หนังสือพิมพ์ข่าวสภาทนายความ ฉบับประจำเดือนกันยายน 2558

Page 1

ปีที่ 3 ฉบับที่ 9 เดือนกันยายน 2558

นายกสภาทนายความ เตรียมย้ายที่ทำ�การ

ไปอาคารหลังใหม่ ดีเดย์มกราคม 59 ถือโอกาสนับถอยหลังเตรียมย้ายสภาทนายความไปยังอาคารที่ทำ�การใหม่ บนถนน พหลโยธิน เขตบางเขน กรุงเทพฯ ซึ่งกำ�ลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง เป็นอาคารขนาดใหญ่ สูง 6 ชั้น บนเนื้อที่ 7 ไร่เศษ เพื่อรองรับปริมาณงาน, สมาชิกทนายความ และประชาชน ทั่วไปที่เดินทางมาติดต่อขอรับบริการจากสภาทนายความซึ่งเพิ่มขึ้นจำ�นวนมาก ในแต่ละวัน

โดยนายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ เปิดเผยว่า “ตามที่สภาทนายความได้ใช้อาคารที่มี ลักษณะคล้ายห้องแถว พื้นที่ใช้สอยจำ�กัด ซึ่งปัจจุบันที่ตั้งอยู่บนถนนราชดำ�เนินกลางมาตั้งแต่ปี 2527 กอปรกับการ เพิ่มขึ้นของจำ�นวนผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ อีกทั้งปริมาณงานและคดีที่ประชาชนเข้ามาขอรับการช่วยเหลือทาง กฎหมายก็เพิ่มมากขึ้นทุกปี สถานที่ตั้งของที่ทำ�การเดิมจึงไม่เพียงพอที่จะรองรับบริการต่างๆ ทั้งด้านการพัฒนา วิชาชีพทนายความ และเตรียมสถานทีใ่ นการอบรมวิชาการในสาขาต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้องอีกมากมายเพือ่ ให้พร้อมสำ�หรับ การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สภาทนายความจึงดำ�เนินการสร้างอาคารใหม่ เป็นอาคารทันสมัยขนาดความ สูง 6 ชั้น บนเนื้อที่ 7 ไร่เศษ ตั้งอยู่บริเวณถนนพหลโยธิน ใกล้วงเวียนอนุสาวรีย์บางเขน (พิทักษ์เสรีชน) เขตบางเขน กรุงเทพมหานครฯ ติดรถไฟฟ้าเพียง 200 เมตร โดยภายในอาคารสำ�นักงานใหม่นี้ได้แบ่งพื้นที่ใช้สอยเป็นที่ทำ�การ ของหน่วยงานต่างๆ ของสภาทนายความเพื่อให้บริการแก่ทนายความและประชาชนทั่วไป” นอกจากนั้น อาคารที่ทำ�การใหม่หลังนี้ยังเป็นสถานที่หลักเพื่อใช้ในการอบรมแก่ผู้เข้ารับการอบรมวิชา ว่าความ ของสำ�นักฝึกอบรมวิชาว่าความแห่งสภาทนายความ อีกทั้งเป็นสถานที่ในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาวิชาชีพ ทนายความด้านความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับกฎหมายเฉพาะทางเพิ่มเติม รวมถึงหลักสูตรการเรียนภาษาอังกฤษอีก 30 หลักสูตร และเป็นศูนย์รบั เรือ่ งราวร้องทุกข์และสอบข้อเท็จจริงในการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายและอรรถคดี แก่ประชาชน การก่อสร้างอาคารที่ทำ�การใหม่ของสภาทนายความหลังนี้ สภาทนายความใช้งบประมาณที่จัดหาเองรวม กับเงินช่วยเหลือจากภาครัฐ รวมจำ�นวนกว่า 500 ล้านบาท คาดว่าจะเปิดทำ�การได้ในเดือนมกราคม พ.ศ.2559 นี้ เพราะในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2457 ในอดีตนั้น เป็นวันตราพระราชบัญญัติทนายความ และพระราชบัญญัติเนติ บัณฑิตยสภา เป็นครั้งแรก ถือเป็นฤกษ์ดีในการเริ่มเปิดทำ�การสำ�นักงานสภาทนายความในอาคารที่ทำ�การหลังใหม่ ปัจจุบัน การดำ�เนินการก่อสร้างอาคารที่ทำ�การใหม่ของสภาทนายความอยู่ระหว่างการดำ�เนินการตกแต่ง ภายในและปรับภูมิทัศน์โดยรอบของอาคารให้มีความสอดคล้องกับแนวคิดตามรอยพระบาทของพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ซึ่งพระองค์ท่านถือเป็น “พระบิดาแห่งวิชาชีพทนายความไทย”

เด่นในฉบับ

4 การเลือกปฏิบัติ 6 อุม้ บุญ... กฎหมายใหม่ :

โดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ : พระราชบัญญัติความเท่าเทียม ระหว่างเพศ พ.ศ.2558

บทความพิเศษ :

คืออะไร?


2

ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 9 เดือนกันยายน 2558

“คนเข้มแข็งจะเป็นผู้กำ�หนดสังคม คนอ่อนแอจะถูกสังคมกำ�หนด” นั้นคือสิ่งที่แม่เคยบอกว่าคนเราต้องเติบโตขึ้นเป็นคนผู้เข้มแข็งเพื่อออกไปกำ�หนด สังคมการเรียนรู้การค้นหาซึ่งสรรพวิชาที่เรียนรู้มาและการกระทำ�ที่เป็นคุณค่าทางสังคมที่จำ�เป็นต่อการพัฒนาตนเองและเพื่อประโยชน์สาธารณะคือ สิ่งที่ต้องแสวงหา ในบริบทดังกล่าวนั้น การทำ�งานของเพื่อพี่น้องทนายความ จึงอยู่ในสภาวะการที่เป็นผูน้ ำ�เพราะวิชาชีพทนายความเป็นวิชาชีพของผูเ้ ข้มแข็งผูร้ อบรูใ้ นสรรพสิ่ง ทัง้ ทีเ่ ป็นข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายทีต่ อ้ งปรับใช้ในการต่อสูเ้ พือ่ ตัวความทีเ่ ป็นโจทก์หรือจำ�เลย และเพือ่ ผลประโยชน์ในการต่อสูค้ ดีเพือ่ ประโยชน์ทางกระบวนการยุตธิ รรม ของมวลชนผู้ได้รับความเดือดร้อนจากผลกระทบทางกฎหมาย แต่จะด้วยเหตุใดก็ตาม คณะกรรมการโดยการนำ�ของ ทค.เดชอุดม ไกรฤทธิ์ ได้ทมุ่ เทสรรพกำ�ลังทัง้ มวลไปทีก่ ารก่อสร้างทีท่ �ำ การแห่งใหม่ของสภาทนายความ และก็เป็นเหตุเป็นผลและปรากฏชัดต่อผลสำ�เร็จที่พี่น้องทนายความ ได้เห็นอาคารอันเป็นบ้านใหม่ที่สง่างามและเป็นศักดิ์ศรียิ่งต่อผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ ในอีกบริบทหนึง่ ของการทำ�งานเชิงวิชาการคณะกรรมการบริหารได้มงุ่ เน้นถึงการอบรมสัมมนากฎหมายใหม่ ในเชิงปฏิบตั แิ ละในมุมมองของงานวิชาการเพือ่ ประโยชน์ ของเพื่อนทนายความอย่างที่เห็นและงานการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย ก็ยังเป็นผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนที่ฝากความหวังในทางคดีไว้กับสภาทนายความ และในมุมมองของการทำ�งานด้านสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของเพื่อนทนายความก็เป็นดังข่าวที่ปรากฏในภาพข่าวของข่าวสภาทนายความที่อยู่ในมือของท่าน แต่จะด้วยบริบทใดก็ตาม ข่าวสภาทนายความเป็นของท่านคำ�ติชมใดๆ ย่อมเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาของ ข่าวสภาทนายความ เพื่อประโยชน์ของพี่น้องทนายความและประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายในกระบวนการยุติธรรมในกรอบที่ว่า “ผู้เข้มแข็งเป็นผู้กำ�หนดสังคม ผู้อ่อนแอ จะถูกสังคมกำ�หนด”

นิวัติ แก้วล้วน บรรณาธิการบริหาร

ศึกษาดูงาน ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ พร้อมด้วยกรรมการบริหารสภาทนายความ เดินทางไปศึกษา ดูงานและประสานความร่วมมือทางวิชาการกับ Daichi Tokyo Bar Association ประเทศญีป่ นุ่ โดยร่วมประชุมแลกเปลีย่ น ความเห็นทางวิชาการในหัวข้อเรื่อง “กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในประเทศไทยและสิทธิประโยชน์ทาง ภาษีอากร” บรรยายโดยนายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ, “กฎหมายเกีย่ วกับการประกอบธุรกิจของ คนต่างด้าว” บรรยายโดย ดร.สุธรรม วลัยเสถียร อุปนายกฝ่ายต่างประเทศ และ “กฎหมายแรงงาน” บรรยายโดย นางสาวแอน พลอยส่องแสง เลขานุการนายกสภาทนายความ เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2558.

อบรมที่ปรึกษากฎหมายศาลเยาวชน ครั้งที่ 5/2558 :

ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง โดย ความร่วมมือของสภาทนายความในพระบรม ราชูปถัมภ์ จัดการอบรมและทดสอบความรู้ ผู้ ป ระสงค์ จ ะเป็ น ที่ ป รึ ก ษากฎหมายในศาล ที่มีอำ�นาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ครั้งที่ 4/2558 โดย นายสุภัทร อยู่ถนอม อธิบดีศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เป็นประธานเปิดการ อบรม เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก เยาวชนและครอบครัว การวิเคราะห์หาสาเหตุแห่งการกระทำ�ความผิดและงานสังคมสงเคราะห์เด็กหรือเยาวชนในกระบวนการ ยุตธิ รรม วิธพี จิ ารณาคดีเยาวชนและครอบครัว รวมทัง้ เรือ่ งการการเตรียมความพร้อมในการปฏิบตั หิ น้าที่ ของที่ปรึกษากฎหมาย ทั้งในชั้นพิจารณาคดี และระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในการนี้ นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายความรู้กฎหมาย หัวข้อ “มาตรฐานสิทธิ เด็กไทยกับมาตรฐานสากล” ด้วย ทั้งนี้มีทนายความให้ความสนใจเข้ารับการอบรมในครั้งนี้กว่า 300 คน โดยการอบรมฯ จัดขึ้น 3 วัน ตั้งแต่วันที่ 14-16 สิงหาคม 2558 ณ หอประชุม มหาวิทยาลัย นอร์ท-เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ลงนามบันทึกความตกลงด้านสิทธิเด็กฯ 48 หน่วยงาน :

เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2558 เวลา 10.00 น. ที่ ห้องแกรนด์ A B ชั้น 4 โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ ถนน วิภาวดีรังสิต กรุงเทพมหานคร : นางสาวอรอนงค์ เทศะบำ�รุง นาย ทะเบียนสภาทนายความ ในฐานะ ผู้แทนนายกสภาทนายความ ร่วมพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) ครั้ง ประวัตศิ าสตร์ และประกาศเจตนารมณ์รว่ มกัน เพือ่ บูรณาการความร่วมมือคุม้ ครอง สิทธิและเสริมสร้างสวัสดิภาพเด็ก เยาวชนและครอบครัวในกระบวนการยุติธรรม ภายใต้โครงการเครือข่ายยุตธิ รรมเด็ก เยาวชนและ ครอบครัวแบบมีสว่ นร่วมระดับ ชาติ ซึ่งเป็นโครงการย่อยในโครงการบูรณาการสร้างเสริม สวัสดิภาพเด็กเยาวชน และครอบครัวในกระบวนการยุติธรรม Project on enhancing Co-Operation in Protecting the rights of Children in conflict with the law (CPC) โดยมี นายวีระพล ตัง้ สุวรรณ รองประธานศาลฎีกา เป็นประธานในพิธี ซึง่ มีหน่วยงาน ร่วมลงนามมากถึง 48 หน่วยงาน จัดโดย ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง.


ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 9 เดือนกันยายน 2558

3

เตรียมพร้อม พ.ร.บ.การทวงถามหนี้

“ทวงอย่างไร ไม่ติดคุก” จากที่สภาทนายความ ร่วมกับ สมาพันธ์ผู้บริหารหนี้ สถาบันการเงินแห่งประเทศไทย จัดอบรมความรู้กฎหมาย เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 ในหัวข้อ “ทวงหนี้อย่างไร ไม่ติดคุก” ในภูมิภาคต่างๆ และได้รับความ สนใจอย่างมากจากทนายความและประชาชน ซึ่งกฎหมายฉบับ นี้ ได้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 2 กันยายนที่ผ่านมา

ล่าสุดเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2558 ได้จัดให้มีการอบรมกฎหมายเรื่อง “ทวงหนี้ อย่างไร ไม่ติดคุก” ที่จังหวัดอุดรธานี เพื่อเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการทวงถามหนี้ให้ ถูกต้องตามกฎหมายนี้ โดยมี นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความฯ เป็นประธาน เปิดการอบรม และกล่าวถึงโครงการอบรมความรู้กฎหมายดังกล่าวว่า

ปัจจุบันนี้ กฎหมายใหม่ที่จะออกมาโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติออกมา เร็วมาก แม้กระทั่งผู้ประกอบกฎหมายสาขาทนายความยังตั้งตัวไม่ทัน เพราะว่ามี กฎหมายที่ท้าทายตั้งแต่รัฐบาลเก่า และรัฐบาลชุดปัจจุบันก็พยายามเร่งรัด และคน ไทยสังคมไทยต้องรูก้ ฎหมาย แต่คนไทยทัง้ 67 ล้านคนจะรูก้ ฎหมายคงเป็นไปไม่ได้ จึงเป็นหน้าที่ของสภาทนายความฯ ในการเผยแพร่ความรู้เรื่องข้อกฎหมายให้แก่ ประชาชน รวมทั้งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างทนายความด้วยกัน เรื่องหนี้สินซึ่งเป็นเรื่อง ใหญ่ เป็นเรือ่ งปากเรือ่ งท้องของประชาชน ถือเป็นกฎหมายทีอ่ อกมาใหม่ไม่เคยมีในประเทศไทย ทีจ่ ะทำ�ให้คนทีท่ วงหนีต้ อ้ งติดคุก เป็นเรือ่ งใหม่ทนี่ า่ สนใจสำ�หรับทุกคน รวมทัง้ ผูป้ ระกอบอาชีพ ทนายความด้วย การสัมมนาในวันนี้จึงเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการทำ�ความเข้าใจต่อการ ปฏิบัติหน้าที่ โดยเฉพาะผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ

ขึน้ ทะเบียนกับสภาทนายความ ทัง้ นีไ้ ม่วา่ จะเป็นบุคคลทัว่ ไปหรือทนายความก็ตอ้ งไปขึน้ ทะเบียน การประกอบกิจการทวงถามหนี้ หากฝ่าฝืน หรือปฏิบัติการทวงถามหนี้ที่ขัดต่อกฎหมายฉบับนี้ มีโทษจำ�คุก 3-5 ปี ที่ส�ำ คัญหากเป็นทนายความแล้วติดคุกจากการทวงหนี้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายก็ ต้องถูกลบชื่อจากการเป็นทนายความ หรือห้ามทำ�การเป็นทนายความได้ ซึ่งต้องพิจารณาเป็น กรณีๆ ไป”

“ปัจจุบันได้มีมาตรากฎหมายใหม่มาบังคับใช้เป็นจำ �นวนมาก เพราะการเสนอ กฎหมายในยุคนี้สามารถทำ�ได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากอยู่ในช่วงการใช้อำ�นาจพิเศษ ดังนั้น จึงเป็นหน้าทีข่ องทุกคนทุกฝ่ายต้องคอยติดตาม และเป็นหน้าทีข่ องสภาทนายความในพระบรม ราชู ป ถั ม ภ์ ในการเผยแพร่ ค วามรู้ ใ ห้ แ ก่ ป ระชาชน ซึ่ ง เป็ น หนึ่ ง ในวั ต ถุ ป ระสงค์ ห ลั ก ของ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ในวันนี้ก็เป็นอีกหนึ่งภารกิจที่สภาทนายความฯ จะให้การ เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายใหม่ เพื่อการเรียนรู้ และเพิ่มพูนความรู้ใหม่ ให้ผู้เข้าอบรมสัมมนาได้นำ�ไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ

กฎหมายฉบับนี้ได้มีการจัดอบรมทนายความทุกภูมิภาคเพื่อทำ�ความเข้าใจ ซึ่ง เจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนีเ้ ป็นการป้องปรามการทวงถามหนีท้ เี่ กินความเป็นจริง ไม่วา่ จะ เป็นการข่มขู่ การยึดทรัพย์สิน เช่น รถที่เช่าซื้อ บางรายถึงขนาดกระโดดเกาะรถ หรือใช้อำ�นาจ บาตรใหญ่ โดยหลักการของการทวงถามหนี้ทางแพ่งจะใช้มาตรการทางอาญามาบังคับไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการทางศาลในการทวงถามหนี้ การข่มขู่ทุกรูปแบบ ถือว่าเป็นการกระทำ� ความผิดอาญา เป็นการละเมิดสิทธิลูกหนี้ การทวงถามหนี้ที่ไม่ถูกที่ถูกเวลาก็เป็นเหตุหนึ่งที่ ผูเ้ ขียนกฎหมายได้น�ำ มาบัญญัตไิ ว้ในกฎหมายฉบับนี้ เพราะฉะนัน้ การทวงถามหนีไ้ ม่วา่ จะเป็น ผู้ประกอบอาชีพทวงถามหนี้ที่ไม่ใช่ทนายความหรือเป็นทนายความ ก็ต้องปฏิบัติตามกฎ ข้อบังคับของสภาทนายความ ซึ่งต้องอยู่ในกรอบ ไม่เช่นนั้นแล้วหากมีการฝ่าฝืนก็จะมีโทษ ทางอาญา โดยเฉพาะการใช้ความรุนแรงกับหนี้นอกระบบ กฎหมายฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ ทำ�ให้สังคมเข้าสู่การบังคับใช้กฎหมายด้วยหลักนิติธรรมที่แท้จริง” นายเดชอุดม กล่าว ทั้งนี้ การอบรมกฎหมายดังกล่าวมีวิทยากรผู้บรรยายจากสภาทนายความ ได้แก่ นายวิเชียร ชุบไธสง อุปนายกฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์สภาทนายความ และ นายวีรศักดิ์ โชติวานิช กรรมการฝ่ายช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายสภาทนายความ โดยได้สรุปความเห็นของวิทยากรทั้ง 2 ท่าน เกี่ยวกับการบังคับใช้พระราชบัญญัติการ ทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 ไว้ดังนี้ “กฎหมายฉบับนี้มีสาระสำ�คัญแบ่งได้เป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรกใช้บังคับกับบุคคล ทั่วไปที่ประกอบอาชีพทวงหนี้เปิดบริษัทรับติดตามหนี้สิน หรือรับติดตามหนี้ของสถาบันการ เงินต่างๆ ซึ่งผู้ประกอบกิจการทวงถามหนี้ประเภทนี้จะต้องไปขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานของ มหาดไทย และส่วนที่สองใช้บังคับกับผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ กรณีเปิดสำ�นักงานและ รับติดตามหนี้สิน ซึ่งมีขั้นตอนปฏิบัติการติดตามทวงถามแตกต่างไปจากบุคคลทั่วไป โดยต้อง

“จะเห็นได้ว่าเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้ มุ่งคุ้มครองประชาชนที่เป็นลูกหนี้ ไม่ให้ถูกกระทบกระเทือนจากการทวงถามหนี้ ทั้งหนี้ในระบบและหนี้นอกระบบ มีข้อกำ�หนด เกี่ยวกับวิธีการทวงถามหนี้ซึ่งต้องไม่กระทำ�เปิดเผย การใช้ซองจดหมายจะเปิดผนึกไม่ได้ ใช้ไปรษณียบัตรหรือมีข้อความให้รู้ว่าเป็นการทวงหนี้ไม่ได้ การทวงหนี้ต้องกระทำ�ภายในระยะ เวลาที่กฎหมายกำ�หนด เกินเวลา 18.00 น. ทวงไม่ได้ ต้องใช้กิริยาสุภาพ และนอกจากกฎหมาย จะคุ้มครองลูกหนี้แล้ว ยังคุ้มครองผู้ค้ำ�ประกันอีกด้วย” นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายที่แก้ไขใหม่ คือ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 “เมื่อลูกหนี้ผิดนัด ให้เจ้าหนี้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำ�ประกันภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ ลูกหนี้ผิดนัด และไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด เจ้าหนี้จะเรียกให้ผู้ค�้ำ ประกันชำ�ระหนี้ ก่อนที่ หนั ง สื อ บอกกล่ า วจะไปถึ ง ผู้ ค้ำ � ประกั น ไม่ ไ ด้ ” หมายความว่ า ถ้ า ทนายความหรื อ เจ้ า หนี้ ทำ�หนังสือทวงหนี้ส่งทางไปรษณีย์ตอบรับ ต้องตรวจสอบให้ดีว่าฝ่ายผู้ค้ำ�ประกันได้รับหนังสือ ทวงหนี้หรือยัง ถ้ายังไม่ได้รับแล้วเกิดไปทวงก่อนกำ�หนดก็ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะมีผลกระทบ ตามมา ส่ ว นทหารตำ � รวจทั้ ง ในและนอกเครื่ อ งแบบ ที่ รั บ ติ ด ตามทวงถามหนี้ กฎหมาย ฉบับนี้ไม่เปิดช่องให้กระทำ�ได้อีก เพราะเป็นการขัดต่อกฎหมาย หากฝ่าฝืนมีโทษจำ�คุกถึง 5 ปี ปรับถึง 5 แสนบาท ด้วย และเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2558 ที่ผ่านมา นายวิเชียร ชุบไธสง อุปนายกฝ่าย สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ สภาทนายความ ในฐานะผู้แทนนายกสภาทนายความ ได้เข้าร่วม ประชุมคณะกรรมการกำ�กับการทวงถามหนี้ ครั้งที่ 2 ที่กระทรวงมหาดไทย โดยที่ประชุมมีการ พิจารณาในเรื่องต่างๆ สรุปได้ดังนี้ 1.การเสนอแต่งตัง้ พนักงานเจ้าหน้าที่ 2.ร่างข้อบังคับคณะกรรมการกำ�กับการ ทวงถามหนี้ เรื่องวิธีพิจารณาเรื่องร้องเรียนของคณะกรรมการกำ�กับการทวงถามหนี้ ประจำ�จังหวัด และคณะกรรมการกำ�กับการทวงหนี้กรุงเทพ มหานคร และ 3.ร่าง ประกาศคณะกรรมการกำ�กับการทวงถามหนี้ เรื่องหลักเกณฑ์การเปรียบเทียบและ ระยะเวลาชำ�ระค่าปรับ โดยรายละเอียดความคืบหน้าเกีย่ วกับเรือ่ งดังกล่าว กองบรรณาธิการฯ จะนำ�มาเสนอในโอกาสต่อไป.


