ปีที่ 3 ฉบับที่ 5 เดือนพฤษภาคม 2558
มติเอกฉันท์รบั รองงบดุลสภาทนายความ
การประชุมใหญ่สามัญประจำ�ปี 2558 เด่นในฉบับ
สภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำ�ปี 2558 เพือ ่ แถลงผลการดำ�เนินงานของสภาทนายความประจำ�ปี 2557 ซึง่ มีสมาชิก สภาทนายความกว่า 400 คน เข้าร่วมประชุม และมีมติเป็นเอกฉันท์รับรองงบดุล รายรับรายจ่ายประจำ�ปี 2557
4 ทำ�ไมไทย..
โดยเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2558 ที่ผ่านมา สภาทนายความ จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำ�ปี 2557 โดย นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ เป็นประธานเปิดการประชุม พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหาร สภาทนายความร่วมการประชุม ซึ่งเริ่มการประชุมเวลา 17.00 น. และได้ดำ�เนินการประชุมไปในวาระต่าง ๆ ตามลำ�ดับ
6 ทวงหนีอ้ ย่างไร...
จากนั้น นายกและคณะกรรมการบริหารสภาทนายความ ได้มีการตอบข้อซักถามในประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับ การบริหารงานของสภาทนายความแก่สมาชิกสภาทนายความ ทั้งเรื่องความคืบหน้าการก่อสร้างอาคารที่ทำ �การสภา ทนายความทีจ่ ะแล้วเสร็จภายในปี 2559 นี้ และการดำ�เนินงานตามนโยบายการให้ความช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย รวมถึงการจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์แก่สมาชิกสภาทนายความ ซึ่งสมาชิกทนายความให้ความสนใจเกี่ยวกับการ กำ�หนดหลักสูตร English for lawyers เพื่อเตรียมความพร้อมด้านวิชาชีพทนายความเพื่อเข้าสู่การเปิดเสรีด้านวิชาชีพ ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC.) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเขียนหลักสูตรฯ
ข่าวเด่น :
ต้องปฏิรูป
พ.ร.บ. ยา เกร็ดกฎหมาย :
ไม่ติดคุก
นายเดชอุ ด ม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ ประธานในที่ ป ระชุ ม ได้ ตั้ ง ให้ นายนิ วั ติ แก้วล้วน เลขาธิการสภาทนายความ เป็นเลขานุการทีป่ ระชุม ทำ�หน้าทีด่ �ำ เนินการประชุมตามวาระการประชุมต่างๆ ตามลำ�ดับ และได้แจ้งที่ประชุมทราบถึงความคืบหน้าของโครงการก่อสร้างอาคารที่ทำ�การของสภาทนายความ และมี การแถลงผลการดำ�เนินงานในรอบปี 2557 ในสายงานต่างๆ ได้แก่ สายงานปฏิบัติการ, สายงานวิชาการ, สายงาน นโยบายและแผนงาน, สายงานการบริหาร, สายงานกิจการพิเศษ, สายงานกิจการระหว่างประเทศ และสายงานสวัสดิการ และสิทธิประโยชน์ ฯลฯ
ทัง้ นี้ ผลการประชุมฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ร์ บั รองรายงานการประชุมใหญ่สามัญประจำ�ปี 2557 และรับรองงบดุล รายรับรายจ่ายของสภาทนายความประจำ�ปี 2557 ซึง่ มีสมาชิกทนายความเข้าร่วมประชุมทัง้ สิน้ 488 คน และปิดประชุม เวลา 18.45 น. โดยประมาณ.
2
ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 5 เดือนพฤษภาคม 2558
เมื่อความมุ่งมั่นที่มีใจเกินร้อย ของทนายความ เดชอุดม ไกรฤทธิ์ ที่ยืนหัวแถวในฐานะนายกสภาทนายความ ทำ�ให้เราท่านได้เห็นการประชุมใหญ่สามัญ ประจำ�ปี เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2558 ที่ผ่านมาได้เห็นความพร้อมของกรรมการบริหาร เพื่อนพี่น้องทนายความที่มาร่วมงานสัมมนาวิชาการกว่า 700 คน และ อยู่ร่วมประชุมใหญ่ในครั้งนี้กว่า 400 คน นั้น คือ ความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวของเราท่านพี่น้องทนายความ ทนายความเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ ได้แถลงผลงานการบริหารต่อเพื่อนทนายความด้วยการนำ�เสนอความคืบหน้าในการก่อสร้างบ้านใหม่ และเป็นที่น่าพอใจที่อาคารสำ�นักงานแห่งใหม่ ได้ก่อสร้างเป็นไปตามแผนที่วางไว้ และโครงสร้างอาคารจะแล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม 2558 และต่อไปคือ การดำ�เนินการก่อสร้างในส่วนที่เป็นการตกแต่งภายใน และเชื่อว่าในการเลือกตั้งกรรมการบริหารฯ คราวหน้า เราท่านอาจต้องไปลงคะแนนเสียงที่บ้านใหม่ของเราท่าน อย่างภาคภูมิ และท่านนายกยังได้แถลงผลงานด้านวิชาการที่จัดการประชุมสัมมนาอบรมกฎหมายใหม่และการยุติปัญหาเรื่องการอบรมที่ปรึกษากฎหมายเด็กตามที่เราท่านเข้าใจ กล่าวขานกันต่อๆ กันมาว่าที่ปรึกษากฎหมายตาม วิ.เด็ก และยุติเรื่องเงินค้างจ่ายอันเกี่ยวกับเบี้ยเลี้ยงทนายความอาสาหรือเงินค่าใช้จ่ายประธานสภาทนายความจังหวัดก็ สามารถจ่ายให้หมดครบถ้วนแล้ว เมื่อไม่มีเงินค้างจ่ายและการเบิกจ่ายค่าการงานได้เป็นปกติแล้ว จึงเป็นกำ�ลังใจร่วมกันที่เพื่อนพี่น้องทนายความต้องสามัคคีต่อกันเป็นหนึ่งเดียว เพื่อพัฒนาองค์กรวิชาชีพทนายความของเราท่านเพื่อความเป็นหนึ่งต่อองค์กรวิชาชีพอื่นๆ ทั้งในวิชาชีพนักกฎหมายและประชาชนต่อไป กองบรรณาธิการข่าวสภาทนายความและกรรมการฯ ต้องขอบคุณและน้อมรับคำ�แนะนำ�และคำ�ติชมต่อการทำ�งานของคณะกรรมการบริหารฯ และกรรมการบริหารฯ ในภาคส่วนต่างๆ พร้อมเดินหน้าพัฒนาองค์กร วิชาชีพทนายความทั้งในเชิงวิชาชีพและทางวิชาการต่อไป แต่จะด้วยบริบทใดก็ตามข่าวสภาทนายความทีอ่ ยูใ่ นมือของท่านยังเป็นสือ่ กลางเชือ่ มต่อระหว่างการบริหารส่วนกลางและส่วนภูมภิ าคพร้อมด้วยพีน่ อ้ งทนายความทัง้ มวล และกองบรรณาธิการยังหวังต่อการ ได้รับคำ�แนะนำ�จากเพื่อนพี่น้องทนายความและกองบรรณาธิการจะทำ�งานโดยยึดหลัก “เป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ เป็นผู้รับฟังมากกว่าการเป็น ผู้โต้เถียง”
นิวัติ แก้วล้วน บรรณาธิการบริหาร
สัมมนาวิชาการในการประชุมใหญ่สามัญประจำ�ปี 2558 : เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2558 เวลา 9.30 น. ที่ห้องอมรินทร์ ชั้น 3 โรงแรมเอส ดี อเวนิว ถนนบรมราชชนนี กรุงเทพฯ : สภาทนายความ โดยสถาบันวิจัยและพัฒนากฎหมาย จัด สัมมนาวิชาการเนื่องในวันประชุมใหญ่สามัญประจำ�ปี 2558 เรื่อง “กฎหมายใหม่เกี่ยวกับ สารบัญญัติ และวิธสี บัญญัตทิ ปี่ รับปรุงแก้ไข” เพือ่ การเสริมสร้างศักยภาพวิชาชีพ และการ ช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย โดยนายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ เป็น ประธานเปิดการสัมมนาและกล่าวปาฐกถาพิเศษ ทั้งนี้การสัมมนาดังกล่าวได้รับเกียรติจากวิทยากรจากภาคส่วนต่างๆ ได้แก่ ร่าง พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. .... โดย ศาสตราจารย์(พิเศษ) สุชาติ ธรรมาพิทักษ์กุล ประธานกรรมการอำ�นวย การสำ�นักฝึกอบรมวิชาว่าความ แห่งสภาทนายความ, พระราชบัญญัตกิ ารทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 โดย นายวิเชียร ชุบไธสง อุปนายก ฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ และการเสวนาเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับระบบการอุทธรณ์และฎีกา (12 ฉบับ) โดย นายสัก กอแสงเรือง อดีตนายกสภาทนายความ, ศาสตราจารย์ (พิเศษ) สิทธิโชค ศรีเจริญ ประธานกรรมการกลั่นกรอง ร่างกฎหมายแห่งสภาทนายความ, นายสมัคร เชาวภานันท์ ที่ปรึกษาคณะกรรมการสภาทนายความ, นายวีรศักดิ์ โชติวานิช กรรมการฝ่ายช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย โดยมี นายสุมิตร มาศรังสรรค์ อุปนายกฝ่ายวิชาการ และนายนิวัติ แก้วล้วน เลขาธิการสภาทนายความ เป็นผู้ดำ�เนินรายการ มีผู้เข้าร่วมการสัมมนากว่า 700 คน
ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 5 เดือนพฤษภาคม 2558
3
อบรมที่ปรึกษากฎหมายศาลเยาวชน ครั้งที่ 3/2558 จังหวัดสงขลา
