ข่าวสภาทนายความ ฉบับประจำเดือนพฤศจิกายน 2558

Page 1

วันมหาธีรราชเจ้า ท่านราม ณ กรุงเทพ

พระราชบิดาแห่งวิชาชีพทนายความ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๘

ปีที่ 3 ฉบับที่ 11 เดือนพฤศจิกายน 2558


2

ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 11 เดือนพฤศจิกายน 2558

สภาทนายความถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำ�ปี 2558

กฐินพระราชทานสภาทนายความ ประจำ�ปี 2558 : ทค.เดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ เป็นประธานในพิธถี วายผ้าพระกฐินพระราชทาน โดยมี คณะกรรมการบริหารสภา ทนายความ, ประธานสภาทนายความจังหวัดในภาค 6, สมาชิกทนายความ, พนักงานสภาทนายความ, ส่วนราชการ และประชาชนร่วม ในพิธี ทั้งนี้มียอดเงินร่วมบุญพระกฐินพระราชทานสภาทนายความ ประจำ�ปี 2558 จำ�นวน 784,942.50 บาท ณ วัดไพรสณฑ์ศักดาราม พระอารามหลวง อำ�เภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2558.

“ไม่แปลกที่ต้นไม้ใหญ่อาจโค่นล้มลงด้วยใบและกิ่งก้านของตัวมันเอง” ไม่แปลกที่ผู้มีอำ�นาจอาจสูญเสียอำ�นาจ เพราะวงศ์วานว่านเครือที่ใกล้ตัว ในบริบทอันเดียวกัน ณ เวลานี้การบริหารสภาทนายความของท่านนายกเดชอุดม ไกรฤทธิ์ ที่นำ�ทีมบริหารมาถึงป้ายสุดท้ายของภาระหน้าที่การบริหาร และ เดินทางเข้าสู่วันเวลาของการจัดให้มีการเลือกตั้ง ผลงานในสองปีเศษที่ทำ�มา คือ การสร้างบ้านใหม่ที่สง่างาม งานวิชาการที่พัฒนาศักยภาพในการประกอบวิชาชีพ ทนายความที่โดดเด่น และได้พัฒนางานในส่วนสวัสดิการที่จับต้องได้จากเงินที่จ่ายให้ทนายความวัยชราปีละ 2,000 บาทต่อคน และมีทนายความยื่นความจำ�นง ขอรับเงินจำ�นวนดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น เมื่อทนายความเสียชีวิต หากเป็นสมาชิกของการฌาปนกิจก็จะได้รับเงินสงเคราะห์มากถึง 140,000 บาทเศษขึ้นไป และยังมี งานการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายอีกเป็นจำ�นวนมากที่เห็นเป็นประจักษ์ แต่ในบริบทเดียวกันเมื่อการเลือกตั้งตัดสินด้วยเสียงที่ทนายความยื่นให้ ณ วันเวลานี้จึงเกิดวาทะกรรมที่เป็นทางลบแก่ผู้อื่นและเป็นผลบวกให้ตนเองมากขึ้น ในกระแสข่าวอันเกีย่ วกับองค์กรสภาทนายความและตัวผูบ้ ริหารเอง ทีท่ ำ�อะไรก็ดไู ม่ดใี นแนวคิดทางวาทะกรรมของอีกฝ่ายหนึง่ แม้โดยในภาพรวม “ข่าวสภาทนายความ” ไม่อาจจะประมวลได้ว่า เป็นบวกหรือลบกับใครฝ่ายใดได้ “ข่าวสภาทนายความ” ก็ขอให้เพื่อนพี่น้องทนายความอ่านวาทะกรรมด้วยสติและปัญญา หากผิดถูกประการใด กรรมการบริหารก็พร้อมนำ�เสนอเพื่อทำ�ความเข้าใจและหาแนวทางแก้ไข “กองบรรณาธิการฯ อยากเห็นความดีงามในการติชมมากกว่าวาทะกรรมเพื่อทำ�ลายอีกฝ่ายครับท่าน” แต่จะด้วยเหตุใดก็ตามคณะกรรมการบริหารก็ยังมุ่งมั่นในการพัฒนาองค์การวิชาชีพทนายความและการเสนอขอแก้ไขพระราชบัญญัติสภาทนายความปี พ.ศ. .... นั้น ก็เป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น หา ได้จะเกิดมีผลบังคับในเดือนสองเดือนอย่างที่นักสร้างวาทะกรรมได้กล่าวอ้าง หากแต่ยังต้องทำ�ประชาพิจารณ์ผลกระทบต่อผู้ประกอบวิชาชีพทนายความเอง และผลกระทบต่อผู้ประกอบวิชาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวกับ การใช้กฎหมาย นั้นคือสิ่งที่เราท่านจะต้องนำ�มาโต้เถียงกันว่า จะเอาหรือไม่เอาในประเด็นไหน การแก้ไขพระราชบัญญัติใดๆ ก็ตาม ไม่ง่ายเหมือนเขียนจดหมายทวงหนี้แหละครับท่าน “กองบรรณาธิการข่าวสภา ทนายความ” จะนำ�เหตุและผลมาพูดคุยกับเราท่านต่อไป ดั่งเดียวกันครับท่าน “ข่าวสภาทนายความ” ที่อยู่ในมือของท่านก็ยังนำ�เสนอข่าวการทำ�งานของกรรมการในส่วนภูมิภาคและส่วนกลางให้เพื่อนพี่น้องทนายความได้รับรู้ถึงภารกิจต่างๆ และการสร้าง บ้านใหม่ของเราท่านก็เป็นความจริงแล้ว และ “20 กุมภา” วันทนายความ ปี 2559 นี้ และการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในเดือนเมษายน 2559 เราท่านจะได้ไปร่วมงานทำ�บุญ และเลือกตั้งที่บ้านใหม่ของพวกเรา อย่างภาคภูมิครับท่าน “ข่าวสภาทนายความ” ก็ยังเป็นสื่อกลางในการเชื่อมต่อทั้งความคิดวิธีการทำ�งานกับพี่น้องทนายความ “ข่าวสภาทนายความ” ยังหวังจะได้คำ�ติชมแนะนำ�จากท่านผู้อ่านอยู่ตลอดเวลา และในฉบับนี้ “ข่าวสภาทนายความ” ยังเสนอข่าวในแนวสมานสามัคคี สร้างความดีงามร่วมกัน ภายใต้กรอบที่ว่า “เราท่านจะสร้างวาทะกรรมเพื่อจุดกระแสปลุกตัวตนของท่านให้โดดเด่นเพียงใดก็ทำ�ได้เพื่อเป็นผลในการ สร้างชื่อเสียงของท่าน เพื่อผลของคะแนนเสียงในการเลือกตั้ง” ทำ�เถอะครับ “แต่อย่าทำ�ถึงกับเป็นการเผาบ้านของตัวเราท่านเอง” เป้าประสงค์ของการเลือกตั้งคือ ชัยชนะ “แต่ชัยชนะที่ขาดการยอมรับก็เปล่า ประโยชน์ครับท่าน”

นิวัติ แก้วล้วน บรรณาธิการบริหาร


ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 11 เดือนพฤศจิกายน 2558

3

นายกสภาทนายความ ร่วมประชุม

LAWASIA Conference 2015

เมือ่ ระหว่างวันที่ 6-9 พฤศจิกายน 2558 นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ ได้เดินทางเข้าร่วมประชุม Lawasia Council Meeting 2015 ก่อนการประชุม Lawasia Conference 2015 ที่ Sydney, Australia โดยการจัดประชุม 28 th LAWASIA สืบเนื่องมาจากการจัดประชุมครั้งที่ 27 ที่จัดขึ้น ในประเทศไทย และการเดินทางเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ นายก สภาทนายความพร้อมคณะ ได้ร่วมประชุมและแลกเปลี่ยนความ คิดเห็นทางด้านกฎหมายของไทยในหัวข้อต่างๆ ดังนี้ วันที่ 6 พฤศจิกายน 2558 ช่วงเช้าตลอดจนถึงช่วงบ่าย เป็นการประชุมกันระหว่าง สมาชิก LAWASIA Exco Members Meeting และ Annual LAWASIA Council Meeting ตามลำ�ดับส่วนในช่วงเย็นเป็นการลงทะเบียนรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม ลงชื่อรับเอกสารประกอบการประชุม และเลี้ยงต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านที่ ห้อง State Room of Hilton Sydney Hotel Level 2 and Welcome Reception of Hilton Sydney Hotel Level 4 ตามลำ�ดับโดยมี Mr. Isomi Suzuki ในฐานะประธาน LAWASIA คนปัจจุบันเป็นผู้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน นอกจากนี้ยังมี Mr.Duncan McConnel President,Law Council of Australia, The Hon Robert French AC Chief Justice of the High Court of Australia, Senator the Hon George Brandis QC Attorney General for Australia เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นในการจัดประชุมครั้งนี้ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2558 นายกสภาทนายความ และคณะ ร่วมประชุมในหัวข้อเรื่อง The Legal Response To Terrorism เป็นหัวข้อที่มีสาระสำ�คัญว่าด้วยเรื่อง กฎหมายที่ต่อต้าน การก่อการร้าย โดยมี Professor Nicholas Cowdery AM QC, Former Director of Public Prosecution เป็นผู้กล่าวแสดงความคิดเห็น, หัวข้อเรื่อง LAWYERS,PROTEST AND POLITICS เป็นหัวข้อที่มีสาระสำ�คัญว่าด้วยเรื่อง บทบาทของทนายความที่มีต่อการแสดงออกความคิดเห็นทางการเมืองในแต่ละประเทศ การชุมนุมแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในแต่ละประเทศ เป็นต้น โดยมี คณะผู้แสดงความคิดเห็นประกอบไปด้วย Mr. Christopher Leong, President Malaysia Bar, Mr. Upul Jayasuriya President of Bar Association Sri Lanka โดยมี Mr. Mark Trowell QC เป็นผู้ดำ�เนินการสัมมนา, หัวข้อเรื่อง International Commerce Cross-Border Issues เป็นหัวข้อที่มีสาระสำ�คัญว่าด้วยเรื่อง การดำ�เนินการค้าระหว่างประเทศ การพัฒนากฎหมายให้เป็น เอกภาพ การดำ�เนินการจัดตั้งองค์กรธุรกิจระหว่างประเทศรวมทั้งข้อจำ�กัด อุปสรรคในการดำ�เนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น โดยมี คณะผู้แสดงความคิดเห็นประกอบไปด้วย Professor Shinjiro Takagi , Mr. Mark Radford, Mr. John Keeves, Professor Luke Nottage and Ms. Saniya Perzadayeva โดยมี Ms. Melissa Pang, Vice President of The Law Society of Hong Kong เป็นผู้ดำ�เนินการสัมมนา, หัวข้อเรื่อง Taxation เป็นหัวข้อที่มีสาระสำ�คัญว่าด้วยเรื่อง กฎหมายภาษีอากร อนุสนธิสัญญาว่าด้วยภาษีซ้อน การโอนกำ�ไรระหว่างประเทศ เป็นต้น โดย มี คณะผู้แสดงความคิดเห็นประกอบไปด้วย Mr.Sachit Jolly,Ms.Carina Larforteza,Ms.Chua Yee Hoong, Mr. Saravana Kumar and Mr.Reynah Tang โดยมี Datuk D.P. Naban เป็น ผู้ดำ�เนินการสัมมนา และ หัวข้อเรื่อง The Internationalization of Legal Practice เป็นหัวข้อที่มีสาระสำ�คัญว่าด้วยเรื่อง การประกอบวิชาชีพของทนายความ นักกฎหมายในแต่ละประเทศมี ข้อกำ�หนด ข้อจำ�กัดกรณีนักกฎหมาย ทนายความ มาทำ�งานในประเทศของตนอย่างไรบ้าง เป็นต้น โดยมี คณะผู้แสดงความคิดเห็นประกอบไปด้วย Dr. Martin Abend, Mr. Tony Budidjaja, Mr.Prashant Kumar โดยมี Mr. Stuart Clark AM เป็นผู้ดำ�เนินการสัมมนา

