Supan

Page 1



ไอ้พวก สุพรรณ openbooks

3

ไอ้พวกสุพรรณ


4

ไอ้พวกสุพรรณ


พิมพ์ครัง้ แรก ประชาชาติรายวัน พ.ศ. 2517 ข่าวสด พ.ศ. 2548

สำ�นักพิมพ์ openbooks 286 ถนนพิชยั แขวงถนนนครไชยศรี ดุสติ กรุงเทพฯ 10300 โทรศัพท์ 02 669 5145 โทรสาร 02 669 5146 www.onopen.com email: pinyopen@yahoo.com

รวมเล่มครัง้ แรก สิงหาคม 2553 เลขมาตรฐานสากลประจำ�หนังสือ 978-616-7347-15-8

จัดจำ�หน่าย บริษทั เคล็ดไทย จำ�กัด 117-119 ถนนเฟือ่ งนคร ตรงข้ามวัดราชบพิธ กรุงเทพ 10200 โทรศัพท์ 02 225 9536-40 โทรสาร 02 222 5188

เขียน วาณิช จรุงกิจอนันต์ บรรณาธิการบริหาร ภิญโญ ไตรสุรยิ ธรรมา บรรณาธิการ นิภา เผ่าศรีเจริญ ผูช้ ว่ ยบรรณาธิการ สินนี าถ เศรษฐพิศาล ภาพประกอบ ธีรณัฏฐ์ ขวัญกิจประณิธิ ออกแบบปกและรูปเล่ม ลักษวงษ์ ประกิตภูพสิ ทุ ธิ์

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data วาณิช จรุงกิจอนันต์. ไอ้พวกสุพรรณ.-- กรุงเทพฯ : โอเพ่นบุก๊ ส์, 2553 264 หน้า. 1. เพลงลูกทุง่ . 2. นักร้อง. l. ชือ่ เรือ่ ง. 782.42 ISBN 978-616-7347-15-8 ราคา 215 บาท 5

ไอ้พวกสุพรรณ


สารบัญ

6

ไอ้พวกสุพรรณ


Introduction

8

เพลงลูกทุ่ง กับ สำ�เนียง “เหน่อ” สุพรรณ

1 2 3 4

มนต์การเมือง หรือการเมืองนั้นมีมนต์ น้องนางบ้านนา น่าภูมิใจที่เป็นชาวนา สายัณห์ สัญญา จำ�ปาลืมต้น ฝากใจไว้พิษณุโลก ความรัก ความหวัง ความหลัง รถไฟ

5 6

มนต์เมืองเหนือ ได้ฟังแล้วก็ฝัน

7 8 9 10 11 12 13 14 15 16

พ่อแก่แม่เฒ่า ความจริงที่ขมขื่น

ช่อทิพย์รวงทอง หนุ่มเป็นเคียว สาวเป็นข้าว สาวชาวสวน ความฝันของสาววัยสิบแปด เพลงแรกจากความหลัง ใครหนอชนะเนงบา กุ้มใจไม่มีลอลิง น้องแดงของพี่ ไอ้พวกสุพรรณ จดหมายและข้อมูล ลายมือไพบูลย์ บุตรขัน วสันตฤดู 7

ไอ้พวกสุพรรณ

14 20 26 32 38 44 50 56 62 68 74 80 86 94 100 106


17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33

เยลลี่ เสียงสมยศ จดหมาย ครูพยงค์ เสียงขลุ่ยครวญ รถเมล์รับจ้าง ลานเท ขวัญใจของผม เรียม สงสารสุโขทัยระทม ลีลาวดี อารมณ์สาว กลิ่นโคลนสาบควาย กลิ่นโคลนสาบควาย (ต่อ) พ่อแก่แม่เฒ่า รอยไถ

ไพบูลย์ บุตรขัน อัศจรรย์เพลงแรกจนถึงเพลงสุดท้าย

34

วันทูลที่ผ่านไป

8

ไอ้พวกสุพรรณ

112 118 126 132 140 146 154 160 168 174 180 186 194 202 208 214 220 234


ภาคผนวก เรื่องสั้น เมืองหลวง

246

บทสัมภาษณ์

260

หนังสือเล่มนี้ ชื่อ ‘วาณิช จรุงกิจอนันต์’

