2014_พัฒนาการของผังบริเวณวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และการสำรวจภาคสนาม

Page 1

80

หนาจั่ว: วาดวยสถาปตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดลอม วารสารวิชาการ คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

NAJUA_2557_PART_02.indd 80

16/10/2557 18:22:04


พัฒนาการของผังบริเวณวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช จากหลักฐานทางประวัติศาสตร และการสํารวจภาคสนาม1 ดร. เกรียงไกร เกิดศิริ อาจารยประจําภาควิชาสถาปตยกรรม คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร บุณยกร วชิระเธียรชัย อาจารยประจําภาควิชาศิลปสถาปตยกรรม คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

บทคัดยอ

การศึกษาพัฒนาการของผังบริเวณวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชจากหลักฐานทาง ประวัติศาสตร และการสํารวจภาคสนาม มุงทําการศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับการกอรูป และ พัฒนาการของผังบริเวณ และรูปแบบศิลปสถาปตยกรรมของวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช โดยละเอียด โดยใชระเบียบวิธีวิจัยทางประวัติศาสตรสถาปตยกรรม ตลอดจนการใชหลักฐานทาง ประวัติศาสตรประเภทตางๆ สอบทวนกัน เพื่อใหทราบถึงประวัติศาสตรการกอสราง พัฒนาการทาง รูปแบบสถาปตยกรรม รวมกับการสํารวจรังวัดสถาปตยกรรมตางๆ ในวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช โดยละเอียด การจัดทําฐานขอมูลภาพถายปจจุบัน การคนควาขอมูลจากภาพถายเกา ตลอดจน การจัดทําแบบสถาปตยกรรม และแบบสถาปตยกรรมคอมพิวเตอรสามมิติ เพื่ออธิบายรูปแบบทาง สถาปตยกรรมของวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชอยางเปนระบบ เพื่อใชเปนขอมูลประกอบการ พิจารณาการเปนแหลงมรดกโลกทางวัฒนธรรม ทั้งนี้จากการศึกษาสามารถแบงพัฒนาการของผัง บริเวณวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชออกไดเปน 8 ระยะ ดังตอไปนี้ ระยะที่ 1. กอสรางองคพระบรมธาตุเจดีย ในปพ.ศ. 1719 ซึ่งในการกอสรางนั้นอาจจะมี การสรางเจดียร าย และวิหารหรือศาลาสําหรับประกอบพิธกี รรมทางศาสนาอยูค ดู ว ยแตไมมหี ลักฐาน ลายลักษณยืนยัน บทความนี้เปนสวนหนึ่งของ แผนงานวิจัยแผนยุทธศาสตรการขับเคลื่อนประเทศไทยเปนศูนยกลางการ ทองเทีย่ วของภูมภิ าคดวยการจัดการแหลงมรดกโลกในเอเชียตะวันออกเฉียงใตภาคพืน้ ทวีป. โดย อาจารย ดร. เกรียงไกร เกิดศิริ และคณะ. สนับสนุนทุนวิจยั โดยสํานักงานคณะกรรมการวิจยั แหงชาติ และสถาบันวิจยั และพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2556. 1

NAJUA_2557_PART_02.indd 81

16/10/2557 18:22:05


82

หนาจั่ว: วาดวยสถาปตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดลอม วารสารวิชาการ คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

ระยะที่ 2. พัฒนาการของผังบริเวณ อาจเปนไปได 3 แนวทาง คือ แนวทางที่ 2.1: กอสรางวิหารธรรมศาลา และทับเกษตร ในป พ.ศ. 1861 แนวทางที่ 2.2: มีการกอสรางโพธิมณเฑียรกอนหนาการสรางวิหารธรรมศาลา และทับเกษตร ในปพ.ศ. 1861 แนวทางที่ 2.3: มีการกอสรางโพธิมณเฑียรหลังการกอสรางวิหารธรรมศาลา และ ทับเกษตร ในปพ.ศ. 1861 แตตองกอนหนาการสรางวิหารเขียน ในปพ.ศ. 1919 ระยะที่ 3. กอสรางพระวิหารเขียน ในป พ.ศ. 1919 ระยะที่ 4. กอสรางระเบียงคตลอมผังบริเวณเขตพุทธาวาส ในปพ.ศ. 2036 และสันนิษฐาน วามีการลอมผนังวิหารธรรมศาลา และการกอทายวิหารใหเปนทายจรณัม และเชือ่ มตอกับระเบียงคต ระยะที่ 5. การบูรณะปฏิสังขรณวัดพระบรมธาตุครั้งใหญทั้งพระอาราม กลาวคือมีการ บูรณ-ปฏิสงั ขรณพระเจดียท ที่ ลายลงมาถึงบัลลังก ซึง่ คงไดมกี ารซอมวิหารเขียน ทับเกษตร และวิหาร พระมาดวย รวมไปถึงมีการปลูกตนศรีโพธิ์ที่นํามาจากลังกา และสรางโพธิมณเฑียรขึ้นใหม ระยะที่ 6. กอสรางวิหารที่ภายในประดิษฐานพระเจดีย และพระพุทธรูป เปนวิหารที่เรือน ยอดทรงมณฑป ในป พ.ศ. 2171 ระยะที่ 7. การสรางวิหารหลวงใหมลงตรงตําแหนงวิหารยอดมณฑปเดิม ซึ่งการกอสราง วิหารหลวงใหมนี้อยูในราวป พ.ศ. 2354-2382 ระยะที่ 8. การกอสรางระเบียงคตทางดานทิศเหนือเพิ่มเติม และการกอสรางซุมประตู เยาวราช ในป พ.ศ. 2452 คําสําคัญ: วัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช / วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช

/ ผังบริเวณ / ศิลปสถาปตยกรรมไทย / มรดกทางสถาปตยกรรม / มรดกพุทธศาสนสถาปตยกรรม, ประวัติศาสตรสถาปตยกรรม / มรดกโลก / มรดกโลกทางวัฒนธรรม / บัญชีรายชื่อชั่วคราว

NAJUA_2557_PART_02.indd 82

16/10/2557 18:22:05


ฉบับที่ 28 ประจําปการศึกษา 2557

83

1. ที่มาและความสําคัญของการศึกษา

จากการศึกษาในโครงการวิจัย 2 โครงการ คือ “โครงการวิจัยการศึกษาวิเคราะหคุณคา ศักยภาพ และแนวทางการเสนอแหลงมรดกทางวัฒนธรรมเพือ่ ขอรับการพิจารณาเปนแหลงมรดกโลก ทางวัฒนธรรมเพิ่มเติม” ภายใตแผนการวิจัย “แผนยุทธศาสตรขับเคลื่อนประเทศไทยเปนศูนยกลาง การทองเทีย่ วของภูมภิ าคดวยการจัดการทองเทีย่ วแหลงมรดกโลกในเอเชียตะวันออกเฉียงใตภาคพืน้ ทวีป” ซึง่ ไดรบั ทุนสนับสนุนจากสถาบันวิจยั และพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร และสภาวิจยั แหงชาติ ประจําป พ.ศ. 2556 และ “โครงการวิจยั มรดกทางสถาปตยกรรมวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช”2 อัน เปนโครงการสืบเนือ่ งจากการศึกษาวิจยั เพือ่ การถอดรหัสเอกสารสําคัญเกีย่ วกับจังหวัดนครศรีธรรมราช และภาคใตภายใต “ชุดโครงการวิจัย 100 เอกสารสําคัญเกี่ยวกับประวัติศาสตรไทย” สนับสนุนการ วิจัยจากสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยอาจารย ดร.วินัย พงศศรีเพียรเปนหัวหนา โครงการ ไดทาํ ใหผวู จิ ยั มีโอกา่สในการศึกษาขอมูลเกีย่ วกับพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชทัง้ ในแงของ เอกสารทางประวัติศาสตร และการศึกษาภาคสนามเชิงลึก จึงเปนที่มาขอบทความเรื่อง “พัฒนาการ ของผังบริเวณวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชจากหลักฐานทางประวัติศาสตร และการสํารวจภาค สนาม” ทีม่ งุ ทําการศึกษาแบบบูรณาการเครือ่ งมือวิจยั ทัง้ สองแบบเขาดวยกัน เพือ่ นําไปสูก ารแสวงหา องคความรูหลากมิติเกี่ยวกับวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช สําหรับศึกษาวิจัยนี้ใชชื่อเรียก “วัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช” แทนชื่อที่เปนทางการ ในปจจุบันวา “วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร” เพื่อใหตรงกับความหมายดั้งเดิม วัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราชเปนแหลงมรดกทางวัฒนธรรมพุทธศาสนาที่สําคัญ อันแสดงถึงการประดิษฐาน พระพุทธศาสนาในพืน้ ทีค่ าบสมุทรภาคใต โดยสะทอนใหเห็นถึงความสัมพันธทางศาสนากับเมืองพุทธ ศาสนาตางๆ โดยเฉพาะลังกา และเมื่อพระพุทธศาสนาไดประดิษฐานยังมั่นคงแลว นครศรีธรรมราช ก็ยังทําหนาที่เปนศูนยกลางการศึกษาพระพุทธศาสนาที่สําคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต โดยเฉพาะไดสงอิทธิพลตอเนื่องไปยังศูนยกลางรัฐจารีตอื่นๆ อาทิ สุโขทัย ลานนา อยุธยา ตลอดจน สืบทอดมายังรัตนโกสินทร นอกจากนี้ ตลอดหนาประวัติศาสตรวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชนั้น ยังมีพลวัตสืบเนื่องตั้งแตอดีตมาจนกระทั่งปจจุบัน แมวาบางชวงเวลาที่เกิดเหตุทุพภิกขภัยบานเมือง ตองทิ้งราง แตการเปนวัดพระบรมธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ก็ยังฉายอยูในความทรงจําของผูคนในแหลงแหง ที่ตางๆ จนเกิดการแสวงหาเพื่อจาริกแสวงบุญ และเขามาทํานุบํารุงบูรณปฏิสังขรณตลอดมา

เกรียงไกร เกิดศิร.ิ "โครงการวิจยั มรดกทางสถาปตยกรรมวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช" นําเสนอผลงาน วิจัย ในการประชุมวิชาการ และการนําเสนอผลงงานวิจัย "100 เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตร ไทย ครัง้ ที่ 5" อันเปนสวนหนึง่ ของ "โครงการวิจยั 100 เอกสารสําคัญเกีย่ วกับประวัตศิ าสตรไทย". (อาจารย ดร. วินัย พงศศรีเพียร, ผูอํานวยการแผนการวิจัย) วันที่ 27-28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554. ณ โรงแรมบี.พี. แกรนดทาวเวอร อ.หาดใหญ จ.สงขลา. 2

NAJUA_2557_PART_02.indd 83

16/10/2557 18:22:05


84

หนาจั่ว: วาดวยสถาปตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดลอม วารสารวิชาการ คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

นอกจากนี้ “วัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช” ไดรับการบรรจุเปนหนึ่งใน “บัญชีรายชื่อ ชัว่ คราว (Tentative List)” ของคณะกรรมการมรดกโลกในนามของของ “วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช (Wat Phra Mahathat Woramahawihan, Nakhon Si Thammarat)”3 ซึ่ง ไดรับการรับรองแลวเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งในปจจุบันมีแหลงมรดกทางวัฒนธรรม ในประเทศไทยรวมจํานวน 3 แหลง ที่อยูในฐานขอมูลนี้ คือ “แหลงมรดกทางวัฒนธรรมภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี” และ “เสนทางวัฒนธรรมปราสาทพิมาย ปราสาทพนมรุง ปราสาทเมืองตํ่า และ ศาสนสถานที่เกี่ยวของ” ซึ่งอยูระหวางการจัดทําแผนการบริหารจัดการ และนําเสนอเพื่อรอรับการ พิจารณา และประกาศยกยองเปนแหลงมรดกโลกทางวัฒนธรรมในโอกาสตอไป ซึ่งหากผลักดันใหวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชเปนแหลงมรดกโลกไดสําเร็จจะเปนการ สงเสริมใหเปนแหลงมรดกโลกเพื่อการเรียนรูประวัติศาสตรพระพุทธศาสนาที่สมบูรณมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการประดิษฐานพระพุทธศาสนาลังกาวงศที่มีตนธารมาจากเกาะลังกาซึ่งแหลงมรดกทาง วัฒนธรรมพุทธศาสนาที่ศรีลังกาไดรับคํารับรองประกาศเปนแหลงมรดกโลกแลวนั้น และพระพุทธ ศาสนามาปกหลักประดิษฐานอยูใ นเมืองนครศรีธรรมราชอยางมัน่ คง ก็ยงั ทําหนาทีด่ งั่ ดวงเทียนทีเ่ ปลง แสงธรรมแหงพระพุทธศาสนาไปยังเมืองตางๆ ทีอ่ ยูร ายรอบในคาบสมุทรภาคใต ตลอดจนอาณาจักร ศูนยกลางอํานาจตางๆ ทั้งอยุธยา และสุโขทัย ซึ่งทั้งสองแหลงก็ไดรับการประกาศยกยองเปนแหลง มรดกโลกทางวัฒนธรรมแลวดวยเชนกัน ในบทความชิ้นนี้ จึงมุงทําการศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับพัฒนาการของผังบริเวณ วัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชโดยการสอบทวนกันระหวางเอกสารทางประวัติศาสตรตางๆ ทั้งอ เอกสารลายลักษณ แผนที่ และภาพถายเกา รวมกับระเบียบวิธีวิจัยทางประวัติศาสตรสถาปตยกรรม ตลอดจนการสํารวจรังวัดสถาปตยกรรมตางๆ ในวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชโดยละเอียด เพื่อ ใหทราบถึงประวัติศาสตรการกอสราง พัฒนาการทางรูปแบบสถาปตยกรรม และนําเสนอขอมูลผาน การจัดทําแบบสถาปตยกรรม และแบบสถาปตยกรรมคอมพิวเตอรสามมิติ เพื่ออธิบายรูปแบบทาง สถาปตยกรรมของวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชอยางเปนระบบ เพื่อใชเปนขอมูลประกอบการ พิจารณาในเสนทางสูการเปนแหลงมรดกโลกทางวัฒนธรรมตอไป

ดูเพิม่ เติมใน http://whc.unesco.org/en/tentativelists/5752/ ขอสังเกตมีอยูว า ชือ่ ทีถ่ กู ตองของวัด ตามธรรมเนียมแตโบราณ คือ "วัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช" เนื่องจากสถูปประธานของวัดเปน "ทรง เจดีย" ดูแนวคิดดังกลาวเพิ่มเติมไดใน วินัย พงศศรีเพียร. พรรณนาภูมิสถานพระนครศรีอยุธยา เอกสาร จากหอหลวง. กรุงเทพฯ: อุษาคเนย. 2552. และชื่อภาษาอังกฤษของจังหวัดในคําวา "Si" ที่ถูกตองควร จะเปน "Sri" เปนประเด็นเรงดวนทีต่ อ งพิจารณาวาจะแกไขใหถกู ตองหรือไม กอนทีจ่ ะดําเนินการในขัน้ ตอน ที่ซับซอนขึ้น 3

NAJUA_2557_PART_02.indd 84

16/10/2557 18:22:05


ฉบับที่ 28 ประจําปการศึกษา 2557

85

2. กรอบความคิด และแนวทางการศึกษา

การศึกษารูปแบบทางสถาปตยกรรม และประวัตศิ าสตรสถาปตยกรรมของวัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราชในครัง้ นีไ้ ดตงั้ กรอบความคิดเบือ้ งตนเพือ่ ทําการศึกษาวิจยั และสรางองคความรูท ตี่ รง ประเด็นกับแนวคิดของคณะกรรมการมรดกโลกในเพือ่ แสดงใหเห็นวาวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช มีคุณคาตรงกับเกณฑอยางนอยขอใดขอหนึ่งจากเกณฑที่กําหนดไว 10 เกณฑซึ่งเปนขอกําหนด เบื้องตนในการพิจารณาที่กําหนดไวใน “แนวทางการปฏิบัติเพื่อการผลักดันตามอนุสัญญามรดกโลก (Operational Guidelines for the Implementation of the World Heritage Convention (OG))” และแสดงใหเห็นถึง “คุณคาโดดเดนอันเปนสากล (OUV)” ซึ่งมีนิยามวา “คุณคาโดดเดนอัน เปนสากลมีความหมายวาความสําคัญของวัฒนธรรม และ/หรือธรรมชาติทมี่ อี ยูเ หนือพรมแดนรัฐชาติ และเปนสิ่งจําเปนพื้นฐานของปจจุบันและลูกหลานในอนาคตของมนุษยชาติ การใหความคุมครองที่ แนนหนาตอมรดกเหลานี้เปนสิ่งสําคัญที่สุดของประชาคมนานาชาติทั้งมวล ตามที่คณะกรรมการได กําหนดเงื่อนไขของการจารึกชื่อแหลงตางๆใหอยูในบัญชีรายชื่อมรดกโลก”4 ตามที่นิยามในรายงาน ประจําปของ ICCROM ค.ศ. 1976 วา “บทพรรณนาทีม่ ลี กั ษณะพิเศษและเปนเหตุเปนผลทีพ่ รรณนา ถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่พิจารณาแลววาเปนสิ่งที่มีความสําคัญที่สุดในสังคมรวมสมัยที่แสดงออกถึงคุณคาที่ เปนสากลของสิ่งนั้น”5 นอกจากนี้ เกณฑของ ICOMOS ที่ใชเปนเกณฑในการประเมินคุณคาโดดเดนอันเปนสากล ของแหลงมรดกทางวัฒนธรรมเพื่อประกาศจารึกเปนแหลงมรดกโลก มีตัวชี้วัดดังตอไปนี6้ 1. เปนตัวอยางอันเปนเอกลักษณของผลงานศิลปะ หรือการแสดงถึงความสําเร็จขัน้ สูงของ สุนทรียภาพทางศิลปะ; 2. เปนตัวอยางที่แสดงใหเห็นอิทธิพล หรือพัฒนาการของมนุษยชาติ; แปลจากขอความภาษาอังกฤษ ในมาตรา ที่ 49 ความวา “Outstanding universal value means cultural and/or natural significance which is so exceptional as to transcend national boundaries and to be of common importance for present and future generations of all humanity. As such, the permanent protection of this heritage is of the highest importance to the international community as a whole. The Committee defines the criteria for the inscription of properties on the World Heritage List.” ดูเพิ่มเติมใน มาตราที่ 49 ใน World Heritage Centre. Operational Guidelines for the Implementation of the World Heritage Convention. Paris: World Heritage Centre p. 14. 5 แปลจากขอความภาษาอังกฤษความวา "Specialized scientific literature on the subject, which is considered the most up-to-date expression of the universal consciousness on the issue” ใน ICCROM report. 1976. 6 Michel Parent. “Report on World Heritage Criteria”. In ICOMOS study, compiled jukka jokilehto. The World Heritage List: What is OUV? Defining the Outstanding Universal Value of Cultural World Heritage Properties. Paris: ICOMOS. 1979. 4

