EDITOR’s LETTER
แม้วันที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช เสด็จสู่สวรรคาลัยจะล่วงเลยมาแล้ว เกือบหนึ่งปี แต่ภายในหัวใจของเหล่าพสกนิกร ยังคงเอ่อล้นด้วยน�้ำตาแห่งความเศร้าไม่เสื่อมคลาย ด้วยส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นหาที่สุด มิได้ คิง เพาเวอร์ จึงจัดท�ำนิตยสารฉบับพิเศษนี้ขึ้น เพื่อรวบรวมเรื่องราวของอันเกี่ยวเนื่องกับพระราชพิธี ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งถือเป็น พระราชพิธีส�ำคัญที่จัดขึ้นตามหลักโบราณ ราชประเพณี นอกจากนั้นภายในนิตยสารฉบับนี้ ยังได้ รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระอัจฉริยภาพ พระปรีชาสามารถ ตลอดจนแนว พระราชด�ำริที่พระองค์ทรงวางรากฐานไว้เป็นอย่างดี ให้แก่ประเทศชาติและพสกนิกรของพระองค์ แน่นอนว่าเมื่อท่านเดินทางไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ และนิทรรศการเหล่านี้ ไม่เพียงท่านจะรู้สึกอิ่มเอมใจ อย่างบอกไม่ถูก ที่ได้มาสัมผัสเรื่องราวน�้ำพระราช หฤหัยอันยิ่งใหญ่ที่พระองค์ทรงมีต่อพสกนิกร ชาวไทยแล้ว ท่านยังจะได้รับแรงบันดาลใจดีๆ 4
มากมายกลับไปด้วย เพราะทุกพระราชจริยวัตรและ พระราชกรณียกิจของพระองค์ ล้วนเป็นแบบอย่าง อันดีงามที่ทุกคนสามารถน�ำไปปฏิบัติตาม ทั้งหมดนี้เพื่อเป็นการร่วมแสดงความอาลัย เป็นครั้งสุดท้ายแด่องค์พระมหากษัตริย์ผู้ทรงคุณ อันประเสริฐ และทรงอุทิศพระองค์เพื่อประโยชน์สุข ของปวงชนชาวไทยมาตลอดพระชนม์ชีพ ไม่ว่าเวลา จะผ่านไปเนิ่นนานแค่ไหน ความทรงจ�ำอันงดงาม เกี่ยวกับพระองค์ท่านจะยังคงแจ่มชัดอยู่ในความ ทรงจ�ำของประชาชนทุกหมู่เหล่าเสมอ It has been nearly one full year since the day His Majesty King Bhumibol Adulyadej passed away, but tears have not dried from the faces of the Thai people who continue to cherish His Majesty’s benevolence. King Power presents this special edition which brings together stories about the royal cremation ceremonies of His Majesty King Bhumibol Adulyadej, which is a significant royal event based on ancient royal traditions. This edition also presents museums and exhibitions where you can learn about
His Majesty’s kindness, talents, skills, and remarkable ideas which have laid a solid foundation for the country and the people. When you visit these places, you will be touched beyond words by His Majesty’s generosity, and be inspired by His Majesty’s exemplary dedication and royal duties. This is a final farewell to our beloved late King who had dedicated himself to the improvement of the country and the people throughout his life. Forever and always, the memories about His Majesty will remain clear in the hearts of the Thai people.
วรมาศ ศรีวัฒนประภา Voramas Srivaddhanaprabha voramas_s@kingpower.com POWER MAGAZINE
P O W E R M a g a z i n e • s pe c i a l e d i t i o n
The Royal Cremation Ceremonies IN REMEMBRANCE OF KING BHUMIBOL THE GREAT The Royal Cremation Ceremonies Fit for a Royal Farewell
8 24
THE BELOVED KING
Fit for a Royal Farewell
An Enduring Legacy • Tracing Father’s Footsteps • A Legacy of Arts • Father’s Agricultural Methods • King of Naval Architecture • The Stamps of Fatherly King The Royal Trail
28 30 34 38 42 46 50
King of Naval Architecture
The Royal Trail Special Edition
5
Special Edition
EDITOR-IN-CHIEF Voramas Srivaddhanaprabha
วรมาศ ศรีวฒ ั นประภา deputy EDITOR
EXECUTIVE ADVISOR
DESIGN DIRECTOR
Chatsarun Pinitchai
Kullawit Laosuksri
Peerapong Pongprapapun
CONTENT EDITORS
feature writers
deputy DESIGN DIRECTOR
Issaraporn Dejvichienkamkerng
Nattaporn Napalai
Warokat Krutharot
Khwannate Gatesuesaat
Piyalak Nakayodhin
ชัชสรัล พินจิ ไชย
อิสราภรณ์ เดชวิเชียรกำ�เกิง ขวัญเนตร เกตุซอ่ื สัตย์ Suvat Sirisom
สุวฒ ั น์ ศิรสิ ม
Chiraphorn Wiriyasiriphot
กุลวิทย์ เลาสุขศรี
ณัฐพร นภาลัย
พีรพงศ์ พงษ์ประภาพันธ์
วโรกาส ครุธาโรจน์
Manop Rattanaseangkumjorn
www.kingpower.com www.facebook.com/ KingPowerOfficial
ART DIRECTOR
กัญญาณัฐ แก้วกาญจน์
มานพ รัตนแสงกำ�จร
จิราภรณ์ วิรยิ ะศิรพิ จน์ นูรอาซีลาห์ เรณางกูร
สุภชาติ เวชมาลีนนท์
PHOTOGRAPHERs
GRAPHIC DESIGNERs
Nurazelah Ranangkul
Supachat Vetchamaleenont
Wuttisak Sukmorn
Kwanchanok Netsangsri
Chanok Thammarakkit
Supattra Ka-A-Nan
ขวัญชนก เนตรแสงศรี
ชนก ธัมมะรักขิต
Peerasit Cheevasereechol
วุฒิศักดิ์ สุขมอญ
สุพัตรา คะอะนันท์
ภีระสิทธิ์ ชีวะเสรีชล
EDITORIAL COORDInaTOR
บริษทั มีเดีย ทรานส์เอเซีย ไทยแลนด์ จำ�กัด โทร. 0 2204 2370-89 โทรสาร 0 2204 2390-1
COLOuR SEPaRATION
สิรยา ไชยรัฐกร
Advertising
PRINTING
Wimonwan Kularb
Comform Co., Ltd.
INFORMATION INQUIRIES Media Transasia Thailand Limited
วิมลวรรณ กุหลาบ
Gritsanee Chamnanmanoontham
กฤษณีย์ ชำ�นัญมนูญธรรม โทร. 0 2204 2370-89 ต่อ 109 หรือ 089 229 3998
71 Inter Scan Co., Ltd.
บริษัท 71 อินเตอร์สแกน จำ�กัด โทร. 0 2234 4457, 0 2233 7398
บริษทั คอมฟอร์ม จำ�กัด โทร. 0 2368 2942-7, 0 2368 3840-4
8 คิง เพาเวอร์ คอมเพล็กซ์ ถนนรางน้ำ� แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร. 0 2677 8888 โทรสาร. 0 2677 8877 King Power Contact Centre Tel: 1631
ปิยะลักษณ์ นาคะโยธิน Kanyanat kaewkarnj
Publicity
Siraya Chairattakorn
KingPowerOfficial
DIGITAL IMAGE Thana Swadnopparat
ธนา สวัสดิน์ พรัตน์
PRINTING COORDINATORs
www.kingpower.com
Nat Sriyaphai
ณัฐ ศรียาภัย
KingPowerOfficial
KingPowerOfficial
6
POWER MAGAZINE
พระราชพิธีอันเกี่ยวเนื่องกับพระบรมศพ เป็นราชประเพณีที่มีความส�ำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นการเฉลิมพระเกียรติ อย่างสูงสุดต่อพระมหากษัตริย์ ตามคติความเชื่อของพราหมณ์ที่เทิดทูนพระมหากษัตริย์เป็นดั่งสมมติเทพ ที่อวตารลงมายังโลกมนุษย์ เพื่อคุ้มครองประชาชนให้อยู่เย็นเป็นสุข และเสด็จกลับสู่สรวงสวรรค์เมื่อสวรรคต แบบแผนพระราชพิธี ถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ในปัจจุบัน มีที่มาจากธรรมเนียมปฏิบัติในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่อาจมีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดปลีกย่อยบางอย่างตามยุคสมัย หรือตามพระราชประสงค์ของพระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์
The royal cremation ceremonies are of an extreme importance as they are a tribute to the King. The ceremonies are based on Brahman beliefs that the king is an avatar of the gods, and his passing means he has gone back to heaven. The current royal cremation ceremonies date back to the Ayutthaya Era with minor changes.
THE ULTIMATE ARTS
อนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ขยายความถึงวิวัฒนาการการก่อสร้าง พระเมรุมาศจากอดีตสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึง ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที ่ 1-4) นิยมสร้างพระเมรุมาศขนาดใหญ่เต็มรูปแบบ หรือที่เรียกว่าพระเมรุมาศทรงปราสาท คืออาคารพระเมรุมาศมีรูปลักษณะ อย่างปราสาท และสร้างเรือนบุษบกบัลลังก์ที่เรียกว่าพระเมรุทองซ้อนอยู่ภายใน ส�ำหรับพระเมรุมาศที่ท�ำสถิติสูงที่สุดตามที่มีการบันทึกในจดหมายเหตุและ พงศาวดารสมัยอยุธยา คือพระเมรุมาศถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จ
8
พระนารายณ์มหาราช มีความสูงประมาณ 80 เมตร หรือเทียบเท่ากับ ตึก 26 ชั้นในปัจจุบัน ตราบเมื่อเข้าสู่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้ปรับลดขนาดพระเมรุมาศในพระราชพิธี พระบรมศพลง ให้คงเหลือแต่พระเมรุน้อยหรือพระเมรุทองเท่านั้น โดยลักษณะ การก่อสร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นแบบพระเมรุทรงบุษบก หมายถึง พระเมรุที่สร้างบนพื้นที่ราบ โดยดัดแปลง อาคารปราสาทเป็นเรือนบุษบก ขยายพระเมรุทองในปราสาทที่เป็น POWER MAGAZINE
PH OTOG R AP H Y : C OU RT ES Y OF FI N E A RT S DE PAR TM EN T
I n R e m e m b r a n c e o f K i n g B h u m i b o l T h e Gr e a t
เรือนบุษบกบัลลังก์แต่เดิมให้ใหญ่ขึ้น เพื่อการถวายพระเพลิง การปรับลดขนาด พระเมรุมาศในพระราชพิธีพระบรมศพของรัชกาลที่ 5 นี้เอง ได้กลายเป็น แบบแผนของงานออกพระเมรุมาศที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน อธิบดีกรมศิลปากร อธิบายว่า ส�ำหรับการจัดสร้างพระเมรุมาศในครั้งนี้ ในส่วนงานสถาปัตยกรรมที่กรมศิลปากรรับผิดชอบ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่ง คือ กลุ่มอาคารในมณฑลพิธี ณ ท้องสนามหลวง ประกอบด้วย พระเมรุมาศ เป็นประธานในมณฑลพิธี ในครั้งนี้มีการออกแบบเป็นพระเมรุมาศ ทรงบุษบกเก้ายอดบนชั้นฐานชาลาย่อมุมไม้สิบสอง วางผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้าง 60 เมตร ยาว 60 เมตร สูง 50.49 เมตร โครงสร้างภายในเป็นเหล็ก แบบยึดด้วยน็อต ฐานรากโครงสร้างแบบใช้พื้นดินรับน�้ำหนักโดยไม่มีเสาเข็ม องค์พระเมรุมาศปิดผิวประดับด้วยไม้อัด กรุกระดาษทองย่นตกแต่งลวดลาย และเครื่องประกอบพระอิสริยยศ มีเทวดาเชิญฉัตรและบังแทรก มีองค์มหาเทพ 5 พระองค์ คือ พระพิฆเนศวร พระอินทร์ พระพรหม พระศิวะ และพระนารายณ์ รายรอบพระเมรุมาศชั้นลานอุตราวรรตมีสระอโนดาตทั้งสี่ทิศ มีน�้ำไหลจาก สัตว์มงคลประจ�ำทิศสู่สระอโนดาต ภายในสระประดับด้วยประติมากรรม สัตว์หิมพานต์ ขณะที่บุษบกประธานผังพื้นอาคารเป็นสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ชั้นฐาน เป็นฐานสิงห์ เหนือฐานสิงห์เชิงบาตร ชั้นที่หนึ่งเป็นชั้นครุฑยุดนาค เชิงบาตร Special Edition
ชั้นที่สองเป็นชั้นเทพพนม เครื่องยอดบุษบกเชิงกลอนเจ็ดชั้น บนยอดสุด ปักนพปฎลมหาเศวตฉัตร (ฉัตรขาว 9 ชั้น) โถงกลางภายในเป็นที่ประดิษฐาน พระจิตกาธานส�ำหรับประดิษฐานพระบรมโกศ ติดตั้งฉากบังเพลิงทั้งสี่ทิศ ส�ำหรับใช้เป็นเครื่องกั้นทางขึ้นลงพระเมรุมาศ โดยจะติดไว้กับเสาทั้ง 4 ด้าน บริเวณบันไดขึ้นลงพระเมรุมาศ เพื่อบังตาขณะปฏิบัติการถวายพระเพลิง พระบรมศพ และใช้ควบคุมทิศทางลม “ความพิเศษของฉากบังเพลิงในครั้งนี้ คือ ในแต่ละด้าน ซึ่งมีความสูง 4.4 เมตร กว้าง 5.35 เมตร จะเขียนรูปพระนารายณ์อวตารในปางต่างๆ และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ เพื่อน้อมร�ำลึกถึงพระราชกรณียกิจ ที่ทรงท�ำไว้เพื่อปวงชนชาวไทยตลอด 70 ปีแห่งการครองราชย์ ด้านหน้าของ ฉากบังเพลิงจะแบ่งเป็น 4 ช่อง ช่องละ 2 ส่วน ส่วนด้านบนเป็นรูปพระนารายณ์ อวตาร จ�ำนวนทั้งหมด 8 ปาง โดยในหลวงรัชกาลที่ 9 ประทับอยู่ในพระเมรุมาศ ทรงบุษบกเก้ายอด เปรียบเป็นพระนารายณ์ปางที่ 9 ส่วนด้านล่างจะเป็น เรื่องราวโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ 24 โครงการ แยกตามหมวด ดิน น�้ำ ลม ไฟ” ส่วนด้านหลังฉากบังเพลิงทั้ง 4 ด้าน จะมีลวดลายเหมือนกันทุกด้าน คือ ด้านบนเป็นพระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” โดยมีดอกดาวเรืองซึ่งมีสีเหลือง อันเป็นสีประจ�ำวันพระราชสมภพของพระองค์สอดแทรกอยู่ตรงกลาง ภปร 9
I n R e m e m b r a n c e o f K i n g B h u m i b o l T h e Gr e a t
รอบข้างเป็นดอกไม้มณฑาทิพย์ที่ร้อยเป็นลายเฟื่องอุบะห้อยอยู่ เป็นดอกไม้แห่ง สรวงสวรรค์ จะร่วงหล่นในยามเกิดเหตุการณ์ส�ำคัญแก่ชาวโลก เหตุการณ์นี้ คือ การเสด็จสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 9 ด้านล่างประกอบด้วยดอกไม้มงคล อาทิ ดอกบัวเงิน ดอกบัวทอง ดอกบัวสวรรค์ ผูกด้วยดอกและใบบัวล้อสายน�้ำ ลายเมฆและลวดลายไทย โดยมีใบหญ้าแฝกแทรกอยูต่ ามดอกบัว ส่วนอีก 2 ช่อง ที่ขนาบ ภปร คือ พุ่มต้นไม้ทองซึ่งเป็นการน�ำดอกไม้มณฑาทิพย์มาร้อยเรียง ให้เป็นพุ่ม สื่อถึงการน�ำมาถวายสักการะในหลวงรัชกาลที่ 9 ขณะที่พระที่นั่งทรงธรรม ซึ่งเป็นอาคารชั้นเดียวยกฐานสูง ขนาดกว้าง 44.50 เมตร ยาว 155 เมตร ตั้งอยู่กึ่งกลางด้านทิศตะวันตกของพระเมรุมาศ ใช้เป็นที่ประทับและบ�ำเพ็ญพระราชกุศลในการพระราชพิธีส�ำหรับพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนเป็นที่ประทับส�ำหรับ พระราชวงศ์ต่างประเทศ พระราชอาคันตุกะ รวมทั้งเป็นที่นั่งส�ำหรับบุคคล ส�ำคัญที่เข้ามาร่วมในพระราชพิธี ในครั้งนี้นอกจากจะมีขนาดใหญ่กว่าทุกครั้ง ที่ผ่านมา คือ รองรับได้ประมาณ 2,800 ที่นั่งแล้ว ฝาผนังทั้ง 3 ด้านของพระที่นั่ง ทรงธรรมยังจัดให้เป็นพื้นที่แสดงผลงานจิตรกรรมที่เรียงร้อยเรื่องราวโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ นอกจากนั้นยังมีศาลาลูกขุน ซึ่งเป็นสิ่งปลูกสร้างลักษณะโถงทรงไทย ชั้นเดียว ใช้เป็นที่ส�ำหรับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เฝ้าฯ รับเสด็จและร่วมพระราชพิธี ทับเกษตร เป็นอาคารโถง หลังคาจั่ว ประดับตกแต่งลวดลายไทย ใช้เป็นที่นั่งพัก ส�ำหรับข้าราชการที่มาเฝ้าฯ รับเสด็จและร่วมพระราชพิธี และ ทิม มีลักษณะเป็น สิ่งปลูกสร้างชั้นเดียว ด้านหน้าเปิดโล่ง หลังคาแบบปะร�ำ คือหลังคาแบน ใช้เป็นที่พักของพระสงฆ์ แพทย์หลวง เจ้าพนักงาน และเป็นที่ประโคมปี่พาทย์ ประกอบพิธี ส่วนที่สอง คือ กลุ่มอาคารนอกมณฑลพิธี ได้แก่ เกยลา บริเวณก�ำแพงแก้ว พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พลับพลาหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม 10
พลับพลาหน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท และพลับพลายกหน้ามณฑลพิธี ท้องสนามหลวง ลวดลายประกอบ ทั้งที่เป็นชั้นฐาน หรือประติมากรรมที่ประกอบ ในพระเมรุมาศ ทั้งหมดจะสะท้อนถึงเรื่องระบบจักรวาลที่มีเขาพระสุเมรุ เป็นศูนย์กลาง ไม่ว่าจะเป็นชั้นครุฑ ชั้นเทพ หรือเทวดา รวมถึงสัตว์หิมพานต์ สิ่งที่เป็นพิเศษในครั้งนี้ คือ เสาโคมจะใช้เป็นเสาครุฑ แทนที่เสาหงส์ เพราะครุฑ คือพาหนะของพระนารายณ์ สอดคล้องกับแนวคิดสมมติเทพที่ว่าพระนารายณ์ อวตารลงมาเป็นพระมหากษัตริย์ Director General of the Department of Fine Arts Anan Chuchot explained about the evolution of the royal crematorium that from the Early Ayutthaya Era up until the Early Rattanakosin Era (King Rama I King Rama IV), the royal crematorium was built in its full grandeur in a style known as the Prasat architectural style, with a golden inner crematorium. The grandest royal crematorium ever recorded was in the Ayutthaya Era for King Narai the Great, about 80 metres in height. King Rama V ordered the size of the royal crematorium to be reduced. The style is called the Bussabok style, and this style has been used until today. The Director General of the Department of Fine Arts said that in the construction of the royal crematorium this time, the Department is responsible for two parts. The first part is the construction within the ceremonial premise at the Royal Plaza. The main structure is the royal crematorium on a twelve wooden recess which is 50.49 metres high, 60 metres wide and 60 metres long. The base has no pile foundation. The royal crematorium is decorated with wood and gold patterned
POWER MAGAZINE
paper as well as royal regalia. Five principal deities -- Ganesh, Indra, Brahma, Shiva and Narai decorate around the royal crematorium. There are four ponds, one on each side, and water flows from auspicious animals into these ponds. The ponds are decorated with Himavanta mythical creatures. The base of the Principal Bussabok is a lion shaped pedestal. The base, on the first row, depicts a battle between garuda and naga, while the second row depicts celestial beings holding ceremonial fans, with 7-tier pointed roof, and 9-tier white umbrella. The hall is where the catafalque is located, with fireguards on four sides, attached to the pillars in order to protect the wind from blowing inside. “The fireguards, 4.4 x 5.35 metres in size, are special because they portray images of Phra Narai in various reincarnations and Royal Projects to pay tribute to His Majesty’s dedication over the past 70 years. The front of each fireguard is divided into four slots, and the top features eight reincarnations of Phra Narai, with King Rama IX inside the royal crematorium, symbolising that His Majesty was the ninth reincarnation of Phra Narai. The bottom portrays 24 Royal Projects divided into earth, water, wind and fire.” The back of the four fireguards are identical, with His Majesty’s initials, marigold flowers in yellow, which is the symbolic colour of His Majesty’s day of birth, surrounded by magnolia flowers, believed to be flowers from heaven. When these flowers drop, a significant event unfolds, and in this case, it was the passing of His Majesty
Special Edition
King Bhumibol Adulyadej. The base is decorated with auspicious flowers, clouds, and Thai motifs. The dharma royal pavilion is a one-storey elevated building, 44.5 x 155 metres in size, located on the west of the royal crematorium. It is a place where the King and the royal family come to make merit, and a reception area for royal guests who attend the royal ceremonies. This dharma royal pavilion is grander than before -it can welcome up to 2,800 guests, and three of its walls depict His Majesty King Bhumibol Adulyadej’s Royal Projects. There is a separate one-storey hall for welcoming high-rank government officials who attend, as well as a Thap Kaset pavilion for government officials. Tim, an open air pavilion with a flat roof, is for monks, royal doctors, royal staff, and musicians for the royal ceremonies. The second part the Department is responsible for is buildings outside the ceremonial premise, such as the transfer platform near the Dusit Maha Prasat Throne Hall, and pavilions in front of Suthaisawan Prasat Throne Hall, and at the Royal Plaza.