9

ไอ้พวกสุพรรณ


Introduction เพลงลูกทุ่งกับ สำ�เนียง “เหน่อ” สุพรรณ

10

ไอ้พวกสุพรรณ


เพลงลูกทุ่ง กับสำ�เนียง “เหน่อ” สุพรรณ เป็น “คนละเรื่องเดียวกัน” หมายความว่ า ทั้ ง สองประเด็ น เป็ น คนละเรื่ อ ง แต่ มั ก ถู ก จั บ โยง เป็นเรื่องเดียวกัน เช่น ทุกครัง้ ทีค่ ยุ กันเรือ่ งเพลงลูกทุง่ ก็จะโยงไปเรือ่ งสำ�เนียง “เหน่อ” สุ พ รรณด้ ว ย ครั้ น พู ด กั น เรื่ อ งสำ � เนี ย ง “เหน่ อ ” สุ พ รรณก็ จ ะโยง เข้าเรื่องเพลงลูกทุ่งโดยปริยาย

1. เพลงลูกทุ่ง

เพลงลู ก ทุ่ ง มี พั ฒ นาการจากเพลงไทยสากลเมื่ อ หลั ง พ.ศ.2500 เป็ น ผลจากเครื่ อ งรั บ วิ ท ยุ แ รก มี เ ทคโนโลยี ใ หม่ เ รี ย ก “ทรานซิสเตอร์” และการเคลื่อนย้ายแรงงานจากชนบทเข้าโรงงาน อุตสาหกรรมในกรุงเทพฯ ครั้นราว พ.ศ. 2506-7 มีชื่อเฉพาะเรียกเพลง ดนตรีพวกนีว้ า่ เพลงลูกทุง่ แล้วมีพฒ ั นาการด้วยลักษณะเฉพาะตัวกว้าง ขวางสืบมา 11

ไอ้พวกสุพรรณ


เพลงไทยสากล คือเพลงทีบ่ รรเลงทำ�นองด้วยเครือ่ งดนตรีฝรัง่ เรียกเครื่องดนตรีสากล แรกมีตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ราว พ.ศ. 2446 แล้ว เป็นที่นิยมกว้างขวางตั้งแต่ก่อน พ.ศ. 2500 เพราะส่งกระจายเสียงผ่าน วิทยุ (ระบบ AM แรกมีสถานีวทิ ยุในประเทศไทย ราว พ.ศ. 2465 ปลาย แผ่นดินรัชกาลที่ 6) แต่เครือ่ งรับวิทยุสมัยแรกอยูใ่ นแวดวงจำ�กัดมาก เพราะมีขนาด ใหญ่โต เคลื่อนที่ไม่ได้ ต้องใช้แบตเตอรี่จำ�นวนมาก ต้องมีเสาอากาศสูง และราคาแพง ราวหลัง พ.ศ.2500 แรกมีเครื่องรับวิทยุทรานซิสเตอร์แพร่ หลายเข้ามาถึงประเทศไทย ทำ�ให้เครือ่ งรับขนาดเล็กลง, เสาอากาศเล็ก, แบตเตอรี่ก้อนเล็กๆ, เคลื่อนที่ได้ คือยกย้ายวิทยุไปมาได้ มีสถานีส่งทั้ง ระบบ AM และ FM หลายแห่ง (ทรานซิสเตอร์เป็นเทคโนโลยีใหม่ พบครั้งแรกในสหรัฐฯเมื่อ ราว พ.ศ.2490 วิทยุทรานซิสเตอร์เครื่องแรกผลิตสู่ท้องตลาดเมื่อปลาย ปี พ.ศ.2497 ทำ�ให้เข้าถึงคนฟังได้งา่ ย ส่งผลให้เกิดเพลงดนตรีแนวใหม่ คือ ร็อคแอนด์โรล แล้วระบาดไปทั่วโลก) ประกอบกับช่วงเวลาหลัง พ.ศ.2500 มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 เพื่อทำ�สังคมไทยให้เป็นอุตสาหกรรม แบบตะวันตก เริ่มมีโรงงานอุตสาหกรรมกระจายทั่วไปในกรุงเทพฯและ ปริมณฑล ทำ�ให้ตอ้ งจ้างแรงงานจากชนบทเข้าทำ�งานในโรงงานเหล่านัน้ แรงงานชนบทยุคแรกๆ เป็นผู้ชาย เริ่มมีเพลงเฉพาะเพื่อส่ง “สาร”ระหว่างผูช้ ายทีเ่ ข้ามาขายแรงงาน กับผูห้ ญิงทีท่ �ำ นาอยูบ่ า้ นนอก บ้านนา นานเข้าเมื่อมีโรงงานทอผ้าต้องการแรงงานผู้หญิง ส่งผลให้ เกิดเพลงของผู้ใช้แรงงานโต้ตอบตัดพ้อระหว่างหญิงชายมากขึ้น กว้าง ขวางขึ้น ทำ�นองเพลงส่วนมากเอามาจากดนตรีไทย แล้วดัดแปลงใหม่ ให้บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีสากล ทำ�นองเพลงลูกทุ่งจึงซํ้าๆ กัน จนได้ ชื่อว่าเป็นเพลง “ร้อยเนื้อ ทำ�นองเดียว” 12