NAJUA_2557_PART_02.indd 85

16/10/2557 18:22:06


86

หนาจั่ว: วาดวยสถาปตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดลอม วารสารวิชาการ คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

3. เปนตัวอยางที่หากไดยากยิ่ง; 4. เปนตัวอยางที่มีความสําคัญที่เปนตัวแทนของรูปแบบ; 5. เปนตัวอยางที่มีความสําคัญในการเปนตัวแทนของสถาปตยกรรมแบบประเพณี; 6. เปนตัวอยางที่สัมพันธกับบริบททางประวัติศาสตร จากที่กลาวมาขางตน จึงสะทอนใหเห็นถึงความจําเปนอยางยิ่งยวดในการศึกษามรดก ทางสถาปตยกรรมภายในวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชเชิงลึกเพื่อแสวงหาองคความรูอยางเปน รูปธรรมเพื่อตอบคําถามในประเด็นตางๆ ทั้ง 6 ขอ อันนําไปสูการเขียนบทพรรณนาคุณคาโดดเดน อันเปนสากลตอไป 3. วัตถุประสงคของบทความ

1. เพื่อศึกษาพัฒนาการของผังบริเวณวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชจากหลักฐานทาง ประวัติศาสตรตางๆ ทั้งเอกสารลายลักษณประเภทตางๆ ตลอดจนแผนที่ แผนผัง และภาพถายเกา 2. เพือ่ การสํารวจรังวัด การจัดทําแบบสถาปตยกรรม แบบสถาปตยกรรมคอมพิวเตอรสาม มิติ เพื่ออธิบายพัฒนาการของผังบริเวณวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชอยางเปนระบบ 3. เพือ่ การจัดการฐานขอมูลตางๆ ทีเ่ กีย่ วเนือ่ งกับรูปแบบทางสถาปตยกรรม และศิลปกรรม ของวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชอยางเปนระบบเพื่อการคนควาวิจัยตอเนื่อในอนาคต 4. เพื่อสรางองคความรูทางวิชาการดานประวัติศาสตรสถาปตยกรรมของวัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราชอยางเปนระบบ 4. วิธีการศึกษา

การศึกษาในครัง้ นี้ เปนการศึกษาทีบ่ รู ณาการวิธวี ทิ ยาทางประวัตศิ าสตร และประวัตศิ าสตร สถาปตยกรรมเขาดวยกัน กลาวคือ ทําศึกษาทั้งเอกสารทางประวัติศาสตรประเภทตางๆ ทั้ง ตํานาน พงศาวดาร จดหมายเหตุ และบันทึกการเดินทางตางๆ เพือ่ นํามาวิเคราะห เพือ่ หาลําดับความสัมพันธ และพัฒนาการของผังบริเวณและมรดกทางสถาปตยกรรมตางๆ ภายในวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช เอกสารสําคัญที่นํามาใชเปนหลัก คือ เอกสารโบราณตางๆที่เกี่ยวกับนครศรีธรรมราชซึ่ง Professor Dr. David K.Wyatt ที่ไดปริวรรต รวมทั้งแปลเนื้อหาเปนภาษาอังกฤษ และตีพิมพใน หนังสือ “The Crystal sand: the chronicles of Nagara Sri Dharrmaraja”7 ทั้งนี้ ไดสอบทวน ระหวางกันทั้งในสวนที่เปนเนื้อหาภาษาอังกฤษที่ถูกแปล และในเนื้อหาสวนภาษาไทยที่ถูกปริวรรต ซึ่งในสวนภาษาไทยในหนังสือเลมดังกลาวนั้นเปนการปริวรรตถอดตัวอักษรจากเอกสารที่ไดบันทึก เสียงตามภาษาถิ่นใต จึงทําใหการสะกดคําไมตรงกับตัวสะกดและวรรณยุกตทําใหมีความยากใน การอาน ทั้งนี้นําเนื้อหาทั้งสองสวนในหนังสือ The Crystal sand: the chronicles of Nagara Sri David K. Wyatt. The Crystal sands: the chronicles of Nagara Sri Dharrmaraja. New York: Cornell University. 1975.

7

NAJUA_2557_PART_02.indd 86

16/10/2557 18:22:06


ฉบับที่ 28 ประจําปการศึกษา 2557

87

Dharrmaraja มาสอบทวนกับ “ตํานานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช” พิมพในหนังสือ “รวมเรื่อง เมืองนครศรีธรรมราช” 8 ซึง่ กรมศิลปากรปริวรรตตํานานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราชออกเปนภาษา ไทยปจจุบันเพื่อใหอานไดยิ่งขึ้น อยางไรก็ตาม สันนิษฐานวาเอกสารทัง้ หมดเปนการเรียบเรียงขึน้ จากปูมวัด และบันทึกตางๆ หลายชิน้ และเรียบเรียงใหมในลักษณะการพรรณนา ดังสะทอนใหเห็นจากการใชศกั ราชทีห่ ลากหลาย และบางครัง้ ก็ไมระบุรปู แบบของศักราชไวดว ย อีกทัง้ การเรียบเรียงนัน้ มีเนือ้ หาทีส่ ลับไปมา สันนิษฐาน วาผูเรียบเรียงในอดีตนั้น อาจจะนําเอกสารมาเรียงตามลําดับตัวเลขศักราชตอๆ กัน โดยไมทราบวา ในการบันทึกนั้นใชศักราชคนละระบบแลวเรียบเรียง หรือคัดลอกใหมทําใหเนื้อหาจึงสลับไปมา หรือ อาจจะเปนการเรียบเรียงใหมในภายหลังจากสภาวะที่เอกสารตนฉบับชํารุดแตกออกจากผูกจึงทําให ผูคัดลอกใหมสลับสับสนไปมาก็เปนไปไดทั้งสิ้น ในการศึกษาครัง้ นี้ จึงตองนําเอกสารทางประวัตศิ าสตรตา งๆ มาเรียงลําดับและเปรียบเทียบ ศักราชใหม รวมไปถึงในบางเหตุการณที่ไมปรากฏศักราชกํากับไว จึงตองใชการเทียบเคียงกับบริบท ในเหตุการณตางๆ ทั้งในเอกสารตํานานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราชเอง และเหตุการณในประวัติ ศาสตรอนื่ ๆ อยูร ว มสมัยกัน เพือ่ ใหไดขอ มูลลําดับเวลาในการสถาปนา หรือการบูรณปฏิสงั ขรณอาคาร ตางๆ เมือ่ ทําการศึกษาดวยวิธวี ทิ ยาดังกลาวมาขางตนจึงทําใหสามารถปฏิสงั ขรณลาํ ดับของเหตุการณ ในการกอสราง ตลอดจนการบูรณปฏิสงั ขรณเสนาสนะตางๆ ภายในวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชได อยางแมนยํามากขึน้ และตองเปนไปอยางระมัดระวังดังทีม่ ขี อ สังเกตของจิตร ภูมศิ กั ดิท์ มี่ ตี อ “ตํานาน พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช” ทีใ่ หไวในสังคมไทยลุม แมนาํ้ เจาพระยากอนสมัยศรีอยุธยาวา “ศักราช ตอนตนตํานานทั้งหมดนี้จะยึดถือเปนหลักไปไมไดเหมือนตัวเรื่อง” 9 แตเมื่ออานโดยละเอียด และทํา การศึกษาอยางเปนระบบแลวจึงพบวา ตํานานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชเปนเอกสารสําคัญที่ ทําใหทราบถึงพัฒนาการของผังบริเวณ และการกอสรางเสนาสนะตางๆ ภายในวัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราชไดเปนอยางดี นอกจากการศึกษาเอกสารทางประวัติศาสตรที่กลาวมาขางตน ในการศึกษานี้ ยังให ความสําคัญตอการศึกษามรดกทางสถาปตยกรรมดวยการสํารวจรังวัดอาคารเพื่อศึกษารูปแบบศิลป สถาปตยกรรม ตลอดจนการเปรียบเทียบกับรูปแบบศิลปสถาปตยกรรมที่สามารถกําหนดอายุไดใน แหลงตางๆทีค่ าดวามีความสัมพันธกนั หรือรวมวิธคี ดิ หรือรวมวิธกี ารกัน เพือ่ เสนอใหเห็นถึงพัฒนาการ ของผังบริเวณ และลักษณะทางสถาปตยกรรมของวัดพระธาตุนครศรีธรรมราช ตั้งแตแรกสรางจนถึง

กรมศิลปากร. รวมเรื่องเมืองนครศรีธรรมราช. (พิมพเปนอนุสรณในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก เจาพระยาบดินทรเดชานุชิต (แยม ณนคร) ณ เมรุหนาพลับพลาอิสริยาภรณ วัดเทพศิรินทราวาส 27 กุมภาพันธ 2505) พระนคร: กรมศิลปากร. 2505. 9 จิตร ภูมิศักดิ์. "นครศรีธรรมราชและอโยธยา" ใน สังคมไทยลุมแมนํ้าเจาพระยากอนสมัยศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: ฟาเดียวกัน. 2547. 8

NAJUA_2557_PART_02.indd 87

16/10/2557 18:22:06


88

หนาจั่ว: วาดวยสถาปตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดลอม วารสารวิชาการ คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

ปจจุบนั ทัง้ นี้ เมือ่ ไดขอ มูลภาคสนามแลวก็จะนํามาสอบทวนกับขอมูลเอกสารทางประวัตศิ าสตรเพือ่ ใหไดขอมูลของที่มีความสอดคลอง และมีความเปนไปไดมากที่สุด 5. นามเมืองนครศรีธรรมราช และนามพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช

คําวา “นครศรีธรรมราช” เกิดจากการประสมคําบาลี-สันสกฤตซึ่งมีความหมายวา “นคร อันรุง เรืองแหงราชาผูท รงธรรม” นอกจากความหมายเชิงอรรถาธิบายทีใ่ หใจความวา พระมหากษัตริย ผูปกครองบานเมืองแหงนี้ไดปฏิบัติตนตามพุทธวจนะอันนําพาใหบานเมืองบังเกิดซึ่งความเจริญ รุงเรือง นอกจากนี้ ชื่อเมืองยังแผลงออกไปไดอีก เชน “ศรีธรรมราชนคร (Sri Thammart’s city)” หรือ “นครธรรมราช หรือเมืองธรรมราช (City of Dhamma-raja)”10 โดยที่ความหมายยังคงเดิม ทั้งนี้ คําวา “ธรรมราชา” หรือ “ธรรมราช” นั้นเปนนาม หรือตําแหนงหลังจากผูปกครองไดขึ้น ครองเมือง ซึง่ สันนิษฐานวาไดเริม่ ตนใชครัง้ แรกในราวกลางคริสศตวรรษที่ 13 ดังปรากฏพบในนามของ ผูปกครองวา “จันทรภานุศรีธรรมราช (Chandrabunu Sri Dhammarat)”11 ซึ่งนามดังกลาวนั้น สะทอนถึงบทบาทของพระเจาอโศกมหาราชในฐานะของ “พุทธราชา” ที่โลดแลนอยูในความทรง จําและเรื่องราวในประวัติศาสตรพระพุทธศาสนาที่สืบทอดกันมาในฐานะของกษัตริยศาสนูปถัมกที่ ยิง่ ใหญทสี่ ดุ ในสมัยหลังพุทธกาล ตลอดจนยังมีบทบาทในฐานะของกษัตริยท ขี่ ยายวงของพระราชอํานาจ ไปอยางกวางขวางโดยใชแนวคิดของ “ธรรมวิชัย” ซึ่งบทบาทดังกลาวไดเปรียบเทียบไดกับการเปน พระจักรพรรดิตามคติตามพุทธศาสนานั่นเอง พระนามของ “พระเจาอโศกมหาราช (Asoka the Great King)” จึงถูกเรียกขานกันในภาษาไทยวา “ศรีธรรมโศกราช” และถูกปรับใชในชื่อตําแหนงผู ปกครองเมืองนครดังปรากฏในตํานาน และพงศาวดารเมืองนครศรีธรรมราชฉบับตางๆ12 นอกจากนี้ ยังปรากฏนามของเมืองนครศรีธรรมราชอีกหลายนาม ทั้งที่เปนภาษาสันสกฤต ภาษาชวา และภาษาอื่นๆ อาทิ “นคราศรีธรรมราช (Nagara Sri Dharmaraja)”, “ศรีธรรมนคร (Sri tham Nakhon)”, “ศิริธรรมนครา (Siridhammanagara)”, และ “ธรรมเนการี (Dharmanagari)”13 นอกจากนี้ ยังมีนามวา “ตัมพระลิงคะ (Tambralingga)” ที่กลาวถึงในเอกสารจีน หรือที่ รูจักกันในนามวา “ตามพรลิงค”14, “กรุงศรีธรรมโศก (Krung Sri Thammasok)”, ตลอดจน “เมือง พระเวียง (Muang Phra Wiang)” นอกจากนี้ ยังมีนามวา “ลิกอร (Ligor)” ซึ่งเปนชื่อในภาษา มาลายู และมีการแผลงเสียงออกเปน “ลูโก (Lugo)”, “ลูกอร (Lugor)”, “ลูกัวร (Luguor)”15 ซึ่ง Stuart Munro-Hay. Nakhon Sri Thammarat the Archeology, History and Legends of a Southern Thai Town. BKK: White Lotus. 2001. p. 1. 11 เพิ่งอาง. 12 เพิ่งอาง. 13 เพิ่งอาง. 14 "ตัมพระลิงคะ" หรือ "ตามพรลิงก" นั้นเปนชื่อในเอกสารจีนที่เรียก “พื้นที่” หรือ “ภูมิภาค (Region)” ที่ มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนในคาบสมุทรภาคใตแถบเมืองนครศรีธรรมราช และมีความมสัมพันธทางการคา และการเชื่อมตอกับจีน แตไมไดระบุที่ตั้งที่แนชัด 10

NAJUA_2557_PART_02.indd 88

16/10/2557 18:22:06


ฉบับที่ 28 ประจําปการศึกษา 2557

89

ชื่อวา “ลิกอร (Ligor)”16 ก็ยังเปนนามที่เอกสารฝายตะวันตกเรียกเมืองนครศรีธรรมราชดวย ทําให สันนิษฐานไดวา ชาวตะวันตกไดรจู กั เมืองนครศรีธรรมราชผานการแนะนําจากผูค นของเมืองในวัฒนธรรม มาลายูนั่นเอง นอกจากนี้ ยังมีการออกเสียงคําวา “นคร (Nagara)” เปน “ละคอน (Lakhon)” ดวย อยางไรก็ดีเมืองนครศรีธรรมราชปรากฏนามอยางเปนทางการตามหลักฐานจารึก (Written Document) ในจารึกหลักที่ 1 หรือที่รูจักกันในนามจารึกพอขุนรามคําแหงในนามวา “เมืองศรีธรรมราช (Muang Sri Dhamaraja)” ในการศึกษานี้ ผูวิจัยใชคําวา “วัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช” แทนการใชชื่อวา “วัด พระมหาธาตุวรมหาวิหาร” ที่ใชกันอยูในปจจุบัน เนื่องจากคําวา “พระมหาธาตุ” หรือ “พระศรีรัตน มหาธาตุ” นั้นหมายถึง “พระสถูปเจดียที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจาที่มีรูปทรง เปนเจดียท รงปรางค” ซึง่ มีหลักฐานอางอิงแนชดั วาคนโบราณไดเรียกชือ่ ทัง้ สองใหแตกตางกันโดยใชรปู ทรงเปนตัวจําแนก ดังปรากฏในหลักฐานทางประวัตศิ าสตรสมัยอยุธยาทีก่ ลาวถึงขอมูลดังขอความวา “พระมหาธาตุที่เปนหลักกรุงศรีอยุธยา 5 องค คือ [1] พระมหาธาตุวัดพระราม 1, [2] พระมหาธาตุ วัดมหาธาตุ 1, [3] พระมหาธาตุวัดราชบุรณ 1, [4] พระมหาธาตุวัดสมรโกฎ 1, [5] พระมหาธาตุวัด พุทไธสวริย 1”17 ในขณะที่เรียกสถูปทรงเจดียวา “พระมหาเจดีย” ดังขอความวา “พระมหาเจดียฐานที่เปน หลักกรุง 5 องค คือ [1] พระมหาเจดียวัดสวนหลวงสพสวรรค 1, [2] พระมหาเจดียวัดขุนเมืองใจ 1, [3] พระมหาเจดียวัดเจาพระยาไทย 1, [4] พระมหาเจดียวัดภูเขาทอง สูงเสนหาวา 1, [5] พระมหา เจดียวัดใหญไชยมงคล สูงเสนหาวา 1”18 จากขอความที่ยกมาขางตนจะเห็นวาคําวา “พระมหาธาตุ” นั้นตองเปน “พระสถูปเจดีย ทรงปรางค” และนอกจากนี้ หากพิจารณาชื่อเกาแกของวัดที่ใชชื่อวา “วัดพระบรมธาตุ” จะเห็นวา มีสถูปเจดียประธานของวัดเปน “เจดียทรงระฆัง” อาทิเชน พระบรมธาตุทุงยั้ง อ.ทุงยั้ง จ.อุตรดิตถ, พระบรมธาตุไชยา อ.ไชยา จ.สุราษฎรธานี, พระบรมธาตุนครชุม อ.เมืองฯ จ.กําแพงเพชร, พระบรม ธาตุดอยสุเทพ อ.เมืองฯ จ.เชียงใหม เปนตน รวมทั้งชื่อเดิมของวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชดวย

Stuart Munro-Hay. อางแลว. p. 2. นามวา “ลิกอร (Ligor)” ปรากฏในเอกสารตะวันตกครั้งแรกเทาที่พบคือในเอกสารของ โตเม เปเรส (Tome Peres) ในราวคริสตศตวรรษที่ 16 17 วินัย พงศศรีเพียร, บรรณาธิการ. อางแลว. หนา 105. 18 เพิ่งอาง. หนา 106. 15 16

NAJUA_2557_PART_02.indd 89

16/10/2557 18:22:06


90

หนาจั่ว: วาดวยสถาปตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดลอม วารสารวิชาการ คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

6. ทําเลที่ตั้ง และความสัมพันธของเมืองนครศรีธรรมราชกับพื้นที่อื่นๆ ใน คาบสมุทรภาคใต

ภูมลิ กั ษณทางธรรมชาติของ “คาบสมุทรภาคใตของไทย” หรืออาจจะเรียกวาเปน “คาบสมุทร ไทย” ที่ทอดตัวยาวในแนวเหนือ-ใตและไปเชื่อตอกับคาบสมุทรมาลายู ซึ่งหากพิจารณาในแงของ ภูมิศาสตรจะเห็นวาทั้งสองสวนนี้มีความเชื่อมตอกันทางภูมิศาสตรซึ่งเรียกรวมกันวา “คาบสมุทร ไทย-มาเลย (Thai-Malay Peninsular)” และมีชองแคบมะละกาทางดานลางของปลายแหลม และ กลุม หมูเ กาะตางๆ โดยตอนกลางของคาบสมุทรเปนแนวโกงตัวของหินในมหายุคปฐมชีวนิ (Precambrian Era) และมัชฌิมชีวิน (Paleozoic Era) ในทางภูมิประวัติศาสตร ซึ่งกอใหเกิดเปนแนวเทือก เขานครศรีธรรมราชที่ทอดตัวในแนวเหนือใต อันทําหนาที่เปนกระดูกสันหลังของคาบสมุทรกอนตอ เนือ่ งไปเปนเทือกเขาบรรทัดในทางดานใต ทางฝง ทะเลอันดามันมีลกั ษณะเปนชายฝง ยุบตัวจึงเต็มไป ดวยหมูเกาะมากมาย อันทําหนาที่เปนแนวกําบังคลื่นลมที่รุนแรงของมหาสมุทรอินเดียไปในตัว จึงมี การตั้งถิ่นฐานชุมชนที่พักอาศัยของพอคาทางทะเลที่เดินเรือคาขายกันในมหาสมุทรอินเดียอยูหลาย เมือง19 ในขณะที่ชายฝงดานตะวันออกเปนชายฝงยกตัว ทําใหมีการสะสมของตะกอนทรายตามแนว ชายฝงเปนจํานวนมากเปนแนวยาวตั้งแตเขตจังหวัดสุราษฎรธานีลงมายังนครศรีธรรมราช และยาว ลงไปจนถึงแนวสันทรายสทิงพระทีอ่ ยูใ นเขตจังหวัดสงขลา ตลอดแนวชายทะเลจึงเกิดเปนลานตะพัก ชายฝง (marine terrace หรือ coastal terrace) อยางเดนชัด จะเห็นไดวาคาบสมุทรดังกลาวเปนปราการสําคัญที่ขวางกั้นการเดินทางเชื่อมตอระหวาง ซีกโลกฟากตะวันออกซึ่งมีจีนเปนผูนําการคา และซีกโลกฟากตะวันตกที่มีอินเดีย เอเชียกลาง และ ยุโรปเปนผูนําการคา การเดินทางเชื่อมตอในอดีตซึ่งพัฒนาการของเรือที่สามารถทองมหาสมุทรลึก นัน้ ยังไมเกิดขึน้ การเชือ่ มตอของผูค นไดใชเรือใบขนาดเล็กทีอ่ าศัยแรงลมและมีทนุ ขางเรือเพือ่ ปองกัน เรือลมเดินทางเลียบคาบสมุทรเพื่อติดตอคาขายระหวางกัน สินคาที่นํามาแลกเปลี่ยนจึงมีปริมาณไม มากนัก และมีไมหลากหลาย และบอยครั้งจะเปนไปในลักษณะซื้อมาขายไประหวางการเดินทาง จะ เห็นไดวา คาบสมุทรภาคใตทที่ อดตัวขวางกัน้ การเชือ่ มตอดังกลาวนับเปนอุปสรรคสําคัญทีท่ าํ ใหระยะ เวลาในการเดินทางเชือ่ มตอกันทางนํา้ นัน้ ยาวไกลมากขึน้ ดวยตองอออมลงไปยังชองแคบมะละกา แต อยางไรก็ดี เสนทางดังกลาวไดมีบทบาทสําคัญขึ้นในภายหลังที่มีเรือสินคาที่มีขนาดใหญมากขึ้น ซึ่งมี ระวางบรรทุกสินคาขนาดใหญ และมีความหลากหลายของชนิดสินคา ตลอดจนสามารถเก็บตุนเสบียง ไดมากใชเปนเสนทางในการเชื่อมตอกันในระยะเวลาตอมา

ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม. "จากทาชนะถึงสงขลา" ใน คนหาอดีตของเมืองโบราณ. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ. 2538. หนา 57.

19

NAJUA_2557_PART_02.indd 90

16/10/2557 18:22:06


ฉบับที่ 28 ประจําปการศึกษา 2557

91

ภาพที่ 1: ภาพสลักหินทีเ่ จดีย บูโรบูโด สลักเปนรูปเรือใบ ขนาดซึ่งมีทุนไมไผขนาบขาง เพื่อใหเรือไมพลิกควํ่า ใชเดิน ทางเชื่อมตอกันในคาบสมุทร และหมูเ กาะตางๆ ในยุคโบราณ

ในชวงยุคแรกๆ ของการเดินทางเชื่อมตอกัน มนุษยผูไมยอมจํานนตอสภาวะแวดลอมที่บีบ บังคับจึงแสวงหาเสนทางลัดตางๆ เพือ่ เดินทางขามคาบสมุทรแทนการเดินทางออมแหลมดานลางผาน ทางชองแคบมะละกา จึงทําใหเกิดเมืองทาอยางๆ มากมายริมทะเลทั้งฟากตะวันตก และฟากตะวัน ออกของคาบสมุทรภาคใต และเมืองนครศรีธรรมราชก็ถอื กําเนิดขึน้ จากปจจัยดังกลาวดวยนัน่ เอง ทีม่ ี ความสัมพันธกับเสนทางติดตอคาขายขามคาบสมุทรที่เดินทางตามลํานํ้าสายตางๆ และตัดขามภูเขา มายังอีกฟากหนึ่งของสันปนนํ้าของการติดตอคาขายยุคโบราณ การกอกําเนิด และพัฒนาการทางประวัตศิ าสตรของเมืองนครศรีธรรมราชจึงมีปจ จัยแวดลอม ที่นาสนใจอยางยิ่ง กลาวคือ เมืองนครศรีธรรมราชตั้งอยูบนแนวสันทราย (sand berm) ที่มีลักษณะ เปนลานตะพักชายฝง (marine terrace หรือ coastal terrace) ของชายฝงอาวไทยที่มีลักษณะเปน ชายฝง ยกตัว ดานตะวันออกของเมืองคือ อาวนครศรีธรรมราชทีเ่ กิดขึน้ จากการปดลอมของดินตะกอน แมนํ้าจากลํานํ้าปากพนังทําใหอาวนครศรีธรรมราชมีความอุดมสมบูรณอยางสูง และเหมาะสําหรับ แวะพักหลบคลื่นลมของเรือขนาดเล็ก แตอยางไรก็ดี ดวยตะกอนที่ถูกพัดพามาจากแมนํ้าปากพนัง ก็ไดทําใหอาวนครศรีธรรมราชมีความตื้นเขินมากจนไมสามารถเดินเรือขนาดใหญเขามาได นอกจากนี้ ยังมีลํานํ้าสายอื่นๆ อีกเปนจํานวนมากที่เอื้อใหเมืองนครศรีธรรมราชมีความ อุดมสมบูรณ ตลอดจนทําหนาที่เปนเสนทางเชื่อมตอกันระหวางชุมชนตางๆ โดยเฉพาะพื้นที่ทางทิศ ใตของเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งมีลักษณะเปนที่ราบลุมกวางขวางและมีแมนํ้าหลายสาย จึงเปนพื้นที่ รับนํ้าหลากลงมาจากเทือกเขานครศรีธรรมราชดวย อีกทั้งลํานํ้าเหลานี้จะเชื่อมตอไปยังพื้นที่สวน ปากพนังที่อยูใตลงไปดวย และจากการศึกษาแผนที่โบราณรวมไปถึงเอกสารทางประวัติศาสตรอื่นๆ ทําใหทราบขอมูลวาแตเดิมทีนครศรีธรรมราชมีเสนทางสัญจรทางนํ้าที่เชื่อมตอไปยังลุมนํ้าทะเลสาบ สงขลาไดโดยผานทางปากพนัง และยังเปนเสนทางสัญจรมาจนกระทั่งกรุงรัตนโกสินทร ดังปรากฏ กลาวถึงในนิราศแพรกไพรดวย

NAJUA_2557_PART_02.indd 91

16/10/2557 18:22:06


92

หนาจั่ว: วาดวยสถาปตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดลอม วารสารวิชาการ คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

นอกจากลํานํ้าตางๆที่เปนปจจัยสงเสริมใหเกิดการตั้งชุมชนซึ่งไดกอตัว และมีพัฒนาการ ทางสังคมและวัฒนธรรมที่ซับซอนขึ้นจนกลายเปนเมืองนครศรีธรรมราช จะเห็นไดวาทําเลที่ตั้ง ดังกลาวยังมีความสัมพันธกบั ชองเขาของเทือกเขานครศรีธรรมราช ตรงตําแหนงทีเ่ รียกวา “เขาแกว” ซึ่งตั้งอยูในเขตอําเภอลานสกา ซึ่งมีลํานํ้าที่เชื่อมตอมาจากเมืองนครศรีธรรมราชมายังพื้นที่บริเวณนี้ ได20 ชองเขาดังกลาวจึงทําหนาทีเ่ ปนประตูทเี่ ชือ่ มตอกันระหวางพืน้ ทีฝ่ ง ตะวันออกและฝง ตะวันตกของ เทือกเขานครศรีธรรมราช ซึง่ เชือ่ มตอไปยังพืน้ ทีเ่ ขตชุมชนโบราณในเขต อ. ทุง สง จ. นครศรีธรรมราช อ.เวียงสระ จ.สุราษฎรธานี และเชือ่ มตอไปยังชายฝง ทะเลอันดามันในเขตจังหวัดกระบีไ่ ด และชองเขา ดังกลาวก็ยงั ถูกใชมาโดยตลอดในการเดินทางทางบกระหวางนครศรีธรรมราชไปยังเมืองสุราษฎรธานี ดังปรากฏกลาวถึงในเสนทางเดินเทาของทานปาน พระภิกษุชาวนครศรีธรรมราชที่เดินทางกลับจาก กรุงเทพฯไปยังนครศรีธรรมราชหลังจากบวชเรียนสําเร็จเพื่อทําการบูรณปฏิสังขรณวัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราชก็ยังตองเดินทางผานเสนทางนี21้ นอกจากนี้ พืน้ ทีท่ างฟากตะวันตกของเทือกเขาบรรทัดยังเปนพืน้ ราบทีก่ วางขวางและอุดม สมบูรณเหมาะแกการทํานาจึงมีชุมชนเกาแกตั้งถิ่นฐานกระจายตัวอยูมากมาย ดังสะทอนใหเห็นใน การกลาวถึงในตํานานเมืองนครศรีธรรมราช ดังการสงเสริมใหเกิดการสรางชุมชนและพืน้ ทีท่ าํ นาเพือ่ เปนการเพิ่มความมั่นคงในอาหารใหแกเมือง ซึ่งเมื่อมีความมั่นคงทางอาหารแลวทรัพยากรแรงงานก็ จะเพิ่มมากขึ้นดวย โดยขยายตัวขึ้นไปยังพื้นที่ตอนเหนือของเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นไป ในลุมแมนํ้า ตาป ลุมแมนํ้ากระแดะ ลุมแมนํ้าทาทอง ลุมแมนํ้าพุมดวง ลุมแมนํ้าหลังสวน22 จากทีก่ ลาวมาขางตน แสดงใหเห็นวาชัยภูมทิ ตี่ งั้ ของเมืองนครศรีธรรมราชในระดับภูมภิ าคนัน้ มีปฏิสัมพันธกับพื้นที่ตางๆ ทั้งพื้นที่ขางเคียงที่ทําหนาที่เปนเก็บของปาประเภทตางๆ รวมไปถึง แหลงผลิตขาวที่ทําใหเมืองมี่ความมั่นคงทางอาหารจนสามารถพัฒนาเมืองขึ้นสูเมืองระดับรัฐไดใน ที่สุด นอกจากนี้ เมืองนครศรีธรรมราชยังมีศักยภาพในการติดตอสัมพันธและทําการคากับเมืองอื่นๆ ผานทั้งสองชายฝงทะเล ทั้งฟากฝงทะเลตะวันออกที่ตัวเมืองตั้งอยู และฟากฝงตะวันตกซึ่งมีเสนทาง ขามคาบสมุทรเชื่อมตอ ดวยคุณสมบัติดังกลาวมานี้เองที่ทําใหนครศรีธรรมราชมีพัฒนาการมาอยาง สืบเนื่อง และเจริญรุงเรืองมากขึ้น ในขณะที่เมืองที่กอรางสรางตัวรวมสมัยกันมาไดยุติบทบาทลงไป กอนหนาแลว เชน เมืองไชยา เปนตน

ศูนยขอมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. ซึ่งเก็บความมาจากการสัมภาษณ นายอม บรรจบ กาญจน บานเลขที่ 59 หมูที่ 1 ต.ขุนทะเล อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช. 21 ทานปาน. ความมหัศจรรยยิ่งใหญครั้งซอม. นครศรีธรรมราช: วัดเพชรจริก. มปป. หนา 14. 22 "ตํานานเมืองนครศรีธรรมราช". ใน รวมเรือ่ งเมืองนครศรีธรรมราช. (พิมพเปนอนุสรณในงานพระราชทาน เพลิงศพ พลเอก เจาพระยาบดินทรเดชานุชิต (แยม ณนคร) ณ เมรุหนาพลับพลาอิสริยาภรณ วัดเทพศิริน ทราวาส 27 กุมภาพันธ 2505) พระนคร: กรมศิลปากร. 2505. หนา 46-63. 20

NAJUA_2557_PART_02.indd 92

16/10/2557 18:22:07


ฉบับที่ 28 ประจําปการศึกษา 2557

93

ภาพที่ 2: แผนที่แสดงที่ตั้งของเมืองนครศรีธรรมราช และความสัมพันธกับพื้นที่อื่นๆ ในคาบสมุทรภาคใต ปรับปรุงจาก: Google Map

อยางไรก็ตาม คุณสมบัติที่กลาวมาขางตนนั้นสงเสริมใหเมืองนครศรีธรรมราชรุงเรืองมาได ในระยะเวลาทีร่ ว มสมัยกับอยุธยา และตองลดบทบาทลง เนือ่ งมาจากการคาทางทะเลเปลีย่ นแปลงรูป แบบไปมาก กลาวคือ เทคโนโลยีในการตอเรือและการเดินเรือมีความกาวหนาไปมากทําใหเรือสินคามี ขนาดใหญมากขึ้น บรรทุกสินคา และเสบียงไดมากขึ้น และเดินทางลัดตัดตรงบนมหาสมุทรไดทําให ยนระยะทางไปไดมาก ทําใหเมืองทาตางๆ ที่เกิดขึ้นมาในบริบทเกาไดยุติบทบาทลงและเกิดเมืองทา ใหมๆ เชน เมืองมะละกา เมืองสิงคโปร เมืองสงขลา ที่มีบทบาทมากขึ้นมาโดยลําดับ เหตุดังกลาวมา ขางตนทําใหเมืองนครศรีธรรมราชหมดบทบาทการเปนศูนยกลางการแลกเปลี่ยนสินคาเดิมลง และ ทําหนาที่เปนเพียงเมืองศูนยกลางทางศาสนา และเมืองตัวแทนของราชสํานักในลุมแมนํ้าเจาพระยา ทั้งอยุธยา และรัตนโกสินทร ในการควบคุมดูแลปกครองหัวเมืองฝายใต

NAJUA_2557_PART_02.indd 93

16/10/2557 18:22:07


94

หนาจั่ว: วาดวยสถาปตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดลอม วารสารวิชาการ คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

