ปีที่ 3 ฉบับที่ 12 เดือนธันวาคม 2558
2
ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 12 เดือนธันวาคม 2558
สภาทนายความ
ร่วมถวายเครื่องราชสักการะ และจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล 5 ธันวามหาราช ประจำ�ปี 2558 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง
วันมหาธีรราชเจ้า ประจำ�ปี 2558 : ทค.เดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความฯ พร้อมด้วยกรรมการ บริหารสภาทนายความและพนักงานสภาทนายความ ร่วมวางพวงมาลา ถวายสักการะพระบรมราชานุสาวรียพ์ ระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั (ท่านราม ณ กรุงเทพ “พระราชบิดาแห่งวิชาชีพทนายความ”) เนื่อง ในวันมหาธีรราชเจ้า ประจำ�ปี 2558 ณ อาคารเนติบณ ั ฑิตยสภา ถนนกาญจนา ภิเษก กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2558.
๕ ธันวาคมของทุกปี
อันเป็นวันที่พี่น้องชาวไทยได้ แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อ “พ่อของแผ่นดิน” ทุกผู้ทุกคนต่าง ทำ�ความดีเพื่อถวายพระองค์ท่าน ขอพระองค์ท่าน “ทรงพรเจริญยิ่ง ยืนนาน”
ในอีกบริบทหนึง่ ของการทำ�งานให้สภาทนายความโดยการนำ�ของ ทค.เดชอุดม ไกรฤทธิ์ ด้วยความมุ่งมั่นที่ได้สร้างศักยภาพในการประกอบ วิชาชีพทนายความให้เป็นที่ยอมรับของภาคส่วนอื่นๆ โดยการเปิดกว้าง มากขึ้น ด้วยการสร้างงานด้านวิชาการได้กว้างไกล และการก่อสร้างที่ทำ�การอันจะ เป็น “เอกองค์หนึ่ง” ของการแสดงถึงสถานภาพอันเป็นที่ยอมรับจากภายนอกยิ่งขึ้น อันได้เป็นเป้าหมายที่คณะ กรรมการบริหารชุดนีไ้ ด้เสนอเป็นข้อพันธะสัญญากับเพือ่ นพีน่ อ้ งทนายความในการขอคะแนนเสียงเพือ่ เข้ามาบริหาร องค์กรวิชาชีพทนายความอันทรงเกียรติยิ่งนี้ และเราท่านก็ได้เห็นถึงผลของการทำ�งานนี้ด้วยดียิ่งแล้ว
ในวิธีคิดต่างเห็นต่างของเพื่อนพี่น้องทนายความอันเกี่ยวกับการขอแก้ไขพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. .... นั้น ที่มีการโต้แย้งในเชิงหลักการในเนื้อหาของร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวหลายประเด็นนั้น ฝ่าย บริหารก็ได้ชี้แจงถึงความเห็นต่างถึงประธานสภาทนายความจังหวัดเป็นหนังสือโดยยึดหลักการบริหารองค์กร โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และในภาคส่วนที่มีทนายความสอบถามเป็นหนังสือไปที่สภาทนายความ ส่วนงานที่รับผิดชอบก็ได้ตอบชี้แจงเป็นหนังสือดั่งเดียวกัน แต่ก็อาจยังมีความเห็นต่างอยู่ เราท่านก็ต้อง ทำ�ความเข้าใจต่อกันโดยยึดหลัก “แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง” เพื่อหาข้อยุติที่เป็นผลดีอันเป็นประโยชน์ยิ่ง ต่อองค์กรวิชาชีพทนายความของเราท่าน และข่าวสภาทนายความที่อยู่ในมือของท่านนี้จึงเสนอความเป็นมา และการที่ต้องพัฒนาให้เป็นไปอันเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติทนายความดังกล่าว และกรรมการบริหารขอยืนยัน ว่า ”ด้วยหลักการบัญญัติกฎหมายพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. .... ต้องกลับมาทำ�ความเห็นร่วมโดยการ ทำ�ประชาพิจารณ์จากเพื่อนพี่น้องทนายความก่อนจะนำ�เสนอคณะรัฐมนตรีร้อยเปอร์เซนต์ครับท่าน”
จะด้วยวิธคี ดิ หรือมุมมองใด ข่าวสภาทนายความทีอ่ ยูใ่ นมือของท่านเป็นของท่าน กองบรรณาธิการ ก็ยังหวังในคำ�แนะนำ�และการติชมเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขที่ต้องพัฒนาให้ข่าวสภาทนายความดียิ่งๆ ขึ้น “เราท่านจะเป็นส่วนหนึ่งของเราเพื่อการพัฒนาวิชาชีพทนายความ เพื่อประโยชน์ท่านและประโยชน์ตนต่อไป”
นิวัติ แก้วล้วน บรรณาธิการบริหาร
เ ยี่ ย ม ช ม อ า ค า ร ที่ทำ�การใหม่ : เมือ่ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2558 เวลา 10.00 น. คณะกรรมการ บริหารสภาทนายความ โดย ทค.ชลิต ขวัญแก้ว กรรมการ บริหารสภาทนายความภาค 2, ทค.อาสา เม่นแย้ม กรรมการ บริหารสภาทนายความภาค 5 และ ทค.ผาติ หอกิตติกุล กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 6 นำ�คณะ ประธานสภาทนายความจังหวัดในภาค 2 (ชลบุรี, กบินทร์บุรี, ฉะเชิงเทรา, นครนายก) และคณะประธานสภาทนายความจังหวัดในภาค 5 (เชียงใหม่, น่าน, พะเยา, ลำ�พูน) เยีย่ มชมความคืบหน้าโครงการก่อสร้างอาคารทีท่ ำ�การ สภาทนายความแห่งใหม่ ที่ถนนพหลโยธิน บางเขน กรุงเทพฯ
ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 12 เดือนธันวาคม 2558
3
อดีต-ปัจจุบัน การเสนอ
ร่างพระราชบัญญัติทนายความ (ฉบับที่..) พ.ศ. ....
1
วันที่ 1 ธันวาคม 2544 สภาทนายความจัดสัมมนาประธานสภาทนายความจังหวัด เรือ่ ง “ร่างแก้ไขพระราชบัญญัตทิ นายความ พ.ศ.2528” ณ ห้องปิน่ เกล้า โรงแรมรอยัลซิตี้ กรุงเทพมหานคร ผลการประชุมสัมมนายังไม่มขี อ้ ยุตทิ แี่ น่นอน นายกสภาทนายความ จึงเสนอให้ประธานสภาทนายความจังหวัดทุกจังหวัดส่งความเห็นมายังฝ่ายวิชาการ ภายในสิ้นปี 2544 แต่ปรากฏว่าไม่มีการเสนอ ความเห็นจากประธานสภาทนายความจังหวัดมายังฝ่ายวิชาการ แต่อย่างใด
2 3
4 6 7 8 9
วันที่ 27 มีนาคม 2547 สภาทนายความ ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติทนายความ (ฉบับที่ .. ) พ.ศ. .... (ร่างฉบับที่ 1) ต่อรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงยุตธิ รรม เพือ่ พิจารณาโดยกระทรวงยุตธิ รรม ได้มหี นังสือที่ ยธ.0207/03832 ลงวันที่ 30 เมษายน 2547 ให้สภาทนายความ ดำ�เนินการพิจารณาร่างกฎหมายให้ถูกต้องครบถ้วนตามขั้นตอนทุกกระบวนการ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2547 สภาทนายความได้ทำ�หนังสือขอความเห็นจากหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวข้อง จำ�นวน 16 หน่วยงาน ส่วนงานที่เสนอความเห็นตอบกลับมาจำ�นวน 5 หน่วยงาน ดังนี้ 1) ปลัดกระทรวงแรงงาน 2) อธิบดีกรมราชทัณฑ์ 3) ปลัดกระทรวงมหาดไทย 4) อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ 5) เลขาธิการสำ�นักงานศาลยุติธรรม
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2549 สภาทนายความได้จัดประชุม Focus Group พิจารณาร่างพระราชบัญญัตทิ นายความ (ฉบับที.่ .) พ.ศ. .... ณ อิมแพคเมืองทอง ธานี จังหวัดนนทบุรี
5
วันที่ 25 เมษายน 2550 สภาทนายความ ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติทนายความ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
วันที่ 7 กรกฎาคม 2553 สภาทนายความ ได้สง่ ร่างพระราชบัญญัตทิ นายความ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... นำ�เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
วันที่ 20 มกราคม 2555 สภาทนายความ เสนอร่าง พระราชบัญญัตทิ นายความ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... นำ�เสนอ ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม วันที่ 5 มีนาคม 2558 สภาทนายความ ร่างพระราชบัญญัติทนายความ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... นำ � เสนอต่ อ รั ฐ มนตรี ว่ า การ กระทรวงยุติธรรม วันที่ 23 มิถุนายน 2558 กระทรวง ยุ ติ ธ รรมเสนอข้ อ สั ง เกต ร่ า งพระราช บัญญัติทนายความ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ให้สภาทนายความพิจารณา
จะเห็นได้ว่าร่างฉบับวันที่ 7 กรกฎาคม 2553, ฉบับวันที่ 20 มกราคม 2555 และฉบับวันที่ 5 มีนาคม 2558 ก็มีหลักการและ ที่มาอย่างเดียวกันกับฉบับวันที่ 27 มีนาคม 2547 และฉบับวันที่ 25 เมษายน 2550 ซึ่งผ่านการสัมมนาและเสนอความเห็นของสมาชิก สภาทนายความและประธานสภาทนายความจังหวัดมาแล้ว โดยร่างพระราชบัญญัติทนายความทั้งหมดกระทรวงยุติธรรมยังไม่เคย เห็นชอบเลย ส่วนร่างฉบับที่จะเสนอให้สมาชิกสภาทนายความพิจารณาประชาพิจารณ์ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะทำ�งาน ของกระทรวงยุติธรรมนั้น ท่านปลัดกระทรวงยุติธรรม (พล.ต.อ. ชัชวาลย์ สุขสมจิตร) ในขณะนั้นได้ชี้แจงขั้นตอนไว้แล้วว่าจะให้มีการ สอบถามความเห็นของทุกฝ่ายทีเ่ กีย่ วข้องเหมือนเช่นในปี 2547 และเพือ่ ไม่ให้สบั สนว่าข้อความในร่างจะเป็นอย่างไร จึงขอเพือ่ นสมาชิก สภาทนายความอดใจรอดูร่างที่คณะทำ�งานฯ ได้ทำ�เสร็จแล้ว ซึ่งจะเสนอเพื่อการวิพากษ์ของทุกท่านได้อย่างแน่นอน ก่อนที่จะนำ�เสนอ ตามขั้นตอนของการออกกฎหมายต่อไป
2544 2547
2549 2550 2553 2555
2558
4
ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 12 เดือนธันวาคม 2558
วิชาชีพทนายความและวิชาชีพสาขาอืน ่ ๆ
กับการเปิดเสรีธุรกิจบริการ
โดย : สถาบันวิจัยและพัฒนากฎหมาย สภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์
