ปีที่ 3 ฉบับที่ 8 เดือนสิงหาคม 2558
2
ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 8 เดือนสิงหาคม 2558
ร่วมจุดเทียนชัยถวายพระพร : นายวิ เชี ย ร ชุ บ ไธสง อุ ป นายกฝ่ า ยสวั ส ดิ ก ารและสิ ท ธิ ประโยชน์สภาทนายความ เป็นผู้แทนนายกสภาทนายความ ร่วมพิธี วางพานพุ่ ม เครื่ อ งราชสั ก การะ และจุ ด เที ย นถวายพระพรชั ย มงคล เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมายุ 63 พรรษา สมเด็จพระบรม โอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร โดยมีสมาชิก สภาทนายความ และพนักงานสภาทนายความร่วมจุดเทียนชัยถวาย พระพรโดยพร้ อ มเพรี ย งกั น ณ บริ เวณมณฑลพิ ธี ท้ อ งสนามหลวง กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2558.
“12 สิงหา” วันมหาราชินี ขอพระองค์ทา่ นจง “ทรงพระเจริญ” เพื่อเป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยตลอดไปนานแสนนาน แม่เป็นดั่งพระในบ้านและเป็นสิ่งที่มีคุณค่ายิ่งกว่าสิ่งใดๆ ของ ลูกๆ แต่ก่อนเมื่อเยาว์วัย แม่เคยบอกว่า “ผู้เข้มแข็งจะเป็นผู้กำ�หนด สังคม ผู้อ่อนแอจะถูกสังคมกำ�หนด” เพราะผู้เข้มแข็งจะเป็นผู้มีความ พร้อมด้วยวิธีคิด มีพลังของจิตใจและร่างกายที่พร้อมกว่า ดีกว่า ที่สุด ผู้เข้มแข็งก็จะเป็นผู้ให้ เมื่อเป็นผู้ให้ก็จะเป็นผู้กำ�หนดทิศทางที่จะให้ และ เมื่อผู้ใดตกเป็นคนอ่อนแอก็จะตกเป็นผู้ขอ และเมื่อได้รับตามที่ขอ ก็จะตก เป็นผู้อ่อนแอ แล้วผู้ขอก็จะกำ�หนดอะไรไม่ได้เลย แม่บอกว่า “หากลูกต้องก้าวออกไปต่อสู้เพื่อเป็นผู้กำ�หนดสังคม ลูกจะ ต้องเรียนรู้ด้วยสรรพวิชาทั้งมวลด้วยจิตใจและร่างกายที่เข้มแข็ง สรรพสิ่งที่เรียนรู้และเก็บไว้ในจิตวิญญาณ ของตน จะต้องถึงพร้อมแต่สิ่งดีๆ และถูกต้อง เมื่อลูกเข้มแข็งพอและก้าวออกไปกำ�หนดสังคม สังคมนั้นก็จะ เป็นสังคมที่ถึงพร้อมด้วยความดีงามและถูกต้องเสมอตน” ผมเชื่อว่า ทุกผู้คนต่างก็รักแม่ การอยากให้แม่เปี่ยมล้นด้วยความสุขนั้นไม่ยากที่จะทำ� เพียงแต่เราท่าน ยึดเป็นบริบททางความคิดง่ายๆ ว่า “เราท่านจะไม่ทำ�ให้แม่ต้องเสียใจเพราะการกระทำ�ของเราท่าน หากเราทำ�แต่ สิ่งที่ดีๆ ที่แม่ได้ดีใจยิ่งนั้น ก็เป็นการแทนคุณแม่ที่ยิ่งใหญ่” ด้วยบริบทเชิงความคิดดังกล่าว กองบรรณาธิการข่าวสภาทนายความจึงขอพรที่เป็นสรรพสิ่งของความ ดีงามทั้งปวงที่มีจงเป็นของแม่ ขอให้แม่สุขสดใสด้วยใจและกาย เพื่ออยู่เป็นสิ่งที่ดีงามของลูกๆ ตลอดไป
ข่าวสภาทนายความทีอ่ ยูใ่ นมือของท่านยังเสนอความคิดความเห็นทางกฎหมาย ภาพข่าวของกิจกรรมต่างๆ ของการบริหารส่วนกลางและส่วนภูมภิ าคของพีน่ อ้ งทนายความ และยังนำ�เสนอการเปลี่ยนแปลงบริบทเชิงสังคมและกฎหมายที่ออกมาใหม่ เพื่อการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อเป็นการสร้างเสริมงานวิชาการเพื่อการพัฒนาองค์กร และเพื่อให้ ผู้ประกอบวิชาชีพทนายความได้เข้าถึงการแก้ไขและเปลี่ยนแปลงในสิ่งต่างๆ นั้น และสิง่ ทีอ่ ยากให้เพือ่ นพีน่ อ้ งทนายความเราให้มสี ว่ นร่วมภาคภูมใิ จก็คอื บ้านใหม่ ของทนายความนัน้ ปีใหม่ทจี่ ะมาถึง เราท่านจะได้รว่ มงานวันทนายความ ปี พ.ศ. 2559 ที่บ้านหลังใหม่ของเราท่านอย่างภาคภูมิ แต่จะด้วยสรรพสิ่งใดก็ตาม ข่าวสภาทนายความที่อยู่ในมือของท่านก็ยังเป็น ของท่าน และกองบรรณาธิการก็ยังหวังจะได้รับคำ�ติชมและแนะนำ�จากเราท่านด้วยความ มุ่งหวังที่จะพัฒนาเพื่อไปสู่ความพอใจของเราท่านต่อไป ด้วยรักและเทิดทูนของเราท่านจงมีจิตใจที่ยึดมั่นด้วยจิตวิญญาณที่ว่า... “หากรักแม่ อย่าทำ�ให้แม่ต้องเสียใจ”
นิวัติ แก้วล้วน บรรณาธิการบริหาร
ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 8 เดือนสิงหาคม 2558
เกร็ดกฎหมาย
3
สาระสำ�คัญ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ (ใหม่)
ทีน่ กั เลงคียบ์ อร์ดต้องคิดก่อนแชร์ เป็นที่ทราบกับว่าขณะนี้ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 (การคุ้มครองข้อมูลการ บริหารสิทธิและกำ�หนดข้อยกเว้นการกระทำ�ละเมิดลิขสิทธิแ์ ละสิทธิของนักแสดง) มีผลใช้บังคับตั้งแต่วนั ที่ 4 สิงหาคม 2558 เป็นต้นไป หากผู้ใช้สอื่ โซเชียลมีเดียนำ�ข้อมูล ภาพถ่ายของผูอ้ นื่ มาเผยแพร่โดยไม่ให้เครดิต เจ้าของข้อมูล หรือนำ�ไปใช้เพื่อการค้าอาจมีความผิดได้ ซึ่งเป็นข้อควรระวังที่สำ�คัญสำ�หรับนักท่องโลก โซเชียลทีช่ อบกดแชร์ และเผยแพร่ภาพหรือผลงานต่าง ๆ ออกสูส่ าธารณะ ทีต่ อ้ งปรับพฤติกรรมให้มคี วาม ระมัดระวังในการใช้สื่อโซเชียลมีเดียอย่างถูกต้องมากขึ้น ซึง่ พระราชบัญญัตลิ ขิ สิทธิฉ์ บับนีม้ บี ทลงโทษสำ�หรับผูท้ เี่ ผยแพร่งานของบุคคลอืน่ โดย ไม่รอบคอบ ไม่ให้เครดิตเจ้าของภาพ หรือเจ้าของงาน โดยมีอัตราโทษปรับ 10,000-100,000 บาท และหากกระทำ�เพือ่ ประโยชน์ทางการค้า มีอตั ราโทษปรับ 50,000-400,000 บาท อีกด้วย การบังคับใช้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 นี้ มีเป้าประสงค์เพื่อ คุ้มครองผู้สร้างสรรค์ผลงานทุกประเภทที่เผยแพร่ในสื่อโซเชียลมีเดีย เพื่อให้สอดคล้องกับ พฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ทุกชนิดในปัจจุบัน โดยมีสาระสำ�คัญ 8 ประเด็นสำ�คัญ ดังนี้
1 2 3 4 5
คุม้ ครองข้อมูลการบริหารสิทธิเพือ่ ส่งเสริมการเผยแพร่งานอันมีลขิ สิทธิแ์ ละ คุ้มครองสิทธิในข้อมูลที่เจ้าของลิขสิทธิ์ที่ใช้บริหารจัดการสิทธิของตนไม่ให้ คนอื่นมาลบหรือเปลี่ยนแปลงโดยไม่ชอบ เช่น การลบข้อมูลเกี่ยวกับชื่อ เจ้าของลิขสิทธิ์ ชือ่ ผูส้ ร้างสรรค์ ชือ่ นักแสดง ฯลฯ โดยหากบุคคลใด ลบ หรือ เปลี่ยนแปลง ข้อมูลดังกล่าว โดยรู้อยู่แล้วว่าการกระทำ�นั้น อาจจูงใจให้เกิด ก่อให้เกิด ให้ความสะดวก หรือปกปิดการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของ นักแสดง ถือว่ามีความผิดฐานละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิ คุ้มครองมาตรการทางเทคโนโลยีที่เจ้าของลิขสิทธิ์น�ำ มาใช้ปกป้องงานอัน มีลิขสิทธิ์ของตนเพื่อป้องกันการทำ�ซ้ำ�หรือการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ เช่น รหัสผ่าน (password) ที่เจ้าของลิขสิทธิ์นำ�มาใช้ในการควบคุมการเข้าถึง งานอั น มี ลิ ข สิ ทธิ์ของตนที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต โดยหากบุ ค คลใดทำ � ลาย มาตรการทางเทคโนโลยีดงั กล่าว โดยเจ้าของลิขสิทธิไ์ ม่ยนิ ยอมถือว่ามีความ ผิดฐานละเมิดมาตรการทางเทคโนโลยี กำ�หนดข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์การทำ�ซ้ำ�ชั่วคราว (Exception for Temporary Reproduction) เพื่อกำ�หนดให้ชัดเจนว่าการทำ�ซ้ำ�ชั่วคราวโดย ความจำ�เป็นของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียกดูงานอันมีลิขสิทธิ์ไม่ถือ เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เนื่องจากการดูภาพยนตร์ หรือฟังเพลงจากเครื่อง คอมพิ ว เตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์จำ �เป็นต้องมี ก ารทำ� ซ้ำ � งานเพลงหรื อ ภาพยนตร์ดงั กล่าวไว้ในหน่วยความจำ� (RAM) ทุกครัง้ ด้วยความจำ�เป็นทาง เทคนิ ค ดั ง กล่ า วทำ � ให้ ทุ ก ครั้ ง ที่ มี ก ารใช้ ง านอั น มี ลิ ข สิ ท ธิ์ จ ากเครื่ อ ง คอมพิวเตอร์ ผูใ้ ช้งานจะต้องทำ�ซ้�ำ งานด้วยเสมอ การทำ�ซ้�ำ ลักษณะนีเ้ ป็นการ ทำ�ซ้ำ�ชั่วคราว ที่ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เพิ่มเติมเรื่องการกำ�หนดข้อจำ�กัดความรับผิดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Liability Limitation of ISP) เพื่อให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เช่น เจ้าของ เว็บไซต์ Youtube ไม่ต้องเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องละเมิดลิขสิทธิ์ โดยให้ เจ้าของลิขสิทธิส์ ามารถร้องขอให้ศาลสัง่ ให้ผใู้ ห้บริการอินเทอร์เน็ตเอาข้อมูล หรือไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ์ออกจากเว็บไซต์ ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์จะต้องแสดง หลักฐานต่างๆ ต่อศาลอย่างเพียงพอ และเมื่อศาลได้มีคำ�สั่งให้เอาไฟล์ ละเมิดออกจากเว็บไซต์แล้ว และเจ้าของเว็บไซต์ดำ�เนินการตามคำ�สั่งศาล เจ้าของเว็บไซต์ไม่ต้องรับผิดเกี่ยวกับการกระทำ�ที่อ้างว่าเป็นการละเมิด ลิขสิทธิ์ดังกล่าว เพิม่ ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิก์ รณีการจำ�หน่ายต้นฉบับหรือสำ�เนางานอัน มี ลิ ข สิ ท ธิ์ โดยนำ � หลั ก การระงั บ ไปซึ่ ง สิ ท ธิ ใ นทรั พ ย์ สิ น ทางปั ญ ญา (Exhaustion of Rights) มากำ�หนดให้ชัดเจนว่า การขายงานอันมีลิขสิทธิ์
6 7 8
มือสองสามารถทำ�ได้โดยไม่ถอื เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น การขายภาพเขียน หนังสือ ซีดีเพลง ซีดีภาพยนตร์ อย่างไรก็ดี หากเป็นการขายซีดีภาพยนตร์ จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวีดิทัศน์ด้วย มิฉะนั้น แม้ไม่ผดิ ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ แต่อาจมีความผิดตามกฎหมายว่าด้วย ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ได้ เพิม่ เติมเรือ่ งสิทธิทางศีลธรรมของนักแสดง (Moral Right) เพือ่ เพิม่ สิทธิให้ นักแสดง มีสทิ ธิทางศีลธรรมเท่าเทียมกับสิทธิทางศีลธรรมของผูส้ ร้างสรรค์ งานอันมีลิขสิทธิ์ โดยนักแสดงมีสิทธิระบุชื่อตนในการแสดงที่ตนได้แสดง และห้ า มไม่ ใ ห้ บุ ค คลใดกระทำ� ต่ อ การแสดงของตนจนทำ� ให้ เ กิ ด ความ เสียหาย ต่อชื่อเสียงหรือเกียรติคุณ เพิ่มบทบัญญัติเรื่องค่าเสียหายในเชิงลงโทษ (Punitive damages) โดย กำ�หนดให้ศาลมีอำ�นาจสั่งให้ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงจ่าย ค่าเสียหายเพิ่มขึ้นไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหาย ในกรณีที่ปรากฏหลักฐาน ชัดแจ้งว่ามีการกระทำ�โดยจงใจหรือมีเจตนาให้งานอันมีลขิ สิทธิห์ รือสิทธิของ นักแสดงสามารถเข้าถึงโดยสาธารณชนได้อย่างแพร่หลาย กำ�หนดให้ศาลมีอ�ำ นาจสัง่ ริบหรือทำ�ลายสิง่ ทีไ่ ด้ใช้ในการกระทำ�ละเมิด และ สิ่งที่ได้ทำ�ขึ้นหรือนำ�เข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือ สิทธิของนักแสดง โดยให้ผู้กระทำ�ละเมิดเสียค่าใช้จ่ายในการทำ�ลายสิ่งนั้น
ทัง้ หมดนีจ้ งึ เป็นข้อควรระวังสำ�หรับนักเลงคียบ์ อร์ดทัง้ หลายทีเ่ สพติดการแชร์ภาพออก สูส่ าธารณะผ่านสือ่ สังคมออนไลน์ประเภทต่าง ๆ ซึง่ หากบุคคลทัว่ ไปเผยแพร่ภาพพร้อมให้เครดิต เจ้าของภาพก็ไม่มคี วามผิด ส่วนในกรณีการกระทำ�เผยแพร่ของนิตบิ คุ คลนัน้ อาจมีความผิดข้อหา ละเมิดลิขสิทธิ์ จึงควรขออนุญาตเจ้าของภาพก่อนนำ�ภาพไปใช้ เพราะกฎหมายฉบับนีไ้ ด้ก�ำ หนด ถึงข้อมูลการบริหารสิทธิ ซึง่ เป็นข้อมูลทีบ่ ง่ ชีถ้ งึ ผูส้ ร้างสรรค์ผลงาน เช่น ชือ่ เจ้าของภาพ ลายเซ็น ลายน้ำ� โดยหากมีการลบหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลเงื่อนไขการใช้สิทธิ ถือว่าเป็นความผิดฐาน ละเมิดข้อมูลบริหารสิทธิ หากมีการนำ�รูปที่มีการลบลายน้ำ�ไปแชร์เผยแพร่ในสื่อออนไลน์ ผูก้ ระทำ�จะมีความผิดฐานเผยแพร่ลขิ สิทธิโ์ ดยไม่ได้รบั อนุญาต และผิดฐานลบข้อมูลบริหารสิทธิ ด้วย เพราะถือเป็นการนำ�ภาพของผูอ้ นื่ มาเผยแพร่โดยมิได้รบั อนุญาต แม้วา่ จะมีการอ้างอิงทีม่ า ของภาพแล้วก็ตาม. ขอขอบคุณข้อมูลจาก : กรมทรัพย์สินทางปัญญา
4
ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 8 เดือนสิงหาคม 2558
กฎหมายกับสุขภาพ
กฎหมายอุ้มบุญ
คุ้มครองเด็ก
กับการ ปิดช่องโหว่ธุรกิจรับจ้างท้อง การมีบุตรสำ�หรับปุถุชนทั่วไป คือ การเติมเต็มความสมบูรณ์ให้กับ “ครอบครัว” การมีบุตรยาก หรือการไม่มบี ตุ ร ย่อมเป็นความทุกข์ของคูส่ ามี ภรรยา จึงได้เกิดการคิดค้นเทคโนโลยีเจริญพันธุท์ างการ แพทย์ หรือทีเ่ รียกกันว่า “อุม้ บุญ” และได้กลายเป็นช่องทางหาผลประโยชน์ของคนบางกลุม่ ทีอ่ าศัยความ ล้ำ�หน้าทางการแพทย์นี้สร้างรายได้จากการรับจ้างอุ้มบุญมาเป็นเวลานาน เป็นประเด็นร้อนที่สังคมไทย ให้ความสนใจ และจับตามองทางออกของปัญหาดังกล่าวจะเป็นอย่างไร ล่าสุดกระทรวงสาธารณสุขได้ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลักดันร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีเจริญ พันธุ์ทางการแพทย์ เพื่อให้การคุ้มครองเด็กที่เกิดจากการอุ้มบุญ ซึ่งล่าสุดร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2558 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 30 กรกฎาคม 2558 ก่อนหน้าที่กฎหมายดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ 1 วัน กระทรวงสาธารณสุข โดย ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ นางระรินทิพย์ ศิโรรัตน์ อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ศ.นพ. สมศักดิ์ โล่เลขา นายกแพทยสภา และ รศ.นพ.กำ�ธร พฤกษานานนท์ คณะอนุกรรมการเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ร่วมกันแถลงข่าวการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัย เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.2558 ออกโดยกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้ เพื่อช่วยคู่สามี ภรรยาที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายและมีบุตรยาก ให้สามารถมีบุตรได้โดยใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ที่เหมาะสมเข้ามาช่วย และควบคุมป้องกันไม่ให้มีการนำ�ไปใช้ ประโยชน์ในทางที่ผิด ก่อให้เกิดปัญหาทางศีลธรรมและมนุษยธรรม ทั้งการรับจ้างตั้งครรภ์ การค้ามนุษย์ และการทอดทิ้งเด็ก