ไอ้พวกสุพรรณ


2. สำ�เนียง “เหน่อ” สุพรรณ สำ�เนียงสุพรรณเป็นเครือญาติใกล้ชิดกับสำ�เนียงลาวหลวง

พระบาง แล้วถูกเรียกว่า “เหน่อ” คนไทยสยามลุม่ นํา้ เจ้าพระยาราวหลัง พ.ศ. 1500 พูดจาภาษา ไทยด้วยสำ�เนียงลาว ใกล้ชิดสำ�เนียงลาวเหนือไปทางหลวงพระบาง พระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาก็ตรัสคำ�ไทยสำ�เนียงลาว มีรอ่ งรอย อยู่ในคำ� “เจรจาโขน” เป็นขนบสืบเนื่องจนถึงทุกวันนี้จะเปลี่ยนแปลง มิได้(เพราะเป็นเครื่องราชูปโภคของพระเจ้าแผ่นดิน) ฉะนั้นคนเจรจา (แทนคนเล่นทีส่ วมศีรษะโขนปิดปาก พูดเองไม่ได้) ในการแสดงโขน(กรม ศิลปากร) ปัจจุบันต้องฝึกหัดดัดสำ�เนียงให้เหมือนขนบเดิมครั้งกรุงเก่า คำ� “เจรจาโขน หมายถึงบทสนทนาของตัวละครสำ�คัญๆ เช่น พระรามเจรจากับทศกัณฐ์ มีลลี าสูงตํา่ ทางวรรณยุกต์เหมือนสำ�เนียงลาว หลวงพระบาง แล้วตรงกันกับสำ�เนียงพูดของคนทางฟากตะวันตกลุม่ นํา้ เจ้าพระยา นับแต่เขตอุตรดิตถ์, พิษณุโลก, สุโขทัย, กำ�แพงเพชร, พิจติ ร, นครสวรรค์ ลงมาถึง ชัยนาท, สิงห์บุรี, อ่างทอง ตลอดจน นครปฐม, ราชบุรี, เพชรบุรี, ฯลฯ แต่ที่รู้จักแพร่หลายที่สุดก็คือในนามสำ�เนียงสุพรรณ ที่ถูกคน อื่นๆ โดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ เรียกอย่างดูถูกว่า “เหน่อ”

สำ�เนียงลาว ในรัฐสุโขทัย, รัฐอโยธยา-สุพรรณภูมิ

เหตุที่คนไทยสยามลุ่มนํ้าเจ้าพระยาพูดจาภาษาไทยสำ�เนียง ลาว ก็เพราะมีพวกลาวเคลื่อนย้ายไปมาระหว่างสองฝั่งโขงกับลุ่มนํ้า เจ้าพระยามานานหลายพันปีแล้ว เมือ่ ลงมาถึงลุม่ นํา้ เจ้าพระยา บางพวกตัง้ หลักแหล่งชัว่ คราวพอ ทำ�งานสำ�เร็จก็กลับสองฝั่งโขง แต่บางพวกอยู่ถาวร แล้วผสมกลมกลืน กับเครือญาติชาติพันธุ์ดั้งเดิมกลายเป็นไทยสยาม ราวหลังพ.ศ. 1500 นานเข้าก็เติบโตมีอำ�นาจเป็นชนชั้นปกครอง 13