สถาบันวิจยั และพัฒนากฎหมาย สภาทนายความ เห็นว่าเพือ่ ประโยชน์และความเข้าใจอันดีรว่ มกันของผูบ้ ริหารและสมาชิกสภา ทนายความ เกีย่ วกับดำ�ริทม่ี กี ารเสนอให้มกี ารแก้ไขเพิม่ เติมพระราชบัญญัตทิ นายความ พ.ศ.2528 และมีประเด็นปัญหาทีเ่ พือ่ นสมาชิก ได้ขอความกระจ่างในหลายประเด็น สถาบันวิจยั และพัฒนากฎหมายฯ จึงขอสรุปประวัตกิ ารประกอบวิชาชีพทนายความย้อนหลังไปก่อน มีการประกาศใช้ประกาศของคณะปฏิวตั ฉิ บับที่ 322 พ.ศ.2515 เรือ่ งการห้ามคนต่างด้าวในการอนุญาตในหลายสาขาอาชีพ จนมาถึง การเปิดเสรีการค้าและบริการในบริบทของตามข้อผูกพันและในนโยบายขององค์การการค้าโลก (WTO) ความตกลงทวิภาคีในกรอบของ การค้าเสรี (FTA) ทีท่ �ำ กับบางประเทศกรอบของความตกลงเกีย่ วกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และการบังคับใช้กฎหมาย 301 ของประเทศสหรัฐอเมริกากับประเทศคูค่ า้ ในรอบหลายปีทผ่ี า่ นมาจนถึงปัจจุบนั ตอนที่ 1 : ประวัติวิชาชีพทนายความและวิชาชีพสาขาอื่นๆ ก่อนมีกฎหมายควบคุมอาชีพคนต่างด้าว เมื่อ 13 ธันวาคม 2515
ตัวอย่างความร่วมมือระหว่างสภาวิชาชีพในการโต้แย้งกับการร่างกฎหมายของรัฐบาล
ในบรรดากฎหมายที่เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพอิสระซึ่งรวมถึง วิชาชีพทนายความด้วยนั้น ก่อนปี 2535 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศไทยได้ลงนาม ให้สตั ยาบันเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (World Trade Organization – WTO) ทุกวิชาชีพในขณะนั้นจะเปิดกว้างเกือบทั้งหมด มีการกำ�หนดเรื่อง สั ญ ชาติ เ ป็ น เงื่ อ นไขในการขอรับใบอนุญาต เว้นแต่วิชาชี พ แพทย์ ต าม พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ที่ไม่มีข้อกำ�หนดเรื่องสัญชาติ เป็นเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาตเพียงวิชาชีพเดียว แต่หลังจากที่ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกของ WTO และต่อมา ได้ลงนามผูกพันในการเปิดเสรีการค้าและบริการของประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน (AEC) ประเทศไทยโดยรัฐบาลทุกรัฐบาลที่ผ่านมาก็จะต้องตอบ คำ�ถามถึงความพร้อมในการเปิดเสรีการค้าและบริการตลอดมา สำ �หรับ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกสาขาก็ได้มีการรวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนและหารือ จุดยืนของสภาวิชาชีพเกีย่ วกับร่างกฎหมายทีจ่ ะเสนอรัฐบาล ซึง่ สภาวิชาชีพ บัญชี วิศวกรรม สถาปัตยกรรม แพทย์ และทนายความ ยังคงปฏิบตั ิ ตามเงื่อนไขที่ต้องมีสัญชาติไทยตลอดมาจนถึงปัจจุบันไม่ได้มีการ เปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ดี ทุกรัฐบาลทีผ่ า่ นมาจะพิจารณาเรือ่ งนีก้ ต็ อ่ เมือ่ ใกล้เวลา ที่ต้องตอบคำ�ถามของประเทศคู่ค้าในเวทีการเจรจาทุกรอบ ซึ่งปกติหน่วย งานของราชการจะขอหารือมายังสภาวิชาชีพทุกสภา เพือ่ ขอให้ให้ความเห็น หรือข้อสังเกตต่อกระบวนการเจรจาทางการค้าและบริการของรัฐบาล ซึ่งใน รายงานฉบับนีจ้ ะยกตัวอย่างของสภาทนายความทีไ่ ด้ตอบและให้ความเห็น ต่อรัฐบาลทุกครั้งอย่างสม่ำ�เสมอตลอดมา กรณีการให้มีการเปิดเสรีบริการ ในสาขาวิชาชีพทนายความโดยไม่มเี งือ่ นไขเลยนัน้ ไม่ถกู ต้อง ในทางตรงกัน ข้ามสภาทนายความได้ขอขยายคำ�นิยามคำ�ว่า “ทนายความ” ให้รวมถึงการ ให้บริการที่ปรึกษากฎหมายซึ่งถือเป็นบริการวิชาชีพที่มีคุณค่าสูงที่สุดที่ทุก ประเทศอยากจะให้มีการเปิดเสรีและบริการที่ปรึกษากฎหมายนี้เองที่ได้ สร้างความทรงจำ�ให้กับผู้ร่างกฎหมายพระราชบัญญัติทนายความไว้เป็น อย่างดีวา่ เราได้ถกู ตัดคำ�นีอ้ อกไปจากการยกร่างของรัฐบาลในปี พ.ศ. 2528 ตามที่ได้ยกร่างเสนอไว้แล้วตั้งแต่ปี 2517 เป็นต้นมา ซึ่งมีรายละเอียดอยู่ใน ตอนที่ 2 ที่จะกล่าวต่อไปนี้
ฯลฯ
ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 12 เดือนธันวาคม 2558
5
ตอนที่ 2 : วิชาชีพทนายความก่อนปี พ.ศ. 2528
ตอนที่ 3 : พระราชบัญญัตทิ นายความ พ.ศ. 2528 และข้อทีถ่ กู จำ�กัด
วิชาชีพทนายความก่อนจะมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติทนายความเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2528 เป็นวิชาชีพทีจ่ �ำ กัดอยูเ่ ฉพาะผูท้ เี่ ป็นสามัญและวิสามัญสมาชิกและภาคีสมาชิกของ เนติบัณฑิตยสภา ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทนายความชั้น 1 ชั้น 2 ตามบทบัญญัติและข้อ บังคับที่ออกตามพระราชบัญญัติเนติบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2507 ตลอดมา แต่คำ�ว่า “ทนายความ” นัน้ ไม่รวมถึงการให้ค�ำ ปรึกษากฎหมาย คงถูกจำ�กัดกรอบอยูเ่ ฉพาะเรือ่ งของการว่าความ เป็น ตัวแทนของตัวความในการว่าต่างแก้ต่างในคดีพิพาทในศาลยุติธรรม และเป็นบุคคลสัญชาติไทย
หลังจากปี พ.ศ. 2515 ทีม่ กี ารใช้กฎหมายควบคุมการทำ�งานของคนต่างด้าว ตลอดมาจนถึงมีการแก้ไขพระราชบัญญัติเป็นพระราชบัญญัติควบคุมการทำ�งานของ คนต่างด้าว พ.ศ. 2522 และ พ.ศ. 2542 ตามลำ�ดับ หลักการการเป็นทีป่ รึกษากฎหมาย ก็ไม่ได้รับอนุญาตจากสำ�นักบริการแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน กรมแรงงาน กระทรวงแรงงาน และทางกรมฯ ก็ได้เคยสอบถามไปยังสภาทนายความหลัง พ.ศ. 2528 ทีม่ กี ารจัดตัง้ สภาทนายความขึน้ แล้วว่าพระราชบัญญัตทิ นายความควบคุมวิชาชีพ ที่ปรึกษากฎหมายด้วยหรือไม่ ซึ่งแน่นอนพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 คือ ฉบับปัจจุบันไม่ได้มีคำ�นิยามรวมครอบคลุมถึง “ที่ปรึกษากฎหมาย” ด้วย เพราะตัว ร่างพระราชบัญญัติทนายความทั้ง 3 ฉบับก่อนที่จะยุติในปี 2528 เราจำ�ต้องตัดคำ�ว่า “ทีป่ รึกษากฎหมายและพนักงานโนตารีพบั ลิค” ออกไป ก็ดว้ ยกระทรวงยุตธิ รรม เจ้าของร่างในขณะนั้นเห็นควรที่จะให้อยู่จำ�กัดแต่เฉพาะเรื่องของการว่าความเท่านั้น เรื่องนี้ต่างจากความเห็นของทนายความอาวุโสที่ยกร่างพระราชบัญญัติ ทนายความ พ.ศ. 2528 และฉบับก่อนหน้านั้น แต่ก็ไม่มีทางเลือกมากเพราะ ความต้องการที่จะเป็นอิสระจากเนติบัณฑิตยสภานั้นสำ�คัญกว่า จึงต้องยอม ตัดข้อความดังกล่าวออกไป ผลก็คือวิชาชีพทนายความในปัจจุบันไม่อาจจะ พูดได้เต็มปากทีว่ า่ ครอบคลุมอาชีพทีป่ รึกษากฎหมายด้วย ซึง่ เป็นงานทีส่ �ำ คัญ ที่สุดของวิชาชีพทนายความทั่วโลก
ในขณะนัน้ มีชาวต่างชาติทสี่ อบได้เป็นธรรมศาสตร์บณ ั ฑิตได้หลายคน (ปัจจุบนั เสียชีวติ ไปแล้วก็มี) ซึ่งท่านได้เคยจดทะเบียนเป็นสามัญสมาชิกและสามารถว่าความได้ในศาลยุติธรรม แต่ท่านก็ไม่ได้ทำ�อาชีพว่าความเป็นหลัก และบางท่านได้แปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทยด้วย แต่ ความจริงในการเข้าเป็นสามัญสมาชิกเนติบัณฑิตยสภาไม่มีข้อจำ�กัดเรื่องสัญชาติ และคนต่างด้าว ท่านที่เป็นสมาชิกก็ทราบมาว่าท่านไม่เคยว่าความเลย ท่านคงใช้วิชาชีพทนายความในส่วนของ การเป็น “ที่ปรึกษากฎหมาย” มาตลอด ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2515 จะมีกฎหมายควบคุมอาชีพคน ต่างด้าวในเรื่องบริการต่าง ๆ ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 322 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 แต่กไ็ ม่กระทบถึงคนต่างด้าวทีเ่ ข้ามาตัง้ สำ�นักงานทีป่ รึกษากฎหมายและมีทนายความทำ�งานเป็น แผนกว่าความในสำ�นักงานกฎหมายนัน้ อยูห่ ลายแห่ง โดยจัดตัง้ เป็นรูปบริษทั จำ�กัด และคนต่างด้าว ที่ทำ�หน้าที่เป็นที่ปรึกษากฎหมายมาก่อนปี 2515 ก็ยังสามารถทำ�ต่อไปได้โดยที่พระราชบัญญัติ เนติบัณฑิตยสภามิอาจก้าวล่วงไปถึง เพราะเมื่อมีการประกาศใช้กฎหมายควบคุมการทำ�งานคน ต่างด้าวในปี พ.ศ. 2515 นั้น คนต่างด้าวดังกล่าวก็ได้ขอใช้สิทธิที่มีมาอยู่ก่อนกฎหมายฉบับนี้ ประกอบวิชาชีพที่ปรึกษากฎหมายมาได้โดยตลอด ภายใต้หลักเกณฑ์ของกฎหมายที่ไม่มีผล ย้อนหลังทีใ่ นภาษาอังกฤษใช้คำ�ว่า Grandfather Clause ซึง่ อยูใ่ นประกาศคณะปฏิวตั ฉิ บับที่ 322 และสามารถจะทำ�ได้ตลอดชีวิต ปัจจุบันก็ยังเหลืออยู่อีกไม่กี่ท่านที่ยังคงทำ �วิชาชีพที่ปรึกษา กฎหมายอยู่ในขณะนี้ สำ�หรับคำ�นิยามคำ�ว่า “ทนายความ” นั้น ตั้งแต่เริ่มร่างกฎหมายทนายความในปี พ.ศ. 2517 ทีท่ นายความอาวุโสและบรรดาทนายความน้อยใหญ่ในขณะนีไ้ ด้ยกร่างพระราชบัญญัติ ทนายความและการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย พ.ศ. .... ที่ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นพระราช บัญญัติทนายความนั้น มีข้อความสำ�คัญคือการนิยามคำ�ว่าวิชาชีพ “ทนายความ” อย่างอื่น
“...มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ หากข้อความไม่แสดงความหมายเป็น