จากสถานการณ์ปจั จุบนั ทีก่ ระบวนการยุตธิ รรมทางอาญาตระหนักถึงความสำ�คัญของการคุม้ ครองสิทธิของเด็ก และเยาวชนซึง่ ต้องหาว่ากระทำ�ความผิด โดยกำ�หนดมาตรการพิเศษในการปฏิบตั ติ อ่ เด็กและเยาวชนให้แตกต่างไปจากการ ดำ�เนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำ�ความผิดที่เป็นผู้ใหญ่ เพื่อให้การดำ�เนินคดีอาญาเป็นไปในทิศทางที่เหมาะสมกับสภาพของ ความเป็นเด็กและเยาวชน ส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงและสภาพจิตใจของเด็กและเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำ�ความผิดให้ น้อยที่สุด อีกทั้ง ประการสำ�คัญคือเพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญที่ได้ให้การรับรองและคุ้มครองสิทธิของบุคคลใน กระบวนการยุติธรรมไว้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิของเด็กในกระบวนการยุติธรรมย่อมได้รับความคุ้มครองใน การดำ�เนินกระบวนพิจารณาคดีอย่างเหมาะสม ฉะนัน้ พระราชบัญญัตศิ าลเยาวชนและครอบครัวและวิธพี จิ ารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 จึงได้ก้ ำ�หนดให้มที ปี่ รึกษา กฎหมายของเด็กและเยาวชนทีเ่ ป็นผูต้ อ้ งหาหรือเป็นจำ�เลยเพือ่ ทำ�หน้าทีใ่ ห้ความช่วยเหลือในทางกฎหมายและในการดำ�เนินคดี และผูท้ จี่ ะ ทำ�หน้าที่ที่ปรึกษากฎหมายจะต้องเป็นทนายความที่ผ่านการอบรมเรื่องวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยา การ สังคมสงเคราะห์ และความรู้อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่กำ�หนดในข้อบังคับของประธานศาลฎีกา และต้องผ่านการทดสอบตามกระบวนการของ การอบรมฯ และเข้ารับการอบรมตามระยะเวลาที่กำ�หนด ที่ผ่านมาจึงมีการอบรมที่ปรึกษากฎหมายฯ ในภูมิภาคต่าง ๆ ต่อเนื่องเรื่อยมา เพื่อให้มีปริมาณที่ปรึกษากฎหมายเพียงพอกับการทำ�หน้าที่ การสัมมนาที่ปรึกษากฎหมายฯ ครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3/2558 เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2558 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลอง สิริราชสมบัติครบ 60 ปี อำ�เภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง โดยความร่วมมือของสภาทนายความ จัดขึ้น และได้รับเกียรติจาก นายสุภัทร อยู่ถนอม อธิบดีศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เป็นประธานเปิดการอบรม และบรรยายความรู้เรื่อง อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กเยาวชนและครอบครัว ในวันที่ 2 ของการอบรมเป็นการบรรยายความรู้กฎหมาย หัวข้อ “มาตรฐานสิทธิเด็กไทยกับมาตรฐานสากล” โดย นาย เดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ เป็นวิทยากร ซึ่งเป็นการสะท้อนแนวคิดในการส่งเสริมการใช้สิทธิของเด็กอย่างเต็มที่และอย่าง น้อยต้องเป็นไปตามมาตรฐานของอนุสญ ั ญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึง่ เด็กมีสทิ ธิทจี่ ะได้รบั การคุม้ ครองจากการถูกเลือกปฏิบตั จิ ากการถูกล่วงละเมิด สิทธ เช่น ปัญหาเด็กเร่ร่อน เด็กขอทานในประเทศไทย เป็นต้น นอกจากนี้ ตลอดการอบรมฯ มีการบรรยายความรู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น การวิเคราะห์หาสาเหตุแห่งการกระทำ�ความผิดและงาน สังคมสงเคราะห์เด็กหรือเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม วิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว รวมทั้งเรื่องการการเตรียมความพร้อมใน การปฏิบัติหน้าที่ของที่ปรึกษากฎหมาย ทั้งในชั้นพิจารณาคดี และระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน อาทิ นายวัชรินทร์ ปัจเจกวิญญูสกุล ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 6, นางสาวอินทิรา ฉิวรัมย์ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัว กลาง, นายประวิทย์ อิทธิชัยวัฒนา รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง, รศ.ดร.เดชา สังขวรรณ อาจารย์ประจำ� ภาควิชาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, แพทย์หญิงปริชวัน จันทร์ศริ ิ จิตแพทย์เด็กภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะ แพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นายเจษฎา อนุจารี ผู้อำ�นวยการสำ�นักฝึกอบรมวิชาว่าความแห่งสภาทนายความ, นางชารียา เด่นนินนาท รองอธิบดีผูพิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ทั้งนี้มี นางสาวอรอนงค์ เทศะบำ�รุง นายทะเบียนทนายความ, นายวันรัฐ นาคสุวรรณ กรรมการบริหารสภาทนายความ ภาค 8 และนายโอฬาร กุลวิจิตร กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 9 ร่วมพิธีเปิดการอบรมด้วย ท่ามกลางความสนใจของทนายความที่ร่วมการอบรมกว่า 700 คน ทั้งนี้ การอบรมฯ จัดขึ้น 3 วัน ตั้งแต่วันที่ 17-19 เมษายน 2558 ทั้งนี้ คาดว่าศาลเยาวชนและครอบครัวกลางจะดำ�เนินการอบรมที่ปรึกษากฎหมายในศาลที่มีอำ�นาจพิจารณาคดีเยาวชนและ ครอบครัว ประจำ�ปีงบประมาณ 2558 อีกประมาณ 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 4/2558 อบรมระหว่าง วันศุกร์ที่ 19 ถึง วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน 2558 ณ กรุงเทพมหานคร และครั้งที่ 5/2558 คาดว่าจะจัดที่จังหวัดเชียงใหม โดยกำ�หนดการรับสมัครจะประกาศให้ทราบอีกครั้ง สามารถ ติดตามรายละเอียดการจัดการอบรมฯ ได้ที่ Website ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง และ Website/Facebook สภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
4
ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 5 เดือนพฤษภาคม 2558
กฎหมายกับสุขภาพ
ทำ�ไม...ไทยต้องปฏิรปู
พ.ร.บ. ยา ประเทศไทยมี พ.ร.บ.ยามาตั้งแต่ปี 2510 และได้รับการแก้ไข ปรับปรุงมาเพียง 4 ครั้ง คือ ในปี 2518, 2522, 2528 และ 2530 แต่เมือ่ โลกมีการเปลีย่ นแปลงทีเ่ ร็วขึน้ ซึง่ แน่นอนกว่า กฎหมายดังกล่าว อาจจะไม่เท่าทันกับเหตุการณ์ในปัจจุบันและที่จะเกิดขึ้นในอนาคต นายเดชอุดม ไกรฤทธิ ์ นายกสภาทนายความ กล่าวว่า อาจจะกล่าวได้ว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 เป็นต้นมา ประเทศไทยยังไม่มีการปฏิรูปกฎหมายยา หรือที่เราเรียกกันว่า พ.ร.บ.ยา ทัง้ ๆ ทีป่ ระเทศไทยเรามีหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องกับระบบยาทีพ่ ยายามผลักดันให้มกี ารแก้กฎหมาย เพื่อให้ทันกับโลกปัจจุบันมากขึ้น แต่ทุกครั้งที่ส่งเรื่องเข้าไปยังรัฐบาลเมื่อใด เรื่องดังกล่าวมักจะ ตกหล่นหายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึง่ การปรับปรุงกฎหมายยาให้ทนั สมัยจะช่วยทำ�ให้ประเทศไทย มีอำ�นาจการต่อรองกับบริษัทยาข้ามชาติมากขึ้น ทั้งนี้ นายเดชอุดม ได้ยกตัวอย่างของประเทศจีนและอินเดียว่า ในประเทศจีน อัตรา การเติบโตของยาสูงถึง 18% ต่อปี มีประชากรมากติดอันดับโลก มีการใช้ยาสูงตามจำ�นวน ประชากรที่มากขึ้น รัฐบาลจีนจึงเข้ามาควบคุมเรื่องยาโดยยึดประชาชนเป็นหลัก ทำ�ให้บริษัทยา ข้ามชาติที่จะเข้ามาทำ�ธุรกิจในจีนมีปัญหา จากระบบการปกครองที่เป็นระบบสังคมนิยม รัฐบาล จีนจะไม่ให้บริษัทยายักษ์ใหญ่ข้ามชาติ เข้ามามีอ�ำ นาจต่อรองกับรัฐบาลได้ โดยใช้กฎหมายมา ต่อสู้กับระบบทุนนิยม ส่วนประเทศอินเดีย เป็นอีกประเทศหนึง่ ทีม่ ปี ระชากรมาก และยากจน และมีการละเมิด สิทธิบตั รมากเช่นกัน ในประเทศอินเดียใช้มาตรการการเก็บภาษีกบั บริษทั ยาข้ามชาติทสี่ งู ถึง 60% ส่วนบริษัทยาในประเทศเก็บภาษีเพียง 40%เท่านั้น นายเดชอุดม กล่าวว่า เมื่อดูทั้งสองประเทศแล้วเปรียบเทียบกับประเทศไทย เราไม่มี มาตรการใดๆ เลย โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2515 ประเทศไทยเรายอมทุกอย่างแม้กระทั่งเรื่อง ของสิทธิบัตรให้กับสหรัฐอเมริกามาโดยตลอด ที่เป็นเช่นนี้เพราะ ประเทศไทยขาดยุทธศาสตร์ การเจรจากับต่างประเทศ ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ยากมาก โดยเฉพาะเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญา หรืออาจจะกล่าวได้ว่า คนไทยและประเทศไทยขาดความเป็นเอกภาพ หรือความเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน
“
...ประเทศไทยเรา ตกเป็นอาณานิคมทางปัญญาโดยสมบูรณ์ การจะสร้างความเข้มแข็งให้กับไทยได้ คือ การติดอาวุธทางปัญญา เราถึงจะสู้กับต่างชาติได้ ผมเชื่อว่า คนไทยถ้าเรารักกันแล้ว อะไรก็ทำ�เราไม่ได้...