ไอ้พวกสุพรรณ


การเคลือ่ นย้ายจากสองฝัง่ โขงลงลุม่ นํา้ เจ้าพระยา มีรอ่ งรอยเป็น ตำ�นานอยู่ในคำ�บอกเล่าชาวกรุงศรีอยุธยา (ยุคก่อนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ หรือก่อน พ.ศ. 2000 ต่อมาลาลูแบร์ ราชทูตฝรัง่ เศสบันทึกไว้) สอดคล้องกับตำ�นานในพงศาวดารล้านช้าง ตอนขุนบูลม(บรม) เป็นเจ้าเมืองหลวงพระบาง (ล้านช้าง) ให้ลกู ชาย 7 คน แยกครัวไปสร้าง บ้านแปลงเมืองอยู่ทิศทางต่างๆ งัวอิน ลูกชายคนที่ 5 ของขุนบรม แยกครัวยกลงทางลุม่ นํา้ น่าน ไปสร้างบ้านแปลงเมืองอยูล่ มุ่ นํา้ เจ้าพระยา แล้วเป็นเจ้านายปกครองเมือง อโยธยา-สุพรรณภูมิ (คำ�ว่า งัว, งั่ว แปลว่า ลูกชายคนที่ 5 ส่วน อิน หมายถึง ผลไม้ลูกกลมแป้น กลางบุ๋ม เป็นลูกจันชนิดหนึ่ง, อาจมาจาก คำ�ว่า อินตา, พระอินทร์ ก็ได้) เจ้างัวอิน มีเครือญาติพี่น้อง 6 เมือง เช่น พี่คนโตชื่อ ขุนลอ ครองเมืองชวา(หลวงพระบาง), น้องสุดท้องชื่อ เจ็ดเจือง ครองเมือง พวน(เชียงขวาง) ฯลฯ อันทีจ่ ริงกลุม่ ชนพูดตระกูลภาษาไทย-ลาว เคลือ่ นย้ายไปๆ มาๆ ระหว่างลุ่มนํ้าโขงกับลุ่มนํ้าเจ้าพระยา ไม่น้อยกว่า 3,000 ปีมาแล้ว ต่อมาราวหลัง พ.ศ. 1000 กลุ่มชนนี้มีหลักแหล่งปะปนกับกลุ่ม อื่นๆ บริเวณลุ่มนํ้าเจ้าพระยา แล้วถูกเรียกจากพวกอื่นว่า สาม (เพี้ยน จากคำ�ว่า ซัม, ซำ� แล้วจะกลายเป็น สยาม ต่อไป) ครั้นหลัง พ.ศ. 1500 ตระกูลไทย-ลาว เคลื่อนย้ายตามเส้นทางการค้าภายใน เมื่อการค้ากับจีน คึกคักแน่นหนากว่าแต่ก่อน แล้ว ผลักดันให้ไปตั้งหลักแหล่งบริเวณลุ่มนํ้าเจ้าพระยา เป็นสามัญชนชาวไร่ ชาวนามีมากขึ้นจนกลายเป็นประชากรส่วนหนึ่งของรัฐสมัยนั้น แล้วคน บางตระกูลเติบโตมีฐานะทางสังคมสูงขึ้น ระหว่าง พ.ศ. 1890-1893 กาฬโรค(ห่า)ระบาด จากจีนถึง สุวรรณภูมแิ ละอุษาคเนย์ ไปตะวันออกกลางถึงยุโรป มีผคู้ นล้มหายตาย กว่านับไม่ถว้ น โดยเฉพาะเจ้านายชนชัน้ สูงทีม่ บี า้ นเรือนรัว้ วังคับคัง่ หนา 14