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2558 เข้าร่วมประชุมหัวข้อเรื่อง Religion AND THE LAW เป็นหัวข้อที่มีสาระสำ�คัญว่าด้วยเรื่อง ศาสนากับกฎหมายของแต่ละประเทศ โดยมีคณะผู้แสดงความ คิดเห็นประกอบไปด้วย Mr. Steven Thiru, President of Malaysia Bar , Mr.Shay Milow, Israel Bar โดยมี Mr. Justin Dowd เป็นผู้ดำ�เนินการสัมมนา, หัวข้อเรื่อง Confronting Reality In The Process of Requisite Reform โดยมี The Hon Mr. Aiyaz Sayed-Khaiyum เป็นผู้กล่าวแสดงความคิดเห็น, หัวข้อเรื่อง ISDS A Universal Panacea or a Ticking Bomb โดยมี คณะ ผู้แสดงความคิดเห็นประกอบไปด้วย Professor Yoshihisa Hayakawa, Professor Luke Nottage, Associate Professor David Price, Judge Creg Mize โดยมี Mr. Isomi Suzuki เป็น ผู้ดำ�เนินการสัมมนา, หัวข้อเรื่อง Intellectual Property เป็นหัวข้อที่มีสาระสำ�คัญว่าด้วยเรื่อง กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น โดยมี คณะผู้แสดงความคิด เห็นประกอบไปด้วย Dr. Murray Green, Dr.Joseph Meissner, Mr.Akitsuyu Ogawa,Mr.Jun Takahashi โดยมี Mr. Alan Moyle เป็นผู้ดำ�เนินการสัมมนา ในหัวข้อนีท้ ่านอาจารย์เดชอุดม ได้รว่ มแจ้งความคิดเห็นต่อทีป่ ระชุมด้วยเช่นกันโดยเฉพาะในเรือ่ งการคุม้ ครองพันธุกรรมพืช ซึง่ ประเทศไทยมีความหลากหลายทางพันธุกรรมมาก ควรได้รบั ความคุม้ ครองมากน้อยแค่ไหนอย่างไร และ หัวข้อเรื่อง Personal Data and Privacy Issues In Cross-Border M&A Transactions เป็นหัวข้อที่มีสาระสำ�คัญว่าด้วยเรื่อง คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ควรได้รับความคุ้มครองมากน้อย แค่ไหนอย่างไร หากมีการดำ�เนินกระทำ�ธุรกรรมทางกฎหมายระหว่างประเทศ เป็นต้น โดยมี คณะผู้แสดงความคิดเห็นประกอบไปด้วย Mr. Manoj Chhabra,Ms.Chisako Takaya, Mr.Severin Roelli, Mr.Henning Zanthier โดยมี Mr. Manoj Chhabra เป็นผูด้ ำ�เนินการสัมมนา ในหัวข้อนีท้ า่ นอาจารย์เดชอุดม ได้รว่ มแจ้งความคิดเห็นต่อทีป่ ระชุมด้วยเช่นกันโดยเฉพาะในเรือ่ งการคุม้ ครอง ข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับการขอบัตรเครดิตที่ให้แก่สถาบันการเงินหรือเจ้าของบัตรเครดิต ควรได้รับความคุ้มครองมากน้อยแค่ไหนอย่างไร ทั้งนี้ การประชุม Lawasia Conference ในปีต่อไปจะจัดขึ้นที่ประเทศศรีลังกา.


4

ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 11 เดือนพฤศจิกายน 2558

กฎหมายใหม่

เดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ

ปฏิรูปภาษีอากร

ไม่ยากอย่างที่คิด หากมีจิตอาสา การปฏิรูปภาษีอากรในประเทศไทยนั้นพูดกันมานับเวลาได้มากกว่า 30 ปีแล้ว เพราะความจริงประมวล รัษฎากรทีแ่ รกเริม่ เดิมทีกร็ วมกฎหมายภาษีอากรเกือบทัง้ หมดไว้ในรูปเล่มของประมวลกฎหมายลายลักษณ์อกั ษร การภาษีอากร แต่เป็นเพราะกลไกทางการเมืองก็ทำ�ให้มีการแยกหมวดภาษีอากรไปไว้ในรูปของพระราชบัญญัติ ทำ�ให้ประมวลรัษฎากรเองก็ไม่ได้สมบูรณ์ดงั ทีต่ งั้ ใจแต่แรกแล้ว ในขณะเดียวกันการแก้ไขภาษีอากรของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขประมวลรัษฎากรซึ่งในปัจจุบันที่มีการแก้ไขถึง 40 ครั้ง และถ้าหากรวมหมดการแก้ไขตัวภาษี อากรในฐานอื่น เช่นกฎหมายศุลกากร สรรพสามิต ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย และภาษีอื่นๆ ด้วยแล้ว ก็จะมีการแก้ไขเพิม่ เติมในรูปของพระราชบัญญัตอิ กี มากมายนับร้อยครัง้ การเรียนรูแ้ ละการศึกษากฎหมายภาษี อากรของไทยเท่าที่ผ่านมาจึงเป็นเรื่องที่กฎหมายส่วนใหญ่จะปฏิเสธไม่แก้ตัวโครงสร้างของภาษีอากรทั้งหมด ของประเทศ ซึ่งถ้าจะเรียบเรียงตามวิธีการจัดสรรงบประมาณของประเทศมีอยู่อย่างมากมาย จะมีกระทรวง ทบวง กรมที่เกี่ยวข้องมากกว่า 30 หน่วยงาน ด้วยเหตุนี้จึงเป็นไปได้ว่าไม่มีใครคิดที่จะปรับโครงสร้างภาษีอากร ของประเทศทัง้ หมดในคราวเดียวกัน เพราะเป็นงานใหญ่ตอ้ งใช้ผเู้ ชีย่ วชาญทางกฎหมายโดยเฉพาะทางภาษีอากร มาก และจะต้องเป็นผู้ที่อุทิศตนอย่างมากอย่างที่ได้กล่าวไว้ในหัวข้อเรื่องว่าต้องเป็นผู้มี “จิตอาสา” จึงจะทำ� เรื่องใหญ่ๆ ระดับประเทศและเป็นเรื่องที่สำ�คัญเกี่ยวกับที่มารายได้ของประเทศนี้ได้สำ�เร็จ ความพยายามในระดับ นีจ้ งึ ยังไม่เป็นรูปร่างหรือมีเอกภาพทีช่ ดั เจน คงมีแต่เพียงการแก้ไขกฎหมายภาษีอากรไปตามความจำ�เป็นในแต่ละ ภาคส่วนเท่านั้นเหมือนอย่างการแก้ไขกฎหมายภาษีอากรที่เกี่ยวกับการรับมรดกและแก้ไขบทบัญญัติบางมาตรา ทีเ่ กีย่ วกับข้อยกเว้นภาษีเงินได้ในประมวลรัษฎากรให้สอดคล้องกับการเพิม่ กฎหมายภาษีมรดก พ.ศ. 2558 จึง ต้องแก้ไขเพิ่มเติมมาตราต่างๆ ของประมวลรัษฎากรด้วยเพื่อให้สอดคล้องกับการที่จะปฏิรูปภาษีอากร จึงพอ สรุปได้ว่า ประการแรก เรายังไม่ได้มกี ารปฏิรปู ภาษีอากรอย่างชัดเจนก็เพราะเราไม่มจี ติ

อาสาทีร่ วมและผนึกเป็นพลังทีจ่ ะปรับปรุงโครงสร้างภาษีอากรทัง้ ประเทศทีก่ ฎหมายภาษีอากร บางฉบับเขียนล้าสมัย ขาดความโปร่งใสและไม่เป็นธรรมอยู่มาก อย่างเช่นกฎหมายภาษีอากร ที่ให้มีเงินรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีอากรจากผู้ที่หลีกเลี่ยงการ เสียภาษี ซึ่งเงินรางวัลนั้นก็ยังได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ จะเห็นได้ว่าเพียงเริ่มต้นเมื่อกล่าวถึง ประเด็นนี้ จุดทีย่ กเว้นภาษีเงินได้ให้กบั เงินรางวัลตามความในมาตรา 42 ของประมวลรัษฎากร ก็เป็นจุดทีข่ ดั ต่อหลักการการจัดเก็บภาษีเงินได้ทกุ รูปแบบ ความจริงควรจะต้องถือหลักการสำ�คัญ ในประการแรกว่าเงินได้ทกุ ประเภทต้องเสียภาษี และถ้าจะยกเว้นไม่เก็บภาษีเงินได้ตอ้ งเป็นกรณี ทีเ่ ป็นประโยชน์ตอ่ สาธารณชนหรือประโยชน์ตอ่ รัฐ แต่ในขณะทีข่ า้ ราชการมีเงินเดือนมีเบีย้ หวัด เบีย้ บำ�นาญและยังได้เงินรางวัลจากการทำ�หน้าทีข่ องตนอีก ก็ยอ่ มไม่เป็นธรรมกับข้าราชการใน หน่วยงานอืน่ และไม่โปร่งใส มาตรฐานกลางของภาษีอากรทีจ่ ะต้องมีการจัดเก็บภาษีอากรอย่าง เป็นธรรมจึงไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย ความเป็นผู้มีจิตอาสาของข้าราชการผู้มีหน้าที่ใน การจัดเก็บภาษีจึงเป็นตัวอย่างที่ดีที่ควรจะเริ่มต้นปฏิรูปในประการแรก