”
นอกจากนีป้ ระเทศไทยควรจะมีการสร้างองค์ความรูด้ า้ นสิทธิบตั รยา การศึกษาวิจยั ค้นคว้า ด้านโครงสร้างของราคายา เพื่อเป็นการกำ�หนดยุทธศาสตร์การต่อรองเรื่องราคายา กับบริษัทยาข้ามชาติด้วย ซึ่งการกำ�หนดยุทธศาสตร์จะต้องมีการกำ�หนดแผนที่ยืดหยุ่น เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์โลกปัจจุบัน นายเดชอุดม กล่าวว่า ปัจจุบนั กฎหมายไทยยังไม่มคี วามเป็นเอกภาพ ระบบราชการ ยังยึดติดกับตำ�แหน่ง การร่างกฎหมายที่ทำ�เพื่อประชาชนจึงเป็นเรื่องยาก “ประเทศไทยเราตกเป็นอาณานิคมทางปัญญาโดยสมบูรณ์ การจะสร้าง ความเข้มแข็งให้กับไทยได้ คือ การติดอาวุธทางปัญญา เราถึงจะสู้กับต่างชาติได้ ผมเชือ่ ว่า คนไทยถ้าเรารักกันแล้ว อะไรก็ท�ำ เราไม่ได้ ผมอยากให้คณะเภสัชฯ รัฐบาล และบริษัทยาของไทย ร่วมมือกันทำ�งาน ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ�เหมือนทุกวันนี้” นายเดชอุดม กล่าว
ดังนัน้ การแก้ไข ประเทศไทยจึงควรกำ�หนดกลยุทธ์การเจรจา และการบังคับใช้กฎหมาย เข้ามาสร้างความเป็นเอกภาพและอำ�นาจการต่อรองกับบริษัทยาข้ามชาติ “ประเทศไทยกลัวการโต้ตอบ แต่ในขณะทีจ่ นี และอินเดียใช้กลยุทธ์การโต้ตอบนีใ้ นการ เจรจาต่อรองเสมอ จึงทำ�ให้การออกกฎหมายในประเทศไทยออกมาภายใต้ความคิดของระบบ ราชการมากเกินไป ขณะเดียวกันบริษัทยาข้ามชาติกลับมียุทธศาสตร์ เล่ห์กล ในเรื่องของ สิทธิบัตร และการสร้างมูลค่าทางการค้า จึงทำ�ให้ยามีราคาแพง และประเทศไทยมีกฎหมาย คุ้มครองยาต่างประเทศมากกว่า 55 ประเทศ แต่ไม่มีการคุ้มครองสำ�หรับยาไทยเลย” นายก สภาทนายความ กล่าว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.hfocus.org
ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 5 เดือนพฤษภาคม 2558
กฎหมายกับสุขภาพ
5
กฎหมายคลินิกประกอบโรคศิลปะ
กับการกำ�หนดมาตรฐานของสหวิชาชีพ
เนื่องจากมีการยกเลิกกฎกระทรวงว่าด้วยการกำ�หนดลักษณะของสถานพยาบาล และ ลักษณะการให้บริการของสถานพยาบาล พ.ศ.2545 และประกาศใช้กฎกระทรวงกำ�หนดลักษณะ ของสถานพยาบาล และลักษณะการให้บริการของสถานพยาบาล พ.ศ.2558 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2558 อาศัยอำ�นาจ ตามความในมาตร 6 วรรคหนึ่ง และมาตรา 14 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 ซึ่งมีความแตกต่างของสาระสำ�คัญ จากกฎกระทรวงฯ เดิม และมีการเพิ่มเติม 2 ลักษณะได้แก่ 1.คลินิกการประกอบโรคศิลปะ ซึ่งปัจจุบันประกอบด้วย 7 สาขา ได้แก่ สาขาการแพทย์ แผนจีน สาขารังสีเทคนิค สาขากิจกรรมบำ�บัด สาขาจิตวิทยาคลินกิ สาขาการแก้ไข้ความผิดปกติของการสือ่ ความหมาย สาขากายอุปกรณ์ สาขาเทคโนโลยี หัวใจและทรวงอก รวมทั้งคลินิกเฉพาะทางด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์ และ 2.คลินิกเฉพาะทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ จึงมีผลให้การให้ บริการของสหวิชาชีพทั้ง 7 สาขา และการพยาบาลและผดุงครรภ์สามารถเปิดให้บริการในรูปแบบของสถานพยาบาลที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน หรือคลินิกได้ ดังนั้น กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจในการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาและควบคุม กำ�กับ สถานบริการสุขภาพภาครัฐและภาคเอกชน สถานประกอบ การเพือ่ สุขภาพ ผูป้ ระกอบโรคศิลปะ และเครือข่ายระบบบริการสุขภาพให้ได้คณ ุ ภาพมาตรฐาน ที่กฎหมายกำ�หนด จึงต้องดำ�เนินการเปิดเวทีเพื่อระดมความคิดเห็นจากนักวิชาการและสห วิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ร่วมกำ�หนดเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพสากล เช่น ลักษณะทั่วไป การให้บริการ มาตรฐานด้านความปลอดภัยทีต่ งั้ ของสถานพยาบาลประเภทไม่รบั ผูป้ ว่ ยไว้คา้ งคืน (คลินกิ ) รวม ทั้งมาตรฐานตามลักษณะวิชาชีพตามที่สภาวิชาชีพหรือคณะกรรมการวิชาชีพกำ�หนด เป็นต้น โดยต้องให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงกำ�หนดลักษณะของสถานพยาบาล และลักษณะการให้ บริการของสถานพยาบาล พ.ศ.2558 เพื่อให้ประชาชนที่รับบริการในคลินิกให้ได้รับบริการที่มี คุณภาพมาตรฐาน และมีความปลอดภัย รวมถึงเป็นการเตรียมความพร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำ� ด้านการบริการด้านสุขภาพสู่สากล
ระดมสมองกำ�หนดมาตรฐานคลินิก ในการจั ด ประชุ มสัมมนาเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้ อ มในการกำ�หนดเกณฑ์ มาตรฐานสถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน (คลินิก) ในคลินิกการประกอบโรค ศิลปะ 7 สาขา และคลินิกเฉพาะทางด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ซึ่งจัดโดยสำ�นักสถาน พยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2558 ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี เป็นอีกเวทีหนึง่ ทีจ่ ดั ขึน้ เพือ่ ระดมความคิดเห็นจากนักวิชาการ ในสหวิชาชีพ เพื่อร่วมกำ�หนดแนวทางการจัดทำ�เกณฑ์ตรวจมาตรฐานและใช้ในการประกอบ การพิจารณาอนุญาต ทั้งนี้ นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ รองอธิบดีกรมสนับสนุน บริการสุขภาพ กล่าวว่า การจัดประชุมครั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำ�เกณฑ์การตรวจ มาตรฐานเพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาตสถานพยาบาลประเภทไม่รับผู้ป่วยค้างคืน หรือ คลินกิ และการตรวจมาตรฐานสถานพยาบาลตามมาตรา 45 แห่ง พระราชบัญญัตสิ ถานพยาบาล พ.ศ.2541 ในคลินกิ การประกอบโรคศิลปะจำ�นวน 7 สาขา และคลินกิ เฉพาะทางด้านการพยาบาล และการผดุงครรภ์ โดยมีผเู้ ข้าร่วมประชุมกว่า 150 คน ประกอบด้วยผูแ้ ทนจากสภาวิชาชีพ ได้แก่ ผูแ้ ทนจากแพทยสภา สภาเภสัชกรรม และสภาการพยาบาล ผูแ้ ทนภาคเอกชนจากคณะกรรมการ วิชาชีพหรือผู้ประกอบโรคศิลปะ ทั้ง 7 สาขา และผู้แทนจากหน่วยงานราชการ ได้แก่ ผู้แทนจาก สำ�นักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำ�นักการพยาบาล สำ�นัก ปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำ�นักอนามัยกรุงเทพมหานคร ผูแ้ ทนจากกลุม่ งานคุม้ ครองผู้บริโภค สำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อระดมสมอง แลกเปลี่ยนองค์ความรู้เฉพาะทางเพื่อกำ�หนด แนวทางให้เป็นเกณฑ์มาตรฐานที่มีมาตรฐานสากล สร้างความปลอดภัยในคลินิกประกอบ โรคศิลปะ 7 สาขา และด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์อย่างครอบคลุม
สะท้อนมุมมองทีมยกร่างฯ ในการประชุมกำ�หนดเกณฑ์มาตรฐานคลินกิ ฯ ครัง้ นี้ มีคณะกรรมการวิชาชีพทุกสาขา วิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันเป็นทีมยกร่างมาตรฐานคลินิกฯ โดย นางสุภาวดี นวลมณี กรรมการวิชาชีพแพทย์แผนจีนและจิตวิทยาคลินิก กล่าวถึงภาพรวมกฎหมายฉบับดังกล่าวว่า นับเป็นนิมติ หมายทีด่ ขี องการพัฒนาการให้บริการวิชาชีพการประกอบโรคศิลปะทัง้ 7 สาขา และ คลินกิ เฉพาะทางฯ ด้านการพยาบาลและผดุงครรภ์ เพราะการกำ�หนดมาตรฐานคลินกิ ฯ นอกจาก จะเป็นการยกระดับมาตรฐานแล้ว ที่สำ�คญ คือ ส่งผลดีโดยตรงต่อประชาชนที่จะมีทางเลือกใน การใช้บริการได้หลายช่องทางมากขึ้น ซึ่งแต่เดิมสาขาวิชาชีพการประกอบโรคศิลปะจะกระจาย อยู่ในสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน ยากต่อการควบคุมและรวบรวมข้อมูลของผู้ประกอบ