“ทนายความ” หมายความว่า ผู้ได้จดทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจากสภา ทนายความ ให้มีสิทธิว่าความ และประกอบธุรกิจทางกฎหมายทั่วราชอาณาจักร “การว่าความ” หมายความว่า การดำ�เนินกระบวนพิจารณาในศาลตามประมวล กฎหมายวิธพ ี จิ ารณาความแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธพ ี จิ ารณาความอาญา หรือกฎหมาย วิธีพิจารณาอื่นใดแทนบุคคลอื่นและให้หมายความรวมถึงการเรียงคำ�ฟ้อง คำ�ให้การ คำ�คู่ความ และคำ�แถลงการณ์ตามประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความแพ่ง ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายวิธีพิจารณาอื่นใดแทนบุคคลอื่น “การประกอบธุรกิจทางกฎหมาย” หมายความว่า การดำ�เนินการใด ๆ ในทาง กฎหมายแก่บุคคลอื่นโดยมีค่าตอบแทน ซึ่งในการดำ�เนินการนั้นต้องมีการพิจารณาตัว บทกฎหมายหรือมีการปรับข้อเท็จจริงเข้ากับตัวบทกฎหมายเพื่อผลสำ�เร็จแห่งการ ดำ�เนินการ เช่น การให้คำ�แนะนำ�ทางกฎหมาย การร่างนิติกรรมสัญญา การดำ�เนินการ ใด ๆ อันเกี่ยวกับกฎหมายภาษีอากร กฎหมายอุตสาหกรรม และกฎหมายการลงทุน การเป็นตัวแทนผู้รับมอบอำ�นาจในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า การจดทะเบียน การค้า การจดทะเบียนห้างหุน้ ส่วนบริษทั และให้หมายความรวมถึงการจัดตัง้ สำ�นักงาน เพื่อรับว่าความหรือประกอบธุรกิจทางกฎหมายด้วย...” แต่อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2528 ในชั้นกรรมาธิการวิสามัญสภาผู้แทน ราษฎร ซึ่งพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทนายความเสร็จแล้วเสนอต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวาระที่ 2 และวาระที่ 3 นั้น ผลก็คือได้มีการตัด “การประกอบธุรกิจทางกฎหมาย” ออกไป คงเหลือเพียงคำ�นิยามสั้นๆ ตามที่ปรากฏอยู่ข้างล่างนี้ “มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ “ทนายความ” หมายความว่า ผู้ที่สภาทนายความได้รับจดทะเบียนและออกใบอนุญาต ให้เป็นทนายความ มีสิทธิว่าความในศาลและประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย “สภานายกพิเศษ” หมายความว่า สภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความ “นายก” หมายความว่า นายกสภาทนายความ “กรรมการ” หมายความว่า กรรมการสภาทนายความ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการสภาทนายความ “ข้อบังคับ” หมายความว่า ข้อบังคับสภาทนายความ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้” สรุปว่าที่รัฐบาลและกรรมาธิการฯ ได้ตัดออกไปข้างต้นจึงเป็นที่ชัดเจนว่ามี ความประสงค์จะให้ทนายความทำ�แต่เรื่องว่าความอย่างเดียว
อย่างไรก็ดี สภาทนายความโดยผู้บริหารทั้งในอดีตและปัจจุบันได้พยายาม แปลและใช้ความหมายของคำ�ว่าทนายความอย่างกว้างตลอดมาในการตอบคำ�ถามให้ ส่วนราชการและองค์กรต่างประเทศว่าวิชาชีพทนายความของเรานั้นครอบคลุมงาน วิชาชีพทีป่ รึกษากฎหมายด้วย เราได้พยายามทีจ่ ะทำ�ให้เกิดผลขึน้ โดยได้จดั ตัง้ สถาบัน วิชาชีพกฎหมายชั้นสูง จัดตั้งสำ�นักงานทะเบียนแบบและรับรองเอกสาร (Attorney Notarial Services) โดยอาศัยการออกข้อบังคับและอธิบายให้กบั ทางรัฐมนตรีบางท่าน ที่เข้าใจวิชาชีพทนายความสามารถออกเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับงานบริการที่ปรึกษา กฎหมายดั ง กล่ า ว ซึ่ ง เป็ น งานนอกเหนื อ จากงานว่ า ความได้ จ นถึ ง ปั จ จุ บั น สภา ทนายความก็ได้พยายามที่จะสร้างงานที่ปรึกษากฎหมายให้มากขึ้น ดังจะเห็นได้จาก การปรับองค์กรบริหารของสภาทนายความนั้นครอบคลุมงานส่วนของการคุ้มครอง ผู้บริโภค งานสิ่งแวดล้อม งานทรัพย์สินทางปัญญา และอื่น ๆ ที่ในปัจจุบันเราได้สร้าง งานกรอบของการพัฒนาวิชาชีพที่ปรึกษารวมถึง 33 สาขา เช่นเดียวกับในประเทศ ที่พัฒนาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และมาเลเซีย การ พัฒนาวิชาชีพทีป่ รึกษากฎหมายทีข่ ยายออกไปเช่นนีก้ เ็ พือ่ เป็นการเตรียมตัว ที่จะต้อนรับการแก้ไขพระราชบัญญัติทนายความ และเป็นการขอคืนคำ�ว่า “ทีป่ รึกษากฎหมาย” และ “โนตารีพบั ลิค” ให้กบั วิชาชีพทนายความทีค่ วรจะ มีมาแต่ต้น รายละเอียดของการประชุมต่าง ๆ ในตอนที่ 4 ต่อไปจะยืนยันอย่าง ชัดเจนตลอดมาว่า สภาทนายความในแต่ละสมัยโดยเฉพาะตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมาได้สง่ ผูแ้ ทนและตอบข้อสอบถามและตอบข้อหารือให้กบั กรมเจรจา การค้าระหว่างประเทศและส่วนราชการอืน่ ทีเ่ กีย่ วข้องมาโดยตลอด และก็ยงั ยึดหลักสำ�คัญของการประกอบวิชาชีพทนายความให้ถอื ว่าต้องเป็นคนสัญชาติ ไทยเป็นหลัก ยกเว้นในกรอบของการเจรจาเกีย่ วกับบริการทีป่ รึกษากฎหมาย (ทีว่ ชิ าชีพทนายความยังคลุมไม่ถงึ ) ถ้าหากประเทศผูเ้ จรจาหรือกลุม่ ประเทศ ที่ เ จรจารวมทั้ ง ในประเทศอาเซี ย นได้ อ นุ ญ าตให้ ค นสั ญ ชาติ ไ ทยเป็ น ทนายความในประเทศของเขาได้ เราก็จะอนุญาตให้คนสัญชาติดังกล่าวมา เป็นทนายความในประเทศไทยได้เช่นเดียวกัน (Reciprocity) แต่ต้องสอบ ผ่านการรับอนุญาตเป็นทนายความที่ปรึกษากฎหมายตามกฎหมายไทยได้ ตามที่เราจะแก้ไขให้ครอบคลุมถึง นั่นหมายถึงว่าคนต่างด้าวถ้าจะมาเป็น ทนายความที่ปรึกษากฎหมายเหมือนก่อนปี พ.ศ. 2512 ก็ต้องสอบเป็นเนติ บัณฑิตเป็นสมาชิกวิสามัญ สอบผ่านใบอนุญาตทนายความทีป่ รึกษากฎหมาย และเป็นสมาชิกวิสามัญจึงจะสามารถขึ้นทะเบียนเป็นทนายความที่ปรึกษา กฎหมายได้ ประเด็นสำ�คัญที่พระราชบัญญัติทนายความจะต้องแก้ไขให้ครอบคลุมเป็นที่ ชัดเจนดังทีไ่ ด้กล่าวแล้วข้างต้นคือการให้งานบริการทีป่ รึกษากฎหมายอยูภ่ ายใต้ พระราชบัญญัติทนายความไว้ให้ได้ เพราะข้อนี้คนต่างชาติที่มีความสามารถใน ทางภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างชาติดีกว่าได้เข้ามาประกอบธุรกิจเป็นที่ปรึกษาธุรกิจ อยู่เป็นจำ�นวนมากแล้ว และพร้อมที่จะเปลี่ยนเป็นที่ปรึกษากฎหมายในทันทีที่การ เจรจาการค้ า เสรี บ ริ ก ารระหว่ า งประเทศไทยกั บ ประเทศคู่ ค้ า บรรลุ ผ ล ในข้ อ นี้ สภาทนายความได้เล็งเห็นและก็ได้ป้องกันไว้เช่นเดียวกันคือถึงแม้ตัวพระราชบัญญัติ ปัจจุบันจะไม่รวมถึงที่ปรึกษากฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรโดยชัดแจ้ง แต่ในทาง อ่านต่อหน้า 6
6
ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 12 เดือนธันวาคม 2558
ต่อจากหน้า 5
ปฏิบตั เิ ราได้ขยายวิชาชีพทนายความครอบคลุมไว้แล้ว เพราะฉะนัน้ ถ้าจะแก้ไขหรือให้คนต่างด้าวมาเป็นทีป่ รึกษากฎหมายก็ควรทีจ่ ะต้องผ่านการอนุญาตจากสภาทนายความก่อน ซึง่ ในข้อนีก้ เ็ ช่น เดียวกันสภาทนายความได้แจ้งไปยังรัฐบาลทั้งที่ผ่านมาและปัจจุบันว่าหากจะเปิดเสรีวิชาชีพที่ปรึกษากฎหมาย สภาทนายความเห็นควรให้เปิดเสรีเฉพาะที่ปรึกษากฎหมายของประเทศที่ ให้เปิดเช่นเดียวกันต่างตอบแทน โดยให้อนุญาตเฉพาะกรณีการให้คำ�ปรึกษากฎหมายของประเทศดังกล่าวเท่านั้น ไม่รวมถึงกฎหมายนี้ของประเทศไทยด้วย ตรงนี้ต้องทำ�ความเข้าใจเพิ่มเติมว่าใบอนุญาตทนายความของไทยนั้นแม้ในทางปฏิบัติจะไม่รวมที่ปรึกษากฎหมาย สภาทนายความได้ขยายความในทางปฏิบัติจน ครอบคลุมไว้หลายสิบสาขาแล้ว และเชือ่ ว่าการวางกรอบกันไว้ทงั้ หมดเป็นผลดีในการเจรจาต่อรองของรัฐบาลในการเปิดเสรี เพราะการสอบต่อไปซึง่ จะรวมทัง้ วิชาชีพว่าความ และที่ปรึกษากฎหมายนั้นต้องเป็นภาษาไทยทั้งหมดและทุกประเทศที่ทำ�กันในมาตรฐานเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น ออสเตรเลีย มาเลเซีย ก็ทราบดีว่าเงื่อนไขที่คนต่างด้าวจะ เข้ามาเรียนรู้ให้สามารถสอบขอรับใบอนุญาตเป็นทนายความและทนายความที่ปรึกษาได้นั้นต้องมีความสามารถด้านภาษาและใช้ภาษาได้เท่ากับคนไทย ซึ่งในปัจจุบันแม้ในประเทศญี่ปุ่นก็ ยังไม่มีใครสอบผ่านเป็นทนายความและที่ปรึกษากฎหมายได้เลย
