ข่าวสภาทนายความ ฉบับเดือนมิถุนายน 2558

Page 1

ปีที่ 3 ฉบับที่ 6 เดือนมิถุนายน 2558 จากปัญหาชาวโรฮีนจาอพยพ ทีถ ่ ก ู ปฏิเสธสิทธิความเป็นพลเมือง และถูกขับ ไล่ไม่ยอมรับจากคนในประเทศเดียวกัน จน ต้องผลักดันออกมาจากบ้านเกิดของตน มายังประเทศไทยนั้น ยังคงเป็นปัญหาที่ ประเทศไทยต้ อ งประสบ และกลายเป็ น โจทย์ สำ � คั ญ ที่ ต้ อ งร่ ว มกั น แก้ ไ ข เพราะ ปัญหาที่เกิดขึ้นกลายเป็นปัญหาการค้า มนุษย์ที่มีคนไทยร่วมอยู่ในกระบวนการ การกระทำ�ความผิด ซึ่งในประเด็นดังกล่าวนี้ นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายก สภาทนายความ กล่าวถึงความผิดฐานค้ามนุษย์ในประเทศไทยว่า “ความผิดฐานค้ามนุษย์ปจั จุบนั คือ ความผิดตามพระราช บัญญัติการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ซึ่งมีองค์ประกอบ 2 ส่วนด้วยกัน คือ ทำ�อย่างไรถึงจะพิสูจน์ได้ว่ากระทำ�ความผิดฐานค้ามนุษย์ โดย เฉพาะการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ เช่นเป็นธุระจัดหา ซื้อขาย จำ�หน่าย หน่วงเหนี่ยวกักขัง โดยต้องพิจารณาตั้งแต่ต้นว่าบุคคล ที่ถูกกล่าวหาอยู่ในกระบวนการเหล่านี้หรือไม่ แล้วความผิดฐาน ค้ามนุษย์จะต้องมีผู้ร่วมกันกระทำ�ความผิดตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป อย่าง กรณีพบแค้มป์ทพี่ กั ชาวโรฮีนจาบริเวณกลางป่าตามทีเ่ ป็นข่าว ก็ตอ้ ง ดูทมี่ าของชาวโรฮีนจาเหล่านัน้ ว่ามาอย่างไร เกิดจากการกระทำ�ของ ใครหรือไม่ ถ้าเป็นการกระทำ�ของบุคคลก็แสดงว่ามีการแบ่งหน้าที่ กันทำ� ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องต่างๆ ที่เกี่ยวโยงกันถึง ความเป็นมาเป็นไปอย่างรอบด้าน ในเรื่องของการดำ�เนินคดี หรือ ข้อมูลเส้นทางการกระทำ�ความผิดฐานค้ามนุษย์นั้น เป็นหน้าที่และ ความสามารถของพนักงานสอบสวนที่จะต้องหาข้อเท็จจริง และต้อง พิจารณาที่เจตนาเป็นสำ�คัญ หากชาวโรฮีนจาไม่สามารถให้ปากคำ� ที่เป็นประโยชน์ พนักงานสอบสวนก็สามารถสืบข้อมูลจากพยาน แวดล้อมอื่นๆ ได้ เช่น ข้อมูลช่องทางในการติดต่อสื่อสารของ ผู้ต้องหา “ชาวโรฮินญา (โรฮีนจา) เป็นผู้รับเคราะห์กรรมจาก ประเทศจักรวรรดินิยมในอดีตที่พาพวกเขาข้ามมาจากอินเดียมา ทำ�งานและเป็นเสมือนหนึ่งผู้รับใช้ที่ดีของชาติตะวันตกระหว่างปี 1826-1948 นักล่าอาณานิคม เจ้าของนโยบาย “แบ่งแยกและ ปกครอง” จึงเป็นทีเ่ กลียดชังของชาวพม่าทีถ่ กู กดขีต่ ลอดมา จนเมือ่ เป็นเอกราชและในปี 1982 ประธานาธิบดีเทียนเสี่ยนประกาศ ยกเลิกสัญขาติชาวโรฮินญา ชาวโรฮินญาจึงกลายเป็นคนไม่มสี ญ ั ชาติ บังคลาเทศก็ไม่รับกลับ ขาดแคลนทุกอย่าง การศึกษา สุขอนามัย ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรคฯลฯ ปั ญ หามี ว่ า ประเทศใดควรรั บ ผิ ด ชอบ ไทย มาเลย์ อินโดนีเชีย ประเทศเพื่อนบ้านตามหลักมนุษยธรรม หรือมยันมาร์ หรือตัวการสำ�คัญที่เงียบเลย อังกฤษ พิเคราะห์กันนะครับ แต่อย่า ให้ สหรัฐ หรือ UN มาตำ�หนิประเทศไทยของเรา โดยที่ตัวเองก็ไม่ เคยช่วยอะไรเลย” ทั้งนี้ ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ามีหลายคดีที่เข้าข่ายการค้า มนุษย์ในประเทศไทยแก่เป็นคดีระหว่างประเทศที่มีความเกี่ยวข้อง กันหลายพื้นที่ คดีจึงไม่มีความคืบหน้า บางครั้งไปติดขัดในขั้นตอน กระบวนการพิจารณาในชั้นต่างๆ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการรวบรวมข้อเท็จ จริงในคดี เช่นนีแ้ ล้วปัญหาชาวโรฮีนจาทีเ่ กิดขึน้ ในประเทศไทยขณะ นี้ กระบวนการทางกฎหมายของไทยจะสามารถเอาผิดฐานค้ามนุษย์ กับผู้ที่เกี่ยวข้องได้ หรือไม่นั้น นายกสภาทนายความ กล่าวว่า

นายกสภาทนายความ

ห่วงการบังคับใช้กฎหมายไทย กับกรณีโรฮีนจา “ตรงนี้สภาทนายความเราไม่ได้เข้าไปในคดีโดยตรง ซึ่งในแต่ละคดีมีความต่างกัน ข้อเท็จจริงไม่เหมือนกัน ในคดีทผี่ า่ นกระบวนการทางศาลมาแล้วศาลก็มมี าตรการทีเ่ ข้มงวดในการ พิสจู น์ความผิด เพราะโทษในคดีคา้ มนุษย์เป็นโทษหนัก การจะลงโทษผูก้ ระทำ�ความผิดต้องพิสจู น์ ให้ปราศจากข้อสงสัย จึงตกเป็นภารกิจที่สำ�คัญของพนักงานสอบสวน โดยเฉพาะการนำ�พยาน เข้าสืบของพนักงานอัยการต้องสืบให้ครบทุกประเด็น ซึง่ ปัจจุบนั คดีเหล่านีย้ งั ขึน้ สูศ่ าลฎีกาไม่มาก ส่วนหนึง่ อาจเป็นเพราะประเทศไทยเพิง่ ให้สตั ยาบันในเรือ่ งการคุม้ ครองและป้องกันการเอาคนลง เป็นทาส เรื่องการค้ามนุษย์ เพิ่งให้สัตยาบันได้แค่ 10 ปีเท่านั้น และคดีประเภทนี้ปกติเมื่อจำ�เลย ต่อสู้ก็ต้องใช้ระยะเวลานานในการดำ�เนินคดี” นอกจากนี้ สิ่งที่เป็นกังวลสำ�หรับปัญหาชาวโรฮีนจากับกระบวนการทางกฎหมายของไทย ที่แม้จะ มั่นใจได้ว่ากฎหมายการค้ามนุษย์ในประเทศไทยมีความเข้มแข็งเพียงพอในการเอาผิดกับผู้กระทำ�ความผิด เพราะกฎหมายเขียนกรอบไว้อย่างชัดเจน แต่ก็ยังมีข้อกังวลอื่นที่ไทยต้องตระหนักและให้ความสำ�คัญ “แม้ความพร้อมของกฎหมายไทยเราจะมี แต่เรายังกังวลถึงเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย ให้เป็นธรรม ซึ่งไม่อยากให้มีการรวบรัด การข่มขู่พยาน อยากเน้นถึงความรอบคอบของพนักงาน สอบสวนในการทำ�คดี ซึ่งบางครั้งมีการเปิดเผยผ่านสื่อมวลชน การแถลงข่าวการจับกุม การ เปิดเผยข้อมูลทีอ่ าจกระทบต่อรูปคดี ส่งผลให้อาจไม่ได้ตวั ผูก้ ระทำ�ความผิดทีแ่ ท้จริง และเกิดความ ไม่เป็นธรรมในการดำ�เนินคดี เป็นต้น” นายกสภาทนายความ กล่าวในที่สุด.


2

ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 6 เดือนมิถุนายน 2558

“การทีเ่ ราท่านกระทำ�สิง่ ใดเพือ่ ให้เกิดความพอใจแก่ผอู้ นื่ ใครเขานัน้ ยากยิง่ แต่หากการกระทำ�นัน้ เพือ่ ก่อให้เกิดความพอใจแก่ผมู้ อี ำ�นาจเหนือตนนัน้ ยากยิง่ กว่า” คำ�กล่าวของหลวงพ่อคูณปริสุทโธ ที่ว่า กูไม่เคยยินดี ยินร้าย ในลาภ ยศ สรรเสริญนั้น บุคคลใดๆ ที่กล้าที่จะกล่าวคำ�คำ�นี้ได้ต้องยิ่งใหญ่และมีบารมีความ ดีมากยิ่งกว่า ผู้นำ� ผู้บริหาร และผู้มีอำ�นาจใดที่ยังยึดติดอยู่กับลาภยศ สรรเสริญนี้ ก็ยังแสวงหาผลประโยชน์แก่ตนและพวกอยู่ดี แม้ปากจะบอกว่าไม่ ดังเดียวกันครับท่าน ผ่านมาสองปีเศษแล้วนี้ ทค.เดชอุดม ไกรฤทธิ์ ได้นำ�พาองค์กรสภาทนายความ ภายใต้นโยบายที่ว่าให้มีบ้าน ให้มีวิชาการ และ ให้มีศักดิ์ศรี พร้อมสวัสดิการที่ดีนั้น คณะกรรมการบริหารได้เดินตามแนวทางดังกล่าวด้วยใจที่มั่นคง ดังที่เราท่านที่ได้เห็นภาพข่าวในข่าวสภาทนายความที่อยู่ ในมือท่านนี้ อาคารที่ทำ�การแห่งใหม่ได้ก่อสร้างใกล้เสร็จ ภาพข่าวการสัมมนาวิชาการว่าด้วยกฎหมายใหม่ทั้งที่เป็นภาคส่วนของการให้ความรู้แก่พี่น้องทนายความ และ ในภาคส่วนของการพัฒนาบุคลากรในการประกอบวิชาชีพทนายความให้เป็นที่ยอมรับขององค์กรวิชาชีพอื่น และเพื่อให้ทนายความมีความพร้อมที่จะรับใช้พี่น้องประชาชนใน ภาคส่วนต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น ในบริบทเดียวกันข่าวสภาทนายความที่อยู่ในมือของเราท่านนี้ยังเป็นสื่อกลางที่นำ�เสนอข่าวของ พี่น้องทนายความในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อเป็นสื่อในการบอกต่อการทำ�งานและความเข้าใจอันดี ต่อกัน ภายใต้แนวคิดที่ว่าการให้เป็นบารมีทานอันยิ่งใหญ่ดังวาจาเด็ดของ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ที่ท่าน ให้ไว้ว่า “กูดีใจที่เกิดมาเป็นคนจน เพราะได้สร้างทานบารมีด้วย เกิดมาเป็นคนรวย ป่านนี้คำ�ว่า “บุญ” ก็ไม่รู้จักกัน” ภายใต้กรอบของแนวคิดนี้ผู้คนไม่ว่าจนหรือมั่งมีก็อาจทำ�คุณงามความดีได้ดียิ่งกว่า หากมีสำ�นึกในการให้และสร้างบารมีทาน ครับท่าน