สาระสำ�คัญของกฎหมายอุ้มบุญ เจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้ มุ่งเน้นให้เด็กที่เกิดโดยอาศัย เทคโนโลยีชว่ ยการเจริญพันธุท์ างการแพทย์ เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามี และภรรยา มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยครอบครัวและมรดก กฎหมายฉบับนี้มี ประเด็นสำ�คัญ อาทิ การกำ�หนดข้อห้ามสามีและภรรยาที่ทำ�อุ้มบุญปฏิเสธรับ เด็กเป็นบุตร ห้ามรับตั้งครรภ์แทนเพื่อประโยชน์ทางการค้า ห้ามเป็นนายหน้า จัดการหรือชีช้ อ่ งให้มกี ารรับตัง้ ครรภ์แทน ห้ามโฆษณาว่ามีหญิงรับตัง้ ครรภ์แทน และห้ามซื้อ เสนอซื้อ หรือขาย หรือนำ�เข้าหรือส่งออก อสุจิ ไข่ หรือตัวอ่อน ทั้งนี้ สถานประกอบการ แพทย์ คูส่ ามีภรรยา ผูร้ บั ตัง้ ครรภ์ จะต้องปฏิบตั ติ ามกฎหมาย หากกระทำ�ผิดจะมีโทษทั้งจำ�และปรับ กฎหมายฉบับนีม้ ดี ว้ ยกัน 6 หมวด 56 มาตรา การปฏิบตั ติ ามกฎหมาย จะดำ�เนินการภายใต้คณะกรรมการคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยี ช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ หรือ กคทพ. จำ�นวน 15 คน มีปลัดกระทรวง สาธารณสุขเป็นประธาน มีนายกแพทยสภา เป็นรองประธานมีคณะกรรมการ โดยตำ�แหน่ง 6 หน่วยงาน ประกอบด้วย กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข คณะกรรมการคุม้ ครองเด็กแห่งชาติ ประธานราชวิทยาลัย กุมารแพทย์ จิตแพทย์ สูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย และมีผู้ทรงคุณวุฒิ 6 คน แต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงพัฒนาสังคมฯ ฝ่ายละ 3 คน มีอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพเป็นเลขานุการ ทำ�หน้าที่ เสนอนโยบาย ออกประกาศ พัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วย การเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ และพิจารณาอนุญาตให้มีการตั้งครรภ์แทน และ ใช้ตัวอ่อนที่เหลือใช้เพื่อการศึกษาวิจัย รวมถึงควบคุมกำ�กับให้เป็นไปตาม กฎหมาย รวมทั้งรับรองกฎหมายลูกที่เกี่ยวข้อง 14 ฉบับ ขณะนี้ยกร่างเสร็จ เรียบร้อยแล้ว เช่น ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ประกาศคณะกรรมการคุม้ ครอง เด็กอุม้ บุญ ประกาศหลักเกณฑ์เงือ่ นไขมาตรฐานต่างๆ ของแพทยสภา เพือ่ บังคับ ใช้ในทางปฏิบัติเดียวกันทั่วประเทศ ขณะนี้มีสถานพยาบาลรัฐ เอกชน ที่พร้อม ให้บริการกว่า 60 แห่งทั่วประเทศ โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพได้ประชุม ชี้แจงรายละเอียดของกฎหมายฯ ให้ผู้บริหาร/ผู้ประกอบการสถานพยาบาล/ แพทย์/เจ้าหน้าที่จากสำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศแล้ว เมื่อ วันที่ 20 กรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา
สธ. แจงคุณสมบัติพ่อ แม่ อ้มบุญ สำ�หรับคุณสมบัติของคู่สามีภรรยาที่ต้องการให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน จะต้องเป็นคนไทยที่ จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย กรณีเป็นคนไทยที่สมรสกับต่างชาติ จะต้องจดทะเบียนสมรสไม่น้อย กว่า 3 ปี ผ่านการตรวจประเมินโดยแพทย์ที่มีคุณสมบัติตามแพทย์สภากำ�หนด และแพทย์ผู้ให้บริการจะต้อง ยื่นขออนุญาตที่ส�ำ นักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ (สพรศ.) กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เพื่อ นำ�เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการ กคทพ. ส่วนหญิงที่รับตั้งครรภ์แทนจะต้องมีสัญชาติไทย ไม่ใช่พ่อแม่ หรือลูก แต่จะต้องเป็นพี่น้องท้องเดียวกันของสามีหรือภรรยาผู้ที่ต้องการมีบุตร และหากเคยมีบุตรมาก่อน จะต้องได้รับความยินยอมจากสามีด้วย กรณีที่คู่สมรสทั้งคู่เป็นลูกคนเดียว ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวง สาธารณสุข ส่วนการตั้งครรภ์แทนนี้จะใช้ 2 วิธีเท่านั้น วิธีที่ 1 ใช้ตัวอ่อนที่ได้จากการผสมอสุจิของสามีและ ไข่ของภรรยาคู่สมรส แล้วนำ�ไปฝังในมดลูกของผู้รับตั้งครรภ์แทน วิธีที่ 2 ใช้ตัวอ่อนที่ได้จากอสุจิของสามีหรือ ไข่ของภรรยาที่ผสมกับไข่หรืออสุจิของผู้บริจาคอื่น ไม่ใช่ไข่ของหญิงที่รับตั้งครรภ์ จากนั้นจะดูแลตามระบบ คือ การฝากครรภ์ ฉีดวัคซีน จนกระทั่งคลอด ซึ่งสามารถฝากครรภ์และคลอดได้ที่โรงพยาบาลทุกแห่ง แต่ต้องนำ�เอกสารข้อตกลงไปด้วย เพื่อเป็นหลักฐาน ในการออกหนั ง สื อ รั บ รองการเกิ ด และการแจ้ ง การเกิดเด็กตามกฎหมาย โดยกรมสนับสนุน บริการสุขภาพจะทำ�หนังสือแจ้งรายละเอียดไปยัง โรงพยาบาลทุกแห่งต่อไป สำ�หรับโทษผู้ฝ่าฝืนกฎหมายฉบับนี้ เช่น กรณีเป็นแพทย์ที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานแพทยสภา มีโทษจำ�คุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือ ทั้งจำ�ทั้งปรับ หากกระทำ�เชิงการค้า รับจ้างอุ้มบุญ มี โทษจำ�คุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท กรณี เ ป็ น นายหน้ า มี โ ทษจำ� คุ ก ไม่ เ กิ น 5 ปี ปรั บ ไม่ เ กิ น 100,000 บาทหรือทั้งจำ�ทั้งปรับ กรณีขายอสุจิหรือไข่ มีโทษจำ�คุก ไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำ�ทั้งปรับ กรณี ที่ มี ก ารดำ � เนิ น การอุ้ ม บุ ญ มาก่ อ นกฎหมายฉบั บ นี้ มี ผ ลบั ง คั บ ใช้ ให้สามารถยื่นรับรองบุตรได้เลย
ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 8 เดือนสิงหาคม 2558
5
แพทยสภาแจงบทบาทคุมได้เฉพาะแพทย์ แพทยสภามีภารกิจหลักในการกำ�กับดูแลมาตรฐานของผูป้ ระกอบวิชาชีพเวชกรรม เพือ่ ให้ประชาชนได้รบั การรักษาพยาบาลอย่างปลอดภัย และมีมาตรฐาน ซึ่งมีประกาศแพทยสภาเรื่องมาตรฐานการให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญความเจริญก้าวหน้าทางวิทยากรและเทคโนโลยี ทางการแพทย์สามารถช่วยให้ผทู้ มี่ บี ตุ รยากมีบตุ รได้ โดยการใช้เทคโนโลยีชว่ ยการเจริญพันธุท์ างการแพทย์ นัน้ ซึง่ เดิมแพทยสภามีประกาศแพทยสภา เรื่องมาตรฐานการให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ซึ่งมีผลบังคับใช้กับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเท่านั้น ซึ่งไม่สามารถบังคับใช้กับ ผู้ที่ไม่ใช่แพทย์ “พระราชบัญญัตคิ มุ้ ครองเด็กทีเ่ กิดโดยอาศัยเทคโนโลยีชว่ ยการเจริญพันธุท์ างการแพทย์ พ.ศ.2558 สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวิทยาการ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ในการบำ�บัดรักษาภาวะ การมีบุตรยากสามารถช่วยให้ผู้ที่มีภาวการณ์มีบุตรยากมีบุตรได้โดยการใช้เทคโนโลยีช่วยการ เจริญพันธุท์ างการแพทย์ เป็นการกำ�หนดสถานะความเป็นบิดามารดาทีช่ อบด้วยกฎหมายของเด็กทีเ่ กิดโดยอาศัยเทคโนโลยีชว่ ยการเจริญพันธุท์ างการ แพทย์ให้เหมาะสม ตลอดจนควบคุมการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์เกี่ยวกับตัวอ่อนและเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์มิให้ มีการนำ�ไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง”