THAI ARTISTS UNITE FOR THE GREAT KING
นอกจากการจัดสร้างพระเมรุมาศ จะคงรูปแบบสถาปัตยกรรมโบราณที่ งามวิจิตรแล้ว ในส่วนของประติมากรรมประกอบพระเมรุมาศ ถือเป็นอีกหนึ่ง องค์ประกอบส�ำคัญที่จะท�ำให้พระเมรุมาศมีความสมบูรณ์ อธิบดีกรมศิลปากร อธิบายว่า ในครั้งนี้เป็นการรวมตัวของช่างฝีมือครั้งใหญ่ที่มาร่วมแรงร่วมใจกัน ท�ำงานอย่างสุดฝีมือเพื่อถวายพระเกียรติสูงสุด
11
I n R e m e m b r a n c e o f K i n g B h u m i b o l T h e Gr e a t
The decoration of the royal crematorium has brought together some of the greatest artists in Thailand to honour His Majesty King Bhumibol Adulyadej. The sculptures are replicas of old paintings and mythical sculptures at Prasat Phra Thep Bidon in Wat Phra Kaew. There are also sculptures of celestial beings, auspicious animals, elephants, horses, oxen, lions and Himavanta mythical creatures. Everything strictly follows the Traibhumikatha and ancient royal traditions in order to honour His Majesty. The sculptures are the same as the ones made in the reigns of King Rama V, VI and VIII -12 standing celestial beings, 56 seated celestial beings, Shiva, Narai, Indra, and Brahma, four pairs of garudas, the Four Kings of Heaven, and eight auspicious animals. “We have also made a life-size sculpture of Khun Thongdaeng the royal pet to show His Majesty’s love for his dog pet. The sculpture is based on a picture of Khun Thongdaeng seated next to His Majesty.”
GRANDEUR OF THE LANDSCAPE AROUND THE ROYAL CREMATORIUM
เพื่อให้สมพระเกียรติและถูกต้องตามโบราณราชประเพณี พร้อมรองรับ ผู้ที่จะมาร่วมพระราชพิธีซึ่งคาดว่ามีจ�ำนวนมหาศาล จะเห็นว่าการจัดสร้าง พระเมรุมาศในครั้งนี้ ใช้พื้นที่ใหญ่ขึ้นกว่าการจัดสร้างพระเมรุในครั้งที่ผ่านๆ มา ซึ่งกินพื้นที่ครึ่งสนามหลวง แต่ครั้งนี้ใช้พื้นที่มากถึง 2 ใน 3 ของสนามหลวง การออกแบบภูมิทัศน์ในพระราชพิธีครั้งนี้ มีการวางผังต�ำแหน่ง พระเมรุมาศเชื่อมโยงกับศาสนสถานที่ส�ำคัญของพื้นที่ในเกาะรัตนโกสินทร์ ชั้นใน โดยต�ำแหน่งที่ตั้งพระเมรุมาศเป็นจุดตัดของแนวแกนที่ส�ำคัญ 2 แนว ในการจัดสร้างรูปปั้นประติมากรรมประดับพระเมรุมาศในพระราชพิธี ถวายพระเพลิงพระบรมศพ ส�ำนักช่างสิบหมู่ได้คัดลอกลวดลายมาจากภาพ จิตรกรรมสมุดข่อย ภาพสมุดไทย และประติมากรรมสัตว์หิมพานต์ที่ตั้งประดิษฐ์ อยู่บริเวณปราสาทพระเทพบิดร ภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม รวมถึงที่เป็น ภาพวาดพระราชพิธีโบราณ เพื่อเป็นต้นแบบในการปั้นรูปหล่อ อาทิ รูปปั้นเทวดา สัตว์มงคลประจ�ำทิศ ช้าง ม้า วัว สิงห์ ตลอดจนการจัดสร้างสัตว์หิมพานต์ นรสิงห์ กินนร ต่างๆ โดยไม่มีการจินตนาการขึ้นมาเอง เนื่องจากการจัดสร้าง ประติมากรรมจะยึดถือตามคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนาที่สืบทอดกันมา ในเรื่องของไตรภูมิกถา จึงต้องใช้ต้นแบบจิตรกรรมที่มีที่มาที่ไปอย่างชัดเจน โดยเทวดายืนและเทวดานั่งจะเป็นแบบเดียวกับทุกครั้งที่ผ่านมา แต่มีการปรับ ขนาดให้ใหญ่ขึ้นเพื่อให้มีความสมดุลกับขนาดของพระเมรุมาศที่ใหญ่ การปั้นประติมากรรมทุกรายการจัดสร้างตามขนบธรรมเนียมและ สมพระเกียรติอย่างสูงสุด โดยยึดหลักตามแบบโบราณราชประเพณี เช่นเดียวกับ ในสมัยรัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 8 ประกอบด้วยเทวดายืน รอบพระเมรุมาศ จ�ำนวน 12 องค์ (เชิญพุม่ โลหะ 4 องค์ เชิญฉัตร 8 องค์) เทวดานัง่ รอบพระเมรุมาศ จ�ำนวน 56 องค์ (เชิญฉัตร/บังแทรก) พระศิวะ พระนารายณ์ พระอินทร์ พระพรหม อย่างละ 1 องค์ รวมจ�ำนวน 4 องค์ ครุฑยืนรอบพระเมรุมาศ (ชั้นที่ 3) จ�ำนวน 4 คู่ (8 ตัว) 4 ทิศ ท้าวจตุโลกบาล ทั้งสี่ (ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวธตรฐ ท้าววิรูปักษ์ ท้าววิรุฬหก) และสัตว์มงคล ประจ�ำทิศ (ช้าง ม้า วัว สิงห์) ประดับทางขึ้นบันได (ชั้นที่ 1) ประจ�ำทิศละ 1 คู่ จ�ำนวน 8 ตัว “นอกจากนี้ยังได้จัดสร้างประติมากรรมรูป “คุณทองแดง” สุนัขทรงเลี้ยง ขนาดเท่าตัวจริง เพื่อประดับพระเมรุมาศในต�ำแหน่งใกล้กับพระบรมโกศ เพื่อสื่อให้เห็นถึงความผูกพันที่ทรงมีต่อสุนัขทรงเลี้ยง โดยได้คัดเลือกภาพถ่าย คุณทองแดง ซึ่งอยู่ในอิริยาบถนั่งเฝ้าอยู่เคียงข้างพระองค์มาเป็นต้นแบบ” 12
POWER MAGAZINE
Special Edition
13
I n R e m e m b r a n c e o f K i n g B h u m i b o l T h e Gr e a t
จะเห็นทุ่งรวงทองของพันธุ์ข้าวต่างๆ ที่มีกลิ่นหอมและสง่างามสมพระเกียรติ” ได้แก่ แนวเหนือ-ใต้ เป็นแนวแกนที่สัมพันธ์กับพระศรีรัตนเจดีย์ภายใน วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และแนวตะวันออก-ตะวันตก เป็นแนวแกนที่สัมพันธ์ อธิบดีกรมศิลปากร อธิบายเพิ่มเติมให้เห็นภาพ กับพระอุโบสถของวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการก�ำหนด To honour His Majesty King Bhumibol Adulyadej and to follow การใช้พื้นที่ เส้นทางการเชื่อมโยงและการวางอาคารประกอบต่างๆ รวมทั้ง the ancient royal traditions, as well as to welcome millions of people องค์ประกอบภูมิทัศน์ของบริเวณมณฑลพิธี และบริเวณโดยรอบ ได้แก่ who will come attend the ceremonies, the royal crematorium แกนทางเข้าพระเมรุมาศ ลานพระราชพิธี และพื้นที่ตกแต่งภูมิทัศน์ this time is much larger than ever before, occupying two thirds of แนวคิดในการออกแบบลานพระราชพิธี เป็นการตีความเชิงสัญลักษณ์ the Royal Plaza. ตามผังภูมิจักรวาลในปรัชญาและคติความเชื่อของไทย และค�ำนึงถึงพื้นที่ The landscape design for the royal cremation ceremonies links the การใช้สอยที่ต้องสามารถรองรับกิจกรรมได้ดีและครบถ้วน ประกอบด้วย royal crematorium to religious sites in the area. The royal crematorium เขาพระสุเมรุ เขาสัตตบริภัณฑ์ สระอโนดาต 4 มุมประดับเขามอ สัตว์หิมพานต์ is the middle point, and the line from its north to its south is aligned และทวีปทั้งสี่ ขณะที่การออกแบบองค์ประกอบภูมิทัศน์ต่างๆ โดยรอบสะท้อน with Wat Phra Kaew’s Phra Sri Ratana Chedi, while the east-west ให้เห็นถึงพระราชกรณียกิจของในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยการน�ำเสนอการจัดพื้นที่ line is aligned with the hall of Wat Mahathat Yuwarajarangsarit. พืชพรรณ และเครือ่ งมือ หรืออุปกรณ์ตา่ งๆ ทีเ่ นือ่ งมาจากพระราชด�ำริ อาทิ นาข้าว The landscape of the surrounding areas is designed accordingly. ทุ่งมันเทศ สระธรรมชาติจ�ำลองแก้มลิงและกังหันชัยพัฒนา พรรณไม้ในโครงการ The design of the ceremonial ground is a symbolic interpretation พระราชด�ำริ อาทิ แนวหญ้าแฝก ต้นยางนา อินทผลัม และมะม่วงมหาชนก Thai Buddhist cosmology and bears in mind the functions involved “ในมณฑลพิธีท้องสนามหลวงครั้งนี้จะตกแต่งด้วยพรรณไม้ ดอกไม้ประดับ in the royal cremation ceremonies. The ceremonial ground consists เพื่อให้พระเมรุมาศมีความงดงามดุจสรวงสวรรค์ นอกจากนี้ยังเพิ่มความพิเศษ of Mount Sumeru, Mount Sattaban, Anodard Ponds in the four กว่าทุกครั้ง ด้วยการจัดแสดงแปลงนาข้าวรอบพระเมรุมาศบริเวณพื้นที่ corners, Himavanta mythical creatures, and the four continents. ด้านนอกรัว้ ราชวัตดิ า้ นทิศเหนือ โดยบริเวณขอบคันนาจะออกแบบเป็นสัญลักษณ์ The landscape design reflects His Majesty King Bhumibol Adulyadej’s เลข ๙ สีดินทอง แสดงถึงพระมหากรุณาธิคุณที่น�ำมาซึ่งความอยู่ดีกินดีของ royal duties such as rice fields, sweet potato plantations, a natural พสกนิกรชาวไทย โดยใช้กลุม่ พันธุข์ า้ วทีม่ กี ลิน่ หอม 3 สายพันธุ์ ได้แก่ ระยะต้นกล้า pond demonstrating the Kaem Ling project and Chaipattana Aerator, ใช้พันธุ์ปทุมธานี 1 สื่อถึงข้าวในพื้นที่ภาคกลาง ระยะแตกกอ ใช้พันธุ์ข้าวขาว and plants in the Royal Projects such as vetiver grass, yang trees, ดอกมะลิ 105 เป็นตัวแทนข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และระยะออกรวง date trees, and Mahachanok mango trees. ใช้พันธุ์กข 31 หรือปทุมธานี 80 เป็นพันธุ์ข้าวที่ตั้งชื่อเพื่อเฉลิมพระเกียรติ “The Royal Plaza is decorated with various plants and flowers เนื่องในโอกาสครบรอบพระชนมพรรษา 80 พรรษา โดยในช่วงพระราชพิธี to make it look heavenly. Rice fields are placed around the royal
14
POWER MAGAZINE
และเกรินบันไดนาค นอกจากนี้ยังมีการจัดสร้างราชรถปืนใหญ่ และพระที่นั่ง ราเชนทรยานน้อยขึ้นใหม่ ซึ่งถือเป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศอย่าง สมพระเกียรติยศ ด�ำเนินการโดยส�ำนักช่างสิบหมู่ และกรมสรรพาวุธทหารบก เป็นผู้รับผิดชอบ อธิบดีกรมศิลปากร ให้ค�ำจ�ำกัดความการบูรณะราชรถและราชยานในครั้งนี้ ว่า “เป็นการซ่อมใหญ่” เพราะใช้วิธีบูรณะด้วยการปิดทองใหม่และประดับ กระจกใหม่ทั้งองค์เพื่อเพิ่มความสวยงาม ให้เห็นลวดลายแกะสลักชัดเจน ทองที่ประดับมีความสุกสกาวทั้งองค์ ส�ำหรับพระมหาพิชัยราชรถ ซึ่งถือเป็นราชรถที่ส�ำคัญ มีขนาดใหญ่ที่สุดใน ริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ เป็นราชรถทรงบุษบก ท�ำด้วยไม้แกะสลักลงรัก ปิดทองและประดับกระจก สูง 11.20 เมตร กว้าง 4.84 เมตร ยาว 18 เมตร ROYAL CHARIOTS AND PALANQUINS ในช่วงทีม่ พี ระราชพิธบี ำ� เพ็ญพระราชกุศล ราชรถและราชยานต่างๆ ทีต่ อ้ งใช้ หนัก 13.7 ตัน ใช้ในการอัญเชิญพระบรมโกศพระมหากษัตริย์ และพระโกศ ในริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศจะได้รับการบูรณะและตกแต่งให้พร้อมส�ำหรับ พระบรมวงศานุวงศ์ ครั้งล่าสุดใช้อัญเชิญพระโกศสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ภายใน อัญเชิญพระบรมศพ พระบรมอัฐิ และพระบรมราชสรีรางคาร ทั้งนี้ราชรถและ ราชยานถือเป็นหนึ่งในเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร การบูรณะครั้งนี้ ส�ำนักช่างสิบหมู่บูรณะด้วยการประดับกระจก และพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงฐานานุศักดิ์ของผู้ใช้ มีการใช้ใน พระมหาพิชัยราชรถใหม่ทั้งองค์ รวมทั้งปิดทองในส่วนที่ช�ำรุดบางส่วน ราชส�ำนักมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล แต่ปรากฏหลักฐานชัดเจนในสมัยอยุธยา โดยเมือ่ ครัง้ เสียกรุงศรีอยุธยาครัง้ ที่ 2 โรงเก็บราชรถในพระราชวังถูกไฟไหม้จนหมด และยังมีงานจัดสร้างฉัตร ผ้าลายทองแผ่ลวดธงสามชายประจ�ำงอนราชรถ และผ้าม่านใหม่ เพื่อให้ราชรถมีความงดงาม ในส่วนของการจัดสร้างล้อและ ดังนั้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 จึง ระบบขับเคลื่อน มีกรมสรรพาวุธทหารบกด�ำเนินการ ซึ่งถือเป็นการจัดสร้างใหม่ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างราชรถขึ้นใหม่ 7 องค์ เพื่อใช้ในพระราชพิธีถวายพระเพลิง ในรอบ 200 ปี และได้จัดท�ำชุดยกระดับล้อ กลไกขับเคลื่อน โดยให้ความส�ำคัญ พระบรมศพสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ในปีพ.ศ. 2339 ประกอบด้วย กับห่วงชักลากที่ต้องแข็งแรงรองรับน�้ำหนักได้ดี พระมหาพิชัยราชรถ เวชยันตราชรถ ราชรถน้อยทั้ง 3 องค์ และราชรถ ส่วนพระที่นั่งราเชนทรยาน ซึ่งสร้างด้วยไม้สักทองแกะสลักปิดทองและ เชิญเครื่องหอม 2 องค์ ราชรถเหล่านี้ยังคงใช้ในพระราชพิธีมาจนถึงปัจจุบัน ประดับกระจกทั้งองค์ เป็นงานฝีมือที่บรรจงสร้างอย่างประณีตสุดฝีมือ จนได้รับ ส�ำหรับราชรถและราชยานที่จะใช้ในพระราชพิธีครั้งส�ำคัญนี้ ประกอบด้วย การยกย่องว่าเป็นศิลปกรรมชิ้นเอกชิ้นหนึ่งของยุครัตนโกสินทร์ เก็บรักษาอยู่ที่ พระมหาพิชัยราชรถ เวชยันตราชรถ ราชรถน้อย 3 องค์ พระที่นั่งราเชนทรยาน crematorium outside the gate on the north, and the edges form the 9 number in Thai to reflect how His Majesty had contributed to the well-being of the Thai people. Three types of fragrant rice are grown -- Pathumthani 1 from the Central region, white jasmine rice 105 to represent the Northeastern region, and Pathumthani 80, which was named after the auspicious occasion of His Majesty’s 80th birthday anniversary. During the ceremonies, you can see the golden rice paddies, emitting delightful scents in the air,” said the Director General of the Department of Fine Arts.
Special Edition
15
I n R e m e m b r a n c e o f K i n g B h u m i b o l T h e Gr e a t
พระที่นั่งภิมุขมณเฑียร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จะใช้ในการอัญเชิญ พระบรมโกศพระบรมอัฐิพระมหากษัตริย์จากพระเมรุมาศท้องสนามหลวงเข้าสู่ พระบรมมหาราชวัง พระที่นั่งราเชนทรยานได้รับการบูรณะเพื่อใช้อัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จากพระเมรุมาศท้องสนามหลวงกลับสู่ พระบรมมหาราชวังในปีพ.ศ. 2539 และในปีพ.ศ. 2551 พระที่นั่งราเชนทรยาน ได้อัญเชิญพระโกศพระอัฐิสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ล่าสุดในปีพ.ศ. 2555 ใช้อัญเชิญพระโกศ พระอัฐิสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี การบูรณะพระที่นั่งราเชนทรยานครั้งนี้ใช้วัสดุเดิม หุ่นเป็นของเดิม เพียงแต่น�ำ ไม้ใหม่มาเสริมให้แข็งแรงมากขึ้น เพราะพระที่นั่งราเชนทรยานสร้างมาเกินร้อยปี ท�ำให้ไม้บางส่วนช�ำรุด จากนั้นจะลงรักปิดทองและประดับกระจกทั้งองค์ ซึ่งการด�ำเนินงานทุกขั้นตอนจะท�ำออกมาให้องค์พระที่นั่งเหมือนเดิมมากที่สุด ขณะที่พระที่นั่งราเชนทรยานน้อย ซึ่งจัดสร้างขึ้นใหม่เพื่อใช้ในการอัญเชิญ พระบรมราชสรีรางคาร จากพระเมรุมาศท้องสนามหลวงไปยังพระบรมมหาราชวัง แทนพระวอสีวิกากาญจน์นั้น ปรับแบบมาจากพระที่นั่งราเชนทรยาน แต่มีขนาดเล็กลง ลงรักปิดทองประดับกระจกทั้งองค์ โครงสร้างไม้สักทอง ทรงบุษบก ขนาดกว้าง 100 เซนติเมตร ยาว 548 เซนติเมตร รวมคานหามสูง 414 เซนติเมตร มีคานส�ำหรับหาม 4 คาน ใช้คนหาม 56 คน ส�ำหรับราชรถปืนใหญ่ ซึ่งสร้างขึ้นใหม่เช่นกัน เพื่อใช้อัญเชิญพระบรมโกศ เวียนรอบพระเมรุมาศแทนพระยานมาศสามล�ำคานตามธรรมเนียมเดิม จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นการถวายพระเกียรติยศอันสูงสุดแด่พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็นจอมทัพไทย โดยกรมสรรพาวุธ ทหารบกเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดสร้าง ทั้งนี้จากการค้นคว้าพบว่า ราชรถปืนใหญ่เริ่มใช้งานครั้งแรกในสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 6 โดยใช้ประกอบขบวนพระศพ สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ในปีพ.ศ. 2463 และ สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวง นครราชสีมา ในปีพ.ศ. 2467 ซึ่งราชรถปืนใหญ่ในอดีตมีลักษณะเป็นการต่อพ่วง ของราชรถ 2 องค์ คือองค์ส่วนหน้า ที่เดิมเป็นรถติดตั้งหีบบรรจุกระสุนปืนใหญ่ และองค์ส่วนหลัง ที่เดิมเป็นรถติดตั้งปืนใหญ่ โดยน�ำมาดัดแปลงให้เป็นราชรถ ส�ำหรับประดิษฐานพระบรมโกศ ต่อมาได้มีการน�ำมาใช้ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ตามบทความในพินัยกรรมว่า “ในการแห่พระบรมศพตั้งแต่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทไปถึงวัดพระเชตุพน ให้ใช้พระยานมาศตามประเพณี จากวัดพระเชตุพนไปพระเมรุ ขอให้จัดแต่ง รถปืนใหญ่เป็นรถพระบรมศพ เพราะข้าพเจ้าเป็นทหาร อยากจะใคร่เดินทาง ระยะสุดท้ายนี้อย่างทหาร” ภายหลังจากนั้นพบว่า ได้มีการน�ำราชรถปืนใหญ่ มาใช้ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ด้วยเช่นกัน ในการจัดสร้างครั้งนี้ กรมสรรพาวุธทหารบกด�ำเนินการจัดสร้างโดยยึดจาก แบบแผนที่เคยมีมา อ้างอิงจากในสมัยรัชกาลที่ 8 ที่มีมิติและขนาดเทียบเคียง ได้กับปืนใหญ่ภูเขาแบบ 51 ที่ตั้งแสดงอยู่หน้ากองบัญชาการ ศูนย์อุตสาหการสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก จึงได้ขออนุมัติเพื่อน�ำไป ถอดแยกและซ่อมบ�ำรุง เพื่อจัดสร้างราชรถปืนใหญ่ส่วนหลัง ส�ำหรับราชรถ ปืนใหญ่ส่วนหน้านั้น กรมสรรพาวุธทหารบกได้ขอรับการสนับสนุนรถหีบกระสุน ปืนใหญ่แบบ 51 จากศูนย์การทหารปืนใหญ่ จ�ำนวน 3 คัน เพื่อด�ำเนินการสร้าง ต้นแบบ ก่อนจะส่งให้ส�ำนักช่างสิบหมู่น�ำล้อส่วนประกอบราชรถปืนใหญ่ จ�ำนวน 4 ล้อ มาเทียบประกอบ ก่อนส่งต่อให้ส�ำนักช่างสิบหมู่ด�ำเนินการ แกะสลักลวดลายส่วนประดับ พร้อมท�ำสีลงรักปิดทองต่อไป During the ceremonies, royal chariots and palanquins are beautifully decorated to transfer the body, the royal relics and the
16
royal ashes. Royal chariots and palanquins are considered royal regalia and reflect the rank of the person. They have been in use since the ancient time, but clear evidence only dates back to the Ayutthaya Era. When Ayutthaya lost its power for the second time, the chariot hall in the royal palace was completely burned down. King Rama I ordered seven new chariots to be built for the royal cremation ceremonies of his father in 1796, and they have been used in royal ceremonies ever since. The royal chariots and palanquins to be used in this royal cremation ceremonies include Phra Maha Phichai Ratcharot or the Great Victory Royal Chariot, Wetchayan Ratcharot, three Ratcharot Noi, Rajendrayan Palanquin, and Naga Conveyor. The cannon chariot and Rajendrayan Noi Palanquin were newly constructed to honour His Majesty, done by the Office of Traditional Arts and the Royal Thai Army Ordnance Department. The Director General of the Department of Fine Arts defined the renovation of the royal chariots and palanquins for this occasion as a “major renovation” because they are completely re-gilded and re-decorated with mirrors to unveil the magnificent carvings. Phra Maha Phichai Ratcharot or the Great Victory Royal Chariot is the biggest in the royal procession. The chariot, 11.20 metres in height, 4.84 metres in width, 18 metres in length, and 13.7 tonnes in weight, is made of carved wood, lacquered and gilded, and decorated with glass. It has been used to carry the royal urns of kings, queens, and members of the royal family. The most recent use was in the royal cremation ceremonies of Her Royal Highness Princess Bejaratana. It is kept at the National Museum. In the renovation process, the Office of Traditional Arts completely re-decorated the chariot with glass and gilded some of the broken parts. An umbrella, gold cloths, and curtains were also newly created to decorate the chariot. The Royal Thai Army Ordnance Department was in charge of the installation of wheels on the chariot and its mechanism to ensure its strength and durability. The Rajendrayan Palanquin was made with golden teak, exquisitely carved and decorated with gold leaf and coloured mirrors. It is an ultimate art of the Rattanakosin Era, kept at Phimuk Monthian Hall, National Museum. It will be used to transport the royal relics from the royal crematorium at the Royal Plaza to the Grand Palace. The Rajendrayan Palanquin was renovated to transport the royal relics of Her Royal Highness Princess Srinagarindra from the royal crematorium at the Royal Plaza to the Grand Palace in 1996, and the royal relics of Her Royal Highness Princess Galyani Vadhana in 2008. Later, in 2012, it was used to transport the royal relics of Her Royal Highness Princess Bejaratana. In this renovation, original materials are used, but new wood has been added to enhance its strength, since the palanquin is over a century old. It has been re-gilded and embellished with mirrors, with an attempt to make it look as close to original as possible. The Rajendrayan Noi Palanquin was made new to transport the royal ashes from the royal crematorium at the Royal Plaza to the Grand palace, replacing Phra Wor Siwigagarn palanquin. Its design
POWER MAGAZINE
Special Edition
17
I n R e m e m b r a n c e o f K i n g B h u m i b o l T h e Gr e a t
is adapted from the Rajendrayan Palanquin, but smaller in size. It is gilded and embellished with coloured mirrors. The structure is made from golden teak, 100 centimetres in width, 548 centimetres in length, and 414 centimetres in height including the shafts. There are four shafts for 56 people. The cannon chariot was also newly made to carry the royal urn around the royal crematorium, replacing the Triple Beam Royal Palanquin traditionally used in royal cremation ceremonies. It was built to honour His Majesty King Bhumibol Adulyadej, the head of the Royal Thai Armed Forces. The Royal Thai Army Ordnance Department was in charge of its construction. The cannon chariot was first used in the reign of King Rama VI for the royal cremation ceremonies of Field Marshal Prince Chakrabongse Bhuvanath of Phitsanulok in 1920 and Prince Asdang Dejavudh of Nakhon Ratchasima in 1924. The cannon chariot in the past consisted of two parts -- the front carried cannon balls, and the back carried the cannon. It was adapted to carry the royal urn. Later, it was used in the royal cremation ceremonies of King Rama VI. The royal will wrote, “The royal funeral procession would begin at the Dusit Maha Prasat Throne Hall and end at Wat Phra Chetuphon, using the Triple Beam Royal Palanquin according to traditions. From Wat Phra Chetuphon to the royal crematorium, arrange for a cannon chariot to carry the body. I am a soldier, and I would like to take my final journey as one.” After that, the cannon chariot was also used in the royal cremation ceremonies of King Rama VIII.