นิวัติ แก้วล้วน บรรณาธิการบริหาร

สัมมนาวิชาการกฎหมายใหม่ จังหวัดระยอง : เมือ่ วันที่ 7 มิถนุ ายน 2558 เวลา 09.30 น. ทีโ่ รงแรมคลาสสิค คามิโอ จังหวัดระยอง : นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ เป็นประธานเปิดการสัมมนาวิชาการในการส่งเสริมศักยภาพวิชาชีพ และ การช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย หัวข้อ “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2557 (ค้ำ�ประกัน จำ�นอง), พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 และพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2558 (การดำ�เนินคดีแบบกลุ่ม)” ใน โอกาสนีท้ า่ นนายกสภาทนายความได้กล่าวปาฐกถาพิเศษเกีย่ วกับแผนพัฒนาสภาทนายความ 5 ปี ในด้านต่างๆ ทั้งในด้านองค์กร สมาชิกสภาทนายความ งบประมาณ งานพัฒนาวิชาการ โครงการก่อสร้างอาคารที่ท�ำ การ สภาทนายความ เป็นต้น จากนั้นเป็นการให้ความรู้ทางวิชาการที่เกี่ยวกับการสัมมนาโดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิร่วมให้ ความรู้ อาทิ นายสุมติ ร มาศรังสรรค์ อุปนายกฝ่ายวิชาการ, นายวีรศักดิ์ โชติวานิช กรรมการฝ่ายช่วยเหลือ ประชาชนทางกฎหมาย, นายวิเชียร ชุบไธสง อุปนายกฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ฯ และนายเจษฎา อนุจารี ผู้อำ�นวยการสำ�นักฝึกอบรมวิชาว่าความแห่งสภาทนายความ ทั้งนี้มี นายสุนทร พยัคฆ์ อุปนายกฝ่ายช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย, นายสุวิทย์ เชยอุบล อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการสภาทนายความ, นายชวน คงเพชร อุปนายกฝ่ายกิจการพิเศษสภาทนายความ ร่วมการสัมมนา ในโอกาสนี้ นายชลิต ขวัญแก้ว กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 2 และนายพรชัย ศรีสุข ประธานสภาทนายความจังหวัดระยอง กล่าวต้อนรับสมาชิกทนายความในภาค 2 ซึ่งการสัมมนา ครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ ครั้งนี้กว่า 500 คน.


ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 6 เดือนมิถุนายน 2558

เกร็ดกฎหมาย

3

สาระสำ�คัญ : ร่าง พ.ร.บ.หลักประกันทางธุรกิจ การก่อให้เกิดสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ

การทำ�สัญญาหลักประกันทางธุรกิจ

สัญญาหลักประกันทางธุรกิจ คือ สัญญาที่ “ผูใ้ ห้หลักประกัน” จะตราทรัพย์สนิ ไว้เพือ่ ประกัน การชำ�ระหนี้ แต่ไม่จำ�เป็นต้องส่งมอบทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน ให้แก่ “ผู้รับหลักประกัน” หลักประกันทางธุรกิจ จัดเป็นสัญญาประเภทหนึ่ง จึงตกอยู่ภายใต้หลักกฎหมายทั่วไปว่า ด้วยสัญญา ดังนั้นจะตกลงทำ�ข้อสัญญาอย่างไรก็ได้ ที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆะ ทัง้ นี้ ผูใ้ ห้หลักประกันจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิตบิ คุ คลก็ได้ แต่ผรู้ บั หลักประกันจะต้องเป็น “สถาบันการเงิน” อันได้แก่ สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันการเงิน บริษทั ทีไ่ ด้รบั อนุญาต ประกอบธุรกิจประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัย หรือธนาคารหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายจัดตั้ง โดยเฉพาะก็ได้ หรือบุคคลอื่นตามที่กำ�หนดในกฎกระทรวง เท่านั้น

สัญญาหลักประกันทางธุรกิจกำ�หนดให้ทำ�เป็นหนังสือ มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆะ และ หากจะให้สัญญาหลักประกันมีผลใช้ยันกับบุคคลภายนอกได้ ต้องจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน ทะเบียนด้วย ถ้ายังไม่ได้จดทะเบียน ผู้รับหลักประกันจะบังคับจำ�หน่ายทรัพย์สินที่เป็นหลัก ประกันเอาชำ�ระหนี้ของตนแต่เพียงผู้เดียว ก่อนเจ้าหนี้อื่นไม่ได้ ทัง้ นี้ การจดทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจต้องทำ�ทีก่ รมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวง พาณิชย์ โดยกำ�หนดสิทธิ หน้าที่ของผู้ให้หลักประกัน และผู้รับหลักประกัน ไว้ชัดเจน เช่น ผู้ให้ หลักประกันมีสิทธิครอบครอง ใช้สอยจำ�หน่าย จ่ายโอน ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันได้ ส่วน ผู้รับหลักประกันก็มีสิทธิเข้าตรวจดูทรัพย์สิน และบัญชีทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันได้ โดยผู้รับหลักประกันมีสิทธิ จะได้รับชำ�ระหนี้จากทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันก่อนเจ้า หนี้สามัญซึ่งคือเจ้าหนี้ทั่วๆ ไป และมีบุริมสิทธิหรือสิทธิการบังคับชำ�ระหนี้ลำ�ดับเดียวกับผู้รับ จำ�นำ� หรือ ผู้รับจำ�นองแล้วแต่กรณี ลำ�ดับบุริมสิทธิ กำ�หนดให้เป็นไปตามลำ�ดับวัน และเวลา จดทะเบียน ทั้งการจดทะเบียนจำ�นอง และจดทะเบียน หลักประกันตามร่างกฎหมายนี้

การบังคับหลักประกัน

แบ่งออกเป็น 2 วิธี ได้แก่ บังคับหลักประกันที่เป็นทรัพย์สิน และ บังคับหลัก ประกันที่เป็นกิจการ วิธีแรก “บังคับหลักประกันที่เป็นทรัพย์สิน” แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ จำ�หน่ายทรั พย์สินที่เป็นหลักประกัน และเอาทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันหลุดเป็นสิทธิ - การจำ�หน่ายทรัพย์สิน ต้องจัดสรรเงินที่ได้รับจากการจำ�หน่ายทรัพย์ สินและดอกผลที่เกิดขึ้นนับแต่วันที่ผู้รับหลักประกันมีสิทธิเข้าครอบครองทรัพย์สินที่เป็นหลัก ประกัน ในกรณีที่จำ�หน่ายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันแล้ว และได้เงินจำ�นวนน้อยกว่าจำ�นวน หนี้ที่ค้างชำ�ระ เงินยังขาดจำ�นวนอยู่เท่าใดลูกหนี้เป็นผู้รับผิดในส่วนที่ค้างชำ�ระนั้น แต่ถ้าผู้ให้ หลักประกันไม่ได้เป็นลูกหนี้จะเรียกร้องจากผู้ให้หลักประกันไม่ได้ - การบังคับหลักประกันหลุด กระทำ�ได้ตอ่ เมือ่ ลูกหนีค้ า้ งชำ�ระหนี้ เป็นต้น เงินเท่ากับหรือมากกว่ามูลค่าทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน และลูกหนี้ขาดส่งดอกเบี้ยเป็นเวลา ถึงห้าปี โดยไม่มีหลักประกันรายอื่นหรือบุริมสิทธิอื่นจดทะเบียนไว้เหนือทรัพย์สินที่เป็นหลัก ประกัน ถ้าผูร้ บั หลักประกันตัดสินใจบังคับหลักประกัน โดยมีหนังสือแจ้งเหตุแล้ว ห้ามผูใ้ ห้หลัก ประกันจำ�หน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันหรือทำ�การใดๆ ในกรณีผใู้ ห้หลักประกันหรือผูย้ ดึ ถือทรัพย์สนิ ไม่ยอมส่งมอบการครอบครอง ให้ผู้รับหลักประกันยื่นคำ�ร้องต่อศาลให้มีคำ�พิพากษาบังคับหลักประกัน ทั้งนี้ยังสามารถขอให้ ศาลมีค�ำ สัง่ ยึดหรืออายัดทรัพย์สนิ ทีเ่ ป็นหลักประกันไว้ชวั่ คราวจนกว่าจะมีคำ�พิพากษาหรือมีคำ� สัง่ ได้ แต่ตอ้ งวางเงินประกันหรือให้หลักประกันเพือ่ ป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการยึดหรือ อายัดทรัพย์สนิ ตามจำ�นวนทีศ่ าลกำ�หนด หากผูร้ บั หลักประกันบังคับหลักประกันโดยให้ทรัพย์ สินที่เป็นหลักประกันหลุดเป็นสิทธิ ให้ถือว่าหนี้ประธานและหนี้ตามสัญญาหลักประกันทาง ธุรกิจระงับสิ้นไป วิธีที่สอง “การบังคับหลักประกันที่เป็นกิจการ” ต้องมีคนกลาง ซึ่งได้รับอนุญาต โด ยมีคณ ุ สมบัตแิ ละไม่มลี กั ษณะต้องห้ามตามทีก่ ฎหมายกำ�หนดไว้ เรียกว่า “ผูบ้ งั คับหลักประกัน” ทั้งนี้ อาจเป็นนิติบุคคลก็ได้และให้ใบอนุญาตมีอายุ 3 ปี เมื่อมีเหตุให้บังคับหลักประกันตามสัญญา ให้ผู้รับหลักประกันมีหนังสือแจ้งไปที่ผู้ บังคับหลักประกัน เมื่อผู้บังคับหลักประกันได้รับหนังสือแล้ว ให้กำ�หนดวัน เวลา สถานที่ และ ให้ไต่สวนข้อเท็จจริงโดยเร็ว ซุึ่งต้องไม่เกินเจ็ดวันเมื่อผู้บังคับหลักประกันได้รับหนังสือ รวมถึง ห้ามผู้ให้หลักประกันจำ�หน่ายจ่ายโอนกิจการที่เป็นหลักประกัน เว้นแต่ กิจการนั้น ทรัพย์สินมี สภาพเป็นของสดของเสียได้ หรือหากหน่วงช้าไว้จะเสี่ยงต่อความเสียหายหรือค่าใช้จ่าย หรือผู้ ให้หลักประกันได้วางเงินประกันหรือให้หลักประกันเพือ่ ป้องกันความเสียหายทีเ่ กิดจาก จำ�หน่าย จ่ายโอนกิจการ

