเป็นผู้รอบรู้ ในทุกศาสตร์ ไม่เฉพาะเรื่องน้ำ� แต่รวมถึงเรื่องดิน เรื่องป่าไม้ ทรงมีกระบวนการทำ�งานที่เป็นระบบ ก่อนทำ�อะไรจะทรงศึกษาสภาพปัญหา ต่อมาจึง ทรงหาข้อมูล โดยทรงศึกษาจากแผนที่ จะเห็นว่า

เวลาเสด็จพระราชดำ�เนินไปยังพื้นที่ต่างๆ จะทรงนำ� แผนที่ไปด้วย เพราะข้อมูลทุกเรื่องอยู่ในนั้น “ภูมิประเทศ น้ำ�จะไหลจากที่สูงไปที่ต่ำ� ตำ�บลนี้ที่ไหนสูง ที่ไหนต่ำ� ทุกอย่างแผนที่แปล ออกมาเป็นมิติ สายน้ำ�เลี้ยวไปทางไหน ที่ไหน ต้นทาง จากนั้นจะเสด็จฯ ไปหาข้อมูลจากคนใน พื้นที่เพิ่มเติม เมื่อได้ข้อมูลแล้ว จึงทรงคิดว่า ควรพัฒนาอะไรให้สอดคล้องสภาพภูมิประเทศ สภาพแหล่งน้ำ� สภาพสังคม พวกเราในฐานะ ข้าราชบริพารที่รับสนองพระราชดำ�ริไปทำ�ต่อ 91


His Majesty’s royal duties

ไม่ใช่พระพุทธเจ้าข้าอย่างเดียว ต้องดูให้เกิดความ สมบูรณ์ ทุกคราวจะรับสั่งว่า ที่พระราชทานให้ เป็นแนวคิดนะ ไปคิดต่อให้ดี คิดให้รอบคอบ หากคุ้มก็ทำ� คุ้มคืออะไร คือทำ�แล้วเกิดประโยชน์ แก้ไขความทุกข์ยากได้ ไม่ใช่มองแต่ผลตอบแทน เป็นตัวเงิน พระองค์รับสั่งถึงปัญหาขาดแคลนน้ำ�ว่า จะทำ�อย่างไรเพื่อให้มีระบบเก็บกักน้ำ� เพื่อให้มี น้ำ�ใช้ตลอดทั้งปี ไม่ขาดแคลนในหน้าแล้ง “พระองค์ท่านรับสั่งเสมอว่า “ที่ฉันทำ�งานเพื่อ ช่วยราชการ ไปเสริมงานรัฐบาล ไม่ได้ไปแย่งงาน รัฐบาล เพราะรัฐบาลไปแต่ยังไม่ทั่วถึง” งานที่ พระองค์ทรงทำ� เป็นงานอยู่ในพื้นที่ที่พระองค์ทรง เรียกว่า พื้นที่ซ่อนเร้น แร้นแค้น ที่รัฐบาลเข้าไป ไม่ถึง หรือบางครั้งเข้าถึง แต่เมื่อคิดคำ�นวณความ คุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ออกมาแล้ว ไม่คุ้มในแง่ ตัวเลขเศรษฐกิจ ก็ไม่ทำ� ซึ่งพระองค์ท่านทรงเข้าใจ และรับสัง่ ว่า สำ�หรับหมูบ่ า้ นห่างไกลทีข่ าดแคลนน�ำ้ จะคิดอย่างไรก็ไม่มีทางคุ้มในทางเศรษฐศาสตร์ เพราะฉะนั้นต้องคิดว่าจะทำ�อย่างไรให้ “คุ้มค่า” พระองค์พระราชทานศัพท์ใหม่ว่า “คุ้มค่า” คือ ทำ�แล้วหมู่บ้านที่ห่างไกลมีน้ำ�กินน้ำ�ใช้ทั้งปีสำ�หรับ บริโภคและเพาะปลูก รับสั่งว่า สภาพัฒน์ฯ อาจมา คำ�นวณแล้วไม่คุ้ม แต่ถ้าไม่ทำ�ก็ไม่สามารถแก้ ปัญหาความยากจนได้” ปราโมทย์กล่าวต่อไปว่า พระองค์ทรงเป็น พระมหากษัตริย์ที่ทรงงานอย่างหนักเพื่อพสกนิกร ตลอดทั้งปีจะทรงวางแผนเพื่อเสด็จพระราชดำ�เนิน

92

ไปยังภูมิภาคต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ให้กับ ประชาชน แต่ละครั้งเสด็จฯ ไปเป็นแรมเดือน ด้วยเหตุนี้จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำ�หนัก ไว้ในแต่ละภูมิภาคที่ทรงงาน พระองค์ทรงมุ่งมั่น ในพระราชหฤทัยที่จะทำ�งานในพื้นที่ชนบท และทรงไม่เคยหยิบยกเอาอุปสรรคใดมาเป็นเหตุผล ให้หยุดทรงงาน ไม่ว่าจะฝนตก อากาศร้อน ก็ไม่เคย ปริพระโอษฐ์ ทรงงานท่ามกลางสายฝน บางครั้ง พระเสโทชุ่มโชกพระวรกาย ทั้งที่ทรงเป็นประมุข ของชาติ แต่ทรงเป็นแบบอย่างเรื่องความขยัน อดทนอย่างแท้จริง นอกจากจะทรงเป็นแบบอย่างของการทำ�งานแล้ว สิ่งที่ข้าราชบริพารผู้นี้ไม่มีวันลืมตราบสิ้นลมหายใจ คือ น้ำ�พระราชหฤทัยและพระเมตตาที่พระราชทาน ให้เมื่อครั้งเสด็จฯ ไปทรงงานบนดอยเพื่อหาที่สร้าง ฝายทดน้ำ�ให้หมู่บ้านชาวไทยภูเขาในกิ่งอำ�เภอ ขุนวาง เมื่อปีพ.ศ. 2528 “ในเวลานั้น ขณะถวายงาน จำ�ได้ว่าเป็น ช่วงเวลาโพล้เพล้ ผมช่วยถือแผนที่ให้พระองค์ ปรากฏว่าระหว่างที่กำ�ลังถวายข้อมูลว่า จะสร้างฝายตรงไหน มีแมลงชนิดหนึ่งตัวเล็กมาก จนไม่ทันสังเกตเห็น มากัดที่มือข้างที่ผมถือแผนที่ ผมรู้สึกปวดแสบปวดร้อน แต่ไม่กล้าแสดงอาการ เพราะถวายงานต่อหน้าพระพักตร์ ผมทำ�ได้เพียง นำ�มือมาลูบๆ บริเวณที่ถูกกัดเป็นระยะๆ ตลอดเวลาพระองค์ท่านไม่ได้รับสั่งอะไร จนถวายงานเสร็จ พระองค์ทรงพระดำ�เนินไปยัง

พระองค์ท่านรับสั่งเสมอว่า “ที่ฉัน ทำ�งานเพื่อช่วยราชการ ไปเสริมงาน รัฐบาล ไม่ ได้ ไปแย่งงานรัฐบาล เพราะรัฐบาลไปแต่ยังไม่ทั่วถึง” His Majesty reiterated that he worked in support of the government, not meddling in its job as the government could not cover widespread enough

รถยนต์พระที่นั่ง ส่วนผมไปรวมกลุ่มกับเจ้าหน้าที่ กรมชลประทาน ระหว่างนั้นผมสังเกตเห็นว่า เหตุใดพระองค์ไม่ประทับบนรถพระที่นั่ง แต่กำ�ลัง ทรงค้นหาบางอย่าง สักพักก็ทรงพระดำ�เนินมา รับสั่งถามเจ้าหน้าที่วังว่า กลุ่มนายช่างชลประทาน อยู่ไหน จากนั้นก็ทรงพระดำ�เนินตรงมาที่ผม และรับสั่งว่า เมื่อสักครู่นายช่างเจอแมลงตัวคุ่นกัด ยื่นมือมาสิ จะทายาให้ สักประเดี๋ยวจะดีขึ้น ถ้าแพ้จะบวม วินาทีนั้นผมได้แต่ยืนตะลึง ใจมิกล้า อาจเอื้อมยื่นมือไปให้พระองค์ แต่พระองค์