วิชาชีพ แต่เมื่อมีกฎหมายรองรับ จะทำ�ให้คณะกรรมการวิชาชีพสามารถกำ�กับดูแลคลินิกแต่ละ สาขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำ�หรับการกำ�หนดมาตรฐานคลินกิ นัน้ กฎหมายได้ก�ำ หนดมาตรฐานโดยรวมเหมือน กันทุกสาขา เช่น ด้านสถานที่ ทักษะของผูป้ ระกอบวิชาชีพฯ เป็นต้น ส่วนมาตรฐานการประกอบ โรคศิลปะแต่ละสาขาจะแตกต่างกันออกไป เช่น มาตรฐานด้านผู้ประกอบโรคศิลปะ ด้านการ ตรวจวินิจฉัย ด้านการบำ�บัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ เป็นต้น นายแพทย์ภาสกิจ วัณนาวิบูล กรรมการวิชาชีพแพทย์แผนจีน กล่าวว่า สำ�หรับ สาขาแพทย์แผนจีน ปัจจุบันนับว่าเป็นที่ยอมรับของประชาชนอย่างกว้างขวาง คณะกรรมการ วิชาชีพแพทย์แผนจีนได้มกี ารกำ�กับควบคุมมาตรฐาน คุณภาพ และจริยธรรมของผูป้ ระกอบโรค ศิลปะอยู่แล้ว โดยมีอนุกรรมการที่ดูแลด้านมาตราฐานแพทย์ฐานแผนจีนอย่างเป็นทางการใน ทุกๆ ด้าน ทั้งการตรวจวินิจฉัย การรักษา เมื่อมีกฎกระทรวงฉบับนี้ออกมา จะมีผลให้แพทย์จีน สามารถเปิดคลินิกเองได้ ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะเดิมสาขานี้ต้องไปอยู่กับสาขาอื่นๆ เช่น ในแผนกกายภาพบำ�บัดในโรงพยาบาล คลินิกแพทย์แผนไทย ขณะที่ผู้ประกอบวิชาชีพเองทาง ราชการไม่มตี �ำ แหน่งรองรับแพทย์แผนจีน จึงเป็นปัญหากับผูท้ จี่ บการศึกษา อย่างไรก็ตาม เมือ่ กฎหมายเอื้อต่อการเปิดคลินิกเองได้ ก็ต้องเข้มงวดเรื่องมาตรฐานมากขึ้น เป็นหน้าที่ของ กรรมการวิชาชีพที่จะร่วมกันจัดทำ�มาตรฐานให้ดีที่สุด เพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด และ เป็นการส่งเสริมและพัฒนาการแพทย์แผนจีนให้มีความก้าวหน้าอีกทางหนึ่งด้วย ทางด้าน ผศ.สุชาติ เกียรติวัฒนเจริญ ประธานกรรมการวิชาชีพ สาขารังสีเทคนิค กล่าวว่า สาขารังสีเทคนิคเป็นการใช้พลังงานกัมมันตรังสีกบั ร่างกายมนุษย์ และการเอกซเรย์ใน ปัจจุบนั มีความก้าวหน้าไปอย่างมาก ทัง้ การใช้วธิ อี ลั ตร้าซาวด์ การใช้พลังงานคลืน่ แม่เหล็กไฟฟ้า หรือ MRI เป็นต้น ซึ่งต้องมีการควบคุมมาตรฐานด้านนี้อย่างเข้มงวด สถานประกอบการต้อง ได้รบั การตรวจมาตรฐาน รวมถึงการใช้วสั ดุกมั มันตรังสีทคี่ วบคุมโดยสำ�นักงานปรมาณูเพือ่ สันติ ดังนัน้ การควบคุมมาตรฐานจึงเป็นเรือ่ งทีด่ ี โดยเฉพาะเมือ่ ผูป้ ระกอบวิชาชีพสามารถเปิดคลินกิ เองได้ ทัง้ นี้ กรรมการวิชาชีพรังสีเทคนิคได้รว่ มกับสาขาอืน่ ๆ ดำ�เนินการยกร่างเกณฑ์มาตรฐาน มาแล้วหลังมีการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ (2 เมษายน 2558) โดยร่างเกณฑ์มาตรฐานฯ ได้ผา่ นการตรวจสอบแล้วว่าสามารถดูแลเชิงระบบได้มากขึน้ และจะมีการประชุมหารือกันอย่าง ต่อเนื่อง ทางด้าน รศ.สร้อยสุดา วิทยากร ประธานกรรมการผู้ประกอบโรคศิลปะสาขา กิจกรรมบำ�บัด กล่าวว่า สาขากิจกรรมบำ�บัดมีลกั ษณะงาน ทีม่ งุ่ การนำ�สือ่ / กิจกรรมการดำ�เนิน ชีวิตหรือกิจวัตรประจำ�วันพื้นฐานมาใช้ในการบำ�บัดรักษา ทั้งในคนปกติทุกกลุ่มวัย ผู้ที่ความ บกพร่องทางกายภาพและผูพ้ กิ าร เพือ่ ให้มคี ณ ุ ภาพชีวติ ทีด่ ขี นึ้ ซึง่ ปัจจุบนั นับว่าประชาชนมีความ ตื่นตัวที่จะใช้บริการในสาขานี้ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มุ่งเน้นเรื่องการปรับตัวก่อนวัยเกษียณ รวม ถึงการส่งเสริมพัฒนาการในเด็กเล็ก เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันโรงพยาบาลทุกระดับทั้งภาครัฐและ เอกชน มีแผนกกิจกรรมบำ�บัดอยู่แล้ว และเมื่อสามารถแยกออกมาเป็นคลินิกได้ จะเป็นเรื่องที่ ดีทงั้ ต่อผูป้ ระกอบวิชาชีพทีส่ ามารถเติบโตได้อย่างมีมาตรฐาน และประชาชนทีม่ ที างเลือกในการ รับบริการ การจัดทำ�เกณฑ์มาตรฐานของคลินิกประกอบโรคศิลปะตามกฎกระทรวงกำ�หนด ลักษณะของสถานพยาบาล และลักษณะการให้บริการของสถานพยาบาล พ.ศ.2558 หลังจาก การเปิดเวทีระดมความคิดเห็นจัดทำ�ร่างเกณฑ์มาตรฐานฯ ในครัง้ นี้ จะเป็นขัน้ ตอนทีแ่ ต่ละสาขา วิชาชีพจะได้น�ำ ยกร่างเกณฑ์มาตรฐานฯ ไปเผยแพร่และทำ�ความเข้าใจในแต่ละสาขาวิชาชีพของ ตนเอง เพื่อให้การดำ�เนินงานคลินิกของแต่ละสาขาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และผู้ที่จะได้รับ ประโยชน์สูงสุดก็คือประชาชนผู้บริโภคนั่นเอง. ขอขอบคุณข้อมูลจาก : กระทรวงสาธารณสุข
6
ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 5 เดือนพฤษภาคม 2558
เกร็ดกฎหมาย กองบรรณาธิการ
ทวงหนี้อย่างไร...ไม่ติดคุก กลายเป็นประเด็นทีน่ า่ สนใจขึน้ มาทันทีตงั้ แต่มขี า่ วการร่างพระราชบัญญัติ การทวงถามหนี้ พ.ศ. ... จนกระทั่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2558 และมีผลใช้บังคับภายใน 180 วัน นับแต่วันประกาศ ซึ่งแน่นอนว่าสาระสำ�คัญของพระราชบัญญัติฉบับนี้ทำ�ให้ลูกหนี้ทั้งหลายได้เฮ... ยืดอกกับภาระหนี้ที่มีได้สบายใจขึ้น เพราะลูกหนี้จะได้รับความคุ้มครองมากขึ้น จากการถูกทวงหนี้จากเจ้าหนี้หรือผู้รับจ้างทวงหนี้
สาเหตุหนึ่งที่มีการตราพระราชบัญญัติฉบับนี้ขึ้น ก็เพื่อลดปัญหาการทวงหนี้ในกรณี ทีล่ กู หนีเ้ กิดการผิดนัดชำ�ระหนีด้ ว้ ยวิธตี า่ ง ๆ นานา แล้วแต่เจ้าหนีจ้ ะเลือกใช้ ซึง่ สุดท้ายก็ไม่พน้ ลงเอยด้วยการบีบบังคับให้ชำ�ระหนี้ แม้กระทั่งหลาย ๆ ครั้งที่มีข่าวการข่มขู่ การใช้ความรุนแรง ในการบังคับให้ชำ�ระหนี้ จนกลายเป็นปัญหาการละเมิดสิทธิบุคคล ซึ่งลูกหนี้ต้องได้รับความ คุ้มครองภายใต้กฎหมาย ทีผ่ า่ นมาสภาทนายความ ได้ตระหนักถึงความสำ�คัญของพระราชบัญญัตฉิ บับนี้ เพราะ มีผลโดยตรงกับเจ้าหนี้ ลูกหนี้ และเป็นกฎหมายใหม่ที่ผู้ประกอบวิชาชีพทนายความต้องรู้และ มีความเข้าใจทีถ่ กู ต้องเพือ่ ประโยชน์ต์ อ่ ตัวทนายความเองและในการให้ค�ำ ปรึกษาทางกฎหมาย แก่ลูกความภายใต้บังคับของพระราชบัญญัตินี้ เจ้าหนีผ้ ทู้ วงถามหนีภ้ ายใต้บงั คับของพระราชบัญญัตฉิ บับนี้ หมายถึงใคร? ในมาตรา 3 ของพระราชบัญญัตนิ ี้ “ผูท้ วงถามหนี้ หมายความว่า เจ้าหนีซ้ งึ่ เป็นผูใ้ ห้สนิ เชือ่ ผูป้ ระกอบธุรกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้จัดให้มีการเล่นพนันเป็นปกติธุระตามกฎหมายว่า ด้วยการพนัน และเจ้าหนีอ้ นื่ ทีม่ สี ทิ ธิรบั ชำ�ระหนีอ้ นั เกิดจากการกระทำ�ทีเ่ ป็นทางการค้าปกติหรือ ปกติธรุ ะของเจ้าหนี้ ทัง้ นีไ้ ม่วา่ หนีด้ งั กล่าวจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่กต็ าม และให้หมายความ รวมถึง ผู้รับมอบอำ�นาจจากเจ้าหนี้ดังกล่าว ผู้รับมอบอำ�นาจช่วงในการทวงถามหนี้ ผู้ประกอบ ธุรกิจทวงถามหนี้ และผู้รับมอบอำ�นาจจากผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ด้วย” จากความในมาตรานี้ จะเห็นได้ว่าพระราชบัญญัติฉบับนี้มิได้ควบคุมการทวงถามหนี้ ของเจ้าหน้าทุกประเภท ดังนั้นจึงไม่รวมถึงกรณีการทวงถามหนี้ของทนายความซึ่งกระทำ�การ แทนลูกความของตน แต่หากกรณีทผี่ ปู้ ระกอบวิชาชีพทนายความท่านใดรับงานจากสถาบันการ เงินก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องยื่นคำ�ขอประกอบธุรกิจการทวงถามหนี้ อย่างถูกต้อง ซึง่ แน่นอนว่าหากผูป้ ระกอบวิชาชีพทนายความมาทำ�หน้าทีน่ สี้ งิ่ สำ�คัญทีต่ อ้ งคำ�นึง ถึงก็คือ ลักษณะการทวงถามหนี้ที่เข้าข่ายต้องห้ามตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งได้แก่ 1. มาตรา 8 วรรคแรก ห้ามผู้ทวงถามหนี้ติดต่อกับบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ลูกหนี้เพื่อการ ทวงถามหนี้ เว้นแต่บุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้ ให้ติดต่อในกรณีที่เจ้าหนี้ไม่สามารถติดต่อลูกหนี้ โดยตรงได้ และให้ติดต่อบุคคลอื่นได้เพียงแค่เพื่อค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อลูกหนี้ เช่น สอบถามว่าปัจจุบนั ลูกหนีอ้ ยูท่ ไี่ หน แต่ตอ้ งทำ�เฉพาะในกรณีทไี่ ม่สามารถติดต่อลูกหนีไ้ ด้เท่านัน้ และห้ามติดต่อทวงถามหนี้กับบุคคลอื่น หากฝ่าฝืนมีโทษจำ�คุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำ�ทั้งปรับ 2. มาตรา 8 อนุมาตรา 3 ห้ามใช้ข้อความ เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ หรือชื่อทาง ธุรกิจ ที่ทำ�ให้เข้าใจได้ว่าเป็นการติดต่อเพื่อทวงถามหนี้ บนซองจดหมายในหนังสือหรือในสื่อ อื่นใดในการติดต่อสอบถามกับบุคคลอื่นในการติดต่อกับลูกหนี้ และเช่นเดียวกันในมาตรา 11 อนุมาตรา 5 ห้ามผู้ทวงถามหนี้กระทําการทวงถามหนี้ในลักษณะการใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือชือ่ ทางธุรกิจของผูท้ วงถามหนีบ้ นซองจดหมายในการติดต่อลูกหนีท้ ที่ ําให้เข้าใจ ได้ว่าเป็นการติดต่อเพื่อการทวงถามหนี้ เว้นแต่ชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้ไม่ได้สื่อให้ทราบ ได้วา่ เป็นผูป้ ระกอบธุรกิจทวงถามหนี้ หากฝ่าฝืนมีโทษจำ�คุกไม่เกิน หนึง่ ปี หรือปรับไม่เกินหนึง่ แสนบาทหรือทั้งจำ�ทั้งปรับ 3. มาตรา 11 อนุมาตรา 1 ห้ามผู้ทวงถามหนี้กระทําการทวงถามหนี้ในลักษณะข่มขู่ ใช้ความรุนแรง หรือการกระทำ�อืน่ ใดทีท่ �ำ ให้เกิดความเสียหายแก่รา่ งกาย ชือ่ เสียง หรือทรัพย์สนิ ของผู้อื่น หากฝ่าฝืนมีโทษจำ�คุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำ�ทั้งปรับ 4. มาตรา 11 อนุมาตรา 2 ห้ามผู้ทวงถามหนี้กระทำ�การทวงถามหนี้ในลักษณะการ ใช้วาจาหรือภาษาทีเ่ ป็นการดูหมิน่ ลูกหนีห้ รือผูอ้ นื่ หากฝ่าฝืนมีโทษจำ�คุกไม่เกินหนึง่ ปี หรือปรับ ไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำ�ทั้งปรับ
5. มาตรา 11 อนุมาตรา 3 ห้ามผู้ทวงถามหนี้กระทําการทวงถามหนี้ในลักษณะการ แจ้งหรือเปิดเผยเกี่ยวกับความเป็นหนี้ของลูกหนี้ให้แก่ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทวงถามหนี้ หากฝ่าฝืนมีโทษจำ�คุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำ�ทั้งปรับ แต่ก็มีข้อ ยกเว้นตามมาตรา 8 อนุมาตรา 2 กรณีที่บุคคลอื่นนั้นเป็นสามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดาน ของลูกหนี้ และบุคคลอืน่ ดังกล่าวได้สอบถามผูท้ วงถามหนีถ้ งึ สาเหตุของการติดต่อ ให้ผทู้ วงถาม หนี้ชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับหนี้ได้เท่าที่จําเป็นและตามความเหมาะสม 6. มาตรา 12 อนุมาตรา 1 ห้ามผู้ทวงถามหนี้กระทําการทวงถามหนี้ในลักษณะที่เป็น เท็จ หรือทําให้เกิดความเข้าใจผิด ในลักษณะการแสดงหรือการใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือเครื่องแบบที่ทําให้เข้าใจว่าเป็นการกระทําของศาล เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วย งานของรัฐ หากฝ่าฝืนมีโทษจำ�คุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำ�ทั้งปรับ 7. มาตรา 12 อนุมาตรา 2 ห้ามผู้ทวงถามหนี้กระทําการทวงถามหนี้ในลักษณะที่เป็น เท็จ หรือทําให้เกิดความเข้าใจผิดในลักษณะการแสดงหรือมีข้อความที่ทําให้เชื่อว่าการทวงถาม หนี้เป็นการกระทําโดยทนายความ สํานักงานทนายความ หรือสํานักงานกฎหมาย หากฝ่าฝืน มีโทษจำ�คุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินสามแสนบาทหรือทั้งจำ�ทั้งปรับ เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ ทวงถามหนีห้ รือผูร้ บั มอบอำ�นาจจากผูท้ วงถามหนีน้ นั้ เป็นทนายความหรือสำ�นักงานทนายความ ที่ถูกต้องแล้วเท่านั้น 8. มาตรา 12 อนุมาตรา 3 ห้ามผู้ทวงถามหนี้กระทําการทวงถามหนี้ในลักษณะที่เป็น เท็จ หรือทําให้เกิดความเข้าใจผิด ในลักษณะการแสดงหรือมีขอ้ ความทีท่ าํ ให้เชือ่ ว่าจะถูกดําเนิน คดี หรือจะถูกยึดหรืออายัดทรัพย์หรือเงินเดือน หากฝ่าฝืนมีโทษจำ�คุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่ เกินสามแสนบาทหรือทั้งจำ�ทั้งปรับ ซึ่งกฎหมายห้ามเฉพาะในกรณีที่มีความดังกล่าวเป็นความ เท็จเท่านั้น 9. มาตรา 12 อนุมาตรา 4 ห้ามผู้ทวงถามหนี้กระทําการทวงถามหนี้ในลักษณะที่เป็น เท็จ หรือทําให้เกิดความเข้าใจผิด ในลักษณะการติดต่อหรือแสดงตนว่าผูท้ วงถามหนีด้ �ำ เนินการ ให้บริษัทบัตรข้อมูลเครดิตหรือรับจ้างบริษัทข้อมูลเครดิต หากฝ่าฝืนมีโทษจำ�คุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาทหรือทั้งจำ�ทั้งปรับ 10. มาตรา 13 อนุมาตรา 2 ห้ามเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทําการเสนอหรือจูงใจให้ลูกหนี้ ออกเช็คทั้งที่รู้อยู่ว่าลูกหนี้อยู่ในฐานะที่ไม่สามารถชําระหนี้ได้ หากฝ่าฝืนมีโทษจำ�คุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำ�ทั้งปรับ ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นอีกวิธีหนึ่งที่เจ้าหนี้นิยมใช้ บีบบังคับให้ลูกหนี้ต้องยอมจำ�นนชำ�ระหนี้ แต่เมื่อมีพระราชบัญญัตินี้การกระทำ�ดังกล่าวถือ เป็นการกระทำ�ผิดกฎหมาย สาระสำ�คัญของพระราชบัญญัตฉิ บับนีย้ งั คงเป็นทีส่ นใจและต้องศึกษาให้ถอ่ งแท้ถงึ สิทธิ และผลกระทบต่อตัวเจ้าหนี้ ลูกหนี้ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการกระทำ �ที่ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อ กฎหมาย ในสภาวะทีป่ ระเทศไทยมีปญ ั หาหนีค้ รัวเรือนเพิม่ ขึน้ สูงสุดกว่า 9.8 ล้านล้านบาท ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วคนไทยมีหนี้สิน 2.19 แสนบาทต่อ ครัวเรือน ในบรรดาหนี้ครัวเรือนเหล่านี้รวมทั้งหนี้ในระบบ และหนีน้ อกระบบทีย่ งั เป็นปัญหาเพราะสร้างความเดือดร้อน ให้ กั บ ลู ก หนี้ ม ากกว่ า หนี้ ใ นระบบ และยั ง เป็ น ความ ท้าทายของรัฐบาลที่ต้องหามาตรการทางกฎหมายที่ รัดกุมและครอบคลุมถึงหนี้นอกระบบเหล่านี้ เพื่อแก้ ปัญหาอย่างจริงจังต่อไป.
ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 5 เดือนพฤษภาคม 2558
7
ค้ามนุษย์โรฮีนจา : ทางออกและการแก้ไข สุรพงษ์ กองจันทึก ประธานอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติ และผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ
จากข่าว เมือ่ วันที่ 1 พฤษภาคม 2558 เจ้าหน้าที่ตำ�รวจ อำ�เภอสะเดา จังหวัดสงขลาเข้า ตรวจสอบค่ายที่พักพิงแห่งหนึ่งตามรายงานที่ได้รับแจ้ง โดย เจ้าหน้าที่พบศพ จำ�นวน 26 ศพ ในพื้นที่บ้านพะโต๊ะ ตำ�บลปะดังเบซาร์ อำ�เภอ สะเดา จังหวัดสงขลา ซึ่งคาดว่าเป็นศพชาวโรฮีนจาหรือชาวบังคลาเทศที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย เพือ่ เดินทางต่อไปยังประเทศมาเลเซียโดยผ่านกลุม่ ขบวนขนชาวโรฮีนจาเข้ามาในประเทศไทย และยังมีขา่ วปรากฏผ่านสือ่ มวลชนเป็น ระยะๆ ว่าอาจมีการพบศพของชาวโรฮีนจาและชาวบังคลาเทศเพิ่มเติมในพื้นที่ที่เจ้าหน้าที่ตำ�รวจได้รับแจ้งเพิ่มเติมอีกหลายจุด
ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาพบว่ามีการดำ�เนินคดีต่อ ผูท้ เี่ กีย่ วข้องกับขบวนการค้ามนุษย์ และขบวนการขนชาวโรฮีน จาในสัดส่วนทีน่ อ้ ยมาเมือ่ เทียบกับจำ�นวนชาวโรฮีนจาทีไ่ ด้รบั การคัดแยกว่าเป็นผูเ้ สียหายจากการค้ามนุษย์และทีอ่ ยูใ่ นห้อง กัก และยังไม่รวมถึงกลุ่มชาวโรฮีนจาที่ถูกกักขังหน่วงเหนี่ยว โดยกลุ่มขบวนการนายหน้า ท่ามกลางสถานการณ์ทปี่ ระเทศไทยมีสถานะเป็นต้นทาง ทาง ผ่านและปลายทางของกระบวนการค้ามนุษย์ทมี่ คี วามซับซ้อน การแสวงหาแนวทางเพื่อการแก้ไขปัญหาของชาวโรฮีนจาที่มี ความหลากหลายในมิติมุมมองเพื่อหาทางออกและพิสูจน์ข้อ เท็จจริงว่าเป็นกรณีผลู้ ภี้ ยั จากสถานการณ์การเมืองในประเทศ หรือเข้าข่ายเป็นผูเ้ สียหายจากการค้ามนุษย์ ทางออกและการ แก้ไขปัญหาจึงควร
1.