7. ทําเลทีต ่ งั้ และการวางผังระดับเมืองของเมืองประวัตศ ิ าสตรนครศรีธรรมราช

จากทีก่ ลาวมาขางตนเกีย่ วกับขอมูลในแงทาํ เลทีต่ งั้ ของเมืองนครศรีธรรมราชในระดับภูมภิ าค ในลําดับถัดมาจะขออธิบายถึงทําเลที่ตั้งของเมืองนครศรีธรรมราชในระดับผังเมือง ดังมีรายละเอียด ตอไปนี้ คือ จากการศึกษาพัฒนาการทางประวัตศิ าสตรดา นการตัง้ ถิน่ ฐานของผูค นรวมกับการศึกษา ดวยวิธีการแปลความหมายภาพถายดาวเทียมรวมกับการทบทวนสารสนเทศที่เกี่ยวของ และการ ลงภาคสนามในพื้นที่ การตัง้ ถิน่ ฐานสรางชุมชนและพัฒนาการมาสูค วามเปนเมืองนครศรีธรรมราชนัน้ ตัง้ ถิน่ ฐาน อยูบนแนวสันทราย (sand berm) ที่มีความกวางประมาณ 600 เมตร ที่ทอดตัวอยูในแนวเหนือ-ใต โดยทีต่ อนปลายของสันทรายดังกลาวอยูใ ตเมืองพระเวียงลงมา ซึง่ มีแมนาํ้ ลําคลองหลายสายอยูใ นพืน้ ที่ ทําใหทราบวาทางภูมศิ าสตรนนั้ พืน้ ทีด่ งั กลาวทําหนาทีร่ บั นํา้ ทีห่ ลากลงมาจากเทือกเขานครศรีธรรมราช ที่อยูทางดานตะวันตก และระบายนํ้าลงทะเลผานเครือขายคลองจํานวนมากที่มีอยูภายในพื้นที่ การตั้งชุมชนในระยะแรกของเมืองนครศรีธรรมราชในแหลงโบราณคดีนั้นมีความสัมพันธ กับลํานํ้าสายนี้ดวย คือ “แหลงโบราณคดีทาเรือ” ซึ่งเปนแหลงโบราณคดีที่มีอายุเกาแกตั้งแต พุทธศตวรรษที่ 5 เปนตนมา และขยายตัวอยางสูงในชวงพุทธศตวรรษที่ 14-1923 ซึ่งสัมพันธกับสมัย ตามพรลิงคจนกระทัง่ อยุธยาตอนตน อยางไรก็ตาม ในอดีตนัน้ เสนทางการเชือ่ มตอกับโลกภาคนอกที่ สําคัญของเมืองนคร คือ โครงขายของลํานํา้ ทางดานทิศใตของเมืองทีต่ อ เชือ่ มไปยังพืน้ ทีแ่ ถบปากพนัง และลุมนํ้าทะเลสาบสงขลาตอนบน ซึ่งแสดงอยูในแผนที่โบราณที่ชาวตะวันตกไดทําไวจํานวนหลาย ระวาง ซึ่งแมวาในสมัยรัตนโกสินทรก็ยังใชเปนเสนทางการเชื่อมตอที่สําคัญ ดังปรากฏกลาวถึงใน “นิราศแพรกไพร” แตอยางไรก็ตาม ลํานํ้าดังกลาวนี้ไดตื้นเขินมากในภายหลัง เพราะฉะนัน้ การตัง้ ถิน่ ฐานของชุมชนในแหลงโบราณคดีทา เรือจึงเปนชุมชนเมืองทาการคา ขนาดเล็ก จนเมือ่ เมือ่ มีการขยายขนาดชุมชนและมีการลงหลักปกฐานถาวรขึน้ จําเปนตองหาพืน้ ทีท่ เี่ ปน ดอนเพือ่ สรางองคประกอบตางๆ ของเมืองใหถาวรมากขึน้ โดยเฉพาะวัดวาอาราม และเขตศูนยกลาง การปกครองจึงขยับขยายขึ้นมาสรางเมืองในพื้นที่เมืองพระเวียงที่อยูเหนือขึ้นมา และมีสภาพเปนที่ ดอนนํ้าไมทวม ดังที่ยังปรากฏเรียกพื้นที่ดังกลาววา “เมืองกระหมอมโคก” ที่แสดงใหเห็นภูมิสันฐาน ของพื้นที่ไดเปนอยางดี ในขณะพื้นที่สวนที่เปนชุมชนเมืองทาคาขายก็ยังคงดําเนินอยูคูขนานกันไป หลักฐานทางโบราณคดีไดแสดงขอมูลการตั้งถิ่นฐานของผูคนมาตั้งแตพุทธศตวรรษที่ 5 ใน “แหลงโบราณคดีทาเรือ” และมีการขยับขยายมาตั้งเมืองในลักษณะที่เปนเมืองแบบมีคูนํ้าคันดิน ตั้ง อยูต รงพืน้ ทีท่ ถี่ ดั ขึน้ มาทางทิศเหนือของชุชมนทาเรือ มีชอื่ เรียกเมืองดังกลาววา “เมืองพระเวียง” หรือ “เมืองกระหมอมโคก”24 มีขนาดกวางประมาณ 630 เมตร และยาวประมาณ 1.8 กิโลเมตร วางตัวอยู

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน นงคราญ ศรีชาย. "นครศรีธรรมราชกอนพุทธศตวรรษที่ 19" ใน ประวัติศาสตร และโบราณคดีนครศรีธรรมราช. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร 2543. หนา 21-38. 24 ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม. อางแลว. หนา 67. 23

NAJUA_2557_PART_02.indd 94

16/10/2557 18:22:08


ฉบับที่ 28 ประจําปการศึกษา 2557

95

บนแนวสันทราย ซึง่ เมืองพระเวียงมีหลักฐานทางโบราณคดีวา มีอายุเกาแกตงั้ แตสมัยศรีวชิ ยั มาจนถึง รัตนโกสินทร25 สําหรับศูนยกลางทางศาสนาทีส่ าํ คัญของเมืองพระเวียง จากการศึกษาภาคสนามพบวา วัดทาวโคตรอาจจะเปนวัดที่มีความสําคัญวัดหนึ่งของเมืองพระเวียง ดวยยังปรากฏฐานรากของสถูป เจดียทรงปรางคที่มีขนาดใหญมาก ในที่นี้จึงสันนิษฐานวา วัดทาวโคตรอาจเคยทําหนาที่เปนวัดพระ มหาธาตุของเมืองนครศรีธรรมราชคูกับวัดพระบรมธาตุดวยก็เปนได นอกจากนี้ เมืองนครศรีธรรมราชยังมีโครงขายลํานํ้าที่ทําหนาที่เปนเสนทางเชื่อมตอไปยัง ทะเลอีกซึ่งในปจจุบันไดตื้นเขินและแคบลงเปนลําคลอง อาทิ “ลํานํ้าหัวตรุด” ซึ่งเรียกตรงบริเวณ ปากนํา้ นีว้ า “ปากนคร” อันหมายถึง เสนทางทีเ่ มืองนครศรีธรรมราชใชเชือ่ มตอกับภายนอก จึงทําให เรียกลํานํา้ สายนีต้ งั้ แตจดุ ทีบ่ รรจบกับ “คลองทาวัง” ทีข่ ดุ ขึน้ ใหมจนไปถึงปากนํา้ วา “ลํานํา้ ปากนคร” ซึ่งลํานํ้าหัวตรุดนี้ไดเชื่อมตอเขาไปยังพื้นที่ตอนในแผนดินโดยโคงกระหวัดออมทางดานใตของเมือง นครศรีธรรมราชในปจจุบัน และยังเชื่อมตอกับลํานํ้าสายอื่นๆ ในพื้นที่ตอนในที่ไหลลงมาจากแนว เทือกเขานครศรีธรรมราช

ภาพที่ 3: (ภาพซาย) ภาพถายดาวเทียมแสดงที่ตั้งของวัดพระธาตุนครศรีธรรมราช (ภาพขวา) แผนที่ แสดงที่ตั้งของวัดพระธาตุนครศรีธรรมราช ที่สัมพันธกับเสนชั้นความสูง และเสนทางคมนาคมในปจจุบัน แมวาแผนที่นี้จะมีมาตราสวนที่หยาบ แตก็แสดงขอมูลลักษณะภูมิประเทศ (Topography) ตามเสนชั้น ความสูงที่แสดงใหเห็นวา แมวาพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชจะตั้งอยูบนสันทรายจริง หากแตก็ไมตั้งอยู ตรงกลางของสันทราย ปรับปรุงจาก: www.google.com

NAJUA_2557_PART_02.indd 95

16/10/2557 18:22:09


96

หนาจั่ว: วาดวยสถาปตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดลอม วารสารวิชาการ คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

เหนือจากเมืองพระเวียงขึ้นมาบนสันทรายเดียวกัน คือ “เมืองนครศรีธรรมราช” ที่มี “พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช” เปนศูนยกลางทางกายภาพและจิตวิญญาณของเมืองซึง่ นาจะหมายถึง “เมืองนครดอนพระ” ซึ่งในตํานานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชกลาววาพระพนมวัง และนาง เสดียงทองเปนผูสรางนั่นเอง26 นอกจากนี้ ในตํานานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชยังใหขอมูลอีกวา เมืองนครศรีธรรมราชที่มีอายุกอนหนา (คงหมายถึงเมืองพระเวียง) คงรางผูปกครองลงจึงทําให พระพนมวัง และนางเสดียงทองที่มีสายสัมพันธกับเมืองเพชรบุรีลงมาปกครองและฟนฟูเมือง และ บูรณปฏิสังขรณพระบรมธาตุ27 8. ทําเลทีต ่ งั้ และขอสังเกตเรือ ่ งการวางผังของวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ในระยะแรกสราง

จากการศึกษาของรองศาสตราจารยศรีศกั ดิ์ วัลลิโภดม ใหขอ เสนอวา พระบรมธาตุนครศรีธรรมราชนัน้ คงไดถกู สถาปนาขึน้ มาแลวตัง้ แตสมัยทีศ่ นู ยกลางของเมืองนครศรีธรรมราชยังอยูท เี่ มือง พระเวียง28 โดยตัง้ อยูห า งจากแนวกําแพงเมืองพระเวียงประมาณ 500 เมตร ซึง่ ใหคาํ อธิบายสาเหตุของ การทีว่ ดั พระบรมธาตุนครศรีธรรมราชนัน้ ไมไดตงั้ อยูใ จกลางของเมืองนครศรีธรรมราช แตทตี่ งั้ คอนไป ประชิดกับเมืองพระเวียง ซึ่งหากจะสันนิษฐานตอเนื่องในประเด็นดังกลาว จะอาจมีสมมติฐานวา วัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชอาจเคยทําหนาที่เปนวัดอรัญญาสีที่อยูนอกกําแพงเมืองในสมัย เมืองพระเวียงตามคติทไี่ ดรบั สืบทอดมาจากลังกาก็เปนได และตอมาเมือ่ เมืองนครดอนพระทําหนาที่ เปนศูนยกลางของนครศรีธรรมราชตั้งแตสมัยอยุธยาลงมา ก็เปนสวนหนึ่งที่ทําใหวัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราชกลายเปนวัดทีไ่ ดรบั การทํานุบาํ รุงอยางยิง่ ตัง้ แตสมัยอยุธยา ดังปรากฏมีโบราณวัตถุ สถานสมัยอยุธยาเปนจํานวนมากภายในวัด “เมืองนครศรีธรรมราช” หรือ “เมืองนครดอนพระ” มีตัวเมืองขนาดกวางประมาณ 665 เมตร และยาวประมาณ 2.4 กิโลเมตร จะเห็นไดวาหากพิจารณาในประเด็นของสภาพภูมิศาสตรของ ที่ตั้งจะเห็นวาแนวของสันทรายดังกลาวไดแผตัวกวางมากขึ้นในทางตอนเหนือขึ้นไป แสดงใหเห็นวา ในการสรางเมืองนั้นมีทางเลือกใหสามารถสรางในพื้นที่ตอนที่เหนือขึ้นไปซึ่งมีแนวสันทรายที่กวาง กวาได แตการเลือกสรางเมืองนครดอนพระติดกับเมืองพระเวียงนัน้ ไดแสดงใหเห็นวาเมืองใหมทขี่ ยับ ขยายขึน้ มาเปนเมืองทีม่ รี ากฐานมาเมืองพระเวียงนัน่ เอง และแมวา มีการสรางเมืองนครขึน้ มาใหมแลว ก็ตาม แตเมืองพระเวียงก็ยงั มีการตัง้ ถิน่ ฐานอยูค กู นั มาดวย แตเมืองพระเวียงคงมาเสือ่ มบทบาทลงใน ชั้นหลังที่มีการขุดคลองทาวังเชื่อมตอจากคลองปากนครมายังเมืองนครศรีธรรมราชโดยตรง สําหรับ องคประกอบทางกายภาพของตัวเมืองทีป่ รากฏใหเห็นในปจจุบนั ทีเ่ ปนแนวกําแพงเมืองกออิฐนัน้ สราง ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม. เพิ่งอาง. หนา 59. David K.Wyatt. The Crystal sands : the chronicles of Nagara Sri Dharrmaraja. New York: Cornell University. 1975. p. 197. 27 เพิ่งอาง. 198. 28 ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม. อางแลว. หนา 69. 25 26

NAJUA_2557_PART_02.indd 96

16/10/2557 18:22:10


ฉบับที่ 28 ประจําปการศึกษา 2557

97

ขึ้นในราวรัชกาลสมเด็จพระนารายณมหาราช โดยโปรดเกลาให เมอรสิเออร เดอรลามา (M. de la Mare) ชาวฝรั่งเศสมาเปนวิศวกรควบคุมการกอสราง และมีเสนทางสัญจรหลักอยูตรงกลางของแนว สันทราย ประเด็นทีน่ า สนใจประการหนึง่ ของการวางผังวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชทีน่ กั วิชาการ ตัง้ คําถามกัน คือ “สาเหตุใดทีท่ าํ ใหองคพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชมีบนั ไดทางขึน้ สูล านประทักษิณ หันไปทางทิศเหนือ” ซึ่งเดิมทีผูวิจัยมีสมมติฐานของสาเหตุดังกลาววา “อาจเปนผลมาจากการที่วัด พระบรมธาตุนครศรีธรรมราชไดวางตัวอยูบนสันทรายที่แคบยาวที่วางตัวในแนวเหนือ-ใต จึงทําให องคพระบรมธาตุเจดียวางผังใหหันไปยังทิศเหนือ” เมือ่ ทําการศึกษาสภาพภูมศิ าสตรของพืน้ ทีพ่ บวา แนวสันทรายนครศรีธรรมราชมีความกวาง ประมาณ 600 เมตร ในขณะที่ผังบริเวณเขตพุทธาวาสนั้นมีความกวาง 75 เมตร (แนวตะวันออกตะวันตก) และมีความยาว 120 เมตร (แนวเหนือ-ใต) เมือ่ เทียบเคียงกับความกวางของสันทรายทีม่ ถี งึ ประมาณ 600 เมตร จะเห็นไดวาสัดสวนของพื้นที่ที่ไดรับการออกแบบวางผังนั้นมีสัดสวนที่นอยมาก เมื่อเทียบกับความกวางทั้งหมด และไมไดเปนปญหาหากมีความประสงคจะวางผังพื้นที่ในแนวตะวัน ออก-ตะวันตกเลย นอกจากนี้ จากการสํารวจรังวัดเพือ่ จัดทําแบบสถาปตยกรรมยังใหขอ มูลอีกวา ผัง บริเวณที่เห็นในปจจุบันนั้นแตกตางไปจากผังบริเวณเมื่อแรกสรางที่มีจํานวนอาคารไมมากนัก เพราะ ฉะนั้นผังบริเวณเมื่อแรกสรางนั้นจะมีขนาดเล็กกวานี้มาก อีกทั้ง หากแนวสันทรายเปนตัวกํากับใหเกิดการวางผังในแนวเหนือ-ใตจริงจะเกิดคําถาม ตอวา “ทําไมองคพระธาตุเจดียจึงไมมีบันไดทางขึ้นที่หันไปยังดานทิศใต” ซึ่งเปนที่ตั้งของเมืองพระ เวียง และเปนทิศที่สัมพันธกับคติความเชื่อในพุทธศาสนาในคติความเชื่อเรื่องชมพูทวีปที่กลาววาตั้ง อยูทางทิศใตของเขาพระสุเมรุอีกดวย ดังจะเห็นวา พระเจดียสุวรรณมาลิก วัดราชประดิษฐาน (วัด พระโคะ) อ.สทิงพระ จ.สงขลา และพระเจดียประธาน วัดพระเจดียงาม อ.ระโนด จ.สงขลา ตางก็มี บันไดทางขึ้นสูลานประทักษิณอยูทางดานทิศใต เพราะฉะนั้น จะเห็นไดวาการวางผังขององคพระบรมธาตุที่สรางบันไดทางขึ้นสูลานประ ทักษิณไปทางทิศเหนือนี้ เกิดจากการออกแบบสรางสรรคอยางจงใจ และอาจมีมูลเหตุที่มาที่สืบทอด มาจากคติความเชื่อหรือรูปแบบบางประการที่สืบทอดมาในหนาประวัติศาสตรพระพุทธศาสนา ซึ่ง การรับรูในปจจุบันไดขาดตอนไปแลวก็เปนได ทั้งนี้จึงควรมีการศึกษาวิเคราะหสาเหตุดังกลาวเชิงลึก ตอไป 9. พัฒนาการของผังบริเวณ และมรดกสถาปตยกรรมวัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช จากอดีต-ปจจุบัน

พัฒนาการของการวางผังพื้นที่เขตพุทธาวาสของวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชในที่นี้ เกิดจากการบูรณาการองคความรูท ไี่ ดรบั จากการศึกษาเอกสารทางประวัตศิ าสตรกบั ความรูท ไี่ ดจาก การศึกษาสํารวจรังวัดอาคาร การจัดทําแบบสถาปตยกรรม ตลอดจนการจัดทําแบบสถาปตยกรรม คอมพิวเตอรสามมิติ ดังจะนําเสนอขอมูลดังรายละเอียดตอไปนี้

NAJUA_2557_PART_02.indd 97

16/10/2557 18:22:10


98

หนาจั่ว: วาดวยสถาปตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดลอม วารสารวิชาการ คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

9.1 พัฒนาการของผังบริเวณวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ระยะที่ 1

ผังบริเวณวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชในระยะที่ 1 จะมีการกอสรางเจดียเปนองค ประธานของผังบริเวณเขตพุทธาวาส ทั้งนี้ ตํานานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชกลาววาไดกอสราง พระบรมธาตุขึ้นในศักราช 1098 ซึ่งเมื่อแปลงกลับเปนพุทธศักราช จะเปนป พ.ศ.171929 อยางไร ก็ตาม ยอมมีการกอสรางพระวิหาร หรือศาลาสําหรับการประกอบพิธีกรรมอยูดวย ซึ่งอาจจะเปนไป ไดวาจะมีวิหารอยูทางดานทิศเหนือขององคพระเจดียซึ่งสัมพันธกับบันไดทางขึ้นสูลานประทักษิณ หรืออยูทางทิศตะวันตามแบบแผนนิยมของวัดในพุทธศาสนา ก็เปนไปไดทั้งสิ้น นอกจากนี้ อาจจะมีการสรางพระเจดียรายอยูลอมรอบพระเจดียประธานทั้งสี่ดาน ซอน กันจํานวน 3 ชั้น หรือที่ในพระราชหัตถเลขารัชกาลที่ 5 ทรงเรียกวา “สามเถา” โดยเปนเจดียทรง ระฆังเชนเดียวกับพระเจดียประธานมีขนาดลดหลั่นกันลงมา ซึ่งพระเจดียรายเหลานี้อาจมีการสราง ขึ้นพรอมๆ กับพระเจดียประธาน หรือหลังจากการสรางพระเจดียประธานไปแลวก็เปนไปไดทั้งสิ้น จากการสํารวจรังวัดพบวา สวนฐานของเจดียร ายเหลานีจ้ มลงใตพนื้ ทรายและจากการคาดคะเนดูดว ย การใชไวทยากรณทางสถาปตยกรรมจะเห็นวา เจดียรายเหลานี้สรางอยูบนพื้นระดับเดียวกันกับฐาน ของพระเจดียประธาน อยางไรก็ดี หากมีการสรางเจดียรายขึ้นประกอบผังบริเวณมาตั้งแตตนนั้น จะ ทําใหผังบริเวณมีความคลายคลึงกับการวางผังของเจดียบูโรพุทโธ ซึ่งมีการวางตัวเจดียรายลอมรอบ เจดียประธานเปน 3 ชั้นดวยเชนกัน ซึ่งถาผังบริเวณมีลักษณะเปนเชนนี้ ดร.นันทนา ชุติวงศ ยังเสนอ ขอคิดเห็นเพิ่มเติมววาแสดงความใกลชิดกับการวางผังเปนมณฑลในพุทธศาสนามหายานอีกดวย30

ภาพที่ 3: ภาพสามมิติแสดงรูปแบบทางสถาปตยกรรม และผังบริเวณวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชใน ระยะที่ 1 ที่มีการสรางพระบรมธาตุเจดีย ในป พ.ศ. 1719 ทั้งนี้ อาจจะมีการสรางเฉพาะเจดียประธาน เพียงองคเดียว หรือมีการสรางเจดียร ายพรอมดวยก็เปนไปไดทงั้ สองแนวทาง เนือ่ งจากไมมหี ลักฐานกํากับ ชวงเวลาในการกอสรางเจดียราย David K. Wyatt. อางแลว. หนา 77. อาจารย ดร. นันทนา ชุติวงศใหขอคิดเห็นในระหวางการลงพื้นที่ศึกษาภาคสนามที่วัดพระศรีมหาธาตุ นครศรีธรรมราช ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2557.

29 30

NAJUA_2557_PART_02.indd 98

16/10/2557 18:22:10


ฉบับที่ 28 ประจําปการศึกษา 2557

99

9.2 พัฒนาการของผังบริเวณวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ระยะที่ 2

จากการกอสรางพระบรมธาตุเจดีย ในป พ.ศ.171931 รวมไปถึงพระเจดียราย และคงได สรางอาคารที่ทําหนาที่เปนวิหารเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาคูกับพระเจดีย แตไมมีขอมูลให สันนิษฐานไดวาวิหารดังกลาวนั้นควรจะอยูดานหนาพระเจดียทางทิศตะวันออก หรือตรงบันไดทาง ขึน้ สูล านประทักษิณทางทิศเหนือ อยางไรก็ตาม จากการศึกษารูปแบบผังบริเวณของวัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช ในระยะที่ 2 นี้ เปนไปได 2 แนวทาง คือ - พัฒนาการระยะที่ 2 แนวทางที่ 1 คือ "มีการกอสรางวิหารธรรมศาลา และทับเกษตร ใน ป พ.ศ. 1861 เพิ่มเติมจากพระเจดียประธานที่มีอยูเดิม" หรือ; - พัฒนาการระยะที่ 2 แนวทางที่ 2 คือ "อาจจะมี "โพธิมณเฑียร" หรือ "วิหารตนโพธิ์" อยู กอนหนาการสรางวิหารธรรมศาลา และทับเกษตร ในป พ.ศ. 1861 เพิ่มเติมจากพระเจดียประธาน ที่มีอยูเดิม" หรือ; - พัฒนาการระยะที่ 2 แนวทางที่ 3 คือ "มีการกอสรางวิหารธรรมศาลา และทับเกษตร ในป พ.ศ. 1861 เพิ่มเติมจากพระเจดียประธานที่มีอยูเดิม และมีการกอสราง "โพธิมณเฑียร" หรือ "วิหาร ตนโพธิ"์ ขึน้ ภายหลังการสรางวิหารธรรมศาลา และทับเกษตร แตกอ นหนาป พ.ศ.1919 ทีม่ กี ารสราง วิหารเขียน" สําหรับ พัฒนาการของผังบริเวณระยะที่ 2: แนวทางที่ 1 คือ เนื่องจากมีหลักฐานกลาว ถึงวา ในศักราช 1861 หรือในป พ.ศ.1861 มีการกอสราง "วิหารธรรมศาลา" และ "ทับเกษตร" ซึ่ง รวมสมัยกับรัชกาลพระยาเลอไทของกรุงสุโขทัยซึ่งในชวงเวลาดังกลาวนั้นสุโขทัยมีความสัมพันธกับ เมืองนครศรีธรรมราช ดังปรากฏขอความในตํานานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราชวา "ศักราช 1861 โปรดใหขาหลวงออกมา เปนศรีมหาราชาแตงพระธรรมศาลา ทําพระระเบียงลอมพระมหาธาตุ..."32 จากขอความดังกลาว ระบุวาศักราช 1861 แตเนื่องจากไมไดระบุรูปแบบศักราชที่ชัดเจน หากเปน มหาศักราช 1861 เมื่อนํามาแปลงเปนพุทธศักราชจะไดเทากับ พ.ศ.2482 ซึ่งเปนชวงเวลาที่ใกลกับ กับปจจุบนั มาก จึงเปนไปไมไดทจี่ ะสรางขึน้ ในชวงเวลาดังกลาว เนือ่ งจากวิหารธรรมศาลาไดถกู กลาว ถึงในบันทึกของสมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ เจาฟากรมพระยาภาณุพนั ธวงศวรเดช เมือ่ คราวเสด็จหัว เมืองปกษใต ตั้งแตเมื่อ พ.ศ.242733 ดังนั้นวิหารธรรมศาลาจึงมีอาจสรางขึ้นเมื่อ พ.ศ.1861 รวมสมัย กับพระยาเลอไทแหงอาณาจักรสุโขทัย (ครองราชย พ.ศ.1841-1866) และความเปนไปไดที่รูปแบบ ทางสถาปตยกรรมของวิหารธรรมศาลาจะมีลกั ษณะเปน "วิหารโถง" เนือ่ งจากเปนรูปแบบวิหารทีน่ ยิ ม สรางในสมัยสุโขทัย และการสรางพระพุทธรูปยืนในวิหารธรรมศาลา ยังสามารถเชื่อมโยงไปถึงคติใน

เพิ่งอาง. 77. รวมเรื่องเมืองนครศรีธรรมราช.อางแลว. หนา 94. 33 ภาณุพนั ธวงศวรเดช, สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ เจาฟากรมพระยา. ชีววิ ฒ ั น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพโสภณ พิพรรฒธนากร. 2471. หนา 99. 31 32

NAJUA_2557_PART_02.indd 99

16/10/2557 18:22:10


100

หนาจั่ว: วาดวยสถาปตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดลอม วารสารวิชาการ คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

การสราง "พระอัฎฐารส" ในวัฒนธรรมสุโขทัยไดดวย นอกจากนี้การเรียกชื่อวา "ธรรมศาลา" ยังมีนัย ถึงคุณลักษณะของอาคารโถง เชนในวัฒนธรรมภาคใตที่นิยมทํา "ศาลาโรงธรรม" อยูภายในวัดตางๆ ในภาคใต จนกระทั่งปจจุบันอีกดวย รวมทั้งวิหารในลังกาที่นิยมทําเปนวิหารโถง นอกจากนี้การสราง "พระระเบียงลอมพระมหาธาตุ" หรือที่เรียกดวยศัพทเฉพาะวา“ทับ เกษตร” ยังมีรูปแบบสัมพันธกับพระระเบียงทับเกษตรของเจดียประธานวัดชางลอมที่ศรีสัชนาลัย ซึ่งขอความในศิลาจารึกหลักที่ 1 ที่ทําใหสันนิษฐานวาสรางขึ้นเมื่อศักราช 1027 หรือ ปพ.ศ.1828 อันแสดงใหเห็นวารูปแบบของเจดียวัดชางลอมที่มีการออกแบบเจดียขึ้นพรอมกับทับเกษตรนั้นจนมี ความงดงามลงตัวนั้น อาจสงอิทธิพลตอการตอเติมทับเกษตรพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชก็เปนได นอกจากนี้ ลายปูนปนบริเวณซุมเรือนแกวของพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยูโดยรอบทับเกษตรนั้น ยังมีลักษณะคลายคลึงกับลายปูนปนของวัดนางพญาที่ศรีสัชนาลัยอีกดวย

ภาพที่ 4: ภาพสามมิติแสดงพัฒนาการ ของผังบริเวณระยะที่ 2 แนวทางที่ 1 คือ มีการกอสรางวิหารธรรมศาลา และทับ เกษตร ในป พ.ศ. 1861 เพิ่มเติมจาก พระเจดียประธานที่มีอยูเดิม

จากขอความในศิลาจารึกหลักที่ 1 ทีส่ นั นิษฐานวาเปนเหตุการณในรัชกาลพอขุนรามคําแหง ทีส่ ะทอนใหเห็นถึงการเชิญพระสงฆผทู รงภูมคิ วามรูจ ากนครศรีธรรมราชมายังสุโขทัย ความวา “สังฆราช ปราชญเรียนจบปฏกไตรหลวกกวาปูค รูในเมืองนี้ ทุกคนลุกแตเมืองศรีธรรมราชมา” ขอความดังกลาว จิตร ภูมศิ กั ดิไ์ ดสนั นิษฐานวาการเชิญพระสงฆผทู รงภูมคิ วามรูด งั กลาวไปจําพรรษายังสุโขทัยนัน้ สะทอน ใหเห็นถึงบทบาทของสุโขทัยทีม่ เี หนือนครศรีธรรมราช ดังแสดงใหเห็นในการกําหนดเขตเขตแดนของ สุโขทัยในจารึกหลักที่ 1 ความวา “ปราบเบือ้ งตะวันออก รอดสรลวง ...ถึงเวียงจันทรเวียงคําเปนทีแ่ ลว เบื้องหัวนอนรอดคนที พระบาง แพรก สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี ศรีธรรมราช ฝงสมุทรทะเลเปน ที่แลว....” ดวยนั่นเอง อยางไรก็ตาม ตรี อมาตยกุล ตีความวาเปนความสัมพันธในฐานะเมืองที่เปน มิตรไมตรีตอกัน34 ตรี อมาตยกุล . "นครศรีธรรมราชในสมัยกรุงศรีอยุธยา". รายงานการสัมนาประวัตศิ าสตรนครศรีธรรมราช ครั้งที่ 1 (พ.ศ.2521). นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 2552. หนา 120. 34

NAJUA_2557_PART_02.indd 100

16/10/2557 18:22:11


ฉบับที่ 28 ประจําปการศึกษา 2557

101

อยางไรก็ตาม ขอมูลจากจารึก และเอกสารทางประวัติศาสตรอื่นๆ สะทอนใหเห็นความ สัมพันธดา นพระพุทธศาสนาทีม่ ตี อ กันมาอยางแนบแนน และนอกจากแสงเทียนแหงพระพุทธศาสนา แลวก็ยังมีศิลปสถาปตยกรรมที่ยอมสองทางแกกัน และเปนไปไดวา “วิหารธรรมศาลา” และ “ทับเกษตร” ที่สรางขึ้นมานี้อาจจะไดแรงบันดาลใจยอนกลับมาจากสถาปตยกรรมของสุโขทัย พัฒนาการของผังบริเวณระยะที่ 2: แนวทางที่ 2 คือ สันนิษฐานวา กอนการสราง “วิหาร ธรรมศาลา” และ “ทับเกษตร” อาจจะมีการสราง “โพธิมณเฑียร” หรือ “วิหารตนโพธิ”์ มากอนหนา แลวก็เปนได แตไมมหี ลักฐานกลาวถึง ในการกอสรางพระวิหารเขียนไดมขี อ ความกลาวถึงวา เปนวิหาร ทีส่ รางขึน้ ทางดานทิศเหนือขององคพระบรมธาตุ และทิศใตของโพธิมณเฑียร35 ในประเด็นดังกลาวจึง ทําใหสันนิษฐานไดวา อาจจะมีการสรางวิหารตนโพธิ์อยูกอนหนาการสรางวิหารธรรมศาลา และทับ เกษตร พัฒนาการของผังบริเวณระยะที่ 2: แนวทางที่ 3 คือ สันนิษฐานวา ภายหลังมีการสราง “วิหารธรรมศาลา” และ “ทับเกษตร” ในป พ.ศ. 1861 แลวจึงมีการสราง “โพธิมณเฑียร” หรือ “วิหารตนโพธิ์” แตตองกอนการกอสรางวิหารเขียนในป พ.ศ. 1919 ดังขอความกลาวถึงวา วิหาร เขียนถูกสรางขึน้ ตรงทิศเหนือขององคพระบรมธาตุ และทิศใตของโพธิมณเฑียร36 ในประเด็นดังกลาว จึงทําใหสันนิษฐานไดวา อาจจะมีการสรางวิหารตนโพธิ์อยูกอนหนาการสรางวิหารธรรมศาลา และ ทับเกษตร

ภาพที่ 5: ภาพสามมิติแสดงพัฒนาการของผังบริเวณระยะที่ 2 แนวทางที่ 2 คือ อาจมีการสรางโพธิ มณเฑียรอยูกอนหนาการสรางวิหารธรรมศาลา และทับเกษตร ในป พ.ศ. 1861 หรือ; พัฒนาการของผังบริเวณระยะที่ 2 แนวทางที่ 3 มีการสรางวิหารธรรมศาลา และทับเกษตร ในป พ.ศ. 1861 และหลังจากนั้นมีการสรางโพธิมณเฑียรขึ้น แตตองกอนการสรางวิหารเขียนในป พ.ศ. 1919; ซึ่งทั้ง 2 แนวทางก็จะใหภาพของผังบริเวณเปนเชนเดียวกัน 35 36

NAJUA_2557_PART_02.indd 101

David K. Wyatt. อางแลว. p.144. David K. Wyatt. อางแลว. p. 144.

16/10/2557 18:22:11


102

หนาจั่ว: วาดวยสถาปตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดลอม วารสารวิชาการ คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

9.3 พัฒนาการของผังบริเวณวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ระยะที่ 3

จากการกอสรางพระบรมธาตุเจดีย ในป พ.ศ.171937 รวมไปถึงพระเจดียราย และมีการ กอสรางวิหารธรรมศาลา และทับเกษตรในป พ.ศ. 1861 ดังกลาวไปแลวขางตนนัน้ ในเอกสารตํานาน พระธาตุเมืองนครศรีธรรมราชไดกลาวถึงการสราง “วิหารเขียน” วาสรางขึน้ เมือ่ ศักราช 1919 หรือป พ.ศ.1919 โดยหลวงศรีวราวงษาเปนดําเนินการ ทัง้ นีร้ ะบุวา ตําแหนงในการกอสรางพระวิหารเขียนนี้ อยูตรงพื้นที่ระหวางทิศเหนือขององคพระธาตุ และทิศใตของโพธิมณเฑียร38 ตรงตําแหนงดังกลาว หากจะสันนิษฐานอยูบ นพืน้ ฐานของการใชสอยพืน้ ที่ จะเห็นวาควรจะอาคารสําหรับประกอบศาสนา กิจมาแตเดิม และอาจจะเกาแกพรอมกับการสรางพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช หรือหลังจากการสราง พระบรมธาตุไมนานนัก เนือ่ งจากมีความจําเปนอยางยิง่ ในการใชประโยชน ในประเด็นนีจ้ งึ สันนิษฐาน วาอาคารหลังเดิมคงถูกสรางเปนอาคารโถง เมื่อมีการสรางอาคารใหมจึงสรางเปนอาคารที่มีฝาผนัง และมีการเขียนลวดลายตกแตง จึงใหชอื่ อาคารทีส่ รางขึน้ ใหมแทนทีศ่ าลาหลังเดิมนีว้ า “วิหารเขียน” แตวหิ ารหลังนีไ้ มไดสรางเขาไปบรรจบกับฐานของพระบรมธาตุเลยโดยยังคงปลอยใหเปนพืน้ ทีบ่ นั ได ทางขึ้นลานประทักษิณกลางแจงดังเดิม

ภาพที่ 6: ภาพสามมิตแิ สดงพัฒนาการของผังบริเวณระยะที่ 3 คือ มีการสรางวิหารเขียน ตรงพืน้ ทีร่ ะหวาง ทิศเหนือของพระบรมธาตุกับทิศใตของโพธิมณเฑียร ในป พ.ศ. 1919

37 38

เพิ่งอาง. p. 77. เพิ่งอาง. p. 144.