POWER MAGAZINE


ทรงพระเมตตายื่นพระหัตถ์มาทายาให้ผม ในเวลานั้นผมซาบซึ้งในพระมหากรุณาเป็นล้นพ้น ไม่คิดว่าจะทรงสังเกตเห็นและมีพระเมตตา ใส่พระราชหฤทัยถึงขนาดนี้” ในครัง้ นัน้ โชคดีทม่ี ชี า่ งภาพในคณะเห็นเหตุการณ์ และได้บันทึกพระบรมฉายาลักษณ์ขณะพระองค์ มีพระเมตตายื่นพระหัตถ์มาทายาให้ปราโมทย์ไว้ เขาได้นำ�พระบรมฉายาลักษณ์ไปใส่กรอบเก็บไว้ เป็นอย่างดี ชั่วชีวิตไม่มีวันลืม อย่างไรก็ตาม ตราบจนวันนี้ในช่วงที่คนไทย ทุกคนหัวใจสลายจากการเสด็จสวรรคตของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ปราโมทย์กล่าวด้วยแววตาโศกเศร้าว่า ความรู้สึก ในวันนี้ของเขาไม่ต่างไปจากพสกนิกรชาวไทย ทุกคน พระองค์ท่านทรงเป็นต้นแบบ ทรงวาง รากฐานแนวคิดไว้ให้กับพสกนิกรชาวไทยมากมาย เหลือเกิน จากนี้ คงถึงเวลาแล้วที่คนไทยจะน้อมนำ� แนวพระราชดำ�ริของพระองค์มาขับเคลื่อนเพื่อ ต่อยอดให้เกิดประโยชน์ ตลอดจนน้อมนำ� พระบรมราโชวาทและพระราชดำ�รัสที่พระราชทาน ไว้มากมาย ซึ่งล้วนแล้วแต่มีคุณค่า นำ�มาปรับใช้ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สุขกับประเทศชาติต่อไป

The speech by His Majesty King Bhumibol Adulyadej indicated his emphasis on irrigation development. An official who had worked alongside His Majesty and

december 2016 - january 2017

provided consultancy on irrigation to him for more than 30 years was Pramote Maiklad. He was a recipient of Ananda Mahidol scholarship on irrigation engineering and former director-general of the Royal Irrigation Department. The bespectacled man in government uniform had been frequently seen standing near His Majesty when he worked on irrigation projects. Clearly remembering the days when he worked with the Thai monarch, Pramote said he was not given the assignment until 1976-1977 when His Majesty frequently travelled to rural areas. The construction of Bhumibol and Sirikit dams were completed but other regions were in need of reservoirs. The Irrigation Department assigned Pramote to join a team of technicians to follow His Majesty in order to garner his recommendations and execute accordingly. “Throughout decades of working for His Majesty, I was amazed by his intelligence in various fields. When he learned of farmers’ problems, whether directly on his visits or from letters sent to him, he had never hesitated to help. He proposed plans and

projects to tackle the challenges. My job was to present him with additional information on feasibility and challenges. His Majesty took his people’s plights seriously.” Pramote described His Majesty as a thinker, a master of techniques and an academic who was well-versed in every field, from irrigation to soil and forest. His Majesty worked systematically. Before he did something, he would study the condition, find information and look at maps. Every time he visited the people, he always had a map with him because all the information was in it. “The map tells everything concerning the geographical condition, pattern of water flow and the altitude of a sub-district. His Majesty would acquire more information from the locals and contemplated how to develop in accord with the geography, water sources and social condition. Despite working for His Majesty, we did not simply agree with him on every issue. We had to ensure a project would be complete after execution. His Majesty repeatedly said his suggestions were

93


Pramote Maiklad

His Majesty’s royal duties

guidelines to further explore feasibilities, emphasising that they must be beneficial and effective in solving the people’s hardship rather than financial return. His Majesty set his goal on an irrigation system that provided sufficient water for year-round use especially in the dry season. “His Majesty reiterated that he worked in support of the government, not meddling in its job as the government could not cover widespread enough. He described the areas of his coverage as “hidden, remote areas.” Those areas were either inaccessible or, economically speaking, not worth the government’s spending. His Majesty was aware of the economic constraint in reaching and assisting remote villages without water, but he insisted that it would be worthwhile to help remote villages in having access to water for year-round potable use and farming. If nothing was done, poverty would not be eliminated, said His Majesty.” Pramote added that His Majesty had visited various regions nationwide throughout the year to solve the people’s

94

problems, and each visit could take at least a month. He initiated the construction of a palace in every region to enable him to work in rural areas. He had never raised any excuse, be it rain or extreme heat, to cancel his schedule. Sometimes he worked in the rain without complaining, or got drenched in sweat. He was a true example in diligence and patience. Pramote recalled the unforgettable moment back in 1985 when His Majesty was really kind to him while the King was exploring a site for the construction of a dyke in a hilltribe village in Khun Wang sub-district. “It was in the evening. I was holding His Majesty’s map. While we were discussing about the dyke, a small insect bit my hand that was holding the map. I felt inflamed but stayed calm as I was right in front of His Majesty. I only rubbed the sore area every now and then. His Majesty did not say anything. After we finished our work, he walked to his car as I joined other irrigation officials. I saw him looking for something in his car. He walked back and asked palace

officials about us. He then walked straight to me and said, ‘You were bitten by a khun bug. Give me your hand, I will rub medicine on it. You will feel better soon but it might swell if you’re allergic.’ I was too stunned to lift my hand but His Majesty reached out to me and put the medicine on my hand. I was deeply touched by His Majesty’s kindness. I did not know that he’d noticed and did not expect him to go through all the trouble of finding the medicine for me.” A photographer travelling with them saw the incident and captured the moment when His Majesty applied the medicine on Pramote’s hand. He framed that meaningful picture as a reminder of His Majesty’s kindness. Expressing his deep sadness at His Majesty’s passing, grief-stricken Pramote said the King had set foundations on so many matters for the country. He urged Thai people to follow His Majesty’s teachings for the good of the country and bear in mind that His Majesty’s initiatives were valuable and adaptable for the development of the country.

POWER MAGAZINE



His Majesty’s royal duties

นับตั้งแต่เสด็จพระราชดำ�เนินไปเยี่ยมเยียนพสกนิกรในปีพ.ศ. 2498 เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราโชบายเกี่ยวกับการเกษตรมาโดยตลอด

Ever since His Majesty King Bhumibol Adulyadej began his visits to his subjects nationwide in 1955, he had always offered his initiatives on agricultural development.

เพราะพระองค์ทรงตระหนักดีว่า ประชากร ส่วนใหญ่ในประเทศล้วนมีอาชีพเกษตรกรรม การเพาะปลูกที่ได้ผลผลิตเป็นจำ�นวนมากย่อมเกิด ผลดีกับประชาชน อันหมายถึงการมีอาหารบริโภค สมบูรณ์ แล้วยังทำ�ให้เศรษฐกิจของชาติมั่นคง เจริญก้าวหน้าตามไปด้วย ด้วยเหตุนี้จึงทรงริเริ่มโครงการตามพระราชดำ�ริ เกี่ยวกับการเกษตรทุกแขนง อาทิ โครงการประมง

96

พระราชทาน, โครงการส่งเสริมการปลูกพืชใน นิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้, โครงการศูนย์บริการ การพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่ อันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ, โครงการฝนหลวง, โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำ�ริ อันเป็นโครงการ ตัวอย่างด้านการเกษตรที่รวบรวมพันธุ์พืชเศรษฐกิจ ในพื้นที่อำ�เภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี และพื้นที่ ใกล้เคียงมาปลูกไว้ที่นี่ เป็นต้น

สำ�หรับโครงการฝนหลวง เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ เกิดจากน้ำ�พระราชหฤทัยในพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงห่วงใย พสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดารที่ต้องประสบปัญหา ขาดแคลนน้ำ�เพื่ออุปโภค บริโภค และทำ�การเกษตร อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้ง ซึ่งมีสาเหตุมาจาก ความผันแปรและความคลาดเคลื่อนของฤดูกาล ตามธรรมชาติ หลังจากเสด็จพระราชดำ�เนินไปเยี่ยม พสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทรง รับทราบถึงความเดือดร้อนทุกข์ยากของราษฎรและ เกษตรกร ในปีพ.ศ. 2498 ทรงตั้งคำ�ถามว่า เหตุใด จึงเกิดสภาพแห้งแล้งทั่วพื้นที่ ทั้งๆ ที่ท้องฟ้า มีเมฆมาก จากข้อสังเกตนี้เองได้กลายเป็นที่มาของ โครงการฝนหลวงในปัจจุบัน ดว้ ยสายพระเนตรทีย่ าวไกล และพระอัจฉริยภาพ ด้านวิทยาศาสตร์ พระองค์ทรงเริ่มศึกษาค้นคว้า และวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ จนทรงมั่นพระทัย จึงพระราชทานแนวพระราชดำ�ริ “ฝนหลวง” ให้แก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัย ประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรมของกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ขณะนั้น ไปค้นหาวิธีการที่จะ ทำ�ให้เกิดฝนตก โดยการนำ�เทคโนโลยีสมัยใหม่มา ประยุกต์กับทรัพยากรที่มีอยู่ ให้เกิดมีศักยภาพของ การเป็นฝนให้ได้ ด้วยทรงเชื่อมั่นในพระราชหฤทัยว่า ด้วยลักษณะภูมิอากาศและภูมิประเทศของบ้านเรา จะสามารถดำ�เนินการให้สำ�เร็จได้อย่างแน่นอน จวบจนในปีพ.ศ. 2512 ปฏิบัติการทดลองทำ� ฝนหลวงครั้งแรกจึงเกิดขึ้น ณ วนอุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่ ซึ่งผลการทดลองเป็นที่น่าพอใจ เพียงแต่ยัง ไม่อาจควบคุมให้ฝนตกในบริเวณทีต่ อ้ งการได้ จากนัน้ ได้ดำ�เนินการทดลองอีกหลายครั้ง ตลอดเวลา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานคำ�แนะนำ�เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดด้วยพระปรีชาสามารถ ทำ�ให้สามารถกำ�หนด บังคับฝนให้ตกลงสู่พื้นที่เป้าหมายได้สำ�เร็จ นำ�ประโยชน์มากมายมาสู่พสกนิกรชาวไทย ด้วยพระอัจฉริยภาพดังกล่าว คณะรัฐมนตรี POWER MAGAZINE


ในการประชุมวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2545 จึงมีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ถวาย พระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งฝนหลวง”

His Majesty was aware that most of the Thai people were farmers, and improving agricultural yields would benefit the people as it would lead to more food for everyone and sustainable economy for the country. His Majesty started several agricultural royal development projects in various fields, such as the Royal Fishery Project, Self-Reliant Crop Plantation Project in the South, Royal-initiated Fruit and Flower Propagation Development Service Centre at Ban Rai, Royal Rainmaking Project and Chang Hua Man Royal Agricultural Project which has served as a demonstration farm featuring economic crops local to Tha Yang district, Phetchaburi province, and neighbouring areas. The Royal Rainmaking Project is one of the projects resulting from His Majesty’s

december 2016 - january 2017

kindness. He was concerned about the plight of the people in drought-stricken areas who faced a lack of water for consumption and farming in the dry season, due to changing climates and unpredictable weather. After His Majesty paid visits to the Northeast, he was aware of the people’s difficulties. In 1955, he questioned why these areas were so dry despite cloudy sky. The observation led to the development of the Royal Rainmaking Project. With his sharp vision and his excellent scientific knowledge, His Majesty began doing research on meteorology and climate until he developed solid knowledge on the matter. He entrusted M.R. Debariddhi Devakula, an expert in agricultural engineering at the Ministry of Agriculture and Cooperatives at the time, to undertake research into rainmaking. M.R. Debariddhi conducted intensive research and experimentation over several years from various models

applied by various countries. His Majesty was certain that adapting the technology to the climate of Thailand would be a success. In 1969, the first practical experiment took place over a mountain barrier at Khao Yai National Park in Nakhon Ratchasima province. The first attempt at artificial rainmaking was successful; the clouds turned grey and the rain did fall. However, there was no way to ensure that the rain fell on a specific area as intended. Further experiments were carried out, with rainfall in target areas. His Majesty offered further recommendations and the rainmaking project finally became a success, bringing great benefits to the people of Thailand. The Cabinet, in its meeting on August 20, 2002, endorsed a proposal by the Ministry of Agriculture and Cooperatives for the title of Father of Royal Rainmaking to honour His Majesty.

97


His Majesty’s royal duties

เป็นที่ทราบกันดีว่า หนึ่งในผู้ปฏิบัติงานเพื่อสนองพระราชดำ�ริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในเรื่องฝนหลวงอย่างใกล้ชิด คือ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นผู้อำ�นวยการ โครงการและหัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลองฝนหลวงเป็นคนแรก “ม.ล.จิติเทวัญ เทวกุล” หนึ่งในทีมนักบินฝนหลวง และเป็นบุตรชายของ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ถ่ายทอดความทรงจำ�ที่ได้เห็นการทำ�งานของคุณพ่อ เพื่อสานต่อโครงการพระราชดำ�ริฝนหลวงมาตั้งแต่จำ�ความได้ว่า พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นนักค้นคว้า นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และนักประดิษฐ์อย่างแท้จริง “สมัยก่อนเทคโนโลยียังไม่ก้าวหน้าขนาดนี้ ไม่ได้มีองค์ความรู้มากมาย แบบในปัจจุบัน แต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระอัจฉริยภาพมากเหลือเกิน พระองค์รับสั่งให้คุณพ่อผมเข้าเฝ้าฯ เพื่อรับ พระราชดำ�รินี้ไปค้นคว้าทดลองต่อ ตลอดการทำ�งาน พระองค์ทรงติดตามผลการ ปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด และพระราชทานคำ�แนะนำ�ให้นำ�ไปปฏิบัติจนสัมฤทธิ์ผล ผมเทิดทูนและชื่นชมในพระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพของพระองค์มาก ทรงค้นคว้าทดลองอย่างละเอียดเพื่อให้เข้าใจทุกอย่างอย่างลึกซึ้ง ถึงแม้จะไม่ได้ ทรงขับเครื่องบินขึ้นไปทดลองด้วยพระองค์เอง เนื่องจากมีพระราชกรณียกิจ 98

มากมาย แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคแม้แต่น้อย โดยทุกครั้งที่เสด็จพระราชดำ�เนิน ไปที่ใดก็ตาม โดยเครื่องบินพระที่นั่ง พระองค์ท่านก็จะสังเกตท้องฟ้าและสภาพ ภูมิอากาศเสมอ ทรงมองเห็นได้ด้วยความเข้าใจอย่างลึกล้ำ� และพระราชทาน คำ�แนะนำ�ผ่านมาให้ผู้ปฏิบัติงานทำ�ฝนหลวงโดยตลอด เรียกว่าพระองค์ทรงงาน อยูต่ ลอดเวลา จากอย่างหนึง่ ก็สามารถเกีย่ วโยงให้เป็นประโยชน์ได้อกี มากอย่าง ผมเองหากวันนี้ไม่ใช่นักบินและผู้เชี่ยวชาญการดัดแปรสภาพอากาศและ ไม่เคยบินเข้าไปในเมฆฝนมาก่อน คงนึกภาพไม่ออกด้วยซ้ำ�ว่าควรใช้สารอะไร โปรยเข้าไปในเมฆฝน เพื่อให้เกิดกระบวนการทำ�ให้เกิดฝนหลวง กระทั่งได้ ประสบการณ์ชว่ งหนึง่ ตัง้ แต่สมัยแรกเริม่ ฝนหลวง และต่อมาปัจจุบนั บินติดต่อกัน เต็มเวลา จึงจะเข้าใจกระบวนการทั้งหมดอย่างลึกซึ้ง” นอกจากพระปรีชาสามารถและน้ำ�พระราชหฤทัยที่มีต่อประชาชนแล้ว ม.ล.จิติเทวัญยังบอกด้วยว่า ฝนหลวงไม่ได้เป็นเพียงการนำ�วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีเข้าไปช่วยเพิ่มปริมาณน้ำ�ฝนเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นการช่วย POWER MAGAZINE


Among those working closely with His Majesty in the Royal Rainmaking Project was M.R. Debriddhi Devakul, who was appointed by His Majesty as the director and head of the first rainmaking experiment committee.

บรรเทาภัยพิบัติต่างๆ ด้วยการนำ�ปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อไปทำ�ให้เมฆที่เริ่ม ก่อตัวขึ้นและจะเกิดเป็นพายุหรือลูกเห็บ เกิดเป็นฝนตกลงมาเสียก่อน “สิ่งที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเน้นย้ำ�กับคนทำ�งาน ในโครงการฝนหลวงตลอด คือ การทำ�ฝนหลวงไม่ใช่เรื่องของวิทยาศาสตร์ อย่างเดียว ต้องมีศิลปะด้วย ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ นักบินต้องมีศิลปะ ในการบิน ควบคู่กับความเข้าใจในภูมิประเทศ ต้องอ่านเมฆให้เป็น นักบิน ฝนหลวงจะต่างจากนักบินพาณิชย์ที่ต้องขับหลบเมฆฝน แต่เราจะนำ�เครื่องบิน เข้าไปในเมฆฝน เพื่อโปรยสารฝนหลวง” จวบจนวันนี้ในการบินติดต่อกันเต็มเวลาเป็นเวลา 15 ปีมาแล้วที่ ม.ล.จิติเทวัญตั้งใจทำ�หน้าที่นักบินฝนหลวงอย่างเต็มกำ�ลังความสามารถ เพราะเขาคิดเสมอว่า บทบาทนี้ไม่ใช่การทำ�เพียงเพื่อสานต่อในสิ่งที่คุณพ่อ ของเขาได้ทุ่มเทแรงกายและแรงใจทำ�มาเป็นเวลากว่าสิบปี แต่เหนือสิ่งอื่นใด คือ การได้มีโอกาสเป็นมดงานตัวเล็กๆ ในการถวายงานพ่อหลวงของแผ่นดิน december 2016 - january 2017