ทรัพย์สินที่สามารถนำ�มาเป็นหลักประกันได้ โดยทั่วไปคือ ทรัพย์สินที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ แต่ว่ากฎหมายฉบับนี้ เพิ่มทรัพย์สินที่สามารถนำ�มาเป็นหลักประกันได้อีก ได้แก่ กิจการ ได้แก่ ทรัพย์สินทั้งหลายที่ผู้ให้หลักประกันใช้ประกอบธุรกิจ และ สิทธิต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจนั้น สิทธิเรียกร้อง หรือสิทธิที่จะได้รับชำ�ระหนี้ไม่ว่าจะได้รับชำ�ระหนี้เป็นเงิน หรือได้รับชำ�ระหนี้เป็นทรัพย์สินอย่างอื่น ทรัพย์ของผู้ให้หลักประกัน อันได้แก่ สังหาริมทรัพย์ที่ใช้ประกอบธุรกิจ เช่น เครื่องจักร สินค้าคงคลัง หรืออสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน อาคารสถานที่ แต่ ต้องเป็นกรณีทผี่ ใู้ ห้หลักประกันประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นนั้ โดยตรง เช่นเป็นผู้ ประกอบกิจการหมู่บ้านจัดสรร หรือจัดสรรที่ดินเปล่า เป็นต้น ทรัพย์สินทางปัญญา อันได้แก่ ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า รวมตลอดถึง สิง่ บ่งชีท้ างภูมศิ าสตร์ความลับทางการค้า ฯลฯ และ ทรัพย์สนิ อืน่ ตาม ที่กำ�หนดในกฎกระทรวง

การสิ้่นสุดสัญญาหลักประกัน สัญญาหลักประกันจะถูกระงับสิ้นไปด้วยเหตุผล 4 อย่าง ได้แก่ - หนี้ที่ประกันระงับสิ้นไป - ผู้รับหลักประกันและผู้ให้หลักประกันตกลงเป็นหนังสือให้ ยกเลิกสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ - ไถ่ถอนทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน - จำ�หน่ายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน ในการบังคับหลักประกันหรือเมื่อทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันหลุดจาก สิทธิ ผูร้ บั หลักประกันสามารถบังคับหลักประกันแม้หนีข้ าดอายุความแล้วก็ได้ แต่ บังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำ�ระตามสัญญาเกินกว่าห้าปีไม่ได้

บทกำ�หนดโทษ อาจแบ่งบทกำ�หนดโทษกฎหมายหลักประกันทางธุรกิจ ได้เป็น 3 เรื่อง ด้วยกัน เริ่มจากบทลงโทษจำ�คุกการกระทำ�ของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับสัญญาหลัก ประกัน มีองค์ประกอบสำ�คัญคือกระทำ�โดยเจตนาและมีเจตนาพิเศษเท่านัน้ และ บทลงโทษปรับการกระทำ�ของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับสัญญาหลักประกันซึ่งมีหน้าที่ กระทำ�การแต่ไม่กระทำ�การ รวมถึงบทลงโทษการกระทำ�ของบุคคลที่เป็นผู้แทน หรือผู้บริหารของนิติบุคคล ที่นิติบุคคลกระทำ�ความผิดตามกฎหมายหลักประกัน ทางธุรกิจนี้ ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.ilaw.or.th/


4

ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 6 เดือนมิถุนายน 2558

แก้ไข พ.ร.บ.ทนายความ คนไม่มสี ญั ชาติไทย

ก็ตอ้ งมีบตั รประจำ�ตัว

เมือ่ วันที่ 8 มิถนุ ายน 2558 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมสำ�นักงานกิจการยุตธิ รรม อาคาร รัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา หลักสี่ กรุงเทพฯ : นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ มอบหมายให้ นายวิเชียร ชุบไธสง อุปนายกฝ่ายสวัสดิการ และสิทธิประโยชน์สภาทนายความ พร้อมด้วย นางสาวอรอนงค์ เทศะบำ�รุง นายทะเบียนสภา ทนายความ ได้ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาและบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาคและ เป็นธรรม กระทรวงยุตธิ รรม ซึง่ ประกอบด้วย ผูแ้ ทนหน่วยงานด้านกระบวนยุตธิ รรมต่าง ๆ เพือ่ แสดง ข้อคิดเห็นในประเด็นต่างๆ เกีย่ วกับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตทิ นายความ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดยสภาทนายความได้มกี ารเสนอร่างพระราชบัญญัตฯิ ดังกล่าวซึง่ ผ่านการเห็นชอบของคณะกรรมการ บริหารสภาทนายความ ในการประชุมครัง้ ที่ 2/2558 เมือ่ วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2558 ต่อรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2558 เพื่อนำ�เสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาไปแล้วนั้น ในการประชุมครั้งนี้ได้มีการนำ�เสนอหลักการและ เหตุผลในการเสนอแก้ไขพระราชบัญญัติทนายความ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมและพัฒนาวิชาชีพ ทนายความ โดยนายกสภาทนายความ ได้ให้ความเห็นในการเสนอแก้ไขพระราชบัญญัติทนายความฯ ว่า ตามทีค่ ณะทำ�งานของสภาทนายความได้เข้าร่วมการประชุมกับคณะอนุกรรมการพัฒนาและบังคับ ใช้กฎหมายฯ กระทรวงยุติธรรมในวันนี้ (8 มิ.ย.58) นั้น มีขั้นตอนการเสนอร่างกฎหมายของรัฐบาล ดังนี้ 1.ร่างกฎหมายทุกฉบับที่ต้องเป็นของรัฐบาลจะมีคณะทำ�งานตรวจสอบและกลั่นกรองหลัก การและเหตุผลก่อน 2.หน่วยงานทีเ่ สนอร่างกฎหมายต้องให้ความร่วมมือตัง้ คณะทำ�งานไปรับข้อสังเกต ข้อเสนอ แนะ มาปรับปรุงแก้ไข ให้เป็นร่างกฎหมายที่หน่วยงานทางกฎหมายประจำ�กระทรวงฯ เห็นชอบใน เบื้องต้น ขณะนี้จึงยังไม่มีร่างกฎหมายที่สมบูรณ์เพื่อเสนอให้เพื่อนทนายความพิจารณา ต้องรอให้ คณะอนุกรรมการฯ รับรองว่าเป็นร่างกฎหมายทีร่ ฐั บาล (ครม.) จะพิจารณาให้ได้ ก็จะเสนอผ่านปลัด กระทรวงฯ, รมต. จนมั่นใจว่า ครม. คงรับหลักการได้จึงจะเสนอต่อ ครม. 3.ครม. ลงมติรับหลักการแล้ว จะส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณา ซึ่งผู้เป็นเจ้าของ ร่างฯ คือ กระทรวงยุติธรรมต้องไปชี้แจง พร้อมกับผู้แทนของสภาทนายความ ที่จะเสนอปรับปรุง อย่างไร โดยร่างที่จะเสนอให้เพื่อนทนายความร่วมกันให้ความเห็นในกรอบแรกคือร่างฯ ตามข้อ 2. 4.สภาทนายความจะนำ�ความเห็นที่เสนอมาตรวจสอบกับร่างฯ เพื่อประกอบการพิจารณา แก้ไขชั้นคณะกรรมการกฤษฎีกา 5. กรณีทมี่ คี วามเห็นต่างในชัน้ คณะกรรมการกฤษฎีกา ก็เตรียมให้มกี ารเสนอแปรญัตติใน ชั้น สนช. และ กมธ. โดยสมาชิกของสภาหรือสมาชิกท่านอื่น ที่จะขอให้ รองประธาน สนช. คนที่ หนึ่ง (ท่านสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย) ช่วยดำ�เนินการ ขั้นตอนมีดังที่กล่าวมานี้ ในชั้นนี้เมื่อกระทรวงฯ รับเป็นเจ้าภาพแล้ว นายวิเชียร ชุบไธสง และคณะจะร่วมการประชุมกับคณะอนุกรรมการฯ เป็นระยะๆ ซึง่ จะแจ้งให้ทนายความทราบเป็นลำ�ดับ ต่อไป.

สำ�นักทะเบียนกลาง กรมการปกครองออกหนังสือเวียนให้นายทะเบียนจังหวัด นายทะเบียนอำ�เภอและนายทะเบียนท้องถิ่น จัดทำ�บัตรประจำ�ตัวให้คนซึ่งไม่มีสัญชาติ ไทยตามที่กฎหมายกำ�หนดให้ต้องมีบัตร โดยระบุให้เจ้าหน้าที่ด�ำ เนินการไปด้วยความ ถูกต้อง โปร่งใสและเป็นธรรม เนือ่ งด้วยสำ�นักทะเบียนกลางตรวจสอบหลักฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎรแล้ว พบว่า คนซึง่ ไม่มสี ญ ั ชาติไทยทีม่ คี ณ ุ สมบัตติ ามทีก่ ฎหมายกำ�หนดว่าต้องมีบตั รประจำ�ตัว เป็นจำ�นวนมากทีย่ งั ไม่มรี ายการจัดทำ�บัตรประจำ�ตัว ซึง่ กรณีดงั กล่าวจะก่อให้เกิดปัญหา หลายประการ ทั้งในเรื่องการทุจริตสวมตัว การไม่ทราบจำ�นวนประชากรที่แท้จริง ของ กลุ่มบุคคลดังกล่าวว่ายังมีตัวตนหรืออยู่ในภูมิล�ำ เนาหรือไม่อย่างไร ซึ่งจะเป็นอุปสรรค ในการจัดการประชากร การจัดระเบียบสังคม การป้องกันและรักษาความสงบเรียบร้อย ดังนั้น เพื่อให้การจัดทำ�บัตรประจำ�ตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย เป็นไปตามจุด มุ่งหมายของกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ด้วยความถูกต้องและครบถ้วน จึงให้ คนซึง่ ไม่มสี ญ ั ชาติไทยและบุคคลทีไ่ ม่มสี ถานะทางทะเบียน ทีจ่ ะต้องมีบตั รประจำ�ตัวตาม กฎกระทรวง ยื่นเรื่องขอทำ�บัตรประจำ�ตัวให้ครบถ้วน ตามกลุ่มคนที่ยังไม่ได้จัดทำ�บัตร โดยกลุ่มบุคคลเป้าหมายที่ต้องมีบัตร ได้แก่ 1. คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่า ด้วยคนเข้าเมือง และมีใบสำ�คัญถิน่ ทีอ่ ยูห่ รือใบสำ�คัญประจำ�ตัวคนต่างด้าวตามกฎหมาย ว่าด้วยคนเข้าเมืองหรือกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนคนต่างด้าว แล้วแต่กรณี ซึ่งได้แก่ คนที่มีชื่อและรายการบุคคลในทะเบียนบ้าน ท.ร.14 ระบุสัญชาติอื่นหรือไม่ได้สัญชาติ ไทย มีเลขประจำ�ตัวประชาชน 13 หลัก ขึ้นต้นหลักแรกด้วยเลข 3,4,5 หรือ 8 และ บุตรของบุคคลดังกล่าวที่เกิดในประเทศไทยและไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม กฎหมายว่าด้วยสัญชาติ มีชื่อในทะเบียนบ้าน ท.ร.13 เลขประจำ�ตัวขึ้นต้นหลักแรกด้วย เลข 6 หรือ 7 2. คนต่างด้าวซึ่งได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณี พิเศษฯ ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ได้แก่ 2.1 ชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ 19 กลุ่ม ที่มีชื่อและรายการ บุคคลในทะเบียนบ้าน ทร.13 มีเลขประจำ�ตัวประชาชน 13 หลัก ขึ้นต้นหลักแรกด้วยเลข 6 และหลักที่หกและเจ็ดเริ่มจากเลข 50 เป็นต้นไป รวมถึงบุตรของบุคคลดังกล่าวที่เกิด ในประเทศไทยและไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ มีชื่อใน ทะเบียนบ้าน ท.ร.13 เลขประจำ�ตัวขึ้นต้นหลักแรกด้วยเลข 7 2.2 บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน ที่มีชื่อและรายการบุคคลใน ทะเบียนประวัติ ท.ร.38 ก มีเลขประจำ�ตัวประชาชน 13 หลัก ขึ้นต้นหลักแรกด้วยเลข 0 และหลักที่หกและเจ็ดเป็นเลข 89 รวมถึงบุตรของบุคคลดังกล่าวที่เกิดในประเทศไทย ที่มีชื่อและรายการบุคคลในทะเบียนประวัติ ท.ร. 38 ก เลขประจำ�ตัวขึ้นต้นหลักแรก ด้วยเลข 0 3. บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน ที่นายทะเบียนอำ�เภอหรือนายทะเบียน ท้องถิ่นจัดทำ�ทะเบียนประวัติให้ เนื่องจากไม่สามารถรับแจ้งการเกิดหรือเพิ่มชื่อใน ทะเบียนบ้านในสถานะคนสัญชาติไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเด็กที่ถูกทอดทิ้ง เด็กอนาถา หรือคนไร้รากเหง้าที่อยู่ในการดูแลของสถานสงเคราะห์ มีชื่อและรายการบุคคลใน ทะเบียนประวัติ ท.ร.38 ก มีเลขประจำ�ตัวประชาชน 13 หลักขึ้นต้นหลักแรกด้วยเลข 0 นอกจากนี้ยังให้นายทะเบียนอำ�เภอและนายทะเบียนท้องถิ่น กำ�ชับเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องและควบคุมการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด ทั้งในขั้นตอนการจัดทำ �บัตรและ การมอบบัตร. โดย สุรพงษ์ กองจันทึก ประธานอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติ และผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ


ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 6 เดือนมิถุนายน 2558

บทความพิเศษ

อาสา เม่นแย้ม กรรมการบริกองบรรณาธิ หารสภาทนายความภาค การ 5

5

ประชาธิปไตยในอินเดีย

ประเทศอินเดีย ปกครองในระบอบสาธารณรัฐมีทั้งประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรี คนอินเดียส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามมีประชากรหลายพันล้าน มีอาณาเขตประเทศกว้างขวางใหญ่โต ปกครองโดยระบอบสาธารณรัฐ แต่ละรัฐปกครองกันเอง โดยให้มีความเป็นอิสระ ในโอกาสที่ผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทาง ไปบวชที่รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย เป็นเวลา 10 วัน เมื่อวันที่ 10-20 กุมภาพันธ์ 2558 โดยไปกับคณะนักศึกษาหลักสูตรบริหารยุติธรรมชั้นสูง รุ่นที่ 19 ขอสรุปสาระอันเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่าน ดังต่อไปนี้

1. ความยากจนเท่าเทียมเสมอกัน ในรัฐพิหารซึง่ ถือเป็นรัฐทีก่ ว้างใหญ่ และยากจนที่สุดของอินเดีย ประชาชนมีความยากจนมาก แต่ดูแล้วไม่มีความทุกข์เลย คนส่วน ใหญ่ในอินเดีย มีความเป็นอยู่เสมอกันในเรื่องความยากจน แต่ก็อยู่ได้ บ้านเรือนมีสภาพใกล้ เคียงกันคือเป็นบ้านดินหลังเล็ก อยูก่ นิ ง่ายๆ ไม่มคี วามแตกต่างในเรือ่ งฐานะความเป็นอยู่ อาหาร การกิน หรืออาจด้วยเรื่องวรรณะ 2. การท่องเที่ยวเสมอภาคกัน สถานที่แต่ละแห่งเราไปท่องเที่ยวหรือ กราบไหว้บชู า หรือเป็นสถานทีส่ �ำ คัญทุกคนสามารถเข้าไปได้ ตามสิทธิทตี่ นเองมี กลุม่ หรือคณะ ไหนมาก่อนสามารถเข้าไปประกอบพิธีได้ ไม่มีใครว่า ไม่มีการห้ามหรือให้สิทธิพิเศษ กลุ่มใด กลุ่มหนึ่งเป็นพิเศษ ไม่มีการจัดการดูแลของเจ้าหน้าที่ โดยให้ทุกคนรู้หน้าที่ของตนเองเมื่อถึง เวลาอันควร การเดินทางไปท่องเที่ยวสถานที่สำ�คัญแต่ละที่ ก็จะมีคนดูแลติดตาม ไม่ว่าจะเป็น ขอทานหรือคนขายของที่คอยติดตามนักท่องเที่ยว แต่ไม่มีใครห้ามคนเหล่านั้น แต่เขาเหล่านั้น ก็ไม่ละเมิดสิทธิของเรา เราจะใช้บริการของเขาหรือไม่กไ็ ด้ ในระหว่างทางมีคนคอยดูแล บางคน คิดว่าเป็นตำ�รวจแต่ไม่ใช่ เขามาทำ�หน้าทีด่ แู ลการเดินทางให้เรา ส่วนในเรือ่ งค่าตอบแทนถ้าเรา ไม่ให้เขาก็บน่ เล็กน้อย แต่ไม่มาข่มขูบ่ งั คับ แต่คนดูแลนี้ ก็จะปล่อยให้ทกุ คนใช้สทิ ธิในการค้าขาย หรือให้ขอทานได้ไม่มีการห้ามหรือดุด่า หรือแย่งชิง ทำ�ร้ายกัน 3. มีการสร้างเสริมสุขภาพของเด็กๆ และให้นโยบายการขายและการ ขอได้เต็มที่ อย่างเท่าเทียมกัน เด็กๆ ในรัฐพิหาร ที่ข้าพเจ้าไปพบนี้ บางคนพูดว่าสามารถเป็น นักวิ่งโอลิมปิกได้ และเรียนรู้การขายโดยไม่ต้องเสียเงินสักสตางค์เดียว เมื่อไปท่องเที่ยวบาง สถานที่ จะมีเด็กวิ่งตามเพื่ออธิบายถึงสถานที่ท่องเที่ยว และต้องการค่าตอบแทน บางคนวิ่งไป กันวันหนึง่ หลายสิบกิโล โดยทัง้ ๆ ทีร่ วู้ า่ วิง่ ไปแล้วจะไม่ได้อะไรก็ตาม แต่เขาก็ยงั มีความพยายาม ที่จะอดทนทำ� และอธิบายถึงภูมิประเทศเท่าที่จะทำ�ได้ เด็กๆ พวกนี้จะมีสุขภาพแข็งแรงโดยไม่รู้ ตัว และมีความอดทนในการเรียนรู้ และต่อสูช้ วี ติ ไม่ตอ้ งไปหาสถานทีอ่ อกกำ�ลังกาย ให้เสียเงิน เสียทองโดยเปล่าประโยชน์

8. ใช้ ก ฎของสั ง คมหรื อ จารี ต กฎหมายที่มาทีหลังไม่ต้องเสียเงินสร้างโรงพัก หรือสร้าง ศาลโดยใช้งบประมาณมหาศาล หรือมาถกเถียง หรือเรียน กฎหมายเอาเปรียบกันเป็นทีน่ า่ สมเพชเวทนา ทีน่ ใี้ ครทำ� ผิดโดนกฎของสังคมลงโทษ คนที่นี่ไม่ค่อยทำ�ผิดมาก ไม่ต้องเสียเงินงบประมาณสร้างโรงพัก จ้างตำ�รวจ คนที่นี่กล้าบุญ กลัวบาป ซื้อของไม่มี หลอกลวง ซื้อเท่าไหร่ได้เท่านั้น คนขายบอกว่าหลอกลวงผิดศีลเป็นบาป ไม่ทำ�เด็ดขาด 9. มีความเท่าเทียมกันในเรื่องศาสนา หรือการบูชาเทพเจ้า ที่นี่มีเทพเจ้าให้บูชาเยอะ ข้างๆ ทางตามถนนจะมีรูปเคารพอยู่ให้คนไปกราบไหว้ ทุกๆ คน สามารถกราบไหว้ได้ทุกๆ ที่ทุกสถานที่โดยเท่าเทียมกัน

4.ส่งเสริมให้มีการประหยัดพลังงานโดยเท่าเทียมกัน ที่นี่ไม่มี การใช้พลังงานอย่างฟุ่มเฟือย ตอนกลางคืนมีไฟใช้เพียงเล็กน้อย ไฟจะดับบางเวลา กลางคืน ไม่มีสถานบันเทิง เด็กๆ ไม่มีทีวีดู อุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านไม่มี ปัญหาจึงไม่เกิด ได้ประโยชน์ใน เรื่องพลังงาน ฉะนั้นตอนกลางคืนจึงไม่มีลูกหลาน หรือเด็กๆ ออกไปเที่ยวนอกบ้านตามผับ ตามบาร์ หรือตามร้านเกม อันก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมขึ้นมา

10. สามารถและเปลี่ยนอัตราเงินได้ ตามข้างถนนโดยเท่า เทียมกัน เงินอินเดียใช้สกุลรูปี 10 รูปี ประมาณ 5 บาท ท่านสามารถแลกได้ตามข้างถนน วางเหมือนขายของ โดยเงินของอินเดียเป็นแบ้งค์ 10 รูปี ที่นิยมใช้กัน

5. ไม่ส่งเสริมในเรื่องเศรษฐกิจมหภาค หรือส่งเสริมในทางการค้า โดยไม่ท�ำ ลายธรรมชาติ ทีน่ ใี่ นฤดูแล้ง แม่น�้ำ จะแห้งถึงกับเดินข้ามได้ ถ้าขุดดินลงไป 1-2 เมตร มีน�้ำ สามารถปลูกพืชสีเขียวได้ ทีน่ ไี่ ม่ปลูกพืชแบบเศรษฐกิจ ไม่มเี ครือ่ งจักรยนต์ แต่ปลูกพืชกัน ตามธรรมชาติ คือ มัสตาด (พืชชนิดหนึ่งเป็นอาหารของคนอินเดีย) ไม่มีเขื่อนกักเก็บน้�ำ เพื่อ ผลิตไฟฟ้า ไม่มีการใช้ยาฆ่าแมลง ความแห้งแล้งในผืนดินจึงเท่าเทียมกัน

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราตรัสรูธ้ รรมในพุทธคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ในสภาพความแร้นแค้น ยากไร้ ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน สภาพการต่อสู้ทางสังคมในเรื่อง ชนชั้น แวดล้อมไปด้วยเจ้าลัทธิและศาสนา ศาสดาอย่างมากมายในประเทศอินเดีย ความ แร้นแค้นดังกล่าวอันถือเป็นความทุกข์ ก่อให้เกิดฌานและพลัง ในการที่พระองค์จะได้ตรัสรู้ ค้นพบความจริงอันประเสริฐ และเป็นหนทางให้พวกเราในฐานะพุทธศาสนิกชน เดินรอยตาม พระองค์ เสีย้ วหนึง่ ของผูเ้ ขียนทีไ่ ด้มโี อกาสเดินทางไปบวชทีป่ ระเทศอินเดีย ได้สะท้อนชีวติ และ แนวทางการดำ�เนินชีวิตที่แตกต่างกันมากระหว่างคนในซีกโลกหนึ่ง อันเป็นดินแดนพุทธภูมิ และเป็นทีก่ อ่ เกิดของพุทธศาสนา ความเจริญคือความมืด ความเจริญทีถ่ กู ต้องคือการทีส่ งั คมอยู่ กันอย่างไม่มีตัวตน ไม่ทำ�ร้ายกัน ไม่มีความเห็นแก่ตัว และไม่มีความทุกข์ต่างหาก “แสงไฟ สว่างแต่หนทางที่มืดมน” ที่อินเดียอาจจะมืดมนด้วยแสงไฟ แต่ที่ไม่อาจจะมืดมนคือแสงไฟใน ดวงใจของผู้คนนั้นสว่างแน่นอน