18
On this occasion, the Royal Thai Army Ordnance Department constructed the chariot following old traditions, referring to the model used in the reign of King Rama VIII. The size is similar to the Type 51 Mountain Gun displayed in front of the Ordnance Industrial Centre, Royal Thai Army Ordnance Department. The display was borrowed in order to be used as the back part of the royal chariot. For the front part, the Royal Thai Army Ordnance Department asked the Artillery Centre for three Type 51 artillery caissons to be used as models. The Office of Traditional Arts sent four wheels to be assembled to the chariot and embellished the chariot.
THE EXQUISITE ROYAL SANDALWOOD URN
อีกหนึ่งผลงานประณีตศิลป์งดงามวิจิตรที่จะได้เห็นในพระราชพิธีครั้งนี้ คือ พระโกศจันทน์ เครื่องเฉลิมพระเกียรติแก่พระบรมศพ เมื่ออัญเชิญพระโกศ พระบรมศพไปประดิษฐานยังพระจิตกาธาน และเปลื้องพระลองชั้นนอกออกแล้ว เจ้าพนักงานจะน�ำพระโกศจันทน์เข้าประกอบพระลองใน ซึ่งประดิษฐานบน ตะแกรงเหล็กช่วงรัดเอวของพระจิตกาธานเพื่อถวายพระเพลิง พระโกศจันทน์มีลักษณะเป็นโกศแปดเหลี่ยม มียอดประกอบด้วย โครงลวดตาข่ายประดับลายฉลุเป็นลายซ้อนไม้ทั้งองค์ องค์พระโกศจันทน์ สามารถแยกได้เป็น 3 ส่วน คือพระโกศรูปแปดเหลี่ยมถอดออกได้เป็น 2 ส่วน โดยผ่าแยกตรงมุมเหลี่ยมโกศ น�ำมาประกอบเข้าได้โดยไม่เห็นรอยต่อ และมีฝาครอบตอนบนอีกชิ้นหนึ่ง รวมเป็น 3 ส่วน ในการจัดท�ำพระโกศจันทน์ครั้งนี้ใช้ไม้จันทน์หอมที่ตัดมาจากอุทยาน แห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สาเหตุที่ใช้ไม้จันทน์หอม เนื่องจากเป็น POWER MAGAZINE
ความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เนื่องจากเมื่อคราวท�ำพิธีสรงน�้ำพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้าร�ำไพพรรณี พระราชินีในรัชกาลที่ 7 สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนีได้ทอดพระเนตรอยู่ด้วย ทรงได้เห็นพิธีสุก�ำ หรือการมัดพระบรมศพ ลงในพระบรมโกศ ซึ่งเป็นไปด้วยความทุลักทุเลอย่างมาก จึงตรัสว่า “อย่าท�ำ กับฉันแบบนี้ อึดอัดแย่” เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต จึงอัญเชิญพระศพประทับ ในพระหีบ แทนพระโกศ การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ มิใช่การยกเลิกธรรมเนียมประเพณีเก่า แต่เป็น พระราชประสงค์ส่วนพระองค์ ซึ่งไม่ได้ผิดธรรมเนียมประเพณีแต่อย่างใด ต่อมาในคราวพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวง นราธิวาสราชนครินทร์ ตลอดจนพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดช ก็เป็นพระราชประสงค์ส่วนพระองค์ที่จะประทับในพระหีบ เช่นเดียวกับพระราชมารดาของพระองค์ “ลวดลายที่เกิดบนพระโกศจันทน์และหีบพระบรมศพจันทน์ 1 ลวดลาย จะประกอบไปด้วยไม้หลายๆ ชั้นซ้อนกัน จนเกิดลวดลายงดงามและมีมิติ บางลวดลายอาจซ้อนกันมากถึง 90 ชิ้น แล้วแต่ลวดลาย แสดงถึงความละเอียด วิจิตรบรรจง เช่น องค์ครุฑที่ติดอยู่ตรงกลางของพระหีบ ความสูงประมาณ 8 นิ้ว เมื่อคัดแยกลายออกมาจะมีลายทั้งหมด 53 ชิ้น ประกอบเป็นครุฑ 1 องค์ มีการประดับทองลงไประหว่างที่ประกอบลวดลาย ท�ำให้นอกจากพระโกศจันทน์ และหีบพระบรมศพจันทน์จะเป็นผลงานที่ดูมีมิติลุ่มลึกแล้ว ยังดูสวยงามโดดเด่น อีกด้วย” อธิบดีกรมศิลปากร บอกเล่าถึงผลงานอันประณีตบรรจง After transporting the royal urn to the catafalque at the royal crematorium and removing the outer urn, the royal sandalwood urn will be placed with the inner urn, located on the catafalque for the cremation. The royal sandalwood urn is octagonal, decorated with a metal sheet structure. It is divided into three parts -- the urn can be separated into two parts, and there is a lid at the top.
ไม้เนื้อแข็ง เหมาะแก่การแกะสลักฉลุลาย และยังมีความหมายในเชิงสัญลักษณ์ ทีส่ ะท้อนว่า ไม่วา่ ไม้จนั ทน์หอมจะเป็นหรือตาย ก็ยงั คงมีความหอม เปรียบเหมือน มนุษย์ที่ตอนมีชีวิตอยู่นั้นได้ท�ำความดีไว้มากมาย แต่เมื่อสิ้นชีวิตไปแล้ว ความดีนั้นก็ยังคงอยู่ ส�ำหรับขั้นตอนการสร้างพระโกศจันทน์ เริ่มจากการขยายแบบและน�ำ เหล็กเส้นมาผูกเป็นโครง แล้วปิดโครงทั้งหมดด้วยตาข่ายลวด ส่วนไม้จันทน์ น�ำไปตัดเป็นท่อนๆ แล้วซอยเป็นแผ่นจนได้ขนาดตามที่ต้องการ หลังจากนั้น ก็น�ำไม้จันทน์ไปฉลุลายซ้อนไม้เป็นลายต่างๆ ที่สื่อความหมายของศิลปะไทย ด้านสถาปัตยกรรม และน�ำลายไม้จันทน์ที่ได้มาผูกเข้ากับตะแกรงลวดโดยรอบ จัดวางโดยเน้นความสวยงามเป็นหลัก ให้ดูมีการเคลื่อนไหวและดูมีน�้ำหนัก ลายที่ใช้ประดับพระโกศจันทน์ประกอบด้วยลายกระจัง ลายหน้ากระดาน ลายท้องไม้ ลายเส้นลวด ลายดอกไม้เอว ลายบัวกลีบขนุน ลายเฟือง ลายอุบะ ลายบัวคว�่ำบัวหงาย ลายกระจังปฏิญาณ ลายยอดกลีบพระโกศ ลายดอกไม้ไหว ประดับด้วยความสวยงามและแสดงฐานันดรศักดิ์ เช่น ลายกระจังปฏิญาณ จะต้องติดที่แนวหน้ากระดานบนของฐานพระโกศ ประกอบด้วยลายอันวิจิตร งดงามเต็มพระอิสริยยศ แสดงถึงฐานันดรศักดิ์แห่งพระศพที่สถิตอยู่ภายใน พระโกศ เมื่อครั้งพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี ในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2539 การสร้างพระโกศจันทน์มี ความแตกต่างไปจากอดีตที่เคยมีมาในประวัติการจัดสร้างพระโกศแห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ คือมิใช่สร้างแต่พระโกศอย่างเดียว แต่ได้เพิ่มการจัดท�ำ ฐานพระโกศอีกชั้นหนึ่ง เป็นความแตกต่างไปจากโบราณ มีลักษณะพิเศษ เพิ่มขึ้นมา คือสร้างฐานพระโกศทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า รองรับองค์พระโกศทรง แปดเหลี่ยมอีกชั้นหนึ่ง รูปทรงคล้ายกับหีบศพของคนสามัญ ทั้งนี้เพราะพระศพ ของพระองค์ประทับอยู่ในพระหีบ ไม่ใช่พระโกศ Special Edition
19
I n R e m e m b r a n c e o f K i n g B h u m i b o l T h e Gr e a t
20
POWER MAGAZINE
The construction of the royal sandalwood urn used sandalwood from Kui Buri National Park in Prachuap Khiri Khan. Sandalwood is hard wood suitable for carving and it also has a symbolic meaning -alive or not, it continues to emit a beautiful scent, just like how people are remembered for the good things they’ve done even after death. The construction began with creating a metal structure and wrapping it with a metal mesh. The sandalwood was cut into pieces and then carved based on Thai architectural art. The sandalwood was then placed on the metal mesh. The pattern on the royal sandalwood urn is decorated with various Thai motifs, some of which reflect the rank of His Majesty, such as Krachang Patiyan motif on the front of the royal sandalwood urn. At the royal cremation ceremonies of Her Royal Highness Princess Srinagarindra on 10 March 1996, the construction of the royal sandalwood urn was different from the traditions. In addition to the urn, a rectangular base was also built in addition to the octagonal base. The reason was that the Princess’s body was in a casket, not an urn. The change came from the royal rites of bathing the royal remains of Her Majesty Queen Rambhai Barni of King Rama VII, in which Her Royal Highness Princess Srinagarindra was also present. She witnessed the difficulty of the treatment of the royal remains, and said, “Do not do that to me -- it’s very uncomfortable.” When she passed away, her body was therefore placed in a casket, not an urn. This, however, does not mean that old traditions were not followed. It was her personal wish, which did not violate any of the traditional codes. Later, for the royal cremation ceremonies of Her Royal Highness Princess Galyani Vadhana and His Majesty King Bhumibol Adulyadej, it was also their personal wish for their remains to be treated in the same way as their mother’s. “Each motif on the royal sandalwood urn and the royal sandalwood casket consists of smaller motifs layered on top of one another to create dimension -- some motifs have more than 90 smaller motifs in them. Each of the motifs is extremely exquisite. For instance, the garuda in the middle of the royal sandalwood casket is 8 inches in height, consisting of 53 smaller motifs, decorated with gold,” said Anan Chuchot.
พระที่นั่งทรงธรรม ซึ่งแสดงให้เห็นโครงการพระราชด�ำริที่ส�ำคัญในทั่วทุกภูมิภาค ของประเทศไทย 2. นิทรรศการเกี่ยวกับการจัดสร้างพระเมรุมาศ สิ่งปลูกสร้างประกอบ พระเมรุมาศ และการบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถและราชยาน เป็นการบอกเล่า เรื่องราวผ่านสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ภายในบริเวณมณฑลพิธี และที่ศาลาลูกขุน ทั้ง 6 หลัง จะมีนิทรรศการเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดการออกแบบ และขั้นตอนการผลิตงานสถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม และงาน ประณีตศิลป์ ตลอดจนงานบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถและราชยาน 3. นิทรรศการพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ จัดแสดงบนพระที่นั่ง ทรงธรรม ก�ำหนดให้ประชาชนเดินชมเป็นทิศทางเดียว จากปีกอาคารด้าน ทิศใต้ ผ่านโถงกลาง และจบที่ปีกอาคารด้านทิศเหนือ ประกอบด้วย นิทรรศการย่อย 5 ส่วน คือ นิทรรศการพระราชประวัติตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ นิทรรศการจากหนังสืออุปกรณ์ทรงงาน (ชุดที่ 1) นิทรรศการธรรมราชา พระมหากษัตริย์ผู้ทรงทศพิธราชธรรม นิทรรศการจากหนังสืออุปกรณ์ทรงงาน (ชุดที่ 2) และนิทรรศการสืบสานสมานมิตร เล่าเรื่องการเสด็จพระราชด�ำเนิน ไปเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ
The exquisite royal crematorium was built to honour His Majesty King Bhumibol Adulyadej, and was collaboration of the greatest artists in Thailand. After the royal cremation ceremonies, the royal crematorium will remain in place for a while so that the people will have an opportunity to witness its grandeur. An exhibition illustrating His Majesty’s stories, royal duties and Royal Projects will take place at the Royal Plaza during November 1-30. The exhibition is divided into three parts. 1. Exhibition on the Royal Projects, illustrated through landscape design consisting of rice fields, Kaem Ling ponds, and three large
THAI PEOPLE REJOICE IN THE BEAUTY OF THE ROYAL CREMATORIUM
พระเมรุมาศอันวิจิตรที่สร้างขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติสูงสุด จนถือได้ว่าเป็น อีกหนึ่งผลงานที่เป็นศูนย์รวมงานช่างศิลป์แห่งแผ่นดินนี้ ภายหลังเสร็จสิ้น พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช จะยังไม่มีการรื้อถอน เพราะรัฐบาลเปิดโอกาสให้ประชาชนชาวไทย ได้ชื่นชมความงดงามของพระเมรุมาศ และอาคารประกอบ พร้อมจัดนิทรรศการ ถ่ายทอดพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ เรื่องราวของโครงการในพระราชด�ำริ ณ บริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวง ระหว่างวันที่ 1-30 พฤศจิกายนนี้ โดยได้ ก�ำหนดเนื้อหานิทรรศการ ซึ่งจะใช้พื้นที่ทั่วทั้งบริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวง แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ 1. นิทรรศการโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ บอกเล่าเรื่องราวผ่าน งานภูมิทัศน์ ได้แก่ การชมแปลงนาข้าวและบ่อแก้มลิงบริเวณทางเข้าด้าน ทิศเหนือของมณฑลพิธี รวมถึงภาพจิตรกรรมฝาผนัง 3 ภาพใหญ่ ภายใน
Special Edition
นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร
21
I n R e m e m b r a n c e o f K i n g B h u m i b o l T h e Gr e a t
mural paintings inside the dharma royal pavilion portraying His Majesty’s Royal Projects throughout Thailand. 2. Exhibition on the construction of the royal crematorium and other pavilions and the renovation of the royal chariots and palanquins, which will be told through various constructions on the ceremonial ground and six government officials’ pavilion. The exhibition educates the people about the design concept and the process involved in terms of architecture, art, sculpture and minor arts. 3. Exhibition on His Majesty and royal duties at the dharma royal pavilion, designed in a unidirectional layout from the south through the hall to the north. There are five mini exhibitions inside -- His Majesty’s childhood, His Majesty’s working tools (set 1), His Majesty and the Ten Royal Good Governance Principles, His Majesty’s working tools (set 2) and stories of His Majesty’s state visits in other countries.
PASSING ON THE CULTURAL TREASURE
หลังจากผ่านพ้นวันที่ 30 พฤศจิกายน กรมศิลปากรจะด�ำเนินการรื้อถอน สิ่งปลูกสร้างพระเมรุมาศออกจากมณฑลพิธีท้องสนามหลวง แต่ภารกิจของ กรมศิลปากรยังไม่เสร็จสิ้นเพียงเท่านี้ เพราะงานใหญ่ที่รออยู่หลังจากนี้ คือ การจัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์เพื่อจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชพิธี ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
22
อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า เพื่อให้เป็นองค์ความรู้สืบต่อไปยังลูกหลาน กรมศิลปากรมีแผนจะจัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ขึ้นที่บริเวณหอจดหมายเหตุ แห่งชาติฯ ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองห้า ต�ำบลคลองห้า อ�ำเภอคลองหลวง จังหวัด ปทุมธานี บนพื้นที่ 75 ไร่ในขณะนี้จัดสรรออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนของ อาคารหอจดหมายเหตุแห่งชาติฯ เพื่อเป็นศูนย์กลางการรวบรวมและเก็บรักษา เอกสารส�ำคัญอันเกี่ยวเนื่องในพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจของพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และพระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจน เอกสารการด�ำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ และโครงการ เฉลิมพระเกียรติต่างๆ อีกส่วนหนึ่งจัดสร้างเป็นหออัครศิลปิน ใช้เป็นสถานที่แสดงผลงานด้าน ศิลปวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชทั้ง 9 ด้าน คือ ด้านหัตถกรรม ด้านกีฬา ด้านวรรณศิลป์ ด้านจิตรกรรม ด้านถ่ายภาพ ด้านภูมิสถาปัตยกรรม ด้านประติมากรรม ด้านดนตรี และการ พระราชนิพนธ์บทเพลง นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่จัดแสดงประวัติและผลงาน อันทรงคุณค่าของศิลปินแห่งชาติอีกด้วย “เป็นครั้งแรกก็ว่าได้ที่เราจะริเริ่มสร้างพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเรื่องราว เกี่ยวกับพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ เพื่อเป็นความรู้แก่คนรุ่นหลัง ใช้ในการสืบค้น เราคงไม่สามารถยกพระเมรุมาศจริงไปจัดแสดง แต่จะจัดท�ำ ข้อมูล น�ำองค์ประกอบต่างๆ ที่สามารถน�ำไปจัดแสดงได้ รวมทั้งโมเดล ในการจัดสร้างพระเมรุมาศไปจัดแสดง เรียกว่าในอนาคตใครที่ไปเยือน หอจดหมายเหตุแห่งชาติฯ หออัครศิลปิน และอาคารใหม่ที่เราจะจัดสร้าง จะได้ดื่มด�่ำกับพระราชประวัติ พระอัจฉริยภาพ และพระมหากรุณาธิคุณที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย ตั้งแต่ประสูติกระทั่งสวรรคต”
POWER MAGAZINE
อย่างไรก็ตาม ในฐานะข้าราชบริพารที่ได้มีโอกาสถวายงานพระมหากษัตริย์ ผู้เป็นที่รักยิ่งของคนไทยเป็นงานสุดท้าย ความรู้สึกของอธิบดีกรมศิลปากร ก็ไม่ต่างจากหัวใจของคนไทยทุกคน “ผมบอกกับข้าราชการทุกคนที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในงานครั้งนี้ว่า ต้องมุ่งมั่น ท�ำงานเพื่อถวายพระเกียรติอย่างสุดก�ำลัง ท�ำงานถวายด้วยแรงกายและแรงใจ ทั้งหมดที่มีโดยไม่มีข้ออ้าง การที่กรมศิลปากรได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้ ท�ำงานนี้ ถือเป็นภารกิจแห่งเกียรติยศ ส�ำหรับพวกเรา งานที่ใหญ่ที่สุดในปี พ.ศ. 2560 คือ ภารกิจในการก่อสร้างพระเมรุมาศ เกือบ 1 ปีเต็ม นับตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม ปีที่ผ่านมา ผมเข้ามาท�ำงานที่กรมศิลปากรทุกวัน ได้เห็นคลื่นมหาชน ที่ยังคงหลั่งไหลมากราบพระบรมศพไม่ขาดสาย ก็อดซาบซึ้งใจไม่ได้เช่นกัน” อธิบดีกรมศิลปากร กลั่นกรองความรู้สึกอันตื้นตันเป็นการปิดท้าย After November 30, the Fine Arts Department will remove the royal crematorium from the ceremonial ground, but another major mission lies ahead -- building a museum to chronicle the royal cremation ceremonies of His Majesty King Bhumibol Adulyadej at the National Archives in Honour of His Majesty King Bhumibol Adulyadej. The Director General of the Department of Fine Arts said that in order to pass on this cultural treasure to the future generations, the Department has a plan to build a museum at the National Archives in Honour of His Majesty King Bhumibol Adulyadej in Pathumthani. Currently, there are two parts -- the first is the National Archives buildings which collect important documents about His Majesty and the royal family as well as their royal duties, Royal Projects, and other projects in honour of His Majesty or the royal family.
Special Edition
Another part is the Supreme Artist Hall to showcase His Majesty’s talents in art and culture in nine areas -- handcraft, sports, literature, visual art, photography, landscape design, sculpture, music and composition. It also showcases National Artists’ exemplary works. “This is the first time that we build a museum about the royal cremation ceremonies to educate the next generations. While we cannot bring the whole royal crematorium to display, we can present information and some elements, as well as the royal crematorium model. In the future, if you visit the National Archives of Thailand, the Supreme Artist Hall, and this new building we’re working on, you will have a chance to appreciate His Majesty’s talents and benevolence from his birth to his passing.” As a Thai who has a chance to serve his beloved King for the last time, what he feels in his heart is not different from what the rest of the country feels. “I tell everyone who’s involved in this project that we must try our best for His Majesty. We dedicate everything and make no excuses. For the Fine Arts Department to have this opportunity to serve His Majesty is such an honour for us. For the year 2017, the royal crematorium is our biggest mission. It took one full year, from October 14 last year. I come to the office every day and still see a mass of people who come to pay tribute to His Majesty, and I feel really moved by this,” said the Director General of the Department of Fine Arts.