หนึ่งในพระราชดำ�รัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ม.ล.จิติเทวัญยึดถือไว้เสมอในการทำ�งาน คือ ทำ�ด้วยความสุจริตใจ พยายาม ทำ�ความดีเพื่อส่วนรวม รักษาตัวเองไว้เป็นกลาง ไม่กลัวคำ�วิจารณ์ ในไม่ช้า ความดีจะมาถึงตัว “พระองค์ท่านทรงสอนให้ทุกคนทำ�งานด้วยความละเอียด ทำ�อะไรทำ�จริง ผิดพลาดไม่เป็นไร พระองค์จะไม่ทรงดุ แต่จะให้เพียรพยายาม และปรับปรุง ให้ดีขึ้นในครั้งต่อไป ผมว่าคนไทยทุกคนโชคดีที่มีพระองค์ท่าน เพราะทรงเป็น พระมหากษัตริย์ที่รักประชาชน รักประเทศไทย พระองค์ทรงงานไม่เคยมีวันหยุด ผมเองตั้งแต่เด็กเห็นคุณพ่อทำ�งานอย่างหนักเพื่อถวายพระองค์ท่าน ในวัยเด็ก ผมอาจยังไม่เข้าใจมากนัก แต่พอโตมาถึงได้รู้ว่า คุณพ่อทำ�เพื่ออะไร และเบื้องหลังผู้ที่ทำ�งานหนักกว่าคุณพ่อ ก็คือพระองค์ท่าน” ถามถึงประสบการณ์การปฏิบัติหน้าที่ที่ประทับใจไม่รู้ลืม ม.ล.จิติเทวัญ ยกให้เมื่อครั้งได้มีโอกาสปฏิบัติการบินถวายตอนที่พระบาทสมเด็จ 99


His Majesty’s royal duties

พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จวังไกลกังวลเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ซึ่งในครั้งนั้น เขาและกลุ่มนักบินขึ้นปฏิบัติหน้าที่ ณ บริเวณแก่งกระจาน “ด้วยความที่วันนั้น ทัศนวิสยั ไม่ดเี ท่าทีค่ วร พวกเรานักบินทัง้ 3 ลำ� เกรงว่าพระองค์ทา่ นจะทอดพระเนตร ไม่ชัด เลยลดระดับการบิน ปรากฏว่าสักพักพระองค์ท่านให้วิทยุขึ้นมาติงว่า ทำ�ไมนักบินบินต่ำ�กว่าที่ควรจะเป็น พอได้ฟังแบบนั้น พวกเรารีบปรับระดับ ความสูงทันที ภายในใจก็อดชืน่ ชมไม่ได้วา่ ความทรงจำ�ของพระองค์ยงั ทรงเป็นเลิศ พระองค์ไม่เพียงทรงจดจำ�รายละเอียดของสารฝนหลวงที่โปรยได้ทั้งหมด แต่ยัง ทรงทราบว่า การโปรยสารใดต้องอยู่ในระดับความสูงเท่าไหร่” ม.ล.จิติเทวัญ ย้อนภาพความทรงจำ�อันแสนประทับใจที่ยังชัดเจนราวกับเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวาน อย่างไรก็ตาม ม.ล.จิติเทวัญกล่าวว่า ขณะนี้ถึงแม้ว่าพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งเปรียบดั่งพ่อของแผ่นดิน เป็นยิ่งกว่า ดวงใจอันสูงส่งของชาวไทยทุกคน จะจากพวกเราไปแล้ว ด้วยความเศร้าโศก เหลือคณา แต่เมื่อใดที่พวกเราชาวไทยต้องการน้ำ� ต้องการฝน ในยามแล้ง ฝนหลวงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จะยังมีอยู่เพื่อ ชาวไทยทุกคนตลอดไป ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง พระองค์ท่านได้พระราชทาน ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในการดัดแปรสภาพอากาศนี้ เพื่อก่อและเพิ่มฝน โดยใช้เทคโนโลยีฝนหลวงให้กับประเทศไทยและชาวไทยซึ่งเป็นที่รักของ พระองค์ท่านทุกคน “คณะทำ�งานฝนหลวง มักจะร้องเพลง “ฝนหลวง” ซึง่ เพลงนีม้ เี นือ้ หาทีส่ ะท้อนถึง ้นำ�พระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชต่อ พสกนิกรชาวไทยอยู่เสมอ เพื่อเป็นการรำ�ลึกในพระมหากรุณาธิคุณ และเป็นการ ให้กำ�ลังใจกันในหมู่ผู้ปฏิบัติงาน ที่ต้องมีหัวใจที่มุ่งมั่นในการสานต่อภารกิจ ที่ได้รับมอบหมายให้ลุล่วง แม้ต้องเผชิญปัญหาและอุปสรรค ผมในฐานะนักบิน 100

และผู้เชี่ยวชาญฝนหลวง จะทำ�หน้าที่อย่างเต็มความสามารถไปยาวนาน ถึงแม้จะรู้สึกเศร้าโศกเสียใจเป็นที่สุด ขาดที่บูชายึดมั่น เหมือนกับที่พระองค์ ทรงคุม้ ครองทุกคนเสมอมา แต่กจ็ ะพยายามต่อไปอย่างเต็มที่ ตามพระราชประสงค์ ทีท่ รงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานไว้ให้ปวงชนชาวไทยทุกคนทุกหมูเ่ หล่าครับ ข้าพระพุทธเจ้า ขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมรำ�ลึกในพระมหากรุณาธิคุณ หาที่สุดมิได้ ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป ขอน้อมศิระกราน กราบแทบ พระยุคลบาท พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยความอาลัยยิ่ง”

M.L. Chititewan Devakul, a pilot of the Royal Rainmaking Project and son of M.R. Debriddhi, shared the memories of his father’s dedication to the Project which he had observed since he was young. He described His Majesty King Bhumibol Adulyadej as a true researcher, experimentalist, scientist and inventor. “Back then, technology was not as advanced as it is today, and there was not much knowledge available on this subject. His Majesty King Bhumibol Adulyadej was remarkably intelligent. He asked my father to do further research on this subject, and His Majesty closely monitored the progress, as well as gave advice until it was a success. I admired His Majesty’s intelligence and dedication – he had worked really hard to deeply understand the subject. Although he did not fly the plane with my father because of his other engagements, it did not make him understand the issue less. Whenever he travelled by plane, he would notice the sky and the weather, and understood how they worked. He often offered

POWER MAGAZINE


december 2016 - january 2017

M.L. Chititewan Devakul

tips to those working in the Royal Rainmaking Project. He worked constantly, and knew how to make his various projects beneficial for one another. If I weren’t a pilot and educated in Modification Research and Climate Engineering Techniques, or had not had experience with rainclouds, I would not even be able to imagine what to put in the clouds to make it rain. It took me a lot of experience and full time practice to understand the whole process.” In addition to His Majesty’s intelligence and kindness, M.L. Chititewan is also impressed by the fact that the Royal Rainmaking Project not only uses science and technology to make it rain, but also alleviates natural disasters. It is able to disperse clouds that could potentially cause hailstorms. “What His Majesty King Bhumibol Adulyadej always said to those in the Royal Rainmaking Project was that rainmaking is not only science, but also art. The pilot must use art and geographical knowledge in order to understand the clouds. Royal Rainmaking Project pilots are different from commercial pilots – instead of avoiding rainclouds, we fly into the clouds.” It has now been 15 whole years that M.L. Chititewan has worked as a Royal Rainmaking Project pilot. He always does his best in his job, because to him, this not only means continuing the work his father had dedicated himself to for decades, but it also means he can play a small part in serving His Majesty. One of His Majesty’s teachings that M.L. Chititewan always keeps in mind is to work honestly, think of the greater good, be neutral, and do not be afraid of criticism. “His Majesty taught us to work carefully and with a full effort. It is not wrong to make mistakes – His Majesty never reprimanded us when we made mistakes. Rather, he would remind us to keep trying and doing better next time. I think Thai people have been very lucky to have such a loving king who had worked tirelessly for the country. I saw how hard my father had worked for His Majesty. When I was a child, I did not understand much. Now I know why he had worked so hard, and I also know that His Majesty had worked even harder than my father.” As for his most impressive experience in his duty, M.L. Chititewan reminisced about an occasion when he served His Majesty King Bhumibol on a trip to Klai Kangwol Palace three years ago. At the time, he and other fellow pilots were working near Kaeng Krachan.

