จดหมายข่าว
ภาพจาก : หนังสือ Naional Parks In Thailand
ปีที่ 3 ฉบับที่ 7 สวัสดีสมาชิกและเพื่อนสมาคมฯ ทุกท่าน ในรอบ 3 เดื อ นที่ ผ ่ า นมา ข่ า วคราวและความ เคลื่อนไหวเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติและสัตว์ป่าของเรามีอยู่ หัวใจส�ำคัญของการฟื้นฟูสัตว์ป่า มากมาย ซึ่งมีทั้งเรื่องดีและเรื่องที่น่าเป็นห่วงส�ำหรับคนที่รักษ์ ธรรมชาติ ผมขอเริ่มด้วยสิ่งที่ดีก่อนนะครับ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี อยู่ที่ • กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช อยู่ การสร้างพันธมิตร จากชุมชน ระหว่างการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 เพือ่ ให้ทนั ต่อสภาวการณ์ตา่ งๆ ทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปภายในประเทศ อุทยานแห่งชาติหุบเขามรณะ และของโลก โดยคาดหวังว่าจะให้แล้วเสร็จและประกาศใช้ Death Valley National Park ภายใต้รัฐบาล คสช.นี้ • กรมอุทยานแห่งชาติฯ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม เชิงปฏิบัติการเรื่องการจัดการอุทยานแห่งชาติทางทะเล เพื่อให้ การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ได้แนวทางปฏิบัติในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล และการ อย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน: จัดการการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บทสรุปเป็น อย่างไร ทางสมาคมฯ จะน�ำมาตีพมิ พ์ในจดหมายข่าวฉบับต่อไป กรณีอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ • ประเทศไทยได้จดั ส่งค�ำขอและเอกสารประกอบเพือ่ เสนอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติส�ำหรับกลุ่มป่า แก่งกระจานมาตัง้ แต่ปกี อ่ น แต่จะทราบผลว่าได้ขนึ้ ทะเบียนเป็น มรดกโลกหรือไม่ ก็อยู่ในราวต้นเดือนกรกฎาคมศกนี้ ส่วนเรือ่ งทีน่ า่ เป็นห่วงนัน้ พอสรุปให้เห็นภาพกว้างๆ ได้ดังนี้ • การปรับปรุง พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติครั้งนี้ มีหลาย มาตราที่ส่อไปในทางขัดแย้งหรือตรงกันข้ามกับเจตนารมณ์ ดั้งเดิมของการประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ โดยการให้ความ ส�ำคัญกับเรื่องการพัฒนาการท่องเที่ยวมากกว่าการสงวนรักษา ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ รวมทัง้ เรือ่ งการศึกษาเรียนรู้ สิ่งที่มีคุณค่าภายในอุทยานแห่งชาติ อาทิ การก�ำหนดเขตการ จัดการอุทยานแห่งชาติยังไม่ถูกต้องตามหลักสากล การเปิดให้ เอกชนเข้ามารับสัมปทานด้านการบริการ การยอมให้น�ำชนิด พันธุ์พืชและสัตว์ต่างถิ่นเข้ามาในอุทยานแห่งชาติ เป็นต้น
เรื่องในเล่ม
2 5 10
มกราคม - มีนาคม 2558 สมาคมอุทยานแห่งชาติจงึ เป็นห่วงอนาคตของอุทยานแห่งชาติซงึ่ เป็น สมบัติของชาวไทยทุกคน และจะจัดท�ำข้อคิดเห็นคัดค้าน รวมทั้ง ข้อเสนอแนะที่เป็นหลักการเสนอไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในโอกาสต่อไป • เท่าที่ติดตามข่าวจากสื่อทุกประเภท ดูเหมือนว่าท่าน นายกรัฐมนตรีจะไฟเขียวให้มีการก่อสร้างท่าเรือน�้ำลึกที่ปากบารา จังหวัดสตูล ค่อนข้างแน่นอน จากการไปสังเกตบริเวณที่จะก่อสร้าง และได้พูดคุยกับบุคคลหลายฝ่ายเมื่อไม่นานมานี้ ต้องบอกว่าเป็น เรื่องที่น่าเสียดายและน่าเป็นห่วงอย่างยิ่งว่าทรัพยากรธรรมชาติทั้ง ในทะเลและชายฝัง่ รวมตลอดถึงทัศนียภาพอันงดงามซึง่ เป็นต้นทุน ของการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ โดยเฉพาะบริเวณอุทยานแห่งชาติ หมูเ่ กาะเภตราและอุทยานแห่งชาติตะรุเตา จะได้รบั ผลกระทบอย่าง รุนแรงเกินกว่าจะเยียวยาได้ จึงสงสัยว่า รายงานการศึกษาผล กระทบสิ่ ง แวดล้ อ มและสุ ข ภาพผ่ า นความเห็ น ชอบของคณะ กรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมาได้อย่างไร • คงจ�ำกันได้วา่ ผืนป่าดงพญาเย็น – เขาใหญ่ เคยรอดพ้น จากการถูกขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกที่อยู่ในภาวะอันตรายตามมติ ของคณะกรรมการมรดกโลกเมื่อคราวประชุมในปีก่อน และในปีนี้ คณะกรรมการมรดกโลกจะยังมีการประชุมติดตามประเด็นปัญหา การบริหารจัดการผืนป่าดังกล่าวอีกในราวต้นเดือนกรกฎาคม หาก ประเด็นปัญหาต่างๆ ยังไม่ได้รับการแก้ไขจนเป็นที่พอใจของคณะ กรรมการมรดกโลก ก็เป็นไปได้ว่ามรดกโลกทางธรรมชาติผืนนี้ จะถูกแขวนอยู่ในทะเบียนดังกล่าวอย่างแน่นอน ผมขอจบเรือ่ งบอกเล่าเท่านีก้ อ่ นนะครับ หากท่านสมาชิก และเพื่ อ นสมาคมฯ มี ค� ำ ถามหรื อ มี ข ้ อ คิ ด เห็ น เกี่ ย วกั บ อุ ท ยาน แห่งชาติ สัตว์ป่า และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างหนึ่งอย่างใด ก็สามารถส่งมาทีส่ มาคมฯได้ตลอดเวลา โดยผ่านทางเฟสบุค้ สมาคม อุทยานแห่งชาติ หรืออีเมล… สุรเชษฎ์ เชษฐมาส 13 พฤษภาคม 2558
หัวใจส�ำคัญของการฟื้นฟูสัตว์ป่าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี
อยู่ที่การสร้างพันธมิตร
จากชุมชน