23
I n R e m e m b r a n c e o f K i n g B h u m i b o l T h e Gr e a t
มหรสพสมโภชงานออกพระเมรุพระบรมอัฐิ เป็นแบบแผนที่ถือปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนได้คลายความโศกเศร้า และถือว่าเป็นงานออกทุกข์ในเวลาเดียวกัน ทั้งยังถือเสมือนเป็นการแสดงพระกฤดาธิการของพระมหากษัตริย์อีกด้วย
Performance of drama at royal funerals has been a Thai tradition since the Ayutthaya Era, with an aim to alleviate the people’s grief. It also signifies the ending of the mourning period, and is a celebration of the King’s glory.
ตราบจนในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการจัด มหรสพสมโภชงานออกพระเมรุตามแบบแผน ประเพณีเป็นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในงานออกพระเมรุ พระบรมอัฐิ สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ต่อมา ในสมัยรัชกาลที่ 9 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมให้มีการรื้อฟื้นการประโคมดนตรีหรือ การประโคมย�่ำยาม และการมหรสพอีกครั้งในงาน 24
พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชชนนี พ.ศ. 2539 และกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบมา ส�ำหรับงานพระราชพิธีถวายพระเพลิง พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช นอกจากกระทรวงวัฒนธรรมจะได้รับ มอบหมายจากรัฐบาล ให้จัดการแสดงมหรสพ ทั้งหมด 3 เวที ณ บริเวณสนามหลวงด้านทิศเหนือ ในวันที่ 26 ตุลาคมนี้แล้ว คณะโขนพระราชทาน
มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ยังได้รับโอกาสให้ร่วมเป็น ส่วนหนึ่งในการแสดงมหรสพสมโภชครั้งนี้ ร่วมกับ กรมศิลปากร และสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่โขนพระราชทานจะจัดแสดง กลางแจ้ง จึงต้องปรับรูปแบบการจัดแสดงเป็น “โขนกึ่งฉาก” เพื่อให้เหมาะกับการแสดงกลางแจ้ง โดยจะใช้ทั้งฉากและเทคนิคมัลติวิชั่นที่วิจิตรงดงาม ประกอบกัน POWER MAGAZINE
ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ
ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ ราชเลขานุการใน พระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ในฐานะประธาน คณะกรรมการจัดการแสดงโขน มูลนิธิส่งเสริม ศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ กล่าวถึงการแสดงโขนพระราชทานในโอกาสส�ำคัญ ครั้งนี้ว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี มีพระราชประสงค์ให้โขนพระราชทาน ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้มาแสดงร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงบนเวที มหรสพ ในงานพระราชพิธถี วายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยก�ำหนดให้ผู้แสดงโขนทั้งหมดซ้อมร่วมกันที่ วิทยาลัยนาฏศิลป ศาลายา จังหวัดนครปฐม ส่วนใหญ่เป็นนักเรียน นักศึกษาของวิทยาลัย นาฏศิลป ทีเ่ คยแสดงโขนพระราชทานมาแล้ว รวมถึง ครูอาจารย์ด้านนาฏศิลป์ ซึ่งทุกคนทั้งคณะกรรมการ นักแสดง นักร้อง คณะท�ำงานทุกฝ่าย รวมทั้ง นักเรียนศิลปาชีพ ต่างถือเป็นความภาคภูมิใจที่ ได้มีโอกาสร่วมในการแสดงถึงความจงรักภักดี อย่างสุดหัวใจต่อในหลวงรัชกาลที่ 9 ส�ำหรับความพิเศษของการจัดการแสดงในครั้งนี้ อาจารย์ประเมษฐ์ บุณยะชัย ผู้ออกแบบและ จัดท�ำบท กล่าวถึงเหตุผลทีค่ รัง้ นีต้ อ้ งจัดให้มกี ารแสดง รูปแบบใหม่ว่า “ที่ผ่านมาเราจัดแสดงแต่ภายใน อาคาร แต่ครั้งนี้เป็นการแสดงกลางแจ้ง จึงดัดแปลง ให้เป็นรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า “โขนกึ่งฉาก” คือมี ทั้งฉากและเทคนิคมัลติวิชั่นที่วิจิตรงดงามมาใช้ ประกอบกัน โดยอาจจะมีการปรับรูปแบบการแต่งกาย เพลงดนตรี เพลงขับร้อง แต่ยงั คงรักษาจารีตประเพณี โบราณไว้อย่างครบถ้วน” ส�ำหรับฉากทั้งหมดที่น�ำมาใช้ในครั้งนี้ เป็นฉากเดิมที่เคยท�ำไว้อย่างดีที่สุดและเก็บรักษาไว้ ตั้งแต่เริ่มจัดแสดงโขนพระราชทานครั้งแรกเมื่อ Special Edition
ประเมษฐ์ บุณยะชัย
10 ปีที่แล้ว โดยจะน�ำมาถ่ายรูปและฉายขึ้นวีดิทัศน์ ประกอบกับอุปกรณ์ประกอบฉาก เช่น ราชรถ และ วิมาน เป็นต้น ซึ่งจะมีความงามไม่แพ้กับฉากจริง ฉากใหญ่ๆ การแสดงครั้งนี้ใช้เวลา 2 ชั่วโมง แบ่งออกเป็น 3 ตอน ได้แก่ “ตอนรามาวตาร” กล่าวถึงการอัญเชิญ พระนารายณ์ให้อวตารลงมาเป็นพระรามเพื่อ ปราบอสูร โดยมีเหล่าเทพบุตรต่างๆ อาสาลงมาเป็น พลวานร ทั้งพระลักษณ์ และเทพอาวุธ ถัดมาคือ “ตอนสีดาหาย” กล่าวถึงตอนที่ทศกัณฐ์ใช้อุบาย ลักนางสีดาพาขึ้นพระราชรถเหาะมาพบนกสดายุ เข้าขัดขวาง แต่นกสดายุพ่ายแพ้ ได้รับบาดเจ็บ จนพระราม พระลักษณ์ติดตามมาพบ จึงทราบ เหตุการณ์ทั้งหมด ตอนสุดท้ายคือ “ตอนขับพิเภก” กล่าวถึงตอนที่พิเภกทูลให้ทศกัณฐ์คืนนางสีดาแก่ พระราม ทศกัณฐ์โกรธจึงขับไล่ออกจากเมือง พิเภก ไปสวามิภักดิ์กับพระราม และถวายสัตย์สุจริต ในส่วนของเครื่องแต่งกายโขน พัสตราภรณ์ ยังคงไว้ซึ่งความประณีตและวิจิตรตามจารีต ประเพณีโบราณอย่างครบถ้วน ทั้งนี้อาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย ผู้รับผิดชอบในเรื่องนี้ กล่าวว่า “การแสดงครั้งนี้จัดท�ำชุดส�ำคัญขึ้นใหม่ทั้งหมด ทั้งชุดของทศกัณฐ์ ชุดเสนายักษ์ เสนาลิง ที่ช�ำรุด เพราะผ่านการแสดงมานาน ก็สร้างใหม่เช่นกัน ตลอดจนมีการสร้างชุดมหาเทพ พระอิศวร พระนารายณ์ ซึ่งไม่เคยสร้างขึ้นมาก่อน ในส่วนของ เครื่องประดับ ก็มีการจัดสร้างขึ้นใหม่เช่นกัน โดยยังคงสืบทอดจากเครื่องภูษาพัสตราภรณ์ ถนิมพิมพาภรณ์ อันเป็นเครื่องประดับลงยาที่เคย มีมาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์” ทั้งนี้โขนพระราชทานจะเป็นส่วนหนึ่งในมหรสพ สมโภชที่กระทรวงวัฒนธรรมจัดขึ้น ณ สนามหลวง ทางด้านทิศเหนือ ซึ่งมีทั้งหมด 3 เวที ประกอบด้วย
วีรธรรม ตระกูลเงินไทย
เวทีที่ 1 เวทีการแสดงหนังใหญ่เบิกหน้าพระ และโขน เรื่องรามเกียรติ์ โดยนาฏศิลปินของ ส�ำนักการสังคีต กรมศิลปากร ร่วมด้วยครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา จากวิทยาลัยนาฏศิลป 12 แห่ง และจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จ�ำนวน 1,020 คน และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ประมาณ 100 คน รวมทั้งสิ้น 1,120 คน นอกจากนี้ยังมี การแสดงโขนพระราชทานของมูลนิธิส่งเสริม ศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ อีกประมาณ 200-300 คน เวทีที่ 2 เวทีการแสดงละคร หุ่นหลวง และหุ่นกระบอก ประกอบด้วยละคร เรื่อง พระมหาชนก การแสดงหุ่นหลวง ตอนหนุมาน เข้าห้องนางวานรินทร์ การแสดงหุ่นกระบอก เรื่องพระอภัยมณี ละครใน เรื่องอิเหนา และละคร เรื่องมโนห์รา ผู้แสดง บรรเลง ขับร้อง จากส�ำนัก การสังคีต กรมศิลปากร และสถาบัน บัณฑิตพัฒนศิลป์ 322 คน และผู้ปฏิบัติงาน ทีเ่ กีย่ วข้อง ประมาณ 100 คน รวมทัง้ สิน้ 422 คน และเวทีที่ 3 เวทีการบรรเลงดนตรีสากล “ธ คือ ดวงใจไทยทั่วหล้า” เป็นการบรรเลงและ ขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพลงเทิดพระเกียรติ บทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นเพื่อ แสดงความอาลัย และบทเพลงที่สื่อความหมาย สอดคล้องกับการแสดงแต่ละองก์ 7 องก์ โดยผู้บรรเลง ขับร้อง และผู้แสดงจากส�ำนัก การสังคีต กรมศิลปากร สถาบันดนตรีกลั ยาณิวฒ ั นา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ วงดนตรี อ.ส.วันศุกร์ วงสหายพัฒนา โรงเรียนราชินี กรมดุริยางค์ทหารบก กองดุริยางค์ทหารเรือ กองดุริยางค์ทหารอากาศ กองสวัสดิการ ส�ำนักงานต�ำรวจแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 25
I n R e m e m b r a n c e o f K i n g B h u m i b o l T h e Gr e a t
ซึ่งใช้ผู้บรรเลง ขับร้อง และผู้แสดง 753 คน ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง 189 คน รวมทั้งสิ้น 942 คน ทุกเวทีก�ำหนดเวลาเริ่มแสดง 18.00 น. ในวันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จนถึงเวลา 06.00 น. ของวันรุ่งขึ้น โดยการแสดง ของทุกเวทีจะหยุดการแสดงเมื่อมีพระราชพิธี ในพระเมรุมาศ นอกจากการแสดงทั้ง 3 เวทีแล้ว ยังมี การแสดงที่ส�ำคัญยิ่งอีกหนึ่งการแสดง คือ การแสดง โขนหน้าพระที่นั่งทรงธรรม หรือหน้าพระเมรุมาศ ที่เรียกกันว่า โขนหน้าไฟ จัดการแสดงโขน เรื่อง รามเกียรติ์ ชุดพระรามข้ามสมุทร-ยกรบ-ร�ำลึกใน พระมหากรุณาธิคุณ ผู้แสดงประกอบด้วยนาฏศิลปิน จากส�ำนักการสังคีต กรมศิลปากร และนักเรียน 26
นักศึกษา จากวิทยาลัยนาฏศิลปทั่วประเทศ 12 แห่ง รวมทั้งจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ผู้แสดง ผู้พากย์-เจรจา ผู้บรรเลง ขับร้อง และผู้ปฏิบัติงาน ที่เกี่ยวข้อง ประมาณ 300 คน
Performance of drama at royal funerals became a proper tradition in the reign of King Rama I. Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn ordered the revival of the tradition of sounding the hour and performances during the Princess Mother Srinagarindra’s royal funeral in 1996, and the tradition has remained ever since. For the royal funeral of His Majesty King Bhumibol Adulyadej, the Ministry of Culture has been assigned by the government to
prepare performances on three stages on October 26. The Royal Khon Performance Production Committees under the SUPPORT Foundation of Her Majesty Queen Sirikit, has been invited to join this special performance, together with the Department of Fine Arts and Bunditpatanasilpa Institute. The khon performance is adapted to suit the outdoor venue and will implement multi-vision techniques. Thanpuying Charungjit Teekara, private secretary to Her Majesty the Queen and chairperson of the Royal Khon Performance Production Committees, said that the Royal Khon Performance will be a part of
POWER MAGAZINE
the performances at the royal cremation of His Majesty King Bhumibol Adulyadej. The performers are mostly students of the College of Dramatic Arts who have performed in the Royal Khon Performance before. It is a great honour for everyone involved to have an opportunity to express their loyalty and gratitude to His Majesty King Bhumibol Adulyadej. Director Pramet Boonyachai said the Royal Khon Performance is a sort of khon kueng chak, meaning it is performed outdoor with the elegantly painted backdrops and multi-vision techniques. The backdrops are the old ones from the archive, dating back 10 years ago, but look extremely exquisite. The two-hour performance is divided into three episodes. The Incarnation of Rama is about the three hermits who visit Shiva and ask Phra Narai (Vishnu), a dignified supreme deity, to incarnate as Rama to fight against the demons. Other deities also incarnate as an army of vanaras (monkeys),
Special Edition
including Lakshmana, holy weapons, and the naga throne, to support Rama. The second episode, The Disappearance of Sita tells a story when Ravana kidnaps Sita on a flying mount and is stopped by Sadayu, a bird. The last episode, Expulsion of Pipek, is what happens after the abduction of Sita to Lanka. Pipek advises Ravana to return Sita to Rama. Angered by the advice, Ravana expels Pipek, so Pipek takes Rama’s side and pledges his allegiance. The deities rejoice in Pipek’s honesty. The Royal Khon Performance, a part of the royal cremation ceremony, will take place at Sanam Luang. There are three stages in total. The first stage features a dramatic performance and khon performance by the Office of Performing Arts, and art teachers and students from 12 Colleges of Dramatic Arts, and Bunditpatanasilpa Institute students, as well as the Royal Khon Performance.
The second stage features dramatic art and classical puppet shows by the Office of Performing Arts and Bunditpatanasilpa Institute. The third stage features His Majesty’s royal compositions, special songs in honour of His Majesty, and other songs, by the Office of Performing Arts, Princess Galyani Vadhana Institute of Music, Bunditpatanasilpa Institute, the Aor Sor Wan Suk Band, the Sahai Pattana Band, Rajini School, Royal Thai Army Band Department, Royal Thai Navy Music Department, Royal Thai Air Force Band, Welfare Division of the Royal Thai Police, the Public Relations Department and Chulalongkorn University. The first performance on every stage begins at 6pm on the day of the royal cremation and ends at 6am the next morning. In addition to these three stages, there is also a Khon Na Fai performance, which includes more than 300 people altogether.
27
National Archives in Honour of His Majesty King Bhumibol Adulyadej
The Beloved King
ไม่ว่ากาลเวลาจะผ่านไปนานเพียงใด พระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงอุทิศพระองค์เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทย มาตลอดพระชนม์ชีพ ยังคงสถิตอยู่ ในดวงใจของพสกนิกรชาวไทยตราบนิรันดร์ ใครที่คิดถึงและต้องการเรียนรู้ถึงพระอัจฉริยภาพและแนวพระราชด�ำริ ที่พระองค์ทรงวางรากฐานไว้เป็นอย่างดีให้แก่คนไทยได้น�ำไปต่อยอดเพื่อ ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเองและประเทศชาติยิ่งๆ ขึ้นไป สามารถเดินตามรอย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผ่านมรดกแห่งความทรงจ�ำ อันทรงคุณค่าที่คัดสรรมาแล้วว่า ควรค่าแก่การเดินทางไปชื่นชมแบบไม่ต้องรอ วันหยุดยาว เพราะแต่ละแห่งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล สามารถเดินทาง 28
เช้าไปเย็นกลับได้อย่างสบาย รับรองว่า เมื่อก้าวเท้าออกจากแลนด์มาร์คแห่ง ความทรงจ�ำแต่ละแห่ง ไม่เพียงคุณจะพบกับความรู้สึกอิ่มเอมใจอย่างบอกไม่ถูก ที่ได้มาสัมผัสเรื่องราวน�้ำพระราชหฤหัยอันยิ่งใหญ่ที่พระองค์ทรงมีต่อพสกนิกร ชาวไทยแล้ว แต่ยังได้แรงบันดาลใจดีๆ มากมายกลับไปด้วย เพราะทุกพระราช จริยวัตรและพระราชกรณียกิจของพระองค์ ล้วนเป็นแบบอย่างอันดีงามที่ทุกคน สามารถน�ำไปปฏิบัติตาม POWER MAGAZINE
Golden Jubilee Museum of Agriculture Royal Dockyard Museum Commemorating 84 Years
Supreme Artist Hall
His Majesty King Bhumibol Adulyadej’s insurmountable greatness and benevolence transcend the test of time. His tireless devotion to the well-being of the Thai people throughout his life will remain forever imprinted in the hearts of Thai people.
มาเถอะ…แล้วคุณจะรู้ว่า คนไทยโชคดีแค่ไหนที่มีพระมหากษัตริย์ ที่แสนประเสริฐดั่งเช่นพระองค์
His Majesty has left behind a wealth of knowledge, guidelines, and lessons which Thai people can follow for personal improvement and national progress. Learn about His Majesty’s dedication through a selection of his exemplary works dotted all across Bangkok and
Special Edition
neighbouring provinces. Each place promises to leave a lasting memory and a sense of fulfillment. His Majesty’s benevolence is incredibly inspiring and is a great motivation for us to do good for others. Everything he had done is a prime example to be followed. Visit these places and you will realise just how lucky we are to be born in the reign of such a magnificent King.
29
The Beloved King
ในปีพ.ศ. 2539 กรมศิลปากรได้รับมอบหมายจากกระทรวงศึกษาธิการให้จัดตั้ง “หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช” เนื่องในโอกาสมหามงคล ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี
ทั้งนี้เพื่อเป็นศูนย์กลางการรวบรวมและเก็บรักษาเอกสารส�ำคัญ อันเกี่ยวเนื่องในพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และพระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนเอกสาร การด�ำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ และโครงการ เฉลิมพระเกียรติต่างๆ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการวิจัยในแขนงต่างๆ ทว่า ปัจจุบันหอจดหมายเหตุแห่งชาติฯ นี้ ได้กลายเป็นอีกหนึ่งจุดหมาย ปลายทางแห่งใหม่ของคนไทยที่คิดถึงองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดช ได้มีโอกาสศึกษาพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจมากมาย 30
ที่ทรงริเริ่มเพื่อประโยชน์สุขของคนไทย ซึ่งหลายคนมาแล้วไม่ผิดหวัง เพราะนอกจากจะได้ดื่มด�่ำกับเรื่องราวในอดีตที่อาจไม่เคยรู้ ยังได้มีโอกาส ศึกษาเรื่องราวในอดีตผ่านเอกสารชิ้นส�ำคัญทางประวัติศาสตร์มากมาย เพื่อช่วยให้เข้าใจบริบทสังคมในอดีตมากขึ้นอีกด้วย หอจดหมายเหตุแห่งชาติฯ ตั้งอยู่บนพื้นที่ 75 ไร่ อาคารเป็นแบบ สถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ สมัยรัชกาลที่ 9 มีลักษณะเป็นกลุ่มอาคาร 4 ส่วน ประกอบด้วย อาคารส่วนที่ 1 สูง 9 ชั้น ส�ำหรับเก็บเอกสารจดหมายเหตุ อาคารส่วนที่ 2 สูง 3 ชั้น เป็นอาคารบริการค้นคว้า ห้องประชุม ส�ำนักงาน POWER MAGAZINE
PH OTOG R AP H ER : SU PACH AT V ETC HA M ALE EN ON T
In 1996, the Fine Arts Department was assigned by the Ministry of Education to establish “National Archives in Honour of His Majesty King Bhumibol Adulyadej” on the occasion of the 50th anniversary of His Majesty’s accession to the throne.