“The visibility was poor on that day. The three of us were concerned that His Majesty would not be able to see clearly, so we descended the plane. His Majesty said we were flying below the recommended height, so we brought the plane back up. I was impressed at how sharp his memory was. He not only remembered everything about rainmaking, but also the recommended altitude,” said M.L. Chititewan, who vividly remembered the incident. He added that although His Majesty King Bhumibol, the father of our nation, has passed away, much to our deepest sadness, his royal rain will always be available whenever we encounter a drought -- that will never change. His Majesty has left behind a legacy in climate engineering and rainmaking technology that will always be with our country and his beloved Thai people. “Those in the Royal Rainmaking Project often sing “Royal Rain,” a song that talks about His Majesty King Bhumibol’s kindness to his subjects. It gives us moral support to work hard to achieve His Majesty’s mission, despite obstacles. As a pilot and a royal rainmaking specialist, I will continue my work as best as I can for as long as possible. I am deeply devastated to lose His Majesty, who had always been our guardian. However, His Majesty has left behind many great things for all of us. I am forever thankful for His Majesty’s magnanimity and will always be his humble servant. From the bottom of my heart, I pledge my deepest gratitude to His Majesty King Bhumibol, whom I greatly miss.”

101


His Majesty’s royal duties

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงตระหนักดีว่า การพัฒนาการศึกษาของเยาวชนนั้นเป็นพื้นฐานอันสำ�คัญของประเทศชาติ ตลอดรัชสมัยของพระองค์ ทรงให้ความสำ�คัญด้านการ ศึกษาอย่างยิ่งยวด และได้พระราชทานแนวทางปฏิบัติเพื่อ พัฒนาการศึกษาอย่างสม่ำ�เสมอ โดยจุดมุ่งหมายสูงสุดคือ การให้ทุกคนได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษา เพื่อสร้างสังคมแห่ง ปัญญา สร้างพลเมืองที่มีคุณภาพ และส่งเสริมให้ประชาชนรู้จัก การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาชีวิตของทุกคน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานพระบรมราโชวาทที่เน้นย้ำ�ถึงความสำ�คัญของ การศึกษาในหลายโอกาส พร้อมทั้งพระราชทานพระราชทรัพย์ ส่วนพระองค์ให้มีการจัดตั้งสถานศึกษาในพระบรมราชูปถัมภ์ มากมาย ดั่งเช่น “โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์” สำ�หรับชาวไทย ภูเขา, “โรงเรียนราชประชาสมาสัย” สำ�หรับรับบุตรหลานของผูป้ ว่ ย โรคเรื้อนเข้าศึกษา, “โรงเรียนสงเคราะห์เด็กยากจน” เพื่อรับ นักเรียนที่ยากจนและเรียนอ่อนเข้าศึกษาต่อ, “โรงเรียนร่มเกล้า” เพื่อให้เด็กและเยาวชนในชนบทได้มีโอกาสเรียนหนังสือ เป็นต้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงทราบดีว่า เด็กและเยาวชนของไทยมิได้ขาดสติปัญญา ที่จะเล่าเรียน แต่ด้อยโอกาสและขาดทุนทรัพย์ นอกจากนี้ยัง ทรงตระหนักถึงความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยี 102

มีพระราชดำ�ริ ให้จัดการเรียนการสอน ทางไกลผ่านดาวเทียม เพื่อให้ประชาชน ของพระองค์ ไม่ว่าอยู่แห่งหนใด ในโลก สามารถเข้าถึง การศึกษาได้

สมัยใหม่ ที่จะมามีบทบาทและอิทธิพลต่อแนวคิด จิตใจ และการดำ�เนินชีวิตของประชาชนอย่างมาก การจะก้าวให้ทัน วิวัฒนาการและความเจริญสมัยใหม่เหล่านี้ ส่วนหนึ่งจำ�เป็น ต้องส่งคนไปศึกษาและดูงานในประเทศที่พัฒนาแล้ว เพื่อนำ� ความรู้มาเผยแพร่ให้เป็นประโยชน์และก่อให้เกิดการพัฒนา ในวิทยาการต่างๆ ของประเทศ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อก่อตั้งกองทุน การศึกษาหลายกองทุน ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ซึ่งการให้ทุนแต่ละทุนมีวัตถุประสงค์แตกต่าง กันไป เช่น ทุนมูลนิธิ “ภูมิพล”, ทุนมูลนิธิ “อานันทมหิดล”, ทุนเล่าเรียนหลวง, ทุนการศึกษาสงเคราะห์ในมูลนิธิ ราชประชานุเคราะห์, ทุนนวฤกษ์ และทุนการศึกษา พระราชทานแก่นักเรียนเฉพาะกรณี เป็นต้น ด้วยพระมหากรุณาที่จะให้คนไทยทั่วไปได้มีโอกาสทาง การศึกษาเพิ่มขึ้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช จึงมีพระราชดำ�ริให้จัดการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียม เพือ่ ให้ประชาชนของพระองค์ ไม่วา่ อยูแ่ ห่งหนใด ในโลก สามารถเข้าถึงการศึกษาได้โดยไม่จำ�กัดเพศ วัย หรือภาษา นอกจากนี้พระองค์ยังมีพระราชดำ�ริให้ดำ�เนินการ POWER MAGAZINE


His Majesty King Bhumibol Adulyadej realised the importance of education in children, who are the future of the country.

จัดทำ� “สารานุกรมไทยสำ�หรับเยาวชน” โดยจัดแบ่งเนื้อหาใน แต่ละสาขาวิชาออกเป็น 3 ระดับ เพื่อให้เด็กรุ่นเล็ก เด็กรุ่นกลาง และเด็กรุ่นใหญ่ รวมทั้งผู้ใหญ่ที่สนใจทั่วไป สามารถค้นคว้า หาความรู้ต่อไป

Throughout his reign, he had always paid attention to education. He had offered many guidelines for educational development to ensure that everyone had access to education, to create a wise society with high-quality people and to encourage people to learn in order to improve their lives. His Majesty had given many royal speeches on the subject of education. He had personally donated to build schools such as Jao Phor Luang Uppatham Schools for hilltribe children, Rajpracha Samasai School for children of leprosy patients, School for Children with Poverty for underprivileged children, and Rom Klao School for children in rural areas. His Majesty King Bhumibol was aware that Thai children were not unintelligent but they were

december 2016 - january 2017

His Majesty kindly initiated satellite classroom services so that education would be accessible to all people, whether near and far

underprivileged. He also knew that education and technology would impact the thoughts, mind and lifestyle of the people. To keep up with global advancements, Thai people needed to learn from developed countries and use the knowledge to develop Thailand. His Majesty personally financed scholarships for primary, secondary and university students, with various purposes, such as Bhumibol Foundation scholarship, Ananda Mahidol scholarship, King’s scholarship, Raja Prachanukroh Foundation scholarship, Navarerk scholarship and Royal scholarships for specific areas. His Majesty kindly initiated satellite classroom services so that education would be accessible to all people, whether near and far, regardless of their age, gender or spoken dialects. He also created Encyclopedia for Children on three levels – young children, older children, and adolescents and adults.

103


His Majesty’s royal duties

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จะสถิตอยู่ ในใจของประชาชนชาวไทยตลอดไป ฉบับนี้เราได้รวบรวม พระบรมฉายาลักษณ์ที่มีความหมายที่สุดสำ�หรับบุคคล 20 ท่าน ซึ่งพวกเขาได้ถ่ายทอดคำ�พูดแทนใจที่เรียบง่าย หากกลั่นออกมาจากความรัก ความอาลัย และความสำ�นึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้

jitsing somboon

จิตต์สงิ ห์ สมบุญ

นอกเหนือจากพระปรีชาสามารถหลายๆ ด้านของพระองค์ ผมสนใจใน บุคลิกและรสนิยมการแต่งกายของพระองค์ ซึ่งพระองค์มีพระสิริโฉมสง่างาม การแต่งกายไม่น้อยไม่มากจนเกินไป เหมาะสมกับสถานะ รู้สึกไม่น้อยหน้า ต่างประเทศ และเป็นหน้าเป็นตาให้กับประเทศไทยของเรามาโดยตลอด 104

In addition to His Majesty’s skills in various aspects, I admire his character and sense of fashion. His Majesty was graceful and his costumes were always appropriate, be it domestically or internationally.

POWER MAGAZINE


His Majesty King Bhumibol Adulyadej will forever live in the hearts of Thai people. In this issue, we compiled a selection of His Majesty’s images that touched the hearts of 20 selected people, each of whom expressed one’s love and gratitude to the beloved monarch.