ความเป็นมา ป่าในประเทศไทยก�ำลังกลายเป็นป่าที่ไร้ชีวิต เพราะสัตว์ ป่าหลายชนิดได้สูญหายไปจากผืนป่า เช่น แรด สมัน และอีกหลายชนิด ก�ำลังสูญพันธุ์ โดยเฉพาะเสือโคร่งเพราะถูกล่าเพือ่ ชิน้ ส่วน เป็นยา เครือ่ ง ประดับ รวมทัง้ เหยือ่ ของเสือโคร่ง เช่น เก้ง กวางป่า กระทิง หมูปา่ ซึง่ เป็น อาหารของเสือโคร่งถูกล่าเหลือน้อยลง ปัญหาด้านการสูญเสียทรัพยากร สัตว์ป่า โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีการลดของ จ�ำนวนสัตว์ป่าสูงที่สุดในโลก อันมีสาเหตุมาจากการล่าสัตว์ป่า ซึ่งใน ปัจจุบันมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในหลายแนวทาง ซึ่งการ ด�ำเนินการกิจกรรมในการลดปัญหาการการล่าสัตว์ป่า ส่วนใหญ่มักจะ มองข้ามความรู้พื้นฐานของพฤติกรรมของมนุษย์ ตามแนวคิดของ สังคมศาสตร์ รวมทั้งให้ความสนใจกับความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง พฤติ ก รรมของมนุ ษ ย์ รวมถึ ง การออกแบบการวั ด และประเมิ น ประสิทธิภาพของแนวทางของกิจกรรมต่างๆ เพื่อลดปัญหาการล่าสัตว์ ป่า อันเป็นสาเหตุส�ำคัญของ ปัญหาการลดลงของสัตว์ป่า ใครคือผู้ร่วมอนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์ป่า
กลุ่มเด็กจากโรงเรียนและชุมชน ร่วมกันทำ�โป่งเทียมเพื่อฟื้นฟูเหยื่อของเสือโคร่ง
2 จดหมายข่าวอนุรักษ์ธรรมชาติ
โดย โรเบิตร์ สไตเมทซ์ สุรศักดิ์ ศรีรัตนาภรณ์ จิรติ มอทิพย์ และนเรศ เสือทุเรียน
หากพูดถึงบทบาทในการอนุรกั ษ์ปา่ ไม้และสัตว์ปา่ เราจะนึกถึง เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเพราะมีบทบาท หน้าทีใ่ นการดูแลและอนุรกั ษ์โดยตรง ปัจจุบนั เจ้าหน้าทีไ่ ด้ท�ำหน้าทีล่ าด ตระเวนซึ่งเป็นแนวทางส�ำคัญในการป้องกันการล่าสัตว์ป่า แต่ในความ เป็นจริง พื้นที่มหาศาลกับก�ำลังเจ้าหน้าที่อันน้อยนิด ไม่สามารถยับยั้ง การล่าสัตว์ปา่ ทีท่ ำ� กันอย่างเป็นกระบวนการได้ ดังนัน้ จึงจ�ำเป็นอย่างยิง่ ต้องมีพันธมิตร แนวร่วมมาช่วยกันดูแลและปกป้องมรดกทางธรรมชาติ ที่ทรงคุณค่า ชุมชนรอบผืนป่าจึงเป็นหัวใจส�ำคัญของการอนุรักษ์ฟื้นฟู สัตว์ป่า นอกเหนือจากการป้องกันอย่างเข้มข้นของทางอุทยานแห่งชาติ กุยบุรี ทางโครงการได้น�ำหลักการความรูด้ า้ นสังคมศาสตร์และจิตวิทยา มาใช้ในการออกแบบการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์เพื่อลดปัญหาการ ล่าสัตว์ป่า (อุทยานแห่งชาติกุยบุรี) โดยมีการติดตามผลจากแนวโน้ม ของสัตว์ป่าและอัตราการล่าสัตว์ป่าและข้อมูลด้านสังคมศาสตร์ เป็น เวลา 4 ปี (พ.ศ. 2549-พ.ศ. 2554) ซึง่ โครงการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ดังกล่าว มีเป้าหมายส�ำคัญ 6 ประการ คือ 1) สร้างความไว้วางใจกับ ชุมชน 2) สร้างความตระหนัก 3) ให้เกิดแรงจูงใจ 4) เสนอทางออกใน การแก้ไขปัญหา 5) ให้เกิดความมั่นใจที่สามารถท�ำได้ด้วยตนเอง และ 6) สร้างแรงกดดันทางสังคมเพื่อต่อต้านการล่าสัตว์ป่าในชุมชน ทั้งนี้ เพือ่ จะน�ำไปสูก่ ารเปลีย่ นแปลงพฤติกรรม ตามหลักการด้านสังคมศาสตร์ อันจะส่งผลให้เกิดการอนุรักษ์และลดปัญหาการล่าสัตว์ป่า ใครคือพันธ์มิตรผู้ช่วยฟื้นฟูสัตว์ป่า ในปี พ.ศ. 2551 อุทยานแห่งชาติกยุ บุรี กรมอุทยานอุทยานแห่ง ชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และ WWF ประเทศไทย ได้เริ่มสร้างพันธมิตร จากชุมชนรอบผืนป่า กลุ่มเป้าหมายที่ส�ำคัญมีอยู่ 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ใหญ่ ในชุมชน ส่วนใหญ่เป็นชาวไร่ กลุม่ เด็กซึง่ เป็นลูกหลานในชุมชน และกลุม่ เจ้าหน้าทีร่ ฐั ทัง้ ข้าราชการส่วนต่างๆ ก�ำนัน ผูใ้ หญ่บา้ น องค์การปกครอง
อะไรเป็นแรงจูงใจทีท่ ำ� ให้คนเข้ามาช่วยในการอนุรกั ษ์สตั ว์ปา่ ? การเพิ่มความตระหนักในปัญหาของสัตว์ป่า โดยลองคิดเอาใจเขามา ใส่ใจเรา ให้ประชาชนได้รู้ถึงบทบาทในระบบนิเวศ ที่จะส่งผลต่อเราใน อนาคต ความผิดท�ำนองคลองธรรมในการทีม่ นุษย์ท�ำให้สตั ว์ปา่ ต้องสูญ พันธุ์หายไปจากโลกเรา สิ่งต่างๆ เหล่านี้ มีอิทธิพลต่อการส่งผลต่อการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างเช่น การตัดสินใจเลิกกินเนื้อสัตว์ป่าของ คุณครูสุรพจน์ ดังนั้น การออกไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ จึงเป็นการเริ่ม ต้นในการสร้างความตระหนักและความรู้แก่ชุมชน คณะครู พัฒนาแผนการสอนเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูสัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติกุยบุรี
ส่วนท้องถิน่ โดยมีแนวคิดในการหาบุคคลทีม่ คี วามสนใจเข้ามาร่วมเป็น พันธมิตรในการอนุรักษ์ และเชิญชวนบุคคลต่างๆ เหล่านั้นเข้ามามีส่วน ร่วมในการช่วยเหลือสัตว์ป่าร่วมกับโครงการ ไทเกอร์แบนด์สร้างสรรค์จิตส�ำนึกเพื่อชีวิตสัตว์ป่า จากแนวคิดการมองชุมชนอย่างเป็นมิตรในปี พ.ศ. 2551–พ.ศ. 2554 ได้มกี ารพัฒนารูปแบบกิจกรรมการอนุรกั ษ์นอกเหนือจากการลาด ตระเวนเจ้าหน้าที่ป่าไม้ต้องมาจับกีตาร์ เครื่องดนตรี เป็นการสร้าง พันธมิตรและฝึกทักษะด้านการสือ่ สารการเผยแพร่ โดยออกลาดตระเวน ไปตามโรงเรียนและชุมชน ใช้เสียงดนตรีบรรเลงขับกล่อมบอกเล่าเรื่อง ราวและสร้างพลังการมีส่วนร่วมกับเด็กและเยาวชน ครู ในชุมชน นอก เหนือดนตรี เราเข้าร่วมประชุมกับชาวบ้าน และเดินรณรงค์ในตลาดนัด ร่วมประชุมจังหวัด อ�ำเภอ องค์การบริหารส่วนต�ำบล รวมทัง้ กิจกรรมการ