ไอ้พวกสุพรรณ


แน่นอยู่ในเมือง เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคให้แพร่ระบาดอย่างดี เมื่อโรคระบาดหมดไป พวกไทย-ลาวที่มีฐานะทางสังคมสูงมา ก่อน ก็เรืองอำ�นาจขึ้นแทน เจ้านายรุ่นเก่าที่ล้มตายเกือบหมด ส่งผล ให้ภาษาไทยสำ�เนียงลาวทวีความสำ�คัญ แล้วได้รับยกย่องเป็นภาษา ทางการ จนมีอักษรที่วิวัฒนาการจาก “อักษรขอม” (เขมร) ขึ้นใช้เอง ต่อจากนัน้ “พลังลาว” ก็ผลักดันสร้างสรรค์ภาษาและวรรณคดี (ยุคอยุธยา) เช่น โองการแช่งนํ้า ในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์สนองการเมือง การปกครอง, ยกย่องแถน, ตลอดจนการละเล่น เช่น ขับเสภา, ระเบ็ง, ฯลฯ แต่เชือ้ สายลาวทีม่ หี ลักแหล่งในเขตสุพรรณบุรที กุ วันนี้ มิได้สบื ลาวมาแต่เดิม หากถูกกวาดต้อนมายุคหลังตั้งแต่แผ่นดินพระเจ้าตาก กรุงธนบุรี ครั้งใหญ่สุดคือแผ่นดินรัชกาลที่ 3 กรุงรัตนโกสินทร์

3. วาณิช วาณิช จรุงกิจอนันต์ ชาวสุพรรณ บ้านเกิดอยู่บางปลาม้า

มีคลองบางยี่หนแยกจากแม่นํ้าสุพรรณ(ท่าจีน) ไปทางอยุธยา เขาชอบชวนผมคุยเรือ่ งเพลงลูกทุง่ กับสำ�เนียงสุพรรณ ถ้าลงได้ คุยกันทีไรก็ยาว มีทงั้ ทักท้วงมีทงั้ ถกเถียงสนุกสนานตืน่ เต้นเร้าใจไม่รจู้ บ ทุกวันนี้ผมยังได้ยินเสียงวาณิชดังในหู

สุจิตต์ วงษ์เทศ

มิถุนายน 2553

15

ไอ้พวกสุพรรณ


มนต์การเมือง หรือการเมืองนั้นมีมนต์


อี ก ไม่ น านเราก็ จ ะมี ก ารเลื อ กตั้ ง ผู้ แ ทนราษฎรกั น อี ก ถ้าเพลงนี้จะถูกนำ�มาร้องอีกครั้ง เราจะรู้สึกได้ว่าไม่มี ข้ อ ความตอนไหน ตรงใดที่ จ ะต้ อ งแก้ ไ ขให้ เ ข้ า กั บ เหตุการณ์ปจั จุบนั เลย แม้แต่บรรทัดหรือแม้แต่วรรคเดียว


ถ้าจะมีการเลือกนักร้องหนึ่งคนจากอดีตและปัจจุบันในฐานะของ นักร้องที่เสียงมีวิญญาณของชนบทมากที่สุดแล้ว ผู้เขียนจะเลือก คำ�รณ สัมบุญณานนท์ นอกจากความที่สุดเรื่องนี้แล้ว มีที่สุดของคำ�รณอีกหลายๆ ประการทีค่ นทัว่ ไปยอมรับกัน เช่น เขาเป็นนักร้องคนแรกทีเ่ ริม่ ร้องเพลง โห่และโห่ได้คลาสสิค น่าฟังวังเวงที่สุด แม้เพชร พนมรุ้ง หรือเมืองมนต์ สมบัติเจริญ ก็ไม่มีทางทาบ แฟชั่นชู้ของเมียนักร้องที่แพร่หลายอยู่ในปัจจุบัน เขาก็เจอมัน มาก่อนใครๆ สมัยเมือ่ เกือบ 20 ปีมาแล้ว และนำ�มาร้องเป็นเพลงได้เนือ้ ความทีก่ ร้าวแรงทีส่ ดุ เช่น เพลง “เสือสำ�นึกบาป” และเพลง “ผมบ้ากัญชา” เป็นต้น อีกไม่นานเราก็จะมีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรกันอีก ถ้าเพลงนี้ จะถูกนำ�มาร้องอีกครัง้ เราจะรูส้ กึ ได้วา่ ไม่มขี อ้ ความตอนไหน ตรงใดทีจ่ ะ ต้องแก้ไขให้เข้ากับเหตุการณ์ปัจจุบันเลยแม้แต่บรรทัดหรือแม้แต่วรรค เดียว 18