Chalisa Viravan

ชาลิสา วีรวรรณ

พระสิริโฉมสง่างามที่สุด

The most elegant man.

danai sorakraikitikul

ดนัย สรไกรกิตกิ ลู

เป็นที่ทราบกันดีว่า พระองค์ท่านโปรดการถ่ายภาพด้วยกล้องที่มีกลไก ซับซ้อน แต่เพื่อการทำ�งาน ทรงเลือกกล้องที่เน้นประโยชน์การใช้สอย อย่างกล้องที่ซูมได้ไกล มีฟังก์ชั่นที่ง่ายในการเก็บภาพเพื่อนำ�มาใช้ในการพัฒนา ประเทศ แม้กล้องที่ว่านี้จะมีน้ำ�หนักมากกว่ากล้องแบบแรกก็ตาม สิ่งเหล่านี้ เป็นรายละเอียดเล็กน้อยที่แสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ที่พระองค์ทรงคำ�นึงถึง ส่วนรวมก่อนพระองค์เองเสมอ His Majesty took photos for his works with sophisticated but practical cameras. His cameras with long-range zoom lens, though heavier than normal ones, were easy to use and take photos for his work on development. These small details greatly displayed His Majesty’s dedication to the interest of the people rather than himself.

december 2016 - january 2017

105


His Majesty’s royal duties

Nalinee Worawongwasu

นลินี วรวงศ์วสุ

ชอบพระบรมฉายาลักษณ์นี้ เพราะทั้งสองพระองค์ทรงดูสง่างาม ยิ่งได้อ่านเรื่องราวของพระองค์ท่านและรู้ว่าหลายครั้งที่พระองค์ทรงเรียบเรียง พระราชดำ�รัสที่ต้องรับสั่งด้วยพระองค์เอง ทรงพระปรีชาสามารถทั้งภาษา อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมัน คือจริงๆ ไม่ต้องทำ�ด้วยพระองค์เองก็ได้ แต่พระองค์ก็ทรงทำ� รู้สึกภูมิใจที่เกิดเป็นคนไทย 106

I like this image of Their Majesties. They look graceful. Having read about His Majesty, I have been impressed on learning that he sometimes wrote his own speeches. He was fluent in English, French and German. He could have chosen not to write the speeches himself but he did. I am proud to be born Thai.

POWER MAGAZINE


Tada Varich

ธาดา วาริช

“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม” เพียงพระราชดำ�รัสที่แสนเรียบง่าย... ก็สามารถทำ�ให้เราชาวไทยอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขได้ด้วยวิถีของพระองค์ “I will reign with righteousness…” The simple speech has brought peace and happiness upon us.

Prapakas Angsusingha

ประภากาศ อังศุสงิ ห์

หอมกลิ่นความดี หอมกลิ่นความกตัญญู

Scent of goodness. Scent of gratitude.

Intira Thanavisuth

อินทิรา ธนวิสทุ ธิ์

สองพระองค์ทรงเป็นคู่บุญบารมีที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความรัก ทั้งยัง เหมาะสมกันในทุกเรื่อง ทรงร่วมทุกข์ร่วมสุขและทรงเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับ ปวงชนชาวไทย ภูมิใจที่สุดที่ได้เกิดมาในรัชสมัยของพระองค์ Their Majesties were the perfect couple in every aspect. They have been through good times and bad times together. They set a good example for the Thai people. I am grateful to be born in his reign.

december 2016 - january 2017

107


His Majesty’s royal duties

Kejmanee Wattanasin

เก็จมณี วรรธนะสิน

ประทับใจในพระอัจฉริยภาพของพระองค์ที่มีมากมาย ไม่ว่าจะศิลปะ ทุกแขนง งานวิศวกรรม ดนตรี และการกีฬา ส่วนตัวชอบพระบรมฉายาลักษณ์ ที่พระองค์ทรงเรื​อใ​ บมากที่สุด เพราะพระองค์ทรงดูสง่างามมาก คุณตา (ร.ต.อ.เทียน ไชยะโท)​ ​เคยเล่าให้ฟังว่า เรือใบมดในสมัยนั้นมีแค่ 3 ลำ� ในประเทศไทย และของคุณตาก็เ​ป็น 1 ใน​3​ ลำ�นั้น​ I am impressed by His Majesty’s skills in every field – art, engineering, music and sports. I like this image of His Majesty while he was sailing. He looks very graceful. My grandfather (Police Captain Thian Chaiyato) told me that there were only three dinghies in Thailand at the time. My grandfather’s dinghy was among them.

Arak Amornsupasiri

อารักษ์ อมรศุภศิริ

สาเหตุทป่ี ระชาชนชาวไทยได้มพี ระมหากษัตริยท์ ด่ี ปี ระเสริฐเช่นนี ้ ส่วนหนึง่ น่าจะมาจากการเลี้ยงดูปลูกฝังของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่าของพวกเรานั่นเอง ผมประทับใจโครงการในพระราชดำ�ริ มากมายที่ในหลวงได้ฝ่าฟันความยากลำ�บากสร้างสรรค์ออกมาเพื่อพวกเรา แต่ในขณะเดียวกัน ตัวผมเองก็ได้มีโอกาสไปสัมผัสและรับรู้ถึงโครงการ อันมากประโยชน์ ซึ่งเกิดขึ้นในสถานที่กันดารห่างไกลที่กระทำ�โดยสมเด็จย่า เช่นเดียวกัน ดังนั้น ทุกครั้งที่เห็นพระบรมฉายาลักษณ์ของในหลวงที่ทรงฉาย ร่วมกับสมเด็จย่า จะรู้สึกตื้นตันในความดีงามที่ได้สืบทอดจากมารดาสู่บุตร ไม่ต่างกับสุภาษิตไทยโบราณที่ว่า “ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น” สมเด็จย่าทรงรัก ประชาชนของท่านแบบไหน ในหลวงของเราทรงได้รับการถ่ายทอดมาไม่ต่างกัน Thai people have been blessed to have such a great king. The Princess Mother had raised him well. I am amazed by His Majesty’s diverse projects for which he had worked very hard for the benefits of the country and the people. I had personal experiences with some of the royal projects in remote areas in which the Princess Mother had played a role. Whenever I see images of His Majesty and the Princess Mother, I am touched by the virtue he inherited from his mother. It was true to the idiom: An apple doesn’t fall far from the tree. His Majesty loved his people the way his mother did. I am forever grateful for His Majesty’s magnanimity.

Kullawit Laosuksri

กุลวิทย์ เลาสุขศรี

เพราะผมเป็นเด็กนักเรียนมหาดเล็กหลวง

…owing to the fact that I was a student of the Royal Pages School.

108

POWER MAGAZINE


Jittima Wattanasin Rucksajit

จิตติมา วรรธนะสิน รักษะจิตร

“ที่ของข้าพเจ้าในโลกนี้คือ การได้อยู่ท่ามกลางประชาชนของข้าพเจ้า นั่นคือ คนทั้งปวง” (ข้อความจากพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช) ทุกๆ พระบรมฉายาลักษณ์ คือ ภาพประทับใจที่จะอยู่ในความทรงจำ� ความจงรักและภักดีต่อพระองค์ท่าน “พระผู้ให้” จนตลอดชีวิตจะหาไม่ และอยากจะบอกว่า เราโชคดีเหลือเกินที่ได้ เกิดมาในรัชสมัยของรัชกาลที่ 9 ในแผ่นดินของพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในโลก... พระมหากษัตริย์นักพัฒนา พระมหากษัตริย์นักกีฬา พระมหากษัตริย์ อัครศิลปิน พระมหากษัตริย์นักปกครอง พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเมตตาธรรม และ พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นแบบอย่างแห่งความกตัญญูและความรักอันมั่นคง พระองค์จะยังทรงอยู่ท่ามกลางประชาชนของพระองค์ จะสถิตอยู่ในใจของ ปวงข้าพระพุทธเจ้าตลอดไป

“My place in this world is being among my people. That is being amongst the Thai people.” (from a letter written by His Majesty the King) Every image of His Majesty the King will be in my memory. He was a giver throughout his life. We have been fortunate to be born in the reign of King Rama IX – the King of Kings. He was a development pioneer, a sportsman, an artist, a leader, a kind monarch and an example of gratitude and love. He will always live in our hearts.