แต่ความรู้ และความตระหนักอาจจะยังไม่เพียงพอ บางคน ต้องมีแรงจูงใจเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม “เน้นที่เด็ก” ลุงทวีชัย จาก บ้านแพรกตะลุย บอกว่า เด็กมีอิทธิพลต่อพ่อแม่ หลังจากกิจกรรมเผย แพร่ในโรงเรียน นักเรียนได้กลับไปบอกเล่ากับพ่อแม่ต่อถึงปัญหาการ สูญพันธุข์ องสัตว์ปา่ และเราได้อภิปรายแลกเปลีย่ นกับชาวบ้านในชุมชน ถึงบทบาทของสัตว์ปา่ ในการดูแลผืนป่าทีส่ มบูรณ์ ให้ประโยชน์ตอ่ ชุมชน เช่น น�ำ้ อากาศบริสทุ ธิ์ เพือ่ ให้ชาวบ้านจึงเกิดแรงจูงใจเปลีย่ นพฤติกรรม เพราะเห็ น แก่ เ ด็ ก และคุ ณ ค่ า ประโยชน์ ที่ พ วกเขาจะได้ รั บ จากป่ า ที่ สมบูรณ์ ทางเลือกที่ชุมชนท�ำได้เป็นสิ่งจ�ำเป็น นอกเหนือจากการสร้างความตะหนักและแรงจูงใจ ชาวบ้าน จ�ำเป็นต้องมีทางเลือกในการเปลีย่ นพฤติกรรมในการเผยแพร่ทกุ ครัง้ เรา
ผู้นำ�ชุมชน กล่าวรณรงค์ ลดการล่าสัตว์ป่า เพื่ออนุรักษ์เสือโคร่งและเหยื่อ วงตนตรีไทเกอร์แบนด์ (Tiger Band) บรรเลงในประชุมหมู่บ้าน
ท�ำโป่งเทียมร่วมกับโรงเรียนเพื่อเป็นแหล่งอาหารของเหยื่อเสือโคร่งใน ผืนป่า โดยได้ด�ำเนินกิจกรรมมากกว่า 100 ครั้ง กับชุมชนรอบพื้นที่ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี เมือ่ ชุมชนรับรู้ เข้าใจตระหนักร่วม แม้วา่ ผูท้ ลี่ า่ สัตว์โดยตรงไม่ ได้เข้ามาร่วมกิจกรรมดังกล่าว แต่ได้รบั ความกดดันทางสังคม เพือ่ ให้คน ที่ล่าสัตว์ทั้งในและนอกชุมชน เกรงใจและไม่กล้าล่าสัตว์อีก “ผมเคยกิน เนื้อสัตว์ป่าบางครั้ง และก็จะหยุดกินเนื้อสัตว์ป่า ต่อไป” นี่เป็นค�ำกล่าวของคุณครูสุรพจน์หลังจากได้รู้ถึงปัญหาของเสือ โคร่งในประชุมเครือข่ายครูฟน้ื ฟูสตั ว์ปา่ จากโรงเรียนรอบผืนป่าทีจ่ ะขยาย ผลไปสู่การให้นักเรียนเป็นทูตในการบอกกล่าวการลดการล่าสัตว์ป่าใน หมู่บ้าน
รณรงค์ ในตลาดนัดชุมชน
มกราคม - มีนาคม 2558 3
12 10 8 6 4 2 0
2552
สำ�รวจความคิดเห็นของชาวบ้านเกี่ยวกับการอนุรักษ์สัตว์ป่า
จึงมีทางเลือกสีแ่ นวทางในการร่วมมือตามระดับความยาก คือ 1) รูแ้ ล้ว บอกต่อ เป็นการบอกต่อถึงปัญหา 2) คิดใหม่ ถ้าเป็นคนขายสัตว์ป่า คนล่าสัตว์ป่า ขอให้คิดให้ดีก่อน 3) รักและปกป้อง ไม่ยอมให้คน ภายนอกเข้ามาท�ำลายสัตว์ป่าในชุมชน และ 4) แนวทางสุดท้ายคือ ให้ ช่วยเป็นหูเป็นตาให้กับอุทยานแห่งชาติ ขบวนการสร้างพันธมิตรท�ำให้การล่าสัตว์ป่าลดลง นับตัง้ แต่ปี พ.ศ 2551 จนปัจจุบนั หลังจากได้มกี ารท�ำกิจกรรม พร้อมการวิจัย พบว่าแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของสัตว์ป่าที่เป็นเหยื่อส�ำคัญ ของเสือโคร่งเช่น กระทิง กวางป่า มีการกระจายเพิม่ ขึน้ สองเท่า โดยดูจาก กล้องดักถ่ายภาพ (ดูภาพประกอบ) นอกเหนือจากนั้นพบหลักฐาน 70 60 50 40 30 20 10 0
2550
2552
2554
2553
2554
อนาคตของสัตว์ป่า การฟื้นฟูเสือโคร่ง เป็นสิ่งที่ต้องกระท�ำแข่งกับเวลา เพราะว่า เสือโคร่งเหลือน้อยและยังมีจ�ำนวนที่ลดลงอยู่เรื่อยๆ โดยทั่วโลกมีเหลือ น้อยกว่า 3,500 ตัว และในประเทศไทยเหลืออยู่เพียงแค่150 ตัวเท่านั้น ในขณะเดียวกับการฟื้นฟูเสือโคร่งเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลานาน และเป็นไป อย่างเชื่องช้า เพราะว่าต้องมีการฟื้นฟูเหยื่อของเสือโคร่งก่อน ดังนั้น นัก อนุรกั ษ์จงึ ต้องหันมาสร้างพันธมิตรกับชุมชนและสร้างการมีสว่ นร่วมของ คนในหลายภาคส่วนของสังคม ประสบการณ์จาก อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ได้สะท้อนให้เห็น แนวทางทีส่ ร้างสรรค์บทบาทของชุมชนในการฟืน้ ฟูสตั ว์ปา่ โดยการสร้าง แรงจูงใจ เสนอทางออก ปลุกเร้า สร้างความตระหนัก และสิ่งที่ชาวบ้าน สามารถปฎิบตั ไิ ด้เลย เช่น บอกต่อถึงปัญหา หยุดกินเนือ้ สัตว์ปา่ แนวทาง ของเรา ให้เกียรติ และไม่บงั คม รวมถึง มีความเป็นมิตร แนวทางนีท้ �ำให้ การล่าสัตว์ป่าลดน้อยลงและท�ำให้จ�ำนวนสัตว์ป่าเพิ่มมากขึ้นการลาด ตระเวน และการสร้างความตระหนักในชุมชนจึงมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ เพื่อไม่ให้มีการล่าสัตว์ป่าเกิดขึ้น ถึงแม้วนั นีแ้ หล่งอาหารของเสือโคร่งได้รบั การฟืน้ ฟู แต่อนาคต ของเสือโคร่งกุยบุรยี งั คงแขวนอยูบ่ นเส้นด้าย เพราะขบวนการล่าสัตว์ปา่ เกิดจากผูซ้ อื้ และผูล้ า่ ทีไ่ ม่ได้มาจากพืน้ ทีใ่ นชุมชนเท่านัน้ หากเราจะสร้าง ผืนป่าที่มีชีวิตไว้ให้กับลูกหลาน คนรุ่นต่อไป ทุกภาคส่วนของสังคมควร ต้องมีความตระหนักร่วมกันโดย หยุดล่า หยุดซือ้ และหยุดกินสัตว์ปา่ อัน จะส่งผลต่อการเพิ่มประชากรสัตว์ป่าอย่างยั่งยืนต่อไป
การล่าสัตว์ป่าลดลงถึง 4เท่า โดยดูจากหลักฐานของการล่า สัตว์ปา่ เช่นกระสุนปืน และห้างยิงสัตว์ (ดูแผนภาพประกอบ) ซึง่ ข้อสรุป นี้สอดคล้องกับ ผลจากแบบสอบถามชาวบ้าน นักเรียน 735 คนจาก ชุมชน 15 หมู่บ้าน รอบพื้นที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ถึงสถานการณ์การ ล่าสัตว์ป่าในปัจจุบัน เปลี่ยนแปลงหรือไม่ และเพราะอะไร ผู้ตอบ แบบสอบถาม ร้อยละ 80 บอกว่า การล่าสัตว์ป่าลดลงคือ มีความรู้ มากขึ้นจากการเผยแพร่ของอุทยานแห่งชาติ (63%) รองลงมาเป็นการ ลาดตระเวน (61%) มอบของที่ระลึก แก่หมู่บ้านป่าหมากเพื่อขอบคุณในการช่วยอนุรักษ์กวางป่า
4 จดหมายข่าวอนุรักษ์ธรรมชาติ
อประจำุท�ยานแห่ งชาติเด่น ฉบับ
หุ บ เ ข า ม ร ณ ะ
อุ ท ย า น แ ห ง ช า ติ