ตอนที่ 4 : ที่มาของการแก้ไขพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 และพระราชบัญญัติวิชาชีพสาขาอื่นๆ หลังจากประเทศไทยลงนามข้อผูกพันทางการค้าระหว่างประเทศเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (WTO) แล้ว ประเทศไทยได้ขอสงวนสิทธิ์ที่จะชะลอการบังคับใช้บทบัญญัติในการ เตรียมความพร้อมที่จะเข้าสู่การค้าเสรีตามเจตนารมณ์ขององค์การการค้าโลกด้วยช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งรวมถึงการจัดระบบเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของประเทศไทยที่ต้องเปิดเสรี และโดยเฉพาะ วิชาชีพอิสระทัง้ หมดทีจ่ ะเปิดเสรีในมาตรฐานเดียวกันกับของสมาชิกองค์การการค้าโลกในกลุม่ ประเทศทีพ่ ฒ ั นาแล้ว ปัจจุบนั ระยะเวลาดังกล่าวทีข่ อสงวนสิทธิน์ นั้ ได้หมดลงไปแล้ว รัฐบาลทีผ่ า่ นมา ช่วงยี่สิบปีก็มีการเจรจาและได้ตอบคำ�ถามให้กับประเทศคู่ค้าหลายกลุ่มด้วยกัน กล่าวคือ (1) การเจรจาการค้าเสรีภายใต้บริษัทขององค์การการค้าโลก (WTO) และ FTA (2) กลุ่มเจรจาการค้าบริการภายใต้กรอบการเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป (3) การเจรจาตามความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ด้านการค้าการลงทุน การประชุมการจัดทำ�ข้อผูกพันตลาดการค้าบริการภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วย กรอบการค้าบริการของ ASEAN (4) คำ�ชี้แจงของรัฐบาลไทยต่อรายงานการประเมินอุปสรรคทางการค้า (National Trade Estimate : NTE) ระหว่างประเทศไทยกับประเทศสหรัฐอเมริกา (5) การประชุมชี้แจงผลการจัดอันดับความหลายยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจของประเทศไทย เพื่อจัดทำ�รายงาน Doing business 2016 ของธนาคารโลก ตัวอย่างการเจรจาการหารือกับสภาวิชาชีพอื่นและกับสภาทนายความของส่วนราชการที่รับผิดชอบการเจรจา การทำ�รายงาน มีดังที่สรุปไว้ต่อไปนี้เป็นเพียงบางส่วน ในระยะรอบ 10 ปีหลังของการเจรจาในเรื่องนี้ ปี 2546 ในปี 2546 มีกรอบข้อตกลงยอมรับร่วมในสาขาบัญชีของอาเซียน ASEAN Mutual Recognition Arrangement Framework on Accountancy Services ซึ่งในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2546 ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ผู้นำ�อาเซียนทั้ง 10 ประเทศได้ร่วมลงนามในแถลงการณ์ Bali Concord II ซึ่งได้ มีการกำ�หนดให้จัดทำ�ความตกลงยอมรับร่วม (MRA) ด้านคุณสมบัติในสาขาวิชาชีพหลักภายในปี 2551 เพื่ออำ�นวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายนักวิชาชีพ/แรงงานเชี่ยวชาญ/ผู้มีความสามารถ พิเศษของอาเซียนได้อย่างเสรี ทั้งนี้ รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้มีการลงนามข้อตกลงสาขาวิศวกรรม เมื่อปี 2548 ลงนาม MRA สาขาวิชาชีพการพยาบาลเมื่อปี 2549 และลงนาม MRA สาขา สถาปัตยกรรมและกรอบข้อตกลงการยอมรับในคุณสมบัติด้านการสำ�รวจ เมื่อปี 2550 ล่าสุด อาเซียนได้เจรจาจัดทำ� MRA วิชาชีพแพทย์ ทันตแพทย์ และบริการบัญชี ซึ่งสามารถตกลงกันได้ในสาระสำ�คัญแล้ว โดยในช่วงการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ อาเซียน ครั้งที่ 40 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2551 อาเซียน 9 ประเทศ ยกเว้นไทย ได้ลงนาม MRA วิชาชีพแพทย์ ทันตแพทย์ และบริการบัญชีแล้ว สรุปคือสามวิชาชีพทุก ประเทศเปิดเสรีแล้วเหลือประเทศไทย แต่ความจริงวิชาชีพแพทย์และทันตแพทย์ที่ไม่กำ�หนดข้อห้ามเรื่องสัญชาติคนต่างด้าวที่จบแพทย์มาจากประเทศอื่น ก็ต้องมาสอบใบประกอบโรคศิลป์ หรือของทันตแพทย์ (ใช้ภาษาไทย) ให้ได้ด้วย ไม่ใช่เปิด เรื่องสัญชาติอย่างเดียว จึงยังไม่มีคนต่างด้าวที่สอบได้และมาเป็นแพทย์หรือทันตแพทย์อยู่ในเมืองไทย
ปี 2556 ในปี 2556 มีสรุปบันทึกย่อสรุปผลการประชุมคณะทำ�งานด้านการค้าบริการภายใต้ความตกลง RCEP (RCEP-WGTIS) ระหว่างวันที่ 23-27 กันยายน 2556 ณ เมืองบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย ดังนี้คือ
ต่อไป
1. โครงสร้างและองค์ประกอบภายใต้บท/ความตกลงการค้าบริการ ที่ประชุมได้ร่วมหารือเกี่ยวกับโครงสร้างและประเด็นต่าง ๆ ที่จะบรรจุอยู่ในบท/ความตกลงการค้าบริการโดยที่ข้อเสนอต่าง ๆ ยังจะไม่เป็นที่สิ้นสุดในการหารือและยอมรับร่วมกัน
1.1 ร่าง Text การค้าบริการของอาเซียน อาเซียนได้ยื่นร่าง Text การค้าบริการซึ่งได้จัดทำ�ร่วมกันจากการประชุม ASEAN Caucus เมื่อเดือนกรกฎาคม 2556 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ (ทั้งนี้ ในการประชุม Caucus รอบนี้ มีข้อเสนอ/แก้ไขเพิ่มเติมจากอินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย และเวียดนาม อาเซียนตกลงร่วมกันว่าจะเสนอต่อประเทศคู่เจรจาได้ต่อเมื่ออาเซียนเห็นชอบร่วมกันก่อน) อย่างไรก็ตาม ประเทศคู่เจรจาเห็นว่าเร็วไปที่จะมาพิจารณาร่าง Text ในขณะนี้ และเห็นว่าควรจะพิจารณาองค์ประกอบ (Elements) ร่วมกันก่อน ตามเอกสารข้อเสนอเรื่อง องค์ประกอบที่เสนอโดยนิวซีแลนด์ 1.2 เอกสารโครงสร้างและองค์ประกอบสำ�หรับบทการค้าบริการ นิวซีแลนด์น�ำ เสนอร่างโครงสร้างและองค์ประกอบสำ�หรับบทการค้าบริการ โดยมีสาระสำ�คัญเกีย่ วกับนิยาม เนือ้ หา และความครอบคลุม บริบทของการเปิดเสรี แนวทางในการ จัดทำ�ตารางข้อผูกพัน รวมทั้งประเด็นสำ�คัญอื่นๆ อาทิ การพัฒนากฎระเบียบภายใน และความโปร่งใส เป็นต้น ทั้งนี้ มีประเด็นสำ�คัญในเรื่องความครอบคลุมโดยนิวซีแลนด์เสนอให้นำ� Mode 3 ของการค้าบริการเข้าไปรวมอยู่ไว้ในบทการลงทุน 2. ข้อเสนอในประเด็นต่าง ๆ 2.1 Negative List Approach
ฯลฯ
2.2 Professional Services ออสเตรเลียนำ�เสนอที่ประชุมเกี่ยวกับบริการวิชาชีพ (Professional Services) ซึ่งออสเตรเลียให้ความสำ�คัญเนื่องจากมีความเชื่อมโยงกับบริการอื่น ๆ อีก หลายสาขา การสนับสนุนการจัดทำ� MRAs อาจเป็นแนวทางหนึ่งในการสนับสนุนและอำ�นวยความสะดวกในการเปิดตลาดและการปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ
อ่านต่อหน้า 7
ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 12 เดือนธันวาคม 2558
7
ต่อจากหน้า 6
ในสาขาที่เกีย่ วข้อง โดยออสเตรเลียสนใจสาขาวิชาชีพบัญชี และวิศวกร เป็นต้น โดย เสนอให้มีการเปิดให้ต่างชาติถือหุ้นถึงร้อยละ 70 ใน Mode 3 รวมทั้งการเปิดตลาด อย่างเต็มรูปแบบใน Mode 1 ฯลฯ ในปี 2556 นี้ได้มีการสรุปผลการประชุมกลุ่มเจรจาการค้าบริการภายใต้ FTA ไทยEU รอบที่ 2 และการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ด้านการค้า บริการ และการลงทุน ครั้งที่ 2 วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม 2556 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุม 30410 ชั้น 4 สำ�นักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ การประชุมสรุปสาระสำ�คัญได้ดังนี้ 1. การประชุมคณะทำ�งานด้านการค้าบริการ (WG-TIS) ภายใต้ RCEP ฯลฯ 3) Professional Services ออสเตรเลี ย นำ � เสนอที่ ป ระชุ ม เกี่ ย วกั บ บริ ก ารวิ ช าชี พ (Professional Services) ซึง่ ออสเตรเลียให้ความสำ�คัญเนือ่ งจากมีความเชือ่ มโยงกับบริการอืน่ ๆ อีกหลายสาขา การสนับสนุนการจัดทำ� MRAs อาจเป็นแนวทางหนึ่งในการสนับสนุนและอำ�นวยความสะดวก ในการเปิดตลาดและการปฏิบตั เิ ยีย่ งคนชาติในสาขาทีเ่ กีย่ วข้อง ทัง้ นี้ ออสเตรเลียได้ยกตัวอย่าง การจัดทำ� MRAs กับสิงคโปร์และสหรัฐฯ และขอให้อาเซียนแลกเปลี่ยนข้อมูลการจัดทำ� MRAs ภายในอาเซียน และขอให้ประเทศสมาชิกทีเ่ คยจัดทำ� MRAs ร่วมกับประเทศอืน่ ๆ แลกเปลีย่ น ข้อมูลเพื่อหารือร่วมกันในการปะรชุมครั้งถัดไป ฯลฯ
ปี 2557 ในปี 2557 ผลสรุปการประชุมเพื่อรับทราบความคืบหน้าและกำ�หนดท่าที การเจรจาการค้าบริการและการลงทุน ภายใต้ FTA วันศุกร์ที่ 2 พฤษภาคม 2557 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุม 30410 ชั้น 4 สำ�นักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ ใน ส่วนวัตถุประสงค์ในการประชุมทีเ่ กีย่ วกับการเจรจาการค้าบริการนัน้ มีความคืบหน้าการเจรจา การค้าบริการและการลงทุนภายใต้ FTA ต่างๆ คือ อาเซียน – จีน, ฯลฯ, อาเซียน – เกาหลีใต้, ฯลฯ, อาเซียน – ญี่ปุ่น, ฯลฯ, อาเซียน, ฯลฯ ไทย – นิวซีแลนด์, ฯลฯ, ความตกลงหุ้น ส่วนเศรษฐกิจในภูมิภาค (RCEP), ฯลฯ 2.6.1 การค้าบริการ ประเด็นสำ�คัญ/ข้อเสนอจากประเทศสมาชิกภายใต้บทการค้าบริการ 1) ข้อเสนอของอาเซียน ฯลฯ 2) ข้อเสนอของประเทศคู่เจรจา 2.1 บริการวิชาชีพ ตามข้อเสนอของออสเตรเลียที่ต้องการให้มี chapter หรือ Annex และการเปิดตลาด ระดับสูงในสาขาวิชาชีพ รวมทั้งความเป็นไปได้ในการจัดทำ� MRAs ร่วมกันใน RCEP นั้น ใน การประชุมครั้งนี้ ออสเตรเลียยังคงสนับสนุนข้อเสนอดังกล่าว อย่างไรก็ตาม อาเซียนยังคงไม่ ตอบรับหรือปฏิเสธกับข้อเสนอของออสเตรเลียแต่อย่างใด ฯลฯ
การเจรจากับสหรัฐอเมริกา ปลายปี 2557 ตามหนังสือของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้มีหนังสือ ที่ พณ 0609/ว 2984 ฉบับลงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2557 ถึงสภาทนายความ ขอ ส่งเอกสารรายงานประเมินอุปสรรคทางการค้า (National Trade Estimate : NTE) และรายงานมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) ของสหรัฐฯ ประจำ�ปี 2557 ฯลฯ ส่วนหนึง่ (หน้า 15 – 16) ของเอกสารแนบท้ายหนังสือของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศกระทรวงพาณิชย์ จำ�นวน 28 หน้า ทีข่ อความอนุเคราะห์จากนายกสภาทนายความให้พจิ ารณา ร่างเอกสารคำ�ชี้แจงของไทยต่อรายงานการประเมินอุปสรรคทางการค้า (NTE) ของสหรัฐอเมริกาประจำ�ปี 2558
THAILAND’S Comments in The 2015 National Trade Estimate Report (NTE) for the incoming 2016 NTE Report Submitted to the United States Trade Representatives No.