พระราชบัญญัติฉบับนี้ นอกจากจะให้ความคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์แล้ว ยังมีผลบังคับใช้กับ ผู้ที่ไม่ใช่แพทย์ที่เข้ามามีส่วนในการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ด้วย ซึ่งขณะนี้แพทยสภาได้ดำ �เนินการยกร่างประกาศแพทยสภา ในส่วนที่เกี่ยวข้อง จำ�นวน 10 ฉบับ ดังนี้ 1. ร่างประกาศแพทยสภาฉบับที่ 1 เรื่อง กำ�หนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ซึ่งเป็น ผู้ให้การบริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ 2. ร่างประกาศแพทยสภา ฉบับที่ 2 เรื่อง กำ�หนดมาตรฐานในการให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทาง การแพทย์ 3. ร่างประกาศแพทยสภา ฉบับที่ 3 เรื่อง กำ�หนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขสำ�หรับการตรวจและประเมินความพร้อม ทางด้านร่างกาย จิตใจ และสภาพแวดล้อมของผู้ขอรับบริการ หญิงที่รับตั้งครรภ์แทน และผู้บริจาคอสุจิหรือไข่ที่จะนำ�มาใช้ดำ�เนินการ ให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ 4. ร่างประกาศแพทยสภา ฉบับที่ 4 เรื่อง กำ�หนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการสร้างการเก็บรักษา การใช้ประโยชน์จาก ตัวอ่อน หรือการทำ�ให้สิ้นสภาพของตัวอ่อน 5. ร่างประกาศแพทยสภา ฉบับที่ 5 เรื่อง กำ�หนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการ เจริญพันธุ์ทางการแพทย์ในการตรวจวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมในตัวอ่อน 6. ร่างประกาศแพทยสภา ฉบับที่ 6 เรื่อง กำ�หนดมาตรฐานการให้บริการเกี่ยวกับการผสมเทียมที่ต้องกระทำ�ต่อหญิงที่มี สามีที่ชอบด้วยกฎหมาย 7. ร่างประกาศแพทยสภา ฉบับที่ 7 เรื่อง กำ�หนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความยินยอมเป็นหนังสือจาก สามีและภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายที่ประสงค์ให้มีการผสมเทียมโดยใช้อสุจิของผู้บริจาค 8. ร่างประกาศแพทยสภา ฉบับที่ 8 เรื่อง กำ�หนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยุติข้อตกลงการ ตั้งครรภ์แทน 9. ร่างประกาศแพทยสภา ฉบับที่ 9 เรื่อง กำ�หนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการรับฝาก การ รับบริจาค การใช้ประโยชน์จากอสุจิ ไข่ หรือตัวอ่อนที่รับฝากหรือรับบริจาค หรือการทำ�ให้สิ้นสภาพของตัวอ่อนที่รับฝาก หรือรับบริจาค เนื่องมาจากการดำ�เนินการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ 10. ร่างประกาศแพทยสภา ฉบับที่ 10 เรือ่ ง กำ�หนดหลักเกณฑ์ วิธกี าร และเงือ่ นไขเกีย่ วกับการให้ความยินยอม ให้นำ�อสุจิ ไข่ หรือตัวอ่อนของผู้ฝาก นำ�ไปใช้ได้หลังจากผู้ฝากตาย
บทบาท พม. กับกฎหมายอุ้มบุญ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมัน่ คงของมนุษย์ เป็นหน่วยงานทีม่ บี ทบาทสำ�คัญร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขในการ ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ โดยร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขและ แพทยสภาดำ�เนินการผลักดันร่างกฎหมายดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2547 มีการประชุมร่วมกันกว่า 30 ครั้ง ในปี 2553 ได้ส่งร่างฯ เข้าสู่การ พิจารณาของกฤษฎีกา และเสนอเข้า สนช.ในปี 2557 จนกระทั่งได้ประกาศใช้ในวันที่ 30 กรกฎาคม 2558 “ความจริงกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ มี พระราชบัญญัตคิ มุ้ ครองเด็ก พ.ศ. 2546 อยูแ่ ล้ว ซึง่ สามารถเชือ่ มโยงกับการคุม้ ครอง เด็กที่เกิดจากการอุ้มบุญได้ด้วย แต่การมีกฎหมายที่คุ้มครองเด็กที่เกิดจากการอุ้มบุญโดยเฉพาะ จะเป็นการดียิ่งขึ้น เนื่องจากสามารถ ดูแลไปถึงเรื่องการหาผลประโยชน์จากการอุ้มบุญ เช่น การโฆษณาในเชิงธุรกิจ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สมควรกระทำ� เพราะนอกจากจะส่งผล กระทบต่อเด็กที่เกิดมาแล้ว ยังทำ�ให้เสียภาพพจน์ของประเทศอีกด้วย” อย่างไรก็ดี นอกจากการมีกฎหมายเพือ่ คุม้ ครองเด็กทีเ่ กิดโดยอาศัยเทคโนโลยีชว่ ยการเจริญพันธุท์ างการแพทย์แล้ว กระทรวง สาธารณสุขยังให้ความสำ�คัญกับการดูแลสุขภาพจิตเด็กกลุ่มนี้ โดยได้วางแผนการเตรียมความพร้อมดูแลสุขภาพจิตเด็กที่เกิดจาก การอุ้มบุญซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อน จำ�เป็นต้องให้ความรู้ คำ�แนะนำ�ในการเลี้ยงดูแก่พ่อแม่ของเด็ก และการรับรู้สถานะในช่วงวัยที่ เหมาะสมของเด็กต่อไป. ขอขอบคุณข้อมูลจาก : กระทรวงสาธารณสุข
6
ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 8 เดือนสิงหาคม 2558
บทความพิเศษ
ดร.เกียรติศักดิ์ วรวิทย์รัตนกุล อุปนายกฝ่ายเทคโนโลยีและสารสนเทศฯ/กรรมการประชาสัมพันธ์
ออกโฉนดทับซ้อน...
ออกโฉนดทีด่ นิ ทับซ้อนกัน อธิบดีกรมทีด่ นิ มีอ�ำ นาจเพิกถอน โฉนดที่ดินที่ออกมาโดยไม่ชอบได้ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 และตามหลักศาลยุติธรรม ผู้ที่รับจดทะเบียนต้อง รับกรรมไปฟ้องไล่เบีย้ กับผูท้ อี่ อกโฉนดทีด่ นิ ทับซ้อน ตามหลักผูร้ บั โอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน เพราะเมื่อโฉนดออกมาโดยไม่ชอบ ผู้รับโอนก็ได้โฉนดที่ดินแบบไม่ชอบมาด้วย ซึ่งเป็นการยากเพราะ ขบวนการกว่าจะได้เงินค่าเสียหายคืนต้องใช้เวลานาน และผู้ ออกโฉนดไม่ชอบก็หลบลี้หนีหน้าหากันไม่เจอแล้ว นักกฎหมาย โดยเฉพาะทนายความต้องนำ�ตัวบทกฎหมายที่มีอยู่มาปรับใช้ก่อ ให้เกิดประโยชน์ บรรเทาความเสียหายให้กับลูกความโดยปรับ เปลี่ยนแนวความคิด การที่ออกโฉนดทับซ้อนกระทำ�การโดย เจ้าหน้าทีท่ ดี่ นิ กระทำ�โดยทุจริตหรือประมาทเลินเล่อซึง่ เป็นเจ้าหน้าที่ ของรัฐ และโฉนดที่ดินมาจดทะเบียนทำ�นิติกรรมต่างๆ ได้ที่ สำ�นักงานที่ดินจนก่อให้เกิดความเสียหายกับประชาชนคนสุจริต
ให้กรมทีด่ นิ ชดใช้คา่ เสียหาย การกระทำ�ดังกล่าวศาลปกครองสูงสุดได้พิพากษาวางบรรทัดฐานไว้ เป็นการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำ�สั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและการกระทำ�ละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจาก คำ�สัง่ ทางการปกครอง ให้กรมทีด่ นิ ชดใช้คา่ เสียหายให้กบั ประชาชนผูร้ บั โอนโดยสุจริต ตามคำ�พิพากษาศาลปกครองสูงสุดคดีหมายเลขแดงที่ อ. 375/258 (ย่อเฉพาะบางส่วนทีเ่ ป็นการละเมิดของ เจ้าหน้าที่) คำ�พิพากษา (อุทธรณ์)
ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ศาลปกครองสูงสุด
ระหว่าง
{
คดีหมายเลขดำ�ที่ อ.227/2553 คดีหมายเลขแดงที่ อ.375/2558
วันที่ 1 พฤษภาคม พุทธศักราช 2558
บริษัท ร. กรมที่ดิน ที่ 1. อธิบดีกรมที่ดิน ที่ 2.