Death Valley
National Park
อุ ท ยานแ
ห่ ง ชาติ หุ บ เขามร ณะ เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งหนึ่ง ในรัฐแคลิฟอร์เนียและรัฐเนวาดาของสหรัฐอเมริกาซึง่ ตัง้ อยูด่ า้ นทิศตะวัน หาหนทางลัดเพื่อไปสู่ทุ่งทองค�ำ (gold fields) ในรัฐแคลิฟอร์เนียให้ชื่อ ออกของเทือกเขาเซียร์ร่าเนวาดาที่ครอบคลุมเขตเชื่อมต่อระหว่างแอ่ง หุบเขาแห่งนีว้ ่าเป็นหุบเขามรณะ แม้ว่ามีสมาชิกเพียงคนเดียวในกลุ่มที่ กระทะอันกว้างใหญ่กบั ทะเลทรายโมฮาวี่ อุทยานแห่งชาติแห่งนีค้ มุ้ ครอง เสียชีวิตไปในบริเวณหุบเขานี้ พื้นที่มุมด้านตะวันตกเฉียงเหนือของทะเลทรายโมฮาวี่ไว้อีกทั้งประกอบ ด้วยสภาพแวดล้อมทางทะเลทรายอันหลากหลายของทุง่ ราบเกล็ดเกลือ เนินทราย ที่รกร้าง หุบเขาเหลี่ยมผาและภูเขาแห่งต่างๆ นับเป็นอุทยาน แห่งชาติทมี่ ขี นาดใหญ่ทสี่ ดุ ในรัฐทัง้ 48 ของประเทศบนแผ่นดินทวีป และ ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นพื้นที่สงวนชีวาลัยนานาชาติแห่งหนึ่ง พื้นที่ ของอุทยานแห่งชาติร้อยละ 95 ถูกก�ำหนดให้เป็นพื้นที่ป่าดงพงไพรของ ประเทศ นับเป็นอุทยานแห่งชาติทมี่ อี ณ ุ หภูมริ อ้ นทีส่ ดุ และภูมอิ ากาศแห้งแล้ง ที่สุดในสหรัฐอเมริกาเป็นสถานที่ซึ่งมีจุดพื้นดินต�่ำสุดเป็นที่ล�ำดับที่สอง ในซีกโลกตะวันตกในแอ่ง Badwater ซึง่ มีระดับความสูง 86 เมตร ต�ำ่ กว่า ระดับน�้ำทะเล อุทยานแห่งชาติหุบเขามรณะเป็นแหล่งที่อาศัยของพืช และสัตว์หลายชนิดพันธุ์ซึ่งสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมอัน รุนแรงโหดร้ายได้ ตัวอย่างเช่น พุม่ ไม้ครีโอโสต แกะเขาโต สุนขั ป่าโคโยตี้ Albert Johnson and Group of Shoshones at Indian Camp และปลา pupfish แห่งหุบเขามรณะซึ่งเป็นชนิดพันธุ์ปลาที่เหลือรอดอยู่ มากในช่วงเวลาที่ชุ่มชื้นกว่าในรอบปี เมืองต่างๆ เป็นจ�ำนวนมากเจริญรุ่งเรืองขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ กลุ่มชนเผ่าอเมริกันพื้นเมืองตามล� ำดับซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ ระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เพื่อการท�ำ ตั้งแต่ตอนแรกๆ ของเวลา 7,000 ปีก่อนคริสตกาล ล่าสุดได้แก่ ชนเผ่า แร่ทองค�ำและแร่เงิน เหมืองแร่เพียงอย่างเดียวที่ให้ก�ำไรในระยะยาว Timbisha ประมาณคริสต์ศกั ราชที่ 1000 ซึง่ อพยพเข้ามาตัง้ ค่ายพักแรม ได้แก่ แร่บอแรกซ์ซึ่งถูกขนส่งออกจากหุบเขาด้วยขบวนฬ่อขบวนละ 20 ในหุบเขาในฤดูหนาวและพื้นที่ฤดูร้อนตามเทือกเขาต่างๆ กลุ่มชาว ตัว ในเวลาต่อมาหุบเขากลายเป็นเรือ่ งราวทีป่ รากฏตามหนังสือ รายการ อเมริกนั เชือ้ สายยุโรปซึง่ ติดค้างอยูใ่ นบริเวณหุบเขาในปี 1849 ขณะมอง วิทยุ รายการโทรทัศน์ และเรือ่ งในภาพยนตร์ตา่ งๆ การท่องเทีย่ วงอกงาม มกราคม - มีนาคม 2558 5
ขึ้นในคริสต์ทศวรรษที่ 192 เมื่อบรรดาที่พักตากอากาศถูกสร้างขึ้นโดย รอบบ่อน�ำ้ บาดาล Stovepipe และล�ำธารเตาหลอมโลหะ อนุสรณ์สถาน แห่งชาติหบุ เขามรณะได้รบั การประกาศจัดตัง้ ในปี 1933 และพืน้ ทีไ่ ด้รบั การขยายตัวออกไปเป็นอย่างมากแล้วกลายฐานะเป็นอุทยานแห่งชาติ แห่งหนึ่งในปี 1994
A twenty-mule team in Death Valley
สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติของพืน้ ทีถ่ กู ปัน้ แต่งโดยส่วนใหญ่ ด้วยพลังทางธรณีวิทยาของพื้นที่ พื้นที่หุบเขาโดยตัวเองนั้นแท้จริงเป็น กลไกที่เกิดการเลื่อนของชั้นแผ่นดินตามแนวนอน (graben) หินที่มีอายุ เก่าแก่ทสี่ ดุ เป็นชัน้ หินแปรอย่างกว้างขวางและมีอายุอย่างน้อยทีส่ ดุ 1.7 พันล้านปี ทะเลตืน้ และมีนำ�้ อบอุน่ สมัยโบราณซึง่ มีตะกอนทะเลตกทับถม จนกระทัง่ เกิดช่องเปิดทีแ่ คบยาวกลางมหาสมุทรแปซิฟกิ การตกตะกอน เพิ่มเติมซึ่งปรากฏขึ้นจนกระทั่งเขตมุดตัวของเปลือกโลกก่อตัวขึ้นนอก ชายฝั่ง ปรากฏการณ์นี้ยกตัวขึ้นพ้นน�้ำทะเลและก่อตัวเป็นแนวภูเขาไฟ ขึน้ แนวหนึง่ ต่อมาเปลือกโลกเริม่ แยกออกจากกันก่อให้เกิดเวิง้ ทีร่ าบลุม่ และภูมิสัณฐานเทือกเขาเช่นในปัจจุบัน หุบเขาถูกทับถมด้วยตะกอน ต่างๆ และระหว่างช่วงเวลาที่ชุ่มชื้นของยุคน�้ำแข็งกลายเป็นทะเลสาบ ต่างๆ เช่น ทะเลสาบแมนลี่ (Lake Manly)
แผนที่ของอุทยานซึ่งแสดงให้เห็นบริเวณที่เป็นอนุสรณสถาน มาก่อน (สีเขียวจาง) และส่วนทีข่ ยายตัวออกไปของเขตอุทยานแห่งชาติ (สีเขียวเข้ม) ชัน้ ทีม่ หี นิ เกลือเลือ่ นไหล (playa) ชือ่ บริเวณ Racetrack จาก ขอบด้านทิศใต้ของ playa ไปสู่บริเวณ Grandstand เครื่องหมายระดับ น�้ำทะเลซึ่งมองเห็นได้ที่หน้าผา (วงกลมสีแดง) ที่แอ่งกระทะ Badwater อุ ท ยานแห่ ง ชาติ หุ บ มรณะ ป้ า ยระดั บ ความสู ง ต�่ ำ ของแอ่ ง กระทะ Badwater และทิวทัศน์โดยรอบ ทะเลทรายและถังบรรจุน�้ำส�ำหรับเติม หม้อน�้ำรถยนต์ (radiator water tank) ทิ้งไว้ใกล้บริเวณเถาองุ่น
ภูมิอากาศ
Lake Manly
การก่อตัวของภูมิประเทศ