4

ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 9 เดือนกันยายน 2558

กฎหมายใหม่

ปัญญา กางกรณ์

ผู้อำ�นวยการกองกฎหมาย สำ�นักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

การเลือกปฏิบตั โิ ดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ :

พระราชบัญญัตคิ วามเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ.2558 ที่ผ่านมาประเทศไทยไม่มีมาตรการป้องกันการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศที่ชัดเจน ส่งผลให้บุคคล ซึง่ ถูกเลือกปฏิบตั โิ ดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ ไม่ได้รบั ความคุม้ ครองและไม่ได้รบั ความเป็นธรรมเท่าทีค่ วร ทำ�ให้เกิดความ เหลื่อมล้ำ�ในสังคม

จากการที่ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีตามพันธกรณีระหว่างประเทศ เพื่อกำ�หนดมาตรการคุ้มครองผู้ถูกเลือกปฏิบัติ และป้องกันมิให้มกี ารเลือกปฏิบตั โิ ดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ ซึง่ สอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชนสากล จึงต้องกำ�หนดให้ มีกฎหมายคุม้ ครองผูถ้ กู เลือกปฏิบตั โิ ดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ และป้องกันมิให้มกี ารเลือกปฏิบตั โิ ดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ คือ พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ.2558 ฉบับนี้ คำ�ว่า “การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ” กฎหมายได้ให้ความหมายของคำ�นี้ไว้ว่า หมายถึงการก ระทำ�หรือไม่กระทำ�การใดอันเป็นการแบ่งแยก กีดกันหรือจำ�กัดสิทธิประโยชน์ใดๆ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม โดยปราศจาก ความชอบธรรม เพราะเหตุทบี่ คุ คลนัน้ เป็นเพศชายหรือเพศหญิง หรือมีการแสดงออกทีแ่ ตกต่างจากเพศโดยกำ�เนิด ดังนัน้ บุคคล ทุกคนจะได้รับความคุ้มครองและป้องกันจากการกระทำ�ในลักษณะดังกล่าวในทุกกรณี กลไกของกฎหมายฉบับนี้กำ�หนดให้มี คณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศขึ้นคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “คณะกรรมการ สทพ.” ทำ�หน้าทีก่ ำ�หนดนโยบาย มาตรการ แผนปฏิบตั งิ านเพือ่ ให้มกี ารส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ในทุกภาคส่วน กำ�หนดแนวทางในการให้ความช่วยเหลือ ชดเชยและเยียวยาหรือบรรเทาทุกข์แก่บคุ คลซึง่ ตกเป็นผูเ้ สียหายจาก การเลือกปฏิบตั โิ ดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ ตลอดจนกำ�หนดมาตรการพิเศษในการเข้าถึงสิทธิดา้ นต่างๆ ทัง้ ทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง รวมถึงปรับปรุงแบบแผนความประพฤติทางสังคมและวัฒนธรรมระหว่างเพศ เพื่อขจัดอคติวิธีปฏิบัติที่อยู่บน พื้นฐานของความเหลื่อมล้ำ�และความรุนแรงเพราะเหตุแห่งเพศเพื่อขจัด อุปสรรคในการเข้าถึงสิทธิด้านต่างๆ นอกจากนี้กำ�หนดให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศขึ้นอีกคณะหนึ่ง เรียกโดย ย่อว่า “คณะกรรมการ วลพ.” ให้ทำ�หน้าที่วินิจฉัยปัญหาที่มีการยื่นคำ�ร้องว่ามีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ และดำ�เนินการตามหลักการตรวจสอบการเลือกปฏิบตั โิ ดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ โดยให้กรมกิจการสตรี และสถาบันครอบครัว เป็นหน่วยรับผิดชอบงานธุรการและ งานวิชาการของคณะกรรมการ สทพ.และคณะกรรมการวลพ. การดำ�เนินการตามหลักในการตรวจสอบการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ 1) หน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน หรือบุคคลใด จะกำ�หนดนโยบาย กฎ ระเบียบ ประกาศ มาตรการ โครงการ หรือวิธปี ฏิบตั ขิ องในลักษณะทีเ่ ป็นการเลือกปฏิบตั โิ ดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศมิได้ แต่ถา้ เป็นการกระทำ�เพือ่ ขจัดอุปสรรคหรือ ส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น หรือเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพและความปลอดภัย หรือการปฏิบัติตามหลักการทางศาสนา หรือเพื่อความมั่นคงของประเทศ ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ระหว่างเพศ 2) บุคคลใดเห็นว่าตนได้รับหรือจะได้รับความเสียหายจากการกระทำ�ในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็น ธรรมระหว่างเพศ และมิใช่เป็นเรื่องที่มีการฟ้องร้องเป็นคดีอยู่ในศาลหรือที่ศาลพิพากษาหรือมีคำ�สั่งเด็ดขาดแล้ว ให้มีสิทธิยื่น คำ�ร้องต่อคณะกรรมการ วลพ. เพือ่ พิจารณาวินจิ ฉัยว่ามีการเลือกปฏิบตั โิ ดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศหรือไม่ คำ�วินจิ ฉัยของคณะ กรรมการ วลพ. ให้เป็นที่สุด และไม่เป็นการตัดสิทธิผู้ร้องในอันที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดต่อศาลที่มีเขตอำ�นาจ โดย ให้ศาลมีอ�ำ นาจกำ�หนดค่าเสียหายอย่างอืน่ อันมิใช่ตวั เงินให้แก่บคุ คลซึง่ ถูกเลือกปฏิบตั โิ ดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศได้ และหาก การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศนั้นเป็นการกระทำ�โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ศาลจะกำ�หนด ค่าเสียหายในเชิงลงโทษให้แก่บคุ คลซึง่ ถูกเลือกปฏิบตั โิ ดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศไม่เกินสีเ่ ท่าของค่าเสียหายทีแ่ ท้จริงด้วยก็ได้ บุคคลซึ่งถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ อาจขอให้องค์กรที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ยื่นคำ �ร้องหรือฟ้องคดี แทนได้ ภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่คณะกรรมการ วลพ. มีคำ�วินิจฉัย หรือนับแต่วันที่ศาลปกครองมีคำ�พิพากษาถึงที่สุด แล้วแต่กรณี 3) ในระหว่างการพิจารณาวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ คณะกรรมการ วลพ. อาจกำ�หนด มาตรการชั่วคราวก่อนมีคำ�วินิจฉัย เพื่อคุ้มครองหรือบรรเทาทุกข์แก่บุคคลซึ่งถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศเท่าที่ จำ�เป็นและสมควรแก่กรณีก็ได้ 4) ในกรณีที่คณะกรรมการ วลพ. วินิจฉัยว่า เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ ให้มีอำ �นาจออก คำ�สัง่ ซึง่ จะต้องแสดงเหตุผลอย่างชัดเจนและอาจกำ�หนดเงือ่ นไขใดๆ ได้เท่าทีจ่ �ำ เป็น รวมทัง้ จะมีขอ้ สังเกตเสนอต่อคณะกรรมการ สทพ. เพื่อให้หน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีใดตามที่เห็นสมควรก็ได้ ดังต่อไปนี้ (1)ให้หน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชนหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องดำ�เนินการตามอำ�นาจหน้าที่ด้วยวิธีใดที่เห็น เหมาะสม เพื่อระงับและป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำ�สั่งของคณะกรรมการ

วลพ. ต้องระวางโทษจำ�คุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท หรือทั้งจำ�ทั้งปรับ (2) ให้การชดเชยและเยียวยาผู้เสียหาย 5) ในกรณีที่คณะกรรมการ วลพ. วินิจฉัยว่า มีการ เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศโดยอาศัยบทบัญญัติ แห่งกฎหมายทีข่ ดั หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ และยังไม่มคี �ำ วินจิ ฉัย ของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ให้คณะ กรรมการ วลพ. ยื่นเรื่องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อพิจารณา ยื่ น เรื่ อ งต่ อ ศาลรั ฐ ธรรมนู ญ เพื่ อ วิ นิ จ ฉั ย ว่ า บทบั ญ ญั ติ แ ห่ ง กฎหมายดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ 6) ให้กรรมการ วลพ. อนุกรรมการหรือพนักงาน เจ้าหน้าที่ซึ่งคณะกรรมการ วลพ. มอบหมาย มีอำ�นาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (1) เข้าไปในเคหสถานหรือสถานที่ใดๆ เพื่อ รวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องโดยมีหมายค้น (2) มี ห นั ง สื อ สอบถามหรื อ เรี ย กบุ ค คลมาให้ ถ้อยคำ� หรือให้สง่ สิง่ ของหรือเอกสารทีเ่ กีย่ วข้องมาเพือ่ ประกอบ การพิจารณาให้ผเู้ กีย่ วข้องอำ�นวยความสะดวก ชีแ้ จงข้อเท็จจริง ตอบหนังสือสอบถาม หรือส่งสิ่งของหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องแก่ กรรมการ วลพ. อนุกรรมการ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าว ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษจำ�คุกไม่เกินสามเดือนหรือ ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำ�ทั้งปรับ 7) ให้กรรมการ วลพ. อนุกรรมการ และพนักงาน เจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา


ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 9 เดือนกันยายน 2558

5

การดำ�เนินการตามหลักเกณฑ์ การชดเชยและเยียวยาผู้เสียหาย 1) เมื่อคณะกรรมการ วลพ. มีคำ�วินิจฉัยว่ามีการ เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ ให้ผู้เสียหายมีสิทธิ ขอรับการชดเชยและเยียวยาโดยยื่นคำ�ขอต่อกรมกิจการสตรี และสถาบันครอบครัวภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำ � วินิจฉัยของคณะกรรมการ วลพ. ซึ่งสิทธิขอรับการชดเชยและ เยียวยานี้ เป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่อาจโอนกันได้และไม่ตกทอด ทางมรดก 2) ในกรณีที่ผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ คนเสมือนไร้ ความสามารถหรือคนไร้ความสามารถหรือในกรณีทผี่ เู้ สียหาย ไม่สามารถยื่นคำ�ขอรับการชดเชยและเยียวยาด้วยตนเองได้ ผูป้ กครอง ผูพ้ ทิ กั ษ์ ผูอ้ นุบาล สามีหรือภริยา ผูด้ แู ลหรือบุคคล อืน่ ใดเพือ่ ประโยชน์ของผูเ้ สียหายแล้วแต่กรณี จะยืน่ คำ�ขอแทน ก็ได้ 3) การชดเชยและเยียวยาผู้เสียหายให้กระทำ�โดย ให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ ประการหนึ่ ง ประการใด หรื อ ให้ ค วาม ช่วยเหลือทางการเงิน ดังต่อไปนี้ (1) ค่าขาดประโยชน์ทำ�มาหาได้ในระหว่างทีไ่ ม่ สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ (2) ค่ า สู ญ เสี ย โอกาสที่ เ ป็ น ค่ า เสี ย หายใน เชิงพาณิชย์ซึ่งสามารถคำ�นวณเป็นเงินได้ (3) ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในการรักษาพยาบาล รวมทั้งค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ (4) การชดเชยและเยี ย วยาในรู ป แบบหรื อ ลักษณะอื่น การได้รับการชดเชยและเยียวยาข้างต้น ไม่เป็นการ ตัดสิทธิผู้เสียหายในอันที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิด ต่อศาลที่มีเขตอำ�นาจ และบรรดาความผิดตามกฎหมายนี้ ให้ เจ้ า พนั ก งานคื อ (1) อธิ บ ดี ก รมกิ จ การสตรี แ ละสถาบั น ครอบครัวหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย สำ�หรับความผิดที่เกิดขึ้น ในกรุงเทพมหานครหรือ (2) ผูว้ า่ ราชการจังหวัดหรือผูซ้ งึ่ ผูว้ า่ ราชการจังหวัดมอบหมาย สำ�หรับความผิดทีเ่ กิดขึน้ ในจังหวัด อื่น มีอำ�นาจเปรียบเทียบได้ หากเห็นว่าผู้ต้องหาไม่ควรได้รับ โทษจำ�คุกหรือไม่ควรถูกฟ้องร้อง และเมือ่ ผูต้ อ้ งหาได้ชำ�ระเงิน ค่าปรับตามจำ�นวนที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้วให้ ถือว่าคดีเลิกกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา นอกจากนี้กำ�หนดให้มี “กองทุนส่งเสริมความ เท่าเทียมระหว่างเพศ” เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายเกี่ยวกับการ ส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ โดยให้คณะกรรมการ บริหารกองทุนพิจารณาใช้จา่ ยเงินสำ�หรับดำ�เนินกิจกรรมหรือ กิจการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ หรือคุ้มครองและป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็น ธรรมระหว่างเพศ รวมถึงการช่วยเหลือ ชดเชยและเยียวยา หรือบรรเทาทุกข์แก่บุคคลซึ่งตกเป็นผู้เสียหายจากการเลือก ปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ และสอดส่องดูแลให้คำ� แนะนำ�หรือคำ�ปรึกษาเกี่ยวกับการดำ�เนินงานของเจ้าหน้าที่ ของรัฐและหน่วยงานของรัฐ อีกทั้ง เพื่อเป็นการส่งเสริมการ ศึกษา การวิจัย และการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน มิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ และการ ติดต่อประสานงานกับบุคคล หน่วยงาน หรือองค์กรต่างๆ ทั้ง ภาครัฐภาคเอกชน และภาคประชาชน กำ�หนดให้รฐั มนตรีวา่ การกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมัน่ คงของมนุษย์รกั ษาการตามกฎหมายนี้ และให้มี อำ�นาจแต่งตัง้ พนักงานเจ้าหน้าทีก่ บั ออกระเบียบหรือประกาศ เพื่อปฏิบัติการตามกฎหมายนี.้

ช่วยเหลือคดีสิ่งแวดล้อม : เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2558 เวลา 10.30 น. ที่ศาลปกครองจังหวัดระยอง : สภาทนายความ โดย นางสาว รำ�ไพ ชำ�นาญเพชร ทนายความ พร้อมด้วยคณะทำ�งานคดีสิ่งแวดล้อมสภาทนายความ เดินทางไปฟังคำ�พิพากษาคดี เพิกถอนใบอนุญาตโรงงานถ่านโค้ก ที่สภาทนายความได้ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายในการยื่นฟ้องคดี ที่ศาล ปกครองจังหวัดระยอง โดยศาลปกครองจังหวัดระยองพิพากษาให้ผู้เสียหายเป็นฝ่ายชนะคดี และให้ผู้ถูกฟ้องคดีดำ�เนิน การออกประกาศแก้ไขข้อความให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมเรือ่ งกำ�หนดประเภท ขนาดและวิธีปฏิบัติสำ�หรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร ธรรมชาติและสุขภาพ โดยให้ดำ�เนินการภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด.

ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย : เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2558 เวลา 15.00 น. ที่ห้องประชุมประธานดวงรัตน์ สภาทนายความ ถนน ราชดำ�เนินกลาง กรุงเทพฯ : นายสุวิทย์ เชยอุบล อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการสภาทนายความ พร้อมด้วย ผศ.ว่าที่ ร.ต. ดร.สุรพล สินธุนาวา อุปนายกฝ่ายบริหาร และนายนิวตั ิ แก้วล้วน เลขาธิการสภาทนายความ ร่วมรับเรือ่ งร้องขอความ ช่วยเหลือทางกฎหมายจากตัวแทนเจ้าของร่วมนิติบุคคลอาคารชุดบ้านวธารา ริเวอร์ไลฟ์ กรณีถูกละเมิดสิทธิ และมีผู้ได้ รับความเดือดร้อนกว่า 1,000 ยูนิต.

ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย : 19 สิงหาคม 2558 เวลา 17.30 น. ที่ห้องประชุมประธาน ดวงรัตน์ ชั้น 3 สภาทนายความ ถนนราชดำ�เนินกลาง กรุงเทพฯ : นายนิวัติ แก้วล้วน เลขาธิการสภาทนายความ พร้อมด้วย นายธีรศักดิ์ วิชชุตานนท์ กรรมการฝ่ายช่วยเหลือประชาชน ทางกฎหมายสภาทนายความ ร่วมรับเรื่องร้องขอความช่วยเหลือจากผู้ร้องซึ่งเป็นผู้นับถือลัทธิฝ่าลุนกง ที่ลี้ภัยเข้ามาใน ประเทศไทยมานาน ถูกเจ้าหน้าที่ตำ�รวจตรวจคนเข้าเมืองถูกกักตัวอยู่ และบางรายถูกดำ�เนินคดี โดยผู้ร้องประสงค์ให้ สภาทนายความช่วยเหลือทางกฎหมายต่อไป


6

ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 9 เดือนกันยายน 2558

บทความพิเศษ

ปัญญา กางกรณ์

ผู้อำ�นวยการกองกฎหมาย สำ�นักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

อุม้ บุญ...คืออะไร?

พระราชบั ญ ญั ติ คุ้ ม ครองเด็ ก ที่ เ กิ ดโดยอาศั ย เทคโนโลยี ช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.2558

“การทำ�ธุรกิจอุ้มบุญ” บริษัทในต่างชาติจะโฆษณาการรับอุ้มบุญในประเทศที่ไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการอุ้มบุญ เช่น อินเดียและเนปาล เมื่อได้รับความ นิยมมากจึงเข้ามายังประเทศไทย ซึ่งยังไม่มีกฎหมายห้ามแต่ก็ไม่มีกฎหมายอนุญาต การทำ�ธุรกิจอุ้มบุญจะมีนายหน้าเป็นผู้ติดต่อหาแม่อุ้มบุญ นายหน้านั้นจะรับดูแลแม่อุ้ม บุญและดำ�เนินการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอุ้มบุญทั้งหมด ตั้งแต่ติดต่อแพทย์ที่ดำ�เนินการให้ทำ�การตั้งครรภ์-ทำ�คลอด และส่งมอบเด็กโดยมีสัญญาว่าจ้างการอุ้มบุญซึ่ง มีผลบังคับเพราะไม่มีกฎหมายห้าม แต่กรณีนี้นักกฎหมายยังมีความเห็นเป็น 2 ทาง ทั้งมีผลบังคับและเป็นโมฆะ แต่ส่วนมากจะมองว่าขัดต่อศีลธรรมอันดี เกิดปัญหาทาง กฎหมาย เช่น เรื่องพ่อเด็กในสูติบัตร การขึ้นทะเบียนสัญชาติเด็กตามผู้ว่าจ้าง การนำ�เด็กออกนอกประเทศ เป็นต้น ตามหลักกฎหมายไทยนัน้ เด็กอุม้ บุญทีเ่ กิดจะเป็นบุตรโดยชอบของแม่อมุ้ บุญ ผูว้ า่ จ้าง ไม่มีสิทธิ์เลย การที่จะนำ�เด็กไปได้นั้นแม่อุ้มบุญต้องยินยอม พ่อผู้ว่าจ้างไม่สามารถนำ�เด็กออก นอกประเทศได้ เพราะเด็กไม่มีสัญชาติตามพ่อผู้ว่าจ้าง ซึ่งหากจะนำ�เด็กออกนอกประเทศได้ก็ ต้องยื่นคำ�ร้องขอรับรองบุตรเพื่อให้ชอบด้วยกฎหมาย แต่กรณีที่คู่สามีภรรยาที่มีบุตรยากหรืออยากมีบุตรแต่มีไม่ได้เลย ต้องอาศัยความ ก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีชว่ ยการเจริญพันธุท์ างการแพทย์เพือ่ บำ�บัดรักษาภาวะการ มีบุตรยาก ก็จะเกิดเป็นประเด็นปัญหาอันมีผลทำ�ให้บทบัญญัติของกฎหมายไทยที่ใช้บังคับอยู่ ในเรือ่ งความเป็นบิดามารดาทีช่ อบด้วยกฎหมายของเด็กทีเ่ กิดจากเทคโนโลยีชว่ ยการเจริญพันธุ์ ทางการแพทย์นั้น ไม่สอดคล้องกับความสัมพันธ์ในทางพันธุกรรม ดังนั้น เพื่อเป็นการกำ�หนดสถานะความเป็นบิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมาย ของเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ให้เหมาะสม ตลอดจนเป็นการควบคุมการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์เกี่ยวกับตัวอ่อน และเทคโนโลยีชว่ ยการเจริญพันธุท์ างการแพทย์ มิให้มกี ารนำ�ไปใช้ในทางทีไ่ ม่ถกู ต้อง ประเทศไทยจึงจำ�เป็นต้องมีพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยี ช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.2558 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เล่ม 132 ตอนที่ 38 ก ราชกิจจานุเบกษา 1 พฤษภาคม 2558 มีผลบังคับใช้ 31 กรกฎาคม 2558 กล่าวคือ