ผู้ฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดี
เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำ�สั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและการ กระทำ�ละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากคำ�สั่งทางปกครอง (อุทธรณ์คำ�พิพากษา) ผูถ้ กู ฟ้องคดีทงั้ สองยืน่ อุทธรณ์ค�ำ พิพากษา ในคดีหมายเลขดำ�ที่ 127/2550 หมายเลข แดงที่ 1/2553 ของศาลปกครองชั้นต้น (ศาลปกครองพิษณุโลก) คดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องและแก้ไขเพิ่มเติมคำ�ฟ้องว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นเจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษา เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2539 ผู้ฟ้องคดีได้นำ�เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 29337 ผู้เป็นลูกหนี้ประเมินราคาไว้เป็นเงิน 626,300 บาท ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้มีคำ�สั่งที่ 3103/2549 ให้เพิกถอนโฉนดทีด่ นิ ดังกล่าวตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายทีด่ นิ ซึง่ ผูฟ้ อ้ ง คดีได้มหี นังสืออุทธรณ์ไปยังผูถ้ กู ฟ้องคดีที่ 2 แล้ว แต่ตอ่ มาได้รบั แจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์วา่ อุทธรณ์ของผูฟ้ อ้ งคดีฟงั ไม่ขนึ้ ให้ยกอุทธรณ์ ผูฟ้ อ้ งคดีเห็นว่าการออกคำ�สัง่ เพิกถอนโฉนดทีด่ นิ ดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำ�ให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้รับความเสียหายและ การดำ�เนินการออกโฉนดที่ดินเป็นการกระทำ�โดยรัฐ ผู้ฟ้องคดีเป็นบุคคลภายนอก เชื่อถือใน ความถูกต้องแท้จริง ขอให้ศาลมีคำ�พิพากษาหรือคำ�สั่งให้เพิกถอนคำ�สั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ที่ 3103/2549 และให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายจากการที่ไม่ได้รับชำ�ระหนี้ตาม คำ�พิพากษาของศาลจังหวัด ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองให้การว่าคำ�สั่งอธิบดีกรมที่ดิน ที่ 3103/2549 ให้เพิกถอนโฉนด ทีด่ นิ ชอบด้วยกฎหมาย ผูฟ้ อ้ งคดีจงึ ไม่อาจทีจ่ ะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผูถ้ กู ฟ้องคดีที่ 1 ได้ และ
การฟ้องเรียกค่าเสียหายของผูฟ้ อ้ งคดีดงั กล่าวจากผูถ้ กู ฟ้องคดีที่ 2 ไม่อาจกระทำ�ได้ ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 การกระทำ�ดังกล่าวมิใช่ เกิดจากความประมาทหรือทุจริตของเจ้าหน้าที่ ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง ศาลปกครองชัน้ ต้นพิจารณาแล้วเห็นว่าคำ�สัง่ ที่ 3103/2549 ชอบด้วยกฎหมาย และ เมือ่ เจ้าหน้าทีข่ องผูถ้ กู ฟ้องคดีที่ 1 ทีม่ หี น้าทีใ่ นการดำ�เนินการออกหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) และโฉนดที่ดินซึ่งจะต้องใช้ความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์ของผู้มีหน้าที่ ออกเอกสารสิทธิและพิสูจน์สอบสวนการทำ�ประโยชน์ หากพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำ�การตรวจ สอบโดยใช้ความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์ดังกล่าวแล้ว ย่อมพบว่าที่ดินทับซ้อนกัน พนักงานเจ้าหน้าทีก่ ระทำ�โดยประมาทเลินเล่อทำ�ให้ผฟู้ อ้ งคดีซงึ่ เป็นบุคคลภายนอกเสียหายแก่ ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นการกระทำ�ละเมิดตามมาตรา 420 แห่งประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงสมควรกำ�หนดค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ฟ้องคดีเป็นจำ�นวนเงิน 239,283.94 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำ�ระเสร็จ ทั้งนี้ตามมาตรา 206 ประกอบมาตรา 224 วรรคหนึ่ง และมาตรา 438 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดีเป็น เงิน 293,118 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำ�นวน 239,283.94 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำ�ระเสร็จ ทั้งนี้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่คำ�พิพากษา ถึง ที่สุด ส่วนคำ�ขออื่นให้ยกและให้คืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดให้แก่ผู้ฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองอุทธรณ์ว่าการกระทำ�ของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเกิดจากนางขมวด ผู้ขอนำ�เดินสำ�รวจให้ถ้อยคำ�อันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ทั้งๆ ที่ทราบ อยู่แล้วว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของผู้อื่น มิใช่ของตนเองและมีการออกเอกสารสิทธิไปแล้ว ดังนี้ นางขมวดจึงเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ฟ้องคดีโดยตรง มิใช่เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดี ที่ 1 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ในฐานะหน่วยงานทางปกครองจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตาม คำ�พิพากษาศาลปกครองชั้นต้นแต่อย่างใด ขอให้ศาลปกครองสูงสุดพิพากษายกฟ้อง ผู้ฟ้องคดีแก้อุทธรณ์ว่า การกระทำ�ดังกล่าวของพนักงานเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดี ทั้งสองก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ฟ้องคดีโดยตรง ขอให้ศาลปกครองสูงสุดพิพากษายืนตาม คำ�พิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น ศาลปกครองสูงสุดออกนัง่ พิจารณาคดีโดยได้รบั ฟังสรุปข้อเท็จจริงของตุลาการเจ้าของ สำ�นวน และคำ�ชี้แจงด้วยวาจาประกอบคำ�แถลงการณ์ของตุลาการผู้แถลงคดี ศาลปกครองสูงสุดได้ตรวจพิจารณาเอกสารทั้งหมดในสำ�นวนคดี กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องประกอบแล้ว
ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 8 เดือนสิงหาคม 2558
ดังนี้
7
ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยรวม 2 ประเด็น
ประเด็นทีห่ นึง่ การทีผ่ ถู้ กู ฟ้องคดีที่ 2 มีค�ำ สัง่ ที่ 3103/2549 เพิกถอนโฉนดเป็นการ ออกคำ�สั่งทางปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ พิเคราะห์แล้วเห็นว่าการเพิกถอนโฉนดทีด่ นิ เป็นการออกคำ�สัง่ ทางปกครองทีช่ อบด้วย กฎหมายแล้ว ประเด็นทีส่ อง เจ้าหน้าทีข่ องผูถ้ กู ฟ้องที่ 1 ได้ทำ�การละเมิดต่อผูฟ้ อ้ งคดีหรือไม่ หาก เป็นการกระทำ�ละเมิด ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดีหรือไม่ เพียงใด พิเคราะห์เห็นแล้วว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 บัญญัติว่า ผู้ใด จงใจหรือประมาทเลินเล่อทำ�ต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย ให้เข้าเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำ� ละเมิด จำ�ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น มาตรา 438 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่าค่าสินไหม ทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนัน้ ให้ศาลวินจิ ฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรง แห่งละเมิด มาตรา 224 วรรคหนึง่ บัญญัตวิ า่ หนีเ้ งินนัน้ ท่านให้คดิ ดอกเบีย้ ในระหว่างเวลาผิดนัด ร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี... และมาตรา 206 บัญญัติว่าในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่า ผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำ�ละเมิด มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดที่เจ้าหน้าที่ ของตนได้กระทำ�ในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าว โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าการออกหนังสือรับรองการทำ� ประโยชน์ (น.ส.3 ก.) และโฉนดที่ดินเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้เจ้าหน้าที่มีหน้าที่ในการ ดำ�เนินการออกหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เนื่องจากกฎหมายไว้วางใจในตัว ข้าราชการที่ดำ�รงตำ�แหน่งดังกล่าวว่าจะใช้ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ตรวจสอบ ความถูกต้องของหลักฐานและเอกสาร ประกอบการพิจารณาออกหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์ และโฉนดที่ดนิ ว่าถูกต้องแล้ว จึงออกหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์หรือโฉนดทีด่ นิ ซึ่งจะต้อง ใช้ความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์ของผู้มีหน้าที่ออกเอกสารสิทธิ กล่าวคือ นอกจากจะ ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายกำ�หนดแล้ว ยังต้องมีการตรวจสอบเอกสารสิทธิ ในบริเวณที่ขอออกหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) และพิสูจน์สอบวนการทำ� ประโยชน์ หากพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำ�การตรวจสอบโดยใช้ความระมัดระวังตามวิสัยและ พฤติการณ์อันพึงกระทำ�ดังกล่าวแล้วย่อมพบว่าที่ดินนางขมวด ที่ขอออกหนังสือรับรองการทำ� ประโยชน์ได้มีการออกเป็น น.ส. 3 ก.ไปแล้ว และไม่อาจออกหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์ ทับที่ดินดังกล่าวได้อีก ที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองอุทธรณ์ว่าความเสียหายของผู้ฟ้องคดีมิได้เกิดจาก การกระทำ�ของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง แต่เกิดจากนางขมวด ให้ถ้อยคำ�อันเป็นเท็จ เห็นว่าแม้ ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ดงั ทีผ่ ถู้ กู ฟ้องคดีทงั้ สองอุทธรณ์ แต่ผถู้ กู ฟ้องคดีทงั้ สองก็ยงั คงต้องใช้ความ ระมัดระวังในการออกเอกสารสิทธิตามวิสัยและพฤติการณ์และจะต้องมีความรอบคอบยิ่งขึ้นใน การจะรับฟังถ้อยคำ�ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการขอออกเอกสารสิทธิในที่ดิน การกระทำ�ของ ผูถ้ กู ฟ้องคดีทงั้ สองในการออกหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์ถอื ได้วา่ ปราศจากความระมัดระวัง ตามวิสยั และพฤติการณ์ผถู้ กู ฟ้องคดีทงั้ สองจึงไม่อาจรับฟังได้ ดังนัน้ เมือ่ พิจารณาจากข้อเท็จจริง จึงน่าเชือ่ ได้วา่ ในการออกโฉนดทีด่ นิ เลขที่ 29373 พนักงานเจ้าหน้าทีก่ ระทำ�โดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนำ�เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินตามโฉนดที่ดิน เลขที่ 29373 ไว้เพื่อบังคับชำ�ระหนี้ตามคำ�พิพากษาด้วยความสุจริต และเป็นการใช้สิทธิในการ บังคับคดีโดยชอบด้วยกฎหมาย เนือ่ งจากเห็นว่าเป็นโฉนดทีด่ นิ ทีท่ างราชการออกให้แก่ผมู้ สี ทิ ธิ์ ในที่ดิน และเชื่อว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้องแท้จริง แต่ต่อมาเมื่อมีการเพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 29373 เป็นเหตุ ผูฟ้ อ้ งคดีจงึ เป็นผูไ้ ด้รบั ความเสียหายจากการเพิกถอนโฉนดทีด่ นิ ดังกล่าว กรณี จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำ�โดยประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่ของรัฐทำ�ต่อบุคคลอื่นโดยผิด กฎหมายให้เสียหายแก่ทรัพย์หรือสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง พิเคราะห์แล้วเห็นว่าความเสียหาย ของผู้ฟ้องคดีเป็นจำ�นวนเงิน 293,118 บาท ตามคำ�ขอของผู้ฟ้องคดีส่วนค่าดอกเบี้ยสมควร กำ�หนดให้ ร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 239,283.94 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่า จะชำ�ระเสร็จ ทั้งนี้ ตามมาตรา 206 ประกอบกับมาตรา 224 วรรคหนึ่งและมาตรา 438 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การทีศ่ าลปกครองชัน้ ต้นพิพากษาให้ผถู้ กู ฟ้องคดีที่ 1 ชดใช้คา่ เสียหายให้แก่ผฟู้ อ้ งคดี เป็นเงิน 293,118 บาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำ�นวน 239,283.94 บาท นับถัด จากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำ�ระเสร็จทั้งนี้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่คำ�พิพากษาถึงที่สุด ส่วนคำ�ขออื่นให้ยกและ.ห้คืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดให้แก่ผู้ฟ้องคดีนั้น ศาลปกครองสูงสุด เห็นพ้องด้วย
พิพากษายืน
คำ�พิพากษาดังกล่าวเป็นการวางแนวว่าการทีอ่ อกโฉนดทีด่ นิ ทับซ้อนเป็นการ ที่เจ้าหน้าที่กระทำ�โดยประมาทเลินเล่อ กรมที่ดินซึ่งเป็นต้นสังกัดต้องรับผิดชดใช้ ค่าเสียหายที่เกิดกับสุจริตชน มิต้องไปดิ้นรนตามหาจากคนโกง.