มีหบุ เขาส�ำคัญสองแห่งในอุทยานแห่งชาติได้แก่ หุบเขามรณะ และหุบเขาพานามิน้ ต์ หุบเขาทัง้ สองนีก้ อ่ ตัวขึน้ ภายในช่วงเวลาไม่กลี่ า้ น ปีล่าสุดที่ผ่านมา และหุบเขาทั้งสองนี้ถูกล้อมรอบด้วยเทือกเขาที่เรียง รายตามแนวทิศเหนือ-ทิศใต้ แนวเทือกเขาพร้อมด้วยหุบเขาเหล่านี้เป็น ภูมปิ ระเทศเวิง้ หุบเขาและเทือกเขาสลับกันไปโดยมีภมู ปิ ระเทศไม่เหมือน ที่อื่นๆ อยู่หนึ่งแห่ง ได้แก่ มีรอยเลื่อนซึ่งตั้งสูงชันขึ้นเกือบเป็นมุมฉาก บริเวณตอนกลางของหุบเขามรณะ ผลของกลไกทางธรณีคล้ายถูกตัด ด้วยกรรไกรเช่นนี้ เป็นการขยายเพิ่มเติมส่วนตรงกลางของหุบเขามรณะ อันเป็นเหตุให้เกิดการยุบตัวของแผ่นดินกว้างออกไปในบริเวณดังกล่าว 6 จดหมายข่าวอนุรักษ์ธรรมชาติ
ภาพตัดขวางผ่านบรรดาจุดตำ�สุดและสูงสุดต่างๆ ในอุทยานแห่งชาติหุบเขามรณะ
หุบเขามรณะเป็นสถานที่ที่ร้อนที่สุดและแห้งแล้งที่สุดในทวีป อเมริกาเหนือเนือ่ งจากบริเวณนีข้ าดแคลนน�้ำผิวดินและเป็นจุดทีแ่ ผ่นดิน มีระดับต�่ำที่สุด ดังนั้น จึงมักเป็นจุดที่ร้อนที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึง่ มีตารางบันทึกอุณหภูมปิ ระจ�ำวันเป็นจ�ำนวนมากมักละบริเวณหุบเขา มรณะไปในฐานทีเ่ ข้าใจได้วา่ เป็นจุดทีอ่ ากาศร้อนทีส่ ดุ ในวันที่ 10 เดือน กรกฎาคม ปี 1913 บันทึกระบุว่ามีอุณหภูมิถึง 56.7 องศาเซลเซียส ที่ สถานี ส�ำ รวจอากาศของทบวงอุ ตุ นิ ย มวิ ท ยาที่ Greenland Ranch (ปัจจุบันคือ สถานที่ตั้งของ Furnace Creek Inn ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่สูง
ที่สุดในโลก เท่าที่มีการบันทึกกันไว้ อุณหภูมิประจ�ำวันในฤดูร้อนมักอยู่ ชีววิทยา ที่ 49°C หรือสูงกว่านี้เป็นประจ�ำ เช่นเดียวกันกับต�่ำกว่าจุดเยือกแข็งใน ฤดูหนาว เดือนกรกฎาคมเป็นเดือนที่อากาศร้อนที่สุดโดยเฉลี่ยอุณหภูมิ ขึ้นสูงถึง 46°C และอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 31°C เดือนธันวาคมเป็นเดือนที่ อากาศหนาวเย็นที่สุดด้วยอุณหภูมิเฉลี่ยระดับสูงที่ 18°C และอุณหภูมิ เฉลี่ยระดับต�่ำที่ 4°C อุณหภูมิต�่ำที่สุดเท่าที่บันทึกได้อยู่ที่ -9.4°C
Aerial view of Furnace Creek, looking northwest. The Furnace Creek Airport is visible behind the oasis
น�ำ้ จืดขนาดใหญ่ภายในหุบเขามรณะเป็นจ�ำนวนมากได้แหล่ง น�ำ้ มาจากชัน้ น�ำ้ บาดาลแห่งหนึง่ ในภูมภิ าคซึง่ ทอดยาวตามแนวทิศตะวันออก จากทางด้านทิศใต้ของรัฐเนวาดาและรัฐยูทาห์ น�้ำส่วนใหญ่ในชั้นน�้ำ บาดาลแห่งนั้นมีอยู่เป็นเวลาหลายพันปีมาแล้วนับตั้งแต่ยุคน�้ ำแข็ง ไพลสโตซีนยุคต่างๆ เมื่อมีอุณหภูมิของอากาศทั้งหนาวและร้อนกว่า ปัจจุบนั นีภ้ มู อิ ากาศซึง่ แห้งแล้งกว่าไม่มปี ริมาณน�ำ้ ฝนตกลงมาเพือ่ หล่อ เลี้ยงชั้นน�้ำบาดาลดังกล่าวอีกเลย ท�ำให้น�้ำในชั้นน�้ำบาดาลถูกน�ำไปใช้ มากกว่าทีจ่ ะมีปริมาณน�ำ้ เพิม่ ขึน้ เทือกเขาทีส่ งู ทีส่ ดุ ภายในพืน้ ทีอ่ ทุ ยาน แห่งชาติได้แก่ เทือกเขาพานามินต์ซึ่งมียอด Telescope ซึ่งเป็นยอด ที่มีระดับสูงสุดที่ 3,368 เมตร ภูมิภาคหุบเขามรณะเป็นพื้นที่เชิงทรง (transitional zone) ส่ ว นด้ า นทิ ศ เหนื อ สุ ด ของทะเลทรายโมฮาวี่ (Mojave Desert) และประกอบด้วยเทือกเขา 5 แห่งด้วยกัน ซึ่งเคลื่อน ตัวมาจากมหาสมุทรแปซิฟกิ เทือกเขา 3 แห่ง ในจ�ำนวน 5 แห่งนี้ เป็นแนว ขวางกั้นที่ส�ำคัญได้แก่ เทือกเขาเซียร์ร่าเนวาดา เทือกเขาอาร์กัสและ เทือกเขาพานามินต์ มวลอากาศที่ไหลเลื่อนเข้ามามักสูญเสียความชื้น ไปเนือ่ งจากถูกรีดความชืน้ ไปหมดตามเทือกเขาเหล่านีใ้ นบริเวณทีบ่ รรดา นักอุตุนิยมวิทยาพากันเรียกว่า ผลกระทบของเขตเงาฝน (rainshadow effect) ผลกระทบเนื่องจากเขตเงาฝนที่รุนแรงส�ำหรับบริเวณหุบเขา มรณะนี้ท�ำให้กลายเป็นจุดที่แห้งแล้งที่สุดของทวีปอเมริกาเหนือซึ่งมี ปริมาณฝนตกประมาณปีละ 38 มิลลิเมตร ที่บริเวณ Badwater (บางปี ไม่อาจบันทึกปริมาณน�้ำฝนประจ�ำปีได้แม้แต่น้อย) ปริมาณน�้ำฝนเฉลีย่ ประจ�ำปีผันแปรไประหว่าง 49 มิลลิเมตร ในที่ต�่ำกว่าระดับน�้ำทะเลไป จนถึงมากกว่า 380 มิลลิเมตร ในบริเวณระดับสูงกว่าตามภูเขาต่างๆ ซึง่ ล้อมรอบหุบเขา เมื่อมีฝนตกมักเป็นฝนที่มาพร้อมกับพายุพัดรุนแรงซึ่ง ท�ำให้เกิดน�ำ้ ท่วมฉับพลัน (flash floods) ซึง่ เปลีย่ นแปลงสภาพภูมสิ ถานไป และในบางครัง้ ก่อให้เกิดทะเลสาบทีต่ นื้ เขินมากเป็นเวลาเพียงสัน้ ๆ ไม่กวี่ นั
ถิ่ น ที่ อ าศั ย ของสิ่ ง มี ชี วิ ต หลากหลายออกไปตามชั้ น เกลื อ (saltpan) ที่ระดับ 86 เมตร ต�่ำกว่าระดับน�้ำทะเล ไปจนถึงสภาพต�่ำกว่า ยอดเขา (sub-alpine conditions) ซึง่ พบตามยอดเขา Telescope Peak ซึ่งสูงถึง 3,368 เมตร เขตพืชพรรณประกอบด้วยพุ่มไม้ครีโอโสต ฮอลลี่ ทะเลทราย และทุง่ เม็ซไคว้ทท์ รี่ ะดับต�ำ่ กว่า ตลอดจนทุง่ หญ้าฤาษี (sage) ไปจนถึง shadscale, blackbrush ต้นโจชัว สนพินย่อน-จูนเิ ปอร์ ไปจนถึง ป่าสน Limber และ Bristlecone บริเวณชั้นเกลือไม่มีพืชพรรณขึ้นอยู่ เลยและส่วนที่เหลือของพื้นหุบเขาและที่ลาดชันต�่ำลงมามีพืชพรรณ ปกคลุมกระจัดกระจายห่างๆ แม้วา่ ในทีม่ แี หล่งน�้ำพอเพียงพรรณพืชทีม่ ี อยู่มากมายโดยปกติก็ปรากฏมีอยู่บ้าง เขตพืชพรรณเหล่านี้และพื้นที่ ทะเลทรายใกล้เคียงกันท�ำให้มชี นิดพันธุส์ ตั ว์หลากหลายได้แก่ ชนิดพันธุ์ สัตว์มตี อ่ มน�้ำนมพืน้ เมือง 51 ชนิดพันธุ์ ชนิดพันธุน์ ก 307 ชนิดพันธุ์ สัตว์ เลื้อยคลาน 36 ชนิดพันธุ์ สัตว์สะเทิน 3 ชนิดพันธุ์ และปลาพื้นเมือง 2 ชนิดพันธุ์
Pupfish at Salt Creek are easily viewed during the springtime mating season.