ประการที่สอง ต่อมาที่เห็นได้ชัดว่าทำ�ไมเราต้องพูดถึงการปฏิรูปภาษีอากร

อยูเ่ รือ่ ย ๆ นัน้ ก็เพราะสถิตขิ องการจัดเก็บภาษีกบั วิธกี ารและมาตรการการจัดเก็บขาดความเข้ม งวดและต่อเนื่อง โดยเฉพาะการใช้มาตรการลงโทษผู้หลีกเลี่ยงภาษีอากรอย่างจริงจัง ที่พูดถึง เรือ่ งนีก้ เ็ ป็นเรือ่ งเก่าทีด่ วู า่ เป็นเรือ่ งทีป่ ระจักษ์แจ้งแก่ทกุ ส่วนงานราชการทีเ่ กีย่ วข้องกับภาษีอากร ผู้เสียภาษีอากรเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและการบังคับใช้บทบัญญัติตามกฎหมายภาษีอากรโดย พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งต้องมีการเพิ่มประสิทธิภาพความรู้ให้กับเจ้าพนักงานให้ทันกับกลไก ทางการค้าขาย การลงทุนทัง้ ในและระหว่างประเทศ ผูเ้ ขียนเคยมีโอกาสได้รบั เชิญให้ไปบรรยาย ให้เจ้าหน้าที่บริหารระดับ ซี 7 ซี 8 ของกรมสรรพากรนานมาแล้วตั้งแต่ก่อนจะมีหน่วยงาน ทีเ่ รียกว่า LTO คือองค์กรทีเ่ สียภาษีอากรขนาดใหญ่ซงึ่ ส่วนใหญ่เราก็เชือ่ ว่าเป็นบริษทั ขนาดใหญ่ แล้ ว การเสี ย ภาษี อ ากรก็ ค งจะครบถ้ ว นอย่ า งเช่ น ในปั จ จุ บั น บริ ษั ท ที่ จ ดทะเบี ย นใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก็มีความน่าเชื่อถือในเรื่องการเสียภาษีอากร การจัดทำ�บัญชี ครบถ้วนตามกฎหมาย อย่างไรก็ดี โครงสร้างภาษีอากรของทั้งในประเทศและต่างประเทศนั้น มีความเหลื่อมล้ำ�และแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นไม่ว่าบริษัทข้ามชาติจะใหญ่โตขนาดไหนก่อนที่

เขาจะมาลงทุนในประเทศใดประเทศหนึ่งก็ตาม คงไม่ได้มาดูแต่เฉพาะเรื่องแรงงานที่ถูก มี ทรัพยากรทีส่ อดคล้องกับธุรกิจ มีระบบการขนส่งทีด่ เี ท่านัน้ แต่ประการสำ�คัญจากประสบการณ์ เห็นมาก็คอื มีการวางแผนภาษีอากรของทุกองค์กรขนาดใหญ่ทเี่ ป็นองค์กรระหว่างประเทศอย่าง แยบยล ซึ่งแม้แต่ในประเทศสหรัฐอเมริกาเองก็ยังมีปัญหาเกี่ยวกับบริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ หลายๆ บริษทั ทีน่ �ำ เงินได้ประเภทเงินกำ�ไรสะสมไปเก็บไว้ในประเทศอืน่ ทีม่ สี นธิสญ ั ญาภาษีซอ้ น กับประเทศสหรัฐอเมริกา และภายใต้สนธิสัญญาดังกล่าวนั้นไม่ต้องนำ�เงินได้นั้นหรือของสาขา ที่เป็นบริษัทลูกในประเทศนั้นกลับมาประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อมีข้อเท็จจริงยิ่งเปิดเผยขึ้นก็มี หลายบริษทั ทีม่ ชี อื่ เสียงเหล่านัน้ รวมถึงบริษทั ทีจ่ ำ�หน่ายโทรศัพท์มอื ถือทีใ่ ช้ดา้ นโทรคมนาคมที่ มีชอื่ เสียงอยูใ่ นปัจจุบนั ก็รสู้ กึ ละอาย ซึง่ แม้ตามกฎหมายจะทำ�ได้ตา่ งก็เริม่ ทยอยโอนเงินทีม่ กี �ำ ไร จากการขายสินค้าหรือบริการในต่างประเทศกลับไปประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นการลด กระแสความไม่ชอบของพลเมืองสหรัฐอเมริกาทีท่ กุ คนต่างระมัดระวังตรวจสอบการเสียภาษีอากร ของทุกคน และไม่ใช่แต่เพียงบริษทั ข้ามชาติยงั รวมไปถึงนักการเมืองและแม้กระทัง่ ผูท้ ไี่ ด้รบั เลือก ตั้งเป็นประธานาธิบดีกับครอบครัวก็จะมีการตรวจสอบและมีการเปิดเผยของนักการเมืองที่ เกี่ยวข้องอย่างเต็มใจที่จะให้ตรวจสอบ พูดถึงตรงนี้แล้วจะเห็นได้ว่าในประเทศไทยไม่มีความ โปร่งใสและไม่มคี วามพร้อมในการทีน่ กั การเมืองจะถูกตรวจสอบโดยประชาชนด้วยความสมัคร ใจ ดังนั้นจึงเป็นหน้าทีของกรมที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษีอากรทั้งหมดที่จะต้องตรวจสอบนักการ เมืองอย่างเข้มงวดเป็นตัวอย่างเพื่อให้เขาเหล่านั้นมีจิตสำ�นึกในหน้าที่และความถูกต้องของการ เป็นสมาชิกรัฐสภาผู้ทรงเกียรติเป็นผู้บริหารบ้านเมืองในตำ�แหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ก็ ต้องเปิดเผยโดยสมัครใจและตรวจสอบได้โดยทันที สำ�หรับเมืองไทยนั้นดูว่ากรณีเป็นการตรง ข้ามเพราะว่าการตรวจสอบก็เริม่ มาจากข้อกล่าวหาเรือ่ งการทุจริตประพฤติมชิ อบ ร่�ำ รวยผิดปกติ ซึง่ ก็ตอ้ งอาศัยหน่วยงานของสำ�นักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการประพฤติมชิ อบ ที่มีงานหนักล้นมืออยู่มากมายหลายพันจนนับเป็นหมื่นคดี ในต่างประเทศจำ�นวนคดีทุจริตมี เพียงหลักร้อยในการตรวจสอบจึงไม่ยาก แต่ในประเทศไทยทำ�ตรงกันข้าม ผูน้ �ำ ประเทศก็ไม่เปิด เผย ผูบ้ ริหารก็ไม่เปิดเผย นักการเมืองก็ไม่เปิดเผยโดยสมัครใจจนต้องกำ�หนดไว้ในรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย ปปช. ให้มกี ารเปิดเผย และวงจรของการคอร์รปั ชัน่ ทีเ่ กาะกินเศรษฐกิจของสังคม ไทยนั้นมีมาอย่างยาวนาน จึงสรุปได้ในข้อที่สองว่าการปฏิรูปโครงสร้างภาษีอากรใน


ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 11 เดือนพฤศจิกายน 2558

ข้อนีก้ ค็ อื การปฏิรปู จิตอาสาทีจ่ ะทำ�ตนเป็นตัวอย่างของการเป็นผูเ้ สียภาษีอากรทีด่ โี ดย ไม่ตอ้ งนำ�มาเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายของบรรดานักการเมืองทัง้ ระดับชาติ และระดับท้องถิ่น แต่เมื่อสิ่งที่เสนอแนะไม่อาจเป็นไปได้ การปฏิรูปให้ได้ผลจริง ๆ ก็จงึ ต้องไปเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญและในกฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องกับการป้องกันการทุจริต เพือ่ ให้ขา้ ราชการ ข้าราชการการเมืองทุกระดับเข้าใจว่าการปฏิรปู ภาษีอากรไม่ใช่แต่ ปฏิรปู เพียงลายลักษณ์อกั ษร ต้องปฏิรปู ตัวผูป้ ฏิบตั หิ น้าทีต่ ามกฎหมายให้เป็นตัวอย่าง แก่ประชาชนทั่วไปด้วย จึงจะทำ�ให้สังคมไทยปรับเปลี่ยนหรือปฏิรูปโครงสร้างภาษี อากรไปโดยพลวัตของพลังบริสุทธิ์แห่งการตรวจสอบของประชาชน

ประการที่สาม ที่ควรจะปฏิรูปก็ไม่ใช่การปฏิรูปกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่