Excerpts from the 2015 NTE Report
Comments from Thailand
IMPORT POLICIES 1. Tariffs ฯลฯ 11. Legal Services - U.S. investors may own firms in Thailand only if they enter into commercial association with local attorneys or local law firms, and U.S. citizens and other foreign nationals (with the exception of “grandfathered” non-citizens) may not provide legal services. In certain circumstances, foreign attorneys can obtain a limited license entitling them to offer advisory services in foreign and international law.
12. Financial Services 13. Accounting Services - Foreigners are permitted to own up to 49 percent of most professional services companies, including accounting, through a limited liability company registered in Thailand. Foreigners cannot be licensed as Certified Public Accountants, however, unless they pass the required examination in the Thai language, are citizens of a country with a reciprocity agreement, and legally reside in Thailand. Foreign accountants may serve as business consultants.
ฯลฯ Likewise. Thai licensed lawyers may not directly own a law firm in many US states and in many other countries. The Lawyers Act B.E. 2528 is being amended to allow foreign nationals to render the legal services of their own licensed territory similar to that of many jurisdictions, for example, Japan. หมายเหตุ: ถ้ารัฐบาลจะเปิดเสรีบริการทางกฎหมายก็จะให้แต่เฉพาะการให้ คำ�ปรึกษาทางกฎหมายของประเทศผู้ขอในประเทศไทยเท่านั้น ทำ�นองเดียว กับในประเทศญี่ปุ่นและไม่รวมถึงการ “ว่าความ” แต่อย่างใด
ฯลฯ
- Under Foreign Business Act, Accounting Services are on the List 3 (6) in which foreigners can hold majority of the shares upon obtaining permission from the Director-General of the Department of Business Development with the approval of the Foreign Business Commission
อ่านต่อหน้า 8
8
ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 12 เดือนธันวาคม 2558
ต่อจากหน้า 7
ปี 2558
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สำ�นักงาน ก.พ.ร. ได้มีหนังสือ ที่ นร 1205.1/1395 ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2558 ถึงนายกสภาทนายความ ขอเชิญเข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจง ผลการจัดอันดับความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจของประเทศไทยตามรายงาน Doing Business 2016 ของธนาคารโลก ในวันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ ห้องกมลทิพย์ 3 โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพมหานคร ซึ่งก็เป็นเรื่องที่รัฐบาลไทยถูกเตือนมาอีกเป็นทางอ้อมเกี่ยวกับการเปิดเสรีบริการ ฯลฯ ซึ่งมีปัญหาสำ�คัญ เมื่อธนาคารโลกใช้วิธีการวัดแบบ Distance to Frontier หากประเทศไทยไม่มีการพัฒนาปรับปรุงกระบวนงานให้บริการอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ มีการพัฒนา จะส่งผลให้อันดับของ ประเทศไทยตกลงอย่างรวดเร็ว เพราะการจัดอันดับแบบเดิมที่ใช้ percentile จากค่าเฉลี่ยเพียงอย่างเดียวแล้วนำ�มาจัดอันดับ จะไม่เห็นว่าอันดับแต่ละอันดับมีความแตกต่างกันอยู่เท่าไหร่ แต่วิธี การวัดแบบ Distance to frontier เป็นการนำ�ค่าเฉลีย่ ผลการสำ�รวจของประเทศทีไ่ ด้มาเทียบกับประเทศทีด่ ที สี่ ดุ ในแต่ละด้าน ซึง่ จะทำ�ให้เห็นระยะห่างของการพัฒนาว่าอีกไกลเพียงใดจะถึง Frontier ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการเปิดเสรีบริการของรัฐบาลขึ้นอยู่กับนโยบายแต่ละยุคและสมัยของรัฐบาลที่ต้องการดูกรอบของการร่างกฎหมาย (ยังไม่ใช่ร่างกฎหมาย) ว่ารัฐบาลโดยกระทรวงที่ รับผิดชอบจะกำ�หนดหลักเกณฑ์ท่าทีในการเจรจาอย่างไร หรือจะตอบข้อถามของประเทศคู่ค้าเขาอย่างไร
ตอนที่ 5 : แนวทางการเสนอกรอบร่างกฎหมายให้รัฐบาล ขั้นตอนการร่างกฎหมายตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2557 ไม่เปิด โอกาสให้มีการเสนอร่างกฎหมายภาคประชาชนเหมือนเช่นรัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 ดังนัน้ ในปัจจุบนั การเสนอร่างกฎหมายใดก็ตามจะต้องเป็นของรัฐบาล หรือไม่ก็ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติอย่างน้อย 25 คน ขัน้ ตอนการเสนอกฎหมายของฝ่ายรัฐบาลนัน้ ทุกท่านทราบกันดีวา่ จะต้อง มีกระทรวงที่รับผิดชอบ และสำ�หรับพระราชบัญญัติทนายความ ผู้รักษาการก็คือ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงยุตธิ รรม การเสนอร่างพระราชบัญญัตใิ ดก็ตามจากทุกส่วน งานรวมทั้งสภาทนายความต้องเสนอให้กระทรวงยุติธรรมพิจารณาก่อน และเป็น ทีเ่ ข้าใจว่าร่างกฎหมายใดทีเ่ สนอเข้าไปตอนนีย้ งั ไม่ได้เป็นร่างกฎหมายทีจ่ ะใช้ได้แต่ เป็นต้นแบบหรือกรอบของแนวความคิดและหลักการทีต่ อ้ งสนองแนวนโยบายของ รัฐในด้านการเปิดเสรีธุรกิจบริการซึ่งทุกสภาวิชาชีพก็มีจุดยื่นในทำ�นองเดียวกัน กรอบร่างพระราชบัญญัตทิ นายความก็เช่นเดียวกันฉบับทีส่ ภาทนายความได้เสนอ ให้กับปลัดกระทรวงยุติธรรมเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2558 จึงเป็นเพียงกรอบที่จะใช้ พิจารณายกร่างฉบับทีส่ มบูรณ์ของคณะทำ�งานร่วมกัน ซึง่ ก็เหมือนกับในหลายฉบับ เดิมตามกรอบที่เคยเสนอผ่านรัฐบาลหลายรัฐบาลมาแล้ว และตอบสนองความ ต้องการของรัฐในการทีจ่ ะใช้เป็นข้อชีแ้ จงการพัฒนาการเปิดเสรีบริการภาควิชาชีพ ทุกครัง้ ทีร่ ฐั บาลต้องตอบคำ�ถามการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ แต่ไม่เคยผ่าน รัฐสภาทีป่ ระกอบไปด้วยสมาชิกสภาผูแ้ ทนราษฎรและสมาชิกวุฒสิ ภา หรือ แม้ในขณะนีท้ า่ นปลัดกระทรวงยุตธิ รรมคนก่อนก็ได้ตงั้ คณะทำ�งานปรึกษา หารือกันว่าจะร่างกฎหมายแบบใด โดยทางสภาทนายความได้ยกร่าง เป็นต้นแบบให้พิจารณาก่อน ดังนั้นจึงยังไม่มีร่างพระราชบัญญัติใดที่จะ เผยแพร่ เพราะยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา และมีความตกลงที่ชัดเจน ว่าเมือ่ เป็นร่างทีส่ มบูรณ์แล้วพร้อมทีจ่ ะให้มกี ารทำ�ประชาพิจารณ์กอ่ นตาม ระบบของการเสนอกฎหมาย โดยสภาทนายความจะขอนำ�ร่างนั้นมา เผยแพร่ให้กบั สมาชิกเพือ่ ประโยชน์ในการทำ�ประชาพิจารณ์และต้องเสนอ ไปยังทุกภาคส่วนราชการทีก่ ระทรวงยุตธิ รรมจะเชิญเข้ามาวิพากษ์วจิ ารณ์ ด้วยพร้อมกัน เหตุผลหนึง่ ทีท่ างสภาทนายความยังไม่ได้แจกร่างพระราชบัญญัตดิ งั กล่าว ข้างต้นให้กับสมาชิกสภาทนายความได้เพราะยังไม่เป็นร่างกฎหมายที่กระทรวง ยุติธรรมซึ่งเป็นเจ้าภาพจะยอมรับเป็นงานระหว่างทำ� ไม่สมควรเป็นข้อมูลข่าวสาร ของทางราชการทีจ่ ะพึงแจกได้ เป็นแต่การวางกรอบยกร่างเบือ้ งต้นให้ทางกระทรวง พิจารณา ซึ่งทางท่านปลัดกระทรวงคนก่อนท่านก็แจ้งให้สภาทนายความ ทราบไว้โดยชัดเจนแล้วว่าต่อเมื่อได้เป็นฉบับที่เห็นชอบร่วมกันแล้วก็จะ นำ�ไปวิพากษ์วิจารณ์กัน และสภาทนายความเห็นและกำ�หนดไว้แน่นอน แล้ ว ว่ า จะมี ก ารทำ � ประชาพิ จ ารณ์ ห ลั ง จากเป็ น ร่ า งสมบู ร ณ์ ห ลั ง จากที่ คณะทำ�งานร่วมกันได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัตเิ ป็นรูปร่างแล้ว และก็จะ มีการตกลงแก้ไขกันอีกกรอบหนึง่ หลังจากมีการทำ�ประชาพิจารณ์แล้วจึงจะเสนอต่อ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีก็จะพิจารณาหลักการและเหตุผลหากอนุมัติก็จะส่งไปให้ คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาเสร็จก็ส่งให้ คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง เมื่อเห็นชอบแล้วจึงเสนอร่างเข้าสู่การพิจารณาสภา นิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป จากนั้นประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติก็จะพิจารณาบรรจุเวลาสู่วาระ การประชุมของสมาชิกสภานิตบิ ญ ั ญัตแิ ห่งชาติ เมือ่ เข้าสูว่ าระการประชุมแล้วก็จะมี การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติในวาระที่ 1 วาระ ที่ 2 และ 3 ต่อไป ในชั้นนี้กรรมาธิการวิสามัญทั้งชุดจะต้องมาชี้แจงตอบคำ�ถาม ของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่ขอแปรญัตติหรือที่กรรมาธิการแก้ไขเพิ่มเติม ให้กบั สมาชิกสภานิตบิ ญ ั ญัตแิ ห่งชาติทราบจนเป็นทีพ่ อใจแล้ว จึงจะอนุมตั ใิ นวาระ ที่ 3 ให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป
ตัวอย่างร่างพระราชบัญญัติทนายความในอดีตที่รัฐบาลยังไม่เคยพิจารณารับเลย พ.ศ. 2544 ร่างพระราชบัญญัตทิ นายความ (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... ผ่านมติทปี่ ระชุม (คณะทำ�งานฯ) (ฝ่ายวิชาการ - พ.ศ. 2544) “...มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ “ทนายความ” หมายความว่า ผู้ที่สภาทนายความได้รับจดทะเบียนและออกใบอนุญาตให้มี สิทธิว่าความและประกอบวิชาชีพทนายความ “การว่าความ” หมายความว่า การดำ�เนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือตามกฎหมายอื่นให้แก่บุคคลอื่น และ ให้หมายความรวมถึงการเรียงคำ�ฟ้อง คำ�ให้การ คำ�คูค่ วาม คำ�ร้อง หรือคำ�แถลงอันเกีย่ วกับการพิจารณา คดีในศาล “การประกอบวิชาชีพทนายความ” หมายความว่า การว่าความ การให้คำ�ปรึกษาทาง กฎหมาย การร่างนิติกรรมและสัญญา การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร และ ทรัพย์สนิ ทางปัญญา การรับรองความถูกต้องของลายมือชือ่ , ดวงตรา และเอกสาร การดำ�เนิน กระบวนพิจารณาใด ๆ ในชั้นอนุญาโตตุลาการ การดำ�เนินการใดของบุคคลที่ต้องมีหรือใช้ ความรูค้ วามสามารถ หรือความเชีย่ วชาญทางกฎหมายเพือ่ ปกป้อง ได้มา สงวนไว้ซงึ่ สิทธิหรือ สถานภาพของบุคคลอืน่ และต้องเป็นการกระทำ�อันมีลกั ษณะเป็นการประกอบอาชีพตามปกติ โดยมีค่าตอบแทน หรือคาดหมายว่าจะมีค่าตอบแทน “สำ�นักงานทนายความ” หมายความว่า สำ�นักงานทีส่ ภาทนายความได้รบั จดทะเบียนและออก ใบอนุญาตให้เป็นสถานที่ประกอบวิชาชีพทนายความ “ที่ปรึกษากฎหมายต่างประเทศ” หมายความว่า หมายความว่าผู้ที่สภาทนายความ ได้ รั บ จดทะเบี ย นและออกใบอนุ ญ าตให้ มี สิ ท ธิ ใ ห้ คำ � ปรึ ก ษากฎหมายต่ า งประเทศใน ประเทศไทย “สำ�นักงานทีป่ รึกษากฎหมายต่างประเทศ” หมายความว่า สำ�นักงานทีส่ ภาทนายความ ได้รบั จดทะเบียนและออกใบอนุญาตให้เป็นสถานทีป่ ระกอบวิชาชีพเป็นทีป่ รึกษากฎหมายต่าง ประเทศ “การให้ค�ำ ปรึกษากฎหมายต่างประเทศ” หมายความว่า การให้ค�ำ แนะนำ�หรือความ เห็นทางกฎหมายเกีย่ วกับกฎหมายต่างประเทศ การร่างนิตกิ รรมและสัญญาทีอ่ ยูภ่ ายใต้บงั คับ ของกฎหมายต่างประเทศ “ใบอนุญาตทนายความ” หมายความว่า ใบอนุญาตที่สภาทนายความออกให้แก่ บุคคลเพื่อประกอบวิชาชีพทนายความ “ใบอนุญาตสำ�นักงานทนายความ” หมายความว่า ใบอนุญาตทีส่ ภาทนายความออก ให้แก่สำ�นักงานทนายความเพื่อประกอบวิชาชีพทนายความ “ใบอนุญาตที่ปรึกษากฎหมายต่างประเทศ” หมายความว่า ใบอนุญาตที่สภาทนาย ความออกให้แก่บุคคลเพื่อประกอบวิชาชีพการให้คำ�ปรึกษากฎหมายต่างประเทศ “ใบอนุญาตสำ�นักงานที่ปรึกษากฎหมายต่างประเทศ” หมายความว่า ใบอนุญาต ทีส่ ภาทนายความออกให้แก่สำ�นักงานทีป่ รึกษากฎหมายต่างประเทศเพือ่ ประกอบวิชาชีพเป็น ที่ปรึกษากฎหมายต่างประเทศ “นายทะเบียน” หมายความว่า นายทะเบียนทนายความ นายทะเบียนสำ�นักงาน ทนายความ นายทะเบียนทีป่ รึกษากฎหมายต่างประเทศ หรือนายทะเบียนสำ�นักงานทีป่ รึกษา กฎหมายต่างประเทศ แล้วแต่กรณี
พ.ศ. 2547 ร่างแก้ไขพระราชบัญญัติทนายความ (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... ฉบับเสนอรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงยุติธรรม สภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความ (ฝ่ายวิชาการ - พ.ศ. 2547) ร่างแก้ไขพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... อ่านต่อหน้า 9
ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 12 เดือนธันวาคม 2558
9
ต่อจากหน้า 8
ร่างแก้ไขพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 ฉบับนี้ ทางสภาทนายความได้ดำ�เนินการแก้ไขเสร็จสิ้นแล้ว และขณะนี้กำ�ลังอยู่ในขั้นตอนของการขอความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงยุติธรรม กรมราชทัณฑ์ และหน่วยงานอื่น ๆ ตามคำ�แนะนำ�ของสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความ เหตุผลของการแก้ไข พ.ร.บ. นี้ ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากแนวนโยบายของรัฐที่อาจจะต้องมีการเปิดเสรีเกี่ยวกับการบริการด้านกฎหมายตามพันธะที่มีอยู่ขององค์การ การค้าโลก จึงเห็นควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัตินี้ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพที่เปลี่ยนแปลงไป จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันสภาทนายความยังไม่มีแนวนโยบายที่จะมารองรับเรื่องการเปิดเสรีธุรกิจการบริการทางกฎหมาย อย่างไรก็ดีในอนาคต เมื่อพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิม่ เติมฉบับนีม้ ผี ลบังคับใช้ จะมีผลบังคับใช้กบั การให้บริการทีป่ รึกษากฎหมายต่างประเทศทีจ่ ะดำ�เนินการในประเทศไทย โดยผูท้ เี่ ป็นคนต่างด้าวสามารถประกอบธุรกิจ ดังกล่าวในประเทศไทยได้ เพียงแต่ต้องมาจดทะเบียนกับสภาทนายความ เพื่อให้สามารถควบคุมการดำ�เนินการได้อย่างเป็นระบบ ดังมีรายละเอียดในร่างแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติทนายความ (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... ที่แนบมาข้างท้ายนี้...” ทั้งหมดนี้ตั้งแต่มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติทนายความผ่านมาทุกรัฐบาลไม่เคยผ่านการกลั่นกรองของกระทรวงยุติธรรมเลย เชื่อว่าถ้ารัฐบาลถูกกระตุ้นจากการ เจรจาการค้าระหว่างประเทศอีก ตามที่ยกมาเป็นตัวอย่างให้เห็นข้างต้นก็คงจะเป็นตัวเร่งที่รัฐบาลก็จะสอบถามผ่านกระทรวงหรือกรมที่เกี่ยวกับการเจรจาการค้ามาเช่นเดิม ตามที่ยกตัวอย่างมาให้ดูข้างต้น อนึ่ง ในเรื่องของการแก้ไขให้คดีมรรยาทยุติในชั้นของสภาทนายความไม่ได้เป็นความประสงค์ของสภาทนายความ แต่สภาทนายความได้รับคำ�ปรารภจากท่าน สภานายกพิเศษในอดีตที่ผ่านมาว่าทางกระทรวงยุติธรรมโดยท่านรัฐมนตรีที่มาดำ�รงตำ�แหน่งสภานายกพิเศษได้ปรารภและอยากจะให้สภาทนายความพิจารณาแก้ไขในส่วน ที่สภานายกพิเศษต้องถูกฟ้องคดีในเรื่องของมรรยาททนายความกรณีที่ท่านเห็นด้วยกับมติของคณะกรรมการสภาทนายความที่ไม่อนุญาตให้เป็นทนายความหรือยังไม่รับเข้า มาเป็นสมาชิกสภาทนายความ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในฐานะสภานายกพิเศษก็จะถูกฟ้องดำ�เนินคดีในศาลปกครอง และมีครั้งหนึ่งที่เป็นคดีอาญาที่ผู้ยื่นคำ�ขอ รับอนุญาตเป็นทนายความฟ้องร้องกล่าวว่ากระทำ�ผิดหรือละเลยในการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ซึ่งต้องสู้คดีกันในศาลชั้นต้นและศาล อุทธรณ์ถึง 4 ปี ถึงจะถึงที่สุด การที่ยกร่างไว้ก็เป็นเพียงหลักการเพื่อให้ทางกระทรวงยุติธรรมพิจารณาว่าจะนำ�หลักการตามคำ�ปรารภของรัฐมนตรีในอดีตมาใช้อยู่หรือเปล่า ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับคณะทำ�งานร่วมกันระหว่างกระทรวงยุติธรรมกับสภาทนายความว่าจะตกลงกันอย่างไร และตามแนวทางก็คงต้องรอร่างที่เสร็จแล้วและจะนำ�เข้าสู่การวิพากษ์ วิจารณ์ของสายงานยุติธรรมโดยเฉพาะสมาชิกของสภาทนายความต่อไป สรุปกรอบการเสนอแก้ไขพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. .... ที่ยกเป็นต้นแบบร่างนั้นมีมาหลายครั้งแล้ว ไม่ได้มีเฉพาะฉบับที่เสนอใหม่เมื่อต้นปี 2558 เพราะการเสนอให้แก้ไขนั้น เป็นการตอบสนองความต้องการของรัฐบาลในทุกครั้งที่รัฐบาลถูกเรียกสอบถามในเวทีการค้าโลก จุดยืนของสภาทนายความคือยังไม่มีการเปิดเสรีการว่าความ แต่ในทางตรงกันข้าม สภาทนายความต้องการให้วชิ าชีพทนายความครอบคลุมวิชาชีพกฎหมายการให้บริการทีป่ รึกษากฎหมายให้มคี วามชัดเจนขึน้ และให้คนต่างชาติทจี่ ะเข้ามาประกอบวิชาชีพที่ ปรึกษากฎหมายให้อยู่ภายใต้การกำ�กับดูแลของสภาทนายความ โดยได้กำ�หนดไว้ชัดเจนว่าให้คนต่างชาติที่จะเข้ามาประกอบวิชาชีพที่ปรึกษากฎหมายนั้นให้ทำ�ได้เฉพาะของ ที่ปรึกษากฎหมายตามกฎหมายของประเทศต่างชาติเท่านั้นไม่รวมกฎหมายของประเทศไทยด้วย ซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกันกับมาตรการเดียวกันของทุกประเทศไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา และอีกหลายประเทศ
สภาทนายความจึงขอเรียนให้ทา่ นทนายความทัง้ หลายทราบว่าทุกท่านมีโอกาสวิพากษ์รา่ งกฎหมายทีก่ อ่ นจะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพจิ ารณา อย่างแน่นอน และเจตนาของการที่เสนองานศึกษาฉบับนี้ขึ้นมาก็เพื่อให้ทุกท่านได้ทราบจุดอ่อนของพระราชบัญญัติทนายความฉบับปัจจุบัน ซึ่งผู้จัดทำ�รายงานฉบับนี้เชื่อว่าไม่มีคนต่างด้าวใด ที่ประสงค์จะมาว่าความ คงมีแต่การรับเป็นที่ปรึกษากฎหมายที่มีรายได้รับร้อย ๆ ล้านและถึงหลักพันล้านก็มี หากไปดูจากงบดุลของบริษัทที่ปรึกษากฎหมายชั้นนำ�ที่เป็นของคนต่างชาติใน ขณะนี้จะเห็นได้ชัดเจน ขอขอบคุณในทุกความเห็น และขอฝากข้อสังเกตไว้เพื่อการตอบคำ�ถามให้ลูกหลานทนายความในอนาคตให้ได้รับทราบว่า ในทุกครั้งเมื่อมีโอกาสที่จะแก้ไขพระราชบัญญัติทนายความ แล้ว ทนายความในทุกยุคทุกสมัยจะต้องพร้อมใจกันร่วมและทำ�ให้วิชาชีพนี้ไม่หยุดอยู่แต่เฉพาะการว่าความ ต้องทำ�อย่างเต็มความสามารถที่จะให้รวมที่ปรึกษากฎหมายไว้ด้วย ประการสำ�คัญ ทนายความทุกท่านคงทราบว่าการเป็นสมาชิกของเนติบัณฑิตยสภาไม่มีข้อจำ�กัดเรื่องสัญชาติ โอกาสที่จะเปิดเสรีและให้วิชาชีพที่ปรึกษากฎหมายให้กับสถาบันดังกล่าวย่อมมีสูง.