และอาคารส่วนที่ 3 และ 4 สูง 3 ชั้น เป็นอาคารจัดแสดง “นิทรรศการ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช” ซึ่งเป็น นิทรรศการถาวร จัดแสดงเกี่ยวกับพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจ นานัปการ ที่ทรงปฏิบัติเพื่อพระราชทานความผาสุกร่มเย็นแก่พสกนิกร ทั่วประเทศ รวม 27 หัวข้อ ภายในนิทรรศการจัดแสดงพระบรมฉายาลักษณ์ มีทงั้ พระบรมฉายาลักษณ์ทคี่ นไทยคุน้ ตา และพระบรมฉายาลักษณ์ทหี่ าชมได้ยาก ซึง่ น้อยคนนักจะมีโอกาสได้เห็น ควบคูก่ บั เอกสาร จดหมายเหตุ สือ่ โสตทัศนศึกษา รวมทั้งการจ�ำลองบรรยากาศที่ใกล้เคียงกับเหตุการณ์จริง การเข้าชมนิทรรศการไม่มีเจ้าหน้าที่น�ำชม แต่ไม่ใช่ปัญหา เพราะเนื้อหา ที่จัดไว้ในนิทรรศการค่อนข้างครบถ้วน ไม่ต้องกังวลว่าชมไปแล้วจะสับสน หรือมีข้อสงสัย ส�ำหรับใครที่มาครั้งแรก แนะน�ำให้เดินชมจากอาคารส่วนที่ 3 เริ่มต้นจากชั้น 1 ในโซนนี้ประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่ ส่วนที่ 1 “ด้วยพระมหา กรุณาธิคุณ” น�ำเสนอวีดิทัศน์เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจตลอดระยะเวลา 60 ปี ที่ทรงครองสิริราชสมบัติ ส่วนที่ 2 “พสกนิกรจงรักภักดี” จ�ำลองบรรยากาศ บ้านเรือนและร้านค้าในอดีตที่มีการแสดงออกถึงความจงรักภักดีของประชาชน ในแต่ละยุคสมัย ผ่านหน้าหนังสือพิมพ์ ดวงตราไปรษณียากร ปฏิทิน วารสาร และนิตยสาร นอกจากนี้ยังมีการจ�ำลองร้านตัดผมและร้านถ่ายรูปในอดีตที่มี การประดับพระบรมฉายาลักษณ์ และธงสัญลักษณ์ประจ�ำพระองค์ ส่วนที่ 3 “ดินแดนเสด็จพระบรมราชสมภพ” แสดงพระราชประวัติตั้งแต่ เมื่อครั้งเสด็จพระราชสมภพ ณ โรงพยาบาลเมาต์ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ชมมาถึงตรงนี้ หลายคนอาจอดใจไม่ไหว ต้องหยิบกล้องออกมาเก็บภาพจัตุรัสภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งสร้างจ�ำลองไว้ให้ชม ก่อนจะเดินต่อมาถึงส่วนที่ 4 “พระบรมวงศานุวงศ์ในสมัยรัชกาลที่ 7” จัดแสดง เกีย่ วกับพระเมตตาของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ที่ทรงมีต่อเจ้านายราชสกุลมหิดล เป็นอันเสร็จสิ้นการชมนิทรรศการในชั้นนี้ จากนั้นมาย้อนวันวานกันต่อกับอีก 5 หัวข้อ ที่บริเวณชั้น 2 เริ่มจาก “ณ วังสระปทุม” จัดแสดงเหตุการณ์เมื่อพ.ศ. 2471 ปีที่สมเด็จพระบรมราชชนก Special Edition
ทรงพาครอบครัวมหิดลเสด็จนิวัตประเทศไทย ถัดมาคือ “ขณะเยาว์พระชันษา ณ วังสระปทุม” จัดแสดงพระราชจริยวัตรในวังสระปทุม และการอภิบาลเลี้ยงดู อย่างดีจากสมเด็จพระบรมราชชนนี ส่วนที่ 3 “พระต�ำหนักในแดนไกล” จัดแสดง เหตุการณ์ที่พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล เสด็จขึ้นสืบราชสันตติวงศ์ เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 8 ส่วนที่ 4 “ตามเสด็จนิวัตพระนคร” จัดแสดง พระราชกรณียกิจต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 8 โดยมี พระอนุชาโดยเสด็จด้วยเสมอ และส่วนที่ 5 “เถลิงถวัลยราชสมบัติ” จัดแสดง เหตุการณ์การเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส พระราชพิธีบรมราชาภิเษก และพระราชพิธี ทรงพระผนวช พนื้ ทีบ่ ริเวณชัน้ 3 จัดแสดง 2 หัวข้อ คือ “ด�ำรงราชย์ ด�ำรงรัฐ” จัดแสดงเกีย่ วกับ สถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีความส�ำคัญและมีความผูกพันกับสังคมไทย นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และ “พระราชพิธีส�ำคัญในรัชกาล” จัดแสดงเกี่ยวกับ ความหมาย ความส�ำคัญ รูปแบบ และขั้นตอนของพระราชพิธีส�ำคัญในรัชกาล ความน่าสนใจของนิทรรศการ ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติฯ ยังไม่หมด เท่านี้ หลังจากนั่งพักจิบน�้ำสักหน่อยแล้วไปต่อกันที่อาคารส่วนที่ 4 ซึ่งว่าด้วยเรื่องพระราชกรณียกิจนานัปการ ข้อแนะน�ำในการเข้าชม คือ ให้เริ่มชมจากชั้น 3 แล้วค่อยๆ ลงมาด้านล่าง ส�ำหรับนิทรรศการในชั้น 3 ของอาคารส่วนที่ 4 จะพาไปย้อนสู่ปฐมบทแห่ง การพัฒนา ตั้งแต่จุดเริ่มต้นโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา มาสู่โครงการ ในพระราชด�ำริมากมาย ตั้งแต่โครงการพระราชด�ำริฝนหลวง แนวพระราชด�ำริ ในการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำ ทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียง พระอัจฉริยภาพด้านต่างๆ ทั้งจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพถ่าย หัตถกรรม ดนตรี วรรณศิลป์ ต่อเนื่องไปจนถึงพระมหากรุณาธิคุณด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม น�้ำพระราชหฤทัยอันยิ่งใหญ่ยังคงบอกเล่าต่อเนื่องมายังนิทรรศการ ในบริเวณชั้น 2 ที่ว่าด้วยเรื่องพระราชกรณียกิจด้านการสาธารณสุข 31
The Beloved King
พระราชกรณียกิจและพระมหากรุณาธิคุณต่อทหารและต�ำรวจตระเวนชายแดน พระราชอ�ำนาจของพระมหากษัตริย์ในการปกครอง และพระราชกรณียกิจ ในการเสด็จพระราชด�ำเนินไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ พื้นที่จัดแสดงในบริเวณชั้น 1 ชวนให้ซาบซึ้งไปกับพระเมตตาด้วยภาพ การเสด็จพระราชด�ำเนินเยี่ยมราษฎรทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยประทับ ณ พระต�ำหนักตามภูมิภาคต่างๆ ก่อนจะปิดท้ายด้วยโซน “พระบารมีปกเกล้า ชาวไทย” จัดแสดงพระบรมฉายาลักษณ์ในหัวข้อ “รูปที่ประชาชนชาวไทย ทุกบ้านมีไว้กราบสักการะ” พร้อมขับกล่อมด้วยเสียงเพลง “รูปที่มีทุกบ้าน” ชวนให้ยิ่งซาบซึ้งและอิ่มเอมจนยากจะอธิบายเป็นค�ำพูด หากแต่ต้องลองมา สัมผัสด้วยตัวเองเท่านั้น
The National Archives is responsible for collecting, preserving public and other historical records related to His Majesty King Bhumibol Adulyadej and the royal family, as well as their royal duties. The collection also contains documents from His Majesty’s Royal Projects and projects in honour of His Majesty the King to make the National Archives the hub of research in various fields. Beyond being a research hub, the National Archives of Thailand is also a place which reminds us of His Majesty King Bhumibol Adulyadej’s benevolence. Here, we can learn about His Majesty’s life and royal duties, as well as his dedication to the well-being of Thai people. In addition to indulge yourself in nostalgia, visitors can learn about some incidents from the past and better understand the context of life in the old era. The National Archives of Thailand is located on 75 rai of land. The place is in applied Thai architecture style in the reign of King Rama IX, consisting of four buildings. Building 1 is a nine-storey
32
building where archive materials are stored. Building 2 is a three-storey building functioning as service area, auditoriums and an administration office. Buildings 3 and 4 are three-storey buildings for exhibitions in honour of His Majesty King Bhumibol Adulyadej. These are permanent exhibitions illustrating His Majesty’s history, royal duties, and devotion to the well-being of the people of Thailand under 27 topics. Featured in these exhibitions are images of His Majesty, both rare ones and ones that are familiar sight, as well as archives, documents, audiovisuals, and event simulations. Despite being a self-guided walk, the exhibitions are very clear, leaving you with very few to no questions. For first timers, it is best to start from Building 3. On the first floor, the exhibition of His Majesty’s biographical data consists of four parts. Zone A talks about His Majesty’s benevolent activities, reflected in video presentations covering the six decades of his reign. Zone B reflects Thai people’s love and loyalty through presentation of street scenes dating back to various historical periods and people’s expression of their love and loyalty towards His Majesty. In Zone B also displays newspapers, stamps, journals and magazines from the past, as well as a mockup of vintage hair salon and photography shop, decorated with images of His Majesty and his flag. Zone C illustrates His Majesty’s birthplace, presenting His Majesty’s biographical information from his birth in Mount Auburn Hospital, Cambridge, Massachusetts, USA. It is hard to resist taking a few pictures in this zone, especially when you see King Bhumibol Adulyadej Square. In Zone D, you can learn
POWER MAGAZINE
about members of the royal family during the reign of King Rama VII, focusing on the kindness of Queen Savang Vadhana, His Majesty’s grandmother, shown towards members of the Mahidol family. The second floor features five main topics, starting from life at Sa Pathum Palace, reflected through presentation of scenes in 1928 when His Royal Highness the Prince Father returned to Thailand with his family. The next zone illustrates His Majesty’s childhood at Sa Pathum Palace as well as the tender love and care of Her Royal Highness the Princess Mother. The third zone showcases the Royal Residence in a foreign land and King Ananda Mahidol’s accession to the throne. The fourth zone documents about King Ananda Mahidol’s royal activities, with his younger brother always at his side. The last zone is King Bhumibol Adulyadej’s accession to the throne, the royal wedding, the coronation, and His Majesty’s ordination. The third floor explores two topics. Zone A is about His Majesty King Bhumibol Adulyadej’s reigning over his country and the importance of the monarchy as one of the main pillars of Thailand from the past to the present. Zone B features royal ceremonies of great significance during his reign, focusing on their meaning, importance, pattern and procedures. As you exit the building, freshen up and continue to Building 4, which chronicles His Majesty’s royal activities. It is recommended to start from the third floor. The first zone takes you back in time to the Centre for Experiment, Study and Development at Chitralada Villa, the Royal Residence, which led to numerous projects, from the Royal Rainmaking Project to Sufficiency Economy philosophy. His Majesty’s talents in various fields -- painting, sculpting, photography, handcrafts, and literature, as well as his benevolence
Special Edition
are portrayed, focusing on his contribution to the country’s education, religion and culture. The archive of His Majesty’s greatness continues onto the second floor, which is filled with His Majesty’s public health initiatives, his kindness towards those defending Thailand’s border areas, and his royal visits to other countries. On the first floor, you will be touched by the kindness His Majesty had bestowed upon the people of Thailand on his visits to every region of the country. You can also see Royal Residences in various provinces. Wrap up your visit with a display of His Majesty’s images under the concept of “Indispensable Image of Every Household”. An exhibition is aptly accompanied by a song titled, “Indispensable Image of Every Household”. After the visit to the National Archives, this song has become an even more meaningful ode to our beloved monarch.
สถานที่: หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ต�ำบลคลองห้า อ�ำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี วัน-เวลาท�ำการ: วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00-16.00 น. (หยุดวันเสาร์วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) โทรศัพท์: 0 2902 7940, 0 2902 7942 ต่อ 103 หรือ 113 เว็บไซต์: www.narama9.go.th ค่าเข้าชม: ฟรี Venue: National Archives in Honour of His Majesty King Bhumibol Adulyadej, Khlong 5, Khlong Luang, Pathumthani Date and Time: Mondays to Fridays, 9am-4pm (closed on weekends and public holidays). Tel: 0 2902 7940, 0 2902 7942 ext 103 or 113. Website: www.narama9.go.th Admission: Free.
33
The Beloved King
His Majesty King Bhumibol Adulyadej was talented in various arts and sciences.
เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระราชสมัญญานามว่า “อัครศิลปิน” ซึ่งมี ความหมายว่า “ผู้มีศิลปะอันเลอเลิศ” หรือ “ผู้เป็นใหญ่ในศิลปิน” ที่ไม่เพียง ทรงเป็นเลิศในศิลปะทั้งมวล แต่ยังทรงให้การส่งเสริม สนับสนุน ฟื้นฟู อนุรักษ์ และอุปถัมภ์งานศิลปะของแผ่นดินไทยทุกแขนงให้รุ่งเรืองจนทั่วโลกต่างแซ่ซ้อง สดุดีในพระเกียรติคุณ ส�ำหรับผู้ที่ชื่นชอบในศิลปะ ไม่ว่าจะแขนงไหนก็ตาม หนึ่งในสถานที่ ที่ต้องมาปักหมุดสักครั้งในชีวิต คือ “หออัครศิลปิน” แหล่งรวมมรดกศิลป์ อันล�้ำค่าของแผ่นดินที่ควรค่าแก่การศึกษา ซึ่งส�ำนักงานคณะกรรมการ วัฒนธรรมแห่งชาติ ก่อตั้งขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติในโอกาสที่พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี โดยมุ่งใช้ เป็นสถานที่จัดแสดงผลงานด้านศิลปวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทั้งด้านจิตรกรรม ประติมากรรม 34
การถ่ายภาพ ภูมิสถาปัตยกรรม หัตถศิลป์ วรรณศิลป์ วาทศิลป์ คีตศิลป์ และการพระราชนิพนธ์บทเพลง นอกจากนี้ยังใช้เป็นสถานที่จัดแสดงประวัติ และผลงานอันทรงคุณค่าของศิลปินแห่งชาติอีกด้วย เมื่อเข้ามาในบริเวณหออัครศิลปิน จะพบกับอาคารหลังคาทรงไทยหน้าจั่ว ตั้งตระหง่านอยู่ ตัวอาคารโดดเด่นด้วยการออกแบบให้มีลักษณะไทยประยุกต์ สูง 3 ชั้น ประกอบด้วยอาคารหลัก ซึ่งเป็นส่วนจัดแสดงพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ และพระปรีชาสามารถทางด้านศิลปะ รวมทั้งผลงาน จิตรกรรมฝีพระหัตถ์ และภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ขององค์อัครศิลปิน รายล้อม ด้วยอาคารรูปตัวยู (U) ซึ่งจัดแสดงนิทรรศการประวัติและผลงานของ ศิลปินแห่งชาติ ภายใต้แนวคิด “อัครศิลปินรายล้อมด้วยศิลปินแห่งชาติ ซึ่งพระองค์ทรงให้การอุปถัมภ์” หออัครศิลปินยินดีต้อนรับผู้มาเยือน ทั้งแบบรายบุคคล และแบบเป็น หมู่คณะ มาถึงแล้วจะเลือกเดินชมเพลินๆ ด้วยตัวเอง หรือจะให้เจ้าหน้าที่ POWER MAGAZINE
PH OTOG R AP H ER : SU PACH AT V ETC HA M ALE EN ON T
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถในศาสตร์และศิลป์หลายแขนง
ของหออัครศิลปินช่วยน�ำชม แนะน�ำผลงานแต่ละชิ้นเพื่อเป็นเกร็ดความรู้ ก็ได้เช่นกัน ภายในหออัครศิลปินมีการใช้สื่อผสมที่ทันสมัย เช่น วีดิทัศน์ คอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย และวีซีดี เพื่อเพิ่มอรรถรสในการเยี่ยมชมให้กับผู้มาเยือน เรียกได้ว่าเดินเพลินๆ ก็ชมครบทุกโซนแบบไม่รู้ตัว ส�ำหรับผู้ที่เดินทางมาครั้งแรก แนะน�ำให้เริ่มจากอาคารกลางของหออัครศิลปิน ซึ่งบริเวณชั้น 2 และ 3 จัดแสดง นิทรรศการที่รวบรวมพระอัจฉริยภาพทางด้านศิลปะของพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชไว้อย่างครบถ้วน พร้อมอัญเชิญผลงาน อันทรงคุณค่ามาจัดแสดงด้วย เมื่อก้าวพ้นประตูกระจกเข้ามาภายในห้องอัครศิลปิน บริเวณชั้น 2 จะพบกับผลงานจิตรกรรมฝีพระหัตถ์มากมายเรียงรายอยู่ตลอดโถงทางเดิน ซึ่งผลงานจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ที่น�ำมาจัดแสดง มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 37 องค์ โดยมีภาพจิตรกรรมฝีพระหัตถ์องค์จริง จ�ำนวน 4 องค์ และส�ำเนาภาพจิตรกรรม ฝีพระหัตถ์ จ�ำนวน 33 องค์ ภาพจิตรกรรมฝีพระหัตถ์องค์จริงนั้น เป็นภาพวาด สีน�้ำมันบนผืนผ้าใบที่ไม่ปรากฏชื่อ จัดแสดงอยู่ในตู้กระจกที่มีการควบคุม อุณหภูมิ ถัดจากโซนภาพจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ เข้าสู่พื้นที่โถงกลาง ซึ่งเรียกได้ว่าเป็น หนึ่งในไฮไลต์ของที่นี่ก็ว่าได้ เนื่องจากจัดให้เป็นที่ประดิษฐานพระราชลัญจกร ประจ�ำพระองค์รัชกาลที่ 9 จ�ำลองบนพานแว่นฟ้า อยู่ภายในบุษบกไม้ประดับ กระจกปิดทอง ซึ่งเปรียบเสมือนตัวแทน “องค์อัครศิลปิน” ฉากหลังเป็นจิตรกรรม ฝาผนัง “ไตรภูม”ิ ด้านซ้ายและขวามีกระจกแกะลายเทพชุมนุม สือ่ ความหมายว่า เหล่าเทวดาล้วนสักการะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช Special Edition
ผู้เปรียบประดุจ “สมมุติเทพ” ฐานโดยรอบบุษบกมีสื่อวีดิทัศน์แสดง พระราชประวัตแิ ละพระราชกรณียกิจ จ�ำนวน 9 ตอน เมือ่ ผูเ้ ข้าชมเพียงนัง่ คุกเข่าลง เครื่องก็จะท�ำงานโดยอัตโนมัติ ส่วนบริเวณโดยรอบ จัดแสดงพระอัจฉริยภาพด้านต่างๆ เริ่มจากด้าน ภูมิสถาปัตยกรรม น�ำเสนอด้วยสื่อวีดิทัศน์และภาพพระราชกรณียกิจ หลากหลายโครงการ ด้านหัตถศิลป์ น�ำเสนอพระปรีชาสามารถในการสร้างเรือใบ “ซูเปอร์มด” ด้วยแบบจ�ำลองเรือใบซูเปอร์มด และเครื่องมือที่ทรงใช้ในการต่อเรือ ประกอบเสียงบรรยาย ต่อมาคือ ด้านวรรณศิลป์ น�ำเสนอพระปรีชาสามารถด้าน การใช้ภาษาในงานวรรณกรรมของพระองค์ จัดแสดงบทพระราชนิพนธ์ “พระมหาชนก” และ “เรื่อง ทองแดง” รวมทั้งบทพระราชนิพนธ์ที่ทรงแปลและ เรียบเรียงจากหนังสือ ได้แก่ “ติโต” และ “นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ” โดยผ่าน สื่อวีดิทัศน์ ภาพพลิก 3 มิติ ประกอบเสียงบรรยาย ถัดมาคือ ด้านการถ่ายภาพ จัดแสดงภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ที่ได้รับพระราชทานและพระบรมราชานุญาตให้น�ำ มาจัดแสดง จ�ำนวน 40 ภาพ สุดท้ายคือ ด้านวาทศิลป์ สะท้อนผ่านพระราชด�ำรัส และพระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่บุคคลในวาระโอกาสต่างๆ ตั้งแต่เสด็จ ขึ้นครองราชสมบัติ พระปฐมบรมราชโองการ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ที่พระราชทานในพระราชพิธี บรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 นั้น มิเพียงเป็นที่จับใจ ของประชาชนชาวไทย หากยังเป็นที่ซาบซึ้งใจแก่ชาวต่างประเทศด้วย ขณะที่ห้องอัครศิลปิน บริเวณชั้น 3 จัดแสดงพระอัจฉริยภาพด้านคีตศิลป์ และการพระราชนิพนธ์บทเพลง เน้นการน�ำเสนอด้วยระบบเสียงที่สมบูรณ์แบบ 35
The Beloved King
ภายในตู้กระจกจัดแสดงพระบรมฉายาลักษณ์ขณะทรงดนตรีขนาดใหญ่ และน�ำเสนอบทเพลงพระราชนิพนธ์ในรูปแบบ 3 มิติ เป็นแห่งแรกในประเทศไทย โดยอัญเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์มาบรรเลงในระบบ 3 มิติ จ�ำนวน 4 เพลง ได้แก่ แสงเทียน ยามเย็น รัก และ ไกลกังวล อาจกล่าวได้วา่ หออัครศิลปิน คือศูนย์กลางในการจัดเก็บและจัดแสดงผลงาน ที่มีคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมไทยไว้อย่างครบถ้วนมากที่สุดแห่งหนึ่ง ดังนั้น หออัครศิลปินจึงถือเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่ควรค่าแก่การมาเยือนเป็นอย่างยิ่ง
On February 24, 1986, His Majesty King Bhumibol Adulyadej was named the “Supreme Artist” by the Office of the National Culture Commission to recognise His Majesty’s artistic talents and his role in supporting, protecting, conserving and restoring Thai arts. His contribution to art was praised internationally. If you are an art lover, no matter what field, a place you should visit once in a lifetime is The Supreme Artist Hall. The Office of the National Culture Commission established this place on the occasion of the 50th anniversary of His Majesty’s accession to the throne. The Supreme Artist Hall is the place exhibiting the valuable cultural art works of His Majesty King Bhumibol Adulyadej, showcasing his paintings, sculptures, photographs, landscape architecture, handcrafts, literature, music, and Royal Compositions. Alongside His Majesty’s works are works by the National Artists under His Royal Patronage Once you walk into the Supreme Artist Hall, you will be mesmerised by the majestic three-storey structure built in applied
36
Thai architectural style. Living up to “The Supreme Artist surrounded by National Artists under His Royal Patronage” concept, the main hall; where His Majesty’s stories and artistic talents are represented, is embraced by a U-shape building where National Artists’ works are exhibited. The Supreme Artist Hall welcomes individual and group visitors. You can choose to explore the place on your own, or on a guided tour by the Hall’s staff, who will explain each piece of work in detail. Inside the Hall, there are videos, multimedia and VCDs for a more immersive experience. You won’t notice the time go by once you’re inside. For first timers, start from the main hall on the second and third floors, where His Majesty’s artistic talents are fully explained, with highlight pieces on display. On the second floor, you can enjoy His Majesty’s paintings along both sides of the hall way, 37 pieces in total -- four of which are authentic pieces, and 33 replicas. The authentic pieces are untitled oil paintings, kept in a temperature-controlled glass container. At the centre is another highlight of this place -- His Majesty King Bhumibol Adulyadej’s Great Seal of the Realm on a two-tiered tray, housed inside a throne decorated with gold leaves. This Seal is supposed to be the symbol of the Supreme Artist. The backdrop is a Tri Bhumi painting, and on both sides are mirror arts depicting deities paying homage to His Majesty, revered in Thailand as
POWER MAGAZINE
a demigod. Around the throne is a screen display showing His Majesty’s history and royal duties in nine episodes. The device plays automatically when the viewer kneels down. His Majesty’s talents in other fields are exhibited around this area, starting from landscape architecture, through videos and images of His Majesty’s royal duties. For handcrafts, a miniature Super Mod boat is displayed along with the tools His Majesty used to build the boat. To showcase His Majesty’s literary skills, The Story of Mahajanaka and The Story of Tongdaeng, as well as His Majesty’s translation works Tito and Nai In Phu Pit Thong Lang Phra are displayed on videos, 3D flip images, and voice narration. Next is His Majesty’s photography excellence, told through a collection of 40 royal photographs that His Majesty had granted the Hall to keep. Last but not least is His Majesty’s oratory skills, reflected through His Majesty’s royal speeches delivered on various occasions, such as the coronation speech “I shall reign with righteousness for the benefits and happiness of the Siamese people” on May 5, 1950, a promise that had captured the hearts of the Thai people all these years. On the third floor, you can learn about His Majesty’s gift as a musician and a composer. presented using the best sound system.
Special Edition
Inside glass containers are images of His Majesty playing music. It is the first place in Thailand to present His Majesty’s Royal Compositions in 3D, presenting four songs in total -- Candlelight Blues, Love at Sun Down, Love, and When. The Supreme Artist Hall is the heart of Thai art and culture, housing the most comprehensive range of works, making it a place worth visiting.
สถานที่: หออัครศิลปิน ถนนเลียบคลองห้า ต�ำบลคลองห้า อ�ำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี วัน-เวลาท�ำการ: วันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 09.30-16.00 น. (หยุดวันจันทร์) โทรศัพท์: 0 2986 5020-4 เว็บไซต์: http://thai.culture.go.th/subculture8/ ค่าเข้าชม: ฟรี Venue: The Supreme Artist Hall, Khlong 5, Khlong Luang, Pathumthani Date and Time: Tuesdays to Sundays, 9:30am-4pm (closed on Mondays). Tel: 0 2986 5020-4 Website: http://thai.culture.go.th/subculture8/ Admission: Free.