เป็นภาษีอากรของประเทศ ผู้เขียนมีความเห็นว่าปัจจุบันระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมีความ สำ�คัญและได้ถกู นำ�มาใช้ในทุกระบบของการสือ่ สารโดยเฉพาะในระบบของการจัดเก็บภาษีอากร ในประเทศที่พัฒนาแล้วได้ปรับระบบการประเมินและแสดงรายละเอียดประกอบการเสียภาษี อากรของบุคคลของนิติบุคคลทั้งหมดเป็นรูปของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วย จำ�นวนเงินมหาศาล แต่ก็ผลตอบแทนที่ค่อนข้างสูงมากและดีทันเวลา โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวกับการรับการยื่นแบบการแสดงภาษีอากรของประเทศไทยก็ได้เริ่มใช้มาเป็นระยะเวลา เกือบ 20 ปีแล้ว แต่ก็เพียงเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ได้ใช้ตรวจสอบการยื่นภาษีอากร ขณะที่อีกครึ่ง หนึ่งก็ยังจะต้องถูกประเมินโดยบุคลากรที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่จำ�เป็นต้องใช้สิ่งพิมพ์ออกที่ได้ จากการยื่นแบบการเสียภาษีอากรทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่กรมหลาย ๆ กรมซึ่งมีหน้าที่ จัดการเก็บภาษีอากรได้ออกแบบ แต่ที่ขาดก็คือการประเมินผลรวมของการเสียภาษีอากร และ ที่สำ�คัญที่สุดก็คือการมี Cyber Tax Audit เหมือนกับ Cyber Police ที่จะดูความผิดปกติของ ทุกรายการที่ยื่นภาษีอากร ก็ทราบว่าในหลายกรมที่จัดเก็บภาษีอากรได้มีใช้บางแล้ว แต่ก็เชื่อ ว่ายังไม่ครบสมบูรณ์ทั้งหมดเช่นในต่างประเทศ และโดยเฉพาะก็ยังไม่ได้มีการบังคับให้ผู้เสีย ภาษีอากรใช้ระบบนี้ทั้งหมด ซึ่งแม้ต้นทุนการลงทุนอาจจะสูงในเบื้องต้นแต่ก็คุ้มกับการตรวจ สอบการประเมินภาษีอากรที่จะทำ�ได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นการปฏิรูปในหัวข้อนี้จึงน่าจะเป็น ประเด็นหลักทีส่ �ำ คัญอีกประการหนึง่ ทีร่ ฐั บาลควรจะพิจารณาลงทุนและไม่ใช่ลงทุนแต่เฉพาะตัว อุปกรณ์ระบบคอมพิวเตอร์เท่านัน้ จะต้องมีศนู ย์ปฏิบตั กิ าร ศูนย์การอบรมพนักงานจัดเก็บภาษี อากรที่เกี่ยวข้องของทุกกรมกองที่จะต้องเข้ามาเรียนรู้ระบบปฏิบัติการระบบการตรวจสอบภาษี อากรที่ทันสมัย และก็เป็นที่เชื่อได้ว่าเป็นเรื่องที่ดีและจะเป็นประโยชน์กับประเทศชาติ รัฐบาล ใดก็ตามไม่ควรที่จะมีแนวความคิดที่จะประหยัดและไม่ลงทุนในเรื่องนี้ เพราะว่าผลประโยชน์ที่ รัฐจะได้ในระยะยาวนั้นมีมากกว่าจำ�นวนเม็ดเงินลงทุนที่จะปฏิรูปวิธีการจัดเก็บภาษีอากรของ ทั้งประเทศให้ถูกต้อง เพราะประเทศไทยมีคนเสียภาษีทั้งภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อมน่าจะ เกินครึ่งหนึ่งคือ 35 ล้านคนของจำ�นวนประชากรโดยเฉลี่ยที่เกือบถึง 70 ล้านคนในขณะนี้ ใน ประเทศที่พัฒนาแล้วไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และอีกหลายสิบประเทศในสหภาพยุโรป ซึ่ ง มี ก ระบวนการการจั ด เก็ บ ภาษี อ ากรอย่ า งรั ด กุ ม ด้ ว ยระบบเทคโนโลยี ส ารสนเทศและ คอมพิวเตอร์ประเมินผลทีม่ ปี ระสิทธิภาพ เพียงแต่วา่ ประเทศไทยจะมีความโชคดีทมี่ รี ฐั บาลไหน ใจกล้าทีจ่ ะทำ� เพราะเมือ่ ออกแบบทำ�ไปแล้วผลกระทบอาจจะกลับมายังผูด้ ำ�เนินนโยบายดังกล่าว ในฐานะผูบ้ ริหารประเทศก็เป็นได้ ความเป็นผูม้ จี ติ อาสาในการปรับปรุงวิธกี ารจัดเก็บภาษี อากรที่ทันสมัยจึงยังรอความหวังจากผู้บริหารประเทศอยู่อีกต่อไป

5

ประการที่สี่ ของความเป็นผู้มีจิตอาสาก็คือการปฏิรูปการศึกษาที่ต้องมีการ

จัดการวางแผนแม่บทของการศึกษาให้รวมถึงหน้าที่พลเมืองที่ดีที่นอกจากจะต้องเป็นเด็กและ เยาวชนซึ่งต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตที่พูดกันในสมัยปัจจุบันว่า “โตไปไม่โกง” นั้น ก็เป็นจุด สำ�คัญที่สุด แต่ในขณะที่ไม่โกงนั้นเพราะหน้าที่ที่สำ�คัญของเด็กและเยาวชนที่จะเติบใหญ่เป็น ผูน้ �ำ เป็นผูบ้ ริหารทัง้ ภาครัฐภาคเอกชนก็คอื การเสียภาษีอากรอย่างถูกต้อง ความเป็นผูม้ ี “หน้าที่ พลเมือง ในทุกสังคมทั้งทั้งระบบสังคมไม่ว่าจะเป็นระบบประชาธิปไตยหรือสังคมนิยมในรูป แบบใด แต่หน้าทีใ่ นการเสียภาษีอากรซึง่ เป็นหน้าทีส่ �ำ คัญต่อพลเมืองนัน้ เหมือนกันหมด เพราะ เป็นจุดที่แสดงถึงความเป็นผู้มีความรับผิดชอบเป็นผู้ที่ให้ความสำ�คัญกับอนาคตของประเทศที่ จะพัฒนาคือก้าวหน้าต่อไปด้วยเงินภาษีอากรที่รัฐจะได้รับอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย บรรดาครู และอาจารย์ซึ่งสอนนักเรียนนักศึกษาทั้งภาคปกติภาคพิเศษ โดยเฉพาะโรงเรียนกวดวิชาซึ่ง ปัจจุบันก็มีอยู่อย่างดาษดื่น และก็เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่ามีการวางแผนภาษีอากรให้เสียลดลง หรือไม่ได้เสียภาษีอากรบ้างก็มีอยู่ไม่น้อย จึงมีการยกเครื่องภาษีเงินได้ในเรื่องนี้ในปี 2558 ทำ�ให้ครูสอนพิเศษต้องเสียภาษีเงินได้สงู ขึน้ จากทีเ่ คยได้รบั ยกเว้น แต่เคราะห์กรรมก็คงไปอยูท่ ี่ เด็กนักเรียนนักศึกษาอีกที คงต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น กรณีเช่นครูบาอาจารย์อย่างนี้ที่ถูกต้อง ก็คงต้องทำ�เป็นตัวอย่างต้องแสดงตนเป็นผู้มี “จิตอาสา” ที่จะทำ�ให้นักเรียนนักศึกษา กุลบุตร กุลธิดา ที่จะเติบใหญ่เป็นกำ�ลังสำ�คัญของประเทศในอนาคตให้ซึมซับถึงหน้าที่และความรับผิด ในการเสียภาษีอากรให้อยูใ่ นจิตใจของบุคลากรผูเ้ ยาว์ในทุกขัน้ ตอนของการศึกษา ปัจจุบนั การ เรียนรู้สำ�นึกและความรับผิดชอบในความเป็นผู้มีหน้าที่พลเมืองนั้นได้ขาดหายไปอย่างมาก มี การพูดอยูบ่ อ่ ยครัง้ จากผูน้ �ำ ทางการเมืองว่าเด็กและเยาวชนขาดภาวะในการเป็นผูน้ �ำ แต่ถา้ กลับ มาดูผู้บริหารประเทศเองก็ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ถ้าหากว่าความเป็นผู้นำ�อยู่ในชนชั้นของ ผู้บริหารประเทศกลับปกปิดไม่แสดงความบริสุทธิ์ความโปร่งใสในการเสียภาษีอากร ก็ไม่อาจ นับได้ว่าความเป็นผู้มีหน้าที่พลเมืองของเด็กนักเรียนและนักศึกษานั้นตกต่ำ�แต่เพียงอย่างเดียว ดูแล้วก็จะตกต่ำ�ไปทั้งหมดรวมทั้งผู้ใหญ่ด้วย ความมีจิตอาสาในการที่จะเป็นตัวอย่างแก่ เด็กนักเรียนจึงจำ�เป็นอย่างยิ่งในการสอนและอบรม

ประการที่ห้า ที่เห็นว่าเป็นประการสุดท้ายของเรื่องการปฏิรูปภาษีอากรของ

ประเทศก็คือ ความมีจิตอาสาร่วมกันทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในการที่จะรวบรวมงานวิจัย เชิงลึก คือกลไกการจัดเก็บภาษีอากรในแต่ละระบบทัง้ ทีม่ อี ยูใ่ นประเทศไทยและในต่างประเทศ ทีม่ ปี ระเภทการจัดเก็บภาษีทเี่ หมือนกันมาใช้เป็นพืน้ ฐานของการปฏิรปู ครัง้ ใหญ่ ในขณะเดียวกัน ก็วางคณะทำ�งานการวิจัยออกให้ครอบคลุมฐานภาษีอากรทุกฐาน แล้วกำ�หนดโครงสร้าง หลักของภาษีอากรของประเทศใหม่ให้มีความชัดเจน โปร่งใส เข้าใจง่าย และมีความเป็นธรรม ให้สถาบันแห่งความร่วมมือนี้เป็นศูนย์ความร่วมมือของนักกฎหมาย นักวิชาการ ข้าราชการผู้มีประสบการณ์ที่มีจิตอาสาในการทำ�งานเพื่อประโยชน์ของประเทศ ร่วมกัน ดังนั้น “ความเป็นผู้มีจิตอาสา” นั้น ดูจะเป็นเรื่องสำ�คัญเป็นประการแรกของการ ปฏิรูปภาษีอากรที่อาจจะรวมไปถึงการปฏิรูปกฎหมายอื่นอีกด้วย ภาษีอากรนั้นเราท่านทราบ กันดีว่าเป็นสายเลือดหลักของประเทศ หากมี “จิตอาสา” ในประเด็นสำ�คัญที่ได้กล่าวข้างต้น แล้ว เชือ่ ว่าจะยังให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติอย่างอเนกอนันต์ ส่วนทีจ่ ะปฏิรปู กฎหมายและ โครงสร้างภาษีอากรทั้งหมดหรือบางส่วนก็คงจะเป็นเรื่องที่ตามมา.