ควรประสานงานรัฐบาลและสถานทูตพม่ากับบังคลาเทศ เพือ่ ให้รฐั บาลทัง้ สองประเทศเข้ามามีบทบาทและแก้ปญ ั หา ร่วมกันทั้งปัญหาต้นเหตุในประเทศต้นทาง และปัญหาเฉพาะหน้าสำ�หรับกลุ่มที่อยู่ในประเทศไทย อันนำ�ไปสู่การแก้ปัญหาที่ ยั่งยืนต่อไป ควรประสานงานสำ�นักงานข้าหลวงใหญ่ผลู้ ภี้ ยั แห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เข้ามาดำ�เนินการคัดกรองและคุม้ ครอง ระหว่างประเทศต่อชาวโรฮีนจาที่เป็นผู้ลี้ภัย หากพบว่าเป็นผู้ลี้ภัยก็ต้องประสานงานส่งต่อไปประเทศที่สาม ควรดำ�เนินการปราบปรามอย่างเด็ดขาดต่อบุคคลทีเ่ กีย่ วข้องในขบวนการนำ�พาเข้ามาในประเทศไทยและขบวนการ ค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นอาชญากรรมข้ามชาติ ทั้งนายหน้าที่เป็นคนไทย คนพม่า คนบังคลาเทศและเจ้าหน้าที่ไทยที่เข้าไปมีส่วน เกี่ยวข้องกับขบวนการนำ�พาและค้ามนุษย์ ควรให้การคุ้มครองกลุ่มที่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ อีกทั้งให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ คัดกรองเหยือ่ การค้ามนุษย์อย่างละเอียดถีถ่ ว้ น อาทิไม่ใช้ลา่ มแปลภาษาทีน่ ายหน้าหรือบุคคลทีเ่ กีย่ วข้องกับขบวนการนำ�พาและ ค้ามนุษย์จัดหามาให้ เนื่องจากล่ามเหล่านั้นอาจจะสื่อข้อมูลไม่ตรงตามความเป็นจริง ทำ�ให้เจ้าหน้าที่ได้รับอาจผิดพลาดจาก ข้อเท็จจริงได้ ควรดำ�เนินการอนุญาตให้กลุ่มโรฮีนจาอยู่ในประเทศไทยชั่วคราว ที่ไม่ใช่ห้องกักของสำ�นักงานตรวจคนเข้าเมือง หรือตำ�รวจท้องที่ เพื่อคัดกรองและจำ�แนก หากพบว่าเป็นชาวบังคลาเทศก็ประสานงานรัฐบาลบังคลาเทศเพื่อรับคนเหล่านี้กลับ หากมาจากพม่าและเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ ก็ส่งคนเหล่านี้กลับภูมิลำ�เนาฐานะเหยื่อของการค้ามนุษย์ และให้องค์กรและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีโอกาสเข้ามาดำ�เนินการช่วยเหลือต่อไป.
2. 3.
4. 5.
ต้อนรับผู้แทนสมาคมนักกฎหมาย สปป.ลาว : เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2558 : นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ พร้อมด้วย นายวิเชียร ชุบไธสง อุปนายกฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ฯ และนายสุชาติ ชมกุล กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 1/รองเลขาธิการ สภาทนายความร่วมให้การต้อนรับคณะผูแ้ ทนสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและนักกฎหมายจากสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว โดยมีการหารือแลกเปลีย่ นเกีย่ วกับการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายด้านการคุม้ ครองสิทธิมนุษยชนทีเ่ กิดขึน้ ในประเทศไทย และตอบข้อซักถามต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง ณ ห้องประธานดวงรัตน์ สภาทนายความ ถนนราชดำ�เนินกลาง กรุงเทพฯ.
8
ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 5 เดือนพฤษภาคม 2558
คุยอุปกันายกฝ่ บ ายสวัสดิการ
กองบรรณาธิการ
สำ�นักงานสวัสดิการและสิทธิประโยชน์สภาทนายความ แจ้งผลการดำ�เนินงาน การฌาปนกิจสงเคราะห์ทนายความ (ณ วันที่ 30 เมษายน 2558)
นายวิเชียร ชุบไธสง
อุปนายกฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ฯ
หากเพื่อนสมาชิกทนายความท่านใดสนใจ โครงการต่างๆ ของสำ�นักงานสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ฯ หรือมีข้อสงสัยประการใด สามารถติดต่อ สอบถามรายละเอียดได้ที่ คุณธัญนุช หงษ์ทอง, คุณสลิตา รัตนวรรณ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2629-1430 ต่อ 128, 083-040-8662 E-mail : sawatdegan.law@gmail.com ได้ทุกวันและเวลาทำ�การ.
เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2558 เวลา 14.30 น. ที่ห้องประชุมประธานดวงรัตน์ สภาทนายความ ถนนราชดำ�เนินกลาง กรุงเทพฯ : นายวิเชียร ชุปไธสง อุปนายกฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์สภา ทนายความ ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือภายใต้โครงการ “สวัสดิการและสิทธิประโยชน์สำ�หรับ สมาชิกสภาทนายความ” กับบรษัท ไทยไพบูลย์ประกันภัย จำ�กัด (มหาชน) โดย นายยูจีน ฟง จูนเซียง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เป็นผู้แทนลงนาม เพื่อให้บริการด้านการประกันภัยและสิทธิพิเศษ ต่างๆ แก่สมาชิกสภาทนายความ.
เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2558 เวลา 19.00 น. : นายนิวัติ แก้วล้วน เลขาธิการสภาทนายความ พร้อมด้วย นายชวน คงเพชร อุปนายกฝ่ายกิจการพิเศษสภาทนายความ, นายบำ�รุง ตันจิตติวัฒน์ ประธานกรรมการมรรยาททนายความ, นายดนัย อนันติโย รองประธานกรรมการมรรยาททนายความ, นายเจษฎา อนุจารี ผูอ้ �ำ นวยการสำ�นักฝึกอบรมวิชาว่าความแห่งสภาทนายความ, คณะกรรมการมรรยาท ทนายความ และพนักงานสภาทนายความ ร่วมเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรมศพ นายนพดล รัตนชัยเจริญ บิ ด านายนิ เวส รั ต นชั ย เจริ ญ กรรมการมรรยาททนายความ ณ วั ด เทพศิ ริ น ทราวาสราชวรวิ ห าร (วัดเทพศิรินทร์) กรุงเทพฯ
มอบรางวัลสลากกาชาด ประจำ�ปี 2558 : 24 เมษายน 2558 เวลา 15.00 น. ที่สภาทนายความ กรุงเทพฯ : นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ พร้อมด้วย นายวิเชียร ชุบไธสง อุปนายกฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ฯ ในฐานะประธาน จัดงานกาชาดสภาทนายความ ประจำ�ปี 2558 และคณะกรรมการบริหาร สภาทนายความ ร่วมมอบรางวัลสลากกาชาดสภาทนายความประจำ�ปี 2558 แก่ผู้โชคดี ได้แก่ รางวัลที่ 1 รถยนต์ Ford Ecosport Trend 1.5 ผูโ้ ชคดีคอื นางสาวณัฏญากรณ์ สายสุด และรางวัลที่ 2 รถจักรยานยนต์ Honda Scoopy i ผู้โชคดีได้แก่ นางสาวปาริชาติ เหมือนทับ
ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 5 เดือนพฤษภาคม 2558
9
คุยกับ นายทะเบียน เรียน เพื่อนทนายความทุกท่าน ตามที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางและสภาทนายความฯ ได้ร่วมกันจัดอบรมที่ปรึกษากฎหมายในศาลที่มีอ�ำ นาจพิจารณาคดีเยาวชน และครอบครัวตามภูมิภาคต่างๆ ไปแล้วจำ�นวน 3 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1/2558 ณ จังหวัดพิษณุโลก ครั้งที่ 2/2558 ณ จังหวัดขอนแก่น ครั้งที่ 3/2558 ณ จังหวัดสงขลา (หาดใหญ่) นางสาวอรอนงค์ เทศะบำ�รุง ในครั้งที่ 4/2558 จะจัดอบรมในวันที่ 19-21 มิถุนายน 2558 ณ กรุงเทพมหานคร และในครั้งที่ 5/2558 จะจัดอบรมในเดือนสิงหาคม นายทะเบียนสภาทนายความ 2558 ณ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งกฎหมายเกี่ยวกับเด็ก เยาวชนและครอบครัวนับว่ามีความสำ�คัญเพราะกระทบต่อเด็ก เยาวชน และสตรี อย่างยิ่ง ตลอดจนมีประโยชน์ต่อวิชาชีพทนายความ จึงทำ�ให้การอบรมทั้ง 3 ครั้งที่ผ่านมาได้รับความสนใจจากเพื่อนทนายความเป็นจำ�นวนมาก ทั้งนี้ หากทนายความท่านใดประสงค์จะเข้าอบรม และยังไม่ทราบข้อมูลสามารถตรวจสอบรายละเอียดการจัดอบรมได้ที่เว็ปไซต์ของศาลเยาวชนและครอบครัวกลางและเว็ปไซต์ของสภาทนายความฯ ดิฉันขอเรียนให้เพื่อนทนายความทราบเพิ่มเติมว่า มีทนายความจำ�นวนหนึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับการแต่งกายของทนายความในเวลาว่าความโดยขอให้แต่งกายเรียบร้อยสีสุภาพ ซึ่งในเรื่องการแต่งกายของทนายความชายและหญิงนั้น สภาทนายความฯ ได้ออกข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ.2529 หมวด 5 มรรยาทในการแต่งกาย ข้อ 20 ในเวลาว่าความ ทนายความจะต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อยตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ (1) ทนายความชาย แต่งตามแบบสากลนิยมเป็นชุดสีขาว หรือสีอื่นที่ไม่ฉูดฉาด เชิ้ดขาว ผ้าผูกคอสีดำ �หรือสีอื่นที่สุภาพไม่ฉูดฉาดแบบเงื่อนกลาสี หรือแต่งเสื้อชุดไทย แบบแขนสั้นหรือยาวสีสุภาพไม่มีลวดลายแทนเสื้อชุดสากลก็ได้ รองเท้าหุ้มส้นสีขาว น้ำ�ตาลหรือดำ� ถุงเท้าสีคล้ายคลึงกับรองเท้า (2) ทนายความหญิง แต่งตามแบบสากลนิยม กระโปรงและเสื้อสีสุภาพ ไม่ฉูดฉาด รองเท้าหุ้มส้น (3) ทนายความที่มีสิทธิแต่งเครื่องแบบราชการ จะแต่งแบบราชการก็ได้ (4) ในขณะว่าความ ทนายความที่มีสิทธิสวมเสื้อครุยเนติบัณฑิตต้องสวมเสื้อครุยนั้นด้วย ดิฉนั จึงขอเรียนประชาสัมพันธ์ให้เพือ่ นทนายความทุกท่านทราบเรือ่ งมรรยาทในการแต่งการในเวลาว่าความ เพือ่ เป็นการดำ�รงไว้ซงึ่ ศักดิศ์ รีและภาพลักษณ์ของวิชาชีพทนายความ อนึ่ง กรณีที่เพื่อนทนายความท่านใดมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนตัว และ/หรือ ข้อมูลสำ�นักงานที่ท่านสังกัดอยู่ และ/หรือ สอบบรรจุเข้ารับราชการแต่ยังไม่ได้แจ้งยกเลิกการเป็น ทนายความ ขอความกรุณาแจ้งข้อมูลดังกล่าวให้สำ�นักงานทะเบียนทนายความเพื่อดำ�เนินการปรับปรุงข้อมูลของท่านให้เป็นปัจจุบันที่สุดและเพื่อรองรับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของ สภาทนายความแห่งใหม่ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2558 นี้ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ของท่านในการรับทราบข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพทนายความจากสภาทนายความฯต่อไป.