คุยกับ นายทะเบียน
เรียน เพื่อนทนายความทุกท่าน ดิฉันขอเรียนให้เพื่อนทนายความทุกท่านทราบว่า เนื่องจากในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคม 2558 นี้ สำ�นักงานอัยการสูงสุด ได้เปิดรับสมัครสอบเพือ่ เป็นข้าราชการอัยการในตำ�แหน่งอัยการผูช้ ว่ ย ซึง่ ปรากฏว่ามีเพือ่ นทนายความหลายๆ ท่านให้ความสนใจสมัครสอบเพือ่ เข้ารับราชการ ในตำ�แหน่งดังกล่าวเป็นจำ�นวนมาก ในการสมัครสอบเป็นข้าราชการอัยการนั้น เพื่อนทนายความทุกท่านทราบเป็นอย่างดีว่า ผู้ที่มีสิทธิสมัครสอบต้องมีคุณสมบัติเป็นนักกฎหมายและ หนึ่งในคุณสมบัติดังกล่าว คือ “วิชาชีพทนายความ” ซึ่งทนายความผู้ประสงค์จะสมัครสอบต้องมีเอกสารประกอบ คือ หนังสือรับรองการเป็นทนายความหรือ เคยเป็นทนายความ โดยจะต้องยืน่ คำ�ขอดังกล่าวต่อสำ�นักงานทะเบียนทนายความเพือ่ เป็นหลักฐานในการสมัครสอบ และในการสอบทุกครัง้ ทีผ่ า่ นมามีเพือ่ น ทนายความหลายท่านได้ยื่นคำ�ขอเพื่อรับหนังสือรับรองดังกล่าว ซึ่งเป็นที่น่าภาคภูมิใจว่าในการสอบทุกครั้งจะมีเพื่อนทนายความผ่านการทดสอบและเข้ารับ ราชการอัยการเป็นจำ�นวนมาก ทั้งนี้ โดยอาศัยความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์จากการประกอบวิชาชีพทนายความ ในการนี้ดิฉันจึงขอประชาสัมพันธ์มายังเพื่อนทนายความทุกๆ ท่านว่า หากเพื่อนทนายความท่านใดสามารถสอบเข้ารับราชการอัยการได้ ขอความ นางสาวอรอนงค์ เทศะบำ�รุง กรุณาให้เพือ่ นทนายความท่านนัน้ แจ้งต่อสำ�นักงานทะเบียนทนายความเพือ่ ขอบอกเลิกการเป็นทนายความ เพือ่ ไม่ให้ขดั ต่อกฎระเบียบของการเป็นข้าราชการ อัยการ และพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 ทั้งนี้ เพื่อให้สำ�นักงานทะเบียนทนายความมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันมากที่สุดและง่ายต่อการตรวจสอบของ นายทะเบียนสภาทนายความ ผูม้ สี ว่ นได้เสีย เพือ่ นทนายความ และหน่วยงานราชการทีเ่ กีย่ วข้อง อีกทัง้ ยังเป็นการรองรับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสภาทนายความแห่งใหม่ในปี 2559 สุดท้ายนี้ เนื่องในโอกาสส่งท้ายปีเก่า 2558 และต้อนรับปีใหม่ 2559 ดิฉันขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลพิภพ จงดลบันดาลให้ทนายความทุกท่าน และครอบครัวประสบแต่ความสุข ความเจริญ ปราศจากภยันตรายและภัยพิบัติใดๆ ตลอดปี 2559.
ที่ปรึกษาประจำ�กองบรรณาธิการ :
นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์, นายสัก กอแสงเรือง, นายบำ�รุง ตันจิตติวัฒน์, นายเจษฎา อนุจารี, นายสุชาติ ธรรมาพิทักษ์กุล, นายพูนศักดิ์ บุญชู, ดร.สุธรรม วลัยเสถียร, นายสุมิตร มาศรังสรรค์, นางสาวอรอนงค์ เทศะบำ�รุง, นายธีรศักดิ์ วิชชุตานนท์, ผศ.ว่าที่ร้อยตรี ดร.สุรพล สินธุนาวา, นายชวน คงเพชร, นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์, นายวิเชียร ชุบไธสง, นายชลิต ขวัญแก้ว, นายสุรศักดิ์ รอนใหม่, นายพิเชษฐ คูหาทอง, นายอาสา เม่นแย้ม, นายผาติ หอกิตติกุล, นายวิทยา แก้วไทรหงวน, นายวันรัฐ นาคสุวรรณ, นายโอฬาร กุลวิจิตร บรรณาธิการ : นายนิวัติ แก้วล้วน • ผลิตโดย สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ เลขที่ 7/89 อาคาร 10 ถนนราชดำ�เนินกลาง กองบรรณาธิการ : นายสุนทร พยัคฆ์, นายสุวทิ ย์ เชยอุบล, ดร.เกียรติศกั ดิ์ วรวิทย์รตั นกุล, นายไสว จิตเพียร, นายศุภกิจ หล่อพัฒนากูร, แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 นายสุชาติ ชมกุล, นายสุรนิ ทร์ ทาซ้าย, นายวิบลู ย์ นาคทับทิม, ว่าทีร่ อ้ ยตรี สมชาย อามีน, นายคราศรี ลอยทอง, นายโอวาท จุลโคตร, นายเจษฎา คงรอด, โทรศัพท์ : 0-2629-1430 ต่อ 129, 146 นายสัมฤทธิ์ เชือ้ สาวถี, นายดนัย พุม่ เล็ก, นางสาวชืน่ ชนก วชิรธาราธาดร, ดร. วิเศษ แสงกาญจนวนิช, นางสาวนงลักษณ์ แตงเจริญ โทรสาร : 0-2282-9908 ผู้ช่วยกองบรรณาธิการ : นางสาวนัทธมน จันดี, นายไพศาล แก่ฉมิ
10
มุมกิจกรรม
ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 12 เดือนธันวาคม 2558
ประกาศศูนย์อำ�นวยการเลือกตั้ง
นายกและคณะกรรมการสภาทนายความ (พ.ศ.2559-2562) เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2558 นายอุทิศ สวยรูป ผู้อำ�นวยการเลือกตั้งนายกและกรรมการสภาทนายความ ได้มีประกาศ (ส.ท.5) กำ�หนด วันเลือกตัง้ และระยะเวลาการรับสมัครผูม้ คี วามประสงค์จะสมัครรับเลือกตัง้ เป็นนายกและคณะกรรมการสภาทนายความ (พ.ศ.2559-2562) สืบเนื่องจากมติการประชุมคณะกรรมการอำ�นวยการเลือกตั้งนายกและกรรมการสภาทนายความ ครั้งที่ 4/2558 เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2558 ดังนี้
รับสมัคร : วันอาทิตย์ที่ 21 - 27 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 08.30 - 16.30 น. ไม่เว้นวันหยุดราชการ หลักฐานการสมัคร : 1. ใบสมัคร (แบบ ส.ท.1)
2. สำ�เนาใบอนุญาตให้เป็นทนายความ (ฉบับเล่มสมุด) จำ�นวน 1 ชุด
3. รูปถ่ายผู้สมัคร (สวมครุย) ขนาด 3x5 นิ้ว จำ�นวน 130 รูป (เขียนชื่อ-นามสกุล ด้านหลังรูป)
(ถ่ายสำ�เนาหน้าที่มีรายการเลขหมายใบอนุญาตให้ว่าความ ชื่อสำ�นักงาน และวันออกใบอนุญาต, รูปถ่ายผู้ถือใบอนุญาต, รายการย้ายสำ�นักงาน หรือสำ�เนาคำ�ขอรับใบแทนใบอนุญาต โดยรับรองสำ�เนาถูกต้อง)
วันเลือกตั้ง : วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน 2559 เวลา 09.00 - 15.00 น. ผู้ประสงค์จะสมัครฯ ติดต่อขอรับใบสมัคร (ส.ท.1) และยื่นใบสมัครพร้อมหลักฐานได้ที่ ศูนย์อำ�นวยการเลือกตั้งนายกและคณะกรรมการสภาทนายความ ห้องประชุมชั้น 4 สภาทนายความ ถนนราชดำ�เนินกลาง กรุงเทพมหานคร ไม่เว้นวันหยุดราชการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ โทรศัพท์ 02-629-1430 ต่อ 106, 107 มือถือ 083-096-5213
คุยอุปกันายกฝ่ บ ายสวัสดิการ
กองบรรณาธิการ
นายวิเชียร ชุบไธสง
อุปนายกฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ฯ
สภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยสำ�นักงานสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ จัด คอนเสิร์ตการกุศล วงคาราบาว เพื่อกองทุน สวัสดิการทนายความ และช่วยเหลือประชาชน ทางกฎหมาย ในวันอังคารที่ 12 มกราคม 2559 เริม่ เวลา 18.00 น.เป็นต้นไป ทีโ่ รงเบียร์เยอรมันตะวัน แดง สาขาเรียบทางด่วนรามอินทรา สนใจสำ�รองทีน่ งั่ ได้ ที่ สำ � นั ก งานสวั ส ดิ ก ารและสิ ท ธิ ป ระโยชน์ คุ ณ ปาริชาติ ภู่ศรี , คุณสลิตา รัตนวรรณโทรศัพท์ 083040-8662 ,02-629-1430 ต่อ 128
หากเพื่อนสมาชิกทนายความท่านใดสนใจ โครงการต่างๆ ของสำ�นักงานสวัสดิการและ สิทธิประโยชน์ฯ หรือมีข้อสงสัยประการใด สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ คุณปาริชาต ภู่ศรี, คุณสลิตา รัตนวรรณ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2629-1430 ต่อ 128, 083-040-8662 E-mail : sawatdegan.law@gmail.com ได้ทุกวันและเวลาทำ�การ.