6

ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 11 เดือนพฤศจิกายน 2558

บทความพิเศษ

สถาบันวิจัยและพัฒนากฎหมาย สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอเสนอคำ�ถาม คำ�ตอบเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 ซึ่งเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2558 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติฉบับนี้แล้ว ดังนี้ 1. การประกอบกิจการทวงถามหนี้ ใครบ้างจะทำ�ได้

คำ�ตอบ บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการ ทวงถามหนี้สามารถยื่นขอจดทะเบียนเพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบ กิจการทวงถามหนี้ได้

2. การจดทะเบียนของผูป ้ ระกอบกิจการทวงถามหนีจ้ ะยืน ่ จดได้ที่ใด

คำ�ตอบ ผู้ที่อยู่ในกรุงเทพมหานครยื่นคำ�ขอจดทะเบียนตามแบบ ที่กำ�หนดไว้ในกฎกระทรวงต่อนายทะเบียน ณ สำ �นักงานทะเบียนกอง บัญชาการตำ�รวจนครบาล และผู้ที่อยู่ในจังหวัดอื่นยื่นคำ�ขอจดทะเบียนต่อ นายทะเบียน ณ สำ�นักงานทะเบียนที่ทำ�การปกครองจังหวัดของทุกจังหวัด

6. กรณี ท นายความเป็ น เจ้ า ของบริ ษั ท หรื อ ห้ า งฯ นิ ติ บุคคลประสงค์จะประกอบธุรกิจการทวงถามหนี้เช่น บุคคลอื่นจะไปจดทะเบียนที่ไหน

3. ทนายความหรื อ สำ � นั ก งานทนายความที่ ป ระกอบ วิชาชีพทนายความจะต้องจดทะเบียนหรือไม่

คำ�ตอบ สำ�หรับผู้ประกอบวิชาชีพทนายความหรือสำ�นักงานทนายความ ยังคงประกอบวิชาชีพในการรับเป็นทนายความในคดีสามารถทวงถามหนี้ใน ทุกคดีที่รับเป็นทนายความว่าความให้ได้ตามปกติไม่เปลี่ยนแปลง

4. ทนายความหรือสำ �นักงานทนายความที่ประสงค์จะ ประกอบธุรกิจการทวงถามหนี้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ทั่วไปต้องจดทะเบียนหรือไม่

คำ�ตอบ กรณีทนายความหรือสำ�นักงานทนายความจะประกอบธุรกิจการ ทวงถามหนี้ ให้ยนื่ คำ�ขอจดทะเบียนกับคณะกรรมการสภาทนายความตามข้อ บังคับของสภาทนายความ ที่ขณะนี้รอการพิจารณาอนุมัติของคณะกรรมการ บริหารสภาทนายความในการประชุมประจำ�เดือนตุลาคม 2558 และจะเสนอ สภานายกพิเศษพิจารณาอนุมัติต่อไป

5. กรณีทนายความจัดตั้งในรูปของนิติบุคคลแต่ทำ�งาน เฉพาะการรั บ ว่ า ความ การดำ � เนิ น คดี ใ นศาล การ ทวงถามหนี้ในคดีจะต้องจดทะเบียนหรือไม่

คำ�ตอบ สำ�หรับบริษทั จำ�กัด ห้างหุน้ ส่วนจำ�กัด ห้างหุน้ ส่วนสามัญนิตบิ คุ คล ที่ทนายความเป็นเจ้าของและดำ�เนินการในด้านการรับว่าคดีความอยู่แล้วก็ สามารถออกหนังสือทวงถามหนี้ในคดีได้เป็นปกติ ไม่ต้องจดทะเบียน

คำ�ตอบ กรณีที่ทนายความเป็นเจ้าของบริษัทจำ�กัด ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด หรือห้างหุน้ ส่วนสามัญนิตบิ คุ คล และประสงค์จะประกอบธุรกิจการทวงถาม หนี้ เช่ น เดี ย วกั บ บุ ค คลอื่ น ซึ่ ง นิ ติ บุ ค คลที่ ท นายความเป็ น เจ้ า ของนั้ น มี วัตถุประสงค์รวมถึงการประกอบธุรกิจการทวงถามหนี้อยู่ด้วยแล้ว ในกรณี นี้ต้องไปจดทะเบียนตามกฎกระทรวงของกระทรวงมหาดไทยที่กำ�ลังรอ ประกาศกฎกระทรวงซึ่งผ่านมติคณะรัฐมนตรีไปเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2558 ในราชกิจจานุเบกษาอยู่

7. หากมีการเปลีย ่ นแปลงเกีย ่ วกับทีอ ่ ยูแ ่ ละรายละเอียด อื่ น ของผู้ ป ระกอบกิ จ การทวงถามหนี้ จ ะต้ อ งจด ทะเบียนเพิ่มเติมหรือไม่

คำ�ตอบ ผูถ้ อื ใบสำ�คัญการจดทะเบียนต้องดำ�เนินการแจ้งการจดทะเบียน เปลี่ยนแปลงที่ตั้งที่ทำ�การของผู้ประกอบกิจการทวงถามหนี้ทุกครั้งที่มีการ เปลี่ยนแปลง รวมถึงรายการอื่น ๆ ตามที่กำ�หนดไว้ด้วย ทั้งนี้ต้องยื่นคำ�ขอ เปลี่ยนแปลงภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงนั้น

8. กรณี ห นั ง สื อ สำ � คั ญ แสดงการจดทะเบี ย นสู ญ หาย ชำ�รุด จะขอออกหนังสือสำ�คัญการจดทะเบียนใหม่ได้ หรือไม่

คำ�ตอบ ผูป้ ระกอบกิจการทวงถามหนีท้ จี่ ดทะเบียนแล้วสามารถยืน่ คำ�ขอ ให้นายทะเบียนออกใบแทนหนังสือสำ�คัญการจดทะเบียนแทนต้นฉบับ หนังสือสำ�คัญที่สูญหายหรือถูกทำ�ลายไปได้

9. หนั ง สื อ สำ � คั ญ แสดงการจดทะเบี ย นการประกอบ กิจการทวงถามหนี้มีระยะเวลาสิ้นอายุหรือไม่

คำ�ตอบ หนังสือสำ�คัญแสดงการจดทะเบียนมีกำ�หนดอายุไว้ 3 ปี และ สามารถต่ออายุได้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่หมดอายุ โดยต้องยื่นคำ�ขอต่อ นายทะเบียน ซึ่งนายทะเบียนจะอนุญาตให้อีกคราวละ 3 ปี


ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 11 เดือนพฤศจิกายน 2558

7

รับมอบริบบิ้นขาว : ทค.สุวทิ ย์ เชยอุบล อุปนายกฝ่ายปฏิบตั กิ ารสภาทนายความ พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารสภาทนายความ, ทค.อนงค์ ทิมพงษ์ ประธาน อนุกรรมการด้านเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และคนพิการ สภาทนายความ และอนุกรรมการฯ ร่วมให้การต้อนรับผู้แทนจากกรมกิจการสตรีและสถาบัน ครอบครัว เพือ่ หารือแนวทางความร่วมมือในการให้ความช่วยเหลือผูป้ ระสบปัญหาความรุนแรงและผูไ้ ด้รบั ผลกระทบ ตลอดจนกำ�หนดแนวทางการ ทำ�งานร่วมกันทั้งสองหน่วยงานอันเป็นไปเพื่อขจัดปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรีในระยะยาวต่อไป ในการนี้ได้รับมอบริบบิ้นสีขาว เพื่อนำ�ไป มอบแก่ทนายความในการร่วมรณรงค์เนื่องในเดือนรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรีประจำ�ปี 2558 ด้วย ณ ห้องประชุม 1 สภาทนายความ ถนนราชดำ�เนินกลาง กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2558.

สภาทนายความ ร่วมถกปัญหา “สือ่ กับการละเมิดสิทธิผตู้ อ้ งหา” จากข้อเรียกร้องเกีย่ วกับเรือ่ ง “การปกป้องสิทธิของผูต้ อ้ งหาทีค่ วรได้รบั อย่างถูกต้องตาม กฎหมาย” และโดยภาพรวมจะตำ�หนิการทำ�งานของสือ่ มวลชนในการเสนอข่าวเกีย่ วกับความเหมาะสมใน การเสนอข่าวเรื่องนำ�ตัวผู้ต้องหามาแถลงข่าวในสถานที่ต่างๆ ทั้งที่ผู้ต้องหาคนนั้นยังเป็นผู้บริสุทธิ์ตาม หลักกฎหมายไทย หรือแม้กระทั่งการนำ�เสนอข่าวและภาพข่าวที่อาจสุ่มเสี่ยงที่จะเข้าข่ายละเมิดสิทธิผู้ ต้องหาได้ ดังนี้สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ร่วมกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) สภา ทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ และสถาบันเด็กและเยาวชน (สสย.) จึงได้จัดการเสวนา “สื่อกับการ ละเมิดสิทธิผู้ต้องหา” ขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2558 ที่ห้องประชุมอิศรา อมันตกุล สมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน กรุงเทพฯ โดย นายสุวิทย์ เชยอุบล อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการสภาทนายความฯ เป็นผู้แทนนายกสภาทนายความ เป็นวิทยากรร่วมในการเสวนาครั้งนี้ และได้กล่าวถึงกรณีนี้ว่า “การที่สื่อมวลชน นำ�เสนอข่าวตามที่เจ้าหน้าที่ตำ�รวจแถลงว่า สามารถเป็นเกราะป้องกันการฟ้องร้องได้ ตรงกันข้ามกัน หากสื่อมวลชนนำ�เสนอข่าวเกินข้อเท็จจริง หรือ “ใส่ไข่” ก็ต้องรับผิดชอบ และหากสื่อมวลชน นำ�สิ่งที่เจ้าหน้าที่ตำ�รวจแถลงข่าวอันเป็นเท็จไปลงข่าว ก็อาจต้องร่วมรับผิดชอบด้วย เพราะจริยธรรมของสื่อมวลชน คือ ต้องนำ�เสนอข่าวที่ไม่ทำ�ให้ผู้ถูกละเมิดหรือญาติของผู้ถูกละเมิดได้รับความ เสียหาย เมื่อนำ�เสนอข่าวไปแล้ว สังคมจะพิพากษาทันทีว่า มีความผิด โดยที่ชาวบ้านเขาไม่รู้ว่าเมื่อขั้นตอนไปถึงศาลแล้ว คดีจะมีคำ�พิพากษาอย่างไร.

ขอบคุณสภาทนายความ :

ช่วยเหลือชาวนา : ทค.นิวตั ิ แก้วล้วน เลขาธิการสภาทนายความ รับเรือ่ งร้องขอความช่วยเหลือจาก ตัวแทนเกษตรกรชาวนาจังหวัดฉะเชิงเทรา กรณียังไม่ได้รับเงินจากโครงการรับจำ�นำ�ข้าว โดยมีผู้เสียหายเบื้องต้นจำ �นวน 24 ราย และต้องการให้สภาทนายความช่วยเหลือ ทางกฎหมายต่อไป ณ สภาทนายความ ถนนราชดำ�เนินกลาง กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2558

นายเริงรถ ล้อมลาย รองอธิการบดีฝ่ายธุรการ พร้อมด้วย ผศ.ลีนา ลิ่มอภิชาติ รองอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์ และ นายจเลิศ เจษฎาวัลย์ คณะ บดีคณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง และคณะ เดินทางเข้าขอบคุณ สภาทนายความที่ให้การช่วยเหลือทางกฎหมาย กรณีนักศึกษาได้รับผลกระทบจาก การสลายการชุมนุมทางการเมืองฯ ภายในมหาวิทยาลัยรามคำ�แหง โดยมี ทค.สุนทร พยัคฆ์ อุปนายกฝ่ายช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย พร้อมด้วย ทค.นิวัติ แก้วล้วน เลขาธิการสภาทนายความ และ ทค.สุชาติ ชมกุล กรรมการบริหาร สภาทนายความภาค 1/รองเลขาธิ ก ารสภาทนายความ ร่ ว มรั บ มอบกระเช้ า แสดงความขอบคุณ ณ สภาทนายความ ถนนราชดำ�เนินกลาง กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2558.