Unchisa Vacharaphol

อัญชิสา วัชรพล

ชอบดูพระบรมฉายาลักษณ์ในหลวงสมัยที่พระองค์มีพระชนมพรรษา ไม่มาก รู้สึกว่าพระองค์ทรงเป็นบุคคลที่เพียบพร้อมทุกด้าน ทั้งด้านสติปัญญา ด้านวิทยาศาสตร์ รัฐศาสตร์ ศิลปะ ความเสียสละ ความรับผิดชอบ และความ ไม่ย่อท้อ ทรงเป็นพระราชบิดาที่ดีของครอบครัว และเป็นพ่อผู้ประเสริฐของ พวกเราชาวไทยทุกคน ที่สำ�คัญ พระองค์มีพระสิริโฉมสง่างาม และทรงมีสไตล์ มากๆ อีกด้วย

I like images of His Majesty in his younger years. He was such a perfect man, knowledgeable in science, political science and art. He was selfless, responsible and resilient. He was a good father to his family and Thai people. He was elegant and stylish.

december 2016 - january 2017

109


His Majesty’s royal duties

Chatbencha Nandhabiwat

ฉัตรเบญจา นันทาภิวฒ ั น์

“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชน ชาวสยาม” และก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ ตลอด 70 ปีในรัชสมัยของพระองค์ท่าน 110

“I will reign with righteousness for the benefits and happiness of the Siamese people.” It has been true throughout the 70 years of his reign.

POWER MAGAZINE


M.R. Sudhipanee Yukol

ม.ร.ว.สุทธิภาณี ยุคล

พระนาม “ภูมิพล” แปลว่า กำ�ลังของแผ่นดิน สำ�หรับเรา พระองค์ท่านไม่ได้ ทรงเป็นเพียงกำ�ลังของแผ่นดิน แต่ยังทรงเป็นหัวใจของแผ่นดินไทยอีกด้วย

His name “Bhumibol” means the strength of the land. His Majesty was not only our strength but also the heart of the nation.

Jarinporn Joonkiat

จรินทร์พร จุนเกียรติ

สิง่ ทีพ่ ระองค์ทา่ นทรงเล็งเห็น สิง่ ทีพ่ ระองค์ทา่ นทรงชีน้ ว้ิ ด้วยพระราชวิสยั ทัศน์ อันกว้างไกล เป็นประโยชน์มากมายมหาศาลกับพสกนิกรชาวไทย His Majesty the King’s visions have tremendously benefited the country and the people.

Sakwut Wisesmanee

ศักดิว์ ฒ ุ ิ วิเศษมณี

ดูพระองค์ทรงมีความสุขเมื่อได้ทำ�ในสิ่งที่พระองค์รัก และพระบรมฉายาลักษณ์นี้เป็นพระบรมฉายาลักษณ์ที่สวยในแง่ของ องค์ประกอบและเรื่องราวด้วย

december 2016 - january 2017

It seemed His Majesty was happy when he did something he loved. This is a beautiful image for its composition and story.

111


His Majesty’s royal duties

Patamol (Adireksarn) Suriya

ปัทมน (อดิเรกสาร) สุรยิ ะ

พระองค์ท่านทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวที่มีพระราชกรณียกิจ เกี่ยวกับโครงการในถิ่นทุรกันดารมากมาย เราคนไทยถึงมีความสุขสบาย เหมือนทุกวันนี้

His Majesty was the sole monarch who had initiated so many rural projects, bringing Thailand happiness until today.

Napamanee Krairiksh

นภมณี ไกรฤกษ์

จะมีพระมหากษัตริย์ประเทศใดในโลกที่ลงมือศึกษางานและทำ�เพื่อ ประชาชนด้วยความตั้งใจจริง สิ่งที่ประทับใจที่สุด คือ การที่พระองค์ท่าน ทรงรับฟังทุกปัญหา และนำ�มาพัฒนาแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียด เล็กน้อยแค่ไหนก็ตาม

Few monarchs in the world worked this hard and dedicatedly for the people. I’m most impressed that His Majesty listened to every problem and tried to find solutions, no matter how big or small.

112

POWER MAGAZINE


Pimchanoke (balankura) Subhadrabandhu

พิมพ์ชนก (พลางกูร) สุภทั รพันธุ์

เคยเห็นพระราชาพระองค์ไหนในโลกที่ประทับบนดินบนฝุ่นเกือบตลอดเวลา อย่างในหลวงบ้าง Have you ever seen any monarch in the world walk on dusty roads most of the time like His Majesty had done?

Savitri Paribatra na Ayudhya

สาวิตรี บริพตั ร ณ อยุธยา

วันหนึ่ง เมื่อฉันยังเป็นเด็ก ฉันเห็นคุณตานั่งดูรายการถ่ายทอดสดพิธี ถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ เมือ่ พระเจ้าอยูห่ วั เสด็จฯ ตรวจแถวทหารเหมือนที่เห็นในพระบรมฉายาลักษณ์น ้ี คุณตายกมือไหว้ จอโทรทัศน์ท่วมศีรษะและน้ำ�ตาไหลอาบแก้ม ฉันแอบมองคุณตาอย่างตื้นตันใจ ที่เห็นชายชราตัวโตๆ หลั่งน้ำ�ตาแห่งความจงรักภักดีอย่างไม่อายใคร เป็นภาพที่ เด็กผู้หญิงคนหนึ่งจำ�ได้มิรู้ลืม และเป็นสิ่งที่ปลูกฝังในใจของเด็กคนนั้นเสมอมา ว่าชีวิตนี้ถวายแด่องค์พระเจ้าอยู่หัวได้ทุกเมื่อ ฉันรักในหลวง

december 2016 - january 2017

Once when I was young, I saw my grandfather watch a television broadcast on Trooping the Colour by the Royal Guards. When His Majesty appeared on television, my grandfather put his hands together and raised them over his head. Tears rolled down his face. I was in awe witnessing the elderly man shed tears of loyalty. I have never forgotten that moment and it has instilled in me my love for His Majesty the King.

113


POWER HAPPENING

King Power expresses profound sadness at the passing of His Majesty King Bhumibol Adulyadej วิชัย ศรีวัฒนประภา ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ พร้อมด้วย คณะผู้บริหารและพนักงาน ร่วมแสดงความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมทั้งร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมรำ�ลึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ และลงนาม แสดงความอาลัยเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ณ คราวน์ เอเทรี่ยม คิง เพาเวอร์ ดาวน์ทาวน์ คอมเพล็กซ์

114

King Power Group Chairman Vichai Srivaddhanaprabha, executives and employees expressed their profound sadness at the passing of His Majesty King Bhumibol Adulyadej and sang the Thai Royal Anthem in memory of His Majesty’s greatness. They also penned messages of gratitude before His Majesty’s portrait at Crown Atrium, King Power Downtown Complex.

POWER MAGAZINE


december 2016 - january 2017

115


POWER HAPPENING

Leicester City commemorates His Majesty King Bhumibol Adulyadej

วิชัย ศรีวัฒนประภา ประธานสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ ซิตี้ พร้อมด้วย เคลาดิโอ รานิเอรี ผู้จัดการทีมเลสเตอร์ ซิตี้ ตลอดจนนักฟุตบอล ทีมสต๊าฟฟ์โค้ช และเยาวชนไทย 16 คน จากโครงการเลสเตอร์ ซิตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล อะคาเดมี่ ร่วมพิธีแสดงความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ด้วยสำ�นึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ ณ สนามคิง เพาเวอร์ สเตเดี้ยม ประเทศอังกฤษ

116

Leicester City Football Club Chairman Vichai Srivaddhanaprabha and team manager Claudio Ranieri, as well as the team’s players, staff coaches and 16 Thai youth players in Leicester City International Academy, joined a ceremony to commemorate His Majesty King Bhumibol Adulyadej and express gratitude for His Majesty’s unfathomable kindness at King Power Stadium, UK.

POWER MAGAZINE


King Power declares the faithful allegiance to all kings in the Chakri dynasty วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 เอมอร ศรีวัฒนประภา รองประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและ พนักงาน ร่วมพิธี “รวมพลังแห่งความภักดี” เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดี ต่อพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ และร่วมรำ�ลึกถึง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และปฏิญาณตนเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พร้อมร่วมร้องเพลง สรรเสริญพระบารมี ณ ลานเรารักพระเจ้าอยู่หัว อาคารสำ�นักงานใหญ่ คิง เพาเวอร์ รางน้ำ�

december 2016 - january 2017

On 22 November 2016, Aimon Srivaddhanaprabha, Vice Chairman of King Power Group, led the Group’s management team and staff to unite and declare their faithful allegiance to all kings in the Chakri dynasty and promised to do good deeds in honour of King Bhumibol Adulyadej and to continue supporting a democratic government with the monarch as Head of State. Taking the oath in front of a portrait of the late King at King Power Rangnam, the participants also sang the Royal Anthem to show their gratitude to the King’s graciousness.