ก่อนอื่นขอให้ทำ�ความเข้าใจกับความหมายของคำ�บางคำ�ที่เกี่ยวข้องกับการอุ้มบุญ

“อุ้มบุญแท้” คือ การใช้น้ำ�เชื้อจากฝ่ายชายของคู่ที่ต้องการมีบุตร ผสมกับไข่ของ แม่ผู้อุ้มบุญ และฉีดฝังในมดลูกของแม่อุ้มบุญ ซึ่งแม่ผู้อุ้มบุญแท้ คือ ผู้ที่ให้ทั้งไข่และมดลูก “อุม ้ บุญเทียม” คือ การผสมน้�ำ เชือ้ และไข่จากคูพ่ อ่ แม่ทแี่ ท้จริง แล้วฝากไข่ทรี่ บั การผสมเรียบร้อยแล้วเข้าไปในตัวของแม่อุ้มบุญผู้จะทำ�หน้าที่เป็นผู้ตั้งครรภ์แทนจนกว่าทารก จะคลอดออกมา ซึ่งการอุ้มบุญเทียมเป็นทางเลือกได้รับความนิยมมากกว่าการอุ้มบุญแท้ แนวทางของกฎหมายอุ้มบุญ ให้ทำ�ได้ในคู่สามีภรรยาที่ต้องการมีบุตร โดยให้หญิงอืน่ ซึง่ มิใช่ภรรยาตัง้ ครรภ์แทน โดยคูส่ ามีภรรยานัน้ ต้องเป็นสามีภรรยาทีจ่ ดทะเบียน สมรสชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ห้ามใช้ไข่ของหญิงที่รับเป็นแม่อุ้มบุญผสมอสุจิของพ่อ เพื่อ ป้องกันความรูส้ กึ ผูกพัน และทีส่ ำ�คัญทีส่ ดุ คือ เป็นกฎหมายทีใ่ ห้ความสำ�คัญกับการคุม้ ครองเด็ก ที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ “เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันทางการแพทย์” หมายความว่า กรรมวิธใี ดๆ ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ทนี่ ำ�อสุจแิ ละไข่ออกจากร่างกายมนุษย์ เพือ่ ให้เกิดการ ตั้งครรภ์โดยไม่เป็นไปตามธรรมชาติรวมทั้งการผสมเทียม การให้บริการเกีย ่ วกับเทคโนโลยีชว่ ยการเจริญพันธุท ์ างการ แพทย์ ผูป้ ระกอบวิชาชีพเวชกรรมซึง่ เป็นผูใ้ ห้บริการต้องมีคณ ุ สมบัตแิ ละไม่มลี กั ษณะต้องห้าม และต้ อ งปฏิ บั ติ ต ามมาตรฐานตามที่ แ พทยสภาประกาศกำ� หนดโดยความเห็ น ชอบของ

คณะกรรมการ (หากฝ่าฝืนโทษจำ�คุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำ� ทัง้ ปรับ) ผูใ้ ห้บริการจะต้องจัดให้มกี ารตรวจและประเมินความพร้อมทางด้านร่างกาย จิตใจ และ สภาพแวดล้อมของผู้ขอรับบริการ หญิงที่รับตั้งครรภ์แทน และผู้บริจาคอสุจิหรือไข่ที่จะนำ�มาใช้ ดำ�เนินการ รวมทัง้ การป้องกันโรคทีอ่ าจมีผลกระทบต่อเด็กทีจ่ ะเกิดมาด้วย และอาจทำ�การตรวจ วินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมในตัวอ่อนที่อาจเกิดขึ้นได้ตามความจำ�เป็นและสมควร โดยต้องไม่ เป็นการกระทำ�ในลักษณะที่อาจทำ�ให้เข้าใจได้ว่าเป็น “การเลือกเพศ” “การผสมเทียม” หมายความว่า การนำ�อสุจิเข้าไปในอวัยวะสืบพันธุ์ของหญิง เพือ่ ให้หญิงนัน้ ตัง้ ครรภ์โดยไม่มกี ารร่วมประเวณี จึงกำ�หนดให้การผสมเทียมต้องมีเงือ่ นไข ดังนี้ 1) ต้องกระทำ�ต่อหญิงที่มีสามีที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นและเป็นไปตามมาตรฐาน การให้บริการผสมเทียม 2) การผสมเทียมโดยใช้อสุจิของผู้บริจาคจะต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจาก สามีและภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายที่ประสงค์ให้มีการผสมเทียม 3) ในกรณีเด็กที่เกิดโดยการผสมเทียมหรือโดยอาศัยเทคโนโลยี ซึ่งใช้เซลล์สืบพันธุ์ จากผู้บริจาคเพื่อการปฏิสนธิ ให้หญิงที่เป็นผู้ตั้งครรภ์เป็นมารดาและให้สามีโดยชอบด้วย กฎหมายของหญิงผู้ตั้งครรภ์เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กนั้น ชายหรือหญิงที่เป็น เจ้าของเซลล์สืบพันธุ์ที่นำ�มาใช้ปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนเพื่อการตั้งครรภ์ ไม่มีสิทธิใดๆ ในตัวเด็ก “การตัง้ ครรภ์แทน” หมายความว่า การตัง้ ครรภ์โดยอาศัยเทคโนโลยีชว่ ยการ เจริญพันธุ์ทางการแพทย์ โดยหญิงที่รับตั้งครรภ์แทนมีข้อตกลงเป็นหนังสือไว้กับสามีและภริยา ที่ชอบด้วยกฎหมายก่อนตั้งครรภ์ว่าจะให้ทารกในครรภ์เป็นบุตรของสามีและภริยาที่ชอบด้วย กฎหมายนั้น (“ทารก” หมายความว่า ตัวอ่อนของมนุษย์ที่มีอายุเกินกว่าแปดสัปดาห์ ไม่ว่าอยู่ ในหรือนอกมดลูกของมนุษย์) การตั้งครรภ์แทน ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ 1)สามีและภริยาทีช่ อบด้วยกฎหมายซึง่ ภริยาไม่อาจตัง้ ครรภ์ได้ทปี่ ระสงค์จะมีบตุ รโดย ให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน ต้องมีสัญชาติไทย ในกรณีที่สามีหรือภริยามิได้มีสัญชาติไทย ต้องจด ทะเบียนสมรสมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี 2)หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนต้องมิใช่บุพการีหรือผู้สืบสันดานของสามีหรือภริยาที่ชอบ ด้วยกฎหมายตาม1) 3)หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนต้องเป็นญาติสืบสายโลหิตของสามีหรือภริยาที่ชอบด้วย กฎหมายตาม1)ในกรณีที่ไม่มีญาติสืบสายโลหิตของสามีหรือภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย ให้หญิง อืน่ รับตัง้ ครรภ์แทนได้ ตามหลักเกณฑ์ วิธกี าร และเงือ่ นไขทีร่ ฐั มนตรีวา่ การกระทรวงสาธารณสุข ประกาศกำ�หนดโดยคำ�แนะนำ�ของคณะกรรมการ 4)หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนต้องเป็นหญิงที่เคยมีบุตรมาก่อนแล้วเท่านั้น ถ้าหญิงนั้นมี สามีทชี่ อบด้วยกฎหมายหรือชายทีอ่ ยูก่ นิ ฉันสามีภริยา จะต้องได้รบั ความยินยอมจากสามีทชี่ อบ ด้วยกฎหมายหรือชายดังกล่าวด้วย


ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 9 เดือนกันยายน 2558

7

การดำ�เนินการให้มีการตั้งครรภ์แทนกระทำ�ได้ 2 วิธีดังต่อไปนี้ 1)ใช้ตวั อ่อนทีเ่ กิดจากอสุจขิ องสามีและไข่ของภริยาทีช่ อบด้วยกฎหมายทีป่ ระสงค์จะให้ มีการตั้งครรภ์แทน 2)ใช้ตัวอ่อนที่เกิดจากอสุจิของสามีหรือไข่ของภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายที่ประสงค์จะ ให้มีการตั้งครรภ์แทนกับไข่หรืออสุจิของผู้อื่น ห้ามใช้ไข่ของหญิงที่รับตั้งครรภ์แทน ผู้ให้บริการ ต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการให้ดำ�เนินการให้มีการตั้งครรภ์แทน ให้แก่สามีและภริยารายนั้น ตามที่คณะกรรมการประกาศกำ�หนดในราชกิจจานุเบกษา (หาก ฝ่าฝืนโทษจำ�คุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำ�ทั้งปรับ) ข้อตกลงการตั้งครรภ์แทน และค่าใช้จ่ายในการบำ�รุงรักษาสุขภาพ หลักเกณฑ์ วิธกี าร และเงือ่ นไขเกีย่ วกับข้อตกลงการตัง้ ครรภ์แทนและค่าใช้จา่ ยในการ บำ�รุงรักษาสุขภาพของหญิงทีร่ บั ตัง้ ครรภ์แทนในขณะตัง้ ครรภ์ การยุตกิ ารตัง้ ครรภ์แทนการคลอด และหลังคลอดรวมทัง้ ค่าใช้จา่ ยในการดูแลสุขภาพของเด็กทีเ่ กิดจากการตัง้ ครรภ์แทน หลังคลอด เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคำ�แนะนำ�ของ คณะกรรมการเป็นผู้ประกาศกำ�หนด ข้อห้ามการตั้งครรภ์แทน 1) ห้ามดำ�เนินการให้มกี ารตัง้ ครรภ์แทนเพือ่ ประโยชน์ทางการค้า(หากฝ่าฝืนจำ�คุกไม่ เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท) 2) ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำ�การเป็นคนกลางหรือนายหน้า โดยเรียก รับ หรือยอมจะรับ ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด เพื่อเป็นการตอบแทนในการจัดการหรือชี้ช่องให้มีการตั้งครรภ์ แทน(หากฝ่าฝืนโทษจำ�คุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำ�ทั้งปรับ) 3) ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาหรือไขข่าวให้แพร่หลายด้วยวิธีการใดๆว่า หญิงที่ประสงค์จะ เป็นผู้รับตั้งครรภ์แทนผู้อื่น หรือมีบุคคลที่ประสงค์จะให้หญิงอื่นเป็นผู้รับตั้งครรภ์แทน ไม่ว่าจะ ได้กระทำ�เพื่อประโยชน์ทางการค้าหรือไม่ก็ตาม(หากฝ่าฝืนโทษจำ�คุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่ เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำ�ทั้งปรับ) การยุตก ิ ารตัง้ ครรภ์แทน ต้องกระทำ�โดยผูป้ ระกอบวิชาชีพเวชกรรมและได้ รับความยินยอมเป็นหนังสือจากสามีและภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายที่ประสงค์ให้มีการตั้งครรภ์ แทนและหญิงที่รับตั้งครรภ์แทนนั้น เว้นแต่ในกรณีหญิงที่รับตั้งครรภ์แทนไม่ยินยอมให้ถือว่า ข้อตกลงการตั้งครรภ์แทนเป็นอันยุติลง และหญิงที่รับตั้งครรภ์แทนนั้นไม่ต้องชดใช้ค่าใช้จ่าย ตามข้อตกลงดังกล่าว ความเป็นบิดาและมารดาของเด็กและการคุม ้ ครองเด็กทีเ่ กิด โดยอาศัยเทคโนโลยีชว่ ยการเจริญพันธุท ์ างการแพทย์ เด็กทีเ่ กิดโดยใช้ เทคโนโลยีชว่ ยการเจริญพันธุท์ างการแพทย์ไม่วา่ จะกระทำ�โดยการให้ภริยาทีช่ อบด้วยกฎหมาย ของสามีซงึ่ ประสงค์จะมีบตุ รเป็นผูต้ งั้ ครรภ์หรือให้มกี ารตัง้ ครรภ์แทนโดยหญิงอืน่ ให้เด็กนัน้ เป็น บุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีและภริยาทีช่ อบด้วยกฎหมายซึง่ ประสงค์จะมีบตุ ร แม้วา่ สามีหรือ ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งประสงค์จะมีบุตรถึงแก่ความตายก่อนเด็กเกิด ชายหรือหญิงทีบ่ ริจาคอสุจหิ รือไข่ซงึ่ นำ�มาใช้ปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนเพือ่ การตัง้ ครรภ์หรือ ผู้บริจาคตัวอ่อนและเด็กที่เกิดจากอสุจิ ไข่ หรือตัวอ่อนที่บริจาคดังกล่าว ไม่มีสิทธิและหน้าที่ ระหว่างกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยครอบครัวและมรดก ในกรณีที่สามีและภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งประสงค์ให้มีการตั้งครรภ์แทนถึงแก่ ความตายก่อนเด็กเกิด ให้หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนเป็นผู้ปกครองเด็กนั้นจนกว่าจะมีการตั้ง ผู้ปกครองขึ้นใหม่ โดยให้หญิงที่รับตั้งครรภ์แทน พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการ คุ้มครองเด็ก ผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการมีอำ�นาจร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้ปกครองได้ และ ในการตั้งผู้ปกครองดังกล่าวให้ศาลคำ�นึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของเด็กนั้นเป็นสำ�คัญ การรับรองการเกิดและการแจ้งการเกิด เมื่อหญิงที่รับตั้งครรภ์แทน จะไปฝากครรภ์หรือไปคลอดบุตรยังสถานพยาบาลใดให้น�ำ ข้อตกลงทีไ่ ด้ท�ำ ไว้ ไปแสดงต่อแพทย์ ผูร้ บั ฝากครรภ์หรือผูท้ จี่ ะทำ�คลอด ณ สถานพยาบาลแห่งนัน้ เพือ่ เป็นหลักฐานในการออกหนังสือ รับรองการเกิดและการแจ้งการเกิดของเด็กต่อไป ให้สามีและภริยาทีช่ อบด้วยกฎหมายซึง่ ประสงค์ให้มกี ารตัง้ ครรภ์แทนมีหน้าทีแ่ จ้งการ เกิดของเด็กที่เกิดจากการตั้งครรภ์แทนต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง ตามกฎหมายว่าด้วยการ ทะเบียนราษฎร ในกรณีสามีและภริยาทีช่ อบด้วยกฎหมายซึง่ ประสงค์ให้มกี ารตัง้ ครรภ์แทนถึงแก่ความ ตายก่อนเด็กเกิด ไม่อยู่ในประเทศไทย หรือไม่ปรากฏตัวภายหลังจากการคลอดเด็กนั้น ให้หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนมีหน้าที่แจ้งการเกิดของเด็กที่เกิดจากการตั้งครรภ์แทนดังกล่าว ห้ามมิให้สามีและภริยาทีช่ อบด้วยกฎหมายหรือสามีหรือภริยาทีช่ อบด้วยกฎหมายซึง่ ประสงค์จะมีบุตรโดยการตั้งครรภ์แทนปฏิเสธการรับเด็กที่เกิดจากการตั้งครรภ์แทนดังกล่าว (หากฝ่าฝืนโทษจำ�คุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำ�ทั้งปรับ )

การควบคุมการดำ�เนินการเกี่ยวกับ เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ 1) ห้ามมิให้ผใู้ ดซึง่ มิใช่ผปู้ ระกอบวิชาชีพเวชกรรมให้บริการเกีย่ วกับเทคโนโลยีชว่ ยการ เจริญพันธุ์ทางการแพทย์ รวมทั้งรับฝาก รับบริจาค ใช้ประโยชน์จากอสุจิ ไข่ หรือตัวอ่อนหรือ ทำ�ให้สนิ้ สภาพของตัวอ่อน (หากฝ่าฝืนโทษจำ�คุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือ ทั้งจำ�ทั้งปรับ ) 2)ห้ามมิให้ผใู้ ดสร้างตัวอ่อนเพือ่ ใช้ในกิจการใดๆเว้นแต่เพือ่ ใช้ในการบำ�บัดรักษาภาวะ การมีบตุ รยากของสามีและภริยาทีช่ อบด้วยกฎหมาย(หากฝ่าฝืนโทษจำ�คุกไม่เกินสามปีหรือปรับ ไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำ�ทั้งปรับ) 3) ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ประสงค์จะใช้ตัวอ่อนที่เหลือใช้จากการบำ�บัดรักษา ภาวะการมีบุตรยากของสามีและภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อการศึกษาวิจัยต้องได้รับอนุญาต จากคณะกรรมการ การศึกษาวิจยั ตัวอ่อนทีม่ อี ายุเกินกว่าสิบสีว่ นั นับแต่วนั ปฏิสนธิจะกระทำ�มิได้ การนับอายุของตัวอ่อนไม่นับรวมระยะเวลาในการแช่แข็งตัวอ่อน(หากฝ่าฝืนโทษจำ�คุกไม่เกิน สามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำ�ทั้งปรับ) 4) ห้ามมิให้ผใู้ ดดำ�เนินการใดๆ เพือ่ มุง่ หมายให้เกิดมนุษย์โดยวิธกี ารอืน่ นอกจากการ ปฏิสนธิระหว่างอสุจกิ บั ไข่ (หากฝ่าฝืนโทษจำ�คุกตัง้ แต่สามปีถงึ สิบปีและปรับตัง้ แต่หกหมืน่ บาท ถึงสองแสนบาท ) 5) ห้ามมิให้ผู้ใดนำ�อสุจิ ไข่ ตัวอ่อน หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของเซลล์ดังกล่าวใส่เข้าไป ในร่างกายของสัตว์ หรือนำ�เซลล์สบื พันธุข์ องสัตว์ เซลล์ทเี่ กิดจากการปฏิสนธิระหว่างเซลล์สบื พันธุ์ ของสัตว์ ใส่เข้าไปในร่างกายของมนุษย์ (หากฝ่าฝืนโทษจำ�คุกตัง้ แต่สามปีถงึ สิบปี และปรับตัง้ แต่ หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท) 6) ห้ามมิให้ผู้ใดสร้าง เก็บรักษา ขาย นำ�เข้า ส่งออก หรือใช้ประโยชน์ซึ่งตัวอ่อนที่มี สารพันธุกรรมของมนุษย์มากกว่าสองคนขึน้ ไป หรือตัวอ่อนทีม่ เี ซลล์หรือส่วนประกอบของเซลล์ มนุษย์กบั สิง่ มีชวี ติ สายพันธุอ์ นื่ รวมกันอยู่ (หากฝ่าฝืนโทษจำ�คุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึง่ แสนบาท หรือทั้งจำ�ทั้งปรับ) 7) ห้ามมิให้ผู้ใดซื้อ เสนอซื้อ ขาย นำ�เข้า หรือส่งออก ซึ่งอสุจิ ไข่ หรือตัวอ่อน(หาก ฝ่าฝืนโทษจำ�คุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำ�ทั้งปรับ) การให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธ์ทางการแพทย์กับสามีหรือภริยา ที่ชอบด้วยกฎหมาย หากเจ้าของอสุจิ ไข่ หรือตัวอ่อนที่ฝากไว้กับผู้รับฝากตายลง ห้ามนำ�อสุจิ ไข่ หรือตัวอ่อนดังกล่าวมาใช้ เว้นแต่มีการให้ความยินยอมเป็นหนังสือไว้ก่อนตาย และการใช้ อสุจิ หรือตัวอ่อนต้องใช้เพื่อบำ�บัดรักษาภาวะการมีบุตรยากของสามีหรือภริยาดังกล่าวที่ยังมี ชีวิตอยู่เท่านั้น (หากฝ่าฝืนโทษจำ�คุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำ�ทั้ง ปรับ) กฎหมายฉบับนี้กำ�หนดให้มีการควบคุม การฝ่าฝืนจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม โดยกำ�หนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมซึ่งเป็นผู้ให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วย การเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานในการให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยี ช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ ให้ถือว่ากระทำ�การฝ่าฝืนจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม และหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่แพทยสภาประกาศ กำ�หนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทาง การแพทย์.