6. มีถนนและการจราจรทีไ่ ม่ตอ ้ งมีต�ำ รวจ การเดินทางทีน่ เี่ ท่าเทียม กัน ช้าง ม้า วัว ควาย รถยนต์ ทุกๆ อย่างวิ่งบนถนนได้ แต่ต้องไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น ที่นี้ ไม่มตี �ำ รวจจราจรมาควบคุมการจราจรและการเดินทาง ผูข้ บั ขีด่ แู ลกันเองโดยใช้แตรรถยนต์ และ พูดจากันเอง รถไม่ติด ไม่มีอุบัติเหตุ ไม่มีไฟจราจร ไม่มีใบสั่ง การปรับหรือการรีดไถจาก เจ้าหน้าที่ การเดินทางถนนไม่ดี ใช้เวลานานหน่อย แต่เมื่อความล่าช้าเท่าเทียมกันทั้งรัฐ ก็สามารถดำ�รงชีวิตไปโดยปกติได้โดยไม่มีการรีบเร่ง เนื่องจากถนนหนทางไม่ดีจึงไม่มีสนาม แข่งรถให้พวกรถซิ่งหรือเด็กแว้นมาประลองขับขี่กันให้ปวดหัว 7. มีสนามกีฬาและห้องสุขาใหญ่และสะอาดทีส ่ ด ุ ในโลก เด็กๆ เล่นกีฬาได้โดยใช้สนามหรือทุ่งหญ้า ที่นิยมเล่นน่าจะเป็นเบสบอล เพราะใช้พื้นที่กว้าง คนที่นี่ ไม่มีห้องน้ำ� สถานที่ขับถ่ายไม่ต้องเสียเงินสร้าง เพราะถ่ายกันในทุ่งหญ้า กลางแม่น้ำ�ที่แห้ง และทำ�เป็นปุ๋ย ขี้วัวเอามาตากแห้งเป็นฟืนได้ ใครอยากถ่าย อยากเล่นกีฬาสามารถใช้สถานที่ ได้โดยเท่าเทียมกัน

คนที่นี่ถึงแม้ยากจน เงินวางกองข้างถนน แต่ไม่มีฉกชิง วิ่งราว ถึงแม้ยากจนก็ขอ อย่างเดียว ไม่ให้ไม่ว่า ไม่ทำ�อะไร

บทความประชาธิปไตยในอินเดียนี้ อยากให้สะท้อนวิถปี ระชาธิปไตย ในประเทศไทย ของเราว่า ได้สะท้อนความไม่มตี วั ตน การเรียกร้อง การไม่ท�ำ ร้ายผูอ้ นื่ และก่อให้เกิดประโยชน์ กับประชาชนได้หรือไม่ ภาพของคนในรัฐพิหารประเทศอินเดีย ที่ต้องต่อสู้กับสภาพความ แร้นแค้น การอยู่อย่างลำ�บาก และต้องอดทนแต่เขาไม่เคยออกมาเรียกร้อง หรือทำ�ร้ายผู้ใด ซึ่งมีมาอยู่นับพันปีในประเทศอินเดีย อันเป็นต้นแบบของการปกครองระบอบประชาธิปไตย.


6

ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 6 เดือนมิถุนายน 2558

สภาทนายความช่วยเหลือ

กลุม่ ผูส้ งู วัยถูกโกงเงินออม เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2558 นายนิติพัฒน์ พานทอง ประธานสภาทนายความ จ.สระแก้ว พร้อมคณะ เดินทางลงพืน้ ทีใ่ ห้ความช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายทีศ่ าลากลางหมูบ่ า้ นโคกสว่างพัฒนา หมู่ที่ 11 ต.หนองม่วง อ.โคกสูง จ.สระแก้ว โดยมีชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุร้องเรียนว่า ถูกคณะ กรรมการกลุม่ ออมทรัพย์เพือ่ การผลิตบ้านโคกสว่างพัฒนา หรือทีช่ าวบ้านเรียกกันว่า กลุม่ สัจจะ จำ�นวน 274 ราย โกงเงินฝากจำ�นวนกว่า 2,185,8000 บาท เนื่องจากเงินดังกล่าวหายไปอย่างไร้ร่องรอย ทำ�ให้ สมาชิกไม่สามารถเบิกหรือกู้ยืมได้

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2558 เวลา 10.00 น. : นายสุวิทย์ เชย อุบล อุปนายกฝ่ายปฏบัติการสภาทนายความ ประชุมร่วมกับนายอำ�เภอ บางน้�ำ เปรีย้ ว และเจ้าหน้าทีท่ เี่ กีย่ วข้องเพือ่ ประสานความร่วมมือในการให้ความ ช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ชาวบ้านในพื้นที่อำ�เภอบางน้ำ�เปรี้ยว ในกรณีการขอ มีบัตรประชาชน

จากการสอบถามตัวแทนผู้สูงอายุที่ได้รับความเดือดร้อน ได้ความว่า สูญเงินไป 102,000 บาท ที่นำ�ไปฝากไว้โดยคิดไม่ถึงว่าจะถูกหลอก เราไม่ต้องการเอาเรื่อง แต่ต้องการเงินคืน พวกตนให้ความไว้ วางใจประธานกลุม่ และอดีตผูใ้ หญ่บา้ นโคกสว่างพัฒนา หมูท่ ี่ 11 และคณะกรรมการ จึงนำ�เงินทีเ่ ก็บสะสม มาตลอดชีวิตมาฝาก แต่พอไปขอกู้จะนำ�มาทำ�ทุนก็บอกว่าเงินไม่พอ จึงตรวจสอบทางการเงิน พอคณะ กรรมการจนแต้มก็ยอมรับว่าเงินหาย จึงต้องร้องขอความเป็นธรรมไปทางนายอำ�เภอโคกสูงและสภา ทนายความจังหวัดสระแก้วดังกล่าว นายนิติพัฒน์ พานทอง ประธานสภาทนายความจังหวัดสระแก้ว กล่าวว่า นำ�ทีมงานลง พื้นที่เพื่อสอบปากคำ�ผู้เสียหายทั้ง 274 รายที่ได้รับความเดือดร้อน จากนั้นจะประสานกับทางอัยการ จังหวัดสระแก้ว เพื่อขอร่วมฟ้องเรียกค่าเสียหายให้กับชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนดังกล่าวต่อไป.

สภาทนายความจังหวัดชัยบาดาล โดย นายเรืองชีพ จรัสเจษฎา ประธานสภาทนายความจังหวัดชัยบาดาล ได้รบั เรือ่ งร้องขอความช่วยเหลือกรณี ชาวบ้านถูกเจ้าของทีด่ นิ ปิดทาง ได้รบั ความเดือดร้อน ซึง่ ขณะนี้ สภาทนายความ จังหวัดชัยบาดาลได้ช่วยเหลือในการยื่นฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดชัยบาดาลและยื่น คำ�ร้องขอคุ้มครองชั่วคราว เพื่อให้ศาลมีคำ�สั่งให้เปิดทาง จนกว่าคดีถึงที่สุด

เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2558 : นายสุวิทย์ เชยอุบล อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการสภา ทนายความ ประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมสภาทนายความ เป็นวิทยากรบรรยาย การ ฝึกอบรมเศรษฐศาสตร์ หัวข้อเรื่อง “ผลกระทบของคำ�พิพากษาคดีโลกร้อน” ให้กับ ตัวแทนจากชาวบ้าน ทนายความ และนักวิชาการ ฝ่ายผูไ้ ด้รบั ผลกระทบจากคำ�พิพากษาและ ตัวแทนจากหน่วยงานด้านการอนุรักษ์ป่าไม้และอุทยานแห่งชาติ ณ โรงแรมภูวนารีรีสอร์ท เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา


ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 6 เดือนมิถุนายน 2558

7

แต่งกายอย่าง “ทนายความ”

โดย นายชวน คงเพชร อุปนายกฝ่ายกิจการพิเศษฯ

สวัสดีครับ ท่านสมาชิกทนายความทุกท่าน ในคอลัมน์นจี้ ะกล่าวถึง การแต่งกายของทนายความในการปฏิบตั หิ น้าทีว่ า่ ความในศาล ซึง่ เป็นเรือ่ งสำ�คัญสำ�หรับผูม้ วี ชิ าชีพทนายความ ในการประชุม สามัญครั้งที่ผ่านมา มีสมาชิกทนายความหญิงท่านหนึ่งได้สอบถามถึงแนวทางการแต่งกายของทนายความหญิงโดยให้สวมใส่กางเกงเท่าเทียมกับทนายความ ชายนั้น ผมจึงถือโอกาสเขียนคอลัมน์นี้ขึ้นมาเพื่อสมาชิกทนายความทุกท่านจะได้ทราบถึงข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความอย่างแจ้งชัด ตามข้อบังคับ หมวด 5 ข้อ 20 ว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 ออกตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 คือ ข้อ 20 ในเวลาว่าความ ทนายความจะต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อยตามหลักเกณฑ์ ต่อไปนี้

1. ทนายความชาย แต่งตามแบบสากลนิยม เป็นชุดสีขาว หรือสีอื่นที่ไม่ฉูดฉาด เชิ้ตขาว ผ้าผูกคอสีดำ�หรือสีอื่นที่ไม่ฉูดฉาดแบบเงื่อนกาลาสี หรือแต่ง เสื้อชุดไทยแบบแขนสั้นหรือยาวสีสุภาพไม่มีลวดลายแทนเสื้อชุดสากลก็ได้ รองเท้าหุ้มส้นสีขาว น้ำ�ตาลหรือดำ� ถุงเท้าสีคล้ายคลึงกับรองเท้า 2. ทนายความหญิง แต่งตามแบบสากลนิยม กระโปรงหรือเสื้อสีสุภาพไม่ ฉูดฉาด รองเท้าหุ้ม 3. ทนายความที่มีสิทธิแต่งเครื่องแบบราชการ จะแต่งเครื่องแบบราชการก็ได้ 4. ในขณะว่าความ ทนายความที่มีสิทธิสวมเสื้อครุยเนติบัณฑิตต้องสวมเสื้อครุยนั้นด้วย คำ�ว่า “สากล” เป็นคำ�วิเศษณ์ คำ�จำ�พวกหนึ่ง ที่แต่งหรือขยายคำ�นาม คำ�กริยา หรือคำ�วิเศษณ์เพื่อบอก คุณภาพหรือปริมาณ เป็นต้น การตีความข้อบังคับข้อ 20 (2) ทนายความหญิง แต่งตามแบบสากลนิยม หมายความตาม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ว่า ทั่วไป, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เช่น, สากลโลก, สากลจักรวาล; เป็นที่นิยม ทั่วไป เช่น เครื่องแต่งกายชุดสากล, สามัญ หมายถึง แบบซึ่ง เดิมเรียกว่า ฝรั่ง เช่น มวยฝรั่ง เรียก มวยสากล, “ระหว่าง ประเทศ” ก็มี เช่น สภากาชาดสากล น่านน้ำ�สากล ดังนั้น หลักสากลที่กำ�หนดไว้ คือ ผู้ชายสวม กางเกง หญิงสวมกระโปรง เป็นวัฒนธรรมที่เมืองไทยได้ ยอมรับตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ เกิดการเปลี่ยนแปลงยอมรับ วัฒนธรรมตะวันตก จากเดิมเพศหญิงนุ่งผ้าแถบ สวมโจง กระเบนเป็นสวมกระโปรง เพราะบ้านเมืองสมัยนั้นประสงค์ แสดงให้ ช าวตะวั น ตกเห็ น ว่ า ประเทศไทยเป็ น ประเทศที่ พัฒนาแล้วเช่นเดียวกัน พระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธยอดฟ้ า จุ ฬ าโลก รัชกาลที่ 1 จึงโปรดให้ออก พระราชบัญญัตวิ า่ ด้วยการแต่งกาย ใช้บังคับและห้ามไว้ใหม่อีกครั้งหนึ่งว่า “ธรรมเนียมแต่ก่อนสืบมา จะนุ่งผ้าสมปักทอง นากและใส่เสื้อครุย กรองคอ กรองต้นแขน กรองปลายแขน จะคาดรั ด ประคดหนามขนุ น ได้ แ ต่ ม หาดไทย กลาโหม จตุสดมภ์ และแต่งบุตรแลหลานขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อยได้ และ ทุ ก วั น นี้ ข้ า ราชการผู้ น้ อ ย นุ่ ง ห่ ม มิ ไ ด้ ทำ � ตามธรรมเนี ย ม