วันสตรีสากล 2558 : นางสาวอรอนงค์ เทศะบำ�รุง นายทะเบียนสภา ทนายความ ในฐานะผูแ้ ทนนายก สภาทนายความ ร่วมงานวันสตรี สากล ประจำ�ปี 2558 ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี เมื่อเร็วๆ นี้
ขอบคุณสภาทนายความ :
นายสุวิทย์ เชยอุบล อุปนายกฝ่าย ปฏิบตั กิ ารสภาทนายความ เป็นผูแ้ ทนรับมอบ กระเช้าดอกไม้แสดงความขอบคุณจากผู้แทน กลุ่มชาวบ้านบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ ใน การที่สภาทนายความได้ให้ความช่วยเหลือ ทางกฎหมาย โดยมี นายนิวัติ แก้วล้วน เลขาธิการสภาทนายความ และคณะทำ�งาน คดีสงิ่ แวดล้อม ร่วมรับมอบ ทีส่ ภาทนายความ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2558.
ประชุมคณะกรรมการสภาทนายความภาค 7 : เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2558 เวลา 14.00 น. ที่วังจันทร์รีสอร์ท หาด เจ้าสำ�ราญ จังหวัดเพชรบุรี : นายวิทยา แก้วไทรหงวน กรรมการบริหาร สภาทนายความภาค 7 เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสภาทนายความ ภาค 7 โดย สภาทนายความจังหวัดเพชรบุรี เป็นเจ้าภาพ จัดการประชุมฯ มี นายกฤษณ์ แก้วอยู่ ประธานสภาทนายความจังหวัดเพชรบุรี ให้การต้อนรับ อีกทั้งในเวลา 15.00 น. ยังจัดให้มีการแข่งขันฟุตบอลนัดกระชับมิตรเชื่อมความ สัมพันธ์ระหว่างทีมฟุตบอลสภาทนายความภาค 7 กับทีมชมรมฟุตบอลทนายความ จังหวัดเพชรบุรี ที่สนามกีฬามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
ที่ปรึกษาประจำ�กองบรรณาธิการ :
นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์, นายสัก กอแสงเรือง, นายบำ�รุง ตันจิตติวัฒน์, นายเจษฎา อนุจารี, นายสุชาติ ธรรมาพิทักษ์กุล, นายพูนศักดิ์ บุญชู, ดร.สุธรรม วลัยเสถียร, นายสุมิตร มาศรังสรรค์, นางสาวอรอนงค์ เทศะบำ�รุง, นายธีรศักดิ์ วิชชุตานนท์, ผศ.ว่าที่ร้อยตรี ดร.สุรพล สินธุนาวา, นายชวน คงเพชร, นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์, นายวิเชียร ชุบไธสง, นายชลิต ขวัญแก้ว, นายสุรศักดิ์ รอนใหม่, นายพิเชษฐ คูหาทอง, นายอาสา เม่นแย้ม, นายผาติ หอกิตติกุล, นายวิทยา แก้วไทรหงวน, นายวันรัฐ นาคสุวรรณ, นายโอฬาร กุลวิจิตร
บรรณาธิการ : นายนิวัติ แก้วล้วน กองบรรณาธิการ : นายสุนทร พยัคฆ์, นายสุวทิ ย์
เชยอุบล, ดร.เกียรติศกั ดิ์ วรวิทย์รตั นกุล, นายไสว จิตเพียร, นายศุภกิจ หล่อพัฒนากูร, นายสุชาติ ชมกุล, นายสุรนิ ทร์ ทาซ้าย, นายวิบลู ย์ นาคทับทิม, ว่าทีร่ อ้ ยตรี สมชาย อามีน, นายคราศรี ลอยทอง, นายโอวาท จุลโคตร, นายเจษฎา คงรอด, นายสัมฤทธิ์ เชือ้ สาวถี, นายดนัย พุม่ เล็ก, นางสาวชืน่ ชนก วชิรธาราธาดร, ดร. วิเศษ แสงกาญจนวนิช, นางสาวนงลักษณ์ แตงเจริญ ผู้ช่วยกองบรรณาธิการ : นางสาวนัทธมน จันดี, นายไพศาล แก่ฉมิ
• ผลิตโดย สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ เลขที่ 7/89 อาคาร 10 ถนนราชดำ�เนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ : 0-2629-1430 ต่อ 129, 146 โทรสาร : 0-2282-9908
10
มุมกิจกรรม
ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 5 เดือนพฤษภาคม 2558
ต้อนรับแขกต่างประเทศ : เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2558 เวลา 14.30 น. ในการประชุมคณะกรรมการบริหารสภา ทนายความประจำ�เดือนเเมษายน 2558 ทีห่ อ้ งประธานดวงรัตน์ สภาทนายความ ถนนราชดำ�เนินกลาง กรุงเทพฯ : นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ พร้อมด้วย คณะกรรมการบริหารสภา ทนายความ ให้การต้อนรับ Peter JAKAB, PH.D. Ambassador The Embassy of Hungary, Reka BENCSIK Economic and Commercial Counsellor และ Mr.Kirida Bhaopichitr Senior Economist Macroeconomic & Fiscal Management Global Practice The World Bank, Bangkok Office ในโอกาสเข้าร่วมหารือแลกเปลีย่ นความคิดเห็นด้านต่าง ๆ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย กับฮังการีที่มีมาต่อเนื่องยาวนานกว่า 100 ปี และเยี่ยมชมการบริหารงานของสภาทนายความ เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2558 ณ ห้องประชุมเล็กชั้น 12 อาคารศาลอาญา รัชดาภิเษก กรุงเทพฯ : นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ ร่วมประชุมเพื่อ รับฟังความคิดเห็นเรือ่ ง “ร่างพระราชบัญญัตอิ นุญาโตตุลาการ (ฉบับที.่ .) พ.ศ. ....” เพื่อพัฒนาการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศให้มีความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นในการ รองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และให้ประเทศไทยก้าวสู่ความเป็น ศูนย์กลางของการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศในระดับภูมิภาคต่อไป
สัมมนาทางวิชาการ : เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2558 ที่ห้องบรรยาย SC1059 อาคารเรียนรวม สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต : นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภา ทนายความ เป็นวิทยากรร่วมบรรยายความรูก้ ฎหมายในโครงการสัมมนาทางวิชาการภาค วิชากฎหมายสบัญญัติ เรื่อง “ระบบฎีกาอนุญาต : เพื่อประโยชน์ของประชาชน?” โดยมี ศ.ดร.คณิต ณ นคร ประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย, ศ.ดร.วิชัย อริยะ นันทกะ ผู้พิพากษาอาวุโส ศาลทรัพย์สินทางปัญญา, รศ.จักรพงษ์ เล็กสกุลไชย คณะ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, นายพงษ์เดช วานิชกิตติกูล เลขาธิการประธาน ศาลฎีกา ร่วมเป็นวิทยากร และดำ�เนินการอภิปรายโดย ผศ.ดร.สมเกียรติ วรปัญญา อนันต์ หัวหน้าภาควิชากฎหมายวิธีสบัญญัติ ทั้งนี้ การสัมมนาทางวิชาการดังกล่าว จัดขึน้ เนือ่ งจากกรณีประเด็นโต้แย้งและวิพากษ์วจิ ารณ์รา่ งแก้ไขพระราชบัญญัตวิ ธิ พี จิ ารณา ความแพ่ง (ฉบับที.่ .) พ.ศ. .... ในหลักการเรือ่ งระบบฎีกาอนุญาตอย่างกว้างขวางในวงการ นักนิติศาสตร์ว่าเหมาะสมกับประเทศไทยหรือไม่ ทั้งในคดีแพ่งหรือคดีอาญา ประชาชน ได้รับประโยชน์อย่างแท้จริงหรือไม่ การสัมมนาวันนี้จึงเป็นการหาข้อสรุปในทางวิชาการ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาในเรื่องนี้ต่อไป
สภาทนายความจังหวัดพะเยา โดย นายอภิเชษฐ์ วรรณโกฎิ ประธานสภา ทนายความจังหวัดพะเยา พร้อมด้วยกรรมการสภาทนายความจังหวัดพะเยา และ ทนายความจังหวัดพะเยา ร่วมจัดโครงการเผยแพร่ความรู้กฎหมายแก่ประชาชน ตาม โครงการให้ความช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายของสภาทนายความ ณ เทศบาล เมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2558
เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2558 เวลา 10.00 น. : ผศ.ว่าที่ร้อยตรี ดร.สุรพล สินธุ นาวา อุปนายกฝ่ายบริหารสภาทนายความ ในฐานผู้แทนนายกสภาทนายความ รับมอบโล่ ประกาศเกียรติคณ ุ หน่วยงานและองค์กรทีท่ ำ�คุณประโยชน์และสนับสนุนการดำ�เนินงานด้าน การคุ้มครองผู้บริโภค จากนายอำ�พล วงศ์ศิริ เลขาธิการสำ�นักงานคุ้มครองผู้บริโภค ในงาน “36 ปี คุ้มครองผู้บริโภคไทย พร้อมใจสู่ประชาคมอาเซียน” เนื่องในวันคุ้มครอง ผู้บริโภคไทย ที่ห้อง Sapphire 101-107 อาคารอิมแพค ฟอรั่ม เมืองทองธานี.