ช่วยเหลือทางกฎหมาย : นายวิเชียร ชุบไธสง อุปนายกฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์สภาทนายความ รับเรื่องร้องขอความช่วยเหลือทางกฎหมายจากกลุ่มประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากการ ถูกหลอกลวงให้ท�ำ สัญญากูย้ มื เงินและค้�ำ ประกันเงินกูจ้ ากธนาคารของรัฐในโครงการสินเชือ่ เพือ่ ประชาชน โดยที่กลุ่มประชาชนไม่ได้รับเงินแต่อย่างใด เป็นเหตุให้ธนาคารของรัฐยื่นฟ้องคดี เพื่อให้ชำ�ระหนี้ จึงเข้ามาขอความเป็นธรรมจากสภาทนายความ เพื่อให้ช่วยเหลือทางคดี ณ สภาทนายความ ถนนราชดำ�เนินกลาง กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2558
สัมมนาทวงหนี้อย่างไร...? ไม่ติดคุก จ.นครราชสีมา : สภาทนายความฯ ร่ ว มกั บ สมาพั น ธ์ ผู้ บ ริ ห ารหนี้ ส ถาบั น การเงิ น แห่ ง ประเทศไทย จั ด สั ม มนากฎหมายใหม่ “ทวงหนี้อย่างไร... ไม่ติดคุก” โดย นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ เป็น ประธานเปิดการสัมมนา และเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้กฎหมายใหม่ในหัวข้อ พระราช บัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2558 (การ ดำ�เนินคดีแบบกลุ่ม) และ “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2557” (ค้ำ�ประกัน จำ�นอง) แล้วปิดท้ายการสัมมนาด้วยการ บรรยายเรื่อง “พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558” (ทวงหนี้อย่างไร...ไม่ติด คุก) โดย นายวิเชียร ชุบไธสง อุปนายกฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์สภาทนายความ ทั้งนี้มี นายสุรศักดิ์ รอนใหม่ กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 3 และ นายชาติชาย พิเชฐชัยกุล ประธานสภาทนายความจังหวัดนครราชสีมา กล่าวให้การต้อนรับนายกสภา ทนายความ กรรมการบริหารสภาทนายความ ประธานสภาทนายความจังหวัดในภาค 3 สมาชิก ทนายความ โดยมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมการสัมมนาทั้งสมาชิกทนายความและบุคคลทั่วไป จำ�นวนกว่า 700 คน ณ โรงแรมปัญจดารา จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2558.
8
ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 8 เดือนสิงหาคม 2558
คุยอุปกันายกฝ่ บ ายสวัสดิการ
กองบรรณาธิการ
สำ�นักงานสวัสดิการและสิทธิประโยชน์สภาทนายความ แจ้งผลการดำ�เนินงานการฌาปนกิจ สงเคราะห์ทนายความ (ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2558)
นายวิเชียร ชุบไธสง
อุปนายกฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ฯ
สภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ขอเชิญร่วมทำ�บุญถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำ�ปี 2558 วัดไพรสณฑ์ศักดาราม พระอารามหลวง อำ�เภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2558
หากเพือ ่ นสมาชิกทนายความท่านใดสนใจ โครงการต่างๆ ของสำ�นักงาน สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ฯ หรือมีข้อสงสัยประการใด สามารถติดต่อ สอบถามรายละเอียดได้ที่ คุณปาริชาติ ภูศ่ รี, คุณสลิตา รัตนวรรณ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2629-1430 ต่อ 128, 083-040-8662 E-mail : sawatdegan.law@gmail.com ได้ทุก วันและเวลาทำ�การ. ร่วมบุญบูรณะพระอุโบสถวัดไพรสณฑ์ศกั ดาราม ซึง่ ปัจจุบนั หลังคาพระอุโบสถชำ�รุดทรุดโทรมมาก
วัดไพรสณฑ์ศกั ดาราม เดิมมีนามว่า “วัดป่า” สร้างขึน้ เป้นวัดนับตัง้ แต่
ประมาณ พ.ศ. 2382 สถานที่สร้างวัดเป็นไร่ฝ้ายตาสี โดยมีพระสุริยวงศาชนสงครา รามภักดีวิริยกรมพาหะ (คง) เจ้าเมืองหล่มสัก คนแรกเป็นผู้สร้างขึ้นเป็นวัดคู่เมือง เพื่อใช้เป็นที่ถือน้ำ�พิพัฒน์สัตยาสมัยที่ยังเป็นจังหวัดหล่มสัก ต่อมาวัดป่าได้เปลี่ยน นามเป็น “วัดอรัญญวาสี” บางแห่งเขียนเป็น “วัดอรัญญวาศรี” ในสมัยของ เจ้าอาวาสรูปที่ 2 พระครูหลักคำ�ภู่ ครั้นถึงสมัยของเจ้าอาวาสรูปที่ 16 ได้เปลี่ยนเป็น “วัดป่าหล่มสัก” ประมาณ พ.ศ.2484 ต่อมาถึง พ.ศ. 2495 จึงได้เปลีย่ นนามอีกครัง้ หนึง่ เป็นครัง้ สุดท้ายมีนามว่า “วัดไพรสณฑ์ศกั ดาราม” พ.ศ.2495 และใช้มาจนตราบ เท่าทุกวันนี้ วัดไพรสณฑ์ศักดาราม ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งหลังวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2504 เขตวิสงุ คามสีมากว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร ได้ผกู พัทธสีมา วันที่ 20 เมษายน พ.ศ.2508 มีพระภิกษุอยู่จำ�พรรษาปีละประมาณ 40 รูป สามเณร กว่า 100 รูป เนื่องจากเป็นสำ�นักเรียนปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและบาลีที่เจริญ รุ่งเรืองมากวัดหนึ่ง ประกอบกับเป็นวัดที่มีเกียรติและความสำ�คัญคู่เมืองหล่มสักมา แต่เดิม จึงได้รับการสถาปนาเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ นับตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2522 ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2522 มี พระปริยัติพัชราภรณ์ เป็นเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน
สามารถร่วมบุญโดย : โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด (มหาชน) สาขาสะพานผ่านฟ้า ชื่อบัญชี สภาทนายความ (กฐินพระราชทาน)
บัญชีเลขที่ 169-0-64814-0 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2629-1430 ต่อ 134, 117
ร่วมไว้อาลัย : นายชวน คงเพชร อุปนายกฝ่ายกิจการพิเศษ ในฐานะผู้แทนนายกสภาทนายความ เป็นประธานในพิธีสวดอภิธรรมศพ นายวิศิษฎ์ พัฒนะศรี บิดานายศุภวัฒน์ พัฒนะศรี กรรมการมรรยาท ทนายความ โดยมีนายชลิต ขวัญแก้ว กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 2, นายดนัย อนันติโย รองประธานกรรมการมรรยาททนายความ, กรรมการมรรยาททนายความ และพนักงานสภาทนายความ ร่วมงาน ที่วัดกลางคลองสาม จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2558.
ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 8 เดือนสิงหาคม 2558
9
คุยกับ นายทะเบียน เรียน
เพื่อนทนายความทุกท่าน ตามที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางและสภาทนายควตามที่เพื่อนทนายความทุกท่านทราบว่าในวันที่ 7 สิงหาคมของทุกปีนั้น ถือเป็นวัน สำ�คัญยิง่ ของนักกฎหมายไทยเพือ่ น้อมรำ�ลึกถึงพระกรุณาธิคณ ุ ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพฒ ั นศักดิ์ กรมหลวงราชบุรดี เิ รกฤทธิ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพฒ ั นศักดิ์ กรมหลวงราชบุรดี เิ รกฤทธิ์ ทรงเข้าศึกษาวิชาภาษาไทยครัง้ แรกในสำ�นักพระยาศรีสนุ ทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) และทรงเข้าศึกษาภาษาอังกฤษชั้นต้นในสำ�นักครูราม สามิ ในปี พ.ศ. 2426 ทรงเข้าศึกษาภาษาไทยในสำ�นักพระยาโอวาท วรกิจ (แก่น) เปรียญ ณ พระตำ�หนักสวนกุหลาบ และในปี พ.ศ. 2427 ทรงผนวชเป็นสามเณรประทับอยู่วัดบวรนิเวศ เมื่อปลายปี พ.ศ. 2431 ได้เสด็จไปประเทศอังกฤษ เมื่อสำ�เร็จการศึกษาชั้นมัธยมแล้วได้ทรงเลือกศึกษาวิชากฎหมายที่วิทยาลัยไครส์ตเชิช มหาวิทยาลัยออกฟอร์ดเมือ่ ปี พ.ศ. 2433 และทรงสอบไล่ได้ตามหลักสูตรชัน้ ปริญญาเกียรตินยิ มทางกฎหมาย ทรงเป็นนักกฎหมายทีย่ ดึ หลักนิตธิ รรม นางสาวอรอนงค์ เทศะบำ�รุง ในการใช้กฎหมายเป็นวิชาชีพ ทรงมีส่วนสำ�คัญยิ่งในการพัฒนางานด้านกฎหมายในประเทศไทยให้มีความก้าวหน้า อีกทั้งทรงเป็นผู้วางรากฐานที่ นายทะเบียนสภาทนายความ เกี่ยวกับกฎหมายโดยมีผลงานนานัปการทางกฎหมาย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2463 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ขณะที่มีพระชนมายุได้ 47 พรรษา ดังนั้น ในวันที่ 7 สิงหาคมของทุกปี นักกฎหมายไทยทั้งหมดจึงพร้อมใจกันจัดกิจกรรมทางกฎหมายเพื่อเป็นการน้อมรำ�ลึกถึงพระกรุณาธิคุณ พระองค์ทรงได้รับพระสมัญญานามว่า “พระบิดาแห่ง กฎหมายไทย” และเรียกวันนี้ว่า “วันรพี” โดยในวันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม 2558 สภาทนายความฯ และสมาชิกทนายความได้เข้าร่วมวางพวงมาลาถวายสักการะพระรูปกรมหลวงราชบุรดี เิ รกฤทธิ์ และร่วมงาน “วันรพี” ประจำ� ปี 2558 เวลา 7.00 น. ณ พระรูปหน้าอาคารศาลยุติธรรม (สนามหลวง) ถนนราชดำ�เนินกลาง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร อนึ่ง กรณีที่เพื่อนทนายความท่านใดมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนตัว และ/หรือ ข้อมูลสำ�นักงานที่ท่านสังกัดอยู่ และ/หรือ สอบบรรจุเข้ารับราชการแต่ยังไม่ได้แจ้งยกเลิกการเป็น ทนายความ ขอความกรุณาแจ้งข้อมูลดังกล่าวให้สำ�นักงานทะเบียนทนายความเพื่อดำ�เนินการปรับปรุงข้อมูลของท่านให้เป็นปัจจุบันที่สุดและเพื่อรองรับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของ สภาทนายความแห่งใหม่ทคี่ าดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2558 นี้ ทัง้ นี้ เพือ่ ประโยชน์ของท่านในการรับทราบข้อมูลข่าวสารทีเ่ กีย่ วกับการประกอบวิชาชีพทนายความจากสภาทนายความฯต่อไป.
ประชุมร่วมความร่วมมือด้านกระบวนการยุติธรรม : นางสาวอรอนงค์ เทศะบำ�รุง นายทะเบียนสภาทนายความ ในนามผู้แทนนายก สภาทนายความ ร่วมเป็นวิทยากรในการประชุมเชิงปฏิบตั กิ าร เรือ่ ง “การประสานงานความ ร่ ว มมื อ ด้ า นการยุ ติ ธ รรมของศาลล้ ม ละลายกลางกั บ หน่ ว ยงานในกระบวนการ ยุติธรรม” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันพิจารณาแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในการดำ�เนินการ ระหว่างหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเพื่อพัฒนา กระบวนการยุติธรรมอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ให้สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียมกันและเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกว่า 150 คน ณ ห้องเจ้าพระยาบอลรูม โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค รัชดาภิเษก กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558.
สัมมนาวิชาการ : นายสุมิตร มาศรังสรรค์ อุปนายกฝ่ายวิชาการสภาทนายความ ในฐานะผู้แทนนายกสภาทนายความ เป็นประธานเปิดการสัมมนาวิชาการในการส่งเสริม ศักยภาพวิชาชีพ และการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย หัวข้อ “พระราชบัญญัตแิ ก้ไขเพิม่ เติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2557” (ค้ำ�ประกัน จำ�นอง), พระ ราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2558 (การดำ�เนินคดีแบบกลุ่ม) โดยเป็นการให้ ความรู้ทางวิชาการจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิร่วมให้ความรู้ อาทิ นายวีรศักดิ์ โชติวานิช กรรมการฝ่ายช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย, นายเจษฎา อนุจารี ผูอ้ �ำ นวยการสำ�นักฝึก อบรมวิชาว่าความแห่งสภาทนายความ ในโอกาสนี้ นายวันรัฐ นาคสุวรรณ กรรมการ บริหารสภาทนายความภาค 8 และนายสมชัย เลี้ยงจรูญรัตน์ ประธานสภาทนายความ จังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวต้อนรับ ทั้งนี้มนี ายธีรศักดิ์ วิชชุตานนท์ กรรมการฝ่ายช่วย เหลือประชาชนทางกฎหมายฯ, อดีตกรรมการบริหารสภาทนายความ, สมาชิกทนายความ ในภาค 8 และประธานสภาทนายความจังหวัดต่างๆ ในเขตภาค 8 และทนายความ เข้าร่วม สัมมนาฯ กว่า 600 คน ที่โรงแรมวังใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2558.
ที่ปรึกษาประจำ�กองบรรณาธิการ :
นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์, นายสัก กอแสงเรือง, นายบำ�รุง ตันจิตติวัฒน์, นายเจษฎา อนุจารี, นายสุชาติ ธรรมาพิทักษ์กุล, นายพูนศักดิ์ บุญชู, ดร.สุธรรม วลัยเสถียร, นายสุมิตร มาศรังสรรค์, นางสาวอรอนงค์ เทศะบำ�รุง, นายธีรศักดิ์ วิชชุตานนท์, ผศ.ว่าที่ร้อยตรี ดร.สุรพล สินธุนาวา, นายชวน คงเพชร, นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์, นายวิเชียร ชุบไธสง, นายชลิต ขวัญแก้ว, นายสุรศักดิ์ รอนใหม่, นายพิเชษฐ คูหาทอง, นายอาสา เม่นแย้ม, นายผาติ หอกิตติกุล, นายวิทยา แก้วไทรหงวน, นายวันรัฐ นาคสุวรรณ, นายโอฬาร กุลวิจิตร
บรรณาธิการ : นายนิวัติ แก้วล้วน กองบรรณาธิการ : นายสุนทร พยัคฆ์, นายสุวทิ ย์
เชยอุบล, ดร.เกียรติศกั ดิ์ วรวิทย์รตั นกุล, นายไสว จิตเพียร, นายศุภกิจ หล่อพัฒนากูร, นายสุชาติ ชมกุล, นายสุรนิ ทร์ ทาซ้าย, นายวิบลู ย์ นาคทับทิม, ว่าทีร่ อ้ ยตรี สมชาย อามีน, นายคราศรี ลอยทอง, นายโอวาท จุลโคตร, นายเจษฎา คงรอด, นายสัมฤทธิ์ เชือ้ สาวถี, นายดนัย พุม่ เล็ก, นางสาวชืน่ ชนก วชิรธาราธาดร, ดร. วิเศษ แสงกาญจนวนิช, นางสาวนงลักษณ์ แตงเจริญ ผู้ช่วยกองบรรณาธิการ : นางสาวนัทธมน จันดี, นายนพดล คงคาสัย, นายไพศาล แก่ฉมิ
• ผลิตโดย สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ เลขที่ 7/89 อาคาร 10 ถนนราชดำ�เนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ : 0-2629-1430 ต่อ 129, 146 โทรสาร : 0-2282-9908
10
ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 8 เดือนสิงหาคม 2558
มุมกิจกรรม
สัมมนาทวงหนี้อย่างไร...? ไม่ติดคุก (กรุงเทพฯ) : สภาทนายความฯ ร่วมกับสมาพันธ์ผู้บริหารหนี้สถาบันการเงินแห่งประเทศไทย จัดสัมมนากฎหมายใหม่ “ทวงหนี้ อย่างไร...ไม่ติดคุก” โดย นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ เป็นประธานเปิดการสัมมนา และเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้กฎหมายใหม่ในหัวข้อ พระราชบัญญัติแก้ไข เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2558 (การดำ�เนินคดีแบบกลุ่ม) และ”พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2557” (ค้ำ�ประกัน จำ�นอง) แล้วปิดท้ายการสัมมนาด้วยการบรรยายเรื่อง “พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 (ทวงหนี้อย่างไร...ไม่ติดคุก) โดย นายวิเชียร ชุบไธสง อุปนายก ฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์สภาทนายความ ทั้งนี้มี นายนิพล สุขภิบาล กรรมการสมาพันธ์ฯ เป็นผู้ดำ�เนินรายการ โดยมีกรรมการบริหารสภาทนายความ, กรรมการฝ่ายสวัสดิการและ สิทธิประโยชน์สภาทนายความ ร่วมงาน ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมการสัมมนาทั้งสมาชิกทนายความและบุคคลทั่วไปจำ�นวนกว่า 2,000 คน ณ หอประชุมพ่อขุนรามคำ�แหงมหาราช มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2558.