บรรพบุ รุ ษ ของปลา Pupfish ในหุบเขามรณะว่ายเข้า สู่พื้นที่จากแม่น�้ำโคโลราโดผ่าน ช่องทางระบบแม่นำ�้ และทะเลสาบ ต่างๆ ซึ่งเหือดแห้งไปหมดแล้ว (ดู ท ะเลสาบแมนลี่) ปัจจุบันนี้ ปลา Pupfish อาศัยอยู่เป็นกลุ่ม แยกจากกันสองกลุม่ กลุม่ หนึง่ ในล�ำธารเกลือ (Salt Creek) และอีกกลุม่ หนึ่งในทุ่งตะกาด Cottonball หุบเขามรณะเป็นหนึ่งในจ�ำนวนพื้นที่ร้อน ที่สุดและแห้งแล้งที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือ แม้กระนั้นก็ยังเป็นบ้านที่ อาศัยของชนิดพันธุ์พืชถึงมากกว่า 1,000 ชนิดพันธุ์ ซึ่งประกอบด้วยพืช หายากมากชื่อ Rock Lady (Holmgrenanthe petrophila) ซึ่งไม่พบใน ทีอ่ นื่ ใด การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทีแ่ ห้งแล้งเป็นกุญแจส�ำคัญ มีข้อยกเว้นต่างๆ อยู่บ้างจ�ำนวนเล็กน้อยเกี่ยวกับธรรมชาติอัน ตัวอย่างเช่น พุ่มครีโอโสตและไม้เมสไคว้ท์มีระบบรากแก้วที่ยืดยาวลึก แห้งแล้งของพื้นที่ ในปี 2005 ฤดูหนาวอันชุ่มชื้นอย่างไม่ปกติก่อให้เกิด ลงไปได้ถึง 15 เมตร ในดินเพื่อให้ได้ประโยชน์จากน�้ำใต้ดินที่มีอยู่ตลอด ‘ทะเลสาบ’ ในแอ่งกระทะ Badwater และน�ำไปสู่ฤดูกาลที่มีดอกไม้ป่า ทั้งปี อันยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของอุทยานแห่งชาติแห่งนี้ มกราคม - มีนาคม 2558 7
แตกต่างไปจากที่ตั้งอื่นๆ ทั่วทั้งทะเลทรายโมฮาวี่ ถิ่นที่อาศัยเป็นจ�ำนวน มากซึ่งพึ่งพาอาศัยน�้ำในหุบเขามรณะล้วนมีความหลากหลายของชนิด พันธุ์พืชและสัตว์ซึ่งไม่อาจพบได้ในที่ใดๆ ในโลก
Badwater Basin elevation sign and scenery
กิจกรรมต่างๆ Wildrose Charcoal Kilns
Scotty’s Castle
กิจกรรมการเที่ยวชมทิวทัศน์มีได้โดยยานพาหนะรถยนต์ส่วน บุคคล รถยนต์ขบั เคลือ่ นสีล่ อ้ จักรยาน จักรยานภูเขา (บนถนนทีก่ ำ� หนด ให้เท่านั้น) และการเดินทางไกล การขับขี่มอเตอร์ไซด์ตระเวนทั่วพื้นที่ อุทยานแห่งชาติยงั เป็นทีน่ ยิ มมาแต่อดีต ทางหลวงของรัฐหมายเลข 190 ถนน Badwater ถนน Scotty’s Castle และ ถนนลาดแอสฟัลต์สายต่างๆ ไปสูจ่ ดุ ชมทิวทัศน์ Dante’s และ Wildrose ให้การเข้าถึงจุดชมทัศนียภาพ ส�ำคัญและแหล่งประวัติศาสตร์ในความสนใจต่างๆ ถนนยาวกว่า 560 กิโลเมตร) ผิวถนนไม่ได้ลาดยางแอสฟัลต์และถนนส�ำหรับรถยนต์ขับ เคลื่อนสี่ล้อเปิดโอกาสให้เข้าถึงพื้นที่เดินทางไกล พื้นที่ค่ายพักแรมและ แหล่งประวัติศาสตร์ต่างๆ ยานพาหนะทุกชนิดต้องมีใบอนุญาตและ ปฏิบตั ติ ามกฎหมายของการใช้ถนน มีเส้นทางเดินทางไกลทีม่ รี ะดับความ ยากและความยาวแตกต่างกันไปแต่พื้นที่ห่างไกลส่วนใหญ่สามารถเข้า ถึงได้ด้วยการเดินทางไกลข้ามภูมิประเทศ มีความเป็นไปได้สำ� หรับการ เดิ น ทางไกลนั บ เป็ น พั น ๆ แห่ ง ฤดู ก าลปกติ ส� ำ หรั บ การเยี่ ย มเยื อ น อุทยานแห่งชาติ ได้แก่เดือนตุลาคมวันที่ 15 ไปจนถึงพฤษภาคม วันที่ 15 เนื่ อ งจากฤดู ร ้ อ นที่ อ ากาศร้ อ นจั ด เกิ น ไป การน� ำ เที่ ย วด้ า น ประวัติศาสตร์เสมือนชีวิตจริง (living history tours) พร้อมด้วยการแต่ง กายพิเศษของปราสาท Scotty’s ในหุบเขามรณะมีบริการจัดไว้ให้โดย เสียค่าบริการ 8 จดหมายข่าวอนุรักษ์ธรรมชาติ
นักท่องเที่ยวคนหนึ่งไถลตัวลงมาจากเนินทราย Star ในทุ่งเนินทรายที่ราบ Mesquite
มีค่ายพักแรมที่ก�ำหนดไว้ 9 แห่งภายในอุทยานแห่งชาติ และ การอนุญาตให้พักแรมในค่ายพักแรมที่ห่างไกลมีให้บริการที่ศูนย์ผู้มา เยี่ยมชม บริษัทอุทยานและที่พักตากอากาศ Xanterra เป็นเจ้าของและ ด�ำเนินงานที่พักตากอากาศเอกชนแห่งหนึ่ง บริษัท Furnace Creek Inn และ Ranch Resort ซึ่งประกอบด้วยโรงแรมที่แตกต่างแยกจากกัน 2 แห่ง โรงแรม Furnace Creek Inn เป็นโรงแรมประวัตศิ าสตร์ระดับสีด่ าว ส่วนโรงแรม Furnace Creek Ranch เป็นโรงแรมระดับสามดาวแบบ อสังหาริมทรัพย์บา้ นไร่ทำ� ให้หวนร�ำลึกถึงยุคเหมืองแร่และการใฝ่ฝนั การ ท�ำแร่ที่ร�่ำรวย บริษัทเรือนพักแรมหุบเขามรณะเปิดด�ำเนินการหมู่บ้าน โรงแรมส�ำหรับรถยนต์ Stovepipe Wells หมูบ่ า้ น Stovepipe Wells เป็น
สัมปทานเพียงแห่งเดียวทีเ่ ปิดด�ำเนินการตัง้ อยูใ่ นอุทยานแห่งชาติหบุ เขา มรณะ มีโรงแรมส�ำหรับรถยนต์อกี หลายราย ใกล้ทางเข้าอุทยานแห่งชาติ ในเมืองโชโชเน่ เมืองชุมทางหุบเขามรณะ เมือง Beatty รัฐเนวาดา และ เมือง Panamint Springs ศูนย์ผู้มาเยี่ยมชมตั้งอยู่ในพื้นที่ตากอากาศ Furnace Creek บนถนนแห่งรัฐหมายเลข 190 รายการภาพนิ่งแนะน�ำ อุทยานแห่งชาติความยาว 12 นาทีมีให้บริการทุกๆ 30 นาที ระหว่าง ฤดูหนาว-เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน
Furnace Creek Inn
Stovepipe Wells Village
Furnace Creek Ranch
Panamint Springs Resort
The Furnace Creek Visitor Center is the place to start your trip to Death Valley.
บรรดาพนักงานตระเวนอุทยานแห่งชาติให้บริการน�ำเที่ยวสื่อ คุณค่าอุทยานแห่งชาติและมีการน�ำเสนอรายการน�ำเดิน รายการอธิบาย และรายการภาพนิง่ เกีย่ วกับประวัตคิ วามเป็นมาทางวัฒนธรรมและทาง ธรรมชาติของหุบเขามรณะ ศูนย์ผู้มาเยี่ยมชมมีการแสดงที่เกี่ยวกับ ธรณีวิทยาของอุทยานแห่งชาติ ภูมิอากาศ สัตว์ป่า และธรรมชาติวิทยา ยั ง มี ส ่ ว นจ� ำ เพาะที่ เ กี่ ย วกั บ ประวั ติ ค วามเป็ น มาของมนุ ษ ย์ แ ละ ประสบการณ์ในการบุกเบิก สมาคมธรรมชาติวทิ ยาหุบเขามรณะด�ำเนิน การร้านจ�ำหน่ายหนังสือแห่งหนึ่งโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับประวัติความเป็น มาทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมของอุทยานแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติหบุ เขามรณะเป็นสถานทีย่ อดนิยมส�ำหรับการ ดูดวงดาวในท้องฟ้า (stargazing) เนื่องจากเป็นสถานที่มีท้องฟ้ามืดมิด มากทีส่ ดุ ในสหรัฐอเมริกา ทัง้ ๆ ทีต่ งั้ อันห่างไกลของหุบเขามรณะ คุณภาพ อากาศ และการมองเห็นได้ไกล ในเวลากลางคืนถูกคุกคามโดยความ รุง่ เรืองในเมือง โดยเฉพาะมลภาวะทางแสงสว่างจากเมืองลาสเวกัสทีอ่ ยู่ ใกล้เคียง โดยทัว่ ไปท้องฟ้าทีม่ ดื มิดทีส่ ดุ ปรากฏอยูท่ างด้านทิศตะวันตก เฉียงเหนือของอุทยานแห่งชาติ พิชา พิทยขจรวุฒิ 5 มีนาคม 2558
ภาพมุมกว้าง 360 องศา บริเวณ Racetrack Playa ในเวลากลางคืน ทางช้างเผือกมองเห็นได้เป็นโค้งครึ่งวงกลมตรงกลางภาพ ภาพจาก : http://www.nps.gov/deva/index.htm http://en.wikipedia.org/wiki/Death_Valley_National_Park