37
The Beloved King
พระอัจฉริยภาพด้านการเกษตรของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นที่ประจักษ์ชัดในใจพสกนิกรชาวไทยมาเนิ่นนาน แต่ส�ำหรับใครที่สนใจศึกษาลงไปให้ลึกถึงองค์ความรู้ ภูมิปัญญา ตลอดจน นวัตกรรมเกษตรที่พระองค์ทรงวางรากฐานไว้อย่างครบวงจร แนะน�ำให้ หาเวลาว่างแล้วมาลองสวมบทนักเรียน ท่องไปในโลกแห่งวิถีเกษตรอันแสน กว้างใหญ่ที่มีหลายเรื่องที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน ณ “พิพิธภัณฑ์การเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” พิพิธภัณฑ์แห่งการเรียนรู้ พระอัจฉริยภาพด้านการเกษตรที่โดดเด่นด้วยการน�ำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามา ผสานกับวิถีชีวิตเกษตรแบบดั้งเดิมได้อย่างลงตัว เสมือนเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต ตอบโจทย์ผู้มาเยือนทุกเพศทุกวัย ทั้งในแง่สาระและความสนุกสนาน บนอาณาเขตอันกว้างใหญ่กว่า 300 ไร่ พิพธิ ภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสมหามงคลที่ทรงครอง สิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในปีพ.ศ. 2539 ต่อมากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ด�ำเนินการจัดตั้งส�ำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) ในปีพ.ศ. 2552 เพื่อด�ำเนินการบริหารงานตาม พระราชกฤษฎีกา ภายในอาณาเขตอันกว้างใหญ่นั้น แบ่งพื้นที่ออกเป็น 38
2 โซนหลัก ได้แก่ กลุ่มพิพิธภัณฑ์ภายในอาคาร ที่มาพร้อมคอนเซ็ปต์ “เรียนรู้ อย่างมีความสุข สนุกสนาน” ผ่านนิทรรศการจัดแสดงเรื่องราวพระราชกรณียกิจ พระเกียรติคุณ พระอัจฉริยภาพด้านการเกษตร ดิน และน�้ำ ด้วยสื่อเทคโนโลยี สมัยใหม่ ทั้งภาพยนตร์แอนิเมชั่น 3 มิติ โฮโลแกรม นิทรรศการ 4 มิติ คลายความกังวลว่า มาเที่ยวพิพิธภัณฑ์แล้วจะพบกับกองข้อมูลอัดแน่นจนเกิน รับไหว ถัดมาคือ กลุ่มพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง ที่มาพร้อมคอนเซ็ปต์ “เรียนรู้ผ่าน ประสบการณ์จริง พร้อมลงมือปฏิบัติ” โซนนี้เปิดโอกาสให้สัมผัสกับวิถีเกษตร เศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่แบบนอกต�ำรา ท่ามกลางบรรยากาศธรรมชาติ สบายๆ เหมาะกับทั้งเกษตรกรตัวจริง และคนเมืองที่สนใจท�ำการเกษตร ส�ำหรับใครที่มาครั้งแรก แนะน�ำให้เดินชมพิพิธภัณฑ์ภายในอาคารก่อน ซึ่งมีให้เลือกถึง 5 พิพิธภัณฑ์ ใน 5 อาคาร ประกอบด้วย “พิพิธภัณฑ์ ในหลวงรักเรา”, “พิพิธภัณฑ์มหัศจรรย์พันธุกรรม”, “พิพิธภัณฑ์ป่าดงพงไพร”, “พิพิธภัณฑ์วิถีน�้ำ” และ “พิพิธภัณฑ์ดินดล” โดยอาจเริ่มปักหมุดจาก “พิพิธภัณฑ์ ในหลวงรักเรา” เพื่อดื่มด�่ำไปกับพระอัจฉริยภาพด้านการเกษตร พระราชพิธี ในวิถีเกษตร พระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจด้านการเกษตร POWER MAGAZINE
PH OTOG R AP H ER : SU PACH AT V ETC HA M ALE EN ON T
His Majesty King Bhumibol Adulyadej had shown agricultural excellence. His knowledge, wisdom, and innovations cover all areas of agriculture.
หลักการทรงงาน ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านการเกษตร เกษตรทฤษฎีใหม่ นวัตกรรมเศรษฐกิจพอเพียง และเรียนรู้ประสบการณ์และความส�ำเร็จจากการ น้อมน�ำค�ำพ่อสอนไปปฏิบัติ ความน่าสนใจของ “พิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา” ดึงดูดสายตาตั้งแต่ก้าวแรก ที่เข้ามาด้วยหุ่นจ�ำลองขบวนพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ที่หลายคนรู้จักเป็นอย่างดี แต่ยังไม่เคยได้สัมผัสหรือศึกษาอย่างลึกซึ้งถึง พระราชพิธีนี้ ซึ่งมีความส�ำคัญและสืบทอดมาแต่โบราณ จัดขึ้นเพื่อความเป็น สิริมงคลและเพื่อสร้างขวัญก�ำลังใจให้แก่ชาวนาเมื่อถึงต้นฤดูกาลเพาะปลูก ในช่วงต้นฤดูฝน ตื่นตาตื่นใจกับความอลังการแล้ว ไปเพลินกันต่อที่โซน “กษัตริย์เกษตร” ต้อนรับทุกคนด้วยโรงภาพยนตร์ขนาด 150 ที่นั่ง ที่เตรียมไว้ ส�ำหรับฉายภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชั่น 3 มิติ ที่เกี่ยวเนื่องกับกษัตริย์เกษตร 5 เรื่อง ได้แก่ “เรื่องของพ่อในบ้านของเรา”, “แผ่นดินของเรา”, “ทรัพย์ดิน สินนํ้า”, “เมล็ดสุดท้าย” และ “ไผ่รวกกับทานตะวันผู้ยโส” จากบทพระราชนิพนธ์ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งจะฉายหมุนเวียน ตามรอบ แต่ละรอบใช้เวลาเข้าชมประมาณ 15 นาที โดยผู้ชมจะได้รับแว่น 3 มิติ เพื่อเพิ่มอรรถรสในการชม ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ระหว่างรอรอบฉาย ยังสามารถเดินชม นิทรรศการตามโซนต่างๆ ภายในอาคาร เช่น นิทรรศการ “วิถีเกษตรของพ่อ” จัดให้ศกึ ษาต้นแบบในการบริหารจัดการดิน น�ำ้ ป่า และพัฒนาคน โดยเริม่ จาก Special Edition
“บ้าน” ของพระองค์ทา่ น หรือสวนจิตรลดา อันเป็นทีท่ ดลองโครงการส่วนพระองค์ ต่างๆ ก่อนที่จะต่อยอดเป็นโครงการหลวง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจาก พระราชด�ำริ และโครงการในพระราชด�ำริกว่า 4,000 โครงการ นิทรรศการ “นวัตกรรมของพ่อ” จัดแสดงนวัตกรรมที่ทรงคิดค้นและจดสิทธิบัตรไว้เป็นมรดก ทางปัญญา อาทิ เพลงพระราชนิพนธ์ กังหันน�้ำชัยพัฒนา เป็นต้น ชื่นชมน�้ำพระราชหฤทัยที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างตื้นตันแล้ว อย่าพลาดแวะเวียนมาเยี่ยมเยียนโซน “คิดถึงพ่อไม่ลืมเลือน” ซึ่งจัดท�ำขึ้นใหม่ ด้วยการจ�ำลองก�ำแพงพระบรมมหาราชวัง และภาพบรรยากาศของพสกนิกร ชาวไทยที่หัวใจหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวในวันที่เดินทางมาร่วมขับร้องเพลง สรรเสริญพระบารมีที่สนามหลวง พร้อมฉายวีดิทัศน์ย้อนวันวานอันแสนเศร้า นับตั้งแต่ส�ำนักพระราชวังออกแถลงการณ์ หลังจากดื่มด�่ำกับความรักที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีให้กับคนไทยทุกคน จนล้นหัวใจแล้ว ใครที่ยังมีพลังเหลือ สามารถเข้าชมพิพิธภัณฑ์ภายใน อาคารอื่นๆ ได้ อาทิ “พิพิธภัณฑ์วิถีน�้ำ” บอกเล่าเรื่องราวความสัมพันธ์ของน�้ำ กับวิถีชีวิตของผู้คนได้อย่างน่าสนใจ โดยมีการฉายภาพยนตร์ 4 มิติ 270 องศา เรื่อง “แม่น�้ำชีวิต “และ “รักษ์น�้ำ” เป็นไฮไลต์ของพิพิธภัณฑ์ ขณะที่ “พิพิธภัณฑ์ดินดล” จัดแสดงเรื่องราวของดิน ซึ่งเป็นฐานก�ำเนิดของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ ด้วยภาพยนตร์ 4 มิติ 360 องศา มีให้เลือกชม 2 เรื่อง คือ “ดินมีชีวิต” และ “เพียงพสุธา” 39
The Beloved King
จบจากกลุ่มพิพิธภัณฑ์ภายในอาคาร ไปตะลุยกันต่อที่กลุ่มพิพิธภัณฑ์ กลางแจ้ง ด้วยการขึ้นรถพ่วงชม “พิพิธภัณฑ์เกษตรตามรอยพ่อ” และ “พิพิธภัณฑ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งจะมีการสาธิตไร่นาและการท�ำนา ท�ำสวนตามแนวพระราชด�ำริเกษตรทฤษฎีใหม่และเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง เต็มพื้นที่อันเขียวขจีรอบๆ พิพิธภัณฑ์ โดยมีมัคคุเทศก์ให้ความรู้ตลอดเส้นทาง นอกจากนี้ทุกวันเสาร์-อาทิตย์แรกของเดือนยังจัดให้มีตลาดนัดเศรษฐกิจ พอเพียงให้ช้อปสินค้าเกษตรปลอดภัยกลับบ้านด้วย สุดสัปดาห์นี้ ใครที่ก�ำลังมองหากิจกรรมวันว่าง พิพิธภัณฑ์การเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คืออีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ
If you want to know more about His Majesty’s valuable agricultural works, visit the Golden Jubilee Museum of Agriculture, which displays His Majesty’s remarkable solutions and cutting-edge innovations fused with traditional agriculture in Thailand. This is a living exhibition that offers both entertainment and education to people of all ages. Located on a 300 rai piece of land, the Golden Jubilee Museum of Agriculture was established by Ministry of Agriculture and Cooperatives to celebrate the 50th anniversary of His Majesty King Bhumibol Adulyadej’s accession to the throne in 1996. The Ministry founded the Golden Jubilee Museum of Agriculture Office (Public Organisation) in 2009 following His Majesty’s Royal Decree. The museum is divided into two zones. The first zone is Indoor Museums under the concept “Fun and Amusing Learning”. Here, visitors can learn about His Majesty the King’s talents in agriculture, soil, and water, displayed through modern technology, 3D animation, hologram, and 4D exhibition. You do not have to worry
40
about the museum experience being too academic, since all the information is presented in a fun way. Next is the Outdoor Museums under the concept “Learn Practical Knowledge through Hands-on Experience”. In this zone, visitors can learn about sufficiency economy agriculture, modern agriculture, and new theory agricultural methods which explore ideas beyond what you normally found in the book, in an outdoor environment that appeals to both farmers and urbanites who are interested in agriculture. For first-timers, check five indooor museums first -- “The King Loves Us Museum”, “The Amazing Genetics Museum”, “The Forest Museum”, “The Way of Water Museum” and “The Soils Museum”. It is best to start from “The King Loves Us Museum” to learn about His Majesty’s agricultural talents, royal duties, royal rituals, and work philosophy. You can also learn about new theory agriculture, sufficiency economy agriculture, and agricultural innovations. Learn from experiences and success of those applying the royal teaching. “The King Loves Us” Museum will leave you in awe since your at the first step with the presentation of the Royal Ploughing Procession. We might be familiar with the name, but never really study the details. This is an ancient royal ceremony held to offer blessings and give moral support to farmers as the rainy season begins. Next is the “Agricultural King” section, which has a 150-seat theatre presenting five 3D animation stories about the King and agriculture -- “Father’s Story in Our House”, “Our Land”, “Land and Water Assets”, “The Last Seed” and “Bamboo and the Arrogant Sunflower”,
POWER MAGAZINE
based on HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn’s royal writing. Each session takes about 15 minutes, and you will be given 3D glasses to enjoy the movie. You can also walk around the area and enjoy various exhibitions, such as “Father’s Agricultural Ways” which is about soil, water, forest and people management, starting from His Majesty’s “Home” or Chitralada Villa, where His Majesty experimented with sustainable agriculture and developed ideas for development centres and over 4,000 Royal Projects. “Father’s Innovations” displays His Majesty’s patented innovations such as Royal Compositions and the Chaipattana Aerator. Don’t forget to drop by “Forever in our Hearts” section, newly built to pay tribute to the late King. It features a replica of the Grand Palace’s walls and the atmosphere of Thai people coming together to sing the Royal Anthem. Footage of moments in the saddest day of Thai people’s lives is also on display. Another interesting museum is “The Way of Water Museum” which talks about how water is an integral part of our lives, told through two 4D movies -- “River of Life” and “Conserving Water”. At “The Soils Museum”, learn about how soil creates lives through two 4D movies -- “Living Soils” and “Down to Earth”. Head outside to explore the Outdoor Museums, which include “Agriculture in Father’s Footsteps Museum” and “Sufficiency Economy Agriculture Museum”, where you can see examples of new theory agriculture and sufficiency economy agriculture in the vast
Special Edition
green area around the museum. There is a guide to explain about the methods along the way, and there is sufficiency economy weekend market on every first weekend of the month where visitors can shop for hygienic agricultural products. If you’re looking for a place to visit this weekend, The Golden Jubilee Museum of Agriculture is an interesting choice.
สถานที่: พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถนนพหลโยธิน หลักกิโลเมตรที่ 46-48 ตรงข้ามโรงพยาบาลการุญเวช (นวนครเดิม) จังหวัดปทุมธานี วัน-เวลาท�ำการ: วันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 09.00-16.00 น. (หยุดวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์) โทรศัพท์: 0 2529 2212, 08 7359 7171 เว็บไซต์: www.wisdomking.or.th ค่าเข้าชม: ขึ้นอยู่กับพิพิธภัณฑ์ที่เข้าชม ส�ำหรับผู้ใหญ่เริ่มต้นที่ 40 บาท เด็กเริ่มต้นที่ 20 บาท
Venue: The Golden Jubilee Museum of Agriculture, Phaholyothin Road, km 46-48, opposite Karunvej Hospital (formerly Nava Nakorn), Pathumthani Date and Time: Tuesdays to Sundays, 9am-4pm (closed on Mondays and official holidays) Tel: 0 2529 2212, 08 7359 7171 Website: www.wisdomking.or.th Admission: Admission fees depend on which parts you want to visit. Price starts from 40 baht per adult and 20 baht per child.
41
ตลอดระยะเวลา 70 ปีแห่งการครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจใหญ่น้อยเพื่อวางรากฐานที่มั่นคงให้กับประเทศชาติตลอดมา หนึ่งในพระราชกรณียกิจสำ�คัญ คืองานด้านนาวาสถาปัตย์ ที่เกิดจากพระอัจฉริยภาพของพระองค์ โดยแท้ Throughout the seven decades of His Majesty King Bhumibol Adulyadej’s reign, among the numerous talents he had shown were his skills in naval architecture.
สถานที่ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ในพระปรีชาสามารถด้านการต่อเรือของพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตลอดจนได้ซึมซับถึงพระเกียรติคุณ และพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทย คือ “พิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวง เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา” ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยกรมอู่ทหารเรือ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ พิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวงฯ เปิดอย่างเป็นทางการ เต็มรูปแบบเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ตัวอาคารพิพิธภัณฑ์เป็นเรือนไม้ 2 ชั้นสีเขียวทรงปั้นหยา รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบขนมปังขิงประดับด้วย 42
ไม้ฉลุลายสวยงาม สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 อาคารแห่งนี้ยังได้รับรางวัลอนุรักษ์ ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจ�ำปีพ.ศ. 2557 ประเภทอาคารสถาบันและ อาคารสาธารณะ จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์อีกด้วย การจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวงฯ แบ่งออกเป็น 7 ส่วน เริ่มต้นที่ บริเวณชั้น 2 กับส่วนจัดแสดง “จากราชนิเวศน์สู่อู่เรือหลวง” บอกเล่าเรื่องราวของ พื้นที่อู่เรือหลวง ซึ่งเดิมในสมัยกรุงธนบุรีเป็นพระนิเวศน์ของสมเด็จเจ้าพระยา มหากษัตริย์ศึก ต่อมาเมื่อทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จ POWER MAGAZINE
s tory : n atta por n n apal ai PH OTOG RA PH ER : cha n ok thammar akki t
The Beloved King
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงทรงย้ายที่ประทับไปยังฝั่งพระนคร และพระราชทานที่ประทับเดิมให้พระราชโอรสและพระบรมวงศานุวงศ์สืบทอด ต่อมา จนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้มีการสั่งเรือรบจากต่างประเทศเข้ามาใช้ในกิจการทหารเรือ พระองค์จึง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพืน้ ทีบ่ ริเวณทิศใต้ของวัดระฆังโฆสิตาราม ให้สร้างเป็นอู่เรือขนาดใหญ่เพื่อรองรับการซ่อมบ�ำรุงเรือที่มีจ�ำนวนมากขึ้น และเสด็จพระราชด�ำเนินมาทรงเปิดอู่เรือหลวง เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2433 ซึ่งต่อมาถือว่าวันนี้เป็นวันสถาปนากรมอู่ทหารเรือ ถัดมาเป็นส่วนของ “จากอู่เรือหลวงสู่กรมอู่ทหารเรือ” ให้ความรู้ถึง ความส�ำคัญของงานอู่เรือกับการปกป้องอธิปไตยของชาติทางทะเล พัฒนาการ ของกรมอู่ทหารเรือ และความจ�ำเป็นของการมีอู่เรือขนาดใหญ่ มีภาพ “เรือหลวง พระร่วง” เรือรบหลวงล�ำแรกที่ข้าราชการและประชาชนได้เรี่ยไรทุนทรัพย์จัดซื้อ เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โดยพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวง ชุมพรเขตอุดมศักดิ์ องค์พระบิดาของทหารเรือไทย ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้แทนออกไปจัดซื้อเรือรบดังกล่าวในภาคพื้นยุโรป และทรงเป็นกัปตัน ควบคุมเรือรบล�ำนี้จากอังกฤษด้วยพระองค์เอง จนเดินทางถึงประเทศไทย ในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2463 จากนั้นเข้าสู่ส่วน “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับงานนาวาสถาปัตย์” ที่เล่าถึงพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในด้านการต่อเรือ เราอาจทราบกันดีอยู่แล้วว่า พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัย ด้านการช่างมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงศึกษาและน�ำหลักการทาง วิทยาศาสตร์มาประยุกต์จนสามารถต่อเรือใบฝีพระหัตถ์ด้วยพระองค์เอง ถึง 4 ประเภท คือ เรือใบสากลประเภทเอ็นเตอร์ไพรส์ เรือใบสากลประเภทโอเค เรือใบสากลประเภทม็อธ และเรือโม้ก แต่นอกเหนือจากนั้นก็ยังพระราชทานแนวพระราชด�ำริในการพัฒนาการ สร้างเรือให้กับกองทัพเรือไว้มากมายด้วย โดยภายหลังจากเสด็จพระราชด�ำเนิน
Special Edition
ไปยังอูต่ อ่ เรือยนต์เร็วรักษาชายฝัง่ ทีเ่ มืองเบรเมน ประเทศเยอรมนี เมือ่ พ.ศ. 2503 พระองค์ทรงเล็งเห็นว่า กองทัพเรือน่าจะต่อเรือยนต์เร็วรักษาชายฝั่งขึ้นใช้เอง เพื่อให้ได้เรือที่เหมาะสมกับสภาพการใช้งานของประเทศ อีกทั้งยังจะเป็น การสร้างความรู้ พัฒนาฝีมือช่าง และยังเป็นการประหยัดเงินตราไม่ให้รั่วไหล ออกนอกประเทศ กองทัพเรือได้สนองพระราชด�ำริจนเป็นที่มาของการสร้าง เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.91 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช ทรงสนพระราชหฤทัยในการต่อเรือ ต.91 เป็นอย่างยิ่ง ทรงให้สถาบัน และอู่เรือในต่างประเทศช่วยศึกษาและให้ความเห็นเกี่ยวกับแบบเรือ และพระราชทานค�ำแนะน�ำในการออกแบบ นอกจากนี้ยังได้เสด็จพระราชด�ำเนิน ไปทรงทดสอบความเร็วเรือที่หลักไมล์เกาะสีชัง พร้อมทั้งพระราชทานข้อสังเกต เกี่ยวกับน�้ำที่พลิ้วออกมาจากท้ายเรือและพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย ให้กองทัพเรือน�ำไปปรับปรุงอีกด้วย จากเรือ ต.91 ได้มีการพัฒนากันมาเรื่อยๆ จนถึงเรือ ต.99 ซึ่งจัดสร้าง เป็นล�ำที่ 9 เมื่อพ.ศ. 2530 หลังจากนั้นก็ไม่มีการสร้างเรือชุดนี้อีกเลย จนมาถึง พ.ศ. 2545 ได้มีการขยายผลสู่การสร้างชุดเรือ ต.991 โดยน�ำเรือ ต.99 มาขยาย ขึ้นอีก 10% ต่อมากองทัพเรือได้ปรับปรุงและพัฒนาแบบเรือให้มีคุณลักษณะ ที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ด้วยการน้อมน�ำพระบรมราชวินิจฉัยแบบเรือ ต.991 มาเป็นกรอบในการปฏิบัติ และได้สร้างเรือใหม่จนมาถึงชุดเรือ ต.996 ซึ่งนับเป็นเรือที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมอย่างยิ่งกับการใช้งานตรวจการณ์ ใกล้ฝั่งของประเทศ อีกทั้งยังเป็นเครื่องยืนยันถึงพระอัจฉริยภาพของพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงอ่านแบบเรือและพระราชทาน ค�ำแนะน�ำได้ ทั้งที่มิได้ทรงศึกษาด้านการต่อเรือมาแต่อย่างใด ในส่วนนี้ยังมี การน�ำสมุดลงพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช พระนามาภิไธยของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ลายพระหัตถ์ของพระบรมวงศานุวงศ์ที่พระราชทานให้กรมอู่ทหารเรือเมื่อคราว เสด็จพระราชด�ำเนินมาทรงประกอบพิธีวางกระดูกงูและปล่อยเรือลงน�้ำ รวมถึง ค้อน ขวาน ปุ่มกด และเครื่องใช้ต่างๆ ที่ใช้ในพิธีมาจัดแสดงอีกด้วย
43
The Beloved King