ไอ้พวกสุพรรณ


นับว่าเป็นเครือ่ งยืนยันอีกอย่างเหมือนกันว่า การเมืองไทยไม่ได้ พัฒนาไปเลย ในเกือบ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ยังไม่ทันจะเริ่มการเลือกตั้ง การฆ่าฟันก็ตั้งเค้าขึ้นมาแล้ว หรือแม้แต่การเลือกตั้งครั้งล่าสุดในสมัย รัฐบาลของจอมพลถนอม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ไม่มีแผ่นดินไทย ให้เหยียบในเวลานี้ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่เนื้อเพลงมนต์การเมืองได้พรํ่าเตือน มาล่วงหน้าแล้วนับ 10 ปี ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้แต่งเพลงเพลงนี้ และอีกหลายๆ เพลงที่ คำ�รณร้อง จำ�ได้เลาๆ ว่าไพบูลย์ บุตรขัน เป็นคนหนึ่งที่แต่งให้อยู่หลาย เพลง “บ้านนาป่าร้าง” ดูจะเป็นเพลงหนึ่งในจำ�นวนนั้น การเมืองนัน้ มีมนต์มาทุกยุคทุกสมัย แต่เพลงมนต์การเมืองเงียบ สนิทไป นับตั้งแต่จอมพลสฤษดิ์ปฏิวัติ และเชื่อได้ว่าคงไม่มีแผ่นเสียง เหลือให้หาฟังได้อีก นักนิยมเพลงที่มีอายุเกินกว่าหนึ่งในสี่ของศตวรรษคงพอจำ � ทำ�นองกันได้ บังเอิญที่ผู้เขียนจำ�เนื้อร้องและทำ�นองได้ ทั้งที่ไม่เคยฟัง และไม่เคยพบการตีพิมพ์เนื้อร้องเพลงนี้อีกเลยนับสิบปี นำ�เพลงนีม้ าเล่าสูก่ นั ฟังเพราะเห็นว่า เป็นเพลงเดียวทีม่ อี ยู่ ซึง่ สามารถต้อนรับขับสู้กับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะมี การอัดแผ่นเสียงขึ้นมาใหม่หรือไม่ก็ตาม และแม้ว่าผู้อ่านจะไม่สามารถ ร้องเป็นเพลงได้ก็ตาม ขอให้อ่านเนื้อร้องมนต์การเมืองในฐานะงานกวีนิพนธ์ทุกวรรค ทุกบรรทัดตั้งแต่ต้นจนจบ มนต์การเมืองเป็นกวีนิพนธ์ ที่สมบูรณ์ที่สุดบทหนึ่ง ที่ไม่ควรจะละเลยเสียในการนำ �ไปเล่าสู่และ ถ่ายทอดให้กันฟัง คำ�รณเป็นนักร้องที่มีประวัติโชกโชนที่สุด เคยปล้น และเคยติด คุก เป็นพระเอกหนังไทยที่เป็นนักร้องคนแรกที่สุด เล่นได้เข้าท่าที่สุด และรูปร่างไม่เอาไหนที่สุด และที่สุดประการสำ �คัญ เขาตายไปอย่าง เงียบเชียบที่สุด เมื่อ 6 – 7 ปีมาแล้ว คืออดเฮโรอีนตายในคุก 19