มกราคม - มีนาคม 2558 9
ก า ร พั ฒ น า ก า ร ท อ ง เ ที่ ย ว เ ชิ ง นิ เ ว ศ
อย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน : กรณีอุทยานแห่งชาติ
เขาใหญ่
โดย นายชลธร ช� ำ นาญคิ ด สมาคมอุ ท ยานแห่ ง ชาติ
10 จดหมายข่าวอนุรักษ์ธรรมชาติ
ค�ำว่า เขาใหญ่ ก็บอกอยู่แล้วว่า เขาใหญ่ ไม่ใช่เรา ใหญ่ ปัญหาจึงมีหลากหลายรูปแบบหมักหมมตกค้างมานาน แสนนาน ทั้งในเรื่องความเสื่อมโทรมของธรรมชาติและแหล่งท่อง เที่ยว การท่องเที่ยวที่ผิดวิธีนับว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ซ�้ำเติมให้เกิด ความเสือ่ มโทรมมากขึน้ ทุกวัน เมือ่ มองถึงตัวการทีก่ อ่ ให้เกิดปัญหา จะมีตั้งแต่ ตัวนักท่องเที่ยวเอง ผู้น�ำเที่ยวที่เห็นแก่ตัว (บางคน) ผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็น รถน�ำเที่ยว ร้านอาหารต่างๆ ตลอดจน เจ้าหน้าที่เองก็มีส่วนซ�ำ้ เติมให้เกิดปัญหารุนแรงมากยิ่งขึ้น จึงเป็น ที่มาของการท�ำการศึกษาเรื่อง การพัฒนาศักยภาพการท่อง เที่ยวเชิงนิเวศอย่างสร้างสรรค์ของผืนป่ามรดกโลกดงพญา เย็น-เขาใหญ่ (Creative Ecotourism Development of Dong Phayayen - KhaoYai Natural World Heritage.) ด้วยแนวคิด ที่ ว ่ า จะท�ำ การพั ฒ นาอย่ า งไรเพื่ อ ให้ ก ารท่ อ งเที่ ย วเชิ ง นิ เ วศให้ เป็นการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ มีการพัฒนากิจกรรมเพื่อการ ศึกษาเรียนรูใ้ นรูปแบบและมุมมองใหม่ๆ และท�ำอย่างไร ให้การท่อง เที่ยวไม่เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น�ำ้ ป่า อากาศ และขุนเขา โดยจะเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างไรที่ เหมาะสม สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ ถ้าจะให้เข้าใจกันง่ายๆ ก็ คือ การน้อมน�ำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการเลือก เทคโนโลยีทเี่ หมาะสม แบบพอเพียง พอประมาณ พอเหมาะพอสม มีเหตุผลคิดอย่างรอบคอบโดยมีหลักวิชาการทีถ่ กู ต้อง และทีส่ �ำคัญ เลือกแบบใช้งานง่ายๆ แต่มีประสิทธิภาพ
ผลการศึกษาออกมาเป็น 7 ความฝัน ที่อยากให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อย่างยั่งยืนบนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ทั้ง 7 ความฝันนี้ เป็นเพียงตัวอย่างของ กิจกรรมเท่านัน้ ยังมีกจิ กรรมอีกมากมายทีส่ ามารถสร้างสรรค์ขนึ้ มาเพิม่ เติมได้ ลอง มาดูตัวอย่างแนวคิดในการพัฒนา • กิจกรรมท่องเทีย่ วดูนก เป็นกิจกรรมทีส่ ามารถพัฒนาต่อยอดเพือ่ เพิม่ ศักยภาพให้เป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้ในระดับชาติ และสามารถน�ำ เป็นกิจกรรมน�ำร่องของประเทศไทยเพื่อน�ำไปสู่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศในระดับ ประเทศอาเซียนได้ ถ้ามีการจัดท�ำคู่มือดูนกเขาใหญ่ ที่ให้นักท่องเที่ยวได้บันทึกราย ละเอียดที่พบเห็น และระบายสีภาพนกที่พบด้วยตัวเอง จัดท�ำกิจกรรมบันทึกข้อมูล การส�ำรวจพบนกเขาใหญ่ด้วยตัวเอง การจัดท�ำเส้นทางเฉพาะส�ำหรับดูนก เช่น เส้น ทางเพือ่ ดูนกเงือก และก�ำหนดมาตรการควบคุมกิจกรรมดูนกไม่ให้รบกวนธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม • กิจกรรมท่องเทีย่ วประเภทดูสตั ว์ปา่ เป็นกิจกรรมทีม่ ศี กั ยภาพสูงมาก สามารถพัฒนาต่อยอดเพื่อเพิ่มศักยภาพให้เป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อสร้างราย ได้ในระดับชาติ และสามารถน�ำเป็นกิจกรรมน�ำร่องของประเทศไทยเพื่อน�ำไปสู่การ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศในระดับประเทศอาเซียนได้ ถ้ามีการปรับปรุงระบบ รูปแบบ กิจกรรมส่องสัตว์ป่าตอนกลางคืนให้มีสาระการเรียนรู้และลดผลกระทบสัตว์ป่า ธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม การออกแบบและจัดท�ำคูม่ อื การเรียนรูส้ ตั ว์ปา่ ด้วยตัวเอง การจัดท�ำเส้นทางเฉพาะส�ำหรับดูสัตว์ป่า เช่น เส้นทางเพื่อดูชะนี ก�ำหนดมาตรการ ควบคุมกิจกรรมดูสตั ว์ปา่ ส่องสัตว์ปา่ ไม่ให้รบกวนธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม การจัด ท�ำสมุดภาพระบายสีสตั ว์ปา่ เขาใหญ่ทพี่ บบ่อย ท�ำการออกแบบจัดท�ำโปรแกรมทาง เลือกเพือ่ ให้นกั ท่องเทีย่ วเลือกชมสัตว์ปา่ ในตอนเวลากลางวันแทนการนัง่ รถยนต์สอ่ ง สัตว์ตอนกลางคืน • กิจกรรมท่องเทีย่ วประเภทน�ำ้ ตก เป็นกิจกรรมทีม่ ศี กั ยภาพสูงเหมาะ ส�ำหรับการท่องเทีย่ วเพือ่ การเรียนรูแ้ ละเข้าใจถึงคุณค่าของพืน้ ทีป่ า่ ธรรมชาติกบั การ ให้นำ�้ สูช่ มุ ชนนอกพืน้ ทีป่ า่ จึงสามารถพัฒนาต่อยอดเพือ่ เพิม่ ศักยภาพให้เป็นกิจกรรม การท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้ ขอเสนอแนวคิดในการพัฒนาได้แก่ การจัดท�ำคู่มือ ศึกษาธรรมชาติในเรือ่ งป่าต้นน�้ำทีส่ มบูรณ์ ให้นำ�้ กับชุมชนพืน้ ตอนล่างได้อย่างไร โดย ใช้เทคนิคกิจกรรมบทบาทสมมุติ ถ้ามีป่าไม้สมบูรณ์ กับ ไม่มีป่าจะเกิดอะไรขึ้น เพื่อ ให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสเรียนรู้และเข้าใจด้วยตัวเอง การออกแบบและจัดท�ำคู่มือ ให้เห็นความส�ำคัญของคุณค่าป่ากับการเป็นต้นน�้ำล�ำธารที่ดี โครงการออกแบบ ปรับปรุงสือ่ ความหมายธรรมชาติและนิทรรศการภายในอาคารศูนย์ขอ้ มูล การพัฒนา สื่อการเรียนรู้เรื่อง ดิน น�้ำ ป่าไม้ ส�ำหรับเด็กในรูปแบบสมุดภาพ จัดท�ำสมุดภาพ ระบายสีสัตว์ป่าเขาใหญ่ที่พบบ่อย • กิจกรรมท่องเทีย่ วเดินป่าศึกษาธรรมชาติปา่ ดิบเขา (ผาเดียวดาย)