หารือข้อกฎหมายระหว่างประเทศ : นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ พร้อมด้วย ดร.สุธรรม วลัยเสถียร อุปนายกฝ่ายต่างประเทศ และนายสุนทร พยัคฆ์ อุปนายกฝ่ายช่วยเหลือประชาชนทาง กฎหมายฯ ร่วมให้การต้อนรับและหารือด้านกฎหมายกับคณะผู้แทนจาก american bar association rule of law initiative (ABA ROLI) ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำ�งานร่วมกับพันธมิตรใน ประเทศที่จะสร้างสถาบันการศึกษาที่ยั่งยืนและสังคมที่ให้ความยุติธรรม ส่งเสริมโอกาสทาง เศรษฐกิจและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยในการนี้นายกสภาทนายความ ได้กล่าวถึง การให้ความช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายผ่านการทำ�งานของทนายความอาสาของสภา ทนายความ ซึ่งคดีด้านยาเสพติดในประเทศไทยยังมีสถิติที่สูงกว่าคดีประเภทอื่น และส่วนใหญ่ ผู้เกี่ยวข้องในคดีประเภทนี้มักเป็นมีปัญหายากจน ปัญหาด้านการศึกษา ซึ่งรัฐบาลไทยได้ เร่งดำ�เนินการแก้ไขปัญหานีต้ ลอดมา ทัง้ การส่งเสริมอาชีพ การสนับสนุน แนะนำ�การสร้างงาน สู่ชนบทตามแนวพระราชดำ�ริเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมทั้ง ส่งเสริมด้านการตลาดในการกระตุ้นเศรษฐกิจระหว่างประเทศ นอกจากนี้สภาทนายความยัง จัดให้มที นายความอาสาเข้าร่วมฟังการสอบสวนในคดียาเสพติดและคดีอาญาทุกคดี โดยทำ�งาน ควบคู่กับพนักงานสืบสวนเพื่อความเป็นธรรมแก่จำ�เลย ซึ่งเป็นการอำ�นวยความยุติธรรมที่ ประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างเป็นรูปธรรม ณ ห้องประชุมประธานดวงรัตน์ สภาทนายความ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2558.
พิธีแสดงกตเวทิตาจิตสักการะครูอาจารย์ เนติบัณฑิต : นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ/กรรมการเนติบัณฑิตยสภา ในฐานะ อาจารย์ผู้บรรยายในสำ�นักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ร่วมพิธีไหว้ครู เพื่อให้ นักศึกษาได้แสดงกตเวทิตาจิตสักการะครูอาจารย์ และร่วมพิธีมอบทุนสงเคราะห์การศึกษาแก่ นักศึกษาของสำ�นักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ประจำ�ปี 2558 โดยนายดิเรก อิงคนินันท์ ประธานศาลฎีกา เป็นประธานในพิธี ณ ห้องบรรยายรพีพัฒนศักดิ์ อาคาร เนติบัณฑิตยสภา ชั้น 4 กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2558.
14 ปี กสม. : นายชวน คงเพชร อุปนายกฝ่ายกิจการพิเศษสภาทนายความ พร้อมด้วย พนักงานสภาทนายความ มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่ ศาสตราจารย์อมรา พงศา พิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เนื่องในงานวันสถาปนาสำ�นักงาน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ครบรอบ 14 ปี ณ ห้องเสวนา ชัน้ 6 สำ�นักงาน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2558.
มุมกิจกรรม
ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 8 เดือนสิงหาคม 2558
11
สถานีวทิ ยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 เมือ่ วันที่ 9 กรกฎาคม 2558
สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง 7 เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2558
วันรพี ประจำ�ปี 2558 : นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหาร สภาทนายความ, ชมรมทนายความอาสาสภาทนายความ และพนักงานสภาทนายความ ร่วมวางพวงมาลาถวายสักการะอนุสาวรีย์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรก ฤทธิ์ บิดาแห่งกฎหมายไทย เนื่องใน “วันรพี” ประจำ�ปี 2558 ณ บริเวณสนามหน้า อาคารศาลยุติธรรม (สนามหลวง) กรุงเทพมหานครฯ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2558.
สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2558 บันทึกเทปรายการถวายพระพร 12 สิงหามหาราชินี : นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ พร้อมด้วยกรรมการบริหาร สภาทนายความ และพนักงานสภาทนายความ ร่วมบันทึกเทปรายการถวายพระพร 12 สิงหา มหาราชินี เพื่อเทิดพระเกียรติและแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ ประจำ�ปี 2558. ถวายสักการะ : นายชวน คงเพชร อุ ป นายกฝ่ า ยกิ จ การพิ เ ศษสภาทนายความ นำ� พนั ก งานสภา ทนายความ และทนายความ ร่วมวางพวงมาลาถวายสักการะพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรี นครินทราบรมราชชนนี (สมเด็จย่า) เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต ปีที่ 20 (18 กรกฎาคมของ ทุกปี) ณ ลานโรงเรียนสตรีวิทยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2558.
ต้อนรับแขกต่างประเทศ : เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2558 เวลา 14.30 น. ในการประชุมคณะกรรมการบริหารสภา ทนายความ ประจำ � เดื อ นกรกฎาคม 2558 ณ ห้ อ งประชุ ม ประธานดวงรั ต น์ สภาทนายความ กรุงเทพมหานคร : นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหาร สภาทนายความ ให้การต้อนรับและร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนด้านกฎหมายและความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศไทย-เดนมาร์ก กับ H.E. Mr. Mikael Hemniti Winther Ambassador The Royal Danish Embassy, Ms. Nantima Angkatavanich Senior Commercial Officer, Dr. Supareak Charlie Chomchan Vice President Danish-Thai Chamber of Commerce and Mr. Carsten Jens Carlsted Executive Director Danish-Thai Chamber of Commerce ในโอกาสเยี่ยมชมการบริหารงานของ สภาทนายความ และได้ร่วมลงนามถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมายุ 63 พรรษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร และถ่ายภาพ ร่วมกันเป็นที่ระลึกบริเวณหน้าที่ทำ�การสภาทนายความ.
12
บ้านของเรา
ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 8 เดือนสิงหาคม 2558
ความคืบหน้าการก่อสร้างอาคารที่ทำ�การสภาทนายความ ภาพความคืบหน้าการก่อสร้างอาคารทีท่ ำ�การสภาทนายความ ณ วันที่ 4 สิงหาคม 2558 :
ขอขอบคุณผู้ให้ยืม-บริจาคเงินสมทบกองทุนจัดซื้อที่ดินและก่อสร้างที่ทำ�การสภาทนายความ รายนามผู้บริจาคเงินสมทบกองทุนจัดซื้อที่ดินและ ก่อสร้างที่ทำ�การสภาทนายความ ดังนี้ ปี 2550 : นายกิตติพันธ์ ปฐมชัยเกียรติ 2,000 บาท, นายดำ�รง สุขผ่อง 1,500 บาท, นายเจษฎา อนุจารี 1,324 บาท, นายจิรพจน์ เพลินพิศศิริ 1,000 บาท, นายพิริยะ เกาสังข์ 1,000 บาท, นายทรงวิทย์ พานิชวัฒน์ 1,000 บาท, นายประเสริฐ เคลื่อนเพชร 1,000 บาท, นายอริญชย์ อินทรบุรี 1,000 บาท, นายวิศิษฐ์ วิชาสี 1,000 บาท, นายสุพจน์ ศรีพนมโชค 500 บาท, นายญาณวุฒิ ก๋งเกิด 500 บาท, นายเพชรชัย วัฒนสัมปันโณ 500 บาท, นายวีระ อุ่นเจริญ 500 บาท, นายสุรพัฒน์ อารมย์ดี 300 บาท, นายธนภณ เผื่อนพันธ์นิด 100 บาท, คุณเสาวคนธ์ อุส่าการ 100 บาท, นางสุวรรณี หินแข็งแกร่ง 100 บาท, นายกัมปนาท จันทร์ศรีบุตร 100 บาท, นายศิลา วงศ์กระจ่าง 100 บาท, นายเชวงเวช เผือกผ่อง 100 บาท, นางสาวชนาภา เกื้อศิริเกียรติ 5,000 บาท, นางอนงค์พร ธนชัยอารีย์ 2,000 บาท, นายสมบูรณ์ ชัยสวัสดิ์ 500 บาท, นางสาวกอบกุล มณีโรจน์ 300 บาท, นายรุจิกาญจน์ พิชญรัศมีมาน 200 บาท, นายสมบัติ จันทร์ไกรวัล 6,000 บาท, นางสาวรัตนา ผาแก้ว 5,000 บาท, นางวารุณี เภกะนันทน์ 5,000 บาท, นายทรงเดช ประดิษฐสมานนท์ 4,500 บาท. ติดตามต่อได้ในฉบับหน้า...
สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ
ËÇÁÊ‹§ÀÒ¾¢‹ÒÇ-º·¤ÇÒÁÁÒŧà¼Âá¾Ã‹ ไดที่ ¡Í§ºÃóҸԡÒÃ˹ѧÊ×;ÔÁ¾ ¢‹ÒÇÊÀÒ·¹Ò¤ÇÒÁ àÅ¢·Õè 7/89 ÍÒ¤Òà 10 ¶.ÃÒª´Óà¹Ô¹¡ÅÒ§ á¢Ç§ºÇùÔàÇÈ à¢µ¾Ãй¤Ã ¡ÃØ§à·¾Ï 10200
â·ÃÈѾ· 0-2629-1430 µ‹Í 129, 146 â·ÃÊÒà 0-2282-9908
Facebook : ÊÀÒ·¹Ò¤ÇÒÁã¹¾ÃкÃÁÃÒªÙ»¶ÑÁÀ
E-mail : lctnews2013@gmail.com
เลขที่ 7/89 อาคาร 10 ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท 0-2629-1430 ตอ 129, 146 โทรสาร 0-2282-9908
ชำระคาฝากสงเปนรายเดือน ใบอนุญาตเลขที่ พ.211/2547
ปณ.ราชดำเนิน