NAJUA_2557_PART_02.indd 102

16/10/2557 18:22:12


ฉบับที่ 28 ประจําปการศึกษา 2557

103

9.4 พัฒนาการของผังบริเวณวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ระยะที่ 4

นับจากป พ.ศ.1919 ทีระบุวามีการสรางวิหารเขียนขึ้น หลังจากนั้นมาอีก 117 ป กลาวคือ ในมหาศักราช 1415 หรือตรงกับป พ.ศ. 2036 จึงมีบันทึกถึงการบูรณปฏิสังขรณ และการกอสราง ภายในวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชอีกครัง้ และในชวงเวลานีต้ รงกับรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดี ที่ 2 แหงกรุงศรีอยุธยาเปนราชธานีแหงลุมแมนํ้าเจาพระยาที่รุงเรืองขึ้นมาในชวงปลายพุทธศตวรรษ ที่ 19 เปนตนมา และทําใหสุโขทัยไดลดบทบาทลงไปเปนเพียงเมืองภายใตการปกครองของอยุธยา เฉกเชนเดียวกับเมืองนครศรีธรรมราช ในป พ.ศ. 2036 ในตํานานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช ใหขอมูลวา “เมื่อมหาศักราชได ๑๔๑๕ ปนนั้ ......จะทําพระระเบียงลอมพระมหาธาตุและกําแพงลอมพระระเบียง ทัง้ ศรีดารนัน้ แลว... ไดแก มหามงคลแตมมู อิสาร ๑๕ หอง ไดแตมหาโชตดิบาญ ๒๐ หอง ทัง้ ประตูถงึ มหาเถรเหมรังศรีพระ ทําษามสาลา แตนั้นไปไดแกมหาเภรสุดีพงษ ๑๕ หอง......เมือคิดตามผูไดหองนั้นไซ เปนหอง ๑๖๕ หอง แลพรพุทธรูปสมาทิ อยูทุกหองเปนพรพุทธเจา ๑๖๕ พรองคศรีดานเปนพรพุทธรูปเทานี้”39 จากเอกสารไดระบุมหาศักราช 1415 ซึ่งตรงกับป พ.ศ. 2036 วามีการทําระเบียงคตทั้ง สี่ดานลอมผังบริเวณเขตพุทธาวาส และระเบียงคตดังกลาวเปนระเบียงแบบมีกําแพงทึบดานนอก และโถงดานใน โดยเริ่มตนนับจากมุมอีสาน (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ) ผานวิหารธรรมศาลา จนถึง มุมอาคเนย (ทิศตะวันออกเฉียงใต) มีจํานวน 50 หอง จากมุมอาคเนย(ทิศตะวันออกเฉียงใต) ถึง มุมหรดี (ทิศตะวันตกเฉียงใต) จํานวน 33 หอง จากมุมหรดี (ทิศตะวันตกเฉียงใต) ถึงมุมพายัพ(ทิศ ตะวันตกเฉียงเหนือ) จํานวน 43 หอง จากมุมพายัพ (ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ) ถึงมุมอีสาน (ทิศตะวัน ออกเฉียงเหนือ) จํานวน 36 หอง รวมทั้งหมด 165 หองเสา (หากรวมตามรายละเอียดที่ระบุจะได ทั้งหมด 162 หองเสา แตในเอกสารระบุไววามีทั้งหมด 165 หองเสา) และประดิษฐานพระพุทธรูป ปูนปนประจําทุกหองเสา รวมทั้งสิ้น 165 องค เมื่อนํารายเอียดดังกลาวมาเรียงเปนแผนผังพบวา มี ลักษณะรูปทรงสีเ่ หลีย่ มผืนผา วางตัวแนวยาวในแกนทิศเหนือ-ใต ซึง่ สอดคลองกับผังบริเวณทีป่ รากฏ อยูใ นปจจุบนั นอกจากนี้ เอกสารชิน้ นีย้ งั แสดงใหเห็นวาแตเดิมทีพระพุทธรูปทีป่ ระดิษฐานในระเบียง คตนี้เปนพระพุทธรูปางสมาธิ หาใชเปนพระพุทธรูปปางมารวิชัยเชนในปจจุบันไม ในทีน่ มี้ ขี อ สังเกตวา วัดพระมหาธาตุ หรือวัดหลวงทีส่ าํ คัญทีเ่ ปนหลักของพระนคร และเมือ งอืน่ ๆ ในวัฒนธรรมอยุธยานัน้ จะมีการสรางระเบียงคตอยูล อ มรอบพระเจดีย หรือพระปรางคประธาน อยูดวยกันทั้งสิ้น โดยระเบียงคตดังกลาวนั้นเปนวัฒนธรรมการใชพื้นที่ การปดลอมพื้นที่เพื่อความ ปลอดภัย การกําหนดพื้นที่ใหเปนสัดสวน ตลอดจนการสรางความศักดิ์สิทธิ์ในเชิงสัญลักษณซึ่งเกิด ขึน้ พรอมกับแนวคิดแบบเทวราชาทีอ่ ยุธยาไดรบั สืบทอดมาจากวัฒนธรรมเขมร ในขณะทีพ่ ทุ ธศาสนา ที่รับมาจากลังกาตั้งแตดั้งเดิมนั้นมีวิธีคิดเรื่องดังกลาวที่แตกตางกัน

39

NAJUA_2557_PART_02.indd 103

เพิ่งอาง. 218.

16/10/2557 18:22:12


104

หนาจั่ว: วาดวยสถาปตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดลอม วารสารวิชาการ คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

อยางไรก็ตาม ในการสรางระเบียงคตเพือ่ ลอมรอบพืน้ ทีข่ องเขตพุทธาวาสใหเปนสัดสวน และ ลากวงลอมเขาไปบรรจบตรงหองสุดทายของวิหารธรรมศาลา จึงมีความจําเปนการตองเปลี่ยนแปลง ลักษณะทางสถาปตยกรรมของวิหารธรรมศาลาจากที่เคยเปน “วิหารโถง” เดิมมาเปนวิหารที่มีผนัง ลอม และทําใหหองสวนทายของวิหารเดิมที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางหามญาติที่เปนพระพุทธ รูปที่กอสรางขึ้นตามคติพระอัฏฐารสในสมัยสุโขทัยนั้นไดกลายเปนพระประธานในหอง “ทายจร นัม” ในสวนที่เชื่อมตอกับระเบียงคตแทน จึงมีความจําเปนตองสรางฐานชุกชีใหม และประดิษฐาน พระประธานเปนพระปางมารวิชัยขึ้นเปนประธานของพื้นที่แทน ทั้งนี้รูปแบบการวางผัง และการ สรางพื้นที่ปดลอมดังกลาวเปนแบบแผนที่นิยมทํากันในอยุธยา ซึ่งรูปแบบดังกลาวเปนลักษณะทาง สถาปตยกรรมที่สําคัญ ดังปรากฏในวัดสมัยอยุธยาที่สําคัญหลายวัด เชน วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ เปนตน

ภาพที่ 7: ภาพสามมิตแิ สดงพัฒนาการของผังบริเวณระยะที่ 4 คือ มีการสรางระเบียงคตลอม เขตพุทธาวาส ในป พ.ศ. 2036 ตามความนิยมคุณลักษณะของพื้นที่ตามอุดมคติแบบอยุธยา ในการนั้นจําเปนตองมีการ กอผนังลอมรอบพระวิหารธรรมศาลาเดิมที่เคยเปนวิหารโถง มาเปนวิหารมีผนัง และทําใหพระพุทธรูปยืน ปางหามญาติตามคติการกอสรางพระอัฏฐารสเดิมถูกตัดขาดไปอยูในหองทายจรณัม

NAJUA_2557_PART_02.indd 104

16/10/2557 18:22:12


ฉบับที่ 28 ประจําปการศึกษา 2557

105

9.5 พัฒนาการของผังบริเวณวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ระยะที่ 5

ในรัชกาลพระเอกาทศรถ ในระหวางป พ.ศ. 2148-2153 ไปแลว สถานการณในคาบสมุทร ภาคใตตกก็ยังคงอยูในสภาวะปนปวนจากโจรภัยอุชงตนะเขามาปลนสดม และโรคระบาดทําใหผูคน หลบหนีเขาไปอยูอาศัยในปาทิ้งรางบานเมืองไป จนเมืองนครศรีธรรมราชกลายเปนเมืองรางแทบ จะตัดขาดจากความทรงจําของผูคนไปเสียเลยก็วาได ดังปรากฏกลาวถึงในตํานานพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช40 และมีการคนพบองคพระบรมธาตุเจดียโ ดยนักเดินเรือ หรือพอคาชาวกรุงศรีอยุธยา และไดบอกความดังกลาวกับพระสงฆพนื้ เมือง 2 รูป ทีม่ อี ารามอยูบ ริเวณปากแมนาํ้ ซึง่ อาจจะเปนไป ไดทั้งปากนํ้าทาวังซึ่งเปนเสนทางสัญจรเชื่อมตอจากชายฝงทะเลเขาไปยังเมืองนครศรีธรรมราช หรือ ปากนํา้ แถบลุม นํา้ ปากพนังก็เปนไดทงั้ สิน้ จนไดจาริกและพบพระบรมธาตุเจดียท ชี่ าํ รุดทําลายลงมาถึง ชั้นบัลลังก รวมไปถึงวัดวาอาราม และบานเมืองที่รกรางเปนปารกชัฏ ดังกลาววามีเสือไดจับสัตวขึ้น ไปกินอยูบนลานประทักษิณขององคพระเจดียดวย ตอมามีพราหมณชาวกรุงศรีอยุธยาที่สืบตํานานมาวาเผาพงษของตนไดอัญเชิญพระบรม สารีริกธาตุมาประดิษฐานยังเมืองนครศรีธรรมราชมาชานานแลว พราหมณจากกรุงศรีอยุธยาและ พระสงฆพื้นเมืองจึงไดรวมกันบุกเบิกแผวถาง และทําการวัดขนาดของบัลลังกองคพระบรมธาตุ วัดขนาดพระพุทธรูป และพระเจดีย ตลอดจนขนาดของเมืองเพื่อนําไปทูลตอกษัตริยอยุธยา41 ซึ่ง ในทีน่ สี้ นั นิษฐานวาเปนเหตุการณในสมัยสมเด็จพระเจาทรงธรรม (ครองราชยระหวาง พ.ศ. 2154-2171) ในการนัน้ พระองคไดโปรดเกลาฯ ใหบรู ณปฏิสงั ขรณสว นยอดขึน้ ใหม หลังจากนัน้ จึงมีการหุม ทองสวน ปลียอดดังกลาวถึงในจารึกบนแกนปลียอดใตกลีบบัวหงายเรือนยอดพระบรมธาตุ ซึ่งมีศักราชกํากับ ตรงกับ พ.ศ. 2155 ซึง่ อยูใ นรัชกาลสมเด็จพระเจาทรงธรรม ความวา “พระมหาศรีราชปรีชญา เอาทอง หาตําลึงแลญาติอกี ดวยสัปปุรษุ ทัง้ หลายชวยอนุโมทนา เปนทองหกตําลึง สามบาท สามสลึง ตีเปนแผน สรวมพระธาตุเจา ในขณะออกญาพัทลุงมาเปนพระยานคร แลพระเจาพระครูเทพรักษาพระธาตุ”42 ดูเพิ่มเติมใน "ตํานานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช". ใน อางแลว. หนา 86-87. อยางไรก็ดี ขอมูลใน เอกสารตํานานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชเปนเชนเดียวกับเอกสารโบราณอืน่ ๆ ของไทยทีม่ กี ารจดบันทึก และการคัดลอกสืบทอดกันมาจึงมีขอจํากัดเรื่องความแมนยําในประเด็นเรื่องศักราช แตเมื่อนํามาสอบทวน กับเอกสารอื่นๆ ตลอดจนการพิจารณาบริบทของเนื้อหาพบวาเปนเอกสารที่มีประโยชนตอการศึกษาภาพ รวมประวัติศาสตรอยางยิ่ง 41 จะเห็นได การวัดขนาดของบัลลังกไปนัน้ คงมีจดุ มุง หมายเพือ่ เตรียมการปฏิสงั ขรณ โดยตองใชวสั ดุกอ สราง ทีน่ าํ ลงเรือมาจากกรุงศรีอยุธยา จึงจําเปนตองนําไปคํานวนปริมาณของวัสดุมาจากระเบียบสัดสวนของพระ เจดียน นั่ เอง ดูเพิม่ เติมใน "ตํานานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช". ใน รวมเรือ่ งเมืองนครศรีธรรมราช. (พิมพ เปนอนุสรณในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก เจาพระยาบดินทรเดชานุชิต (แยม ณนคร) ณ เมรุหนา พลับพลาอิสริยาภรณ วัดเทพศิรนิ ทราวาส 27 กุมภาพันธ 2505) พระนคร: กรมศิลปากร. 2505. หนา 87. 42 จารึกที่แกนปลีใตกลีบบัวหงายพระบรมธาตุเจดียนครศรีธรรมราช. ฐานขอมูลจารึกในประเทศไทย ศูนยมานุษยวิทยาสิรินธร http://www.sac.or.th/databases /inscriptions/inscribe_image_detail. php?id=1318 40

NAJUA_2557_PART_02.indd 105

16/10/2557 18:22:13


106

หนาจั่ว: วาดวยสถาปตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดลอม วารสารวิชาการ คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

ในการบูรณปฏิสงั ขรณพระบรมธาตุใหมทงั้ องคดงั กลาว คงตองบูรณะอาคารประกอบอืน่ ๆ ที่ยอมชํารุดทรุดโทรมเปนอยางมากดวย ทั้งทับเกษตร และวิหารเขียนที่อยูดานทิศเหนือขององค พระบรมธาตุเจดีย ในการนัน้ มีหลักฐานวามีการซอมแซมทายจรณัมของวิหารเขียนทีแ่ ตเดิมเวนระยะ หางออกมาจากเจดียเพื่อเปนบันไดทางขึ้นสูลานประทักษิณ ดวยการกออาคารเชื่อมตอออกมาทาง ดานหลังไปบรรจบกับฐานขององคพระบรมธาตุเจดีย ในการนั้นคงไดรื้อยายบันไดนาคของเดิมออก และเคลื่อนยายเศียรพระยานาคขยับออกมาจากแนวเดิม เนื่องจากการกอสรางตอเติมดานหลังของ วิหารเขียนตองตั้งเสา และกอพนักขึ้นไปรับโครงสรางหลังคาสวนที่ตอเติมใหมนี้ ในการตอเติมครั้ง นัน้ คงไดทาํ การสรางประติมากรรมปูนปน ตอนพระบรมโพธิส์ ตั วกาํ ลังเสด็จออกมหาภิเนษกรมณโดย ประทับบนหลังมาทรง และมีเทวดารายรอบ รวมทัง้ มีรปู พระยาวัสดีมารยืนหามมิใหพระบรมโพธิสตั ว ออกบวชอันจะนําไปสูการคนพบหนทางหลุดพน ทําใหวิหารในสวนนี้ถูกเรียกในภายหลังวา “วิหาร มหาภิเนษกรมณ” หรือ “วิหารพระทรงมา” อยางไรก็ตาม ไมมหี ลักฐานเอกสารใดๆ แสดงชวงเวลาการกอสรางตอเติมวิหารสวนนี้ แตใน การศึกษานีจ้ งึ นําแสดงวิหารพระมาไวในพัฒนาการในชวงเวลานี้ ดวยเห็นวาอยางไรก็ตามแมจะมีอยู กอนหนา แตดว ยความชํารุดทรุดโทรมดังกลาวมานัน้ คงไดบรู ณปฏิสงั ขรณครัง้ ใหญในคราวนีเ้ อง รวม ไปถึงจารึกทีฐ่ านพระพุทธรูปปางหามสมุทรทีอ่ ยูต รงประตูทางเขาของอาคารไดกลาววาเปนพระพุทธ รูปที่สรางขึ้นเพื่อหามโรคหาซึ่งสัมพันธกับเหตุการณที่เมืองถูกทิ้งรางไปดวยนั่นเอง ตนพระศรีมหาโพธิ์ในโพธิมณเฑียรที่ปลูกมาตั้งแตกอนหนาป พ.ศ.1919 คงสิ้นอายุขัยลง และอาคารโพธิมณเฑียรคงไดพงั ทลายลงดวยในคราวทีว่ ดั พระบรมธาตุไดชาํ รุดทรุดโทรอยางหนัก ถึง ขนาดทีว่ า ยอดพระบรมธาตุไดหกั ทลายลงมาถึงชัน้ บัลลังก ในการนัน้ จึงมีการสราง “โพธิมณเฑียร” ขึน้ ใหมปรากฏในตํานานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชความวา “...ภายยับพรมหาธาตุ จึง่ มหาปเรียนทศ สี กุฏอี ยูภายยับพรมหาธาตุ จึง่ มหามงคลเอามหาโพธิ แลธุรญาติปรงวนมาดาปเรือมาแตลงั กา พระศรี มหาโพธิไสอางทองมา สรางวัดชื่อวัดพลับ พรศรีมหาโพธิปลูกฝายอุดร พรมหาธาตุปลูก ทังอางทอง นัน้ แลวกออาศนขนึ้ ลอมรอบทัง้ สีดา น ตรกอพระพุทธรูปสามดาน ปดฉิมกอพระบันทมองคหนึง่ พระ ระเบียงรอบ ๒๘ หอง จึ่งมหามงคล ขึ้นชื่อวาพรโพธิมณเฑียน..”43 จากขอความดังกลาว ไดอธิบาย ถึงการนําหนอพระศรีมหาโพธิใ์ สอา งทองคํามากจากลังกา โดยปลูกอยูท างทิศเหนือของพระมหาธาตุ เจดีย ลอมรอบดวยอาสนะทั้งสี่ดาน และประดิษฐานพระพุทธรูปไว 3 ดาน ทิศตะวันตกประดิษฐาน พระพุทธรูปปางไสยาสน และมีพระระเบียงลอม 28 หอง โดยในลําดับเหตุการณตามตํานานระบุวา ชวงที่สราง “โพธิมณเฑียร” ซึ่งมีรูปแบบคลายคลึงกับโพธิมณเฑียรที่เปนอยูในปจจุบัน

43

David K.Wyatt. อางแลว. p216.