8

ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 9 เดือนกันยายน 2558

คุยอุปกันายกฝ่ บ ายสวัสดิการ

สำ�นักงานสวัสดิการและสิทธิประโยชน์สภาทนายความ แจ้งผล การดำ�เนินงานการฌาปนกิจสงเคราะห์ทนายความ (ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2558)

กองบรรณาธิการ

ขอเชิญร่วมเข้าแข่งขัน

“แรลลี่สีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อม”

นายวิเชียร ชุบไธสง

ระหว่างวันที่ 7-8 พฤศจิกายน 2558

อุปนายกฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ฯ

ค่าสมัคร :

รุ่น VIP ทีมละ 10,000 บาท รุ่นทั่วไป ทีมละ 5,000 บาท

หากเพื่อนสมาชิกทนายความท่านใดสนใจ โครงการต่างๆ ของสำ�นักงานสวัสดิการ และสิทธิประโยชน์ฯ หรือมีข้อสงสัยประการใด สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด ได้ที่ คุณปาริชาต ภูศ่ รี, คุณสลิตา รัตนวรรณ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2629-1430 ต่อ 128, 083-040-8662 E-mail : sawatdegan.law@gmail.com ได้ทุกวันและเวลาทำ�การ.

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ : สำ�นักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมสภาทนายความ ผู้ประสานงาน คุณพิมพ์ฉวี วงษ์การค้า

โทรศัพท์​์ 02-627-1430 ต่อ 151 หรือ 02-2827719 โทรสาร 02-282-9906

ร่วมไว้อาลัย : เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2558 เวลา 19.00 น. : นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ พร้อมด้วย นายสุนทร พยัคฆ์ อุปนายกฝ่ายช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายสภาทนายความ พร้อมด้วยทนายความ และพนักงานสภาทนายความ ร่วมงานเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรมศพ คุณแม่ชิบ อมรเดโช มารดาของ นายสมนึก อมรเดโช อดีตกรรมการสอบสวนคดีมรรยาททนายความ ณ วัดพิชัยสงคราม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ.

ร่วมไว้อาลัย : เมือ่ วันที่ 13 สิงหาคม 2558 เวลา 19.30 น. : นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ พร้อมด้วย นายวิเชียร ชุบไธสง อุปนายกฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ฯ, นายสุนทร พยัคฆ์ อุปนายก ฝ่ายช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายฯ, คณะกรรมการฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ฯ, ทนายความ และ พนักงานสภาทนายความ ร่วมเป็นเจ้าภาพสวดอภิธรรมศพ นายสมชาย กุลบุญเรืองรัตน์ อดีตประธาน สภาทนายความจังหวัดธนบุรี พร้อมทัง้ มอบเงินช่วยเหลือสวัสดิการทนายความ ณ วัดบางประทุนนอก บางขุนเทียน กรุงเทพฯ

ร่วมไว้อาลัย : เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2558 เวลา 19.30 น. : นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ พร้อมด้วย นาย วิเชียร ชุบไธสง อุปนายกฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ฯ, นายสุวทิ ย์ เชยอุ บ ล อุ ป นายกฝ่ า ยปฏิ บั ติ ก ารสภาทนายความ, นายนิ ติ พั ฒ น์ พานทอง ประธานสภาทนายความจังหวัดสระแก้ว, คณะกรรมการฝ่าย สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ฯ, ทนายความ และพนักงานสภาทนายความ ร่วมเป็นเจ้าภาพสวดอภิธรรมศพ นางชวน พรหมประเสริฐ พี่สาว นายสุชาติ ชมกุล กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 1 ที่อำ�เภอ วังน้ำ�เย็น จังหวัดสระแก้ว.

อนุมัติเงินการศึกษาบุตร-ธิดาทนายความ : เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2558 เวลา 16.30 น. ที่ห้องประชุม 1 สภาทนายความ ถนนราชดำ�เนินกลาง กรุงเทพฯ : นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการกองทุนเพื่อการศึกษาบุตร-ธิดาทนายความ โดยมี นายวิเชียร ชุบไธสง อุปนายกฝ่ายสวัสดิการและสิทธิ ประโยชน์ฯ พร้อมด้วยกรรมการกองทุนฯ ร่วมประชุมเพื่อพิจารณาคำ�ขอรับเงินทุนการศึกษา ซึ่งที่ประชุมฯ พิจารณาอนุมัติ ทุนการศึกษาในระดับอนุบาลจนถึงระดับอุดมศึกษา จำ�นวน 50 ทุน รวมจำ�นวนเงินทั้งสิ้น 414,042 บาท.


ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 9 เดือนกันยายน 2558

9

สภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์

ขอเชิญร่วมทำ�บุญถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำ�ปี 2558

วัดไพรสณฑ์ศักดาราม พระอารามหลวง อำ�เภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2558 วัดไพรสณฑ์ศักดาราม เดิมมีนามว่า “วัดป่า” สร้างขึ้นเป้นวัดนับตั้งแต่ ประมาณ พ.ศ. 2382 สถานที่สร้างวัดเป็นไร่ฝ้ายตาสี โดยมีพระสุริยวงศาชนสงคราราม ภักดีวิริยกรมพาหะ (คง) เจ้าเมืองหล่มสัก คนแรกเป็นผู้สร้างขึ้นเป็นวัดคู่เมือง เพื่อใช้ เป็นที่ถือน้ำ�พิพัฒน์สัตยาสมัยที่ยังเป็นจังหวัดหล่มสัก ต่อมาวัดป่าได้เปลี่ยนนามเป็น “วัดอรัญญวาสี” บางแห่งเขียนเป็น “วัดอรัญญวาศรี” ในสมัยของเจ้าอาวาสรูปที่ 2 พระครูหลักคำ�ภู่ ครั้นถึงสมัยของเจ้าอาวาสรูปที่ 16 ได้เปลี่ยนเป็น “วัดป่าหล่มสัก” ประมาณ พ.ศ.2484 ต่อมาถึง พ.ศ. 2495 จึงได้เปลีย่ นนามอีกครัง้ หนึง่ เป็นครัง้ สุดท้าย ร่วมบุญบูรณะพระอุโบสถวัดไพรสณฑ์ศกั ดาราม มีนามว่า “วัดไพรสณฑ์ศักดาราม” พ.ศ.2495 และใช้มาจนตราบเท่าทุกวันนี้ วัดไพร ซึง่ ปัจจุบนั หลังคาพระอุโบสถชำ�รุดทรุดโทรมมาก สณฑ์ศักดาราม ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งหลังวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2504 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร ได้ผูกพัทธสีมาวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2508 มีพระภิกษุอยู่จำ�พรรษาปีละประมาณ 40 รูป สามเณรกว่า 100 รูป เนื่องจากเป็นสำ�นักเรียนปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและบาลีที่เจริญรุ่งเรืองมากวัดหนึ่ง ประกอบ กับเป็นวัดที่มีเกียรติและความสำ�คัญคู่เมืองหล่มสักมาแต่เดิม จึงได้รับการสถาปนาเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ นับตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2522 ตามประกาศ กระทรวงศึกษาธิการลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ.2522 มี พระปริยัติพัชราภรณ์ เป็นเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน

สามารถร่วมบุญโดย : โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด (มหาชน) สาขาสะพานผ่านฟ้า ชื่อบัญชี สภาทนายความ (กฐินพระราชทาน)

บัญชีเลขที่

169-0-64814-0 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2629-1430 ต่อ 134, 117

คุยกับ นายทะเบียน เรียน เพื่อนทนายความทุกท่าน ตามทีเ่ มือ่ ระหว่างวันที่ 2-6 กันยายน 2558 สภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยท่านเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ คณะ ผู้บริหารสภาทนายความ และทนายความ รวมจำ�นวน 25 ท่าน ได้ร่วมเดินทางไปติดตามความร่วมมือทางวิชาการกับ Daichi Tokyo Bar Association, ดูงานศาลยุตธิ รรมและระบบโนตารี พลับบลิค ณ กรุงโตเกียว ประเทศญีป่ นุ่ ซึง่ ดิฉนั ได้รว่ มเดินทางไปศึกษาดูงานในครัง้ นีด้ ว้ ยซึง่ มีประโยชน์ กับวิชาชีพทนายความอย่างยิ่งจึงขอเล่าประสบการณ์และความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาดูงานให้เพื่อนทนายความทุกท่านทราบ ดังนี้ วันแรกที่เดินทางไปถึงประเทศญี่ปุ่น คณะสภาทนายความฯ ได้ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนความเห็นทางวิชาการเป็นภาษาอังกฤษในหัวข้อ เรื่อง “กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในประเทศไทยและสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร” บรรยายโดยท่านเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายก สภาทนายความ, หัวข้อเรื่อง “กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว” บรรยายโดยท่านดร.สุธรรม วลัยเสถียร และหัวข้อเรื่อง นางสาวอรอนงค์ เทศะบำ�รุง “กฎหมายแรงงาน” บรรยายโดยคุณแอน พลอยส่องแสง โดยได้รับความสนใจอย่างยิ่งมีการสอบถามทางวิชาการจากทนายความญี่ปุ่น นายทะเบียนสภาทนายความ หลังจากนั้นได้เข้าเยี่ยมชมสหภาพสภาทนายความญี่ปุ่น วันที่สอง คณะสภาทนายความฯ ได้เดินทางไปเยี่ยมชมสำ�นักงานบริหารกระทรวงยุติธรรมของญี่ปุ่น หลังจากนั้นเข้ารับฟังการบรรยาย พิเศษ เรื่อง โนตารีพลับบลิค บรรยายโดยโนตารีพลับ บลิคอาวุโสของญี่ปุ่น รวมทั้งเข้าเยี่ยมชมสำ�นักงานโนตารีพลับบลิคของญี่ปุ่นด้วย วันที่สาม คณะสภาทนายความฯ เข้าเยี่ยมชมโครงสร้างบริหารงานของศาลาว่าการกรุงโตเกียว หรือ Tokyo Metropolitan Government Buildings (TMG Buildings) ซึ่งเป็น ที่ตั้งของสำ�นักงานสำ�คัญๆ ของกรุงโตเกียวกว่า 30 สำ�นักงาน ทั้งนี้ การไปศึกษาดูงานของคณะสภาทนายความฯ ดังกล่าวเป็นความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการ ระหว่าง สภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กับ Daichi Tokyo Bar Association ทำ�ให้คณะสภาทนายความฯ ทุกท่านได้รับประสบการณ์ ความรู้ ความประทับใจมากมาย ซึ่งจำ�เป็นสำ�หรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยนของไทย ในปลายปีนี้ โดยหากสภาทนายความฯ มีกำ�หนดการไปศึกษาดูงานที่ใด ดิฉันจะแจ้งให้เพื่อนทนายความที่มีความสนใจทราบในโอกาสต่อไป สุดท้ายนี้ ดิฉันขอขอบคุณคณะสภาทนายความฯ ทุกท่าน โดยเฉพาะเพื่อนทนายความที่มาจากที่ต่างๆ ซึ่งเสียสละเวลาและกำ�ลังทรัพย์ของทุกท่านเพื่อไปศึกษาดูงานในครั้งนี้.