ต่อด้วยส่วน “การเสริมสร้างสมุททานุภาพให้กองทัพเรือ” จัดแสดง พัฒนาการด้านการต่อเรือของกรมอู่ทหารเรือ จากเรือไม้เป็นเรือเหล็ก แสดงถึง กรรมวิธีการต่อเรือจากการย�้ำหมุดเป็นการเชื่อมประสาน เทคโนโลยีการต่อเรือ แบบบล็อก ขั้นตอน และกระบวนการสร้างเรือรบ พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ที่เสริมสร้าง ความเป็นสิริมงคลให้แก่ตัวเรือ ผู้สร้างเรือ และผู้ใช้เรือ รวมทั้งขนบธรรมเนียม ประเพณีทหารเรือที่เกี่ยวข้อง ถัดมาเป็นส่วน “การอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของชาติ” น�ำเสนอความเป็นมา ของการต่อเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นเรือพระที่นั่ง ล�ำแรกแห่งรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สร้างขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติเนื่องในโอกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในพ.ศ. 2539 เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เป็นการผสมผสาน เทคโนโลยีการต่อเรือของกรมอู่ทหารเรือกับงานช่างศิลป์ของกรมศิลปากร โดยได้มกี ารน�ำโขนเรือพระทีน่ งั่ นารายณ์ทรงสุบรรณ (ของเดิม) ในพิพธิ ภัณฑสถาน แห่งชาติมาเป็นต้นแบบ การสร้างเรือยึดตามแบบการต่อเรือในสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้น แต่ได้มีการน�ำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในการค�ำนวณเพื่อให้ได้ผล ที่แม่นย�ำ ตัวเรือสร้างจากไม้ตะเคียนทอง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานค�ำแนะน�ำว่า ควรน�ำไม้ชิ้นเล็กๆ มาลามิเนต ให้เป็นชิ้นหนาขนาดใหญ่ ทดแทนการตัดต้นไม้เพื่อให้ได้ไม้ขนาดใหญ่ซึ่งหายาก และต้นไม้ก็ก�ำลังลดจ�ำนวนลงไปเรื่อยๆ อีกทั้งยังทรงแสดงความเป็นห่วงว่า โขนเรืออาจจะมีขนาดใหญ่เกินไป ซึ่งจะส่งผลต่อสมดุลของเรือได้ เสร็จสิ้นจากชั้น 2 ก้าวลงสู่ชั้นล่าง ซึ่งจัดแสดงไว้อีก 2 ส่วน เริ่มด้วย “ท�ำเรือให้พร้อมรบ” จัดแสดงกระบวนการและเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ใน การซ่อมท�ำเรือรบ ตลอดจนผลงานการซ่อมท�ำเรือส�ำคัญๆ ของกรมอู่ทหารเรือ ซึ่งท�ำให้ผู้ชมรู้สึกตื่นตาตื่นใจไปกับเทคโนโลยีและความสามารถในการพัฒนา เพื่อสร้างนวัตกรรมของกองทัพเรือเป็นอย่างมาก
44
มาถึงส่วนจัดแสดงสุดท้าย “อู่เรือและอุตสาหกรรมต่อเรือของประเทศ” จัดแสดงถึงความก้าวหน้าของอู่เรือเอกชน ความส�ำคัญของอุตสาหกรรมต่อเรือ ซ่อมเรือ และพาณิชยนาวีของประเทศ โดยมีสิ่งจัดแสดงที่เด่น คือ แบบจ�ำลอง เรือ ต.991 ซึ่งจัดท�ำขึ้นเพื่อการทดสอบเรือในเยอรมนี แต่เนื่องจากเป็นเรือส�ำคัญ จึงได้มีการขอซื้อแบบจ�ำลองส�ำหรับการทดสอบนี้กลับมายังประเทศไทยด้วย นอกจากนี้ยังมีจักรยานเผินน�้ำ ที่กองทัพเรือจัดสร้างขึ้นตามแนวพระราชด�ำริของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งต่อมาชมรมพิพิธสยาม ได้ขอน�ำไปเป็นต้นแบบเพื่อดัดแปลงเป็นจักรยานที่สามารถใช้ถีบเพื่อ การออกก�ำลังกายไปพร้อมๆ กับการบ�ำบัดน�้ำเสียในคราเดียวกัน รวมทั้งยังมี การน�ำยานใต้น�้ำไร้คนขับ ที่หน้าตาคล้ายเรือด�ำน�้ำขนาดจิ๋ว ใช้ส�ำหรับ การฝึกปราบเรือด�ำน�้ำของทหารเรือมาจัดแสดงอีกด้วย นับเป็นการปิดท้าย การชมพิพิธภัณฑ์ที่สมบูรณ์แบบยิ่ง Royal Dockyard Museum Commemorating His Majestic King Bhumibol’s 84th Anniversary is a place where you can learn about His Majesty King Bhumibol Adulyadej’s marvelous naval architecture skills. As part of the commemorations of His Majesty the King’s 84th Birthday, the Royal Dockyard Museum was opened 25 August 2011. The museum is housed in a two-storey wooden house, assumed to be built during the reign of King Rama V. This Gingerbread style house won an award in 2014 from the Association of Siamese Architects under the Royal Patronage of His Majesty the King. The exhibition inside is divided into seven parts. Start from the second floor with the “From the Royal Residence to the Royal Dockyard” exhibition, where you can learn about the history of royal dockyard in Thailand, dating back to the Thonburi Era when it was
POWER MAGAZINE
the royal resident of Somdet Chaophraya Maha Kasatsuek who later crowned himself and became King Rama I. King Rama V ordered battleships from overseas and presented a piece of land to be used as a dockyard. His Majesty King Rama V presided over the opening of the Royal Dockyard on January 9, 1890. The Naval Dockyard Department has since then regarded this auspicious day as the Naval Dockyard Department Foundation Day. The next exhibition “From the Royal Dockyard to the Naval Dockyard Department” tells you about the importance of the Royal Dockyard and its role in protecting the country. His Thai Majesty’s Ship Phra Ruang was the first royal warship of the country funded by the public and government officials. Admiral Prince Abhakara Kiartivongse, Prince of Chumphon went to Europe to negotiate the purchase personally and commanded the ship during its subsequent voyage from England to Thailand, arriving in Thailand on 7 October 1920. “The King and Naval Architecture” presents the remarkable talents of His Majesty King Bhumibol Adulyadej in naval architecture, an interest he had taken at a young age. In addition to having built boats, His Majesty also offered many naval architecture ideas for the Royal Thai Navy. On a visit to Germany in 1960, His Majesty felt that the Royal Thai Navy should be able to make its own a coastal patrol boat to support the locals as well as to improve knowledge in this field, leading to the construction of Tor 91, a coastal patrol boat. After Tor 91 came others, up until the 9th edition, Tor 99, which is built in 1987. In 2002, Tor 991 was constructed -- basically a 10% larger version of the Tor 99. His Majesty considered the design of the Tor 991, and made comments which subsequently led to the birth of the Tor 996. “Strengthening the Royal Thai Navy’s Maritime Power” showcases the Naval Dockyard Department’s advancement
Special Edition
as well as the process involved in shipmaking, from the design to the auspicious blessing of the ship ceremony. “Preservation of the Nation’s Cultural Legacy” tells the history of the Royal Barge Narai Song Suban HM King Rama IX, built to commemorate the 50th anniversary of His Majesty King Bhumibol Adulyadej’s accession to the throne in 1996. On the first floor are two zones -- “Preparing for Combats” and “Dockyards and Shipbuilding Industry of Thailand”. You can see the tools required to build and repair a warship, as well as the private sector’s advancement in naval architecture. The highlights are the Tor 991 prototype and unmanned underwater vehicles (UUV) used in naval forces training.
สถานที่: พิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวงเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา กรมอู่ทหารเรือ ถนนอรุณอมรินทร์ วัน-เวลาท�ำการ: เปิดให้เข้าชมเป็นหมู่คณะ วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00-16.00 น. (หยุดวันเสาร์-วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) โทรศัพท์: 0 2475 5368 เว็บไซต์: www.rtnd-museum.com ค่าเข้าชม: ไม่เก็บค่าเข้าชม โดยต้องท�ำหนังสือขออนุญาตถึง กรมอู่ทหารเรือ
Venue: Royal Dockyard Museum Commemorating His Majestic King Bhumibol’s 84th Anniversary, Naval Dockyard Department, Arun Amarin Road. Date and Time: Open for group visits on Mondays-Fridays at 9am-4pm (closed on weekends and public holidays). Tel: 0 2475 5368 Website: www.rtnd-museum.com Admission: Free admission, but must request entry in writing, submitted to Naval Dockyard Department.
45
The Beloved King
ตราไปรษณียากร หรือแสตมป์ดวงเล็กๆ บนมุมขวาของซองจดหมาย ไม่ ได้มีหน้าที่เพียงเป็นหลักฐาน การชำ�ระค่าบริการไปรษณีย์ แต่ยังเป็นหนึ่งในตัวแทนที่ ใช้บันทึกหน้าประวัติศาสตร์ของประเทศได้อย่างน่าอัศจรรย์ ถ้าไม่เชื่อ ลองไปพิสูจน์คุณสมบัติจิ๋วแต่แจ๋วของแสตมป์ดวงน้อยเหล่านี้ ในฐานะมรดกแห่งความทรงจ�ำได้ในนิทรรศการ “แสตมป์ของพ่อ 2493 เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ซึ่งไปรษณีย์ไทยตั้งใจจัดขึ้นเพื่อ น้อมร�ำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช โดยคัดสรรแสตมป์ในชุดที่เกี่ยวข้องและเกี่ยวเนื่องกับรัชกาลที่ 9 จ�ำนวนทั้งหมด 79 ชุด 353 แบบ สะท้อนเรื่องราวตลอดช่วงระยะเวลา 70 ปี ที่ทรงครองราชย์ออกมาได้อย่างน่าสนใจ ภายใต้กรอบแนวคิด “2493 เพื่อ ประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ซึ่งเป็นปีที่มีเหตุการณ์ส�ำคัญคือ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช น�ำเสนอเป็นห้องจัดแสดงต่างๆ เล่าเรื่องผ่านวีดิทัศน์ แอนิเมชั่น และแสตมป์ โดยแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 5 โซนหลัก และในการเข้าชมนั้นจะแบ่งเป็นรอบๆ มีเจ้าหน้าที่น�ำชมเพื่อให้ความรู้และตอบข้อสงสัย เริ่มจากโซนที่ 1 “5 พฤษภาคม 2493 ปฐมบทแห่งความสุขของคนไทย” บทเกริ่นน�ำของนิทรรศการที่เริ่มต้นด้วยพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาท 46
สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และพระปฐมบรมราชโองการ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ซึ่งเปรียบเป็นค�ำมั่นสัญญาที่พระองค์ พระราชทานแก่ประชาชนชาวไทยและทรงรักษาไว้ตลอดพระชนม์ชีพ ภายในห้องนี้ นอกจากแสตมป์ที่เกี่ยวเนื่องกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว ยังมีแสตมป์ที่บอกเล่าถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งทรงออกผนวช และดวงแสตมป์ ที่พระองค์ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จออกมหาสมาคม ณ สีหบัญชร เป็นครั้งแรกจัดแสดงให้ชมด้วย โซนที่ 2 “2 พระองค์ คู่พระบารมี” ถ่ายทอดเรื่องราวของพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เริ่มต้นตั้งแต่พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส โดยจัดแกลเลอรี่ ภาพแสตมป์ของทั้งสองพระองค์ และวีดิทัศน์ที่ทั้งสองพระองค์ประทับ เคียงคู่กันเสมอมา เพื่อให้ผู้ชมปลาบปลื้ม มีความสุข และระลึกถึง 2 พระองค์ ที่ทรงเป็นคู่พระบารมีที่รักยิ่งของประชาชนชาวไทย ไฮไลต์ในห้องนี้คือ POWER MAGAZINE
PH OTOG R AP H ER : SU PACH AT V ETC HA M ALE EN ON T
Postage stamps usually seen on the top right corner of envelopes are not only a proof of postage payment, but also illustrate the country’s history.
ดวงแสตมป์ของ 2 พระองค์ที่ออกแบบเป็นรูปหัวใจและใช้เทคนิคพิเศษประดับ คริสตัลสวารอฟสกี้ โซนที่ 3 “4 ภาค เสด็จฯ เยี่ยมราษฎร” จัดแสดงแสตมป์ที่มีเนื้อหา เกี่ยวกับการเสด็จพระราชด�ำเนินเยี่ยมราษฎรทั่วประเทศ ท�ำให้พระองค์ ทอดพระเนตรเห็นชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน น�ำมาซึ่งพระราชปณิธาน ที่ทรงมุ่งมั่นทรงงานเพื่อช่วยเหลือประชาชนทุกท้องถิ่น นอกจากดวงแสตมป์แล้ว ยังมีพระบรมฉายาลักษณ์ของ 2 พระองค์ประทับบนรถไฟพระที่นั่ง อันเป็น สัญลักษณ์ของการเสด็จพระราชด�ำเนินเยี่ยมราษฎรทั้ง 4 ภาค ตลอดจน พระบรมฉายาลักษณ์ของ 2 พระองค์ เสด็จพระราชด�ำเนินท่ามกลางราษฎร ในภูมิภาคต่างๆ โซนที่ 4 “9 ท�ำ เพื่อพสกนิกร” จัดแสดงแสตมป์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับโครงการ ในพระราชด�ำริที่พระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย โดยเฉพาะโครงการส�ำคัญ 9 โครงการ อันเป็นประจักษ์พยานในการ “ครองแผ่นดินโดยธรรม” เพื่อสร้าง “ประโยชน์” และ “ความสุข” ให้แก่ “มหาชนชาวสยาม” เพิ่มความน่าสนใจ โดยการน�ำเสนอด้วยภาพกราฟิกบนจอ LED ขนาด 6 เมตร เป็นภาพกราฟิก จากภูเขาถึงทะเล และภาพแสตมป์ที่บันทึกโครงการอันทรงคุณค่าจากการ ทรงงานหนักเพื่อพสกนิกรของพระองค์ เช่น แสตมป์โครงการฝนหลวง ซึ่งมี การใช้เทคนิคพิเศษอย่างภาพโฮโลแกรม 3 มิติ แสตมป์โครงการชั่งหัวมัน แสตมป์โครงการกังหันน�้ำชัยพัฒนา เป็นต้น Special Edition
โซนที่ 5 “3 ค�ำสอน ศาสตร์พระราชา” เป็นบทสรุปของนิทรรศการ กับ 3 ค�ำสอนของพระราชา ได้แก่ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ซึ่งเป็นหลักที่ทุกคน สามารถน�ำไปใช้เป็นแนวทางในการด�ำเนินชีวิต การงาน เพื่อสานต่อ แนวพระราชด�ำริ “ตามรอยพ่อ” ภายในห้องนี้จัดแสดงแสตมป์ที่เกี่ยวกับ การทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ส�ำหรับ แสตมป์ดวงไฮไลต์ในห้องนี้คือ แสตมป์ที่ระลึกฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี ซึ่งเป็นแสตมป์ชุดที่ยาวที่สุดในโลก คือ 170 มิลลิเมตร และนับเป็นแสตมป์ ชุดสุดท้ายแห่งรัชกาลที่ 9 ถ่ายทอดเรื่องราวของศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ 6 แห่งทั่วประเทศเชื่อมต่อกันแบบพาโนรามา นอกจากนี้ยังได้ชื่อว่าเป็นแสตมป์มีชีวิต เพราะสามารถสแกนเพื่อรับชม คลิปวิดีโอได้ด้วยเทคโนโลยี AR (Augmented Reality) เพียงใช้สมาร์ทโฟน ดาวน์โหลดแอป ASEAN Stamp แล้วมาสแกนที่ภาพแสตมป์ เพื่อรับชม คลิปวิดีโอเกี่ยวกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ทั้ง 6 แห่ง แสตมป์อีกดวงหนึ่งที่ น่าสนใจไม่แพ้กัน คือแสตมป์ที่ระลึกวันเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพ.ศ. 2554 ซึ่งมีการใช้เทคนิคพิเศษผนึกเมล็ดพันธุ์ข้าวพระราชทานที่ใช้ในพระราชพิธี พืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญไว้บนดวงแสตมป์ นอกจากทัง้ 5 โซนทีช่ วนให้เพลินในโลกของแสตมป์ จนอยากเก็บทุกเรือ่ งราว ไว้ในกล่องแห่งความทรงจ�ำแล้ว ยังมีอีก 1 โซนพิเศษ คือ “มรดกจากพ่อ” เป็นโซนที่จัดแสดงแสตมป์ทุกชุดในสมัยรัชกาลที่ 9 ทั้งหมด 79 ชุด 353 แบบ 47
The Beloved King
แบ่งออกเป็นแสตมป์ที่ใช้งานจริง และแสตมป์ส�ำหรับสะสม ชมจนเพลินแล้ว อย่าลืมเก็บภาพความประทับใจในโซน “สุขที่พ่อให้ จากดวงใจประชาชน” ซึ่งจัดให้ผู้เข้าชมนิทรรศการได้ร่วมบันทึกภาพประวัติศาสตร์กับแสตมป์ดวงใหญ่ ที่จัดท�ำเป็นพิเศษ โดยจ�ำลองจากแสตมป์ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จออกมหาสมาคม ณ สีหบัญชร เป็นครั้งแรก และแสตมป์ที่ได้ชื่อว่าเป็น แสตมป์ดวงแรกของแผ่นดินรัชกาลที่ 9 พร้อมจ�ำลองตู้ไปรษณีย์โบราณสีแดง มาไว้ให้เก็บภาพความประทับใจอย่างไม่รู้ลืม
You will see how these stamps let us in on Thai history when you get to see the exhibition, “The Stamps of Fatherly King 2493 for the Benefits and Happiness of the Siamese People”. Organised to honour the late King, Thailand Post presents exclusive stamp collections, from 79 issues, 353 designs of His Majesty King Bhumibol Adulyadej, displayed to narrate special moments throughout the seven decades of His Majesty’s reign. The concept “2493 for the Benefits and Happiness of the Siamese People” is linked with the digit numbers 2, 4, 9 and 3 of the year 2493 in Buddhist Era (1950 in Christian Era) when His Majesty King Bhumibol’s coronation as monarch took place and the newly-crowned king pronounced traditional coronation oath. The stories are told through videos, animation, and exclusive stamps. The exhibition consists of five main exhibit sections, and in each session, there are staff members to explain about the section and answer any questions. The first zone, “5th May 1950: Genesis of Thai People’s Happiness”, is the introduction of the exhibition beginning from the coronation ceremony of His Majesty King Bhumibol Adulyadej and his
48
traditional oath of accession: “I shall reign with righteousness for the benefits and happiness of the Siamese people”, delivered on 5 May 1950. It was a promise that His Majesty had given to his people, and kept it throughout his life. There are stamps from the coronation, His Majesty’s ordination, and when His Majesty King Bhumibol Adulyadej and Her Majesty Queen Sirikit came out onto the Sihabanchorn Balcony for the first time. The second zone, “The Royal Couple”, presents the story of His Majesty King Bhumibol Adulyadej and Her Majesty Queen Sirikit, starting from the Royal Coronation Ceremony. The story is narrated as a gallery, containing a collection of photos and motion videos of the royal couple, who have brought great joys to the people of Thailand. The highlight is the heart-shaped stamps, embellished with Swarovski crystals, issued in 2010 to celebrate Their Majesties’ wedding anniversary. The third zone, “4 Regions Graced by the King’s Presence”, displays the royal visits to every parts of Thailand to develop people’s life quality, starting from the first royal visit of His Majesty King Bhumibol Adulyadej. In addition to stamps, there are also images of the royal couple on the royal train, the symbol of the royal visits to four regional areas of Thailand, as well as Their Majesties’ images from their visits to various parts of the country. The fourth zone, “9 Works for Thai Subjects”, shows nine Royal Projects of His Majesty King Bhumibol Adulyadej, which brings “happiness” to the Siamese people, displaying with the background of mountain scenery to sea scenery on a 6-metre LED screen,
POWER MAGAZINE
as well as stamps about the Royal Projects which His Majesty had initiated for his people, such as the Royal Rainmaking Project, presented as a 3D hologram, Chang Hua Man Royal Project, and Chaipattana Aerator Project. The fifth zone is “3 Principles of the King’s Philosophy” concludes the 3 keywords of His Majesty King Bhumibol Adulyadej’s three guiding principles, “Understand, Access, and Develop”. This section exhibits the stamps representing His Majesty’s works and “His Majesty the King’s Doctrine”. In this zone, the highlight is a historic stamp said to be the world’s longest stamp for sale to the public to celebrate the 70th Anniversary of His Majesty King Bhumibol Adulyadej’s accession to the throne, 170mm in length. It was the last stamp set under the reign of King Bhumibol Adulyadej, containing six images of His Majesty King Bhumibol Adulyadej at work with six major research and development centres which were launched by His Majesty for the benefits of the Thai people serving as the backdrop. This stamp will come alive, thanks to Augmented Reality technology. Download ASEAN Stamp application and scan the stamp to watch video clips about the six major research and development centres. Another important stamp in this zone is a stamp to honour His Majesty King Bhumibol Adulyadej’s 84th Birthday Anniversary and to show gratitude for what he had done for his subjects. Thailand Post has affixed rice grains given by the King to this set of postage stamps to add auspicious blessing to the collection. In addition to these five zones, there is another special zone, “Father’s Treasure”, which displays an exclusive stamp collection,
Special Edition
consisting of 79 issues, 353 designs of His Majesty King Bhumibol Adulyadej, both actual stamps for use and stamps for collection. Do not forget to take pictures in the “Happiness Bestowed by Our Fatherly King” zone, where visitors can take pictures with a special oversized stamp of Their Majesties on their first appearance on the Sihabanchorn Balcony, and a stamp considered to be the first stamp in the reign of King Bhumibol Adulyadej. A traditional red postal box is on display for visitors to take pictures with.
สถานที่: นิทรรศการ “แสตมป์ของพ่อ 2493 เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชน ชาวสยาม” ชั้น 1 อาคารไปรษณีย์กลาง บางรัก กรุงเทพฯ วัน-เวลาท�ำการ: วันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 09.00-19.00 น. (หยุดวันจันทร์) จัดแสดงถึงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560 โทรศัพท์: 1545 เว็บไซต์: www.thailandpost.co.th ค่าเข้าชม: ฟรี พร้อมรับโปสการ์ดและบัตรภาพผนึกตราไปรษณียากรรัชกาลที่ 9 เป็นที่ระลึก
Venue: “The Stamps of Fatherly King 2493 for the Benefits and Happiness of the Siamese People” exhibition, 1st floor, Grand Postal Building, Bangrak, Bangkok. Date and Time: Tuesdays to Sundays, 9:00am-7pm (closed on Mondays) until October 31, 2017. Tel: 1545 Website: www.thailandpost.co.th Admission: Free. Every visitor will get a free exclusive postcard and a memorial postcard with the stamp attached as souvenirs.