แต่ก่อนผู้น้อยก็นุ่งสมปัก ปูม ทองนาก ใส่เสื้อครุย กรองคอ กรองสังเวียน คาดรัดประคดหนามขนุน แลลูกค้าวาณิช กัน ร่มสีผงึ้ แล้วแต่งบุตรหลานเล่า ผูกลูกประหล่�ำ จำ�หลักประดับ พลอย แลจีกุ้นดั่นประดับ พลอยเพชรถมยา ราชาวดี เกิน บรรดาศักดิผิดอยู่ แต่นี้สืบไปเมื่อหน้า ให้ข้าราชการและ ราษฎรทำ�ตามอย่างธรรมเนียมแต่ก่อน ...” ในสมั ย พระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยูห่ วั รัชการที่ 5 ซึง่ มีการนิยมนุง่ แพรจีบ แบบตะวันตก ทำ�ให้ บรรดาเจ้านายฝ่ายในตื่นตัวกันมากในการตัดเสื้อแบบยุโรป สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีฯ ซึ่งในขณะนั้นพระ อัครมเหสีก็ทรงเป็นพระธุระในฉลองพระองค์มากขึ้น ได้ทรง ดั ด แปลงพระที่ นั่ ง ทรงธรรมในสวนศิ ว าลั ย เป็ น โรงเย็ บ ผ้ า ส่วนพระองค์ โดยโปรดให้ ม.จ.ไขศรี ปราโมช เป็นหัวหน้า มีหน้าทีค่ วบคุมการเย็บ ตลอดจนรับจ้างเจ้านายและผูท้ อี่ ยูใ่ น พระราชฐาน ด้วยโรงเย็บผ้านัน้ ดำ�เนินการเป็นกิจจะลักษณะ มีการจ้างครูฝรัง่ มาเป็นช่างและสอนอยูใ่ นโรงงานด้วย สำ�หรับ การแต่งกายของข้าราชสำ�นึกนัน้ ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระบรม ราชวงศ์และขุน นางนุ่งผ้าสีม่วง น้ำ�เงินแก่แทนสมปักและ สวมเสือ้ ต่างๆ ตามเวลา ผ้าม่วงสีน้ำ�เงินเข้ม สัง่ มาจากเมืองจีน และใช้ในประเทศไทยเท่านั้น โดยให้ข้าราชการนุ่งห่มเป็น ยศแทนสมปัก จากประเทศเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การแต่งกายใน รัชกาลที่ 1 นัน้ ได้ปฏิบตั อิ ย่างเคร่งครัดในระยะแรกๆ เท่านัน้ และเมือ่ หลังรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา กฎเกณฑ์การใช้ผา้ ระหว่าง กลุ่มเจ้านายข้าราชการและประชาชนทั่วไปก็ไม่มีใครปฏิบัติ

อย่างเคร่งครัด ทุกคนสามารถใช้ผา้ ชนิดใดก็ได้ ถ้ามีเงินพอที่ จะซื้อหามาได้และเป็นเช่นนั้น มาจนถึงทุกวันนี้ ท่านสมาชิกทนายความทีร่ กั จะเห็นได้วา่ การ แต่งกายตามข้อบังคับทนายความนัน้ ถือเป็นอัตลักษณ์ในสาย วิชาชรพนักกฎหมาย ผูร้ คู้ วาม วิศวกรของสังคม สมควรเป็น ชุดที่สุภาพเรียบร้อยให้สมกับเป็นผู้ปฏิบัติงานต่อหน้าพระ ปรมาภิไธยของกษัตริย์ และเป็นทีน่ า่ ชืน่ ชม เชือ่ ถือ สง่าภูมฐิ าน ในความรู้สึกของประชาชนที่ได้พบเห็น นอกจากสายวิ ช าชี พ ทนายความแล้ ว การ แต่งกายเป็นการบ่งบอกถึงอาชีพหรือตัวตนที่ท่านเป็นอยู่ รวมถึงสถาบันวิชาชีพด้วย หากแต่งกายผิดข้อบังคับข้อ 20 (4) ยั ง ถื อ ได้ ว่ า เป็ น การประพฤติ ต นอั น เป็ น การฝ่ า ฝื น ต่ อ ศีลธรรมอันดี หรือเป็นการเสื่อมเสียศักดิ์ศรีและเกียรติคุณ ของทนายความ ตามข้อบังคับข้อ 18 อีกด้วย ท่านสมาชิกทุกท่านครับ

การแต่งกายของทนายความภายในชุดครุย อันทรงเกียรตินั้น ยังไม่เคยมีการร้องเรียนคดีมรรยาท ในเรื่ อ งของการแต่ ง กาย เว้ น แต่ ก ารไม่ ส วมครุ ย ซึ่ ง หมายถึงการเตือนสติความประพฤติของทนายความใน การปฏิบัติหน้าที่ในศาล โดยใช้หลักการแต่งกายสุภาพ เรียบร้อยตามสากลนิยมดั่งที่กล่าวมาแล้ว ถือเป็นการ ปฏิบัตติ นตามจารีตประเพณีที่พัฒนามาช้านาน จึงขอให้ ท่านสมาชิกรักษาคุณงามความดีในการแต่งกายที่เป็น ส่วนหนึ่งของข้อบังคับตลอดไป.

ประชุมใหญ่สามัญประจำ�ปีสหกรณ์ออมทรัพย์ทนายความ แห่งประเทศไทย :

เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2558 ที่ห้องประชุมชั้น 4 สภาทนายความ ถนนราชดำ�เนินกลาง กรุงเทพฯ : นายวิเชียร ชุบไธสง อุปนายกฝ่ายสวัสดิการ และสิทธิประโยชน์สภาทนายความ/ประธานกรรมการดำ�เนินการสหกรณ์ออม ทรัพย์ทนายความแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยคณะกรรมการฯ ร่วมประชุมใหญ่ สามัญประจำ�ปี 2557 โดยทีป่ ระชุมมีมติเป็นเอกฉันท์รบั รองรายงานการประชุม พร้อมทั้งมีมติเป็นเอกฉันท์เลือก นางสาวรัตติกา ภูมิอุไร เป็นผู้ตรวจกิจการ ของสหกรณ์ฯ ประจำ�ปี 2558 และได้มีมติเป็นเอกฉันท์เลือกตั้งประธาน และกรรมการดำ�เนินการสหกรณ์ฯ แทนตำ�แหน่งที่หมดวาระ จำ�นวน 5 ท่าน ได้แก่ 1. นายวิเชียร ชุบไธสง เป็น ประธานกรรมการฯ 2. นายไพโรจน์ จำ�ลองราษฎร์ เป็น กรรมการดำ�เนินการฯ 3. นายธารีรัฐ ทองฉิม เป็น กรรมการดำ�เนินการฯ 4. ดร.มนตรี ช่วยชู เป็น กรรมการดำ�เนินการฯ และ 5. นายนิพนธ์ สุขภิบาล เป็น กรรมการดำ�เนินการฯ และที่ประชุมได้ แถลงผลการดำ�เนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ รวมถึงการพิจารณาอนุมัติ งบดุล การจัดสรรกำ�ไรสุทธิ ประจำ�ปี 2557 และการพิจารณากำ�หนดวงเงิน กู้ยืม หรือค้ำ�ประกัน รวมถึงการพิจารณาแผนงานประจำ�ปี 2558 ด้วย.


8

ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 6 เดือนมิถุนายน 2558

คุยอุปกันายกฝ่ บ ายสวัสดิการ

สำ�นักงานสวัสดิการและสิทธิประโยชน์สภาทนายความ แจ้งผลการดำ�เนินงานการฌาปนกิจ สงเคราะห์ทนายความ (ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2558)

กองบรรณาธิการ

นายวิเชียร ชุบไธสง

อุปนายกฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ฯ

หากเพื่อนสมาชิกทนายความท่านใดสนใจ โครงการต่างๆ ของสำ�นักงาน สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ฯ หรือมีข้อสงสัยประการใด สามารถติดต่อ สอบถามรายละเอียดได้ที่ คุณปาริชาติ ภู่ศรี, คุณสลิตา รัตนวรรณ หมายเลขโทรศัพท์

0-2629-1430 ต่อ 128, 083-040-8662 E-mail : sawatdegan.law@gmail.com ได้ทุกวันและเวลาทำ�การ.

นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ พร้อมด้วย นายชวน คงเพชร อุปนายกฝ่ายกิจการพิเศษ และนายสมพร ดำ�พริก ประธานสภาทนายความจังหวัดมีนบุรี ร่วมเป็นเจ้าภาพ สวดอภิธรรมศพ ว่าที่พันตรี ชำ�นาญ ละมูลพันธ์ อดีตกรรมการ สภาทนายความภาค 1 โดยมีสมาชิกทนายความจังหวัดมีนบุรี ร่วม ไว้อาลัย ณ วัดราษฎร์บำ�รุง กรุงเทพฯ เมื่อเร็ว ๆ นี้

ประธานสภาทนายความจังหวัดอุดรธานี ร่วมกับตำ�รวจ จังหวัดหนองบัวลำ�ภู จัดการแข่งขันฟุตบอลเชื่อมความสัมพันธ์ ระหว่างทนายความและตำ�รวจจังหวัดหนองบัวลำ�ภู เมื่อเร็วๆ นี้

เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2558 เวลา 10.35 น. ที่โรงแรมท็อปแลนด์ พิษณุโลก : นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ พร้อมด้วย กรรมการบริหารสภาทนายความ ร่วมมอบเงินช่วยเหลือแก่ นางนันทรัตน์ รุจริ ะวัฒนาพร ภรรยานายธรรมสอน รุจริ ะวัฒนาพร ทนายความจังหวัดอุตรดิตถ์ ทีเ่ สียชีวติ จากเหตุเพลิงไหม้บ้านพร้อมกับลูกชาย เมื่อปลายเดือนมีนาคม 2558 โดยนายพัฒนา จาติเกตุ ประธาน สภาทนายความจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นผู้ประสานความช่วยเหลือ.