ที่ปรึกษาประจำ�กองบรรณาธิการ :

นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์, นายสัก กอแสงเรือง, นายบำ�รุง ตันจิตติวัฒน์, นายเจษฎา อนุจารี, นายสุชาติ ธรรมาพิทักษ์กุล, นายพูนศักดิ์ บุญชู, ดร.สุธรรม วลัยเสถียร, นายสุมิตร มาศรังสรรค์, นางสาวอรอนงค์ เทศะบำ�รุง, นายธีรศักดิ์ วิชชุตานนท์, ผศ.ว่าที่ร้อยตรี ดร.สุรพล สินธุนาวา, นายชวน คงเพชร, นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์, นายวิเชียร ชุบไธสง, นายชลิต ขวัญแก้ว, นายสุรศักดิ์ รอนใหม่, นายพิเชษฐ คูหาทอง, นายอาสา เม่นแย้ม, นายผาติ หอกิตติกุล, นายวิทยา แก้วไทรหงวน, นายวันรัฐ นาคสุวรรณ, นายโอฬาร กุลวิจิตร

บรรณาธิการ : นายนิวัติ แก้วล้วน กองบรรณาธิการ : นายสุนทร พยัคฆ์, นายสุวทิ ย์

เชยอุบล, ดร.เกียรติศกั ดิ์ วรวิทย์รตั นกุล, นายไสว จิตเพียร, นายศุภกิจ หล่อพัฒนากูร, นายสุชาติ ชมกุล, นายสุรนิ ทร์ ทาซ้าย, นายวิบลู ย์ นาคทับทิม, ว่าทีร่ อ้ ยตรี สมชาย อามีน, นายคราศรี ลอยทอง, นายโอวาท จุลโคตร, นายเจษฎา คงรอด, นายสัมฤทธิ์ เชือ้ สาวถี, นายดนัย พุม่ เล็ก, นางสาวชืน่ ชนก วชิรธาราธาดร, ดร. วิเศษ แสงกาญจนวนิช, นางสาวนงลักษณ์ แตงเจริญ ผู้ช่วยกองบรรณาธิการ : นางสาวนัทธมน จันดี, นายนพดล คงคาสัย, นายไพศาล แก่ฉมิ

• ผลิตโดย สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ เลขที่ 7/89 อาคาร 10 ถนนราชดำ�เนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ : 0-2629-1430 ต่อ 129, 146 โทรสาร : 0-2282-9908


10

มุมกิจกรรม

ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 9 เดือนกันยายน 2558

เก็บตกบรรยากาศวันรพี ประจำ�ปี 2558 จากภูมิภาคต่างๆ ภาค 1

ภาค 3

ภาค 6

ภาค 8

สภาทนายความจังหวัดชัยบาดาล

สภาทนายความจังหวัดลพบุรี

สภาทนายความจังหวัดศรีสะเกษ

ภาค 4

สภาทนายความจังหวัดระยอง

ภาค 2

สภาทนายความจังหวัดร้อยเอ็ด

ภาค 5

สภาทนายความ จ.เชียงใหม่

สภาทนายความจังหวัดพิษณุโลก

สภาทนายความจังหวัดหล่มสัก

สภาทนายความจังหวัดอุตรดิตถ์

สภาทนายความจังหวัดแม่สอด

สภาทนายความ จ.สุพรรณบุรี

สภาทนายความจังหวัดเพชรบุรี

สภาทนายความจังหวัดตะกั่วป่า

ภาค 7

ภาค 9

สภาทนายความจังหวัดสตูล

สภาทนายความภาค 9

สภาทนายความจังหวัดปัตตานี

สภาทนายความจังหวัดพัทลุง


มุมกิจกรรม

ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 9 เดือนกันยายน 2558

11

ลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : เมือ่ วันที่ 17 กันยายน 2558 เวลา 13.30 น. ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง : นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ นำ�คณะกรรมการบริหารสภาทนายความ ทูลเกล้าฯ ถวายแจกันดอกไม้ พร้อมทั้งร่วมลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอให้ พระองค์ทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง และหายจากพระอาการ ประชวรโดยเร็ว.

12 สิงหา มหาราชินี ประจำ�ปี 2558 : เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2558 เวลา 19.29 น. : นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ พร้อมด้วย นางสาวแอน พลอย ส่องแสง เลขานุการนายกสภาทนายความ, ทนายความ และพนักงาน สภาทนายความ ร่วมพิธีวางพานพุ่มและจุดเทียนชัยถวายพระพร ชัยมงคลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องใน โอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนม์พรรษา 83 พรรษา ณ มณฑลพิธี ท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร. เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมาย 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ : เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2558 เวลา 9.45 น. ที่โรงแรมตันหยง จังหวัดนราธิวาส : นายธีรศักดิ์ วิชชุตานนท์ กรรมการฝ่ายช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายฯ เป็นผู้แทนนายกสภาทนายความ กล่าว เปิดการอบรมโครงการอบรมเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิและความเสมอภาคของ ประชาชนให้เข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งสภาทนายความฯ ร่วมกับ ศูนย์นิติธรรม สมานฉันท์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดขึน้ โดย นายโอฬาร กุลวิจติ ร กรรมการบริหารสภาทนายความ ภาค9 ในฐานะประธานศูนย์นิติธรรมสมานฉันท์ 3 จังหวัดภาคใต้ กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการฯ และ นายเชี่ยวชาญ โชติบัณฑ์ ประธานสภาทนายความจังหวัดนราธิวาส กล่าวต้อนรับผู้เข้าอบรมซึ่งมี ทั้งสมาชิกทนายความ ผู้นำ�ชุมชน ผู้นำ�ศาสนา และประชาชนทั่วไป จำ�นวนกว่า 250 คน.

วิทยากรพิเศษ : 27 สิงหาคม 2558 : นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในหัวข้อ “การบังคับคดีตามคำ�พิพากษาของ ศาลต่างประเทศในเรื่องทางแพ่งและพาณิชย์ระหว่างกันในประเทศกลุ่ม อาเซียนในมุมมองของท่าน” ซึง่ จัดขึน้ ในงานสัมมนารับฟังความคิดเห็นเรือ่ ง “การบังคับคดีตามคำ�พิพากษาของศาลต่างประเทศในเรื่องทางแพ่งและ พาณิชย์ระหว่างกันในประเทศกลุ่มอาเซียน” โดยสำ�นักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายสถาบันกฎหมายอาญา สำ�นักงานวิชาการ สำ�นักงานอัยการสูงสุด ร่วมกับศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันจัดขึ้น ณ ห้องแปซิฟิก 1-2 โรงแรม เดอะไทด์ รีสอร์ท บางแสน จังหวัดชลบุรี.


12

บ้านของเรา

ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 9 เดือนกันยายน 2558

ความคืบหน้าการก่อสร้างอาคารที่ทำ�การสภาทนายความ ภาพความคืบหน้าการก่อสร้างอาคารทีท่ ำ�การสภาทนายความ ณ วันที่ 15 กันยายน 2558 :

เมือ่ วันที่ 20 สิงหาคม 2558 : นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ รับมอบเงิน บริจาคสมทบกองทุนการจัดสร้างอาคารทีท่ �ำ การ สภาทนายความ จาก นายเกรียงศักดิ์ ภูษติ ชัย สกุล ทนายความ โดยมี นายสุวิทย์ เชยอุบล อุปนายกฝ่ายปฏิบตั กิ ารฯ เป็นผูแ้ ทนในการมอบ เงินจำ�นวน 50,000 บาท ณ ห้องประชุมประธาน ดวงรัตน์ สภาทนายความ ถนนราชดำ�เนินกลาง กรุงเทพฯ.

ขอขอบคุณผู้ให้ยืม-บริจาคเงินสมทบกองทุนจัดซื้อที่ดินและก่อสร้างที่ทำ�การสภาทนายความ รายนามผู้บริจาคเงินสมทบกองทุนจัดซื้อที่ดินและ ก่อสร้างที่ทำ�การสภาทนายความ ดังนี้

ปี 2550 :

นางสาวปัญจพร โกศลกิติวงศ์ 3,000 บาท, พ.ต.อ.วิรัตน์ จีนะวิจารณะ 1,500 บาท , นายเจษฎา อนุจารี 1,300 บาท, นายเจริญ สมสุข 1,000 บาท, นายอมร ธีระสุต 300 บาท, นายฉัตรประพล แย้มเพริศศรี 50 บาท, นายอกนิษฐ์ แก้วพรสวรรค์ 100,000 บาท, นายสมชัย ทรัพยวณิช 10,000 บาท, นายเกียรติชัย อุดมธนสาร 5,000 บาท, นายภูมินทร์ พานิชวงศ์ 5,000 บาท, นายวีระ แสงเนตร 5,000 บาท, สภาทนายความจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 5,000 บาท, นายโอฬาร กุลวิจิตร 5,000 บาท, นายวศิน – นางสิริกร อุชุวาสิน 5,000 บาท, นายเกรียงศักดิ์ เตชนันท์ 2,000 บาท, นายปรีชา ไกรวรรณา 2,000 บาท, นายวิเชษฐ์ รัตนะ 2,000 บาท, นายเรืองชัย จงสงวน 2,000 บาท, นายมลุน ศรีศาลา 1,000 บาท, นางอนงค์พร ธนชัยอารีย์ 1,000 บาท, นายตระกูล มณีวงษ์ 1,000 บาท, นายบริพัฒน์ ภู่วราวุฒิพานิช 500 บาท, นายฐากร สุวรรณเวช 100 บาท, นายสิทธิโชค ศรีเจริญ 20,000 บาท, นายสรัลชา ศรีชลวัฒนา 10,000 บาท, นายพิทักษ์ สมนึก 10,000 บาท, นายสำ�ราญ รุเชียรชัย 10,000 บาท. ติดตามต่อได้ในฉบับหน้า...

สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ

ËÇÁÊ‹§ÀÒ¾¢‹ÒÇ-º·¤ÇÒÁÁÒŧà¼Âá¾Ã‹ ไดที่ ¡Í§ºÃóҸԡÒÃ˹ѧÊ×;ÔÁ¾ ¢‹ÒÇÊÀÒ·¹Ò¤ÇÒÁ àÅ¢·Õè 7/89 ÍÒ¤Òà 10 ¶.ÃÒª´Óà¹Ô¹¡ÅÒ§ á¢Ç§ºÇùÔàÇÈ à¢µ¾Ãй¤Ã ¡ÃØ§à·¾Ï 10200

â·ÃÈѾ· 0-2629-1430 µ‹Í 129, 146 â·ÃÊÒà 0-2282-9908

Facebook : ÊÀÒ·¹Ò¤ÇÒÁã¹¾ÃкÃÁÃÒªÙ»¶ÑÁÀ

E-mail : lctnews2013@gmail.com

เลขที่ 7/89 อาคาร 10 ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท 0-2629-1430 ตอ 129, 146 โทรสาร 0-2282-9908

ชำระคาฝากสงเปนรายเดือน ใบอนุญาตเลขที่ พ.211/2547

ปณ.ราชดำเนิน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.