49
Ancienne Académie อาคารเก่าของ มหาวิทยาลัยโลซาน (© Photo: LT/Laurent Kaczor)
Ancienne Académie is an old building of the University of Lausanne. (© Photo: LT/Laurent Kaczor)
50
POWER MAGAZINE
STORY & PHOTOGRAPHY • PIYALAK NAKAYODHIN
เมืองโลซาน แห่งสมาพันธรัฐสวิส และกรุงเทพมหานคร แห่งราชอาณาจักรไทย สถาปนาความสัมพันธ์เป็นเมืองพี่เมืองน้อง Lausanne, Switzerland and Bangkok, Thailand are sister cities.
Special Edition
51
The Beloved King
นอกจากเพือ่ ส่งเสริมความร่วมมือกันอย่างใกล้ชดิ ในด้านต่างๆ อาทิ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม การศึกษา การท่องเที่ยวและกีฬา ยังเป็นความสัมพันธ์ที่ผูกพัน แน่นแฟ้นเข้าไปถึงจิตวิญญาณอย่างยากจะหา เมืองใดให้ความรู้สึกล�้ำลึกเช่นนี้ได้ เนื่องเพราะ เจ้านายเล็กๆ 2 พระองค์แห่งราชสกุลมหิดล ซึ่งต่อมา ขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 8 และ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงใช้ชีวิตวัยเยาว์ และทรงได้รับการอภิบาลเลี้ยงดูที่โลซานนานถึง 18 ปี เมืองโลซานและหน่วยงานการท่องเที่ยวตระหนักและ ภาคภูมิใจในมิตรภาพและสายสัมพันธ์นี้เป็นอย่างดี จึงจัดท�ำเส้นทางตามรอยพระบาทในพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 10 สถานที่ ให้นักท่องเที่ยวไทยได้เยี่ยมชมและร�ำลึกถึงคืนวัน ในโลซานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันท มหิดล รวมถึงสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
To promote cooperation in various fields, such as culture, environment, education, tourism and sports, as well as to nurture the long-lasting friendship the two countries have developed over the years, since two Thai princes of the Mahidol family, who later grew up to be King Rama VIII and King Rama IX of Thailand, spent 18 years of their childhood in Lausanne, the City of Lausanne and its tourism department cherish the beautiful relationship and therefore have created
a special route, called “In the Footsteps of His Majesty King Bhumibol Adulyadej”. The route includes 10 meaningful places which Thai people can visit and remember King Ananda Mahidol, King Bhumibol Adulyadej, HRH Princess Srinagarindra, the Princess Mother, and HRH Princess Galyani Vadhana.
1. OLD ACADEMY (ANCIENNE ACADÉMIE)
ในเขตเมืองเก่าอันโดดเด่นด้วยมหาวิหาร โลซาน มีมหาวิทยาลัยโลซานตั้งอยู่ใกล้เคียงกัน อาคารมหาวิทยาลัยเก่า (Ancienne Académie) ที่บัดนี้เป็นวิทยาลัย Cité College เนื่องจาก ย้ายมหาวิทยาลัยออกไปนอกเมือง คือที่ซึ่งในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเปลี่ยน มาศึกษาด้านนิติศาสตร์ในช่วงปีพ.ศ. 2489-2494 โดยในหลวงรัชกาลที่ 8 และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ทรงศึกษาที่นี่เช่นกัน ถัดไป ทางทิศเหนือ คือปราสาทยุคกลาง Château Saint-Maire ที่ใช้เป็นท�ำเนียบเจ้าครองแคว้นและ ได้ใช้เป็นที่ประทับและจัดพิธีเลี้ยงรับรองเมื่อครั้ง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ ิ์ พระบรมราชินนี าถ เสด็จพระราชด�ำเนินเยือนประเทศต่างๆ ในยุโรปอย่าง เป็นทางการในปีพ.ศ. 2503 โดยทรงเลือกโลซานเป็น ศูนย์กลางในการเสด็จฯ
At the heart of the old town, where the majestic Lausanne Cathedral overlooks the city, 1
lies Ancienne Académie (Old Academy in English). Here is the place where His Majesty King Bhumibol Adulyadej studied Sciences originally, but changed to Political Science and Law during 1946-1951. His Majesty King Ananda Mahidol and Her Royal Highness Princess Galyani Vadhana also studied there. Located on the far north end of the City hill is the Château Saint-Maire which has been the seat of regional power since it was established. The castle has served as the venue of special reception parties and it welcomed His Majesty King Bhumibol Adulyadej and Her Majesty Queen Sirikit when they embarked on an international tour of state visits in 13 European countries back in 1960. Address: Ancienne Académie -- Rue Cité-Devant 7, 1005 Lausanne, Switzerland.
2. RUMINE PALACE (PALAIS DE RUMINE)
ขณะมีพระชนมายุ 19 พรรษา ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงศึกษาทีม่ หาวิทยาลัยโลซาน นอกจาก ทรงเข้าชั้นเรียนที่อาคารมหาวิทยาลัยเก่า ยังทรง เล่าเรียนที่อาคาร Palais de Rumine ซึ่งปัจจุบันคือ ห้องสมุดของมหาวิทยาลัย และพิพธิ ภัณฑ์ประจ�ำรัฐโว ประกอบด้วยพิพิธภัณฑ์ 5 แห่ง ว่าด้วยวิจิตรศิลป์ ธรณีวิทยา สัตววิทยา โบราณคดี-ประวัติศาสตร์ และพิพิธภัณฑ์เงินตรา 1. ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเล่าเรียนที่อาคาร Palais de Rumine
His Majesty King Bhumibol Adulyadej spent a lot of time studying at the Palais de Rumine.
2. อาคารหอพัก ของโรงเรียน École Nouvelle de la Suisse Romande
de la Suisse Romande.
4. ภายในห้องเรียน ซึ่งยกเก้าอี้ขึ้นวางบนโต๊ะ หลังเลิกเรียน Chairs are placed on the tables after school.
5. ห้องพักรวม สำ�หรับนักเรียน ประจำ�
Boarding facilities for students.
The boarding facilities of École Nouvelle de la Suisse Romande.
3. มร. ลีซองดร์ เซ. เซไรดารีส ในอาคาร หลังใหม่ของ École Nouvelle de la Suisse Romande
52
Mr. Lysandre C. Seraidaris at the new building of École Nouvelle
POWER MAGAZINE
Special Edition
2
3
4
5
53
The Beloved King
6
6. ด้านนอกอาคาร Clinique Cecil
Outside Clinique Cecil.
7. ทูลกระหม่อมหญิง อุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติ ณ Clinique de Montchoisi
Princess Ubolratana Rajakanya was born at Clinique de Montchoisi.
8. Montchoisi Ice Rink ปิดทำ�การ ในช่วงเปลี่ยนฤดู
Montchoisi Ice Rink is closed seasonally.
7
When His Majesty King Bhumibol Adulyadej was 19 years old, he studied at the University of Lausanne in Switzerland, and spent a lot of time studying at both Ancienne Académie and the Palais de Rumine. Today, the Palais de Rumine houses the cantonal museums of fine art, geology, zoology, archaeology and history, the Cantonal Money Museum, and the cantonal and university library. Address: Palais de Rumine -- Place de la Riponne 6, 1005 Lausanne, Switzerland. www.musees.vd.ch/palais-de-rumine/accueil/
3. ÉCOLE NOUVELLE DE LA SUISSE ROMANDE IN CHAILLY
โรงเรียนสหศึกษาเอกชนที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2449 ด้วยแนวคิดใหม่ที่จัดการเรียนการสอน ให้ยืดหยุ่นเหมาะสมกับนักเรียนแต่ละคน การสอน ของครูไม่ได้ถกู เสมอ นักเรียนสามารถแสดงความ คิดเห็น วิเคราะห์ แลกเปลี่ยนได้ อีกทั้งไม่เน้นวิชาการ อย่างเดียว ยังส่งเสริมทักษะอืน่ ๆ อาทิ ท�ำสวน ปลูกผัก ดูแลสัตว์ งานช่าง กีฬา ฯลฯ เมื่อได้เข้าไปเยี่ยมชม โดยมีการติดต่อล่วงหน้า และมีผพู้ าชม คือมร. ลีซองดร์ เซ. เซไรดารีส ผู้เขียนหนังสือ “พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ วั ฯ รัชกาลที่ ๙ และเจ้านายไทยในโลซานน์” 54
อันเป็นบันทึกความทรงจ�ำของคุณพ่อเกลย์อง เซ. เซไรดารีส ครูส่วนพระองค์ในรัชกาลที่ 8 และ 9 เห็นได้เลยว่าโรงเรียนแห่งนี้มีบรรยากาศการศึกษา ที่สร้างเสริมแรงบันดาลใจและความคิดสร้างสรรค์ ทั้งด้านวิชาการ สังคม วัฒนธรรม กีฬา ความที่เป็น ทั้งโรงเรียนประจ�ำและไป-กลับ ที่มีเด็กต่างเชื้อชาติ ต่างศาสนา ต่างภาษา ร่วมอยู่ร่วมเรียนด้วยกัน ท�ำให้ เด็กนักเรียนเคารพในความแตกต่างและให้เกียรติกัน ส่งผลดีไปถึงเมื่อเด็กเติบใหญ่ ดังที่ครูเกลย์องบอกว่า นี่คือมิตรภาพยั่งยืนที่ไม่ลุกมาเป็นศัตรูกัน ระหว่างอาคารเรียนกับหอพักของโรงเรียน มีอาคารหลังใหม่ ซึ่งในปีพ.ศ. 2553 สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปทรงเป็น ประธานในพิธีเปิดอาคาร ที่ด้านหน้ามีป้ายสลัก ตราสัญลักษณ์ประจ�ำพระองค์ในหลวงรัชกาลที่ 9 จารึกข้อความภาษาฝรั่งเศสแปลความว่า “อาคาร หลังนี้อุทศิ แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช และพระเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ทรงเข้ารับการศึกษา ระหว่างปีค.ศ. 1935-1945” นับเป็นเกียรติสูงสุดและ แสดงถึงประวัติศาสตร์ของโรงเรียนที่มีความผูกพัน กับประเทศไทย
École Nouvelle de la Suisse Romande (ENSR) is a co-educational private school established in 1906. The curriculum is flexible to suit each individual, and here, what the
teachers say is not always the ultimate answer -- the students are encouraged to express their opinions and exchange their views. The school allows each student to develop their skills through activities such as farming, crafts, and sports. We were shown around the school by Mr. Lysandre C. Seraidaris, who wrote “King Bhumibol and the Thai Royal Family in Lausanne”, a book based on the memories of Mr. Cleon C. Seraidaris, a polymath private tutor to the two monarchs. Evidently, the atmosphere of the school encourages inspiration and creativity in academics, society, culture and sports. The school also offers boarding facilities and the students come from various backgrounds, living together in harmony with respect for one another. Mr. Cleon said such upbringing would help the students grow up to be friends, not enemies. Between the classroom building and the boarding facilities is a new building. In 2010, HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn presided over the opening of this building. A plaque honouring the two boys who became kings adorns the front of
POWER MAGAZINE
the school’s new building, saying in French, “This building is dedicated to King Ananda Mahidol and King Bhumibol Adulyadej who studied here during 1935-1945”. It is a great honour and shows the school’s deep ties with Thailand. Address: École Nouvelle de la Suisse Romande -- Chemin de Rovéréaz 20, 1012 Lausanne, Switzerland. Tel: +41 21 654 65 00 www.ensr.ch
4. CLINIQUE CECIL
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ โดยรถไฟพระที่นั่งจาก สถานีโลซานไปเมืองท่าเจนัว เพื่อประทับเรือเมโอเนีย เสด็จนิวัตประเทศไทยในปีพ.ศ. 2494 หากเดินออก จากสถานีรถไฟโลซานมาทางจัตุรัสสถานี เดินต่อไป ทางตะวันตกเข้าสู่ถนนรูชงเน ไปราว 650 เมตร จะพบกับ Clinique Cecil ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเข้ารับการรักษาหลังทรงประสบอุบัติเหตุทาง รถยนต์เมื่อปีพ.ศ. 2491 ขณะประทับรักษาพระองค์ ที่นี่เอง ได้มีพระราชกระแสรับสั่งให้ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร เข้าเฝ้าถวายการพยาบาล ท�ำให้ทั้งสอง พระองค์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมากขึ้น
His Majesty King Bhumibol Adulyadej and Her Majesty Queen Sirikit once took the train from Lausanne to Genoa, where they travelled on a Danish liner, SS Meonia, back to Thailand in 1951. From the Lausanne Station, you can walk towards Place de la Gare and head west to Avenue Ruchonnet for 650 metres and you will see Clinique Cecil where His Majesty King Bhumibol Adulyadej was treated after a car accident in 1948. It was during his stay at Clinique Cecil that he asked MR Sirikit Kittiyakorn to take care of him, and the two developed a closer relationship. Address: Clinique Cecil -- Avenue Ruchonnet 53, 1003 Lausanne, Switzerland. Tel: +41 21 310 50 00 www.hirslanden.ch/cecil
5. AVENUE TISSOT 16
บ้านเลขที่ 16 ถนนติสโซ คือที่ประทับหลังแรก ในโลซานของครอบครัวราชสกุลมหิดล เป็นอาคาร ที่พักอาศัย ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเลือกอพาร์ตเมนต์บนชั้น 1 เป็นที่ประทับ เพื่อไม่เป็นการรบกวนเพื่อนร่วมอพาร์ตเมนต์มากนัก เนื่องจากพระราชโอรสและพระราชธิดายังทรง
พระเยาว์ ความสงบเงียบร่มครึ้มน่าอยู่ของบริเวณนี้ ชวนให้ซาบซึ้งว่าทุกพระองค์ทรงพระเกษมส�ำราญ ขณะประทับที่นี่
Avenue Tissot 16 was the first home of the Mahidol family in Lausanne. HRH the Princess Mother chose the apartment on the first floor as their home in order not to disturb the neighbours too much, since her children were still young. It is a peaceful place, and it’s not hard to imagine how the young princes and princess enjoyed their childhood here. Address: Avenue Tissot 16, 1006 Lausanne, Switzerland.
6. CLINIQUE DE MONTCHOISI
สถานที่ประสูติของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี พระราชธิดาใน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ อยู่ในย่านมงต์ชัวซี ใกล้พิพิธภัณฑ์โอลิมปิกและ เขตอูชี ท่าเรือริมทะเลสาบเจนีวา
The birth place of Princess Ubolratana Rajakanya, the eldest daughter of His Majesty King Bhumibol Adulyadej and Her Majesty
8
Special Edition
55
The Beloved King
โรงแรมหรูริมทะเลสาบเจนีวาได้ต้อนรับ อาคันตุกะจากประเทศไทย ทั้งสมเด็จ พระบรมราชชนก และสมเด็จพระบรมราชชนนี This luxury hotel by Lake Geneva has welcomed royal guests from Thailand such as the Prince Father and the Princess Mother
9
Queen Sirikit, Clinique de Montchoisi is located near the Olympic Museum and Ouchy, a port at the edge of Lake Geneva. Address: Clinique de Montchoisi -Chemin des Allinges 10, 1006 Lausanne, Switzerland. Tel: +41 21 619 39 39 www.montchoisi.ch/en/
7. MONTCHOISI ICE RINK
ย่านมงต์ชัวซี อยู่ในระยะเดินถึงจากต�ำหนักวิลล่า วัฒนา จึงข้องเกี่ยวในกิจกรรมต่างๆ ของครอบครัว ราชสกุลมหิดล ลานสเก็ตน�้ำแข็งมงต์ชัวซีเปิดท�ำการ มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2477 สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนีและในหลวงทั้งสองพระองค์ทรงสเก็ต ที่ลานแห่งนี้ ติดกันคือสนามเทนนิสที่สมเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงเล่น
Montchoisi is a walking distance from Villa Vadhana Palace and was the venue of numerous activities for the Mahidol family. Montchoisi Ice Rink was opened in 1934, and the Princess Mother took her two sons to ice skate here. Next to it is a tennis court where the Princess Mother used to play tennis. Address: Montchoisi Ice Rink -- Avenue A.-M. Servan 30, 1006 Lausanne, Switzerland. Tel: +41 21 315 49 62
8. HOTEL ROYAL SAVOY
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีโปรด โรงแรมแห่งนี้ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ลานสเก็ตมงต์ชัวซี เปิดท�ำการมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2452 โรงแรมรอยัลซาวอย เพิ่งปรับปรุงครั้งใหญ่และเปิดให้บริการอีกครั้งเมื่อ ปลายปีพ.ศ. 2558 โดยยังคงความสง่างามของฟาซาด ยุคแบลล์อีป็อกและเฟรสโก อีกทั้งเติมแต่งความ สะดวกสบายและทันสมัยเพิ่มเข้ามาได้อย่างไร้ที่ติ
The Princess Mother loved this hotel, which is located not far from Montchoisi Ice Rink. Opened in 1909, Hotel Royal Savoy has recently been renovated and reopened in 2015. It still features Belle Epoque and fresco architecture, with an addition of modern facilities. Address: Hotel Royal Savoy -- Avenue d’Ouchy 40, 1006 Lausanne, Switzerland. Tel: +41 21 614 88 88 www.royalsavoy.ch/en
9. HOTEL BEAU-RIVAGE PALACE
โรงแรมหรูริมทะเลสาบเจนีวาได้ต้อนรับ อาคันตุกะจากประเทศไทย ทัง้ สมเด็จพระบรมราชชนก และสมเด็จพระบรมราชชนนี ตลอดจนพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่เสด็จฯ ประทับ 10
56
POWER MAGAZINE
เมื่อวันที่ 10-17 มกราคม พ.ศ. 2504 รวมถึง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ในปีพ.ศ. 2544
This luxury hotel by Lake Geneva has welcomed royal guests from Thailand such as the Prince Father and the Princess Mother, His Majesty King Bhumibol Adulyadej and Her Majesty Queen Sirikit during their visit on January 10-17, 1961, and HRH Princess Chulabhorn in 2001. Address: Hotel Beau-Rivage Palace -- Place du Port 17-19, 1006 Lausanne, Switzerland. Tel: +41 21 613 33 33 www.brp.ch
10. THE OUCHY QUAYS AND DENANTOU PARK
จากโรงแรมโบ-ริวาจ พาเลซ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงพระด�ำเนินไปตามท่าเรืออูชีที่มีทัศนียภาพ สวยงามของทะเลสาบเจนีวากับเทือกเขาแอลป์ ครั้งที่เสด็จฯ เยือนยุโรปอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2503 ทรงพาพระราชโอรสและพระราชธิดา เสด็จฯ ประทับเรือจักรยานน�้ำแล่นไปในทะเลสาบ ดั่งที่พระองค์ทรงพระเกษมส�ำราญขณะทรงพระเยาว์ ใกล้กันนั้นคือ สวนสาธารณะเดอน็องตู เคยเป็น ที่ทรงส�ำราญพระราชอิริยาบถ จึงเป็นสถานที่ 12
9. ครอบครัวราชสกุล มหิดลประทับที่ อพาร์ตเมนต์ ชั้น 1 ของบ้านเลขที่ 16 ถนนติสโซ
The Mahidol family lived in an apartment on the first floor of Avenue Tissot 16.
10. โรงแรม Beau-Rivage Palace หน้าทะเลสาบ เจนีวา (© Photo: Beau Rivage Palace) Hotel Beau-Rivage Palace looks out over Lake Geneva.
Special Edition
(© Photo: Beau Rivage Palace)
11. ศาลาไทย ในสวนสาธารณะ เดอน็องตู
A royal Thai pavilion in Denantou Park.
12. Place de la Navigation จุดพักจอดเรือ ริมทะเลสาบเจนีวา Place de la Navigation near Lake Geneva.
11
เหมาะสมยิ่งในการตั้งศาลาไทย (Le Pavillon Thailandais) ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และเป็น ที่ระลึกในโอกาสครบรอบ 75 ปีแห่งการสถาปนา ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทย และสมาพันธรัฐสวิสในปีพ.ศ. 2549 สถาปัตยกรรมไทย ในแบบศาลาจัตุรมุขแห่งนี้ ยิ่งตอกย�้ำถึงความผูกพัน แน่นแฟ้นเข้าไปถึงจิตวิญญาณอย่างยากจะหา เมืองใดให้ความรู้สึกล�้ำลึกเช่นนี้ได้
From Hotel Beau-Rivage Palace, His Majesty King Bhumibol Adulyadej walked along Ouchy to see the beauty of Lake Geneva and the Alps during his state visit in 1960. His Majesty also took his son and daughters to take a pedal-boat tour in Lake Geneva, an activity His Majesty used to enjoy as a child. Near the lake is Parc du Denantou, where His Majesty came to relax as a child. It is home to the Thai Pavilion (Le Pavillon Thailandais), built to mark the 60th anniversary of the accession to the throne of His Majesty King Bhumibol Adulyadej and to celebrate the 75th anniversary of diplomatic relations between Thailand and Switzerland in 2006. This Thai architecture strengthens the ties between Thailand and Switzerland.
Address: Parc du Denantou (Denantou Park) -- Quai d’Ouchy, 1007 Lausanne, Switzerland.
*สถานที่ตามรอยพระบาทหลายแห่งเป็นสถานที่ ส่วนบุคคล การเยี่ยมชมพึงส�ำรวมและเคารพสิทธิ ส่วนบุคคล โดยเฉพาะที่ École Nouvelle de la Suisse Romande (ต้องติดต่อโรงเรียนล่วงหน้า), Avenue Tissot 16, Clinique Cecil และ Clinique de Montchoisi
*Many of these places are private properties so please be respectful, especially when visiting École Nouvelle de la Suisse Romande (please make an appointment in advance), Avenue Tissot 16, Clinique Cecil and Clinique de Montchoisi. **Special Appreciation to Switzerland Tourism (www.MySwitzerland.com), Lake Geneva Region (www.lake-geneva-region.ch), Lausanne Tourisme (www.lausanne-tourisme.ch), Swiss International Air Lines (www.swiss.com), Swiss Travel System (www.swisstravelsystem. com), Embassy of Switzerland in Bangkok, École Nouvelle de la Suisse Romande (www.ensr.ch), Hotel Royal Savoy (www.royalsavoy.ch/en) and Mr. Lysandre C. Seraidaris
57
The Beloved King
KING POWER PAYS RESPECT TO HM KING BHUMIBOL ADULYADEJ
กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ได้รับพระราชทานพระราชานุญาตให้ร่วมเป็นเจ้าภาพ บำ�เพ็ญกุศลถวายพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยมี วิชัย ศรีวัฒนประภา ประธานกรรมการ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยผู้บริหาร และพนักงาน กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
58
King Power Group was granted a permission to co-host the royal funeral rites of His Majesty King Bhumibol Adulyadej. King Power Chairman Vichai Srivaddhanaprabha presided over the ceremony and was joined by King Power executives and employees at the Dusit Maha Prasat Throne Hall, the Grand Palace.
POWER MAGAZINE