มุมกิจกรรม
ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 5 เดือนพฤษภาคม 2558
11
วันสัญญาธรรมศักดิ์ 2558 : นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ และ ศ.พิเศษ สิทธิโชค ศรีเจริญ ในนามมูลนิธวิ ชิ าชีพทนายความ พร้อมด้วยทนายความ และพนักงานสภาทนายความ ร่วมวางพานพุ่มสักการะอนุสาวรีย์ ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เนื่องในวันสัญญา ธรรมศักดิ์ ปี 2558 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2558
วันปรีดี ประจำ�ปี 2558 : นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ, นายสัก กอแสงเรือง อดีตนายกสภาทนายความ ในนามมูลนิธิวิชาชีพทนายความ, นายสุรชัย เลี้ยง บุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติคนที่ 1, สมาชิกสภาทนายความ และพนักงานสภา ทนายความ ร่วมวางพานพุ่มในนามสภาทนายความ และมูลนิธิวิชาชีพทนายความ เพื่อสักการะ อนุสรณ์สถาน ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ และระลึกถึงคุณงามความดีคุณูปการต่างๆ ที่ ท่านได้กระทำ�ไว้ต่อประเทศชาติและประชาชนชาวไทย เนื่องในวาระครบรอบ 115 ปีวันปรีดี ประจำ�ปี 2558 ณ ลานปรีดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2558
สัมมนา “ทวงหนี้อย่างไร ไม่ติดคุก” จังหวัดเชียงใหม่ : เมื่ อ วั น ที่ 10 พฤษภาคม 2558 เวลา 9.00 น. ที่ อ าคารห้ อ งประชุ ม เฉลิมพระเกียรติ อบจ.เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ : สภาทนายความฯ ร่วมกับสมาพันธ์ ผู้บริหารหนี้สถาบันการเงินแห่งประเทศไทย จัดสัมมนากฎหมายใหม่ “ทวงหนี้ อย่างไร...ไม่ติดคุก” โดยนายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ เป็น ประธานเปิดการสัมมนา พร้อมทั้งเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “พระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2557” (ค้ำ�ประกัน จำ�นอง) และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง (ฉบับที่..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมการอุทธรณ์ฎีกา) นอกจากนี้ในช่วงบ่าย ของการสัมมนาเป็นการบรรยายเรือ่ ง “พระราชบัญญัตวิ ธิ พ ี จิ ารณาคดีคมุ้ ครองผู้ บริโภค” โดยนายพรศักดิ์ สังข์สังวาลย์ ประธานสภาทนายความจังหวัดเชียงใหม่ และปิดท้ายการสัมมนาด้วยการบรรยายเรื่อง “พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 และทวงหนี้อย่างไร...ไม่ติดคุก” โดยนายวิเชียร ชุบไธสง อุปนายก ฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์สภาทนายความ เป็นวิทยากร ทั้งนี้มนี ายอาสา เม่นแย้ม กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 5, นายพูลศักดิ์ บุญชู อุปนายก ฝ่ายนโยบายและแผนงานฯ และกรรมการบริหารสภาทนายความ ร่วมการสัมมนา มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมสัมมนากว่า 600 คน.
แบดมินตันกระชับมิตร : ทีมแบดมินตันทนายความไทย โดยชมรมแบดมินตันสภาทนายความ ร่วมแข่งขัน แบดมินตันนัดกระชับมิตรกับ ทีมแบดมินตันทนายความสิงคโปร์ ซึ่งทีมแบดมินตันสิงคโปร์นำ�ทีม โดย Mr.Brandon Chung ที่ปรึกษากฎหมาย, Miss Lisa Sam ทนายความ และผู้พิพากษา Mr. Eddy Tham กับ อัยการ Mr.Imaduddien Abdul Karim พร้อมเพื่อนทนายความรวม 16 ชีวิต โดยมี คุณทักษะ อรเอก ทำ�หน้าที่เป็นผู้ประสานงาน และล่าม ส่วนทีมแบดมินตันทนายความไทย นำ� ทีมโดย นายบรรณกร เปี่ยมธนทรัพย์ ประธานชมรมแบดมินตันสภาทนายความ, นายสุนทร ทรัพย์ตนั ติกลุ , นายสุชาติ อารยวุฒ,ิ นายวสันต์ เอมรุจ,ิ นายปราโมทย์ นิม่ พร้าว และทนายความ ชาย-หญิง รวม 20 ชีวิต ร่วมการแข่งขันอย่างสนุกสนาน ผลการแข่งขันทีมทนายความสิงคโปร์ เป็นฝ่ายชนะ ณ คอร์ดกรมพัฒนาที่ดิน บางเขน กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้
12
บ้านของเรา
ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 5 เดือนพฤษภาคม 2558
ความคืบหน้าการก่อสร้างอาคารที่ทำ�การสภาทนายความ
ความคืบหน้าการก่อสร้างอาคาร ที่ ทำ � การสภาทนายความ ณ วั น ที่ 8 พฤษภาคม 2558 : งานโครงสร้างอาคาร แล้วเสร็จ 100%, งานสถาปัตย์กรรม แล้ว เสร็ จ 24.29%, งานระบบไฟฟ้ า และ สือ่ สาร แล้วเสร็จ 18.20%, งานระบบปรับ อากาศและระบายอากาศ แล้ ว เสร็ จ 36.60%, งานระบบสุขาภิบาลและป้องกัน อัคคีภยั แล้วเสร็จ 80.91% ความก้าวหน้า โดยภาพรวมทัง้ โครงการคิดเป็น 50.57%
ขอขอบคุณผู้ให้ยืม-บริจาคเงินสมทบกองทุนจัดซื้อที่ดินและก่อสร้างที่ทำ�การสภาทนายความ รายนามผู้บริจาคเงินสมทบกองทุนจัดซื้อที่ดินและ ก่อสร้างที่ทำ�การสภาทนายความ ดังนี้ ปี 2550 : สภาทนายความจังหวัดชลบุรี 88,200 บาท, นายดนัย ศิวิลัย 10,000 บาท, นางสาวปัญจพร โกศลกิติวงศ์ 10,000 บาท, นายวัช รา หงษ์ประภัศร 10,000 บาท, นายสมุทรชัย ตีรสมิทธิ์ 10,000 บาท, ว่าที่ร.ต.นฤดล อบมา 5,000 บาท, นายไพฑูรย์ พฤฒา สัจธรรม 5,000 บาท, นายสมชาติ ลิ้มสกุล 5,000 บาท, นายภราดร โรจนเดชานนท์ 5,000 บาท, นางสาวจรรยา แจ้งจรัส 5,000 บาท, นายสัญญา สุวรรณวงศ์ 5,000 บาท, นายปรีชา เตชะมวลไววิทย์ 5,000 บาท, นายชัยภัทร วิริยะประเสริฐ 3,000 บาท, นาย เสนาะ โพธิตา 3,000 บาท , นายเจษฎา อนุจารี 3,600 บาท, นายอนันต์ อ่อนลมุน 1,000 บาท, นายธีรภัทร บางสมบุญ 1,000 บาท, นายธงชัย วงศาโรจน์ 1,000 บาท, นายดำ�เกิง ธำ�รงสินถาวร 1,000 บาท, นายมนตรี เจริญพันธ์ศิริผล 1,000 บาท, นาย ชัยวุฒิ สมัย 1,000 บาท, นายวัชระ ลดาวัลย์ 1,000 บาท, นายสมเกียรติ สหตระกูล 1,000 บาท, นายพฤฒพงศ์ รัตนสังวาลย์ 500 บาท, นางสาวพัทธนันท์ ธรรมหรรษา 400 บาท, นายปราโมทย์ ศรีไสทอง 200 บาท, นายสมยศ พลอยสุวรรณ 200 บาท, นายประศิลป์ ถวิล 100 บาท, นายปรากฎ โกลาวัลย์ 10,000 บาท, นายจักรกฤษณ์ ยางนอก 10,000 บาท, นายเฉลิมพล เนาว์ ประโคน 10,000 บาท, นายจารุพงศ์ สมอารยพงศ์ 10,000 บาท, นายพยุงศักดิ์ คล้าเกษม 10,000 บาท, นายอรรถพล วาท วิจารณ์ 5,000 บาท, นายเรืองจักร สมบูรณ์นาดี 5,000 บาท , สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ
ËÇÁÊ‹§ÀÒ¾¢‹ÒÇ-º·¤ÇÒÁÁÒŧà¼Âá¾Ã‹ ไดที่ ¡Í§ºÃóҸԡÒÃ˹ѧÊ×;ÔÁ¾ ¢‹ÒÇÊÀÒ·¹Ò¤ÇÒÁ àÅ¢·Õè 7/89 ÍÒ¤Òà 10 ¶.ÃÒª´Óà¹Ô¹¡ÅÒ§ á¢Ç§ºÇùÔàÇÈ à¢µ¾Ãй¤Ã ¡ÃØ§à·¾Ï 10200
â·ÃÈѾ· 0-2629-1430 µ‹Í 129, 146 â·ÃÊÒà 0-2282-9908
Facebook : ÊÀÒ·¹Ò¤ÇÒÁã¹¾ÃкÃÁÃÒªÙ»¶ÑÁÀ
E-mail : lctnews2013@gmail.com
เลขที่ 7/89 อาคาร 10 ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท 0-2629-1430 ตอ 129, 146 โทรสาร 0-2282-9908
ติดตามต่อได้ในฉบับหน้า...
ชำระคาฝากสงเปนรายเดือน ใบอนุญาตเลขที่ พ.211/2547
ปณ.ราชดำเนิน