NAJUA_2557_PART_02.indd 106

16/10/2557 18:22:13


ฉบับที่ 28 ประจําปการศึกษา 2557

107

9.6 พัฒนาการของผังบริเวณวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ระยะที่ 6

ในรัชกาลพระเจาทรงธรรม ในชวงระหวาง พ.ศ. 2155-2170 จะเห็นวาวัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราชมีพฒ ั นาการของผังบริเวณเปลีย่ นแปลงไปไมมากนัก เนือ่ งจากสวนใหญเปนการฟน ฟู บูรณปฏิสังขรณเสียมากกวา จนกระทั่งในมหาศักราช 1550 หรือป พ.ศ.2171 ซึ่งตรงกับปสุดทาย ของรัชกาลพระเจาทรงธรรม ไดมีการสรางพระวิหารยอดมณฑปอยูทางดานใตของพระบรมธาตุตรง ตําแหนงทีเ่ ปนพระวิหารหลวงในปจจุบนั ดังกลาวถึงในตํานานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ความวา “พรมหาธาตุนั้นดวย แลวศรีมหาราชาสรางพรวิหารฝายทักสิณพรมหาธาตุ เปนมรฏบลอมแลกอ พรเจดีย ในพรวิหารลง..วาปดทองมาถึงอาศน แลวกอพรพุทธรูป เปนดั้บสีดาน ดานลแปดพรองค เขากันเปน พรสามสิบสองพรองค พระพุทธปทานสีดานๆ ละองคเขากันเปนสามสิบหกพรองค จึงศรีมหาราชาสรางนาญกสวยไวสํารับพรวิหารๆ นั้นชือพรวิหารหลวง..”44 โดยสรางเปนแรกสรางนั้น มีลักษณะเปน “พระวิหารยอดครอบเจดีย” ซึ่งตรงกับรูปแบบ สถาปตยกรรมทางพุทธศาสนาของศรีลังกาที่เรียกวา “ถูปาฆระ” หรือหมายถึง “สถูปเจดียที่มี หลังคาคลุม” ดังที่กลาวความในเอกสารวา เปนพระมณฑปลอมพระสถูปเจดียซึ่งสูง 7 วา45 โดย รอบสถูปเจดียทั้ง 4 ดาน ประดิษฐานพระพุทธรูปดานละ 8 องค และพระพุทธรูปประธานดานละ 1 องค รวมเปนพระพุทธรูปทั้งสิ้น 36 องค จากการกําหนดสัดสวนของพระเจดียท อี่ ยูภ ายในพระมณฑปทีก่ ลาววามีความสูง 7 วา ทําให สัดสวนของชั้นหลังคายอดของพระมณฑปนั้นยิ่งสูงตองมากขึ้น ในที่นี้จึงมีขอสังเกตวา การกอสราง พระวิหารยอดมณฑปที่มีขนาดใหญโตเชนนี้ตองมีประสบการณเชิงชางชั้นสูง ซึ่งในรัชกาลพระเจาทรงธรรมนีไ้ ดมกี ารกอสรางวิหารยอดมณฑปขนาดใหญมากอนหนานี้ 2 องค คือ พระวิหารยอดมณฑป ประดิษฐานพระมงคลบพิตร ในปพ.ศ. 2146 และพระวิหารยอดมณฑปประดิษฐานพระพุทธบาทที่ สระบุรดี ว ย จึงแนวคิดของการทําพระวิหารยอดมณฑปทัง้ 3 องคนจี้ งึ ยอมตองแสดงความสัมพันธกนั ทางใดทางหนึ่งอยางแนนอน นอกจากนี้ การสรางพระวิหารคลุมเจดียไดทําใหพระเจดียภายในนั้นมีความหมายเปน “ถูปาฆระ” ตามคติของลังกาอาจจะเปนผลมาจากการที่พระองคไดรับสนับสนุนใหคณะสงฆไป จาริกแสวงบุญยังลังกาดวยก็เปนได ซึ่งในการนั้นทําใหพระองคไดทราบขาวสารของการมีอยูของ “รอยพระพุทธบาท” ที่ยังประทับอยูในความทรงจําของชาวลังกา แตทวาสูญสิ้นไปจากความทรงจํา ชาวสยามแลว ทําใหพระองคไดโปรดเกลาใหคนหาจนพบรอยพระพุทธบาทที่เขาปถวีเมืองสระบุรีใน ที่สุด เพราะฉะนั้นการเกิดขึ้นของ “ถูปาฆระ” ทรงมณฑปแหงนี้ จึงมิอาจเกิดขึ้นไดดวยความบังเอิญ หากแตเปนการเขาใจในแกนสารอยางลึกซึง้ ในคติการกอสราง และประยุกตสกู ารสรางสรรคออกแบบ ทางสถาปตยกรรมและไดถายทอดออกมาเปนอาคารทรงมณฑปอยุธยาในที่สุด

44 45

NAJUA_2557_PART_02.indd 107

David K.Wyatt. อางแลว. p.223. รวมเรื่องเมืองนครศรีธรรมราช. อางแลว. หนา 94.

16/10/2557 18:22:13


108

หนาจั่ว: วาดวยสถาปตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดลอม วารสารวิชาการ คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

ภาพที่ 9: ภาพสามมิตแิ สดงพัฒนาการของผังบริเวณระยะที่ 6 คือ ในรัชกาลพระเจาทรงธรรมมีการซอมแซม บูรณปฏิสังขรณวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชทั้งพระอาราม และยังกอสรางพระวิหารยอดมณฑปคลุม เจดียอยูทางดานทิศใตขององคพระบรมธาตุอีกดวย 9.7 พัฒนาการของผังบริเวณวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ระยะที่ 7

พัฒนาการของผังบริเวณระยะที่ 6 มีความเปลี่ยนแปลงอยูตรงพื้นที่บริเวณดานทิศใตของ องคพระบรมธาตุเจดียที่เคยเปนที่ตั้งของพระมณฑปคลุมพระเจดีย กลาวคือ มีการเปลี่ยนแปลง รูปแบบของวิหารดังกลาวมาเปนวิหารหลวงทีม่ ขี นาดใหญ โดยมีผงั พืน้ ทีใ่ ชสอยภายในเปนรูปสีเ่ หลีย่ ม ผืนผา และอยูภายใตหลังคาทรงจั่วแทนหลังคามณฑปอีกทั้งมุขดานหนา และหลังเปนหลังคาแบบ มุขประเจิด สันนิษฐานวาวิหารมณฑปเดิมนัน้ ไดชาํ รุดทรุดโทรมลง และพืน้ ทีใ่ ชสอยภายในมีนอ ยเกินกวา จะรองรับกิจกรรมทางศาสนาตางๆ ได จึงมีการรือ้ อาคารดังกลาวลง และสรางเปนวิหารหลวงในปจจุบนั แทนที่ ดังที่มีสมเด็จฯ เจาฟากรมพระยานริศรานุวัดติวงศไดบันทึกไวเมื่อคราวเสด็จตรวจราชการ ไปยังเมืองนครศรีธรรมราช ในป พ.ศ.244546 ซึ่งเจาพระยาสุธรรมมนตรี (พรอม) ไดกราบทูลตอ สมเด็จฯ เจาฟากรมพระยานริศรานุวัดติวงศวา “ทําเมื่อครั้งเจาคุณปู กรมศักดิ์เปนแมการ” ซึ่งเจาคุณปู ของพระยาสุธรรมมนตรี (พรอม) ก็คอื เจาพระยานครศรีธรรมราช (นอย) ซึง่ เปนเจาเมืองนครศรีธรรมราช ระหวางป พ.ศ. 2354-2382 ซึ่งชวงเวลาดังกลาวอยูในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัย รัชกาลที่ 2 และตนรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ 3 แหงกรุงรัตนโกสินทร นริศรานุวัดติวงศ, สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ เจาฟากรมพระยา. จดหมายระยะทางไปตรวจราชการ แหลมมลายู ร.ศ.121. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. 2539. หนา 65.

46

NAJUA_2557_PART_02.indd 108

16/10/2557 18:22:13


ฉบับที่ 28 ประจําปการศึกษา 2557

109

ภาพที่ 10: ภาพสามมิติแสดงพัฒนาการของผังบริเวณระยะที่ 7 คือ ในระหวางป พ.ศ.235-2382 มีการ สรางวิหารหลวงหลังปจจุบันขึ้นแทนที่วิหารยอดมณฑปหลังเดิม 9.8 พัฒนาการของผังบริเวณวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ระยะที่ 8

พัฒนาการของผังบริเวณวัดพระบรมธาตุในระยะนี้ ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ 5 โดยเปนเหตุการณในชวงที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลา เจาอยูหัว รัชกาลที่ 6 ซึ่งในขณะนั้น พระองคยังดํารงพระยศเปนสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมงกุฎราชกุมาร ไดเสด็จพระราชดําเนินมายังวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ซึ่งในการเสด็จ พระราชดําเนินในครั้งนั้นมีการบันทึกภาพไวจํานวนหนึ่ง และมีภาพที่ถูกบันทึกมาจากมุมมองดาน ตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเห็นภาพการตอเติมระเบียงคตดานทิศเหนือเพิ่มเติมออกมาจากระเบียงคต เดิม ดังจะเห็นไดจากภาพถายเกาที่ไดบันทึกจากมุมดานตะวันออกเฉียงเหนือยังแลเห็นการปรุง โครงสรางของหลังคาระเบียงคต และวางไมกลอนพาดไวกับโครงสรางเพื่อใหตัวไมกลอนคงตัวกอน จะติดตั้งบนโครงสรางหลังคา และแลเห็นแนวกําแพงแกวดานทิศเหนือที่อยูถัดออกมาจากมุมของ ระเบียงคตไมมากนัก นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว เมื่อครั้งยังดํารงพระยศเปนพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมงกุฎราชกุมารโปรดฯ ใหสรางซุม ประตู ตรงหนาพระวิหารธรรมศาลาดวยลักษณะ ซุมประตูทรงยอดแบบมหามงกุฎ ละมายกับซุมประตูยอดมงกุฎของวัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม พระราชทานนามของประตูวา “ประตูเยาวราช” บนหนาบันของซุมจารึกปสรางวา ร.ศ. 128 (พ.ศ.2452)

NAJUA_2557_PART_02.indd 109

16/10/2557 18:22:14


110

หนาจั่ว: วาดวยสถาปตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดลอม วารสารวิชาการ คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

นอกจากนี้ ในชวงทีพ่ ระรัตนธัชมุนเี ปนเจาอาวาส ระหวาง พ.ศ. 2470-2521 ไดมกี ารบูรณะ และสราง “วิหารพระกัจจายนะ” หรือที่เรียกกันทั่วไปวา “วิหารพระแอด” จากเดิมที่มีลักษณะเปน อาคารโถงและตั้งอยูภายนอกระเบียงคต ถูกสรางขึ้นใหมและตั้งอยูภายในระเบียงคต อยูทางดาน เหนือของ “วิหารศรีธรรมโศกราช” หรือ “วิหารสามจอม” เนือ่ งจากการขยายตัวของผังบริเวณในระยะสุดทายนัน้ สวนใหญจะเปนการสรางเสนาสนะ ตางๆ ในสวนที่วางของผังบริเวณเปนสวนใหญ โดยเฉพาะพื้นที่ภายในระเบียงคตดานทิศเหนือ จะปรากฏกลุม เจดียเ รียงรายอยูโ ดยรอบวิหารโพธิลงั กา บางสวนระบุไววา มีการสรางเมือ่ ป พ.ศ. 2460 อยางไรก็ตาม เนื่องจากการจดบันทึกนั้น มักจะจดไวเฉพาะสิ่งกอสรางที่สรางขึ้นถวายเปนพุทธบูชา และปที่จดบันทึกนั้นจะเปนปที่ไดอุทิศถวาย ไมคอยกลาวถึงการรื้ออาคารใดๆ ลง ซึ่งในบางครั้ง กอนการกอสรางของใหมนั้นตรงตําแหนงดังกลาวอาจจะมีอาคารดั้งเดิมที่ชํารุดทรุดโทรมอยูดวย ดังในภาพถายเกาที่นําเสนอมาขางตน จะเห็นวามีการรื้ออาคารที่มีลักษณะเปนหอระฆัง หรือ หอกลองทีม่ รี ะเบียงแบบหลังคาทับเกษตรองคพระบรมธาตุทเี่ คยตัง้ อยูบ ริเวณดานขางของระเบียงคต ดานตะวันออกลงดวย

ภาพที่ 11: ภาพสามมิติแสดงพัฒนาการของผังบริเวณระยะที่ 8 คือ หลังจากสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ 5 เปนตนมา จะเห็นวามีการกอสรางอาคารตางๆ ภายในผังบริเวณ พุทธาวาสที่ลอมรอบดวยระเบียงคต

NAJUA_2557_PART_02.indd 110

16/10/2557 18:22:15


ฉบับที่ 28 ประจําปการศึกษา 2557

111

10. สรุปผลการศึกษา

จากการศึกษา “พัฒนาการของผังบริเวณวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชจากหลักฐาน ทางประวัติศาสตร และการสํารวจภาคสนาม” มุงทําการศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับการกอรูป และพัฒนาการของผังบริเวณ และรูปรูปแบบศิลปสถาปตยกรรมของวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช โดยละเอียด โดยใชระเบียบวิธีวิจัยทางประวัติศาสตรสถาปตยกรรม ตลอดจนการใชหลักฐานทาง ประวัติศาสตรประเภทตางๆ สอบทวนกัน เพื่อใหทราบถึงประวัติศาสตรการกอสราง พัฒนาการทาง รูปแบบสถาปตยกรรม รวมกับการสํารวจรังวัดสถาปตยกรรมตางๆ ในวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช โดยละเอียด การจัดทําฐานขอมูลภาพถายปจจุบัน การคนควาขอมูลจากภาพถายเกา ตลอดจน การจัดทําแบบสถาปตยกรรม และแบบสถาปตยกรรมคอมพิวเตอรสามมิติ เพื่ออธิบายรูปแบบทาง สถาปตยกรรมของวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชอยางเปนระบบ เพื่อใชเปนขอมูลประกอบการ พิจารณาในเสนทางสูการเปนแหลงมรดกโลกทางวัฒนธรรม การศึกษาพัฒนาการของผังบริเวณของวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชนี้ไดสะทอนให เห็นวาวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชมีพัฒนาการผานกาลเวลามาอยางยาวนาน ผานทั้งชวงเวลา ที่รงุ โรจน และชวงเวลาทีท่ รุดโทรมเนือ่ งจากบานเมืองประสบเหตุทพุ ภิกขภัย แตอยางไรก็ตาม แมวา จะไมมีผูคนอยูในเมือง จนกระทั่งเมืองและวัดตองทิ้งรางไปนั้น แตทวาความทรงจําของผูคนที่อยูใน ที่ตางๆ ทั้งที่ใกลที่ไกล ในฐานะที่องคพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และวัดพระธาตุนครศรีธรรมราช ไดทําหนาที่เปนหมุดหมายสําคัญของการประดิษฐานพระพุทธศาสนาในดินแดนตางๆ ในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต โดยเฉพาะรัฐในลุมนํ้าเจาพระยา อาทิ อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร ตลอดจน สุโขทัย และลานนา ไดยดึ โยงเอาพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชเปนหมุดหลักสําคัญในการเขียนคัมภีร และประวัติศาสตรพระพุทธศาสนามาโดยตลอด ดังจะเห็นวา แมวาในประวัติศาสตรที่มีเหตุการณ หลายครัง้ เมืองนครศรีธรรมราชตองรางลาผูค น แตอยางไรก็ตามก็จะมีผมู าแสวงหาองคพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราชและไดทํานุบํารุง ซอมแซม บูรณะปฏิสังขรณมาตลอดหนาประวัติศาสตร ยังผลให วัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชธํารงรักษาคุณคาในฐานะศูนยกลางอันรุงเรืองของพระพุทธศาสนา มาไดตราบกระทั่งปจจุบัน ดังที่ฉายแสงทองแหงความรุงโรจนผานมรดกพุทธศิลปแหงความรุงโรจน ผานมรดกพุทธศิลปสถาปตยกรรมตางๆ ภายในวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ในที่นี้ ไดขอสรุปของพัฒนาการของผังบริเวณของวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมใน 8 ระยะ ใหญๆ ซึง่ การเปลีย่ นแปลงของผังบริเวณดังกลาวนัน้ เปนผลมาจากการกอสรางเสนาสนะตางๆ ถวาย เพือ่ เปนพุทธบูชาตอองคพระบรมสารีรกิ ธาตุทปี่ ระดิษฐานอยูใ นพระสถูปเจดีย โดยมุง ประโยชนใชสอย ในแงมุมตางๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมทางศาสนาที่เกิดขึ้นจากพลังความศรัทธาของผูคนเปนสําคัญ ดังรายละเอียดตอไปนี้ ระยะที่ 1. กอสรางองคพระบรมธาตุเจดีย ในป พ.ศ.1719 ซึ่งในการกอสรางนั้นอาจจะมี การสรางเจดียร าย และวิหารหรือศาลาสําหรับประกอบพิธกี รรมทางศาสนาอยูค ดู ว ยแตไมมหี ลักฐาน ลายลักษณยืนยัน

NAJUA_2557_PART_02.indd 111

16/10/2557 18:22:15


112

หนาจั่ว: วาดวยสถาปตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดลอม วารสารวิชาการ คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