117


King Power Foundation

ด้วยสำ�นึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ มูลนิธิ คิง เพาเวอร์ ได้ร่วมกับพสกนิกรชาวไทย แสดงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 พระมหากษัตริย์ผู้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณสูงสุดต่อปวงชนชาวไทย ผ่านโครงการมากมายในหลายวาระ ดังนี้

โครงการสายข้อมือ “เรารักพระเจ้าอยู่หัว”

เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มูลนิธิ คิง เพาเวอร์ ได้เชิญชวนประชาชน ชาวไทยร่วมบริจาคเงินจำ�นวน 100 บาท สนับสนุน ในโครงการสายข้อมือ “เรารักพระเจ้าอยู่หัว” รุ่นที่ 1 โดยจะได้รับสายข้อมือ 1 เส้น ทุกเส้นมีหมายเลข 118

กำ�กับ พร้อมสลักตัวอักษร 2 ภาษา คือ ภาษาไทย “เรารักพระเจ้าอยู่หัว” และภาษาอังกฤษ “Long Live The King” จากนัน้ ได้มพี ระบรมราชานุญาตโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมให้ นายวิชัย ศรีวัฒนประภา และ คณะกรรมการมูลนิธิฯ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ พระตำ�หนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำ�เภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เพือ่ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงินทีไ่ ด้จาก

การบริจาคโดยไม่หกั ค่าใช้จา่ ยจำ�นวน 105 ล้านบาท แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช เพื่อทรงใช้สอยตามพระราชอัธยาศัย

โครงการ “ไทยทั้งชาติ ถวายพระพร ร้อยอักษร ถวายพระเจ้าอยู่หัว”

มูลนิธิ คิง เพาเวอร์ จัดทำ�โครงการสายข้อมือ “เรารักพระเจ้าอยู่หัว” รุ่นที่ 2 เพื่อเชิญชวนประชาชน POWER MAGAZINE


ชาวไทยร่วมกันถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผ่านการเขียน คำ�ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสทรงครอง สิริราชสมบัติครบ 60 ปี โดยการบริจาคเงิน 100 บาท จะได้รับบัตรถวายพระพรพร้อมรับสายข้อมือ “เรารักพระเจ้าอยู่หัว” เป็นที่ระลึก จากนั้นมี พระบรมราชานุญาตโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ นายวิชัย ศรีวัฒนประภา และคณะกรรมการมูลนิธิฯ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ พระตำ�หนัก จิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 เพื่อทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงินจำ�นวน 814,765,710.95 บาท โดยไม่หักค่าใช้จ่าย พร้อมทั้ง ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก บันทึกคำ�ถวายพระพรชัยมงคล

december 2016 - january 2017

119


King Power Foundation

โครงการ “หนูรักพระเจ้าอยู่หัว”

โครงการรณรงค์เยาวชนไทยระดับประถมศึกษา ถึงมัธยมศึกษา ให้มีส่วนร่วมในการแสดงความ จงรักภักดี ด้วยการเขียนคำ�ถวายพระพรแสดง ความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสทรงครอง สิริราชสมบัติครบ 60 ปี ชิงทุนการศึกษาพระราชทาน จำ�นวน 999 ทุน มูลค่าทุนละ 10,000 บาท และได้รบั พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำ�เงินจาก โครงการ “ไทยทั้งชาติ ถวายพระพร ร้อยอักษร ถวายพระเจ้าอยู่หัว” จำ�นวน 9,990,000 บาท มาใช้ เป็นทุนการศึกษาในครั้งนี้ โดยพิธีมอบทุนการศึกษา พระราชทานฯ ได้รบั เกียรติจาก ฯพณฯ พลอากาศเอก กำ�ธน สินธวานนท์ องคมนตรี เป็นประธานในการมอบ ทุนการศึกษาพระราชทาน เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2550 ณ หอประชุมใหญ่ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

120

โครงการจัดทำ�นาฬิกา เฉลิมพระเกียรติ

มูลนิธิ คิง เพาเวอร์ ร่วมกับผู้ผลิตนาฬิกา แบรนด์ดังระดับโลก ผลิตนาฬิการุ่นพิเศษ โดยได้รับ พระบรมราชานุญาตเชิญอักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. ประดิษฐานบนหน้าปัดนาฬิกา และเชิญ ตราสัญลักษณ์การจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ประดับทีด่ า้ นหลังตัวเรือน แบ่งเป็นโครงการที่ 1 นาฬิกายี่ห้อ Parmigiani Fleurier จำ�นวน 60 เรือน และมีพระบรมราชานุญาตโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ นายวิชยั ศรีวฒ ั นประภา และคณะกรรมการมูลนิธฯิ

POWER MAGAZINE


เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2549 เพื่อทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายนาฬิกา Parmigiani Fleurier และเงินที่ได้รับการบริจาค เป็นจำ�นวนเงิน 30,000,000 บาท ณ พระตำ�หนัก เปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำ�เภอหัวหิน จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ นอกจากนี้ยังได้ผลิตนาฬิกายี่ห้อ Patek Philippe จำ�นวน 120 เรือน (โดยเป็น White Gold 60 เรือน และ Rose Gold 60 เรือน) ยี่ห้อ Seiko จำ�นวน 6,000 เรือน ยี่ห้อ Orient จำ�นวน 6,000 เรือน โดยนำ�เงินรายได้จำ�นวน

december 2016 - january 2017

20 ล้านบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

โครงการมวลสารมงคล “เรารักพระเจ้าอยู่หัว”

สืบเนื่องจากมีประชาชนเขียนคำ�ถวายพระพร ลงบนบัตรถวายพระพรชัยมงคล ส่งทางไปรษณีย์ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล

อดุลยเดช กว่า 3,000,000 บัตร ทำ�ให้บัตรถวาย พระพรชัยมงคลเป็นที่รวมพลังจิตที่มีคุณค่ายิ่ง มูลนิธิ คิง เพาเวอร์ จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดพระราชทานบัตรถวายพระพรฯ ดังกล่าว รวมถึงพวงมาลัยและดอกไม้พระราชทาน ให้กับมูลนิธิฯ พร้อมกับพระราชทานพระบรม ราชานุญาตให้จดั สร้างมวลสารมงคล โดยอัญเชิญ พระบรมฉายาลักษณ์เป็นภาพโบกพระหัตถ์

121


King Power Foundation

ให้พสกนิกร เมื่อครั้งเสด็จออกมหาสมาคม ณ สีหบัญชร พระทีน่ ง่ั อนันตสมาคม ในปีพ.ศ. 2549 และเชิญตราสัญลักษณ์การจัดงานฉลอง สิริราชสมบัติ 60 ปี มาประดิษฐานด้านหลัง มวลสารมงคล นอกจากนี้มูลนิธิฯ ยังได้รับมวลสาร สำ�คัญจากวัดต่างๆ 199 แห่งในประเทศไทย รวมถึงมวลสารศักดิ์สิทธิ์จากประเทศอินเดียและ เนปาล โดยทั้งหมดนี้นำ�มาย่อยสลาย เพื่อจัดสร้าง เป็นมวลสารมงคล “เรารักพระเจ้าอยู่หัว” นายวิชัย ศรีวัฒนประภา และคณะกรรมการ มูลนิธิฯ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้า ทูลกระหม่อมถวายเงินทีไ่ ด้รบั บริจาคหลังหักค่าใช้จา่ ย จากโครงการมวลสารมงคล “เรารักพระเจ้าอยู่หัว”

122

จำ�นวน 100 ล้านบาท เพื่อทรงใช้สอยตามพระราช อัธยาศัย ในวันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เวลา 17.30 น. ณ ห้องประชุมสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส ราชนครินทร์ ชั้น 14 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช

โครงการจัดสร้าง พระบรมรูปพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช “ทรงงาน” (จำ�ลอง)

ในปีพ.ศ. 2556 มูลนิธิ คิง เพาเวอร์ ได้รับ พระมหากรุณาธิคุณให้จัดทำ�โครงการจัดสร้าง พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช “ทรงงาน” (จำ�ลอง) องค์หล่อสัมฤทธิ์ ขนาดความสูง 60 เซนติเมตร น้ำ�หนักรวมประมาณ 7 กิโลกรัม จำ�นวน 9,999 องค์ เพือ่ เผยแผ่พระบารมี เรื่องการทรงงาน ให้พสกนิกรมีส่วนร่วมในการ บริจาคเงิน 50,000 บาท สำ�หรับการรับพระบรมรูปฯ 1 องค์ เงินรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายนำ�ขึ้นทูลเกล้า ทูลกระหม่อมถวายโดยเสด็จพระราชกุศลแก่มูลนิธิ ราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เนื่องใน โอกาสก่อตั้งครบ 50 ปี

POWER MAGAZINE


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.