ไอ้พวกสุพรรณ


น่าเสียดายทีน่ บั วันชือ่ ของเขาก็จะเลือนหายไปพร้อมๆ กับความ ผุกร่อนของแผ่นเสียงทีเ่ ขาเคยร้อง นานๆ จะได้ยนิ เสียงของเขาจากวิทยุ สักครั้ง ฟังแล้วครั้งใดก็อดไม่ได้ที่จะคิดถึง “มนต์การเมือง” เป็นเพลงหนึ่งของคำ�รณ ที่ดังไม่รู้เรื่องมาเมื่อ สมัยการเลือกตั้งเมื่อปี 2500 เปิดทั้งวี่ทั้งวันควบไปกับการหาเสียงของ ผู้สมัครรับเลือกตั้งครั้งนั้น 17 ปีมาแล้วแต่ขอให้เรามาพิจารณาเนื้อร้อง กันดู เสียงโฆษณาของนักการเมือง ยกเอาแต่เรื่องที่ดีงามมาพูดจา มีหนังมาฉายให้ชาวไร่ชาวนา ได้ดไู ด้ชมกันทัว่ หน้า ระรืน่ ตืน่ ตากันทัว่ ไป จะสร้างไอ้โน่นจะทำ�ไอ้นี่ที่ยังขาดแคลน ทั่วทุกถิ่นทุกแดนฟังดู ช่างแสนจะชื่นใจ ถนนหนทางลำ�คลองจะสร้างให้มากมาย เลิกเลี้ยงวัว เลี้ยงควายจะซื้อรถให้มาไถนา ดีอกดีใจ แต่นี้ต่อไปคงสุขอารมณ์ ชาวนาพากันชื่นชมนิยมดัง เขาพูดมา พอเป็นผูแ้ ทนนัง่ แท่นอยูใ่ นสภา ตัง้ หลายปีทผี่ า่ นมา จะไถนา ยังต้องใช้ควาย ถนนหนทางทีว่ า่ จะสร้างก็ยงั ไม่มี มันกินอิฐทรายกันป่นปี้ ถนน จะมีกันได้ยังไง เขาเป็นผู้แทนกันยังไม่ทันเท่าไร ทรัพย์สินเงินทองมี มากมาย มันน่าแปลกใจเมื่อคิดขึ้นมา ปากบอกรักชาติผมฟังอนาถใจจริง เห็นแต่เขาจะช่วงจะชิง ตำ�แหน่งใหญ่ยงิ่ กันในสภา วิง่ เต้นหาเสียงกินเลีย้ งกันใหญ่ตามเหลาตาม บาร์ บางคราวยกพวกเข้าเข่นฆ่า มันเหลือระอาผู้แทนเมืองไทย ผมขอวิงวอนราษฎรทั่วทั้งแผ่นดิน ไอ้พวกชอบโกงชอบกิน ไอ้พวกกังฉินอย่าเลือกเข้าไป เลือกแต่คนดียังมีอยู่อีกมากมาย แล้วพี่ น้องจะสุขใจ และพาชาติไทยเรารุ่งเรือง ประชาชาติรายวัน 6 ตุลาคม 2517 20

ไอ้พวกสุพรรณ


21

ไอ้พวกสุพรรณ


2

น้องนางบ้านนา น่าภูมิใจที่เป็นชาวนา 22

ไอ้พวกสุพรรณ


เพลงลูกทุ่งปัจจุบัน ซึ่งเป็นเพลงประเภทที่ร้องโดยมี เนื้อความผูกพันอยู่กับชาวนามากที่สุด แต่ก็ไม่ค่อยมี นักแต่งเพลงคนไหน คิดให้ลึกซึ้งไปถึงความยิ่งใหญ่ ของชาวนา และสะท้อนภาพออกมาให้ปรากฏเลย


เดีย๋ วนีใ้ ครๆ ก็ชอบทีจ่ ะพูดถึงเพลงเพือ่ ชีวติ เป็นอาการสนองตอบ สิ่งเร้าภายนอกอย่างหนึ่งของเรา นอกเหนือไปจากความรู้สึกร่วม อย่างจริงใจที่มีต่อเพลง เพราะสภาพทางสังคมและการเมืองที่ได้ เปลี่ยนโฉมหน้าไป โลกทัศน์ทางการเมืองที่กว้างขึ้นของชนใน สังคม มีส่วนอย่างมากที่ก่อให้เกิดการเรียกร้องเพลงที่มีเนื้อหา สาระอันสะท้อนภาพความเป็นอยู่ของชนส่วนใหญ่ในประเทศ ตลอดจนมีแนวคิดสร้างสรรค์ความดีกว่าในชีวิตที่เป็นอยู่ปัจจุบัน แต่เราก็หาฟังเพลงประเภทนี้ได้น้อยมาก อำ�นาจทางการเมือง โดยส่วนรวมได้ปิดล้อมบีบบังคับนักแต่งเพลงตลอดจนนักร้องทั้งหลาย ทั้งทางตรงและทางอ้อม เนื้อหาทั้งหลายทั้งมวลของเพลงทั้งลูกทุ่งลูกกรุงส่วนใหญ่ที่ ผ่านมาจึงมิได้มีอะไรที่งอกเงย หรือก้าวเท้าไปจากที่ยืนอยู่ มีแต่ยํ่าอยู่ กับที่หรือไม่ก็ถอยหลัง “น้องนางบ้านนา” เป็นเพลงที่แต่งโดย ไพบูลย์ บุตรขัน ร้องอัด 24

ไอ้พวกสุพรรณ


267

ไอ้พวกสุพรรณ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.