8

ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 11 เดือนพฤศจิกายน 2558

คุยอุปกันายกฝ่ บ ายสวัสดิการ

กองบรรณาธิการ

สำ � นั ก งานสวั ส ดิ ก ารและสิ ท ธิ ป ระโยชน์ ส ภา ทนายความ แจ้งผลการดำ�เนินงานการฌาปนกิจสงเคราะห์ ทนายความ (พฤศจิกายน 2558) โดยมีจำ�นวนสมาชิกการ ฌาปนกิจสงเคราะห์สภาทนายความ ได้รับเงินสงเคราะห์ จำ�นวน 14 ราย ดังนี้

1.ทค.อนงลักษณ์ โรจนปุรานนท์ สมาชิกเลขที่ 733/2554 อนุมัติเงินสงเคราะห์จำ�นวน 144,203.20 บาท 2.ทค.ชะนะ ศรีสุเทพ สมาชิกเลขที่ 545/2554 อนุมัติเงิน สงเคราะห์จำ�นวน 131,097.60 บาท 3.ทค.ศุภชัย แสนเสริม สมาชิกเลขที่ 610/2554 อนุมัติเงิน สงเคราะห์จำ�นวน 140,261.60 บาท นายวิเชียร ชุบไธสง 4.ทค.คมสัน สายสุวรรณ สมาชิกเลขที่ 8366/2557 อนุมัติ อุปนายกฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ฯ เงินสงเคราะห์จำ�นวน 142,564.80 บาท 5.นางละเอียด สุรินทรางกูร สมาชิกเลขที่ 8672/2557 อนุมัติเงินสงเคราะห์จำ�นวน 144,060.80 บาท 6.ทค.ศิริสิทธิ์ เรืองศรี สมาชิกเลขที่ 10244/2558 อนุมัติเงินสงเคราะห์จำ�นวน 143,881.60 บาท 7.นายคำ�พอง ยอดน้ำ�คำ� สมาชิกเลขที่ 6346/2556 อนุมัติเงินสงเคราะห์จำ�นวน 144,743.20 บาท 8.ทค.สมชาย แก่นสุวรรณ สมาชิกเลขที่ 9941/2558 อนุมัติเงินสงเคราะห์จำ�นวน 143,804 บาท 9.ทค.จรัญ คูเวียง สมาชิกเลขที่ 1102/2554 อนุมัติเงินสงเคราะห์จำ�นวน 139,597.60 บาท 10.ทค.กรรณวุฒิ จันทรางกูร สมาชิกเลขที่ 9923/2557 อนุมัติเงินสงเคราะห์จำ�นวน 141,280.80 บาท 11.ทค.เพ็ญศรี เจริญสุข สมาชิกเลขที่ 3355/2555 อนุมัติเงินสงเคราะห์จำ�นวน 142,121.60 บาท 12.นางกาหลง ทัศนา สมาชิกเลขที่ 1426/2554 อนุมัติเงินสงเคราะห์จำ�นวน 143,577.60 บาท 13.ทค.สนธยา ถนอมงาม สมาชิกเลขที่ 8409/2557 อนุมตั เิ งินสงเคราะห์จำ�นวน 144,385.60 บาท 14.ทค.เริ่ม รอดดี สมาชิกเลขที่ 8430/2557 อนุมัติเงินสงเคราะห์จำ�นวน 144,226.40 บาท

ระเบี ย บการสมั ค รสมาชิ ก การฌาปนกิจสงเคราะห์สภาทนายความ วัตถุประสงค์ : เพื่อเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในระหว่างเพื่อนผู้ ประกอบวิชาชีพทนายความในการจัดการศพ, สงเคราะห์ครอบครัวของสมาชิก ที่ถึงแก่ความตายด้วยเงินสงเคราะห์ โดยไม่ประสงค์จะหากำ�ไรมาแบ่งปันกัน สิทธิประโยชน์ได้รบั เงินสงเคราะห์จากสมาชิกรายละ 20 บาท และหากมีสมาชิก มากถึง 50,000 คน จะได้รับเงินสงเคราะห์ถึงประมาณ 1,000,000 บาท คุณสมบัติของสมาชิก (อายุไม่เกิน 65 ปี) : ผู้สมัครต้องเป็น ทนายความ บิดามารดา คูส่ มรส หรือบุตรของทนายความ และพนักงานประจำ� ของสภาทนายความ ค่าธรรมเนียมแรกเข้า (650 บาท) : ค่าสมัครท่านละ 100 บาท, เงินสงเคราะห์ล่วงหน้า 500 บาท (เพื่อสำ�รองไว้เป็นเงินสงเคราะห์แก่สมาชิก ที่เสียชีวิตศพละ 20 บาท จำ�นวน 25 ศพ) และค่าบำ�รุงประจำ�ปีๆ ละ 50 บาท หลักฐานประกอบการสมัคร : (กรณีทนายความใช้เฉพาะข้อ 1 และข้อ 6) 1. สำ�เนาใบอนุญาตให้เป็นทนายความ หรือสำ�เนาบัตรประจำ�ตัวสมาชิก ทนายความ 2. สำ�เนาบัตรประจำ�ตัวประชาชน 3. สำ�เนาใบสำ�คัญการสมรส (กรณีคู่สมรสของทนายความที่มิได้เป็นทนายความ) 4. สำ�เนาทะเบียนบ้าน 5. ใบรับรองแพทย์ 6. รูปถ่าย 1 นิ้ว จำ�นวน 2 รูป 7. กรณียินยอมให้หัก บัญชีธนาคาร โปรดแนบสำ�เนาหน้าสมุดบัญชี ธ.กรุงเทพ จำ�กัด (มหาชน) หน้าที่มีเลขที่บัญชีพร้อมชื่อบัญชีมาด้วย วิธีการชำ�ระเงิน : ชำ�ระด้วยตนเอง ณ ที่ทำ�การสำ�นักงานการ ฌาปนกิจสงเคราะห์ ชั้น 1 สภาทนายความ, ชำ�ระเป็น เช็ค สั่งจ่ายในนาม “สภาทนายความ (การฌาปนกิจสงเคราะห์)”, ชำ�ระเป็นธนาณัติ หรือตัว๋ แลกเงิน สัง่ จ่าย ปณ.ราชดำ�เนิน 12000 ชือ่ ผูร้ บั “สภาทนายความ (การฌาปนกิ จ สงเคราะห์ ) ” หรื อ โอนเงิ น เข้ า บั ญ ชี ธ นาคารกรุ ง เทพ จำ�กัด มหาชน สาขาสะพานผ่านฟ้า บัญชีออมทรัพย์ “สภาทนายความ (การฌาปนกิจสงเคราะห์) เลขที่บัญชี 169-0-820343 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ : สำ�นักงานสวัสดิการและสิทธิ ประโยชน์สภาทนายความ เลขที่ 7/89 อาคาร 10 ถนนราชดำ�เนินกลาง แขวง บวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ 0-2629-1430 ต่อ 127, 128 โทรสาร 0-2280-6281

หากเพื่ อ นสมาชิ ก ทนายความท่ า นใดสนใจ โครงการต่ า งๆ ของ สำ�นักงานสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ฯ หรือมีข้อสงสัยประการใด สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ คุณปาริชาต ภู่ศรี, คุณสลิตา รัตน วรรณ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2629-1430 ต่อ 128, 083-040-8662 E-mail : sawatdegan.law@gmail.com ได้ทุกวันและเวลาทำ�การ.

หมายเหตุ : เมือ่ ท่านนำ�เงินเข้าบัญชีโปรดส่งหลักฐานการโอนเงิน ทางโทรสารหมายเลข 0-2280-6281 เพือ่ ตรวจสอบ และออกใบสำ�คัญรับเงิน

ร่วมไว้อาลัย : เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2558 : ทค.เดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ พร้อมด้วย กรรมการบริหารสภาทนายความ ร่วมเป็นเจ้าภาพสวดอภิธรรมศพ ทค.จบ วงศ์ญาโนทัย ทนายความอาสาสำ�นักงานคณะกรรมการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายสภาทนายความ และร่วมทำ�บุญอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้วายชนม์ จำ�นวน 5,000 บาท พร้อมมอบเงินช่วยเหลือของสวัสดิการ ทนายความในการเป็นเจ้าภาพสวดอภิธรรมศพจำ�นวน 2,500 บาท และเงินร่วมทำ�บุญของกรรมการ และ ทนายความซึ่งมอบให้กับญาติผู้วายชนม์อีกจำ�นวนหนึ่ง และเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2558 ทค.สุนทร พยัคฆ์ ร่วมไว้อาลัย : อุปนายกฝ่ายช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายฯ พร้อมด้วย ทค.นิวตั ิ แก้วล้วน เลขาธิการสภาทนายความ เป็น เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2558 : ทค.เดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภา ผูแ้ ทนนายกสภาทนายความ ร่วมงานฌาปนกิจศพ ทค.จบ วงศ์ญาโนทัย ทนายความอาสาสำ�นักงานคณะกรรมการ ทนายความ พร้อมด้วย ทค.สุชาติ ชมกุล กรรมการบริหารสภาทนายความ ช่ ว ยเหลื อ ประชาชนทางกฎหมายสภาทนายความ ณ วั ด ภคิ นี น าถวรวิ ห าร (เชิ ง สะพานซั ง ฮี้ ) บางพลั ด ภาค 1 และ ทค.มนตรี ทรงประไพ ประธานสภาทนายความจังหวัดนนทบุรี กรุงเทพมหานคร. ร่วมงานสวดพระอภิธรรมศพ ทค.สมชาย แก่นสุวรรณ และร่วมทำ�บุญอุทิศ ส่วนกุศลแก่ผู้วายชนม์ และในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 นายกสภา ทนายความ พร้อมด้วย ทค.สุชาติ ชมกุล กรรมการบริหารสภาทนายความ ภาค 1/รองเลขาธิการฯ ร่วมงานพระราชทานเพลิงศพ ทค.สมชาย แก่น สุวรรณ ณ วัดชลประทาน ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี.


ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 11 เดือนพฤศจิกายน 2558

9

คุยกับ นายทะเบียน เรียน เพื่อนทนายความทุกท่าน ตามที่พระราชบัญญัติทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2558 จึงทำ�ให้การทวงถามหนี้ของผู้ประกอบธุรกิจ ทวงถามหนีข้ องบุคคลทัว่ ไปต้องปฏิบตั ติ ามเงือ่ นไขและหลักเกณฑ์ทกี่ �ำ หนดไว้ในพระราชบัญญัตทิ วงถามหนี้ พ.ศ.2558 มาตรา 5 โดยจะต้อง จดทะเบียนการประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ต่อนายทะเบียนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำ�หนดไว้ซึ่งจะออกเป็นกฎกระทรวงและประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาบังคับใช้ต่อไป ส่วนผูป้ ระกอบธุรกิจทวงถามหนีท้ เี่ ป็นทนายความหรือสำ�นักงานทนายความและประสงค์จะประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ ตามพระราชบัญญัติทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 มาตรา 6 โดยจะต้องจดทะเบียนประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ต่อคณะกรรมการสภาทนายความซึ่งทำ� หน้าที่นายทะเบียนรับจดทะเบียน ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรับจดทะเบียนของสภาทนายความต้องรอประกาศของกระทรวง มหาดไทยบังคับใช้เสียก่อน สภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความจึงจะพิจารณาให้ความเห็นชอบและประกาศในราชกิจจานุเบกษาบังคับใช้ตอ่ ไป ดิฉันจึงขอเรียนประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนทนายความทุกท่านทราบว่า ในระหว่างที่หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับจดทะเบียนของ นางสาวอรอนงค์ เทศะบำ�รุง สภาทนายความอยู่ระหว่างรอประกาศของกระทรวงมหาดไทยบังคับใช้เสียก่อน ขณะนี้ บุคคลทั่วไปหรือทนายความหรือสำ�นักงานทนายความจึง นายทะเบียนสภาทนายความ ยังไม่สามารถประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ได้ แต่อาศัยบทเฉพาะกาล มาตรา 46 กำ�หนดให้ผู้ที่ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ซึ่งได้ดำ�เนินการอยู่ก่อน ทีก่ ฎหมายฉบับนีม้ ผี ลใช้บงั คับและประสงค์จะประกอบธุรกิจทวงถามหนีต้ อ่ ไปสามารถจดทะเบียนได้ภายใน 90 วันซึง่ จะครบกำ�หนดในวันที่ 1 ธันวาคม 2558 ดังนัน้ เมือ่ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2558 สภาทนายความจึงได้เปิดรับเอกสารจากทนายความหรือสำ�นักงานทนายความที่ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ ดังนี้ 1.สำ�เนาบัตรประจำ�ตัวประชาชน พร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำ�เนา 2.สำ�เนาทะเบียนบ้าน พร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำ�เนา 3.แผนที่สังเขปแสดงบริเวณที่ตั้งของอาคารและสถานที่ใกล้เคียง 4.หลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของอาคารหรือสถานที่ที่ใช้ประกอบธุรกิจ ทวงถามหนี้ หรือ หนังสือแสดงความยินยอมให้ใช้อาคารหรือสถานที่ที่ขออนุญาต ประกอบกิจการพาณิชย์ ในกรณีที่อาคารหรือสถานที่นั้นเป็นของผู้อื่น

5.สำ�เนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนสำ�นักงานทนายความทีจ่ ดทะเบียนกับ สภาทนายความ (ถ้ามี) หรือสำ�เนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิตบิ คุ คล วัตถุประสงค์ และผู้มีอำ�นาจกระทำ�การแทนนิติบุคคลผู้จดทะเบียนประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ ไม่เกิน สามเดือน (กรณีนิติบุคคลเป็นผู้ขออนุญาตประกอบธุรกิจทวงหนี้) 6.หนังสือแต่งตั้งผู้แทนคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือนิติบุคคล ผู้มีอำ�นาจลงนามผูกพัน 7.รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง สวมครุยเนติบัณฑิตยสภา ไม่สวมหมวก ถ่ายไว้ ไม่เกิน 6 เดือนขนาด 4x6 เซนติเมตร จำ�นวน 2 รูป

ทั้งนี้ สภาทนายความจะรับจดทะเบียนได้ต้องรอประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับจดทะเบียนผู้ประกอบธุรกิจมีผลใช้บังคับแล้ว ส่วนทนายความหรือ สำ�นักงานทนายความทีจ่ ะขึน ้ ทะเบียนเป็นผูป ้ ระกอบธุรกิจทวงถามหนีร้ ายใหม่ตอ้ งรอหลักเกณฑ์ วิธกี าร และเงือ่ นไขการรับจดทะเบียนเป็นผูป้ ระกอบธุรกิจ ทวงถามหนี้ต่อไป.

หารือหลักสูตรทนายความชำ�นาญการกฎหมายสหกรณ์ : ทค.พูลศักดิ์ บุญชู อุปนายกฝ่ายนโยบายและแผนงานสภาทนายความ พร้อมด้วย ทค.วิเชียร ชุบไธสง อุปนายกฝ่ายสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ฯ, ทค.สุวทิ ย์ เชยอุบล อุปนายก ฝ่ายปฏิบตั กิ ารฯ ร่วมประชุมหารือกับ ดร.เฉลิมพล ดุลสัมพันธ์ ประธานกรรมการชุมนุมสหกรณ์ ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย และคณะทำ�งานฯ เพื่อพิจารณาหลักเกณฑ์การให้บริการทนายความ ของชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย และการกำ�หนดหลักสูตร “ทนายความผู้ชำ�นาญ การกฎหมายสหกรณ์” ณ ห้องประชุม 1 สภาทนายความ ถนนราชดำ�เนินกลาง กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2558.

ร่วมไว้อาลัย : ทค.เดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ พร้อมด้วย กรรมการบริหาร สภาทนายความ ร่วมงานสวดอภิธรรมศพ ทค.ชาคริต หัตถีกลุ และร่วมทำ�บุญอุทศิ ส่วน กุศลแก่ผวู้ ายชนม์ จำ�นวน 5,000 บาท พร้อมมอบเงินช่วยเหลือของสวัสดิการทนายความ ในการเป็นเจ้าภาพสวดอภิธรรมศพจำ�นวน 2,500 บาท และเงินร่วมทำ�บุญของ กรรมการ และทนายความซึ่งมอบให้กับญาติผู้วายชนม์อีกจำ�นวนหนึ่ง ในการนี้นายก สภาทนายความได้แจ้งให้ทายาทยื่นขอรับการช่วยเหลือทุนการศึกษาจากกองทุนเพื่อ การศึกษาบุตรธิดาทนายความด้วย ณ วัดประดู่ พุทธมณฑลสาย 1 กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2558.

ที่ปรึกษาประจำ�กองบรรณาธิการ :

นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์, นายสัก กอแสงเรือง, นายบำ�รุง ตันจิตติวัฒน์, นายเจษฎา อนุจารี, นายสุชาติ ธรรมาพิทักษ์กุล, นายพูนศักดิ์ บุญชู, ดร.สุธรรม วลัยเสถียร, นายสุมิตร มาศรังสรรค์, นางสาวอรอนงค์ เทศะบำ�รุง, นายธีรศักดิ์ วิชชุตานนท์, ผศ.ว่าที่ร้อยตรี ดร.สุรพล สินธุนาวา, นายชวน คงเพชร, นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์, นายวิเชียร ชุบไธสง, นายชลิต ขวัญแก้ว, นายสุรศักดิ์ รอนใหม่, นายพิเชษฐ คูหาทอง, นายอาสา เม่นแย้ม, นายผาติ หอกิตติกุล, นายวิทยา แก้วไทรหงวน, นายวันรัฐ นาคสุวรรณ, นายโอฬาร กุลวิจิตร

บรรณาธิการ : นายนิวัติ แก้วล้วน กองบรรณาธิการ : นายสุนทร พยัคฆ์, นายสุวทิ ย์

เชยอุบล, ดร.เกียรติศกั ดิ์ วรวิทย์รตั นกุล, นายไสว จิตเพียร, นายศุภกิจ หล่อพัฒนากูร, นายสุชาติ ชมกุล, นายสุรนิ ทร์ ทาซ้าย, นายวิบลู ย์ นาคทับทิม, ว่าทีร่ อ้ ยตรี สมชาย อามีน, นายคราศรี ลอยทอง, นายโอวาท จุลโคตร, นายเจษฎา คงรอด, นายสัมฤทธิ์ เชือ้ สาวถี, นายดนัย พุม่ เล็ก, นางสาวชืน่ ชนก วชิรธาราธาดร, ดร. วิเศษ แสงกาญจนวนิช, นางสาวนงลักษณ์ แตงเจริญ ผู้ช่วยกองบรรณาธิการ : นางสาวนัทธมน จันดี, นายไพศาล แก่ฉมิ

• ผลิตโดย สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ เลขที่ 7/89 อาคาร 10 ถนนราชดำ�เนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ : 0-2629-1430 ต่อ 129, 146 โทรสาร : 0-2282-9908


10

มุมกิจกรรม

ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 11 เดือนพฤศจิกายน 2558

แรลลี่การกุศลสิ่งแวดล้อม :

ทค.สุวทิ ย์ เชยอุบล อุปนายกฝ่ายปฏิบตั กิ าร/ประธานคณะกรรมการส่งิ แวดล้อม สภาทนายความ เป็นผู้แทนนายกสภาทนายความ เปิดการแข่งขันแรลลี่การกุศลสิ่ง แวดล้อมชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนฯ ราชสุดาสยามบรมราชกุมารี โดยตัด ริบบิ้นปล่อยจุดสตาร์ท ณ เนติบัณฑิตยสภา กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2558 ทัง้ นี้ เงินรายได้หลังหักค่าใช้จา่ ยจากการแข่งขันแรลลีก่ ารกุศลเพือ่ สิง่ แวดล้อมใน ครั้งนี้ จำ�นวน 363,486 บาท มอบให้สำ�นักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯ เพื่อใช้เป็น ทุนในการดำ�เนินการด้านคดีสิ่งแวดล้อมของสภาทนายความต่อไป.