นายอดุ ล ย์ หาญกำ � จั ด ภั ย ประธานสภา ทนายความจั ง หวั ด กำ � แพงเพชร ในนามอุ ป นายกฝ่ า ย สวัสดิการและสิทธิประโยชน์สภาทนายความ มอบเงินช่วย เหลือการฌาปนกิจสงเคราะห์สภาทนายความแก่ นายวัลลภ รัตนพิไชย จำ�นวนเงิน 174,335.20 บาท เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2558.

ประธานสภาทนายความจังหวัดอุดรธานี เยีย่ ม อาการป่วยและให้กำ�ลังใจแก่ นายธีระยุทธ ดอนหมื่น ศรี (ทนายน้อย) ทนายความจังหวัดอุดรธานี ที่ป่วย และพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี เมื่อ เร็วๆ นี้


ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 6 เดือนมิถุนายน 2558

9

คุยกับ นายทะเบียน เรียน เพื่อนทนายความทุกท่าน ตามทีป่ จั จุบนั ได้มกี ารแก้ไขกฎหมายและตรากฎหมายขึน้ ใหม่จ�ำ นวนหลายฉบับ เช่น พระราชบัญญัตแิ ก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2557, พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 38, 39) พ.ศ.2557, พระราชบัญญัติความลับทางการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2558, พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2, 3) พ.ศ.2558, พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2558 (การดำ�เนินคดีแบบกลุ่ม), พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 22, 23) พ.ศ.2558, พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ นางสาวอรอนงค์ เทศะบำ�รุง พ.ศ.2558 เป็นต้น และบรรดากฎหมายที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาชั้นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) อีกจำ�นวนหลายฉบับ ซึ่งการแก้ไขกฎหมาย นายทะเบียนสภาทนายความ และการตรากฎหมายขึ้นใหม่ดังกล่าวถือว่ามีผลกระทบโดยตรงต่อทนายความและผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายอย่างยิ่ง ในการนี้ สภาทนายความฯ ได้ให้ความสำ�คัญกับการแก้ไขกฎหมายและการตรากฎหมายขึ้นใหม่มาโดยตลอดดังจะเห็นได้จากการจัดสัมมนาเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่ แก้ไขและกฎหมายที่ตราขึ้นใหม่ โดยมีการสัมมนาทั้งในกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ รวมทั้งจัดให้มีการอบรมกฎหมายเฉพาะในแต่ละสาขาวิชาเพื่อให้ทนายความมี ความรู้ ความชำ�นาญในวิชาชีพกฎหมายหลากหลายสาขามากยิ่งขึ้น ดิฉนั จึงขอเรียนแนะนำ�มายังเพือ่ นทนายความเพือ่ ให้เห็นถึงความสำ�คัญของการสัมมนากฎหมายและการอบรมกฎหมายเฉพาะสาขาต่างๆ ซึง่ จะได้รบั การถ่ายทอดจากวิทยากร ผู้ทรงความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในสาขาวิชานั้นๆ โดยตรง เพื่อที่เพื่อนทนายความจะนำ�ไปใช้ในการประกอบวิชาชีพของตนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในยุคสมัยประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน ทั้งนี้ เพื่อนทนายความสามารถติดตามข่าวสารการสัมมนาและอบรมกฎหมายได้ทางหนังสือพิมพ์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เว็ปไซต์ เฟสบุ๊ค ไลน์ และสื่ออื่นๆ ของ สภาทนายความฯ และดังเช่นที่ผ่านมา กรณีที่เพื่อนทนายความท่านใดมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนตัว และ/หรือ ข้อมูลสำ�นักงานที่ท่านสังกัดอยู่ และ/หรือ สอบบรรจุเข้ารับราชการแต่ยังไม่ได้ แจ้งยกเลิกการเป็นทนายความ ขอความกรุณาแจ้งข้อมูลดังกล่าวให้ส�ำ นักงานทะเบียนทนายความเพือ่ ดำ�เนินการปรับปรุงข้อมูลของท่านให้เป็นปัจจุบนั ทีส่ ดุ และเพือ่ รองรับระบบเทคโนโลยี สารสนเทศของสภาทนายความแห่งใหม่ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2558 นี้ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ของท่านในการรับทราบข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพทนายความจาก สภาทนายความฯต่อไป.

ชาวนาพิจิตร ขอบคุณสภาทนายความ : เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2558 เวลา 10.15 น. ที่โรงแรมท็อปแลนด์ พิษณุโลก : นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ พร้อมด้วยนายสุนทร พยัคฆ์ อุปนายกฝ่ายช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย, นายนิพนธ์ จันทเวช ประธานสภาทนายความจังหวัด พิจิตร, นายผาติ หอกิตติกุล กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 6 และกรรมการบริหารสภาทนายความ, นายปรีชา ภูริลดาพันธ์ุ ผูช้ ว่ ยเลขานุการนายกสภาทนายความ (ส่วนภูมภิ าค) และกรรมการบริหารสภาทนายความ ร่วมรับมอบกระเช้าดอกไม้แสดงความขอบคุณ จากกลุ่มเกษตรกรชาวนาจังหวัดพิจิตร ที่ได้รับความเดือนร้อนจากโครงการรับจำ �นำ�ข้าว และสภาทนายความได้ให้ความช่วยเหลือทาง กฎหมาย ลงพื้นที่รวบรวมข้อเท็จจริงและช่วยเหลือทางคดีจนได้รับการจ่ายเงินค่าจำ�นำ�ข้าวด้วยความเรียบร้อย.

ที่ปรึกษาประจำ�กองบรรณาธิการ :

นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์, นายสัก กอแสงเรือง, นายบำ�รุง ตันจิตติวัฒน์, นายเจษฎา อนุจารี, นายสุชาติ ธรรมาพิทักษ์กุล, นายพูนศักดิ์ บุญชู, ดร.สุธรรม วลัยเสถียร, นายสุมิตร มาศรังสรรค์, นางสาวอรอนงค์ เทศะบำ�รุง, นายธีรศักดิ์ วิชชุตานนท์, ผศ.ว่าที่ร้อยตรี ดร.สุรพล สินธุนาวา, นายชวน คงเพชร, นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์, นายวิเชียร ชุบไธสง, นายชลิต ขวัญแก้ว, นายสุรศักดิ์ รอนใหม่, นายพิเชษฐ คูหาทอง, นายอาสา เม่นแย้ม, นายผาติ หอกิตติกุล, นายวิทยา แก้วไทรหงวน, นายวันรัฐ นาคสุวรรณ, นายโอฬาร กุลวิจิตร

บรรณาธิการ : นายนิวัติ แก้วล้วน กองบรรณาธิการ : นายสุนทร พยัคฆ์, นายสุวทิ ย์

เชยอุบล, ดร.เกียรติศกั ดิ์ วรวิทย์รตั นกุล, นายไสว จิตเพียร, นายศุภกิจ หล่อพัฒนากูร, นายสุชาติ ชมกุล, นายสุรนิ ทร์ ทาซ้าย, นายวิบลู ย์ นาคทับทิม, ว่าทีร่ อ้ ยตรี สมชาย อามีน, นายคราศรี ลอยทอง, นายโอวาท จุลโคตร, นายเจษฎา คงรอด, นายสัมฤทธิ์ เชือ้ สาวถี, นายดนัย พุม่ เล็ก, นางสาวชืน่ ชนก วชิรธาราธาดร, ดร. วิเศษ แสงกาญจนวนิช, นางสาวนงลักษณ์ แตงเจริญ ผู้ช่วยกองบรรณาธิการ : นางสาวนัทธมน จันดี, นายไพศาล แก่ฉมิ

• ผลิตโดย สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ เลขที่ 7/89 อาคาร 10 ถนนราชดำ�เนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ : 0-2629-1430 ต่อ 129, 146 โทรสาร : 0-2282-9908


10

ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 6 เดือนมิถุนายน 2558

มุมกิจกรรม

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2558 ที่ห้องประชุม 1 สภาทนายความ ถนน ราชดำ�เนินกลาง กรุงเทพฯ : นายสุวิทย์ เชยอุบล อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการสภา ทนายความ/ประธานคณะทำ�งานฯ พร้อมด้วย นายสุนทร พยัคฆ์ อุปนายกฝ่ายช่วย เหลือประชาชนทางกฎหมายฯ/รองประธานที่ปรึกษาฯ, นายวีรศักดิ์ โชติวานิช กรรมการฝ่ายช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายฯ และคณะทำ�งานให้ความช่วยเหลือ ทางกฎหมายแก่จ�ำ เลยในคดีฆา่ นักท่องเทีย่ วชาวอังกฤษทีเ่ กาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ประชุมเพือ่ กำ�หนดแนวทางการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายในคดีดงั กล่าว และ ในครัง้ นีค้ ณะทำ�งานได้ประชุมร่วมกับผูเ้ ชีย่ วชาญทางด้านนิตวิ ทิ ยาศาสตร์จากประเทศ อังกฤษ โดยได้หารือ และซักถามความรูท้ างด้านนิตวิ ทิ ยาศาสตร์เพือ่ ประโยชน์ในการ ดำ�เนินการช่วยเหลือทางคดีต่อไป. สัมมนาวิชาการกฎหมายใหม่ จังหวัดพิษณุโลก : เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2558 เวลา 09.30 น. ที่โรงแรมท็อปแลนด์ พิษณุโลก : นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ เป็นประธานเปิดการสัมมนาวิชาการในการ ส่งเสริมศักยภาพวิชาชีพ และการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย หัวข้อ “พระราชบัญญัติ แก้ไขเพิม่ เติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2557” (ค้�ำ ประกัน จำ�นอง), พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่ม เติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2558 (การดำ�เนิน คดี แ บบกลุ่ ม ) ในโอกาสนี้ ท่ า นนายกสภาทนายความได้ ก ล่ า วปาฐกถาพิ เ ศษเกี่ ย วกั บ แผนพัฒนาสภาทนายความ 5 ปี ในด้านต่างๆ ทั้งในด้านองค์กร สมาชิกสภาทนายความ งบประมาณ งานพัฒนาวิชาการ โครงการก่อสร้างอาคารเรียนสภาทนายความ เป็นต้น จากนัน้ เป็นการให้ความรูท้ างวิชาการทีเ่ กีย่ วกับการสัมมนาโดยมีวทิ ยากรผูท้ รงคุณวุฒิ ร่วมให้ความรู้ อาทิ นายสุมิตร มาศรังสรรค์ อุปนายกฝ่ายวิชาการ, นายวิเชียร ชุบไธสง อุปนายกฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ฯ, นายเจษฎา อนุจารี ผูอ้ �ำ นวยการสำ�นักฝึกอบรม วิชาว่าความแห่งสภาทนายความ และนายวีรศักดิ์ โชติวานิช กรรมการฝ่ายช่วยเหลือประชาชน ทางกฎหมาย ทั้งนี้มี ดร.เกียรติศักดิ์ วรวิทย์รัตนกุล อุปนายกฝ่ายเทคโนโลยีและสารสนเทศฯ, นายชลิต ขวัญแก้ว กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 2, นายผาติ หอกิตติกลุ กรรมการ บริหารสภาทนายความภาค 6 และนายสาโรจน์ จันทรศิริ ประธานสภาทนายความจังหวัด พิษณุโลก ร่วมการสัมมนาและให้การต้อนรับสมาชิกทนายความในภาค 6 ซึ่งมีผู้เข้าร่วม สัมมนาฯ ครั้งนี้กว่า 700 คน.

ตัวแทนชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เดินทางเข้ามอบ กระเช้าดอกไม้ขอบคุณ นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ, นายสุวิทย์ เชยอุบล อุปนายกฝ่ายปฏิบตั กิ ารฯ/ประธานคณะทำ�งานฯ, นางสาวอรอนงค์ เทศะ บำ�รุง นายทะเบียนสภาทนายความ และคณะกรรมการบริหารสภาทนายความ จาก กรณีที่สภาทนายความให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายจนศาลปกครองสูงสุดมีคำ� พิพากษาให้ กฟผ.ชดให้ค่าเสียหายให้แก่ชาวบ้านแม่เมาะจำ�นวน 131 ราย ซึ่งคดีนี้ ใช้เวลาในการต่อสู้คดียาวนานถึง 12 ปี ที่สภาทนายความ ถนนราชดำ�เนินกลาง กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2558

บรรยากาศงานแข่งขันฟุตซอลสานสัมพันธ์สภาทนายความภาค 9 ชิงถ้วยนายกสภา ทนายความ โดย นายโอฬาร กุลวิจิตร กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 9 เป็น ผูม้ อบถ้วยรางวัลการแข่งขัน และนายโกสิทธิ์ บุญมณี ประธานสภาทนายความจังหวัด พัทลุง เป็นประธานจัดการแข่งขัน ณ โรงเรียนบ้านพนางตุง อำ�เภอควนขนุน จังหวัด พัทลุง เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2558

นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ พร้อม ด้วย นายสุวทิ ย์ เชยอุบล อุปนายกฝ่ายปฏิบตั กิ ารฯ/ประธาน คณะทำ�งานฯ, นางสาวอรอนงค์ เทศะบำ�รุง นายทะเบียน สภาทนายความ และกรรมการบริหารสภาทนายความ รับมอบกระเช้าดอกไม้ขอบคุณ จาก นายสมัย ศิลาชัย ซึ่งสภาทนายความได้ให้ความช่วยเหลือทางทะเบียนราษฎร์ จนได้รับบัตรประจำ�ตัวประชาชนเป็นคนไทยถูกต้องตามกฎหมาย ได้รับสิทธิ์รักษา พยาบาลตามนโยบายของรัฐบาล และช่วยเหลือในการติดตามหาญาติซงึ่ ไม่ได้พบกัน กว่ า 30 ปี จบพบและได้ ก ลั บ ไปอยู่ กั บ ครอบครั ว ที่ ส ภาทนายความ ถนน ราชดำ�เนินกลาง กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2558


มุมกิจกรรม

ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 6 เดือนมิถุนายน 2558

11

ต้อนรับแขกต่างประเทศ: เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2558 เวลา 16.00 น. ในการประชุมคณะกรรมการบริหารสภาทนายความประจำ�เดือนพฤษภาคม 2558 ที่ห้อง ประธานดวงรัตน์ สภาทนายความ ถนนราชดำ�เนินกลาง กรุงเทพฯ : ดร.สุธรรม วลัยเสถียร อุปนายกฝ่ายต่างประเทศ เป็นผู้แทนนายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ ซึ่งติดภารกิจการประชุม International Lawfirm Network ที่เมือง Catania, Sicily, Italy. ให้การต้อนรับ H.E. Mr. Reuben LEVERMORE Ambassador The New Zealand Embassy , Mr. Ekjaree Thanasawangkul Executive Director New Zealand-Thai Chamber of Commerce และ Mr. Brian SinclairThompson Regional Manager Ground Services Asia/Pacific Station Manager Bangkok Swiss International Air Lines Ltd. โดยมีคณะกรรมการบริหารสภาทนายความ ร่วมให้การต้อนรับ ในโอกาสเข้าพบและพูดคุยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ด้านต่าง ๆ และความแตกต่างของการใช้กฎหมายระหว่างประเทศไทยกับประเทศนิวซีแลนด์ พร้อมทั้งเยี่ยมชมการ บริหารงานของสภาทนายความ.

เมื่อวันที​ี่ 30 พฤษภาคม 2558 (เวลา 10.00 น.) ที่อำ�เภอแม่เมาะ จังหวัดลำ�ปาง : นาย สุวิทย์ เชยอุบล อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการฯ พร้อม ด้วย นายนิวตั ิ แก้วล้วน เลขาธิการสภาทนายความ และคณะทำ�งานคดีโรงไฟฟ้าแม่เมาะสำ�นักงาน คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมสภาทนายความ ลงพื้น ที่พบชาวบ้านอำ�เภอแม่เมาะ จังหวัดลำ�ปาง เพื่อ ชี้แจงเกี่ยวกับคำ�พิพากษาที่ได้พิพากษาแล้ว และ รับเรือ่ งขอความช่วยเหลือจากชาวบ้านเพิม่ เติมเป็น คดีใหม่ และให้คำ�แนะนำ�ถึงแนวทางการให้ความ ช่วยเหลือทางคดีที่จะฟ้องเป็นคดีใหม่ด้วย โดยจากการลงพืน้ ทีจ่ ริง ได้เห็นความจริง เป็นที่ปรากฏว่า หน่วยงานของรัฐผู้ถูกฟ้องคดีก็ยัง ไม่ได้ปฏิบัติตามคำ�พิพากษาอยู่หลายประเด็น ชาว บ้านผู้ฟ้องคดีจึงอยากเห็นคำ�พิพากษาว่าอำ�นาจ บังคับหน่วยงานของรัฐได้ จึงมีข้อเสนอให้มีการ บังคับคดีทางปกครองให้เป็นไปตามคำ�พิพากษา.

สัมมนา “ทวงหนี้อย่างไร ไม่ติดคุก” กรุงเทพฯ : บรรยากาศการสัมมนากฎหมายใหม่ “ทวงหนี้อย่างไร...ไม่ติดคุก” ที่อาคารเรียนรวมศูนย์และศูนย์วัฒนธรรม (พุทธวิชชาลัย) มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร กรุงเทพมหานคร โดยสภาทนายความฯ ร่วมกับสมาพันธ์ผู้บริหารหนี้สถาบันการเงินแห่งประเทศไทย จัดขึ้น มี ดร.เกียรติศักดิ์ วรวิทย์รัตนกุล อุปนายกฝ่ายเทคโนโลยีและสารสนเทศสภาทนายความ เป็นผู้แทนนายกสภาทนายความ เปิดการสัมมนา ทั้งนี้มี นายวีรศักดิ์ โชติวานิช กรรมการฝ่ายช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายฯ บรรยายในหัวข้อ “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2557” (ค้ำ�ประกัน จำ�นอง) และ “พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีคุ้มครองผู้บริโภค” และปิดท้ายการสัมมนาด้วยการ บรรยายเรื่อง “พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 และทวงหนี้อย่างไร...ไม่ติดคุก” โดย นายวิเชียร ชุบไธสง อุปนายกฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์สภาทนายความ ซึ่งการสัมมนาดังกล่าวได้รับความสนใจจากทนายความและบุคคลทั่วไปจำ�นวนมาก จึงแบ่งรอบการสัมมนาออกเป็น 2 วัน คือวันที่ 30-31 พฤษภาคม 2558 วันๆ ละ 2 รอบ (เช้า-บ่าย) มีผู้เข้าร่วมสัมมนารอบละประมาณ 800 คน.


12

บ้านของเรา

ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 6 เดือนมิถุนายน 2558

ความคืบหน้าการก่อสร้างอาคารที่ทำ�การสภาทนายความ ความคืบหน้าการก่อสร้างอาคารที่ทำ�การสภาทนายความ ณ วันที่ 2 มิถุนายน 2558 : ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอน การก่ออิฐผนัง ฉาบปูน และตกแต่งผิวผนังอาคารในแต่ละชั้น พร้อมกับงานฉาบผนังอาคารภายนอก และติดตั้งระบบ สุขาภิบาลต่างๆ ของอาคาร.

ขอขอบคุณผู้ให้ยืม-บริจาคเงินสมทบกองทุนจัดซื้อที่ดินและก่อสร้างที่ทำ�การสภาทนายความ รายนามผู้บริจาคเงินสมทบกองทุนจัดซื้อที่ดินและ ก่อสร้างที่ทำ�การสภาทนายความ ดังนี้ ปี 2550 : นายพยุงรัฐ ชาเรืองเดช 5,000 บาท, นายวิรัช จันทร์ศรี 5,000 บาท, นายทิวา การกระสัง 5,000 บาท, นายพิภพ เนติพงษ์ ไพโรจน์ 5,000 บาท, นายสาคร นิลมานะ 3,000 บาท, นายถาวร จันทร์สม 2,000 บาท, นายวุฒิกาญจน์ กุลสุวรรณ 1,500 บาท, นายเกษม คำ�จันทร์ 1,000 บาท, นายสังเวียน อยู่เพชร 1,000 บาท, นายกรันย์ พฤทธิ์มาศ 1,000 บาท, นายโชติวุฒิ เขียนนิลศิริ 1,000 บาท, นายพิรุฬห์ บุตรสุด 1,000 บาท, นายพันธ์ศักดิ์ น้อยบัวทิพย์ 1,000 บาท, นายเจษฎา อนุจารี 1,000 บาท, นายระพีพันธ์ ศรีสุข 1,000 บาท, นายสมภพ เลอศักดิ์ประสิทธิ์ 1,000 บาท, นางสาววลัยพร เสฐียรโกเศศ 1,000 บาท, พ.ต.ไพบูลย์-คุณจรรยา-คุณปริยศ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา 500 บาท, นายวราวุฒิ หน่อคำ� 10,000 บาท, นายทองมินทร์ กิจจาธิป 10,000 บาท, นายยรรยง เกียรติชัยประสพ 10,000 บาท, นายทรงเดช ประดิษฐสมานนท์ 9,000 บาท, นายมานิต ศรีแสงแก้ว 5,000 บาท, นางมนวีณ์ มะโน 5,000 บาท, พ.อ.วิชัย บุนยตีรณะ 5,000 บาท, นาย พูนสุข หนูศรีแก้ว 5,000 บาท, นายพชร วงศ์วิลาวัณย์ 5,000 บาท, นายปริญญา สุระทักษะ 5,000 บาท, นางอนงค์พร ธนชัยอารีย์ 3,500 บาท

สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ

ËÇÁÊ‹§ÀÒ¾¢‹ÒÇ-º·¤ÇÒÁÁÒŧà¼Âá¾Ã‹ ไดที่ ¡Í§ºÃóҸԡÒÃ˹ѧÊ×;ÔÁ¾ ¢‹ÒÇÊÀÒ·¹Ò¤ÇÒÁ àÅ¢·Õè 7/89 ÍÒ¤Òà 10 ¶.ÃÒª´Óà¹Ô¹¡ÅÒ§ á¢Ç§ºÇùÔàÇÈ à¢µ¾Ãй¤Ã ¡ÃØ§à·¾Ï 10200

â·ÃÈѾ· 0-2629-1430 µ‹Í 129, 146 â·ÃÊÒà 0-2282-9908

Facebook : ÊÀÒ·¹Ò¤ÇÒÁã¹¾ÃкÃÁÃÒªÙ»¶ÑÁÀ

E-mail : lctnews2013@gmail.com

เลขที่ 7/89 อาคาร 10 ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท 0-2629-1430 ตอ 129, 146 โทรสาร 0-2282-9908

ติดตามต่อได้ในฉบับหน้า...

ชำระคาฝากสงเปนรายเดือน ใบอนุญาตเลขที่ พ.211/2547

ปณ.ราชดำเนิน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.