ร่วมไว้อาลัย : ทค.ชลิต ขวัญแก้ว กรรมการ บริหารสภาทนายความภาค 2 มอบเงินช่วย เหลือการฌาปนกิจสงเคราะห์แก่ครอบครัว ทค.ชยันต์ แจ่มเจริญ จำ�นวน 145,515.20 บาท โดยมี ทค.สัญญา บัวลพ ทนายความ และนายชัยพร อุไร นายกองค์การบริหารส่วนตำ�บลเสม็ดเหนือ ร่วมเป็นสักขีพยานเมื่อเร็วๆ นี้.
เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมาย : ทค.นิวัติ แก้วล้วน เลขาธิการสภาทนายความ, ทค.สุชาติ ชมกุล กรรมการ บริหารสภาทนายความภาค 1/รองเลขาธิการสภาทนายความ, ทค.วสันต์ ฝีมือช่าง กรรมการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายสภาทนายความ ร่วมเป็นวิทยากรอบรมความรู้ กฎหมายเบื้องต้นฯ ในรายการสายด่วนรัฐสภาสัญจร ครั้งที่ 2 ณ โรงแรมราชพฤกษ์ แกรนด์โฮเทล จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2558.
ร่วมไว้อาลัย : ทค.เดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ พร้อมด้วยกรรมการบริหาร สภาทนายความ ร่วมเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรมศพ คุณแม่จิตรา แสงกาญจนวนิช มารดาของ ดร.ทค.วิเศษ แสงกาญจนวนิช กรรมการตรวจการจ้างการก่อสร้างอาคารที่ทำ�การสภาทนายความ โดยมีญาติมิตร เพื่อนทนายความ และพนักงานสภาทนายความ ร่วมไว้อาลัย ณ วัดลาดพร้าว กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2558.
มุมกิจกรรม
ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 12 เดือนธันวาคม 2558
11
บรรยายความรู้เรื่อง ICAS : ทค.เดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายในโครงการของ ธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่องการประชุมชี้แจงการใช้งาน “สิ่งพิมพ์ออกจากระบบการจัดเก็บ ภาพเช็ค” ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดย มีผู้เข้าร่วมฟังการประชุมทั้งผู้พิพากษา ทนายความ และอัยการ รวมทั้งธนาคารและสถาบันการเงิน ทั้งนี้มีสมาชิกทนายความร่วมฟังการประชุมครั้งนี้กว่า 50 คน ณ โรงแรมเอเชีย กรุงเทพมหานครฯ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2558.
ประชุมคณะกรรมการบริหารประจำ�เดือน : ทค.เดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ เป็นประธานการประชุมคณะ กรรมการบริหารสภาทนายความประจำ�เดือนพฤศจิกายน 2558 โดยมีคณะกรรมการบริหาร สภาทนายความ และคณะประธานสภาทนายความจังหวัดในภาค 2 (ชลบุรี, กบินทร์บุรี, ฉะเชิงเทรา, นครนายก) และคณะประธานสภาทนายความจังหวัดในภาค 5 (เชียงใหม่, น่าน, พะเยา, ลำ�พูน) ร่วมประชุม โดยตัวแทนประธานสภาทนายความจังหวัดได้นำ�เสนอปัญหา อุปสรรคใรการดำ�เนินงานในจังหวัดต่อที่ประชุมรับทราบ เช่น การให้ความช่วยเหลือ ประชาชนทางกฎหมาย, การให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายใหม่แก่ทนายความ, ปัญหาห้องให้ คำ�ปรึกษาของทนายความตามศาลต่างๆ เป็นต้น ทั้งนี้คณะกรรมการบริหารฯ ได้ร่วม ตอบข้อซักถามและหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน ณ ห้องประธานดวงรัตน์ สภาทนายความ ถนนราชดำ�เนินกลาง กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2558.
Bangkok Lawyer’s Cup :
ทค.วิเชียร ชุปไธสง อุปนายกฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์สภาทนายความ จัดการ แข่งขันฟุตบอล Bangkok Lawyer’s Cup ครั้งที่ 1 โดยมี ทค.เดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภา ทนายความ เป็นประธานเปิดการแข่งขัน และมีกรรมการบริหารสภาทนายความร่วมชมการ แข่งขัน โดยชิงถ้วยรางวัลชนะเลิศจากนายกสภาทนายความ ซึง่ การแข่งขันจัดขึน้ ทีส่ นามฟุตบอล วิชุปา รามอินทรา กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2558 ผลการแข่งขัน ดิวิชั่น 1 รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีมสภาทนายความ A, รางวัลรองชนะ เลิศ ได้แก่ ทีมสภาทนายความภาค 7 ดิวิชั่น 2 รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีมสภาทนายความภาค 2, รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ ทีมสโมสรทนายความมีนบุรี และดิวิชั่น 3 รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีมทนายความรัชดา.
ลงพื้นที่ช่วยชาวบ้าน : ทค.สุวทิ ย์ เชยอุบล อุปนายกฝ่ายปฏิบตั กิ าร สภาทนายความ/ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ พร้อมด้วยคณะทำ�งาน ลงพื้นที่ให้ ความรู้ ท างกฎหมายเกี่ ย วกั บ กรณี ช าวบ้ า นได้ รั บ ผลกระทบจากการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติใต้ ร่ ม เย็ น ทั บ ที่ ดิ น ของราษฎร แก่ ช าวบ้ า น อำ � เภอ กาญจนดิษฐ์ อำ�เภอนาสาร อำ�เภอเวียงสระ จังหวัด สุราษฎร์ธานี รวม 58 หมู่บ้าน มีประชาชนให้ความ สนใจกว่า 300 คน เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2558.
12
บ้านของเรา
ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 12 เดือนธันวาคม 2558
ความคืบหน้าการก่อสร้างอาคารที่ทำ�การสภาทนายความ ภาพความคืบหน้าการก่อสร้างอาคารทีท่ ำ�การสภาทนายความ ณ วันที่ 15 ธันวาคม 2558 :
นายกสภาทนายความตรวจความคืบหน้างานก่อสร้าง : เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2558 เวลา 10.30 น. : ทค.เดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ ลงพืน้ ทีต่ รวจงานก่อสร้างอาคารและร่วมประชุมกับทีมผูค้ วบคุมการก่อสร้าง เพือ่ รับทราบงานและ ความก้าวหน้าด้านต่างๆ ของการก่อสร้างอาคารทีท่ �ำ การสภาทนายความ ณ บริเวณพืน้ ทีก่ อ่ สร้าง อาคารที่ทำ�การสภาทนายความ ถนนพหลโยธิน บางเขน กรุงเทพฯ
ขอขอบคุณผูบ้ ริจาคเงินสมทบกองทุนจัดซือ้ ทีด่ นิ และก่อสร้างทีท่ �ำ การสภาทนายความ รายนามผู้บริจาคเงินสมทบกองทุนจัดซื้อที่ดินและ ก่อสร้างที่ทำ�การสภาทนายความ ดังนี้
ปี 2550 :
นางสาวอมรวรรณ พันธุ์หว้า 199 บาท, นายรัฐพล มีพฤกษ์ 200 บาท, นางจารุวรรณ หงษ์โต 200 บาท, นายกิตติ ตราชูบุญ 199 บาท, นายวิจิตร สมวงศ์ 199 บาท, นายกิตติพงศ์ ทวีผลโชค 199 บาท, นางสาวพัชรดา เอื้อ วรรณกิจ 199 บาท, ว่าที่ร.ต.ปกรณ์ รัตนตระการ 100 บาท, นายสมบูรณ์ เตชะรุ่งเรืองกิจ 100 บาท, นายธีรศักดิ์ วิชชุ ตานนท์ 200,000 บาท, นายพลรัตน์ จันทร์เทพ 10,000 บาท, นายถนอม ศรีชู 1,500 บาท, นายเข็มเพชร ทับทอง 1,000 บาท, นายจุติชล เลิศสิมชลาลัย 300 บาท, นายมนัส พิทักษ์ 1,500 บาท, นายเจษฎา อนุจารี 1,000 บาท, นางอนงค์พร ธนชัยอารีย์ 1,000 บาท, นายจักรกริช เจริญ สิงห์ 1,000 บาท, ว่าที่ร.ต.ปกรณ์ รัตนตระการ 100 บาท
ทค.เดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ พร้อม ด้วยกรรมการบริหารสภาทนายความ รับมอบเงินสมทบ กองทุนจัดสร้างอาคารที่ทำ�การสภาทนายความ จำ�นวน 10,000 บาท จาก ทค.อานันท์ หงษ์แก้ว ทนายความ โดย ทค.อาสา เม่นแย้ม กรรมการบริหารสภาทนายความ ภาค 5 เป็นผู้แทนมอบ ณ ห้องประชุมประธานดวงรัตน์ สภาทนายความ ถนนราชดำ�เนินกลาง กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2558.
ทค.เดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ รับมอบ เงินจาก ทค.พีระ ดุลยานุรักษ์ จำ�นวน 100,000 บาท เพื่อ สมทบกองทุนจัดสร้างอาคารที่ทำ�การสภาทนายความ ณ ห้อง ประชุม 1 สภาทนายความ ถนนราชดำ�เนินกลาง กรุงเทพฯ เมือ่ วันที่ 14 ธันวาคม 2558.
สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ
ËÇÁÊ‹§ÀÒ¾¢‹ÒÇ-º·¤ÇÒÁÁÒŧà¼Âá¾Ã‹ ไดที่ ¡Í§ºÃóҸԡÒÃ˹ѧÊ×;ÔÁ¾ ¢‹ÒÇÊÀÒ·¹Ò¤ÇÒÁ àÅ¢·Õè 7/89 ÍÒ¤Òà 10 ¶.ÃÒª´Óà¹Ô¹¡ÅÒ§ á¢Ç§ºÇùÔàÇÈ à¢µ¾Ãй¤Ã ¡ÃØ§à·¾Ï 10200
â·ÃÈѾ· 0-2629-1430 µ‹Í 129, 146 â·ÃÊÒà 0-2282-9908
Facebook : ÊÀÒ·¹Ò¤ÇÒÁã¹¾ÃкÃÁÃÒªÙ»¶ÑÁÀ
E-mail : lctnews2013@gmail.com
เลขที่ 7/89 อาคาร 10 ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท 0-2629-1430 ตอ 129, 146 โทรสาร 0-2282-9908
ติดตามต่อได้ในฉบับหน้า...
ชำระคาฝากสงเปนรายเดือน ใบอนุญาตเลขที่ พ.211/2547
ปณ.ราชดำเนิน