ชื่อหน้าผาดูไม่น่าไปเที่ยวแต่ถ้าได้ไป สวยสุดยอด และที่ ส�ำคัญเป็นป่าดงดิบเขาที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ มากที่สุดด้วย การเดินป่าจะเป็นกิจกรรมที่มีศักยภาพสูงมากสามารถ พัฒนาต่อยอดเพื่อเพิ่มศักยภาพให้เป็นกิจกรรมการท่อง เที่ยวเพื่อสร้างรายได้ในระดับชาติ และสามารถน�ำเป็น กิจกรรมน�ำร่องของประเทศไทยเพือ่ น�ำไปสูก่ ารท่องเทีย่ วเชิง นิเวศในระดับประเทศอาเซียนได้ ขอเสนอแนวคิดในการ พัฒนา ด้วยการส�ำรวจ ออกแบบ และจัดท�ำคู่มือศึกษา ธรรมชาติเรื่องป่าดิบเขาด้วยตัวเอง และพัฒนาสื่อความ หมายธรรมชาติ เ พื่ อ การเรี ย นรู ้ อ ย่ า งสร้ า งสรรค์ โดยใช้ แนวคิดการนวัตกรรมด้านระบบสารสนเทศ (Information system) โดยเลือกเทคนิคสื่อสร้างสรรค์ใช้ รหัส QR Code ไปติดตั้งที่ป้ายสื่อความหมายให้นักท่องเที่ยวยุคใหม่ที่ใช้ โทรศัพท์มอื ถือแบบ SMART Phone สามารถน�ำโทรศัพท์ไป โหลดข้อมูลมาศึกษาเพิ่มเติมได้ด้วยตัวเอง • กิ จ กรรมท่ อ งเที่ ย วศึ ก ษาตามเส้ น ทาง รถยนต์ เป็นกิจกรรมเพื่อเสริมการท่องเที่ยวให้มีความน่า สนใจมากขึน้ ปรับใช้ได้กบั นักท่องเทีย่ วทัง้ ชาวไทยและชาว ต่างประเทศ นับเป็นกิจกรรมที่มีศักยภาพสูงมากสามารถ พัฒนาต่อยอดเพื่อเพิ่มศักยภาพให้เป็นกิจกรรมการท่อง เที่ยวเพื่อสร้างรายได้ในระดับชาติ และสามารถน�ำเป็น กิจกรรมน�ำร่องของประเทศไทยเพือ่ น�ำไปสูก่ ารท่องเทีย่ วเชิง นิเวศในระดับประเทศอาเซียนได้ จึงขอน�ำเสนอแนวคิดใน การพัฒนา ด้วยการออกแบบและจัดท�ำคูม่ อื ศึกษาธรรมชาติ เพือ่ การเรียนรูต้ ามเส้นทางถนนของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ในหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ คูม่ อื เรียนรูส้ องข้างทางถนนที่ น่าสนใจพร้อมจุดแวะศึกษาธรรมชาติริมทาง การออกแบบ จัดท�ำเทปบันทึกเสียงประกอบค�ำบรรยายและ/หรือวิดโี อเพือ่ ใช้เปิดฟัง/เปิดชมในระหว่างเดินทางท่องเที่ยว จัดตั้งสถานี วิทยุชมุ ชน เพือ่ ให้นกั ท่องเทีย่ วได้เปิดฟังรายการแนะน�ำ ให้ ความรู ้ ไ ด้ ใ นระหว่ า งอยู ่ บ นเขาใหญ่ ออกแบบพั ฒ นา Application ผ่ายเครือข่าย online ทาง internet ให้นักท่อง เที่ยวสามารถ download ข้อมูลไปศึกษาเรียนรู้ได้ด้วยตัว เอง • กิจกรรมท่องเที่ยวประเภทล่องแก่งกรณี แก่งหินเพิง เป็นกิจกรรมทีม่ ศี กั ยภาพสูงเหมาะส�ำหรับการ ท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้และเข้าใจถึงคุณค่าของพื้นที่ป่า ธรรมชาติ โดยปรับแนวทางการท่องเทีย่ วเชิงผจญภัยกับการ ท่ อ งเที่ ย วเชิ ง นิ เ วศ จึ ง สามารถพั ฒ นาต่ อ ยอดเพื่ อ เพิ่ ม ศักยภาพให้เป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้ เพื่อ ให้ เ กิ ด การท่ อ งเที่ ย วอย่ า งยั่ ง ยื น จึ ง ควรพั ฒ นาด้ ว ยการ พัฒนาระบบสื่อความหมายธรรมชาติทั้งในอาคารศูนย์ บริการนักท่องเทีย่ วและโดยรอบ การพัฒนารูปแบบการท่อง เที่ยวเรียนรู้ธรรมชาติเสริมกิจกรรมล่องแก่ง อาทิ การพาย เรือคายัก (kayak) ชมความสวยงามริมน�้ ำใสใหญ่ การ
มกราคม - มีนาคม 2558 11
พัฒนาเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติและกิจกรรมเดินป่าระยะไกลเพือ่ เชือ่ มโยงการ ท่องเทีย่ วให้หลากหลายน่าสนใจมากขึน้ ซึง่ สามารถส่งเสริมและสนับสนุนการมีสว่ น ร่วมของชุมชนท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี • กิจกรรมท่องเทีย่ วศึกษาดาราศาสตร์ นับเป็นกิจกรรมทีเ่ สริมกิจกรรม การท่องเที่ยวเชิงนิเวศในช่วงเวลาว่างยามค�่ำคืนได้เป็นอย่างดี สามารถประยุกต์
และขวดน�ำ้ ส่วนตัวเป็นชุดส�ำหรับการท่องเทีย่ วในธรรมชาติ เพือ่ ลดขยะ การฝึกอบรมการจัดการขยะให้ถกู ต้องตามหลัก สุขาภิบาลและการจัดท�ำป้ายสือ่ ความหมายเพือ่ สร้างความ เข้าใจและขอความร่วมมือ น�้ำเสียกลายเป็นน�้ำสะอาด ด้วยความร่วมมือ วางแผนงานจัดการน�้ำดี และการจัดการน�้ำเสียอย่างเป็น ระบบ การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ในการควบคุม ดูแล และ บริหารจัดการระบบ การตรวจ ติดตาม และเฝ้าระวังควบคุม ตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เสียงไม่ดงั อากาศ สดใส ด้วยกิจกรรมการเข้มงวด ตามมาตรการควบคุมการก่อกองไฟในบริเวณลานกางเต็นท์ เข้มงวดตามมาตรการควบคุมและห้ามรถยนต์ที่มีควันด�ำ เข้าพื้นที่ เข้มงวดตามมาตรการควบคุมไฟป่าที่เกิดจาก กิจกรรมการท่องเที่ยว การจัดการแก้ไขมลภาวะทางเสียง ได้แก่ การเข้มงวดตามมาตรการควบคุมและห้ามรถยนต์ที่ มีเสียงดังเข้าพื้นที่ เข้มงวดตามมาตรการควบคุมนักท่อง เทีย่ วไม่ให้สง่ เสียงดัง จัดตัง้ จุดตรวจสอบรถยนต์ควันด�ำและ เสียงดังบริเวณด่านทางเข้าอุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่สวยงาม ทัศนวิสยั งามและสบายตา ด้วย การปรับปรุงภูมิทัศน์ แหล่งท่องเที่ยว การพัฒนาลานกาง เต็นท์ ที่พักแรมภายใต้แนวคิด green campground หรือ Eco – Campsite และการประชาสัมพันธ์และสื่อความ หมายให้นักท่องเที่ยวช่วยรักษาความสะอาดและ ความ สวยงามของธรรมชาติ
น�ำไปใช้ได้ในทุกๆ กิจกรรม โดยก�ำหนดเป้าหมายเพื่อเพื่อพัฒนาต้นแบบกิจกรรม การท�ำอุปกรณ์ดดู าวอย่างง่ายได้ดว้ ยตัวเอง และพัฒนากิจกรรมเสริมส�ำหรับนักท่อง เที่ยว นักเรียน นักศึกษาที่เข้ามาศึกษาธรรมชาติในพื้นที่
แล้วปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจะท�ำอย่างไร ดังนั้น เพื่อให้เกิดการท่อง เทีย่ วอย่างสรรค์และไม่ทำ� ลายความเป็นธรรมชาติของเขาใหญ่ ท�ำอย่างนีจ้ ะดีกว่าไหม ? ขยะหายไปด้วย การจัดระบบการบริหารจัดการขยะและมูลฝอยตาม โครงการจัดการขยะ เพือ่ ลดปัญหาและสร้างประโยชน์ การรณรงค์และประชาสัมพันธ์ ให้นักท่องเที่ยวเก็บขยะน�ำกลับบ้าน โดยการสร้างแรงจูงใจ การรณรงค์เรื่อง ขยะใน มือท่านทิ้งให้ลงถังเถอะครับ การรณรงค์ให้นักท่องเที่ยวจัดเตรียมถุงผ้า กล่องข้าว 12 จดหมายข่าวอนุรักษ์ธรรมชาติ
อนุรักษ์พลังงานลดความสิ้นเปลืองได้ง่ายๆ ด้วย การอนุรักษ์พลังงานในแหล่งท่องเที่ยว อาคารส�ำนักงาน และบ้านพัก การน�ำรูปแบบพัฒนาพลังงานทดแทนส�ำหรับ ลานกางเต็นท์ ที่พักแรม บ้านพัก ฝึกอบรมให้ความรู้เรื่อง การอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนส�ำหรับเจ้าหน้าที่ ผู้ดูแลแหล่งท่องเที่ยว และส�ำหรับนักท่องเที่ยวผู้ใช้บริการ ฝันนัน้ จะเป็นจริงได้ ด้วยความร่วมมือและเริม่ ต้น ที่ตัวของเราเอง เริ่มวันนี้ ส�ำหรับผม เวลาไปเทีย่ วไหน เริม่ จากวางแผนการ เดินทาง เตรียมข้าวของให้พอดีพอดี เตรียมอาหารกะพอดี พออิ่ม ได้พักผ่อนสบายๆ เพิ่มความน่าสนใจด้วยการเรียน รู้รอบตัว ถ้าจะให้ดี ชวนเพื่อนๆ ร่วมเดินทางในรูปแบบ car pooling ไปไหนมาไหนช่วยแวะอุดหนุนสินค้าท้องถิ่น เพื่อกระจายรายได้ ช่วยกันท�ำความฝันให้เป็นจริง การท่อง เที่ ย วจะได้ ยั่ ง ยื น ตื่ น ตื่ น จากฝั น แล้วท� ำ ฝันให้เป็น ความจริงกันเถอะ ขอบคุณ ส�ำนักงานคณะกรรมการวิจยั แห่งชาติ ที่ได้ให้การสนับสนุนทุนวิจัย แบบมุ่งเป้า ประจ�ำปี งบประมาณ ๒๕๕๕