บรรยากาศการแข่งขันฟุตบอลสามเส้านัดกระชับมิตร สภาทนายความภาค 3, ภาค 4 และ ภาค 6 การแข่งขันฟุตบอลสามเส้านัดกระชับมิตร ระหว่าง สภาทนายความภาค 3, สภาทนายความภาค 4 และสภาทนายความภาค 6 โดย ทค.พิเชฐ คูหาทอง กรรมการ บริหารสภาทนายความภาค 4 เป็นเจ้าภาพ ณ สนามกีฬาเทศบาลนครอุดรธานี เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2558

สัมมนาเชิงปฏิบัติการกรรมการทดสอบฯ : ทค.เดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ เป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติ การเพื่ อ พั ฒ นาศั ก ยภาพและมาตรฐานในการดำ � เนิ น งานสำ � นั ก ฝึ ก อบรมวิ ช าว่ า ความแห่ ง สภาทนายความ พร้อมทั้งมอบประกาศเกียรติคุณแก่อนุกรรมการทดสอบฯ ซึ่งสำ�นักฝึกอบรม วิชาว่าความแห่งสภาทนายความจัดขึ้น โดย ทค.เจษฎา อนุจารี ผู้อำ�นวยการสำ�นักฝึกอบรม วิชาว่าความฯ กล่าวรายงานและเป็นวิทยากร ทั้งนี้มีกรรมการบริหารสภาทนายความร่วมงาน และมีผู้เข้าร่วมการสัมมนากว่า 50 คน ณ ออโรร่า รีสอร์ท จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2558.

มอบทุนการศึกษาบุตรธิดาทนายความ : ทค.เดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ มอบเงิน ช่ ว ยเหลื อ กองทุ น เพื่ อ การศึ ก ษา บุตร-ธิดาทนายความ แก่ทายาท ของทนายความที่เสียชีวิต จำ�นวน 11 ทุน เป็นเงิน 101,940 บาท ณ ห้องประธานดวงรัตน์ สภาทนาย ความ กรุ ง เทพฯ เมื่ อ วั น ที่ 30 ตุลาคม 2558.

บรรยายจริยธรรมเนติบัณฑิต : ทค.เดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ เป็นวิทยากรบรรยายในการอบรมหลักสูตรภาคจริยธรรม เนติบัณฑิต สมัยที่ 67 หัวข้อเรื่อง “จริยธรรมของนัก กฎหมายในทัศนะของทนายความ” พร้อมทั้งร่วมลง นามแสดงความยินดีแก่เนติบัณฑิตรุ่นที่ 67 และรับมอบ ของทีร่ ะลึกในการ บรรยายฯ ทีเ่ นติบณ ั ฑิตยสภา กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2558.


มุมกิจกรรม

ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 11 เดือนพฤศจิกายน 2558

11

วันปิยมหาราช : ทค.เดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ พร้อมด้วย คณะกรรมการบริหารสภาทนายความ , ทนายความ อาสา และพนักงานสภาทนายความ ร่วมวางพวงมาลาถวายสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 5 เนือ่ งในวันปิยมหาราช ประจำ�ปี 2558 ทีบ่ ริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า พระราชวังดุสติ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2558.

บันทึกเทปรายการถวายพระพร 5 ธันวา มหาราช : ทค.เดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ นำ�คณะกรรมการบริหารสภา ทนายความ และพนักงานสภาทนายความร่วมบันทึกเทปโทรทัศน์รายการถวายพระพรฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ประจำ�ปี 2558 เพือ่ เทิดพระเกียรติและแสดงออกถึงความจงรักภักดี ณ สถานีวทิ ยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 (NBT.) ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ 17 พฤศจิกายน 2558.

ร่วมแสดงความยินดี : ทค.เดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ นำ�คณะกรรมการบริหารสภาทนายความ ร่วมแสดงความยินดีกับ ฯพณฯ วีระพล ตั้งสุวรรณ ประธานศาลฎีกา/นายกเนติบัณฑิตยสภา , นายศิริชัย วัฒนโยธิน ประธานศาลอุทธรณ์/อุปนายกเนติบัณฑิตยสภา คนที่ 1 และ ร้อยตำ�รวจตรี พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร อัยการสูงสุด/อุปนายกเนติบัณฑิตยสภา คนที่ 2 ในโอกาส ที่ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำ�รงตำ�แหน่งใหม่ ณ เนติบัณฑิตยสภา กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้

ต้อนรับแขกต่างประเทศ : ในการประชุมคณะกรรมการบริหารสภาทนายความประจำ�เดือนตุลาคม 2558 ที่ห้องประธานดวงรัตน์ สภาทนายความ ถนนราชดำ�เนินกลาง กรุงเทพฯ : ทค.เดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารสภาทนายความ และคณะประธานสภาทนายความในภาค 6 ร่วมให้การต้อนรับ H.E. Mr. Ivo Sieber Ambassador Embassy of Switzerland in Thailand, Mr. Viktor Vavricka Minister, Deputy Head of Mission Embassy of Switzerland in Thailand and Mr. Bruno Odermatt President Swiss-Thai Chamber of Commerce โดย ดร.ทค.สุธรรม วลัยเสถียร อุปนายกฝ่ายต่างประเทศ เป็นผู้แปลภาษาในการแนะนำ�เรื่องราวต่างๆ ของประเทศสวิตซ์เซอร์แลนด์ พร้อมทั้งได้พูดคุยเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ด้านต่างๆ และความแตกต่างของการใช้กฎหมายระหว่างประเทศ และได้ถ่ายภาพเป็นที่ระลึกบริเวณหน้าที่ทำ�การฯ ในการเดินทางมาเยี่ยมชมสภาทนายความในครั้งนี้ด้วย เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2558.


12

บ้านของเรา

ข่าวสภาทนายความ ปีที่ 3 ฉบับที่ 11 เดือนพฤศจิกายน 2558

ความคืบหน้าการก่อสร้างอาคารที่ทำ�การสภาทนายความ ภาพความคืบหน้าการก่อสร้างอาคารทีท่ ำ�การสภาทนายความ ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 :

เมือ่ วันที่ 30 ตุลาคม 2558 : คณะกรรมการบริหารสภาทนายความ นำ�คณะประธานสภาทนายความจังหวัดในภาค 6 (พิจิตร, พิษณุโลก, กำ�แพงเพชร,นครสวรรค์) เยีย่ มชมความคืบหน้าโครงการก่อสร้างอาคาร ที่ทำ�การสภาทนายความแห่งใหม่ ที่ถนนพหลโยธิน หลักสี่ กรุงเทพฯ

ขอขอบคุณผู้ให้ยืม-บริจาคเงินสมทบกองทุนจัดซื้อที่ดินและก่อสร้างที่ทำ�การสภาทนายความ รายนามผูบ ้ ริจาคเงินสมทบกองทุนจัดซือ ้ ทีด ่ น ิ และ ก่อสร้างที่ทำ�การสภาทนายความ ดังนี้ ปี 2550 : นายสุขเกษม แสงแก้ว 2,000 บาท, นายปรางค์ แก้วปาน 2,000 บาท, นางสาวธัญรดี ห่อเย็น 1,999 บาท, นางสาวทิพย์มาส สันตจิตต์ 1,000 บาท, นางสาวรัตนา ปืนแก้ว 1,000 บาท, นางสาวรุ่งรัศมิ์ ฤทธิ์เดช 1,000 บาท, นายดิลก บูรณจันทร์ 1,000 บาท, นางอนงค์พร ธนชัยอารีย์ 1,000 บาท, นายเจษฎา อนุจารี 1,000 บาท, นายจิรภัทร วินารุ่งเรือง 1,000 บาท, นายปรีชา ประเสริฐศักดิ์ 1,000 บาท, นายสุรพล คณะวรรณ 1,000 บาท, นายไพบูลย์ เกษมสุขสกุล 999 บาท, นางสาว วิรัลพัชร เวชทาวรินทธิ์ธร 999 บาท, นายพงษ์อนันต์ แสงสุข 555 บาท, นางสาวนิภาพร ละมั่งทอง 555 บาท, นายชาญชัย จรูญเกียรติกำ�จร 555 บาท, นายราเชนทร์ สว่างนาค 500 บาท, นายจิรายุส ชืน่ จิตร 500 บาท, ว่าที่ร.ต.วัฒนะ เบาะโต้ง 500 บาท, นายญาโณทัย ราษฎร์พิบูลย์ 500 บาท, พ.ต.ท.บุญเลิศ เริงพงษ์พันธ์ 500 บาท, นายสุชน บุญพิมพ์ 398 บาท, นายวรวุฒิ บุญมี 300 บาท, นายอุทัย พงษ์พฤกษธาตุ 299 บาท, นางสมศิริ หาญพิทักษ์ญาติ 299 บาท

ทค.เดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ พร้อมด้วยกรรมการ บริหารสภาทนายความ รับมอบเงินสมทบกองทุนจัดสร้างอาคารทีท่ �ำ การ สภาทนายความ จำ�นวน 100,000 บาท จาก ทค.ยุวดี - ทค.ขจร สุภทั รวัน ทนายความ ณ ห้องนายกสภาทนายความ ถนนราชดำ�เนินกลาง กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2558.

สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ

ËÇÁÊ‹§ÀÒ¾¢‹ÒÇ-º·¤ÇÒÁÁÒŧà¼Âá¾Ã‹ ไดที่ ¡Í§ºÃóҸԡÒÃ˹ѧÊ×;ÔÁ¾ ¢‹ÒÇÊÀÒ·¹Ò¤ÇÒÁ àÅ¢·Õè 7/89 ÍÒ¤Òà 10 ¶.ÃÒª´Óà¹Ô¹¡ÅÒ§ á¢Ç§ºÇùÔàÇÈ à¢µ¾Ãй¤Ã ¡ÃØ§à·¾Ï 10200

â·ÃÈѾ· 0-2629-1430 µ‹Í 129, 146 â·ÃÊÒà 0-2282-9908

Facebook : ÊÀÒ·¹Ò¤ÇÒÁã¹¾ÃкÃÁÃÒªÙ»¶ÑÁÀ

E-mail : lctnews2013@gmail.com

เลขที่ 7/89 อาคาร 10 ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท 0-2629-1430 ตอ 129, 146 โทรสาร 0-2282-9908

ติดตามต่อได้ในฉบับหน้า...

ชำระคาฝากสงเปนรายเดือน ใบอนุญาตเลขที่ พ.211/2547

ปณ.ราชดำเนิน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.