ระยะที่ 2. พัฒนาการของผังบริเวณ อาจเปนไปได 3 แนวทาง คือ 2.1 กอสรางวิหารธรรมศาลา และทับเกษตร ในป พ.ศ. 1861 2.2 มีการกอสรางโพธิมณเฑียรกอนหนาการสรางวิหารธรรมศาลา และทับเกษตร ในปพ.ศ. 1861 2.3 มีการกอสรางโพธิมณเฑียรหลังการกอสรางวิหารธรรมศาลา และทับเกษตร ในปพ.ศ. 1861 แตตองกอนหนาการสรางวิหารเขียน ในป พ.ศ. 1919 ระยะที่ 3. กอสรางพระวิหารเขียน ในปพ.ศ. 1919 ระยะที่ 4. กอสรางระเบียงคตลอมผังบริเวณเขตพุทธาวาส ในป พ.ศ. 2036 และสันนิษฐาน วามีการลอมผนังวิหารธรรมศาลา และการกอทายวิหารใหเปนทายจรณัม และเชือ่ มตอกับระเบียงคต ระยะที่ 5. การบูรณปฏิสังขรณวัดพระบรมธาตุครั้งใหญทั้งพระอาราม กลาวคือมีการบูรณ ปฏิสังขรณพระเจดียที่ทลายลงมาถึงบัลลังก ซึ่งคงไดมีการซอมวิหารเขียน ทับเกษตร และวิหารพระ มาดวย รวมไปถึงมีการปลูกตนศรีโพธิ์ที่นํามาจากลังกา และสรางโพธิมณเฑียรขึ้นใหม ระยะที่ 6. กอสรางวิหารที่ภายในประดิษฐานพระเจดีย และพระพุทธรูป เปนวิหารที่เรือน ยอดทรงมณฑป ในป พ.ศ. 2171 ระยะที่ 7. การสรางวิหารหลวงใหมลงตรงตําแหนงวิหารยอดมณฑปหลังเดิม ซึง่ การกอสราง วิหารหลวงใหมนี้อยูในราวป พ.ศ. 2354-2382 ระยะที่ 8. การกอสรางระเบียงคตทางดานทิศเหนือเพิ่มเติม และการกอสรางซุมประตู เยาวราช ในป พ.ศ.2452 อยางไรก็ตาม การศึกษาในครั้งนี้มีขอจํากัดหลายประการโดยเฉพาะความยอกยอนของ เอกสารประวัติศาสตรตางๆ ซึ่งหากมีการศึกษาเอกสารตํานานเมืองนครศรีธรรมราช และตํานานวัด พระบรมธาตุนครศรีธรรมราชอยางเปนระบบจะมีคณ ุ ปู ระการตอการศึกษาในเรือ่ งนีเ้ พิม่ เติมขึน้ และ อาจทําใหผูวิจัยมีความผิดพลาดนอยลง ซึ่งทําใหในการศึกษาในหัวขอนี้ตองใชเวลามากขึ้นอีกหลาย เทาตัวในการศึกษาเอกสาร รวมทัง้ ตองเทียบเคียงคําศัพทบางสวนกับผูเ ชีย่ วชาญภาษาถิน่ ใตกอ น ซึง่ ทําใหเสียเวลาตลอดจนอาจจะผิดพลาดได นอกจากนี้ ยังมีอาคารขนาดยอมอีกเปนจํานวนมากทีไ่ มสามารถหาชวงเวลาในการกอสรางที่ แนนอนได เชน “วิหารสามจอม” หรือ “วิหารพระศรีธรรมโศกราช” ทีเ่ ปนอาคารทีป่ ระกอบอยูใ นผัง บริเวณทีย่ งั ไมสามารถกําหนดชวงเวลาในการกอสรางได รวมไปถึงการซอมแปลงพระวิหารหลวงครัง้ ใหญ และการซอมวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรราชทั้งพระอารามในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ดําเนินการโดย ทานปานผูเ ปนพระภิกษุ หรือการซอมโพธิมณเฑียรโดยทานนิม่ ผูเ ปนเจานายเชือ้ สายนครศรีธรรมราช ก็ลวนแตมีความสําคัญและนาสนใจทั้งสิ้น ซึ่งสมควรไดรับการศึกษาวิจัยตอเนื่องตอไป

NAJUA_2557_PART_02.indd 112

16/10/2557 18:22:15


ฉบับที่ 28 ประจําปการศึกษา 2557

113

11. เอกสารอางอิง เอกสารภาษาตางประเทศ - David K.Wyatt. The Crystal sands: the chronicles of Nagara Sri Dharrmaraja. New York: Cornell University. 1975. - Magellan., Translated by Lord Stanley of Alderley. The First Voyage Round the World. (Translated from the accounts of Pigafetta and other contemporary writers.) 1874. - Michel Parent. “Report on World Heritage Criteria”. In ICOMOS study, compiled jukkajokilehto. The World Heritage List: What is OUV? Defining the Outstanding Universal Value of Cultural World Heritage Properties. Paris: ICOMOS. 1979. - Stuart Munro-Hay. Nakhon Sri Thammarat the Archeology, History and Legends of a Southern Thai Town. BKK: White Lotus. 2001. เอกสารภาษาไทย - กรมศิลปากร. ฐานานุศักดิ์ในงานสถาปตยกรรมไทย. กรุงเทพ: บริษัท ไทภูมิ พับลิชชิ่ง จํากัด. 2551. - กรมศิลปากร. รวมเรื่องเมืองนครศรีธรรมราช. (พิมพเปนอนุสรณในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก เจาพระยาบดินทรเดชานุชติ (แยม ณนคร) ณ เมรุหนาพลับพลาอิสริยาภรณ วัดเทพศิรนิ ทราวาส 27 กุมภาพันธ 2505) พระนคร: กรมศิลปากร. 2505. - เกรียงไกร เกิดศิร.ิ “โครงการวิจยั มรดกทางสถาปตยกรรมวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช” นําเสนอผลงาน วิจัย ในการประชุมวิชาการ และการนําเสนอผลงงานวิจัย “100 เอกสารสําคัญ: สรรพสาระ ประวัติศาสตรไทย ครั้งที่ 5” อันเปนสวนหนึ่งของ “โครงการวิจัย 100 เอกสารสําคัญเกี่ยวกับ ประวัติศาสตรไทย”. (อาจารย ดร. วินัย พงศศรีเพียร, ผูอํานวยการแผนการวิจัย) วันที่ 27-28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554. ณ โรงแรมบี.พี.แกรนดทาวเวอร อ.หาดใหญ จ.สงขลา. - จิตร ภูมิศักดิ์. “นครศรีธรรมราชและอโยธยา” ใน สังคมไทยลุมแมนํ้าเจาพระยากอนสมัยศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: ฟาเดียวกัน. 2547. - ตรี อมาตยกุล . “นครศรีธรรมราชในสมัยกรุงศรีอยุธยา”. รายงานการสัมนาประวัตศิ าสตรนครศรีธรรมราช ครั้งที่ 1 (พ.ศ.2521).นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 2552. - “ตํานานเมืองนครศรีธรรมราช”. ใน รวมเรือ่ งเมืองนครศรีธรรมราช. (พิมพเปนอนุสรณในงานพระราชทาน เพลิงศพ พลเอก เจาพระยา บดินทรเดชานุชิต (แยม ณนคร) ณ เมรุหนาพลับพลาอิสริยาภรณ วัดเทพศิรินทราวาส 27 กุมภาพันธ 2505) พระนคร: กรมศิลปากร. 2505. - ถนอม พูนวงศ. ประวัติเมืองนครศรีธรรมราช. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส. 2550. - ธรรมกิตติ, พระ, (เขียน). สวาท เหลาอุด, (ปริวรรต และแปล). คัมภีรทาฐาธาตุวงศ. กรุงเทพฯ: กรม ศิลปากร. 2554. นริศรานุวดั ติวงศ, สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ เจาฟากรมพระยา. จดหมายระยะทางไปตรวจราชการแหลม มลายู ร.ศ.121. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. 2539. นิจ หัญชีระนันทน. “นครศรีธรรมราชในดานของการตัง้ ถิน่ ฐานของมนุษย”. ใน รายงานการสัมนาประวัตศิ าสตร นครศรีธรรมราช ครัง้ ที่ 1 (พ.ศ.2521). นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 2552. - ประภัสสร ชูวเิ ชียร. พระบรมธาตุเจดีย นครศรีธรรมราช มหาสถูปแหงคาบสมุทรภาคใต. กรุงเทพ: เมือง โบราณ. 2553.

NAJUA_2557_PART_02.indd 113

16/10/2557 18:22:16


114

หนาจั่ว: วาดวยสถาปตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดลอม วารสารวิชาการ คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

- พิริยะ ไกรฤกษ. กึ่งพุทธกาลพุทธศิลปไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพกรุงเทพ. 2555. - พิเศษ เจียจันทรพงษ. พระพุทธสิหงิ ค “จริง” ทุกองค ไมมี “ปลอม” แตไมไมไดมาจากลังกา. กรุงเทพฯ: ศิลปวัฒนธรรม. 2546. - ภาณุพนั ธวงศวรเดช, สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ เจาฟากรมพระยา. ชีววิ ฒ ั น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพโสภณ พิพรรฒธนากร. 2471. - ยงยุทธ ชูแวน. “ลักษณะทางดานสังคมและเศรษฐกิจของชุมชนชาวนาบริเวณรอบทะเลสาบสงขลาสมัย อยุธยาถึงรัตนโกสินทร” ใน ยงยุทธ ชูแวน บรรณาธิการ, โลกของลุมทะเลสาบรวมบทความ วาดวยประวัติศาสตร และวัฒนธรรมทองถิ่นลุมทะเลสาบสงขลา. พระนคร: สํานักพิมพนาคร, 2541. - วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร. เรียนรูบ ชู าพระบรมธาตุเมืองนคร. นครศรีธรรมราช: วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร. 2547. - วินยั พงศศรีเพียร, บรรณาธิการ. อยุธยา พรรณนาภูมสิ ถานและมรดกความทรงจําแหงพระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: อุษาคเนย. 2551. - วินยั พงศศรีเพียร. “จารึกพระเจาจันทรภานุ ศรีธรรมราชา: มรดกความทรงจําแหงนครศรีธรรมราช”. ใน 100 เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย ลําดับที่ 10. กรุงเทพฯ: สํานักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว.) 2554. - วินัย พงศศรีเพียร. “พระตําราเพื่อกัลปนา (1): มรดกความทรงจําแหงเมืองพัทลุง”. ใน 100 เอกสาร สําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย ลําดับที่ 11. กรุงเทพฯ: สํานักงานกองทุนสนับสนุนการ วิจัย (สกว.) 2554. - ศิวกรการชาง, บริษัทจํากัด. การบูรณะปฏิสังขรณพระบรมธาตุ วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนคร ศรีธรรมราช. สงขลา: โรงพิมพรวมชาง. 2535. - ศศิกานต คงศักดิ์. “นครศรีธรรมราชในจดหมายแฟรนาว เมนเดส ปนตู ค.ศ.1543 และปตตานีและ นครศรีธรรมราชในสารานุกรมฝรั่งเศส ค.ศ. 1660”. ใน 100 เอกสารสําคัญ: สรรพสาระ ประวัติศาสตรไทย ลําดับที่ 12. กรุงเทพฯ: สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) 2554. - อมรา ศรีสชุ าติ. สายรากภาคใต: ภูมลิ กั ษณ รูปลักษณ จิตลักษณ. กรุงเทพฯ: สํานักงานกองทุนสนับสนุน การวิจัย, 2544. ฐานขอมูลออนไลน - จารึกที่ 28 จารึกวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช. ฐานขอมูลจารึกในประเทศไทย ศูนยมานุษยวิทยา สิรนิ ธร เขาถึงขอมูลที่ http://www. sac.or.th/data bases/ins criptions/inscribe_image_ detail.php?id=278 - จารึกทีแ่ กนปลีใตกลีบบัวหงายพระบรมธาตุเจดียน ครศรีธรรมราช. ฐานขอมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย มานุษยวิทยาสิรินธร เขาถึงขอมูลที่http://www.sac.or.th/databases /in scriptions/in scribe_image_detail.php?id=1318 - จารึกวัดเสมาเมือง. ฐานขอมูลจารึกในประเทศไทย ศูนยมานุษยวิทยาสิรนิ ธร เขาถึงขอมูลที่ http://www. sac.or.th/databases/inscrip tions/inscribe_detail. php?id=323 - จารึกวิหารโพธิ์ลังกา ฐานขอมูลจารึกในประเทศไทย ศูนยมานุษยวิทยาสิรินธร เขาถึงขอมูลที่ http:// www.sac. or.th/databases /inscriptions/inscribe_detail. php?id=556

NAJUA_2557_PART_02.indd 114

16/10/2557 18:22:16


ฉบับที่ 28 ประจําปการศึกษา 2557

115

12. กิตติกรรมประกาศ ขอขอบคุณ: สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สกว. และ อาจารย ดร. วินัย พงศศรีเพียร ที่ สนับสนุน และผลักดันใหทาํ การวิจยั “โครงการวิจยั มรดกทางสถาปตยกรรมวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช” อันเปนโครงการสืบเนือ่ งจากการศึกษาวิจยั เพือ่ การถอดรหัสเอกสารสําคัญเกีย่ วกับจังหวัดนครศรีธรรมราช และภาคใต ภายใต “ชุดโครงการวิจัย 100 เอกสารสําคัญเกี่ยวกับประวัติศาสตรไทย” สนับสนุนการวิจัย จากสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ขอขอบคุณ: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร และสํานักงานคณะกรรมการวิจัย แหงชาติที่สนับสนุนการวิจัยใน “ชุดโครงการแผนงานวิจัยแผนยุทธศาสตรการขับเคลื่อนประเทศไทยเปน ศูนยกลางการทองเที่ยวของภูมิภาคดวยการจัดการแหลงมรดกโลกในเอเชียตะวันออกเฉียงใตภาคพื้น ทวีป” ประจําปงบประมาณ 2556 ขอขอบคุณ: คณะทํางานอันประกอบดวยผูชวยเก็บขอมูล ผูชวยสํารวจรังวัด และผูชวยจัดทํา แบบสถาปตยกรรม ผูชวยจัดทําแบบสถาปตยกรรมคอมพิวเตอรสามมิติ และการ Render ที่รวมทํางาน ตางๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ตั้งแตป พ.ศ. 2553-2556 ดังรายนามตอไปนี้: คุณธีรยุทธ สุวลักษณ (สํานักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม), คุณอนุรักษ ชํานาญชาง, อาจารยจักรภพ เสาเวียง (คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี), อาจารยนริศ อาจยืนยง (มหาวิทยาลัย ราชภัฏธนบุรี), คุณสมชาย เชื้อชวยชู, คุณอรวรรณ ณวัชรเจริญ, คุณยศพร ปุณวัฒนา, คุณธนกฤต ธัญ ญากรณ, คุณสิริรัตน เพชรรัตน, อาจารยจันเพ็ง ถอ (คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยสุพานุวง หลวงพระบาง สปป.ลาว), อาจารยคําซาย พันทะวงศ (คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยสุพานุวง หลวงพระบาง สปป.ลาว), คุณกึกกอง เสือดี, คุณปทม วงศประดิษฐ, คุณณัฐพล แซฮวง, คุณวิสา โตทับเทีย่ ง, คุณธนพร วัฒนสุข, คุณสุรพงษ แจมนิยม, อาจารยตะวัน วีระกุล (คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัย ศิลปากร)

NAJUA_2557_PART_02.indd 115

16/10/2557 18:22:16


116

หนาจั่ว: วาดวยสถาปตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดลอม วารสารวิชาการ คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

The Study of the Layout Plan Development of Wat Phra Boromthat Nakhon Si Thammarat from Historical Documents and Field Survey Kreangkrai Kirdsiri, Ph.D., Lecturer

Department of Architecture Faculty of Architecture, Silpakorn University Boonyakorn Vajiratheinchai, Lecturer

Department of Thai Architecture and Related Arts Faculty of Architecture, Silpakorn University

Abstract “The Study of the Layout Plan Development of Wat Phra Boromthat Nakhon Si Thammarat from Historical Documents and Field Survey” aims to study how it has been formed as well as its development. The history of the construction and development are the gist of the study. Arts and architecture were thoroughly studied, based on historical evidences, measurement, and photographs. The data base, comprising architectural models and 3D models, is prepared so as to portray the architectural form, which can also be the information for the nomination of Wat Phra Boromthat Nakorn Sri Thamaraj as the World Heritage site. The development of the temple can be divided into eight steps as follows: Step 1: In 1176, the principle Chetiya was established, along with surrounded Chetiyas and northern Vihara as an open-air pavilion. However, there was no written document mentioned this.

NAJUA_2557_PART_02.indd 116

16/10/2557 18:22:16


ฉบับที่ 28 ประจําปการศึกษา 2557

117

Step 2: The development of site plan can be assumed as follows: 2.1 Bodhi Shrine, preaching hall as an open-air pavilion and roof of surrounded principle Chetiya were constructed in 1318. 2.2 Bodhi Montien (Bodhi tree shrine) was constructed, followed by Vihara Dhammasala (preaching hall) and Vihara Tap Kaset (the gallery and shelter at the basement of the main stupa) in 1318. 2.3 Bodhi Montien (Bodhi tree shrine) was constructed after the construction of Vihara Dhammasala (preaching hall) and Vihara Tap Kaset (the gallery and shelter at the basement of the main stupa), but before the construction of Vihara Khien (Painted Vihara) in 1376. Step 3: Vihara Khiean (Painted Vihara) was built in in 1376. Step 4: Rabieng Kot (surrounded gallery) was constructed in 1493. There is the assumption that walls surrounded Vihara Dhammasala were built, along with the rare porch connected to the gallery. Step 5: During King Song Dhamma, King of Ayuthaya, the overall aspects of Wat Phra Boramthat were reconstructed, especially the principle Chedi, Vihara Khien, Vihara Tap Kaset and Vihara Mahapinetsakrom. The Bodhi tree, imported from Sri Lanka, was planted and the Bodhi Monthein was reconstructed during that period. Step 6: In 1628, the principle Vihara was constructed as a square with a pyramid roof for the chedi and Buddha images at the south of the principle Chedi. Step 7: During 1811-1839, the new main Vihara was constructed to replace the pyramid-roof Vihara. Step 8: From 1909-present, Yaowarat Gate, Northern gallery, Sridhamasokaraja Vihara, Kajjaiyana Vihara and small Chetiyas were constructed. Key Word: Wat Phra Boromthat Nakorn Sri Thamaraj / Wat Phra Mahathat Wora-

mahawihan / Nakhon Si Thammarat / Site Plan / Thai Architecture and Related Art /Architectural Heritage / Buddhist Architectural Heritage / History of Architecture / World Heritage / World Cultural Heritage / Tentative list

NAJUA_2557_PART_02.indd 117

16/10/2557 18:22:16


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.